300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์ที่ 1
300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800-จับตากิจการเสี่ยง 8,000 แห่ง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 มกราคม 2556 17:32 น.
ศูนย์ข่าวนครราชสีมา- ค่าแรง 300 บาททั้งแผ่นดินแผลงฤทธิ์! ทำ รง.โคราชเจ๊งปิดตัวแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้างกว่า 800 คน เผยส่วนใหญ่เป็นกิจการการ์เมนต์-รองเท้า และรายใหญ่ล่าสุดเป็น รง.อิเล็กทรอนิกส์ ระบุส่วนใหญ่ทยอยปลดพนักงานไปก่อนหน้านี้ สั่งจับตากิจการเสี่ยงน่าเป็นห่วงทั้งจังหวัดกว่า 8,000 แห่ง มีลูกจ้างรวม 7.5 หมื่นคน
วันนี้ (3 ม.ค.) นางอัษฎาลักษณ์ อินทรกําแหง ณ ราชสีมา สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยถึงผลกระทบจากนโยบายการปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศ มีผลบังคับใช้ 1 ม.ค.ที่ผ่านมาว่า จากการลงพื้นที่สำรวจสถานประกอบการ จ.นครราชสีมาล่าสุดเมื่อวานนี้ พบว่าสถานประกอบการหลายแห่งทั้งโรงงานอุตสาหกรรม และห้างสรรพสินค้าท้องถิ่น รวมถึงร้านค้าย่อยส่วนใหญ่ต่างให้ความร่วมมือในการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท
พร้อมกันนี้ทางสำนักงานฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจโรงงานอุตสาหกรรม และกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กในตัวเมืองนครราชสีมาเพื่อหาข้อมูลที่แท้จริง และรับฟังผลกระทบปัญหาของผู้ประกอบการจากผลกระทบดังกล่าว
จากการสำรวจดังกล่าวพบว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่นำเสนอคือ ต้องการให้รัฐบาลมีมาตรการที่ชัดเจนในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ เนื่องจากต้องแบกรับภาระค่าแรงที่ปรับเพิ่มขึ้นสูงมาก และต้องการให้ลูกจ้างมีการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อให้ชิ้นงานออกมามีคุณภาพและเพิ่มจำนวนมากขึ้น
นางอัษฎาลักษณ์กล่าวต่อว่า ปีที่ผ่านมาทางสำนักงานฯ ได้จัดประชุมทำความเข้าใจกับผู้ประกอบกิจการมาโดยตลอดเพื่อให้มีการปรับตัวพร้อมรับกับการขึ้นค่าจ้างเป็น 300 บาท ซึ่งในช่วงปลายปี 2555 ที่ผ่านมามีกิจการที่ทนแบกรับภาระค่าแรงที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ ประกอบกับคำสั่งซื้อสินค้าจากตลาดต่างประเทศลดลง ได้ทยอยปลดพนักงานครั้งละ 100-200 คน และในที่สุดก็ปิดกิจการไป จากข้อมูลพบว่ามีโรงงานที่ปิดตัวไปก่อนสิ้นปี 2555 รวม ประมาณ 5-6 แห่ง มีลูกจ้างถูกเลิกจ้างกว่า 800 คน โดยเป็นกิจการประเภทการ์เมนต์, ผลิตรองเท้า, ผลิตเสื้อผ้าเด็กอ่อน และโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.พิมาย, อ.ด่านขุนทด, อ.ปักธงชัย และ อ.เมืองนครราชสีมา ซึ่งผู้ประกอบการยินดีจ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามที่กฎหมายกำหนด ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
“ในจำนวนนี้มีกิจการขนาดใหญ่ที่ปิดตัวไปล่าสุดเมื่อวันที่ 28 ธ.ค.ที่ผ่านมา คือ บริษัทโคราช-เดนกิ จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา โดยเลิกจ้างในล็อตสุดท้ายนี้กว่า 600 คน หลังจากได้ทยอยปลดพนักงานมาอย่างต่อเนื่อง” นางอัษฎาลักษณ์กล่าว
นางอัษฎาลักษณ์กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน จ.นครราชสีมามีสถานประกอบกิจการประเภทอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งสิ้นจำนวน 8,452 แห่ง มีลูกจ้างทั้งหมดรวม 207,725 คน โดยสถานประกอบกิจการกลุ่มเป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการปรับค่าจ้าง 300 บาท นั้นแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสถานประกอบกิจการที่จ้างแรงงานตั้งแต่ 1-99 คน กลุ่มนี้ถือว่าเป็นกิจการที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด ซึ่งเป็นกิจการประเภทธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีก โรงแรม การ์เมนต์ ร้านค้า ร้านอาหาร ผลิตเสื้อผ้า และรองเท้า มีจำนวนทั้งสิ้น 8,190 แห่ง มีลูกจ้างรวม 75,173 คน
ส่วนกลุ่มที่ 2 คือ สถานประกอบกิจการมีลูกจ้างตั้งแต่ 99 คนขึ้นไป มีจำนวน 262 แห่ง ซึ่งเป็นกิจการขนาดใหญ่ ประเภทผลิตชิ้นอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ การเกษตร และ การขนส่ง เป็นต้น มีลูกจ้างทั้งสิ้น 132,552 คน กลุ่มนี้มีความเสี่ยงน้อยกว่ากลุ่มแรก แต่ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจการผลิต และตลาดส่งออกด้วย หากเป็นตลาดแถบยุโรปอาจมีปัญหาเรื่องออเดอร์ ถือเป็นกิจการที่น่าห่วงเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจและออกแบบสอบถามผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังยืนยันที่จะประคับประคองกิจการให้เดินหน้าต่อไปให้ได้ แม้มีการปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทก็ตาม
“สำหรับการให้ความช่วยเหลือนั้น ทางสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครราชสีมาได้จัดทีมที่ปรึกษาไปพบเจ้าของสถานประกอบกิจการเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจ โดยเสนอแนวทางการปรับตัวให้อยู่รอดในสภาวะการแข่งขันทางธุรกิจที่เข้มข้น และการขึ้นอัตราจ้าง 300 บาท โดยนายจ้างต้องปรับตัวด้วยการลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่ไม่จำเป็นลง รวมทั้งลูกจ้างต้องพัฒนาทักษะ ฝีมือ และมีวินัยในการทำงานเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน และทางสำนักงานฯ พร้อมเข้าไปช่วยเหลือพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีประสิทธิภาพ โดยผู้ประกอบกิจการสามารถร้องขอเข้ามาได้” นางอัษฎาลักษณ์กล่าวในตอนท้าย
http://manager.co.th/lite/ViewNews.aspx ... 0000000803
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 มกราคม 2556 17:32 น.
ศูนย์ข่าวนครราชสีมา- ค่าแรง 300 บาททั้งแผ่นดินแผลงฤทธิ์! ทำ รง.โคราชเจ๊งปิดตัวแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้างกว่า 800 คน เผยส่วนใหญ่เป็นกิจการการ์เมนต์-รองเท้า และรายใหญ่ล่าสุดเป็น รง.อิเล็กทรอนิกส์ ระบุส่วนใหญ่ทยอยปลดพนักงานไปก่อนหน้านี้ สั่งจับตากิจการเสี่ยงน่าเป็นห่วงทั้งจังหวัดกว่า 8,000 แห่ง มีลูกจ้างรวม 7.5 หมื่นคน
วันนี้ (3 ม.ค.) นางอัษฎาลักษณ์ อินทรกําแหง ณ ราชสีมา สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยถึงผลกระทบจากนโยบายการปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศ มีผลบังคับใช้ 1 ม.ค.ที่ผ่านมาว่า จากการลงพื้นที่สำรวจสถานประกอบการ จ.นครราชสีมาล่าสุดเมื่อวานนี้ พบว่าสถานประกอบการหลายแห่งทั้งโรงงานอุตสาหกรรม และห้างสรรพสินค้าท้องถิ่น รวมถึงร้านค้าย่อยส่วนใหญ่ต่างให้ความร่วมมือในการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท
พร้อมกันนี้ทางสำนักงานฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจโรงงานอุตสาหกรรม และกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กในตัวเมืองนครราชสีมาเพื่อหาข้อมูลที่แท้จริง และรับฟังผลกระทบปัญหาของผู้ประกอบการจากผลกระทบดังกล่าว
จากการสำรวจดังกล่าวพบว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่นำเสนอคือ ต้องการให้รัฐบาลมีมาตรการที่ชัดเจนในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ เนื่องจากต้องแบกรับภาระค่าแรงที่ปรับเพิ่มขึ้นสูงมาก และต้องการให้ลูกจ้างมีการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อให้ชิ้นงานออกมามีคุณภาพและเพิ่มจำนวนมากขึ้น
นางอัษฎาลักษณ์กล่าวต่อว่า ปีที่ผ่านมาทางสำนักงานฯ ได้จัดประชุมทำความเข้าใจกับผู้ประกอบกิจการมาโดยตลอดเพื่อให้มีการปรับตัวพร้อมรับกับการขึ้นค่าจ้างเป็น 300 บาท ซึ่งในช่วงปลายปี 2555 ที่ผ่านมามีกิจการที่ทนแบกรับภาระค่าแรงที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ ประกอบกับคำสั่งซื้อสินค้าจากตลาดต่างประเทศลดลง ได้ทยอยปลดพนักงานครั้งละ 100-200 คน และในที่สุดก็ปิดกิจการไป จากข้อมูลพบว่ามีโรงงานที่ปิดตัวไปก่อนสิ้นปี 2555 รวม ประมาณ 5-6 แห่ง มีลูกจ้างถูกเลิกจ้างกว่า 800 คน โดยเป็นกิจการประเภทการ์เมนต์, ผลิตรองเท้า, ผลิตเสื้อผ้าเด็กอ่อน และโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.พิมาย, อ.ด่านขุนทด, อ.ปักธงชัย และ อ.เมืองนครราชสีมา ซึ่งผู้ประกอบการยินดีจ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามที่กฎหมายกำหนด ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
“ในจำนวนนี้มีกิจการขนาดใหญ่ที่ปิดตัวไปล่าสุดเมื่อวันที่ 28 ธ.ค.ที่ผ่านมา คือ บริษัทโคราช-เดนกิ จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา โดยเลิกจ้างในล็อตสุดท้ายนี้กว่า 600 คน หลังจากได้ทยอยปลดพนักงานมาอย่างต่อเนื่อง” นางอัษฎาลักษณ์กล่าว
นางอัษฎาลักษณ์กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน จ.นครราชสีมามีสถานประกอบกิจการประเภทอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งสิ้นจำนวน 8,452 แห่ง มีลูกจ้างทั้งหมดรวม 207,725 คน โดยสถานประกอบกิจการกลุ่มเป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการปรับค่าจ้าง 300 บาท นั้นแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสถานประกอบกิจการที่จ้างแรงงานตั้งแต่ 1-99 คน กลุ่มนี้ถือว่าเป็นกิจการที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด ซึ่งเป็นกิจการประเภทธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีก โรงแรม การ์เมนต์ ร้านค้า ร้านอาหาร ผลิตเสื้อผ้า และรองเท้า มีจำนวนทั้งสิ้น 8,190 แห่ง มีลูกจ้างรวม 75,173 คน
ส่วนกลุ่มที่ 2 คือ สถานประกอบกิจการมีลูกจ้างตั้งแต่ 99 คนขึ้นไป มีจำนวน 262 แห่ง ซึ่งเป็นกิจการขนาดใหญ่ ประเภทผลิตชิ้นอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ การเกษตร และ การขนส่ง เป็นต้น มีลูกจ้างทั้งสิ้น 132,552 คน กลุ่มนี้มีความเสี่ยงน้อยกว่ากลุ่มแรก แต่ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจการผลิต และตลาดส่งออกด้วย หากเป็นตลาดแถบยุโรปอาจมีปัญหาเรื่องออเดอร์ ถือเป็นกิจการที่น่าห่วงเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจและออกแบบสอบถามผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังยืนยันที่จะประคับประคองกิจการให้เดินหน้าต่อไปให้ได้ แม้มีการปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทก็ตาม
“สำหรับการให้ความช่วยเหลือนั้น ทางสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครราชสีมาได้จัดทีมที่ปรึกษาไปพบเจ้าของสถานประกอบกิจการเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจ โดยเสนอแนวทางการปรับตัวให้อยู่รอดในสภาวะการแข่งขันทางธุรกิจที่เข้มข้น และการขึ้นอัตราจ้าง 300 บาท โดยนายจ้างต้องปรับตัวด้วยการลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่ไม่จำเป็นลง รวมทั้งลูกจ้างต้องพัฒนาทักษะ ฝีมือ และมีวินัยในการทำงานเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน และทางสำนักงานฯ พร้อมเข้าไปช่วยเหลือพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีประสิทธิภาพ โดยผู้ประกอบกิจการสามารถร้องขอเข้ามาได้” นางอัษฎาลักษณ์กล่าวในตอนท้าย
http://manager.co.th/lite/ViewNews.aspx ... 0000000803
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์ที่ 2
“เซรามิกลำปาง” อ่วมเจอ 2 เด้ง ค่าแรง 300 บาท-แอลพีจีราคาพุ่ง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 มกราคม 2556 18:06 น.
ลำปาง - โรงงานในลำปางเริ่มได้รับผลกระทบจากค่าแรง 300 บาท แถมราคาแก๊สเพิ่มสูงขึ้น กลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิกบางแห่งปิดกิจการแล้ว คาดกลางเดือนนี้เห็นผลร้ายชัด
วันนี้ (3 ม.ค.) น.ส.สุปราณี ศิริอาภานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง เปิดเผยว่า หลังปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทในวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นการซ้ำเติมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในภูมิภาคอย่างมากเพราะโยนภาระมาให้ เนื่องจากที่ผ่านมาก็มีปัญหาการปรับขึ้นราคาแก๊สแอลพีจีแบบต่อเนื่องมาแล้ว ยังมาเจอเรื่องค่าแรงอีกถือว่าเจอศึกหนักสองเท่า โดยโรงงานขนาดเล็กที่มีทุนน้อยปิดตัวไปบางส่วนแล้ว ประมาณกลางเดือนนี้คงจะเห็นการว่างงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพนักงานในโรงงานเซรามิก ซึ่งมีกว่าหมื่นคนอาจได้รับผลกระทบเนื่องจากโรงงานทนแบกรับภาระไม่ไหว
นายพนาสิน ธนบดีสกุล เจ้าของบริษัท ธนบดีอาร์ตเซรามิค จำกัด โรงงานเซรามิกขนาดใหญ่ กล่าวว่า ปีนี้ทุกโรงงานต้องแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นทุกแห่ง ซึ่งขณะนี้โรงงานขนาดเล็กถึงกลางหลายโรงงานที่ทุนน้อยและไม่มีลูกค้าประจำได้ปิดตัวไปแล้ว ส่วนโรงงานใหญ่ที่มีลูกค้าประจำ และกว่า 70% ส่งออกต่างประเทศก็ต้องหาทางลดต้นทุน แต่ไม่เลือกการปลดพนักงาน เพียงแต่จะไม่รับพนักงานเพิ่มหากมีการลาออก ขึ้นราคาสินค้าอย่างน้อย 10% รวมถึงหาเครื่องจักรมาทำงานแทน หาวัตถุดิบทดแทนวัตถุดิบที่มีราคาสูง แต่ยังคงคุณภาพ และช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วย
“บริษัทเลือกใช้วิธีการเปิดพิพิธภัณฑ์เซรามิกเพื่อสร้างรายได้อีกรูปแบบหนึ่ง โดยเพิ่งทดลองเปิดได้ประมาณหนึ่งเดือนก็ได้รับความสนใจจากประชาชนและนักท่องเที่ยว รวมถึงนักเรียนนักศึกษาเข้ามาขอชมจำนวนมาก โดยจะเปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการวันที่ 15 มกราคมนี้”
นายพนาสินกล่าวว่า ขณะนี้มีหลายโรงงานหันมาใช้วิธีจ้างแบบเหมาจ่ายแทนการคิดเป็นรายวันหรือเงินเดือน โดยคำนึงถึงคุณภาพของงานที่ทำ ความยากง่าย หรือบางแห่งก็ใช้วิธีเหมาแบบนับชิ้น ซึ่งจะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ขณะที่ลูกจ้างก็ไม่สามารถเลือกได้ เพราะหากไม่ยอมก็คงถูกเลิกจ้าง
http://manager.co.th/lite/ViewNews.aspx ... 0000000833
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 มกราคม 2556 18:06 น.
ลำปาง - โรงงานในลำปางเริ่มได้รับผลกระทบจากค่าแรง 300 บาท แถมราคาแก๊สเพิ่มสูงขึ้น กลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิกบางแห่งปิดกิจการแล้ว คาดกลางเดือนนี้เห็นผลร้ายชัด
วันนี้ (3 ม.ค.) น.ส.สุปราณี ศิริอาภานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง เปิดเผยว่า หลังปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทในวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นการซ้ำเติมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในภูมิภาคอย่างมากเพราะโยนภาระมาให้ เนื่องจากที่ผ่านมาก็มีปัญหาการปรับขึ้นราคาแก๊สแอลพีจีแบบต่อเนื่องมาแล้ว ยังมาเจอเรื่องค่าแรงอีกถือว่าเจอศึกหนักสองเท่า โดยโรงงานขนาดเล็กที่มีทุนน้อยปิดตัวไปบางส่วนแล้ว ประมาณกลางเดือนนี้คงจะเห็นการว่างงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพนักงานในโรงงานเซรามิก ซึ่งมีกว่าหมื่นคนอาจได้รับผลกระทบเนื่องจากโรงงานทนแบกรับภาระไม่ไหว
นายพนาสิน ธนบดีสกุล เจ้าของบริษัท ธนบดีอาร์ตเซรามิค จำกัด โรงงานเซรามิกขนาดใหญ่ กล่าวว่า ปีนี้ทุกโรงงานต้องแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นทุกแห่ง ซึ่งขณะนี้โรงงานขนาดเล็กถึงกลางหลายโรงงานที่ทุนน้อยและไม่มีลูกค้าประจำได้ปิดตัวไปแล้ว ส่วนโรงงานใหญ่ที่มีลูกค้าประจำ และกว่า 70% ส่งออกต่างประเทศก็ต้องหาทางลดต้นทุน แต่ไม่เลือกการปลดพนักงาน เพียงแต่จะไม่รับพนักงานเพิ่มหากมีการลาออก ขึ้นราคาสินค้าอย่างน้อย 10% รวมถึงหาเครื่องจักรมาทำงานแทน หาวัตถุดิบทดแทนวัตถุดิบที่มีราคาสูง แต่ยังคงคุณภาพ และช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วย
“บริษัทเลือกใช้วิธีการเปิดพิพิธภัณฑ์เซรามิกเพื่อสร้างรายได้อีกรูปแบบหนึ่ง โดยเพิ่งทดลองเปิดได้ประมาณหนึ่งเดือนก็ได้รับความสนใจจากประชาชนและนักท่องเที่ยว รวมถึงนักเรียนนักศึกษาเข้ามาขอชมจำนวนมาก โดยจะเปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการวันที่ 15 มกราคมนี้”
นายพนาสินกล่าวว่า ขณะนี้มีหลายโรงงานหันมาใช้วิธีจ้างแบบเหมาจ่ายแทนการคิดเป็นรายวันหรือเงินเดือน โดยคำนึงถึงคุณภาพของงานที่ทำ ความยากง่าย หรือบางแห่งก็ใช้วิธีเหมาแบบนับชิ้น ซึ่งจะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ขณะที่ลูกจ้างก็ไม่สามารถเลือกได้ เพราะหากไม่ยอมก็คงถูกเลิกจ้าง
http://manager.co.th/lite/ViewNews.aspx ... 0000000833
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์ที่ 3
ป่วนแน่! ค่าแรง 300 บาททำธุรกิจห้องแถว-เถ้าแก่พิจิตรตัดสวัสดิการเหี้ยน-จ้างเหมาแทน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 มกราคม 2556 18:06 น.
