ประสาร แจงราคาสินทรัพย์ ตลาดหุ้น-อสังหาฯ ขึ้นจากดอกเบี้ยต่ำ
-
- Verified User
- โพสต์: 144
- ผู้ติดตาม: 0
ประสาร แจงราคาสินทรัพย์ ตลาดหุ้น-อสังหาฯ ขึ้นจากดอกเบี้ยต่ำ
โพสต์ที่ 1
"ประสาร"แจงราคาสินทรัพย์เสี่ยงทั้งตลาดหุ้น-อสังหาฯ วิ่งขึ้น จากปัจจัยดอกเบี้ยต่ำ ทำคนออมมองหาทางเลือกการลงทุนอื่น ย้ำไม่เกี่ยวทุนนอกไหลเข้า
ช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา เริ่มมีการตั้งคำถามมากขึ้นว่า "ดอกเบี้ยนโยบาย" ของไทยที่ 2.75% เป็นระดับที่ “สูง” เกินไปหรือไม่...และดอกเบี้ยระดับนี้ ถือเป็นตัวดึงดูดเงินทุนเคลื่อนย้ายจากต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ทำให้สภาพคล่องการเงินในประเทศล้น ส่งผลต่อราคาสินทรัพย์ต่างๆ ที่ปรับขึ้น ไม่ว่าจะเป็นดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ราคาอสังหาริมทรัพย์ จนเข้าข่ายว่า "ฟองสบู่" ใช่หรือไม่ ?
เรื่องนี้ บนเวทีเสวนา "Nation Exclusive Insights for CEOs : จับสัญญาณ ค่าเงินบาท 2013" ซึ่งมีขึ้นเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา “ประสาร ไตรรัตน์วรกุล” ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้อธิบายทุกข้อสงสัย โดยระบุว่า คำอ้างที่บอกกันว่า ดอกเบี้ยไทยสูง ทำให้เงินทุนไหลเข้า ส่งผลต่อเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ทำให้สภาพคล่องในระบบเพิ่ม จนกระทบต่อราคาสินทรัพย์และเกิดเป็นฟองสบู่ขึ้นมานั้น แถมยังบอกวิธีแก้ด้วยว่า ควรต้อง “ลด” ดอกเบี้ย...เรื่องนี้ "ประสาร" ยืนยันว่า ล้วนเป็น "มายาคติ" ทั้งสิ้น
สาเหตุที่มองเช่นนั้น เพราะแท้จริงแล้ว เงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้ามา ไม่ได้ทำให้สภาพคล่องเงินบาทในระบบเพิ่มขึ้น โดยเงินดอลลาร์ที่เข้ามาเป็นการแลกเงินบาทซึ่งมีอยู่แล้วในระบบ เว้นแต่ ธปท.จะเข้าไปรับซื้อเองถึงจะทำให้ปริมาณเงินบาทในระบบเพิ่มขึ้น แต่ทุกครั้งที่ ธปท. เข้าไปรับซื้อ ก็มักจะดูดเงินบาทเหล่านั้นกลับเข้ามาด้วยการออกพันธบัตร เพื่อรักษาปริมาณเงินในระบบไม่ให้มีมากเกินไป...ดังนั้นข้อกล่าวหาเงินทุนไหลเข้า ดันสภาพคล่องในระบบเพิ่มจนเกิดฟองสบู่นั้น เป็นแค่ “มายาคติ” ตัดทิ้งได้เลย
แล้วราคาสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นเกิดจากอะไร?..."ประสาร" อธิบายว่า เป็นเพราะดอกเบี้ยไทยอยู่ระดับต่ำ โดยเฉพาะดอกเบี้ยแท้จริงที่หักเงินเฟ้อแล้วติดลบ ทำให้ผู้ออมเริ่มมองหาทางเลือกการลงทุนอื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนได้มากกว่าการฝากเงิน
เขาบอกว่า ถ้าดูผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี ของการฝากเงินในธนาคารพาณิชย์ จะเห็นว่า เงินฝากประจำ 12 เดือน ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยเพียงแค่ 2% เทียบกับการลงทุนในคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเฉลี่ยที่ 6.4% ขณะที่การลงทุนในคอนโดมิเนียมตามหัวเมืองใหม่ๆ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 9.9% และการลงทุนในตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 28.9% ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาสินทรัพย์ต่างๆ ทั้งตลาดหุ้น ตลาดอสังหาริมทรัพย์ปรับเพิ่มขึ้น
"พวกนี้ถือเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้คนอยากเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ถ้าเราปล่อยให้ดอกเบี้ยต่ำไปนานๆ คนมีเงินออมจะรู้สึกอยากขยายไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนได้ดีกว่า ยิ่งถ้าดอกเบี้ยต่ำกว่าเงินเฟ้อ คนฝากเงินจะมองว่าไม่คุ้มค่า เริ่มมองหาแหล่งลงทุนอื่น ดังนั้นสาเหตุการปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์เหล่านี้ จึงเกิดจากการที่เรามีดอกเบี้ยต่ำ ไม่ใช่เพราะดอกเบี้ยสูง"
