เพื่อนๆมองว่าธุรกิจที่มี DCA สำคัญขนาดไหนครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 168
- ผู้ติดตาม: 0
เพื่อนๆมองว่าธุรกิจที่มี DCA สำคัญขนาดไหนครับ
โพสต์ที่ 1
เพื่อนๆมองว่าธุรกิจที่มี DCA หรือความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนนั้นสำคัญขนาดไหนครับ
ผมมองหาธุรกิจที่มี DCA ส่วนมากจะหาได้ยากและ PE สูงมากๆเลย หรือมีที่ PE ต่ำแต่ผมยังหาไม่เจอก็ไม่รู้นะครับ
เพื่อนๆคิดว่าจำเป็นไหมครับที่เราจะต้องลงทุนเฉพาะธุรกิจที่คุณภาพสูงที่มี DCA เท่านั้น
ถ้าเราซื้อหุ้นคุณภาพปานกลางแต่ PE ต่ำจะดีกว่าไหมครับ
รบกวนขอความเห็นหน่อยครับ
ผมมองหาธุรกิจที่มี DCA ส่วนมากจะหาได้ยากและ PE สูงมากๆเลย หรือมีที่ PE ต่ำแต่ผมยังหาไม่เจอก็ไม่รู้นะครับ
เพื่อนๆคิดว่าจำเป็นไหมครับที่เราจะต้องลงทุนเฉพาะธุรกิจที่คุณภาพสูงที่มี DCA เท่านั้น
ถ้าเราซื้อหุ้นคุณภาพปานกลางแต่ PE ต่ำจะดีกว่าไหมครับ
รบกวนขอความเห็นหน่อยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 168
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เพื่อนๆมองว่าธุรกิจที่มี DCA สำคัญขนาดไหนครับ
โพสต์ที่ 4
ขอบคุณครับ พอจะเข้าใจ หมายความว่าทุกธุรกิจมีวัฏจักรของมันหมดใช่ไหมครับ
- ส.สลึง
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3750
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เพื่อนๆมองว่าธุรกิจที่มี DCA สำคัญขนาดไหนครับ
โพสต์ที่ 5
คิดว่าสำคัญ แต่จะยั่งยืนหรือเปล่า อันนี้ตัวเองมักจะใช้สมมุติฐาน
3-5 ปี เพราะสายตาผมสั้น ผมก็จะเลือกมองแค่นั้น
สำหรับ pe ไม่น่าจะมีเกณฑ์ แล้วแต่คนจะเอาไปประยุกต์ใช้
แต่ถ้าเป็นผม กรณีที่มีทางเลือกระหว่าง หุ้นเกรด a pe เหมาะสม
กับหุ้นเกรด b pe กลางๆ แนวโน้มผมจะเลือกเกรด a pe เหมาะสม
มีมากกว่า แต่หุ้นถูกแพงมันก็คิดได้หลายวิธี ซึ่งผมมักจะหยิบ
ขึ้นมาดูหลายๆ ด้านประกอบกัน
3-5 ปี เพราะสายตาผมสั้น ผมก็จะเลือกมองแค่นั้น
สำหรับ pe ไม่น่าจะมีเกณฑ์ แล้วแต่คนจะเอาไปประยุกต์ใช้
แต่ถ้าเป็นผม กรณีที่มีทางเลือกระหว่าง หุ้นเกรด a pe เหมาะสม
กับหุ้นเกรด b pe กลางๆ แนวโน้มผมจะเลือกเกรด a pe เหมาะสม
มีมากกว่า แต่หุ้นถูกแพงมันก็คิดได้หลายวิธี ซึ่งผมมักจะหยิบ
ขึ้นมาดูหลายๆ ด้านประกอบกัน
"วิถีรักษ์โลก บ้าน 1 หลัง รถ 1 คัน สาว 1 คน กางเกงใน 1 ตัว" <( ̄︶ ̄)> ...
-
- Verified User
- โพสต์: 667
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เพื่อนๆมองว่าธุรกิจที่มี DCA สำคัญขนาดไหนครับ
โพสต์ที่ 6
ครับ และอยากขออธิบายมุมมองของผมเพิ่มเติมนะครับ
ผมมองว่า dca หรือการที่บริษัทมีความได้เปรียบบางอย่างที่บริษัท
อื่นในอุตสาหกรรมทำตามไม่ได้ หรือทำตามได้ยาก เป็นเหมือนอาณาเขต
หรือบริเวณพื้นที่ที่บริษัทนั้นจับจองอยู่ หรือเรียกว่า "เจ้าถิ่น" ก็ได้ ซึ่งไม่ว่า
ใครหน้าไหนที่คิดจะมาท้าแข่งในบริเวณนี้ ต้องเจ็บตัวอย่างหนักไม่ตายก็ถูกเลี้ยง
ไว้ในบริเวณที่แคบๆไม่อาจเติบโตต่อไปได้(ถ้าเคยศึกษาวิธีการเล่นหมากล้อมจะเข้าใจครับ)
แต่ถ้าคู่แข่งใช้วิธีอื่นที่แตกต่างออกไป แล้วสามารถไปสร้างอาณาเขตของตนเองจนมากระทบ
กับอาณาเขตที่บริษัทที่มี dca ยึดครองอยู่ได้ จะงานเข้าครับ!!!
