วิธีการวัดผลพอร์ตหุ้น

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
sutthipat
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 34
ผู้ติดตาม: 0

วิธีการวัดผลพอร์ตหุ้น

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ผมมีคำถามเกี่ยวกับการวัดผลของพอร์ตหุ้น
สมมติว่า

ดัชนีของตลาด เงินลงทุน เงินลงเพิ่มเติมระหว่างปี รวมเงินลงทุน
1 Jan 20xx 100 1000 0 1000
30 Jun 20xx 125 1250 0 1250
1 Jul 20xx 125 0 500 1750
31 Dec 20xx 150 1750 650 2400

ณ สิ้น 31 Dec 20xx ดัชนีของตลาดโตเพิ่ม 50%
สำหรับเงินลงทุนในหุ้น 1,000 บาท ณ ต้นปีได้เติบโตขึ้นเป็น 1,750 บาท ณ ตอนปลายปีโดยไม่ได้มีการซื้อหรือขายหุ้นเลย ถือไว้อย่างเดียว อย่างไรก็ตาม ณ ตอนกลางปี ได้มีการซื้อหุ้นเพิ่มเป็นมูลค่า 500 บาท ซึ่ง ณ ตอนปลายปี หุ้นได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 650 บาท ส่งผลให้พอร์ตหุ้น ณ สิ้นปลายปีมีมูลค่า 2,400 บาท

ซึ่ง หากจะวัดผลว่าโดยเฉลี่ยแล้วพอร์ตผมโตขึ้นกี่ % ควรจะคิดด้วยวิธีไหนดี
ในเบื้องต้นผมคิดว่าน่าจะเอา 2,400 หาร ด้วย 1,000 + 500 ก็จะได้ 60% ไม่แน่ใจว่าท่านอื่นๆในนี้มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง
ภาพประจำตัวสมาชิก
อ่อนซ่อนศิลป์
Verified User
โพสต์: 274
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิธีการวัดผลพอร์ตหุ้น

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ปกติผมจะคิดด้วย IRR ตามวิธีคิดของคุณสุมาอี้ ซึ่งอาจมี ERROR เล็กน้อยแต่เป็นค่าที่รับได้เนื่องจากเราไม่ได้ซื้อในครั้งเดียวและมีการเพิ่มเงินลงทุนระหว่างปีเข้าไปครับ

ต้นปี รวมเงินลงทุนทั้งหมด -1500
ปลายปี มูลค่าของพอร์ต 2400
นำไปคิดIRR จาก EXCEL ออกมาได้ 60% พอดีครับ

อันนี้ไม่ได้รวมเงินปันผลที่ได้รับนะครับ ไม่งั้นต้องเอาเงินปันผลมาบวกกับ -1500 ที่จ่ายไปครับ

:mrgreen:
เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาคือของจริง
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิธีการวัดผลพอร์ตหุ้น

โพสต์ที่ 3

โพสต์

sutthipat
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 34
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิธีการวัดผลพอร์ตหุ้น

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณครับ
Factor_9
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 411
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิธีการวัดผลพอร์ตหุ้น

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ถ้าเราขายหุ้นA แล้วไปซื้อหุ้น B ระหว่างปีถือเป็นต้นทุนไหมครับ
stay calm stay invest
zephyr
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 962
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิธีการวัดผลพอร์ตหุ้น

โพสต์ที่ 6

โพสต์

เวสป้า55 เขียน:ถ้าเราขายหุ้นA แล้วไปซื้อหุ้น B ระหว่างปีถือเป็นต้นทุนไหมครับ
เวลาผมคิด ผมคิดรวมทั้ง port ครับ
ต้นทุนคือเงินที่ใส่เข้าไปใหนพอร์ท ดังนั้นไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหุ้นใดๆ ผมไม่ถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงต้นทุนครับ
Factor_9
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 411
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิธีการวัดผลพอร์ตหุ้น

โพสต์ที่ 7

โพสต์

zephyr เขียน:
เวสป้า55 เขียน:ถ้าเราขายหุ้นA แล้วไปซื้อหุ้น B ระหว่างปีถือเป็นต้นทุนไหมครับ
เวลาผมคิด ผมคิดรวมทั้ง port ครับ
ต้นทุนคือเงินที่ใส่เข้าไปใหนพอร์ท ดังนั้นไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหุ้นใดๆ ผมไม่ถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงต้นทุนครับ
ขอบคุณครับ :D
stay calm stay invest
ภาพประจำตัวสมาชิก
PrasertsakK
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 292
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิธีการวัดผลพอร์ตหุ้น

