Tv digital กับ โฆษณา
-
- Verified User
- โพสต์: 84
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tv digital กับ โฆษณา
โพสต์ที่ 3
เห็นด้วยครับว่าการมาของทีวีดิจิตอลมันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น น่าจะดีสำหรับผู้เล่นรายใหม่ที่ยังไม่ได้ทำดาวเทียมมาก่อนจะเข้ามา
แข่งขันได้ง่ายขึ้น การปรับค่าโฆษณาก็น่าจะต้องใช้เวลาพอสมควรขณะที่ต้นทุนก็สูงกว่าทีวีดาวเทียมมาก แต่มีกลุ่มเนชั่นที่ค่อนข้างมั่นใจมากกับทีวีดิจิตอล ขณะที่ผู้เล่นรายอื่นยังไม่เปิดตัวชัดเจน
แข่งขันได้ง่ายขึ้น การปรับค่าโฆษณาก็น่าจะต้องใช้เวลาพอสมควรขณะที่ต้นทุนก็สูงกว่าทีวีดาวเทียมมาก แต่มีกลุ่มเนชั่นที่ค่อนข้างมั่นใจมากกับทีวีดิจิตอล ขณะที่ผู้เล่นรายอื่นยังไม่เปิดตัวชัดเจน
-
- Verified User
- โพสต์: 118
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tv digital กับ โฆษณา
โพสต์ที่ 4
ผมเชื่อว่า
ค่าโฆษณาของ digital TV จะแพงกว่า sat TV หลายเท่าครับ
เพราะ digital TV ก็คือ free TV ที่จะมาแทนที่ freeTV ที่เป็นระบบอนาล็อกในปัจจุบัน ที่เข้าถึงกลุ่มคนดูได้มากที่สุด
การเซ็ทช่องจะเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด ไม่สับสนว่าเป็นกล่องของค่ายไหนจะอยู่ช่องอะไร
แต่ละค่ายจะต้องแข่งขันกันผลิตรายการที่มีคุณภาพ เพื่อดึงดูดคนดูให้ได้มากที่สุด
สังเกตุจากหุัน bec ให้ดีนะครับ จะเห็นว่าลงมาตลอด
เพราะต่อไปไม่ว่าจะเป็นช่อง 3 5 7 9 11 tpbs ก็จะต้องมาอยู่ในช่อง digital TV ทั้งหมด
ค่าโฆษณาของช่อง 3 ก็จะต้องถูกลง เพราะตัวหารมากขี้นครับ แต่ก็จะแพงกว่า sat TV หลายเท่าครับ
เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ
ค่าโฆษณาของ digital TV จะแพงกว่า sat TV หลายเท่าครับ
เพราะ digital TV ก็คือ free TV ที่จะมาแทนที่ freeTV ที่เป็นระบบอนาล็อกในปัจจุบัน ที่เข้าถึงกลุ่มคนดูได้มากที่สุด
การเซ็ทช่องจะเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด ไม่สับสนว่าเป็นกล่องของค่ายไหนจะอยู่ช่องอะไร
แต่ละค่ายจะต้องแข่งขันกันผลิตรายการที่มีคุณภาพ เพื่อดึงดูดคนดูให้ได้มากที่สุด
สังเกตุจากหุัน bec ให้ดีนะครับ จะเห็นว่าลงมาตลอด
เพราะต่อไปไม่ว่าจะเป็นช่อง 3 5 7 9 11 tpbs ก็จะต้องมาอยู่ในช่อง digital TV ทั้งหมด
ค่าโฆษณาของช่อง 3 ก็จะต้องถูกลง เพราะตัวหารมากขี้นครับ แต่ก็จะแพงกว่า sat TV หลายเท่าครับ
เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2236
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tv digital กับ โฆษณา
โพสต์ที่ 5
อย่าพึ่งเอาเหตุมาใส่ผลสิท่านหมูแดง เขียน:ผมเชื่อว่า
ค่าโฆษณาของ digital TV จะแพงกว่า sat TV หลายเท่าครับ
เพราะ digital TV ก็คือ free TV ที่จะมาแทนที่ freeTV ที่เป็นระบบอนาล็อกในปัจจุบัน ที่เข้าถึงกลุ่มคนดูได้มากที่สุด
การเซ็ทช่องจะเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด ไม่สับสนว่าเป็นกล่องของค่ายไหนจะอยู่ช่องอะไร
แต่ละค่ายจะต้องแข่งขันกันผลิตรายการที่มีคุณภาพ เพื่อดึงดูดคนดูให้ได้มากที่สุด
สังเกตุจากหุัน bec ให้ดีนะครับ จะเห็นว่าลงมาตลอด
เพราะต่อไปไม่ว่าจะเป็นช่อง 3 5 7 9 11 tpbs ก็จะต้องมาอยู่ในช่อง digital TV ทั้งหมด
ค่าโฆษณาของช่อง 3 ก็จะต้องถูกลง เพราะตัวหารมากขี้นครับ แต่ก็จะแพงกว่า sat TV หลายเท่าครับ
เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ
นักเลงคีย์บอร์ด4.0
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tv digital กับ โฆษณา
โพสต์ที่ 6
ที่นี่ประเทศไทย...ซึ่งมีการผูกขาด ในหลายๆ เรื่อง
จนทำให้ช่อง 3,7 ติดตลาด
ค่าโฆษณาเลยสูงเว่อร์ (นาทีละ 3 แสน)
กลายเป็นต้นทุนให้ผู้บริโภค อย่างเราๆ อีก ฮา...
ส่วนการมาของ Digital TV หากประมูลกันแบบแฟร์ๆ ก็คงลดการผูกขาดได้
แต่ก็อาจจะยากนะครับ ใครจะยอมให้คู่แข่งมาแย่งกำไรไปง่ายๆ
ยกเว้นว่าเป็น Segment ที่ Niche จริงๆ คือ รายใหญ่ไม่อยากเสียทรัพยากรมาแข่งด้วย ได้ผลตอบแทนน้อย
ค่าโฆษณา Digital TV ยังไงก็ต้องเพิ่มกว่า SAT TV แน่ๆ โดยเฉพาะถ้ามีกฎ Must Carry / Must Have เหมือนเป็นการ Lock ช่องทางสื่อสารกับผู้บริโภค แต่ก็ควรประเมินกันแบบ Conservative หน่อยก็ดีนะครับ คือต้นทุนการทำ Digital TV ต้องเพิ่มขึ้นจากเดิมแน่ๆ มีค่าโน่นนี่นั่น จิปาถะ ที่สำคัญ ต้องแข่งกันพัฒนา Content ดีๆ เพิ่ม เพื่อดึง Eyeball มาเพิ่ม (ยกเว้นว่า Content ของเดิมดีจริง อยู่แล้ว อันนั้นก็สบายไป)
ปล. ทุกวันนี้ ผมดู TV น้อยมาก เล่น Internet อย่างเดียว -.-''
จนทำให้ช่อง 3,7 ติดตลาด
ค่าโฆษณาเลยสูงเว่อร์ (นาทีละ 3 แสน)
กลายเป็นต้นทุนให้ผู้บริโภค อย่างเราๆ อีก ฮา...
ส่วนการมาของ Digital TV หากประมูลกันแบบแฟร์ๆ ก็คงลดการผูกขาดได้
แต่ก็อาจจะยากนะครับ ใครจะยอมให้คู่แข่งมาแย่งกำไรไปง่ายๆ
ยกเว้นว่าเป็น Segment ที่ Niche จริงๆ คือ รายใหญ่ไม่อยากเสียทรัพยากรมาแข่งด้วย ได้ผลตอบแทนน้อย
ค่าโฆษณา Digital TV ยังไงก็ต้องเพิ่มกว่า SAT TV แน่ๆ โดยเฉพาะถ้ามีกฎ Must Carry / Must Have เหมือนเป็นการ Lock ช่องทางสื่อสารกับผู้บริโภค แต่ก็ควรประเมินกันแบบ Conservative หน่อยก็ดีนะครับ คือต้นทุนการทำ Digital TV ต้องเพิ่มขึ้นจากเดิมแน่ๆ มีค่าโน่นนี่นั่น จิปาถะ ที่สำคัญ ต้องแข่งกันพัฒนา Content ดีๆ เพิ่ม เพื่อดึง Eyeball มาเพิ่ม (ยกเว้นว่า Content ของเดิมดีจริง อยู่แล้ว อันนั้นก็สบายไป)
ปล. ทุกวันนี้ ผมดู TV น้อยมาก เล่น Internet อย่างเดียว -.-''
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
-
- Verified User
- โพสต์: 118
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tv digital กับ โฆษณา
โพสต์ที่ 7
ผมไม่ได้เอาเหตุมาใส่ผลนะครับ แต่เมี่อเห็นผลที่เกิด เราก็ควรจะหาสาเหตุที่ทำให้ม้นเกิดหรือเปล่าครับharikung เขียน:อย่าพึ่งเอาเหตุมาใส่ผลสิท่านหมูแดง เขียน:ผมเชื่อว่า
ค่าโฆษณาของ digital TV จะแพงกว่า sat TV หลายเท่าครับ
เพราะ digital TV ก็คือ free TV ที่จะมาแทนที่ freeTV ที่เป็นระบบอนาล็อกในปัจจุบัน ที่เข้าถึงกลุ่มคนดูได้มากที่สุด
การเซ็ทช่องจะเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด ไม่สับสนว่าเป็นกล่องของค่ายไหนจะอยู่ช่องอะไร
แต่ละค่ายจะต้องแข่งขันกันผลิตรายการที่มีคุณภาพ เพื่อดึงดูดคนดูให้ได้มากที่สุด
สังเกตุจากหุัน bec ให้ดีนะครับ จะเห็นว่าลงมาตลอด
เพราะต่อไปไม่ว่าจะเป็นช่อง 3 5 7 9 11 tpbs ก็จะต้องมาอยู่ในช่อง digital TV ทั้งหมด
ค่าโฆษณาของช่อง 3 ก็จะต้องถูกลง เพราะตัวหารมากขี้นครับ แต่ก็จะแพงกว่า sat TV หลายเท่าครับ
เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ
เพราะถ้า digital tv เกิด และจำนวนผู้เล่นมากขึ้น ก็ทำให้มีคู่แข่งเยอะขึ้น รายได้ก็ควรจะลดลงหรือเปล่าครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2273
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tv digital กับ โฆษณา
โพสต์ที่ 8
Content is king
ผมว่าแค่นี้แหละตัวตัดสิน
ที่เหลือเป็นบริบท
ผมว่าแค่นี้แหละตัวตัดสิน
ที่เหลือเป็นบริบท
การลงทุนคือความเสี่ยง
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
-
- Verified User
- โพสต์: 2236
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tv digital กับ โฆษณา
โพสต์ที่ 9
แล้ววันนี้หุ้นbecขึ้นล่ะ เหตุผล?หมูแดง เขียน:ผมไม่ได้เอาเหตุมาใส่ผลนะครับ แต่เมี่อเห็นผลที่เกิด เราก็ควรจะหาสาเหตุที่ทำให้ม้นเกิดหรือเปล่าครับharikung เขียน:อย่าพึ่งเอาเหตุมาใส่ผลสิท่านหมูแดง เขียน:ผมเชื่อว่า
ค่าโฆษณาของ digital TV จะแพงกว่า sat TV หลายเท่าครับ
เพราะ digital TV ก็คือ free TV ที่จะมาแทนที่ freeTV ที่เป็นระบบอนาล็อกในปัจจุบัน ที่เข้าถึงกลุ่มคนดูได้มากที่สุด
การเซ็ทช่องจะเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด ไม่สับสนว่าเป็นกล่องของค่ายไหนจะอยู่ช่องอะไร
แต่ละค่ายจะต้องแข่งขันกันผลิตรายการที่มีคุณภาพ เพื่อดึงดูดคนดูให้ได้มากที่สุด
สังเกตุจากหุัน bec ให้ดีนะครับ จะเห็นว่าลงมาตลอด
เพราะต่อไปไม่ว่าจะเป็นช่อง 3 5 7 9 11 tpbs ก็จะต้องมาอยู่ในช่อง digital TV ทั้งหมด
ค่าโฆษณาของช่อง 3 ก็จะต้องถูกลง เพราะตัวหารมากขี้นครับ แต่ก็จะแพงกว่า sat TV หลายเท่าครับ
เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ
เพราะถ้า digital tv เกิด และจำนวนผู้เล่นมากขึ้น ก็ทำให้มีคู่แข่งเยอะขึ้น รายได้ก็ควรจะลดลงหรือเปล่าครับ
ประเด็นผมคือท่านเห็นหุ้นลงติดกันหลายวันจะมาสรุปเลยว่าtrendฟรีทีวีเดิมจะแย่ลงเพราะทีวีดิจิตอล ผมว่าสรุปเร็วเกินไปนะ และหุ้นลงก็อาจจะไม่ได้เกี่ยวอะไรเลย
นักเลงคีย์บอร์ด4.0
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 66
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tv digital กับ โฆษณา
โพสต์ที่ 11
ผมคิดว่าการมาของ ดิจิตอลทีวี จะทำเม็ดเิงินค่าโฆษณาได้มากน้อยแค่ไหนคงขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ว่า สามารถดึงผู้ชมมาได้มากแค่ไหน ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าต้นทุนเรื่องโครงข่าย เสาสัญญาณ ที่อา่จต้องพึ่งทางฟรีทีวีเดิมเพราะเค้าลงทุนไปเยอะมากแล้ว หรือไม่ก็คงต้องมีต้นทุนที่เสียเปรียบจากการต้องลงทุนอุปกรณ์เองอยู๋มาก อีกทั้งกล่องset top box ที่ถ้าต้องให้คนควักเงินซื้อก็คงต้องใช้เวลากว่าจะมีคลอบคลุมทุกบ้านทั่วประเทศ
สรุปคือด้วยต้นทุนการoperateที่สูงกว่าช่องฟรีทีวีเจ้าเดิม และ ค่าโฆษณาที่น่าจะต่ำกว่าเพราะยังไม่แพร่หลายครอบคลุมเท่า ผลกำไีรที่ได้อาจไม่มากเท่าที่คิดในช่วงแรก ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงcontent คุณภาพดีที่ต้องแข่งขันแย่งชิงมาลงช่องตัวเอง
แต่จะมีพันาการที่น่าสนใจในระยะกลาง-ยาว ท่ามกลางการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่สูงมาก ทั้งจากฟรีทีวีด้วยกัน เพย์ทีวี เคเบิ้ลทีวี
สำหรับผมขอเลือกอยู่กับบริษัทที่มีความชำนาญด้าน content ที่แข๊งแกร่งดีกว่าครับ เพราะในระยะยาวผมยังเชื่อว่า Content is King
สรุปคือด้วยต้นทุนการoperateที่สูงกว่าช่องฟรีทีวีเจ้าเดิม และ ค่าโฆษณาที่น่าจะต่ำกว่าเพราะยังไม่แพร่หลายครอบคลุมเท่า ผลกำไีรที่ได้อาจไม่มากเท่าที่คิดในช่วงแรก ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงcontent คุณภาพดีที่ต้องแข่งขันแย่งชิงมาลงช่องตัวเอง
แต่จะมีพันาการที่น่าสนใจในระยะกลาง-ยาว ท่ามกลางการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่สูงมาก ทั้งจากฟรีทีวีด้วยกัน เพย์ทีวี เคเบิ้ลทีวี
สำหรับผมขอเลือกอยู่กับบริษัทที่มีความชำนาญด้าน content ที่แข๊งแกร่งดีกว่าครับ เพราะในระยะยาวผมยังเชื่อว่า Content is King
-
- Verified User
- โพสต์: 118
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tv digital กับ โฆษณา
โพสต์ที่ 12
ผมอาจคาดการผิดก็ได้นะครับ ผมบอกไว้แล้วว่าเป็นความเห็นส่วนตัวharikung เขียน:แล้ววันนี้หุ้นbecขึ้นล่ะ เหตุผล?หมูแดง เขียน:ผมไม่ได้เอาเหตุมาใส่ผลนะครับ แต่เมี่อเห็นผลที่เกิด เราก็ควรจะหาสาเหตุที่ทำให้ม้นเกิดหรือเปล่าครับharikung เขียน:อย่าพึ่งเอาเหตุมาใส่ผลสิท่านหมูแดง เขียน:ผมเชื่อว่า
ค่าโฆษณาของ digital TV จะแพงกว่า sat TV หลายเท่าครับ
เพราะ digital TV ก็คือ free TV ที่จะมาแทนที่ freeTV ที่เป็นระบบอนาล็อกในปัจจุบัน ที่เข้าถึงกลุ่มคนดูได้มากที่สุด
การเซ็ทช่องจะเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด ไม่สับสนว่าเป็นกล่องของค่ายไหนจะอยู่ช่องอะไร
แต่ละค่ายจะต้องแข่งขันกันผลิตรายการที่มีคุณภาพ เพื่อดึงดูดคนดูให้ได้มากที่สุด
สังเกตุจากหุัน bec ให้ดีนะครับ จะเห็นว่าลงมาตลอด
เพราะต่อไปไม่ว่าจะเป็นช่อง 3 5 7 9 11 tpbs ก็จะต้องมาอยู่ในช่อง digital TV ทั้งหมด
ค่าโฆษณาของช่อง 3 ก็จะต้องถูกลง เพราะตัวหารมากขี้นครับ แต่ก็จะแพงกว่า sat TV หลายเท่าครับ
เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ
เพราะถ้า digital tv เกิด และจำนวนผู้เล่นมากขึ้น ก็ทำให้มีคู่แข่งเยอะขึ้น รายได้ก็ควรจะลดลงหรือเปล่าครับ
ประเด็นผมคือท่านเห็นหุ้นลงติดกันหลายวันจะมาสรุปเลยว่าtrendฟรีทีวีเดิมจะแย่ลงเพราะทีวีดิจิตอล ผมว่าสรุปเร็วเกินไปนะ และหุ้นลงก็อาจจะไม่ได้เกี่ยวอะไรเลย
แต่เวลาก็จะเป็นเครื่องพิสูจน์ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 63
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tv digital กับ โฆษณา
โพสต์ที่ 13
คคหสต นะครับหมูแดง เขียน:ผมอาจคาดการผิดก็ได้นะครับ ผมบอกไว้แล้วว่าเป็นความเห็นส่วนตัวharikung เขียน:แล้ววันนี้หุ้นbecขึ้นล่ะ เหตุผล?หมูแดง เขียน:ผมไม่ได้เอาเหตุมาใส่ผลนะครับ แต่เมี่อเห็นผลที่เกิด เราก็ควรจะหาสาเหตุที่ทำให้ม้นเกิดหรือเปล่าครับharikung เขียน:อย่าพึ่งเอาเหตุมาใส่ผลสิท่านหมูแดง เขียน:ผมเชื่อว่า
ค่าโฆษณาของ digital TV จะแพงกว่า sat TV หลายเท่าครับ
เพราะ digital TV ก็คือ free TV ที่จะมาแทนที่ freeTV ที่เป็นระบบอนาล็อกในปัจจุบัน ที่เข้าถึงกลุ่มคนดูได้มากที่สุด
การเซ็ทช่องจะเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด ไม่สับสนว่าเป็นกล่องของค่ายไหนจะอยู่ช่องอะไร
แต่ละค่ายจะต้องแข่งขันกันผลิตรายการที่มีคุณภาพ เพื่อดึงดูดคนดูให้ได้มากที่สุด
สังเกตุจากหุัน bec ให้ดีนะครับ จะเห็นว่าลงมาตลอด
เพราะต่อไปไม่ว่าจะเป็นช่อง 3 5 7 9 11 tpbs ก็จะต้องมาอยู่ในช่อง digital TV ทั้งหมด
ค่าโฆษณาของช่อง 3 ก็จะต้องถูกลง เพราะตัวหารมากขี้นครับ แต่ก็จะแพงกว่า sat TV หลายเท่าครับ
เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ
เพราะถ้า digital tv เกิด และจำนวนผู้เล่นมากขึ้น ก็ทำให้มีคู่แข่งเยอะขึ้น รายได้ก็ควรจะลดลงหรือเปล่าครับ
ประเด็นผมคือท่านเห็นหุ้นลงติดกันหลายวันจะมาสรุปเลยว่าtrendฟรีทีวีเดิมจะแย่ลงเพราะทีวีดิจิตอล ผมว่าสรุปเร็วเกินไปนะ และหุ้นลงก็อาจจะไม่ได้เกี่ยวอะไรเลย
แต่เวลาก็จะเป็นเครื่องพิสูจน์ครับ
