นักลงทุนสายตาสั้น (ผมไม่ได้สั้นนะครับ)
-
- Verified User
- โพสต์: 1904
- ผู้ติดตาม: 0
นักลงทุนสายตาสั้น (ผมไม่ได้สั้นนะครับ)
โพสต์ที่ 1
โลกในมุมมองของ Value Investor 12 กรกฎาคม 56
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
นักลงทุนสายตาสั้น
การวิเคราะห์หามูลค่าของหุ้นเพื่อการลงทุนนั้น แม้ว่านักวิเคราะห์ส่วนใหญ่จะใช้ค่า PE ค่า PB หรือตัวเลขอื่น ๆ ที่เป็นตัวเลขง่าย ๆ ใช้ข้อมูลเพียงปีเดียวหรือข้อมูลปัจจุบัน แต่ถ้าจะทำให้ถูกต้องตามทฤษฎีแล้ว เราจะต้องประมาณการ “กระแสเงินสด” หรือปันผลที่บริษัทจะจ่ายตลอดไปในอนาคต เสร็จแล้วก็จะต้องคำนวณ “มูลค่าส่วนลด” หรือ “ค่าปัจจุบัน” ของกระแสเงินทั้งหมดนั้นเราก็จะได้ว่า “มูลค่าหุ้น” ควรเป็นเท่าไร ซึ่งวิธีคำนวณแบบนี้เป็นเรื่องยากที่คนทั่วไปจะทำได้ ดังนั้นเราจึงเน้นไปที่การดูตัวเลขง่าย ๆ เพียงตัวเดียวเป็นค่า PE หรือพูดง่าย ๆ ใช้ค่า E หรือกำไรเพียงปีเดียว
แต่พอเราใช้ค่า PE ไปนาน ๆ เข้าเราก็เลยลืมไปว่าค่า E หรือกำไรต่อหุ้นเพียงปีเดียวนั้น ที่จริงมีสมมุติฐานต่อว่า จะต้องเป็นกำไรที่จะต้องต่อเนื่องไปตลอดไม่มีที่สิ้นสุดและต้องไม่ลดลงหรือหดหายไป และนี่ก็คือสิ่งที่ผมจะพูดในวันนี้เนื่องจากกำไรของบริษัทจำนวนไม่น้อยนั้นเป็นกำไรที่ไม่ต่อเนื่อง บางบริษัทอาจจะกำไรต่อไปเพียงปีสองปี บางบริษัทอาจจะยาวไป 8 ปีหรือ 15 ปี หลังจากนั้นแล้วกำไรอาจจะหายไปมากหรือมีความไม่แน่นอนสูง ดังนั้น การใช้ค่า PE ในการกำหนดมูลค่าหุ้นจึงอาจจะไม่ถูกต้อง เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ มูลค่าหุ้นสูงเกินความเป็นจริง ซึ่งทำให้การตัดสินใจซื้อขายหุ้นผิดพลาดไม่เป็น “VI” ปัญหานี้ผมอยากเรียกว่าเป็นการมองกิจการที่ไม่ไกลพอหรือเป็นเรื่องของ “นักลงทุนสายตาสั้น” มาดูกันว่ามีกิจการหรือบริษัทแบบไหนที่กำไรไม่ต่อเนื่องตลอดไป
บริษัทกลุ่มแรกที่เห็นได้ชัดว่ากำไรน่าจะไม่ต่อเนื่องก็คือบริษัทที่มี “กำไรพิเศษ” ที่อาจจะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวหรือไม่กี่ครั้ง ส่วนใหญ่แล้วนี่มักจะเกิดจากการขายทรัพย์สินก้อนใหญ่แล้วเกิดกำไรขึ้นมากหรืออย่างมีนัยสำคัญ ในกรณีแบบนี้เราต้องไม่ใช้ค่า PE มาเป็นตัวบอกว่าหุ้นถูกหรือแพง หรือถ้าจะใช้ PE ก็จะต้องตัดกำไรส่วนที่เป็นรายการพิเศษออกซึ่งจะทำให้มูลค่าหุ้นหายไปมาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลัง ๆ นี้ เรามักจะเห็นบริษัททำ “กองทุนอสังหาริมทรัพย์” โดยการขายทรัพย์สินบางส่วนเข้ากองทุนซึ่งทำให้บริษัทมีกำไรมากขึ้น “ผิดปกติ” ซึ่งนักวิเคราะห์หรือนักลงทุนก็ไม่ควรที่จะให้มูลค่ากับกำไรนี้มากนัก แต่ในบางบริษัทที่ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าเป็นปกติและมีทรัพย์สินที่สร้างรายได้ค่อนข้างมากนั้น พวกเขาก็มักจะมีการขายทรัพย์สินเข้ากองทุนอยู่เรื่อย ๆ บางทีเกือบจะทุกปี ในกรณีแบบนี้เขาก็อาจจะอ้างได้ว่ากำไรของเขาที่ได้มาอย่างผิดปกติก็อาจจะกลายเป็นเรื่อง “ปกติ” และดังนั้นก็น่าจะใช้ค่า PE ในการคำนวณมูลค่าหุ้นได้ แต่สำหรับผมแล้ว ผมคิดว่าเราไม่ควรทำอย่างนั้น ลองคิดดูก็จะเห็นว่าการขายทรัพย์สินอาจจะทำกำไรได้ดีขึ้นในปีนี้ แต่ในอนาคตกำไรของบริษัทก็จะน้อยลงจากทรัพย์สินตัวนั้น ดังนั้น ในกรณีแบบนี้ก็ต้องถือว่าเรากำลัง “สายตาสั้น”
กิจการที่ได้รับ “สัมปทาน” หรือได้รับ “ใบอนุญาต” ให้ทำธุรกิจที่กำหนด ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะมีอายุยาวประมาณ 10-15 ปี นั้น สำหรับนักลงทุนในตลาดหุ้นที่มักจะมองกันเพียงไม่เกิน 2-3 ปี มันก็เป็นเวลาที่ยาวมากจนไม่ต้องคำนึงถึงว่ากำไรจะหมดไปก่อนที่เขาจะขายหุ้น ดังนั้น พวกเขาจึงคิดคำนวณหามูลค่าโดยใช้ PE ที่ดูกำไรเพียงปีเดียวเป็นหลัก ผลก็คือ มูลค่าหุ้นมักจะสูงกว่าความเป็นจริง อย่างไรก็ตาม ก็อาจจะมีการโต้แย้งว่าสัมปทานหรือใบอนุญาตนั้นก็อาจจะถูกต่อออกไปเมื่อมันหมดอายุในอีกหลาย ๆ ปีข้างหน้า ดังนั้น กำไรก็อาจจะถูกยืดออกไปไม่มีที่สิ้นสุด ประเด็นนี้ผมเองก็คิดว่าถึงอายุจะต่อออกไปได้แต่กำไรนั้นก็อาจจะไม่เหมือนเดิม ค่าสัมปทานหรือใบอนุญาตถ้ามีก็ต้องมีการปรับใหม่ โอกาสที่กำไรจะโตขึ้นไปเรื่อย ๆ อาจจะไม่ง่าย สำหรับผม มันเปรียบเทียบคล้าย ๆ กับการ “เซ้ง” สิ่งปลูกสร้างไม่ใช่การ “ซื้อขาด” ดังนั้น เราจึงไม่สามารถให้มูลค่ามันสูง ๆ ได้ ถ้าเราไปใช้ค่า PE ปกติในการประเมินมูลค่า มันก็เหมือนกับว่าเรา “สายตาสั้น” ไม่มองไปไกลหลังจากสัมปทานหรือใบอนุญาตหมดอายุ
ในช่วงเร็ว ๆ นี้ เราพบเห็นบริษัทที่ทำพลังงานทดแทนเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กันค่อนข้างมาก บริษัทเหล่านี้ต่างก็ขายไฟฟ้าให้กับหน่วยงานของรัฐโดยได้รับการ Subsidize หรือสนับสนุนเป็นเป็นเม็ดเงินต่อหน่วยของพลังงานไฟฟ้าที่ขายซึ่งจะทำให้บริษัทมีกำไรคุ้มกับการลงทุน แต่การสนับสนุนนี้จะทำเพียงไม่กี่ปีเช่น 8 ปี หลังจากนั้นบริษัทก็อาจจะ “ขาดทุน” ในกรณีแบบนี้ กำไรของบริษัทในช่วงแรกก็จะดีกว่าปกติและถ้าเราใช้ PE มาคำนวณหามูลค่าหุ้น ราคาหุ้นก็จะสูงกว่าปกติ และนี่ก็คืออีกกรณีหนึ่งของการที่นักลงทุน “สายตาสั้น” ไม่ได้มองไปถึงอนาคตอีกหลายปีข้างหน้าที่กำไรจะหดหายไปอย่างมาก