พิจิตร - นโยบายค่าแรง 300 บาทต่อวันทำธุรกิจห้องแถว กิจการครอบครัวเก่าแก่เมืองพิจิตรกระอักกันระนาว กระทบเศรษฐกิจฐานราก ฟันธงทำวิถีนายจ้าง-ลูกจ้างที่อยู่กันแบบครอบครัวมาหลายชั่วอายุคนสิ้นสุด นายจ้างหลายรายเลือกตัดสวัสดิการที่เคยให้หมด บางรายใช้วิธีจ้างเหมาตามหน้างานแทน หลัง “รับไม่ได้” กับนโยบายรัฐ
วันนี้ (3 ม.ค.) นายสุธนต์ เทียนเฮง ประธานหอการค้าจังหวัดพิจิตร เจ้าของธุรกิจร้านสุธนการแว่น ถนนศรีมาลา อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ให้สัมภาษณ์ถึงผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาลภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่า ให้ปรับค่าแรงงานขั้นต่ำให้ลูกจ้างเป็นวันละ 300 บาททั่วประเทศ โดยไม่ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ใช้ฝีมือแรงงาน หรือมาตรฐานขั้นต่ำ ตลอดจนอายุงานเข้าใหม่วันแรกก็จะเอาค่าแรง 300 บาท คนงานเก่าที่ทำงานมา 2-3 ปีเคยได้ค่าแรง 250-270 บาทก็ขอปรับเป็น 300 บาท/วัน กลุ่มนี้ไม่น่าแปลก
นายสุธนต์กล่าวว่า ที่จริงเขาไม่กลัวค่าแรง 300 บาท แต่กลัวจ่ายค่าแรงแล้วได้คุณภาพงานที่ไม่คุ้มกับค่าจ้าง แถมกลัวได้แรงงานที่ไม่มีคุณภาพ แค่เด็กฝึกหัดฝึกงานก็จะเอา 300 บาท ไม่ฟังเหตุผล อ้างอย่างเดียวต้องได้ค่าแรงตามกฎหมายนโยบายของรัฐบาล จึงทำให้ขณะนี้ธุรกิจรายย่อยต้องเดือดร้อนกันถ้วนหน้า และจัดเป็นช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อ ว่าจะอยู่หรือจะไป หรือจะลดขนาดธุรกิจลงและทำกันเฉพาะในครอบครัว พ่อ-แม่-ลูกเท่านั้น
เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นคือ นายจ้างที่เป็นเจ้าของธุรกิจระบบครอบครัวหรือธุรกิจของชาวไทยเชื้อสายจีนที่ทำมาค้าขายมีร้านค้า มีลูกจ้าง 3-5 คน กระจัดกระจายไปตามชุมชนนับหมื่นร้านค้า กลุ่มนี้กลับได้รับผลกระทบมาก ลูกจ้างต่างออกมาเรียกร้องค่าแรงขอ 300 บาท เมื่อเถ้าแก่ให้ไม่ได้โรงงานอุตสาหกรรมที่บริหารแบบตะวันตก คือนายทุนเป็นฝรั่งหรือญี่ปุ่น มีระบบงาน ผู้จัดการฝ่ายบุคคล ผู้จัดการฝ่ายการผลิต ผู้จัดการฝ่ายส่งออก เข้างาน-ออกงาน ตอกบัตรเป็นเวลา มีสวัสดิการคุ้มครองแรงงานก็มาดึงคนงานตามส่วนภูมิภาคหรือธุรกิจตึกแถวที่ถือเป็นฐานเศรษฐกิจของชุมชนไปจนหมดสิ้น
สุดท้ายธุรกิจตึกแถวก็ไปหาว่าจ้างแรงงานต่างชาติ ลาว เขมร พม่า ทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมายมาเป็นลูกจ้าง แถมต้องมาฝึกภาษา มาตรวจสุขภาพ มาฝึกงาน พอพูดไทยได้มีบัตรต่างด้าว นายหน้าก็มาชักชวนหนีเข้ากรุงเทพฯ ไปอยู่โรงงานได้ค่าแรง 300 บาทอีก
ซึ่งขณะนี้เถ้าแก่บางคน เช่น ร้านขายเสื้อผ้า ร้านขายมอเตอร์ไซค์ โชว์รูมรถ ร้านอาหาร ยอมจ่าย 300 บาทแต่ลดคนงาน วางระเบียบเพิ่มงานมากขึ้น ไม่เลี้ยงข้าว ไม่มีสวัสดิการที่พัก หรือถ้าให้ที่พักอยู่ด้วยก็เอามาตีราคา 1,500-2,000 บาทหักสิ้นเดือน จึงทำให้วิถีชีวิต นายจ้าง-ลูกจ้าง ที่อยู่กันแบบพี่แบบน้อง แบบครอบครัว เถ้าแก่กับลูกจ้างกินข้าวหม้อเดียวกันหายไปจากวิถีชีวิตร้านค้าตึกแถวของคนชนบท
ด้านนางวนิดา นิลพงษ์ นายกสมาคมการท่องเที่ยวจังหวัดพิจิตร เจ้าของธุรกิจโรงแรมโอฆะนคร ถนนศรีมาลา อ.เมือง จ.พิจิตร ซึ่งเป็นโรงแรมระดับ 3 ดาว ดำเนินกิจการมา 2 ช่วงอายุคน ปัจจุบันนางวนิดาถือเป็นรุ่นที่ 2 ที่บริหารจัดการแบบระบบครอบครัว มีบ้านพักห้องแถวให้พนักงานอยู่ฟรี มีครัวหุงข้าวให้กิน มีพนักงานประมาณ 40-60 คน ในโรงแรมมีสถานบันเทิงเล็กๆ ครบวงจร กล่าวว่า รับไม่ได้ ตั้งตัวไม่ทันสุดๆ เพราะคนคิดไม่เคยถามคนทำ คนจ่ายเงินเดือนลูกจ้างเลยว่าจะทำได้หรือเปล่า
นางวนิดาบอกว่า พิจิตรเป็นเมืองการเกษตร การท่องเที่ยวไม่เจริญเติบโตเหมือนเมืองอื่นๆ ทำโรงแรมอยู่ได้เพราะบรรพบุรุษได้วางรากฐานไว้ให้ก็ทำสืบต่อกันมา ราคาห้องพักเมื่อสิบกว่าปีก่อน 220-250 บาท ผ่านมาเกือบ 20 ปีขึ้นค่าห้องพักทุกวันนี้ได้แค่ 350 บาท/คืน แถมมีคู่แข่งบ้านพักรายวันผุดขึ้นมาอย่างกับดอกเห็ด มีกฎหมาย กฎระเบียบที่ยิบย่อยมาให้เสียเงินมากมาย ทั้งค่าวิศวกรมาตรวจโรงแรม ค่าทำประกันอัคคีภัย และอะไรต่ออะไรอีกมากมาย ยิ่งตอนนี้มาเจอค่าแรง 300 บาท ปวดหัวจนนอนไม่หลับ
สุดท้ายก็ต้องใช้วิธีเจรจาบอกทุกข์-สุข เล่าความจริงถึงธุรกิจว่าเราจะยังคงอยู่ร่วมกันได้โดยใช้วิธีพบกันครึ่งทาง จึงปรับเปลี่ยนมาเป็นค่าแรงเหมาจ้างทำตามข้อตกลง คือมีงานมากก็ได้เพิ่ม มีแขกเข้าพักน้อยก็มีรายได้ตามการตกลง
http://manager.co.th/Local/ViewNews.asp ... 0000000841
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 มกราคม 2556 18:06 น.
พิจิตร - นโยบายค่าแรง 300 บาทต่อวันทำธุรกิจห้องแถว กิจการครอบครัวเก่าแก่เมืองพิจิตรกระอักกันระนาว กระทบเศรษฐกิจฐานราก ฟันธงทำวิถีนายจ้าง-ลูกจ้างที่อยู่กันแบบครอบครัวมาหลายชั่วอายุคนสิ้นสุด นายจ้างหลายรายเลือกตัดสวัสดิการที่เคยให้หมด บางรายใช้วิธีจ้างเหมาตามหน้างานแทน หลัง “รับไม่ได้” กับนโยบายรัฐ
วันนี้ (3 ม.ค.) นายสุธนต์ เทียนเฮง ประธานหอการค้าจังหวัดพิจิตร เจ้าของธุรกิจร้านสุธนการแว่น ถนนศรีมาลา อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ให้สัมภาษณ์ถึงผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาลภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่า ให้ปรับค่าแรงงานขั้นต่ำให้ลูกจ้างเป็นวันละ 300 บาททั่วประเทศ โดยไม่ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ใช้ฝีมือแรงงาน หรือมาตรฐานขั้นต่ำ ตลอดจนอายุงานเข้าใหม่วันแรกก็จะเอาค่าแรง 300 บาท คนงานเก่าที่ทำงานมา 2-3 ปีเคยได้ค่าแรง 250-270 บาทก็ขอปรับเป็น 300 บาท/วัน กลุ่มนี้ไม่น่าแปลก
นายสุธนต์กล่าวว่า ที่จริงเขาไม่กลัวค่าแรง 300 บาท แต่กลัวจ่ายค่าแรงแล้วได้คุณภาพงานที่ไม่คุ้มกับค่าจ้าง แถมกลัวได้แรงงานที่ไม่มีคุณภาพ แค่เด็กฝึกหัดฝึกงานก็จะเอา 300 บาท ไม่ฟังเหตุผล อ้างอย่างเดียวต้องได้ค่าแรงตามกฎหมายนโยบายของรัฐบาล จึงทำให้ขณะนี้ธุรกิจรายย่อยต้องเดือดร้อนกันถ้วนหน้า และจัดเป็นช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อ ว่าจะอยู่หรือจะไป หรือจะลดขนาดธุรกิจลงและทำกันเฉพาะในครอบครัว พ่อ-แม่-ลูกเท่านั้น
เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นคือ นายจ้างที่เป็นเจ้าของธุรกิจระบบครอบครัวหรือธุรกิจของชาวไทยเชื้อสายจีนที่ทำมาค้าขายมีร้านค้า มีลูกจ้าง 3-5 คน กระจัดกระจายไปตามชุมชนนับหมื่นร้านค้า กลุ่มนี้กลับได้รับผลกระทบมาก ลูกจ้างต่างออกมาเรียกร้องค่าแรงขอ 300 บาท เมื่อเถ้าแก่ให้ไม่ได้โรงงานอุตสาหกรรมที่บริหารแบบตะวันตก คือนายทุนเป็นฝรั่งหรือญี่ปุ่น มีระบบงาน ผู้จัดการฝ่ายบุคคล ผู้จัดการฝ่ายการผลิต ผู้จัดการฝ่ายส่งออก เข้างาน-ออกงาน ตอกบัตรเป็นเวลา มีสวัสดิการคุ้มครองแรงงานก็มาดึงคนงานตามส่วนภูมิภาคหรือธุรกิจตึกแถวที่ถือเป็นฐานเศรษฐกิจของชุมชนไปจนหมดสิ้น
สุดท้ายธุรกิจตึกแถวก็ไปหาว่าจ้างแรงงานต่างชาติ ลาว เขมร พม่า ทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมายมาเป็นลูกจ้าง แถมต้องมาฝึกภาษา มาตรวจสุขภาพ มาฝึกงาน พอพูดไทยได้มีบัตรต่างด้าว นายหน้าก็มาชักชวนหนีเข้ากรุงเทพฯ ไปอยู่โรงงานได้ค่าแรง 300 บาทอีก
ซึ่งขณะนี้เถ้าแก่บางคน เช่น ร้านขายเสื้อผ้า ร้านขายมอเตอร์ไซค์ โชว์รูมรถ ร้านอาหาร ยอมจ่าย 300 บาทแต่ลดคนงาน วางระเบียบเพิ่มงานมากขึ้น ไม่เลี้ยงข้าว ไม่มีสวัสดิการที่พัก หรือถ้าให้ที่พักอยู่ด้วยก็เอามาตีราคา 1,500-2,000 บาทหักสิ้นเดือน จึงทำให้วิถีชีวิต นายจ้าง-ลูกจ้าง ที่อยู่กันแบบพี่แบบน้อง แบบครอบครัว เถ้าแก่กับลูกจ้างกินข้าวหม้อเดียวกันหายไปจากวิถีชีวิตร้านค้าตึกแถวของคนชนบท
ด้านนางวนิดา นิลพงษ์ นายกสมาคมการท่องเที่ยวจังหวัดพิจิตร เจ้าของธุรกิจโรงแรมโอฆะนคร ถนนศรีมาลา อ.เมือง จ.พิจิตร ซึ่งเป็นโรงแรมระดับ 3 ดาว ดำเนินกิจการมา 2 ช่วงอายุคน ปัจจุบันนางวนิดาถือเป็นรุ่นที่ 2 ที่บริหารจัดการแบบระบบครอบครัว มีบ้านพักห้องแถวให้พนักงานอยู่ฟรี มีครัวหุงข้าวให้กิน มีพนักงานประมาณ 40-60 คน ในโรงแรมมีสถานบันเทิงเล็กๆ ครบวงจร กล่าวว่า รับไม่ได้ ตั้งตัวไม่ทันสุดๆ เพราะคนคิดไม่เคยถามคนทำ คนจ่ายเงินเดือนลูกจ้างเลยว่าจะทำได้หรือเปล่า
นางวนิดาบอกว่า พิจิตรเป็นเมืองการเกษตร การท่องเที่ยวไม่เจริญเติบโตเหมือนเมืองอื่นๆ ทำโรงแรมอยู่ได้เพราะบรรพบุรุษได้วางรากฐานไว้ให้ก็ทำสืบต่อกันมา ราคาห้องพักเมื่อสิบกว่าปีก่อน 220-250 บาท ผ่านมาเกือบ 20 ปีขึ้นค่าห้องพักทุกวันนี้ได้แค่ 350 บาท/คืน แถมมีคู่แข่งบ้านพักรายวันผุดขึ้นมาอย่างกับดอกเห็ด มีกฎหมาย กฎระเบียบที่ยิบย่อยมาให้เสียเงินมากมาย ทั้งค่าวิศวกรมาตรวจโรงแรม ค่าทำประกันอัคคีภัย และอะไรต่ออะไรอีกมากมาย ยิ่งตอนนี้มาเจอค่าแรง 300 บาท ปวดหัวจนนอนไม่หลับ
สุดท้ายก็ต้องใช้วิธีเจรจาบอกทุกข์-สุข เล่าความจริงถึงธุรกิจว่าเราจะยังคงอยู่ร่วมกันได้โดยใช้วิธีพบกันครึ่งทาง จึงปรับเปลี่ยนมาเป็นค่าแรงเหมาจ้างทำตามข้อตกลง คือมีงานมากก็ได้เพิ่ม มีแขกเข้าพักน้อยก็มีรายได้ตามการตกลง
http://manager.co.th/Local/ViewNews.asp ... 0000000841
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์ที่ 4
ประธานสภาอุตสาหกรรมนครศรีฯ รับ SME เร่งปรับตัวหลังค่าแรง 300 บาท
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 มกราคม 2556 14:51 น.
นครศรีธรรมราช - ประธานสภาอุตสาหกรรมนครศรีธรรมราช รับ SME ต้องเร่งปรับตัวหลังค่าแรง 300 บาท เตรียมปรับระบบจ้างผลิตเป็นรายชิ้นงาน และปรับการผลิตจากแรงงานคนเป็นเครื่องจักรแทน
วันนี้ (3 ม.ค.) นายยุทธกิจ มานะจิตต์ ประธานสภาอุตสาหกรรมนครศรีธรรมราช ผู้บริหารโรงงานประกอบกิจคอนกรีต ผู้ผลิตท่อ เสาคอนกรีต และแผ่นพื้นสำเร็จรายใหญ่ เปิดเผยว่า ในส่วนของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะมีผลกระทบอย่างมาก เพราะปัจจุบันค่าใช้จ่ายค่าครองชีพขึ้นไปก่อนหน้าที่จะขึ้นค่าแรงเสียด้วยซ้ำ เป็นเพราะการประกาศค่าแรง 300 บาท
ผู้ประกอบการหลายรายกำลังหาวิธีการแก้ปัญหา ผู้ประกอบการหลายรายที่จะต้องปรับเปลี่ยนระบบการจ้างงาน โดยเปลี่ยนเป็นการจ้างเหมาให้มีชิ้นงานเป็นตัวชี้วัดเพื่อให้คุ้มกับค่าใช้จ่าย และอาจแปรสภาพจากเป็นรายเดือนมาเป็นจ้างเหมารายชิ้นเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจเอสเอ็มอี ผู้ประกอบการใหม่ หรือผู้ประกอบการที่มีเป็นจำนวนมาก
“อีกส่วนที่ผู้ประกอบการหลายรายให้ความสนใจคือ การยอมลงทุนด้านเครื่องจักรเพื่อนำมาทดแทนแรงงานคน ในส่วนของสภาอุตสาหกรรมนครศรีธรรมราชพยายามที่จะเสนอไปยังรัฐบาลคือ ต้องปรับในเรื่องของการประกันสังคมที่รัฐบาลจะต้องลดลงแค่ 2 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายจ่ายฝ่ายละ 1 เปอร์เซ็นต์ และในส่วนค่าแรง 300 บาท รัฐบาลต้องชดเชย 75 เปอร์เซ็นต์ ปี 57 เป็น 50 เปอร์เซ็นต์ รัฐบาลต้องเร่งผลักดันและพิจารณาเพราะเป็นความเดือดร้อนที่สำคัญของผู้ผลิตที่เป็นเอสเอ็มอี อีกส่วนคือ ภาษีต่างๆ ต้องลดหย่อนลงมากกว่านี้” ประธานสภาอุตสาหกรรมนครศรีธรรมราชกล่าว
http://manager.co.th/South/ViewNews.asp ... 0000000692
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 มกราคม 2556 14:51 น.
