ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1011
- ผู้ติดตาม: 0
ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์
โพสต์ที่ 1
ผมอยากจะทำความเข้าใจกับอุตสาหกรรมยานยนตร์ให้มากขึ้นอีก
หากเพื่อนๆ มีแหล่งข้อมูล ทางการตลาด ปริมาณการผลิด ประมาณการในอนาคตและหรืออื่นๆ ช่วยบอกหรือส่ง post link ให้ก็จะขอบคุณมากครับ
ทั้งนี้ก็เพราะ ผมเป็นหุ้นส่วนในกิจการนี้แล้ว 3 กิจการ
และก็เริ่มซื้อเพิ่มอีก 1 กิจการวันก่อน ก็การเข้าใจให้แจ่มแจ้งอีกนะครับ
อยากเป็นอย่างพี่ปรัชญาในอุตสาหกรรมโฆษณาบ้างนะ
หากเพื่อนๆ มีแหล่งข้อมูล ทางการตลาด ปริมาณการผลิด ประมาณการในอนาคตและหรืออื่นๆ ช่วยบอกหรือส่ง post link ให้ก็จะขอบคุณมากครับ
ทั้งนี้ก็เพราะ ผมเป็นหุ้นส่วนในกิจการนี้แล้ว 3 กิจการ
และก็เริ่มซื้อเพิ่มอีก 1 กิจการวันก่อน ก็การเข้าใจให้แจ่มแจ้งอีกนะครับ
อยากเป็นอย่างพี่ปรัชญาในอุตสาหกรรมโฆษณาบ้างนะ
-
- Verified User
- โพสต์: 2509
- ผู้ติดตาม: 1
ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์
โพสต์ที่ 2
ไม่ทราบว่าท่าน thanwa ได้ถือหุ้นโคมไฟเหมือนผมรึยังครับ ใกล้ประกาศผลประกอบการไตรมาส 3 แล้ว รอรวยด้วยกันนะครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1011
- ผู้ติดตาม: 0
ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์
โพสต์ที่ 3
คุณ FE
ผมซื้อแล้วครับได้ประมาณไม่ถึง 10% ของจำนวนที่ต้องการซื้อ
ต้องการความมั่นใจมากกว่านี้ เพราะอย่างที่ว่า
ผมเพิ่งจะเริ่มซื้อครับ ต้นทุนก็คือราคาตลาดตอนนี้
คุณว่า ผมตัดสินใจถูกหรือเปล่าครับ(ที่ราคาสูงขนาดนี้)
ผมซื้อแล้วครับได้ประมาณไม่ถึง 10% ของจำนวนที่ต้องการซื้อ
ต้องการความมั่นใจมากกว่านี้ เพราะอย่างที่ว่า
ผมเพิ่งจะเริ่มซื้อครับ ต้นทุนก็คือราคาตลาดตอนนี้
คุณว่า ผมตัดสินใจถูกหรือเปล่าครับ(ที่ราคาสูงขนาดนี้)
-
- ผู้ติดตาม: 0
ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์
โพสต์ที่ 4
ข้อมูลการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ในประเทศต่างๆทั่วโลกในปี 2002 จากกรุงเทพธุรกิจ 4 พ.ย. ที่ผ่านมาครับ ยอดจำหน่ายคือการจำหน่ายภายในประเทศนั้นๆ เพราะฉะนั้นผลต่างของตัวเลขทั้งสอง ก็จะเป็นยอดส่งออก ตัวเลขที่แสดงผมปัดเป็นตัวเลขกลมๆโดยมีหน่วยเป็นล้านคันครับ ถ้าพบอะไรอีกจะมาโพสต์ให้ดูกันอีกครับ
ผลิต จำหน่ายในประเทศ
อเมริกา 12 17
ญี่ปุ่น 10 6
เยอรมัน 5.5 3.5
ผรั่งเศส 3.4 2.6
จีน 3.2 3.2
เกาหลีใต้ 3.1 1.6
สเปน 2.9 1.6
แคนาดา 2.6 1.7
อังกฤษ 1.8 2.9
บราซิล 1.8 1.5
ไทย 0.6 0.4
สวีเดน 0.5 0.3
เบลเยียม 0.5 0.5
มาเลเซีย 0.46 0.43
ผลิต จำหน่ายในประเทศ
อเมริกา 12 17
ญี่ปุ่น 10 6
เยอรมัน 5.5 3.5
ผรั่งเศส 3.4 2.6
จีน 3.2 3.2
เกาหลีใต้ 3.1 1.6
สเปน 2.9 1.6
แคนาดา 2.6 1.7
อังกฤษ 1.8 2.9
บราซิล 1.8 1.5
ไทย 0.6 0.4
สวีเดน 0.5 0.3
เบลเยียม 0.5 0.5
มาเลเซีย 0.46 0.43
-
- Verified User
- โพสต์: 2509
- ผู้ติดตาม: 1
ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์
โพสต์ที่ 5
ของผมเริ่มเก็บมาประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่ต้นทุนก็ใกล้ๆ กับคุณ thanwa แหละครับthanwa เขียน:คุณ FE
ผมซื้อแล้วครับได้ประมาณไม่ถึง 10% ของจำนวนที่ต้องการซื้อ
ต้องการความมั่นใจมากกว่านี้ เพราะอย่างที่ว่า
ผมเพิ่งจะเริ่มซื้อครับ ต้นทุนก็คือราคาตลาดตอนนี้
คุณว่า ผมตัดสินใจถูกหรือเปล่าครับ(ที่ราคาสูงขนาดนี้)
รู้มั้ย ตอนที่ STANLY ราคาร่วงจาก 420 ลงมา ผมดีใจที่สุด เพราะรอให้มันปรับฐานมานานนนนนน มากจริงๆ
ตอนนี้ผมถือตัวนี้ตัวเดียวเกินครึ่งของพอร์ตแล้วครับ ตั้งใจจะถือเป็นหุ้นทัพหลวงเลยเชียว
ไม่ทราบคุณ thanwa ลองเข้าไปอ่าน 56-1 หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์หรือยังครับ ลองดูนะครับ เผื่ออยากจะเพิ่มน้ำหนักลงทุน
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1011
- ผู้ติดตาม: 0
ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์
โพสต์ที่ 6
ผมกลัวว่า หลายคนจะเข้าใจเจตนารมณ์ผมไม่ถูกต้อง
เดี๋ยวจะหาว่าผมมาให้ข้อมูลเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงของราคา
บอกตรงๆ ผมสนใจที่จะลงทุนระยะยาว 3, 5 ปีกับอุตหาสกรรมรถยนตร์
ยอมรับว่า ราคาทุกตัวเปลี่ยนแปลงในการที่เพิ่มขึ้นมากอยู่แล้ว
ผู้อ่านควรใช้วิจารณญานอย่างถี่ถ้วยด้วยครับ
อย่างที่ว่า ผมยังเพิ่งเริ่มเข้าซื้ออีกตัวหนึ่งตัวอาทิตย์ที่ผ่านมา
ราคาสูงมากจริงๆ ไม่สวยทั้ง PE, PB, DPS และอื่นๆ
ราคาอาจจะลงมาจากที่ผมซื้อก็เป็นไปได้มาก
เพราะนักลงทุนอาจจะขายหุ้นออกมา
เพื่อไปลงทุนตัวชอื่นที่มีโอกาสทำกำไรได้มากกว่าในช่วงนี้
เพราะฉนั้น ไม่แนะนำให้ซื้อเลย ถ้าทนถืออย่างน้อย ปีหรือสองปีไม่ไหว
ผมซื้อตามความรู้สึกว่า น่าสนใจ ไม่มีข้อมูลภายในมาสนับสนุน
นั่นเป็นเหตุผลที่ผมต้องการหาข้อมูลเพิ่มขึ้นจากสิ่งที่ผมมีอยู่
ถ้าเพื่อนๆ มี รบกวนกวนด้วยครับ
สิ่งที่ผมมีอยู่แล้วตอนนี้คือ
- โครงสร้างผู้ถือหุ้น 10 ปีย้อนหลัง
- Form 56-1
- บทวิเคราะห์รายหุ้น 6 เดือนย้อนหลัง จาก settrade
อยากได้
- บทวิเคราะห์และฃ้อมูลอุตสาหกรรม
- บทวิเคราะห์และข้อมูลการผลิดที่ผ่านมาและในอนาคต
- การคาดการณ์ หรือความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมนี้
- และอื่นๆ
ถ้าเป็น URL จะมีมากเลยครับ จะไม่มีเวลาเรียนรู้อย่างอื่นเพิ่มใน web นั้นด้วย
ถ้ามีตัวมีเป็น softfile ก็ส่งมาให้ผมที่ [email protected] หรือที่ [email protected] ก็ได้ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
เดี๋ยวจะหาว่าผมมาให้ข้อมูลเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงของราคา
บอกตรงๆ ผมสนใจที่จะลงทุนระยะยาว 3, 5 ปีกับอุตหาสกรรมรถยนตร์
ยอมรับว่า ราคาทุกตัวเปลี่ยนแปลงในการที่เพิ่มขึ้นมากอยู่แล้ว
ผู้อ่านควรใช้วิจารณญานอย่างถี่ถ้วยด้วยครับ
อย่างที่ว่า ผมยังเพิ่งเริ่มเข้าซื้ออีกตัวหนึ่งตัวอาทิตย์ที่ผ่านมา
ราคาสูงมากจริงๆ ไม่สวยทั้ง PE, PB, DPS และอื่นๆ
ราคาอาจจะลงมาจากที่ผมซื้อก็เป็นไปได้มาก
เพราะนักลงทุนอาจจะขายหุ้นออกมา
เพื่อไปลงทุนตัวชอื่นที่มีโอกาสทำกำไรได้มากกว่าในช่วงนี้
เพราะฉนั้น ไม่แนะนำให้ซื้อเลย ถ้าทนถืออย่างน้อย ปีหรือสองปีไม่ไหว
ผมซื้อตามความรู้สึกว่า น่าสนใจ ไม่มีข้อมูลภายในมาสนับสนุน
นั่นเป็นเหตุผลที่ผมต้องการหาข้อมูลเพิ่มขึ้นจากสิ่งที่ผมมีอยู่
ถ้าเพื่อนๆ มี รบกวนกวนด้วยครับ
สิ่งที่ผมมีอยู่แล้วตอนนี้คือ
- โครงสร้างผู้ถือหุ้น 10 ปีย้อนหลัง
- Form 56-1
- บทวิเคราะห์รายหุ้น 6 เดือนย้อนหลัง จาก settrade
อยากได้
- บทวิเคราะห์และฃ้อมูลอุตสาหกรรม
- บทวิเคราะห์และข้อมูลการผลิดที่ผ่านมาและในอนาคต
- การคาดการณ์ หรือความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมนี้
- และอื่นๆ
ถ้าเป็น URL จะมีมากเลยครับ จะไม่มีเวลาเรียนรู้อย่างอื่นเพิ่มใน web นั้นด้วย
ถ้ามีตัวมีเป็น softfile ก็ส่งมาให้ผมที่ [email protected] หรือที่ [email protected] ก็ได้ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์
โพสต์ที่ 7
อันนี้ดีมาก...
Japan's Toyota Motor Corp, the world's third largest automaker, is set to balance its production in Asean and China by the end of the decade with a volume of 800,000 units each, of which 500,000 units would be produced in Thailand, according to an auto expert and former Toyota executive.
But with the threat of stiff competition from China, Thailand must further develop the sector in the areas of human resources, engineering capabilities and supporting industry strengths within three years, said Toyoharu Fujimoto.
Mr Fujimoto, now an adviser to Thai Automotive VCF Co _ the country's first automotive venture capital fund _ said Thailand was positioned by automakers as an automotive manufacturing and engineering hub for ``specific models''. With automakers shifting their focus to China to tap the huge market volume, many are trying to minimise the risk by setting up production facilities elsewhere.
To meet the 2010 production plan, Toyota is raising its production volume from 254,000 units in Asean and 20,000 units in China as of 2001. Asean is now the Japanese firm's third largest manufacturing base after its home country and North America.
Aside from being a production hub, Thailand will serve as a technical centre for Toyota with plans to have 1,000 engineers on its payroll next year.
As well, Denso, one of Toyota's major suppliers which is partially owned by the automaker, has moved its production of diesel engine injection pumps to Thailand with plans to export output worldwide. Other Toyota-related companies plan to follow suit.
In order to take advantage of what might be in store for the future, Mr Fujimoto said Thai manufacturers must beef up their engineering and production design capabilities.
``A challenge is that we (Thailand) have to achieve both cost and quality competitiveness, meaning we have to meet the Japanese quality standards with Thai (production) costs,'' he said.
Mr Fujimoto, who has worked with Toyota in both Japan and Thailand, said vehicle production in Thailand would increase steadily from 600,000-plus units this year to exceed one million units by 2005 before tripling to 1.8-2 million by the end of the decade, with the export ratio rising from the current rate of 45% of total production.
To boost exports, Thailand must diversify its product range beyond one-tonne pick-ups which has a limited market. One potential vehicle to be considered is one-litre passenger cars.
Export could reach one million units by 2010, Mr Fujimoto, said while as the same time expansion of the local vehicle market is highly possible, depending largely on the development of the Thai economy.
The ratio of cars to people in Thailand is currently one car per 12 people. This compares to the world average of 1:4 and one car per 2.5 people in the United States.
Japan's Toyota Motor Corp, the world's third largest automaker, is set to balance its production in Asean and China by the end of the decade with a volume of 800,000 units each, of which 500,000 units would be produced in Thailand, according to an auto expert and former Toyota executive.
But with the threat of stiff competition from China, Thailand must further develop the sector in the areas of human resources, engineering capabilities and supporting industry strengths within three years, said Toyoharu Fujimoto.
Mr Fujimoto, now an adviser to Thai Automotive VCF Co _ the country's first automotive venture capital fund _ said Thailand was positioned by automakers as an automotive manufacturing and engineering hub for ``specific models''. With automakers shifting their focus to China to tap the huge market volume, many are trying to minimise the risk by setting up production facilities elsewhere.
To meet the 2010 production plan, Toyota is raising its production volume from 254,000 units in Asean and 20,000 units in China as of 2001. Asean is now the Japanese firm's third largest manufacturing base after its home country and North America.
Aside from being a production hub, Thailand will serve as a technical centre for Toyota with plans to have 1,000 engineers on its payroll next year.
As well, Denso, one of Toyota's major suppliers which is partially owned by the automaker, has moved its production of diesel engine injection pumps to Thailand with plans to export output worldwide. Other Toyota-related companies plan to follow suit.
In order to take advantage of what might be in store for the future, Mr Fujimoto said Thai manufacturers must beef up their engineering and production design capabilities.
``A challenge is that we (Thailand) have to achieve both cost and quality competitiveness, meaning we have to meet the Japanese quality standards with Thai (production) costs,'' he said.
Mr Fujimoto, who has worked with Toyota in both Japan and Thailand, said vehicle production in Thailand would increase steadily from 600,000-plus units this year to exceed one million units by 2005 before tripling to 1.8-2 million by the end of the decade, with the export ratio rising from the current rate of 45% of total production.
To boost exports, Thailand must diversify its product range beyond one-tonne pick-ups which has a limited market. One potential vehicle to be considered is one-litre passenger cars.
Export could reach one million units by 2010, Mr Fujimoto, said while as the same time expansion of the local vehicle market is highly possible, depending largely on the development of the Thai economy.
The ratio of cars to people in Thailand is currently one car per 12 people. This compares to the world average of 1:4 and one car per 2.5 people in the United States.
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์
โพสต์ที่ 8
อันนี้ก็น่าสนใจ...
โตโยต้า/ฟอร์ด/เดมเลอร์ฯ/อีซูซุ/มิตซูบิชิ-ค่ายรถขนเงินแสนล้าน ลงทุนเพิ่มในโรงงานผลิต ยกไทยเป็นฐานที่2ของโลกรองจากอเมริกาโตโยต้าปักหลักผลิตปิกอัพ-SUV ส่งทั่วโลก ขยับยอดขายขึ้นอันดับ2ของโลกในปี 2010 อีซูซุผลิต 5รุ่นในไทยเพียงแห่งเดียว ประกาศปิดไลน์ในญี่ปุ่นและอเมริกา มิตซูบิชิผลิตทั้งเก๋ง-ปิกอัพป้อน 136ประเทศ ฟอร์ด-เดมเลอร์ฯ ทุ่มอีก 2.5 หมื่นล้าน หลังประชุม 10ชาติสมาชิกผู้นำอาเซียนและสุดยอดผู้นำเอเปก 21 ประเทศในไทย
การเคลื่อนทัพเข้ามาลงทุนของต่างชาติในอุตสาหกรรมยานยนต์โดยใช้ไทยเป็นฐานผลิตรถยนต์ส่งออกตลาดทั่วโลกโดยเฉพาะการประกาศแผนย้ายฐานผลิตปิกอัพจากญี่ปุ่นมาไทย ของค่ายโตโยต้า อีซูซุ มิตซูบิชิและฟอร์ดรวมทั้งเดมเลอร์ไครสเลอร์ คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งหมดทะลุ 1 แสนล้านบาท ส่งผลให้ไทยเป็น ดีทรอยซ์แห่งเอเชีย เป็นรองฐานการผลิตรถในอเมริกาเพียงแห่งเดียวในโลกและเมื่อการประชุมเอเปกในไทยเสร็จสิ้นค่ายรถรายใหญ่ที่กุมขั้วอำนาจรถหลายยี่ห้อไว้ในเครือได้ตัดสินใจประกาศศึก รุกตลาดรถในไทยเต็มพิกัด ด้วยการทุ่มเม็ดเงินลงทุนในโรงงานผลิตรถและก่อตั้ง-พัฒนาศูนย์วิจัยR&Dในไทย
โตโยต้าประกาศดันIMVเป็นที่ 1
นายฟูจิโอะ โช(Fujio Cho) ประธานบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่นได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนจากประเทศไทยในงานเลี้ยงสังสรรค์สื่อมวลชนทั่วโลก ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นถึงเป้าหมายการพัฒนาตลาดรถในไทยว่าขณะนี้โตโยต้า มอเตอร์ให้ความสำคัญกับตลาดไทยมาก เพราะตอนนี้ไทยทำยอดขายขึ้นเป็นอันดับ 3 ของโลก จากที่เคยอยู่ในอันดับ 4 รองจากตลาดอเมริกา แคนนาดา ออสเตรเลีย การที่สามารถขึ้นมาเป็นอันดับ 3 ได้ในปีนี้นับว่าป็นการเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงต้องเร่งผลักดันให้เป็นตลาดหลักในภูมิภาคเอเชีย
โดยแผนการผลักดันฐานผลิตในไทยก็คือการเพิ่มรุ่นผลิตรถในโครงการIMVให้เป็นที่ 1 ของโลกทดแทนตลาดญี่ปุ่น ซึ่งขณะนี้โตโยต้า มอเตอร์ได้เร่งถ่ายทอดเทคโนโลยี่การผลิต จัดตั้งศูนย์R&D ระดมผู้ผลิตชิ้นส่วนระดับหัวกะทิเข้ามาหนุนพร้อมผลักดันผู้ผลิตในไทยซัพพล็อตชิ้นส่วนรถให้ได้เต็มที่ เพราะรถทุกรุ่นที่ผลิตในโครงการIMV จะส่งออกไปจำหน่ายทั่วโลก ชิ้นส่วนจึงต้องได้มาตราฐานสากล ซึ่งขณะนี้ในรุ่น วีออสใช้ชิ้นส่วนในประเทศไทยแล้ว 80%และจะผลักดันให้รุ่นอื่นๆ ที่เตรียมขึ้นไลน์ในอนาคตใช้ชิ้นส่วนได้ในระดับเดียวกัน
นับจากปี 2547 เป็นต้นไปไทยจะเป็นเป้าหมายหลักในเอเชีย ตามกรอบทิศทาง Global Vision 2010 เพื่อก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 อย่างเป็นระบบ การเร่งพัฒนาขีดความสามารถคน เทคโนโลยี่และยอดขาย ด้วยการสร้างพนักงาน 2 แสนคนทั่วโลก เดินตามกรอบแนวคิดการพัฒนารถรุ่นใหม่ ตามความต้องการของตลาด เพื่อเพิ่มยอดขายให้ทะลุ 15% ในทั่วโลกภายในปี 2010
ขณะเดียวกันนายโยชิโอะ อิชิซากะ(Yoshio Ishizaka) รองประธานบริหารฝ่ายปฏิบัติการต่างประเทศ กล่าวเสริมถึงการผลิตรถในโครงการIMV ว่าโครงการนี้เป็นโปรเจ็กต์ที่สำคัญที่สุด ซึ่งนอกจากการเป็นฐานผลิตปิกอัพแล้ว ได้เตรียมเพิ่มไลน์ ปิกอัพ 4 ประตู และออฟโรด โยเป็นการผลิตแลกกับ อินโดนีเซียและฟิลิปินส์ ซึ่งคาดว่าแผนดังกล่าวจะทำให้ยอดขายรถโตโยต้าขยับขึ้นเป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา
ฟอร์ด-เดมเลอร์ฯอัดฉีด2.5หมื่นล้าน
ด้านค่ายรถอเมริกา ซึ่งเข้ามาบุกตลาดไทยได้ไม่นานเร่งเสริมเขี้ยวเล็บฟาดฟันตลาดรถญี่ปุ่นที่เข้ามาปักฐานปูพรมยอดขายอยู่นานกว่า 30 ปี ด้วยการอัดฉีดเม็ดเงินก้อนโตเพื่อเพิ่มไลน์ผลิตรถและยอดขาย นายบิล ฟอร์ด ประธานบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฟอร์ด มอเตอร์ คอมปานี ได้ประกาศแนลงทุนเพิ่มในโรงงานผลิตรถออโต้อัลลายแอนซ์ 2.1 หมื่นล้านบาทในเดือนตุลาคม 2546 จากที่ก่อนหน้านี้ได้ลงทุนไปแล้วหลายหมื่นล้าน
เงินก้อนใหม่ที่ลงทุนเพิ่มในครั้งนี้ ฟอร์ดต้องการใช้ในการเพิ่มกำลังการผลิตรถปิกอัพและรถอเนกประสงค์รุ่นเอเวอร์เรสต์ ส่งออกตลาดทั่วโลกพร้อมทั้งใช้ในการลงทุนตั้งศูนย์พัฒนาและวิจัยR&Dในไทยเพื่อให้เป็นศูนย์วิจัยที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ครอบคลุมตลาดอินโดนีเซียและฟิลิปินส์
ในส่วนของเดมเลอร์ไครสเลอร์ได้ประกาศแผนลงทุนเพิ่มในภูมิภาคอาเซียน 4.5 พันล้านบาท โดยแถลงการณ์นี้นายแฟรงก์ เมสเซอร์ ประธานและหัวหน้าฝ่ายบริหารเดมเลอร์ไครสเลอร์ ประจำภูมิภาคอาเซียน เปิดเผยระหว่างการประชุมสุดยอดู้นำธุรกิจ 10 ชาติสมาชิกฯอาเซียนในเดือนตุลาคม โดยให้ความเห็นว่าการที่ตัดสินใจทุ่มเงินลงทุนครั้งนี้เพราะตลาดในภูมิภาคนี้มีโอกาสเติบโตสูง จึงต้องการสร้างความแข็งแกร่งและขยับยอดขายเพิ่มทะลุ 3 เท่าใน 10 ปีข้างหน้า ซึ่งตลาดไทยมียอดขายที่ดี จากตัวเลข 9 เดือนในปี 2546ทำได้ถึง 4.2 พันคันเพิ่มขึ้น 36.3% จากปี 2545
มิตซูบิชิตั้งไทยผลิตเก๋ง-ปิกอัพในปี48
สำหรับมิตซูบิชิแม้ขณะนี้จะกลายเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับเดมเลอร์ไครสเลอร์ไปแล้ว แต่นายสตีเวน เอ.โทรอค รองประธานบริหารบริษัทมิตซูบิชิ มอเตอร์ คอปอเรชั่น ญี่ปุ่นกล่าวว่าในส่วนของการผลิตรถแยกเป็นอิสระจากกัน เงิน 2.2 หมื่นล้านบาทก้อนนี้จะใช้ในการพัฒนาซัพพลายเออร์และขยายกำลังการผลิตโรงงานปิกอัพในไทยส่งออกทั่วโลก 136 ประเทศ เนื่องจากเป็นประเทศที่น่าลงทุนมีศักยภาพในด้านเศรษฐกิจ การค้าและความมั่นคงด้านการเมือง ซึ่งเห็นได้ชัดหลังการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปก
อีซูซุย้ายฐานผลิตรถ 5 รุ่นมาไทย
ในเดือนมิถุนายน 2546 ที่ผ่านมานายฮิโร มาจิมา กรรมการบริหารอีซูซุ มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่นได้ตัดสินใจปิดไลน์ผลิตรถSUV ในญี่ปุ่นและอเมริกาย้ายมาไทยจากที่ก่อนหน้านี้ได้ประกาศให้ไทยเป็นฐานผลิตรถปิกอัพและยังรวมถึงรถเสตชั่นแวกอน มินิแวนและรถเอนกประสงค์ทุกประเทศ จะผลิตจากไทยเพียงแห่งเดียวในโลก โดยตั้งเป้าไว้ 200,000 แสนคัน/ปีในอีก 2 ปีข้างหน้าจากปัจจุบันที่ผลิตได้ 100,000 คัน
นอกจากนี้ในส่วนของการลงทุนผลิตรถเก๋งGm หรือเจอเนอรัลมอเตอร์ ได้ทุมกว่า 3.2 หมื่นล้านตั้งศูนย์R&D และตั้งโรงงานผลิตรถในไทย บีเอ็มดับเบิ้ลยู 1.2 พันล้านผลิตซีรีส์ 5 และ 3 และซีรีส์ 7 ขายในประเทศ เฟียต ออโต้ จากอิตาลีลงทุน 5.2 พันล้านและมิตซูบิชิลงทุนในส่วนของโรงงานผลิตรถเก๋ง 6 พันล้าน
โตโยต้า/ฟอร์ด/เดมเลอร์ฯ/อีซูซุ/มิตซูบิชิ-ค่ายรถขนเงินแสนล้าน ลงทุนเพิ่มในโรงงานผลิต ยกไทยเป็นฐานที่2ของโลกรองจากอเมริกาโตโยต้าปักหลักผลิตปิกอัพ-SUV ส่งทั่วโลก ขยับยอดขายขึ้นอันดับ2ของโลกในปี 2010 อีซูซุผลิต 5รุ่นในไทยเพียงแห่งเดียว ประกาศปิดไลน์ในญี่ปุ่นและอเมริกา มิตซูบิชิผลิตทั้งเก๋ง-ปิกอัพป้อน 136ประเทศ ฟอร์ด-เดมเลอร์ฯ ทุ่มอีก 2.5 หมื่นล้าน หลังประชุม 10ชาติสมาชิกผู้นำอาเซียนและสุดยอดผู้นำเอเปก 21 ประเทศในไทย
การเคลื่อนทัพเข้ามาลงทุนของต่างชาติในอุตสาหกรรมยานยนต์โดยใช้ไทยเป็นฐานผลิตรถยนต์ส่งออกตลาดทั่วโลกโดยเฉพาะการประกาศแผนย้ายฐานผลิตปิกอัพจากญี่ปุ่นมาไทย ของค่ายโตโยต้า อีซูซุ มิตซูบิชิและฟอร์ดรวมทั้งเดมเลอร์ไครสเลอร์ คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งหมดทะลุ 1 แสนล้านบาท ส่งผลให้ไทยเป็น ดีทรอยซ์แห่งเอเชีย เป็นรองฐานการผลิตรถในอเมริกาเพียงแห่งเดียวในโลกและเมื่อการประชุมเอเปกในไทยเสร็จสิ้นค่ายรถรายใหญ่ที่กุมขั้วอำนาจรถหลายยี่ห้อไว้ในเครือได้ตัดสินใจประกาศศึก รุกตลาดรถในไทยเต็มพิกัด ด้วยการทุ่มเม็ดเงินลงทุนในโรงงานผลิตรถและก่อตั้ง-พัฒนาศูนย์วิจัยR&Dในไทย
โตโยต้าประกาศดันIMVเป็นที่ 1
นายฟูจิโอะ โช(Fujio Cho) ประธานบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่นได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนจากประเทศไทยในงานเลี้ยงสังสรรค์สื่อมวลชนทั่วโลก ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นถึงเป้าหมายการพัฒนาตลาดรถในไทยว่าขณะนี้โตโยต้า มอเตอร์ให้ความสำคัญกับตลาดไทยมาก เพราะตอนนี้ไทยทำยอดขายขึ้นเป็นอันดับ 3 ของโลก จากที่เคยอยู่ในอันดับ 4 รองจากตลาดอเมริกา แคนนาดา ออสเตรเลีย การที่สามารถขึ้นมาเป็นอันดับ 3 ได้ในปีนี้นับว่าป็นการเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงต้องเร่งผลักดันให้เป็นตลาดหลักในภูมิภาคเอเชีย
โดยแผนการผลักดันฐานผลิตในไทยก็คือการเพิ่มรุ่นผลิตรถในโครงการIMVให้เป็นที่ 1 ของโลกทดแทนตลาดญี่ปุ่น ซึ่งขณะนี้โตโยต้า มอเตอร์ได้เร่งถ่ายทอดเทคโนโลยี่การผลิต จัดตั้งศูนย์R&D ระดมผู้ผลิตชิ้นส่วนระดับหัวกะทิเข้ามาหนุนพร้อมผลักดันผู้ผลิตในไทยซัพพล็อตชิ้นส่วนรถให้ได้เต็มที่ เพราะรถทุกรุ่นที่ผลิตในโครงการIMV จะส่งออกไปจำหน่ายทั่วโลก ชิ้นส่วนจึงต้องได้มาตราฐานสากล ซึ่งขณะนี้ในรุ่น วีออสใช้ชิ้นส่วนในประเทศไทยแล้ว 80%และจะผลักดันให้รุ่นอื่นๆ ที่เตรียมขึ้นไลน์ในอนาคตใช้ชิ้นส่วนได้ในระดับเดียวกัน
นับจากปี 2547 เป็นต้นไปไทยจะเป็นเป้าหมายหลักในเอเชีย ตามกรอบทิศทาง Global Vision 2010 เพื่อก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 อย่างเป็นระบบ การเร่งพัฒนาขีดความสามารถคน เทคโนโลยี่และยอดขาย ด้วยการสร้างพนักงาน 2 แสนคนทั่วโลก เดินตามกรอบแนวคิดการพัฒนารถรุ่นใหม่ ตามความต้องการของตลาด เพื่อเพิ่มยอดขายให้ทะลุ 15% ในทั่วโลกภายในปี 2010
ขณะเดียวกันนายโยชิโอะ อิชิซากะ(Yoshio Ishizaka) รองประธานบริหารฝ่ายปฏิบัติการต่างประเทศ กล่าวเสริมถึงการผลิตรถในโครงการIMV ว่าโครงการนี้เป็นโปรเจ็กต์ที่สำคัญที่สุด ซึ่งนอกจากการเป็นฐานผลิตปิกอัพแล้ว ได้เตรียมเพิ่มไลน์ ปิกอัพ 4 ประตู และออฟโรด โยเป็นการผลิตแลกกับ อินโดนีเซียและฟิลิปินส์ ซึ่งคาดว่าแผนดังกล่าวจะทำให้ยอดขายรถโตโยต้าขยับขึ้นเป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา
ฟอร์ด-เดมเลอร์ฯอัดฉีด2.5หมื่นล้าน
ด้านค่ายรถอเมริกา ซึ่งเข้ามาบุกตลาดไทยได้ไม่นานเร่งเสริมเขี้ยวเล็บฟาดฟันตลาดรถญี่ปุ่นที่เข้ามาปักฐานปูพรมยอดขายอยู่นานกว่า 30 ปี ด้วยการอัดฉีดเม็ดเงินก้อนโตเพื่อเพิ่มไลน์ผลิตรถและยอดขาย นายบิล ฟอร์ด ประธานบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฟอร์ด มอเตอร์ คอมปานี ได้ประกาศแนลงทุนเพิ่มในโรงงานผลิตรถออโต้อัลลายแอนซ์ 2.1 หมื่นล้านบาทในเดือนตุลาคม 2546 จากที่ก่อนหน้านี้ได้ลงทุนไปแล้วหลายหมื่นล้าน
เงินก้อนใหม่ที่ลงทุนเพิ่มในครั้งนี้ ฟอร์ดต้องการใช้ในการเพิ่มกำลังการผลิตรถปิกอัพและรถอเนกประสงค์รุ่นเอเวอร์เรสต์ ส่งออกตลาดทั่วโลกพร้อมทั้งใช้ในการลงทุนตั้งศูนย์พัฒนาและวิจัยR&Dในไทยเพื่อให้เป็นศูนย์วิจัยที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ครอบคลุมตลาดอินโดนีเซียและฟิลิปินส์
ในส่วนของเดมเลอร์ไครสเลอร์ได้ประกาศแผนลงทุนเพิ่มในภูมิภาคอาเซียน 4.5 พันล้านบาท โดยแถลงการณ์นี้นายแฟรงก์ เมสเซอร์ ประธานและหัวหน้าฝ่ายบริหารเดมเลอร์ไครสเลอร์ ประจำภูมิภาคอาเซียน เปิดเผยระหว่างการประชุมสุดยอดู้นำธุรกิจ 10 ชาติสมาชิกฯอาเซียนในเดือนตุลาคม โดยให้ความเห็นว่าการที่ตัดสินใจทุ่มเงินลงทุนครั้งนี้เพราะตลาดในภูมิภาคนี้มีโอกาสเติบโตสูง จึงต้องการสร้างความแข็งแกร่งและขยับยอดขายเพิ่มทะลุ 3 เท่าใน 10 ปีข้างหน้า ซึ่งตลาดไทยมียอดขายที่ดี จากตัวเลข 9 เดือนในปี 2546ทำได้ถึง 4.2 พันคันเพิ่มขึ้น 36.3% จากปี 2545
มิตซูบิชิตั้งไทยผลิตเก๋ง-ปิกอัพในปี48
สำหรับมิตซูบิชิแม้ขณะนี้จะกลายเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับเดมเลอร์ไครสเลอร์ไปแล้ว แต่นายสตีเวน เอ.โทรอค รองประธานบริหารบริษัทมิตซูบิชิ มอเตอร์ คอปอเรชั่น ญี่ปุ่นกล่าวว่าในส่วนของการผลิตรถแยกเป็นอิสระจากกัน เงิน 2.2 หมื่นล้านบาทก้อนนี้จะใช้ในการพัฒนาซัพพลายเออร์และขยายกำลังการผลิตโรงงานปิกอัพในไทยส่งออกทั่วโลก 136 ประเทศ เนื่องจากเป็นประเทศที่น่าลงทุนมีศักยภาพในด้านเศรษฐกิจ การค้าและความมั่นคงด้านการเมือง ซึ่งเห็นได้ชัดหลังการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปก
อีซูซุย้ายฐานผลิตรถ 5 รุ่นมาไทย
ในเดือนมิถุนายน 2546 ที่ผ่านมานายฮิโร มาจิมา กรรมการบริหารอีซูซุ มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่นได้ตัดสินใจปิดไลน์ผลิตรถSUV ในญี่ปุ่นและอเมริกาย้ายมาไทยจากที่ก่อนหน้านี้ได้ประกาศให้ไทยเป็นฐานผลิตรถปิกอัพและยังรวมถึงรถเสตชั่นแวกอน มินิแวนและรถเอนกประสงค์ทุกประเทศ จะผลิตจากไทยเพียงแห่งเดียวในโลก โดยตั้งเป้าไว้ 200,000 แสนคัน/ปีในอีก 2 ปีข้างหน้าจากปัจจุบันที่ผลิตได้ 100,000 คัน
นอกจากนี้ในส่วนของการลงทุนผลิตรถเก๋งGm หรือเจอเนอรัลมอเตอร์ ได้ทุมกว่า 3.2 หมื่นล้านตั้งศูนย์R&D และตั้งโรงงานผลิตรถในไทย บีเอ็มดับเบิ้ลยู 1.2 พันล้านผลิตซีรีส์ 5 และ 3 และซีรีส์ 7 ขายในประเทศ เฟียต ออโต้ จากอิตาลีลงทุน 5.2 พันล้านและมิตซูบิชิลงทุนในส่วนของโรงงานผลิตรถเก๋ง 6 พันล้าน
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1011
- ผู้ติดตาม: 0
ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์
โพสต์ที่ 11
ยอดผลิต-ส่งออกรถQ3เพิ่มกระฉูด สภาอุตฯปลื้มตัวเลขพุ่ง114แสนล.
