Competitive Advancetage --> ADVANC, DTAC, TRUE
- wpong
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1356
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Competitive Advancetage --> ADVANC, DTAC, TRUE
โพสต์ที่ 61
ผมประเมินคร่าวๆตามนี้ ไม่แน่ใจว่าหยาบเกินไปหรือเปล่า
License 2100 Mhz = 14 พันล้านบาท ได้ใบอณุญาติ 15 ปีและจะเสียค่าใช้จ่าย 5.25 % ของรายได้
Whole Sale CAT 850 Mhz = ซื้อ Hutch 6.2 พันล้านบาท ได้คลื่น 850 มาใช้ 14.5 ปี และสถานีฐาน 1,400 สถานี เสียค่าใช้จ่าย 20 - 25% ของ BFKT เรียกเก็บ CAT
สมมติว่าถ้าค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บ CAT ประมาณ 40% ของรายได้ ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้ CAT ราว 8 - 10%
และถ้ามาดูว่าค่าใช้จ่ายด้ารสถานีฐาน ของคลืน 850 อยู่ประมาณ 1 ใน 3 ของคลื่น 2100 Mhz ผมว่าแบบ Whole Sale เป็นประโยชน์กับ True มากกว่าครับ
ปล.การใช้สถานีฐานที่น้อยกว่าของคลืี่น 850 Mhz จะไม่เป็นประโยชน์ในบริเวณที่มีการใช้รับส่งข้อมูลหนาแน่นมาก เพราะ Bandwidth จะไม่พอใช้ถ้า Coverage Area ใหญ่เกินไปครับ
ผิดถูกอย่างไรช่วยชี้แนะด้วยครับผม
License 2100 Mhz = 14 พันล้านบาท ได้ใบอณุญาติ 15 ปีและจะเสียค่าใช้จ่าย 5.25 % ของรายได้
Whole Sale CAT 850 Mhz = ซื้อ Hutch 6.2 พันล้านบาท ได้คลื่น 850 มาใช้ 14.5 ปี และสถานีฐาน 1,400 สถานี เสียค่าใช้จ่าย 20 - 25% ของ BFKT เรียกเก็บ CAT
สมมติว่าถ้าค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บ CAT ประมาณ 40% ของรายได้ ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้ CAT ราว 8 - 10%
และถ้ามาดูว่าค่าใช้จ่ายด้ารสถานีฐาน ของคลืน 850 อยู่ประมาณ 1 ใน 3 ของคลื่น 2100 Mhz ผมว่าแบบ Whole Sale เป็นประโยชน์กับ True มากกว่าครับ
ปล.การใช้สถานีฐานที่น้อยกว่าของคลืี่น 850 Mhz จะไม่เป็นประโยชน์ในบริเวณที่มีการใช้รับส่งข้อมูลหนาแน่นมาก เพราะ Bandwidth จะไม่พอใช้ถ้า Coverage Area ใหญ่เกินไปครับ
ผิดถูกอย่างไรช่วยชี้แนะด้วยครับผม
- anubist
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1373
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Competitive Advancetage --> ADVANC, DTAC, TRUE
โพสต์ที่ 63
ในพท.ลูกค้าหนาแน่นมากๆ จำนวนเสาที่850ใช้จะเท่ากับ2100ครับ เนื่องเพราะแบนด์วิธเท่ากันwpong เขียน:ปล.การใช้สถานีฐานที่น้อยกว่าของคลืี่น 850 Mhz จะไม่เป็นประโยชน์ในบริเวณที่มีการใช้รับส่งข้อมูลหนาแน่นมาก เพราะ Bandwidth จะไม่พอใช้ถ้า Coverage Area ใหญ่เกินไปครับ
ผิดถูกอย่างไรช่วยชี้แนะด้วยครับผม
เสาแต่ละต้นจะรองรับลูกค้าได้เท่ากัน ที่ต่างคือ850ทะลุทะลวงดีกว่าตามคุณสมบัติของคลื่น