นครศรีธรรมราช - ประธานสภาอุตสาหกรรมนครศรีธรรมราช รับ SME ต้องเร่งปรับตัวหลังค่าแรง 300 บาท เตรียมปรับระบบจ้างผลิตเป็นรายชิ้นงาน และปรับการผลิตจากแรงงานคนเป็นเครื่องจักรแทน
วันนี้ (3 ม.ค.) นายยุทธกิจ มานะจิตต์ ประธานสภาอุตสาหกรรมนครศรีธรรมราช ผู้บริหารโรงงานประกอบกิจคอนกรีต ผู้ผลิตท่อ เสาคอนกรีต และแผ่นพื้นสำเร็จรายใหญ่ เปิดเผยว่า ในส่วนของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะมีผลกระทบอย่างมาก เพราะปัจจุบันค่าใช้จ่ายค่าครองชีพขึ้นไปก่อนหน้าที่จะขึ้นค่าแรงเสียด้วยซ้ำ เป็นเพราะการประกาศค่าแรง 300 บาท
ผู้ประกอบการหลายรายกำลังหาวิธีการแก้ปัญหา ผู้ประกอบการหลายรายที่จะต้องปรับเปลี่ยนระบบการจ้างงาน โดยเปลี่ยนเป็นการจ้างเหมาให้มีชิ้นงานเป็นตัวชี้วัดเพื่อให้คุ้มกับค่าใช้จ่าย และอาจแปรสภาพจากเป็นรายเดือนมาเป็นจ้างเหมารายชิ้นเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจเอสเอ็มอี ผู้ประกอบการใหม่ หรือผู้ประกอบการที่มีเป็นจำนวนมาก
“อีกส่วนที่ผู้ประกอบการหลายรายให้ความสนใจคือ การยอมลงทุนด้านเครื่องจักรเพื่อนำมาทดแทนแรงงานคน ในส่วนของสภาอุตสาหกรรมนครศรีธรรมราชพยายามที่จะเสนอไปยังรัฐบาลคือ ต้องปรับในเรื่องของการประกันสังคมที่รัฐบาลจะต้องลดลงแค่ 2 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายจ่ายฝ่ายละ 1 เปอร์เซ็นต์ และในส่วนค่าแรง 300 บาท รัฐบาลต้องชดเชย 75 เปอร์เซ็นต์ ปี 57 เป็น 50 เปอร์เซ็นต์ รัฐบาลต้องเร่งผลักดันและพิจารณาเพราะเป็นความเดือดร้อนที่สำคัญของผู้ผลิตที่เป็นเอสเอ็มอี อีกส่วนคือ ภาษีต่างๆ ต้องลดหย่อนลงมากกว่านี้” ประธานสภาอุตสาหกรรมนครศรีธรรมราชกล่าว
http://manager.co.th/South/ViewNews.asp ... 0000000692
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์ที่ 5
ขึ้นค่าแรง 300 บาทกระทบนายจ้างที่ระนอง คาดลูกจ้าง 30% ถูกลอยแพ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 มกราคม 2556 15:38 น.
ระนอง - ผู้ประกอบการ นายจ้างในระนอง ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท โดยกำหนดใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2556 เพราะจะทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบทั้งผู้ประกอบการ และประชาชนที่ต้องรับภาระในผลกระทบนี้ โดยเฉพาะกิจการขนาดเล็กไม่ต่ำกว่า 20 ราย ที่ต้องปิดตัว อีกทั้งยังกระทบต่อการจ้างงาน ที่คาดว่าจะมีลูกจ้างกว่า 30% ที่อยู่ในระบบ และนอกระบบที่อาจจะต้องถูกเลิกจ้าง
นางนฤมล ขรภูมิ ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า จากนโยบายการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ ทำให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อต้นทุนการผลิต คือ ในส่วนของค่าแรง แต่ก่อนอยู่ที่ 258 บาท ซึ่งในปัจจุบันนี้ ต้องจ่ายเพิ่มอีก 42 บาทต่อคน โดยที่มาตรการที่รัฐบาลกำหนดทำให้ผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดเล็ก อาจจะไม่สามารถรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ คาดว่าในช่วง 1-2 เดือนนี้ จะมีผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดเล็กปิดกิจการไม่ต่ำกว่า 20 ราย ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้ลูกจ้างที่อยู่ในระบบถูกนายจ้างเลิกจ้างไม่ต่ำกว่า 1,000 คน ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นกับแรงงานต่างด้าวชาวพม่าคือ การเคลื่อนย้ายแรงงานจากจังหวัดชายแดน เข้าสู่จังหวัดใหญ่ๆ มากขึ้น
ส่วนผู้ประกอบการขนาดใหญ่ขณะนี้กำลังเร่งปรับโครงสร้างในองค์กรใหม่ โดยเน้นที่โครงสร้างของบุคลากร ในส่วนของแรงงาน มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับงาน ซึ่งในปีนี้ยังไม่ปรับเปลี่ยนมากนัก เพราะกำลังการผลิตเหมาะสมกับออเดอร์สินค้าในปีนี้แล้ว แต่ในส่วนของโครงการในอนาคต จะพิจารณาหาเครื่องจักรมาทดแทนแรงงานคน
นางนฤมล กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาพบว่า จากวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก อีกทั้งพิบัติภัยได้ส่งผลให้เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัว ดังนั้น หากมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเปรียบเสมือนการซ้ำเติมสถานการณ์ให้ย่ำแย่ไปอีก เนื่องจากปัจจุบัน การแข่งขันของตลาดการค้าทั่วโลกเป็นไปอย่างรุนแรง นอกจากประเทศไทยยังประสบปัญหาภายในประเทศโดยเฉพาะกรณีพิบัติภัยที่เกิดขึ้น แม้ว่าระนองจะไม่มีภัยพิบัติร้ายแรงในช่วงที่ผ่านมา แต่ต่างก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมในเขตพื้นที่ระนองในปัจจุบันควรอยู่ที่ 220-230 บาท หากสูงกว่านั้นผู้ประกอบการคงจะไม่สามารถรับภาระที่เพิ่มขึ้นได้ เพราะการปรับเพดานค่าจ้างแท้จริงไม่ใช่ว่าการปรับค่าจ้างในองค์กรใดองค์กรหนึ่งแล้วทุกอย่างจะจบ แต่จะเกี่ยวเนื่องไปยังทุกภาคส่วน วัตถุดิบ แพกเกจจิ้ง ค่าการขนส่ง ซึ่งทั้งหมดจะต้องมีการขยับราคาตามค่าจ้างใหม่ ซึ่งทุกอย่างจะกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่
http://manager.co.th/South/ViewNews.asp ... 0000000731
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 มกราคม 2556 15:38 น.
ระนอง - ผู้ประกอบการ นายจ้างในระนอง ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท โดยกำหนดใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2556 เพราะจะทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบทั้งผู้ประกอบการ และประชาชนที่ต้องรับภาระในผลกระทบนี้ โดยเฉพาะกิจการขนาดเล็กไม่ต่ำกว่า 20 ราย ที่ต้องปิดตัว อีกทั้งยังกระทบต่อการจ้างงาน ที่คาดว่าจะมีลูกจ้างกว่า 30% ที่อยู่ในระบบ และนอกระบบที่อาจจะต้องถูกเลิกจ้าง
นางนฤมล ขรภูมิ ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า จากนโยบายการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ ทำให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อต้นทุนการผลิต คือ ในส่วนของค่าแรง แต่ก่อนอยู่ที่ 258 บาท ซึ่งในปัจจุบันนี้ ต้องจ่ายเพิ่มอีก 42 บาทต่อคน โดยที่มาตรการที่รัฐบาลกำหนดทำให้ผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดเล็ก อาจจะไม่สามารถรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ คาดว่าในช่วง 1-2 เดือนนี้ จะมีผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดเล็กปิดกิจการไม่ต่ำกว่า 20 ราย ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้ลูกจ้างที่อยู่ในระบบถูกนายจ้างเลิกจ้างไม่ต่ำกว่า 1,000 คน ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นกับแรงงานต่างด้าวชาวพม่าคือ การเคลื่อนย้ายแรงงานจากจังหวัดชายแดน เข้าสู่จังหวัดใหญ่ๆ มากขึ้น
ส่วนผู้ประกอบการขนาดใหญ่ขณะนี้กำลังเร่งปรับโครงสร้างในองค์กรใหม่ โดยเน้นที่โครงสร้างของบุคลากร ในส่วนของแรงงาน มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับงาน ซึ่งในปีนี้ยังไม่ปรับเปลี่ยนมากนัก เพราะกำลังการผลิตเหมาะสมกับออเดอร์สินค้าในปีนี้แล้ว แต่ในส่วนของโครงการในอนาคต จะพิจารณาหาเครื่องจักรมาทดแทนแรงงานคน
นางนฤมล กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาพบว่า จากวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก อีกทั้งพิบัติภัยได้ส่งผลให้เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัว ดังนั้น หากมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเปรียบเสมือนการซ้ำเติมสถานการณ์ให้ย่ำแย่ไปอีก เนื่องจากปัจจุบัน การแข่งขันของตลาดการค้าทั่วโลกเป็นไปอย่างรุนแรง นอกจากประเทศไทยยังประสบปัญหาภายในประเทศโดยเฉพาะกรณีพิบัติภัยที่เกิดขึ้น แม้ว่าระนองจะไม่มีภัยพิบัติร้ายแรงในช่วงที่ผ่านมา แต่ต่างก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมในเขตพื้นที่ระนองในปัจจุบันควรอยู่ที่ 220-230 บาท หากสูงกว่านั้นผู้ประกอบการคงจะไม่สามารถรับภาระที่เพิ่มขึ้นได้ เพราะการปรับเพดานค่าจ้างแท้จริงไม่ใช่ว่าการปรับค่าจ้างในองค์กรใดองค์กรหนึ่งแล้วทุกอย่างจะจบ แต่จะเกี่ยวเนื่องไปยังทุกภาคส่วน วัตถุดิบ แพกเกจจิ้ง ค่าการขนส่ง ซึ่งทั้งหมดจะต้องมีการขยับราคาตามค่าจ้างใหม่ ซึ่งทุกอย่างจะกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่
http://manager.co.th/South/ViewNews.asp ... 0000000731
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์ที่ 6
นึกถึงตอนที่ท่านสมชัย CEO SNC พูดถึงเรื่องนี้เลยว่า ตอนแรกนึกว่าไม่กระทบมากเพราะการปรับเพดานค่าจ้างแท้จริงไม่ใช่ว่าการปรับค่าจ้างในองค์กรใดองค์กรหนึ่งแล้วทุกอย่างจะจบ แต่จะเกี่ยวเนื่องไปยังทุกภาคส่วน วัตถุดิบ แพกเกจจิ้ง ค่าการขนส่ง ซึ่งทั้งหมดจะต้องมีการขยับราคาตามค่าจ้างใหม่ ซึ่งทุกอย่างจะกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่
เพราะค่าแรงของ SNC เกิน 300.- อยู่แล้ว แต่กลายเป็นว่าผลกระทบมาจากคู่ค้าครับ
มันเป็นลูกโซ่จริง.... "Chain Reaction" ...
แต่ดูข่าว TPBS วันนี้ ก็เห็นว่า นายจ้าง เปลี่ยนโหมดการจ้างจากรายวัน
เป็นจ้างเหมาแทน ซึ่งกลายเป็นว่า ลูกจ้าง กลายเป็นเถ้าแก่ มารับจ้าง
จากนายจ้างเดิม ทำงาน ทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย ทำดีผ่าน ทำไม่ดี
ถูกตีคืน เข้าทางนายจ้างพอดีเลยครับ แถมสวัสดิการต่างๆ ไม่ต้องจ่าย
ประกันสังคมและประกันอุบัติเหตุนายจ้างไม่ต้องสมทบ สรุป นายจ้าง Happy
ลูกจ้าง ...... แต่ไม่ใช่ว่า โรงงานทุกแบบจะทำได้แบบนี้ คงได้แต่พวก
โลเทค ที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์หรือพื้นที่อะไรมากมาย .....
แต่ผมว่า "Chain Reaction" เริ่มขึ้นแล้ว ณ วันที่ 2 ม.ค. 2556 เพราะอะไรครับ
โรงงานที่ผลิตของอย่างเดียวกันแบบเดียวกัน แต่เดิมโรงงานอยู่ต่างจังหวัดเสีย
เปรียบเรื่องค่าขนส่งที่ส่งมาขาย แต่ได้เปรียบเรื่องค่าแรง แต่ตอนนี้ค่าแรงเท่าแถวๆ
ส่วนกลาง แต่ยิ่งเสียเปรียบค่าขนส่งจากราคาน้ำมันที่แพงๆ โรงงานต่างจังหวัด
จะตายก่อน ... ตอนแรกๆ ผมนึกว่า คนต่างจังหวัดจะอยู่ดีกินดีขึ้น
ในทางกลับกัน อาจไม่เป็นเช่นนั้น เพราะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันให้กับ
โรงงานที่อยู่ส่วนกลางหรือใกล้ตลาดมากกว่า เมื่อโรงงานอยู่ไม่ได้ ธุรกิจอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องก็อยู่ไม่ได้ด้วย กระทบเป็นวงกว้าง ซึ่งเรื่องพวกนี้ต้องใช้เวลาสักพัก
ถึงจะเห็นผล แล้วแต่สายป่านใครจะยาวกว่าใคร ใครยืนอยู่ได้ก็จะเป็นผู้ชนะ ....