นอกจากนี้ดอกเบี้ยที่ต่ำยังเป็นตัวเร่งความรู้สึกของคนให้อยากใช้เงิน เพราะมองว่าดอกเบี้ยระดับนี้ไม่ได้เป็นภาระ เห็นได้จากสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อครัวเรือนซึ่งปีที่ผ่านมาเติบโตถึง 21.6% ในขณะที่หนี้ครัวเรือนช่วง 4-5 ปีมานี้ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จากสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีที่ 58% มาอยู่ที่ 73% ในปีล่าสุด
"ประสาร" บอกด้วยว่า ราคาสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นนั้น ถ้าดูลึกในรายละเอียดจะเห็นว่า ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นเพราะแรงซื้อของคนในประเทศ มากกว่าที่จะเป็นแรงซื้อของนักลงทุนต่างประเทศ เพราะถ้าดูในตลาดหุ้น จะเห็นว่าหุ้นที่ขึ้นร้อนแรงส่วนใหญ่เป็นหุ้นขนาดเล็ก ซึ่งหุ้นพวกนี้นักลงทุนต่างชาติไม่เข้าลงทุนอยู่แล้ว ขณะที่อสังหาริมทรัพย์ ก็มีกฎชัดเจนว่า ห้ามต่างชาติถือครองที่ดิน
"อย่าไปอ้างว่า เงินทุนไหลเข้าทำให้หุ้นขึ้นร้อนแรง เพราะส่วนใหญ่เป็น local investors ไม่ใช่ foreign investors"
ส่วนคำกล่าวอ้างที่มักจะพูดกันว่าดอกเบี้ยของไทยสูงกว่าต่างประเทศ ทำให้เงินทุนไหลเข้ามานั้น “ประสาร” บอกว่า คงต้องดูว่าวัดจากอะไร เพราะถ้าวัดกับอัตราดอกเบี้ยของประเทศอื่นในภูมิภาคแล้ว ของไทยไม่ได้สูงกว่าคนอื่นเลย ซึ่งในภูมิภาคหากไม่นับสิงคโปร์กับฮ่องกงแล้ว มีเพียงไต้หวันประเทศเดียวที่ดอกเบี้ยต่ำกว่าไทย และถ้าดูอัตราดอกเบี้ยแท้จริงจะเห็นว่า ของไทยต่ำสุดในภูมิภาค ซึ่งปัจจุบันติดลบอยู่ 0.64%
นอกจากนี้ เท่าที่ทำการศึกษาในเชิงสถิติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเงินทุนเคลื่อนย้ายนั้น พบว่า ประเด็นที่มีอิทธิพลต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายมากที่สุด คือ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ทำให้เกิดภาวะ Risk on (กล้ายอมรับความเสี่ยง) หรือ Risk off (กลัวความเสี่ยง) ซึ่งมีอิทธิพลต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายถึง 18% รองลงมา คือ การเก็งกำไรในอัตราแลกเปลี่ยน สัดส่วนอยู่ที่ 15%
ส่วนถัดมา คือ ภาวะเศรษฐกิจ โดยดูจากความเชื่อมั่นทางธุรกิจ สัดส่วนอยู่ที่ 11% อันต่อมา คือ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 10% ในขณะที่ปัจจัยเรื่องส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ย มีความสัมพันธ์ต่อการเคลื่อนย้ายของเงินทุนน้อยมาก แค่ 3% เท่านั้น สะท้อนว่าเรื่องดอกเบี้ยมีผลต่อการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศน้อยมาก
"ถ้าย้อนไปดูช่วงเดือนต.ค. ถึงเดือนธ.ค. 2554 ช่วงนั้นดอกเบี้ยนโยบายของเราสูง 3% เศษ แต่เงินไหลออก ในขณะที่เดือนม.ค. 2555 ดอกเบี้ยนโยบายลดต่ำลงกว่า 3% แต่ปรากฏว่าเงินทุนไหลเข้า ซึ่งประเด็นนี้อธิบายในเชิงสถิติได้ว่า ดอกเบี้ยมีความสัมพันธ์กับเงินทุนไหลเข้าน้อยมาก"
ทั้งหมดนี้ คือ คำชี้แจงจาก ผู้ว่าการแบงก์ชาติ ซึ่งปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาที่ว่า “ดอกเบี้ยสูง” เป็นตัวการดึงดูดเงินทุนไหลเข้า ทำให้สภาพคล่องในระบบล้น จนเสี่ยงต่อภาวะฟองสบู่ เพราะภาพทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ “มายาคติ” เท่านั้น!
:ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
ช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา เริ่มมีการตั้งคำถามมากขึ้นว่า "ดอกเบี้ยนโยบาย" ของไทยที่ 2.75% เป็นระดับที่ “สูง” เกินไปหรือไม่...และดอกเบี้ยระดับนี้ ถือเป็นตัวดึงดูดเงินทุนเคลื่อนย้ายจากต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ทำให้สภาพคล่องการเงินในประเทศล้น ส่งผลต่อราคาสินทรัพย์ต่างๆ ที่ปรับขึ้น ไม่ว่าจะเป็นดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ราคาอสังหาริมทรัพย์ จนเข้าข่ายว่า "ฟองสบู่" ใช่หรือไม่ ?
เรื่องนี้ บนเวทีเสวนา "Nation Exclusive Insights for CEOs : จับสัญญาณ ค่าเงินบาท 2013" ซึ่งมีขึ้นเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา “ประสาร ไตรรัตน์วรกุล” ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้อธิบายทุกข้อสงสัย โดยระบุว่า คำอ้างที่บอกกันว่า ดอกเบี้ยไทยสูง ทำให้เงินทุนไหลเข้า ส่งผลต่อเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ทำให้สภาพคล่องในระบบเพิ่ม จนกระทบต่อราคาสินทรัพย์และเกิดเป็นฟองสบู่ขึ้นมานั้น แถมยังบอกวิธีแก้ด้วยว่า ควรต้อง “ลด” ดอกเบี้ย...เรื่องนี้ "ประสาร" ยืนยันว่า ล้วนเป็น "มายาคติ" ทั้งสิ้น
สาเหตุที่มองเช่นนั้น เพราะแท้จริงแล้ว เงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้ามา ไม่ได้ทำให้สภาพคล่องเงินบาทในระบบเพิ่มขึ้น โดยเงินดอลลาร์ที่เข้ามาเป็นการแลกเงินบาทซึ่งมีอยู่แล้วในระบบ เว้นแต่ ธปท.จะเข้าไปรับซื้อเองถึงจะทำให้ปริมาณเงินบาทในระบบเพิ่มขึ้น แต่ทุกครั้งที่ ธปท. เข้าไปรับซื้อ ก็มักจะดูดเงินบาทเหล่านั้นกลับเข้ามาด้วยการออกพันธบัตร เพื่อรักษาปริมาณเงินในระบบไม่ให้มีมากเกินไป...ดังนั้นข้อกล่าวหาเงินทุนไหลเข้า ดันสภาพคล่องในระบบเพิ่มจนเกิดฟองสบู่นั้น เป็นแค่ “มายาคติ” ตัดทิ้งได้เลย
แล้วราคาสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นเกิดจากอะไร?..."ประสาร" อธิบายว่า เป็นเพราะดอกเบี้ยไทยอยู่ระดับต่ำ โดยเฉพาะดอกเบี้ยแท้จริงที่หักเงินเฟ้อแล้วติดลบ ทำให้ผู้ออมเริ่มมองหาทางเลือกการลงทุนอื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนได้มากกว่าการฝากเงิน
เขาบอกว่า ถ้าดูผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี ของการฝากเงินในธนาคารพาณิชย์ จะเห็นว่า เงินฝากประจำ 12 เดือน ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยเพียงแค่ 2% เทียบกับการลงทุนในคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเฉลี่ยที่ 6.4% ขณะที่การลงทุนในคอนโดมิเนียมตามหัวเมืองใหม่ๆ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 9.9% และการลงทุนในตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 28.9% ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาสินทรัพย์ต่างๆ ทั้งตลาดหุ้น ตลาดอสังหาริมทรัพย์ปรับเพิ่มขึ้น