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ผมคิดว่าการนำกำไรทั้งปี หารด้วยต้นทุนทั้งปีนั้น ดูจะเป็นการวัดที่ไม่ค่อย fair เท่าไร เช่น ถ้าเราเติมเงินเดือนที่ 11 ไปสัก 100% ของเงินเก่า มันจะทำให้เราได้ผลตอบแทนที่น้อยเกินจริง อย่างตัวอย่าง กำไรทั้งปี เท่ากับ 900 และทุนทั้งปี เท่ากับ 1500 พอหารกันมันจะได้แค่ 60% แต่จริง ๆ แล้วควรจะมากกว่านั้น

ผมคิืดว่าการคำนวนโดยทำให้เป็น NAV น่าจะวัดได้ถูกต้องกว่า
ซึ่งน่าจะได้ประมาณ 71.43% ครับ

ส่วนวิธีคำนวนดูได้จาก blog ผมครับ
http://prasertsakk.blogspot.com/2011/09/how-to.html
แนบไฟล์

http://prasertsakk.blogspot.com/
การลงทุน ความมั่งคั่ง ความสุข มิตรภาพ
dojii
Verified User
โพสต์: 339
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิธีการวัดผลพอร์ตหุ้น

โพสต์ที่ 9

โพสต์

เห็นด้วยกับวิธี NAV ครับ น่าจะใกล้เคียงความจริงมากกว่า
ACME49
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3419
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิธีการวัดผลพอร์ตหุ้น

โพสต์ที่ 10

โพสต์

PrasertsakK เขียน:ผมคิดว่าการนำกำไรทั้งปี หารด้วยต้นทุนทั้งปีนั้น ดูจะเป็นการวัดที่ไม่ค่อย fair เท่าไร เช่น ถ้าเราเติมเงินเดือนที่ 11 ไปสัก 100% ของเงินเก่า มันจะทำให้เราได้ผลตอบแทนที่น้อยเกินจริง อย่างตัวอย่าง กำไรทั้งปี เท่ากับ 900 และทุนทั้งปี เท่ากับ 1500 พอหารกันมันจะได้แค่ 60% แต่จริง ๆ แล้วควรจะมากกว่านั้น

ผมคิืดว่าการคำนวนโดยทำให้เป็น NAV น่าจะวัดได้ถูกต้องกว่า
ซึ่งน่าจะได้ประมาณ 71.43% ครับ

ส่วนวิธีคำนวนดูได้จาก blog ผมครับ
http://prasertsakk.blogspot.com/2011/09/how-to.html
ขอบคุณครับ ได้สูตรวิธีคำนวณใหม่แล้ววว ผมว่าโอเคเลยครับ
ในเกมการเงิน อะไรที่ไม่รู้ คือ ความเสี่ยง
sutthipat
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 34
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิธีการวัดผลพอร์ตหุ้น

โพสต์ที่ 11

โพสต์

PrasertsakK เขียน:ผมคิดว่าการนำกำไรทั้งปี หารด้วยต้นทุนทั้งปีนั้น ดูจะเป็นการวัดที่ไม่ค่อย fair เท่าไร เช่น ถ้าเราเติมเงินเดือนที่ 11 ไปสัก 100% ของเงินเก่า มันจะทำให้เราได้ผลตอบแทนที่น้อยเกินจริง อย่างตัวอย่าง กำไรทั้งปี เท่ากับ 900 และทุนทั้งปี เท่ากับ 1500 พอหารกันมันจะได้แค่ 60% แต่จริง ๆ แล้วควรจะมากกว่านั้น

ผมคิืดว่าการคำนวนโดยทำให้เป็น NAV น่าจะวัดได้ถูกต้องกว่า
ซึ่งน่าจะได้ประมาณ 71.43% ครับ

ส่วนวิธีคำนวนดูได้จาก blog ผมครับ
http://prasertsakk.blogspot.com/2011/09/how-to.html
ขอบคุณครับ เป็นแนวความคิดที่ดีเลย
ภาพประจำตัวสมาชิก
workart
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 313
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิธีการวัดผลพอร์ตหุ้น