ในมุมมองผม ผมกลับว่าไม่น่าจะมีผลกระทบกับช่อง 3 เท่าไหร่ เพราะสุดท้าย
Top brand ย่อมเลือก Top ads channel อยู่ดี ต่อให้เรตติ้งเฉลี่ยจะตกลงไปบ้าง
แต่ไม่น่ามีผลอะไร เพราะสุดท้ายอยู่ที่เนื้อหา เหมือน spot โฆษณา ช่วง super bowl
ที่ว่าแพงที่สุดในโลก ต่อให้ทั้งอเมริกาเพิ่ม free tv อีก 1000 ช่อง ผมก้อว่าราคามันไม่ลดลงหรอกครับ
NBC ทำทีวีดิจิตอล จริงๆผมไม่ค่อยให้น้ำหนักเท่าไหร่ เพราะ content ประเภทข่าว ไม่ค่อยนิยมในไทย นอกจากรายการคุณสรยุทธ ที่พีคเหลือเกินผมก้อติดอยู่ช่วงนึง
ในทางกลับกัน work ซึ่งผลิตรายการ เน้นฮาที่อาจมีสาระบ้าง ถือ potential content สำหรับตลาดเมืองไทย
เห็นได้จากผลประกอบการ หาก work ออกตัวเปิด ทีวีดิจิตอล โดยมีพันธมิตรครบเครื่องแล้วนั่นจึงเป็นการ
"จับ TV DIGITAL สะเทือนถึง BEC World" (work ราคาต้องไม่ต่ำกว่า 200 บาท)
แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับคุณปัญญา จะเลือก เป็น เสี่ยใหญ่ หรือ เสี่ยโคตรใหญ่
ปล. ต้องมั่นใจมากๆว่าบารมีถึงจริงและต้องหักกับBEC นั่นคือความเสี่ยง ซึ่งทุกการตัดสินใจย่อมมีค่าตอบแทนที่เหมาะสมอยู่ในตัวครับ
ทั้งหมดนี้คือมุมมองของผมครับ อ่านกระทู้แล้วคิดตามเล่นๆหน่ะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 950
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tv digital กับ โฆษณา
โพสต์ที่ 14
การมี TV Digital ทำให้ประชาชนมีช่องทางมากขึ้นมาก ไม่ถูกจำกัดผูกขาดอยู่แค่ไม่กี่ช่องอย่างปัจจุบัน
ค่าโฆษณาน่าจะถูกลง เพราะมีคู่แข่งมากขึ้น ถ้า BEC ไม่ปรับตัว คงไปสู้พวก Digital ไม่ได้ เพราะความคมชัดมันคนละเรื่อง
ส่วน Content เดี๋ยวนี้มีผู้ผลิตเยอะมากๆๆๆ รายการดี ๆ ละครดี ๆ มีผู้ผลิตอยู่เยอะ เพียงแต่ถูกจำกัดเพราะมี TV อยู่
แค่นี้
ค่าโฆษณาน่าจะถูกลง เพราะมีคู่แข่งมากขึ้น ถ้า BEC ไม่ปรับตัว คงไปสู้พวก Digital ไม่ได้ เพราะความคมชัดมันคนละเรื่อง
ส่วน Content เดี๋ยวนี้มีผู้ผลิตเยอะมากๆๆๆ รายการดี ๆ ละครดี ๆ มีผู้ผลิตอยู่เยอะ เพียงแต่ถูกจำกัดเพราะมี TV อยู่
แค่นี้
-
- Verified User
- โพสต์: 2236
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tv digital กับ โฆษณา
โพสต์ที่ 15
อ่านแรกๆดูดี ทำไมหลังๆเหมือนเชียร์หุ้นWORKชอบกล 555+woovi เขียน:คคหสต นะครับหมูแดง เขียน:ผมอาจคาดการผิดก็ได้นะครับ ผมบอกไว้แล้วว่าเป็นความเห็นส่วนตัวharikung เขียน:แล้ววันนี้หุ้นbecขึ้นล่ะ เหตุผล?หมูแดง เขียน:ผมไม่ได้เอาเหตุมาใส่ผลนะครับ แต่เมี่อเห็นผลที่เกิด เราก็ควรจะหาสาเหตุที่ทำให้ม้นเกิดหรือเปล่าครับharikung เขียน:อย่าพึ่งเอาเหตุมาใส่ผลสิท่านหมูแดง เขียน:ผมเชื่อว่า
ค่าโฆษณาของ digital TV จะแพงกว่า sat TV หลายเท่าครับ
เพราะ digital TV ก็คือ free TV ที่จะมาแทนที่ freeTV ที่เป็นระบบอนาล็อกในปัจจุบัน ที่เข้าถึงกลุ่มคนดูได้มากที่สุด
การเซ็ทช่องจะเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด ไม่สับสนว่าเป็นกล่องของค่ายไหนจะอยู่ช่องอะไร
แต่ละค่ายจะต้องแข่งขันกันผลิตรายการที่มีคุณภาพ เพื่อดึงดูดคนดูให้ได้มากที่สุด
สังเกตุจากหุัน bec ให้ดีนะครับ จะเห็นว่าลงมาตลอด
เพราะต่อไปไม่ว่าจะเป็นช่อง 3 5 7 9 11 tpbs ก็จะต้องมาอยู่ในช่อง digital TV ทั้งหมด
ค่าโฆษณาของช่อง 3 ก็จะต้องถูกลง เพราะตัวหารมากขี้นครับ แต่ก็จะแพงกว่า sat TV หลายเท่าครับ
เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ
เพราะถ้า digital tv เกิด และจำนวนผู้เล่นมากขึ้น ก็ทำให้มีคู่แข่งเยอะขึ้น รายได้ก็ควรจะลดลงหรือเปล่าครับ
ประเด็นผมคือท่านเห็นหุ้นลงติดกันหลายวันจะมาสรุปเลยว่าtrendฟรีทีวีเดิมจะแย่ลงเพราะทีวีดิจิตอล ผมว่าสรุปเร็วเกินไปนะ และหุ้นลงก็อาจจะไม่ได้เกี่ยวอะไรเลย
แต่เวลาก็จะเป็นเครื่องพิสูจน์ครับ
ในมุมมองผม ผมกลับว่าไม่น่าจะมีผลกระทบกับช่อง 3 เท่าไหร่ เพราะสุดท้าย
Top brand ย่อมเลือก Top ads channel อยู่ดี ต่อให้เรตติ้งเฉลี่ยจะตกลงไปบ้าง
แต่ไม่น่ามีผลอะไร เพราะสุดท้ายอยู่ที่เนื้อหา เหมือน spot โฆษณา ช่วง super bowl
ที่ว่าแพงที่สุดในโลก ต่อให้ทั้งอเมริกาเพิ่ม free tv อีก 1000 ช่อง ผมก้อว่าราคามันไม่ลดลงหรอกครับ
NBC ทำทีวีดิจิตอล จริงๆผมไม่ค่อยให้น้ำหนักเท่าไหร่ เพราะ content ประเภทข่าว ไม่ค่อยนิยมในไทย นอกจากรายการคุณสรยุทธ ที่พีคเหลือเกินผมก้อติดอยู่ช่วงนึง
ในทางกลับกัน work ซึ่งผลิตรายการ เน้นฮาที่อาจมีสาระบ้าง ถือ potential content สำหรับตลาดเมืองไทย
เห็นได้จากผลประกอบการ หาก work ออกตัวเปิด ทีวีดิจิตอล โดยมีพันธมิตรครบเครื่องแล้วนั่นจึงเป็นการ
"จับ TV DIGITAL สะเทือนถึง BEC World" (work ราคาต้องไม่ต่ำกว่า 200 บาท)
แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับคุณปัญญา จะเลือก เป็น เสี่ยใหญ่ หรือ เสี่ยโคตรใหญ่
ปล. ต้องมั่นใจมากๆว่าบารมีถึงจริงและต้องหักกับBEC นั่นคือความเสี่ยง ซึ่งทุกการตัดสินใจย่อมมีค่าตอบแทนที่เหมาะสมอยู่ในตัวครับ
ทั้งหมดนี้คือมุมมองของผมครับ อ่านกระทู้แล้วคิดตามเล่นๆหน่ะครับ
นักเลงคีย์บอร์ด4.0
-
- Verified User
- โพสต์: 136
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Tv digital กับ โฆษณา
โพสต์ที่ 16
งั้นถ้าผมมองกลับกันว่า ถ้ากรณีที่ TV digital กับ Free TV (3,5,7,9) มีการเเข่งขันกันมากขึ้น >> ผู้ผลิต content กับ โฆษณา ก็น่าจะได้ประโยชน์มากขึ้นรึเปล่าครับ
มีช่องให้โมษณามากขึ้น ค่าใช้จ่ายต่อนาทีก็น่าจะลดลง บริษัทที่ทำcontent กับ โฆษณาก็น่าจะมีงานมากขึ้น
ปล.มือใหม่
มีช่องให้โมษณามากขึ้น ค่าใช้จ่ายต่อนาทีก็น่าจะลดลง บริษัทที่ทำcontent กับ โฆษณาก็น่าจะมีงานมากขึ้น
ปล.มือใหม่
" Risk comes from not knowing what you’re doing " Warrent Buffett
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4741
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Tv digital กับ โฆษณา
โพสต์ที่ 17
เห็นด้วยอย่างยิ่งครับsunrise เขียน:Content is king
ผมว่าแค่นี้แหละตัวตัดสิน
ที่เหลือเป็นบริบท
ผมจะเลือกดูเฉพาะรายการที่ผมสนใจและชอบดู ผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันเป็นของช่องไหน ถึงวันและเวลารายการนั้นมา กดห่ใหญ่เลย...ฮา
ตอนนี้ Master Chef Professional กับ My kitchen rules กำลังเข้มข้นเลย อิอิ
ออสเตรเลียให้ใบอนุญาติ ดิจิตลทีวีื4 ปีที่แล้ว เกิดรายใหม่ขึ้นบางแต่คอนเท้นก็ไม่ค่อยมีคุณภาพ
ช่องเดิมยังได้เปรียบอยู่ดี แถมเป็นจังหวะ ได้ช่องเพิ่มอีกหลายช่องเลยครับ
สรุป content is the king ครับ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2273
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tv digital กับ โฆษณา
โพสต์ที่ 18
เมื่อวานฟังเนชั่น
ผมเห็นด้วยจุดนึงซึ่งผมมองว่าอาจเปลี่ยนวงการเลย
คือโฆษณาทางทีวีจะเพิ่มขึ้น
เพราะค่าโฆษณาของฟรีทีวีปัจจุบันราคาต่อนาทีแพงเกินไปสำหรับรายกลางหรือรายเล็ก
พอมีช่องที่มากขึ้นทำให้มีทางเลือกให้โฆษณามากขึ้น
ผมมองว่าแต่ละช่องvariety จะมีกลุ่มเฉพาะของแต่ละช่องทำให้การจัดสรรงบ
ของMedia agency ทำได้มากขึ้นแล้วก็ได้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น
เห็นด้วยเต็มๆครับกับเนชั่น
ผมเห็นด้วยจุดนึงซึ่งผมมองว่าอาจเปลี่ยนวงการเลย
คือโฆษณาทางทีวีจะเพิ่มขึ้น
เพราะค่าโฆษณาของฟรีทีวีปัจจุบันราคาต่อนาทีแพงเกินไปสำหรับรายกลางหรือรายเล็ก
พอมีช่องที่มากขึ้นทำให้มีทางเลือกให้โฆษณามากขึ้น
ผมมองว่าแต่ละช่องvariety จะมีกลุ่มเฉพาะของแต่ละช่องทำให้การจัดสรรงบ
ของMedia agency ทำได้มากขึ้นแล้วก็ได้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น
เห็นด้วยเต็มๆครับกับเนชั่น
การลงทุนคือความเสี่ยง
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
-
- Verified User
- โพสต์: 2236
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tv digital กับ โฆษณา
โพสต์ที่ 19
จริงๆถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะลองฟังความเห็นของพวกagencyโฆษณาหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์ว่าถ้าพวกดาวเทียมที่กลายร่างเป็นทีวีดิจิตอล จะยอมจ่ายค่าโฆษณาเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน จะยอมจ่ายเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวจากเดิมตอนที่เป็นดาวเทียมอย่างที่หลายๆสำนักหรือหลายๆท่านคิดไว้หรือไม่ จริงหรือฟรีทีวีเดิมโฆษณาอาจจะลดน้อยลง ผมเห็นด้วยกับประโยคที่ว่า content is kingครับ จริงๆทั้งกลุ่มทีวีดาวเทียมที่ผมพอจะมองว่ามีศักยภาพที่จะขึ้นเทียบชั้นฟรีทีวีเดิมได้คงจะมีrs(ต้องบอกก่อนว่าผมไม่มีหุ้นนะ ขายหมูไปนานแระ) ถ้าจะเทียบชั้นกับฟรีทีวีเดิมได้ บันเทิงต้องมาก่อนสาระ ละครต้องมี นอกเหนือจากนั้นถ้าอยู่ดีๆจะมาขึ้น4-5เท่า ถ้าผมเป็นบริษัทโฆษณาหรือผลิตภัณฑ์ผมก็ทำใจลำบากนะ
นักเลงคีย์บอร์ด4.0
- PRO_BABY
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1584
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tv digital กับ โฆษณา
โพสต์ที่ 20
ผมขอแชร์ด้วยคนครับharikung เขียน:จริงๆถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะลองฟังความเห็นของพวกagencyโฆษณาหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์ว่าถ้าพวกดาวเทียมที่กลายร่างเป็นทีวีดิจิตอล จะยอมจ่ายค่าโฆษณาเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน จะยอมจ่ายเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวจากเดิมตอนที่เป็นดาวเทียมอย่างที่หลายๆสำนักหรือหลายๆท่านคิดไว้หรือไม่ จริงหรือฟรีทีวีเดิมโฆษณาอาจจะลดน้อยลง ผมเห็นด้วยกับประโยคที่ว่า content is kingครับ จริงๆทั้งกลุ่มทีวีดาวเทียมที่ผมพอจะมองว่ามีศักยภาพที่จะขึ้นเทียบชั้นฟรีทีวีเดิมได้คงจะมีrs(ต้องบอกก่อนว่าผมไม่มีหุ้นนะ ขายหมูไปนานแระ) ถ้าจะเทียบชั้นกับฟรีทีวีเดิมได้ บันเทิงต้องมาก่อนสาระ ละครต้องมี นอกเหนือจากนั้นถ้าอยู่ดีๆจะมาขึ้น4-5เท่า ถ้าผมเป็นบริษัทโฆษณาหรือผลิตภัณฑ์ผมก็ทำใจลำบากนะ
..ผมว่าถ้ามองแค่นี้มันไม่น่าจะใช่ซะทีเดียว ประเด็นคือ การเปลี่ยนจากที่เคยผลิตเพื่อนำเสนอผ่านดาวเทียม เคเบิ้ล เดิมเข้าถึงได้ยาก และไม่เป็นสากล(เทียบกับฟรีทีวี) ประเด็นตรงนี้ต่างหากที่ทำให้ค่าโฆษณาต่างกัน การเข้าถึงของคนดูต่างกันทำให้ค่าโฆษณาต่างกัน อย่างหลายๆค่ายที่ผลิตรายการดี เนื้อหาเป็นที่นิยม แต่วันหนึ่งต้องหลุดจากฟรีทีวี ค่าโฆษณาลดลงอย่างมาก (ตัวอย่าง เป็นต่อ รายการข่าวเครือเนชั่น ละครของ rs work อื่นๆ) เมื่อเกิดดิจิทัล ทีวี มีความคาดหมายว่าอย่างน้อยการเข้าถึงของผู้ชมจะเท่าเทียมกันมากขึ้น ดังนั้นค่าโฆษณาน่าจะได้มีการปรับขึ้นจริงๆถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะลองฟังความเห็นของพวกagencyโฆษณาหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์ว่าถ้าพวกดาวเทียมที่กลายร่างเป็นทีวีดิจิตอล จะยอมจ่ายค่าโฆษณาเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน
...กรณีของฟรีทีวีเดิม 3 5 7 9 การปรับขึ้นค่าโฆษณา น่าจะทำได้ยากขึ้น เพราะเจ้าของสินค้ามีช่องทาง มีตัวเลือกมากขึ้นในการบริหารงบโฆษณา นอกจากนี้แล้ว เจ้าของสินค้า บริการที่ก่อนหน้านี้ไม่สามารถโฆษณาผ่านทาง ฟรีทีวีได้ ก็มีโอกาสมากขึ้นเพราะค่าโฆษณาของรายใหม่ๆถูกลง และมีโอกาสเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายง่ายขึ้น
.....ที่บอกว่าบันเทิงต้องมาก่อนสาระ ผมไม่แย้งนะครับ แต่รายการพวกข่าว สาระก็เรทติ้งไม่แพ้กัน ดูอย่างข่าวสามมิติ เรื่องเล่า ข่าวข้นสมัยอยู่ช่อง9 อื่นๆ..
.....ส่วนที่ว่าอยู่ดีๆการขึ้นค่าโฆษณาจากดาวเทียมเดิมเป็น 4-5 เท่า ในดิจิทัลทีวีเป็นไปได้ยาก ผมว่าเป็นไปได้ครับ(ทีวีดาวเทียมค่าโฆษณา 3000-10000 /นาทีเองครับ) และไม่ใช่อยู่ดีๆครับ เพราะเดิมเป็นดาวเทียม เคเบิ้ล เปลี่ยนเป็นดิจิทัลทีวีจะว่าไปก็ฟรีทีวีดีๆนี่เอง (ต่างนะครับ) และเมื่อเทียบกับฟรีทีวีหลักๆที่ 2-3 แสนบาทต่อนาที ...นี่ขึ้นตั้ง 4-5 เท่า แทบจะไม่ถึง 1/10 ของช่อง 3 7 เลยนะครับ
ดังนั้นความเห็นส่วนตัวผมนะครับ อุตสาหกรรมนี้มีโอกาสขยายตัวจากการมาของดิจิทัลทีวี การขึ้นค่าโฆษณาของฟรีทีวีเดิมน่าจะทำได้ยากขึ้น ผู้ผลิตที่มีคุณภาพมีโอกาสเติบโต (grammy rs work เครือเนชั่น กันตนา ฯลฯ) ตรงนี้ต่างหากที่มองว่าการเกิดดิจิทัล ทีวี จะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรม
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 358
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tv digital กับ โฆษณา
โพสต์ที่ 21
ปีนี้(และปีที่แล้ว)ผมแทบไม่ได้เปิดทีวีเลย ข่าวก็อ่านเอาในเนต ผมว่าอนาคตพวกอินเตอร์เนทน่าจะมาแทนทีวีมากขึ้นเรื่อยๆนะครับเพราะว่าคนอายุมากๆเริ่มตายไป คนรุ่นใหม่ใช้เทคโนโลยีเป็นก็น่าจะดูทีวีน้อยลง
มรณฺง เม ภวิสฺสติ ความตายจักมีแก่เรา
-
- Verified User
- โพสต์: 3350
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tv digital กับ โฆษณา
โพสต์ที่ 22
ผมขยายความต่อให้นะคับsunrise เขียน:เมื่อวานฟังเนชั่น
ผมเห็นด้วยจุดนึงซึ่งผมมองว่าอาจเปลี่ยนวงการเลย
คือโฆษณาทางทีวีจะเพิ่มขึ้น
เพราะค่าโฆษณาของฟรีทีวีปัจจุบันราคาต่อนาทีแพงเกินไปสำหรับรายกลางหรือรายเล็ก
พอมีช่องที่มากขึ้นทำให้มีทางเลือกให้โฆษณามากขึ้น
ผมมองว่าแต่ละช่องvariety จะมีกลุ่มเฉพาะของแต่ละช่องทำให้การจัดสรรงบ
ของMedia agency ทำได้มากขึ้นแล้วก็ได้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น
เห็นด้วยเต็มๆครับกับเนชั่น
คุณ อดิศักด์ บอกในทำนองว่า
มันมี pocket demand คือ
คนอยากโฆษณาทีวีหลักน่ะมี
แต่สู้ราคาไม่ได้
ถ้ามี ดิจิตอลทีวี จะทำให้ demand ตรงนี้มีที่ลง
จากโครงสร้างของ demand ใหม่พวกนี้
จะทำให้ ตลาดรวมโตขึ้น
อาจจะถึงิแสนล้าน จาก 7-8หมื่นล้าน
ส่วนตัว ไม่แน่ใจ ดูไม่ออก คับ
เด๋วนี้โลกหมุนเร็วเกิน ตามไม่ทัน
อย่างพวก บรอดแบรน
ใครไม่ทำ fttx น่าจะโดนถีบไปอยู่ตลาดล่างแบบ
adsl vs สายทองแดง
show me money.