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
- kissme
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1311
- ผู้ติดตาม: 0
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์ที่ 7
โดยส่วนตัวนะครับ เห็นว่าอุตสาหกรรมที่กระทบหนักๆก็คือพวกตะวันตกดินทั้งหลาย
ไม่ขึ้นค่าแรงก็จะเจ๊งอยู่แล้ว ก็ปรับตัวกันไป คนที่ตกงานนี่ไม่ต้องห่วง
ไม่เกิน 3 เดือน มีงานแน่นอน ถ้าเข้ามาในกรุงเทพ และไม่เลือกงานมาก
ทุกวันนี้ต้องยอมรับแรงงานมันโคตรขาดแคลน โดยเฉพาะคนไทย ต่างด้าวก็ยังขาดแคลนกลับพม่ากันหมด
ใครทำธุรกิจอยู่จริงๆจะรู้ บางทีความรู้ไม่มี ก็ให้กัน 4-500 บาท
ยังไม่ค่อยจะอยากทำกันเลย ต้องให้โอ ไม่งั้นไม่ทำ
ไม่ขึ้นค่าแรงก็จะเจ๊งอยู่แล้ว ก็ปรับตัวกันไป คนที่ตกงานนี่ไม่ต้องห่วง
ไม่เกิน 3 เดือน มีงานแน่นอน ถ้าเข้ามาในกรุงเทพ และไม่เลือกงานมาก
ทุกวันนี้ต้องยอมรับแรงงานมันโคตรขาดแคลน โดยเฉพาะคนไทย ต่างด้าวก็ยังขาดแคลนกลับพม่ากันหมด
ใครทำธุรกิจอยู่จริงๆจะรู้ บางทีความรู้ไม่มี ก็ให้กัน 4-500 บาท
ยังไม่ค่อยจะอยากทำกันเลย ต้องให้โอ ไม่งั้นไม่ทำ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์ที่ 8
ประเทศไทยมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ไม่สมดุล คือ พึงพิงการส่งออกในสัดส่วนที่สูงมาก ทำให้มีความผันผวนและขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจโลกค่อนข้างมากเกินไป เมื่อประเทศใหญ่ๆของโลกมีปัญหา ก็จะกระทบต่อเศรษฐกิจของเรามาก เราต้องสร้างการบริโภคภายในประเทศให้สูงขึ้น เพื่อเป็นกันชนเมื่อสภาพเศรษฐกิจโลกมีปัญหา
ในขณะที่เราก็ต้องถามว่า ค่าแรงที่ต่ำนั้นเป็นรายได้ที่เพียงพอให้แรงงานใช้ดำเนินชีวิตที่เหมาะสมได้หรือไม่
เรายอมให้คนไทยทำงานหนัก แต่ได้รายได้น้อย คุณภาพชีวิตแย่ เพียงเพื่อจะได้มีต้นทุนในการผลิตสินค้าที่ต่ำ ขายสินค้าให้ต่างชาติในราคาถูกๆ ให้ชาวต่างชาติเอาเปรียบเราหรือ
ประเทศไทยมีทางเลือกมากมาย เราคงอุ้มทุกคนไม่ไหว อุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานก็ควรที่จะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่ยังมีค่าแรงถูกอยู่
ในขณะที่เราก็ต้องถามว่า ค่าแรงที่ต่ำนั้นเป็นรายได้ที่เพียงพอให้แรงงานใช้ดำเนินชีวิตที่เหมาะสมได้หรือไม่
เรายอมให้คนไทยทำงานหนัก แต่ได้รายได้น้อย คุณภาพชีวิตแย่ เพียงเพื่อจะได้มีต้นทุนในการผลิตสินค้าที่ต่ำ ขายสินค้าให้ต่างชาติในราคาถูกๆ ให้ชาวต่างชาติเอาเปรียบเราหรือ
ประเทศไทยมีทางเลือกมากมาย เราคงอุ้มทุกคนไม่ไหว อุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานก็ควรที่จะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่ยังมีค่าแรงถูกอยู่
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 385
- ผู้ติดตาม: 0
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์ที่ 9
ตามหลักการลงทุน เราควรหลีกเลี่ยงธุรกิจที่เสียประโยชน์ หันเข้าหาธุรกิจที่ได้ประโยชน์หรือทนมือทนเท้า
การปรับตัวได้ง่ายของนักลงทุน คือ ข้อดีของการลงทุนในหุ้น มากกว่าการลงมือทำธุรกิจเอง
เราแค่ต้องทำการบ้านเพิ่มมั้งครับ
การปรับตัวได้ง่ายของนักลงทุน คือ ข้อดีของการลงทุนในหุ้น มากกว่าการลงมือทำธุรกิจเอง
เราแค่ต้องทำการบ้านเพิ่มมั้งครับ
- chukieat30
- Verified User
- โพสต์: 3531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์ที่ 10
ของทุกอย่างมี 2ด้านเสมอครับ
เราลองมองภาพดีๆจะเห็น ภาพใหญ่ ถ้าเรามองว่า
เหมือนเค้กก้อนนึง อดีตรายใหญ่รายเล็กก้แบ่งๆกันไป แต่ถ้าตอนหลังรายเล็กๆไปไม่ไหว
ถามว่า
ต่อไปจะเหมือนกินรวบ ไหม ใช่เลย อันดับ1หรือ2ในอุตสาหกรรม ก้กินรวบครับ
แล้วไม่ต้องกลัวจะขาดแคลนแรงงานด้วย เพราะรายเล็กเน่าไปแล้ว คนของรายเล็กก้ไป
อยู่กับรายใหญ่
ธรรมชาติแข็งแกร่งเสมอ คนแข็งแกร่งอยู่ คนอ่อนแอตาย สัจธรรมของธุรกิจ
นานวัน พื้นที่ของคนตัวเล็ก ก้ยิ่งจะลดลงในอุตสาหกรรม
ดังนั้นหน้าที่ของเรา คือ ถือข้างเบอร์1หรือ2 ที่แข็งแกร่ง เพราะ เบอร์1หรือ2 ส่วนมาก
จะครอง mk share ได้ยาวนาน ยิ่งรายเล็กตาย เบอร์1หรือ2 ก้ยิ่ง
หวานหมู ฝรั่งเรียก free lunch ภาษาไทยเรียก ส้มหล่นสำหรับรายใหญ่
เค้กกินคนเดียว ไม่อิ่ม ก้ไม่รู้ จะเรียกว่าไร
เราลองมองภาพดีๆจะเห็น ภาพใหญ่ ถ้าเรามองว่า
เหมือนเค้กก้อนนึง อดีตรายใหญ่รายเล็กก้แบ่งๆกันไป แต่ถ้าตอนหลังรายเล็กๆไปไม่ไหว
ถามว่า
ต่อไปจะเหมือนกินรวบ ไหม ใช่เลย อันดับ1หรือ2ในอุตสาหกรรม ก้กินรวบครับ
แล้วไม่ต้องกลัวจะขาดแคลนแรงงานด้วย เพราะรายเล็กเน่าไปแล้ว คนของรายเล็กก้ไป
อยู่กับรายใหญ่
ธรรมชาติแข็งแกร่งเสมอ คนแข็งแกร่งอยู่ คนอ่อนแอตาย สัจธรรมของธุรกิจ
นานวัน พื้นที่ของคนตัวเล็ก ก้ยิ่งจะลดลงในอุตสาหกรรม
ดังนั้นหน้าที่ของเรา คือ ถือข้างเบอร์1หรือ2 ที่แข็งแกร่ง เพราะ เบอร์1หรือ2 ส่วนมาก
จะครอง mk share ได้ยาวนาน ยิ่งรายเล็กตาย เบอร์1หรือ2 ก้ยิ่ง
หวานหมู ฝรั่งเรียก free lunch ภาษาไทยเรียก ส้มหล่นสำหรับรายใหญ่
เค้กกินคนเดียว ไม่อิ่ม ก้ไม่รู้ จะเรียกว่าไร
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
- chukieat30
- Verified User
- โพสต์: 3531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์ที่ 11
เสียประโยชน์สิ ดีครับ เพราะคนจะได้ขายกันมากๆ เราจะได้หุ้นราคาถูกๆamornd เขียน:ตามหลักการลงทุน เราควรหลีกเลี่ยงธุรกิจที่เสียประโยชน์ หันเข้าหาธุรกิจที่ได้ประโยชน์หรือทนมือทนเท้า
การปรับตัวได้ง่ายของนักลงทุน คือ ข้อดีของการลงทุนในหุ้น มากกว่าการลงมือทำธุรกิจเอง
เราแค่ต้องทำการบ้านเพิ่มมั้งครับ
ถ้าคนส่วนมากกลัว หน่ะแหล่ะ
เป็นเวลาของการลงไปเลือกของถูก ถ้ากิจการมันยังดี และเป็นเบอร์1 ลดราคามา
มากๆๆ เท่ากับเราได้ซื้อรถเบนซ์ ในราคายาริส
ถ้าแบรนด์แข็งแกร่ง ธุรกิจเบอร์1 รายได้แน่นอน ผ่านร้อนหนาวมามาก
ใครโยนโง่ๆๆถูกๆ มา เราควรหาโอกาศคว้าไว้ เพราะ ของดีราคาถูกไม่มีบ่อยๆ
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์ที่ 12
วันที่ 1 มกราคม 2556 จะมีการบังคับใช้มาตรการค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ หลังบังคับใช้ใน 7 จังหวัดนำร่อง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 ที่ผ่านมาส่งผลให้รัฐบาลภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างจากผู้ประกอบการหรือนายจ้าง
ขณะที่สถานประกอบการจำนวนมากต่างโอดครวญทำนองเดียวกันว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทใน 7 จังหวัดนำร่องทำให้เกิดต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้น จนสถานประกอบการ ผู้ประกอบการ หรือนายจ้างแบกรับต้นทุนไม่ไหว ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนประสบปัญหาถึงขั้นต้องปิดกิจการโดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี (SMEs)
ยิ่งมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศวันที่ 1 มกราคม 2556 ก็ยิ่งทำให้ธุรกิจเอสเอ็มอีล้มหายตายจากเพิ่มขึ้นอีก
โดยเฉพาะกับเอสเอ็มอีในจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก แพร่ มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน อำนาจเจริญ และอุตรดิตถ์ ที่ก่อนหน้านี้จ่ายค่าจ้างขั้นต่ำที่วันละ 163 บาท
ขณะที่จังหวัดตากและสุรินทร์จ่ายค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่ 162 บาทรวมทั้งจังหวัดน่าน 161 บาท, ศรีสะเกษ 160 บาท และพะเยา จ่ายค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่ 159 บาท/วัน
ผลเช่นนี้จึงทำให้การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศวันที่ 1 มกราคม 2556 มีเสียงสะท้อนตามมาในหลายมิติ นักชาการ นักเศรษฐศาสตร์ต่างออกมาตั้งข้อสังเกตว่าการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้จะทำให้เอสเอ็มอีอยู่ในสภาพเช่นไรและภาครัฐจะมีมาตรการอะไรออกมารองรับ ? และช่วยเหลือบ้าง ?
เสมือนเป็นการฝ่าวิกฤตแรงงานครั้งใหญ่ของประเทศ
ส่งทอ-เฟอร์นิเจอร์ กระทบหนัก
นายอาทิตย์ อิสโม รองปลัดกระทรวงแรงงาน ได้ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการศึกษาจาก 3 แหล่ง ได้แก่ รายงานผลการสำรวจของกระทรวงแรงงาน, รายงานการศึกษาวิเคราะห์เรื่องค่าจ้างขั้นต่ำรอบใหม่ 300 บาท : กระทบใครเท่าไหร่ ของสำนักพัฒนาฐานข้อมูล และตัวชี้วัดภาวะสังคม (สศช.) และการศึกษาเรื่องอุตสาหกรรมไทยจะแข่งขันอย่างไร
ภายใต้ค่าแรงที่สูงขึ้น ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) พบว่าเมื่อปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 2 ครั้ง จะส่งผลให้ต้นทุนรวมของ
เอสเอ็มอีมีสัดส่วนต้นทุนด้านแรงงานในต้นทุนรวมทั้งหมดร้อยละ 21-30 โดยมีต้นทุนเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 15.77-22.52
แต่เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อต้นทุนในรายอุตสาหกรรมพบว่าอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากคือกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ ต้นทุนเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 11.13-22.75 รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมไม้, เฟอร์นิเจอร์ และผลิตภัณฑ์จากไม้ จะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นประมาณ 12.19-18.71
อย่างไรก็ตาม เมื่อประเมินผลกระทบต่อต้นทุนดังกล่าว กระทรวงแรงงานจึงคาดการณ์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหลังจากวันที่ 1 มกราคม 2556 ที่มีต่อด้านแรงงานหลายส่วนด้วยกัน
1.มีแนวโน้มที่จะเกิดการจ้างงานลดลง งดรับลูกจ้าง หรือเลิกจ้างลูกจ้างบางส่วน หรือปิดกิจการ หรือมีการใช้เครื่องจักร และแรงงานทักษะฝีมือสูงทดแทน ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาการเลิกจ้าง และปัญหาการว่างงานสูงขึ้นกว่าสถานการณ์ในปี 2555
นอกจากจะส่งผลให้แรงงานที่อยู่ในตลาดแรงงานต้องตกงานแล้ว แรงงานที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานใหม่ก็จะหางานทำยากขึ้น และกลุ่มนี้จะกลายเป็นแรงงานนอกระบบ
โดยอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มจะลดการจ้างแรงงานทักษะฝีมือต่ำ (unskill labour) เป็นจำนวนมาก ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ, เครื่องแต่งกาย และเครื่องหนัง กับอุตสาหกรรมไม้, เฟอร์นิเจอร์ และผลิตภัณฑ์จากไม้
ส่วนอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มจะลดการจ้างแรงงานทักษะฝีมือต่ำจำนวนไม่มาก ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, อุตสาหกรรมเคมี, ยางและพลาสติก, อุตสาหกรรมเหล็ก, อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และอุตสาหกรรมเครื่องจักรและอุปกรณ์
ดังนั้น สถานประกอบการเอสเอ็มอี (มีลูกจ้างไม่เกิน 200 คน) ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเหล่านี้ จึงมีความเสี่ยง ที่กระทรวงแรงงานต้องเฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์ด้านแรงงานอย่างใกล้ชิด
2.มีแนวโน้มที่นายจ้างจะเปลี่ยนแปลงสภาพการทำงาน/การจ้างงาน โดยลดชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาลง, ลดสวัสดิการแรงงานที่ลูกจ้างเคยได้รับ 3.มีแนวโน้มที่แรงงานจะเคลื่อนย้ายกลับภูมิลำเนาของตน เพราะมีค่าจ้างเท่ากันทั่วประเทศ และ 4.มีแนวโน้มที่จะเกิดการขาดแคลนแรงงานในบางสาขา เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง, อุตสาหกรรมขนส่ง/คลังสินค้า, การค้าปลีกและโรงแรม/ภัตตาคาร
ภาครัฐเข็นมาตรการเยียวยา
เพื่อเป็นการรองรับผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2556 กระทรวงแรงงานจึงประมวลข้อมูลความต้องการช่วยเหลือ, ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากการสำรวจ และการสัมมนาเพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอเพื่อกำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2556 และเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ SMEs รวม 16 มาตรการ โดยแบ่งออกเป็น 11 มาตรการเดิม และอีก 5 มาตรการใหม่
โดยรองปลัดกระทรวงแรงงาน ฉายภาพให้ฟังถึง 11 มาตรการเดิมจะขยายเวลาการใช้มาตรการช่วยเหลือออกไปอีก 1 ปี ซึ่งจะสิ้นสุดในปี 2556 ประกอบด้วย
1.การลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของฝ่ายนายจ้าง-ลูกจ้าง เหลือฝ่ายละร้อยละ 3,
2.ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือร้อยละ 20,
3.นำส่วนต่างของค่าจ้างที่จ่ายเพิ่มขึ้นจากอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2555 มาหักเป็นค่าใช้จ่ายก่อนชำระภาษีได้ 2 เท่า 4.นำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานมาหักลดหย่อนภาษีได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า
5.ให้กู้ยืมเงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.1
6.สินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงานในการเสริมสภาพคล่องของสถานประกอบการ
7.สินเชื่อเพื่อพัฒนาผลิตภาพการผลิต
8.การค้ำประกันสินเชื่อในลักษณะ portfolio guarantee scheme
9.การค้ำประกันสินเชื่อในลักษณะ portfolio guarantee scheme สำหรับผู้ประกอบการหน้าใหม่
10.ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร และ
11.หักค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการใหม่มาช่วยเหลือเพิ่มอีก ประกอบด้วย 1.ลดค่าธรรมเนียมห้องพักที่เรียกเก็บสำหรับโรงแรมหรือที่พักแรม 2.จัดคลินิกพัฒนาฝีมือแรงงานเคลื่อนที่ไปยังสถานศึกษาและสถานประกอบการต่าง ๆ 3.ปรับเพิ่มอัตราค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมสัมมนาของส่วนราชการ 4.จัดคาราวานสินค้าราคาถูกไปจำหน่ายให้ลูกจ้างในสถานประกอบการ 5.จ่ายเงินชดเชยส่วนต่างค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นให้แก่ผู้ประกอบการ"
"และหากมีมาตรการที่จะช่วยลดผลกระทบดังกล่าวได้เพิ่มขึ้น กระทรวงแรงงานจะประสานงานกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกันเข้าหารือเพื่อเตรียมวางมาตรการช่วยเหลือสำหรับเอสเอ็มอีต่อไป"
ตั้งศูนย์ช่วยเหลือเอสเอ็มอี
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเอสเอ็มอีในต่างจังหวัดแล้ว กระทรวงแรงงานยังได้เตรียมกำหนดแนวทางการดำเนินงานเพิ่มเพื่อประสิทธิภาพการจัดการผลกระทบ โดยจัดตั้งศูนย์อำนวยการเพื่อรองรับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ศูนย์นี้จะทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือสำหรับเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ โดยเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์จะคอยให้คำปรึกษาอย่างมีประสิทธิผล รวดเร็ว และติดตามเฝ้าระวังเพื่อรายงานผลการปฏิบัติในภาพรวมของกระทรวงแรงงานต่อไป
ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาปรึกษาโดยตรงที่ศูนย์นี้ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทุกจังหวัด โดยในส่วนกลางจะตั้งอยู่ที่สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน (กทม.) และในส่วนภูมิภาคจะตั้งอยู่ที่สำนักงานแรงงานจังหวัด หรือศาลากลางจังหวัด
"มองในด้านดีในวันที่ 1 มกราคม 2556 จะเป็นจุดเปลี่ยนที่จะทำให้ทั้งนายจ้างและลูกจ้างเกิดแรงกระตุ้นในการพัฒนาศักยภาพของสถานประกอบการได้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะลูกจ้างจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพทางการทำงานด้วยถึงจะตอบโจทย์ต่อค่าแรงที่เพิ่มขึ้น และเพื่อการแข่งขันกับประเทศสมาชิกในอนาคตด้วย"
300 ทั่ว ปท.กระทบหลายระดับ
จากการศึกษาของศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า การปรับค่าแรงขั้นต่ำขึ้นเป็น 300 บาท/วันเท่ากันทั้งประเทศในช่วงต้นปี 2556 จะทำให้อัตราค่าจ้างมาตรฐานของไทยขยับขึ้นร้อยละ 31.7 จากค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ยในปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ 227.8 บาท/วัน โดยจังหวัดพะเยาซึ่งมีฐานค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยต่ำที่สุดของประเทศที่ 206.3 บาท/วัน จะมีการปรับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 45.5 และลดหลั่นกันไปตามช่องว่างระหว่างอัตราค่าแรงฐานในปัจจุบัน และค่าแรงใหม่ ขณะที่ 7 จังหวัดนำร่องที่มีการปรับขึ้นค่าแรงไปแล้วในเดือนเมษายน 2555 จะคงอยู่ที่ 300 บาท/วัน
โดยผลกระทบจะรุนแรงเพียงใดขึ้นอยู่กับพื้นที่กิจการ หากเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล และมีฐานอัตราค่าจ้างแรงงานเดิมต่ำ ก็อาจได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก ส่วนใหญ่เป็นจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ขณะที่ขนาดธุรกิจและประเภทธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าจ้างมากที่สุดคงหนีไม่พ้นกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี ที่ส่วนใหญ่ยังคงพึ่งพาแรงงานที่รับค่าจ้างในอัตราขั้นต่ำ เพื่อทำงานที่ไม่ต้องอาศัยความชำนาญ โดยเฉพาะเอสเอ็มอีที่อยู่ในธุรกิจที่พึ่งพาการใช้แรงงานไร้ทักษะอย่างเข้มข้น
นอกจากนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคาดว่าจำนวนผู้ว่างงานในปี 2556 จะอยู่ที่ 3 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.8 (กรอบคาดการณ์ 2.6-3.4 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.7-0.9) เพิ่มขึ้นจากจำนวน 2.65 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.7 ในปี 2555
ปี 56 โอกาสและความท้าทาย
ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) บอกว่า สิ่งที่สถานประกอบการจะต้องเจอแน่ ๆ เมื่อเข้าสู่เดือนมกราคม 2556 คือการปรับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ถือเป็นโอกาสและความท้าทาย ข้อเสนอคือในช่วงที่จะไม่มีการปรับขึ้นค่าจ้างต่อไปอีก 2 ปี (2557-2558) รัฐบาลควรมีมาตรการเข้าไปช่วยปรับปรุงเรื่องประสิทธิภาพ และคุณภาพอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะ SMEs
นอกจากนี้นโยบายสร้างงานขนาดใหญ่ควรเน้นการให้คนไทยเข้ามาทำงานให้มากที่สุด หากจะมีมาตรการช่วยเหลือด้วยการลดการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามที่ภาคธุรกิจเรียกร้องก็ไม่ควรลดเกิน 2% และมีกำหนดระยะเวลาชัดเจนเฉพาะในช่วง 2 ปี ที่ไม่มีการปรับค่าจ้าง ขณะที่แรงงานนอกระบบก็ยังเป็นเรื่องใหญ่ที่ควรต้องมีการดูแลติดตาม
ขณะเดียวกัน สิ่งที่ต้องทำมากขึ้นคือการให้ความสำคัญเรื่องความมั่นคงทางรายได้ และสิทธิ์ความคุ้มครองต่าง ๆ ที่แรงงานนอกระบบยังด้อยสิทธิ์อยู่มาก รวมถึงการดูแลติดตามการใช้แรงงานเด็กที่ต้องทำให้ไม่มีการใช้แรงงานเด็กในสภาพเลวร้ายเกิดขึ้น
สภาอุตฯชี้การเยียวยาไม่ตรงจุด
นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า สำหรับมาตรการเยียวยาค่าแรง 300 บาท ไม่ว่าจะเป็นการชดเชยส่วนต่าง การลดเงินประกันสังคมเหลือ 2.5% เป็นเวลา 3 ปี การหักภาษีที่จ่าย 0.1% นั้น สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มถือว่าได้รับผลกระทบมากที่สุด และมองว่าเป็นเพียงการช่วยเหลือ "ระดับหนึ่ง" เท่านั้น แต่ในเมื่อเป็นนโยบายรัฐบาล
ภาคอุตสาหกรรมต้องปรับตัวให้ได้ แต่ที่ค่อนข้างลำบากคือกลุ่มเอสเอ็มอีที่ต้องการให้ผลักดันการช่วยเหลือสำคัญคือ การเข้าให้กลุ่มนี้เข้าถึงแหล่งเงินทุนให้มากขึ้น
และลดข้อจำกัดต่าง ๆ ให้น้อยลงรองประธานสภาอุตสาหกรรมฯย้ำว่า รัฐมีนโยบายปรับค่าแรง แต่แก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด ไม่ยอมฉีดยาแรงตั้งแต่แรก และจำเป็นต้องมาจ่ายส่วนต่างให้อุตสาหกรรม พยายามให้ข้อมูลว่าการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของเอสเอ็มอีถือว่าสำคัญ
แต่ไม่มีการผลักดันเรื่องนี้ ในเมื่อมีการจัดมันนี่เอ็กซ์โปทุกปี ก็ควรมีงานลักษณะนี้ แต่เป็นการซัพพอร์ตเอสเอ็มอีโดยเฉพาะบ้าง
ด้านนายวีระยุทธ สุขวัฑฒโก รองประธานและประธานสภาอุตสาหกรรมฯกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ส.อ.ท. เปิดเผยว่า มาตรการเยียวยาเบื้องต้นของภาครัฐถือว่า "ไม่ตรงจุด" และยังไม่มีความชัดเจนโดยเฉพาะมาตรการชดเชยว่าจะกำหนดสัดส่วนอย่างไร หากชดเชย 100% ในปีแรก และในปีถัดมาอาจจะเหลือ 75 : 25 หรือ 50 : 50 จะทำให้อุตสาหกรรมสามารถเดินหน้าต่อไป
หากเดินหน้าตามข้อเสนอนี้ภาครัฐอาจจะช่วยเหลือแค่ 2 ปีเท่านั้น ในปีที่ 3 ภาคอุตสาหกรรมสามารถเดินได้ด้วยศักยภาพของตัวเองแล้ว
"มาตรการลดภาษีเงินได้ บริษัทใหญ่เท่านั้นได้ประโยชน์ รายเล็กที่มีกำไรน้อยก็ไม่ได้ประโยชน์จากมาตรการนี้ นอกจากนี้ควรช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อนำมาบริหารกระแสเงินสดให้ดีขึ้น คงต้องรอดู 6 เดือนนับจากนี้ว่ามาตรการเยียวยาจะได้ผลหรือไม่"
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=0000
ขณะที่สถานประกอบการจำนวนมากต่างโอดครวญทำนองเดียวกันว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทใน 7 จังหวัดนำร่องทำให้เกิดต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้น จนสถานประกอบการ ผู้ประกอบการ หรือนายจ้างแบกรับต้นทุนไม่ไหว ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนประสบปัญหาถึงขั้นต้องปิดกิจการโดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี (SMEs)
ยิ่งมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศวันที่ 1 มกราคม 2556 ก็ยิ่งทำให้ธุรกิจเอสเอ็มอีล้มหายตายจากเพิ่มขึ้นอีก
โดยเฉพาะกับเอสเอ็มอีในจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก แพร่ มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน อำนาจเจริญ และอุตรดิตถ์ ที่ก่อนหน้านี้จ่ายค่าจ้างขั้นต่ำที่วันละ 163 บาท
ขณะที่จังหวัดตากและสุรินทร์จ่ายค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่ 162 บาทรวมทั้งจังหวัดน่าน 161 บาท, ศรีสะเกษ 160 บาท และพะเยา จ่ายค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่ 159 บาท/วัน
ผลเช่นนี้จึงทำให้การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศวันที่ 1 มกราคม 2556 มีเสียงสะท้อนตามมาในหลายมิติ นักชาการ นักเศรษฐศาสตร์ต่างออกมาตั้งข้อสังเกตว่าการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้จะทำให้เอสเอ็มอีอยู่ในสภาพเช่นไรและภาครัฐจะมีมาตรการอะไรออกมารองรับ ? และช่วยเหลือบ้าง ?