สายตาสั้นในเรื่องของการวิเคราะห์หุ้นอีกกลุ่มหนึ่งก็คือบริษัทที่มีแบ็คล็อกหรืองานหรือสินค้าที่ลงนามสัญญาจ้างหรือซื้อขายไปแล้วรอทำและส่งของ เช่นบริษัทรับเหมาก่อสร้างหรือบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย ในเรื่องนี้นักลงทุนหรือนักวิเคราะห์หุ้นก็จะตั้งสมมติฐานว่าในช่วงเวลาหนึ่งหรือสองปีข้างหน้าบริษัทจะมียอดขายเท่าไรอย่างแน่นอนตามแบ็คล็อกที่มีอยู่และอาจจะรวมถึงยอดขายใหม่ที่จะทำได้เพิ่ม หลังจากนั้นพวกเขาก็จะคำนวณกำไรที่จะทำได้โดยใช้ตัวเลขมาร์จินที่บริษัทเคยทำได้ จากนั้นก็จะได้กำไรต่อหุ้นซึ่งก็จะคูณกับค่า PE ซึ่งก็จะได้ “มูลค่าหุ้นที่เหมาะสม” ประเด็นก็คือ การประมาณการกำไรนั้นอาจถกเถียงได้ว่าจะเป็นไปตามที่คำนวณได้หรือใกล้เคียง แต่การมองไปที่กำไรเพียงปีหรือสองปีนั้นต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่อาจจะ “สายตาสั้น” อนาคตหลังจากนั้นมีความไม่แน่นอนสูง ดังนั้น การให้ค่า PE ตามปกติจึงอาจจะไม่เหมาะสม
ความล้าสมัยของเทคโนโลยีหรือระบบการผลิตและการจัดจำหน่ายในสินค้าไฮเท็คหรือที่อาจจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของไฮเทคโนโลยีเช่นสินค้าที่เป็น “ซอฟแวร์” ทั้งหลายนั้น อาจทำให้กิจการหรือบริษัทบางแห่งหรือบางแบบมีความเสี่ยงที่ “ซ่อน” อยู่ นั่นก็คือ ยอดขายและ/หรือกำไร ของบริษัทในอนาคตที่ไม่ไกลนักอาจจะตกลงมามากมายเพราะการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี บางทีอาจจะถึงขั้นคุกคามความอยู่รอดของกิจการได้ ในฐานะของนักลงทุนแบบ VI เราต้องมองไปให้ไกลว่าบริษัทจะมีวันที่ยากลำบากแบบนั้นหรือไม่ และถ้าเราเห็น เราก็ไม่ควรให้มูลค่าบริษัทโดยอิงเฉพาะกับกำไรต่อหุ้นที่เราเห็นในช่วงใกล้ ๆ เท่านั้น จริงอยู่ เป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าอะไรจะเกิดขึ้นแต่เรารู้ว่าความเสี่ยงนั้นเป็น “ความเสี่ยงจริง” ถ้าเราไม่นำมาพิจารณาในการประเมินราคาหุ้น เราก็จะเป็นคน “สายตาสั้น” และอาจจะพลาดไปซื้อหุ้นที่มีราคาสูงเกินพื้นฐานได้ พูดง่าย ๆ ก็คือ เราให้ค่า PE กับบริษัทสูงเกินไป
การไม่เป็นคน “สายตาสั้น” และอาจจะ “มองไกลเกินเหตุ” นั้น หลาย ๆ ครั้งผมพบว่ามี “ต้นทุน” สูงอยู่เหมือนกันนั่นก็คือ หลายครั้งราคาหุ้นที่มีกำไรดีเพียงสั้น ๆ จากการมองของเรา แต่ตลาดซึ่งอาจจะประกอบไปด้วยคน “สายตาสั้น” เป็นส่วนใหญ่นั้นมองไม่เห็นหรือไม่มอง ดังนั้นพวกเขาจึงเข้ามาไล่ซื้อหุ้นเนื่องจากเห็นว่าค่า PE ต่ำทำให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปสูงมากและทำให้เราพลาดที่จะทำกำไรได้ง่ายและรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การทำกำไรแบบนี้นั้นอาจจะไม่ใช่แนว VI และเป็นสิ่งที่เรียกว่า “ทำถูกด้วยเหตุผลที่ผิด” ถ้าเราซื้อและขายไปเมื่อหุ้นมันขึ้นเราก็ได้กำไร แต่ถ้าเราพลาดและราคาหุ้นมันสะท้อนพื้นฐานที่แท้จริงที่เป็นระยะยาว เราก็จะขาดทุนอย่างถาวร
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
นักลงทุนสายตาสั้น
การวิเคราะห์หามูลค่าของหุ้นเพื่อการลงทุนนั้น แม้ว่านักวิเคราะห์ส่วนใหญ่จะใช้ค่า PE ค่า PB หรือตัวเลขอื่น ๆ ที่เป็นตัวเลขง่าย ๆ ใช้ข้อมูลเพียงปีเดียวหรือข้อมูลปัจจุบัน แต่ถ้าจะทำให้ถูกต้องตามทฤษฎีแล้ว เราจะต้องประมาณการ “กระแสเงินสด” หรือปันผลที่บริษัทจะจ่ายตลอดไปในอนาคต เสร็จแล้วก็จะต้องคำนวณ “มูลค่าส่วนลด” หรือ “ค่าปัจจุบัน” ของกระแสเงินทั้งหมดนั้นเราก็จะได้ว่า “มูลค่าหุ้น” ควรเป็นเท่าไร ซึ่งวิธีคำนวณแบบนี้เป็นเรื่องยากที่คนทั่วไปจะทำได้ ดังนั้นเราจึงเน้นไปที่การดูตัวเลขง่าย ๆ เพียงตัวเดียวเป็นค่า PE หรือพูดง่าย ๆ ใช้ค่า E หรือกำไรเพียงปีเดียว
แต่พอเราใช้ค่า PE ไปนาน ๆ เข้าเราก็เลยลืมไปว่าค่า E หรือกำไรต่อหุ้นเพียงปีเดียวนั้น ที่จริงมีสมมุติฐานต่อว่า จะต้องเป็นกำไรที่จะต้องต่อเนื่องไปตลอดไม่มีที่สิ้นสุดและต้องไม่ลดลงหรือหดหายไป และนี่ก็คือสิ่งที่ผมจะพูดในวันนี้เนื่องจากกำไรของบริษัทจำนวนไม่น้อยนั้นเป็นกำไรที่ไม่ต่อเนื่อง บางบริษัทอาจจะกำไรต่อไปเพียงปีสองปี บางบริษัทอาจจะยาวไป 8 ปีหรือ 15 ปี หลังจากนั้นแล้วกำไรอาจจะหายไปมากหรือมีความไม่แน่นอนสูง ดังนั้น การใช้ค่า PE ในการกำหนดมูลค่าหุ้นจึงอาจจะไม่ถูกต้อง เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ มูลค่าหุ้นสูงเกินความเป็นจริง ซึ่งทำให้การตัดสินใจซื้อขายหุ้นผิดพลาดไม่เป็น “VI” ปัญหานี้ผมอยากเรียกว่าเป็นการมองกิจการที่ไม่ไกลพอหรือเป็นเรื่องของ “นักลงทุนสายตาสั้น” มาดูกันว่ามีกิจการหรือบริษัทแบบไหนที่กำไรไม่ต่อเนื่องตลอดไป
บริษัทกลุ่มแรกที่เห็นได้ชัดว่ากำไรน่าจะไม่ต่อเนื่องก็คือบริษัทที่มี “กำไรพิเศษ” ที่อาจจะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวหรือไม่กี่ครั้ง ส่วนใหญ่แล้วนี่มักจะเกิดจากการขายทรัพย์สินก้อนใหญ่แล้วเกิดกำไรขึ้นมากหรืออย่างมีนัยสำคัญ ในกรณีแบบนี้เราต้องไม่ใช้ค่า PE มาเป็นตัวบอกว่าหุ้นถูกหรือแพง หรือถ้าจะใช้ PE ก็จะต้องตัดกำไรส่วนที่เป็นรายการพิเศษออกซึ่งจะทำให้มูลค่าหุ้นหายไปมาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลัง ๆ นี้ เรามักจะเห็นบริษัททำ “กองทุนอสังหาริมทรัพย์” โดยการขายทรัพย์สินบางส่วนเข้ากองทุนซึ่งทำให้บริษัทมีกำไรมากขึ้น “ผิดปกติ” ซึ่งนักวิเคราะห์หรือนักลงทุนก็ไม่ควรที่จะให้มูลค่ากับกำไรนี้มากนัก แต่ในบางบริษัทที่ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าเป็นปกติและมีทรัพย์สินที่สร้างรายได้ค่อนข้างมากนั้น พวกเขาก็มักจะมีการขายทรัพย์สินเข้ากองทุนอยู่เรื่อย ๆ บางทีเกือบจะทุกปี ในกรณีแบบนี้เขาก็อาจจะอ้างได้ว่ากำไรของเขาที่ได้มาอย่างผิดปกติก็อาจจะกลายเป็นเรื่อง “ปกติ” และดังนั้นก็น่าจะใช้ค่า PE ในการคำนวณมูลค่าหุ้นได้ แต่สำหรับผมแล้ว ผมคิดว่าเราไม่ควรทำอย่างนั้น ลองคิดดูก็จะเห็นว่าการขายทรัพย์สินอาจจะทำกำไรได้ดีขึ้นในปีนี้ แต่ในอนาคตกำไรของบริษัทก็จะน้อยลงจากทรัพย์สินตัวนั้น ดังนั้น ในกรณีแบบนี้ก็ต้องถือว่าเรากำลัง “สายตาสั้น”
กิจการที่ได้รับ “สัมปทาน” หรือได้รับ “ใบอนุญาต” ให้ทำธุรกิจที่กำหนด ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะมีอายุยาวประมาณ 10-15 ปี นั้น สำหรับนักลงทุนในตลาดหุ้นที่มักจะมองกันเพียงไม่เกิน 2-3 ปี มันก็เป็นเวลาที่ยาวมากจนไม่ต้องคำนึงถึงว่ากำไรจะหมดไปก่อนที่เขาจะขายหุ้น ดังนั้น พวกเขาจึงคิดคำนวณหามูลค่าโดยใช้ PE ที่ดูกำไรเพียงปีเดียวเป็นหลัก ผลก็คือ มูลค่าหุ้นมักจะสูงกว่าความเป็นจริง อย่างไรก็ตาม ก็อาจจะมีการโต้แย้งว่าสัมปทานหรือใบอนุญาตนั้นก็อาจจะถูกต่อออกไปเมื่อมันหมดอายุในอีกหลาย ๆ ปีข้างหน้า ดังนั้น กำไรก็อาจจะถูกยืดออกไปไม่มีที่สิ้นสุด ประเด็นนี้ผมเองก็คิดว่าถึงอายุจะต่อออกไปได้แต่กำไรนั้นก็อาจจะไม่เหมือนเดิม ค่าสัมปทานหรือใบอนุญาตถ้ามีก็ต้องมีการปรับใหม่ โอกาสที่กำไรจะโตขึ้นไปเรื่อย ๆ อาจจะไม่ง่าย สำหรับผม มันเปรียบเทียบคล้าย ๆ กับการ “เซ้ง” สิ่งปลูกสร้างไม่ใช่การ “ซื้อขาด” ดังนั้น เราจึงไม่สามารถให้มูลค่ามันสูง ๆ ได้ ถ้าเราไปใช้ค่า PE ปกติในการประเมินมูลค่า มันก็เหมือนกับว่าเรา “สายตาสั้น” ไม่มองไปไกลหลังจากสัมปทานหรือใบอนุญาตหมดอายุ
ในช่วงเร็ว ๆ นี้ เราพบเห็นบริษัทที่ทำพลังงานทดแทนเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กันค่อนข้างมาก บริษัทเหล่านี้ต่างก็ขายไฟฟ้าให้กับหน่วยงานของรัฐโดยได้รับการ Subsidize หรือสนับสนุนเป็นเป็นเม็ดเงินต่อหน่วยของพลังงานไฟฟ้าที่ขายซึ่งจะทำให้บริษัทมีกำไรคุ้มกับการลงทุน แต่การสนับสนุนนี้จะทำเพียงไม่กี่ปีเช่น 8 ปี หลังจากนั้นบริษัทก็อาจจะ “ขาดทุน” ในกรณีแบบนี้ กำไรของบริษัทในช่วงแรกก็จะดีกว่าปกติและถ้าเราใช้ PE มาคำนวณหามูลค่าหุ้น ราคาหุ้นก็จะสูงกว่าปกติ และนี่ก็คืออีกกรณีหนึ่งของการที่นักลงทุน “สายตาสั้น” ไม่ได้มองไปถึงอนาคตอีกหลายปีข้างหน้าที่กำไรจะหดหายไปอย่างมาก
สายตาสั้นในเรื่องของการวิเคราะห์หุ้นอีกกลุ่มหนึ่งก็คือบริษัทที่มีแบ็คล็อกหรืองานหรือสินค้าที่ลงนามสัญญาจ้างหรือซื้อขายไปแล้วรอทำและส่งของ เช่นบริษัทรับเหมาก่อสร้างหรือบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย ในเรื่องนี้นักลงทุนหรือนักวิเคราะห์หุ้นก็จะตั้งสมมติฐานว่าในช่วงเวลาหนึ่งหรือสองปีข้างหน้าบริษัทจะมียอดขายเท่าไรอย่างแน่นอนตามแบ็คล็อกที่มีอยู่และอาจจะรวมถึงยอดขายใหม่ที่จะทำได้เพิ่ม หลังจากนั้นพวกเขาก็จะคำนวณกำไรที่จะทำได้โดยใช้ตัวเลขมาร์จินที่บริษัทเคยทำได้ จากนั้นก็จะได้กำไรต่อหุ้นซึ่งก็จะคูณกับค่า PE ซึ่งก็จะได้ “มูลค่าหุ้นที่เหมาะสม” ประเด็นก็คือ การประมาณการกำไรนั้นอาจถกเถียงได้ว่าจะเป็นไปตามที่คำนวณได้หรือใกล้เคียง แต่การมองไปที่กำไรเพียงปีหรือสองปีนั้นต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่อาจจะ “สายตาสั้น” อนาคตหลังจากนั้นมีความไม่แน่นอนสูง ดังนั้น การให้ค่า PE ตามปกติจึงอาจจะไม่เหมาะสม
ความล้าสมัยของเทคโนโลยีหรือระบบการผลิตและการจัดจำหน่ายในสินค้าไฮเท็คหรือที่อาจจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของไฮเทคโนโลยีเช่นสินค้าที่เป็น “ซอฟแวร์” ทั้งหลายนั้น อาจทำให้กิจการหรือบริษัทบางแห่งหรือบางแบบมีความเสี่ยงที่ “ซ่อน” อยู่ นั่นก็คือ ยอดขายและ/หรือกำไร ของบริษัทในอนาคตที่ไม่ไกลนักอาจจะตกลงมามากมายเพราะการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี บางทีอาจจะถึงขั้นคุกคามความอยู่รอดของกิจการได้ ในฐานะของนักลงทุนแบบ VI เราต้องมองไปให้ไกลว่าบริษัทจะมีวันที่ยากลำบากแบบนั้นหรือไม่ และถ้าเราเห็น เราก็ไม่ควรให้มูลค่าบริษัทโดยอิงเฉพาะกับกำไรต่อหุ้นที่เราเห็นในช่วงใกล้ ๆ เท่านั้น จริงอยู่ เป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าอะไรจะเกิดขึ้นแต่เรารู้ว่าความเสี่ยงนั้นเป็น “ความเสี่ยงจริง” ถ้าเราไม่นำมาพิจารณาในการประเมินราคาหุ้น เราก็จะเป็นคน “สายตาสั้น” และอาจจะพลาดไปซื้อหุ้นที่มีราคาสูงเกินพื้นฐานได้ พูดง่าย ๆ ก็คือ เราให้ค่า PE กับบริษัทสูงเกินไป
การไม่เป็นคน “สายตาสั้น” และอาจจะ “มองไกลเกินเหตุ” นั้น หลาย ๆ ครั้งผมพบว่ามี “ต้นทุน” สูงอยู่เหมือนกันนั่นก็คือ หลายครั้งราคาหุ้นที่มีกำไรดีเพียงสั้น ๆ จากการมองของเรา แต่ตลาดซึ่งอาจจะประกอบไปด้วยคน “สายตาสั้น” เป็นส่วนใหญ่นั้นมองไม่เห็นหรือไม่มอง ดังนั้นพวกเขาจึงเข้ามาไล่ซื้อหุ้นเนื่องจากเห็นว่าค่า PE ต่ำทำให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปสูงมากและทำให้เราพลาดที่จะทำกำไรได้ง่ายและรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การทำกำไรแบบนี้นั้นอาจจะไม่ใช่แนว VI และเป็นสิ่งที่เรียกว่า “ทำถูกด้วยเหตุผลที่ผิด” ถ้าเราซื้อและขายไปเมื่อหุ้นมันขึ้นเราก็ได้กำไร แต่ถ้าเราพลาดและราคาหุ้นมันสะท้อนพื้นฐานที่แท้จริงที่เป็นระยะยาว เราก็จะขาดทุนอย่างถาวร
-
- Verified User
- โพสต์: 1904
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นักลงทุนสายตาสั้น (ผมไม่ได้สั้นนะครับ)
โพสต์ที่ 2
กราบเรียน ขอแย้งข้อความของอาจารย์ที่ว่า ...
ในช่วงเร็ว ๆ นี้ เราพบเห็นบริษัทที่ทำพลังงานทดแทนเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กันค่อนข้างมาก บริษัทเหล่านี้ต่างก็ขายไฟฟ้าให้กับหน่วยงานของรัฐโดยได้รับการ Subsidize หรือสนับสนุนเป็นเป็นเม็ดเงินต่อหน่วยของพลังงานไฟฟ้าที่ขายซึ่งจะทำให้บริษัทมีกำไรคุ้มกับการลงทุน แต่การสนับสนุนนี้จะทำเพียงไม่กี่ปีเช่น 8 ปี หลังจากนั้นบริษัทก็อาจจะ “ขาดทุน” ในกรณีแบบนี้ กำไรของบริษัทในช่วงแรกก็จะดีกว่าปกติและถ้าเราใช้ PE มาคำนวณหามูลค่าหุ้น ราคาหุ้นก็จะสูงกว่าปกติ และนี่ก็คืออีกกรณีหนึ่งของการที่นักลงทุน “สายตาสั้น” ไม่ได้มองไปถึงอนาคตอีกหลายปีข้างหน้าที่กำไรจะหดหายไปอย่างมาก
อันนี้ไม่จริงครับอาจารย์ๆอาจจะไม่เข้าใจธุรกิจนี้นะคับ
บริษัทพลังงานทดแทนพวกผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลที่ได้สนับสนุนจากรัฐประมาณ 8-10ปีนั้น ได้ค่าแอดเดอร์ 6.5-8บาท บวกกับค่าไฟฐานประมาณ 3บาทกว่าๆ รายได้จากการขายไฟฟ้าที่ได้มาทำให้บริษัทเหล่านี้สามารถนำไปผ่อนจ่ายชำระค่าเงินลงทุนที่ลงทุนไปทั้งหมดคุ้มทุนได้ภายในเวลา 7-8 ครับ ดังนั้นเมื่อประกอบกิจการไปจนครบสัก 8ปี ถ้าไม่ได้ไปมีหนี้อะไรอื่นจากการขยายโครงการเพิ่ม หนี้สินที่เคยมีจากการลงทุนเดิมก็เป็น0ไปแล้ว ปีที่ 9-10 จะมีกำไรเต็มๆเพราะไม่ต้องแบ่งเงินไปจ่ายค่าผ่อนหนี้สินแล้ว ยังมีเวลาให้ปรับตัวสองปี เพื่อทำสัญญาขายไฟให้การไฟฟ้าใหม่ อาจจะได้ราคาต่ำลงบ้าง แต่ยังไงก็คงไม่ต่ำกว่าค่าไฟฐาน ผมเดาๆว่าตอนนั้นค่าไฟฐานอาจจะสัก 4-5บาท (แต่ถ้ามีภาวะขาดแคลนพลังงานค่าไฟฐานอาจแพงกว่านี้เยอะๆก็ได้นะ) พอปีที่ 11 บริษัทก็ยังสบายๆครับ ถึงจะได้เงินรายได้จากการขายไฟลดลงครึ่งหนึ่ง แต่รายจ่ายที่ต้องมีภาระจากหนี้สินที่ลงทุนไปไม่มีแล้วนะครับ ค่าเชื้อเพลิงที่จะมาผลิตไฟก็ไม่มี มีแต่ค่าแรงงานเช็ดๆถูๆเท่านั้นเอง กำไรต่อหุ้นผมว่า ปีที่ 1-8 อาจได้ระดับหนึ่ง ปีที่ 9-10 อาจสูงปรี๊ดเว่อไปเลย ปีที่ 11 เป็นต้นไปกำไรอาจหายไปจากปีที่ 9-10 ครึ่งหนึ่งหรืออาจจะไม่หายก็ได้ถ้ามีวิกฤตขายแคลนเชื้อเพลิง แต่ยังไงซะกำไรก็ยังมากกว่าปีที่1-8 เยอะมากแน่นอนครับ ที่สำคัญคือรายได้จากการขายไฟสม่ำเสมอ ตลอดไปอีกจนครบ25ปี ซึ่งหมดเวลาประกันแผงครับ ถึงเวลานั้นก็อาจต้องมีรายจ่ายเรื่องแผงโซล่าเสื่อมทำงานไม่ดีต้องซื้อมาเปลี่ยนบ้าง แต่ถึงเวลานั้นก็เลยจุดคุ้มทุนไปเป็นสิบปีแล้วครับ กำไรคงล้นเหลือพอ แถมที่ดินที่โครงการตั้งอยู่ เดาไม่ได้เลยว่าผ่านไปหลายสิบปีราคาจะกลายเป็นเท่าไหร่ อาจขายที่ทำกำไรแล้วไปหาทำเลใหม่ที่ราคาที่ดินยังต่ำอยู่ทำโครงการแทนก็ได้ครับ
ยืนยันว่าสายตาผมไม่สั้นครับอาจารย์ ผมว่าคนอื่นๆที่ลงทุนในโครงการพลังงานทดแทนไม่ว่าด้านไหนต่อไปจะร่ำรวยทุกคนครับ อาจารย์ไพบูลย์ท่านก็ลงทุนร่วมเป็นประธานบริษัท UAC ด้วย โปรเจคของเค้าก็ดีมากๆครับ ไม่แพ้โซล่าและลมเลยครับ
ในช่วงเร็ว ๆ นี้ เราพบเห็นบริษัทที่ทำพลังงานทดแทนเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กันค่อนข้างมาก บริษัทเหล่านี้ต่างก็ขายไฟฟ้าให้กับหน่วยงานของรัฐโดยได้รับการ Subsidize หรือสนับสนุนเป็นเป็นเม็ดเงินต่อหน่วยของพลังงานไฟฟ้าที่ขายซึ่งจะทำให้บริษัทมีกำไรคุ้มกับการลงทุน แต่การสนับสนุนนี้จะทำเพียงไม่กี่ปีเช่น 8 ปี หลังจากนั้นบริษัทก็อาจจะ “ขาดทุน” ในกรณีแบบนี้ กำไรของบริษัทในช่วงแรกก็จะดีกว่าปกติและถ้าเราใช้ PE มาคำนวณหามูลค่าหุ้น ราคาหุ้นก็จะสูงกว่าปกติ และนี่ก็คืออีกกรณีหนึ่งของการที่นักลงทุน “สายตาสั้น” ไม่ได้มองไปถึงอนาคตอีกหลายปีข้างหน้าที่กำไรจะหดหายไปอย่างมาก
อันนี้ไม่จริงครับอาจารย์ๆอาจจะไม่เข้าใจธุรกิจนี้นะคับ
บริษัทพลังงานทดแทนพวกผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลที่ได้สนับสนุนจากรัฐประมาณ 8-10ปีนั้น ได้ค่าแอดเดอร์ 6.5-8บาท บวกกับค่าไฟฐานประมาณ 3บาทกว่าๆ รายได้จากการขายไฟฟ้าที่ได้มาทำให้บริษัทเหล่านี้สามารถนำไปผ่อนจ่ายชำระค่าเงินลงทุนที่ลงทุนไปทั้งหมดคุ้มทุนได้ภายในเวลา 7-8 ครับ ดังนั้นเมื่อประกอบกิจการไปจนครบสัก 8ปี ถ้าไม่ได้ไปมีหนี้อะไรอื่นจากการขยายโครงการเพิ่ม หนี้สินที่เคยมีจากการลงทุนเดิมก็เป็น0ไปแล้ว ปีที่ 9-10 จะมีกำไรเต็มๆเพราะไม่ต้องแบ่งเงินไปจ่ายค่าผ่อนหนี้สินแล้ว ยังมีเวลาให้ปรับตัวสองปี เพื่อทำสัญญาขายไฟให้การไฟฟ้าใหม่ อาจจะได้ราคาต่ำลงบ้าง แต่ยังไงก็คงไม่ต่ำกว่าค่าไฟฐาน ผมเดาๆว่าตอนนั้นค่าไฟฐานอาจจะสัก 4-5บาท (แต่ถ้ามีภาวะขาดแคลนพลังงานค่าไฟฐานอาจแพงกว่านี้เยอะๆก็ได้นะ) พอปีที่ 11 บริษัทก็ยังสบายๆครับ ถึงจะได้เงินรายได้จากการขายไฟลดลงครึ่งหนึ่ง แต่รายจ่ายที่ต้องมีภาระจากหนี้สินที่ลงทุนไปไม่มีแล้วนะครับ ค่าเชื้อเพลิงที่จะมาผลิตไฟก็ไม่มี มีแต่ค่าแรงงานเช็ดๆถูๆเท่านั้นเอง กำไรต่อหุ้นผมว่า ปีที่ 1-8 อาจได้ระดับหนึ่ง ปีที่ 9-10 อาจสูงปรี๊ดเว่อไปเลย ปีที่ 11 เป็นต้นไปกำไรอาจหายไปจากปีที่ 9-10 ครึ่งหนึ่งหรืออาจจะไม่หายก็ได้ถ้ามีวิกฤตขายแคลนเชื้อเพลิง แต่ยังไงซะกำไรก็ยังมากกว่าปีที่1-8 เยอะมากแน่นอนครับ ที่สำคัญคือรายได้จากการขายไฟสม่ำเสมอ ตลอดไปอีกจนครบ25ปี ซึ่งหมดเวลาประกันแผงครับ ถึงเวลานั้นก็อาจต้องมีรายจ่ายเรื่องแผงโซล่าเสื่อมทำงานไม่ดีต้องซื้อมาเปลี่ยนบ้าง แต่ถึงเวลานั้นก็เลยจุดคุ้มทุนไปเป็นสิบปีแล้วครับ กำไรคงล้นเหลือพอ แถมที่ดินที่โครงการตั้งอยู่ เดาไม่ได้เลยว่าผ่านไปหลายสิบปีราคาจะกลายเป็นเท่าไหร่ อาจขายที่ทำกำไรแล้วไปหาทำเลใหม่ที่ราคาที่ดินยังต่ำอยู่ทำโครงการแทนก็ได้ครับ
ยืนยันว่าสายตาผมไม่สั้นครับอาจารย์ ผมว่าคนอื่นๆที่ลงทุนในโครงการพลังงานทดแทนไม่ว่าด้านไหนต่อไปจะร่ำรวยทุกคนครับ อาจารย์ไพบูลย์ท่านก็ลงทุนร่วมเป็นประธานบริษัท UAC ด้วย โปรเจคของเค้าก็ดีมากๆครับ ไม่แพ้โซล่าและลมเลยครับ
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4741
- ผู้ติดตาม: 1
Re: นักลงทุนสายตาสั้น (ผมไม่ได้สั้นนะครับ)
โพสต์ที่ 3
ขอบคุณครับอาจารย์ ขอบคุณ คุนปาทองป้า ด้วยครับ
ชอบที่กล้าแสดงคิดเห็น มีเหตุมีผลเป็นตัวของตัวเอง
จะผิดหรือถูกอีกเรื่อง ผลประกอบการของกิจการ และอนาคตของบริษัท
เป็นคนเฉลยเองครับ ใครสายตาสั้น ใครสายตายาว
ส่วยตัวผมสายตาสั้นครับ ต้องตัดแวนใส่ ต้องหาตัวช่วยเสมอ ถอดแว่นเมื่อไหร่
สิ่งที่อยู่ไกลๆ ไม่มีอะไรชัดสักอย่างเลย...อิอิ
ชอบที่กล้าแสดงคิดเห็น มีเหตุมีผลเป็นตัวของตัวเอง
จะผิดหรือถูกอีกเรื่อง ผลประกอบการของกิจการ และอนาคตของบริษัท
เป็นคนเฉลยเองครับ ใครสายตาสั้น ใครสายตายาว
ส่วยตัวผมสายตาสั้นครับ ต้องตัดแวนใส่ ต้องหาตัวช่วยเสมอ ถอดแว่นเมื่อไหร่
สิ่งที่อยู่ไกลๆ ไม่มีอะไรชัดสักอย่างเลย...อิอิ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
-
- Verified User
- โพสต์: 1904
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นักลงทุนสายตาสั้น (ผมไม่ได้สั้นนะครับ)
โพสต์ที่ 4
เทียบกับจำนำข้าวคนละเรื่องเลยครับ รัฐอุดหนุนข้าวทำให้รัฐมีภาระไปเรื่อยๆไม่มีวันจบสิ้น แต่อุดหนุนให้บริษัททำพลังงานทดแทนเป็นการส่งเสริมให้ประเทศมีความมั่นคงทางพลังงานมากขึ้นไม่ใช่ว่าต้องพึ่งแต่แก๊สธรรมชาติมาผลิตไฟฟ้าอย่างเดียว(ตอนนี้พึ่งแก๊ส 70%แล้ว)แก๊สหมดมิอดตายกันทั้งประเทศหรือ เป้าหมายอนาคตที่ต้องการของประเทศแทบทั้งโลกตอนนี้คือเอาพลังงานที่ได้จากพลังงานทดแทนมาใช้แทนพลังงานที่ได้จากเชื้อเพลิงฟอซซิลให้มากที่สุดครับ
ระยะที่รัฐอุดหนุนก็แค่ช่วง 10ปี จำนวนที่รัฐอุดหนุนก็เพียงประกาศรับซื้อไฟ 2000เมกกะวัต จากจำนวนยอดใช้ไฟทั้งสิ้น3หมื่นกว่าเมกกะวัต ผ่านมาหลายปีแล้วทุกวันนี้คนที่ทำไฟจากพลังงานทดแทนยังทำกันได้ไม่ถึง 500เมกกะวัตเลยครับ เพราะการจะทำพลังงานเหล่านี้ก็มีอุปสรรคบ้างต่างกันไปเช่นพวกกังหันลมก็ต้องหาพื้นที่ลมแรงๆสม่ำเสมอ ต้องหาจุดที่ใกล้สายส่งการไฟฟ้า พวกโซล่าต้องหาภูมิประเทศที่น้ำไม่ท่วม การรวบรวมที่ดินเป็นร้อยไร่พันไร่ก็ต้องใช้เวลานาน ที่สำคัญก็ยังต้องรอใบอนุญาตจากหน่วยงานอีก เงินลงทุนที่สูงมากๆอีก ยังดีว่าตอนนี้ได้จากธนาคารเอกชนมาสนับสนุนแล้ว ไม่งั้นโครงการก็คงไม่เกิดแน่ๆ ก็หวังว่าจะมี IFF FUND มาช่วยให้การระดมทุนมาทำโรงไฟฟ้าง่ายกว่าเดิมนะครับ
ระยะที่รัฐอุดหนุนก็แค่ช่วง 10ปี จำนวนที่รัฐอุดหนุนก็เพียงประกาศรับซื้อไฟ 2000เมกกะวัต จากจำนวนยอดใช้ไฟทั้งสิ้น3หมื่นกว่าเมกกะวัต ผ่านมาหลายปีแล้วทุกวันนี้คนที่ทำไฟจากพลังงานทดแทนยังทำกันได้ไม่ถึง 500เมกกะวัตเลยครับ เพราะการจะทำพลังงานเหล่านี้ก็มีอุปสรรคบ้างต่างกันไปเช่นพวกกังหันลมก็ต้องหาพื้นที่ลมแรงๆสม่ำเสมอ ต้องหาจุดที่ใกล้สายส่งการไฟฟ้า พวกโซล่าต้องหาภูมิประเทศที่น้ำไม่ท่วม การรวบรวมที่ดินเป็นร้อยไร่พันไร่ก็ต้องใช้เวลานาน ที่สำคัญก็ยังต้องรอใบอนุญาตจากหน่วยงานอีก เงินลงทุนที่สูงมากๆอีก ยังดีว่าตอนนี้ได้จากธนาคารเอกชนมาสนับสนุนแล้ว ไม่งั้นโครงการก็คงไม่เกิดแน่ๆ ก็หวังว่าจะมี IFF FUND มาช่วยให้การระดมทุนมาทำโรงไฟฟ้าง่ายกว่าเดิมนะครับ
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2770
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นักลงทุนสายตาสั้น (ผมไม่ได้สั้นนะครับ)
โพสต์ที่ 5
กำไรที่ปรากฎมันเกิดมาจากpatongpa เขียน:บริษัทพลังงานทดแทนพวกผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลที่ได้สนับสนุนจากรัฐประมาณ 8-10ปีนั้น ได้ค่าแอดเดอร์ 6.5-8บาท บวกกับค่าไฟฐานประมาณ 3บาทกว่าๆ รายได้จากการขายไฟฟ้าที่ได้มาทำให้บริษัทเหล่านี้สามารถนำไปผ่อนจ่ายชำระค่าเงินลงทุนที่ลงทุนไปทั้งหมดคุ้มทุนได้ภายในเวลา 7-8 ครับ ดังนั้นเมื่อประกอบกิจการไปจนครบสัก 8ปี ถ้าไม่ได้ไปมีหนี้อะไรอื่นจากการขยายโครงการเพิ่ม หนี้สินที่เคยมีจากการลงทุนเดิมก็เป็น0ไปแล้ว ปีที่ 9-10 จะมีกำไรเต็มๆเพราะไม่ต้องแบ่งเงินไปจ่ายค่าผ่อนหนี้สินแล้ว ยังมีเวลาให้ปรับตัวสองปี เพื่อทำสัญญาขายไฟให้การไฟฟ้าใหม่ อาจจะได้ราคาต่ำลงบ้าง แต่ยังไงก็คงไม่ต่ำกว่าค่าไฟฐาน ผมเดาๆว่าตอนนั้นค่าไฟฐานอาจจะสัก 4-5บาท (แต่ถ้ามีภาวะขาดแคลนพลังงานค่าไฟฐานอาจแพงกว่านี้เยอะๆก็ได้นะ) พอปีที่ 11 บริษัทก็ยังสบายๆครับ ถึงจะได้เงินรายได้จากการขายไฟลดลงครึ่งหนึ่ง แต่รายจ่ายที่ต้องมีภาระจากหนี้สินที่ลงทุนไปไม่มีแล้วนะครับ ค่าเชื้อเพลิงที่จะมาผลิตไฟก็ไม่มี มีแต่ค่าแรงงานเช็ดๆถูๆเท่านั้นเอง กำไรต่อหุ้นผมว่า ปีที่ 1-8 อาจได้ระดับหนึ่ง ปีที่ 9-10 อาจสูงปรี๊ดเว่อไปเลย ปีที่ 11 เป็นต้นไปกำไรอาจหายไปจากปีที่ 9-10 ครึ่งหนึ่งหรืออาจจะไม่หายก็ได้ถ้ามีวิกฤตขายแคลนเชื้อเพลิง แต่ยังไงซะกำไรก็ยังมากกว่าปีที่1-8 เยอะมากแน่นอนครับ ที่สำคัญคือรายได้จากการขายไฟสม่ำเสมอ ตลอดไปอีกจนครบ25ปี ซึ่งหมดเวลาประกันแผงครับ ถึงเวลานั้นก็อาจต้องมีรายจ่ายเรื่องแผงโซล่าเสื่อมทำงานไม่ดีต้องซื้อมาเปลี่ยนบ้าง แต่ถึงเวลานั้นก็เลยจุดคุ้มทุนไปเป็นสิบปีแล้วครับ กำไรคงล้นเหลือพอ แถมที่ดินที่โครงการตั้งอยู่ เดาไม่ได้เลยว่าผ่านไปหลายสิบปีราคาจะกลายเป็นเท่าไหร่ อาจขายที่ทำกำไรแล้วไปหาทำเลใหม่ที่ราคาที่ดินยังต่ำอยู่ทำโครงการแทนก็ได้ครับ
E = รายได้ - รายจ่าย - ค่าเสื่อม - อื่นๆ
ผมเข้าใจว่าดร.มองในประเด็นว่าเมื่อพ้น 8 ปีแล้วกิจการพวกนี้จะอดได้ Adder ทำให้รายได้ลดลง ซึ่งส่งให้ E ลดลงด้วย
จุดที่คุณ patongpa มอง ที่ผมตีความได้คือรายจ่ายมันก็จะลดลงตาม ตรงนี้ผมเห็นด้วยเช่นกัน แต่ผมก็ยังสงสัยว่ารายจ่ายที่ลดลงนั้น มันอาจจะเป็นสัดส่วนที่น้อยกว่ารายได้ที่ลดลงหรือไม่? แล้ว รายได้-รายจ่าย ในช่วงนั้นมันจะสูงกว่าค่าเสื่อมมากแค่ไหน? ทำให้สุดท้ายแล้ว E ก็อาจต้องลดลง
ตรงนี้ไม่ได้หมายความว่าธุรกิจจะเจ๊ง หรือธุรกิจไม่ดี เพราะ รายได้ - รายจ่าย ก่อนหักค่าเสื่อม (หรือ EBITDA) ยังเป็นบวก แต่หมายความว่าการใช้ P/E มาประเมินธุรกิจพวกนี้นั้นอาจใช้ไม่ได้ เพราะเมื่อถึงปีที่ 8 แล้ว E จะเปลี่ยนไป วิธีที่แม่นกว่าน่าจะเป็นการคิดลด โดยแบ่งสองส่วน คือ
1. คิดกำไรที่ได้จาก Adder จากปีที่ 8 ลงมาถึงปัจจุบัน
2. คิดกำไรที่ได้จากค่าไฟฐาน จากปีที่ 25 ลงมาถึงปัจจุบัน
มีอีกทางหนึ่งที่จะทำให้กำไรดูดีในปีที่ 9 เป็นต้นไป คือการคิดค่าเสื่อมในช่วง 8 ปีแรกให้สูง แล้วทยอยคิดค่าเสื่อมลดลงในปีที่ 9 แต่ผมคิดว่าสูตรการคำนวนค่าเสื่อมในปัจจุบันนั้นเราอาจไม่สามารถนำ Adder มาคำนวนได้ ค่าเสื่อมเลยต้องคำนวนเป็นเส้นตรงไปจนถึง 25 ปี ทำให้ค่าเสื่อมไม่ได้ลดลงในปีที่ 9
ถึงแม้ธุรกิจพลังงานในไทยโดยรวมนั้นมีความจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ผู้เล่นก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ถ้าในอีกไม่กี่ปีมีการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์เยอะแยะไปหมด ล่าสุดที่ผมไปสัมนาด้านพลังงานที่ยุโรป บริษัทผลิต PV ของยุโรปเจอปัญหาว่าไม่สามารถผลิตได้ถูกและดีเท่าบริษัทจีน นอกจากนั้นบริษัทในจีนบางบริษัทอ้างว่าสามารถทำต้นทุนราคาไฟฟ้าต่อยูนิตได้เทียบเท่าพลังงานถ่านหินเลยเสียด้วยซ้ำ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ในอีก 8 ปี จะมีโรงงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์หน้าใหม่จะเต็มไปหมด ถึงตอนนั้นโรงไฟฟ้าเก่าอาจต้องพิจารณาว่าทุบแผงเก่าทิ้งแล้วสร้างแผงใหม่จะคุ้มกว่ารึเปล่า
Vi IMrovised
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1284
- ผู้ติดตาม: 1
Re: นักลงทุนสายตาสั้น (ผมไม่ได้สั้นนะครับ)
โพสต์ที่ 6
ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับท่านดร. นิเวศน์ และคุณ vim ครับ อีกประเด็นนึงที่น่าจะเป็นความเสี่ยงคือประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าเมื่อแผงเก่าขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าผู้ผลิตจะมีการันตี แต่เราต้องเผื่อใจไว้เช่นกันว่าผู้ผลิตแผงหรือผู้การันตีอาจจะเบี้ยว หรืออาจจะไม่อยู่ในธุรกิจในอีก 8 ปีข้างหน้า (CAWOW น่าจะเป็นอุทาหรณ์ที่ดี) เข้าใจว่าผู้ผลิตแผงโซล่ารายใหญ่สุดในโลกเพิ่งจะ file bankruptcy ไปเมื่อต้นปีนี้เอง
http://www.nytimes.com/2013/03/21/busin ... d=all&_r=0
ในแง่บัญชี ถ้าจะให้ conservative หน่อย รายได้จาก adder น่าจะทยอยรับรู้ตลอดอายุสัญญา 20-30 ปี ถ้าเอามารับหมดตั้งแต่ 8 ปีแรก ดูเหมือนเป็นการสร้างกำไรให้มากในช่วง 8 ปีแรกนะ ถึงแม้ว่าจะทำได้ตามมาตรฐานบัญชีก็ตาม บัญชีก็เรื่องนึง ความเป็นจริงก็เรื่องนึง ต้องพยายามมองให้ออกครับ ถือเป็นการ share นะครับ หากอ่านแล้วไม่สบายใจ ก็ลืม ๆ ไปซะก็ได้
http://www.nytimes.com/2013/03/21/busin ... d=all&_r=0
ในแง่บัญชี ถ้าจะให้ conservative หน่อย รายได้จาก adder น่าจะทยอยรับรู้ตลอดอายุสัญญา 20-30 ปี ถ้าเอามารับหมดตั้งแต่ 8 ปีแรก ดูเหมือนเป็นการสร้างกำไรให้มากในช่วง 8 ปีแรกนะ ถึงแม้ว่าจะทำได้ตามมาตรฐานบัญชีก็ตาม บัญชีก็เรื่องนึง ความเป็นจริงก็เรื่องนึง ต้องพยายามมองให้ออกครับ ถือเป็นการ share นะครับ หากอ่านแล้วไม่สบายใจ ก็ลืม ๆ ไปซะก็ได้
In search of super stocks
-
- Verified User
- โพสต์: 1904
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นักลงทุนสายตาสั้น (ผมไม่ได้สั้นนะครับ)
โพสต์ที่ 7
ความเสี่ยงที่สุดของธุรกิจตอนนี้คือความมั่นคงของบริษัทผลิตแผงนั่นแหละครับ ถ้าเค้าเกิดยกเลิกการประกันสินค้าขึ้นมา แผงอาจจะไม่มีแหล่งเปลี่ยนเวลาเสียก่อนหมดอายุ แต่ ...
บริษัท spcg เลือกใช้แผงของเคียวเซล่าซึ่งรับประกันความมั่นคงได้ดีกว่าแผงของจีนที่ประกาศเจ๊งไปแน่นอนครับ
เรื่องรายได้ยั่งยืนแน่นนอนให้ลองกลับไปอ่านที่ผมเขียนให้ดีๆครับ อธิบายไปหมดแล้ว
บริษัท spcg เลือกใช้แผงของเคียวเซล่าซึ่งรับประกันความมั่นคงได้ดีกว่าแผงของจีนที่ประกาศเจ๊งไปแน่นอนครับ
เรื่องรายได้ยั่งยืนแน่นนอนให้ลองกลับไปอ่านที่ผมเขียนให้ดีๆครับ อธิบายไปหมดแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 125
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นักลงทุนสายตาสั้น (ผมไม่ได้สั้นนะครับ)
โพสต์ที่ 9
patongpa เขียน: ...บริษัทพลังงานทดแทนพวกผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลที่ได้สนับสนุนจากรัฐประมาณ 8-10ปีนั้น ได้ค่าแอดเดอร์ 6.5-8บาท บวกกับค่าไฟฐานประมาณ 3บาทกว่าๆ รายได้จากการขายไฟฟ้าที่ได้มาทำให้บริษัทเหล่านี้สามารถนำไปผ่อนจ่ายชำระค่าเงินลงทุนที่ลงทุนไปทั้งหมดคุ้มทุนได้ภายในเวลา 7-8 ครับ ดังนั้นเมื่อประกอบกิจการไปจนครบสัก 8ปี ถ้าไม่ได้ไปมีหนี้อะไรอื่นจากการขยายโครงการเพิ่ม หนี้สินที่เคยมีจากการลงทุนเดิมก็เป็น0ไปแล้ว ปีที่ 9-10 จะมีกำไรเต็มๆ...
ค่าเสื่อม=0 เมื่อสิ้นปีที่8อย่างที่พี่patongpaว่า E ก็ฉลุยได้ ก็ไม่น่าสายตาสั้นนะvim เขียน: ...กำไรที่ปรากฎมันเกิดมาจาก
E = รายได้ - รายจ่าย - ค่าเสื่อม - อื่นๆ...
...การคิดค่าเสื่อมในช่วง 8 ปีแรกให้สูง แล้วทยอยคิดค่าเสื่อมลดลงในปีที่ 9 แต่ผมคิดว่าสูตรการคำนวนค่าเสื่อมในปัจจุบันนั้นเราอาจไม่สามารถนำ Adder มาคำนวนได้ ค่าเสื่อมเลยต้องคำนวนเป็นเส้นตรงไปจนถึง 25 ปี ทำให้ค่าเสื่อมไม่ได้ลดลงในปีที่ 9...
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 1
Re: นักลงทุนสายตาสั้น (ผมไม่ได้สั้นนะครับ)
โพสต์ที่ 10
ผมเข้าใจตรงกับท่านดร.ครับ หลังหมด 8 ปีกำไรลดลง
อย่าง case ของ glow นั้นผ่านไป 4 ปีกำไรก็ลดก้อนหนึ่ง ผ่านไปอีก 4 ปีก็จะลดลงอีก step เอากำไรปีแรกๆคิด pe จะ mislead ได้ ไฟฟ้าหลายๆตัวก็คล้ายๆกัน
อย่าง case ของ glow นั้นผ่านไป 4 ปีกำไรก็ลดก้อนหนึ่ง ผ่านไปอีก 4 ปีก็จะลดลงอีก step เอากำไรปีแรกๆคิด pe จะ mislead ได้ ไฟฟ้าหลายๆตัวก็คล้ายๆกัน
การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
http://www.yoyoway.com
-
- Verified User
- โพสต์: 94
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นักลงทุนสายตาสั้น (ผมไม่ได้สั้นนะครับ)
โพสต์ที่ 11
สายตาสั้น สายตายาว ขอให้ลงทุนได้กำไรเป็นพอครับ ใครใคร่ถือนานก็ถือไป ใครใคร่ถือสั้นก็ถือไป ไม่มีถูกผิดหรอกครับ เงินของเราเอง ขอให้เรารู้จักหุ้นที่เราถือดีพอแค่นั้นแหละครับ เอาเข้าจริงๆที่บอกว่าลงทุนยาว มีน้อยคนนะครับที่จะถือหุ้นไปถึงแปดปี ผมไม่ได้บอกนะครับว่าไม่มี พวกเสี่ยทั้งหลายที่มีหุ้นเป็นพันล้านก็มีวิเคราะห์ตามสไตล์ของเขา บทความนี้ดร แค่เขียนเตือนว่า อย่าใช้PE ในการดูว่าหุ้นถูกหรือแพงเพียงอย่างเดียว
-
- Verified User
- โพสต์: 86
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นักลงทุนสายตาสั้น (ผมไม่ได้สั้นนะครับ)
โพสต์ที่ 12
จากข้อความสีแดง เป็นแค่อ้างว่า หรือทำได้แล้วจริงๆคะvim เขียน:patongpa เขียน: ล่าสุดที่ผมไปสัมนาด้านพลังงานที่ยุโรป บริษัทผลิต PV ของยุโรปเจอปัญหาว่าไม่สามารถผลิตได้ถูกและดีเท่าบริษัทจีน นอกจากนั้นบริษัทในจีนบางบริษัทอ้างว่าสามารถทำต้นทุนราคาไฟฟ้าต่อยูนิตได้เทียบเท่าพลังงานถ่านหินเลยเสียด้วยซ้ำ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ในอีก 8 ปี จะมีโรงงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์หน้าใหม่จะเต็มไปหมด ถึงตอนนั้นโรงไฟฟ้าเก่าอาจต้องพิจารณาว่าทุบแผงเก่าทิ้งแล้วสร้างแผงใหม่จะคุ้มกว่ารึเปล่า
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2770
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นักลงทุนสายตาสั้น (ผมไม่ได้สั้นนะครับ)
โพสต์ที่ 13
คิดจากต้นทุนราคาแผ่น PV ที่บริษัทจีนบางแห่งขายครับ เท่าที่ผมทราบคือมีบางบริษัทตัดราคากันจนเหลือที่ 0.6 หยวนต่อหน่วย (3 บาท) แต่ยังไม่เห็นมีหน่วยงานใดรับรองว่าได้ประสิทธิภาพตามสเปคจริงๆ ต้องติดตามดูอีกสักพักครับแมวตัวกลมๆ เขียน:จากข้อความสีแดง เป็นแค่อ้างว่า หรือทำได้แล้วจริงๆคะ
อยากเสริมข้อมูลคร่าวๆอีกสักหน่อย นานๆจะได้พูดถึงเรื่องนี้ทีนึง
ปัจจุบันราคาต้นทุนของแผ่น PV นั้นเป็นสัดส่วนหลักของโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ ราคาตุ้นทุนก่อนที่จะมีผู้ผลิตจีนเข้ามามากๆนั้นอยู่ที่ 15-20 บาทต่อหน่วย การผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์โดยไม่ได้รับการสนับสนุนนั้นอาจขาดทุน ในสมัยนั้นจึงมีการให้ Adder 8 บาทครับ แต่แล้วต้นทุนตอนนี้ถูกลงมากอย่างที่หลายๆท่านทราบกัน โรงไฟฟ้าไหนสร้างทีหลังแต่ยังได้ Adder อยู่ก็จะได้เปรียบ ภาครัฐก็ต้องปรับราคาใหม่ไม่ให้เวอร์เกินไปครับ
เนื่องจากต้นทุนการผลิตมันทำท่าจะลดลงเร็ว ในอนาคตการที่รัฐจะให้ Adder (ซื้อในราคาที่บวกเพิ่มจากราคาขาย) มันอาจเป็นการให้กำไรบริษัทเอกชนมากไปหน่อย การปรับมาเป็น FIT (Feed-In Tariff, ซื้อในราคาที่บวกเพิ่มจากราคาต้นทุน) อาจจะเหมาะสมกว่า
หากโรงงานไฟฟ้าลงทุนในสัญญา FIT นี้ก็เปรียบเสมือนบริษัทซื้อ forward contract ซึ่งล็อคต้นทุนกับราคาขายเอาไว้เรียบร้อย หากราคาต้นทุนผลิตไฟฟ้ารวมค่า FIT นี้สูงเกินกว่าราคาตลาด บริษัทที่ประมูลก็จะได้กำไรงาม ในทางกลับกันบริษัทก็อาจได้กำไรน้อยถ้าได้สัญญา FIT ราคาที่ต่ำ
ในสถานการณ์ที่ตลาดพลังงานแสงอาทิตย์นั้นมีการแข่งขันกันสูง รัฐในหลายๆประเทศก็สามารถต่อรองราคาในสัญญา FIT ได้ต่ำมาก เพราะผู้ผลิตต่างคาดหวังว่าจะสามารถผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้ถูกลงกว่าเดิมมากเมื่อเริ่มทำการก่อสร้างโรงไฟฟ้า การแข่งขันนี้ทำให้บริษัทผู้ผลิตในยุโรปและเอเชียหลายเจ้าต้องปิดตัวลงกันไปแพราะแข่งขันกับผู้อื่นไม่ได้
ในไทยนี้เอง บริษัทไหนที่ประมูลโครงการได้แล้วก็สามารถกินกำไรไปได้อย่างช้าๆ (จนกว่า Adder จะหมด) แต่บริษัทไหนที่หวังว่าจะประมูลสัญญาใหม่ๆได้ราคาดี ก็จะมีความเสี่ยงในการได้งานสูง ผลตอบแทนในการลงทุนอาจไม่สูงเหมือนปัจจุบันแล้ว
ถ้าบริษัทไหนเป็นอย่างหลัง ก็ต้องระวังเป็นพิเศษครับ
Vi IMrovised
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: นักลงทุนสายตาสั้น (ผมไม่ได้สั้นนะครับ)
โพสต์ที่ 15
นายวิเชียร อุษณาโชติ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บางจากฯ ได้ปรับแผนการลงทุนการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์เซล ) ใหม่ จากเดิมตั้งเป้าหมาย 500 เมกะวัตต์ ลงทุน 40,000 ล้านบาท เหลือเพียง 118 เมกะวัตต์ ลงทุน 10,000 ล้านบาท เพราะไม่สามารถจัดหาใบอนุญาตประกอบกิจการสำหรับโซลาร์เซลได้ โดยในขณะนี้สามารถหาได้เพียง 118 เมกะวัตต์ ผลิตไฟฟ้าไปแล้ว 68 เมกะวัตต์ ลงทุน 6,000 ล้านบาท และที่เหลืออยู่ในระหว่างเตรียมการลงทุนอีก 50 เมกะวัตต์ ลงทุน 4,000 ล้านบาท ทุกโครงการจะสร้างเสร็จภายในปี 2557 จะสร้างรายได้ประมาณ 2,800 ล้านบาทต่อปี ส่วนที่รัฐบาลประกาศสนับสนุนโครงการลงทุนผลิตไฟฟ้าจากหลังคา ทางบางจากฯ สนใจลงทุน โดยคงจะพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=1900
============================================
ปัญหาคือหาใบอนุญาติไม่ได้ ...ไม่มีใครยอมขายแล้วมั้ง ... เพราะว่าของใหม่
ไม่มี adder ให้แล้วลงทุนไม่มีทางคุ้ม ... ตอนนี้ข่าวรัฐบาล จะหันไปให้ adder
กับ Solar Roof แทน ไม่รู้ไปถึงไหนแล้ว?
ธุรกิจแบบนี้ ความเสี่ยงมันต่ำ รายได้มั่นคงสม่ำเสมอ ลูกค้าไม่เบี้ยวหนี้
เมื่อความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนก็ไม่ควรจะสูงอยู่แล้ว. ระยะเวลาสิบปี ก็ถือว่า
กลางๆ ไม่สั้นไม่ยาว. สิ่งหนึ่งที่น่าจะได้ เป็นผลตอบแทนที่ดี คือ ราคาที่ดิน
จำนวนมหาศาลหลังเลิกโครงการ ... ความเสี่ยงของ โรงไฟฟ้าโซลาร์
ต่ำกว่า โรงไฟฟ้าชนิดอื่นๆ เสียอีก แถมสร้างได้อย่างรวดเร็ว ไม่กี่เดือน
ได้กระแสเงินสดแล้ว. แต่ต้องมีแหล่งเงิน เพราะลงทุนครั้งแรกมันสูง
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=1900
============================================
ปัญหาคือหาใบอนุญาติไม่ได้ ...ไม่มีใครยอมขายแล้วมั้ง ... เพราะว่าของใหม่
ไม่มี adder ให้แล้วลงทุนไม่มีทางคุ้ม ... ตอนนี้ข่าวรัฐบาล จะหันไปให้ adder
กับ Solar Roof แทน ไม่รู้ไปถึงไหนแล้ว?
ธุรกิจแบบนี้ ความเสี่ยงมันต่ำ รายได้มั่นคงสม่ำเสมอ ลูกค้าไม่เบี้ยวหนี้
เมื่อความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนก็ไม่ควรจะสูงอยู่แล้ว. ระยะเวลาสิบปี ก็ถือว่า
กลางๆ ไม่สั้นไม่ยาว. สิ่งหนึ่งที่น่าจะได้ เป็นผลตอบแทนที่ดี คือ ราคาที่ดิน
จำนวนมหาศาลหลังเลิกโครงการ ... ความเสี่ยงของ โรงไฟฟ้าโซลาร์
ต่ำกว่า โรงไฟฟ้าชนิดอื่นๆ เสียอีก แถมสร้างได้อย่างรวดเร็ว ไม่กี่เดือน
ได้กระแสเงินสดแล้ว. แต่ต้องมีแหล่งเงิน เพราะลงทุนครั้งแรกมันสูง
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- Verified User
- โพสต์: 1904
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นักลงทุนสายตาสั้น (ผมไม่ได้สั้นนะครับ)
โพสต์ที่ 16
egco ratch bcp และบริษัทอื่นๆก็ต้องควานหาใบอนุญาตครับ ถ้าไม่มีก็ไม่ได้ทำ
glow ไม่ได้ทำพลังงานทดแทนครับ เค้าถนัดทำแต่ถ่านหิน
การสนับสนุนของรัฐตอนนี้แม้จะแพงไปมากบ้างน้อยบ้าง แต่ก็ถือว่าคุ้มครับ เพราะหากพลังงานทดแทนมีมากขึ้นเรื่อยๆและหลากหลายก็จะช่วยชดเชยความเสี่ยงจากการต้องพึ่งพาพลังงานจากฟอซซิล ซึ่งหาได้ยากขึ้นเรื่อยๆในบ้านเรา แล้วถึงหามาใช้ได้ก็มีวันหมด แต่พลังจากแสงแดด ลม พืชหมุนเวียนไม่มีวันหมดครับ
เคยอ่านข่าวว่าตอนนี้ราคาไฟที่ได้จากแผงโซล่ามีต้นทุนเกือบหรือเท่ากับราคาไฟจากถ่านหินแล้วครับ เพราะยิ่งผลิตแผงมากๆต้นทุนต่อหน่วยก็ลดลง แต่คุณภาพการจ่ายไฟของแผงกลับสูงขึ้นครับ ส่วนการใช้ถ่านหินมีภาระที่ต้องกลายเป็นต้นทุนในภายหลังเช่นต้องเจอกับเขม่าควันและซัลเฟอร์ที่ต้องสิ้นเปลืองพลังงานพลังเงินไปกำจัดมันอีก
glow ไม่ได้ทำพลังงานทดแทนครับ เค้าถนัดทำแต่ถ่านหิน
การสนับสนุนของรัฐตอนนี้แม้จะแพงไปมากบ้างน้อยบ้าง แต่ก็ถือว่าคุ้มครับ เพราะหากพลังงานทดแทนมีมากขึ้นเรื่อยๆและหลากหลายก็จะช่วยชดเชยความเสี่ยงจากการต้องพึ่งพาพลังงานจากฟอซซิล ซึ่งหาได้ยากขึ้นเรื่อยๆในบ้านเรา แล้วถึงหามาใช้ได้ก็มีวันหมด แต่พลังจากแสงแดด ลม พืชหมุนเวียนไม่มีวันหมดครับ
เคยอ่านข่าวว่าตอนนี้ราคาไฟที่ได้จากแผงโซล่ามีต้นทุนเกือบหรือเท่ากับราคาไฟจากถ่านหินแล้วครับ เพราะยิ่งผลิตแผงมากๆต้นทุนต่อหน่วยก็ลดลง แต่คุณภาพการจ่ายไฟของแผงกลับสูงขึ้นครับ ส่วนการใช้ถ่านหินมีภาระที่ต้องกลายเป็นต้นทุนในภายหลังเช่นต้องเจอกับเขม่าควันและซัลเฟอร์ที่ต้องสิ้นเปลืองพลังงานพลังเงินไปกำจัดมันอีก
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 808
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นักลงทุนสายตาสั้น (ผมไม่ได้สั้นนะครับ)
โพสต์ที่ 17
เห็นด่วยกับ ดร. นะ นอกจากนี้ ค่าmaintenance ปีหลัง ๆ จะสูง และอายุการใช้งานก็มีจำกัด ดังนั้นในอนาคตหากไม่มีใบอนุญาตพิเศษ แล้ว ธุรกิจนี้ทำคุ้มได้ยาก เว้นเสียแต่ราคาการก่อสร้างจะลดลงอย่างมีนัย
- นายมานะ
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1167
- ผู้ติดตาม: 1
Re: นักลงทุนสายตาสั้น (ผมไม่ได้สั้นนะครับ)
โพสต์ที่ 20
ไม่มีโอกาสได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องพลังงานทดแทนเลยนะครับ แต่เท่าที่เห็นจากข่าว คำเชียร์ของโบรก และการเคลื่อนไหวของราคาแล้ว ทำให้รู้สึกเหมือนตำนาน "ดอทคอม" ที่เคยอ่านมาอย่างบอกไม่ถูก (เป็นความรู้สึกส่วนตัว ไม่มี fact และความรู้อะไรทั้งสิ้นนะครับ ถ้าข้อความทำให้ท่านใดไม่พอใจต้องขอโทษไว้ล่วงหน้าครับ)
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 313
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นักลงทุนสายตาสั้น (ผมไม่ได้สั้นนะครับ)
โพสต์ที่ 22
พลังงานทดแทนที่ไม่มีทางมาทดแทนได้ครับ
ด้วยราคาพลังงานตอนนี้ไม่มีทางคุ้มครับ
การใช้ไฟฟ้าต้องขยายการใช้งานตลอด...สร้างโรงงานพลังงานทดแทนไม่มีทางทันเพราะคนละ scale กันเลยสร้างได้ทีละหลักร้อยจะไม่ทันการใช้งานที่เพิ่มด้วยซ้ำ
ด้วยราคาพลังงานตอนนี้ไม่มีทางคุ้มครับ
การใช้ไฟฟ้าต้องขยายการใช้งานตลอด...สร้างโรงงานพลังงานทดแทนไม่มีทางทันเพราะคนละ scale กันเลยสร้างได้ทีละหลักร้อยจะไม่ทันการใช้งานที่เพิ่มด้วยซ้ำ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2166
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นักลงทุนสายตาสั้น (ผมไม่ได้สั้นนะครับ)
โพสต์ที่ 23
Typical cash flow profile of the solar farm can be as shown in the figure below. Adder is designed to help the solar farm investor earning a reasonable return (IRR in the range of 10%-15% and breakeven period of approx 5-7 years). On average, the cash flow generated from the no-adder period is about 15% of those generated from the first ten years when the company is granted the adder.
To value this type of project / firm, PE method is definitely in appropriate. And I still wonder why analysts or investor communities still mention about this method when determining the value. Discounted cash flow method is the most appropriate.
A few points to note here.
i) The project (if running as per the plan) is definitely making money over the life of 25-30 years thanks to the adder. But the investors might not.
ii) After year 10, some miracles will have to happen to increase the cash flow to the prior 10 years level. This could be significant rise in tariff for example.
iii) I personally support all forms of renewable energy be it solar, wind, etc. Government policy is crucial as one day our wells will run dry. I don't want to see our country in a similar position of Western Europe who largely depends on Russian gas.
To value this type of project / firm, PE method is definitely in appropriate. And I still wonder why analysts or investor communities still mention about this method when determining the value. Discounted cash flow method is the most appropriate.
A few points to note here.
i) The project (if running as per the plan) is definitely making money over the life of 25-30 years thanks to the adder. But the investors might not.
ii) After year 10, some miracles will have to happen to increase the cash flow to the prior 10 years level. This could be significant rise in tariff for example.
iii) I personally support all forms of renewable energy be it solar, wind, etc. Government policy is crucial as one day our wells will run dry. I don't want to see our country in a similar position of Western Europe who largely depends on Russian gas.
แนบไฟล์
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
http://valueinvestors.wordpress.com/
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4741
- ผู้ติดตาม: 1
Re: นักลงทุนสายตาสั้น (ผมไม่ได้สั้นนะครับ)
โพสต์ที่ 24
ขอบคุณครับoffshore-engineer เขียน:Typical cash flow profile of the solar farm can be as shown in the figure below. Adder is designed to help the solar farm investor earning a reasonable return (IRR in the range of 10%-15% and breakeven period of approx 5-7 years). On average, the cash flow generated from the no-adder period is about 15% of those generated from the first ten years when the company is granted the adder.
To value this type of project / firm, PE method is definitely in appropriate. And I still wonder why analysts or investor communities still mention about this method when determining the value. Discounted cash flow method is the most appropriate.
A few points to note here.
i) The project (if running as per the plan) is definitely making money over the life of 25-30 years thanks to the adder. But the investors might not.
ii) After year 10, some miracles will have to happen to increase the cash flow to the prior 10 years level. This could be significant rise in tariff for example.
iii) I personally support all forms of renewable energy be it solar, wind, etc. Government policy is crucial as one day our wells will run dry. I don't want to see our country in a similar position of Western Europe who largely depends on Russian gas.
นี่คือท่านหนึงที่รู้จริงเรื่องธุรกิจพลังงานครับ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
-
- Verified User
- โพสต์: 1679
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นักลงทุนสายตาสั้น (ผมไม่ได้สั้นนะครับ)
โพสต์ที่ 25
พี่ patongpa ทำ valuation SPCG ให้ดูหน่อยสิครับ เป็นวิทยาทาน จะได้เห็นว่าพี่คำนวนยังไง Interest expense ถึง offset Adder มหาศาลที่หายไปได้ ขอบคุณครับ
value trap
- Flashy
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นักลงทุนสายตาสั้น (ผมไม่ได้สั้นนะครับ)
โพสต์ที่ 26
รบกวนช่วยผมนิดนึงครับ ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรงoffshore-engineer เขียน:... Adder is designed to help the solar farm investor earning a reasonable return (IRR in the range of 10%-15% and breakeven period of approx 5-7 years)...
.......
i) The project (if running as per the plan) is definitely making money over the life of 25-30 years thanks to the adder. But the investors might not.
....
เมื่อเราเชื่อมโยงประโยคข้างต้นกับข้อ i) ผมเข้าใจว่า โครงการนี้จะให้ IRR 10% - 15% แก่บริษัท เมื่อระยะเวลาครบ 25 - 30 ปี แต่นักลงทุนที่ลงทุนในบริษัท อาจจะไม่ได้หวัง IRR 10% - 15% ใช่มั้ยครับ กับการลงทุนนานถึง 25 - 30 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่นานมากๆ Assumption ต่างๆ มีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลงได้เสมอ
ในขณะที่หุ้นของกิจการบางตัว project กัน 3 - 5 ปี ซึ่งผมมองว่าไม่สั้นไม่นานเกินไป ให้ IRR 10% - 15% ผมย่อม prefer กว่าแน่นอน
หรือหมายถึง ระยะเวลา 25 - 30 ปี มันนานเกินไป ... investor อาจจะแก่แล้ว เลิกลงทุนไปก่อน หรือขายไปซื้อตัวอื่นที่ upside สูงกว่า
stay calm, stay invest
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2166
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นักลงทุนสายตาสั้น (ผมไม่ได้สั้นนะครับ)
โพสต์ที่ 27
ขอโทษทีครับ เขียนไม่ชัดเจน
Investor ในประโยคแรก หมายถึงบริษัท ส่วนในประโยคที่สองหมายถึงผู้ถือหุ้นในบริษัทนั้นๆครับ
Investor ในประโยคแรก หมายถึงบริษัท ส่วนในประโยคที่สองหมายถึงผู้ถือหุ้นในบริษัทนั้นๆครับ
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
http://valueinvestors.wordpress.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 86
- ผู้ติดตาม: 0
Re: นักลงทุนสายตาสั้น (ผมไม่ได้สั้นนะครับ)
โพสต์ที่ 29
ขอบคุณคุณ vim และทุกความเห็นนะคะ