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ผมซัดแบบดื้อๆเลยละครับ คือ กำไร - ทุน เลยอะครับ
ปกติใส่เงินเพิ่มทุกเดือนซะด้วยสิ :8)
ความรู้เรายังด้อยเร่งศึกษา >-<"
ภาพประจำตัวสมาชิก
simplelife
Verified User
โพสต์: 756
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิธีการวัดผลพอร์ตหุ้น

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ใช้ excel คิด XIRR แบบเอา cash flow มาคิด ถ้าเราเติมเงินเข้าพอร์ตเป็น (-) ถ้าเราเอาเงินออก (เช่นรับปันผล) ก็มาร์กเป็น (+) และเอาวันที่ปลายปีเป็นมูลค่าพอร์ตเป็นบรรทัดล่างสุดเป็นบวก โดยบรรทัดบนสุดเป็นมูลค่าเมื่อปลายปีที่แล้วเป็น (-) นี่น่าจะง่ายที่สุดและถูกต้องที่สุดแล้ว

DDM ก็คิดแบบนี้เลย เป็น valuation แบบง่ายที่สุดแบบนึง น่าจะลองทำดูก่อนที่จะซื้อหุ้นซะอีกครับ
"I believe what I said yesterday. I don't know what I said, but I know what I think... and I assume it's what I said." -- Donald Rumsfeld
ภาพประจำตัวสมาชิก
PrasertsakK
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 292
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิธีการวัดผลพอร์ตหุ้น

โพสต์ที่ 14

โพสต์

simplelife เขียน:ใช้ excel คิด XIRR แบบเอา cash flow มาคิด ถ้าเราเติมเงินเข้าพอร์ตเป็น (-) ถ้าเราเอาเงินออก (เช่นรับปันผล) ก็มาร์กเป็น (+) และเอาวันที่ปลายปีเป็นมูลค่าพอร์ตเป็นบรรทัดล่างสุดเป็นบวก โดยบรรทัดบนสุดเป็นมูลค่าเมื่อปลายปีที่แล้วเป็น (-) นี่น่าจะง่ายที่สุดและถูกต้องที่สุดแล้ว

DDM ก็คิดแบบนี้เลย เป็น valuation แบบง่ายที่สุดแบบนึง น่าจะลองทำดูก่อนที่จะซื้อหุ้นซะอีกครับ
** ขออนุญาติคุณ simplelife อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ XIRR ครับ

การใช้ XIRR เป็นฟังก์ชั่นหาอัตราผลตอบแทนโดยเฉลี่ยตามคาบเวลาที่ไม่มีความสม่ำเสมอซึ่งจะเป็นการหาผลตอบแทนเฉลี่ยตามช่วงเวลาที่เราสนใจ 2 จุด วิธีนี้ก็มีข้อดีตรงที่วิธีนี้สามารถคำนวนผลตอบโดยหักส่วนที่เป็นปั่นผลออกมาได้ ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เห็นภาพของการเติบโตของพอร์ทหุ้นที่เราถือได้ชัดเจนมาก แต่ในความเห็นของผม วิธีนี้น่าจะเหมาะกับนักลงทุนหุ้น 100% หรือ วัดแค่ผลงานการลงทุนเฉพาะหุ้น โดยไม่จำเป็นที่จะดูภาพรวมๆ

วิธีการนี้อาจจะได้ผลลัพย์ที่แตกต่างจากการใช้NAVบางเพราะว่าเป็นการหาค่าเฉลี่ยครับ อย่างตัวอย่างที่คุณ sutthipat ยกขึ้นมาเมื่อใช้ XIRR จะได้ค่า 73.92% ซึ่งแตกต่างกับการใช้ NAV ที่ผมเสนอไปอยู่เล็กน้อยครับ ส่วนวิธีการไหนจะถูกต้องกว่ากันผมว่าคงไม่ได้สำคัญอะไร เพราะว่า ผมคิดว่าสิ่งสำคัญที่สุดในการลงทุนนั้นไม่ใช่ผลตอบแทน แต่เป็นวิถีที่เราเดินครับ ส่วนผลตอบแทนที่ได้เป็นแค่รางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการเดินทางครับ

สุดท้ายปีใหม่นี้ ขอให้ทุกคนลงทุนอย่างมีสติครับ

PS: สำหรับคนที่สนใจวิธีการคำนวนโดยใช้ XIRR ผมลองทำวิธีไว้ ยังไงก็ลองมาอ่านนะครับ
http://www.thorfun.com/story/view/UOEgd67rWYdjABsG
แนบไฟล์

http://prasertsakk.blogspot.com/
การลงทุน ความมั่งคั่ง ความสุข มิตรภาพ
Sataporn_k
Verified User
โพสต์: 64
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิธีการวัดผลพอร์ตหุ้น

โพสต์ที่ 15

โพสต์

สงสัยในส่วนของ XIRR ครับ ในกรณีที่เราได้เงินปันผลมา แล้วเราเอาเงินปันผลนั้นไป reinvest ทั้งก้อนทันที แบบนี้เราต้องใส่ข้อมูลแบบไหนเหรอครับ
Life is Beautiful ...
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิธีการวัดผลพอร์ตหุ้น

โพสต์ที่ 16

โพสต์

เริ่มตอนปันผลออกมาก่อนนะครับ
สมมติได้ปันผลจากหุ้นตัวหนึ่ง 50,000 บาท
ผมว่ามันมีแนวคิดเป็นได้ 2 แนว

1.จะเอาไปคำนวณ ถือเป็นผลการลงทุนนรอบปีที่ผ่านมา
(ก็ถือเป็นผลผลิตจากการทำงานหนักของปีที่ผ่านมานี่ ถือเป็น Return ส่วนหนึ่งของปีแล้วสิ)

19/4/2556 +50,000 ได้รับปันผล 50,000 บาท CF บวก เงินงอก

จับไปใส่ตารางของปีแล้ว ทำให้ผลประกอบการ (พอร์ตของเรา) ปีที่แล้วจะดีขึ้นกว่าที่เห็นตอน 31 ธันวา 2555


2. หรือจะมองว่าเป็น Cash inflow กำเนิดปีนี้
(เพราะตอนจ่ายปันผล Retain Earning ออกมา ทำให้มูลค่ากิจการ dilute เห็นผลปีใหม่นี้ ชาวบ้านมาตื่นทิ้งหุ้นวันปันผล กระทบปีแล้วซะเมื่อไหร่ หุ้นเรานั้นยังถืออยู่ราคามันลดแต่เราได้เงินปันผลมาทดแทนมันก็ต้องชดเชยกันสิ)

แล้วแต่แต่ละคนจะมองด้วยเหตุผลไหน ตามที่ให้ไว้ในวงเล็บ
แต่ส่วนตัว ผมใช้ข้อ 2 เพราะถ้าใช้ขอ้ 1 กว่าจะรู้ผล มันก็มักจะเดือน 4 มาแล้ว


ถ้าเริ่มต้นนับใหม่สำหรับเงินก้อนนี้ก็เอามาตั้งต้นเลย เอาไปรวมกับหุ้นอื่น ที่คำนวณกันมาตั้งแต่ 1 มกรา

19/4/2556 +50,000 ->>>> ได้รับปันผล 5,000 บาท CF บวก เงินงอก ออกมาจากหุ้น ABC
...
...
...
25/4/2556 -50,000 ->>>> ปันผลออกจากกระเป๋า 50,000 บาท หรือ CF ลบ เงินออกไปลงทุนในหุ้น ABC reinvest ในหุ้นเดิม หรือหุ้นตัวใหม่ DEF ก็แล้วแต่
31/12/2556 +73,523 ->>>> ปันผลก้อนนี้กลายเป็น 73,523 บาท ถึงแม้ยังไม่ได้ขายออก แต่ก็ได้ตัวเลขวัดผลประจำปีสำหรับเงินที่ลงทุนก้อนนี้



ไม่ไรู้ว่าผมอธิบายชัดรึเปล่าครับ ยังไงลองดูว่าเข้าใจรึเปล่า


สวัสดีปีใหม่ 1 มกรา 2556 ครับ
amornd
Verified User
โพสต์: 385
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิธีการวัดผลพอร์ตหุ้น

โพสต์ที่ 17

โพสต์

เคยอ่านวิธีวัดผลใน pantip มีอีกวิธีนึง คือ GTWR (สูตร GEOMEAN) แต่ผมจำไม่ได้ละ เหมือนจะแม่นกว่า XIRR นะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
PrasertsakK
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 292
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิธีการวัดผลพอร์ตหุ้น