"สภาอุตฯ" เผยยอดผลิตรถพุ่ง 9 เดือนทะลุ 5 แสนคัน โตกว่า 30% ชี้เป็นผลมาจากรถเก๋งเล็กและกลางในประเทศขายดี ส่วนการส่งออกยอดยานยนต์ทั้งอุตสาหกรรมสูงถึง 114 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 32% โดยมียอดส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วน 101 แสนล้าน และยอดส่งออกมอเตอร์ไซค์และชิ้นส่วน 2.8 พันล้านบาท
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ยอดการผลิตรถยนต์ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา มีจำนวนทั้งสิ้น 535,506 คัน มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 30.6% เนื่องจากยอดขายรถยนต์ภายในประเทศมีจำนวนสูงถึง 379,252 คัน เพิ่มขึ้น 31.5% และการส่งออกมีจำนวน 173,382 คัน เพิ่มขึ้น 35.3%
สำหรับยอดการประกอบรถยนต์นั่งมีจำนวน 186,337 คัน คิดเป็น 34.8% ของรถยนต์ที่ผลิตได้ทั้งหมด และเพิ่มขึ้นกว่าปีที่แล้ว 56.6% เนื่องจากยอดขายรถยนต์นั่งขนาดเล็กและขนาดกลางในประเทศเพิ่มขึ้น และการผลิตเพื่อการส่งออกมีจำนวน 59,206 คัน เพิ่มขึ้นถึง 97.6%
ทั้งนี้ยอดการผลิตรถยนต์นั่ง แบ่งตามขนาดเครื่องยนต์ได้ดังนี้ คือ รถยนต์นั่งขนาด 1201-1500 ซีซี ผลิตได้ 94,076 คัน เพิ่มขึ้น 253.1% รถยนต์นั่งขนาด 1501-1800 ซีซี ผลิตได้ 55,646 คัน เพิ่มขึ้น 3.8% รถยนต์นั่งขนาด 1801-2000 ซีซี ผลิตได้ 9,422 คัน ลดลง 52.5% รถยนต์นั่งขนาด 2001-2400 ซีซี ผลิตได้ 22,296 คัน เพิ่มขึ้น 29.8% รถยนต์นั่งขนาด 2401-3000 ซีซี ผลิตได้ 4,820 คัน เพิ่มขึ้น 187.4% และรถยนต์นั่งขนาด 3001 ซีซีขึ้นไป ผลิตได้ 77 คัน ขณะที่ปีที่แล้วไม่มีการผลิต รถยนต์นั่งตรวจการณ์ ผลิตได้ 7,205 คัน ลดลง 48.9% เนื่องจากมีการนำรถยนต์ประเภทนี้เข้ามาจำหน่าย
ส่วนรถยนต์บรรทุกมีการผลิตทั้งหมด 341,902 คัน คิดเป็น 63.8% ของรถยนต์ที่ผลิตทั้งหมด โดยเพิ่มขึ้นกว่าปีที่แล้ว 23.6% ทั้งนี้มีการผลิตรถกระบะขนาด 1 ตัน สูงสุดที่ 327,769 คัน เพิ่มขึ้น 22.4% เนื่องจากยอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น 30% และยอดผลิตเพื่อส่งออกมีจำนวน 115,592 คัน เพิ่มขึ้น 14.4% สำหรับรถจักรยานยนต์มีการผลิตทั้งสิ้น 1,752,744 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20%
นายสุรพงษ์กล่าวถึงยอดการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 173,382 คัน เพิ่มขึ้น 35.3% คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 75,372 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29.6% เครื่องยนต์มีมูลค่าการส่งออก 4,123 ล้านบาท ลดลง 9.6% ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 20,567 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 65.7% และอะไหล่รถยนต์มีมูลค่าการส่งออก 1,614 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.8% ทั้งนี้รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์ เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนและอะไหล่ มีมูลค่าทั้งสิ้น 101,678 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33%
สำหรับรถจักรยานยนต์มีจำนวนการส่งออก 412,821 คัน (รวมซีเคดีเซต) ลดลง 11% โดยมีมูลค่า 6,080 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.7% ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 4,318 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 48.3% อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,025 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 82.4% รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ทั้งหมด 12,424 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29.9%
"มูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วนและอะไหล่ มีจำนวนทั้งสิ้น 114,102 ล้านบาท มากกว่าปีที่แล้วถึง 28,096 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 32.6%" นายสุรพงษ์กล่าว
"สภาอุตฯ" เผยยอดผลิตรถพุ่ง 9 เดือนทะลุ 5 แสนคัน โตกว่า 30% ชี้เป็นผลมาจากรถเก๋งเล็กและกลางในประเทศขายดี ส่วนการส่งออกยอดยานยนต์ทั้งอุตสาหกรรมสูงถึง 114 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 32% โดยมียอดส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วน 101 แสนล้าน และยอดส่งออกมอเตอร์ไซค์และชิ้นส่วน 2.8 พันล้านบาท
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ยอดการผลิตรถยนต์ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา มีจำนวนทั้งสิ้น 535,506 คัน มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 30.6% เนื่องจากยอดขายรถยนต์ภายในประเทศมีจำนวนสูงถึง 379,252 คัน เพิ่มขึ้น 31.5% และการส่งออกมีจำนวน 173,382 คัน เพิ่มขึ้น 35.3%
สำหรับยอดการประกอบรถยนต์นั่งมีจำนวน 186,337 คัน คิดเป็น 34.8% ของรถยนต์ที่ผลิตได้ทั้งหมด และเพิ่มขึ้นกว่าปีที่แล้ว 56.6% เนื่องจากยอดขายรถยนต์นั่งขนาดเล็กและขนาดกลางในประเทศเพิ่มขึ้น และการผลิตเพื่อการส่งออกมีจำนวน 59,206 คัน เพิ่มขึ้นถึง 97.6%
ทั้งนี้ยอดการผลิตรถยนต์นั่ง แบ่งตามขนาดเครื่องยนต์ได้ดังนี้ คือ รถยนต์นั่งขนาด 1201-1500 ซีซี ผลิตได้ 94,076 คัน เพิ่มขึ้น 253.1% รถยนต์นั่งขนาด 1501-1800 ซีซี ผลิตได้ 55,646 คัน เพิ่มขึ้น 3.8% รถยนต์นั่งขนาด 1801-2000 ซีซี ผลิตได้ 9,422 คัน ลดลง 52.5% รถยนต์นั่งขนาด 2001-2400 ซีซี ผลิตได้ 22,296 คัน เพิ่มขึ้น 29.8% รถยนต์นั่งขนาด 2401-3000 ซีซี ผลิตได้ 4,820 คัน เพิ่มขึ้น 187.4% และรถยนต์นั่งขนาด 3001 ซีซีขึ้นไป ผลิตได้ 77 คัน ขณะที่ปีที่แล้วไม่มีการผลิต รถยนต์นั่งตรวจการณ์ ผลิตได้ 7,205 คัน ลดลง 48.9% เนื่องจากมีการนำรถยนต์ประเภทนี้เข้ามาจำหน่าย
ส่วนรถยนต์บรรทุกมีการผลิตทั้งหมด 341,902 คัน คิดเป็น 63.8% ของรถยนต์ที่ผลิตทั้งหมด โดยเพิ่มขึ้นกว่าปีที่แล้ว 23.6% ทั้งนี้มีการผลิตรถกระบะขนาด 1 ตัน สูงสุดที่ 327,769 คัน เพิ่มขึ้น 22.4% เนื่องจากยอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น 30% และยอดผลิตเพื่อส่งออกมีจำนวน 115,592 คัน เพิ่มขึ้น 14.4% สำหรับรถจักรยานยนต์มีการผลิตทั้งสิ้น 1,752,744 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20%
นายสุรพงษ์กล่าวถึงยอดการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 173,382 คัน เพิ่มขึ้น 35.3% คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 75,372 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29.6% เครื่องยนต์มีมูลค่าการส่งออก 4,123 ล้านบาท ลดลง 9.6% ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 20,567 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 65.7% และอะไหล่รถยนต์มีมูลค่าการส่งออก 1,614 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.8% ทั้งนี้รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์ เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนและอะไหล่ มีมูลค่าทั้งสิ้น 101,678 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33%
สำหรับรถจักรยานยนต์มีจำนวนการส่งออก 412,821 คัน (รวมซีเคดีเซต) ลดลง 11% โดยมีมูลค่า 6,080 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.7% ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 4,318 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 48.3% อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,025 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 82.4% รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ทั้งหมด 12,424 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29.9%
"มูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วนและอะไหล่ มีจำนวนทั้งสิ้น 114,102 ล้านบาท มากกว่าปีที่แล้วถึง 28,096 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 32.6%" นายสุรพงษ์กล่าว
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1011
- ผู้ติดตาม: 0
ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์
โพสต์ที่ 12
ปิกอัพไทยฉลุย เบอร์ 1 ของโลก
ด้วยความที่ตลาดรถยนต์ในประเทศไทยมีตลาดหลักอยู่ที่รถปิกอัพ ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดถึง 60% ถือว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 1 ของโลก ไม่รวมสหรัฐอเมริกาซึ่งใช้รถกระบะที่มีขนาดใหญ่กว่า
ดังนั้น บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ทั้งหลายจึงหมายมั่นที่จะเข้ามายึดหัวหาดในเมืองไทยเพื่อหวังจะเข้ามาครองส่วนแบ่งในตลาดนี้
แม้ว่าในช่วงแรกของการเข้ามาตั้งโรงงานผลิตในเมืองไทยจะเป็นการตั้งฐานผลิตเพื่อป้อนตลาดในประเทศเท่านั้น แต่หลังจากที่รัฐบาลไทยให้สิทธิประโยชน์ในการลงทุน ทั้งในด้านภาษี และการให้อินเซ็นทีฟต่างๆ จึงเป็นแรงจูงใจให้ผู้ผลิตรถยนต์หลายรายย้ายฐานการผลิตเข้ามาไว้ที่นี่ เพื่อให้เป็นฐานการผลิตรถปิกอัพสำหรับส่งออกไปทั่วโลก
โดยมีเรื่องของต้นทุนและความคุ้มค่าในการผลิตเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจ
สำหรับบริษัทรถยนต์รายแรกที่ตัดสินใจย้ายฐานการผลิตรถปิกอัพมายังเมืองไทย คือ เอ็มเอ็มซี สิทธิผล หรือมิตซูบิชิ มอเตอร์ ประเทศไทย ได้ประกาศการย้ายฐานเข้ามาอย่างเป็นทางการในปี 2537 เพื่อทำการผลิตและส่งออกรถปิกอัพสตราดาไปยัง 139 ประเทศทั่วโลก โดยปัจจุบันมีการส่งออกปีละประมาณ 77,000 คัน และผลิตเพื่อขายในประเทศอีก 25,000 คัน
ต่อมาในปี 2539 ยักษ์ใหญ่จากอเมริกาอย่างฟอร์ดมอเตอร์ก็ประกาศการลงทุนในประเทศไทย ด้วยจับมือกับบริษัทในเครืออย่างมาสด้า มอเตอร์ ก่อตั้งบริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ ประเทศไทย จำกัด (เอเอที) เพื่อใช้เป็นโรงงานผลิตรถปิกอัพฟอร์ด เรนเจอร์ และมาสด้า ไฟเตอร์ สำหรับการส่งออกไปจำหน่ายทั่วโลก โดยมีกำลังผลิตปีละประมาณ 120,000 คัน
และล่าสุดเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา บิล ฟอร์ด ประธานบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฟอร์ด มอเตอร์ คอมปะนี ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทย ก็ประกาศการลงทุนเพิ่มเติมในเอเอทีอีก 2.1 หมื่นล้านบาท ในช่วงเวลา 3 ปีข้างหน้า เพื่อใช้ในการพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่ๆ และเพิ่มศักยภาพการผลิตของโรงงาน พร้อมกับยืนยันที่จะเพิ่มกำลังผลิตเป็น 200,000 คันในอนาคต
นั่นเป็นสิ่งที่ยืนยันความเชื่อมั่นของบริษัทรถยนต์ต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี
ส่วนยักษ์ใหญ่สัญชาติญี่ปุ่นที่ครองตลาดรถปิกอัพในเมืองไทยมายาวนานอย่างอีซูซุ ได้ประกาศย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยในปี 2545 โดยในช่วงแรกได้ใช้ฐานการผลิตของอีซูซุมอเตอร์ ประเทศไทย ที่สมุทรปราการ สำหรับการส่งออกไปยังประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และว่าจ้างให้โรงงานเจนเนอรัล มอเตอร์ ประเทศไทย ที่จังหวัดระยอง สำหรับผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
ต่อมาทางอีซูซุได้ย้ายไลน์ผลิตรถที่จะส่งออกไปออสเตรเลียมาผลิตที่โรงงานจีเอ็มจังหวัดระยองแล้ว ส่วนโรงงานอีซูซุที่สมุทรปราการ จะเป็นฐานผลิตเพื่อป้อนตลาดในประเทศอย่างเดียว
และเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย ได้ประกาศการลงทุนในโครงการ "IMV Project" (International Multipurpose Vehicle) ซึ่งเป็นโครงการผลิตรถปิกอัพ รถอเนกประสงค์ และเครื่องยนต์ดีเซล เพื่อการส่งออกไปทั่วโลก โดยมีกำหนดการส่งออกในกลางปีหน้า
ทั้งหมดนี้โตโยต้าใช้เงินลงทุนประมาณ 30,000 ล้านบาท เป็นการลงทุนในบริษัทโตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย ประมาณ 15,000 ล้านบาท เพื่อขยายกำลังผลิตรถยนต์จาก 90,000 คัน เป็น 200,000 คัน
และอีก 4,000 ล้านบาท เป็นการลงทุนในบริษัท สยามโตโยต้าอุตสาหกรรม จำกัด ซึ่งเป็นฐานการผลิตเครื่องยนต์ดีเซล โดยขยายกำลังผลิตจากปีละ 150,000 เครื่อง เป็น 240,000 เครื่อง ส่วนเม็ดเงินที่เหลืออีก 11,000 ล้านบาท เป็นการลงทุนขยายกำลังผลิตในบริษัทชิ้นส่วนที่เป็นซัพพลายเออร์ของโตโยต้า
สำหรับการย้ายฐานผลิตของบริษัทรถยนต์ต่างๆ นอกจากจะมีการลงทุนในการผลิตรถยนต์ และนำเม็ดเงินเข้าในประเทศจากการส่งออกแล้ว อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ ยังได้ประโยชน์จากโครงการนี้โดยตรง ทั้งนี้ ทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงุทน (บีโอไอ) ได้อนุมัติการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ในครึ่งปีแรกไปแล้ว 82 ราย โดยมีมูลค่าการลงทุนถึง 37,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่บ่งชี้ถึงการเติบโตในอุตสาหกรรมนี้อย่างแท้จริง
ด้วยความที่ตลาดรถยนต์ในประเทศไทยมีตลาดหลักอยู่ที่รถปิกอัพ ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดถึง 60% ถือว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 1 ของโลก ไม่รวมสหรัฐอเมริกาซึ่งใช้รถกระบะที่มีขนาดใหญ่กว่า
ดังนั้น บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ทั้งหลายจึงหมายมั่นที่จะเข้ามายึดหัวหาดในเมืองไทยเพื่อหวังจะเข้ามาครองส่วนแบ่งในตลาดนี้
แม้ว่าในช่วงแรกของการเข้ามาตั้งโรงงานผลิตในเมืองไทยจะเป็นการตั้งฐานผลิตเพื่อป้อนตลาดในประเทศเท่านั้น แต่หลังจากที่รัฐบาลไทยให้สิทธิประโยชน์ในการลงทุน ทั้งในด้านภาษี และการให้อินเซ็นทีฟต่างๆ จึงเป็นแรงจูงใจให้ผู้ผลิตรถยนต์หลายรายย้ายฐานการผลิตเข้ามาไว้ที่นี่ เพื่อให้เป็นฐานการผลิตรถปิกอัพสำหรับส่งออกไปทั่วโลก
โดยมีเรื่องของต้นทุนและความคุ้มค่าในการผลิตเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจ
สำหรับบริษัทรถยนต์รายแรกที่ตัดสินใจย้ายฐานการผลิตรถปิกอัพมายังเมืองไทย คือ เอ็มเอ็มซี สิทธิผล หรือมิตซูบิชิ มอเตอร์ ประเทศไทย ได้ประกาศการย้ายฐานเข้ามาอย่างเป็นทางการในปี 2537 เพื่อทำการผลิตและส่งออกรถปิกอัพสตราดาไปยัง 139 ประเทศทั่วโลก โดยปัจจุบันมีการส่งออกปีละประมาณ 77,000 คัน และผลิตเพื่อขายในประเทศอีก 25,000 คัน
ต่อมาในปี 2539 ยักษ์ใหญ่จากอเมริกาอย่างฟอร์ดมอเตอร์ก็ประกาศการลงทุนในประเทศไทย ด้วยจับมือกับบริษัทในเครืออย่างมาสด้า มอเตอร์ ก่อตั้งบริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ ประเทศไทย จำกัด (เอเอที) เพื่อใช้เป็นโรงงานผลิตรถปิกอัพฟอร์ด เรนเจอร์ และมาสด้า ไฟเตอร์ สำหรับการส่งออกไปจำหน่ายทั่วโลก โดยมีกำลังผลิตปีละประมาณ 120,000 คัน
และล่าสุดเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา บิล ฟอร์ด ประธานบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฟอร์ด มอเตอร์ คอมปะนี ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทย ก็ประกาศการลงทุนเพิ่มเติมในเอเอทีอีก 2.1 หมื่นล้านบาท ในช่วงเวลา 3 ปีข้างหน้า เพื่อใช้ในการพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่ๆ และเพิ่มศักยภาพการผลิตของโรงงาน พร้อมกับยืนยันที่จะเพิ่มกำลังผลิตเป็น 200,000 คันในอนาคต
นั่นเป็นสิ่งที่ยืนยันความเชื่อมั่นของบริษัทรถยนต์ต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี
ส่วนยักษ์ใหญ่สัญชาติญี่ปุ่นที่ครองตลาดรถปิกอัพในเมืองไทยมายาวนานอย่างอีซูซุ ได้ประกาศย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยในปี 2545 โดยในช่วงแรกได้ใช้ฐานการผลิตของอีซูซุมอเตอร์ ประเทศไทย ที่สมุทรปราการ สำหรับการส่งออกไปยังประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และว่าจ้างให้โรงงานเจนเนอรัล มอเตอร์ ประเทศไทย ที่จังหวัดระยอง สำหรับผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
ต่อมาทางอีซูซุได้ย้ายไลน์ผลิตรถที่จะส่งออกไปออสเตรเลียมาผลิตที่โรงงานจีเอ็มจังหวัดระยองแล้ว ส่วนโรงงานอีซูซุที่สมุทรปราการ จะเป็นฐานผลิตเพื่อป้อนตลาดในประเทศอย่างเดียว
และเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย ได้ประกาศการลงทุนในโครงการ "IMV Project" (International Multipurpose Vehicle) ซึ่งเป็นโครงการผลิตรถปิกอัพ รถอเนกประสงค์ และเครื่องยนต์ดีเซล เพื่อการส่งออกไปทั่วโลก โดยมีกำหนดการส่งออกในกลางปีหน้า
ทั้งหมดนี้โตโยต้าใช้เงินลงทุนประมาณ 30,000 ล้านบาท เป็นการลงทุนในบริษัทโตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย ประมาณ 15,000 ล้านบาท เพื่อขยายกำลังผลิตรถยนต์จาก 90,000 คัน เป็น 200,000 คัน
และอีก 4,000 ล้านบาท เป็นการลงทุนในบริษัท สยามโตโยต้าอุตสาหกรรม จำกัด ซึ่งเป็นฐานการผลิตเครื่องยนต์ดีเซล โดยขยายกำลังผลิตจากปีละ 150,000 เครื่อง เป็น 240,000 เครื่อง ส่วนเม็ดเงินที่เหลืออีก 11,000 ล้านบาท เป็นการลงทุนขยายกำลังผลิตในบริษัทชิ้นส่วนที่เป็นซัพพลายเออร์ของโตโยต้า
สำหรับการย้ายฐานผลิตของบริษัทรถยนต์ต่างๆ นอกจากจะมีการลงทุนในการผลิตรถยนต์ และนำเม็ดเงินเข้าในประเทศจากการส่งออกแล้ว อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ ยังได้ประโยชน์จากโครงการนี้โดยตรง ทั้งนี้ ทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงุทน (บีโอไอ) ได้อนุมัติการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ในครึ่งปีแรกไปแล้ว 82 ราย โดยมีมูลค่าการลงทุนถึง 37,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่บ่งชี้ถึงการเติบโตในอุตสาหกรรมนี้อย่างแท้จริง
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1011
- ผู้ติดตาม: 0
ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์
โพสต์ที่ 13
ตลาดรถยนต์เอเชียโตสุดในโลก
เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา "ดิ อีโคโนมิสต์ กรุ๊ป" ได้มีการจัดสัมมนาโต๊ะกลม "ดิ อีโคโนมิสต์ คอนเฟอเรนซ์" ครั้งที่ 8 ขึ้นในประเทศไทย โดยเป็นการอภิปรายอนาคต อุตสาหกรรมยานยนต์ในภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งอยู่ในช่วงฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมทั้งระบบ โดยเป็นผลมาจากภาพรวมของเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
การประชุมเปิดงานโดย "แกรม แม็กซ์ตัน" กรรมการผู้จัดการของออโตโพลิส เอเชียเล่าสู่กันฟังถึงสถานการณ์และยอดจำหน่ายรถยนต์ในตลาดโลก ที่มี 3 ยักษ์ใหญ่แห่งอเมริกา เจนเนอรัล มอเตอร์ส, เดมเลอร์ไครสเลอร์ และฟอร์ด ครองอันดับ 1-3 ในด้านยอดขาย ตามมาด้วยบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นอย่างโตโยต้า นิสสัน-เรโนลต์ และฮอนด้า
แต่ที่น่าสนใจกลับเป็นเรื่องของมูลค่าผลกำไรและมูลค่าเพิ่มที่บริษัทรถยนต์เหล่านี้มี เป็นที่น่าแปลกใจว่าบริษัทรถยนต์อย่างโตโยต้ากลับนำโด่ง ขณะที่บิ๊กทรีของอเมริกากลับมีสัดส่วนเหล่านี้น้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด รวมถึงประสิทธิภาพในด้านการบริหารต่างๆ ในจุดนี้ถือว่าบริษัทรถแดนปลาดิบนำโด่งแบบไม่เห็นฝุ่น
สถานการณ์ของตลาดเอเชียก็น่าสนใจไม่แพ้กัน โดยเฉพาะตลาดประเทศจีนที่โตวันโตคืนและมีแนวโน้มว่าจะแซงตลาดใหญ่อย่างญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดที่กำลังค่อยๆ ดรอปลงไปในไม่ช้า ขณะที่ตลาดใหญ่อีกแห่งอย่างอินเดียก็ไม่น่าจะขยายตัวอย่างเปรี้ยงปร้างนัก
ผิดกับตลาดไต้หวันและไทยที่แม้จะมีตัวเลขไม่มากนัก แต่ศักยภาพและแนวโน้มของตลาดยังไปได้สวยอยู่ และนอกจากญี่ปุ่นแล้ว บทบาทของเกาหลีใต้ก็อาจจะถูกบดบังในช่วงทศวรรษถัดไปเช่นกัน
สอดคล้องกับ "เดวิด สไนเดอร์" ผอ.ฝ่ายพัฒนาธุรกิจของฟอร์ด เอเชีย-แปซิฟิก ที่บอกว่าตลาดเอเชียน่าสนใจที่สุดในปัจจุบัน เพราะขณะที่อเมริกาเหนือกับยุโรปเริ่มทรงตัว ตลาดเอเชียกลับเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะยอดขายกว่า 14.4 ล้านคันจากฐานการผลิตทั้ง 9 แห่งของฟอร์ดในภูมิภาค
ฟอร์ดมองว่าตลาดเอเชียมีโอกาสที่จะขยายตัวอีกมาก และก็มีแผนที่จะจำหน่ายรถมากกว่า 6 ล้านคันในภูมิภาคนี้ในปี 2010 โดยเป็นส่วนแบ่งของประเทศจีน 49% อาเซียน 16% อินเดีย 12% เกาหลี 12% และที่เหลือเป็นที่อื่นๆ ในภูมิภาคนี้ โดยจะมีการลงทุนเพิ่มเติมในไทย จีน ออสเตรเลียและฟิลิปปินส์
นอกจากนี้ยังมองว่าการส่งออกรถยนต์จากภูมิภาคนี้จะมาจาก 4 ประเทศหลักคือ ญี่ปุ่นที่มีการส่งออก 46% ของยอดผลิต เกาหลีใต้ 48% ไทย 33% และออสเตรเลีย 31%
"จากนี้ไปถึงปี 2010 นั้น การเติบโตของตลาดรถยนต์โลกจะอยู่ที่เอเชียถึง 60% โดยจากจำนวนนี้ ครึ่งหนึ่งจะมาจากประเทศจีน ตามด้วยอาเซียนและอินเดีย ซึ่งฟอร์ดมองว่าเป็นการขยายตัวอย่างแท้จริง โดยมีการผลักดันจากจีน อาเซียนและอินเดียเป็นหลัก"
"ชาร์ลี มูโรโดโน" กรรมการผู้จัดการ เดนโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย บอกว่า ตลาดรถยนต์ในเอเชียจะเติบโตขึ้นอย่างแน่นอน เห็นได้จากยอดการคาดประมาณการผลิตรถยนต์ในภูมิภาคที่นับวันจะสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยการคาดการณ์ล่าสุดถึงปี 2010 พบว่าประเทศจีนจะผลิตรถถึง 8 ล้านคัน อาเซียน 2.5 ล้านคัน และอินเดีย 1.8 ล้านคัน โดยเดนโซ่เองมีแผนลงทุนถึงระหว่างปี 2000-2005 กว่า 400 ล้านเหรียญในภูมิภาคนี้เพื่อรองรับการเติบโตของตลาด
ขณะที่ "วี สุมันตรัน" ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจรถยนต์นั่งและศูนย์วิจัยวิศวกรรม ของทาทา มอเตอร์ โลคอลแบรนด์จากอินเดีย บอกว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ในเอเชียถือว่ามีความท้าทายอย่างมาก โดยความท้าทายอยู่ที่การมุ่งเป้าหมายไปที่ความชำนาญในการพัฒนาสินค้า โดยการลงทุนในเอเชียก็เป็นสิ่งที่ประสบผลสำเร็จดี เนื่องจากเอเชียเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพในเรื่องการพัฒนายานยนต์ด้วยงบฯลงทุนที่เหมาะสม รวมถึงประสิทธิภาพในการผลิตที่โดดเด่น
ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่ดีและน่าจะผลักดันให้อุตสาหกรรมในภูมิภาคนี้ก้าวหน้าอย่างโดดเด่นและต่อเนื่องอย่างยิ่ง !!!
เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา "ดิ อีโคโนมิสต์ กรุ๊ป" ได้มีการจัดสัมมนาโต๊ะกลม "ดิ อีโคโนมิสต์ คอนเฟอเรนซ์" ครั้งที่ 8 ขึ้นในประเทศไทย โดยเป็นการอภิปรายอนาคต อุตสาหกรรมยานยนต์ในภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งอยู่ในช่วงฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมทั้งระบบ โดยเป็นผลมาจากภาพรวมของเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
การประชุมเปิดงานโดย "แกรม แม็กซ์ตัน" กรรมการผู้จัดการของออโตโพลิส เอเชียเล่าสู่กันฟังถึงสถานการณ์และยอดจำหน่ายรถยนต์ในตลาดโลก ที่มี 3 ยักษ์ใหญ่แห่งอเมริกา เจนเนอรัล มอเตอร์ส, เดมเลอร์ไครสเลอร์ และฟอร์ด ครองอันดับ 1-3 ในด้านยอดขาย ตามมาด้วยบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นอย่างโตโยต้า นิสสัน-เรโนลต์ และฮอนด้า
แต่ที่น่าสนใจกลับเป็นเรื่องของมูลค่าผลกำไรและมูลค่าเพิ่มที่บริษัทรถยนต์เหล่านี้มี เป็นที่น่าแปลกใจว่าบริษัทรถยนต์อย่างโตโยต้ากลับนำโด่ง ขณะที่บิ๊กทรีของอเมริกากลับมีสัดส่วนเหล่านี้น้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด รวมถึงประสิทธิภาพในด้านการบริหารต่างๆ ในจุดนี้ถือว่าบริษัทรถแดนปลาดิบนำโด่งแบบไม่เห็นฝุ่น
สถานการณ์ของตลาดเอเชียก็น่าสนใจไม่แพ้กัน โดยเฉพาะตลาดประเทศจีนที่โตวันโตคืนและมีแนวโน้มว่าจะแซงตลาดใหญ่อย่างญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดที่กำลังค่อยๆ ดรอปลงไปในไม่ช้า ขณะที่ตลาดใหญ่อีกแห่งอย่างอินเดียก็ไม่น่าจะขยายตัวอย่างเปรี้ยงปร้างนัก
ผิดกับตลาดไต้หวันและไทยที่แม้จะมีตัวเลขไม่มากนัก แต่ศักยภาพและแนวโน้มของตลาดยังไปได้สวยอยู่ และนอกจากญี่ปุ่นแล้ว บทบาทของเกาหลีใต้ก็อาจจะถูกบดบังในช่วงทศวรรษถัดไปเช่นกัน
สอดคล้องกับ "เดวิด สไนเดอร์" ผอ.ฝ่ายพัฒนาธุรกิจของฟอร์ด เอเชีย-แปซิฟิก ที่บอกว่าตลาดเอเชียน่าสนใจที่สุดในปัจจุบัน เพราะขณะที่อเมริกาเหนือกับยุโรปเริ่มทรงตัว ตลาดเอเชียกลับเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะยอดขายกว่า 14.4 ล้านคันจากฐานการผลิตทั้ง 9 แห่งของฟอร์ดในภูมิภาค
ฟอร์ดมองว่าตลาดเอเชียมีโอกาสที่จะขยายตัวอีกมาก และก็มีแผนที่จะจำหน่ายรถมากกว่า 6 ล้านคันในภูมิภาคนี้ในปี 2010 โดยเป็นส่วนแบ่งของประเทศจีน 49% อาเซียน 16% อินเดีย 12% เกาหลี 12% และที่เหลือเป็นที่อื่นๆ ในภูมิภาคนี้ โดยจะมีการลงทุนเพิ่มเติมในไทย จีน ออสเตรเลียและฟิลิปปินส์
นอกจากนี้ยังมองว่าการส่งออกรถยนต์จากภูมิภาคนี้จะมาจาก 4 ประเทศหลักคือ ญี่ปุ่นที่มีการส่งออก 46% ของยอดผลิต เกาหลีใต้ 48% ไทย 33% และออสเตรเลีย 31%
"จากนี้ไปถึงปี 2010 นั้น การเติบโตของตลาดรถยนต์โลกจะอยู่ที่เอเชียถึง 60% โดยจากจำนวนนี้ ครึ่งหนึ่งจะมาจากประเทศจีน ตามด้วยอาเซียนและอินเดีย ซึ่งฟอร์ดมองว่าเป็นการขยายตัวอย่างแท้จริง โดยมีการผลักดันจากจีน อาเซียนและอินเดียเป็นหลัก"
"ชาร์ลี มูโรโดโน" กรรมการผู้จัดการ เดนโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย บอกว่า ตลาดรถยนต์ในเอเชียจะเติบโตขึ้นอย่างแน่นอน เห็นได้จากยอดการคาดประมาณการผลิตรถยนต์ในภูมิภาคที่นับวันจะสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยการคาดการณ์ล่าสุดถึงปี 2010 พบว่าประเทศจีนจะผลิตรถถึง 8 ล้านคัน อาเซียน 2.5 ล้านคัน และอินเดีย 1.8 ล้านคัน โดยเดนโซ่เองมีแผนลงทุนถึงระหว่างปี 2000-2005 กว่า 400 ล้านเหรียญในภูมิภาคนี้เพื่อรองรับการเติบโตของตลาด
ขณะที่ "วี สุมันตรัน" ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจรถยนต์นั่งและศูนย์วิจัยวิศวกรรม ของทาทา มอเตอร์ โลคอลแบรนด์จากอินเดีย บอกว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ในเอเชียถือว่ามีความท้าทายอย่างมาก โดยความท้าทายอยู่ที่การมุ่งเป้าหมายไปที่ความชำนาญในการพัฒนาสินค้า โดยการลงทุนในเอเชียก็เป็นสิ่งที่ประสบผลสำเร็จดี เนื่องจากเอเชียเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพในเรื่องการพัฒนายานยนต์ด้วยงบฯลงทุนที่เหมาะสม รวมถึงประสิทธิภาพในการผลิตที่โดดเด่น
ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่ดีและน่าจะผลักดันให้อุตสาหกรรมในภูมิภาคนี้ก้าวหน้าอย่างโดดเด่นและต่อเนื่องอย่างยิ่ง !!!