"พวกนี้ถือเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้คนอยากเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ถ้าเราปล่อยให้ดอกเบี้ยต่ำไปนานๆ คนมีเงินออมจะรู้สึกอยากขยายไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนได้ดีกว่า ยิ่งถ้าดอกเบี้ยต่ำกว่าเงินเฟ้อ คนฝากเงินจะมองว่าไม่คุ้มค่า เริ่มมองหาแหล่งลงทุนอื่น ดังนั้นสาเหตุการปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์เหล่านี้ จึงเกิดจากการที่เรามีดอกเบี้ยต่ำ ไม่ใช่เพราะดอกเบี้ยสูง"
นอกจากนี้ดอกเบี้ยที่ต่ำยังเป็นตัวเร่งความรู้สึกของคนให้อยากใช้เงิน เพราะมองว่าดอกเบี้ยระดับนี้ไม่ได้เป็นภาระ เห็นได้จากสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อครัวเรือนซึ่งปีที่ผ่านมาเติบโตถึง 21.6% ในขณะที่หนี้ครัวเรือนช่วง 4-5 ปีมานี้ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จากสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีที่ 58% มาอยู่ที่ 73% ในปีล่าสุด
"ประสาร" บอกด้วยว่า ราคาสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นนั้น ถ้าดูลึกในรายละเอียดจะเห็นว่า ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นเพราะแรงซื้อของคนในประเทศ มากกว่าที่จะเป็นแรงซื้อของนักลงทุนต่างประเทศ เพราะถ้าดูในตลาดหุ้น จะเห็นว่าหุ้นที่ขึ้นร้อนแรงส่วนใหญ่เป็นหุ้นขนาดเล็ก ซึ่งหุ้นพวกนี้นักลงทุนต่างชาติไม่เข้าลงทุนอยู่แล้ว ขณะที่อสังหาริมทรัพย์ ก็มีกฎชัดเจนว่า ห้ามต่างชาติถือครองที่ดิน
"อย่าไปอ้างว่า เงินทุนไหลเข้าทำให้หุ้นขึ้นร้อนแรง เพราะส่วนใหญ่เป็น local investors ไม่ใช่ foreign investors"
ส่วนคำกล่าวอ้างที่มักจะพูดกันว่าดอกเบี้ยของไทยสูงกว่าต่างประเทศ ทำให้เงินทุนไหลเข้ามานั้น “ประสาร” บอกว่า คงต้องดูว่าวัดจากอะไร เพราะถ้าวัดกับอัตราดอกเบี้ยของประเทศอื่นในภูมิภาคแล้ว ของไทยไม่ได้สูงกว่าคนอื่นเลย ซึ่งในภูมิภาคหากไม่นับสิงคโปร์กับฮ่องกงแล้ว มีเพียงไต้หวันประเทศเดียวที่ดอกเบี้ยต่ำกว่าไทย และถ้าดูอัตราดอกเบี้ยแท้จริงจะเห็นว่า ของไทยต่ำสุดในภูมิภาค ซึ่งปัจจุบันติดลบอยู่ 0.64%
นอกจากนี้ เท่าที่ทำการศึกษาในเชิงสถิติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเงินทุนเคลื่อนย้ายนั้น พบว่า ประเด็นที่มีอิทธิพลต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายมากที่สุด คือ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ทำให้เกิดภาวะ Risk on (กล้ายอมรับความเสี่ยง) หรือ Risk off (กลัวความเสี่ยง) ซึ่งมีอิทธิพลต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายถึง 18% รองลงมา คือ การเก็งกำไรในอัตราแลกเปลี่ยน สัดส่วนอยู่ที่ 15%