-
- Verified User
- โพสต์: 118
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tv digital กับ โฆษณา
โพสต์ที่ 24
สื่อทีวีดาหน้าปรับขึ้นค่าโฆษณา "ช่อง3" โชว์ภาพผู้นำขยับ "ละคร-ข่าว3มิติ" ดีเดย์มี.ค.นี้
ฟรีทีวีแห่อัพค่าโฆษณาหลังอั้นยาวจากน้ำท่วม "ช่อง 3" นำร่องขึ้นค่าโฆษณา 4 รายการหลัก "ละครหลังข่าว-ข่าว 3 มิติ-ซีรีส์เกาหลี-หนังดังสุดสัปดาห์" ดีเดย์มีนาคมนี้ พร้อม "อสมท" ที่ปรับขึ้น 5-10% ส่วน "ช่อง 7" เตรียมปรับตามเมษายนนี้เช่นกัน ขณะที่ผู้จัดรายการบางกลุ่มขอปรับขึ้นแล้ว ด้านมีเดียเอเยนซี่ขานรับหลักการ ส่งผลสินค้าบางตัวหนีลงทีวีดาวเทียม คาดอุตสาหกรรมโฆษณารวมปีนี้โต 9-10%
ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมโฆษณาไทยมีมูลค่ารวม 104,640 ล้านบาท เติบโตราว 3.6% โดยเม็ดเงินโฆษณาผ่านทีวีมีส่วนแบ่งสูงถึงเกือบ 60% คิดเป็นมูลค่ากว่า 60,000 ล้านบาท แม้ว่าปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมโฆษณาจะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในช่วงไตรมาสสุดท้าย แต่โดยรวมโฆษณาผ่านสื่อทีวียังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง ส่งผลให้สถานีทีวีแต่ละช่องหันมาพิจารณาในเรื่องการปรับขึ้นอัตราค่าโฆษณากันอีกครั้งในปีนี้
"ช่อง 3" นำทีมขยับขึ้นราคา
แหล่งข่าวจากบริษัทวางแผนและซื้อสื่อโฆษณารายหนึ่งเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้สถานีทีวีแทบทุกช่องมีการเคลื่อนไหวในด้านการปรับขึ้นค่าโฆษณาแล้ว โดยช่อง 3 มีแผนปรับขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมนี้เป็นต้นไป ประเดิมด้วย 4 รายการหลัก ประกอบด้วย 1.ละครหลังข่าว ปรับขึ้น 12.5% จากเดิมราคา 4.8 แสนบาท/นาที ลด 15% ซื้อ 1 แถม 1 เปลี่ยนเป็นราคาและส่วนลดเดิม แต่ซื้อ 2 แถม 1 2.ซีรีส์เกาหลีช่วงเย็น เสาร์-อาทิตย์ ปรับขึ้น 14% จากเดิม 2.9 แสนบาท/นาที ส่วนลด 20% เป็น 3.3 แสนบาท/นาที ส่วนลด 20% 3.ข่าว 3 มิติ ปรับขึ้น 14% จาก 2.9 แสนบาท/นาที ส่วนลด 20% เป็น 3.3 แสนบาท/นาที ส่วนลด 20% และ 4.หนังดังสุดสัปดาห์ ปรับขึ้น 45% จาก 2 แสนบาท/นาที ส่วนลด 40% เป็น 2.5 แสนบาท/นาที ส่วนลด 30%
ไม่เพียงเท่านี้ ในส่วนของโมเดิร์น ไนน์ทีวี หรือ อสมท ก็มีแผนปรับขึ้นในช่วงเดียวกับช่อง 3 เช่นกัน ส่วนสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ก็มีแผนจะขยับค่าโฆษณาขึ้นในช่วงเดือนเมษายนนี้ และก็เชื่อว่าในส่วนของผู้ผลิตรายการหลัก ๆ ก็มีแผนปรับขึ้นค่าโฆษณาด้วยเช่นกัน
นายสุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการไทยทีวีสีช่อง 3 ยอมรับว่า สถานีได้เตรียมการปรับขึ้นราคาโฆษณา 1 มีนาคมนี้จริง โดยจะปรับขึ้นราคาโฆษณาของรายการข่าว 3 มิติ จาก 2.9 แสนบาท/นาที เป็น 3.3 แสนบาท/นาที เช่นเดียวกับซีรีส์เกาหลี ช่วงเย็นเสาร์-อาทิตย์ ที่ปรับขึ้นในอัตราเดียวกัน และในปีนี้ช่อง 3 ยังมีแผน จะปรับราคาโฆษณาของบางรายการเพิ่มขึ้นอีก โดยจะพิจารณาตามความต้องการของตลาด อย่างไรก็ตาม การปรับครั้งนี้ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นแต่ยังเป็นสัดส่วนที่ไม่มากนัก เพราะรายการที่ปรับขึ้นไม่ได้ออกอากาศทุกวัน
ขณะเดียวกัน ช่อง 3 ยังเดินหน้า ต่อยอดคอนเทนต์ หลังจากประสบความสำเร็จของครอบครัวข่าว และครอบครัวละคร ที่ช่วยผลักดันรายได้ โดยล่าสุด ช่วงเสาร์-อาทิตย์ ได้รายการชิงร้อย ชิงล้าน ซันชายเดย์ มาออกอากาศช่วงเวลา 15.00-17.00 น. ช่วงเย็นวันอาทิตย์ ส่งผลให้ช่อง 3 ได้ฐานคนดูกลุ่มครอบครัวเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งผลักดันรายการสำหรับเด็กในเวลาช่วง 18.00-18.30 น. วันจันทร์-ศุกร์ให้มากขึ้นด้วย
สำหรับไตรมาส 4 ของปี 2554 ช่อง 3 ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม ทำให้ยอดโฆษณาลดลง 8-9% แต่โดยภาพรวมปี 2554 คาดว่าตัวเลขรายได้ยังเติบโต 7-8% เนื่องจาก 9 เดือนแรกของปี 2554 มียอดเติบโต 10%
"ผมเชื่อว่าอุตสาหกรรมทีวีปีนี้จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องมาจากการสูญเสียโอกาสทางการตลาดเมื่อปลาย ปีก่อน ส่งผลให้สินค้าแบรนด์ต่าง ๆ กลับมาเร่งทำตลาด การแข่งขันของรายการทีวี บวกกับการขึ้นราคาโฆษณาช่องฟรีทีวี น่าจะเป็นปัจจัยผลักดันให้โฆษณาทีวีเติบโตได้อีก 9-10% จากปีที่ผ่านมา"
อสมท ปรับขึ้น 5-10%
ด้านนายเขมทัตต์ พลเดช รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานการตลาดและการขาย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อสมท ประกาศปรับขึ้นราคาโฆษณา 5-10% ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2554 จะมีผลตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 แต่จากสถานการณ์น้ำท่วมเมื่อปลายปีที่ผ่านมาจึงต้องชะลอการปรับขึ้นออกไป 2 เดือน ทำให้เริ่มมีผลต้นเดือนมีนาคมนี้ คาดว่าการปรับขึ้นราคาดังกล่าวจะสร้างรายได้เพิ่มเฉลี่ยปีละ 300-400 ล้านบาท
เนื่องจากเป็นรายการที่มีความแข็งแกร่ง บวกกับราคาโฆษณาที่ปรับขึ้นนั้นยังถือว่าไม่สูงมากเมื่อเทียบกับช่อง 3 และช่อง 7 จึงเป็นทางเลือกแก่เอเยนซี่โฆษณา นอกจากนี้ยังเป็นการรักษาฐานลูกค้าของช่อง เนื่องจาก อสมท ยังมีส่วนแบ่งตลาดไม่ได้มาก
นอกจากนี้บริษัทยังสร้างรายได้ทางอื่นเพิ่มเข้ามาจากรายได้โฆษณา ด้วยการเปิดตัวบัตรเดบิตร่วมกับธนาคาร กรุงไทย สร้างสิทธิพิเศษให้กับผู้ชม เมื่อช่อง 9 จัดคอนเสิร์ตหรือกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการขยานฐานผู้ชมวัยเริ่มทำงานและวัยรุ่น
อย่างไรก็ดี การปรับขึ้นราคาโฆษณาไม่ได้ส่งผลให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมโฆษณาเติบโตขึ้น เพราะการปรับขึ้นราคาดังกล่าวมาจากต้นทุนการผลิตที่ สูงขึ้น คาดการณ์ว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมโฆษณาปีนี้เติบโตเฉลี่ย 3-5% จากมูลค่ารวมกว่า 60,000 ล้านบาท
เอเยนซี่ติงสถานการณ์ยังไม่เอื้อ
ด้านนางอิชยา สันติตระกูล กรรมการบริหาร บริษัท แบรนด์คอนเน็คชั่นส จำกัด กล่าวถึงแนวโน้มการปรับราคาโฆษณาปีนี้ว่า สื่อทีวีได้ทยอยปรับขึ้นราคามาอย่างต่อเนื่อง โดยภาพรวมเฉลี่ยปรับขึ้นประมาณ 5-30% จะเริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมนี้
อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวมองว่า ยังไม่ถึงช่วงเวลาที่จะปรับขึ้นราคาโฆษณา เนื่องจากที่ผ่านมายังมีปัจจัยลบใน หลาย ๆ ด้าน ไม?ว?าจะเป็นสภาวะเศรษฐกิจ น้ำท?วมใหญ? แต่ก็ต้องเข้าใจว่าการเพิ่มรายได้ของสถานีทีวีต้องมาจากการปรับราคาโฆษณา
ทั้งนี้ คาดว่าอาจจะมีสินค้าบางรายหันมาใช้โฆษณาผ่านสื่อทีวีดาวเทียมเพิ่มขึ้น แต่ก็คงเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
http://entertainment.hunsa.com/detail.php?id=39642
ทีวีดิจิตอล ที่คุยกันในที่นี้ยังไม่เกิดขึ้นนะครับ
ผมคิดว่าที่คุณ KedJade พูดถึง
ทีวิดิจิตอล ตอนนี้ อยู่ที่ หมื่น ถึง สองหมื่นห้า ต่อนาที
น่าจะเป็น sat TV หรือเปล่าครับ
ฟรีทีวีแห่อัพค่าโฆษณาหลังอั้นยาวจากน้ำท่วม "ช่อง 3" นำร่องขึ้นค่าโฆษณา 4 รายการหลัก "ละครหลังข่าว-ข่าว 3 มิติ-ซีรีส์เกาหลี-หนังดังสุดสัปดาห์" ดีเดย์มีนาคมนี้ พร้อม "อสมท" ที่ปรับขึ้น 5-10% ส่วน "ช่อง 7" เตรียมปรับตามเมษายนนี้เช่นกัน ขณะที่ผู้จัดรายการบางกลุ่มขอปรับขึ้นแล้ว ด้านมีเดียเอเยนซี่ขานรับหลักการ ส่งผลสินค้าบางตัวหนีลงทีวีดาวเทียม คาดอุตสาหกรรมโฆษณารวมปีนี้โต 9-10%
ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมโฆษณาไทยมีมูลค่ารวม 104,640 ล้านบาท เติบโตราว 3.6% โดยเม็ดเงินโฆษณาผ่านทีวีมีส่วนแบ่งสูงถึงเกือบ 60% คิดเป็นมูลค่ากว่า 60,000 ล้านบาท แม้ว่าปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมโฆษณาจะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในช่วงไตรมาสสุดท้าย แต่โดยรวมโฆษณาผ่านสื่อทีวียังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง ส่งผลให้สถานีทีวีแต่ละช่องหันมาพิจารณาในเรื่องการปรับขึ้นอัตราค่าโฆษณากันอีกครั้งในปีนี้
"ช่อง 3" นำทีมขยับขึ้นราคา
แหล่งข่าวจากบริษัทวางแผนและซื้อสื่อโฆษณารายหนึ่งเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้สถานีทีวีแทบทุกช่องมีการเคลื่อนไหวในด้านการปรับขึ้นค่าโฆษณาแล้ว โดยช่อง 3 มีแผนปรับขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมนี้เป็นต้นไป ประเดิมด้วย 4 รายการหลัก ประกอบด้วย 1.ละครหลังข่าว ปรับขึ้น 12.5% จากเดิมราคา 4.8 แสนบาท/นาที ลด 15% ซื้อ 1 แถม 1 เปลี่ยนเป็นราคาและส่วนลดเดิม แต่ซื้อ 2 แถม 1 2.ซีรีส์เกาหลีช่วงเย็น เสาร์-อาทิตย์ ปรับขึ้น 14% จากเดิม 2.9 แสนบาท/นาที ส่วนลด 20% เป็น 3.3 แสนบาท/นาที ส่วนลด 20% 3.ข่าว 3 มิติ ปรับขึ้น 14% จาก 2.9 แสนบาท/นาที ส่วนลด 20% เป็น 3.3 แสนบาท/นาที ส่วนลด 20% และ 4.หนังดังสุดสัปดาห์ ปรับขึ้น 45% จาก 2 แสนบาท/นาที ส่วนลด 40% เป็น 2.5 แสนบาท/นาที ส่วนลด 30%
ไม่เพียงเท่านี้ ในส่วนของโมเดิร์น ไนน์ทีวี หรือ อสมท ก็มีแผนปรับขึ้นในช่วงเดียวกับช่อง 3 เช่นกัน ส่วนสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ก็มีแผนจะขยับค่าโฆษณาขึ้นในช่วงเดือนเมษายนนี้ และก็เชื่อว่าในส่วนของผู้ผลิตรายการหลัก ๆ ก็มีแผนปรับขึ้นค่าโฆษณาด้วยเช่นกัน
นายสุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการไทยทีวีสีช่อง 3 ยอมรับว่า สถานีได้เตรียมการปรับขึ้นราคาโฆษณา 1 มีนาคมนี้จริง โดยจะปรับขึ้นราคาโฆษณาของรายการข่าว 3 มิติ จาก 2.9 แสนบาท/นาที เป็น 3.3 แสนบาท/นาที เช่นเดียวกับซีรีส์เกาหลี ช่วงเย็นเสาร์-อาทิตย์ ที่ปรับขึ้นในอัตราเดียวกัน และในปีนี้ช่อง 3 ยังมีแผน จะปรับราคาโฆษณาของบางรายการเพิ่มขึ้นอีก โดยจะพิจารณาตามความต้องการของตลาด อย่างไรก็ตาม การปรับครั้งนี้ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นแต่ยังเป็นสัดส่วนที่ไม่มากนัก เพราะรายการที่ปรับขึ้นไม่ได้ออกอากาศทุกวัน
ขณะเดียวกัน ช่อง 3 ยังเดินหน้า ต่อยอดคอนเทนต์ หลังจากประสบความสำเร็จของครอบครัวข่าว และครอบครัวละคร ที่ช่วยผลักดันรายได้ โดยล่าสุด ช่วงเสาร์-อาทิตย์ ได้รายการชิงร้อย ชิงล้าน ซันชายเดย์ มาออกอากาศช่วงเวลา 15.00-17.00 น. ช่วงเย็นวันอาทิตย์ ส่งผลให้ช่อง 3 ได้ฐานคนดูกลุ่มครอบครัวเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งผลักดันรายการสำหรับเด็กในเวลาช่วง 18.00-18.30 น. วันจันทร์-ศุกร์ให้มากขึ้นด้วย
สำหรับไตรมาส 4 ของปี 2554 ช่อง 3 ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม ทำให้ยอดโฆษณาลดลง 8-9% แต่โดยภาพรวมปี 2554 คาดว่าตัวเลขรายได้ยังเติบโต 7-8% เนื่องจาก 9 เดือนแรกของปี 2554 มียอดเติบโต 10%
"ผมเชื่อว่าอุตสาหกรรมทีวีปีนี้จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องมาจากการสูญเสียโอกาสทางการตลาดเมื่อปลาย ปีก่อน ส่งผลให้สินค้าแบรนด์ต่าง ๆ กลับมาเร่งทำตลาด การแข่งขันของรายการทีวี บวกกับการขึ้นราคาโฆษณาช่องฟรีทีวี น่าจะเป็นปัจจัยผลักดันให้โฆษณาทีวีเติบโตได้อีก 9-10% จากปีที่ผ่านมา"
อสมท ปรับขึ้น 5-10%
ด้านนายเขมทัตต์ พลเดช รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานการตลาดและการขาย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อสมท ประกาศปรับขึ้นราคาโฆษณา 5-10% ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2554 จะมีผลตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 แต่จากสถานการณ์น้ำท่วมเมื่อปลายปีที่ผ่านมาจึงต้องชะลอการปรับขึ้นออกไป 2 เดือน ทำให้เริ่มมีผลต้นเดือนมีนาคมนี้ คาดว่าการปรับขึ้นราคาดังกล่าวจะสร้างรายได้เพิ่มเฉลี่ยปีละ 300-400 ล้านบาท
เนื่องจากเป็นรายการที่มีความแข็งแกร่ง บวกกับราคาโฆษณาที่ปรับขึ้นนั้นยังถือว่าไม่สูงมากเมื่อเทียบกับช่อง 3 และช่อง 7 จึงเป็นทางเลือกแก่เอเยนซี่โฆษณา นอกจากนี้ยังเป็นการรักษาฐานลูกค้าของช่อง เนื่องจาก อสมท ยังมีส่วนแบ่งตลาดไม่ได้มาก
นอกจากนี้บริษัทยังสร้างรายได้ทางอื่นเพิ่มเข้ามาจากรายได้โฆษณา ด้วยการเปิดตัวบัตรเดบิตร่วมกับธนาคาร กรุงไทย สร้างสิทธิพิเศษให้กับผู้ชม เมื่อช่อง 9 จัดคอนเสิร์ตหรือกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการขยานฐานผู้ชมวัยเริ่มทำงานและวัยรุ่น
อย่างไรก็ดี การปรับขึ้นราคาโฆษณาไม่ได้ส่งผลให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมโฆษณาเติบโตขึ้น เพราะการปรับขึ้นราคาดังกล่าวมาจากต้นทุนการผลิตที่ สูงขึ้น คาดการณ์ว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมโฆษณาปีนี้เติบโตเฉลี่ย 3-5% จากมูลค่ารวมกว่า 60,000 ล้านบาท
เอเยนซี่ติงสถานการณ์ยังไม่เอื้อ
ด้านนางอิชยา สันติตระกูล กรรมการบริหาร บริษัท แบรนด์คอนเน็คชั่นส จำกัด กล่าวถึงแนวโน้มการปรับราคาโฆษณาปีนี้ว่า สื่อทีวีได้ทยอยปรับขึ้นราคามาอย่างต่อเนื่อง โดยภาพรวมเฉลี่ยปรับขึ้นประมาณ 5-30% จะเริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมนี้
อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวมองว่า ยังไม่ถึงช่วงเวลาที่จะปรับขึ้นราคาโฆษณา เนื่องจากที่ผ่านมายังมีปัจจัยลบใน หลาย ๆ ด้าน ไม?ว?าจะเป็นสภาวะเศรษฐกิจ น้ำท?วมใหญ? แต่ก็ต้องเข้าใจว่าการเพิ่มรายได้ของสถานีทีวีต้องมาจากการปรับราคาโฆษณา
ทั้งนี้ คาดว่าอาจจะมีสินค้าบางรายหันมาใช้โฆษณาผ่านสื่อทีวีดาวเทียมเพิ่มขึ้น แต่ก็คงเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
http://entertainment.hunsa.com/detail.php?id=39642
ทีวีดิจิตอล ที่คุยกันในที่นี้ยังไม่เกิดขึ้นนะครับ
ผมคิดว่าที่คุณ KedJade พูดถึง
ทีวิดิจิตอล ตอนนี้ อยู่ที่ หมื่น ถึง สองหมื่นห้า ต่อนาที
น่าจะเป็น sat TV หรือเปล่าครับ
- Highway_Star
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 452
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Tv digital กับ โฆษณา
โพสต์ที่ 25
ผมยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องทีวีดิจิตอล ทีวีดาวเทียมเท่าไหร่ ว่าการเปลี่ยนจากระบบนึงไปอีกระบบนึง