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1011
- ผู้ติดตาม: 0
ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์
โพสต์ที่ 14
โตโยต้าทะลุ1.8แสนคัน ทุบสถิติยอดขายสูงสุดรอบ41ปี
"โตโยต้า" แรงฉุดไม่อยู่ สร้างสถิติใหม่นิวไฮทำยอดขายสูงสุดทะลุ 1.8 แสนคัน พร้อมยอดประกอบ 2 แสนคัน หลังจากทำตลาดในไทยครบ 41 ปี ชี้ครองแชร์ถึง 35% เผยมีหลายปัจจัยหนุน ปลื้ม "วีออส" ขายดีเกินคาด 4,000 คันต่อเดือน ตั้งเป้าปีหน้าฟันยอดขายทะลุ 2 แสนคัน เร่งขยายโชว์รูมรองรับทั่วประเทศ เน้นโชว์รูมใหม่ต้องครบ 3 เอส เซลส์-เซอร์วิส-สแปร์พาร์ต คาดปี 2548 ยอดขายทะลุ 2.4 แสนคันแน่นอน
นายไพบูลย์ ไวความดี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในปีนี้บริษัทสามารถทำลายประวัติศาสตร์การขายรถยนต์โตโยต้าในเมืองไทย ด้วยการสร้างสถิติยอดขายสูงสุดครั้งใหม่ ที่คาดว่าจะทำได้ถึง 180,000 คัน ครองส่วนแบ่งตลาด 35% จากเดิมที่เคยทำสถิติสูงสุดไว้ 160,000 คัน ในปี 2539 ซึ่งถือเป็นยอดขายสูงสุดเท่าที่เคยมีมา หลังจากที่โตโยต้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเป็นปีที่ 41
"ในปี 2539 เป็นปีที่ตลาดรถยนต์เมืองไทยบูมที่สุด ยอดขายรถยนต์รวมสูงเกือบ 6 แสนคัน ในตอนนั้นโตโยต้าสามารถสร้างสถิติยอดขายได้ที่ 1.6 แสนคัน มาในปีนี้ยอดขายในตลาดรถยนต์รวม คาดว่าจะจบที่ 5.2 แสนคัน แต่ยอดขายรถยนต์โตโยต้าในช่วง 10 เดือนของปีนี้ สามารถทำได้กว่า 1.5 แสนคันแล้ว และคิดว่าในช่วง 2 เดือนสุดท้าย จะสามารถสร้างสถิติใหม่ตามเป้าที่วางไว้ 1.8 แสนคัน"
นอกจากนั้น บริษัทยังสามารถสร้างสถิติยอดการประกอบรถยนต์สูงสุดในเมืองไทยด้วย โดยปีนี้มีการประกอบถึง 200,000 คัน แบ่งเป็น ผลิตเพื่อป้อนตลาดในประเทศ 180,000 คัน และส่งออกอีก 20,000 คัน สำหรับตลาดในประเทศนั้น เป็นการผลิตรถปิกอัพ 60% และรถยนต์นั่ง 40% ส่วนการส่งออกเป็นรถปิกอัพประมาณ 10,000 คัน ที่ส่งออกไปยังประเทศออสเตรเลีย อีก 10,000 คันเป็นรถยนต์นั่ง ซึ่งในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นวีออสที่ส่งขายในภูมิภาคนี้
นายไพบูลย์กล่าวต่อว่า สาเหตุที่ทำให้โตโยต้าสามารถสร้างสถิติครั้งใหม่นี้ มีปัจจัยหลายประการด้วยกัน เริ่มจากโตโยต้ามีรถยนต์ที่หลากหลาย สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ครอบคลุม ขณะที่รถยนต์วีออสทำยอดขายได้เกินเป้า โดยมียอดขายเดือนละเกือบ 4,000 คัน ถือเป็นตัวหลักที่ช่วยเพิ่มยอดขายในปีนี้
ขณะเดียวกัน ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่กระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อของลูกค้า อาทิ เศรษฐกิจโดยรวมที่กำลังอยู่ในช่วงเติบโต โดยเฉพาะภาคการลงทุน ซึ่งมีการใช้กำลังการผลิตมากขึ้น จนใกล้เคียงกับในช่วงก่อนเกิดวิกฤต รวมทั้งการส่งออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมรถยนต์มีการย้ายฐานการลงทุนเข้ามายังเมืองไทยอย่างต่อเนื่อง ทั้งการผลิตรถยนต์ ชิ้นส่วน ซึ่งการลงทุนถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างมั่นคง
ด้านการแข่งขันทางการตลาดของบริษัทรถยนต์ ยังเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น เห็นได้จากก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ การแข่งขันในตลาดรถยนต์ยังไม่รุนแรงเท่านี้ เพราะบริษัทแม่ของค่ายรถยนต์ยังไม่ได้เข้ามาเปิดตลาดด้วยตัวเอง แต่ปัจจุบันการทำตลาดมาจากบริษัทแม่ ค่ายบิ๊กทรีก็ขยับขยายเข้ามามากขึ้น มีการนำกลยุทธ์แคมเปญต่างๆ ออกมาหลากหลายกว่าเดิม ขณะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ ช่วยกระตุ้นให้เกิดการซื้อง่ายขึ้น
"สิ่งที่เราเห็นชัดคือ ปัจจุบันไลฟ์สไตล์ของคนไทยเปลี่ยนไป คนไทยมีรสนิยมในการใช้รถมากขึ้น รถยนต์ทุกวันนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญในชีวิต ไม่ใช่สินค้าฟุ่มเฟือยอย่างในอดีต นอกจากนั้น ยังมองเป็นแฟชั่นด้วย ที่ผ่านมาคนอาจจะใช้รถนาน 5-10 ปีโดยไม่มีการเปลี่ยน แต่ปัจจุบันการเปลี่ยนรุ่นเป็นเรื่องปกติ เหมือนกับการเปลี่ยนแฟชั่นใหม่ และขณะนี้ดีลเลอร์เราก็แนะนำให้รับเทิร์นรถยนต์ง่ายขึ้น ทั้งหมดนี้ช่วยทำให้ตลาดรถยนต์ขยายตัวมากขึ้น"
นายไพบูลย์กล่าวต่อไปว่า บริษัทคาดการณ์ว่าในปี 2547 ยอดขายรถยนต์โตโยต้าน่าจะทะลุหลัก 200,000 คัน และคาดว่าในปี 2548 จะได้ถึง 240,000 คัน ดังนั้น บริษัทจึงได้เตรียมแผนงานเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต โดยเฉพาะการขยายตัวแทนจำหน่าย โดยในปีนี้บริษัทคาดว่าจะสามารถขยายโชว์รูมและศูนย์บริการในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลเพิ่มได้อีก 20 แห่ง และคาดว่าในปีหน้าจะขยายทั่วประเทศได้อีก 30 แห่ง จากปัจจุบันที่มีอยู่ 240 แห่งทั่วประเทศ ทั้งนี้จำนวนโชว์รูมใหม่ที่เพิ่มขึ้นจะต้องเป็นไปตามนโยบาย 3 เอสของโตโยต้า คือ เซลส์ เซอร์วิส และสแปร์พาร์ต เพื่อให้การบริการกับลูกค้าได้ครอบคลุมมากที่สุด
นอกจากนั้น บริษัทยังได้เตรียมนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้ามาเสริมตลาดมากขึ้น โดยในสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้ จะมีการเปิดตัวรถยนต์ "วิช" รถเอ็มพีวีที่จับกลุ่มคนรุ่นใหม่ และในกลางปีหน้าจะมีรถปิกอัพรุ่นใหม่ตามโครงการไอเอ็มวีโปรเจ็กต์ ซึ่งเป็นการย้ายฐานการผลิตรถปิกอัพจากประเทศญี่ปุ่นมาเมืองไทย ซึ่งจะช่วยขยายฐานการผลิตและส่งออกในเมืองไทยมากขึ้น
"ขณะนี้สัดส่วนการขายรถยนต์โตโยต้าจะอยู่ในเขตกรุงเทพฯ 50% และต่างจังหวัด 50% การขยายตัวแทนจำหน่ายจึงให้ความสำคัญกับกรุงเทพฯมากกว่า เพราะถือเป็นตลาดใหญ่ที่มีกลุ่มลูกค้ามาก ส่วนในต่างจังหวัดเราแบ่งเขตการขายเป็นโซน ดังนั้น การขยายโชว์รูมแต่ละแห่งจึงต้องคำนึงถึงสภาพตลาดในแต่ละจังหวัดด้วย เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดกับตัวแทนจำหน่ายรายเดิม" นายไพบูลย์กล่าว
"โตโยต้า" แรงฉุดไม่อยู่ สร้างสถิติใหม่นิวไฮทำยอดขายสูงสุดทะลุ 1.8 แสนคัน พร้อมยอดประกอบ 2 แสนคัน หลังจากทำตลาดในไทยครบ 41 ปี ชี้ครองแชร์ถึง 35% เผยมีหลายปัจจัยหนุน ปลื้ม "วีออส" ขายดีเกินคาด 4,000 คันต่อเดือน ตั้งเป้าปีหน้าฟันยอดขายทะลุ 2 แสนคัน เร่งขยายโชว์รูมรองรับทั่วประเทศ เน้นโชว์รูมใหม่ต้องครบ 3 เอส เซลส์-เซอร์วิส-สแปร์พาร์ต คาดปี 2548 ยอดขายทะลุ 2.4 แสนคันแน่นอน
นายไพบูลย์ ไวความดี รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในปีนี้บริษัทสามารถทำลายประวัติศาสตร์การขายรถยนต์โตโยต้าในเมืองไทย ด้วยการสร้างสถิติยอดขายสูงสุดครั้งใหม่ ที่คาดว่าจะทำได้ถึง 180,000 คัน ครองส่วนแบ่งตลาด 35% จากเดิมที่เคยทำสถิติสูงสุดไว้ 160,000 คัน ในปี 2539 ซึ่งถือเป็นยอดขายสูงสุดเท่าที่เคยมีมา หลังจากที่โตโยต้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเป็นปีที่ 41
"ในปี 2539 เป็นปีที่ตลาดรถยนต์เมืองไทยบูมที่สุด ยอดขายรถยนต์รวมสูงเกือบ 6 แสนคัน ในตอนนั้นโตโยต้าสามารถสร้างสถิติยอดขายได้ที่ 1.6 แสนคัน มาในปีนี้ยอดขายในตลาดรถยนต์รวม คาดว่าจะจบที่ 5.2 แสนคัน แต่ยอดขายรถยนต์โตโยต้าในช่วง 10 เดือนของปีนี้ สามารถทำได้กว่า 1.5 แสนคันแล้ว และคิดว่าในช่วง 2 เดือนสุดท้าย จะสามารถสร้างสถิติใหม่ตามเป้าที่วางไว้ 1.8 แสนคัน"
นอกจากนั้น บริษัทยังสามารถสร้างสถิติยอดการประกอบรถยนต์สูงสุดในเมืองไทยด้วย โดยปีนี้มีการประกอบถึง 200,000 คัน แบ่งเป็น ผลิตเพื่อป้อนตลาดในประเทศ 180,000 คัน และส่งออกอีก 20,000 คัน สำหรับตลาดในประเทศนั้น เป็นการผลิตรถปิกอัพ 60% และรถยนต์นั่ง 40% ส่วนการส่งออกเป็นรถปิกอัพประมาณ 10,000 คัน ที่ส่งออกไปยังประเทศออสเตรเลีย อีก 10,000 คันเป็นรถยนต์นั่ง ซึ่งในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นวีออสที่ส่งขายในภูมิภาคนี้
นายไพบูลย์กล่าวต่อว่า สาเหตุที่ทำให้โตโยต้าสามารถสร้างสถิติครั้งใหม่นี้ มีปัจจัยหลายประการด้วยกัน เริ่มจากโตโยต้ามีรถยนต์ที่หลากหลาย สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ครอบคลุม ขณะที่รถยนต์วีออสทำยอดขายได้เกินเป้า โดยมียอดขายเดือนละเกือบ 4,000 คัน ถือเป็นตัวหลักที่ช่วยเพิ่มยอดขายในปีนี้
ขณะเดียวกัน ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่กระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อของลูกค้า อาทิ เศรษฐกิจโดยรวมที่กำลังอยู่ในช่วงเติบโต โดยเฉพาะภาคการลงทุน ซึ่งมีการใช้กำลังการผลิตมากขึ้น จนใกล้เคียงกับในช่วงก่อนเกิดวิกฤต รวมทั้งการส่งออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมรถยนต์มีการย้ายฐานการลงทุนเข้ามายังเมืองไทยอย่างต่อเนื่อง ทั้งการผลิตรถยนต์ ชิ้นส่วน ซึ่งการลงทุนถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างมั่นคง
ด้านการแข่งขันทางการตลาดของบริษัทรถยนต์ ยังเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น เห็นได้จากก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ การแข่งขันในตลาดรถยนต์ยังไม่รุนแรงเท่านี้ เพราะบริษัทแม่ของค่ายรถยนต์ยังไม่ได้เข้ามาเปิดตลาดด้วยตัวเอง แต่ปัจจุบันการทำตลาดมาจากบริษัทแม่ ค่ายบิ๊กทรีก็ขยับขยายเข้ามามากขึ้น มีการนำกลยุทธ์แคมเปญต่างๆ ออกมาหลากหลายกว่าเดิม ขณะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ ช่วยกระตุ้นให้เกิดการซื้อง่ายขึ้น
"สิ่งที่เราเห็นชัดคือ ปัจจุบันไลฟ์สไตล์ของคนไทยเปลี่ยนไป คนไทยมีรสนิยมในการใช้รถมากขึ้น รถยนต์ทุกวันนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญในชีวิต ไม่ใช่สินค้าฟุ่มเฟือยอย่างในอดีต นอกจากนั้น ยังมองเป็นแฟชั่นด้วย ที่ผ่านมาคนอาจจะใช้รถนาน 5-10 ปีโดยไม่มีการเปลี่ยน แต่ปัจจุบันการเปลี่ยนรุ่นเป็นเรื่องปกติ เหมือนกับการเปลี่ยนแฟชั่นใหม่ และขณะนี้ดีลเลอร์เราก็แนะนำให้รับเทิร์นรถยนต์ง่ายขึ้น ทั้งหมดนี้ช่วยทำให้ตลาดรถยนต์ขยายตัวมากขึ้น"
นายไพบูลย์กล่าวต่อไปว่า บริษัทคาดการณ์ว่าในปี 2547 ยอดขายรถยนต์โตโยต้าน่าจะทะลุหลัก 200,000 คัน และคาดว่าในปี 2548 จะได้ถึง 240,000 คัน ดังนั้น บริษัทจึงได้เตรียมแผนงานเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต โดยเฉพาะการขยายตัวแทนจำหน่าย โดยในปีนี้บริษัทคาดว่าจะสามารถขยายโชว์รูมและศูนย์บริการในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลเพิ่มได้อีก 20 แห่ง และคาดว่าในปีหน้าจะขยายทั่วประเทศได้อีก 30 แห่ง จากปัจจุบันที่มีอยู่ 240 แห่งทั่วประเทศ ทั้งนี้จำนวนโชว์รูมใหม่ที่เพิ่มขึ้นจะต้องเป็นไปตามนโยบาย 3 เอสของโตโยต้า คือ เซลส์ เซอร์วิส และสแปร์พาร์ต เพื่อให้การบริการกับลูกค้าได้ครอบคลุมมากที่สุด
นอกจากนั้น บริษัทยังได้เตรียมนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้ามาเสริมตลาดมากขึ้น โดยในสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้ จะมีการเปิดตัวรถยนต์ "วิช" รถเอ็มพีวีที่จับกลุ่มคนรุ่นใหม่ และในกลางปีหน้าจะมีรถปิกอัพรุ่นใหม่ตามโครงการไอเอ็มวีโปรเจ็กต์ ซึ่งเป็นการย้ายฐานการผลิตรถปิกอัพจากประเทศญี่ปุ่นมาเมืองไทย ซึ่งจะช่วยขยายฐานการผลิตและส่งออกในเมืองไทยมากขึ้น
"ขณะนี้สัดส่วนการขายรถยนต์โตโยต้าจะอยู่ในเขตกรุงเทพฯ 50% และต่างจังหวัด 50% การขยายตัวแทนจำหน่ายจึงให้ความสำคัญกับกรุงเทพฯมากกว่า เพราะถือเป็นตลาดใหญ่ที่มีกลุ่มลูกค้ามาก ส่วนในต่างจังหวัดเราแบ่งเขตการขายเป็นโซน ดังนั้น การขยายโชว์รูมแต่ละแห่งจึงต้องคำนึงถึงสภาพตลาดในแต่ละจังหวัดด้วย เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดกับตัวแทนจำหน่ายรายเดิม" นายไพบูลย์กล่าว
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1011
- ผู้ติดตาม: 0
ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์
โพสต์ที่ 15
สมคิดจี้ผนึกอาเซียน ดันยานยนต์สู้ทุนโลก
ดร.สมคิดตอกย้ำวิสัยทัศน์ดันไทยนำอาเซียนแข่งขันในเวทีอุตสาหกรรมยานยนต์โลก แจงทุกฝ่ายต้องผนึกกำลังสร้างมิติใหม่ให้อาเซียน ที่กำลังเดินหน้าสู่ตลาดยุทธศาสตร์ในเอเชียแปซิฟิค ค่ายรถขานรับนโยบายรัฐเต็มตัว ทุกฝ่ายเตรียมขยายลงทุนรับตลาดโตในอนาคต
ฯพณฯ รองนายกรัฐมตรี ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กล่าวในงานปาฐกถาพิเศษประจำปี 2546 ที่ว่าด้วยทิศทางการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ ปี พ.ศ. 2547-2550 ซึ่งจัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวรถยนต์และจักรยานยนต์ไทย ประชาชาติธุรกิจ กรังด์ปรีซ์กรุ๊ปและรี้ดเทรดเด็กซ์ ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์นั้นนับเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีรายได้คิดเป็น 16% ของจีดีพีของประเทศไทย มีการจ้างงาน 8% ของปริมาณการจ้างงานรวมทั้งประเทศ ประการสำคัญคือจะสามารถเชื่อมต่อให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ไฟฟ้า อิเลคทรอนิคส์ เครื่องหนัง และซัพพลายเออร์ต่างๆมีแรงขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อีกมาก
ดังนั้นรัฐบาลจึงจัดให้อุตสาหกรรมนี้เป็น 1 ใน 5 อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศ และนับวันรัฐมั่นใจว่าไทยจะสามารถเป็นศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาคเอเชียแปฟิคได้อย่างสมบูรณ์ในเร็ววันนี้ เนื่องจากไทยนั้นมีปัจจัยที่พร้อม ได้แก่ ต้นทุนต่ำ คุณภาพที่ดี มาร์เก็ตติ้งที่สามารถสนองผู้บริโภคได้ย่างทันท่วงที ขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาอุตสาหกรรมมาอย่างต่อเนื่อง มีโปรเคียวเมนต์เซ็นเตอร์หรือศูนย์จัดหาและกระจายชิ้นส่วนที่เป็นระบบ รวมทั้งเครือข่ายการตลาดที่ลงตัวทุกด้าน โดยที่ทุกด้านนั้นต้องสอดประสานความร่วมกันด้วยดีทั้งภาครัฐและเอกชน
ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมแขนงนี้จะประสบความสำเร็จเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่จากนี้ไปทุกอย่างจะเปลี่ยนและเอเชียจะไม่แพ้ภูมิภาคอื่นอีกต่อไป เนื่องจากศักยภาพของตลาดที่มีขนาดใหญ่ ตัวอย่างเช่นประเทศจีนนั้นมีประชากรมากกว่า 1,000 ล้านคน เช่นเดียวกับอินเดีย หรือจะเป็นอาเซียนที่มีประชากรถึง 500 ล้านคน โดยที่ตลาดเหล่านี้ยังมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก เนื่องจาก อัตราประชากรต่อจำนวนรถนั้นยังต่ำมาก อาทิ ในประเทศญี่ปุ่นนั้น มีสัดส่วนผู้ใช้รถ 2 คน:1 คัน มาเลเซียและสิงคโปร์ 5:1 ไทยนั้นอยู่ที่อัตรา 12:1 ฟิลิปปินส์ 30:1 และอินโดนีเซีย 60:1
โดยในแง่ยุทธศาสตร์การลงทุนนั้นไทยเป็นดาวเด่นของภูมิภาค เนื่องจากมีความพร้อมด้วยประการทั้งปวงดังที่กล่าวในตอนต้น และในอนาคต เอเชียซึ่งไม่นับญี่ปุ่น จะมีศูนย์กลางผลิต 2 แห่งหลัก หนึ่งในนั้นอาเซียนที่มีศูนย์กลางที่ไทย ส่วนอีกตลาดที่ต้องยอมรับคือ จีน
สำหรับประเทศไทยนั้น ณ วันนี้ ถูกจับตาจากนักลงทุนต่างชาติเป็นอันมาก เพราะนับจากช่วงที่เราประสบวิกฤติเศรษฐกิจ หลังจากนั้นเรามีจีดีพีแค่ 1.6% แต่ ณ ปัจจุบันอัตราการขยายตัวได้ป่ายระดับไปที่ 6.1% และคาดว่าจะเป็น 8% ในปีหน้านี้ ซึ่งคิดเป็นการขยายตัวกว่า 500 % ถามว่าการเติบโตดังกล่าวมีโอกาสถดถอยลงหรือไม่ คำตอบคือไม่ เพราะที่ผ่านมาเรายังไม่มีการบริหารจัดการที่ดีพอ แต่จากนี้ไปเราต้องให้ความสำคัญกับประเด็นเหล่านี้ ที่สำคัญคือไทยนั้นมีเสถียรภาพทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจสูงมาก ประกอบกับย่านอาเซียนนั้นมีความเป็นพลวัตรสูงมาก และจากนั้นไปอาเซียนจะไม่ได้มีแค่ประเทศที่เราคุ้นเคยหรือขีดวงจำกัดอยู่แค่นี้ แต่อาเซียนจะรุกขยายไปสู่ลุ่มน้ำโขง ทะลักสู่จีนตอนใต้
จากนี้ไปรัฐได้มอบนโยบายแล้วว่า เราต้องมองในเชิงยุทธศาสตร์มากขึ้น อย่างประเด็นด้าภาษีสรรพสามิตก็ยังคงศึกษาอยู่และคณะทำงานต้องเปรียบเทียบกับคู่แข่งในประเทศต่างๆด้วย เพื่อความๆได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน พร้อมกันนี้จะโน้มน้าวให้นักลงทุนมองไทยให้เป็นพาร์ทเนอร์ที่ลึกซึ้ง
" เพราะเราไม่ปราถนากลุ่มทุนที่หวังประโยชน์เพียงฝ่ายเดียวทำทุกอย่างแค่ประกอบแล้วถึงเวลาก็ย้ายฐานหนีไป ถ้าเช่นนั้น เราก็ไม่อยากเปิดประตูต้อนรับ แต่เราอยากให้นักลงทุนมาพร้อมกับหัวใจและความจริงใจ มาพร้อมกับคืนให้สังคม ตัวอย่างเช่นการพัฒนาศูนย์วิจัยและพัฒนา ถ่ายทอดโนฮาว ซึ่งถ้าท่านคิดอย่างนั้นรัฐก็พร้อมสนับสนุนทุกด้าน ผมได้กำชับบีโอไอแล้วว่า สิทธิประโยชน์ด้านภาษีจะกลายเป็นเรื่องล้าสมัย แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นทดแทนคือ คลัสเตอร์ต้องเกิดขึ้นเพื่อสร้างให้กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนแข็งแกร่งขึ้น "
ด้านนาย คาร์ลไฮ เฮคเฮาเซ่น ประธาน บริษัท เดมเลอร์ ไครสเลอร์(ประเทศไทย ) จำกัด กล่าวว่า สำหรับเมอร์เซเดสนั้นมียอดจำหน่าย 4,097 คันเศษ คาดว่าปีนี้จะเพิ่มเป็น 5,100 คันคิดเป็น 46% จากตลาดรถยนต์หรู สิ่งสำคัญที่ทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคนี้เนื่องจากมีอุตสาหกรรมชิ้นส่วนที่แข็งแกร่ง ที่สามารถรองรับการผลิตรถยนต์ได้ทุกประเภท ทั้งนี้แม้ว่า จีนได้เปรียบไทยก็จริง แต่หากร่วมมือจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับไทยได้อีกมาก
นายวิล เลี่ยม บอทวิค กล่าวว่า จีเอ็ม ยังคงใช้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่ส่งออกไปทั่วโลก แม้ว่าบางยี่ห้อจะไม่ขายที่ไทย ที่ผ่านมาลงไป 700 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งสามารถรองรับการผลิตได้มากกว่า 100,000 คันต่อปี อย่างไรก็ตามในอนาคตอันใกล้จีเอ็มคงต้องลงทุนเพิ่มเพื่อรองรับการโตของตลาด
ด้านนายนินนาท ไชยธีระภิญโญ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งร่วมเป็นวิทยกรในงานครั้งนี้ด้วยกล่าวว่า นับวันศักยภาพของไทยจะไปไกลทั่วโลก อย่างกรณีโตโยต้านั้น ยอดขายในไทยเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกาที่ขายได้ 1.5 ล้านคัน ต่อปี ออสเตรเลีย 157,000 คัน ส่วนไทยตามหลังออสเตรเลียแค่ 7,000 คันเท่านั้น แต่อนาคตอันใกล้ทุกอย่างจะเปลี่ยนเพราะดีมานต์ที่สูงขึ้นจากภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศที่ดีขึ้น ซึ่งถึงวันนี้ไทยในสายตาญี่ปุ่น หรือจะเป็นประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นยุโรป หรือตะวันออกกลางนั้นถือว่าดีมาก และจากนี้ไปจะมีเม็ดเงินหลั่งไหลเข้ามาลงทุนอีกมาก
นายจาตุรนต์ โกมลมิศร์ ในฐานะนายกสมาคมผู้สื่อข่าวรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไทยกล่าวว่า ความสำคัญของงานนี้ ไม่ใช่เพียงแค่นำเสนอหรือแลกเปลี่ยนสาระสำคัญด้านการลงทุน หรือทิศทางเดินของอุตสาหกรรมยารนยนต์ในอนาคตเท่านั้นแต่เวทีนี้จะเป็นการลดระยะห่างของผู้ประกอบการและภาครัฐ ทั้งนี้เพื่อสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันผนึกให้ศักยภาพของประเทศแกร่งยิ่งขึ้น เพื่อให้ไทยสามารถบรรลุถึงเป้าหมายการผลิต 1 ล้านคันต่อปีในปี 2549 นี้ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในภาระกิจหลักของสมาคม
ขณะนี้สถาบันยานยนต์ โดย นายวัลลภ เตียศิริ กล่าวว่า สถาบันถูกวางให้เป็นองค์กรหลักที่จะเชื่อมโยงระหว่างรัฐและเอกชน เพื่อให้อุตสาหกรรมนี้แข่งขันได้ในเวทีโลก ซึ่งที่ผ่านมาสถาบันก็ได้ร่วมกับทุกฝ่ายจัดทำแผนแม่บทเป็นที่เรียบร้อยแล้วและจะเริ่มดำเนินการได้ในไม่นานนี้ ซึ่งแผนบรรจุทุกอย่างเพื่อดันไทยสู่การเป็นดีทรอยต์ออฟเอเชียให้สำเร็จ
ดร.สมคิดตอกย้ำวิสัยทัศน์ดันไทยนำอาเซียนแข่งขันในเวทีอุตสาหกรรมยานยนต์โลก แจงทุกฝ่ายต้องผนึกกำลังสร้างมิติใหม่ให้อาเซียน ที่กำลังเดินหน้าสู่ตลาดยุทธศาสตร์ในเอเชียแปซิฟิค ค่ายรถขานรับนโยบายรัฐเต็มตัว ทุกฝ่ายเตรียมขยายลงทุนรับตลาดโตในอนาคต
ฯพณฯ รองนายกรัฐมตรี ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กล่าวในงานปาฐกถาพิเศษประจำปี 2546 ที่ว่าด้วยทิศทางการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ ปี พ.ศ. 2547-2550 ซึ่งจัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวรถยนต์และจักรยานยนต์ไทย ประชาชาติธุรกิจ กรังด์ปรีซ์กรุ๊ปและรี้ดเทรดเด็กซ์ ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์นั้นนับเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีรายได้คิดเป็น 16% ของจีดีพีของประเทศไทย มีการจ้างงาน 8% ของปริมาณการจ้างงานรวมทั้งประเทศ ประการสำคัญคือจะสามารถเชื่อมต่อให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ไฟฟ้า อิเลคทรอนิคส์ เครื่องหนัง และซัพพลายเออร์ต่างๆมีแรงขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อีกมาก
ดังนั้นรัฐบาลจึงจัดให้อุตสาหกรรมนี้เป็น 1 ใน 5 อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศ และนับวันรัฐมั่นใจว่าไทยจะสามารถเป็นศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาคเอเชียแปฟิคได้อย่างสมบูรณ์ในเร็ววันนี้ เนื่องจากไทยนั้นมีปัจจัยที่พร้อม ได้แก่ ต้นทุนต่ำ คุณภาพที่ดี มาร์เก็ตติ้งที่สามารถสนองผู้บริโภคได้ย่างทันท่วงที ขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาอุตสาหกรรมมาอย่างต่อเนื่อง มีโปรเคียวเมนต์เซ็นเตอร์หรือศูนย์จัดหาและกระจายชิ้นส่วนที่เป็นระบบ รวมทั้งเครือข่ายการตลาดที่ลงตัวทุกด้าน โดยที่ทุกด้านนั้นต้องสอดประสานความร่วมกันด้วยดีทั้งภาครัฐและเอกชน
ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมแขนงนี้จะประสบความสำเร็จเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่จากนี้ไปทุกอย่างจะเปลี่ยนและเอเชียจะไม่แพ้ภูมิภาคอื่นอีกต่อไป เนื่องจากศักยภาพของตลาดที่มีขนาดใหญ่ ตัวอย่างเช่นประเทศจีนนั้นมีประชากรมากกว่า 1,000 ล้านคน เช่นเดียวกับอินเดีย หรือจะเป็นอาเซียนที่มีประชากรถึง 500 ล้านคน โดยที่ตลาดเหล่านี้ยังมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก เนื่องจาก อัตราประชากรต่อจำนวนรถนั้นยังต่ำมาก อาทิ ในประเทศญี่ปุ่นนั้น มีสัดส่วนผู้ใช้รถ 2 คน:1 คัน มาเลเซียและสิงคโปร์ 5:1 ไทยนั้นอยู่ที่อัตรา 12:1 ฟิลิปปินส์ 30:1 และอินโดนีเซีย 60:1
โดยในแง่ยุทธศาสตร์การลงทุนนั้นไทยเป็นดาวเด่นของภูมิภาค เนื่องจากมีความพร้อมด้วยประการทั้งปวงดังที่กล่าวในตอนต้น และในอนาคต เอเชียซึ่งไม่นับญี่ปุ่น จะมีศูนย์กลางผลิต 2 แห่งหลัก หนึ่งในนั้นอาเซียนที่มีศูนย์กลางที่ไทย ส่วนอีกตลาดที่ต้องยอมรับคือ จีน
สำหรับประเทศไทยนั้น ณ วันนี้ ถูกจับตาจากนักลงทุนต่างชาติเป็นอันมาก เพราะนับจากช่วงที่เราประสบวิกฤติเศรษฐกิจ หลังจากนั้นเรามีจีดีพีแค่ 1.6% แต่ ณ ปัจจุบันอัตราการขยายตัวได้ป่ายระดับไปที่ 6.1% และคาดว่าจะเป็น 8% ในปีหน้านี้ ซึ่งคิดเป็นการขยายตัวกว่า 500 % ถามว่าการเติบโตดังกล่าวมีโอกาสถดถอยลงหรือไม่ คำตอบคือไม่ เพราะที่ผ่านมาเรายังไม่มีการบริหารจัดการที่ดีพอ แต่จากนี้ไปเราต้องให้ความสำคัญกับประเด็นเหล่านี้ ที่สำคัญคือไทยนั้นมีเสถียรภาพทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจสูงมาก ประกอบกับย่านอาเซียนนั้นมีความเป็นพลวัตรสูงมาก และจากนั้นไปอาเซียนจะไม่ได้มีแค่ประเทศที่เราคุ้นเคยหรือขีดวงจำกัดอยู่แค่นี้ แต่อาเซียนจะรุกขยายไปสู่ลุ่มน้ำโขง ทะลักสู่จีนตอนใต้
จากนี้ไปรัฐได้มอบนโยบายแล้วว่า เราต้องมองในเชิงยุทธศาสตร์มากขึ้น อย่างประเด็นด้าภาษีสรรพสามิตก็ยังคงศึกษาอยู่และคณะทำงานต้องเปรียบเทียบกับคู่แข่งในประเทศต่างๆด้วย เพื่อความๆได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน พร้อมกันนี้จะโน้มน้าวให้นักลงทุนมองไทยให้เป็นพาร์ทเนอร์ที่ลึกซึ้ง
" เพราะเราไม่ปราถนากลุ่มทุนที่หวังประโยชน์เพียงฝ่ายเดียวทำทุกอย่างแค่ประกอบแล้วถึงเวลาก็ย้ายฐานหนีไป ถ้าเช่นนั้น เราก็ไม่อยากเปิดประตูต้อนรับ แต่เราอยากให้นักลงทุนมาพร้อมกับหัวใจและความจริงใจ มาพร้อมกับคืนให้สังคม ตัวอย่างเช่นการพัฒนาศูนย์วิจัยและพัฒนา ถ่ายทอดโนฮาว ซึ่งถ้าท่านคิดอย่างนั้นรัฐก็พร้อมสนับสนุนทุกด้าน ผมได้กำชับบีโอไอแล้วว่า สิทธิประโยชน์ด้านภาษีจะกลายเป็นเรื่องล้าสมัย แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นทดแทนคือ คลัสเตอร์ต้องเกิดขึ้นเพื่อสร้างให้กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนแข็งแกร่งขึ้น "
ด้านนาย คาร์ลไฮ เฮคเฮาเซ่น ประธาน บริษัท เดมเลอร์ ไครสเลอร์(ประเทศไทย ) จำกัด กล่าวว่า สำหรับเมอร์เซเดสนั้นมียอดจำหน่าย 4,097 คันเศษ คาดว่าปีนี้จะเพิ่มเป็น 5,100 คันคิดเป็น 46% จากตลาดรถยนต์หรู สิ่งสำคัญที่ทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคนี้เนื่องจากมีอุตสาหกรรมชิ้นส่วนที่แข็งแกร่ง ที่สามารถรองรับการผลิตรถยนต์ได้ทุกประเภท ทั้งนี้แม้ว่า จีนได้เปรียบไทยก็จริง แต่หากร่วมมือจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับไทยได้อีกมาก
นายวิล เลี่ยม บอทวิค กล่าวว่า จีเอ็ม ยังคงใช้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่ส่งออกไปทั่วโลก แม้ว่าบางยี่ห้อจะไม่ขายที่ไทย ที่ผ่านมาลงไป 700 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งสามารถรองรับการผลิตได้มากกว่า 100,000 คันต่อปี อย่างไรก็ตามในอนาคตอันใกล้จีเอ็มคงต้องลงทุนเพิ่มเพื่อรองรับการโตของตลาด
ด้านนายนินนาท ไชยธีระภิญโญ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งร่วมเป็นวิทยกรในงานครั้งนี้ด้วยกล่าวว่า นับวันศักยภาพของไทยจะไปไกลทั่วโลก อย่างกรณีโตโยต้านั้น ยอดขายในไทยเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกาที่ขายได้ 1.5 ล้านคัน ต่อปี ออสเตรเลีย 157,000 คัน ส่วนไทยตามหลังออสเตรเลียแค่ 7,000 คันเท่านั้น แต่อนาคตอันใกล้ทุกอย่างจะเปลี่ยนเพราะดีมานต์ที่สูงขึ้นจากภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศที่ดีขึ้น ซึ่งถึงวันนี้ไทยในสายตาญี่ปุ่น หรือจะเป็นประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นยุโรป หรือตะวันออกกลางนั้นถือว่าดีมาก และจากนี้ไปจะมีเม็ดเงินหลั่งไหลเข้ามาลงทุนอีกมาก
นายจาตุรนต์ โกมลมิศร์ ในฐานะนายกสมาคมผู้สื่อข่าวรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไทยกล่าวว่า ความสำคัญของงานนี้ ไม่ใช่เพียงแค่นำเสนอหรือแลกเปลี่ยนสาระสำคัญด้านการลงทุน หรือทิศทางเดินของอุตสาหกรรมยารนยนต์ในอนาคตเท่านั้นแต่เวทีนี้จะเป็นการลดระยะห่างของผู้ประกอบการและภาครัฐ ทั้งนี้เพื่อสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันผนึกให้ศักยภาพของประเทศแกร่งยิ่งขึ้น เพื่อให้ไทยสามารถบรรลุถึงเป้าหมายการผลิต 1 ล้านคันต่อปีในปี 2549 นี้ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในภาระกิจหลักของสมาคม
ขณะนี้สถาบันยานยนต์ โดย นายวัลลภ เตียศิริ กล่าวว่า สถาบันถูกวางให้เป็นองค์กรหลักที่จะเชื่อมโยงระหว่างรัฐและเอกชน เพื่อให้อุตสาหกรรมนี้แข่งขันได้ในเวทีโลก ซึ่งที่ผ่านมาสถาบันก็ได้ร่วมกับทุกฝ่ายจัดทำแผนแม่บทเป็นที่เรียบร้อยแล้วและจะเริ่มดำเนินการได้ในไม่นานนี้ ซึ่งแผนบรรจุทุกอย่างเพื่อดันไทยสู่การเป็นดีทรอยต์ออฟเอเชียให้สำเร็จ
-
- Verified User
- โพสต์: 2509
- ผู้ติดตาม: 1
ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์
โพสต์ที่ 16
ฮ้า... อ่านแล้วแสนจะชื่นใจจริงๆ มีแต่ชื่อของบริษัทที่เป็นลูกค้าของกิจการของเราทั้งน้านนน
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1011
- ผู้ติดตาม: 0
ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์
โพสต์ที่ 17
ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 17 พฤศจิกายน 2546
ปีที่ 27 ฉบับที่ 3532 (2732)
"สิทธิผล"ปลื้มขึ้นแท่นแชมป์ ขายยางไออาร์ซีทะลุ700ล.