ส่วนถัดมา คือ ภาวะเศรษฐกิจ โดยดูจากความเชื่อมั่นทางธุรกิจ สัดส่วนอยู่ที่ 11% อันต่อมา คือ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 10% ในขณะที่ปัจจัยเรื่องส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ย มีความสัมพันธ์ต่อการเคลื่อนย้ายของเงินทุนน้อยมาก แค่ 3% เท่านั้น สะท้อนว่าเรื่องดอกเบี้ยมีผลต่อการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศน้อยมาก
"ถ้าย้อนไปดูช่วงเดือนต.ค. ถึงเดือนธ.ค. 2554 ช่วงนั้นดอกเบี้ยนโยบายของเราสูง 3% เศษ แต่เงินไหลออก ในขณะที่เดือนม.ค. 2555 ดอกเบี้ยนโยบายลดต่ำลงกว่า 3% แต่ปรากฏว่าเงินทุนไหลเข้า ซึ่งประเด็นนี้อธิบายในเชิงสถิติได้ว่า ดอกเบี้ยมีความสัมพันธ์กับเงินทุนไหลเข้าน้อยมาก"
ทั้งหมดนี้ คือ คำชี้แจงจาก ผู้ว่าการแบงก์ชาติ ซึ่งปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาที่ว่า “ดอกเบี้ยสูง” เป็นตัวการดึงดูดเงินทุนไหลเข้า ทำให้สภาพคล่องในระบบล้น จนเสี่ยงต่อภาวะฟองสบู่ เพราะภาพทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ “มายาคติ” เท่านั้น!
:ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
"สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลาย จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด"
"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น "
"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น "
-
- Verified User
- โพสต์: 428
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ประสาร แจงราคาสินทรัพย์ ตลาดหุ้น-อสังหาฯ ขึ้นจากดอกเบี้ย
โพสต์ที่ 3
สำหรับผมแล้ว ที่ผมไม่ถือเงินสด
เพราะเงินสดเป็นสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นได้ไม่จำกัด
ขึ้นอยู่กับสภาวะของ USA EU Japan
ถ้าพวกนี้ ยังเพิ่มปริมาณเงินขึ้นทุกวัน
แล้วใครละอยากจะถือเงินสด
เงินมีปริมาณไม่จำกัด ใครถือมากๆก็มีแต่จนลงทุกวัน
เพราะเงินสดเป็นสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นได้ไม่จำกัด
ขึ้นอยู่กับสภาวะของ USA EU Japan
ถ้าพวกนี้ ยังเพิ่มปริมาณเงินขึ้นทุกวัน
แล้วใครละอยากจะถือเงินสด
เงินมีปริมาณไม่จำกัด ใครถือมากๆก็มีแต่จนลงทุกวัน
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 957
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ประสาร แจงราคาสินทรัพย์ ตลาดหุ้น-อสังหาฯ ขึ้นจากดอกเบี้ย
โพสต์ที่ 8
บางครั้ง กรอบ หรือ โจทย์ ที่ตั้งไว้ มันไม่เหมือนกัน
การอธิบายตามกรอบหรือโจทย์ที่ตัวเองตั้งเอง มันเลยง่าย และน่าเชื่อถือ
แต่อ่านดูแล้ว มันต่างกับ กรอบ หรือ โจทย์ ที่ผมคิดอยู่
จึงยังไม่ได้คำตอบ ที่ผมอยากรู้ 555.
การอธิบายตามกรอบหรือโจทย์ที่ตัวเองตั้งเอง มันเลยง่าย และน่าเชื่อถือ
แต่อ่านดูแล้ว มันต่างกับ กรอบ หรือ โจทย์ ที่ผมคิดอยู่
จึงยังไม่ได้คำตอบ ที่ผมอยากรู้ 555.