มันมีค่าใช้จ่ายอะไรยังไงบ้าง infra มีอะไรต้องเปลี่ยนเยอะมั้ย อย่าง RS จะเข้าไปประมูลทีวีดิจิตอลแล้วต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
ผมคิดว่าทีวีดิจิตอลที่ให้ภาพ HD น่าจะมีค่าโฆษณาที่สูงกว่าได้เพราะความคมชัด .. ประมาณว่าอยากโฆษณาไรเทพๆ
หรือโฆษณาที่พอเปลี่ยนความละเอียดแล้วจะทำให้สินค้าดูดีขึ้นอย่างมีนัยยะเช่น เครื่องสำอางงี้ HD ที ผิวมันดูเนียนมันดูสวย
พวก agency ต่างๆ น่าจะยอมจ่ายเพื่อเข้ามา
ในขณะที่ทีวีดาวเทียมน่าจะเหมาะกับผู้เล่นรายเล็กกว่า
อย่างไรก็ตามผมว่าไอ้ที่สำคัญจริงๆ น่าจะเป็นผลสำรวจการเข้าถึงประชากรนะครับ เช่นพวกเนลสันไรงี้
ถ้าผลมันออกมาแล้ว penetration rate ต่ำ มันก็คงไม่มีใครอยากจะไปโฆษณาด้วย
มันมีค่าใช้จ่ายอะไรยังไงบ้าง infra มีอะไรต้องเปลี่ยนเยอะมั้ย อย่าง RS จะเข้าไปประมูลทีวีดิจิตอลแล้วต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
ผมคิดว่าทีวีดิจิตอลที่ให้ภาพ HD น่าจะมีค่าโฆษณาที่สูงกว่าได้เพราะความคมชัด .. ประมาณว่าอยากโฆษณาไรเทพๆ
หรือโฆษณาที่พอเปลี่ยนความละเอียดแล้วจะทำให้สินค้าดูดีขึ้นอย่างมีนัยยะเช่น เครื่องสำอางงี้ HD ที ผิวมันดูเนียนมันดูสวย
พวก agency ต่างๆ น่าจะยอมจ่ายเพื่อเข้ามา
ในขณะที่ทีวีดาวเทียมน่าจะเหมาะกับผู้เล่นรายเล็กกว่า
อย่างไรก็ตามผมว่าไอ้ที่สำคัญจริงๆ น่าจะเป็นผลสำรวจการเข้าถึงประชากรนะครับ เช่นพวกเนลสันไรงี้
ถ้าผลมันออกมาแล้ว penetration rate ต่ำ มันก็คงไม่มีใครอยากจะไปโฆษณาด้วย
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1487
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tv digital กับ โฆษณา
โพสต์ที่ 26
ถ้าจะทำ ทีวีดิจิตอล ต้องลงทุนประมาณนี้Highway_Star เขียน:ผมยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องทีวีดิจิตอล ทีวีดาวเทียมเท่าไหร่ ว่าการเปลี่ยนจากระบบนึงไปอีกระบบนึง
มันมีค่าใช้จ่ายอะไรยังไงบ้าง infra มีอะไรต้องเปลี่ยนเยอะมั้ย อย่าง RS จะเข้าไปประมูลทีวีดิจิตอลแล้วต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
ผมคิดว่าทีวีดิจิตอลที่ให้ภาพ HD น่าจะมีค่าโฆษณาที่สูงกว่าได้เพราะความคมชัด .. ประมาณว่าอยากโฆษณาไรเทพๆ
หรือโฆษณาที่พอเปลี่ยนความละเอียดแล้วจะทำให้สินค้าดูดีขึ้นอย่างมีนัยยะเช่น เครื่องสำอางงี้ HD ที ผิวมันดูเนียนมันดูสวย
พวก agency ต่างๆ น่าจะยอมจ่ายเพื่อเข้ามา
ในขณะที่ทีวีดาวเทียมน่าจะเหมาะกับผู้เล่นรายเล็กกว่า
อย่างไรก็ตามผมว่าไอ้ที่สำคัญจริงๆ น่าจะเป็นผลสำรวจการเข้าถึงประชากรนะครับ เช่นพวกเนลสันไรงี้
ถ้าผลมันออกมาแล้ว penetration rate ต่ำ มันก็คงไม่มีใครอยากจะไปโฆษณาด้วย
http://www.thaitv3.com/%E0%B8%96%E0%B8% ... us_network
รายเก่า BEC, MCOT ปรับใช้ของเดิมได้ที่เหลือต้องลงทุนใหม่ทั้งหมด
ถ้าเป็นทีวีดาวเทียมมีแค่สถานีเดียวยิง uplink ขึ้นดาวเทียมก็พอแล้วครับ เทียบดูแล้วค่าใช้จ่ายต่างกันหลายสิบเท่า
-
- Verified User
- โพสต์: 8
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tv digital กับ โฆษณา
โพสต์ที่ 28
อาจจะต้องมองในส่วนของตัว TV ที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วย
เนื่องจากปัจจุบันในประเทศไทยนี้ยังไม่มีทีวีดิจิตอลขายเลย
การรับส่งในช่วงทดลองนี้จึงต้องติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณ
ที่เรียกว่า Set Top Box แต่คาดว่าปลายปีคงเริ่มจะเห็น Digital TV
แท้ๆ เริ่มออกมาจำหน่าย จะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ประเทศไทยมีทีวีที่เป็นอะนาล็อคกว่า20 ล้านเครื่อง แต่ยังไม่มีเครื่องไหนเป็น Digital TVจะมีทีวี 20 ล้านเครื่อง ถูกทิ้งและกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่อันตราย ที่ยังไม่มีมาตรการชัดเจนที่จะไปรองรับปัญหานี้ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) บอกว่าหลายๆ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในโทรทัศน์ ยังมีค่าอยู่ หลายอย่างสามารถนำไปใช้ได้ หากมีโรงงานสำหรับคัดแยกสิ่งเหล่านี้อย่างน้อย จังหวัดละ 1 โรงงาน จะรองรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่ได้
ประชาชาติธุรกิจ:
การเปิดประมูล Digital TVมีความแตกต่างกับการประมูลใบอนุญาต 3G อันอื้อฉาวมากทีเดียว การประมูลใบอนุญาตสื่อสารไร้สาย 3G เป็นการจัดระบบผลตอบแทนของรัฐใหม่ มีความต่อเนื่องจากระบบสัมปทานเดิมให้มีความชัดเจน
การประมูลใบอนุญาต Digital TV มีแนวคิดพื้นฐาน มาจากความจำเป็นต้องเปลี่ยนระบบทั่วทั้งสังคมจาก Analog สู่ Digital โดยหวังว่าหลังจากการเปลี่ยนผ่านระบบในมิติทางสังคมเป็นไปอย่างสมบูรณ์แล้ว จึงจะตามมาด้วยแนวคิดพื้นฐานว่าด้วยผลตอบแทนของรัฐ อันเนื่องมาจากผู้ประกอบการ Digital TV ทุกราย จะเข้ามาอยู่ในระบบมาตรฐานว่าด้วยผลตอบแทน และการกำกับของรัฐ
-การลงทุน Digital TV เป็นโครงการใหม่ตั้งแต่ต้น แม้จะมีการมองว่าเป็นความต่อเนื่อง จากสัมปทานทีวีเดิมอยู่บ้าง แต่เนื่องจากระบบทีวีเดิมส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ภายใต้ Subscriber base เช่นสื่อสารไร้สาย ความต่อเนื่องของฐานผู้ชมจึงเป็นเรื่องความสามารถของการบริการจัดการมากกว่าการส่งต่อความได้เปรียบที่เป็นทุนเดิม การลงทุน Digital TV ใช้เงินน้อยกว่าระบบสื่อสารไร้สาย แม้ว่านักวิเคราะห์บางรายระบุใช้เงินในระดับพันล้านบาทขึ้นไป อาจเป็นอุปสรรคต่อการเข้ามาของผู้ประกอบการ
บทวิเคราะห์ Digital TV การเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมทีวีไทย ใต้เงื้อมมือ กสทช.
บทสรุปผู้บริหาร
การแพร่สัญญาณทีวีด้วยระบบดิจิทัลมีข้อดีกว่าระบบแอนะล็อกมาก และถือเป็นการใช้ความถี่ของประเทศให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในระยะยาว เพราะมีจำนวนช่องมากขึ้น และความถี่แอนะล็อกเดิมสามารถนำไปใช้ในกิจการอื่นได้
ทีวีระบบดิจิทัลเป็นการเปลี่ยนรอบเทคโนโลยีตามปกติของทีวีระบบแอนะล็อกเดิม สถานีฟรีทีวีรายเดิมทุกรายจะเข้าสู่ระบบดิจิทัลอย่างแน่นอน
การเปลี่ยนมาใช้ทีวีดิจิทัลจะเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนหน้าใหม่ๆ เข้ามาในอุตสาหกรรมสื่อมากขึ้น สร้างการแข่งขันแก่ผู้บริโภค และลดการผูกขาดสื่อทีวีลงจากเดิม
การที่ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ทีวีระบบดิจิทัลช้า ทำให้เทคโนโลยีคู่แข่งอย่างเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม มาแย่งฐานลูกค้าของทีวีดิจิทัลไปมากแล้ว มูลค่าของทีวีดิจิทัลอาจไม่มากอย่างที่คาดการณ์กัน
หมายเหตุ: ที่มาของภาพประกอบบางส่วนในบทความนี้มาจาก รายงานการประเมินผลกระทบจากการออกหลักเกณฑ์ วิธีการอนุญาตการให้บริการโครงข่าย การให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวก และการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ของ กสทช.
นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดงาน Go Digital Thailand ของ กสทช. (ภาพจาก @supinya)
อะไรคือ “ทีวีดิจิทัล”
ทีวีดิจิทัล (digital television) คือระบบการแพร่สัญญาณคลื่นโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (“terrestrial” ในที่นี้หมายความว่าไม่ได้ยิงสัญญาณออกนอกโลกเหมือนดาวเทียม) เหมือนกับระบบของฟรีทีวีในปัจจุบัน แต่เปลี่ยนวิธีการเข้ารหัสสัญญาณเป็นแบบดิจิทัลแทนระบบแอนะล็อกแต่เดิม
ข้อดีของการแพร่สัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลคือ ให้ภาพที่คมชัดกว่าเดิม ใช้ช่วงคลื่นน้อยลงกว่าเดิมมาก และมีความสามารถอื่นๆ เข้ามาอำนวยความสะดวกแก่ผู้รับชมทีวี เช่น มีผังรายการแสดงบนหน้าจอได้เลย เป็นต้น
ปัจจุบันอุตสาหกรรมทีวีทั่วโลกเข้าสู่ระบบดิจิทัลกันแทบทั้งหมดแล้ว (ประเทศไทยถือว่าช้าไปราว 10 ปีเพราะไม่สามารถตั้ง กสช. ได้ ภารกิจนี้จึงตกมาอยู่กับ กสทช. ในฝั่งคณะกรรมการ กสท. แทน) กระบวนการผลิตรายการทีวีทั้งหมดตั้งแต่กล้องวิดีโอไปจนถึงการตัดต่อ เปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัลกันหมดแล้ว เรียกได้ว่าในฝั่งการผลิตและการออกอากาศนั้น เทคโนโลยีพร้อมหมดแล้ว เหลือแค่ฝั่งของนโยบาย และฝั่งของผู้ชมโทรทัศน์เท่านั้น (เครื่องรับโทรทัศน์จำเป็นต้องรองรับสัญญาณระบบดิจิทัลด้วย ซึ่งแก้ด้วยการซื้อกล่องแปลงสัญญาณดิจิทัลมาต่อเข้ากับทีวีเดิมได้)
ในระยะยาวแล้ว ทีวีระบบแอนะล็อกจะถูกเปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิทัลทั้งหมด ด้วยเหตุผลว่ารับชมได้เหมือนกัน แต่ใช้ช่วงกว้างของสัญญาณ (bandwidth) น้อยกว่ากันมาก ดังนั้นในต่างประเทศจึงทยอยเปลี่ยนระบบทีวีเป็นดิจิทัล และเมื่อพร้อมแล้วก็หยุดแพร่สัญญาณระบบแอนะล็อกอย่างถาวร (digital switchover) หลังจากนั้นจึงนำคลื่นเดิมที่ใช้กับทีวีระบบแอนะล็อกไปจัดสรรใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และตอบสนองความต้องการใช้คลื่นความถี่ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
สภาพการแข่งขันของฟรีทีวีของประเทศไทย (ที่มา – กานต์ ยืนยง SIU)
ผลกระทบของ “ทีวีดิจิทัล” ต่ออุตสาหกรรมทีวีของไทย
ต้องยอมรับว่า “ฟรีทีวี” (ในที่นี้คือ analog terrestrial television) มีสภาพการแข่งขันแบบกึ่งผูกขาดโดยรัฐมายาวนานหลายสิบปี ในจำนวนฟรีทีวีทั้ง 6 ช่อง แบ่งได้เป็น
ช่องของหน่วยงานรัฐ 3 ช่อง ได้แก่ ช่อง 5 (กองทัพบก) ช่อง 9 (อสมท.) และช่อง 11 (กรมประชาสัมพันธ์)
ช่องที่หน่วยงานรัฐให้สัมปทานแก่เอกชน ได้แก่ ช่อง 3 (สัมปทานจาก อสมท. ให้กลุ่มบริษัท BEC) และช่อง 7 (กองทัพบกให้สัมปทานแก่กลุ่มบริษัท BBTV)
ทีวีสาธารณะของหน่วยงานอิสระของรัฐ ได้แก่ Thai PBS ทีวีเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทย มีอัตราการเข้าถึงประชากร 98% (ตัวเลขอ้างอิงจากรายงานของ กสทช.) มากกว่าสื่อชนิดอื่นๆ อย่างวิทยุและหนังสือพิมพ์มาก เม็ดเงินเชิงพาณิชย์จำนวนมหาศาลจึงไหลเข้าสู่อุตสาหกรรมทีวี และผู้ที่ได้รับความมั่งคั่งย่อมเป็นหน่วยงานต่างๆ ที่มีอำนาจควบคุมสถานีโทรทัศน์ของไทยทั้ง 5 ช่องนั่นเอง (ไม่นับรวม Thai PBS ที่อยู่ได้จากเงินภาษี ไม่รับโฆษณาจากภาคเอกชน)
กลุ่มทุนที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากภาวะกึ่งผูกขาดของอุตสาหกรรมทีวีไทยย่อมเป็น BEC และ BBTV ที่มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับหน่วยงานผู้ให้สัมปทาน และพยายามกีดกันคู่แข่งรายอื่นๆ โดยใช้กลไกเรื่องสัมปทานเป็นเครื่องมือ และในเมื่อทีวีระบบแอนะล็อกจำเป็นต้องใช้ช่วงคลื่นที่กว้างมากในการแพร่สัญญาณ ในทางเทคนิคจึงมีจำนวนสถานีได้ไม่มากนักเทียบกับความถี่ที่ประเทศไทยมีใช้งานสำหรับกิจการโทรทัศน์ สายสัมพันธ์ผู้บริหาร-กลุ่มทุนช่อง 7 (ที่มา – กานต์ ยืนยง SIU)
การเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์เองย่อมสร้างอำนาจต่อรองกับโฆษณาได้มากกว่าผู้ผลิตรายการทีวีที่ไม่ได้เป็นเจ้าของสถานีมาก ในอดีตที่ผ่านมา เราจึงเห็นกลุ่มทุนใหญ่ของประเทศหลายกลุ่มพยายามสอดแทรกตัวเข้ามาตั้งสถานีทีวีอยู่เป็นระยะ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ตัวอย่างที่ชัดเจนคือสถานี ITV ที่กลุ่มทุนหลายกลุ่มอย่างธนาคารไทยพาณิชย์ เครือเนชั่น และเครือชินคอร์ป หมายมั่นปั้นมือว่าจะกลายเป็นสถานีทีวีภาคเอกชนรายใหม่ของไทย แต่ก็เจอปัญหามากมายทั้งประเด็นการเมือง ธุรกิจ และสัญญาสัมปทาน จนต้องถอนตัวออกไปทั้งหมด
(รายละเอียดจากบทความ ไอทีวีกับเนชั่น CONFLICT OF INTEREST นิตยสารผู้จัดการ ฉบับสิงหาคม 2542 และ ใครจะครอบครองไอทีวี ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 มิถุนายน 2549)
เมื่อเทคโนโลยีเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมเริ่มพัฒนา จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่กลุ่มทุนสื่อรายใหญ่แทบทุกรายของประเทศไทย หันมาทำสถานีทีวีของตัวเอง เช่น ทรู เนชั่น เวิร์คพอยต์ แกรมมี่ อาร์เอส เมเจอร์ กันตนา ไทยรัฐ เดลินิวส์ มติชน ฯลฯ รวมไปถึงกลุ่มทุนรายเล็กๆ อีกมากที่เข้ามาร่วมชิงเค้กก้อนนี้ แม้ว่าในช่วงแรกๆ เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมจะยังมีฐานผู้ชมสู้ฟรีทีวีไม่ได้ก็ตาม
การมาถึงของเทคโนโลยีทีวีดิจิทัล มีบทบาทสำคัญต่อการสลายสภาพการผูกขาดของอุตสาหกรรมทีวีในประเทศไทยอย่างแน่นอน เพราะข้อจำกัดเรื่องจำนวนช่องรายการ 6 ช่องที่อยู่กับประเทศไทยมานานจะหมดไป มติของคณะกรรมการ กสทช. ตัดสินแล้วว่าบนระบบทีวีแบบดิจิทัล จะมีช่องรายการทั้งหมด 48 ช่อง ซึ่งถือว่าเพิ่มมาจากเดิมถึง 8 เท่า หรือ 700% จากเดิม มีพื้นที่ให้กลุ่มทุนรายอื่นๆ เข้ามาเปิดสถานีได้ในที่สุด
ดังนั้นในอนาคตอันใกล้ เราจะเห็นฟรีทีวีเดิมทั้ง 6 ช่องยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการดิจิทัลทีวีจาก กสทช. อย่างแน่นอน รวมไปถึงกลุ่มทุนสื่อรายใหญ่รายอื่นๆ ที่ย่อมไม่พลาดโอกาสทองนี้เช่นกัน
แยกส่วนช่องรายการ-สถานี-โครงข่ายการแพร่สัญญาณ
โครงสร้างการแข่งขันของอุตสาหกรรมฟรีทีวีในประเทศไทย นอกจากภาวะกึ่งผูกขาดโดยรัฐแล้ว ยังเป็นระบบการผูกขาดแนวดิ่ง (vertical integration) นั่นคือองค์กรที่ควบคุมสถานีทีวีแต่ละแห่งจะเป็นเจ้าของทุกอย่าง ตั้งแต่เสาส่งสัญญาณตามพื้นที่ต่างๆ ในประเทศไทย อุปกรณ์ส่งสัญญาณแพร่ภาพ คลื่นความถี่ ช่องรายการ ไปจนถึงผลิตรายการด้วยตัวเอง (แล้วค่อยแบ่งเวลาออกอากาศบางส่วนให้กับเอกชนรายอื่นเช่าเวลาหาผลประโยชน์)
การผูกขาดแนวดิ่งนี้ทำให้ช่องทีวีต่างๆ แข่งขันกันที่ความครอบคลุมของสัญญาณแพร่ภาพ และกลายเป็นช่อง 7 ที่ได้ประโยชน์สูงสุดเพราะมีสัญญาณแพร่ภาพที่ครอบคลุมมากกว่า ส่งผลให้ทะยานขึ้นเป็นสถานีที่มีคนดูเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ (และส่งผลบวกในแง่ของราคาโฆษณาที่แพงกว่า) แต่เมื่อการขยายพื้นที่แพร่ภาพเริ่มอิ่มตัว ทุกช่องเริ่มมีพื้นที่การแพร่สัญญาณภาพที่ใกล้เคียงกันมากขึ้น ในช่วงหลังช่อง 3 จึงพยายามเจาะตลาดของช่อง 7 โดยอาศัยเนื้อหารายการที่ดึงดูดมาเป็นจุดขาย ในขณะที่ช่องของรัฐช่องอื่นๆ ไม่ได้เน้นผลประโยชน์เชิงพาณิชย์มากเท่ากับช่องของเอกชนทั้งสองราย เปรียบเทียบโครงสร้างการแข่งขันในระบบแอนะล็อก-ดิจิทัล (ที่มา รายงาน กสทช.)