เสมือนเป็นการฝ่าวิกฤตแรงงานครั้งใหญ่ของประเทศ
ส่งทอ-เฟอร์นิเจอร์ กระทบหนัก
นายอาทิตย์ อิสโม รองปลัดกระทรวงแรงงาน ได้ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการศึกษาจาก 3 แหล่ง ได้แก่ รายงานผลการสำรวจของกระทรวงแรงงาน, รายงานการศึกษาวิเคราะห์เรื่องค่าจ้างขั้นต่ำรอบใหม่ 300 บาท : กระทบใครเท่าไหร่ ของสำนักพัฒนาฐานข้อมูล และตัวชี้วัดภาวะสังคม (สศช.) และการศึกษาเรื่องอุตสาหกรรมไทยจะแข่งขันอย่างไร
ภายใต้ค่าแรงที่สูงขึ้น ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) พบว่าเมื่อปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 2 ครั้ง จะส่งผลให้ต้นทุนรวมของ
เอสเอ็มอีมีสัดส่วนต้นทุนด้านแรงงานในต้นทุนรวมทั้งหมดร้อยละ 21-30 โดยมีต้นทุนเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 15.77-22.52
แต่เมื่อพิจารณาผลกระทบต่อต้นทุนในรายอุตสาหกรรมพบว่าอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากคือกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ ต้นทุนเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 11.13-22.75 รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมไม้, เฟอร์นิเจอร์ และผลิตภัณฑ์จากไม้ จะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นประมาณ 12.19-18.71
อย่างไรก็ตาม เมื่อประเมินผลกระทบต่อต้นทุนดังกล่าว กระทรวงแรงงานจึงคาดการณ์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหลังจากวันที่ 1 มกราคม 2556 ที่มีต่อด้านแรงงานหลายส่วนด้วยกัน
1.มีแนวโน้มที่จะเกิดการจ้างงานลดลง งดรับลูกจ้าง หรือเลิกจ้างลูกจ้างบางส่วน หรือปิดกิจการ หรือมีการใช้เครื่องจักร และแรงงานทักษะฝีมือสูงทดแทน ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาการเลิกจ้าง และปัญหาการว่างงานสูงขึ้นกว่าสถานการณ์ในปี 2555
นอกจากจะส่งผลให้แรงงานที่อยู่ในตลาดแรงงานต้องตกงานแล้ว แรงงานที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานใหม่ก็จะหางานทำยากขึ้น และกลุ่มนี้จะกลายเป็นแรงงานนอกระบบ
โดยอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มจะลดการจ้างแรงงานทักษะฝีมือต่ำ (unskill labour) เป็นจำนวนมาก ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ, เครื่องแต่งกาย และเครื่องหนัง กับอุตสาหกรรมไม้, เฟอร์นิเจอร์ และผลิตภัณฑ์จากไม้
ส่วนอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มจะลดการจ้างแรงงานทักษะฝีมือต่ำจำนวนไม่มาก ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, อุตสาหกรรมเคมี, ยางและพลาสติก, อุตสาหกรรมเหล็ก, อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และอุตสาหกรรมเครื่องจักรและอุปกรณ์
ดังนั้น สถานประกอบการเอสเอ็มอี (มีลูกจ้างไม่เกิน 200 คน) ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเหล่านี้ จึงมีความเสี่ยง ที่กระทรวงแรงงานต้องเฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์ด้านแรงงานอย่างใกล้ชิด
2.มีแนวโน้มที่นายจ้างจะเปลี่ยนแปลงสภาพการทำงาน/การจ้างงาน โดยลดชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาลง, ลดสวัสดิการแรงงานที่ลูกจ้างเคยได้รับ 3.มีแนวโน้มที่แรงงานจะเคลื่อนย้ายกลับภูมิลำเนาของตน เพราะมีค่าจ้างเท่ากันทั่วประเทศ และ 4.มีแนวโน้มที่จะเกิดการขาดแคลนแรงงานในบางสาขา เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง, อุตสาหกรรมขนส่ง/คลังสินค้า, การค้าปลีกและโรงแรม/ภัตตาคาร
ภาครัฐเข็นมาตรการเยียวยา
เพื่อเป็นการรองรับผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2556 กระทรวงแรงงานจึงประมวลข้อมูลความต้องการช่วยเหลือ, ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากการสำรวจ และการสัมมนาเพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอเพื่อกำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2556 และเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ SMEs รวม 16 มาตรการ โดยแบ่งออกเป็น 11 มาตรการเดิม และอีก 5 มาตรการใหม่
โดยรองปลัดกระทรวงแรงงาน ฉายภาพให้ฟังถึง 11 มาตรการเดิมจะขยายเวลาการใช้มาตรการช่วยเหลือออกไปอีก 1 ปี ซึ่งจะสิ้นสุดในปี 2556 ประกอบด้วย
1.การลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของฝ่ายนายจ้าง-ลูกจ้าง เหลือฝ่ายละร้อยละ 3,
2.ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือร้อยละ 20,
3.นำส่วนต่างของค่าจ้างที่จ่ายเพิ่มขึ้นจากอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2555 มาหักเป็นค่าใช้จ่ายก่อนชำระภาษีได้ 2 เท่า 4.นำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานมาหักลดหย่อนภาษีได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า
5.ให้กู้ยืมเงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.1
6.สินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงานในการเสริมสภาพคล่องของสถานประกอบการ
7.สินเชื่อเพื่อพัฒนาผลิตภาพการผลิต
8.การค้ำประกันสินเชื่อในลักษณะ portfolio guarantee scheme
9.การค้ำประกันสินเชื่อในลักษณะ portfolio guarantee scheme สำหรับผู้ประกอบการหน้าใหม่
10.ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร และ
11.หักค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการใหม่มาช่วยเหลือเพิ่มอีก ประกอบด้วย 1.ลดค่าธรรมเนียมห้องพักที่เรียกเก็บสำหรับโรงแรมหรือที่พักแรม 2.จัดคลินิกพัฒนาฝีมือแรงงานเคลื่อนที่ไปยังสถานศึกษาและสถานประกอบการต่าง ๆ 3.ปรับเพิ่มอัตราค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมสัมมนาของส่วนราชการ 4.จัดคาราวานสินค้าราคาถูกไปจำหน่ายให้ลูกจ้างในสถานประกอบการ 5.จ่ายเงินชดเชยส่วนต่างค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นให้แก่ผู้ประกอบการ"
"และหากมีมาตรการที่จะช่วยลดผลกระทบดังกล่าวได้เพิ่มขึ้น กระทรวงแรงงานจะประสานงานกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกันเข้าหารือเพื่อเตรียมวางมาตรการช่วยเหลือสำหรับเอสเอ็มอีต่อไป"
ตั้งศูนย์ช่วยเหลือเอสเอ็มอี
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเอสเอ็มอีในต่างจังหวัดแล้ว กระทรวงแรงงานยังได้เตรียมกำหนดแนวทางการดำเนินงานเพิ่มเพื่อประสิทธิภาพการจัดการผลกระทบ โดยจัดตั้งศูนย์อำนวยการเพื่อรองรับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ศูนย์นี้จะทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือสำหรับเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ โดยเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์จะคอยให้คำปรึกษาอย่างมีประสิทธิผล รวดเร็ว และติดตามเฝ้าระวังเพื่อรายงานผลการปฏิบัติในภาพรวมของกระทรวงแรงงานต่อไป
ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาปรึกษาโดยตรงที่ศูนย์นี้ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทุกจังหวัด โดยในส่วนกลางจะตั้งอยู่ที่สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน (กทม.) และในส่วนภูมิภาคจะตั้งอยู่ที่สำนักงานแรงงานจังหวัด หรือศาลากลางจังหวัด
"มองในด้านดีในวันที่ 1 มกราคม 2556 จะเป็นจุดเปลี่ยนที่จะทำให้ทั้งนายจ้างและลูกจ้างเกิดแรงกระตุ้นในการพัฒนาศักยภาพของสถานประกอบการได้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะลูกจ้างจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพทางการทำงานด้วยถึงจะตอบโจทย์ต่อค่าแรงที่เพิ่มขึ้น และเพื่อการแข่งขันกับประเทศสมาชิกในอนาคตด้วย"
300 ทั่ว ปท.กระทบหลายระดับ
จากการศึกษาของศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า การปรับค่าแรงขั้นต่ำขึ้นเป็น 300 บาท/วันเท่ากันทั้งประเทศในช่วงต้นปี 2556 จะทำให้อัตราค่าจ้างมาตรฐานของไทยขยับขึ้นร้อยละ 31.7 จากค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ยในปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ 227.8 บาท/วัน โดยจังหวัดพะเยาซึ่งมีฐานค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยต่ำที่สุดของประเทศที่ 206.3 บาท/วัน จะมีการปรับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 45.5 และลดหลั่นกันไปตามช่องว่างระหว่างอัตราค่าแรงฐานในปัจจุบัน และค่าแรงใหม่ ขณะที่ 7 จังหวัดนำร่องที่มีการปรับขึ้นค่าแรงไปแล้วในเดือนเมษายน 2555 จะคงอยู่ที่ 300 บาท/วัน
โดยผลกระทบจะรุนแรงเพียงใดขึ้นอยู่กับพื้นที่กิจการ หากเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล และมีฐานอัตราค่าจ้างแรงงานเดิมต่ำ ก็อาจได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก ส่วนใหญ่เป็นจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ขณะที่ขนาดธุรกิจและประเภทธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าจ้างมากที่สุดคงหนีไม่พ้นกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี ที่ส่วนใหญ่ยังคงพึ่งพาแรงงานที่รับค่าจ้างในอัตราขั้นต่ำ เพื่อทำงานที่ไม่ต้องอาศัยความชำนาญ โดยเฉพาะเอสเอ็มอีที่อยู่ในธุรกิจที่พึ่งพาการใช้แรงงานไร้ทักษะอย่างเข้มข้น
นอกจากนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคาดว่าจำนวนผู้ว่างงานในปี 2556 จะอยู่ที่ 3 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.8 (กรอบคาดการณ์ 2.6-3.4 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.7-0.9) เพิ่มขึ้นจากจำนวน 2.65 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.7 ในปี 2555
ปี 56 โอกาสและความท้าทาย
ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) บอกว่า สิ่งที่สถานประกอบการจะต้องเจอแน่ ๆ เมื่อเข้าสู่เดือนมกราคม 2556 คือการปรับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ถือเป็นโอกาสและความท้าทาย ข้อเสนอคือในช่วงที่จะไม่มีการปรับขึ้นค่าจ้างต่อไปอีก 2 ปี (2557-2558) รัฐบาลควรมีมาตรการเข้าไปช่วยปรับปรุงเรื่องประสิทธิภาพ และคุณภาพอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะ SMEs
นอกจากนี้นโยบายสร้างงานขนาดใหญ่ควรเน้นการให้คนไทยเข้ามาทำงานให้มากที่สุด หากจะมีมาตรการช่วยเหลือด้วยการลดการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามที่ภาคธุรกิจเรียกร้องก็ไม่ควรลดเกิน 2% และมีกำหนดระยะเวลาชัดเจนเฉพาะในช่วง 2 ปี ที่ไม่มีการปรับค่าจ้าง ขณะที่แรงงานนอกระบบก็ยังเป็นเรื่องใหญ่ที่ควรต้องมีการดูแลติดตาม
ขณะเดียวกัน สิ่งที่ต้องทำมากขึ้นคือการให้ความสำคัญเรื่องความมั่นคงทางรายได้ และสิทธิ์ความคุ้มครองต่าง ๆ ที่แรงงานนอกระบบยังด้อยสิทธิ์อยู่มาก รวมถึงการดูแลติดตามการใช้แรงงานเด็กที่ต้องทำให้ไม่มีการใช้แรงงานเด็กในสภาพเลวร้ายเกิดขึ้น
สภาอุตฯชี้การเยียวยาไม่ตรงจุด
นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า สำหรับมาตรการเยียวยาค่าแรง 300 บาท ไม่ว่าจะเป็นการชดเชยส่วนต่าง การลดเงินประกันสังคมเหลือ 2.5% เป็นเวลา 3 ปี การหักภาษีที่จ่าย 0.1% นั้น สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มถือว่าได้รับผลกระทบมากที่สุด และมองว่าเป็นเพียงการช่วยเหลือ "ระดับหนึ่ง" เท่านั้น แต่ในเมื่อเป็นนโยบายรัฐบาล
ภาคอุตสาหกรรมต้องปรับตัวให้ได้ แต่ที่ค่อนข้างลำบากคือกลุ่มเอสเอ็มอีที่ต้องการให้ผลักดันการช่วยเหลือสำคัญคือ การเข้าให้กลุ่มนี้เข้าถึงแหล่งเงินทุนให้มากขึ้น
และลดข้อจำกัดต่าง ๆ ให้น้อยลงรองประธานสภาอุตสาหกรรมฯย้ำว่า รัฐมีนโยบายปรับค่าแรง แต่แก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด ไม่ยอมฉีดยาแรงตั้งแต่แรก และจำเป็นต้องมาจ่ายส่วนต่างให้อุตสาหกรรม พยายามให้ข้อมูลว่าการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของเอสเอ็มอีถือว่าสำคัญ
แต่ไม่มีการผลักดันเรื่องนี้ ในเมื่อมีการจัดมันนี่เอ็กซ์โปทุกปี ก็ควรมีงานลักษณะนี้ แต่เป็นการซัพพอร์ตเอสเอ็มอีโดยเฉพาะบ้าง
ด้านนายวีระยุทธ สุขวัฑฒโก รองประธานและประธานสภาอุตสาหกรรมฯกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ส.อ.ท. เปิดเผยว่า มาตรการเยียวยาเบื้องต้นของภาครัฐถือว่า "ไม่ตรงจุด" และยังไม่มีความชัดเจนโดยเฉพาะมาตรการชดเชยว่าจะกำหนดสัดส่วนอย่างไร หากชดเชย 100% ในปีแรก และในปีถัดมาอาจจะเหลือ 75 : 25 หรือ 50 : 50 จะทำให้อุตสาหกรรมสามารถเดินหน้าต่อไป
หากเดินหน้าตามข้อเสนอนี้ภาครัฐอาจจะช่วยเหลือแค่ 2 ปีเท่านั้น ในปีที่ 3 ภาคอุตสาหกรรมสามารถเดินได้ด้วยศักยภาพของตัวเองแล้ว
"มาตรการลดภาษีเงินได้ บริษัทใหญ่เท่านั้นได้ประโยชน์ รายเล็กที่มีกำไรน้อยก็ไม่ได้ประโยชน์จากมาตรการนี้ นอกจากนี้ควรช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อนำมาบริหารกระแสเงินสดให้ดีขึ้น คงต้องรอดู 6 เดือนนับจากนี้ว่ามาตรการเยียวยาจะได้ผลหรือไม่"
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=0000
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- Verified User
- โพสต์: 1904
- ผู้ติดตาม: 0
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์ที่ 13
มันไม่ควรไปกำหนดค่าจ้างหรอกครับ เพราะต้องขึ้นกับความพอใจนายจ้างลูกจ้างตกลงกันเอง พื้นที่ ค่าครองชีพมันต่างกัน
อย่างบ้านผมคนแบกของให้ 350 ยังหาคนงานไม่ได้เลย คนขับรถให้ 500 ก็ทำๆหยุดๆ เบิกล่วงหน้าประจำ จนคิดว่าขับเองดีกว่า
โรงงานเลิกจ้างก็ดีครับ คนงานไทยจะได้ว่างงานแล้วไม่เลือกงาน เหมือนทุกวันนี้
อย่างบ้านผมคนแบกของให้ 350 ยังหาคนงานไม่ได้เลย คนขับรถให้ 500 ก็ทำๆหยุดๆ เบิกล่วงหน้าประจำ จนคิดว่าขับเองดีกว่า
โรงงานเลิกจ้างก็ดีครับ คนงานไทยจะได้ว่างงานแล้วไม่เลือกงาน เหมือนทุกวันนี้
- ครรชิต ไพศาล
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4637
- ผู้ติดตาม: 1
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์ที่ 14
โยนหินลงน้ำ แรกๆ น้ำ มันก็กระเพื่อมบ้าง สักพักน้ำก็กลับมาสมดุล เอง
ใช้ ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ใช้เวลาไปสักพัก เดีํยว ธุรกิจต่างๆก็จะปรับตัวเข้าสู่สมดุลและก็ชินกันไปเอง
ใช้ ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ใช้เวลาไปสักพัก เดีํยว ธุรกิจต่างๆก็จะปรับตัวเข้าสู่สมดุลและก็ชินกันไปเอง
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์ที่ 15
อุตสาหกรรมใดบ้างที่ออกมาพูด อุตสาหกรรมเหล่านั้นเราก็รู้อยู่แล้วว่ามีอนาคตมากน้อยแค่ไหน
นายทุนหลายราย ครั้งมีกำไรก็มักหลบเลี่ยงภาษี กำไรที่ได้ก็นำไปใช้จ่ายเพื่อความสุขอย่างมากมาย ไม่เก็บหอมรอบริบไว้ปรับปรุงกิจการ
ผมคิดว่าอุตสาหกรรมเหล่านั้นไม่ช้าไม่นาน ถ้าไม่มีการปรับตัวก็ต้องเลิกกิจการอยู่ดี เพราะค่าแรงประเทศเพื่อนบ้านถูกกว่ามาก หลายบริษัทก็ปรับตัวย้ายโรงงานไปอยู่ประเทศเพื่อนบ้านหมดแล้ว
นายทุนหลายราย ครั้งมีกำไรก็มักหลบเลี่ยงภาษี กำไรที่ได้ก็นำไปใช้จ่ายเพื่อความสุขอย่างมากมาย ไม่เก็บหอมรอบริบไว้ปรับปรุงกิจการ
ผมคิดว่าอุตสาหกรรมเหล่านั้นไม่ช้าไม่นาน ถ้าไม่มีการปรับตัวก็ต้องเลิกกิจการอยู่ดี เพราะค่าแรงประเทศเพื่อนบ้านถูกกว่ามาก หลายบริษัทก็ปรับตัวย้ายโรงงานไปอยู่ประเทศเพื่อนบ้านหมดแล้ว
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์ที่ 17
การขายสินค้าให้ง่ายๆ ด้วยวิธีง่ายๆ ก็คือ ขายถูกๆ ไม่ต้องคิดอะไรใหม่ ไม่ต้องปรับปรุงพัฒนาอะไร
แล้วทำอย่างไรให้ขายถูกๆแล้วยังมีกำไร วิธีแรกสำหรับสินค้าส่งออกก็คือ กดค่าเงินบาทให้ต่ำๆ ยิ่งต่ำยิ่งได้กำไรเพิ่มแบบไม่ต้องทำอะไร
อีกวิธี คือ ลดต้นทุนค่าแรง กดค่าแรงให้ต่ำๆ ไม่ต้องพัฒนากระบวนการผลิต ไม่ต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไม่ต้องพัฒนาฝีมือแรงงาน
แล้วทำอย่างไรให้ขายถูกๆแล้วยังมีกำไร วิธีแรกสำหรับสินค้าส่งออกก็คือ กดค่าเงินบาทให้ต่ำๆ ยิ่งต่ำยิ่งได้กำไรเพิ่มแบบไม่ต้องทำอะไร
อีกวิธี คือ ลดต้นทุนค่าแรง กดค่าแรงให้ต่ำๆ ไม่ต้องพัฒนากระบวนการผลิต ไม่ต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไม่ต้องพัฒนาฝีมือแรงงาน
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์ที่ 18
