ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้าน เน้นระบบลอจิสติกส์ ใครได้ปร

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
deerfreedom
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 95
ผู้ติดตาม: 0

ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้าน เน้นระบบลอจิสติกส์ ใครได้ปร

โพสต์ที่ 1

โพสต์

คลัง-คมนาคมถกแผนกู้2ล้านล.

คลัง-คมนาคมถกปรับแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานประเทศ 2 ล้านล้านบาท เน้นระบบลอจิสติกส์ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ หั่นโครงสร้างด้านการสื่อสารและพลังงานออกจากแผน คาดวงเงินอยู่อยู่ที่ 1.8-1.9 ล้านล้านบาทไม่เต็มวงเงินที่ร่างในกฎหมายคาดชงเข้า ครม.ได้ในเดือน ม.ค.ปีหน้า
ชีวิต คือ การลงทุน ใครมีทุนเดิมสูงก็โชคดีไป ใครมีทุนเดิมน้อยก็ต้องเริ่มสะสมทุนกันใหม่
แต่อย่าลืมลงทุนเพื่อใช้ ทั้งในภพนี้ และภพหน้า
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้าน เน้นระบบลอจิสติกส์ ใครไ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

คอลัมน์: หุ้นส่วนประเทศไทย: เพิ่มสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงแสนล้านเพื่อใคร? (ภาค 2)
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Wednesday, December 05, 2012
[email protected]
อานิก อัมระนันทน์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พรรคประชาธิปัตย์


การสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงทางยุทธศาสตร์ที่ผ่านมาในประเทศไทย รัฐได้กำหนดให้เอกชนหรือผู้ค้าและผู้กลั่น (รวม ปตท.) เป็นผู้เก็บในปริมาณเทียบเท่า 36 วันของยอดขายในประเทศ เป็นน้ำมันดิบและน้ำมันที่กลั่นแล้วอย่างละครึ่ง รัฐบาลชุดนี้ได้เริ่มปฏิบัตินโยบายเพิ่มการสำรองเป็น 90 วัน โดยการเตรียมออกประกาศกรมธุรกิจพลังงานเพิ่มการสำรองน้ำมันของภาคเอกชนจาก 5% เป็น 6%

ดิฉันได้ตั้งกระทู้ถามในสภาเมื่อสัปดาห์ก่อน เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น ไม่เป็นประโยชน์กับประชาชน แต่เกิดต้นทุนมหาศาลที่ประชาชนและธุรกิจจะต้องมาแบกรับ ไม่ได้คำตอบที่น่าพอใจ จึงได้เขียนบทความในส่วนของความไม่จำเป็นด้วยเหตุผลหลายประการวันนี้จะเขียนเรื่องต้นทุนต่างๆความเสี่ยงต่อการรั่วไหล และผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน

ก่อนที่กระทรวงพลังงานจะเริ่มดำเนินการได้มีการเรียกภาคเอกชนมาปรึกษาหารือ ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง เอกชนบอกว่าขอเวลาอย่างน้อยๆ 2-3 ปีสำหรับหาที่ดินและก่อสร้างคลัง แต่ภายใน 2 สัปดาห์ กระทรวงทำเรื่องให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานอนุมัติและให้ออกประกาศมีผลบังคับใช้ภายใน 90 วันทำให้ภาคเอกชนร้องเรียนกันจ้าละหวั่นรัฐมนตรีต้องมีคำสั่งชะลอการออกประกาศไปก่อน ซึ่งหากไม่มีการเพิ่มปริมาณสำรองของภาคเอกชน การสำรองภาครัฐจะเพิ่มจาก 0 เป็น 54 วัน แต่ไม่ว่าใครจะเป็นผู้แบกสำรองส่วนเพิ่ม ต้นทุนของประเทศก็จะคล้ายกันความรีบร้อนในการดำเนินนโยบายดูไม่ชอบมาพากล ประกอบกับตัวเงินและความไม่จำเป็นจะต้องใช้เงินนั้น ทำให้น่าสงสัยมากว่านโยบายนี้ทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนหรือของใคร?

ในส่วนของภาครัฐต้นทุนของนโยบายนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน ตามที่กรมธุรกิจพลังงานได้ชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการการพลังงาน ส่วนแรกคือค่าเนื้อน้ำมันดิบ 5,596 ล้านลิตร (หรือ 35 ล้านบาร์เรล) ซึ่งคำนวณจากยอดการใช้ประมาณปีละ 3.8 หมื่นล้านลิตรหากซื้อน้ำมันดิบเพื่อสำรองในราคา 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล(ราคาปัจจุบันประมาณ 110 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล) จะเป็นเงิน 110,880 ล้านบาท ตรงนี้ไม่รวมค่าสร้างถังและค่าที่ดิน ซึ่งรัฐจะลงทุนเองหรือเช่าจากเอกชนก็ได้ แต่ไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ล้วนเป็นภาระต่อประเทศและผู้ใช้น้ำมัน

