ตามที่ผมเข้าใจนะครับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (Securitization) คือ กระบวนการแปลงสินทรัพย์ที่เปลี่ยนมือยาก (Non-marketable assets) ให้เป็นหลักทรัพย์ที่เปลี่ยนมือได้ง่าย (Marketable securities) เพื่อจำหน่ายแก่ผู้ลงทุน ซึ่งสินทรัพย์ที่นำมาแปลงเป็นหลักทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดกระแสรายรับในอนาคต เช่น สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ เป็นต้น โดยจะมีการขายสินทรัพย์ของเจ้าของกองทรัพย์สินเดิม (Originator) ให้กับนิติบุคคลเฉพาะกิจหรือ SPV (Special Purpose Vehicles) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวกลางในการระดมทุนโดยการออกหลักทรัพย์ที่มีกองทรัพย์สินดังกล่าวหนุนหลัง (Asset backed securities: ABS) ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของหุ้นกู้ หรือหน่วยลงทุน และรับสภาพหนี้แทนเจ้าของสินทรัพย์เดิม โดยแยกความเป็นเจ้าของหลักทรัพย์ออกจากเจ้าของสินทรัพย์เดิม ซึ่งจะทำให้นักลงทุนไม่ต้องรับความเสี่ยงจากจากการดำเนินงานของ Originator
บริษัทAจะขายสินทรัพย์ที่สามารถสร้างกระแสเงินสดออกไป ให้ SPV และ SPV ก็เอาไปขายให้นักลงทุน
พอ บริษัทAได้เงินมาก็เอาเงินไปคืนหนี้เงินกู้เก่าและเอาไปขยายการดำเนินงานต่อ
คำถามคือ
1.เวลาขายสินทรพย์ของไปทำ securitization แล้วเค้าจะบันทึกรายการอะไรหรือเปล่าครับในงบแสดงฐานะการเงิน
อย่างของบริษัทให้สินเชื่อบริษัทหนึ่งเค้าก็มีบันทึกบัญชีตามรูปครับ อย่างของบริษัทให้สินเชื่อรายนี้ผมเข้าใจว่าเค้าขายให้บ.ลูกก่อน ( หรือปกติเค้าจะตั้งบริษัทลูกมาใหม่ให้เป็น SPV เลยครับ? )
เพราะฉะนั้นบริษัทA ขายสินทรัพย์ให้ SPV ไปแปลงเป็นหลักทรัพย์ออกขาย แล้วบริษัท A จะบันทึกบัญชีแบบบริษัทให้สินเชื่อนี้หรือไม่ครับ?
คำถามอีกครับสำหรับบทบาท originator ในธุรกรรมดังกล่าวนั้น เมื่อ originator ได้ขาย
สินทรัพย์ไปแล้ว originator มักจะยังเป็นผู้ให้บริการเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ (servicer) ให้แก่ SPV
ต่อไป โดยลูกหนี้ไม่จำเป็นต้องทราบว่าเจ้าหนี้ที่แท้จริงของตนได้เปลี่ยนจาก originator ไปเป็น SPV แล้ว ดังนั้น กระแสเงินรับของ originator จึงจะเปลี่ยนจากดอกเบี้ยรับและเงินต้นของลูกหนี้ไปเป็น
ค่าขายลูกหนี้ originating fee (ค่าหาลูกค้า) และค่าธรรมเนียมในการเรียกเก็บหนี้ (servicing fee) นอกจากนี้ originator ยังมักจะเป็นผู้ถือประโยชน์ที่เหลือทั้งหมด (residual interest) ในกองทรัพย์สินของ SPV ด้วย โดยการถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิหรือตราสารอื่นในลักษณะเดียวกันของ SPV เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ลงทุนกลุ่มแรกที่จะรับส่วนเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากกองลูกหนี้ก่อนผู้ถือตราสาร ABS แต่หากมีกระแสเงินสดเหลือภายหลังการชำระหนี้ให้ผู้ถือ ABS แล้ว ผู้ถือประโยชน์สุดท้ายซึ่งส่วนมากคือ originator นั้น ก็จะได้รับผลประโยชน์ดังกล่าวไป โดยอาจจะมีการโอนสินทรัพย์ของ SPV คืนไปยัง originator ด้วยเมื่อเลิกโครงการ
ที่ผมไฮไลท์สีแดงไว้รบกวนช่วยขยายความให้หน่อยได้มั้ยครับ
ที่เป็นผู้ถือประโยชน์ที่เหลือทั้งหมด ก็เพราะว่าถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิการออก ABS ครั้งนั้น ใช่มั้ยครับ? แล้วมันดีอย่างไรครับ?
ไฮไลท์สีน้ำเงินน่าจะสอดคล้องกับสีแดง
ที่ผมถามว่ามันดีอย่างไร มันดีอย่างนี้หรือเปล่าครับ ... หากมีกระแสเงินสดเหลือภายหลังการชำระหนี้ให้ผู้ถือ ABS แล้ว ผู้ถือประโยชน์สุดท้ายซึ่งส่วนมากคือ originator -- แล้วทำไมถึงเป็นแค่ originator คนเดียวครับ ทำไมไม่แบ่งให้พวกที่ถือหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิหละครับ?
ไฮไลท์สีเขียว
อาจมีการโอนสินทรัพย์คือไปยัง originator เมื่อเลิกโครงการ .... 1)ถ้าเป็นพวกกองอสังหาก็จะคือพวกอาคาร โรงงานใช่มั้ยครับ แล้วถ้าเป็นพวกบริษัทให้สินเชื่อเช่าซื้อหล่ะครับจะมีสินทรัพย์อะไรให้โอนคืนตอนเลิกโครงการครับ?
2) แล้วเมื่อโอนคืนให้ originator แล้ว originator ต้องจ่ายเงินซื้อคืนให้ SPV ด้วยหรอเปล่าครับ?
รบกวนผ้รู้ช่วยชีแนะเป็นวิทยาทานหน่อยครับ ... ขอบคุณมากครับ