พิษค่าแรง 300 บาท เจ๊งระนาว เลิกจ้างขั้นต่ำ 5 แสนคน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 มกราคม 2556 11:20 น.
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - พิษค่าแรง 300 บาทที่ดันต้นทุนพุ่งถึง 60% กระเทือนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2.9 ล้านราย คาดทยอยปิดกิจการอย่างน้อย 2 แสนบริษัท แรงงานถูกเลิกจ้างกว่า 5 แสนเป็นอย่างต่ำ เศรษฐกิจป่วนกระทบเป็นลูกโซ่ ขณะที่มาตรการเยียวยาผลกระทบยังมืดมน
แม้หลายสำนักจะฟันธงว่า อัตราการเติบโตของตัวเลขเศรษฐกิจปี 2556 จะอยู่ในระดับ 4.5 - 5% ด้วยแรงกระตุ้นจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โครงการบริหารจัดการน้ำ และการอัดฉีดเม็ดเงินในสารพัดนโยบายประชานิยม แต่อีกด้านหนึ่งของนโยบายประชานิยมได้ก่อผลกระทบหรือปัจจัยเสี่ยงตามมา โดยเฉพาะเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาททั่วประเทศในเดือนม.ค. 2556 ซึ่งแบงก์ชาติคาดว่าจะส่งผลกระทบรุนแรงกว่ารอบแรกที่ปรับขึ้นเมื่อเดือนเม.ย. 2555
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการแบงก์ชาติ ประเมินว่า การปรับค่าแรงรอบแรก ทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนเพิ่มร้อยละ 40 และการปรับเพิ่มในเดือนม.ค. ปีหน้า ต้นทุนจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 22 นั่นคือต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้น 60% ในช่วง 2 ปี ซึ่งกลุ่มธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ ธุรกิจขนาดและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี ที่มีอยู่เกือบ 2.9 ล้านราย หากผู้ประกอบการไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ จะทำให้เกิดการเลิกจ้างจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอีทยอยปิดตัวลง ส่งผลกระทบต่อการส่งออกเป็นลูกโซ่
ประมาณว่า หากธุรกิจเลิกกิจการประมาณ 10% หรือ 2 แสนบริษัท อาจทำให้เกิดการว่างงานสูงถึง 4 - 5 แสนราย หรืออาจถึงล้านคน เพราะธุรกิจเคยแบกรับค่าแรงเพียงประมาณ 150 - 180 บาทต่อวัน ส่วนผลที่จะตามมาในระยะต่อไปก็คือ การย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนค่าแรงถูกกว่า
น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวถึงผลกระทบของการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท จะทำให้ค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นถึง 22.4% จากปี 2555 ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับปรับขึ้นค่าจ้างในอดีตที่เฉลี่ยเพียง 2.5% เท่านั้น
เช่นเดียวกัน นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ประเมินว่า ผลจากการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท จะฉุดให้เศรษฐกิจประเทศหรือจีดีพี มีโอกาสลดลงกว่า 2% เช่นเดิมสมมติว่าเศรษฐกิจควรโตประมาณ 5 % ก็อาจโตช้าลงกว่า เพราะผลการขึ้นค่าจ้างแรงงานมีผลกระทบมากสมควร
อย่างไรก็ตาม หากมีการปรับประสิทธิภาพแรงงาน และทยอยปรับก็อาจส่งผลกระทบไม่มาก เพราะในบางจังหวัด การปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อวันนั้น หมายถึงต้นทุนปรับเพิ่มกว่า 35% ซึ่งแม้ว่าทางสถาบันฯ จะเห็นด้วยการปรับขึ้นค่าแรงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน แต่ต้องไม่เป็นการขึ้นแบบก้าวกระโดดและอัตราเดียวกันทั้งประเทศ เพราะอุปสงค์และอุปทานของแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน
ผลการศึกษาของทีดีอาร์ไอ หัวข้อ "อุตสาหกรรมไทยจะแข่งขันอย่างไรภายใต้ค่าแรงที่สูงขึ้น" ยังระบุว่า หากรัฐบาลเร่งปรับค่าแรงขั้นต่ำขึ้น 300 บาทอย่างรวดเร็ว และไม่เป็นระบบ อาจจะส่งผลกระทบต่อการค้า การแข่งขันของภาคเอกชนในประเทศ ส่งผลต่อการเลิกจ้างงานในแรงงานระดับล่าง จนถึงการลงทุนและกระทบการขยายตัวของเศรษฐกิจในที่สุด ค่าแรงที่สูงขึ้น จะกระทบต่ออุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นต้องประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง รองลงมาคือ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยางและเม็ดพลาสติก และก่อสร้าง
ขณะที่ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินในทิศทางเดียวกันว่า ธุรกิจเอสเอ็มอีจะได้รับผลกระทบหนักจากการปรับค่าแรง 300 บาท โดยเฉพาะธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้า เครื่องนุ่มห่ม ซึ่งใช้แรงงานจำนวนมาก โดยเฉลี่ยแล้วต้นทุนในภาคการผลิตและการบริการของเอสเอ็มอีจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 12 - 13 และคาดว่าจะทำให้ภาคบริการขาดแคลนแรงงานถึงร้อยละ 15 เนื่องจากจะมีการเลือกงานมากขึ้น
ผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงทั่วประเทศ จะสำแดงฤทธิ์เดชในไตรมาสแรกของปีหน้า ต้องลุ้นกันว่าจะลามกระทบต่อผู้ประกอบการ แรงงาน เมื่อเจ๊ง เลิกจ้าง กระทบภาคการผลิต ส่งออก และภาพรวมเศรษฐกิจ เป็นลูกโซ่หรือไม่ นโยบายค่าแรง 300 บาท กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจปี 2556
ขณะที่นโยบายช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการที่จะได้รับกระทบกลับยังมืดมน นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ระบุว่า การที่รัฐบาลจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างการปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้เอสเอ็มอี เป็นมาตรการที่ช่วยเหลือได้มากที่สุด เพราะค่าจ้างขั้นต่ำที่ปรับขึ้นเป็นวันละ 300 บาท มีผลต่อต้นทุนผู้ประกอบการมาก แต่ถ้ารัฐบาลไม่สามารถดำเนินการได้ก็อาจมีผลทำให้ปิดกิจการประมาณ 1 ล้านราย และทำให้เอสเอ็มอีที่ได้เข้าร่วมโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำตามมาตรการต่างๆ วงเงินประมาณ 1 แสนล้านบาทของรัฐก่อนหน้านี้ กลายเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งจะกระเทือนถึงภาระของรัฐบาลอีกระลอก
นายพรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศ ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมานั้น ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการขนาดกลางถึงขนาดเล็ก โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัด ซึ่งจะต้องแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเชื่อว่าจากนี้ไปนายจ้าง หรือผู้ประกอบการ จะมีการหลบเลี่ยงที่จะไม่จ่ายค่าจ้างตามที่กฎหมายกำหนด หรือถ้าจ่ายก็จะนำค่าอาหาร หรือสวัสดิการต่างๆ เข้ามาเพิ่มในค่าจ้าง เพื่อจะจ่ายให้แรงงานในอัตราเท่าเดิมที่เคยจ่ายให้ เพื่อความอยู่รอดของบริษัท โดยที่ลูกจ้างอาจจะต้องจำใจเพราะไม่มีทางเลือก
นอกจากนี้ เมื่อค่าจ้างปรับขึ้นแล้ว สิ่งที่ต้องจับตาตามมา คือการปรับขึ้นของราคาสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ รวมถึงเรื่องเงินเฟ้อ
http://www.manager.co.th/lite/ViewNews. ... 0000001030
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 มกราคม 2556 11:20 น.
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - พิษค่าแรง 300 บาทที่ดันต้นทุนพุ่งถึง 60% กระเทือนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2.9 ล้านราย คาดทยอยปิดกิจการอย่างน้อย 2 แสนบริษัท แรงงานถูกเลิกจ้างกว่า 5 แสนเป็นอย่างต่ำ เศรษฐกิจป่วนกระทบเป็นลูกโซ่ ขณะที่มาตรการเยียวยาผลกระทบยังมืดมน
แม้หลายสำนักจะฟันธงว่า อัตราการเติบโตของตัวเลขเศรษฐกิจปี 2556 จะอยู่ในระดับ 4.5 - 5% ด้วยแรงกระตุ้นจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โครงการบริหารจัดการน้ำ และการอัดฉีดเม็ดเงินในสารพัดนโยบายประชานิยม แต่อีกด้านหนึ่งของนโยบายประชานิยมได้ก่อผลกระทบหรือปัจจัยเสี่ยงตามมา โดยเฉพาะเรื่องการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาททั่วประเทศในเดือนม.ค. 2556 ซึ่งแบงก์ชาติคาดว่าจะส่งผลกระทบรุนแรงกว่ารอบแรกที่ปรับขึ้นเมื่อเดือนเม.ย. 2555
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการแบงก์ชาติ ประเมินว่า การปรับค่าแรงรอบแรก ทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนเพิ่มร้อยละ 40 และการปรับเพิ่มในเดือนม.ค. ปีหน้า ต้นทุนจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 22 นั่นคือต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้น 60% ในช่วง 2 ปี ซึ่งกลุ่มธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ ธุรกิจขนาดและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี ที่มีอยู่เกือบ 2.9 ล้านราย หากผู้ประกอบการไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ จะทำให้เกิดการเลิกจ้างจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอีทยอยปิดตัวลง ส่งผลกระทบต่อการส่งออกเป็นลูกโซ่
ประมาณว่า หากธุรกิจเลิกกิจการประมาณ 10% หรือ 2 แสนบริษัท อาจทำให้เกิดการว่างงานสูงถึง 4 - 5 แสนราย หรืออาจถึงล้านคน เพราะธุรกิจเคยแบกรับค่าแรงเพียงประมาณ 150 - 180 บาทต่อวัน ส่วนผลที่จะตามมาในระยะต่อไปก็คือ การย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนค่าแรงถูกกว่า
น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวถึงผลกระทบของการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท จะทำให้ค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นถึง 22.4% จากปี 2555 ซึ่งถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับปรับขึ้นค่าจ้างในอดีตที่เฉลี่ยเพียง 2.5% เท่านั้น
เช่นเดียวกัน นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ประเมินว่า ผลจากการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท จะฉุดให้เศรษฐกิจประเทศหรือจีดีพี มีโอกาสลดลงกว่า 2% เช่นเดิมสมมติว่าเศรษฐกิจควรโตประมาณ 5 % ก็อาจโตช้าลงกว่า เพราะผลการขึ้นค่าจ้างแรงงานมีผลกระทบมากสมควร
อย่างไรก็ตาม หากมีการปรับประสิทธิภาพแรงงาน และทยอยปรับก็อาจส่งผลกระทบไม่มาก เพราะในบางจังหวัด การปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อวันนั้น หมายถึงต้นทุนปรับเพิ่มกว่า 35% ซึ่งแม้ว่าทางสถาบันฯ จะเห็นด้วยการปรับขึ้นค่าแรงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน แต่ต้องไม่เป็นการขึ้นแบบก้าวกระโดดและอัตราเดียวกันทั้งประเทศ เพราะอุปสงค์และอุปทานของแต่ละพื้นที่ไม่เท่ากัน
ผลการศึกษาของทีดีอาร์ไอ หัวข้อ "อุตสาหกรรมไทยจะแข่งขันอย่างไรภายใต้ค่าแรงที่สูงขึ้น" ยังระบุว่า หากรัฐบาลเร่งปรับค่าแรงขั้นต่ำขึ้น 300 บาทอย่างรวดเร็ว และไม่เป็นระบบ อาจจะส่งผลกระทบต่อการค้า การแข่งขันของภาคเอกชนในประเทศ ส่งผลต่อการเลิกจ้างงานในแรงงานระดับล่าง จนถึงการลงทุนและกระทบการขยายตัวของเศรษฐกิจในที่สุด ค่าแรงที่สูงขึ้น จะกระทบต่ออุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นต้องประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง รองลงมาคือ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยางและเม็ดพลาสติก และก่อสร้าง
ขณะที่ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินในทิศทางเดียวกันว่า ธุรกิจเอสเอ็มอีจะได้รับผลกระทบหนักจากการปรับค่าแรง 300 บาท โดยเฉพาะธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้า เครื่องนุ่มห่ม ซึ่งใช้แรงงานจำนวนมาก โดยเฉลี่ยแล้วต้นทุนในภาคการผลิตและการบริการของเอสเอ็มอีจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 12 - 13 และคาดว่าจะทำให้ภาคบริการขาดแคลนแรงงานถึงร้อยละ 15 เนื่องจากจะมีการเลือกงานมากขึ้น
ผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงทั่วประเทศ จะสำแดงฤทธิ์เดชในไตรมาสแรกของปีหน้า ต้องลุ้นกันว่าจะลามกระทบต่อผู้ประกอบการ แรงงาน เมื่อเจ๊ง เลิกจ้าง กระทบภาคการผลิต ส่งออก และภาพรวมเศรษฐกิจ เป็นลูกโซ่หรือไม่ นโยบายค่าแรง 300 บาท กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจปี 2556
ขณะที่นโยบายช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการที่จะได้รับกระทบกลับยังมืดมน นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ระบุว่า การที่รัฐบาลจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างการปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้เอสเอ็มอี เป็นมาตรการที่ช่วยเหลือได้มากที่สุด เพราะค่าจ้างขั้นต่ำที่ปรับขึ้นเป็นวันละ 300 บาท มีผลต่อต้นทุนผู้ประกอบการมาก แต่ถ้ารัฐบาลไม่สามารถดำเนินการได้ก็อาจมีผลทำให้ปิดกิจการประมาณ 1 ล้านราย และทำให้เอสเอ็มอีที่ได้เข้าร่วมโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำตามมาตรการต่างๆ วงเงินประมาณ 1 แสนล้านบาทของรัฐก่อนหน้านี้ กลายเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งจะกระเทือนถึงภาระของรัฐบาลอีกระลอก
นายพรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศ ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมานั้น ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการขนาดกลางถึงขนาดเล็ก โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัด ซึ่งจะต้องแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเชื่อว่าจากนี้ไปนายจ้าง หรือผู้ประกอบการ จะมีการหลบเลี่ยงที่จะไม่จ่ายค่าจ้างตามที่กฎหมายกำหนด หรือถ้าจ่ายก็จะนำค่าอาหาร หรือสวัสดิการต่างๆ เข้ามาเพิ่มในค่าจ้าง เพื่อจะจ่ายให้แรงงานในอัตราเท่าเดิมที่เคยจ่ายให้ เพื่อความอยู่รอดของบริษัท โดยที่ลูกจ้างอาจจะต้องจำใจเพราะไม่มีทางเลือก
นอกจากนี้ เมื่อค่าจ้างปรับขึ้นแล้ว สิ่งที่ต้องจับตาตามมา คือการปรับขึ้นของราคาสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ รวมถึงเรื่องเงินเฟ้อ
http://www.manager.co.th/lite/ViewNews. ... 0000001030
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์ที่ 19
สรุปข่าวเศรษฐกิจ ประจำวันที่ 09 ม.ค. 2556
Source - สรุปข่าวเศรษฐกิจ ประจำวันที่ ':location,dd MMM yyyy'
Wednesday, 09 January 2013 08:26
#เดลินิวส์
สินค้ายี่ห้อดังหนีค่าจ้างไทยจ่อย้ายโรงงานตามเจ้าของสิทธิ
นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้เจ้าของสินค้าแบรนด์ดังระดับโลกอย่างเสื้อผ้า รองเท้า ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หลายรายเริ่มทยอยไปทำสัญญาในการสั่งผลิตสินค้าในประเทศเพื่อนบ้านอย่าง กัมพูชา เวียดนาม จีน อินเดีย อินโดนีเซีย บังกลาเทศ เป็นต้น เพื่อลดต้นทุนการผลิตสินค้า เนื่องจากต้นทุนการผลิตในไทยมีราคาที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องของวัตถุดิบและผลกระทบจากนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ
Source - สรุปข่าวเศรษฐกิจ ประจำวันที่ ':location,dd MMM yyyy'
Wednesday, 09 January 2013 08:26
#เดลินิวส์
สินค้ายี่ห้อดังหนีค่าจ้างไทยจ่อย้ายโรงงานตามเจ้าของสิทธิ
นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้เจ้าของสินค้าแบรนด์ดังระดับโลกอย่างเสื้อผ้า รองเท้า ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หลายรายเริ่มทยอยไปทำสัญญาในการสั่งผลิตสินค้าในประเทศเพื่อนบ้านอย่าง กัมพูชา เวียดนาม จีน อินเดีย อินโดนีเซีย บังกลาเทศ เป็นต้น เพื่อลดต้นทุนการผลิตสินค้า เนื่องจากต้นทุนการผลิตในไทยมีราคาที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องของวัตถุดิบและผลกระทบจากนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
- newbie_12
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2912
- ผู้ติดตาม: 1
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์ที่ 20
อุตสาหกรรมตะวันตกดิน พึ่งพาแรงงานราคาถูก ไม่มี value added อะไรมากมาย เลิกไปได้ก็ดีแล้วครับ แรงงานจะได้ย้ายไปสู่ภาคการผลิตที่มี value added เพิ่มมากขึ้น สิ่งที่ต้องการก็คือการ training ใหม่ๆ อย่าลืมว่าปัญหาหลักของไทยเราคือการขาดแคลนแรงงานครับ
การเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยระยะเวลากันทั้งนั้น
การเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยระยะเวลากันทั้งนั้น
.