แต่ในยุคของทีวีดิจิทัล การผูกขาดแนวดิ่งจะหายไปในที่สุด โดยเจ้าของช่องรายการ อาจไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของโครงข่ายเสาแพร่ภาพสัญญาณก็ได้ และในทางกลับกัน อาจมีแต่บริษัทที่ให้บริการวางระบบเสาสัญญาณ (ซึ่งเป็นงานวิศวกรรม) เพียงอย่างเดียว ไม่เข้ามายุ่งกับการผลิตเนื้อหารายการเลยก็เป็นได้ กระบวนการแพร่ภาพจะใช้วิธีต่างฝ่ายต่างเช่าใช้บริการของอีกฝ่ายเติมเต็มซึ่งกันและกัน การลงทุนเริ่มแรกจึงน้อยลงมาก เปิดโอกาสให้ผู้เล่นรายเล็กหน้าใหม่เข้ามาประกอบกิจการในตลาดได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมมากขึ้นตามมา
จากร่างประกาศของ กสทช. แบ่งระดับของใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ไว้ 3 ระดับ ดังนี้
ใบอนุญาตให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ หมายถึง “โครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ในการประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ และให้หมายความรวมถึง ที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง เสา ระบบสาย สายอากาศ หรือท่อ”
ใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ หมายถึง “การให้บริการระบบเชื่อมโยงของกลุ่มเครื่องส่งหรือถ่ายทอดสัญญาณเสียงหรือภาพที่ใช้ในการส่งข่าวสารสาธารณะหรือรายการจากสถานีไปยังเครื่องรับ ไม่ว่าจะโดยสื่อตัวนำที่เป็นสาย คลื่นความถี่ แสง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือสื่อตัวนำใด”
ใบอนุญาตให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ หมายถึง “การประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์เพื่อให้บริการส่งข่าวสารสาธารณะหรือรายการไปยังเครื่องรับที่สามารถรับชมหรือรับฟังการให้บริการนนั้นๆ ได้ ไม่ว่าจะส่งโดยผ่านระบบคลื่นความถี่ ระบบสาย ระบบแสง ระบบแม่เหล็กไฟฟ้า หรือระบบอื่น ระบบใดระบบหนึ่งหรือหลายระบบรวมกัน”
ใบอนุญาตแต่ละระดับจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ โดยใบอนุญาตระดับที่สอง สามารถให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกได้ด้วย และผู้ถือใบอนุญาตระดับที่สาม สามารถทำได้ทุกอย่างที่ใบอนุญาตระดับที่หนึ่งและสองทำได้ (กสทช. ออกแบบใบอนุญาตลักษณะนี้กับกิจการโทรคมนาคมด้วย โดยแบ่งเป็นสามระดับเช่นกัน)
ผู้ประกอบการโทรทัศน์จำเป็นต้องขอใบอนุญาตประเภทที่สาม แต่จะวางโครงข่ายเองหรือไม่ก็ได้ ซึ่งเราคาดว่าผู้ประกอบการฟรีทีวีทุกรายในปัจจุบันจะยังคงใช้บริการโครงข่ายเดิมของตัวเอง แต่บางราย (โดยเฉพาะหน่วยงานที่เป็นของรัฐ เช่น อสมท และ ช่อง 5) อาจแยกส่วนองค์กรมาให้บริการเฉพาะโครงข่ายแก่ผู้ประกอบการโทรทัศน์รายอื่นๆ ด้วยก็เป็นได้
เมื่อ กสทช.ประกาศให้ขอรับใบอนุญาตบริการโครงข่ายโทรทัศน์ และใบอนุญาตให้บริการโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งในเดือนพฤศจิกายนนี้ อสมท ก็พร้อมที่จะยื่นขอรับใบอนุญาตให้บริการเช่าใช้โครงข่ายต่างๆที่มีอยู่ได้ทันที “เรามีโครงข่ายเชื่อมโยง ระบบเครื่องส่งสัญญาณภาพ และเสียง และเครื่องรับสัญญาณ รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานต่างๆอย่าง อาคาร เสา ระบบสาย ท่อ สายอากาศ และมีสถานีกระจายเสียงอยู่กว่า 36 แห่งทั่วประเทศ เพราะฉะนั้น อสมท ถือว่ามีความพร้อมมากที่สุด”
เอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
จาก ไทยรัฐออนไลน์
ปัจจุบันช่อง 7 กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาขอใบอนุญาตทีวีดิจิทัล ทั้งประเภทโครงข่ายและสิ่งอำนวยความสะดวก เนื่องจากมีความพร้อมด้านสถานีส่งสัญญาณรวม 37 สถานีทั่วประเทศ ครอบคลุมการส่งสัญญาณในระบบอนาล็อก 97%
นายศรัณย์ วิรุตมวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด
จาก กรุงเทพธุรกิจ
รูปแบบใบอนุญาตประเภทต่างๆ (ที่มา – รายงาน กสทช.)
ช่องรายการทีวีแบบดิจิทัล
นับจากอดีตถึงปัจจุบัน ช่องสถานีฟรีทีวีในประเทศไทยไม่เคยถูกจัดประเภท ทีวีทุกช่องให้บริการในเชิงพาณิชย์ หารายได้จากโฆษณาเป็นหลัก (ยกเว้น Thai PBS ที่เกิดขึ้นในภายหลังพร้อมกับแนวคิด “ทีวีสาธารณะ” เป็นครั้งแรกในประเทศไทย)
แต่ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. สภาพการณ์นี้จะถูกเปลี่ยนไป โดย กสทช. จัดกลุ่มผู้ให้บริการกระจายเสียง-โทรทัศน์ ส่วนที่ต้องใช้คลื่นความถี่ (ซึ่งหมายถึงฟรีทีวีทั้งแอนะล็อกและดิจิทัล แต่ไม่รวมเคเบิลทีวีและดาวเทียม) ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
บริการสาธารณะแบ่งย่อยได้อีก 3 ประเภท
บริการสาธารณะประเภทที่หนึ่ง ส่งเสริมความรู้ การศึกษา ศาสนา ศิลปะวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การเกษตร สุขภาพ อนามัย กีฬา คุณภาพชีวิต
บริการสาธารณะประเภทที่สอง เพื่อความมั่นคงของรัฐ หรือความปลอดภัยสาธารณะ
บริการสาธารณะประเภทที่สาม เพื่อกระจายข่าวสารของรัฐบาล-รัฐสภาต่อประชาชน บริการข่าวสารแก่คนพิการ คนด้อยโอกาส
บริการชุมชน คือบริการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อบริการสาธารณะ แต่เป็นประโยชน์ตามความต้องการของชุมชน
กิจการธุรกิจคือบริการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาผลกำไร แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
ระดับชาติ
ระดับภูมิภาค
ระดับท้องถิ่น
กิจการแต่ละประเภทมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป ดังตาราง
ตารางเปรียบเทียบ รูปแบบใบอนุญาตทีวีดิจิทัลชนิดต่างๆ (รวบรวมโดย SIU คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม)
(สำหรับรายละเอียดเรื่องจำนวนช่อง ดูจากบทความ กสทช. แบ่งคลื่นทีวีดิจิทัลลงตัว 48 ช่อง)
สถานีฟรีทีวีในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเข้าหมวด “ธุรกิจ” ยกเว้น Thai PBS ที่อยู่ในกลุ่มบริการสาธารณะประเภทที่หนึ่ง ส่วนทีวีของรัฐบาลอย่างช่อง 11 อาจพิจารณาแยกส่วนกิจการประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลโดยตรง มารับใบอนุญาตบริการสาธารณะประเภทที่สาม และช่อง 5 อาจพิจารณาแยกส่วนกิจการเพื่อความมั่นคงมารับใบอนุญาตบริการสาธารณะประเภทที่สองได้
อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่าการขอรับใบอนุญาตเหล่านี้จะครอบคลุมเฉพาะ “ทีวีดิจิทัล” เท่านั้น ส่วนของทีวีแอนะล็อกที่ฉายอยู่ในปัจจุบัน ผู้ให้บริการเดิมจะสามารถให้บริการต่อไปได้ตามแผนแม่บทจัดการคลื่นความถี่ของ กสทช. นั่นคือ
บริษัทเอกชน ให้บริการจนถึงหมดอายุสัมปทาน (กรณีของช่อง 3 คือปี 2563 และช่อง 7 หมดปี 2566) ตามมาตรา 83 ใน พ.ร.บ. กสทช.
หน่วยงานของรัฐ ให้บริการต่อได้อีก 10 ปีตามแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ของ กสทช.
ชิงเค้กช่องธุรกิจ แต่ช่องสาธารณะใครจะทำ?
จากแผนการแบ่งช่องฟรีทีวีดิจิทัลของ กสทช. เราพอประเมินสถานการณ์ได้เบื้องต้นดังนี้
ช่องธุรกิจ
จากเงื่อนไขการขออนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิทัลที่ กสทช. กำหนด จะเห็นว่าช่องธุรกิจมีเพียง 24 ช่องเท่านั้น ถ้าลองนำช่องรายการในเคเบิลทีวีหรือทีวีดาวเทียมในปัจจุบัน มาจำลองสถานการณ์ว่าบริษัทใดจะขอใบอนุญาตช่องทีวีดิจิทัลแบบใดบ้าง ได้คร่าวๆ ดังนี้
ช่องข่าว: Nation Channel, TNN, Voice TV, Spring News และอาจมีช่อง 11
ช่องเด็กและครอบครัว: ช่องการ์ตูนน่าจะเป็นไปได้มากที่สุด แต่อาจมีช่องรายการครอบครัวคล้ายกับ Disney Channel ของต่างประเทศได้เช่นกัน
ช่องทั่วไป ความละเอียด SD: ช่อง 3-5-7-9 ในปัจจุบันจะขอใบอนุญาตกลุ่มนี้ รวมถึงช่องดาวเทียมส่วนใหญ่ด้วย
ช่องทั่วไป ความละเอียด HD: รายการที่ถ่ายทอดด้วยความละเอียดแบบ HD แล้วคุ้ม น่าจะยังเป็นรายการกีฬาหรือภาพยนตร์เป็นหลัก ซึ่งรูปแบบอาจเป็นช่องที่ผู้ผลิตซื้อรายการจากต่างประเทศมาฉาย เป็นต้น
ถ้าใช้การประเมินว่า ช่องทั่วไปแบบ HD ที่ในเบื้องต้นยังมีเพียงแค่ 4 ช่อง จะต่อสู้กันอย่างดุเดือดเพราะมีมูลค่าสูงสำหรับผู้ชมบางกลุ่ม SIU เชื่อว่าช่องกีฬาหรือภาพยนตร์น่าจะมีโอกาสทางธุรกิจสูงสุด เพราะเป็นเนื้อหาจากต่างประเทศที่อยู่ในรูปแบบ HD อยู่แล้ว ไม่ต้องลงทุนผลิตเนื้อหาความละเอียดสูงเพิ่มเติม เราน่าจะเห็นกลุ่มทรูเข้ามาชิงตลาดนี้ โดยใช้เนื้อหาที่มีอยู่แล้วจาก True Visions มาฉายผ่านฟรีทีวีดิจิทัล นอกจากนี้กลุ่มทุนใหญ่อย่างอินทัช ก็แสดงเจตนาชัดเจนว่าจะเข้ามาประมูลช่องเด็ก ช่องทั่วไป และช่อง HD อย่างน้อย 3 ช่อง พร้อมเปิดโอกาสเข้ามาขอใบอนุญาตเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายอีกด้วย (ที่มา ไทยรัฐออนไลน์)
ส่วนช่องทั่วไปความละเอียด SD มีเพียง 10 ช่องเท่านั้น แต่กลับเป็นช่องที่ตลาดต้องการมากเป็นพิเศษ (ถ้าวัดจากรูปแบบของช่องดาวเทียม-เคเบิลทีวีในปัจจุบัน) และเมื่อรูปแบบการจัดสรรคลื่นสำหรับประกอบกิจการทีวีธุรกิจจำเป็นต้องใช้การประมูล ก็น่าจะลงเอยด้วยกลุ่มทุนสื่อขนาดใหญ่เข้ามาชิงช่อง SD เหล่านี้กันอย่างดุเดือด ส่วนกลุ่มทุนรายเล็กน่าจะเลือกทำดาวเทียม-เคเบิลทีวีต่อไปเช่นเดิม
ช่องข่าวน่าจะมีการต่อสู้กันบ้างแต่ไม่เยอะเท่ากับช่องทั่วไป แต่ช่องเด็กและครอบครัวต้องรอดูว่าจะมีผู้ขอใบอนุญาตครบ 5 ช่องตามที่ กสทช ต้องการหรือไม่
ทั้งนี้ต้องทราบว่าในอนาคตระยะยาว กสทช. จะเปิดประมูลทีวีดิจิทัลเพิ่มเติม หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการเปลี่ยนผ่านมาใช้ระบบแพร่ภาพแบบดิจิทัลทั้งหมด (digital switch over) และนำคลื่นแอนะล็อกเดิมมาจัดสรรใหม่สำหรับทั้งกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
ด้วยศักยภาพของช่อง 3 เรามีความสามารถที่จะเข้าประมูลขอใบอนุญาตทีวีดิจิตอลมากกว่า 1 ช่องอยู่แล้ว โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงคอนเทนต์ (รายการต่างๆ) บุคลากร ทีมงานที่มีเหลือเฟือ แน่นอนเราสนใจเข้าประมูลเพราะต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีทีวีดิจิตอลเป็นสิ่งที่กำลังมา และ กสทช. มีกำหนดยกเลิกการออกอากาศผ่านระบบอนาล็อกในปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่สัมปทานของช่อง 3 หมดลงพอดี
สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด เจ้าของสถานีโทรทัศน์สีช่อง 3
จาก ไทยรัฐออนไลน์
ช่องสาธารณะ-บริการชุมชน
กสทช. กำหนดจำนวนช่องบริการสาธารณะไว้ถึง 12 ช่อง ซึ่งทีวีสาธารณะอย่าง Thai PBS ก็แสดงเจตจำนงชัดเจนว่าจะขอใบอนุญาตอย่างน้อย 1 ช่อง (ในประเภทที่หนึ่ง) สำหรับทีวีสาธาณะประเภทที่สองน่าจะเป็นช่องของกรมประชาสัมพันธ์ และช่องรัฐสภาที่มีอยู่แล้ว ส่วนทีวีสาธารณะประเภทที่สามก็อาจมีมหาวิทยาลัยบางแห่งที่ต้องการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ด้านการศึกษาของตัวเอง เช่น มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญที่มีทีวีของตัวเองอยู่แล้ว
หน่วยงานอื่นที่น่าจะสนใจขอใบอนุญาตช่องสาธารณะคือ กระทรวงต่าง เช่น กระทรวงเกษตร กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ และองค์กรทางศาสนา เช่น วัดพระธรรมกายที่มีช่อง DMC หรือช่องของผู้นับถือศาสนาอิสลาม เป็นต้น
สำหรับช่องชุมชนนั้น น่าจะเป็นช่องจากเคเบิลทีวีท้องถิ่นที่เผยแพร่ข่าวและกิจกรรมของท้องถิ่นอยู่แล้ว เข้ามาขอใบอนุญาตกลุ่มนี้แล้วยกระดับจากเคเบิลทีวี มาเป็นฟรีทีวีในระบบดิจิทัลด้วย
คำถามที่น่าหาคำตอบก็คือ ช่องสาธารณะและช่องบริการชุมชนรวม 24 ช่อง จะมีหน่วยงานที่มีศักยภาพมาขอใบอนุญาตครบทั้งหมดหรือไม่ ในเมื่อกฎเกณฑ์ของ กสทช. ค่อนข้างเข้มงวดเรื่องวิธีการหารายได้อยู่พอสมควร ถึงแม้ช่องกลุ่มนี้จะไม่ต้องประมูลเช่นเดียวกับช่องธุรกิจ แต่การประกอบกิจการอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องใช้ทุนไม่น้อย จึงน่าสงสัยว่าสุดท้ายแล้วมีหน่วยงานไม่หวังกำไรมาขอยื่นใบอนุญาตครบตามจำนวนที่ กสทช. ต้องการหรือไม่ ถ้าไม่ครบก็แปลว่าคลื่นความถี่เหล่านี้จะถูกปล่อยไว้เฉยๆ นำมาใช้ประโยชน์อย่างอื่นไม่ได้อย่างนั้นหรือ?
โครงสร้างใบอนุญาตทีวีของ กสทช.
มูลค่าของทีวีดิจิทัล อาจไม่เยอะอย่างที่คิด
ทีวีดิจิทัลเป็นวิวัฒนาการของทีวีแบบแอนะล็อก โดยทำลายข้อจำกัดด้านจำนวนช่องและคุณภาพความคมชัดของสัญญาณในระบบแอนะล็อกไป
ในต่างประเทศเริ่มใช้ทีวีระบบดิจิทัลกันมานานแล้ว และในประเทศพัฒนาแล้วหลายแห่ง เช่น ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ก็เปลี่ยนไปใช้ระบบดิจิทัล 100% แล้ว แต่กรณีของประเทศไทยนั้น หลังจากมีปัญหาไม่สามารถตั้งหน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์อย่าง กสช. ตามรัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นเวลาถึงสิบกว่าปี ทำให้แผนการถ่ายทอดสัญญาณด้วยระบบดิจิทัลล่าช้าตามไปด้วย และเกิดสภาพ “คอขวด” ในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ ที่ต้องพึ่งพาผู้ให้บริการฟรีทีวีระบบแอนะล็อกทั้ง 6 ช่องมาโดยตลอด
สภาพการแข่งขันแบบกึ่งผูกขาดทำให้กลุ่มทุนสื่ออื่นๆ ไม่สามารถแทรกตัวเข้ามาทำสถานีทีวีของตัวเองได้ และเมื่อเทคโนโลยีทีวีแบบไม่ใช้คลื่นความถี่อย่างเคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม และอินเทอร์เน็ตทีวีเริ่มพัฒนา กลุ่มทุนสื่อเหล่านี้จึงกระโจนเข้าไปทำทีวีช่องทางเลือกแทนการทำทีวีดิจิทัลที่ไม่รู้ว่าจะสำเร็จเมื่อใด และถึงแม้ว่าในช่วงแรกๆ ทีวีทางเลือกเหล่านี้จะไม่ได้รับความนิยมมากนัก แต่เมื่อเวลาผ่านไป ทีวีทางเลือกพัฒนามากขึ้น มีช่องรายการที่น่าสนใจเพิ่มมากขึ้น แถมมีข้อดีเหนือฟรีทีวีแบบแอนะล็อกในแง่ความคมชัดที่ดีกว่า ทำให้คนไทยจำนวนมากหันมาดูทีวีทางเลือกเหล่านี้แทน
ตัวเลขในปัจจุบัน (จากการสำรวจของ Neilsen) ระบุว่าสัดส่วนการรับชมโทรทัศน์ในประเทศไทยคือ
ทีวีภาคพื้นดิน 45.8%
เคเบิลทีวี 28.7%
ทีวีดาวเทียม 25.5%
จะเห็นว่าทีวีภาคพื้นดินยังมีส่วนแบ่งเป็นอันดับหนึ่ง แต่ถ้านับรวมเคเบิลทีวีกับทีวีดาวเทียมเข้าด้วยกัน กลับกลายเป็นว่าทีวีทางเลือกกลุ่มที่ไม่ใช้คลื่นความถี่มีส่วนแบ่งมากกว่าที่ 54.2% และตลาดก็มีแนวโน้มไปในทางทีวีกลุ่มไม่ใช้คลื่นมากขึ้นเรื่อยๆ (อ่านบทวิเคราะห์ SIU เรื่องการแข่งขันในทีวีดาวเทียมกับกรณีของ GMMZ ประกอบ)
ที่มา – รายงานการประเมินผลกระทบจากการออกหลักเกณฑ์ วิธีการอนุญาต การให้บริการโครงข่าย การให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวก และการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ของ กสทช.