เคยเจอข่าวสิงคโปร์จะมีสัญญาณหาย/อ่อนบางพท.เพราะตึกสูง(>26ชั้น)บังสัญญาณ
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 152
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Competitive Advancetage --> ADVANC, DTAC, TRUE
โพสต์ที่ 64
Coverage and Capacity
ปกติแล้ว สถานีโทรศัพท์มือถือ (Cell Site) ทั้ง 2G และ 3G ทั่วๆไป (Out-door Coverage) จะนิยม แบ่งการกระจายคลื่นออกจากยอดสถานี ออกเป็น 3 ทิศทาง ด้านละ 120 องศา (มองจากท้องฟ้า) ก็จะครบรอบตัวพอดี โดยแต่ละด้าน ก็จะเรียกว่า 1 เซล (1 Cell) แต่จริงๆแล้วแบบ 1, 2 หรือ 4 ด้านก็มีใช้ครับ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่นั้นๆ
Coverage area หรือพื้นที่ ที่คลื่นความถี่ส่งจากสถานีฐานออกไป ได้ไกลแค่ไหน โดยตัวแปรที่จะทำให้ส่งออกไปได้ไกลเท่าไรก็จะขึ้นอยู่กับ
1). ความแรงของคลื่นจากจุดกระจายคลื่น
2). สิ่งกีดขวางที่อยู่ระหว่างต้นทางกับปลายทาง (Path Loss)
3). ระยะห่างระหว่างต้นทางกับปลายทาง
หากเรานำความถี ย่าน 850-900Mhz มาเปรียนเทียบ กับ 1,800-2,100 Mhz ในที่นีเราขอเรียกว่าความถีต่ำกับความถีสูง ในกรณีที่ ข้อ 1 และ ข้อ3 เท่าๆกัน สิ่งที่แตกต่างกันคือข้อ 2 ดังนี้ ในพื้นที่นนอกเมืองความถี่สูงจะถูกดูดกลืนด้วยฝุ่นระอองในอากาศ และหรือใบไม้ มากกว่าความถี่ต่ำ คือหายไปกลางอากาศมากกว่า ส่วนในพื้นที่เมืองนั้น ความถี่สูงก็จะทะลุทะลวงคอนกรีต ตึกอาคารได้ดีกว่าความถี่ต่ำ นิดหน่อย พอสรุปได้ว่า นอกเมืองความถี่ต่ำส่งไกลกว่า ในเมืองในตึกความถี่สูงทะลุทะลวงกว่า
Capacity คือความสามารถในการรองรับ การโทรเข้าออก (Voice Call) และการใช้ Internet (Data) ต่อ 1 Coverage area (1 Cell )ไม่ว่าจะเป็นความถี่สูงหรือความถี่ต่ำ หากเทียบกันที่ Technology (2G หรือ 3G) เดียวกัน Capacity ก็จะแปรผันตรงกับ ความกว้างของแถบความถี่ (Bandwidth) เช่น Bandwidth 15Mhz ก็รองรับได้มากกว่า Bandwidth 10Mhz 1.5 เท่าโดยประมาณ
Frequency Re-use Technique ในพื้นที่ประชากรหนาแน่นมากเช่น สีลม เยาวราช สยาม ไม่ว่าความถี่สูงหรือต่ำ ซึ่งปรกติส่งไปได้ไกลมากกว่า 10 กิโลเมตร ก็จะถูกออกแบบให้ส่งได้เหลือเพียง 300-500 เมตร เท่านั้น โดยตัวแปรที่จะบอกว่าควรจะวางสถานีห่างกันแค่ไหนนั้นก็คือ Bandwidth นั่นเอง เพราะหาก Bandwidth น้อยกว่าก็รองรับได้น้อยกว่าจึงต้องทำ Cell ให้เล็ก ให้แบ่งกันใช้ในพื้นที่เล็กลงนั่นเอง การทำเซลให้เล็กลงแล้วนำชุดความถี่เดิมกลับมาใช้อีกเราเรียกว่า “Frequency Re-use Technique” โดยวิธีที่นิยมในการทำให้ Cell เล็กลงก็เช่น การลดกำลังส่งลง วางตัวกระจายคลื่น(Antenna) ให้ต่ำ และ ก้มลงไม่ให้ไปไกล