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง
----------------------------
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง
----------------------------
-
- Verified User
- โพสต์: 390
- ผู้ติดตาม: 0
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์ที่ 21
ที่บางแห่งประกาศเลิกตอนนี้ เป็นการอาศัยจังหวะเกาะกระแสค่าแรง 300 บาทด้วยครับ
กล่าวคือ บางแห่งต้องการจะเลิกจ้างอยู่แล้ว แต่ติดขัดที่สหภาพแรงงานบ้าง คนงานรวมตัวกันบ้าง
ก็สบโอกาสนี้ ประกาศปิดกิจการซะเลยครับ
กล่าวคือ บางแห่งต้องการจะเลิกจ้างอยู่แล้ว แต่ติดขัดที่สหภาพแรงงานบ้าง คนงานรวมตัวกันบ้าง
ก็สบโอกาสนี้ ประกาศปิดกิจการซะเลยครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์ที่ 22
เมื่อวานฟังรายการสรยุทธช่วงเย็น
ตัวแทนจากผู้ประกอบการมาออกรายการ บอกว่าถึงแม้การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะเป็นการเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ แต่ผู้ประกอบการกว่า 70% เป็นผู้ส่งออก จะไม่ได้รับผลดีจากกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น
ผมก็อยากจะบอกว่า ผู้ส่งออกส่วนใหญ่น่าจะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ ไม่ใช่ SME และคงมีการเปลี่ยนเป็นเครื่องจักรทดแทนกำลังคนมากแล้ว เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสากรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอีเล็กโทรนิค รวมทั้งผู้ประกอบการส่งออกส่วนใหญ่เป็นของบริษัทข้ามชาติมากกว่า
แต่ผมก็เห็นใจในการขึ้นค่าแรงที่เท่ากันทั่วประเทศ ทำให้บางจังหวัดปรับเพิ่มขึ้นสูงมากในครั้งเดียว น่าจะเป็นการทยอยปรับขึ้นเป็นขั้นบรรไดมากกว่า
ตัวแทนจากผู้ประกอบการมาออกรายการ บอกว่าถึงแม้การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะเป็นการเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ แต่ผู้ประกอบการกว่า 70% เป็นผู้ส่งออก จะไม่ได้รับผลดีจากกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น
ผมก็อยากจะบอกว่า ผู้ส่งออกส่วนใหญ่น่าจะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ ไม่ใช่ SME และคงมีการเปลี่ยนเป็นเครื่องจักรทดแทนกำลังคนมากแล้ว เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสากรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอีเล็กโทรนิค รวมทั้งผู้ประกอบการส่งออกส่วนใหญ่เป็นของบริษัทข้ามชาติมากกว่า
แต่ผมก็เห็นใจในการขึ้นค่าแรงที่เท่ากันทั่วประเทศ ทำให้บางจังหวัดปรับเพิ่มขึ้นสูงมากในครั้งเดียว น่าจะเป็นการทยอยปรับขึ้นเป็นขั้นบรรไดมากกว่า
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์ที่ 23
ผมว่า หลายๆ คน หรือ ส่วนใหญ่
นักลงทุนใน thaivi ไม่เป็นเจ้าของกิจการขนาดเล็ก/กลาง
หรือเป็นผู้บริหารกิจการขนาดเล็ก/กลางในระดับที่ต้องดูแลทุกๆ เรื่อง
ไม่เข้าใจหรอกครับ
แต่ผมในฐานะที่ผ่านตรงนั้นมาแล้ว และออกมาได้ มาเป็น
นักลงทุนเต็มตัวถึงแม้ไม่เก่งและพอร์ตจะเล็กๆ แค่เลี้ยงตัวได้
(thanks god...)
ผมบอกเลยว่า
1) แรงงานขาดจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับทัึกษะขนาดไหนก็ตาม
2) บอกว่าให้ไปทำอย่างอื่น เทรนใหม่ ทราบหรือไม่ว่า
เทรนคน ยากขนาดไหน และผมบอกเลยว่า ระยะเวลา 20 ปีที่่ผ่านมา
พื้นฐานความรู้ความสามารถของคนงานไทย ตกต่ำลงอย่างมากๆๆๆๆ
คือจบมาไม่แทบไม่รู้เรื่องอะไรเลยในสายงานที่จบมา นอกเหนือจากนี้
ความอดทนก็ต่ำลงเรื่อยๆ
3) ธุรกิจหลายๆ อย่าง อาศัยทรัพยากรท้องถิ่นที่มีอยู่เป็นวัตถุดิบ แล้ว
จะให้ไปทำอะไรแข่งขันกับคนอื่นๆ ครับ
4) บอกให้ปรับเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยี่ บางกิจการเขาไม่ได้มีกำไรมหาศาล
แค่เลี้ยงครอบครัว เลี้ยงคนงานได้ มีกำไรบ้าง บางทีขาดทุนบ้าง แต่พออยู่ได้
จะเอาเงินที่ไหนไปลงทุนครับ อย่าบอกให้เป็นหนี้นะครับ เพราะแต่เดิมมาก็
พออยู่ได้เท่านั้นเอง
4) มีประเทศไหนในโลกที่ปรับค่าแรงแบบฉับพลันอุกอาจขนาดนี้
เป็๋นนักลงทุันง่ายกว่าครับ แค่เปลี่ยนบริษัทที่ลงทุนจาก A ไป B ก็เรียบร้อย
อาจทำได้ภายในแค่ 1 นาทีเท่านั้น แต่โรงงานหรือกิจการ มันทำแบบนั้นไม่ได้
ครับ
นักลงทุนใน thaivi ไม่เป็นเจ้าของกิจการขนาดเล็ก/กลาง
หรือเป็นผู้บริหารกิจการขนาดเล็ก/กลางในระดับที่ต้องดูแลทุกๆ เรื่อง
ไม่เข้าใจหรอกครับ
แต่ผมในฐานะที่ผ่านตรงนั้นมาแล้ว และออกมาได้ มาเป็น
นักลงทุนเต็มตัวถึงแม้ไม่เก่งและพอร์ตจะเล็กๆ แค่เลี้ยงตัวได้
(thanks god...)
ผมบอกเลยว่า
1) แรงงานขาดจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับทัึกษะขนาดไหนก็ตาม
2) บอกว่าให้ไปทำอย่างอื่น เทรนใหม่ ทราบหรือไม่ว่า
เทรนคน ยากขนาดไหน และผมบอกเลยว่า ระยะเวลา 20 ปีที่่ผ่านมา
พื้นฐานความรู้ความสามารถของคนงานไทย ตกต่ำลงอย่างมากๆๆๆๆ
คือจบมาไม่แทบไม่รู้เรื่องอะไรเลยในสายงานที่จบมา นอกเหนือจากนี้
ความอดทนก็ต่ำลงเรื่อยๆ
3) ธุรกิจหลายๆ อย่าง อาศัยทรัพยากรท้องถิ่นที่มีอยู่เป็นวัตถุดิบ แล้ว
จะให้ไปทำอะไรแข่งขันกับคนอื่นๆ ครับ
4) บอกให้ปรับเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยี่ บางกิจการเขาไม่ได้มีกำไรมหาศาล
แค่เลี้ยงครอบครัว เลี้ยงคนงานได้ มีกำไรบ้าง บางทีขาดทุนบ้าง แต่พออยู่ได้
จะเอาเงินที่ไหนไปลงทุนครับ อย่าบอกให้เป็นหนี้นะครับ เพราะแต่เดิมมาก็
พออยู่ได้เท่านั้นเอง
4) มีประเทศไหนในโลกที่ปรับค่าแรงแบบฉับพลันอุกอาจขนาดนี้
เป็๋นนักลงทุันง่ายกว่าครับ แค่เปลี่ยนบริษัทที่ลงทุนจาก A ไป B ก็เรียบร้อย
อาจทำได้ภายในแค่ 1 นาทีเท่านั้น แต่โรงงานหรือกิจการ มันทำแบบนั้นไม่ได้
ครับ
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์ที่ 24
เสียงสะท้อนจากการขึ้นค่าจ้าง 300 บาท มองจากมุม ′ลูกจ้าง′
updated: 09 ม.ค. 2556 เวลา 10:30:45 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ด้วยมติของคณะกรรมการค่าจ้างกลาง หรือ "บอร์ดแรงงาน" เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2555 ได้มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในทุกจังหวัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.5 โดยมี 7 จังหวัดที่อัตราค่าจ้างปรับเป็นวันละ 300 บาท ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม และภูเก็ต
ส่วนที่เหลืออีก 70 จังหวัด มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท บังคับใช้กันตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป
ในส่วนของผู้ประกอบการทั้งหลายตลอดระยะที่ผ่านมามีระคนกันไปทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย รวมทั้งในส่วนที่ไม่มีผลกระทบเพราะมีการจ้างแรงงานด้วยค่าจ้างและสวัสดิการที่มากกว่า 300 บาท อยู่แล้ว
แต่เมื่อเสียงนกหวีดส่งสัญญาณขึ้นค่าจ้างดังขึ้นแล้ว
"นายจ้าง" ต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยไม่มีข้อยกเว้น
ในมุมของ "ลูกจ้าง" ที่ได้ "ค่าเหนื่อย" เพิ่มขึ้น ก็มีเสียงสะท้อนตามมาให้เห็นเช่นกัน
จะดีขึ้นหรือสุขเท่าเดิม ลองมาฟังกันดู
สุทธิชัย เลียนอย่าง ช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ วัย 23 ลูกจ้างที่ทำงานขยันตัวเป็นเกลียวในร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ภายในซอยสืบสิริ 3 ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา เล่าให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้เคยได้ค่าแรงวันละ 260 บาท ถือว่าพออยู่ได้ เพราะยังไม่ตั้งครอบครัว อาศัยอยู่กับพ่อแม่ จะเสียเงินก็แค่อาหารมื้อกลางวันตกวันละ 40 บาท เท่านั้น จึงมีเงินเหลือสำหรับซื้อของใช้จ่ายอย่างอื่น แต่ไม่ถึงกับมีเงินเก็บ เพราะยังต้องเจียดเงินให้พ่อแม่ใช้ด้วย
"พอรัฐบาลประกาศขึ้นค่าแรง นายจ้างของผมก็ปรับให้ทันที ผมดีใจมาก อย่างน้อยก็มีรายได้เพิ่มขึ้น แม้จะเพิ่มไม่มากแต่มีกำลังในการทำงาน ส่วนคนที่มีครอบครัวน่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนลงบ้าง แต่สิ่งที่ผมเจอตามมาขณะนี้คือข้าวของที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันต่างปรับราคาขึ้นตามไปด้วย อย่างอาหารตามสั่ง เคยขายจานละ 30 บาท พรวดพราดขึ้นมาที่ 35-40 บาทแล้ว ฝากให้รัฐบาลช่วยควบคุมราคาสินค้าเหล่านี้ด้วย" สุทธิชัยกล่าว
นางทองใบ กล้ากลาง อายุ 56 ปี ชาว ต.โคกกรวด อ.เมือง จ.นครราชสีมา ลูกจ้างบริษัทรับเหมาจัดสวนหย่อมแห่งหนึ่งใน จ.นครราชสีมา กล่าวว่า รับจ้างเป็นคนจัดสวนได้เงินรายวัน เคยได้วันละ 250 บาท แต่พอหลังวันที่ 1 มกราคมเป็นต้นมา นายจ้างขึ้นค่าแรงให้ลูกจ้างทั้งหมด ตกวันละ 300 บาท พวกเราพอใจกันมาก อีกทั้งนายจ้างยังเลี้ยงอาหารวันละ 2 มื้อ ทั้งมื้อเช้าและเที่ยง
"แต่ธุรกิจรับเหมาจัดสวนหย่อมไม่ได้มีงานให้ทำทุกวัน เดือนหนึ่งจะมี 2-3 ครั้ง ครั้งละ 3-4 วันเท่านั้น จึงต้องใช้เงินอย่างประหยัด แต่เมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้น เวลาไปซื้อของกินของใช้ ทุกอย่างก็แพงขึ้นตามไปด้วย" นางทองใบกล่าว
ลองมาฟัง กรรณิการ์ จำรูญหิน ชาว อ.วังสะพุง จ.เลย ที่เดินหางานทำในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา กันบ้าง สาววัย 26 รายนี้เล่าให้ฟังว่า เคยเป็นพนักงานบรรจุแล้วในโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของจังหวัด (พระนครศรีอยุธยา) วันนี้ต้องเดินเตะฝุ่นหางานใหม่
"ก่อนที่จะมีการปรับขึ้นค่าแรง เคยได้ค่าแรงตกวันละ 267 บาท รวมกับรายได้ทำงานล่วงเวลา หรือโอที 4 ชั่วโมง อีก 175 บาท เท่ากับได้ 440 บาท แต่พอขึ้นค่าแรง 300 บาท โรงงานเลิกให้ทำโอทีทันที จึงได้ค่าแรงตกวันละ 300 บาท เท่านั้น รวมทั้งการจ้างงานในวันหยุดที่เคยได้ 2 แรง ก็ไม่มีเช่นกัน ทำให้ใช้จ่ายไม่พอ จึงต้องออกหางานใหม่ที่ต้องมีโอทีด้วย เพื่อจะมีรายได้เลี้ยงตัวได้เหมือนก่อนหน้านี้" กรรณิการ์กล่าว
ขณะที่ รพีพรรณ แซ่จัง ยังใช้นางสาวนำหน้า อายุ 23 ปี เป็นคน อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ทำงานหาเลี้ยงชีพที่บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เป็นลูกจ้างฝ่ายผลิต กินค่าจ้างรายวัน ยอมรับว่าการปรับ
ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ดีขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย
"ก่อนหน้านี้เคยได้ค่าจ้างวันละ 215 บาท และยังมีค่าโอที ค่าเข้าเวร ค่าอาหาร และอื่นๆ แต่พอปรับเป็นวันละ 300 บาท รายได้ประกอบอื่นๆ ก็ลดลงตาม บางรายการถูกผนวกเข้ารวมกับเงิน 300 บาท ค่าโอทีก็ลดลง
รวมแล้วเงินที่ได้ไม่ต่างกันมากนัก" รพีพรรณกล่าว
น.ส.ปภาวรินทร์ เผือกนาค อายุ 30 ปี พักอยู่ย่าน ต.บึงยี่โถ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี ทำงานลูกจ้างรายวันที่โรงงานแห่งหนึ่งในพื้นที่เดียวกันกับที่อยู่อาศัย เดิมได้ค่าจ้างวันละ 200 กว่าบาท หลังมีการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท รายได้ก็เพิ่มมากขึ้น สวัสดิการต่างๆ ยังเหมือนเดิม ไม่มีการหักหรือลดแต่อย่างใด แต่ค่าครองชีพต่างๆ ทั้งเครื่องอุปโภคบริโภคกลับขึ้นแข่งกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น
"เฉลี่ยเงินที่ได้มากับเงินที่ต้องใช้จ่ายก็มีค่าเท่ากัน หากถามว่า 300 บาท พอใช้หรือไม่ หากใช้ให้รู้จักประหยัดก็สามารถอยู่ได้" ปภาวรินทร์กล่าวทิ้งท้าย
เป็นเสียงสะท้อนจากอีกมุมของการขึ้นค่าแรง โดยเฉพาะนายจ้างที่ "ซิกแซ็ก" เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายมากขึ้น กลุ่มทุนที่ฉวยโอกาสกับสถานการณ์ ทำให้ "ราคาสินค้า" ขึ้นไล่ตามมาติดๆ
ขณะที่ความเป็นอยู่ของ "ลูกจ้าง" ยังยากลำบาก ยังเป็นผู้ถูกกระทำ และรอการเหลียวแลเอาใจใส่
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=0000