ประชาชนคนไทยมีความต้องการรับชมทีวีที่หลากหลาย และมีความคมชัด ซึ่งเทคโนโลยีที่ตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้คือ ทีวีภาคพื้นแบบดิจิทัล ทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวี
แต่เมื่อทีวีดิจิทัลล่าช้าไปมาก ประชาชนจำนวนมากจึง “ยอมจ่าย” ค่าอุปกรณ์ทีวีดาวเทียมหรือเคเบิลทีวีกันไปเยอะแล้ว อุปกรณ์เหล่านี้ต้องลงทุนในราคาสูงพอสมควร (เป็นหลักพันบาทขึ้นไป) และถ้าหากพิจารณาว่ากลุ่มทุนสื่อที่สามารถทำช่องทีวีได้ต่างมาทำทีวีดาวเทียมหรือเคเบิลทีวีกันหมดแล้ว นั่นแปลว่า รายการที่จะอยู่ในทีวีดิจิทัล ย่อมเป็นรายการจากเคเบิลทีวีหรือทีวีดาวเทียมในปัจจุบันนั่นเอง
อาร์เอส สนใจ และพร้อมทำธุรกิจทีวีดิจิตอลอยู่แล้ว เพราะคอนเทนต์ และความพร้อมในมือ ที่สำคัญเรามีช่องทีวีดาวเทียมที่พร้อมปรับมาทำทีวีดิจิตอลได้เลยในอนาคตอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการสร้างและทำสถานีทีวีดิจิตอลเพิ่มขึ้นมาอีก 1 สถานี จึงไม่ใช่ปัญหา รวมทั้งเรื่องวงเงินลงทุน ซึ่งคงอยู่ในหลัก 100 ล้านบาทต่อปี
สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)
แกรมมี่มีความพร้อมที่จะทำทีวีดิจิตอลแน่นอน เพราะมีคอนเทนต์ในมือจำนวนมากอย่างที่ทราบ และผมว่า 24 ช่องที่จะให้ใบอนุญาต ไม่น่าจะทำใครผิดหวัง อย่างน้อยน่าจะมีผู้ประกอบการสนใจสัก 10 กว่าราย โดยเฉพาะในกลุ่มที่ทำทีวีดาวเทียม
ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)
จาก ไทยรัฐออนไลน์
จุดเด่นของทีวีดิจิทัลในแง่ความแตกต่างของเนื้อหาจึงหายไปเกือบหมด เหตุเพราะรายการที่ฉายบนช่องดิจิทัลส่วนใหญ่จะเป็นรายการแบบเดียวกับที่หาดูได้ผ่านเคเบิลทีวีหรือทีวีดาวเทียม และเมื่อพิจารณาจากการย้ายไปดูทีวีระบบดิจิทัลต้องซื้อกล่องรับสัญญาณเพิ่มเติม (ราคาน่าจะอยู่ราว 500-1,000 บาท ขึ้นกับนโยบายการสนับสนุนค่าอุปกรณ์ของ กสทช. ในอนาคต) ทำให้แรงจูงใจที่ประชาชนจะหันไปดูทีวีดิจิทัลมีลดลง โดยเฉพาะกลุ่มที่ลงทุนไปกับอุปกรณ์ทีวีดาวเทียมหรือเคเบิลทีวีอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้วทีวีดิจิทัลเป็นเส้นทางที่ประเทศไทยต้องมุ่งหน้าไปอยู่ดี ทีวีแอนะล็อกจะต้องถูกเลิกใช้ในที่สุด เพียงแต่จำนวนผู้ชมทีวีดิจิทัลอาจไม่เยอะอย่างที่คาดกัน เหตุเพราะมีเทคโนโลยีคู่แข่งทั้งเคเบิลและดาวเทียมเข้ามาแย่งชิงฐานผู้ชม (ที่อาจรับชมรายการเดียวกัน) ไปแล้วนั่นเอง
ข้อมูลอ้างอิง
เอกสาร กสทช.
รายงานการประเมินผลกระทบจากการออกหลักเกณฑ์ วิธีการอนุญาตการให้บริการโครงข่าย การให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวก และการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ของ กสทช.
ร่างประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์
ร่างประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการอนุญาต และการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์
ร่างประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระจายเสียงหรือโทรทัศน์
เอกสารทั้งหมดดาวน์โหลดได้จาก เว็บไซต์ กสทช.
เนื่องจากปัจจุบันในประเทศไทยนี้ยังไม่มีทีวีดิจิตอลขายเลย
การรับส่งในช่วงทดลองนี้จึงต้องติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณ
ที่เรียกว่า Set Top Box แต่คาดว่าปลายปีคงเริ่มจะเห็น Digital TV
แท้ๆ เริ่มออกมาจำหน่าย จะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ประเทศไทยมีทีวีที่เป็นอะนาล็อคกว่า20 ล้านเครื่อง แต่ยังไม่มีเครื่องไหนเป็น Digital TVจะมีทีวี 20 ล้านเครื่อง ถูกทิ้งและกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่อันตราย ที่ยังไม่มีมาตรการชัดเจนที่จะไปรองรับปัญหานี้ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) บอกว่าหลายๆ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในโทรทัศน์ ยังมีค่าอยู่ หลายอย่างสามารถนำไปใช้ได้ หากมีโรงงานสำหรับคัดแยกสิ่งเหล่านี้อย่างน้อย จังหวัดละ 1 โรงงาน จะรองรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่ได้
ประชาชาติธุรกิจ:
การเปิดประมูล Digital TVมีความแตกต่างกับการประมูลใบอนุญาต 3G อันอื้อฉาวมากทีเดียว การประมูลใบอนุญาตสื่อสารไร้สาย 3G เป็นการจัดระบบผลตอบแทนของรัฐใหม่ มีความต่อเนื่องจากระบบสัมปทานเดิมให้มีความชัดเจน
การประมูลใบอนุญาต Digital TV มีแนวคิดพื้นฐาน มาจากความจำเป็นต้องเปลี่ยนระบบทั่วทั้งสังคมจาก Analog สู่ Digital โดยหวังว่าหลังจากการเปลี่ยนผ่านระบบในมิติทางสังคมเป็นไปอย่างสมบูรณ์แล้ว จึงจะตามมาด้วยแนวคิดพื้นฐานว่าด้วยผลตอบแทนของรัฐ อันเนื่องมาจากผู้ประกอบการ Digital TV ทุกราย จะเข้ามาอยู่ในระบบมาตรฐานว่าด้วยผลตอบแทน และการกำกับของรัฐ
-การลงทุน Digital TV เป็นโครงการใหม่ตั้งแต่ต้น แม้จะมีการมองว่าเป็นความต่อเนื่อง จากสัมปทานทีวีเดิมอยู่บ้าง แต่เนื่องจากระบบทีวีเดิมส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ภายใต้ Subscriber base เช่นสื่อสารไร้สาย ความต่อเนื่องของฐานผู้ชมจึงเป็นเรื่องความสามารถของการบริการจัดการมากกว่าการส่งต่อความได้เปรียบที่เป็นทุนเดิม การลงทุน Digital TV ใช้เงินน้อยกว่าระบบสื่อสารไร้สาย แม้ว่านักวิเคราะห์บางรายระบุใช้เงินในระดับพันล้านบาทขึ้นไป อาจเป็นอุปสรรคต่อการเข้ามาของผู้ประกอบการ
บทวิเคราะห์ Digital TV การเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมทีวีไทย ใต้เงื้อมมือ กสทช.
บทสรุปผู้บริหาร
การแพร่สัญญาณทีวีด้วยระบบดิจิทัลมีข้อดีกว่าระบบแอนะล็อกมาก และถือเป็นการใช้ความถี่ของประเทศให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในระยะยาว เพราะมีจำนวนช่องมากขึ้น และความถี่แอนะล็อกเดิมสามารถนำไปใช้ในกิจการอื่นได้
ทีวีระบบดิจิทัลเป็นการเปลี่ยนรอบเทคโนโลยีตามปกติของทีวีระบบแอนะล็อกเดิม สถานีฟรีทีวีรายเดิมทุกรายจะเข้าสู่ระบบดิจิทัลอย่างแน่นอน
การเปลี่ยนมาใช้ทีวีดิจิทัลจะเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนหน้าใหม่ๆ เข้ามาในอุตสาหกรรมสื่อมากขึ้น สร้างการแข่งขันแก่ผู้บริโภค และลดการผูกขาดสื่อทีวีลงจากเดิม
การที่ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ทีวีระบบดิจิทัลช้า ทำให้เทคโนโลยีคู่แข่งอย่างเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม มาแย่งฐานลูกค้าของทีวีดิจิทัลไปมากแล้ว มูลค่าของทีวีดิจิทัลอาจไม่มากอย่างที่คาดการณ์กัน
หมายเหตุ: ที่มาของภาพประกอบบางส่วนในบทความนี้มาจาก รายงานการประเมินผลกระทบจากการออกหลักเกณฑ์ วิธีการอนุญาตการให้บริการโครงข่าย การให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวก และการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ของ กสทช.
นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเปิดงาน Go Digital Thailand ของ กสทช. (ภาพจาก @supinya)
อะไรคือ “ทีวีดิจิทัล”
ทีวีดิจิทัล (digital television) คือระบบการแพร่สัญญาณคลื่นโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (“terrestrial” ในที่นี้หมายความว่าไม่ได้ยิงสัญญาณออกนอกโลกเหมือนดาวเทียม) เหมือนกับระบบของฟรีทีวีในปัจจุบัน แต่เปลี่ยนวิธีการเข้ารหัสสัญญาณเป็นแบบดิจิทัลแทนระบบแอนะล็อกแต่เดิม
ข้อดีของการแพร่สัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลคือ ให้ภาพที่คมชัดกว่าเดิม ใช้ช่วงคลื่นน้อยลงกว่าเดิมมาก และมีความสามารถอื่นๆ เข้ามาอำนวยความสะดวกแก่ผู้รับชมทีวี เช่น มีผังรายการแสดงบนหน้าจอได้เลย เป็นต้น
ปัจจุบันอุตสาหกรรมทีวีทั่วโลกเข้าสู่ระบบดิจิทัลกันแทบทั้งหมดแล้ว (ประเทศไทยถือว่าช้าไปราว 10 ปีเพราะไม่สามารถตั้ง กสช. ได้ ภารกิจนี้จึงตกมาอยู่กับ กสทช. ในฝั่งคณะกรรมการ กสท. แทน) กระบวนการผลิตรายการทีวีทั้งหมดตั้งแต่กล้องวิดีโอไปจนถึงการตัดต่อ เปลี่ยนมาใช้ระบบดิจิทัลกันหมดแล้ว เรียกได้ว่าในฝั่งการผลิตและการออกอากาศนั้น เทคโนโลยีพร้อมหมดแล้ว เหลือแค่ฝั่งของนโยบาย และฝั่งของผู้ชมโทรทัศน์เท่านั้น (เครื่องรับโทรทัศน์จำเป็นต้องรองรับสัญญาณระบบดิจิทัลด้วย ซึ่งแก้ด้วยการซื้อกล่องแปลงสัญญาณดิจิทัลมาต่อเข้ากับทีวีเดิมได้)
ในระยะยาวแล้ว ทีวีระบบแอนะล็อกจะถูกเปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิทัลทั้งหมด ด้วยเหตุผลว่ารับชมได้เหมือนกัน แต่ใช้ช่วงกว้างของสัญญาณ (bandwidth) น้อยกว่ากันมาก ดังนั้นในต่างประเทศจึงทยอยเปลี่ยนระบบทีวีเป็นดิจิทัล และเมื่อพร้อมแล้วก็หยุดแพร่สัญญาณระบบแอนะล็อกอย่างถาวร (digital switchover) หลังจากนั้นจึงนำคลื่นเดิมที่ใช้กับทีวีระบบแอนะล็อกไปจัดสรรใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และตอบสนองความต้องการใช้คลื่นความถี่ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
สภาพการแข่งขันของฟรีทีวีของประเทศไทย (ที่มา – กานต์ ยืนยง SIU)
ผลกระทบของ “ทีวีดิจิทัล” ต่ออุตสาหกรรมทีวีของไทย
ต้องยอมรับว่า “ฟรีทีวี” (ในที่นี้คือ analog terrestrial television) มีสภาพการแข่งขันแบบกึ่งผูกขาดโดยรัฐมายาวนานหลายสิบปี ในจำนวนฟรีทีวีทั้ง 6 ช่อง แบ่งได้เป็น
ช่องของหน่วยงานรัฐ 3 ช่อง ได้แก่ ช่อง 5 (กองทัพบก) ช่อง 9 (อสมท.) และช่อง 11 (กรมประชาสัมพันธ์)
ช่องที่หน่วยงานรัฐให้สัมปทานแก่เอกชน ได้แก่ ช่อง 3 (สัมปทานจาก อสมท. ให้กลุ่มบริษัท BEC) และช่อง 7 (กองทัพบกให้สัมปทานแก่กลุ่มบริษัท BBTV)
ทีวีสาธารณะของหน่วยงานอิสระของรัฐ ได้แก่ Thai PBS ทีวีเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทย มีอัตราการเข้าถึงประชากร 98% (ตัวเลขอ้างอิงจากรายงานของ กสทช.) มากกว่าสื่อชนิดอื่นๆ อย่างวิทยุและหนังสือพิมพ์มาก เม็ดเงินเชิงพาณิชย์จำนวนมหาศาลจึงไหลเข้าสู่อุตสาหกรรมทีวี และผู้ที่ได้รับความมั่งคั่งย่อมเป็นหน่วยงานต่างๆ ที่มีอำนาจควบคุมสถานีโทรทัศน์ของไทยทั้ง 5 ช่องนั่นเอง (ไม่นับรวม Thai PBS ที่อยู่ได้จากเงินภาษี ไม่รับโฆษณาจากภาคเอกชน)
กลุ่มทุนที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากภาวะกึ่งผูกขาดของอุตสาหกรรมทีวีไทยย่อมเป็น BEC และ BBTV ที่มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับหน่วยงานผู้ให้สัมปทาน และพยายามกีดกันคู่แข่งรายอื่นๆ โดยใช้กลไกเรื่องสัมปทานเป็นเครื่องมือ และในเมื่อทีวีระบบแอนะล็อกจำเป็นต้องใช้ช่วงคลื่นที่กว้างมากในการแพร่สัญญาณ ในทางเทคนิคจึงมีจำนวนสถานีได้ไม่มากนักเทียบกับความถี่ที่ประเทศไทยมีใช้งานสำหรับกิจการโทรทัศน์ สายสัมพันธ์ผู้บริหาร-กลุ่มทุนช่อง 7 (ที่มา – กานต์ ยืนยง SIU)
การเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์เองย่อมสร้างอำนาจต่อรองกับโฆษณาได้มากกว่าผู้ผลิตรายการทีวีที่ไม่ได้เป็นเจ้าของสถานีมาก ในอดีตที่ผ่านมา เราจึงเห็นกลุ่มทุนใหญ่ของประเทศหลายกลุ่มพยายามสอดแทรกตัวเข้ามาตั้งสถานีทีวีอยู่เป็นระยะ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ตัวอย่างที่ชัดเจนคือสถานี ITV ที่กลุ่มทุนหลายกลุ่มอย่างธนาคารไทยพาณิชย์ เครือเนชั่น และเครือชินคอร์ป หมายมั่นปั้นมือว่าจะกลายเป็นสถานีทีวีภาคเอกชนรายใหม่ของไทย แต่ก็เจอปัญหามากมายทั้งประเด็นการเมือง ธุรกิจ และสัญญาสัมปทาน จนต้องถอนตัวออกไปทั้งหมด
(รายละเอียดจากบทความ ไอทีวีกับเนชั่น CONFLICT OF INTEREST นิตยสารผู้จัดการ ฉบับสิงหาคม 2542 และ ใครจะครอบครองไอทีวี ผู้จัดการรายสัปดาห์ 5 มิถุนายน 2549)
เมื่อเทคโนโลยีเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมเริ่มพัฒนา จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่กลุ่มทุนสื่อรายใหญ่แทบทุกรายของประเทศไทย หันมาทำสถานีทีวีของตัวเอง เช่น ทรู เนชั่น เวิร์คพอยต์ แกรมมี่ อาร์เอส เมเจอร์ กันตนา ไทยรัฐ เดลินิวส์ มติชน ฯลฯ รวมไปถึงกลุ่มทุนรายเล็กๆ อีกมากที่เข้ามาร่วมชิงเค้กก้อนนี้ แม้ว่าในช่วงแรกๆ เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมจะยังมีฐานผู้ชมสู้ฟรีทีวีไม่ได้ก็ตาม
การมาถึงของเทคโนโลยีทีวีดิจิทัล มีบทบาทสำคัญต่อการสลายสภาพการผูกขาดของอุตสาหกรรมทีวีในประเทศไทยอย่างแน่นอน เพราะข้อจำกัดเรื่องจำนวนช่องรายการ 6 ช่องที่อยู่กับประเทศไทยมานานจะหมดไป มติของคณะกรรมการ กสทช. ตัดสินแล้วว่าบนระบบทีวีแบบดิจิทัล จะมีช่องรายการทั้งหมด 48 ช่อง ซึ่งถือว่าเพิ่มมาจากเดิมถึง 8 เท่า หรือ 700% จากเดิม มีพื้นที่ให้กลุ่มทุนรายอื่นๆ เข้ามาเปิดสถานีได้ในที่สุด
ดังนั้นในอนาคตอันใกล้ เราจะเห็นฟรีทีวีเดิมทั้ง 6 ช่องยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการดิจิทัลทีวีจาก กสทช. อย่างแน่นอน รวมไปถึงกลุ่มทุนสื่อรายใหญ่รายอื่นๆ ที่ย่อมไม่พลาดโอกาสทองนี้เช่นกัน
แยกส่วนช่องรายการ-สถานี-โครงข่ายการแพร่สัญญาณ
โครงสร้างการแข่งขันของอุตสาหกรรมฟรีทีวีในประเทศไทย นอกจากภาวะกึ่งผูกขาดโดยรัฐแล้ว ยังเป็นระบบการผูกขาดแนวดิ่ง (vertical integration) นั่นคือองค์กรที่ควบคุมสถานีทีวีแต่ละแห่งจะเป็นเจ้าของทุกอย่าง ตั้งแต่เสาส่งสัญญาณตามพื้นที่ต่างๆ ในประเทศไทย อุปกรณ์ส่งสัญญาณแพร่ภาพ คลื่นความถี่ ช่องรายการ ไปจนถึงผลิตรายการด้วยตัวเอง (แล้วค่อยแบ่งเวลาออกอากาศบางส่วนให้กับเอกชนรายอื่นเช่าเวลาหาผลประโยชน์)
การผูกขาดแนวดิ่งนี้ทำให้ช่องทีวีต่างๆ แข่งขันกันที่ความครอบคลุมของสัญญาณแพร่ภาพ และกลายเป็นช่อง 7 ที่ได้ประโยชน์สูงสุดเพราะมีสัญญาณแพร่ภาพที่ครอบคลุมมากกว่า ส่งผลให้ทะยานขึ้นเป็นสถานีที่มีคนดูเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ (และส่งผลบวกในแง่ของราคาโฆษณาที่แพงกว่า) แต่เมื่อการขยายพื้นที่แพร่ภาพเริ่มอิ่มตัว ทุกช่องเริ่มมีพื้นที่การแพร่สัญญาณภาพที่ใกล้เคียงกันมากขึ้น ในช่วงหลังช่อง 3 จึงพยายามเจาะตลาดของช่อง 7 โดยอาศัยเนื้อหารายการที่ดึงดูดมาเป็นจุดขาย ในขณะที่ช่องของรัฐช่องอื่นๆ ไม่ได้เน้นผลประโยชน์เชิงพาณิชย์มากเท่ากับช่องของเอกชนทั้งสองราย เปรียบเทียบโครงสร้างการแข่งขันในระบบแอนะล็อก-ดิจิทัล (ที่มา รายงาน กสทช.)