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ประสาร แจงราคาสินทรัพย์ ตลาดหุ้น-อสังหาฯ ขึ้นจากดอกเบี้ย
โพสต์ที่ 9
ลองพยายามเข้าใจในมุมมองของเหตุผลด้านบน
คือ ดอกเบี้ยที่สูง ณ เวลานี้ แต่จริงๆ มันสู้เงินเฟ้อไม่ได้ ทำให้คนเอาเงิน
ไปลงทุนอย่างอื่นกันมาก เช่น หุุ้น อสังหา
นั่นหมายความว่า ยิ่งลดดอกเบี้ย ยิ่งทำให้เกิดฟองสบู่ครับ
เท่าที่อ่านเหตุผล ของผู้ว่านะครับ
แต่เหตุผลของรองนายก ก็คือ ดอกเบี้ยสูงเงินไหลเข้า ทำให้เกิดฟองสบู่ ต้องลดดอกเบี้ย
เพื่อลดการเก็งกำไร
คือ ดอกเบี้ยที่สูง ณ เวลานี้ แต่จริงๆ มันสู้เงินเฟ้อไม่ได้ ทำให้คนเอาเงิน
ไปลงทุนอย่างอื่นกันมาก เช่น หุุ้น อสังหา
นั่นหมายความว่า ยิ่งลดดอกเบี้ย ยิ่งทำให้เกิดฟองสบู่ครับ
เท่าที่อ่านเหตุผล ของผู้ว่านะครับ
แต่เหตุผลของรองนายก ก็คือ ดอกเบี้ยสูงเงินไหลเข้า ทำให้เกิดฟองสบู่ ต้องลดดอกเบี้ย
เพื่อลดการเก็งกำไร
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4366
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ประสาร แจงราคาสินทรัพย์ ตลาดหุ้น-อสังหาฯ ขึ้นจากดอกเบี้ย
โพสต์ที่ 10
ดร.บัณฑิต นิจถาวะ ประธานกรรมการสมาคมตรสารหนี้ไทย ระบุว่า การประชุม G7 ที่กรุงมอสโคว์ ได้ชี้บางสิ่งบางอย่างที่จะต้องระวังมากขึ้นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลก ได้แก่
1. เศรษฐกิจโลกขณะนี้ไม่มีผู้นำที่จะขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาในลักษณะของการร่วมมือกันของกลุ่มประเทศหลักได้อย่างแท้จริง ต่างคนต่างอยู่ ต่างทำเพื่อแก้ไขปัญหาของตน และไม่สนใจว่าวิธีแก้ไขปัญหาจะกระทบต่อประเทศอื่นๆ หรือไม่
2. G7 กำลังสนับสนุนการอัดฉีดสภาพคล่องให้เป็นเครื่องมือแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้เกิดความเสี่ยงที่ทำให้ราคาสินทรัพย์เร่งตัวสูงขึ้นในระยะสั้น และจะเพิ่มอัตราเงินเฟ้อในระยะยาวเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว
3. นโยบายอัดฉีดสภาพคล่องจะทำให้ตลาดเงินโลกผันผวนมากขึ้น เพราะการเคลื่อนไหว โดยเปรียบเทียบของค่าเงินสกุลหลักต่างๆ จะถูกขับเคลื่อนโดยการไหลเข้าออกของเงินลงทุน ในสินทรัพย์สกุลเงินต่างๆ มากกว่าที่จะถูกขับเคลื่อนโดยปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยคือ ความผันผวนของเงินทุนไหลจะทำให้การดำเนินนโยบายการเงินในยากขึ้นจากกระแสเงินทุนไหลเข้าออกที่อาจรุนแรง สร้างแรงกดดันต่อค่าเงินบาท ขณะที่สภาพคล่องที่มีมากจากเงินทุนไหลเข้าจะสร้างแรงกดดันให้ธนาคารพาณิชย์เร่งปล่อยสินเชื่อ นำไปสู่การใช้จ่ายอย่างเกินตัวของเศรษฐกิจ ทำให้ราคาสินทรัพย์ และอัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้น และจะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง
แรงกดดันต่อค่าเงินจากเงินทุนไหลเข้าจะทำให้ผู้ทำนโยบายอยากแทรกแซงค่าเงินเพื่อชะลอการแข็งค่าหรืออยากลดอัตราดอกเบี้ย โดยหวังจะช่วยชะลอเงินทุนไหลเข้า หรืออาจใช้มาตรการควบคุมอย่างที่เคยเกิดขึ้น แต่จะไม่สามารถหยุดการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศได้ เพราะปริมาณสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจโลกมีมาก ขณะที่เงินทุนที่ไหลเข้าก็ถูกขับเคลื่อนโดยปัจจัยด้านการ เติบโตของเศรษฐกิจและด้านความเสี่ยงของการลงทุนเป็นสำคัญ ซึ่งการแทรกแซงค่าเงินอาจทำให้เงินทุนไหลเข้าต่อเนื่อง เพราะอยากจะทำกำไรจากค่าเงินที่จะแข็งขึ้นเมื่อทางการหยุดแทรกแซง