กลุ่มสิทธิผลปลื้ม ยางรถจักรยานยนต์ ไออาร์ซี หัวหอกสำคัญสร้างตัวเลขยอดขาย ทะลุ 700 ล้านบาท ย้ำราคายางดิบพุ่งพรวดแต่ยังตรึงราคาเพื่อผู้บริโภค
กลุ่มสิทธิผล ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายยางรถจักร ยานยนต์ยี่ห้อ "ไออาร์ซี" มั่นใจสิ้นปี ยอดขายยางในและยางนอกรถจักรยานยนต์ไออาร์ซีจะทะลุระดับ 700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 25% โดยในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้สามารถทำยอดขายได้แล้วประมาณ 600 ล้านบาท เติบโตจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 20%
นายทนง ลี้อิสสระนุกุล กรรมการผู้จัดการกลุ่มสิทธิผล เปิดเผยว่า สาเหตุที่ยางไออาร์ซีมียอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้ผลิตยางไออาร์ซีคือบริษัท อินโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางนอกและยางในไออาร์ซีอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมีการคิดค้นดอกยางนอกใหม่ๆ เพื่อรองรับตลาดอย่างสม่ำเสมอ จนทำให้คุณภาพเป็นที่ยอมรับในตลาดอย่างกว้างขวาง
นายทนงกล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้กลุ่มสิทธิผลในฐานะผู้แทนจำหน่ายยางไออาร์ซีได้จัดงานฉลองยางไออาร์ซี แบบลายดอกยาง "กงเล็บอินทรี" หรือ "Eagle Grip" ที่สามารถทำยอดขายได้ครบ 1 ล้านเส้นภายใน 2 ปี โดยแบบลายดอกยางรุ่นนี้ กลุ่มสิทธิผลได้วางจำหน่ายในท้องตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2544 เป็นต้นมา
"จากตัวเลขนี้ แสดงให้เห็นว่าการออกแบบผลิต ภัณฑ์ของเราได้รับการตอบรับจากผู้ขับขี่รถจักร ยานยนต์เป็นอย่างดี ซึ่งในส่วนของวิจัยและพัฒนาของเรานั้น มีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่มารองรับตลาดทุกปีอยู่แล้ว" นายทนงกล่าว
นอกจากคุณภาพและแบบลายดอกยางที่ได้รับการยอมรับจากตลาดแล้ว ราคายังเป็นที่ยอมรับของตลาดด้วย "ผมขอยืนยันว่ายางรถจักรยานยนต์ของเราเป็นผู้นำทั้งรูปแบบและราคา ซึ่งทั้งสององค์ประกอบก็เป็นที่ยอมรับของลูกค้าทั้งประเทศด้วย" นายทนงกล่าว
นายทนงให้ความเห็นถึงราคายางธรรมชาติที่มีการปรับราคามาอย่างต่อเนื่อง จนถึงขณะนี้ราคาหน้าสวนยางกิโลกรัมละ 50 บาท เพิ่มขึ้นจากราคาในอดีตที่มีราคาจำหน่ายหน้าสวนยางต่ำกว่า 20 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นระดับราคาที่สูงที่สุดเท่าที่เคยประสบมา อย่างไรก็ตาม กลุ่มสิทธิผลไม่ได้มีการปรับราคายางรถจักรยานยนต์เป็นเวลา 6 เดือน และภายใต้การบริหารงานโดยทีมงานมืออาชีพ กลุ่มสิทธิผลจะสามารถยืนราคาจำหน่ายยางรถจักรยานยนต์ต่อไปได้อีกถึงต้นปีหน้า
"ความจริงแล้ว เรื่องราคายางธรรมชาติเป็นสิ่งที่เราคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าแล้ว และภายใต้ระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ทำให้เราสามารถจัดหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพในราคายุติธรรม ทำให้เราสามารถผลิตยางป้อนตลาดโดยไม่จำเป็นต้องปรับราคาจนถึงต้นปีหน้า และจากระบบที่มีประสิทธิภาพนี้ ทำให้ต้นทุนที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้เพิ่มขึ้นน้อยกว่า 4% เท่านั้น เราจึงไม่ได้ปรับราคา" นายทนงกล่าว
นายทนงกล่าวเพิ่มเติมว่า ตลาดยางรถจักรยานยนต์มีอัตราเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ตลาดเติบโตที่ 15% และคาดว่าในปีหน้าตลาดยังจะคงเติบโตต่อไปอีกที่อัตรา 15% โดยทางกลุ่มสิทธิผลเชื่อมั่นว่าจะสามารถรักษาอัตราการเจริญเติบโตของยอดขายยางรถจักรยานยนต์ไออาร์ซีไม่ต่ำกว่าอัตราเติบโตของตลาดอย่างแน่นอน
"เราจะยังคงเป็นผู้นำทางด้านตลาดยางรถจักรยานยนต์ต่อไป" นายทนงกล่าว
วันที่ 17 พฤศจิกายน 2546
ปีที่ 27 ฉบับที่ 3532 (2732)
"สิทธิผล"ปลื้มขึ้นแท่นแชมป์ ขายยางไออาร์ซีทะลุ700ล.
กลุ่มสิทธิผลปลื้ม ยางรถจักรยานยนต์ ไออาร์ซี หัวหอกสำคัญสร้างตัวเลขยอดขาย ทะลุ 700 ล้านบาท ย้ำราคายางดิบพุ่งพรวดแต่ยังตรึงราคาเพื่อผู้บริโภค
กลุ่มสิทธิผล ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายยางรถจักร ยานยนต์ยี่ห้อ "ไออาร์ซี" มั่นใจสิ้นปี ยอดขายยางในและยางนอกรถจักรยานยนต์ไออาร์ซีจะทะลุระดับ 700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 25% โดยในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้สามารถทำยอดขายได้แล้วประมาณ 600 ล้านบาท เติบโตจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 20%
นายทนง ลี้อิสสระนุกุล กรรมการผู้จัดการกลุ่มสิทธิผล เปิดเผยว่า สาเหตุที่ยางไออาร์ซีมียอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้ผลิตยางไออาร์ซีคือบริษัท อินโนเว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางนอกและยางในไออาร์ซีอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมีการคิดค้นดอกยางนอกใหม่ๆ เพื่อรองรับตลาดอย่างสม่ำเสมอ จนทำให้คุณภาพเป็นที่ยอมรับในตลาดอย่างกว้างขวาง
นายทนงกล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้กลุ่มสิทธิผลในฐานะผู้แทนจำหน่ายยางไออาร์ซีได้จัดงานฉลองยางไออาร์ซี แบบลายดอกยาง "กงเล็บอินทรี" หรือ "Eagle Grip" ที่สามารถทำยอดขายได้ครบ 1 ล้านเส้นภายใน 2 ปี โดยแบบลายดอกยางรุ่นนี้ กลุ่มสิทธิผลได้วางจำหน่ายในท้องตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2544 เป็นต้นมา
"จากตัวเลขนี้ แสดงให้เห็นว่าการออกแบบผลิต ภัณฑ์ของเราได้รับการตอบรับจากผู้ขับขี่รถจักร ยานยนต์เป็นอย่างดี ซึ่งในส่วนของวิจัยและพัฒนาของเรานั้น มีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่มารองรับตลาดทุกปีอยู่แล้ว" นายทนงกล่าว
นอกจากคุณภาพและแบบลายดอกยางที่ได้รับการยอมรับจากตลาดแล้ว ราคายังเป็นที่ยอมรับของตลาดด้วย "ผมขอยืนยันว่ายางรถจักรยานยนต์ของเราเป็นผู้นำทั้งรูปแบบและราคา ซึ่งทั้งสององค์ประกอบก็เป็นที่ยอมรับของลูกค้าทั้งประเทศด้วย" นายทนงกล่าว
นายทนงให้ความเห็นถึงราคายางธรรมชาติที่มีการปรับราคามาอย่างต่อเนื่อง จนถึงขณะนี้ราคาหน้าสวนยางกิโลกรัมละ 50 บาท เพิ่มขึ้นจากราคาในอดีตที่มีราคาจำหน่ายหน้าสวนยางต่ำกว่า 20 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นระดับราคาที่สูงที่สุดเท่าที่เคยประสบมา อย่างไรก็ตาม กลุ่มสิทธิผลไม่ได้มีการปรับราคายางรถจักรยานยนต์เป็นเวลา 6 เดือน และภายใต้การบริหารงานโดยทีมงานมืออาชีพ กลุ่มสิทธิผลจะสามารถยืนราคาจำหน่ายยางรถจักรยานยนต์ต่อไปได้อีกถึงต้นปีหน้า
"ความจริงแล้ว เรื่องราคายางธรรมชาติเป็นสิ่งที่เราคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าแล้ว และภายใต้ระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ทำให้เราสามารถจัดหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพในราคายุติธรรม ทำให้เราสามารถผลิตยางป้อนตลาดโดยไม่จำเป็นต้องปรับราคาจนถึงต้นปีหน้า และจากระบบที่มีประสิทธิภาพนี้ ทำให้ต้นทุนที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้เพิ่มขึ้นน้อยกว่า 4% เท่านั้น เราจึงไม่ได้ปรับราคา" นายทนงกล่าว
นายทนงกล่าวเพิ่มเติมว่า ตลาดยางรถจักรยานยนต์มีอัตราเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ตลาดเติบโตที่ 15% และคาดว่าในปีหน้าตลาดยังจะคงเติบโตต่อไปอีกที่อัตรา 15% โดยทางกลุ่มสิทธิผลเชื่อมั่นว่าจะสามารถรักษาอัตราการเจริญเติบโตของยอดขายยางรถจักรยานยนต์ไออาร์ซีไม่ต่ำกว่าอัตราเติบโตของตลาดอย่างแน่นอน
"เราจะยังคงเป็นผู้นำทางด้านตลาดยางรถจักรยานยนต์ต่อไป" นายทนงกล่าว
- tk
- Verified User
- โพสต์: 343
- ผู้ติดตาม: 0
ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์
โพสต์ที่ 18
เอ ในอนาคต เมื่อมีกำลังซื้อมากอย่างนี้ บริษัทผู้ผลิต(ของเรา)จะผลิตให้เขาทันหรือเปล่า ไม่ทราบว่าพอมีข้อมูลเกี่ยวกับกำลังการผลิตของ stanly ว่าตอนนี้รันอยู่ที่กีเปอร์เซ็นต์แล้ว และเพิ่มกำลังการผลิตได้อีกหรือไม่ครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์
โพสต์ที่ 19
ออดี้มีแผนลงทุนในไทย 6 พันล้าน
บริษัทแม่ ออดี้ ดอดเจรจาบีโอไอ แย้มสนใจขยายลงทุนในไทยเพิ่มอีก 5,000-6,000 ล้านบาท
รายงานข่าว แจ้งว่า ปัจจุบัน รถยนต์ออดี้ ประกอบรถยนต์ ออดี้ เอ 6 ที่โรงงาน วายเอ็มซี ของกลุ่มยนตรกิจ ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ออดี้ในประเทศไทยในนามบริษัทไทยยานยนต์ และมีแผนจะลงทุนตั้งโรงงานและทำตลาดร่วมกับบริษัท ไทยยานยนต์
ล่าสุด ออดี้ เอจี ยกเลิกแผนลงทุนดังกล่าว โดยอ้างว่ายังไม่พร้อมจะลงทุน และปล่อยให้ไทยยานยนต์รับผิดชอบการทำตลาดในไทย
การเข้ามาเจรจากับบีโอไอครั้งนี้ เป็นไปได้สูงว่า ออดี้ เอจี ต้องการเข้ามาทำตลาดในไทยด้วย ตัวเอง โดยที่กลุ่มยนตรกิจ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง
นายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ดคณะ กรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ว่า ขณะนี้มีผู้ประกอบการรายใหญ่อีกกว่า 12 ราย มูลค่าลงทุนกว่าหมื่นล้านบาท ยื่นขอส่งเสริมลงทุนภายใน ปีนี้ ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะทำให้ตัวเลขส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอปีนี้สูงถึง 3 แสนล้านบาท
การส่งเสริมการลงทุนจากนี้ไปจะปรับรูปแบบใหม่ จากเดิมที่เน้นส่งเสริมเป็นรายธุรกิจ เป็นการจัดเป็นแคมเปญที่มุ่งเน้นทั้งอุตสาหกรรมโดยรวมและเอสเอ็มอี โดยจะให้ความสำคัญกับการโรด โชว์การลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
ในประเทศ จะใช้ยุทธศาสตร์ส่งเสริมเป็น คลัสเตอร์รายภาค ซึ่งจะเริ่มจากภาคเหนือตอน บน 8 จังหวัดเดือนธันวาคมนี้ โดยจะจัดสัมมนา ผู้ประกอบการว่าต้องการลงทุนอุตสาหกรรมใดบ้าง ส่วนต่างประเทศ จะเน้นโรดโชว์อุตสาหกรรมเป้าหมายตามประเทศต่างๆ
บริษัทแม่ ออดี้ ดอดเจรจาบีโอไอ แย้มสนใจขยายลงทุนในไทยเพิ่มอีก 5,000-6,000 ล้านบาท
รายงานข่าว แจ้งว่า ปัจจุบัน รถยนต์ออดี้ ประกอบรถยนต์ ออดี้ เอ 6 ที่โรงงาน วายเอ็มซี ของกลุ่มยนตรกิจ ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ออดี้ในประเทศไทยในนามบริษัทไทยยานยนต์ และมีแผนจะลงทุนตั้งโรงงานและทำตลาดร่วมกับบริษัท ไทยยานยนต์
ล่าสุด ออดี้ เอจี ยกเลิกแผนลงทุนดังกล่าว โดยอ้างว่ายังไม่พร้อมจะลงทุน และปล่อยให้ไทยยานยนต์รับผิดชอบการทำตลาดในไทย
การเข้ามาเจรจากับบีโอไอครั้งนี้ เป็นไปได้สูงว่า ออดี้ เอจี ต้องการเข้ามาทำตลาดในไทยด้วย ตัวเอง โดยที่กลุ่มยนตรกิจ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง
นายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ดคณะ กรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ว่า ขณะนี้มีผู้ประกอบการรายใหญ่อีกกว่า 12 ราย มูลค่าลงทุนกว่าหมื่นล้านบาท ยื่นขอส่งเสริมลงทุนภายใน ปีนี้ ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะทำให้ตัวเลขส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอปีนี้สูงถึง 3 แสนล้านบาท
การส่งเสริมการลงทุนจากนี้ไปจะปรับรูปแบบใหม่ จากเดิมที่เน้นส่งเสริมเป็นรายธุรกิจ เป็นการจัดเป็นแคมเปญที่มุ่งเน้นทั้งอุตสาหกรรมโดยรวมและเอสเอ็มอี โดยจะให้ความสำคัญกับการโรด โชว์การลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
ในประเทศ จะใช้ยุทธศาสตร์ส่งเสริมเป็น คลัสเตอร์รายภาค ซึ่งจะเริ่มจากภาคเหนือตอน บน 8 จังหวัดเดือนธันวาคมนี้ โดยจะจัดสัมมนา ผู้ประกอบการว่าต้องการลงทุนอุตสาหกรรมใดบ้าง ส่วนต่างประเทศ จะเน้นโรดโชว์อุตสาหกรรมเป้าหมายตามประเทศต่างๆ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1011
- ผู้ติดตาม: 0
ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์
โพสต์ที่ 20
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2546
ปีที่ 27 ฉบับที่ 3534 (2734)
ยนตรกิจฯผนึกเปอโยต์-ซีตรอง อัด100ล.ผลิตรถตู้เล็กในปท.
"ยนตรกิจฯ" บุกตลาดคอมเมอร์ เชี่ยลคาร์เต็มรูปแบบ จับมือ "เปอโยต์- ซีตรอง" พันธมิตรฝรั่งเศส ดันรถตู้ เล็ก "พาร์ทเนอร์-เบอร์ลิงโก้" ลงตลาด เตรียมทุ่มทุนกว่า 100 ล้านบาท ขึ้นไลน์ประกอบในประเทศ พร้อมส่งออกทั่วอาเซียนและออสเตรเลีย ตั้งเป้าปีละหมื่นคัน
นายวิเชียร ลีนุตพงษ์ กรรมการบริหาร เครือยนตรกิจกรุ๊ป เปิดเผยว่า บริษัทได้ตัดสินใจขยายตลาดรถยนต์เพิ่มขึ้น โดยหันมาทำตลาดรถยนต์นั่งเชิงพาณิชย์ขนาดเล็ก ซึ่งยนตรกิจไม่เคยทำมาก่อน ซึ่งจากการศึกษาความเป็นไปได้มากว่า 1 ปี เห็นว่าเป็นตลาดที่มีแนวโน้มการเติบโตเป็นที่น่าสนใจ ดังนั้น บริษัทจึงได้นำเปอโยต์ พาร์ทเนอร์ และซีตรอง เบอร์ลิงโก้ เข้ามาเปิดตลาดก่อน
หลังจากนั้นบริษัทได้เตรียมลงทุนขึ้นไลน์ประกอบรถยนต์ทั้ง 2 รุ่นขึ้นในประเทศไทย โดยใช้โรงงานวายเอ็มซี แอสเซมบลีในเครือยนตรกิจ เป็นโรงงานประกอบรถยนต์ คาดว่าจะใช้การลงทุนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท และจะมีการลงทุนต่อเนื่องไปถึงการผลิตชิ้นส่วนในประเทศด้วย คาดว่าจะเริ่มไลน์การผลิตได้ในช่วงปลายปีหน้า โดยมีเป้าหมายในการป้อนตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในอาเซียนและออสเตรเลีย ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของรถยนต์ประเภทนี้ โดยตั้งเป้าการผลิตไว้ประมาณปีละ 10,000 คัน
"ในเบื้องต้นได้เจรจากับเปอโยต์และซีตรองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะการเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกในอาเซียนและออสเตรเลีย ในขณะที่ผู้จำหน่ายเปอโยต์และซีตรองในกลุ่มอาเซียน เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย หรือออสเตรเลีย ก็ให้ความสนใจ เพราะสามารถลดต้นทุนให้ได้มากกว่าการ นำเข้าโดยตรงจากฝรั่งเศส"
นายวิเชียรกล่าวต่อว่า สำหรับตลาดในประเทศได้เล็งเป้าหมายไปที่ตลาดใหม่ที่มีแนวโน้มการขยายตัวสูง โดยจับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ใช้รถสำหรับทุกภารกิจ ทั้งการเดินทาง การรองรับครอบครัว การทำธุรกิจส่วนตัวที่ต้องการพื้นที่สำหรับบรรทุกสัมภาระมากกว่ารถยนต์นั่งปกติ รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบกิจการธุรกิจขนาดย่อม ขนาดกลาง หรือธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าที่ต้องการความคล่องตัวและความละเอียดอ่อนในการขนถ่ายสินค้าในเมือง
ทั้งนี้แนวทางการทำตลาดจะแยกออกจากกัน เนื่องจากทั้ง 2 แบรนด์มีบุคลิกที่เป็นของตัวเอง ถึงแม้จะเป็นรถแพลตฟอร์มเดียวกัน แต่อุปกรณ์เสริมในรถอาจจะแตกต่างกันไปตามความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม เช่นเดียวกับราคาซึ่งจะขึ้นอยู่กับอุปกรณ์เสริมต่างๆ ด้วย แต่โดยพื้นฐานแล้วราคาจะอยู่ที่ประมาณ 750,000 บาท ส่วนการให้บริการหลังการขายในระดับการบำรุงรักษาเบื้องต้น จะใช้ศูนย์บริการร่วมกัน ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
ปีที่ 27 ฉบับที่ 3534 (2734)
ยนตรกิจฯผนึกเปอโยต์-ซีตรอง อัด100ล.ผลิตรถตู้เล็กในปท.
"ยนตรกิจฯ" บุกตลาดคอมเมอร์ เชี่ยลคาร์เต็มรูปแบบ จับมือ "เปอโยต์- ซีตรอง" พันธมิตรฝรั่งเศส ดันรถตู้ เล็ก "พาร์ทเนอร์-เบอร์ลิงโก้" ลงตลาด เตรียมทุ่มทุนกว่า 100 ล้านบาท ขึ้นไลน์ประกอบในประเทศ พร้อมส่งออกทั่วอาเซียนและออสเตรเลีย ตั้งเป้าปีละหมื่นคัน
นายวิเชียร ลีนุตพงษ์ กรรมการบริหาร เครือยนตรกิจกรุ๊ป เปิดเผยว่า บริษัทได้ตัดสินใจขยายตลาดรถยนต์เพิ่มขึ้น โดยหันมาทำตลาดรถยนต์นั่งเชิงพาณิชย์ขนาดเล็ก ซึ่งยนตรกิจไม่เคยทำมาก่อน ซึ่งจากการศึกษาความเป็นไปได้มากว่า 1 ปี เห็นว่าเป็นตลาดที่มีแนวโน้มการเติบโตเป็นที่น่าสนใจ ดังนั้น บริษัทจึงได้นำเปอโยต์ พาร์ทเนอร์ และซีตรอง เบอร์ลิงโก้ เข้ามาเปิดตลาดก่อน
หลังจากนั้นบริษัทได้เตรียมลงทุนขึ้นไลน์ประกอบรถยนต์ทั้ง 2 รุ่นขึ้นในประเทศไทย โดยใช้โรงงานวายเอ็มซี แอสเซมบลีในเครือยนตรกิจ เป็นโรงงานประกอบรถยนต์ คาดว่าจะใช้การลงทุนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท และจะมีการลงทุนต่อเนื่องไปถึงการผลิตชิ้นส่วนในประเทศด้วย คาดว่าจะเริ่มไลน์การผลิตได้ในช่วงปลายปีหน้า โดยมีเป้าหมายในการป้อนตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในอาเซียนและออสเตรเลีย ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของรถยนต์ประเภทนี้ โดยตั้งเป้าการผลิตไว้ประมาณปีละ 10,000 คัน
"ในเบื้องต้นได้เจรจากับเปอโยต์และซีตรองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะการเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกในอาเซียนและออสเตรเลีย ในขณะที่ผู้จำหน่ายเปอโยต์และซีตรองในกลุ่มอาเซียน เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย หรือออสเตรเลีย ก็ให้ความสนใจ เพราะสามารถลดต้นทุนให้ได้มากกว่าการ นำเข้าโดยตรงจากฝรั่งเศส"
นายวิเชียรกล่าวต่อว่า สำหรับตลาดในประเทศได้เล็งเป้าหมายไปที่ตลาดใหม่ที่มีแนวโน้มการขยายตัวสูง โดยจับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ใช้รถสำหรับทุกภารกิจ ทั้งการเดินทาง การรองรับครอบครัว การทำธุรกิจส่วนตัวที่ต้องการพื้นที่สำหรับบรรทุกสัมภาระมากกว่ารถยนต์นั่งปกติ รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบกิจการธุรกิจขนาดย่อม ขนาดกลาง หรือธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าที่ต้องการความคล่องตัวและความละเอียดอ่อนในการขนถ่ายสินค้าในเมือง
ทั้งนี้แนวทางการทำตลาดจะแยกออกจากกัน เนื่องจากทั้ง 2 แบรนด์มีบุคลิกที่เป็นของตัวเอง ถึงแม้จะเป็นรถแพลตฟอร์มเดียวกัน แต่อุปกรณ์เสริมในรถอาจจะแตกต่างกันไปตามความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม เช่นเดียวกับราคาซึ่งจะขึ้นอยู่กับอุปกรณ์เสริมต่างๆ ด้วย แต่โดยพื้นฐานแล้วราคาจะอยู่ที่ประมาณ 750,000 บาท ส่วนการให้บริการหลังการขายในระดับการบำรุงรักษาเบื้องต้น จะใช้ศูนย์บริการร่วมกัน ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1011
- ผู้ติดตาม: 0
ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์
โพสต์ที่ 21
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2546
ปีที่ 27 ฉบับที่ 3534 (2734)
ฮอนด้าไฟเขียวชูไทยฐานผลิตแจ๊ซ ป้อนตลาดทั่วอาเซียนต้นปีหน้า
"ฮอนด้า" ลุยตลาดส่งออก ตั้งไทยเป็นฐานผลิต "แจ๊ซ" ส่งขายทั่วอาเซียน เริ่มเปิดตลาดในต้นปีหน้า เผยอยู่ระ หว่างรวบรวมออร์เดอร์ ก่อนสรุปยอดผลิตในกลางเดือนหน้า ส่วนประเทศใดที่มีรถรุ่นนี้ขายแล้ว เตรียมใช้อาฟต้าเป็นบันได นำเข้าจากไทยแทนญี่ปุ่น ตั้งเป้าส่งออกปีหน้าเพิ่มเป็นหกหมื่นคัน
นายมิโนรุ ยานาอิดานิ รองประธาน บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ทางบริษัท ฮอนด้ามอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น ได้วางแผนให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ "แจ๊ซ" เพื่อการส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และมาเลเซีย โดยคาดว่าจะเริ่มการส่งออกได้ตั้งแต่ต้นปีหน้าเป็นต้นไป
"สำหรับตัวเลขการส่งออกนั้น ยังไม่สามารถบอกได้ในขณะนี้ เนื่องจากเรากำลังอยู่ระหว่างการเซอร์เวย์ ถึงความต้องการของลูกค้าในแต่ละประเทศ ซึ่งจะมีการประชุมกันในกลางเดือนหน้า เพื่อรวบรวมตัวเลขออร์เดอร์ทั้งหมด ก่อนที่จะมีการวางแผนการผลิตต่อไป"
นายยานาอิดานิกล่าวต่อว่า ขณะนี้ในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียมีการทำตลาดรถยนต์รุ่นนี้อยู่แล้ว แต่เป็นการนำเข้าโดยตรงจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถ้ามีการผลิตและส่งออกจากประเทศไทย ทำให้บริษัทสามารถใช้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟต้า) ในการส่งออกไปยังประเทศเหล่านี้ได้ ส่วนในประเทศอื่นๆ ของอาเซียนนั้น ยังไม่ได้มีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นนี้ แต่คาดว่าจะเริ่มทำตลาดได้ในปีหน้า หลังจากที่มีการส่งออกจากประเทศไทย
"ถ้าเราสามารถรวบรวมยอดการสั่งซื้อจากประเทศในภูมิภาคนี้ จะทำให้เรามีวอลุ่มการผลิตเยอะขึ้น และทำให้เกิดความคุ้มค่าในการผลิต เหมือนกับที่ไทยเป็นฐานการผลิตซิตี้ออกไปยังประเทศในภูมิภาคนี้ด้วย ยกเว้นมาเลเซียที่มีการผลิตซิตี้ในประเทศ เนื่องจากมาเลเซียยังไม่เปิดตลาดรถยนต์ในอาฟต้าอย่างเต็มตัว"
สำหรับแผนการผลิตรถยนต์ฮอนด้าในปีนี้ บริษัทตั้งเป้าไว้ประมาณ 110,000 คัน เป็นการผลิตเพื่อป้อนตลาดในประเทศ 60,000 คัน และส่งออก 50,000 คัน ส่วนในปีหน้าบริษัทตั้งเป้าที่จะเพิ่มยอดการส่งออกเป็น 60,000 คัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการส่งออกซิตี้และแจ๊ซไปยังภูมิภาคอาเซียน
"การขึ้นไลน์ผลิตรถยนต์แจ๊ซในประเทศ เราใช้ชิ้นส่วนในประเทศประมาณ 81% ซึ่งถือว่ามีจำนวนสูงพอสมควร ถ้าเปรียบเทียบกับซิตี้ ถือใกล้เคียงกัน เพราะซิตี้ใช้ชิ้นส่วนในประเทศทั้งหมด 83% และในอนาคตบริษัทจะทยอยเพิ่มชิ้นส่วนในประเทศเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสม"
ด้านนายซาโตชิ โตชิดะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด และประธานกรรมการบริหารและซีอีโอ บริษัท เอเชี่ยน ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด เปิดเผยว่า การนำ "แจ๊ซ" เข้ามาเปิดตลาดในครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดตลาดเซ็กเมนต์ใหม่ในเมืองไทย สำหรับการแข่งขันกับคู่แข่ง ในการเป็นอันดับที่หนึ่งของตลาดนั้น ไม่ใช่เป้าหมายของฮอนด้า เพราะบริษัทต้องการที่จะเป็นผู้นำในการเปิดตลาดเซ็กเมนต์ใหม่ๆ ในเมืองไทยมากกว่า
"แม้ว่าขณะนี้รถเล็กที่ทำตลาดของเราอย่างซิตี้ ยังเป็นรองคู่แข่งในตลาดอยู่ และการที่เรานำแจ๊ซเข้ามา เมื่อรวมตัวเลขยอดขายกันสองรุ่นจะ สามารถชนะคู่แข่งได้หรือไม่ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะเราต้องการเป็นผู้นำในการเปิดตลาดเซ็กเมนต์ใหม่ๆ มากกว่า รถยนต์รุ่นนี้เป็นซับคอมแพ็กต์ 5 ประตู ที่ยังไม่มีใครทำตลาดในเมืองไทย คิดว่าถ้าได้รับการตอบรับจากลูกค้าตามเป้าหมายที่วางไว้ในปีแรก 16,000 คัน ก็พอใจแล้ว" นายโตชิดะกล่าว
ปีที่ 27 ฉบับที่ 3534 (2734)
ฮอนด้าไฟเขียวชูไทยฐานผลิตแจ๊ซ ป้อนตลาดทั่วอาเซียนต้นปีหน้า
"ฮอนด้า" ลุยตลาดส่งออก ตั้งไทยเป็นฐานผลิต "แจ๊ซ" ส่งขายทั่วอาเซียน เริ่มเปิดตลาดในต้นปีหน้า เผยอยู่ระ หว่างรวบรวมออร์เดอร์ ก่อนสรุปยอดผลิตในกลางเดือนหน้า ส่วนประเทศใดที่มีรถรุ่นนี้ขายแล้ว เตรียมใช้อาฟต้าเป็นบันได นำเข้าจากไทยแทนญี่ปุ่น ตั้งเป้าส่งออกปีหน้าเพิ่มเป็นหกหมื่นคัน
นายมิโนรุ ยานาอิดานิ รองประธาน บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ทางบริษัท ฮอนด้ามอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น ได้วางแผนให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ "แจ๊ซ" เพื่อการส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และมาเลเซีย โดยคาดว่าจะเริ่มการส่งออกได้ตั้งแต่ต้นปีหน้าเป็นต้นไป
"สำหรับตัวเลขการส่งออกนั้น ยังไม่สามารถบอกได้ในขณะนี้ เนื่องจากเรากำลังอยู่ระหว่างการเซอร์เวย์ ถึงความต้องการของลูกค้าในแต่ละประเทศ ซึ่งจะมีการประชุมกันในกลางเดือนหน้า เพื่อรวบรวมตัวเลขออร์เดอร์ทั้งหมด ก่อนที่จะมีการวางแผนการผลิตต่อไป"
นายยานาอิดานิกล่าวต่อว่า ขณะนี้ในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียมีการทำตลาดรถยนต์รุ่นนี้อยู่แล้ว แต่เป็นการนำเข้าโดยตรงจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถ้ามีการผลิตและส่งออกจากประเทศไทย ทำให้บริษัทสามารถใช้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟต้า) ในการส่งออกไปยังประเทศเหล่านี้ได้ ส่วนในประเทศอื่นๆ ของอาเซียนนั้น ยังไม่ได้มีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นนี้ แต่คาดว่าจะเริ่มทำตลาดได้ในปีหน้า หลังจากที่มีการส่งออกจากประเทศไทย