แต่ในยุคของทีวีดิจิทัล การผูกขาดแนวดิ่งจะหายไปในที่สุด โดยเจ้าของช่องรายการ อาจไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของโครงข่ายเสาแพร่ภาพสัญญาณก็ได้ และในทางกลับกัน อาจมีแต่บริษัทที่ให้บริการวางระบบเสาสัญญาณ (ซึ่งเป็นงานวิศวกรรม) เพียงอย่างเดียว ไม่เข้ามายุ่งกับการผลิตเนื้อหารายการเลยก็เป็นได้ กระบวนการแพร่ภาพจะใช้วิธีต่างฝ่ายต่างเช่าใช้บริการของอีกฝ่ายเติมเต็มซึ่งกันและกัน การลงทุนเริ่มแรกจึงน้อยลงมาก เปิดโอกาสให้ผู้เล่นรายเล็กหน้าใหม่เข้ามาประกอบกิจการในตลาดได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมมากขึ้นตามมา
จากร่างประกาศของ กสทช. แบ่งระดับของใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ไว้ 3 ระดับ ดังนี้
ใบอนุญาตให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ หมายถึง “โครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ในการประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ และให้หมายความรวมถึง ที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง เสา ระบบสาย สายอากาศ หรือท่อ”
ใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ หมายถึง “การให้บริการระบบเชื่อมโยงของกลุ่มเครื่องส่งหรือถ่ายทอดสัญญาณเสียงหรือภาพที่ใช้ในการส่งข่าวสารสาธารณะหรือรายการจากสถานีไปยังเครื่องรับ ไม่ว่าจะโดยสื่อตัวนำที่เป็นสาย คลื่นความถี่ แสง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือสื่อตัวนำใด”
ใบอนุญาตให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ หมายถึง “การประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์เพื่อให้บริการส่งข่าวสารสาธารณะหรือรายการไปยังเครื่องรับที่สามารถรับชมหรือรับฟังการให้บริการนนั้นๆ ได้ ไม่ว่าจะส่งโดยผ่านระบบคลื่นความถี่ ระบบสาย ระบบแสง ระบบแม่เหล็กไฟฟ้า หรือระบบอื่น ระบบใดระบบหนึ่งหรือหลายระบบรวมกัน”
ใบอนุญาตแต่ละระดับจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ โดยใบอนุญาตระดับที่สอง สามารถให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกได้ด้วย และผู้ถือใบอนุญาตระดับที่สาม สามารถทำได้ทุกอย่างที่ใบอนุญาตระดับที่หนึ่งและสองทำได้ (กสทช. ออกแบบใบอนุญาตลักษณะนี้กับกิจการโทรคมนาคมด้วย โดยแบ่งเป็นสามระดับเช่นกัน)
ผู้ประกอบการโทรทัศน์จำเป็นต้องขอใบอนุญาตประเภทที่สาม แต่จะวางโครงข่ายเองหรือไม่ก็ได้ ซึ่งเราคาดว่าผู้ประกอบการฟรีทีวีทุกรายในปัจจุบันจะยังคงใช้บริการโครงข่ายเดิมของตัวเอง แต่บางราย (โดยเฉพาะหน่วยงานที่เป็นของรัฐ เช่น อสมท และ ช่อง 5) อาจแยกส่วนองค์กรมาให้บริการเฉพาะโครงข่ายแก่ผู้ประกอบการโทรทัศน์รายอื่นๆ ด้วยก็เป็นได้
เมื่อ กสทช.ประกาศให้ขอรับใบอนุญาตบริการโครงข่ายโทรทัศน์ และใบอนุญาตให้บริการโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งในเดือนพฤศจิกายนนี้ อสมท ก็พร้อมที่จะยื่นขอรับใบอนุญาตให้บริการเช่าใช้โครงข่ายต่างๆที่มีอยู่ได้ทันที “เรามีโครงข่ายเชื่อมโยง ระบบเครื่องส่งสัญญาณภาพ และเสียง และเครื่องรับสัญญาณ รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานต่างๆอย่าง อาคาร เสา ระบบสาย ท่อ สายอากาศ และมีสถานีกระจายเสียงอยู่กว่า 36 แห่งทั่วประเทศ เพราะฉะนั้น อสมท ถือว่ามีความพร้อมมากที่สุด”
เอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
จาก ไทยรัฐออนไลน์
ปัจจุบันช่อง 7 กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาขอใบอนุญาตทีวีดิจิทัล ทั้งประเภทโครงข่ายและสิ่งอำนวยความสะดวก เนื่องจากมีความพร้อมด้านสถานีส่งสัญญาณรวม 37 สถานีทั่วประเทศ ครอบคลุมการส่งสัญญาณในระบบอนาล็อก 97%
นายศรัณย์ วิรุตมวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด
จาก กรุงเทพธุรกิจ
รูปแบบใบอนุญาตประเภทต่างๆ (ที่มา – รายงาน กสทช.)
ช่องรายการทีวีแบบดิจิทัล
นับจากอดีตถึงปัจจุบัน ช่องสถานีฟรีทีวีในประเทศไทยไม่เคยถูกจัดประเภท ทีวีทุกช่องให้บริการในเชิงพาณิชย์ หารายได้จากโฆษณาเป็นหลัก (ยกเว้น Thai PBS ที่เกิดขึ้นในภายหลังพร้อมกับแนวคิด “ทีวีสาธารณะ” เป็นครั้งแรกในประเทศไทย)
แต่ภายใต้การกำกับดูแลของ กสทช. สภาพการณ์นี้จะถูกเปลี่ยนไป โดย กสทช. จัดกลุ่มผู้ให้บริการกระจายเสียง-โทรทัศน์ ส่วนที่ต้องใช้คลื่นความถี่ (ซึ่งหมายถึงฟรีทีวีทั้งแอนะล็อกและดิจิทัล แต่ไม่รวมเคเบิลทีวีและดาวเทียม) ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
บริการสาธารณะแบ่งย่อยได้อีก 3 ประเภท
บริการสาธารณะประเภทที่หนึ่ง ส่งเสริมความรู้ การศึกษา ศาสนา ศิลปะวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การเกษตร สุขภาพ อนามัย กีฬา คุณภาพชีวิต
บริการสาธารณะประเภทที่สอง เพื่อความมั่นคงของรัฐ หรือความปลอดภัยสาธารณะ
บริการสาธารณะประเภทที่สาม เพื่อกระจายข่าวสารของรัฐบาล-รัฐสภาต่อประชาชน บริการข่าวสารแก่คนพิการ คนด้อยโอกาส
บริการชุมชน คือบริการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อบริการสาธารณะ แต่เป็นประโยชน์ตามความต้องการของชุมชน
กิจการธุรกิจคือบริการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาผลกำไร แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
ระดับชาติ
ระดับภูมิภาค
ระดับท้องถิ่น
กิจการแต่ละประเภทมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป ดังตาราง
ตารางเปรียบเทียบ รูปแบบใบอนุญาตทีวีดิจิทัลชนิดต่างๆ (รวบรวมโดย SIU คลิกเพื่อดูภาพขนาดเต็ม)
(สำหรับรายละเอียดเรื่องจำนวนช่อง ดูจากบทความ กสทช. แบ่งคลื่นทีวีดิจิทัลลงตัว 48 ช่อง)
สถานีฟรีทีวีในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเข้าหมวด “ธุรกิจ” ยกเว้น Thai PBS ที่อยู่ในกลุ่มบริการสาธารณะประเภทที่หนึ่ง ส่วนทีวีของรัฐบาลอย่างช่อง 11 อาจพิจารณาแยกส่วนกิจการประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลโดยตรง มารับใบอนุญาตบริการสาธารณะประเภทที่สาม และช่อง 5 อาจพิจารณาแยกส่วนกิจการเพื่อความมั่นคงมารับใบอนุญาตบริการสาธารณะประเภทที่สองได้
อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่าการขอรับใบอนุญาตเหล่านี้จะครอบคลุมเฉพาะ “ทีวีดิจิทัล” เท่านั้น ส่วนของทีวีแอนะล็อกที่ฉายอยู่ในปัจจุบัน ผู้ให้บริการเดิมจะสามารถให้บริการต่อไปได้ตามแผนแม่บทจัดการคลื่นความถี่ของ กสทช. นั่นคือ
บริษัทเอกชน ให้บริการจนถึงหมดอายุสัมปทาน (กรณีของช่อง 3 คือปี 2563 และช่อง 7 หมดปี 2566) ตามมาตรา 83 ใน พ.ร.บ. กสทช.
หน่วยงานของรัฐ ให้บริการต่อได้อีก 10 ปีตามแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ของ กสทช.
ชิงเค้กช่องธุรกิจ แต่ช่องสาธารณะใครจะทำ?
จากแผนการแบ่งช่องฟรีทีวีดิจิทัลของ กสทช. เราพอประเมินสถานการณ์ได้เบื้องต้นดังนี้
ช่องธุรกิจ
จากเงื่อนไขการขออนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิทัลที่ กสทช. กำหนด จะเห็นว่าช่องธุรกิจมีเพียง 24 ช่องเท่านั้น ถ้าลองนำช่องรายการในเคเบิลทีวีหรือทีวีดาวเทียมในปัจจุบัน มาจำลองสถานการณ์ว่าบริษัทใดจะขอใบอนุญาตช่องทีวีดิจิทัลแบบใดบ้าง ได้คร่าวๆ ดังนี้
ช่องข่าว: Nation Channel, TNN, Voice TV, Spring News และอาจมีช่อง 11
ช่องเด็กและครอบครัว: ช่องการ์ตูนน่าจะเป็นไปได้มากที่สุด แต่อาจมีช่องรายการครอบครัวคล้ายกับ Disney Channel ของต่างประเทศได้เช่นกัน
ช่องทั่วไป ความละเอียด SD: ช่อง 3-5-7-9 ในปัจจุบันจะขอใบอนุญาตกลุ่มนี้ รวมถึงช่องดาวเทียมส่วนใหญ่ด้วย
ช่องทั่วไป ความละเอียด HD: รายการที่ถ่ายทอดด้วยความละเอียดแบบ HD แล้วคุ้ม น่าจะยังเป็นรายการกีฬาหรือภาพยนตร์เป็นหลัก ซึ่งรูปแบบอาจเป็นช่องที่ผู้ผลิตซื้อรายการจากต่างประเทศมาฉาย เป็นต้น
ถ้าใช้การประเมินว่า ช่องทั่วไปแบบ HD ที่ในเบื้องต้นยังมีเพียงแค่ 4 ช่อง จะต่อสู้กันอย่างดุเดือดเพราะมีมูลค่าสูงสำหรับผู้ชมบางกลุ่ม SIU เชื่อว่าช่องกีฬาหรือภาพยนตร์น่าจะมีโอกาสทางธุรกิจสูงสุด เพราะเป็นเนื้อหาจากต่างประเทศที่อยู่ในรูปแบบ HD อยู่แล้ว ไม่ต้องลงทุนผลิตเนื้อหาความละเอียดสูงเพิ่มเติม เราน่าจะเห็นกลุ่มทรูเข้ามาชิงตลาดนี้ โดยใช้เนื้อหาที่มีอยู่แล้วจาก True Visions มาฉายผ่านฟรีทีวีดิจิทัล นอกจากนี้กลุ่มทุนใหญ่อย่างอินทัช ก็แสดงเจตนาชัดเจนว่าจะเข้ามาประมูลช่องเด็ก ช่องทั่วไป และช่อง HD อย่างน้อย 3 ช่อง พร้อมเปิดโอกาสเข้ามาขอใบอนุญาตเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายอีกด้วย (ที่มา ไทยรัฐออนไลน์)
ส่วนช่องทั่วไปความละเอียด SD มีเพียง 10 ช่องเท่านั้น แต่กลับเป็นช่องที่ตลาดต้องการมากเป็นพิเศษ (ถ้าวัดจากรูปแบบของช่องดาวเทียม-เคเบิลทีวีในปัจจุบัน) และเมื่อรูปแบบการจัดสรรคลื่นสำหรับประกอบกิจการทีวีธุรกิจจำเป็นต้องใช้การประมูล ก็น่าจะลงเอยด้วยกลุ่มทุนสื่อขนาดใหญ่เข้ามาชิงช่อง SD เหล่านี้กันอย่างดุเดือด ส่วนกลุ่มทุนรายเล็กน่าจะเลือกทำดาวเทียม-เคเบิลทีวีต่อไปเช่นเดิม
ช่องข่าวน่าจะมีการต่อสู้กันบ้างแต่ไม่เยอะเท่ากับช่องทั่วไป แต่ช่องเด็กและครอบครัวต้องรอดูว่าจะมีผู้ขอใบอนุญาตครบ 5 ช่องตามที่ กสทช ต้องการหรือไม่
ทั้งนี้ต้องทราบว่าในอนาคตระยะยาว กสทช. จะเปิดประมูลทีวีดิจิทัลเพิ่มเติม หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการเปลี่ยนผ่านมาใช้ระบบแพร่ภาพแบบดิจิทัลทั้งหมด (digital switch over) และนำคลื่นแอนะล็อกเดิมมาจัดสรรใหม่สำหรับทั้งกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
ด้วยศักยภาพของช่อง 3 เรามีความสามารถที่จะเข้าประมูลขอใบอนุญาตทีวีดิจิตอลมากกว่า 1 ช่องอยู่แล้ว โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงคอนเทนต์ (รายการต่างๆ) บุคลากร ทีมงานที่มีเหลือเฟือ แน่นอนเราสนใจเข้าประมูลเพราะต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีทีวีดิจิตอลเป็นสิ่งที่กำลังมา และ กสทช. มีกำหนดยกเลิกการออกอากาศผ่านระบบอนาล็อกในปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่สัมปทานของช่อง 3 หมดลงพอดี
สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอก เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด เจ้าของสถานีโทรทัศน์สีช่อง 3
จาก ไทยรัฐออนไลน์
ช่องสาธารณะ-บริการชุมชน
กสทช. กำหนดจำนวนช่องบริการสาธารณะไว้ถึง 12 ช่อง ซึ่งทีวีสาธารณะอย่าง Thai PBS ก็แสดงเจตจำนงชัดเจนว่าจะขอใบอนุญาตอย่างน้อย 1 ช่อง (ในประเภทที่หนึ่ง) สำหรับทีวีสาธาณะประเภทที่สองน่าจะเป็นช่องของกรมประชาสัมพันธ์ และช่องรัฐสภาที่มีอยู่แล้ว ส่วนทีวีสาธารณะประเภทที่สามก็อาจมีมหาวิทยาลัยบางแห่งที่ต้องการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ด้านการศึกษาของตัวเอง เช่น มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญที่มีทีวีของตัวเองอยู่แล้ว
หน่วยงานอื่นที่น่าจะสนใจขอใบอนุญาตช่องสาธารณะคือ กระทรวงต่าง เช่น กระทรวงเกษตร กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ และองค์กรทางศาสนา เช่น วัดพระธรรมกายที่มีช่อง DMC หรือช่องของผู้นับถือศาสนาอิสลาม เป็นต้น
สำหรับช่องชุมชนนั้น น่าจะเป็นช่องจากเคเบิลทีวีท้องถิ่นที่เผยแพร่ข่าวและกิจกรรมของท้องถิ่นอยู่แล้ว เข้ามาขอใบอนุญาตกลุ่มนี้แล้วยกระดับจากเคเบิลทีวี มาเป็นฟรีทีวีในระบบดิจิทัลด้วย
คำถามที่น่าหาคำตอบก็คือ ช่องสาธารณะและช่องบริการชุมชนรวม 24 ช่อง จะมีหน่วยงานที่มีศักยภาพมาขอใบอนุญาตครบทั้งหมดหรือไม่ ในเมื่อกฎเกณฑ์ของ กสทช. ค่อนข้างเข้มงวดเรื่องวิธีการหารายได้อยู่พอสมควร ถึงแม้ช่องกลุ่มนี้จะไม่ต้องประมูลเช่นเดียวกับช่องธุรกิจ แต่การประกอบกิจการอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องใช้ทุนไม่น้อย จึงน่าสงสัยว่าสุดท้ายแล้วมีหน่วยงานไม่หวังกำไรมาขอยื่นใบอนุญาตครบตามจำนวนที่ กสทช. ต้องการหรือไม่ ถ้าไม่ครบก็แปลว่าคลื่นความถี่เหล่านี้จะถูกปล่อยไว้เฉยๆ นำมาใช้ประโยชน์อย่างอื่นไม่ได้อย่างนั้นหรือ?
โครงสร้างใบอนุญาตทีวีของ กสทช.
มูลค่าของทีวีดิจิทัล อาจไม่เยอะอย่างที่คิด
ทีวีดิจิทัลเป็นวิวัฒนาการของทีวีแบบแอนะล็อก โดยทำลายข้อจำกัดด้านจำนวนช่องและคุณภาพความคมชัดของสัญญาณในระบบแอนะล็อกไป
ในต่างประเทศเริ่มใช้ทีวีระบบดิจิทัลกันมานานแล้ว และในประเทศพัฒนาแล้วหลายแห่ง เช่น ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ก็เปลี่ยนไปใช้ระบบดิจิทัล 100% แล้ว แต่กรณีของประเทศไทยนั้น หลังจากมีปัญหาไม่สามารถตั้งหน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์อย่าง กสช. ตามรัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นเวลาถึงสิบกว่าปี ทำให้แผนการถ่ายทอดสัญญาณด้วยระบบดิจิทัลล่าช้าตามไปด้วย และเกิดสภาพ “คอขวด” ในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ ที่ต้องพึ่งพาผู้ให้บริการฟรีทีวีระบบแอนะล็อกทั้ง 6 ช่องมาโดยตลอด
สภาพการแข่งขันแบบกึ่งผูกขาดทำให้กลุ่มทุนสื่ออื่นๆ ไม่สามารถแทรกตัวเข้ามาทำสถานีทีวีของตัวเองได้ และเมื่อเทคโนโลยีทีวีแบบไม่ใช้คลื่นความถี่อย่างเคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม และอินเทอร์เน็ตทีวีเริ่มพัฒนา กลุ่มทุนสื่อเหล่านี้จึงกระโจนเข้าไปทำทีวีช่องทางเลือกแทนการทำทีวีดิจิทัลที่ไม่รู้ว่าจะสำเร็จเมื่อใด และถึงแม้ว่าในช่วงแรกๆ ทีวีทางเลือกเหล่านี้จะไม่ได้รับความนิยมมากนัก แต่เมื่อเวลาผ่านไป ทีวีทางเลือกพัฒนามากขึ้น มีช่องรายการที่น่าสนใจเพิ่มมากขึ้น แถมมีข้อดีเหนือฟรีทีวีแบบแอนะล็อกในแง่ความคมชัดที่ดีกว่า ทำให้คนไทยจำนวนมากหันมาดูทีวีทางเลือกเหล่านี้แทน
ตัวเลขในปัจจุบัน (จากการสำรวจของ Neilsen) ระบุว่าสัดส่วนการรับชมโทรทัศน์ในประเทศไทยคือ
ทีวีภาคพื้นดิน 45.8%
เคเบิลทีวี 28.7%
ทีวีดาวเทียม 25.5%
จะเห็นว่าทีวีภาคพื้นดินยังมีส่วนแบ่งเป็นอันดับหนึ่ง แต่ถ้านับรวมเคเบิลทีวีกับทีวีดาวเทียมเข้าด้วยกัน กลับกลายเป็นว่าทีวีทางเลือกกลุ่มที่ไม่ใช้คลื่นความถี่มีส่วนแบ่งมากกว่าที่ 54.2% และตลาดก็มีแนวโน้มไปในทางทีวีกลุ่มไม่ใช้คลื่นมากขึ้นเรื่อยๆ (อ่านบทวิเคราะห์ SIU เรื่องการแข่งขันในทีวีดาวเทียมกับกรณีของ GMMZ ประกอบ)
ที่มา – รายงานการประเมินผลกระทบจากการออกหลักเกณฑ์ วิธีการอนุญาต การให้บริการโครงข่าย การให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวก และการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ของ กสทช.