ปกติแล้ว สถานีโทรศัพท์มือถือ (Cell Site) ทั้ง 2G และ 3G ทั่วๆไป (Out-door Coverage) จะนิยม แบ่งการกระจายคลื่นออกจากยอดสถานี ออกเป็น 3 ทิศทาง ด้านละ 120 องศา (มองจากท้องฟ้า) ก็จะครบรอบตัวพอดี โดยแต่ละด้าน ก็จะเรียกว่า 1 เซล (1 Cell) แต่จริงๆแล้วแบบ 1, 2 หรือ 4 ด้านก็มีใช้ครับ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่นั้นๆ
Coverage area หรือพื้นที่ ที่คลื่นความถี่ส่งจากสถานีฐานออกไป ได้ไกลแค่ไหน โดยตัวแปรที่จะทำให้ส่งออกไปได้ไกลเท่าไรก็จะขึ้นอยู่กับ
1). ความแรงของคลื่นจากจุดกระจายคลื่น
2). สิ่งกีดขวางที่อยู่ระหว่างต้นทางกับปลายทาง (Path Loss)
3). ระยะห่างระหว่างต้นทางกับปลายทาง
หากเรานำความถี ย่าน 850-900Mhz มาเปรียนเทียบ กับ 1,800-2,100 Mhz ในที่นีเราขอเรียกว่าความถีต่ำกับความถีสูง ในกรณีที่ ข้อ 1 และ ข้อ3 เท่าๆกัน สิ่งที่แตกต่างกันคือข้อ 2 ดังนี้ ในพื้นที่นนอกเมืองความถี่สูงจะถูกดูดกลืนด้วยฝุ่นระอองในอากาศ และหรือใบไม้ มากกว่าความถี่ต่ำ คือหายไปกลางอากาศมากกว่า ส่วนในพื้นที่เมืองนั้น ความถี่สูงก็จะทะลุทะลวงคอนกรีต ตึกอาคารได้ดีกว่าความถี่ต่ำ นิดหน่อย พอสรุปได้ว่า นอกเมืองความถี่ต่ำส่งไกลกว่า ในเมืองในตึกความถี่สูงทะลุทะลวงกว่า
Capacity คือความสามารถในการรองรับ การโทรเข้าออก (Voice Call) และการใช้ Internet (Data) ต่อ 1 Coverage area (1 Cell )ไม่ว่าจะเป็นความถี่สูงหรือความถี่ต่ำ หากเทียบกันที่ Technology (2G หรือ 3G) เดียวกัน Capacity ก็จะแปรผันตรงกับ ความกว้างของแถบความถี่ (Bandwidth) เช่น Bandwidth 15Mhz ก็รองรับได้มากกว่า Bandwidth 10Mhz 1.5 เท่าโดยประมาณ
Frequency Re-use Technique ในพื้นที่ประชากรหนาแน่นมากเช่น สีลม เยาวราช สยาม ไม่ว่าความถี่สูงหรือต่ำ ซึ่งปรกติส่งไปได้ไกลมากกว่า 10 กิโลเมตร ก็จะถูกออกแบบให้ส่งได้เหลือเพียง 300-500 เมตร เท่านั้น โดยตัวแปรที่จะบอกว่าควรจะวางสถานีห่างกันแค่ไหนนั้นก็คือ Bandwidth นั่นเอง เพราะหาก Bandwidth น้อยกว่าก็รองรับได้น้อยกว่าจึงต้องทำ Cell ให้เล็ก ให้แบ่งกันใช้ในพื้นที่เล็กลงนั่นเอง การทำเซลให้เล็กลงแล้วนำชุดความถี่เดิมกลับมาใช้อีกเราเรียกว่า “Frequency Re-use Technique” โดยวิธีที่นิยมในการทำให้ Cell เล็กลงก็เช่น การลดกำลังส่งลง วางตัวกระจายคลื่น(Antenna) ให้ต่ำ และ ก้มลงไม่ให้ไปไกล
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 152
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Competitive Advancetage --> ADVANC, DTAC, TRUE
โพสต์ที่ 65
สรุปครับ
สำหรับ ค่ายมือถือที่มี Bandwidth กว้างกว่า (ไม่ว่าความถี่สูงหรือความถี่ต่ำ) ก็จะใช้งบลงทุนน้อยกว่าในเมือง และสำหรับค่ายที่มี ความถี่ต่ำ ก็จะใช้งบลงทุนน้อยกว่าใน พื้นที่ตจว.