"ถ้าเราสามารถรวบรวมยอดการสั่งซื้อจากประเทศในภูมิภาคนี้ จะทำให้เรามีวอลุ่มการผลิตเยอะขึ้น และทำให้เกิดความคุ้มค่าในการผลิต เหมือนกับที่ไทยเป็นฐานการผลิตซิตี้ออกไปยังประเทศในภูมิภาคนี้ด้วย ยกเว้นมาเลเซียที่มีการผลิตซิตี้ในประเทศ เนื่องจากมาเลเซียยังไม่เปิดตลาดรถยนต์ในอาฟต้าอย่างเต็มตัว"
สำหรับแผนการผลิตรถยนต์ฮอนด้าในปีนี้ บริษัทตั้งเป้าไว้ประมาณ 110,000 คัน เป็นการผลิตเพื่อป้อนตลาดในประเทศ 60,000 คัน และส่งออก 50,000 คัน ส่วนในปีหน้าบริษัทตั้งเป้าที่จะเพิ่มยอดการส่งออกเป็น 60,000 คัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการส่งออกซิตี้และแจ๊ซไปยังภูมิภาคอาเซียน
"การขึ้นไลน์ผลิตรถยนต์แจ๊ซในประเทศ เราใช้ชิ้นส่วนในประเทศประมาณ 81% ซึ่งถือว่ามีจำนวนสูงพอสมควร ถ้าเปรียบเทียบกับซิตี้ ถือใกล้เคียงกัน เพราะซิตี้ใช้ชิ้นส่วนในประเทศทั้งหมด 83% และในอนาคตบริษัทจะทยอยเพิ่มชิ้นส่วนในประเทศเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสม"
ด้านนายซาโตชิ โตชิดะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด และประธานกรรมการบริหารและซีอีโอ บริษัท เอเชี่ยน ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด เปิดเผยว่า การนำ "แจ๊ซ" เข้ามาเปิดตลาดในครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดตลาดเซ็กเมนต์ใหม่ในเมืองไทย สำหรับการแข่งขันกับคู่แข่ง ในการเป็นอันดับที่หนึ่งของตลาดนั้น ไม่ใช่เป้าหมายของฮอนด้า เพราะบริษัทต้องการที่จะเป็นผู้นำในการเปิดตลาดเซ็กเมนต์ใหม่ๆ ในเมืองไทยมากกว่า
"แม้ว่าขณะนี้รถเล็กที่ทำตลาดของเราอย่างซิตี้ ยังเป็นรองคู่แข่งในตลาดอยู่ และการที่เรานำแจ๊ซเข้ามา เมื่อรวมตัวเลขยอดขายกันสองรุ่นจะ สามารถชนะคู่แข่งได้หรือไม่ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะเราต้องการเป็นผู้นำในการเปิดตลาดเซ็กเมนต์ใหม่ๆ มากกว่า รถยนต์รุ่นนี้เป็นซับคอมแพ็กต์ 5 ประตู ที่ยังไม่มีใครทำตลาดในเมืองไทย คิดว่าถ้าได้รับการตอบรับจากลูกค้าตามเป้าหมายที่วางไว้ในปีแรก 16,000 คัน ก็พอใจแล้ว" นายโตชิดะกล่าว
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1011
- ผู้ติดตาม: 0
ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์
โพสต์ที่ 22
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2546
ปีที่ 27 ฉบับที่ 3535(2735)
ปาฐกถาพิเศษ ทิศทางการลงทุนอุตฯยานยนต์ ปี 2547-2550
รายงานพิเศษ
ประเทศไทย เส้นทางหลักสายใหม่ที่คับคั่งด้วยโอกาสทางธุรกิจของอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์แห่งภูมิภาคอาเซียน ด้วยการสนับ สนุนอย่างเต็มกำลังจากรัฐบาล กอปรกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ที่นี่จึงเปรียบเสมือนศูนย์รวมการลงทุน การผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน และยังเป็นศูนย์กลางการผลิตรถปิกอัพที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ร่วมกับสมาคมผู้สื่อข่าวรถยนต์และจักรยานยนต์ไทย บริษัท รี้ด เทรดเด็กซ์ จำกัด และกรังด์ปรีซ์กรุ๊ป จึงได้จัดเสวนาภายใต้หัวข้อ "ทิศทางการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ปี พ.ศ.2547-2550" โดยมีผู้ร่วมสัมมนาจากภาครัฐบาลและบริษัทเอกชนชั้นนำที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์
นโยบายรัฐต่อการพัฒนา
อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลได้มีการกำหนด "อุตสาหกรรมเป้าหมาย" ขึ้น โดยบรรจุอุตสาหกรรมยานยนต์เข้าไปเป็นลำดับที่ 2 เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจของไทย ด้วยสัดส่วนต่อจีดีพีสูงถึงกว่า 10% ในปัจจุบันสูงประมาณ 16% ของจีดีพี มีการจ้างงานประมาณ 8-9% ของการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด และยังขยายไปยังภาค เอสเอ็มอี ที่เรียกว่าอุตสาหกรรมสนับสนุนมากมาย หากสามารถพัฒนาและผลักดันได้สำเร็จ จะมีผลทำให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ นั้นเจริญเติบโตขึ้นไปด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น อุตสาหกรรมนี้ยังเป็นเสมือนกระจกที่สะท้อนไปยังทุกมุมโลก หากสามารถประสบความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์แล้ว เสมือนกับประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ ล้วนแล้วแต่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งสิ้น
สำหรับปัจจัยที่ประสบความสำเร็จ คือ 1.เรื่องของต้นทุน 2.มีคุณภาพ 3.การตลาด ที่สามารถตอบสนองกับรสนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปค่อนข้างรวดเร็ว และ 4.เป็นความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ระหว่างเรื่องของการพัฒนา การหาอุปกรณ์ซัพพอร์ตทั้งหลาย และเน็ตเวิร์กกิ้ง
เมื่อพูดถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ เรามีความเชื่อว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว ค่ายรถยนต์ส่วนใหญ่อยู่ในยุโรปและอเมริกา กว่าที่บริษัทรถยนต์หนึ่งค่ายจากเอเชียจะสามารถเติบใหญ่ขึ้นมาได้ใช้เวลาร่วม 1 ทศวรรษ แต่ผมเชื่อว่าในอนาคตข้างหน้า ตลาดที่เป็นตลาดหลักของอุตสาห กรรมรถยนต์นั้น ไม่พ่ายแพ้อเมริกาหรือยุโรปเลย คือตลาดในเอเชีย
เหตุผลคือ จากที่ผมกล่าวมาเมื่อสักครู่ เรื่อง ของขนาดตลาดในเอเชียนั้นยิ่งใหญ่นัก ดูจำนวนประชากรถ้าลองนับประเทศจีนประเทศเดียว ผู้บริโภคกว่าพันล้านคน อินเดียพันกว่าล้านคน อาเซียนห้าร้อยกว่าล้านคน ตลาดนี้ใหญ่มาก
ถ้าพูดถึงเรื่องการอิ่มตัวนั้นยังอีกนาน อัตรา ส่วนของประชากรต่อรถยนต์ 1 คัน ญี่ปุ่นเท่ากับ 2 ที่มาเลเซีย สิงคโปร์ สัดส่วนประมาณ 5 ต่อ 1 ไทยที่ 12 ฟิลิปปินส์ 30 อินโดนีเซียที่ 60 ต่อ 1 ไม่ต้องพูดถึงจีน ถึงอินเดีย โอกาสสูง ด้วยไซซ์ของประชากร ด้วยสัดส่วนของรถยนต์ต่อหัว และด้วยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง
ประเทศต่างๆ ในเอเชียนั้น จะต้องพยายามพิสูจน์ให้กลุ่มผู้ประกอบการรถยนต์รายใหญ่เชื่อว่า ประเทศนั้นจะต้องเตรียมพร้อมในเรื่องของการนำเสนอ เรื่องของต้นทุนการผลิต เทคโนโลยี มาร์เก็ตติ้ง เป็นศูนย์กลางของการประสานงานได้ ซึ่งประเทศไทยนั้นสามารถทำได้
ผมได้เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นในช่วงปีที่ผ่านมา เพื่อตอกย้ำกับเขาว่า อนาคตข้างหน้าในเอเชียจะมีศูนย์กลางอยู่แค่ 2 แห่ง นอกเหนือจากญี่ปุ่น ศูนย์กลางที่จะเป็นฐานแห่งแรกคืออาเซียน ด้วยความใหญ่โตของอาเซียน มีประชากรกว่า 500 ล้านคน และอาฟต้ากำลังจะเกิดขึ้นสมบูรณ์ในไม่ช้า
สิ่งเหล่านี้คือพัฒนาการทางเศรษฐกิจ จะเป็นตลาดที่สำคัญสำหรับในอาเซียน และสำหรับการส่งออกสู่ประเทศข้างเคียง ถ้าหากท่านจะมาลงทุนในอาเซียน ท่านไม่ต้องไปมองประเทศอื่นเลย เพราะประเทศไทยคือศูนย์กลางที่แท้จริงของอาเซียน
ในยามที่เศรษฐกิจเราตกสะเก็ดเกิดวิกฤต การณ์การพูดเช่นนี้ทุกคนคงมีเครื่อง หมายคำถามตัวใหญ่ๆ ขึ้นมาว่า ท่านจะทำได้จริงหรือเปล่า แต่ในวันนี้ด้วยการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ จีดีพีเติบ โตจาก 1.6 เป็น 6.1 และจะเป็น 8% ในปีข้างหน้า อันนี้สรุป beyond economics oriental เพิ่มขึ้นกว่า 500% และถ้าถามว่ามันจะตกลงมามั้ย ตอบได้เลยว่าไม่มีตก
เพราะที่ผ่านมานั้นรัฐบาลยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมากมาย เป็นเพียงการขันนอตประเทศไทยที่หลวม เป็นการต่อเติมการบริหารจัดการ ซึ่งเราไม่เคยมีการบริหารจัดการที่แท้จริงมานานแล้ว เมื่อเราใส่เรื่องของการบริหารจัดการเข้าไป เราขันนอตทุกตัวให้แน่น เราเริ่มจากการปฏิรูปจีดีพีเติบโตถึงเพียงนี้
ฉะนั้นปีข้างหน้า เราจะพยายามรักษาเสถียร ภาพของการเติบโตไว้อย่างสม่ำเสมอ เมื่อจีดีพีเติบโต เสถียรภาพทางการเมืองแน่นแฟ้น มองไปข้างหน้า โอกาสพลิกเกมทางการเมืองเกิดขึ้นยากมาก หมายความว่านโยบายอะไรก็แล้วแต่ที่รัฐบาลประกาศออกไป อยู่อย่างน้อยๆ 8 ปี นานที่สุดเท่าที่ท่านจะหาได้จากทุกประเทศในโลกนี้ เมื่อเสถียร ภาพทางการเมืองที่แน่นแฟ้น จีดีพีที่เติบโต รัฐบาลชุดนี้กว่าครึ่งหนึ่งมาจากภาคเอกชน ทราบดีว่าปัญหาของท่านคืออะไร
เราได้บอกผู้ประกอบการของญี่ปุ่นในขณะนั้น ขอให้ท่านมาที่ประเทศไทย ประเทศไทยเป็นศูนย์ กลางที่จะไปถึงเขตจีเอ็มเอส หรือกลุ่มลุ่มน้ำโขง ทะเลสู่จีนตอนใต้ ฉะนั้นอาเซียนจะไม่จำกัดวงอยู่แค่ 10 ประเทศ มันสามารถทะลุขึ้นไปอยู่ข้างบน แล้วประเทศไทยเป็นทางผ่านหรือเป็นเซ็นเตอร์ ทางเหนือนั้นขึ้นไปสู่จีเอ็มเอส ทะลุจีนลงมาทางใต้คืออินโดจีนกับกลุ่มประเทศที่เหลือ
ทางเชื่อมโยงเหล่านี้บวกกับการที่ไทยพยายามช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้าน เราได้ตั้งกองทุนขึ้นมากองทุนหนึ่ง เพื่อช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านในการพัฒนา เป็นบาทโลน เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ด้วยความแน่นแฟ้นของ 4 ประเทศ ในอนาคตจะสามารถขยายไปสู่ประเทศอื่นในอาเซียน ซึ่งมีความใกล้ชิดสนิทสนมอยู่แล้ว
ฉะนั้นในอนาคตอันใกล้ อาเซียนจะเข้มแข็งอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
และยังจะเป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตที่ยิ่งใหญ่ในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยมีประเทศไทยเป็นหัวใจ แต่ท่านจะปฏิเสธประเทศจีนไม่ได้เลย ฉะนั้นขาข้างที่สองของผู้ผลิตชิ้นส่วนทั้งหลาย คือ ประเทศจีน คนเป็นพันๆ ล้าน ถ้าไม่ไปลงทุนที่นั่น ก็ไม่มีสายตาที่กว้างไกล อุตสาหกรรมยานยนต์ที่เมืองจีนมีการพัฒนาที่เร็วมาก และคุณภาพดีขึ้น จากการพูดคุยกับผู้ประกอบการหลายๆ ค่ายยังมีช่วงห่างอยู่ช่วงหนึ่ง ระหว่างไทยกับจีน
ขณะนี้เรานำหน้าจีนอยู่ในโลกอุตสาหกรรมยานยนต์ ในเรื่องของฝีมือแรงงาน ในเรื่องของคุณภาพสินค้า ที่ประกอบออกมาได้ ฉะนั้นในสายตาของผู้วางนโยบาย เราไม่ได้มองว่าจีนเป็นคู่แข่ง แต่เรามองว่ามันต้องไปด้วยกัน และเราต้องเอาตัวเรานั้นอยู่เหนือจีนอย่างน้อยๆ 1 ช่วงตัว
และประเด็นความท้าทายของรัฐบาล คือ จะทำยังไงในการรักษาช่วงห่างนี้เอาไว้ให้ได้ใน 10 ปีข้างหน้า เราเชื่อว่าประเทศจีนนั้นเป็นประเทศใหญ่ เพราะฉะนั้นผู้ที่ไปลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ในจีน ส่วนใหญ่จะเป็นผลิตชิ้นส่วนในประเทศ แต่การมาลงทุนใน อาเซียนนั้น เป็นการลงทุนเพื่อการทำตลาดในภูมิภาคและการส่งออก แน่นอนที่สุด ถึงจุดหนึ่ง การที่ไปลงทุนในจีนก็ต้องส่งออก แต่ว่ามันยังมีช่วงเวลาตรงนั้นอยู่
เพราะฉะนั้นหน้าที่ของรัฐบาลไทย คือ เมื่อเราสามารถทำตัวเองให้เป็นศูนย์กลางการประกอบรถยนต์ได้ เราต้องพยายามพัฒนาตัวเราเองนั้น ไม่ให้พ่ายแพ้กับศูนย์กลางและฐานใดๆ ในโลกนี้ ประเทศไทยมีจุดดีหลายข้อ ตลาดแรงงาน โครง สร้างพื้นฐาน เสถียรภาพทางการเมือง
ถามว่านโยบายอะไรที่รัฐบาลต้องพยายามเร่งออกมา หลายคนบอกว่าต้องเป็นภาษี แน่นอนเราต้องยอมรับว่าอัตราภาษีสรรพสามิตของเรานั้นยังค่อนข้างสูงอยู่ แต่นี่เป็นนโยบายแล้วว่ากรมสรรพสามิตกำลังดูทั้งระบบอยู่ แล้วไปเปรียบเทียบกับอัตราภาษีของประเทศอื่นๆ ฉะนั้นจะลดเท่าไร เวลาไหน ต้องคิดถึงเชิงยุทธศาสตร์ และจะต้องทำให้ไทยไม่เสียเปรียบในเชิงของการแข่งขัน
แต่สิ่งสำคัญที่สุดอยู่ที่ว่า รัฐบาลจะต้องพยา ยามที่จะโน้มน้าวให้ผู้ประกอบการรถยนต์ทุกค่ายทุกสำนักในโลกนี้ ไม่ว่ายุโรป ญี่ปุ่น อเมริกา เกาหลี หรือค่ายใดๆ ก็แล้วแต่ ประเทศไทยจะเป็นพาร์ต เนอร์ที่ลึกล้ำลึกซึ้ง เราจะไม่ทอดทิ้งซึ่งกันและกัน
เพราะถ้าหากท่านบอกว่าจะมาลงทุนอุตสาห กรรมในเมืองไทย เพียงแค่มาประกอบแล้วก็ไป เราไม่ต้องการ แต่ถ้าท่านคิดที่จะเป็นพาร์ตเนอร์อย่างแท้จริง เวลามาลงทุนที่นี่ ลงทุนอย่างเต็มหัวใจ วางเมืองไทยเป็นศูนย์กลาง ไม่เพียงแต่การประกอบรถยนต์ เป็นศูนย์กลางของโนว์ฮาว การคิดค้น เรื่องของวิธีการวิจัยและพัฒนา คิดดีไซน์อย่างไรให้สินค้าตัวนั้นสามารถขายได้ ทำอย่างไรที่จะเอาเทคโนโลยี โนว์ฮาว และคลัสเตอร์ที่สำคัญมาซัพพอร์ตอินดัสทรีของท่าน อุปกรณ์อะไหล่ในรถยนต์ เข้ามาทุ่มเทจิตใจทำให้มันดี เสมือนหนึ่งว่าที่นี่เป็นอีกบ้านหนึ่งของท่าน
เพราะฉะนั้นผมได้กำชับบีโอไอว่า อนาคตข้างหน้าการให้บริการอย่างครบวงจรกับผู้ประกอบการนั้นคือหัวใจสำคัญ อัตราภาษีต่างๆ นับวันจะเริ่มล้าสมัย หน้าที่ของรัฐบาล คือ การสร้างคลัสเตอร์ที่แข็งแรง เพราะเมื่อไหร่ที่ซัพพอร์ตติ้งอินดัสทรีแข็งแรงขึ้นมา จะทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนเหล่านั้นสามารถผลิตสินค้าที่ดีและต้นทุนต่ำ
ผมได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันยานยนต์ ดูแลเรื่องนี้เป็นพิเศษ การให้ความช่วยเหลือทุกกรณี การเชื่อมโยงกับรัฐบาลของต่างประเทศ เราตั้งใจไว้ว่าเราจะกระชับในหลักรัฐต่อรัฐ และเอกชนพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน รัฐบาลจะต้องพยายามพัฒนาบุคลากรให้เพียงพอ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องพยายามทำ
แต่ ณ วันนี้เราการันตีกับท่านได้ว่า ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางที่แท้จริง เรามั่นใจว่านโยบายที่เราวางไว้แล้ว จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ผมไม่เชื่อว่า FTA นั้นจะทำให้สินค้าจากข้างนอกมาตีเมืองไทย FTA เกิดเมื่อไหร่ สินค้าเราจะไปตีตลาดโลกข้างหน้า แต่ถ้าเราไม่ทำอะไรเลย รัฐบาลก็ปล่อยปละละเลย เอกชนก็มาเพียงแค่ผิวเผิน ในไม่ช้ารถยนต์ที่ผลิตในไทยจะไม่สามารถแข่งขันได้ ช่วงที่ทิ้งห่างจากคู่แข่งนั้น มันก็จะหายไป
ประเทศไทยกับเอเชียในตลาดโลก
นายวิลเลี่ยม เอส. บอทวิค ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ตลาดรถยนต์ในเมืองไทยมีอัตราเติบโตสูงสุดในอาเซียน และยังมีการขยายตัวสูงกว่าตลาดในประเทศจีน ซึ่งทางจีเอ็มได้ตัดสินใจลงทุนสร้างฐานการผลิตในเมืองไทยตั้งแต่ปี 2539 เพื่อเป็นฐานการผลิตและส่งออกรถยนต์ยี่ห้อต่างๆ ในเครือจีเอ็ม
สำหรับกลยุทธ์ของจีเอ็มในภูมิภาคนี้มีหลายประการด้วยกัน 1.เพิ่มคุณภาพ วางแผนการผลิตรถยนต์ในกลุ่มจีเอ็ม เพื่อเสริมสร้างตลาดในประเทศต่างๆ 2.สร้างกลุ่มแบรนด์ที่มีมาตรฐานทั้งภูมิภาค ในอาเซียนเป็นเชฟโรเลต โฮลเด้นในออสเตรเลีย แดวูในเกาหลีและเวียดนาม ฮัมเมอร์ คาดิลแลค ซาบ ในตลาดเฉพาะกลุ่ม 3.รวมพลังที่แข็งแกร่งกับพาร์ตเนอร์ต่างๆ ทั้งอีซูซุ ซูบารุ แดวู เห็นได้จากความร่วมมือในการผลิตรถปิกอัพ ไอ190 ซึ่งสามารถทำยอดขายปีแรกได้ 1 แสนคันในไทย และยังส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก
ลักเซอรี่คาร์...การกลับมาที่ร้อนแรง
นายคาร์ล ไฮน์ เฮคเฮาเซ่น ประธานบริหาร บริษัท เดมเลอร์ไครสเลอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ตลาดรถยนต์หรูหราในเมืองไทยกำลังอยู่ในช่วงขยายตัว แม้ว่าในปี 2540 จะประสบวิกฤตเศรษฐกิจ ยอดขายรถหรูตกลงเหลือ 5,000 คัน แต่ปัจจุบันยอดขายขึ้นมาถึง 12,000 คัน
สำหรับรถเบนซ์ในปีนี้คาดว่าจะขายได้ 5,100 คัน บริษัทตั้งเป้าที่จะโตกว่า 10,000 คันในอนาคตอันใกล้ โดยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จของเบนซ์หลายประการด้วยกัน คือ 1.ผู้บริโภค ดอกเบี้ยต่ำ มีเขตการค้าเสรีต่างๆ 2.ผลิตภัณฑ์ของเดมเลอร์ไครสเลอร์ มีเทคโนโลยีที่สูงเกินความคาดหวังของลูกค้า รวมทั้งความร่วมมือของตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ และผู้ผลิตชิ้นส่วนที่มีคุณภาพในประเทศ
เมืองไทยยังเนื้อหอม
นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ก่อตั้งมาแล้ว 40 กว่าปี ถ้ารวมตัวเลขโตโยต้า โอเปอเรชั่น ในประเทศไทย จะมีพนักงานที่เกี่ยวข้องประมาณ 8 หมื่นคน ในขณะนี้กำลังการผลิตของโตโยต้ากำลังขยายให้เป็น 3 แสนตันต่อปี โดยเน้นการประกอบรถปิกอัพที่จะขยายเป็น 2 แสนคันต่อปี ส่วนที่เกตเวย์นั้น เป็นโรงงานประกอบรถยนต์นั่ง มีกำลังการผลิต 1 แสนคัน
และยังได้มีการประกาศตัวเรื่องการลงทุนใหม่ ไอเอ็มวี โปรเจ็กต์ เป็นมูลค่า 42,800 ล้านบาท มีการลงทุนศูนย์วิจัยและพัฒนาอีก 2,700 ล้านบาท
สำหรับยอดขายของโตโยต้า เราเคยขายสูงสุดเมื่อปี 2539 ประมาณ 164,000 คัน ช่วงเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจในปี 2541 เราขายเพียง 42,000 คันเท่านั้น หลังจากนั้นเติบโตมาเรื่อยๆ จนกระทั่งปีนี้เราสามารถทำสถิติใหม่ได้โดยการขาย คาดว่าคงจะเกิน 180,000 คันแน่นอน
ในตลาดโลกนั้น ไทยอยู่ลำดับที่ 3 นอกจากประเทศญี่ปุ่น ที่หนึ่งคือสหรัฐอเมริกา มียอดขายประมาณ 1.5 ล้านคัน ที่สอง ออสเตรเลีย 157,000 คัน ของไทย 10 เดือนเราขายไป 150,000 คัน ตามหลังออสเตรเลียประมาณ 7,000 คันเท่านั้น ตอนนี้กำลังแข่งขันกับออสเตรเลียอยู่ ว่าใครจะเป็นเบอร์สองในอนาคต ในส่วนของลำดับที่สี่เป็นแคนาดา อันดับห้าเป็นประเทศอังกฤษ
แผนการในอนาคต โตโยต้าจะใช้ไทยเป็นฐานการผลิต และตัวเชื่อมโครงข่ายต่างๆ ในภูมิภาคนี้ โดยการสร้างขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก เน้นเรื่องของการทำต้นทุนที่ถูก แต่คุณภาพดี และเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ที่สำคัญเรามีนโยบายหลักในเรื่องของการเพิ่มตลาดในประเทศและการส่งออก ที่จะเริ่มเป็นจริงเป็นจังมากขึ้นในปี 2005 คาดการณ์ว่าจะมีการส่งออกไม่ต่ำกว่า 1 แสนคัน และเรามีนโยบายที่จะใช้ชิ้นส่วนให้ครบ 100% ใน 2-3 ปีข้างหน้า
สำหรับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์ เทียบกับประเทศจีนและอินโดนีเซีย จะเห็นได้ว่ามุมมองของนักลงทุนญี่ปุ่น มองว่าเราดีกว่าทั้งสองประเทศเกือบทุกด้าน ยกเว้นเราแพ้จีนในเรื่องของค่าแรงที่ยังถูกกว่า และขนาดตลาดของเขาใหญ่กว่า ตอนนี้ตลาดเมืองจีนมีขนาดประมาณ 3.25 ล้านคันต่อปี แต่ขณะที่ไทยคาดว่าจะอยู่ที่ 530,000 คัน ถ้ารวมกับส่งออกประมาณ 230,000 คันนั้น หมายความว่าเรามีการผลิตรถยนต์ประมาณ 760,000 คัน ซึ่งยังถือว่าน้อยกว่าประเทศจีน
อย่างไรก็ตาม เราก็มีจุดแข็งในเรื่องของแรงงานที่มีทักษะ ความสัมพันธ์ที่ดีกับสหภาพ มีอุตสาหกรรมสนับสนุนที่หลากหลาย ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนกระทั่งปลายน้ำ เรามีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี มีกฎเกณฑ์ต่างๆ รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลถือว่าอุตสาหกรรมยานยนต์เป็น 1 ใน 5 ของอุตสาหกรรมเป้าหมาย
ในเรื่องของการเปิดการค้าเสรี ประเทศไทยมีการเซ็น FTA ไป 3 ประเทศด้วยกัน คือ ประเทศบาห์เรน มีเรื่องของชิ้นส่วนยานยนต์เกี่ยวข้องบ้าง ประเทศที่ 2 จีน-ไทย เซ็นในเรื่องพืชผักผลไม้ แต่เรื่องของรถยนต์ประเทศจีนยังสงวนท่าทีอยู่ ในอนาคตคาดว่าจะหันมาคุยในเรื่องของอุตสาหกรรมรถยนต์ด้วย ส่วนประเทศอินเดียเพิ่งเซ็นไปเร็วๆ นี้ เป็นรายการที่เกี่ยวกับชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งหมด 10 รายการ แต่ต่อไปคงต้องคุยกันมากขึ้นในเรื่องของอุตสาหกรรมยานยนต์
สำหรับออสเตรเลียได้มีการสรุปข้อตกลงกันเรียบร้อยแล้ว จะมีการเซ็นข้อตกลงในเดือนมีนาคมปีหน้า จะมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคมปี"48 โดยข้อเสนอฝ่ายออสเตรเลีย คือ ลดภาษีรถยนต์เป็นศูนย์หมด ปัจจุบันออสเตรเลียภาษีนำเข้ารถยนต์นั่งอยู่ที่ 15% รถบรรทุกอยู่ที่ 5% ส่วนไทยนั้นเสนอให้ลดภาษีรถยนต์นำเข้า ถ้าเกิน 3 ลิตรขึ้นไป ลดให้เป็นศูนย์ทันที ถ้าต่ำกว่า 3 ลิตรลงมา จะลดขั้นแรกจาก 80% ลงมาเหลือ 30% จากนั้นค่อยลดลงไปจนเป็นศูนย์ในปี 2554
ในขณะเดียวกันทางรัฐบาลไทยยังมีโครงการที่จะเจรจา FTA กับสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และอีกหลายๆ ประเทศ ถือเป็นข่าวดีที่ว่าประเทศไทยจะเป็นสาวเนื้อหอมให้ประเทศต่างๆ หันมาลงทุนในไทยมากขึ้น เพราะว่าโอกาสที่จะขยายตลาดมีมากขึ้น จีนมีพลเมือง 1,300 ล้านคน อินเดียประมาณ 1,000 ล้านคน สองประเทศรวมกัน 2,300 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็น FTA ที่ใหญ่ที่สุดในขณะนี้
มุมมองของนักลงทุนญี่ปุ่น มองไทยเหมาะที่จะเป็นฐานการลงทุนอย่างไร 1.มีขนาดตลาดที่น่าสนใจ 2.มีสถานะทางการเมืองค่อนข้างมีเสถียร ภาพ 3.มีอินเซนทีฟจากบีโอไอ 4.มีโครงสร้างพื้นฐานดีในเรื่องของท่าเรือ สนามบิน ระบบไฟฟ้า โทรศัพท์ 5.มีแรงงานที่มีทักษะ 6.มีอุตสาหกรรมสนับสนุนมากมาย และมีซัพพลายเออร์เยอะแยะ 7.ฟรีแอนด์แฟร์เทรด หมายความว่า เป็นการค้าเสรีและยุติธรรมที่นักลงทุนจะไปลงทุน
สถาบันยานยนต์พร้อมสนับสนุน
นายวัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า รัฐบาลได้จัดตั้งสถาบันยานยนต์ขึ้นเพื่อเชื่อมโยงและประสานงาน ระหว่างภาครัฐบาลกับภาคเอกชน โดยมีเป้าหมายในเรื่องการพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมนี้ และการที่รัฐบาลได้บรรจุให้อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย และยังเป็นศูนย์กลางการผลิตในอาเชียอาคเนย์ ดังนั้น ทางสถาบันยานยนต์จึงต้องเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้
สถาบันยานยนต์จัดตั้งขึ้นในปี 2541 หลังวิกฤตเศรษฐกิจในเมืองไทย ในช่วงปี 2542-2543 งานหลักของสถาบันยานยนต์ คือ ช่วยเหลือผู้ผลิตชิ้นส่วนและเอสเอ็มอีต่างๆ ให้ฟื้นจากวิกฤต และภาระในขณะนี้ คือ การเสริมสร้างให้ผู้ประกอบการได้แข่งขันในเวทีการค้าโลก โดยทำวิจัยร่วมกับภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เป็นไปตามแผนแม่บทอุตสาหกรรมปี 2544 ที่ให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนในภูมิภาค
โดยมีภารกิจหลัก คือ 1.ศึกษาและวิจัยธุรกิจยานยนต์ เป็นแกนนำในการรวบรวมข้อมูล เสนอผลงานในรูปของสื่อต่างๆ และคำแนะนำในการ ติดต่อกับภาครัฐ 2.สร้างความสามารถในการแข่งขันระดับโลก โดยมีผู้เชี่ยวชาญในแขนงต่างๆ ทั้งจากไทยและต่างประเทศ 3.เสริมสร้างบุคลากร ในอุตฯนี้อย่างต่อเนื่อง 4.การบริการทดสอบและส่งเสริมมาตรฐานยานยนต์ 5.สนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตัวเอง โดยเชื่อมโยงกับมหาวิทยา ลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ
สำหรับเป้าหมายในปี 2549 ของแผนแม่บทอุตสาหกรรม ได้ตั้งเป้าการผลิตรถยนต์ไว้ 1 ล้านคัน แบ่งเป็นปิกอัพ 7 แสนคัน และรถยนต์นั่ง 4 แสนคัน ในจำนวนนี้ส่งออกมากกว่า 40% คิดเป็นมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท สำหรับชิ้นส่วนในปี 2549 จะมีการผลิตมูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท คิดเป็นมูลค่าเพิ่มในประเทศกว่า 60%
ส่วนตัวเลขการผลิตและส่งออกในปีนี้อยู่ที่ 7.5 แสนคัน เป็นขายในประเทศ 70% ส่งออก 30% ซึ่งอยู่ในลำดับที่ 5 ของเอเชีย และคาดว่าภายในปี 2549 ไทยจะขึ้นไปถึงอันดับที่ 5 ของประเทศ เพราะขณะนี้ผู้ผลิตรถยนต์จากประเทศต่างๆ ได้ย้ายฐานการผลิตเข้ามาอยู่ในเมืองไทยแล้ว
ปีที่ 27 ฉบับที่ 3535(2735)
ปาฐกถาพิเศษ ทิศทางการลงทุนอุตฯยานยนต์ ปี 2547-2550
รายงานพิเศษ
ประเทศไทย เส้นทางหลักสายใหม่ที่คับคั่งด้วยโอกาสทางธุรกิจของอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์แห่งภูมิภาคอาเซียน ด้วยการสนับ สนุนอย่างเต็มกำลังจากรัฐบาล กอปรกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ที่นี่จึงเปรียบเสมือนศูนย์รวมการลงทุน การผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน และยังเป็นศูนย์กลางการผลิตรถปิกอัพที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ร่วมกับสมาคมผู้สื่อข่าวรถยนต์และจักรยานยนต์ไทย บริษัท รี้ด เทรดเด็กซ์ จำกัด และกรังด์ปรีซ์กรุ๊ป จึงได้จัดเสวนาภายใต้หัวข้อ "ทิศทางการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ปี พ.ศ.2547-2550" โดยมีผู้ร่วมสัมมนาจากภาครัฐบาลและบริษัทเอกชนชั้นนำที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์
นโยบายรัฐต่อการพัฒนา
อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลได้มีการกำหนด "อุตสาหกรรมเป้าหมาย" ขึ้น โดยบรรจุอุตสาหกรรมยานยนต์เข้าไปเป็นลำดับที่ 2 เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจของไทย ด้วยสัดส่วนต่อจีดีพีสูงถึงกว่า 10% ในปัจจุบันสูงประมาณ 16% ของจีดีพี มีการจ้างงานประมาณ 8-9% ของการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด และยังขยายไปยังภาค เอสเอ็มอี ที่เรียกว่าอุตสาหกรรมสนับสนุนมากมาย หากสามารถพัฒนาและผลักดันได้สำเร็จ จะมีผลทำให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ นั้นเจริญเติบโตขึ้นไปด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น อุตสาหกรรมนี้ยังเป็นเสมือนกระจกที่สะท้อนไปยังทุกมุมโลก หากสามารถประสบความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์แล้ว เสมือนกับประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ ล้วนแล้วแต่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งสิ้น
สำหรับปัจจัยที่ประสบความสำเร็จ คือ 1.เรื่องของต้นทุน 2.มีคุณภาพ 3.การตลาด ที่สามารถตอบสนองกับรสนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปค่อนข้างรวดเร็ว และ 4.เป็นความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ระหว่างเรื่องของการพัฒนา การหาอุปกรณ์ซัพพอร์ตทั้งหลาย และเน็ตเวิร์กกิ้ง
เมื่อพูดถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ เรามีความเชื่อว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว ค่ายรถยนต์ส่วนใหญ่อยู่ในยุโรปและอเมริกา กว่าที่บริษัทรถยนต์หนึ่งค่ายจากเอเชียจะสามารถเติบใหญ่ขึ้นมาได้ใช้เวลาร่วม 1 ทศวรรษ แต่ผมเชื่อว่าในอนาคตข้างหน้า ตลาดที่เป็นตลาดหลักของอุตสาห กรรมรถยนต์นั้น ไม่พ่ายแพ้อเมริกาหรือยุโรปเลย คือตลาดในเอเชีย
เหตุผลคือ จากที่ผมกล่าวมาเมื่อสักครู่ เรื่อง ของขนาดตลาดในเอเชียนั้นยิ่งใหญ่นัก ดูจำนวนประชากรถ้าลองนับประเทศจีนประเทศเดียว ผู้บริโภคกว่าพันล้านคน อินเดียพันกว่าล้านคน อาเซียนห้าร้อยกว่าล้านคน ตลาดนี้ใหญ่มาก
ถ้าพูดถึงเรื่องการอิ่มตัวนั้นยังอีกนาน อัตรา ส่วนของประชากรต่อรถยนต์ 1 คัน ญี่ปุ่นเท่ากับ 2 ที่มาเลเซีย สิงคโปร์ สัดส่วนประมาณ 5 ต่อ 1 ไทยที่ 12 ฟิลิปปินส์ 30 อินโดนีเซียที่ 60 ต่อ 1 ไม่ต้องพูดถึงจีน ถึงอินเดีย โอกาสสูง ด้วยไซซ์ของประชากร ด้วยสัดส่วนของรถยนต์ต่อหัว และด้วยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง
ประเทศต่างๆ ในเอเชียนั้น จะต้องพยายามพิสูจน์ให้กลุ่มผู้ประกอบการรถยนต์รายใหญ่เชื่อว่า ประเทศนั้นจะต้องเตรียมพร้อมในเรื่องของการนำเสนอ เรื่องของต้นทุนการผลิต เทคโนโลยี มาร์เก็ตติ้ง เป็นศูนย์กลางของการประสานงานได้ ซึ่งประเทศไทยนั้นสามารถทำได้
ผมได้เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นในช่วงปีที่ผ่านมา เพื่อตอกย้ำกับเขาว่า อนาคตข้างหน้าในเอเชียจะมีศูนย์กลางอยู่แค่ 2 แห่ง นอกเหนือจากญี่ปุ่น ศูนย์กลางที่จะเป็นฐานแห่งแรกคืออาเซียน ด้วยความใหญ่โตของอาเซียน มีประชากรกว่า 500 ล้านคน และอาฟต้ากำลังจะเกิดขึ้นสมบูรณ์ในไม่ช้า
สิ่งเหล่านี้คือพัฒนาการทางเศรษฐกิจ จะเป็นตลาดที่สำคัญสำหรับในอาเซียน และสำหรับการส่งออกสู่ประเทศข้างเคียง ถ้าหากท่านจะมาลงทุนในอาเซียน ท่านไม่ต้องไปมองประเทศอื่นเลย เพราะประเทศไทยคือศูนย์กลางที่แท้จริงของอาเซียน
ในยามที่เศรษฐกิจเราตกสะเก็ดเกิดวิกฤต การณ์การพูดเช่นนี้ทุกคนคงมีเครื่อง หมายคำถามตัวใหญ่ๆ ขึ้นมาว่า ท่านจะทำได้จริงหรือเปล่า แต่ในวันนี้ด้วยการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ จีดีพีเติบ โตจาก 1.6 เป็น 6.1 และจะเป็น 8% ในปีข้างหน้า อันนี้สรุป beyond economics oriental เพิ่มขึ้นกว่า 500% และถ้าถามว่ามันจะตกลงมามั้ย ตอบได้เลยว่าไม่มีตก
เพราะที่ผ่านมานั้นรัฐบาลยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมากมาย เป็นเพียงการขันนอตประเทศไทยที่หลวม เป็นการต่อเติมการบริหารจัดการ ซึ่งเราไม่เคยมีการบริหารจัดการที่แท้จริงมานานแล้ว เมื่อเราใส่เรื่องของการบริหารจัดการเข้าไป เราขันนอตทุกตัวให้แน่น เราเริ่มจากการปฏิรูปจีดีพีเติบโตถึงเพียงนี้
ฉะนั้นปีข้างหน้า เราจะพยายามรักษาเสถียร ภาพของการเติบโตไว้อย่างสม่ำเสมอ เมื่อจีดีพีเติบโต เสถียรภาพทางการเมืองแน่นแฟ้น มองไปข้างหน้า โอกาสพลิกเกมทางการเมืองเกิดขึ้นยากมาก หมายความว่านโยบายอะไรก็แล้วแต่ที่รัฐบาลประกาศออกไป อยู่อย่างน้อยๆ 8 ปี นานที่สุดเท่าที่ท่านจะหาได้จากทุกประเทศในโลกนี้ เมื่อเสถียร ภาพทางการเมืองที่แน่นแฟ้น จีดีพีที่เติบโต รัฐบาลชุดนี้กว่าครึ่งหนึ่งมาจากภาคเอกชน ทราบดีว่าปัญหาของท่านคืออะไร
เราได้บอกผู้ประกอบการของญี่ปุ่นในขณะนั้น ขอให้ท่านมาที่ประเทศไทย ประเทศไทยเป็นศูนย์ กลางที่จะไปถึงเขตจีเอ็มเอส หรือกลุ่มลุ่มน้ำโขง ทะเลสู่จีนตอนใต้ ฉะนั้นอาเซียนจะไม่จำกัดวงอยู่แค่ 10 ประเทศ มันสามารถทะลุขึ้นไปอยู่ข้างบน แล้วประเทศไทยเป็นทางผ่านหรือเป็นเซ็นเตอร์ ทางเหนือนั้นขึ้นไปสู่จีเอ็มเอส ทะลุจีนลงมาทางใต้คืออินโดจีนกับกลุ่มประเทศที่เหลือ
ทางเชื่อมโยงเหล่านี้บวกกับการที่ไทยพยายามช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้าน เราได้ตั้งกองทุนขึ้นมากองทุนหนึ่ง เพื่อช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านในการพัฒนา เป็นบาทโลน เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ด้วยความแน่นแฟ้นของ 4 ประเทศ ในอนาคตจะสามารถขยายไปสู่ประเทศอื่นในอาเซียน ซึ่งมีความใกล้ชิดสนิทสนมอยู่แล้ว
ฉะนั้นในอนาคตอันใกล้ อาเซียนจะเข้มแข็งอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
และยังจะเป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตที่ยิ่งใหญ่ในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยมีประเทศไทยเป็นหัวใจ แต่ท่านจะปฏิเสธประเทศจีนไม่ได้เลย ฉะนั้นขาข้างที่สองของผู้ผลิตชิ้นส่วนทั้งหลาย คือ ประเทศจีน คนเป็นพันๆ ล้าน ถ้าไม่ไปลงทุนที่นั่น ก็ไม่มีสายตาที่กว้างไกล อุตสาหกรรมยานยนต์ที่เมืองจีนมีการพัฒนาที่เร็วมาก และคุณภาพดีขึ้น จากการพูดคุยกับผู้ประกอบการหลายๆ ค่ายยังมีช่วงห่างอยู่ช่วงหนึ่ง ระหว่างไทยกับจีน
ขณะนี้เรานำหน้าจีนอยู่ในโลกอุตสาหกรรมยานยนต์ ในเรื่องของฝีมือแรงงาน ในเรื่องของคุณภาพสินค้า ที่ประกอบออกมาได้ ฉะนั้นในสายตาของผู้วางนโยบาย เราไม่ได้มองว่าจีนเป็นคู่แข่ง แต่เรามองว่ามันต้องไปด้วยกัน และเราต้องเอาตัวเรานั้นอยู่เหนือจีนอย่างน้อยๆ 1 ช่วงตัว
และประเด็นความท้าทายของรัฐบาล คือ จะทำยังไงในการรักษาช่วงห่างนี้เอาไว้ให้ได้ใน 10 ปีข้างหน้า เราเชื่อว่าประเทศจีนนั้นเป็นประเทศใหญ่ เพราะฉะนั้นผู้ที่ไปลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ในจีน ส่วนใหญ่จะเป็นผลิตชิ้นส่วนในประเทศ แต่การมาลงทุนใน อาเซียนนั้น เป็นการลงทุนเพื่อการทำตลาดในภูมิภาคและการส่งออก แน่นอนที่สุด ถึงจุดหนึ่ง การที่ไปลงทุนในจีนก็ต้องส่งออก แต่ว่ามันยังมีช่วงเวลาตรงนั้นอยู่
เพราะฉะนั้นหน้าที่ของรัฐบาลไทย คือ เมื่อเราสามารถทำตัวเองให้เป็นศูนย์กลางการประกอบรถยนต์ได้ เราต้องพยายามพัฒนาตัวเราเองนั้น ไม่ให้พ่ายแพ้กับศูนย์กลางและฐานใดๆ ในโลกนี้ ประเทศไทยมีจุดดีหลายข้อ ตลาดแรงงาน โครง สร้างพื้นฐาน เสถียรภาพทางการเมือง
ถามว่านโยบายอะไรที่รัฐบาลต้องพยายามเร่งออกมา หลายคนบอกว่าต้องเป็นภาษี แน่นอนเราต้องยอมรับว่าอัตราภาษีสรรพสามิตของเรานั้นยังค่อนข้างสูงอยู่ แต่นี่เป็นนโยบายแล้วว่ากรมสรรพสามิตกำลังดูทั้งระบบอยู่ แล้วไปเปรียบเทียบกับอัตราภาษีของประเทศอื่นๆ ฉะนั้นจะลดเท่าไร เวลาไหน ต้องคิดถึงเชิงยุทธศาสตร์ และจะต้องทำให้ไทยไม่เสียเปรียบในเชิงของการแข่งขัน
แต่สิ่งสำคัญที่สุดอยู่ที่ว่า รัฐบาลจะต้องพยา ยามที่จะโน้มน้าวให้ผู้ประกอบการรถยนต์ทุกค่ายทุกสำนักในโลกนี้ ไม่ว่ายุโรป ญี่ปุ่น อเมริกา เกาหลี หรือค่ายใดๆ ก็แล้วแต่ ประเทศไทยจะเป็นพาร์ต เนอร์ที่ลึกล้ำลึกซึ้ง เราจะไม่ทอดทิ้งซึ่งกันและกัน
เพราะถ้าหากท่านบอกว่าจะมาลงทุนอุตสาห กรรมในเมืองไทย เพียงแค่มาประกอบแล้วก็ไป เราไม่ต้องการ แต่ถ้าท่านคิดที่จะเป็นพาร์ตเนอร์อย่างแท้จริง เวลามาลงทุนที่นี่ ลงทุนอย่างเต็มหัวใจ วางเมืองไทยเป็นศูนย์กลาง ไม่เพียงแต่การประกอบรถยนต์ เป็นศูนย์กลางของโนว์ฮาว การคิดค้น เรื่องของวิธีการวิจัยและพัฒนา คิดดีไซน์อย่างไรให้สินค้าตัวนั้นสามารถขายได้ ทำอย่างไรที่จะเอาเทคโนโลยี โนว์ฮาว และคลัสเตอร์ที่สำคัญมาซัพพอร์ตอินดัสทรีของท่าน อุปกรณ์อะไหล่ในรถยนต์ เข้ามาทุ่มเทจิตใจทำให้มันดี เสมือนหนึ่งว่าที่นี่เป็นอีกบ้านหนึ่งของท่าน
เพราะฉะนั้นผมได้กำชับบีโอไอว่า อนาคตข้างหน้าการให้บริการอย่างครบวงจรกับผู้ประกอบการนั้นคือหัวใจสำคัญ อัตราภาษีต่างๆ นับวันจะเริ่มล้าสมัย หน้าที่ของรัฐบาล คือ การสร้างคลัสเตอร์ที่แข็งแรง เพราะเมื่อไหร่ที่ซัพพอร์ตติ้งอินดัสทรีแข็งแรงขึ้นมา จะทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนเหล่านั้นสามารถผลิตสินค้าที่ดีและต้นทุนต่ำ
ผมได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันยานยนต์ ดูแลเรื่องนี้เป็นพิเศษ การให้ความช่วยเหลือทุกกรณี การเชื่อมโยงกับรัฐบาลของต่างประเทศ เราตั้งใจไว้ว่าเราจะกระชับในหลักรัฐต่อรัฐ และเอกชนพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน รัฐบาลจะต้องพยายามพัฒนาบุคลากรให้เพียงพอ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องพยายามทำ
แต่ ณ วันนี้เราการันตีกับท่านได้ว่า ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางที่แท้จริง เรามั่นใจว่านโยบายที่เราวางไว้แล้ว จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง ผมไม่เชื่อว่า FTA นั้นจะทำให้สินค้าจากข้างนอกมาตีเมืองไทย FTA เกิดเมื่อไหร่ สินค้าเราจะไปตีตลาดโลกข้างหน้า แต่ถ้าเราไม่ทำอะไรเลย รัฐบาลก็ปล่อยปละละเลย เอกชนก็มาเพียงแค่ผิวเผิน ในไม่ช้ารถยนต์ที่ผลิตในไทยจะไม่สามารถแข่งขันได้ ช่วงที่ทิ้งห่างจากคู่แข่งนั้น มันก็จะหายไป
ประเทศไทยกับเอเชียในตลาดโลก
นายวิลเลี่ยม เอส. บอทวิค ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ตลาดรถยนต์ในเมืองไทยมีอัตราเติบโตสูงสุดในอาเซียน และยังมีการขยายตัวสูงกว่าตลาดในประเทศจีน ซึ่งทางจีเอ็มได้ตัดสินใจลงทุนสร้างฐานการผลิตในเมืองไทยตั้งแต่ปี 2539 เพื่อเป็นฐานการผลิตและส่งออกรถยนต์ยี่ห้อต่างๆ ในเครือจีเอ็ม
สำหรับกลยุทธ์ของจีเอ็มในภูมิภาคนี้มีหลายประการด้วยกัน 1.เพิ่มคุณภาพ วางแผนการผลิตรถยนต์ในกลุ่มจีเอ็ม เพื่อเสริมสร้างตลาดในประเทศต่างๆ 2.สร้างกลุ่มแบรนด์ที่มีมาตรฐานทั้งภูมิภาค ในอาเซียนเป็นเชฟโรเลต โฮลเด้นในออสเตรเลีย แดวูในเกาหลีและเวียดนาม ฮัมเมอร์ คาดิลแลค ซาบ ในตลาดเฉพาะกลุ่ม 3.รวมพลังที่แข็งแกร่งกับพาร์ตเนอร์ต่างๆ ทั้งอีซูซุ ซูบารุ แดวู เห็นได้จากความร่วมมือในการผลิตรถปิกอัพ ไอ190 ซึ่งสามารถทำยอดขายปีแรกได้ 1 แสนคันในไทย และยังส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก
ลักเซอรี่คาร์...การกลับมาที่ร้อนแรง
นายคาร์ล ไฮน์ เฮคเฮาเซ่น ประธานบริหาร บริษัท เดมเลอร์ไครสเลอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ตลาดรถยนต์หรูหราในเมืองไทยกำลังอยู่ในช่วงขยายตัว แม้ว่าในปี 2540 จะประสบวิกฤตเศรษฐกิจ ยอดขายรถหรูตกลงเหลือ 5,000 คัน แต่ปัจจุบันยอดขายขึ้นมาถึง 12,000 คัน
สำหรับรถเบนซ์ในปีนี้คาดว่าจะขายได้ 5,100 คัน บริษัทตั้งเป้าที่จะโตกว่า 10,000 คันในอนาคตอันใกล้ โดยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จของเบนซ์หลายประการด้วยกัน คือ 1.ผู้บริโภค ดอกเบี้ยต่ำ มีเขตการค้าเสรีต่างๆ 2.ผลิตภัณฑ์ของเดมเลอร์ไครสเลอร์ มีเทคโนโลยีที่สูงเกินความคาดหวังของลูกค้า รวมทั้งความร่วมมือของตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ และผู้ผลิตชิ้นส่วนที่มีคุณภาพในประเทศ
เมืองไทยยังเนื้อหอม
นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ก่อตั้งมาแล้ว 40 กว่าปี ถ้ารวมตัวเลขโตโยต้า โอเปอเรชั่น ในประเทศไทย จะมีพนักงานที่เกี่ยวข้องประมาณ 8 หมื่นคน ในขณะนี้กำลังการผลิตของโตโยต้ากำลังขยายให้เป็น 3 แสนตันต่อปี โดยเน้นการประกอบรถปิกอัพที่จะขยายเป็น 2 แสนคันต่อปี ส่วนที่เกตเวย์นั้น เป็นโรงงานประกอบรถยนต์นั่ง มีกำลังการผลิต 1 แสนคัน
และยังได้มีการประกาศตัวเรื่องการลงทุนใหม่ ไอเอ็มวี โปรเจ็กต์ เป็นมูลค่า 42,800 ล้านบาท มีการลงทุนศูนย์วิจัยและพัฒนาอีก 2,700 ล้านบาท
สำหรับยอดขายของโตโยต้า เราเคยขายสูงสุดเมื่อปี 2539 ประมาณ 164,000 คัน ช่วงเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจในปี 2541 เราขายเพียง 42,000 คันเท่านั้น หลังจากนั้นเติบโตมาเรื่อยๆ จนกระทั่งปีนี้เราสามารถทำสถิติใหม่ได้โดยการขาย คาดว่าคงจะเกิน 180,000 คันแน่นอน
ในตลาดโลกนั้น ไทยอยู่ลำดับที่ 3 นอกจากประเทศญี่ปุ่น ที่หนึ่งคือสหรัฐอเมริกา มียอดขายประมาณ 1.5 ล้านคัน ที่สอง ออสเตรเลีย 157,000 คัน ของไทย 10 เดือนเราขายไป 150,000 คัน ตามหลังออสเตรเลียประมาณ 7,000 คันเท่านั้น ตอนนี้กำลังแข่งขันกับออสเตรเลียอยู่ ว่าใครจะเป็นเบอร์สองในอนาคต ในส่วนของลำดับที่สี่เป็นแคนาดา อันดับห้าเป็นประเทศอังกฤษ
แผนการในอนาคต โตโยต้าจะใช้ไทยเป็นฐานการผลิต และตัวเชื่อมโครงข่ายต่างๆ ในภูมิภาคนี้ โดยการสร้างขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก เน้นเรื่องของการทำต้นทุนที่ถูก แต่คุณภาพดี และเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ที่สำคัญเรามีนโยบายหลักในเรื่องของการเพิ่มตลาดในประเทศและการส่งออก ที่จะเริ่มเป็นจริงเป็นจังมากขึ้นในปี 2005 คาดการณ์ว่าจะมีการส่งออกไม่ต่ำกว่า 1 แสนคัน และเรามีนโยบายที่จะใช้ชิ้นส่วนให้ครบ 100% ใน 2-3 ปีข้างหน้า
สำหรับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์ เทียบกับประเทศจีนและอินโดนีเซีย จะเห็นได้ว่ามุมมองของนักลงทุนญี่ปุ่น มองว่าเราดีกว่าทั้งสองประเทศเกือบทุกด้าน ยกเว้นเราแพ้จีนในเรื่องของค่าแรงที่ยังถูกกว่า และขนาดตลาดของเขาใหญ่กว่า ตอนนี้ตลาดเมืองจีนมีขนาดประมาณ 3.25 ล้านคันต่อปี แต่ขณะที่ไทยคาดว่าจะอยู่ที่ 530,000 คัน ถ้ารวมกับส่งออกประมาณ 230,000 คันนั้น หมายความว่าเรามีการผลิตรถยนต์ประมาณ 760,000 คัน ซึ่งยังถือว่าน้อยกว่าประเทศจีน
อย่างไรก็ตาม เราก็มีจุดแข็งในเรื่องของแรงงานที่มีทักษะ ความสัมพันธ์ที่ดีกับสหภาพ มีอุตสาหกรรมสนับสนุนที่หลากหลาย ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนกระทั่งปลายน้ำ เรามีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี มีกฎเกณฑ์ต่างๆ รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลถือว่าอุตสาหกรรมยานยนต์เป็น 1 ใน 5 ของอุตสาหกรรมเป้าหมาย
ในเรื่องของการเปิดการค้าเสรี ประเทศไทยมีการเซ็น FTA ไป 3 ประเทศด้วยกัน คือ ประเทศบาห์เรน มีเรื่องของชิ้นส่วนยานยนต์เกี่ยวข้องบ้าง ประเทศที่ 2 จีน-ไทย เซ็นในเรื่องพืชผักผลไม้ แต่เรื่องของรถยนต์ประเทศจีนยังสงวนท่าทีอยู่ ในอนาคตคาดว่าจะหันมาคุยในเรื่องของอุตสาหกรรมรถยนต์ด้วย ส่วนประเทศอินเดียเพิ่งเซ็นไปเร็วๆ นี้ เป็นรายการที่เกี่ยวกับชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งหมด 10 รายการ แต่ต่อไปคงต้องคุยกันมากขึ้นในเรื่องของอุตสาหกรรมยานยนต์
สำหรับออสเตรเลียได้มีการสรุปข้อตกลงกันเรียบร้อยแล้ว จะมีการเซ็นข้อตกลงในเดือนมีนาคมปีหน้า จะมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคมปี"48 โดยข้อเสนอฝ่ายออสเตรเลีย คือ ลดภาษีรถยนต์เป็นศูนย์หมด ปัจจุบันออสเตรเลียภาษีนำเข้ารถยนต์นั่งอยู่ที่ 15% รถบรรทุกอยู่ที่ 5% ส่วนไทยนั้นเสนอให้ลดภาษีรถยนต์นำเข้า ถ้าเกิน 3 ลิตรขึ้นไป ลดให้เป็นศูนย์ทันที ถ้าต่ำกว่า 3 ลิตรลงมา จะลดขั้นแรกจาก 80% ลงมาเหลือ 30% จากนั้นค่อยลดลงไปจนเป็นศูนย์ในปี 2554
ในขณะเดียวกันทางรัฐบาลไทยยังมีโครงการที่จะเจรจา FTA กับสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และอีกหลายๆ ประเทศ ถือเป็นข่าวดีที่ว่าประเทศไทยจะเป็นสาวเนื้อหอมให้ประเทศต่างๆ หันมาลงทุนในไทยมากขึ้น เพราะว่าโอกาสที่จะขยายตลาดมีมากขึ้น จีนมีพลเมือง 1,300 ล้านคน อินเดียประมาณ 1,000 ล้านคน สองประเทศรวมกัน 2,300 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็น FTA ที่ใหญ่ที่สุดในขณะนี้
มุมมองของนักลงทุนญี่ปุ่น มองไทยเหมาะที่จะเป็นฐานการลงทุนอย่างไร 1.มีขนาดตลาดที่น่าสนใจ 2.มีสถานะทางการเมืองค่อนข้างมีเสถียร ภาพ 3.มีอินเซนทีฟจากบีโอไอ 4.มีโครงสร้างพื้นฐานดีในเรื่องของท่าเรือ สนามบิน ระบบไฟฟ้า โทรศัพท์ 5.มีแรงงานที่มีทักษะ 6.มีอุตสาหกรรมสนับสนุนมากมาย และมีซัพพลายเออร์เยอะแยะ 7.ฟรีแอนด์แฟร์เทรด หมายความว่า เป็นการค้าเสรีและยุติธรรมที่นักลงทุนจะไปลงทุน
สถาบันยานยนต์พร้อมสนับสนุน
นายวัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า รัฐบาลได้จัดตั้งสถาบันยานยนต์ขึ้นเพื่อเชื่อมโยงและประสานงาน ระหว่างภาครัฐบาลกับภาคเอกชน โดยมีเป้าหมายในเรื่องการพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมนี้ และการที่รัฐบาลได้บรรจุให้อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย และยังเป็นศูนย์กลางการผลิตในอาเชียอาคเนย์ ดังนั้น ทางสถาบันยานยนต์จึงต้องเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้
สถาบันยานยนต์จัดตั้งขึ้นในปี 2541 หลังวิกฤตเศรษฐกิจในเมืองไทย ในช่วงปี 2542-2543 งานหลักของสถาบันยานยนต์ คือ ช่วยเหลือผู้ผลิตชิ้นส่วนและเอสเอ็มอีต่างๆ ให้ฟื้นจากวิกฤต และภาระในขณะนี้ คือ การเสริมสร้างให้ผู้ประกอบการได้แข่งขันในเวทีการค้าโลก โดยทำวิจัยร่วมกับภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เป็นไปตามแผนแม่บทอุตสาหกรรมปี 2544 ที่ให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนในภูมิภาค
โดยมีภารกิจหลัก คือ 1.ศึกษาและวิจัยธุรกิจยานยนต์ เป็นแกนนำในการรวบรวมข้อมูล เสนอผลงานในรูปของสื่อต่างๆ และคำแนะนำในการ ติดต่อกับภาครัฐ 2.สร้างความสามารถในการแข่งขันระดับโลก โดยมีผู้เชี่ยวชาญในแขนงต่างๆ ทั้งจากไทยและต่างประเทศ 3.เสริมสร้างบุคลากร ในอุตฯนี้อย่างต่อเนื่อง 4.การบริการทดสอบและส่งเสริมมาตรฐานยานยนต์ 5.สนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตัวเอง โดยเชื่อมโยงกับมหาวิทยา ลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ
สำหรับเป้าหมายในปี 2549 ของแผนแม่บทอุตสาหกรรม ได้ตั้งเป้าการผลิตรถยนต์ไว้ 1 ล้านคัน แบ่งเป็นปิกอัพ 7 แสนคัน และรถยนต์นั่ง 4 แสนคัน ในจำนวนนี้ส่งออกมากกว่า 40% คิดเป็นมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท สำหรับชิ้นส่วนในปี 2549 จะมีการผลิตมูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท คิดเป็นมูลค่าเพิ่มในประเทศกว่า 60%
ส่วนตัวเลขการผลิตและส่งออกในปีนี้อยู่ที่ 7.5 แสนคัน เป็นขายในประเทศ 70% ส่งออก 30% ซึ่งอยู่ในลำดับที่ 5 ของเอเชีย และคาดว่าภายในปี 2549 ไทยจะขึ้นไปถึงอันดับที่ 5 ของประเทศ เพราะขณะนี้ผู้ผลิตรถยนต์จากประเทศต่างๆ ได้ย้ายฐานการผลิตเข้ามาอยู่ในเมืองไทยแล้ว
-
- ผู้ติดตาม: 0
ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์
โพสต์ที่ 23
ปิดฉากมอเตอร์เอ็กซ์โป ยอดจองพุ่งทะลุเป้า
โดย ผู้จัดการออนไลน์
คนไทยรวยจริง! ปิดฉากมอเตอร์เอ็กซ์โป ยอดจองทะลุเป้า 18,418 คัน โตโยต้าเข้าวินมาที่หนึ่ง ตามด้วยฮอนด้า และนิสสัน ผ่าน 13 วันชนชมงานกว่า 2.2 ล้านคน เงินสะพัด 2 หมื่นล้าน
ปิดฉากกันไปแล้วสำหรับงานมหกรรมยานยนต์ หรือ มอเตอร์เอ็กซ์โปครั้งที่ 20 ณ อิมแพคเมืองทองธานี งานนี้ดูเหมือนว่าแต่ละค่ายจะยิ้มแก้มปริกับยอดจองรถตลอดทั้งงานสิบกว่าวัน โดยในปีนี้โตโยต้าก็ยังสามารถรักษาตำแหน่งแชมป์ไว้ได้ด้วยยอดจองถึง 5,593 คัน และรุ่นวีออสยังเป็นรถยอดนิยมในหมู่แฟนพันธุ์แท้ของค่ายนี้ที่มีคนจองมากที่สุดถึง18% ของยอดจองทั้งหมด ตามมาด้วยค่ายฮอนด้าที่มียอดจองทั้งหมด 2,897 คัน โดยแฮทช์แบ็กรุ่นแจ๊สสามารถทำยอดขายได้ถึง70% ของยอดจองทั้งหมดหรือประมาณ 1,700 กว่าคัน
ก็เหมือนกับทุกๆปีที่ผ่านมาในงานมอเตอร์ เอ็กซ์โป หรือ งานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 20 ที่จะมีบรรดาค่ายรถยนต์ทั่วฟ้าเมืองไทยแห่มาร่วมโชว์รถรุ่นใหม่ๆของค่ายตัวเอง พร้อมกับงัดกลยุทธ์ด้านราคาและอัดแคมเปญ หวังทำยอดขายกันก่อนสิ้นปี สำหรับมอเตอร์เอ็กซ์โปปีนี้ก็เช่นกัน แต่อาจจะพิเศษตรงที่พื้นที่จัดงานที่ขยายใหญ่ขึ้นเพื่อให้สมกับสโลแกนของปีนี้ที่ว่า ชุมชนทางยานยนต์ใหม่....ไทยสู่โลก (New Automotive Hub..from Thailand to the Word)
โดยการจัดงานแบบเต็มทั้งหมด 8 ฮอล์ล และดูเหมือนว่าในปีนี้รถที่ค่าตัวสูงที่สุดของงานก็คงหนีไม่พ้นค่ายรถสปอร์ตอย่างเฟอร์รารี่ อย่างเฟอร์รารี่ 360 Challenge Stradale 420 แรงม้า ราคา 20.5 ล้านบาท มายั่วน้ำลายเศรษฐีมือหนักของบ้านเราที่เปิดตัวเพียงวันแรกก็สามารถขายได้แล้ว และอีกรุ่น เฟอร์รารี่ 575M Maranello 515 แรงม้า ราคา 27.5 ล้านบาท ที่ไทยได้โควต้ามาเพียง 2 คัน ก็มีผู้จองไปก่อนแล้ว
นายขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานจัดงานมอเตอร์เอ็กซ์โป เปิดเผยว่า การที่ยอดจองในปีนี้สูงกว่าปีที่แล้วนั้น น่าจะมีผลมาจากการที่เศรษฐกิจดีขึ้น และราคารถก็ลดลง ทำให้คนที่มาชมงานสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นในการซื้อรถสักคัน เพราะเค้ามีทางเลือกมากขึ้น รวมถึงการที่มีการจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายที่แข่งกันอย่างดุเดือดทุกค่าย ไม่ว่าจะเป็นดาว์นต่ำ ผ่อนนาน หรือเติมน้ำมันฟรี ดูจากยอดปีนี้ที่มีสูงถึง 18,418 คัน เทียบกับปีที่แล้วที่แล้วซึ่งมียอดจอง 14,038 คัน
สรุปยอดจองรถในงานมอเตอร์เอ็กซ์โป
ยี่ห้อ ยอดจอง/คัน
โตโยต้า 5,593
ฮอนด้า 2,897
นิสสัน 1,552
ฟอร์ด 1,487
เชฟโรเลต 1,327
อีซูซู 1,093
มิตซูบิชิ 875
เกีย 643
เมอเซเดส-เบ็นซ์ 572
มาสด้า 518
บีเอ็มดับเบิลยู 413
ไทยรุ่ง 254
แกรนด์ แครี่บอย 192
วอลด์ 179
ซีตรอง 159
วอลโว่ 142
โฟล์ค สวาเกน 89
ซังยอง 61
อัลฟ่า โรมิโอ 61
แลนด์ โรเวอร์ 58
รวม 18,418
*หมายเหตุ* ยอดจองนี้รวบรวมโดย บริษัท สื่อสากล จำกัด ผู้จัดงาน เมื่อเวลา 22.00น.ของวันที่ 10 ธ.ค. และเป็น20 อันดับเท่านั้น
ในส่วนของบรรยากาศภายในงานวันสุดท้ายนั้นมีผู้เข้าชมงานมากกว่าทุกวันที่ผ่านมาโดยเฉพาะที่บูธของต่ายโตโยต้าที่มีคนเนืองแน่นตลอดทั้งวัน ถึงแม้ว่าจะมีเสียงบ่นมาจากผู้เข้าชมงานว่าฝ่ายขายอำนวยความสะดวกไม่ทั่วถึงก็ตามที ทั้งนี้จำนวนของคนที่มาชมงานรวม 13 วันก็มีถึง 2.2 ล้านคน โดนรวมทั้งผู้ที่ซื้อบัตรเข้าชมงานและผู้ที่ได้รับบัตรเชิญกว่า 80 %
และที่ดูเหมือนจะเป็นสีสันอีกอย่างหนึ่งของงานมอเตอร์ เอ็กซ์โปก็คงหนีไม่พ้นบรรดาสาวสวยเหล่าพริตตี้ทั้งหลายที่พร้อมกันมาอวดโฉมเคียงข้างรถซึ่งถือว่าเป็นน้ำจิ้มของงานที่เดียว โดยเฉพาะพริตตี้สาวสวยจากค่ายอัลฟ่า โรมิโอ ที่ผู้ชมงานลงความเห็นว่าสวยเฉียบทีเดียว รวมถึงบะของเอสอีซีที่มีพริตตี้มากที่สุดถึง 10 กว่าคนเล่นเอาผู้ชมงานตาลายกันเลยทีเดียว แต่ที่สามารถเรียกความสนใจจากผู้ชมพอสมควรก็คงเป็นพริตตี้ไซส์จัมโบ้ของเกีย ที่พกพาความน่ารักสดใสมาพร้อมกับน้ำหนักตัว100 กก.ขึ้นทุกคน
สำหรับการจัดงานในปี2547นั้นนายขวัญชัย กล่าวว่า รูปแบบการจัดงานจะเพิ่มความหลากหลายขึ้น โดยได้ร่วมกับทางแฮนโนเวอร์จัดงานมหกรรมรถยนต์เพื่อการพาณิชย์แห่งเอเชีย 2004 ขึ้นภายในงานมอเตอร์เอ็กซ์โป ซึ่งเป็นการจัดแสดงรถยนต์บรรทุกอย่างเต็มรูปแบบในไทยเป็นครั้งแรก ทำให้ในปีหน้างานมอเตอร์เอ็กซ์โปต้องเพิ่มพื้นที่จัดงานเป็น 8 หมื่นตารางเมตร จากปัจจุบัน 6.4 หมื่นตารางเมตร ส่วนภาพรวมของงานนี้ก็น่าจะเป็นไปตามความพอใจของทุกฝ่ายที่ประสบความสำเร็จกันถ้วนหน้า