ส่วนที่ 2 เป็นต้นทุนของการถือน้ำมันสำรองปีละกว่า 1.4 หมื่นล้านบาทประกอบด้วยค่าดอกเบี้ยเนื้อน้ำมัน 5,820 ล้านบาท ค่าเช่าถัง6,715 ล้านบาท ค่าสูญเสียน้ำมันจากการเก็บ1,108 ล้านบาท รวมค่าประกันและค่าบริหารคลังแล้วเบ็ดเสร็จ 14,367 ล้านบาท

นี่เป็นส่วนของภาครัฐที่จะถูกผ่านส่งมายังราคาน้ำมันที่ประชาชน ธุรกิจ และอุตสาหกรรมกรมคำนวณว่าราคาน้ำมันดีเซลและเบนซินจะต้องสูงขึ้นอีก 55 สต.ต่อลิตร แล้วเราจะต้องเสียเงินก้อนนี้ปีแล้วปีเล่า ถ้าคิดสัก 20 ปี ก็เป็นเงิน287,340 ล้านบาท บวกกับค่าซื้อน้ำมันเข้าถังในช่วงเริ่มแรกอีก 110,880 ล้านบาท รวมเป็น3.98 แสนล้านบาท แล้วถ้ารัฐบาลได้ทำตามแผนระยะยาวที่จะเพิ่มต่อไปอีกจาก 90 วันเป็น145 วัน เพื่อให้เท่ากับการสำรองเฉลี่ยของประเทศสมาชิกองค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) คือเอาประเทศที่ร่ำรวยและพึ่งพาน้ำมันมากกว่าไทยเป็นมาตรฐาน ก็จะเป็นเงินถึง 6 แสนล้านบาท

นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงว่าจะเกิดต้นทุนแอบแฝงได้หลายอย่าง โดยเฉพาะการจะใช้บริษัทเฉพาะกิจ (SPV) ทำในแบบเลี่ยงบาลีเพื่อไม่ให้การลงทุนแสดงเป็นหนี้สาธารณะก็จะทำให้เกิดความเร้นลับไม่โปร่งใสตรวจสอบยากเข้าไปอีก...แล้วเรื่องหนี้นั้นก็สมควรดูตัวอย่างประเทศกรีซที่สถานะใกล้ล่มสลาย เคยมีการซ่อนหนี้จำนวนมาก แต่เวลาฐานะการเงินการคลังของประเทศรับไม่ไหวก็จะต้องเผยออกมาในที่สุด

ราคาน้ำมันเป็นสิ่งที่เคลื่อนไหวตลอดเวลาราคาที่กรมใช้เป็นสมมติฐานในการคำนวณคือ100 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล ช่วงที่รัฐจะซื้อน้ำมันเข้าสำรองตามนโยบายนี้ ราคาที่ซื้ออาจจะสูงหรืออาจจะต่ำกว่านี้ก็ได้ น้ำมันดิบมีหลายกลุ่มหลายเกรด แต่ละอย่างราคาไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับส่วนประกอบว่ากลั่นแล้วจะได้ผลผลิตรวมเป็นมูลค่าอย่างไร ราคาน้ำมันดิบต่างๆ จะเคลื่อนไหวไปด้วยกันเพราะทดแทนกันได้ระดับหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ในวันเดียวกันราคาน้ำมันดิบกลุ่มใหญ่ๆ อย่างเบรนต์อาจอยู่ที่ 112 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสต์เทกซัส อยู่ที่ 109 และ 89 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลตามลำดับ

ราคาส่วนใหญ่จะอิงตลาดตามที่รายงานโดยแพล็ทสออยล์แกรม ราคาที่ซื้อขายจริงมักจะมีส่วนลดหรือส่วนเพิ่มจากราคาแพล็ทส ตรงนี้เป็นจุดเสี่ยงของการจัดซื้อ หากองค์กรไม่มีธรรมาภิบาลที่เข้มแข็งซึ่งบริษัทเฉพาะกิจคงไม่มี เพราะอาจมีการให้ส่วนแบ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ซื้อเกรดนั้นๆซึ่งจะทำให้ต้นทุนสูงเกินที่ควรจะเป็น ที่เคยได้ยินบาร์เรลละ 10 เซ็นขึ้นไปจนถึงเป็นเหรียญต่อบาร์เรลในช่วงที่ตลาดผันผวน