เพราะบริษัทที่คิดว่าตนเองประสบความสำเร็จ มีมาเก็ตแชร์ที่แข็งแกร่ง มักจะมองไม่เห็นจุดเปลี่ยน
แปลงเล็กๆหรือเห็นแล้วไม่สนใจเพราะคิดว่าก็คงโตได้แค่นั้นหละ(หรือที่เรียกว่าหยิ่งยโสครับ)
แต่พอรู้ตัวแล้วว่าจุดเปลี่ยนแปลงเล็กๆนั้นกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ขึ้นมา การที่บริษัทเก่าแก่
อยู่มานานก็จะเกิดเรื่อง "ความล่าช้าต่อการเปลี่ยนแปลง" ตามมาครับ
เพราะบางอย่างได้กลายเป็นวัฒนธรรมของบริษัทไปแล้ว ซึ่งการจะเปลี่ยนแปลงนั้นทำได้ยากมาก(เหมือนคนหัวโบรานที่ไม่ยอมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ)
ในปัจจุบันก็เรื่องของเทคโนโลยีครับที่เป็นผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจน
ไม่ว่าบริษัทจะใหญ่ จะเล็กก็ต้องปรับตัวตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปครับ
หากบริษัทยังคิดว่าตนเองยังมี dca ที่แข็งแกร่งอยู่ ก็จะเจอพวกบริษัท
เด็กใหม่ไฟแรงไล่บี้เจ้าถิ่นได้เหมือนกันครับ เพราะเวลานี้โลกเราหมุน(เปลี่ยนแปลง)เร็วขึ้นมากครับ
ปล. สิ่งที่ผมมองหาคือผู้บริหารที่รู้จักปรับตัว และมองธุรกิจของตนเองขาดครับ
เพราะไม่ว่าบริษัทจะใหญ่โตขนาดไหนก็ล้มได้ถ้าผู้บริหารไม่เก่งจริงครับ....^^)
ผมมองว่า dca หรือการที่บริษัทมีความได้เปรียบบางอย่างที่บริษัท
อื่นในอุตสาหกรรมทำตามไม่ได้ หรือทำตามได้ยาก เป็นเหมือนอาณาเขต
หรือบริเวณพื้นที่ที่บริษัทนั้นจับจองอยู่ หรือเรียกว่า "เจ้าถิ่น" ก็ได้ ซึ่งไม่ว่า
ใครหน้าไหนที่คิดจะมาท้าแข่งในบริเวณนี้ ต้องเจ็บตัวอย่างหนักไม่ตายก็ถูกเลี้ยง
ไว้ในบริเวณที่แคบๆไม่อาจเติบโตต่อไปได้(ถ้าเคยศึกษาวิธีการเล่นหมากล้อมจะเข้าใจครับ)
แต่ถ้าคู่แข่งใช้วิธีอื่นที่แตกต่างออกไป แล้วสามารถไปสร้างอาณาเขตของตนเองจนมากระทบ
กับอาณาเขตที่บริษัทที่มี dca ยึดครองอยู่ได้ จะงานเข้าครับ!!!
เพราะบริษัทที่คิดว่าตนเองประสบความสำเร็จ มีมาเก็ตแชร์ที่แข็งแกร่ง มักจะมองไม่เห็นจุดเปลี่ยน
แปลงเล็กๆหรือเห็นแล้วไม่สนใจเพราะคิดว่าก็คงโตได้แค่นั้นหละ(หรือที่เรียกว่าหยิ่งยโสครับ)
แต่พอรู้ตัวแล้วว่าจุดเปลี่ยนแปลงเล็กๆนั้นกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ขึ้นมา การที่บริษัทเก่าแก่
อยู่มานานก็จะเกิดเรื่อง "ความล่าช้าต่อการเปลี่ยนแปลง" ตามมาครับ
เพราะบางอย่างได้กลายเป็นวัฒนธรรมของบริษัทไปแล้ว ซึ่งการจะเปลี่ยนแปลงนั้นทำได้ยากมาก(เหมือนคนหัวโบรานที่ไม่ยอมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ)
ในปัจจุบันก็เรื่องของเทคโนโลยีครับที่เป็นผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจน
ไม่ว่าบริษัทจะใหญ่ จะเล็กก็ต้องปรับตัวตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปครับ
หากบริษัทยังคิดว่าตนเองยังมี dca ที่แข็งแกร่งอยู่ ก็จะเจอพวกบริษัท
เด็กใหม่ไฟแรงไล่บี้เจ้าถิ่นได้เหมือนกันครับ เพราะเวลานี้โลกเราหมุน(เปลี่ยนแปลง)เร็วขึ้นมากครับ
ปล. สิ่งที่ผมมองหาคือผู้บริหารที่รู้จักปรับตัว และมองธุรกิจของตนเองขาดครับ
เพราะไม่ว่าบริษัทจะใหญ่โตขนาดไหนก็ล้มได้ถ้าผู้บริหารไม่เก่งจริงครับ....^^)