โดย ผู้จัดการออนไลน์
คนไทยรวยจริง! ปิดฉากมอเตอร์เอ็กซ์โป ยอดจองทะลุเป้า 18,418 คัน โตโยต้าเข้าวินมาที่หนึ่ง ตามด้วยฮอนด้า และนิสสัน ผ่าน 13 วันชนชมงานกว่า 2.2 ล้านคน เงินสะพัด 2 หมื่นล้าน
ปิดฉากกันไปแล้วสำหรับงานมหกรรมยานยนต์ หรือ มอเตอร์เอ็กซ์โปครั้งที่ 20 ณ อิมแพคเมืองทองธานี งานนี้ดูเหมือนว่าแต่ละค่ายจะยิ้มแก้มปริกับยอดจองรถตลอดทั้งงานสิบกว่าวัน โดยในปีนี้โตโยต้าก็ยังสามารถรักษาตำแหน่งแชมป์ไว้ได้ด้วยยอดจองถึง 5,593 คัน และรุ่นวีออสยังเป็นรถยอดนิยมในหมู่แฟนพันธุ์แท้ของค่ายนี้ที่มีคนจองมากที่สุดถึง18% ของยอดจองทั้งหมด ตามมาด้วยค่ายฮอนด้าที่มียอดจองทั้งหมด 2,897 คัน โดยแฮทช์แบ็กรุ่นแจ๊สสามารถทำยอดขายได้ถึง70% ของยอดจองทั้งหมดหรือประมาณ 1,700 กว่าคัน
ก็เหมือนกับทุกๆปีที่ผ่านมาในงานมอเตอร์ เอ็กซ์โป หรือ งานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 20 ที่จะมีบรรดาค่ายรถยนต์ทั่วฟ้าเมืองไทยแห่มาร่วมโชว์รถรุ่นใหม่ๆของค่ายตัวเอง พร้อมกับงัดกลยุทธ์ด้านราคาและอัดแคมเปญ หวังทำยอดขายกันก่อนสิ้นปี สำหรับมอเตอร์เอ็กซ์โปปีนี้ก็เช่นกัน แต่อาจจะพิเศษตรงที่พื้นที่จัดงานที่ขยายใหญ่ขึ้นเพื่อให้สมกับสโลแกนของปีนี้ที่ว่า ชุมชนทางยานยนต์ใหม่....ไทยสู่โลก (New Automotive Hub..from Thailand to the Word)
โดยการจัดงานแบบเต็มทั้งหมด 8 ฮอล์ล และดูเหมือนว่าในปีนี้รถที่ค่าตัวสูงที่สุดของงานก็คงหนีไม่พ้นค่ายรถสปอร์ตอย่างเฟอร์รารี่ อย่างเฟอร์รารี่ 360 Challenge Stradale 420 แรงม้า ราคา 20.5 ล้านบาท มายั่วน้ำลายเศรษฐีมือหนักของบ้านเราที่เปิดตัวเพียงวันแรกก็สามารถขายได้แล้ว และอีกรุ่น เฟอร์รารี่ 575M Maranello 515 แรงม้า ราคา 27.5 ล้านบาท ที่ไทยได้โควต้ามาเพียง 2 คัน ก็มีผู้จองไปก่อนแล้ว
นายขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานจัดงานมอเตอร์เอ็กซ์โป เปิดเผยว่า การที่ยอดจองในปีนี้สูงกว่าปีที่แล้วนั้น น่าจะมีผลมาจากการที่เศรษฐกิจดีขึ้น และราคารถก็ลดลง ทำให้คนที่มาชมงานสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นในการซื้อรถสักคัน เพราะเค้ามีทางเลือกมากขึ้น รวมถึงการที่มีการจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายที่แข่งกันอย่างดุเดือดทุกค่าย ไม่ว่าจะเป็นดาว์นต่ำ ผ่อนนาน หรือเติมน้ำมันฟรี ดูจากยอดปีนี้ที่มีสูงถึง 18,418 คัน เทียบกับปีที่แล้วที่แล้วซึ่งมียอดจอง 14,038 คัน
สรุปยอดจองรถในงานมอเตอร์เอ็กซ์โป
ยี่ห้อ ยอดจอง/คัน
โตโยต้า 5,593
ฮอนด้า 2,897
นิสสัน 1,552
ฟอร์ด 1,487
เชฟโรเลต 1,327
อีซูซู 1,093
มิตซูบิชิ 875
เกีย 643
เมอเซเดส-เบ็นซ์ 572
มาสด้า 518
บีเอ็มดับเบิลยู 413
ไทยรุ่ง 254
แกรนด์ แครี่บอย 192
วอลด์ 179
ซีตรอง 159
วอลโว่ 142
โฟล์ค สวาเกน 89
ซังยอง 61
อัลฟ่า โรมิโอ 61
แลนด์ โรเวอร์ 58
รวม 18,418
*หมายเหตุ* ยอดจองนี้รวบรวมโดย บริษัท สื่อสากล จำกัด ผู้จัดงาน เมื่อเวลา 22.00น.ของวันที่ 10 ธ.ค. และเป็น20 อันดับเท่านั้น
ในส่วนของบรรยากาศภายในงานวันสุดท้ายนั้นมีผู้เข้าชมงานมากกว่าทุกวันที่ผ่านมาโดยเฉพาะที่บูธของต่ายโตโยต้าที่มีคนเนืองแน่นตลอดทั้งวัน ถึงแม้ว่าจะมีเสียงบ่นมาจากผู้เข้าชมงานว่าฝ่ายขายอำนวยความสะดวกไม่ทั่วถึงก็ตามที ทั้งนี้จำนวนของคนที่มาชมงานรวม 13 วันก็มีถึง 2.2 ล้านคน โดนรวมทั้งผู้ที่ซื้อบัตรเข้าชมงานและผู้ที่ได้รับบัตรเชิญกว่า 80 %
และที่ดูเหมือนจะเป็นสีสันอีกอย่างหนึ่งของงานมอเตอร์ เอ็กซ์โปก็คงหนีไม่พ้นบรรดาสาวสวยเหล่าพริตตี้ทั้งหลายที่พร้อมกันมาอวดโฉมเคียงข้างรถซึ่งถือว่าเป็นน้ำจิ้มของงานที่เดียว โดยเฉพาะพริตตี้สาวสวยจากค่ายอัลฟ่า โรมิโอ ที่ผู้ชมงานลงความเห็นว่าสวยเฉียบทีเดียว รวมถึงบะของเอสอีซีที่มีพริตตี้มากที่สุดถึง 10 กว่าคนเล่นเอาผู้ชมงานตาลายกันเลยทีเดียว แต่ที่สามารถเรียกความสนใจจากผู้ชมพอสมควรก็คงเป็นพริตตี้ไซส์จัมโบ้ของเกีย ที่พกพาความน่ารักสดใสมาพร้อมกับน้ำหนักตัว100 กก.ขึ้นทุกคน
สำหรับการจัดงานในปี2547นั้นนายขวัญชัย กล่าวว่า รูปแบบการจัดงานจะเพิ่มความหลากหลายขึ้น โดยได้ร่วมกับทางแฮนโนเวอร์จัดงานมหกรรมรถยนต์เพื่อการพาณิชย์แห่งเอเชีย 2004 ขึ้นภายในงานมอเตอร์เอ็กซ์โป ซึ่งเป็นการจัดแสดงรถยนต์บรรทุกอย่างเต็มรูปแบบในไทยเป็นครั้งแรก ทำให้ในปีหน้างานมอเตอร์เอ็กซ์โปต้องเพิ่มพื้นที่จัดงานเป็น 8 หมื่นตารางเมตร จากปัจจุบัน 6.4 หมื่นตารางเมตร ส่วนภาพรวมของงานนี้ก็น่าจะเป็นไปตามความพอใจของทุกฝ่ายที่ประสบความสำเร็จกันถ้วนหน้า
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1011
- ผู้ติดตาม: 0
ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์
โพสต์ที่ 24
วันที่ 15 ธันวาคม 2546
ปีที่ 27 ฉบับที่ 3540 (2740)
ขายรถ11เดือนแตะ5แสนคัน "โตโยต้า"นำโด่งเกือบทุกตลาด
ตลาดรถยนต์ปี"46 ดันเศรษฐกิจไทย 11 เดือนขายเกือบ 500,000 คัน เติบโต 29.9% เฉพาะพฤศจิกายนเดือนเดียวฟาด 42,929 คัน โตโยต้ายังนำโด่งเกือบทุกตลาด
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนพฤศจิกายน 2546 ที่เจริญเติบโตเป็นอย่างดีด้วยการรักษาระดับปริมาณการขายเกินกว่า 40,000 คันต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ด้วยตัวเลขการขาย 42,929 คัน อัตราการเจริญเติบโต 23.8% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุดที่ 54.5% ปริมาณการขาย 12,760 คัน ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ มีอัตราการเจริญเติบโต 16.6% ปริมาณการขาย 26,488 คัน ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเจริญเติบโต 14.2% ปริมาณการขาย 30,169 คัน
ทางด้านปริมาณการขายสะสมในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมามีแนวโน้มตลาดที่สดใสเป็นอย่างยิ่งด้วยปริมาณการขายแตะระดับ 500,000 คัน ด้วยตัวเลขการขาย 468,354 คัน อัตราการเจริญเติบโต 29.9% เมื่อเทียบกับปริมาณการขายสะสม 11 เดือนของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็นรถยนต์นั่งซึ่งมีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุดที่ 40.6% และตัวเลขการขาย 154,756 คัน ตามด้วยตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ มีอัตราการเจริญเติบโต 28.3% ตัวเลขการขาย 273,583 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเจริญเติบโต 25.2% ปริมาณการขาย 313,598 คัน
ประเด็นสำคัญตลาดรถยนต์ปี 2546 มีแนวโน้มที่สดใสอย่างต่อเนื่องตลอด 11 เดือนที่ผ่านมา สามารถทำสถิติการขายสะสมบรรลุระดับ 100,000 คัน ในเดือนมีนาคม 200,000 คัน ในเดือนพฤษภาคม 300,000 คัน และในเดือนสิงหาคมถึงล่าสุดในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาสามารถทำสถิติการขายแตะระดับ 500,000 คัน ด้วยตัวเลข 468,203 คัน และอัตราการเจริญเติบโต 29.9% เมื่อเทียบกับปริมาณการขายในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาสะท้อนภาพเศรษฐกิจไทยที่เติบโตอย่างต่อเนื่องตามที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้แถลงอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ครั้งล่าสุดว่าจะเจริญเติบโตในระดับ 6.4% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
แนวโน้มตลาดรถยนต์ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2546 มีความคึกคักและน่าจับตามองอย่างยิ่ง จากตัวเลขสถิติการขายแตะระดับ 500,000 คัน ด้วยตัวเลข 468,203 คัน ในระยะเวลาการขายเพียง 11 เดือน ประกอบกับการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ที่มีความน่าสนใจเข้าสู่ตลาด อาทิ "โตโยต้า วิช" และ "ฮอนด้า แจ๊ซ" พร้อมทั้งแคมเปญส่งเสริมการขายที่แข่งขันกันอย่างรุนแรงในช่วงนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงของงาน "มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 20" ในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นงานแสดงรถยนต์ที่ยิ่งใหญ่ระดับชาติ และสามารถดึงดูดกำลังซื้อจากผู้บริโภคได้เป็นอย่างมาก ประกอบกับการจ่ายเงินปันผลและเงินพิเศษประจำปี (bonus) ของภาคเอกชนที่มีผลประกอบการที่ดี ดังนั้น จึงน่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งว่าตลาดรถยนต์ปีนี้จะสามารถสร้างยอดขายในระดับ 520,000-530,000 คันตามที่ค่ายรถยนต์ชั้นนำได้คาดหมายไว้หรือไม่
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์สะสม 11 เดือน ตลาดรถยนต์รวม ตัวเลขการขาย 468,203 คัน อัตราการเจริญเติบโต 29.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ปีที่ 27 ฉบับที่ 3540 (2740)
ขายรถ11เดือนแตะ5แสนคัน "โตโยต้า"นำโด่งเกือบทุกตลาด
ตลาดรถยนต์ปี"46 ดันเศรษฐกิจไทย 11 เดือนขายเกือบ 500,000 คัน เติบโต 29.9% เฉพาะพฤศจิกายนเดือนเดียวฟาด 42,929 คัน โตโยต้ายังนำโด่งเกือบทุกตลาด
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนพฤศจิกายน 2546 ที่เจริญเติบโตเป็นอย่างดีด้วยการรักษาระดับปริมาณการขายเกินกว่า 40,000 คันต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ด้วยตัวเลขการขาย 42,929 คัน อัตราการเจริญเติบโต 23.8% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุดที่ 54.5% ปริมาณการขาย 12,760 คัน ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ มีอัตราการเจริญเติบโต 16.6% ปริมาณการขาย 26,488 คัน ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเจริญเติบโต 14.2% ปริมาณการขาย 30,169 คัน
ทางด้านปริมาณการขายสะสมในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมามีแนวโน้มตลาดที่สดใสเป็นอย่างยิ่งด้วยปริมาณการขายแตะระดับ 500,000 คัน ด้วยตัวเลขการขาย 468,354 คัน อัตราการเจริญเติบโต 29.9% เมื่อเทียบกับปริมาณการขายสะสม 11 เดือนของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็นรถยนต์นั่งซึ่งมีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุดที่ 40.6% และตัวเลขการขาย 154,756 คัน ตามด้วยตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ มีอัตราการเจริญเติบโต 28.3% ตัวเลขการขาย 273,583 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเจริญเติบโต 25.2% ปริมาณการขาย 313,598 คัน
ประเด็นสำคัญตลาดรถยนต์ปี 2546 มีแนวโน้มที่สดใสอย่างต่อเนื่องตลอด 11 เดือนที่ผ่านมา สามารถทำสถิติการขายสะสมบรรลุระดับ 100,000 คัน ในเดือนมีนาคม 200,000 คัน ในเดือนพฤษภาคม 300,000 คัน และในเดือนสิงหาคมถึงล่าสุดในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาสามารถทำสถิติการขายแตะระดับ 500,000 คัน ด้วยตัวเลข 468,203 คัน และอัตราการเจริญเติบโต 29.9% เมื่อเทียบกับปริมาณการขายในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาสะท้อนภาพเศรษฐกิจไทยที่เติบโตอย่างต่อเนื่องตามที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้แถลงอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ครั้งล่าสุดว่าจะเจริญเติบโตในระดับ 6.4% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
แนวโน้มตลาดรถยนต์ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2546 มีความคึกคักและน่าจับตามองอย่างยิ่ง จากตัวเลขสถิติการขายแตะระดับ 500,000 คัน ด้วยตัวเลข 468,203 คัน ในระยะเวลาการขายเพียง 11 เดือน ประกอบกับการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ที่มีความน่าสนใจเข้าสู่ตลาด อาทิ "โตโยต้า วิช" และ "ฮอนด้า แจ๊ซ" พร้อมทั้งแคมเปญส่งเสริมการขายที่แข่งขันกันอย่างรุนแรงในช่วงนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงของงาน "มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 20" ในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นงานแสดงรถยนต์ที่ยิ่งใหญ่ระดับชาติ และสามารถดึงดูดกำลังซื้อจากผู้บริโภคได้เป็นอย่างมาก ประกอบกับการจ่ายเงินปันผลและเงินพิเศษประจำปี (bonus) ของภาคเอกชนที่มีผลประกอบการที่ดี ดังนั้น จึงน่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งว่าตลาดรถยนต์ปีนี้จะสามารถสร้างยอดขายในระดับ 520,000-530,000 คันตามที่ค่ายรถยนต์ชั้นนำได้คาดหมายไว้หรือไม่
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์สะสม 11 เดือน ตลาดรถยนต์รวม ตัวเลขการขาย 468,203 คัน อัตราการเจริญเติบโต 29.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1011
- ผู้ติดตาม: 0
ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์
โพสต์ที่ 25
วันที่ 15 ธันวาคม 2546
ปีที่ 27 ฉบับที่ 3540 (2740)
ส่งออกรถไตรมาส3ทะลุแสนล้าน มิตซูบิชิแชมป์ครองส่วนแบ่ง29%
เรืออากาศโทคันธนิธิ์ สุคนธทรัพย์ ผู้อำนวย การใหญ่ สำนักสื่อสารองค์กร บริษัท มิตซูบิชิ มอ เตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์ มิตซูบิชิ เปิดเผยถึงยอดการส่งออกในช่วง 10 เดือนของปี 2546 (มกราคม-ตุลาคม) อุตสาห กรรมยานยนต์ไทยส่งออกรถยนต์มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 115,238.43 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 33.26% (เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2545) แบ่งเป็นรถยนต์สำเร็จรูป 197,196 คัน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 37.50% และการส่งออกเครื่องยนต์และชิ้นส่วนประกอบมีมูลค่า 29,328.50 ล้านบาท มีอัตราการเติบโต 39.01%
สำหรับยอดส่งออกสูงสุดอันดับ 1 มิตซูบิชิส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 57,765 คัน มูลค่า 26,969.29 ล้านบาท ปรับตัวลดลง 4.83% ครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุด 29.29% อันดับ 2 กลุ่มออโต้อัลลายแอนซ์ 44,487 คัน มูลค่า 17,707.81 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่ม 16.33% ส่วนแบ่งตลาด 22.56% อันดับ 3 ฮอนด้า 33,636 คัน มูลค่า 13,009.22 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 457.90% ส่วนแบ่งตลาด 17.06% อันดับ 4 โตโยต้า 21,221 คัน มูลค่า 7,238.30 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 121.21% ส่วนแบ่งตลาด 10.76% อันดับ 5 อีซูซุ 20,385 คัน มูลค่า 9,694.91 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1,472.92% (เทียบกับปี 2545 ส่งออก 1,296 คัน) ส่วนแบ่งตลาด 10.34%
สำหรับยอดส่งออกเดือนตุลาคม 2546 มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 13,068.99 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 32.08% (เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2545) เป็นรถยนต์สำเร็จรูปจำนวนทั้งสิ้น 23,418 คัน มูลค่า 10,020.55 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 52.80% ในส่วนของตลาดส่งออกเครื่องยนต์และชิ้นส่วนประกอบมีมูลค่า 3,038.44 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 14..89% ด้านยอดส่งออกอันดับ 1 มิตซูบิชิ 6,688 คัน มูลค่า 2,902.45 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.61% ส่วนแบ่งตลาด 28.56% ตามด้วยกลุ่มออโต้อัลลายแอนซ์ 5,440 คัน มูลค่า 2,200.53 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 23.97% มีส่วนแบ่งตลาด 23.23% ฮอนด้า 3,996 คัน มูลค่า 1,637.56 ล้านบาท (เทียบกับปี 2545, 239 คัน) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1,571.97% โตโยต้า 3,088 คัน มูลค่า 1,034.78 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 275.21% ส่วนแบ่ง 13.19% เจนเนอรัล มอเตอร์ส 2,486 คัน มูลค่า 1,496 ล้านบาท ปรับตัวลดลง 24.92% ส่วนแบ่ง 10.62% ตามลำดับ
ปีที่ 27 ฉบับที่ 3540 (2740)
ส่งออกรถไตรมาส3ทะลุแสนล้าน มิตซูบิชิแชมป์ครองส่วนแบ่ง29%
เรืออากาศโทคันธนิธิ์ สุคนธทรัพย์ ผู้อำนวย การใหญ่ สำนักสื่อสารองค์กร บริษัท มิตซูบิชิ มอ เตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์ มิตซูบิชิ เปิดเผยถึงยอดการส่งออกในช่วง 10 เดือนของปี 2546 (มกราคม-ตุลาคม) อุตสาห กรรมยานยนต์ไทยส่งออกรถยนต์มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 115,238.43 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 33.26% (เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2545) แบ่งเป็นรถยนต์สำเร็จรูป 197,196 คัน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 37.50% และการส่งออกเครื่องยนต์และชิ้นส่วนประกอบมีมูลค่า 29,328.50 ล้านบาท มีอัตราการเติบโต 39.01%
สำหรับยอดส่งออกสูงสุดอันดับ 1 มิตซูบิชิส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 57,765 คัน มูลค่า 26,969.29 ล้านบาท ปรับตัวลดลง 4.83% ครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุด 29.29% อันดับ 2 กลุ่มออโต้อัลลายแอนซ์ 44,487 คัน มูลค่า 17,707.81 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่ม 16.33% ส่วนแบ่งตลาด 22.56% อันดับ 3 ฮอนด้า 33,636 คัน มูลค่า 13,009.22 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 457.90% ส่วนแบ่งตลาด 17.06% อันดับ 4 โตโยต้า 21,221 คัน มูลค่า 7,238.30 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 121.21% ส่วนแบ่งตลาด 10.76% อันดับ 5 อีซูซุ 20,385 คัน มูลค่า 9,694.91 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1,472.92% (เทียบกับปี 2545 ส่งออก 1,296 คัน) ส่วนแบ่งตลาด 10.34%
สำหรับยอดส่งออกเดือนตุลาคม 2546 มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 13,068.99 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 32.08% (เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2545) เป็นรถยนต์สำเร็จรูปจำนวนทั้งสิ้น 23,418 คัน มูลค่า 10,020.55 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 52.80% ในส่วนของตลาดส่งออกเครื่องยนต์และชิ้นส่วนประกอบมีมูลค่า 3,038.44 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 14..89% ด้านยอดส่งออกอันดับ 1 มิตซูบิชิ 6,688 คัน มูลค่า 2,902.45 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.61% ส่วนแบ่งตลาด 28.56% ตามด้วยกลุ่มออโต้อัลลายแอนซ์ 5,440 คัน มูลค่า 2,200.53 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 23.97% มีส่วนแบ่งตลาด 23.23% ฮอนด้า 3,996 คัน มูลค่า 1,637.56 ล้านบาท (เทียบกับปี 2545, 239 คัน) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1,571.97% โตโยต้า 3,088 คัน มูลค่า 1,034.78 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 275.21% ส่วนแบ่ง 13.19% เจนเนอรัล มอเตอร์ส 2,486 คัน มูลค่า 1,496 ล้านบาท ปรับตัวลดลง 24.92% ส่วนแบ่ง 10.62% ตามลำดับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1011
- ผู้ติดตาม: 0
ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์
โพสต์ที่ 26
วันที่ 15 ธันวาคม 2546
ปีที่ 27 ฉบับที่ 3540 (2740)
"สิทธิผลกรุ๊ป"แยก6กลุ่มธุรกิจ ฝันปีหน้ากวาดรายได้2.5หมื่นล.
"สิทธิผล กรุ๊ป" เปิดโครงสร้างบริหารใหม่ แยกกลุ่มสินค้าชัดเจน 6 กลุ่ม ชี้เพื่อความคล่องตัวในการบริหาร ตั้งเป้ายอดขายปีนี้ 2.23 หมื่นล้าน กลุ่มอุปกรณ์ส่องสว่างสร้างรายได้สูงสุด 50% ปีหน้าเตรียมทุ่มทุนกว่า 1.5 พันล้าน ขยายธุรกิจในเครือ คาดเป้ายอดขายทะลุ 2.5 หมื่นล้าน
นายทนง ลี้อิสสระนุกูล กรรมการผู้จัดการกลุ่มสิทธิผล เปิดเผยว่า ทางกลุ่มได้ทำการจัดโครงสร้างการบริหารงานใหม่ แบ่งสายงานธุรกิจออกเป็น 6 กลุ่ม โดยรวบรวมธุรกิจที่มีลักษณะคล้ายคลึงเข้ามาเป็นกลุ่มเดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารงาน ประกอบด้วย
1.กลุ่มการตลาด มี 5 บริษัท เช่น สิทธิผล 1919 และคลินิกรถเครื่อง 2.กลุ่มธุรกิจยาง มี 3 บริษัท อาทิ อีโนเวย์ รับเบอร์ ผู้ผลิตยางรถจักรยานยนต์ยี่ห้อไออาร์ซี, โคเม็ท และโมโตเร็กซ์ 3.กลุ่มธุรกิจเหล็ก มี 4 บริษัท อาทิ ร็อคเก็ต สตีล และดีไอดี 4.กลุ่มพลังงาน มี 2 บริษัทที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันและน้ำมันเครื่อง 5.กลุ่มวิจัยและพัฒนา มีบริษัทไออาร์ซี เอเชีย รีเสิร์ช 6.กลุ่มอุปกรณ์ส่องสว่างและชิ้นส่วนพลาสติก มีอยู่ 10 บริษัท รวมถึงเครือสแตนเลย์ด้วย
"ที่เราต้องแบ่งให้มีความชัดเจน ส่วนหนึ่งจะทำให้องค์กรมีความคล่องตัวในการบริหารงานมากขึ้น อีกส่วนหนึ่งก็เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ผมยกตัวอย่าง ที่ผ่านมามีการพูดกันว่าสแตนเลย์มียอดขายหมื่นกว่าล้าน แต่เรารายงานตลาดไปน้อยกว่านั้น เพราะกลุ่มส่องสว่างของเรามีบริษัทที่ไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯด้วย แต่เอายอดขายของทั้งกลุ่มไปรวมในสแตนเลย์ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ ดังนั้น การจัดกลุ่มแบบนี้จะทำให้ทุกฝ่ายเข้าใจในธุรกิจของกลุ่มสิทธิผลได้ดีขึ้น" และว่า
รายได้ของกลุ่มสิทธิผลในปีนี้น่าจะไม่น้อยกว่า 22,300 ล้านบาท โดยกว่า 50% จะมาจากกลุ่มอุปกรณ์ส่องสว่างและชิ้นส่วนพลาสติก หรือคิดเป็นรายรับกว่า 11,000 ล้านบาท อีก 22% มาจากกลุ่มชิ้นส่วนยางมูลค่า 5,000 ล้านบาท รายได้อีก 10% มาจากกลุ่มชิ้นส่วนเหล็กมูลค่า 2,200 ล้านบาท จากกลุ่มพลังงานอีก 9% มูลค่ากว่า 2,100 ล้านบาท กลุ่มการตลาด 8% มูลค่ากว่า 1,800 ล้านบาท และที่เหลือมาจากกลุ่มวิจัยและพัฒนาประมาณ 200 ล้านบาท
นายทนงกล่าวว่า ในปี 2547 นี้ ทางกลุ่มจะมีการลงทุนเพิ่มอีกไม่น้อยกว่า 1,500 ล้านบาท แบ่งออกเป็น การลงทุนในกลุ่มเหล็ก ของบริษัทดีไอดี 150-200 ล้านบาท ลงในส่วนของสแตนเลย์ 400 ล้านบาท ส่วนของไออาร์ซีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต 200-300 ล้านบาท และหากโครงการของกลุ่มพลังงานที่กำลังเจรจาอยู่สามารถตกลงกันได้ ต้องมีการลงทุนเพิ่มอีก 300-400 ล้านบาท นอกจากนี้ ในส่วนของงานวิจัยคงเพิ่มการลงทุนอีกพอสมควร โดยเฉพาะด้านการหาวัตถุดิบมาแทนยางดิบ ที่ปัจจุบันราคากำลังสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทางกลุ่มคงต้องเตรียมพร้อมเอาไว้
"ตอนนี้ราคายางดิบขึ้นไปสูงมาก จากปีก่อนอยู่ที่ 20 กว่าบาทต่อกิโล ตอนนี้มาที่ 40 บาท ถ้ายังขึ้นไปถึง 60-80 บาท ผู้ผลิตยางรถอย่างเราอาจจะมีปัญหา เลยต้องเตรียมหาทางรับมือไว้ก่อน โดยเตรียมการว่าจะหาวัตถุดิบอะไรมาแทน ซึ่งปีหน้าผมคิดว่ากลุ่มสิทธิผลเองน่าจะยังไปได้ดีอยู่ เพราะเราจะมีการเปิดโรงงานที่สองของดีไอดี จะทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า ส่งผลให้เรามียอดขายเพิ่มขึ้น รวมถึงตัวอื่นๆ ด้วย ถ้าถามผมอยากเห็นสิทธิผลโตประมาณ 15-20% ในปีหน้า แต่ว่าถ้าทำได้เกิน 25,000 ล้านบาท ถือว่าพอใจแล้วสำหรับปีหน้า"
กรรมการผู้จัดการกล่าวอีกว่า สถานการณ์ทางตลาดในปัจจุบันถือว่าค่อนข้างเป็นใจกับการทำธุรกิจของกลุ่ม โดยเฉพาะเรื่องของยางรถจักร ยานยนต์ ที่เดิมทีจะโดนก๊อบปี้ลายดอกยางเยอะมาก แต่หลังจากที่กฎหมายคุ้มครองสิทธิลายดอกยางออกมา ทำให้พวกที่ชอบลอกเลียนสินค้าทำธุรกิจได้ลำบากขึ้น และทำให้ยางกลุ่มราคาถูก อย่างโคเม็ท และโมโตเร็กซ์ ทำตลาดได้ดีขึ้น
ส่วนการส่งออกของกลุ่มนั้น สัดส่วนปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 30% ของยอดขายทั้งกลุ่ม โดยตลาดใหญ่อยู่ที่อเมริกาใต้ ส่วนปีหน้าจะหันมาบุกตลาดเวียดนามมากขึ้น ซึ่งแม้ว่าจะมีขนาดตลาดที่ใหญ่ แต่ภาษีนำเข้ายังสูงอยู่ ขณะนี้ตนจึงดูเรื่องของการผลักดันความร่วมมือของประเทศในอาเซียนว่าจะช่วยผลักดันตลาดส่งออกได้มากน้อยขนาดไหน แต่คาดว่าปีหน้าน่าจะเป็นปีที่ดีของกลุ่มสิทธิผลอีกปีหนึ่ง
ปีที่ 27 ฉบับที่ 3540 (2740)
"สิทธิผลกรุ๊ป"แยก6กลุ่มธุรกิจ ฝันปีหน้ากวาดรายได้2.5หมื่นล.
"สิทธิผล กรุ๊ป" เปิดโครงสร้างบริหารใหม่ แยกกลุ่มสินค้าชัดเจน 6 กลุ่ม ชี้เพื่อความคล่องตัวในการบริหาร ตั้งเป้ายอดขายปีนี้ 2.23 หมื่นล้าน กลุ่มอุปกรณ์ส่องสว่างสร้างรายได้สูงสุด 50% ปีหน้าเตรียมทุ่มทุนกว่า 1.5 พันล้าน ขยายธุรกิจในเครือ คาดเป้ายอดขายทะลุ 2.5 หมื่นล้าน
นายทนง ลี้อิสสระนุกูล กรรมการผู้จัดการกลุ่มสิทธิผล เปิดเผยว่า ทางกลุ่มได้ทำการจัดโครงสร้างการบริหารงานใหม่ แบ่งสายงานธุรกิจออกเป็น 6 กลุ่ม โดยรวบรวมธุรกิจที่มีลักษณะคล้ายคลึงเข้ามาเป็นกลุ่มเดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารงาน ประกอบด้วย
1.กลุ่มการตลาด มี 5 บริษัท เช่น สิทธิผล 1919 และคลินิกรถเครื่อง 2.กลุ่มธุรกิจยาง มี 3 บริษัท อาทิ อีโนเวย์ รับเบอร์ ผู้ผลิตยางรถจักรยานยนต์ยี่ห้อไออาร์ซี, โคเม็ท และโมโตเร็กซ์ 3.กลุ่มธุรกิจเหล็ก มี 4 บริษัท อาทิ ร็อคเก็ต สตีล และดีไอดี 4.กลุ่มพลังงาน มี 2 บริษัทที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันและน้ำมันเครื่อง 5.กลุ่มวิจัยและพัฒนา มีบริษัทไออาร์ซี เอเชีย รีเสิร์ช 6.กลุ่มอุปกรณ์ส่องสว่างและชิ้นส่วนพลาสติก มีอยู่ 10 บริษัท รวมถึงเครือสแตนเลย์ด้วย
"ที่เราต้องแบ่งให้มีความชัดเจน ส่วนหนึ่งจะทำให้องค์กรมีความคล่องตัวในการบริหารงานมากขึ้น อีกส่วนหนึ่งก็เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ผมยกตัวอย่าง ที่ผ่านมามีการพูดกันว่าสแตนเลย์มียอดขายหมื่นกว่าล้าน แต่เรารายงานตลาดไปน้อยกว่านั้น เพราะกลุ่มส่องสว่างของเรามีบริษัทที่ไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯด้วย แต่เอายอดขายของทั้งกลุ่มไปรวมในสแตนเลย์ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ ดังนั้น การจัดกลุ่มแบบนี้จะทำให้ทุกฝ่ายเข้าใจในธุรกิจของกลุ่มสิทธิผลได้ดีขึ้น" และว่า
รายได้ของกลุ่มสิทธิผลในปีนี้น่าจะไม่น้อยกว่า 22,300 ล้านบาท โดยกว่า 50% จะมาจากกลุ่มอุปกรณ์ส่องสว่างและชิ้นส่วนพลาสติก หรือคิดเป็นรายรับกว่า 11,000 ล้านบาท อีก 22% มาจากกลุ่มชิ้นส่วนยางมูลค่า 5,000 ล้านบาท รายได้อีก 10% มาจากกลุ่มชิ้นส่วนเหล็กมูลค่า 2,200 ล้านบาท จากกลุ่มพลังงานอีก 9% มูลค่ากว่า 2,100 ล้านบาท กลุ่มการตลาด 8% มูลค่ากว่า 1,800 ล้านบาท และที่เหลือมาจากกลุ่มวิจัยและพัฒนาประมาณ 200 ล้านบาท
นายทนงกล่าวว่า ในปี 2547 นี้ ทางกลุ่มจะมีการลงทุนเพิ่มอีกไม่น้อยกว่า 1,500 ล้านบาท แบ่งออกเป็น การลงทุนในกลุ่มเหล็ก ของบริษัทดีไอดี 150-200 ล้านบาท ลงในส่วนของสแตนเลย์ 400 ล้านบาท ส่วนของไออาร์ซีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต 200-300 ล้านบาท และหากโครงการของกลุ่มพลังงานที่กำลังเจรจาอยู่สามารถตกลงกันได้ ต้องมีการลงทุนเพิ่มอีก 300-400 ล้านบาท นอกจากนี้ ในส่วนของงานวิจัยคงเพิ่มการลงทุนอีกพอสมควร โดยเฉพาะด้านการหาวัตถุดิบมาแทนยางดิบ ที่ปัจจุบันราคากำลังสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทางกลุ่มคงต้องเตรียมพร้อมเอาไว้
"ตอนนี้ราคายางดิบขึ้นไปสูงมาก จากปีก่อนอยู่ที่ 20 กว่าบาทต่อกิโล ตอนนี้มาที่ 40 บาท ถ้ายังขึ้นไปถึง 60-80 บาท ผู้ผลิตยางรถอย่างเราอาจจะมีปัญหา เลยต้องเตรียมหาทางรับมือไว้ก่อน โดยเตรียมการว่าจะหาวัตถุดิบอะไรมาแทน ซึ่งปีหน้าผมคิดว่ากลุ่มสิทธิผลเองน่าจะยังไปได้ดีอยู่ เพราะเราจะมีการเปิดโรงงานที่สองของดีไอดี จะทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า ส่งผลให้เรามียอดขายเพิ่มขึ้น รวมถึงตัวอื่นๆ ด้วย ถ้าถามผมอยากเห็นสิทธิผลโตประมาณ 15-20% ในปีหน้า แต่ว่าถ้าทำได้เกิน 25,000 ล้านบาท ถือว่าพอใจแล้วสำหรับปีหน้า"
กรรมการผู้จัดการกล่าวอีกว่า สถานการณ์ทางตลาดในปัจจุบันถือว่าค่อนข้างเป็นใจกับการทำธุรกิจของกลุ่ม โดยเฉพาะเรื่องของยางรถจักร ยานยนต์ ที่เดิมทีจะโดนก๊อบปี้ลายดอกยางเยอะมาก แต่หลังจากที่กฎหมายคุ้มครองสิทธิลายดอกยางออกมา ทำให้พวกที่ชอบลอกเลียนสินค้าทำธุรกิจได้ลำบากขึ้น และทำให้ยางกลุ่มราคาถูก อย่างโคเม็ท และโมโตเร็กซ์ ทำตลาดได้ดีขึ้น
ส่วนการส่งออกของกลุ่มนั้น สัดส่วนปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 30% ของยอดขายทั้งกลุ่ม โดยตลาดใหญ่อยู่ที่อเมริกาใต้ ส่วนปีหน้าจะหันมาบุกตลาดเวียดนามมากขึ้น ซึ่งแม้ว่าจะมีขนาดตลาดที่ใหญ่ แต่ภาษีนำเข้ายังสูงอยู่ ขณะนี้ตนจึงดูเรื่องของการผลักดันความร่วมมือของประเทศในอาเซียนว่าจะช่วยผลักดันตลาดส่งออกได้มากน้อยขนาดไหน แต่คาดว่าปีหน้าน่าจะเป็นปีที่ดีของกลุ่มสิทธิผลอีกปีหนึ่ง
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1011
- ผู้ติดตาม: 0
ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์
โพสต์ที่ 27
วันที่ 29 ธันวาคม 2546
ปีที่ 27 ฉบับที่ 3544 (2744)
อุตฯปั้น"อีโค-คาร์"เสริมทัพปิกอัพ กำหนดสเป็กใหม่"ถูก-ประหยัด"
กระทรวงอุตฯปั้น "อีโค-คาร์" เป็นโปรดักต์แชมเปี้ยนตัวที่ 2 ของประเทศรองจากปิกอัพ แต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ยานยนต์ ชู "วัชระ พรรณเชษฐ์" เป็นหัวหอกลุยกำหนดสเป็กเป็นรถเล็กคล่องตัว-ราคาย่อมเยา และใช้เชื้อเพลิงเอทานอลได้ คาดไม่เกินมกราคมได้ข้อสรุปเบื้องต้น ด้านผู้ประกอบการติงรัฐไม่ควรกำหนดสเป็กเองทั้งหมด
ตามที่รัฐบาลกำหนดให้อุตฯยานยนต์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักและผลักดันประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์แห่งเอเชีย หรือดีทรอยต์ออฟเอเชีย ล่าสุดได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ยานยนต์ โดยมีนายวัชระ พรรณเชษฐ์ เป็นประธานเกี่ยวกับเรื่องนี้
นายวัชระ พรรณเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานกรรมการยุทธศาสตร์ยานยนต์ เปิดเผยถึงโปรเจ็กต์ "อีโค-คาร์" (Eco-Car) ว่าเป็นโครงการที่จัดเตรียมไว้เพื่อรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่คาดการณ์ว่าในปี 2553 จะมีการผลิตรถยนต์ในประเทศถึง 1.8 ล้านคัน มีมูลค่าเพิ่มภายในประเทศ 70% และมีการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปถึง 8 แสนคัน
ซึ่งหากดูจากแผนงานที่ทางสถาบันยานยนต์ได้วางไว้ว่า ในปี 2549 จะมีการผลิตรถยนต์ 1 ล้านคัน และส่งออก 4 แสนคันนั้น ตนและคณะทำงานเห็นตรงกันว่ารถบรรทุกขนาด 1 ตัน ซึ่งเป็นสินค้าหลักของเราในการส่งออกไปตลาดต่างประเทศนั้นน่าจะสามารถรองรับตลาด ณ ขณะนั้นได้ แต่หากจะทำ ให้ได้ตามเป้าของปี 2553 ก็คาดกันว่าตลาดรถบรรทุกขนาด 1 ตันในโลกนี้ไม่น่าจะใหญ่โตขนาดนั้น
"อันนี้เป็นสิ่งที่เราคิดกันขึ้นมาว่า เราจำเป็นที่จะต้องหาโปรดักต์แชมเปี้ยนตัวที่ 2 ขึ้นมาให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย นอกเหนือไปจากรถปิก อัพที่มีอยู่แล้ว ซึ่งเราเน้นไปที่สินค้าที่มีความคล่องตัวในการใช้งาน ราคาย่อมเยา และที่สำคัญก็คือน่าจะใช้ทรัพยากรที่เรามีอยู่ในประเทศให้เต็มที่ ซึ่งเรามองไปที่เอทานอลว่ารถที่เราจะทำกันออกมาน่าจะให้ใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิงได้ด้วย เพราะมันจะส่งผลดีต่อราคาอ้อยในประเทศไทย ซึ่งเราจะวางคอนเซ็ปต์ของสินค้าออกมาในลักษณะนี้เพื่อให้ทุกบริษัทผู้ประกอบการสามารถนำไปผลิตได้ในอนาคต"
นายวัชระกล่าวต่อว่า สำหรับโครงการนี้อยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น จึงยังไม่สามารถให้รายละเอียดสำหรับโครงการได้ ส่วนจะไปเกี่ยวข้องกับซิตี้ คาร์หรือไม่นั้นถ้าลักษณะของรถคล้ายกันก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันได้ แต่ยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่ใช่รถแห่งชาติอย่างแน่นอน เนื่องจากประเทศไทยเป็นตลาดเสรี รถยนต์แห่งชาติจึงไม่อาจที่จะเกิดขึ้นมาได้ ซึ่งในเรื่องของโครงการนี้คาดว่าน่าจะมีการประชุมเพื่อให้ได้ข้อสรุปในเบื้องต้นไม่เกินเดือนมกราคม 2547 นี้
ส่วนประเด็นเรื่องการลดภาษีสำหรับรถประเภทนี้จะมีหรือไม่นั้นยังเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาต่อไปในอนาคต เพราะเรื่องนี้อาจจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่หากมีการออกแบบสินค้าและลงในรายละเอียดทุกอย่างแล้วยังมีปัญหาเรื่องของภาษีอยู่ก็ค่อยนำมาคุยกันต่อในอนาคต ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ของกระทรวงการคลังแต่อย่างใด
แหล่งข่าวผู้บริหารจากบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หากรัฐบาลต้องการจะผลักดันโครงการนี้จริงก็น่าจะมีการเปิดกว้างให้กับผู้ประกอบการในการเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการนี้อย่างเต็มที่ โดยอาจจะให้โจทย์กับผู้ประกอบการว่าต้องการรถราคาถูก ประหยัดเชื้อเพลิง และมีความคล่องตัวสูงเท่านั้น ตนเชื่อว่าผู้ผลิตรถยนต์คงไม่เห็นด้วยหากมานั่งกำหนดสเป็กของตัวรถและเครื่องยนต์เพื่อให้ทุกบริษัทนำไปผลิต
นอกจากนี้ ก็ต้องมีการกำหนดระยะเวลาสำหรับโครงการนี้ให้ชัดเจนว่า หากรัฐบาลจะดำเนินนโยบายอะไรก็ตามควรจะมีช่วงเวลาให้ผู้ประกอบการไม่น้อยกว่า 2 ปี เพราะจะต้องมีการศึกษาตลาดอย่างชัดเจนว่าลูกค้าจะให้การตอบรับหรือไม่อย่างไร เพราะทุกวันนี้ตลาดรถยนต์ซับคอมแพ็กต์ในประเทศก็ได้รับความนิยมอย่างสูงอยู่แล้ว และหากจะผลิตจริงก็คงต้องมองไปที่ตลาดส่งออกด้วยเช่นกัน
ขณะที่นายอดิศักดิ์ โรหิตศุน ในฐานะนายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการนี้ว่า น่าจะเป็นการผลักดันให้เป็นสินค้าหลักตัวที่สองของประเทศไทยรองจากปิกอัพ ซึ่งตนคิดว่าน่าจะมีการเปิดให้กับผู้ประกอบการทุกรายเข้ามาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างเต็มที่ ซึ่งขณะนี้คงเร็วเกินไปที่จะพูดว่ารถแบบนี้จะออกมารูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร แต่บอกได้เลยว่าขณะนี้มีความชัดเจนของโครงการมากขึ้นในการทำงานต่อไปในอนาคต
ปีที่ 27 ฉบับที่ 3544 (2744)
อุตฯปั้น"อีโค-คาร์"เสริมทัพปิกอัพ กำหนดสเป็กใหม่"ถูก-ประหยัด"
กระทรวงอุตฯปั้น "อีโค-คาร์" เป็นโปรดักต์แชมเปี้ยนตัวที่ 2 ของประเทศรองจากปิกอัพ แต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ยานยนต์ ชู "วัชระ พรรณเชษฐ์" เป็นหัวหอกลุยกำหนดสเป็กเป็นรถเล็กคล่องตัว-ราคาย่อมเยา และใช้เชื้อเพลิงเอทานอลได้ คาดไม่เกินมกราคมได้ข้อสรุปเบื้องต้น ด้านผู้ประกอบการติงรัฐไม่ควรกำหนดสเป็กเองทั้งหมด
ตามที่รัฐบาลกำหนดให้อุตฯยานยนต์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักและผลักดันประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์แห่งเอเชีย หรือดีทรอยต์ออฟเอเชีย ล่าสุดได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ยานยนต์ โดยมีนายวัชระ พรรณเชษฐ์ เป็นประธานเกี่ยวกับเรื่องนี้
นายวัชระ พรรณเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานกรรมการยุทธศาสตร์ยานยนต์ เปิดเผยถึงโปรเจ็กต์ "อีโค-คาร์" (Eco-Car) ว่าเป็นโครงการที่จัดเตรียมไว้เพื่อรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่คาดการณ์ว่าในปี 2553 จะมีการผลิตรถยนต์ในประเทศถึง 1.8 ล้านคัน มีมูลค่าเพิ่มภายในประเทศ 70% และมีการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปถึง 8 แสนคัน
ซึ่งหากดูจากแผนงานที่ทางสถาบันยานยนต์ได้วางไว้ว่า ในปี 2549 จะมีการผลิตรถยนต์ 1 ล้านคัน และส่งออก 4 แสนคันนั้น ตนและคณะทำงานเห็นตรงกันว่ารถบรรทุกขนาด 1 ตัน ซึ่งเป็นสินค้าหลักของเราในการส่งออกไปตลาดต่างประเทศนั้นน่าจะสามารถรองรับตลาด ณ ขณะนั้นได้ แต่หากจะทำ ให้ได้ตามเป้าของปี 2553 ก็คาดกันว่าตลาดรถบรรทุกขนาด 1 ตันในโลกนี้ไม่น่าจะใหญ่โตขนาดนั้น
"อันนี้เป็นสิ่งที่เราคิดกันขึ้นมาว่า เราจำเป็นที่จะต้องหาโปรดักต์แชมเปี้ยนตัวที่ 2 ขึ้นมาให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย นอกเหนือไปจากรถปิก อัพที่มีอยู่แล้ว ซึ่งเราเน้นไปที่สินค้าที่มีความคล่องตัวในการใช้งาน ราคาย่อมเยา และที่สำคัญก็คือน่าจะใช้ทรัพยากรที่เรามีอยู่ในประเทศให้เต็มที่ ซึ่งเรามองไปที่เอทานอลว่ารถที่เราจะทำกันออกมาน่าจะให้ใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิงได้ด้วย เพราะมันจะส่งผลดีต่อราคาอ้อยในประเทศไทย ซึ่งเราจะวางคอนเซ็ปต์ของสินค้าออกมาในลักษณะนี้เพื่อให้ทุกบริษัทผู้ประกอบการสามารถนำไปผลิตได้ในอนาคต"
นายวัชระกล่าวต่อว่า สำหรับโครงการนี้อยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น จึงยังไม่สามารถให้รายละเอียดสำหรับโครงการได้ ส่วนจะไปเกี่ยวข้องกับซิตี้ คาร์หรือไม่นั้นถ้าลักษณะของรถคล้ายกันก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันได้ แต่ยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่ใช่รถแห่งชาติอย่างแน่นอน เนื่องจากประเทศไทยเป็นตลาดเสรี รถยนต์แห่งชาติจึงไม่อาจที่จะเกิดขึ้นมาได้ ซึ่งในเรื่องของโครงการนี้คาดว่าน่าจะมีการประชุมเพื่อให้ได้ข้อสรุปในเบื้องต้นไม่เกินเดือนมกราคม 2547 นี้
ส่วนประเด็นเรื่องการลดภาษีสำหรับรถประเภทนี้จะมีหรือไม่นั้นยังเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาต่อไปในอนาคต เพราะเรื่องนี้อาจจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่หากมีการออกแบบสินค้าและลงในรายละเอียดทุกอย่างแล้วยังมีปัญหาเรื่องของภาษีอยู่ก็ค่อยนำมาคุยกันต่อในอนาคต ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ของกระทรวงการคลังแต่อย่างใด
แหล่งข่าวผู้บริหารจากบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หากรัฐบาลต้องการจะผลักดันโครงการนี้จริงก็น่าจะมีการเปิดกว้างให้กับผู้ประกอบการในการเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการนี้อย่างเต็มที่ โดยอาจจะให้โจทย์กับผู้ประกอบการว่าต้องการรถราคาถูก ประหยัดเชื้อเพลิง และมีความคล่องตัวสูงเท่านั้น ตนเชื่อว่าผู้ผลิตรถยนต์คงไม่เห็นด้วยหากมานั่งกำหนดสเป็กของตัวรถและเครื่องยนต์เพื่อให้ทุกบริษัทนำไปผลิต
นอกจากนี้ ก็ต้องมีการกำหนดระยะเวลาสำหรับโครงการนี้ให้ชัดเจนว่า หากรัฐบาลจะดำเนินนโยบายอะไรก็ตามควรจะมีช่วงเวลาให้ผู้ประกอบการไม่น้อยกว่า 2 ปี เพราะจะต้องมีการศึกษาตลาดอย่างชัดเจนว่าลูกค้าจะให้การตอบรับหรือไม่อย่างไร เพราะทุกวันนี้ตลาดรถยนต์ซับคอมแพ็กต์ในประเทศก็ได้รับความนิยมอย่างสูงอยู่แล้ว และหากจะผลิตจริงก็คงต้องมองไปที่ตลาดส่งออกด้วยเช่นกัน
ขณะที่นายอดิศักดิ์ โรหิตศุน ในฐานะนายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการนี้ว่า น่าจะเป็นการผลักดันให้เป็นสินค้าหลักตัวที่สองของประเทศไทยรองจากปิกอัพ ซึ่งตนคิดว่าน่าจะมีการเปิดให้กับผู้ประกอบการทุกรายเข้ามาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างเต็มที่ ซึ่งขณะนี้คงเร็วเกินไปที่จะพูดว่ารถแบบนี้จะออกมารูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร แต่บอกได้เลยว่าขณะนี้มีความชัดเจนของโครงการมากขึ้นในการทำงานต่อไปในอนาคต
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1011
- ผู้ติดตาม: 0
ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์
โพสต์ที่ 28
วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2546
ผุดยุทธศาสตร์อุตฯยานยนต์ มูลค่าต่อปีพุ่งล้านล้านบาท
โดย ผู้จัดการออนไลน์
รัฐบาลสั่งผุดยุทธศาสตร์ยานยนต์ ผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เป็นดีทรอยต์แห่งเอเชียภายใน 7 ปี ให้อำนาจ "วัชระ พรรณเชษฐ์" คุมเบ็ดเสร็จ วางเป้าหมายเพิ่มมูลค่าต่อปีพุ่งเป็น 1 ล้านล้านบาท มีการผลิตรวม 1.8 ล้านคันต่อปี สูงเป็นอันดับ 9 ของโลก
แม้จะมีการพูดถึงการยกระดับให้ไทยกลายเป็นดีทรอยต์แห่งเอเชีย หรือเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ในเอเชีย เทียบเท่ากับเมืองดีทรอยต์ของสหรัฐอเมริกามานานหลายปี แต่ก็ไร้การผลักดันอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือเอกชน
ผุดยุทธศาสตร์อุตฯยานยนต์
นายวัชระ พรรณเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรี ได้มีการหารือถึงการที่จะผลักดันให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย สามารถก้าวขึ้นมาเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ จึงได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงอุตสาหกรรมไปดำเนินการด้านยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ ให้เป็นไปอย่างมีทิศทางเดียวกันในระหว่างหน่วยงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ในเอเชีย (Detroit of Asia)
"เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว จึงได้มีการตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ยานยนต์ขึ้นมา เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ ขอบเขต นโยบาย เป้าหมาย และแผนการดำเนินงาน รวมถึงกำกับดูแล ติดตามผล และประเมินผลการดำเนินงาน พร้อมกับแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคล เพื่อดำเนินการในเรื่องใดตามความเหมาะสม โดยมีรองนายกรัฐมนตรี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นผู้คุมยุทธศาสตร์ทั้งหมด"นายวัชระกล่าว
สำหรับคณะกรรมการยุทธศาสตร์ยานยนต์ ประกอบไปด้วย นายวัชระ พรรณเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานกรรมการ และมีเลขาธิการคณะส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ ,รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม, อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ,ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ โดยมีผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ เป็นกรรมการและเลขานุการ
7 ปีดันมูลค่าพุ่งล้านล้านบาท
นายวัชระกล่าวว่า สำหรับยุทธศาสตร์ยานยนต์ไทย ได้กำหนดแผนแม่บทอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ด้วยการสร้างสภาวะแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์ ทั้งผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อทำให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ในเอเชีย สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ โดยมีอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีความแข็งแกร่ง ให้สำเร็จภายในปี 2553
ทั้งนี้ภายใต้ยุทธศาสตร์ยานยนต์ได้กำหนดเป้าหมาย ประเทศไทยจะต้องผลิตรถยนต์ไม่น้อยกว่า 1 ล้านคันต่อปี แบ่งเป็นรถยนต์บรรทุก 1 ตัน ประมาณ 7 แสนคัน และส่งออกไปไม่น้อยกว่า40% ภายในปี 2549 มีมูลค่าการผลิตมากกว่า 5 แสนล้านบาท จากปัจจุบันที่มีการผลิตประมาณ 7 แสนคันต่อปี ขณะที่รถจักรยานยนต์จะผลิตไม่น้อยกว่า 2 ล้านคันต่อปี และส่งออกไม่น้อยกว่า 20% ภายในปี 2549 เช่นเดียวกัน มีมูลค่าการผลิตมากกว่า 1 แสนล้านบาท
ส่วนเป้าหมายอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ กำหนดให้ปี 2549 จะต้องผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ที่มีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ มีมูลค่าส่งออกไม่น้อยกว่า 2 แสนล้านบาทต่อปี และมีความสามารถในการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วน โดยมีมูลค่าเพิ่มในประเทศไม่น้อยกว่า 60%
"สำหรับเป้าหมายยกไทยเป็นดีทรอยต์แห่งเอเชียในปี 2553 ประเทศจะต้องมีการผลิตรถยนต์มากกว่า 1.8 ล้านคันต่อปี โดยเป็นอันดับ 9 ของโลก อันดับ 4 ของเอเชีย ส่วนแบ่งการตลาดโลก 3% มีมูลค่า 1 ล้านล้านบาทต่อปี โดยมีมูลค่าการส่งออกรถยนต์มากกว่า 8 แสนคันต่อปี คิดเป็นมูลค่า 4 แสนล้านบาทต่อปี มีการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์มากกว่า 4 แสนล้านบาทต่อปี และมูลค่าเพิ่มภายในประเทศไม่น้อยกว่า 70%"นายวัชระกล่าว
หนุนอีโคคาร์ตัวธงตีคู่ปิกอัพ
นายวัชระกล่าวว่า เป้าหมาย 1.8 ล้านคันในปี 2553 จะอาศัยเฉพาะปิกอัพตัวเดียวเป็นสินค้านำคงจะเป็นไปลำบาก เหตุนี้รัฐบาลและคณะกรรมยุทธศาสตร์ยานยนต์ จึงได้มีแนวคิดที่จะผลักดันให้มีสินค้าที่ผลิตในเมืองไทย เพื่อทำตลาดทั่วโลก ขึ้นมาเป็นสินค้าอีกประเภทคู่กับปิกอัพในการผลักดันสู่เป้าหมายที่วางไว้
"นายกรัฐมนตรีได้ให้แนวคิดว่า ควรจะมีรถยนต์ประเภทใหม่ขึ้นมาเป็นสินค้าแชมป์เปี้ยนคู่กับปิกอัพ ซึ่งรัฐบาลจะให้การสนับสนุนเอกชน โดยมีคุณสมบัติคร่าวๆ ของรถใหม่นี้ คือ มีราคาย่อมเยา คล่องตัวในการใช้งาน ประหยัดพลังงาน และสามารถใช้เชื้อเพลิงทดแทนอย่างเอทานอลได้ ซึ่งคณะทำงานได้ตั้งชื่อรถประเภทนี้ว่า อีโคคาร์ (ECO Car)"
ส่วนกรอบที่ชัดเจนของอีโคคาร์ กำลังหาข้อสรุปอยู่ โดยเน้นไปที่เป็นรถที่สามารถใช้พลังงานทดแทนได้ ประหยัดพลังงาน และมีราคาย่อมเยา แต่ไม่อยากให้คิดว่าเป็นรถประเภทซิตี้คาร์ ซึ่งส่วนใหญ่จะมองไปที่รถยนต์นั่ง 4 ประตู เพราะมันอาจจะเป็นอย่างไรก็ได้ หากเข้าตามกรอบที่คณะทำงานวางไว้ และที่สำคัญทุกยี่ห้อสามารถผลิตได้หมด ไม่ใช่กำหนดขึ้นมาเอื้อให้กับยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งตามที่หวั่นเกรงกัน
ผุดยุทธศาสตร์อุตฯยานยนต์ มูลค่าต่อปีพุ่งล้านล้านบาท
โดย ผู้จัดการออนไลน์
รัฐบาลสั่งผุดยุทธศาสตร์ยานยนต์ ผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เป็นดีทรอยต์แห่งเอเชียภายใน 7 ปี ให้อำนาจ "วัชระ พรรณเชษฐ์" คุมเบ็ดเสร็จ วางเป้าหมายเพิ่มมูลค่าต่อปีพุ่งเป็น 1 ล้านล้านบาท มีการผลิตรวม 1.8 ล้านคันต่อปี สูงเป็นอันดับ 9 ของโลก
แม้จะมีการพูดถึงการยกระดับให้ไทยกลายเป็นดีทรอยต์แห่งเอเชีย หรือเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ในเอเชีย เทียบเท่ากับเมืองดีทรอยต์ของสหรัฐอเมริกามานานหลายปี แต่ก็ไร้การผลักดันอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือเอกชน
ผุดยุทธศาสตร์อุตฯยานยนต์
นายวัชระ พรรณเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรี ได้มีการหารือถึงการที่จะผลักดันให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย สามารถก้าวขึ้นมาเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ จึงได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงอุตสาหกรรมไปดำเนินการด้านยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ ให้เป็นไปอย่างมีทิศทางเดียวกันในระหว่างหน่วยงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ในเอเชีย (Detroit of Asia)
"เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว จึงได้มีการตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ยานยนต์ขึ้นมา เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ ขอบเขต นโยบาย เป้าหมาย และแผนการดำเนินงาน รวมถึงกำกับดูแล ติดตามผล และประเมินผลการดำเนินงาน พร้อมกับแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคล เพื่อดำเนินการในเรื่องใดตามความเหมาะสม โดยมีรองนายกรัฐมนตรี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นผู้คุมยุทธศาสตร์ทั้งหมด"นายวัชระกล่าว
สำหรับคณะกรรมการยุทธศาสตร์ยานยนต์ ประกอบไปด้วย นายวัชระ พรรณเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานกรรมการ และมีเลขาธิการคณะส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ ,รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม, อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ,ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ โดยมีผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ เป็นกรรมการและเลขานุการ
7 ปีดันมูลค่าพุ่งล้านล้านบาท
นายวัชระกล่าวว่า สำหรับยุทธศาสตร์ยานยนต์ไทย ได้กำหนดแผนแม่บทอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ด้วยการสร้างสภาวะแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์ ทั้งผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อทำให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ในเอเชีย สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ โดยมีอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีความแข็งแกร่ง ให้สำเร็จภายในปี 2553
ทั้งนี้ภายใต้ยุทธศาสตร์ยานยนต์ได้กำหนดเป้าหมาย ประเทศไทยจะต้องผลิตรถยนต์ไม่น้อยกว่า 1 ล้านคันต่อปี แบ่งเป็นรถยนต์บรรทุก 1 ตัน ประมาณ 7 แสนคัน และส่งออกไปไม่น้อยกว่า40% ภายในปี 2549 มีมูลค่าการผลิตมากกว่า 5 แสนล้านบาท จากปัจจุบันที่มีการผลิตประมาณ 7 แสนคันต่อปี ขณะที่รถจักรยานยนต์จะผลิตไม่น้อยกว่า 2 ล้านคันต่อปี และส่งออกไม่น้อยกว่า 20% ภายในปี 2549 เช่นเดียวกัน มีมูลค่าการผลิตมากกว่า 1 แสนล้านบาท
ส่วนเป้าหมายอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ กำหนดให้ปี 2549 จะต้องผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ที่มีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ มีมูลค่าส่งออกไม่น้อยกว่า 2 แสนล้านบาทต่อปี และมีความสามารถในการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วน โดยมีมูลค่าเพิ่มในประเทศไม่น้อยกว่า 60%
"สำหรับเป้าหมายยกไทยเป็นดีทรอยต์แห่งเอเชียในปี 2553 ประเทศจะต้องมีการผลิตรถยนต์มากกว่า 1.8 ล้านคันต่อปี โดยเป็นอันดับ 9 ของโลก อันดับ 4 ของเอเชีย ส่วนแบ่งการตลาดโลก 3% มีมูลค่า 1 ล้านล้านบาทต่อปี โดยมีมูลค่าการส่งออกรถยนต์มากกว่า 8 แสนคันต่อปี คิดเป็นมูลค่า 4 แสนล้านบาทต่อปี มีการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์มากกว่า 4 แสนล้านบาทต่อปี และมูลค่าเพิ่มภายในประเทศไม่น้อยกว่า 70%"นายวัชระกล่าว
หนุนอีโคคาร์ตัวธงตีคู่ปิกอัพ
นายวัชระกล่าวว่า เป้าหมาย 1.8 ล้านคันในปี 2553 จะอาศัยเฉพาะปิกอัพตัวเดียวเป็นสินค้านำคงจะเป็นไปลำบาก เหตุนี้รัฐบาลและคณะกรรมยุทธศาสตร์ยานยนต์ จึงได้มีแนวคิดที่จะผลักดันให้มีสินค้าที่ผลิตในเมืองไทย เพื่อทำตลาดทั่วโลก ขึ้นมาเป็นสินค้าอีกประเภทคู่กับปิกอัพในการผลักดันสู่เป้าหมายที่วางไว้
"นายกรัฐมนตรีได้ให้แนวคิดว่า ควรจะมีรถยนต์ประเภทใหม่ขึ้นมาเป็นสินค้าแชมป์เปี้ยนคู่กับปิกอัพ ซึ่งรัฐบาลจะให้การสนับสนุนเอกชน โดยมีคุณสมบัติคร่าวๆ ของรถใหม่นี้ คือ มีราคาย่อมเยา คล่องตัวในการใช้งาน ประหยัดพลังงาน และสามารถใช้เชื้อเพลิงทดแทนอย่างเอทานอลได้ ซึ่งคณะทำงานได้ตั้งชื่อรถประเภทนี้ว่า อีโคคาร์ (ECO Car)"
ส่วนกรอบที่ชัดเจนของอีโคคาร์ กำลังหาข้อสรุปอยู่ โดยเน้นไปที่เป็นรถที่สามารถใช้พลังงานทดแทนได้ ประหยัดพลังงาน และมีราคาย่อมเยา แต่ไม่อยากให้คิดว่าเป็นรถประเภทซิตี้คาร์ ซึ่งส่วนใหญ่จะมองไปที่รถยนต์นั่ง 4 ประตู เพราะมันอาจจะเป็นอย่างไรก็ได้ หากเข้าตามกรอบที่คณะทำงานวางไว้ และที่สำคัญทุกยี่ห้อสามารถผลิตได้หมด ไม่ใช่กำหนดขึ้นมาเอื้อให้กับยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งตามที่หวั่นเกรงกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 33
- ผู้ติดตาม: 0
ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์
โพสต์ที่ 29
อันดับยอดขายรถยนต์ในไทย ม.ค.-ต.ค. 2003
1.Toyota
2.Isuzu
3.Honda
4.Nissan
5.Mitsubishi
6.Ford
7.Mazda*
8.Hino
9.Benz
10.Chevrolet
11.BMW
*โดย Mazda ยอดขายมีอัตราเพิ่มสูงที่สุด
ความน่าสนใจของMazdaอยู่ที่ ใช้งบโฆษณาน้อยและโดนกดดันจากFord แต่มีการ PR ที่ยอดเยี่ยมครับ
บังเอิญ ว่าผมอยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ของเอเชียครับ
อยู่tvi ปีนึงแล้วไม่ค่อยpost เท่าไหร่ (ดูอย่างเดียว)
แต่เห็นว่ากระทู้นี้เราถนัดเลยเข้ามาตอบครับ ผมมีข้อมูลและตัวเลขที่น่าสนใจอยู่เพียบครับสงสัยอะไรก็ถามมาได้ครับ
1.Toyota
2.Isuzu
3.Honda
4.Nissan
5.Mitsubishi
6.Ford
7.Mazda*
8.Hino
9.Benz
10.Chevrolet
11.BMW
*โดย Mazda ยอดขายมีอัตราเพิ่มสูงที่สุด
ความน่าสนใจของMazdaอยู่ที่ ใช้งบโฆษณาน้อยและโดนกดดันจากFord แต่มีการ PR ที่ยอดเยี่ยมครับ
บังเอิญ ว่าผมอยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ของเอเชียครับ
อยู่tvi ปีนึงแล้วไม่ค่อยpost เท่าไหร่ (ดูอย่างเดียว)
แต่เห็นว่ากระทู้นี้เราถนัดเลยเข้ามาตอบครับ ผมมีข้อมูลและตัวเลขที่น่าสนใจอยู่เพียบครับสงสัยอะไรก็ถามมาได้ครับ
ขาดทุนคือค่าเล่าเรียน
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1011
- ผู้ติดตาม: 0
ขอข้อมูล - อุตสาหกรรมยานยนตร์
โพสต์ที่ 30
ดีจัง มีคนรู้จริงอย่างคุณ Whatdj มาช่วยให้ความรู้
ผมขอถามก่อนก็แล้วกันครับ
ผมอ่านเรื่องการลดภาษีของมาเลเซียซึ่งจะมีผลบังคับใช้ก็อีกทั้งหลายปี
โดยเลื่อนออกไปจากหมายกำหนดการเดิม อย่างนี้ถือว่าไม่ fair กับประเทศอื่นๆ หรือเปล่า ประเทศสมาชิกมีมาตรการอย่างไรที่จะโต้ตอบ
ผมเคยอ่านจากทีไหนไม่ทราบ เขาบอกว่า ประเทศไทยยังมีความสามารถในการแข่งขันดีกว่าประเทศจีนอยู่อีกประมาณ 5 ปี เพราะฉนั้นในช่วงนี้ยังดีอยู่ นอกจากนี้ประเทศไทยมีการลงทุนด้าน R&D มากขึ้น ไม่ทราบว่ามีความคิดเห็นอย่างไรครับ
เอาเท่านี้ก่อนก็แล้วกันครับ
ผมขอถามก่อนก็แล้วกันครับ
ผมอ่านเรื่องการลดภาษีของมาเลเซียซึ่งจะมีผลบังคับใช้ก็อีกทั้งหลายปี
โดยเลื่อนออกไปจากหมายกำหนดการเดิม อย่างนี้ถือว่าไม่ fair กับประเทศอื่นๆ หรือเปล่า ประเทศสมาชิกมีมาตรการอย่างไรที่จะโต้ตอบ
ผมเคยอ่านจากทีไหนไม่ทราบ เขาบอกว่า ประเทศไทยยังมีความสามารถในการแข่งขันดีกว่าประเทศจีนอยู่อีกประมาณ 5 ปี เพราะฉนั้นในช่วงนี้ยังดีอยู่ นอกจากนี้ประเทศไทยมีการลงทุนด้าน R&D มากขึ้น ไม่ทราบว่ามีความคิดเห็นอย่างไรครับ
เอาเท่านี้ก่อนก็แล้วกันครับ