ดังนั้น ควรปรับอัตราแลกเปลี่ยนตามภาวะตลาด เพราะเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนปรับเข้าสู่ดุลยภาพได้เร็ว การแข็งค่าของเงินก็จะเกิดขึ้นต่อเนื่องได้ยาก นอกจากนี้ เงินทุนไหลเข้าจะสร้างความเสี่ยงต่อการเกิดฟองสบู่ ในระบบเศรษฐกิจจากการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินโดยเฉพาะในหุ้นและอสังหาฯ ทางการจึงควรดำเนินการแต่เนิ่นๆ จากเบาไปหนัก โดยเฉพาะกำกับดูแลการขยายสินเชื่อทั้งระบบ เพราะถ้าไม่ทำหรือทำช้า การดูแลความเสี่ยงของปัญหาฟองสบู่ก็จะยิ่งยากขึ้น
1. เศรษฐกิจโลกขณะนี้ไม่มีผู้นำที่จะขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาในลักษณะของการร่วมมือกันของกลุ่มประเทศหลักได้อย่างแท้จริง ต่างคนต่างอยู่ ต่างทำเพื่อแก้ไขปัญหาของตน และไม่สนใจว่าวิธีแก้ไขปัญหาจะกระทบต่อประเทศอื่นๆ หรือไม่
2. G7 กำลังสนับสนุนการอัดฉีดสภาพคล่องให้เป็นเครื่องมือแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้เกิดความเสี่ยงที่ทำให้ราคาสินทรัพย์เร่งตัวสูงขึ้นในระยะสั้น และจะเพิ่มอัตราเงินเฟ้อในระยะยาวเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว
3. นโยบายอัดฉีดสภาพคล่องจะทำให้ตลาดเงินโลกผันผวนมากขึ้น เพราะการเคลื่อนไหว โดยเปรียบเทียบของค่าเงินสกุลหลักต่างๆ จะถูกขับเคลื่อนโดยการไหลเข้าออกของเงินลงทุน ในสินทรัพย์สกุลเงินต่างๆ มากกว่าที่จะถูกขับเคลื่อนโดยปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยคือ ความผันผวนของเงินทุนไหลจะทำให้การดำเนินนโยบายการเงินในยากขึ้นจากกระแสเงินทุนไหลเข้าออกที่อาจรุนแรง สร้างแรงกดดันต่อค่าเงินบาท ขณะที่สภาพคล่องที่มีมากจากเงินทุนไหลเข้าจะสร้างแรงกดดันให้ธนาคารพาณิชย์เร่งปล่อยสินเชื่อ นำไปสู่การใช้จ่ายอย่างเกินตัวของเศรษฐกิจ ทำให้ราคาสินทรัพย์ และอัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้น และจะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง
แรงกดดันต่อค่าเงินจากเงินทุนไหลเข้าจะทำให้ผู้ทำนโยบายอยากแทรกแซงค่าเงินเพื่อชะลอการแข็งค่าหรืออยากลดอัตราดอกเบี้ย โดยหวังจะช่วยชะลอเงินทุนไหลเข้า หรืออาจใช้มาตรการควบคุมอย่างที่เคยเกิดขึ้น แต่จะไม่สามารถหยุดการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศได้ เพราะปริมาณสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจโลกมีมาก ขณะที่เงินทุนที่ไหลเข้าก็ถูกขับเคลื่อนโดยปัจจัยด้านการ เติบโตของเศรษฐกิจและด้านความเสี่ยงของการลงทุนเป็นสำคัญ ซึ่งการแทรกแซงค่าเงินอาจทำให้เงินทุนไหลเข้าต่อเนื่อง เพราะอยากจะทำกำไรจากค่าเงินที่จะแข็งขึ้นเมื่อทางการหยุดแทรกแซง