โพสต์ที่ 18

โพสต์

Sataporn_k เขียน:สงสัยในส่วนของ XIRR ครับ ในกรณีที่เราได้เงินปันผลมา แล้วเราเอาเงินปันผลนั้นไป reinvest ทั้งก้อนทันที แบบนี้เราต้องใส่ข้อมูลแบบไหนเหรอครับ
ไม่ต้องใส่ขข้อมูลในตารางเลยครับ เพราะส่วนของปันผลที่ทำการreinvest จะไปอยู่ในบรรทัดสุดท้ายในส่วนมูลค่าพอร์ทครับ
http://prasertsakk.blogspot.com/
การลงทุน ความมั่งคั่ง ความสุข มิตรภาพ
Sataporn_k
Verified User
โพสต์: 64
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิธีการวัดผลพอร์ตหุ้น

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ขอบคุณครับ คุณ Ii'8N, คุณ PrasertsakK
พอเข้าใจแล้วครับ ^^
Life is Beautiful ...
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิธีการวัดผลพอร์ตหุ้น

โพสต์ที่ 20

โพสต์

ตามที่คุณ PrasertsakK ว่ามันหลักการจริงแบบนั้นเลย
เพราะเมื่อ cash inflow - cash outflow ความจริงมันหักล้างกัน

แต่ในทางปฏิบัติ มันมักจะเกิดข้อกังขา และค้างคาใจ เพราะ

- จะเกิดเหตุการณ์นี้แน่ๆ คือ ตัวเลขปันผลที่ได้ จะไม่เท่ากับที่ reinvest
เพราะหุ้นมีหลากหลายราคาตาม step และมีเศษจาก commission

- บางที เราแบ่งเงิน reinvest แค่บางส่วน บางส่วนเราดึงไปใช้จ่ายอย่างอื่นก่อน กว่้าจะเอามา reinvest อีกทีลืมไปแล้ว กลายเป็นเงินอื่นไปแล้ว

- บางที เงิน reinvest ไม่ได้เท่าจำนวนหุ้นจะซื้อจริง จึงเป็นแค่บางส่วน บางส่วนเราเอาเงินอื่นมาซื้อ หรือบางที ก็รวมกับปันผลอื่น ที่ออกไม่พร้อมกัน

บางที อาจทิ้งห่างกันเป็นเดือน ยิ่งเรารอจังหวะซื้อเด็ดๆ หลายเดือนก็มี ค่า XIRR วัดผลที่ได้ที่ได้จะต่างกัน กับการลงมือซื้อทันทีวันที่ได้ปันผล
ถ้าวันห่างน้อย ไม่แตกต่างมาก


ส่วนตัวของผม เลยแยกรายการ ไม่ให้ค้างคาใจ
จะเห็นทั้งตอนแหล่งเงินเข้ามา (cash inflow) และการออกไปใช้ลงทุน (cash outflow) แยกการซื้อแต่ละครั้ง ของหุ้นแต่ละตัว
ตอนซื้อก็เป็นการ recheck ด้วย ว่าที่เห็นใน web ตอน broker คำนวณให้เรา และหักค่้า comm เรา มีอะไรพลาดไปหรือเปล่า

เหมือนลงบัญชีปันผลไปแล้ว ปิดรายการ 1 item
แล้วเปิดรายบัญชีการซื้อเป็น item รายการใหม่
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: วิธีการวัดผลพอร์ตหุ้น

โพสต์ที่ 21

โพสต์

amornd เขียน:เคยอ่านวิธีวัดผลใน pantip มีอีกวิธีนึง คือ GTWR (สูตร GEOMEAN) แต่ผมจำไม่ได้ละ เหมือนจะแม่นกว่า XIRR นะครับ
ถ้าไปดูตาม search นี้



คนที่เขียนใน pantip ก็อยู่ใน Thai VI นี้ด้วยครับ
ที่จริงไม่ได้มีใครฟันธงว่าแม่นกว่า แต่เป็นการวัดอีกวิธี อีก domain หนึ่ง

มี 3 หลักแนวคิด XIRR ก็เป็นหนึ่งในแนวนั้น



http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=45776
GeneraX เขียน:การคำนวนผลตอบแทนแบบฉบับของผู้จัดการกองทุนแล้วหลักๆมี 3 วิธีครับ
1. Holding Period Return
2. Dollar-Weighted Return
3. Time-Weighted Return