สำหรับ ค่ายมือถือที่มี Bandwidth กว้างกว่า (ไม่ว่าความถี่สูงหรือความถี่ต่ำ) ก็จะใช้งบลงทุนน้อยกว่าในเมือง และสำหรับค่ายที่มี ความถี่ต่ำ ก็จะใช้งบลงทุนน้อยกว่าใน พื้นที่ตจว.
- Luty97
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1552
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Competitive Advancetage --> ADVANC, DTAC, TRUE
โพสต์ที่ 66
กำไรมันจะมาจากไหนแบบผิดหู ผิดตา ครับ ช่วยอธิบายหน่อย ผมไม่เข้าใจsanpat91 เขียน:กองทุน อินฟรา และ การลดพาร์
คือคำตอบ ของการวางแผนจ่ายปันผล ในปีหน้า ครับ
และ ย้ำว่า กำไรที่ออกมาจาก true online กับ true vision จะออกมาให้เห็นอย่างผิดหูผิดตา อย่างไม่น่าเชื่อ
และพอถึงจุดนั้น นักลงทุนก็ อ๋อ เข้าใจเกมเลย
และภาพต่างๆจะเปลี่ยนไป จากหน้ามือเป็นหลังมือ
หลักของความสมดุล
- wpong
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1356
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Competitive Advancetage --> ADVANC, DTAC, TRUE
โพสต์ที่ 67
เงื่อนไขของ Dtac ที่มีต่อ CAT คือต้องใช้ 25 Mhz แรกให้เต็มก่อน ถึงจะใช้อีก 25 Mhz ที่เหลือได้ครับIamYou เขียน:อย่าเชื่อสิ่งที่เห็นมากไปครับ .. จริง ๆ แล้ว Bandwidth 50 MHz @ 1800 MHz .. DTAC เอามาใช้จริงได้เพียง 25 MHz นะครับ ที่เหลือเอามาใช้ไม่ได้ติดปัญหากับทาง CAT .. ดังนั้น DTAC ก้อไม่ได้มี Bandwidth ที่ใช้งานได้จริง มากกว่าเจ้าอื่นเท่าไหร่หรอกครับwpong เขียน:ในช่วงแรกจากนี้จนถึง 2018 DTAC จะมี Bandwidth พร้อมใช้งานมากที่สุด แต่หลังจาก 2018 True จะมี Bandwidth ให้ใช้งานมากที่สุด
นับเฉพาะ Bandwith ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้แล้วเท่านั้นนะครับ
อีกอย่าง การดูแค่ขนาดของ Bandwidth มันหยาบเกินไปนะครับ ต้องดูจำนวนลูกค้าด้วยว่ามีเท่าไหร่ และต้องดูจำนวนสถานีฐานด้วยว่ามีเท่าไหร่ ครับ
แต่ก็คาดว่า 25 Mhz ที่เหลือคงไม่ได้ใช้แล้วหละครับ เวลาสัมปทานมันเหลือน้อยจนน่าจะไม่คุ้มค่าการลงทุนแล้วหละครับ
เรื่องดูจำนวนลูกค้า เราจะต้องให้ความสำคัญกับจำนวนลูกค้าที่อยู่ในคลื่นที่กำลังจะหมดสัมปทาน เท่ากับลูกค้าบนระบบ license กะ Wholesale ที่ยังเหลืออีกนานใหมครับ
ส่วนเรื่องสถานีฐานของแบบสัมปทาน หลังจากหมดสัมปทานมันก็จะกลายเป็นของ CAT กะ TOT แล้วนี่ครับ
มาดูว่าใครจะได้ประโยชน์จากสถานีฐานของ CAT หลังจากหมดสัญญาสัมปทาน เดือนหน้าไม่ดีกว่าเหรอครับ