updated: 09 ม.ค. 2556 เวลา 10:30:45 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ด้วยมติของคณะกรรมการค่าจ้างกลาง หรือ "บอร์ดแรงงาน" เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2555 ได้มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในทุกจังหวัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.5 โดยมี 7 จังหวัดที่อัตราค่าจ้างปรับเป็นวันละ 300 บาท ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม และภูเก็ต
ส่วนที่เหลืออีก 70 จังหวัด มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท บังคับใช้กันตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป
ในส่วนของผู้ประกอบการทั้งหลายตลอดระยะที่ผ่านมามีระคนกันไปทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย รวมทั้งในส่วนที่ไม่มีผลกระทบเพราะมีการจ้างแรงงานด้วยค่าจ้างและสวัสดิการที่มากกว่า 300 บาท อยู่แล้ว
แต่เมื่อเสียงนกหวีดส่งสัญญาณขึ้นค่าจ้างดังขึ้นแล้ว
"นายจ้าง" ต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยไม่มีข้อยกเว้น
ในมุมของ "ลูกจ้าง" ที่ได้ "ค่าเหนื่อย" เพิ่มขึ้น ก็มีเสียงสะท้อนตามมาให้เห็นเช่นกัน
จะดีขึ้นหรือสุขเท่าเดิม ลองมาฟังกันดู
สุทธิชัย เลียนอย่าง ช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ วัย 23 ลูกจ้างที่ทำงานขยันตัวเป็นเกลียวในร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ภายในซอยสืบสิริ 3 ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา เล่าให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้เคยได้ค่าแรงวันละ 260 บาท ถือว่าพออยู่ได้ เพราะยังไม่ตั้งครอบครัว อาศัยอยู่กับพ่อแม่ จะเสียเงินก็แค่อาหารมื้อกลางวันตกวันละ 40 บาท เท่านั้น จึงมีเงินเหลือสำหรับซื้อของใช้จ่ายอย่างอื่น แต่ไม่ถึงกับมีเงินเก็บ เพราะยังต้องเจียดเงินให้พ่อแม่ใช้ด้วย
"พอรัฐบาลประกาศขึ้นค่าแรง นายจ้างของผมก็ปรับให้ทันที ผมดีใจมาก อย่างน้อยก็มีรายได้เพิ่มขึ้น แม้จะเพิ่มไม่มากแต่มีกำลังในการทำงาน ส่วนคนที่มีครอบครัวน่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนลงบ้าง แต่สิ่งที่ผมเจอตามมาขณะนี้คือข้าวของที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันต่างปรับราคาขึ้นตามไปด้วย อย่างอาหารตามสั่ง เคยขายจานละ 30 บาท พรวดพราดขึ้นมาที่ 35-40 บาทแล้ว ฝากให้รัฐบาลช่วยควบคุมราคาสินค้าเหล่านี้ด้วย" สุทธิชัยกล่าว
นางทองใบ กล้ากลาง อายุ 56 ปี ชาว ต.โคกกรวด อ.เมือง จ.นครราชสีมา ลูกจ้างบริษัทรับเหมาจัดสวนหย่อมแห่งหนึ่งใน จ.นครราชสีมา กล่าวว่า รับจ้างเป็นคนจัดสวนได้เงินรายวัน เคยได้วันละ 250 บาท แต่พอหลังวันที่ 1 มกราคมเป็นต้นมา นายจ้างขึ้นค่าแรงให้ลูกจ้างทั้งหมด ตกวันละ 300 บาท พวกเราพอใจกันมาก อีกทั้งนายจ้างยังเลี้ยงอาหารวันละ 2 มื้อ ทั้งมื้อเช้าและเที่ยง
"แต่ธุรกิจรับเหมาจัดสวนหย่อมไม่ได้มีงานให้ทำทุกวัน เดือนหนึ่งจะมี 2-3 ครั้ง ครั้งละ 3-4 วันเท่านั้น จึงต้องใช้เงินอย่างประหยัด แต่เมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้น เวลาไปซื้อของกินของใช้ ทุกอย่างก็แพงขึ้นตามไปด้วย" นางทองใบกล่าว
ลองมาฟัง กรรณิการ์ จำรูญหิน ชาว อ.วังสะพุง จ.เลย ที่เดินหางานทำในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา กันบ้าง สาววัย 26 รายนี้เล่าให้ฟังว่า เคยเป็นพนักงานบรรจุแล้วในโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของจังหวัด (พระนครศรีอยุธยา) วันนี้ต้องเดินเตะฝุ่นหางานใหม่
"ก่อนที่จะมีการปรับขึ้นค่าแรง เคยได้ค่าแรงตกวันละ 267 บาท รวมกับรายได้ทำงานล่วงเวลา หรือโอที 4 ชั่วโมง อีก 175 บาท เท่ากับได้ 440 บาท แต่พอขึ้นค่าแรง 300 บาท โรงงานเลิกให้ทำโอทีทันที จึงได้ค่าแรงตกวันละ 300 บาท เท่านั้น รวมทั้งการจ้างงานในวันหยุดที่เคยได้ 2 แรง ก็ไม่มีเช่นกัน ทำให้ใช้จ่ายไม่พอ จึงต้องออกหางานใหม่ที่ต้องมีโอทีด้วย เพื่อจะมีรายได้เลี้ยงตัวได้เหมือนก่อนหน้านี้" กรรณิการ์กล่าว
ขณะที่ รพีพรรณ แซ่จัง ยังใช้นางสาวนำหน้า อายุ 23 ปี เป็นคน อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ทำงานหาเลี้ยงชีพที่บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เป็นลูกจ้างฝ่ายผลิต กินค่าจ้างรายวัน ยอมรับว่าการปรับ
ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ดีขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย
"ก่อนหน้านี้เคยได้ค่าจ้างวันละ 215 บาท และยังมีค่าโอที ค่าเข้าเวร ค่าอาหาร และอื่นๆ แต่พอปรับเป็นวันละ 300 บาท รายได้ประกอบอื่นๆ ก็ลดลงตาม บางรายการถูกผนวกเข้ารวมกับเงิน 300 บาท ค่าโอทีก็ลดลง
รวมแล้วเงินที่ได้ไม่ต่างกันมากนัก" รพีพรรณกล่าว
น.ส.ปภาวรินทร์ เผือกนาค อายุ 30 ปี พักอยู่ย่าน ต.บึงยี่โถ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี ทำงานลูกจ้างรายวันที่โรงงานแห่งหนึ่งในพื้นที่เดียวกันกับที่อยู่อาศัย เดิมได้ค่าจ้างวันละ 200 กว่าบาท หลังมีการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท รายได้ก็เพิ่มมากขึ้น สวัสดิการต่างๆ ยังเหมือนเดิม ไม่มีการหักหรือลดแต่อย่างใด แต่ค่าครองชีพต่างๆ ทั้งเครื่องอุปโภคบริโภคกลับขึ้นแข่งกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น
"เฉลี่ยเงินที่ได้มากับเงินที่ต้องใช้จ่ายก็มีค่าเท่ากัน หากถามว่า 300 บาท พอใช้หรือไม่ หากใช้ให้รู้จักประหยัดก็สามารถอยู่ได้" ปภาวรินทร์กล่าวทิ้งท้าย
เป็นเสียงสะท้อนจากอีกมุมของการขึ้นค่าแรง โดยเฉพาะนายจ้างที่ "ซิกแซ็ก" เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายมากขึ้น กลุ่มทุนที่ฉวยโอกาสกับสถานการณ์ ทำให้ "ราคาสินค้า" ขึ้นไล่ตามมาติดๆ
ขณะที่ความเป็นอยู่ของ "ลูกจ้าง" ยังยากลำบาก ยังเป็นผู้ถูกกระทำ และรอการเหลียวแลเอาใจใส่
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=0000
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 103
- ผู้ติดตาม: 0
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์ที่ 26
ถ้าเทียบค่าแรงขั้นต่ำกับ consumer price index เป็น relative จะเห็นว่าในสิบปีที่ผ่านมา ค่าแรงขั้นต่ำไม่เคยเพิ่มขึ้นเลย
สิบปีที่แล้วซื้อไข่ได้หนึ่งใบ ปีนี้ก็ซื้อไข่ได้หนึ่งใบเหมือนเดิม
และไม่ได้สัมพันธ์กับ GDP ของประเทศ
สิบปีที่แล้วซื้อไข่ได้หนึ่งใบ ปีนี้ก็ซื้อไข่ได้หนึ่งใบเหมือนเดิม
และไม่ได้สัมพันธ์กับ GDP ของประเทศ
แนบไฟล์
ซาบิ ; ความงามที่ผ่านคุณค่าของกาลเวลา
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์ที่ 27
นั่นซิครับ ผมถึงเป็นนักลงทุนไงครับsyj เขียน:ผมว่า หลายๆ คน หรือ ส่วนใหญ่
นักลงทุนใน thaivi ไม่เป็นเจ้าของกิจการขนาดเล็ก/กลาง
หรือเป็นผู้บริหารกิจการขนาดเล็ก/กลางในระดับที่ต้องดูแลทุกๆ เรื่อง
ไม่เข้าใจหรอกครับ
แต่ผมในฐานะที่ผ่านตรงนั้นมาแล้ว และออกมาได้ มาเป็น
นักลงทุนเต็มตัวถึงแม้ไม่เก่งและพอร์ตจะเล็กๆ แค่เลี้ยงตัวได้
(thanks god...)
ผมบอกเลยว่า
1) แรงงานขาดจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับทัึกษะขนาดไหนก็ตาม
2) บอกว่าให้ไปทำอย่างอื่น เทรนใหม่ ทราบหรือไม่ว่า
เทรนคน ยากขนาดไหน และผมบอกเลยว่า ระยะเวลา 20 ปีที่่ผ่านมา
พื้นฐานความรู้ความสามารถของคนงานไทย ตกต่ำลงอย่างมากๆๆๆๆ
คือจบมาไม่แทบไม่รู้เรื่องอะไรเลยในสายงานที่จบมา นอกเหนือจากนี้
ความอดทนก็ต่ำลงเรื่อยๆ
3) ธุรกิจหลายๆ อย่าง อาศัยทรัพยากรท้องถิ่นที่มีอยู่เป็นวัตถุดิบ แล้ว
จะให้ไปทำอะไรแข่งขันกับคนอื่นๆ ครับ
4) บอกให้ปรับเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยี่ บางกิจการเขาไม่ได้มีกำไรมหาศาล
แค่เลี้ยงครอบครัว เลี้ยงคนงานได้ มีกำไรบ้าง บางทีขาดทุนบ้าง แต่พออยู่ได้
จะเอาเงินที่ไหนไปลงทุนครับ อย่าบอกให้เป็นหนี้นะครับ เพราะแต่เดิมมาก็
พออยู่ได้เท่านั้นเอง
4) มีประเทศไหนในโลกที่ปรับค่าแรงแบบฉับพลันอุกอาจขนาดนี้
เป็๋นนักลงทุันง่ายกว่าครับ แค่เปลี่ยนบริษัทที่ลงทุนจาก A ไป B ก็เรียบร้อย
อาจทำได้ภายในแค่ 1 นาทีเท่านั้น แต่โรงงานหรือกิจการ มันทำแบบนั้นไม่ได้
ครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 667
- ผู้ติดตาม: 0
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์ที่ 28
syj เขียน:ผมว่า หลายๆ คน หรือ ส่วนใหญ่
นักลงทุนใน thaivi ไม่เป็นเจ้าของกิจการขนาดเล็ก/กลาง
หรือเป็นผู้บริหารกิจการขนาดเล็ก/กลางในระดับที่ต้องดูแลทุกๆ เรื่อง
ไม่เข้าใจหรอกครับ
แต่ผมในฐานะที่ผ่านตรงนั้นมาแล้ว และออกมาได้ มาเป็น
นักลงทุนเต็มตัวถึงแม้ไม่เก่งและพอร์ตจะเล็กๆ แค่เลี้ยงตัวได้
(thanks god...)
ผมบอกเลยว่า
1) แรงงานขาดจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับทัึกษะขนาดไหนก็ตาม
2) บอกว่าให้ไปทำอย่างอื่น เทรนใหม่ ทราบหรือไม่ว่า
เทรนคน ยากขนาดไหน และผมบอกเลยว่า ระยะเวลา 20 ปีที่่ผ่านมา
พื้นฐานความรู้ความสามารถของคนงานไทย ตกต่ำลงอย่างมากๆๆๆๆ
คือจบมาไม่แทบไม่รู้เรื่องอะไรเลยในสายงานที่จบมา นอกเหนือจากนี้
ความอดทนก็ต่ำลงเรื่อยๆ
3) ธุรกิจหลายๆ อย่าง อาศัยทรัพยากรท้องถิ่นที่มีอยู่เป็นวัตถุดิบ แล้ว
จะให้ไปทำอะไรแข่งขันกับคนอื่นๆ ครับ
4) บอกให้ปรับเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยี่ บางกิจการเขาไม่ได้มีกำไรมหาศาล
แค่เลี้ยงครอบครัว เลี้ยงคนงานได้ มีกำไรบ้าง บางทีขาดทุนบ้าง แต่พออยู่ได้
จะเอาเงินที่ไหนไปลงทุนครับ อย่าบอกให้เป็นหนี้นะครับ เพราะแต่เดิมมาก็
พออยู่ได้เท่านั้นเอง
4) มีประเทศไหนในโลกที่ปรับค่าแรงแบบฉับพลันอุกอาจขนาดนี้
เป็๋นนักลงทุันง่ายกว่าครับ แค่เปลี่ยนบริษัทที่ลงทุนจาก A ไป B ก็เรียบร้อย
อาจทำได้ภายในแค่ 1 นาทีเท่านั้น แต่โรงงานหรือกิจการ มันทำแบบนั้นไม่ได้
ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 667
- ผู้ติดตาม: 0
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์ที่ 29
จริงอย่างที่คุณ "syj" พูดครับ....^^)
แต่มันยังมีเหตุผลระหว่างการลงทุนในหุ้นกับการประกอบธุรกิจเองครับ นั่นคือ
ในมุมของการทำธุรกิจเอง "ทุกสิ่งทุกอย่างเราควบคุมมันได้"(เฉพาะปัจจัยภายในนะครับ)
แต่หุ้นนั้นเราควบคุมมันไม่ได้ เช่น จะปันผลหรือไม่ หรือจะปันได้มากเท่าไร แต่ธุรกิจของตนเองสามารถกำหนดได้
และอีกสิ่งหนึ่งคือเรื่องของ"ผลตอบแทน" ที่การทำธุรกิจของตนเองนั้นได้ผลตอบแทนที่ต้องเรียกว่า "อนันต์"
ซึ่งมากกว่าลงทุนในหุ้นแน่นอน แต่ต้องเน้นว่าต้องเป็น "ธุรกิจที่ประสพความสำเร็จเท่านั้น!!!" นะครับ...^^)
แต่มันยังมีเหตุผลระหว่างการลงทุนในหุ้นกับการประกอบธุรกิจเองครับ นั่นคือ
ในมุมของการทำธุรกิจเอง "ทุกสิ่งทุกอย่างเราควบคุมมันได้"(เฉพาะปัจจัยภายในนะครับ)
แต่หุ้นนั้นเราควบคุมมันไม่ได้ เช่น จะปันผลหรือไม่ หรือจะปันได้มากเท่าไร แต่ธุรกิจของตนเองสามารถกำหนดได้
และอีกสิ่งหนึ่งคือเรื่องของ"ผลตอบแทน" ที่การทำธุรกิจของตนเองนั้นได้ผลตอบแทนที่ต้องเรียกว่า "อนันต์"
ซึ่งมากกว่าลงทุนในหุ้นแน่นอน แต่ต้องเน้นว่าต้องเป็น "ธุรกิจที่ประสพความสำเร็จเท่านั้น!!!" นะครับ...^^)
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
Re: 300 บาทพ่นพิษ! รง.โคราชเจ๊งแล้ว 6 แห่ง เลิกจ้าง 800
โพสต์ที่ 30
ความแตกต่างที่สำคัญอีกอย่าง คือ ภาพลักษณ์ในสังคม
ถ้าคุณบอกแก่คนอื่นว่าทำธุรกิจส่วนตัว ภาพลักษณ์ของคุณจะดูดี มีฐานะมั่นคง มีลูกน้องมากมาย
แต่ถ้าคุณบอกว่ามีอาชีพนักลงทุนในตลาดหุ้น ภาพลักษณ์จะเป็นนักพนัน รายได้ไม่มั่นคง ชีวิตเงียบเหงา
ถ้าคุณบอกแก่คนอื่นว่าทำธุรกิจส่วนตัว ภาพลักษณ์ของคุณจะดูดี มีฐานะมั่นคง มีลูกน้องมากมาย
แต่ถ้าคุณบอกว่ามีอาชีพนักลงทุนในตลาดหุ้น ภาพลักษณ์จะเป็นนักพนัน รายได้ไม่มั่นคง ชีวิตเงียบเหงา
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี