เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่องภาระหนี้สินของประชาชน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4254
ผู้ติดตาม: 1

เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่องภาระหนี้สินของประชาชน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

นางสาว ปภาดา ชินวงศ์ ผู้จัดการโครงการเปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่องภาระหนี้สินของประชาชน กรณีศึกษา หัวหน้าครัวเรือนที่มีอายุ 25-60 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี จำนวนทั้งสิ้น 1,205 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างเดือนกรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมา พบว่า

ผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่า ตัวอย่างส่วนมากหรือร้อยละ 61.0 มีภาระหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระเมื่อเทียบกับรายได้ในแต่ละเดือน โดยตัวอย่างร้อยละ 30.6 ระบุต้องผ่อนชำระร้อยละ 26 – 50 ของรายได้ต่อเดือน ร้อยละ 26.4 ระบุต้องผ่อนชำระหนี้สินไม่เกินร้อยละ 25 ของรายได้ต่อเดือน และร้อยละ 4.0 ระบุต้องผ่อนชำระมากกว่าร้อยละ 50 ของรายได้ต่อเดือน ในขณะที่ร้อยละ 39.0 ระบุไม่มีหนี้สินที่ต้องชำระ/ผ่อนชำระ

นอกจากนี้ตัวอย่างกว่าร้อยละ 60 ระบุการมีหนี้สิน ซึ่งเป็นหนี้ในระบบมากที่สุด รองลงมา คือ หนี้นอกระบบ และหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ ตามลำดับ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายได้ส่วนตัวต่อเดือน พบว่า เมื่อกลุ่มตัวอย่างมีรายได้เพิ่มขึ้น   ก็จะมีหนี้สินเพิ่มขึ้นตาม โดยกลุ่มที่มีรายได้มากกว่า 50,000 บาทต่อเดือน มีหนี้สินสูงถึงร้อยละ 80 ขณะที่กลุ่มที่มีรายได้    น้อยกว่า 10,000 บาทต่อเดือน มีหนี้สินร้อยละ 50 แต่มีข้อน่าสังเกตว่าเกือบครึ่งหนึ่งที่เป็นหนี้สินนอกระบบ

กลุ่มตัวอย่างที่เป็นหนี้ในระบบ ระบุว่า ส่วนใหญ่กู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์ รองลงมาคือ ธนาคารของรัฐ หนี้กับบัตรเครดิต สินเชื่อเงินด่วน/เงินสด ตามลำดับ สำหรับรูปแบบการกู้นอกระบบของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 57.6 กู้ยืมจากนายทุน รองลงมา คือ พ่อแม่ ญาติพี่น้อง และเพื่อน โดยมีอัตราดอกเบี้ยสูงสุดร้อยละ 20 บาท/เดือน

เมื่อสอบถามถึงประเภทหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระ พบว่า ผู้มีรายได้น้อยกว่า 30,000 บาทส่วนมากมีภาระหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระ คือ เรื่องค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ อาหาร เป็นต้น และการกู้ยืม/หนี้สิน ในการประกอบอาชีพ ประกอบธุรกิจ และสิ่งที่ค้นพบคือ ผู้มีรายได้ 10,000 –30,000 หรือร้อยละ 1 ใน 5 ของตัวอย่างระบุมีหนี้สินต้องผ่อนรถยนต์คันแรก ตามนโยบายของรัฐ ขณะที่ผู้ที่มีรายได้ 30,001 บาทขึ้นไประบุมีหนี้สินต้องผ่อนรถยนต์และบ้านที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ

จากผลสำรวจ พบว่า ตัวอย่างบางส่วนเคยถูกข่มขู่ตามทวงหนี้จากนายทุนนอกระบบ อย่างไรก็ตามการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อกฎหมายควบคุมธุรกิจทวงหนี้ พบว่า ตัวอย่างไม่ถึงครึ่งหรือร้อยละ 42.2 รับทราบตัวกฎหมายดังกล่าว และสิ่งที่ตัวอย่างอยากให้รัฐบาลชุดปัจจุบันเข้ามาแก้ไขปัญหาเรื่องหนี้สินนอกระบบ โดยเฉพาะเรื่องดอกเบี้ยที่ไม่ควรเกินกฎหมายกำหนด รองลงมา คือ จัดตั้งสถาบันการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย และเพิ่มบทลงโทษในตัวกฎหมาย ควบคุมเจ้าหนี้ ตามลำดับ

ประการสุดท้าย ความต้องการที่อยากให้รัฐบาลชุดปัจจุบัน ดำเนินการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ โดยตัวอย่าง ร้อยละ 63.7 ระบุอยากให้นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างจริงจัง รองลงมา อยากให้มีการปรับสมดุลราคาสินค้าให้มีความสอดคล้องกับรายได้ค่าแรงขั้นต่ำ จัดสวัสดิการให้กับประชาชนอย่างครอบคลุม เช่น การรักษาพยาบาล รณรงค์ปลูกฝังจิตสำนึกรักแผ่นดินอย่างจริงจัง “ใช้สินค้าไทยบริโภคสินค้าไทย” และส่งเสริมสนับสนุนการทำอาชีพเสริม เช่น การฝึกฝีมือแรงงานตามลำดับ

จากการศึกษาครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาระหนี้สิน สำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย เผชิญปัญหาหนี้สินนอกระบบ รวมไปถึงภาระการจ่ายอัตราดอกเบี้ยที่สูง ดังนั้นรัฐบาลควรเข้ามาแก้ไขนอกจากตัวกฎหมายในการควบคุม ยังรวมไปถึงการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนให้ทั่วถึง นอกจากนี้ผู้มีรายได้ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่มีการกู้เงินมาซื้อรถยนต์ ซื้อบ้าน ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการผลักดันนโยบายของรัฐบาลเอง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการขาดสภาพคล่องที่จะนำไปสู่ภาวะหนี้เสียของประชาชนได้ รัฐบาลควรปลูกจิตสำนึกให้กับประชาชนในการนำหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับทุกภาคส่วน   ซึ่งจากผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างเกือบ 2 ใน 3 ได้ให้ความเห็นว่ารัฐบาลควรมีการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างจริงจัง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 42.1 เป็นชาย ร้อยละ 57.9 เป็นหญิง และเมื่อจำแนกตามช่วงอายุของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 17.9 อายุระหว่าง 25-30 ปี ร้อยละ 31.9 อายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 25.1 อายุระหว่าง 41-50 ปี และร้อยละ 25.1 อายุระหว่าง 51-60 ปี สำหรับด้านการศึกษาของตัวอย่างนั้นพบว่า ร้อยละ 69.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 30.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 44.2 ระบุอาชีพค้าขายอิสระ/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 23.2 ระบุเป็นลูกจ้าง/พนักงานบริษัท ร้อยละ 16.5 ระบุรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 8.3 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ ร้อยละ 7.2 ระบุ เป็นข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ และร้อยละ 0.2 ระบุเป็นเกษตรกร และเมื่อพิจารณาถึงรายได้ส่วนตัวต่อเดือนพบว่าร้อยละ 23.4 ระบุรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 68.9 ระบุ รายได้ 10,000-30,000 บาท ร้อยละ 6.9 ระบุรายได้ 30,001-50,000 และร้อยละ 0.8 ระบุรายได้ มากกว่า 50,000 บาทขึ้นไป

http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... 3&catid=03
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4254
ผู้ติดตาม: 1

Re: เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่องภาระหนี้สินของประชาชน

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่า ตัวอย่างส่วนมากหรือร้อยละ 61.0 มีภาระหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระเมื่อเทียบกับรายได้ในแต่ละเดือน โดยตัวอย่างร้อยละ 30.6 ระบุต้องผ่อนชำระร้อยละ 26 – 50 ของรายได้ต่อเดือน ร้อยละ 26.4 ระบุต้องผ่อนชำระหนี้สินไม่เกินร้อยละ 25 ของรายได้ต่อเดือน และร้อยละ 4.0 ระบุต้องผ่อนชำระมากกว่าร้อยละ 50 ของรายได้ต่อเดือน ในขณะที่ร้อยละ 39.0 ระบุไม่มีหนี้สินที่ต้องชำระ/ผ่อนชำระ
อ่านแล้วมึนครับ ...

สรุปว่า ถ้าระดับหนึ้สินที่ต้องผ่อนชำระ น้อยกว่า 25%
ของรายได้ ไม่น่ากลัว ... ก็แปลว่า แค่ 30.6%+4% คือ 34.6% เท่านั้น
ที่มีหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระ เกิน 25% ของรายได้ ...

ดูๆ ไปก็ยังไม่เห็นน่ากลัวตรงไหน ยิ่งอีกเกือบๆ 40%
ไม่มีหนี้สินที่ต้องชำระเลย ...
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
ภาพประจำตัวสมาชิก
vim
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2770
ผู้ติดตาม: 0

Re: เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่องภาระหนี้สินของประชาชน

โพสต์ที่ 3

โพสต์

syj เขียน:เมื่อสอบถามถึงประเภทหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระ พบว่า ผู้มีรายได้น้อยกว่า 30,000 บาทส่วนมากมีภาระหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระ คือ เรื่องค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ อาหาร เป็นต้น และการกู้ยืม/หนี้สิน ในการประกอบอาชีพ ประกอบธุรกิจ และสิ่งที่ค้นพบคือ ผู้มีรายได้ 10,000 –30,000 หรือร้อยละ 1 ใน 5 ของตัวอย่างระบุมีหนี้สินต้องผ่อนรถยนต์คันแรก ตามนโยบายของรัฐ ขณะที่ผู้ที่มีรายได้ 30,001 บาทขึ้นไประบุมีหนี้สินต้องผ่อนรถยนต์และบ้านที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ

...


จากการศึกษาครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างมีภาระหนี้สิน สำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย เผชิญปัญหาหนี้สินนอกระบบ รวมไปถึงภาระการจ่ายอัตราดอกเบี้ยที่สูง ดังนั้นรัฐบาลควรเข้ามาแก้ไขนอกจากตัวกฎหมายในการควบคุม ยังรวมไปถึงการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนให้ทั่วถึง นอกจากนี้ผู้มีรายได้ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่มีการกู้เงินมาซื้อรถยนต์ ซื้อบ้าน ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการผลักดันนโยบายของรัฐบาลเอง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการขาดสภาพคล่องที่จะนำไปสู่ภาวะหนี้เสียของประชาชนได้ รัฐบาลควรปลูกจิตสำนึกให้กับประชาชนในการนำหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับทุกภาคส่วน ซึ่งจากผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างเกือบ 2 ใน 3 ได้ให้ความเห็นว่ารัฐบาลควรมีการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างจริงจัง
ผมอ่านจากข้อมูลดู เข้าใจได้ว่าไม่ว่าจะรายได้ต่ำหรือสูงก็ต้องผ่อนรถผ่อนบ้านกันหมด อาจเป็นเพราะสภาพสังคมในไทยที่การขนส่งมวลชนนั้นไม่มีประสิทธิภาพ ต้องทำงานไกลบ้านหรือต้องขับรถไปทำงาน

ผลสำรวจนี้ทำไมถึงสรุปไปว่าไม่ควรผลักดันนโยบายที่ช่วยเหลือการกู้ซื้อรถและกู้ซื้อบ้านหละครับ? มันฟังดูแปลกๆ เพราะถ้าเอาตามตัวเลขแล้วเหมือนจะต้องสนับสนุนให้มากขึ้นด้วยซ้ำ เพื่อคนจะได้มีภาระในการผ่อนรถและบ้านน้อยลง
Vi IMrovised
Money Maker
Verified User
โพสต์: 73
ผู้ติดตาม: 0

Re: เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่องภาระหนี้สินของประชาชน

โพสต์ที่ 4

โพสต์

หนี้สินครัวเรือนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงระดับที่รับไม่ไหว เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ circuit ของระบบ CDO ของ USA ล่มเมือปี 2008

1. เศรษฐกิจไทยเกือบพังปี 40 ก็เพราะการไม่มีปัญญาจ่ายหนี้ของลูกค้าแบงค์ ทำให้มี NPL เพิ่ม แบงค์มีแนวโน้มเจ๊ง
2. คนกลัวแบงค์เจ๊ง รีบแย่งกันถอนเงิน แบ๊งค์เจ๊งเร็วขึ้น
3. แบงค์กลัวแบงค์เจ๊งกันเอง inter-bank loan หยุดหมุน (กลัวปล่อยแล้วโดนชักดาบ)
4. แบงค์ขาดสภาพคล่อง แบงค์หยุดปล่อยให้ธุรกิจ
5. ธุรกิจไม่มีสภาพคล่อง ธุรกิจเจ๊ง คนตกงาน NPL เพิ่มทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือน
6. วนกลับไปข้อ 1. ใหม่

ระดับหนี้ต้องเป็นไปตามระดับรายได้ครับ

ถ้าครึ่งนึงของคนที่ต้องผ่อนเกิน 25% ของรายได้เป็น NPL ก็คงมีหลายแบงค์เป๋ไปแล้วครับ เพราะอะไร?
D/E ของธนาคารส่วนใหญ่เป็น 10-20 เท่า (equity 5-10%) มี asset เสียหายไปแค่ 2-3% equity ก็ลดฮวบแล้วครับ
ถ้าเสียหาย 5% มีบางแบงค์อาจเจ๊งถ้าเพิ่มทุนไม่ได้

ตอนนี้หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับต้องระวังแล้วครับ
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4254
ผู้ติดตาม: 1

Re: เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่องภาระหนี้สินของประชาชน

โพสต์ที่ 5

โพสต์

บัตรเครดิตสะดุ้ง"ตลาดล่าง"ส่งซิกเบรกช็อปปิ้ง บัตรเครดิตรับเทรนด์แรงซื้อแผ่ว
updated: 31 ก.ค. 2556 เวลา 23:24:31 น.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ชี้กลุ่มรายได้ต่ำเริ่มรัดเข็มขัด หมวดช็อปปิ้งชะลอ เซย์โนลูกค้ามีภาระหนี้สูงเกิน 50% ฉีกแนวสร้างแคมเปญลดภาระลูกค้า-จีบตลาดบน-สร้างฐานใหม่

นายฐากร ปิยะพันธ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด (กรุงศรี คอนซูเมอร์) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สถานการณ์ในธุรกิจบัตรเครดิตเวลานี้เริ่มเห็นสัญญาณว่าปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรในภาพรวมน่าจะได้รับผลกระทบในลักษณะเติบโตชะลอลง เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มระมัดระวังเกี่ยวกับการใช้จ่ายและกำลังซื้อก็อาจจะลดทอนลงไปจากการซื้อรถยนต์และที่อยู่อาศัยซึ่งเติบโตมากในช่วงที่ผ่านมา

"ปัจจัยเหล่านี้ก็คงกระทบต่อกำลังซื้อบ้างในบางเซ็กเมนต์ แต่กลุ่มใหญ่ที่มีรายได้เกิน 4 หมื่นบาทขึ้นไป ก็ยังใช้ตามปกติ เราก็คงโฟกัสในกลุ่มนี้มากขึ้น ซึ่งฐานลูกค้าส่วนใหญ่ของเราก็จะมีรายได้เฉลี่ย 3-4 หมื่นบาทขึ้นไปอยู่แล้ว"

ขณะที่การขยายฐานลูกค้าใหม่นั้น นายฐากรกล่าวว่า บริษัทยังคงพิจารณาสินเชื่ออย่างรัดกุม ซึ่งดูจากความสามารถจ่ายคืนเป็นหลัก โดยเฉลี่ยแล้วหากลูกค้ามีภาระหนี้ต่อรายได้สูงเกิน 50% ขึ้นไป บริษัทก็จะปฏิเสธสินเชื่อ ซึ่งเป็นกลยุทธ์การคุมคุณภาพหนี้ ส่วนค่าครองชีพที่ขยับสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ลูกค้ากลุ่มที่รายได้ไม่สูงก็จะไม่ผ่านการคัดกรองของระบบวิเคราะห์สินเชื่อโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว

ด้าน บมจ.บัตรกรุงไทย (เคทีซี) ซึ่งเปิดตัวแคมเปญไตรมาส 3 โดยเน้นที่การแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของลูกค้าลง ด้วยการให้ลูกค้านำคะแนนสะสมที่มีอยู่ออกมาใช้เป็นส่วนลด แลกรับสินค้า หรือแทนเงินสดก็ได้ในกว่า 3,000 ร้านค้าที่ร่วมรายการ ก็สอดคล้องกับภาพของแนวโน้มใช้จ่ายผ่านบัตรเริ่มเติบโตในอัตราลดลง โดยเฉพาะในหมวดช็อปปิ้งตามห้างสรรพสินค้า

ส่วนนางสาวอารยา ภู่พานิช ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ฐานลูกค้าบัตรเครดิตไทยพาณิชย์ส่วนใหญ่จะเป็นฐานลูกค้าระดับกลางบนของธนาคาร ทำให้ไม่ค่อยกังวลเรื่องคุณภาพสินเชื่อมากนัก เพราะลูกค้ากลุ่มนี้มักจะชำระคืนเต็มจำนวน

ขณะเดียวกันธนาคารก็เริ่มขยับมารุกตลาดลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ ผ่านบัตร UP2ME ซึ่งเน้นกลุ่มคนวัยเริ่มทำงาน แม้จะเป็นกลุ่มที่มีรายได้ไม่สูงมากอาจมีความเสี่ยงสูงกว่าตลาดเดิม แต่เป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับการขยายฐานลูกค้าใหม่ ๆที่ธนาคารยังมีกลุ่มนี้อยู่น้อย ก็ต้องพยายามคัดกรองลูกค้าและคุมคุณภาพหนี้ให้ได้ จึงตั้งเป้าลูกค้ากลุ่มนี้ไว้เพียง 5 หมื่นรายในปีนี้

http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1375276041
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
โพสต์โพสต์