โดยการคำนวนแบบ XIRR ของคุณ VI Wannabe และของคุณ Ii'8N ก็คือหลักการเดียวกับ Dollar-Weighted Return นั่นเองครับ แต่วิธีที่ผมใช้เป็นหลักนั้นคือ Time-Weighted Return ครับ ทีนี้เรามาดูว่าในแต่ละวิธีนั้นต่างกันอย่างไร มีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร และในสถานการณ์ไหนวิธีไหนเหมาะสมกว่า :lol:

ก่อนที่ผมจะเริ่มขอทำความตกลงเกี่ยวกับassumptionการคำนวนซักเล็กน้อยนะครับ เพื่อความเข้าใจตรงกัน

1. มูลค่าของ portfolio คือการรวมมูลค่าของสินทรัพย์ทุกชนิด รวมถึงเงินสด ด้วยนะครับ... เช่นในพอร์ตมีหุ้น 50,000 บาท เงินสด 150,000 บาท ในกรณีนี้ มูลค่าพอร์ตคือ 50,000+150,000 = 200,000 นะครับ

2. การซื้อและขายหุ้นในพอร์ต ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเงินลงทุน หรือ เปลี่ยนแปลงมูลค่าพอร์ตครับ

3. ผลตอบแทนจากการลงทุนคือรวมผลตอบแทนทั้งจาก (1) Capital gain (การเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น) และ (2) Income (เช่น เงินปันผล, ดอกเบี้ย) ครับ

1. Holding Period Return

HPR = (V1/V0)-1 หรือ (V1-V0)/V0

โดย V คือมูลค่าของพอร์ตการลงทุน (V1= ปลายปี V0 = ต้นปี) ซึ่งรวมถึงผลตอบแทนทั้งจาก นะครับ

HPR คือการคำนวนผลตอบแทนที่ง่ายแต่หยายที่สุดครับ สิ่งที่ HPR บอกเราก็คือผลตอบแทนจากการลงทุนในช่วงระยะเวลาหนึ่งจากการหา Percentage Change ของมูลค่าพอร์ตนั่นเองครับ

ข้อจำกัดของ HPR ก็คือ...

มันสามารถใช้ได้แม่นยำกับพอร์ตที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนเท่านั้นครับ ถ้าพอร์ตนั้นมีการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนเช่น มีการฝากเงินเพิ่มเข้าไปในพอร์ตและมีการถอนเงินออกมาในระหว่างปี ถ้าเงินที่ใส่เข้าและออกคิดเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเทียบกับมูลค่าพอร์ต (เช่น มูลค่าพอร์ต 1 ล้าน แต่ใส่และถอนเฉลี่ยแล้วหลักพันแบบนี้ ok ครับ) อยากจะใช้ HPR ก็พอได้ครับ โดยการใช้ (V1/ต้นทุนเฉลี่ยทั้งปี)-1 ได้ครับ แต่จะทำให้ผลตอบแทนที่ได้ bias upward ครับ (คำนวนได้มากกว่าผลตอบแทนที่ได้จริง)

รูป1: ถ้าพอร์ตที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงต้นทุน การคำนวนทั้ง 3 วิธีจะออกมาเหมือนกันครับ
รูปภาพ

รูป2: ถ้ามีการใส่เงินเพิ่มหรือถอนออกในอัตราส่วนที่ไม่มากถ้าเทียบกับมูลค่าพอร์ต การคำนวนด้วย HPR โดยใช้สูตร (V1/ต้นทุนเฉลี่ยทั้งปี)-1 ก็จะให้ผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับผลตอบแทนที่ได้จริงครับ (ในแบบที่ bias upward)
รูปภาพ

2. Dollar-Weighted Return

หลักการและวิธีคำนวนของ DWR นั้นใช้หลักการของ IRR อย่างที่พี่ๆได้ว่าไปนั่นแหละครับ โดยวิธีการคำนวนก็ใช้สูตร XIRR ใน Excel ครับ

ข้อดีของ DWR เหนือ HPR คือ DWR จะคำนวนผลตอบแทนโดย take หลัก Time Value of Money into account ครับ พูดง่ายๆคือนำหลักการทบต้น (compound) เข้ามาคิดด้วยนั่นเอง ซึ่งแบบนี้จะให้ตัวเลขผลตอบแทนที่ตรงกับความเป็นจริงกว่า HPR ครับ

ข้อดีอีกอย่างของ DWR ก็คือ ผลตอบแทนที่คำนวนได้จะสะท้อนความสามารถในการจัดสรรเงินลงทุนตามจังหวะของตลาดด้วยครับ แฮ่ๆอ่านดูแบบนี้อาจจะงงนะครับ ทีนี้ลองฟังตัวอย่างนี้ดูครับ...