ประชาชนคนไทยมีความต้องการรับชมทีวีที่หลากหลาย และมีความคมชัด ซึ่งเทคโนโลยีที่ตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้คือ ทีวีภาคพื้นแบบดิจิทัล ทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวี
แต่เมื่อทีวีดิจิทัลล่าช้าไปมาก ประชาชนจำนวนมากจึง “ยอมจ่าย” ค่าอุปกรณ์ทีวีดาวเทียมหรือเคเบิลทีวีกันไปเยอะแล้ว อุปกรณ์เหล่านี้ต้องลงทุนในราคาสูงพอสมควร (เป็นหลักพันบาทขึ้นไป) และถ้าหากพิจารณาว่ากลุ่มทุนสื่อที่สามารถทำช่องทีวีได้ต่างมาทำทีวีดาวเทียมหรือเคเบิลทีวีกันหมดแล้ว นั่นแปลว่า รายการที่จะอยู่ในทีวีดิจิทัล ย่อมเป็นรายการจากเคเบิลทีวีหรือทีวีดาวเทียมในปัจจุบันนั่นเอง
อาร์เอส สนใจ และพร้อมทำธุรกิจทีวีดิจิตอลอยู่แล้ว เพราะคอนเทนต์ และความพร้อมในมือ ที่สำคัญเรามีช่องทีวีดาวเทียมที่พร้อมปรับมาทำทีวีดิจิตอลได้เลยในอนาคตอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการสร้างและทำสถานีทีวีดิจิตอลเพิ่มขึ้นมาอีก 1 สถานี จึงไม่ใช่ปัญหา รวมทั้งเรื่องวงเงินลงทุน ซึ่งคงอยู่ในหลัก 100 ล้านบาทต่อปี
สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)
แกรมมี่มีความพร้อมที่จะทำทีวีดิจิตอลแน่นอน เพราะมีคอนเทนต์ในมือจำนวนมากอย่างที่ทราบ และผมว่า 24 ช่องที่จะให้ใบอนุญาต ไม่น่าจะทำใครผิดหวัง อย่างน้อยน่าจะมีผู้ประกอบการสนใจสัก 10 กว่าราย โดยเฉพาะในกลุ่มที่ทำทีวีดาวเทียม
ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)
จาก ไทยรัฐออนไลน์
จุดเด่นของทีวีดิจิทัลในแง่ความแตกต่างของเนื้อหาจึงหายไปเกือบหมด เหตุเพราะรายการที่ฉายบนช่องดิจิทัลส่วนใหญ่จะเป็นรายการแบบเดียวกับที่หาดูได้ผ่านเคเบิลทีวีหรือทีวีดาวเทียม และเมื่อพิจารณาจากการย้ายไปดูทีวีระบบดิจิทัลต้องซื้อกล่องรับสัญญาณเพิ่มเติม (ราคาน่าจะอยู่ราว 500-1,000 บาท ขึ้นกับนโยบายการสนับสนุนค่าอุปกรณ์ของ กสทช. ในอนาคต) ทำให้แรงจูงใจที่ประชาชนจะหันไปดูทีวีดิจิทัลมีลดลง โดยเฉพาะกลุ่มที่ลงทุนไปกับอุปกรณ์ทีวีดาวเทียมหรือเคเบิลทีวีอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้วทีวีดิจิทัลเป็นเส้นทางที่ประเทศไทยต้องมุ่งหน้าไปอยู่ดี ทีวีแอนะล็อกจะต้องถูกเลิกใช้ในที่สุด เพียงแต่จำนวนผู้ชมทีวีดิจิทัลอาจไม่เยอะอย่างที่คาดกัน เหตุเพราะมีเทคโนโลยีคู่แข่งทั้งเคเบิลและดาวเทียมเข้ามาแย่งชิงฐานผู้ชม (ที่อาจรับชมรายการเดียวกัน) ไปแล้วนั่นเอง
ข้อมูลอ้างอิง
เอกสาร กสทช.
รายงานการประเมินผลกระทบจากการออกหลักเกณฑ์ วิธีการอนุญาตการให้บริการโครงข่าย การให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวก และการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ของ กสทช.
ร่างประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์
ร่างประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการอนุญาต และการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์
ร่างประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระจายเสียงหรือโทรทัศน์
เอกสารทั้งหมดดาวน์โหลดได้จาก เว็บไซต์ กสทช.
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
สามารลดความเสี่ยงได้ด้วยความรู้
สามารลดความเสี่ยงได้ด้วยความรู้
- PRO_BABY
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1584
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tv digital กับ โฆษณา
โพสต์ที่ 29
ประชาชาติทำไว้น่าสนใจครับว่าจะเกิดอะไรขึ้น รายเดิมจะเป็นยังไง รายใหม่จะเป็นยังไง
เหลียวมองฝรั่งเศส : กรณีศึกษา Digital TV
updated: 08 มี.ค. 2556 เวลา 17:00:50 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลทีวีเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างครั้งแรกในประเทศไทย การคาดการณ์ถึงความสำเร็จและผลกระทบต่อประเทศและธุรกิจโทรทัศน์ จึงต้องใช้การศึกษาตัวอย่างการเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศมาช่วยในการวิเคราะห์ด้วย ทั้งนี้ SCBEIC ขอหยิบยก “ฝรั่งเศส” ขึ้นมาเป็นกรณีศึกษา เนื่องจากได้เริ่มต้นกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปตั้งแต่ปี 2005 จนแล้วเสร็จในปี 2011 ทำให้มองเห็นผลกระทบในระยะยาว และที่สำคัญ ฝรั่งเศสเป็นประเทศหนึ่งที่มีจุดตั้งต้นของธุรกิจโทรทัศน์ในช่วงก่อนการเปลี่ยนผ่านที่คล้ายคลึงกับไทย ดังนั้น ความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านของฝรั่งเศส ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ประกอบการรายเดิมและรายใหม่ ตลอดจนทิศทางของเงินโฆษณาภายหลังการเปลี่ยนผ่านจะช่วยเป็นแนวทางในการประเมินความสำเร็จและผลกระทบของการเปลี่ยนผ่านในไทยได้ชัดเจนขึ้น
ก่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิตอลทีวีนั้น ธุรกิจโทรทัศน์ฝรั่งเศสมีโครงสร้างใกล้เคียงกับไทยในปัจจุบัน นั่นคือประชากรส่วนใหญ่รับชมโทรทัศน์ระบบอนาล็อกภาคพื้นดิน ส่วนการเข้าถึงของทีวีทางเลือกอยู่ในระดับปานกลาง จึงดูเหมือนการเปลี่ยนผ่านอาจต้องใช้เวลา ประเทศฝรั่งเศสนอกจากจะมีจำนวนประชากรและขนาดพื้นที่ที่ใกล้เคียงกับไทยแล้ว พบว่ายังพึ่งพาระบบโทรทัศน์อนาล็อกภาคพื้นดินเป็นหลักในช่วงก่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอล โดยทีวีทางเลือก ได้แก่ เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม มีการเข้าถึงครัวเรือนรวมกันประมาณ 40% ในปี 2004 หรือระดับปานกลางเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในยุโรปในช่วงนั้น คล้ายคลึงกับไทยที่ปัจจุบันครัวเรือนส่วนใหญ่รับชมช่องรายการฟรีทีวีระบบอนาล็อก ในขณะที่การเข้าถึงของทีวีทางเลือกอยู่ที่ระดับประมาณ 50-60% ซึ่งจัดอยู่ในระดับปานกลางในกลุ่มประเทศเอเชียด้วยกัน ด้วยลักษณะโครงสร้างธุรกิจโทรทัศน์เช่นนี้ เบื้องต้นจึงอาจมองว่าต้องใช้เวลาในการปฏิรูปโครงสร้างนานพอสมควรเนื่องจากมีจำนวนครัวเรือนที่ต้องปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิตอลค่อนข้างมาก และทีวีทางเลือกก็เป็นคู่แข่งที่ค่อนข้างสำคัญในเวลาเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม แนวคิดของregulatorฝรั่งเศสและไทยมีความคล้ายกันในแง่ของการเปิดโอกาสให้ผู้เล่นรายใหม่เข้าร่วมลงทุนในช่องดิจิตอล แต่ก็มีมาตรการปกป้องผู้ประกอบการเดิมไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจุดนี้น่าจะช่วยร่นระยะเวลาเปลี่ยนผ่านได้ การมีช่องรายการใหม่ที่นำเสนอเนื้อหาที่แตกต่างจากทีวีระบบอื่นย่อมสร้างจูงใจให้ผู้บริโภคเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลมากขึ้น ซึ่งทั้งฝรั่งเศสและไทยได้มีการกำหนดเพดานจำนวนช่องรายการที่ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอใบอนุญาตได้เพื่อส่งเสริมให้มีผู้เล่นรายใหม่ โดยในครั้งแรกที่ฝรั่งเศสออกใบอนุญาตทั้งหมด 28ช่องรายการพบว่า มากกว่าครึ่งเป็นช่องใหม่ที่บริหารโดยผู้ประกอบการใหม่ซึ่งมาจากธุรกิจสิ่งพิมพ์ วิทยุ ดาวเทียม และธุรกิจเพลง อย่างไรก็ตาม ช่องรายการเดิมจะต้องมีพื้นที่บนระบบดิจิตอลด้วยเพราะมีอิทธิพลต่อผู้ชมสูง และเป็นตัวช่วยสำคัญในการเร่งการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งในประเด็นนี้ ทั้งฝรั่งเศสและไทยได้ใช้กฎ “simulcast” ให้ผู้ประกอบการเดิมสามารถนำผังรายการในการออกอากาศระบบอนาล็อกมาใช้ในช่องดิจิตอลได้เลย นอกจากนั้น ฝรั่งเศสยังจัดสรรช่องรายการให้ผู้เล่นเดิมพัฒนาเพิ่มได้อีกรายละ 1 ช่อง โดยมีความเชื่อว่าช่องรายการใหม่ของผู้เล่นเดิมน่าจะได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ชมในเชิงคุณภาพมากกว่าช่องรายการของผู้เล่นรายใหม่ในช่วงแรก ทั้งหมดก็เพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลให้เร็วที่สุด
นอกจากนี้ พบว่าต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี ก่อนที่ช่องรายการใหม่ของฝรั่งเศสจะเริ่มเห็นเม็ดเงินโฆษณาอย่างมีนัยสำคัญ แต่อัตราการเติบโตอยู่ในระดับสูง และแย่งชิงส่วนแบ่งค่าโฆษณาจากช่องรายการเดิมมากขึ้นเรื่อยๆ ปริมาณการลงทุนด้านโฆษณาผ่านช่องรายการใหม่ในระบบดิจิตอลของฝรั่งเศสยังถือว่าค่อนข้างต่ำในช่วงปี 2005-2007 เฉลี่ยประมาณ 10-20 ล้านยูโรต่อช่องต่อปี โดยเม็ดเงินยังกระจุกตัวอยู่ในช่องรายการอนาล็อกเดิมที่ออกอากาศบนระบบดิจิตอลด้วย อยู่ที่เฉลี่ย 900-1,000ล้านยูโรต่อช่องต่อปีในช่วงเดียวกัน ดังนั้น ผู้ประกอบการรายใหม่ต้องสามารถรองรับผลขาดทุนในช่วง 3-5 ปีแรกที่รายได้โฆษณายังไม่สูงนัก อย่างไรก็ตาม พบว่าอัตราการเติบโตของเม็ดเงินโฆษณาในช่องรายการใหม่อยู่ในระดับเฉลี่ยสูงถึง 60% ต่อปี ในช่วงปี 2005-2011 อันเนื่องมาจากความนิยมในช่องรายการใหม่ที่สูงขึ้นร่วม 4 เท่า จากสัดส่วนผู้ชมเฉลี่ยประมาณ 6% ใน 3 ปีแรก มาเป็น 23% ใน 3 ปีถัดมา และปัจจุบันสามารถแย่งชิงส่วนแบ่งค่าโฆษณาจากช่องรายการอนาล็อกเดิมได้มากขึ้นเป็นร่วม 30%ของเม็ดเงินโฆษณาทั้งหมดแล้ว
…เป็นสาเหตุให้ผู้ประกอบการเดิมต้องมีการปรับตัวเพื่อรักษาผลกำไร เช่น การสร้างรายได้ที่นอกเหนือจากรายได้ค่าโฆษณา การลดต้นทุนการผลิตรายการ หรือการควบรวมกิจการกับช่องรายการใหม่ SCBEIC ได้ศึกษาถึงผลกระทบของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิตอลต่อบริษัท TF1 Group เจ้าของช่อง TF1ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับหนึ่งในฝรั่งเศสก่อนการเปลี่ยนผ่าน โดยพบว่าอัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Operating margin) ของบริษัทลดลงต่อเนื่องจากรายได้โฆษณาที่ไม่ได้เติบโตไปตามต้นทุนการผลิตรายการเหมือนเช่นก่อน โดย Operating margin ของ TF1 ลดลงจาก 14% ในปี 2005 มาเป็น 4% ในปี 2009
อย่างไรก็ตาม อัตรากำไรได้ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปี 2010-2012 มาอยู่ในระดับ 10% โดยมีปัจจัยบวกที่นอกเหนือจากภาพรวมเศรษฐกิจที่ดีขึ้น นั่นคือ การเพิ่มแหล่งที่มาของรายได้ให้หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะการเน้นลงทุนในระบบเพย์ทีวีแบบบอกรับสมาชิก (Subscription TV) มากขึ้น และการขายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ จนปัจจุบันสัดส่วนของรายได้ที่มาจากโฆษณาลดลงจาก 66%ในปี 2005 มาอยู่ที่ 54% ในปี 2012 นอกจากนี้ บริษัทยังมีการลดต้นทุนการผลิตรายการลงได้กว่า 250 ล้านยูโรตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา ด้วยการวางแผนระยะยาวเพื่อสร้างประสิทธิภาพและลดขั้นตอนการผลิต ทำให้ต้นทุนการผลิตรายการต่อต้นทุนรวมทั้งหมด ลดลงจาก 45% ในปี 2005 มาเป็น 40% ในปี 2012 และอีกช่องทางการปรับตัวรับการแข่งขันที่สูงขึ้นของTF1นั่นคือการควบรวมกิจการกับช่องรายการใหม่ที่ช่วยเสริมฐานผู้ชมให้แก่องค์รวมของบริษัท โดยล่าสุด TF1 เข้าซื้อช่อง NT1ซึ่งเป็นช่องรายการใหม่บนระบบดิจิตอลที่ได้รับความนิยมสูงในกลุ่มเพศชายวัยรุ่น ในขณะที่ช่อง TF1ได้รับความนิยมสูงในกลุ่มเพศหญิงวัยกลางคน
Implication : มีโอกาสที่ไทยจะสามารถเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลได้รวดเร็วเหมือนเช่นฝรั่งเศส เพราะมีจุดตั้งต้นและแนวคิดของภาครัฐที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้นผู้ชมโทรทัศน์ระบบภาคพื้นดินจะต้องคำนึงถึงกระบวนการหยุดกระจายสัญญาณแบบอนาล็อก (Analog Switch-Off: ASO) ด้วย ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เร็วกว่าคาด จึงอาจเตรียมพร้อมซื้อกล่องรับสัญญาณ (set-top box) หรือโทรทัศน์ดิจิตอลไว้ล่วงหน้า ซึ่งผู้บริโภคควรติดตามการสื่อความของ กสทช. เกี่ยวกับ เกณฑ์มาตรฐานของอุปกรณ์กล่องและโทรทัศน์ที่ได้รับการรับรองว่าสามารถรับคลื่นสัญญาณดิจิตอลของประเทศได้
อาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี ก่อนที่รายได้โฆษณาในช่องรายการใหม่จะเริ่มเห็นชัดเจนขึ้น แต่โอกาสที่เม็ดเงินจะเติบโตรวดเร็วก็มีอยู่สูง ผู้ประกอบการช่องรายการใหม่จึงควรมีสายป่านที่ยาวพอในการรองรับผลขาดทุนในช่วงประมาณ 3-5 ปีแรก เพราะรายได้จะเริ่มเห็นชัดเจนและคืนทุนในช่วงปีที่ 5-10 ซึ่งในกรณีของไทยนั้น มีต้นทุนตั้งต้นที่สูงกว่าฝรั่งเศสอีกด้วย เนื่องจากต้องมีการประมูลช่องรายการ
ท้ายที่สุด ผู้ประกอบการรายเดิมอาจต้องมีการปรับตัวกับสภาพการแข่งขันแย่งชิงค่าโฆษณาที่รุนแรงขึ้น เมื่อคุณภาพรายการและความนิยมในช่องรายการใหม่เพิ่มขึ้น การกระจุกตัวของเม็ดเงินโฆษณาในช่องฟรีทีวีเดิมก็จะลดลงเรื่อยๆ อาจต้องมีการปรับค่าโฆษณาลงให้ทัดเทียมกับช่องรายการใหม่ และควรเริ่มมองหารายได้อื่นเข้ามาทดแทน เช่น การขายคอนเทนต์เพื่อเป็นรายการรีรันในช่องรายการอื่น หรือขายลิขสิทธิ์รายการให้โทรทัศน์ในประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงการลดต้นทุนการผลิตรายการด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากร และอุปกรณ์ถ่ายทำ เป็นต้น นอกจากนี้การควบรวมกิจการก็อาจเป็นแนวทางหนึ่งในการขยายฐานลูกค้าในภาวะที่การแข่งขันสูงมากขึ้นเช่นนี้
รูปที่ 1 : ฝรั่งเศสใช้เวลาในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลเป็นเวลา 6 ปี โดยถือว่าใช้เวลาน้อยกว่าหลายประเทศในยุโรปโดยเฉพาะ อังกฤษ สเปน และอิตาลี
ภาพ
หมายเหตุ:ข้อมูลการใช้งานระบบอนาล็อกภาคพื้นดินมีตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา
ที่มา: การวิเคราะห์โดย SCBEIC จากข้อมูลของ Conseil supérieur de l′audiovisuel (CSA) และ Screendigest
รูปที่ 2 : เม็ดเงินโฆษณาที่ลงทุนในช่องรายการใหม่ในระบบดิจิตอลเริ่มมีสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญภายหลังปีที่ 2-3 ของการเปลี่ยนผ่าน ในขณะที่การลงทุนโฆษณาในช่องรายการเดิมยังมีอยู่สูง
ภาพ
* หมายถึงช่องรายการในเคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม และช่องรายการภาคพื้นดินระบบดิจิตอลที่เป็นเพย์ทีวี
** หมายถึงช่องรายการฟรีทีวีภาคพื้นดินระบบดิจิตอลที่เคยเป็นช่องรายการในระบบอนาล็อกมาก่อน
*** หมายถึงช่องรายการฟรีทีวีภาคพื้นดินระบบดิจิตอลที่ไม่เคยเป็นช่องรายการในระบบอนาล็อกมาก่อน
ที่มา: การวิเคราะห์โดย SCBEIC จากข้อมูลของ Conseil supérieur de l′audiovisuel (CSA)
รูปที่ 3 : ช่องรายการเดิมในฝรั่งเศสต้องเผชิญแรงกดดันด้านรายได้โฆษณาจากจำนวนคู่แข่งที่มากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้จากสัดส่วนการรับชมในช่องรายการเดิมที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง
ภาพ
* หมายถึงช่องรายการฟรีทีวีภาคพื้นดินระบบดิจิตอลที่เคยเป็นช่องรายการในระบบอนาล็อกมาก่อน
** หมายถึงช่องรายการฟรีทีวีภาคพื้นดินระบบดิจิตอลที่ไม่เคยเป็นช่องรายการในระบบอนาล็อกมาก่อน
ที่มา: การวิเคราะห์โดย SCBEIC จากข้อมูลของ Conseil supérieur de l′audiovisuel (CSA)
รูปที่ 4 : โดยภาพรวมแล้ว ช่องรายการใหม่บนระบบดิจิตอลยังมีผลประกอบการติดลบในช่วง 5-6 ปีแรก
ภาพ
ที่มา: การวิเคราะห์โดย SCBEIC จากข้อมูลของ Conseil supérieur de l′audiovisuel (CSA)
ที่มา : ทับขวัญ หอมจำปา ([email protected])
SCBEIC | Economic Intelligence Center
- PRO_BABY
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1584
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Tv digital กับ โฆษณา
โพสต์ที่ 30
นอกจากนี้ พบว่าต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี ก่อนที่ช่องรายการใหม่ของฝรั่งเศสจะเริ่มเห็นเม็ดเงินโฆษณาอย่างมีนัยสำคัญ แต่อัตราการเติบโตอยู่ในระดับสูง และแย่งชิงส่วนแบ่งค่าโฆษณาจากช่องรายการเดิมมากขึ้นเรื่อยๆ ปริมาณการลงทุนด้านโฆษณาผ่านช่องรายการใหม่ในระบบดิจิตอลของฝรั่งเศสยังถือว่าค่อนข้างต่ำในช่วงปี 2005-2007 เฉลี่ยประมาณ 10-20 ล้านยูโรต่อช่องต่อปี โดยเม็ดเงินยังกระจุกตัวอยู่ในช่องรายการอนาล็อกเดิมที่ออกอากาศบนระบบดิจิตอลด้วย อยู่ที่เฉลี่ย 900-1,000ล้านยูโรต่อช่องต่อปีในช่วงเดียวกัน ดังนั้น ผู้ประกอบการรายใหม่ต้องสามารถรองรับผลขาดทุนในช่วง 3-5 ปีแรกที่รายได้โฆษณายังไม่สูงนัก อย่างไรก็ตาม พบว่าอัตราการเติบโตของเม็ดเงินโฆษณาในช่องรายการใหม่อยู่ในระดับเฉลี่ยสูงถึง 60% ต่อปี ในช่วงปี 2005-2011 อันเนื่องมาจากความนิยมในช่องรายการใหม่ที่สูงขึ้นร่วม 4 เท่า จากสัดส่วนผู้ชมเฉลี่ยประมาณ 6% ใน 3 ปีแรก มาเป็น 23% ใน 3 ปีถัดมา และปัจจุบันสามารถแย่งชิงส่วนแบ่งค่าโฆษณาจากช่องรายการอนาล็อกเดิมได้มากขึ้นเป็นร่วม 30%ของเม็ดเงินโฆษณาทั้งหมดแล้ว