ดังนั้น ควรปรับอัตราแลกเปลี่ยนตามภาวะตลาด เพราะเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนปรับเข้าสู่ดุลยภาพได้เร็ว การแข็งค่าของเงินก็จะเกิดขึ้นต่อเนื่องได้ยาก นอกจากนี้ เงินทุนไหลเข้าจะสร้างความเสี่ยงต่อการเกิดฟองสบู่ ในระบบเศรษฐกิจจากการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินโดยเฉพาะในหุ้นและอสังหาฯ ทางการจึงควรดำเนินการแต่เนิ่นๆ จากเบาไปหนัก โดยเฉพาะกำกับดูแลการขยายสินเชื่อทั้งระบบ เพราะถ้าไม่ทำหรือทำช้า การดูแลความเสี่ยงของปัญหาฟองสบู่ก็จะยิ่งยากขึ้น
- newbie_12
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2912
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ประสาร แจงราคาสินทรัพย์ ตลาดหุ้น-อสังหาฯ ขึ้นจากดอกเบี้ย
โพสต์ที่ 11
นอกจากดอกเบี้ยต่ำแล้วอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญก็คือคนไทยรวยขึ้นเยอะมากครับ (คนรวย รวยขึ้นมากๆ)
.
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง
----------------------------
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง
----------------------------
-
- Verified User
- โพสต์: 248
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ประสาร แจงราคาสินทรัพย์ ตลาดหุ้น-อสังหาฯ ขึ้นจากดอกเบี้ย
โพสต์ที่ 12
บางทีคำเฉลยอาจจะอยู่หลังจากวันนี้อีกปี สองปีก็ได้ ผมไม่มีความรู้ทางการเงินที่เพียงพอ(ซึ่งก็น่าจะพอๆกับคนส่วนใหญ่ในประเทศนี้)แต่ถ้าจะให้เลือกเชื่อ-ศรัทธา ระหว่างนักการเมืองกับนักวิชาการข้าราชการประจำ.......ผมเลือกเชื่ออย่างหลังมากกว่า ไม่ได้บอกว่านักการเมืองจะต้องไม่ดีแต่มันมีปัจจัยที่มองไม่เห็นหลายอย่างที่ทำให้นักการเมืองต้องเป็นอย่างนั้น....ผมเชื่อ ดร.ประสาร ครับ....
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ประสาร แจงราคาสินทรัพย์ ตลาดหุ้น-อสังหาฯ ขึ้นจากดอกเบี้ย
โพสต์ที่ 13
5. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วผ่านการผลักเงินของธนาคารกลาง เข้าสู่บัญชีของธนาคารพาณิชย์ ในมาตรการผ่อนคลายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ คำสัญญาของธนาคารกลางยุโรปที่จะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลยุโรปไม่จำกัด เพื่อช่วยแก้ปัญหาวิกฤตของภาระหนี้ของยูโรโซน ทำให้มีเงินไหลเข้าสู่ระบบจำนวนสูงเป็นประวัติการณ์ โดยที่ไม่ถูกดูดซึมไปใช้ในเศรษฐกิจภาคการผลิตแท้จริงได้ เนื่องจากระบบเศรษฐกิจยังอยู่ในกระบวนการชำระล้างบัญชีหนี้สิน(unwinding) อยู่ เงินสภาพคล่องเหล่านี้จึงไหลไปสู่เศรษฐกิจที่มีโอกาสเก็งกำไรได้โดยมีอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่า และมีอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจที่ปกติ ทำให้เกิดปัญหาที่รุนแรงต่อประเทศที่กำลังพัฒนาที่ต้องรองรับสภาพคล่องเหล่านี้ และได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการที่อัตราแลกเปลี่ยนของตนเองสูงขึ้น กระบวนการนี้ที่นำไปสู่การผันแปรอย่างรุนแรงก็ไม่ได้เป็นผลจากนโยบายทำให้เพื่อนบ้านเป็นยาจกอย่างใดทั้งนั้น แต่เพียงเป็นผลจากความจำเป็นที่ต้องกระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซาของประเทศพัฒนาแล้วอย่างรุนแรงเท่านั้นเอง - See more at: http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... AQ3IE.dpuf