ถ้าสมมุติว่า ณ วันนี้คือวันที่ 31/6/2010 เราคิดว่า6เดือนหลังจากนี้ ตลาดจะเป็นขาขึ้น (ขาลง) อย่างชัดเจน เราก็เลยตัดสินใจเพิ่มเงินลงทุนเข้าไปในพอร์ต (ถอนเงินลงทุนออกจากพอร์ต) เดือนละ 200 บาท... ถ้าตลาดเป็นขาขึ้น (ขาลง)จริงๆตามที่เราคาด การคำนวนแบบ DWR จะสะท้อน performance ตรงนี้ออกมาด้วยครับโดยผลตอบแทนที่ได้จะสูงขึ้นกว่าปกติ ในทางกลับกันถ้าตลาดเป็นตรงกันข้ามกับที่คาด ผลตอบแทนที่คำนวนได้จะลดต่ำลงครับ

ปล. ด้วยจากข้อสมมุติฐานที่ (3) ที่ว่าผลตอบแทนของพอร์ตคือรวมทั้ง capital gain และ income ดังนั้นการนำเงินปันผลมา reinvest ผมไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงของเงินสดนะครับ แต่ถือเป็นผลตอบแทนซึ่งจะรวมเข้าไปเป็นส่วนนึงของมูลค่าพอร์ตเลยนะครับ อันนี้ต้องบอกก่อนครับว่าจะแหกกฏของการคำนวนผลตอบแทนแบบที่ Fund Manager ใช้กันครับ เพราะตามหลักการจริงๆแล้ว FM จะนำเงินปันผลที่ได้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงของเงินสดแบบที่พี่ VI Wannabe คำนวนครับ เหตุผลก็คือด้วยหลักการจัดการกองทุนนั้น เงินปันผลที่ได้ถือเป็นเงินได้ที่ "อยู่ภายใต้การตัดสินใจ" ครับ นั่นหมายความว่า เงินปันผลที่ได้ในตอนแรกแล้วนั้นควรเป็นเงินที่จะต้องส่งต่อไปให้ผู้ถือหน่อยลงทุนครับ (ด้วยเหตุผลทางภาษี ซึ่งไม่มีในบ้านเรา) ดังนั้นถ้าจะนำเงินปันผลนั้นใส่กลับเข้ามาในพอร์ต (reinvest) ก็จะถือว่าเงินก้อนนี้คือเงินทุนที่เพิ่มเข้าไปครับ แต่ในการบริหารพอร์ต VI แบบเราๆแล้ว เงินปันผลที่ได้ผมถือว่านำมา reinvested โดยอัตโนมัติครับ ดังนั้นมันจึงไม่ใช่ เงินที่"อยู่ภายใต้การตัดสินใจ"ครับ ดังนั้นผมจึงไม่นำมาเป็นการเคลื่อนไหวของเงินสดให้มัน capture ในการคำนวน DWR ครับ (เข้าใจกันมั้ยอ่า ถ้าพางงก็ขออภัยนะครับ :mrgreen: )

รูป3: จะเห็นว่า DWR จะสูงกว่า TWR ครับเพราะผลตอบแทนที่คำนวนได้จาก DWR จะ reward จากการที่เราเพิ่มเงินเข้าไปในขณะที่ผลตอบแทนเป็นขาขึ้น
รูปภาพ

รูป4: ในขณะเดียวกันถ้า เราใส่เงินเพิ่มเข้าไปในขณะที่ตลาดเป็นขาลง การคำนวนที่ได้จาก DWR จะสะท้อนความผิดพลาดตรงนี้ออกมาด้วยครับ โดยผลตอบแทนที่คำนวนได้จะต่ำกว่า TWR
รูปภาพ

ข้อสังเกตุในรูป 3,4 ก็คือตัวเลขที่ได้จาก HPR นั้นเพี๊ยนได้ใจเลยครับ เพราะสาเหตุจากเงินที่เราฝากเพิ่มไปนั้นมีสัดส่วนที่สูงมากเมื่อเทียบกับมูลค่ารวมของพอร์ตนั่นเอง

3. Time-Weighted Return

TWR นั้นคือการคำนวนผลตอบแทนโดยเอา HPR ของแต่ละ period ย่อยๆมาหาค่าเฉลี่ย geometric mean นั่นเองครับ ซึ่งผลตอบแทนที่ได้จากการคำนวนด้วย geometric mean นั้น ทำให้ตัวเลขที่ได้เป็น compounded return ครับ

วิธีการคำนวน TWR นั้นเราจะต้องหา HPR ของในแต่ละ period ย่อยๆออกมาก่อนครับ โดยความพิเศษเหนือ HPR ปกติก็คือ เราจะหัก/เพิ่มเงินที่เราฝาก/ถอน ระหว่าง period ย่อยๆนั้นออกจากมูลค่าของพอร์ตก่อนครับ หลังจากนั้นให้หา geometric average ของ HPR ในแต่ละ period ครับ (เพิ่มความไม่งง ผมขอเรียกว่า HPRx นะครับ)

โดยสูตรที่ใช้คือ TWR =(GEOMEAN(HPRx0:HPRx1))-1 ;ในขณะที่ HPRxi = (V1-เงินฝากเพิ่ม+เงินถอนออก)/V0

ในกรณีที่ไม่มีการเพิ่มหรือถอนเงินออกจากพอร์ตลงทุน หรือมีการเพิ่ม/ถอนเงินลงทุนในขณะที่ทิศทางตลาดไม่มีความเคลื่อนไหวที่ correlate กับการเคลื่อนไหวของเงินต้น ผลที่ได้จากการคำนวน DWR และ TWR ควรจะเท่ากันครับ (ดูจากรูป 1 และ 2 ได้ครับ) โดยถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเงินลงทุนระหว่างวด ผลต่างทีได้ระหว่าง DWR และ TWR ก็จะเป็นไปตามที่ผมอธิบายไปแล้วในส่วนของ DWR ด้านบน (รูป3, 4)ครับ

ด้วยสาเหตุนี้ทำให้ข้อดีของ TWR ก็คือ ผลตอบแทนที่คำนวนได้จะไม่นำความสามารถในการ allocate เงินทุนเมือเทียบกับ performance ของตลาดนั่นเองครับ ... บางคนอาจะสงสัยว่าแล้วทำไมเราถึงไม่อยากเอาตรงนี้มาคิดล่ะ ในเมื่อถ้าตลาดดีเราใส่เงินเพิ่ม หรือตลาดแย่เราถอนเงินออกเราก็น่าจะได้รางวัลตรงนั้นด้วยนี่นา :?: คำตอบก็คือ ถ้าผมเป็นมนุษย์เงินเดือนแล้วผมจะแบ่งเงินเดือน 50% เข้าพอร์ตทุกเดือนๆ ไม่ว่าตลาดจะเป็นอย่างไร ดังนั้นผลตอบแทนที่คำนวนออกมาก็ไม่ควรจะนำทิศทางของตลาดที่มีต่อทิศทางการเพิ่ม/ลดของเงินลงทุนจริงมาคิดมั้ยครับ นี่แหละครับผมถึงนิยมใช้ TWR ในการวัดผลตอบแทนมากกว่าการใช้ DWR ซึ่งอาจจะทำให้ผลตอบแทนที่คำนวนได้ผันไปตามทิศทางของตลาดเมื่อเทียบกับการเพิ่มหรือถอนเงินลงทุนของเรา ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการที่เราใส่เงินเพิ่มหรือถอนออก ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับการคาดเดาหรือวิเคราะห์ตลาดแม้แต่นิดเดียว



คุณ GeneraX เลยแยกออกมาเป็นอีกกระทู้เลย

http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f ... rr#p754961
วิธีการคำนวนผลตอบแทน Portfolio ตามตำรา Fund Manager


ผมไปค้นดู มีตำราที่สอบ CFA ว่าไว้แบบนี้ด้วยจริงๆ CFA level 1 ก็มีแล้ว
เรื่อง Qantitative Methods
โพสต์โพสต์