การตั้งถังน้ำมันสำรองเป็นการลงทุนที่จะมีส่วนได้เสียมาก ไม่ว่ารัฐจะสร้างเองหรือจะเช่าจากเอกชนที่รัฐทำการคัดเลือกมา สถานที่ตั้งของถังน้ำมันควรจะอยู่ใกล้ทะเลหรือแม่น้ำใหญ่เพื่อความสะดวกและลดต้นทุนค่าขนส่งอาจจะต้องใช้ที่ดินเป็นพันๆ ไร่ ขณะที่ทำเลดีๆ มีไม่กี่แห่ง แหล่งที่มีอยู่แล้วและมีที่ดินหรือมีถังเหลือก็จะเป็นธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากการผลักดันนโยบายนี้โดยตรง

นับว่าโชคดีที่มีการกำหนดให้ภาคเอกชนต้องทำด้วย เพราะจะทำให้สังคมมีข้อมูลเปรียบเทียบบางตัว หากยังคงมีบริษัทเอกชนแข่งขันกับรัฐวิสาหกิจอย่าง ปตท.หลงเหลืออยู่ในอนาคต หวังว่าจะช่วยทำให้การลงทุนดำเนินไปอย่างระมัดระวัง

เนื่องจากเป็นการใช้จ่ายที่ไม่มีความจำเป็นเพราะระดับสำรองที่มีอยู่เดิมน่าจะมีความพอเพียงอยู่แล้ว โดยเฉพาะการที่โรงกลั่นในประเทศมีสต๊อกน้ำมันดิบที่ใช้ในการดำเนินงานอยู่แล้วถึง 15 วันในเวลาใดเวลาหนึ่ง ไม่รวมสต๊อกที่อยู่ในเรือที่กำลังขนเข้ามากลั่นในประเทศอีก 13 วัน เทียบกับความเสี่ยงของระดับการขาดแคลนน้ำมันและระยะเวลาให้โอกาสเกิดและผลกระทบน้อยลงกว่าวิกฤตในอดีต การขาดที่อาจเกิดขึ้นได้จากความพึ่งพาน้ำมันที่น้อยลงและการใช้ก๊าซมากขึ้นโดยเฉพาะในการผลิตไฟฟ้าก็ทำ ตลาดจรที่กว้างและลึกทำให้โอกาสเกิดความขาดแคลนน้ำมันน้อย ตราบใดที่ประเทศเรายังใช้กลไกตลาด (ดังที่ได้อธิบายในบทความภาค 1) ลองเปรียบเทียบการสำรองของประเทศในภูมิภาค จีน 14 วันอินเดีย 14 วัน อินโดนีเซีย 21 วัน เวียดนาม40 วัน ฟิลิปปินส์ 14 วัน ซึ่งผู้สำรองเป็นภาครัฐหรือบริษัทน้ำมันแห่งชาติ สิงคโปร์ไม่มีการเก็บสำรอง

นโยบายการเพิ่มสำรองน้ำมันยุทธศาสตร์2.5 เท่า จึงเป็นต้นทุนที่ไร้ประโยชน์สำหรับประชาชนที่จะต้องใช้น้ำมันที่แพงขึ้น หรือแม้แต่ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่จะถูกลดทอนความสามารถในการแข่งขัน

หากเอาเงิน 4 แสนล้านบาทนี้ไปปรับปรุงพัฒนาขนส่งสาธารณะ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศจะดีกว่ามาก เช่น ปรับปรุงคุณภาพ รถเมล์ ขนส่งมวลชน รถไฟ รถไฟความเร็วสูงเชื่อมภูมิภาคเพื่อจะสร้างความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรมไทยและสร้างโอกาสให้เศรษฐกิจไทยในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่เขตเศรษฐกิจอาเซียน เพิ่มคุณภาพชีวิตให้ประชาชนทั่วไปด้วยการให้ความสะดวกสบายและปลอดภัยในการเดินทาง รวมทั้งจะช่วยลดการใช้พลังงานในภาคขนส่งเพราะระบบรางประหยัดกว่าการใช้ถนนมาก

แม้อาจจะต้องกู้เงินเหมือนกัน แต่ก็เป็นการสร้างหนี้ที่เป็นประโยชน์ และทำให้การกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทที่รัฐบาลนี้เตรียมการไว้สำหรับโครงสร้างพื้นฐานลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ.

"นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงว่าจะเกิดต้นทุนแอบแฝงได้หลายอย่าง โดยเฉพาะการจะใช้บริษัทเฉพาะกิจ(SPV) ทำในแบบเลี่ยงบาลีเพื่อไม่ให้การลงทุนแสดงเป็นหนี้สาธารณะ ก็จะทำให้เกิดความเร้นลับไม่โปร่งใสตรวจสอบยากเข้าไปอีก..."

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
yoko
Verified User
โพสต์: 4395
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้าน เน้นระบบลอจิสติกส์ ใครไ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ประเทศไทยได้ประโยชน์ครับ555 555
โพสต์โพสต์