หุ้นคิดในใจ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 531
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นคิดในใจ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

อยากให้เพื่อนๆมาแชร์ วิจารณ์ มุมมองเรื่องหุ้น
เป็นบทความสั้นๆ หรือจากประสบการณ์ (มีเหตุผลและหลักการณ์ประกอบ)
เพื่อเปิดมุมมองและเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในการลงทุนให้เพิ่มขึ้นๆคับ

และก็ขอให้ผู้อ่านตรวจสอบเหตุผลและความถูกต้อง รวมถึงข้อมูลข้อเท็จจริงต่างๆ
เนื่องจากเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนท่านต่างๆ ซึ่งอาจตกหล่นในบางประเด็น


การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน



การดู p/e ตลาดว่าถูกหรือแพง

ให้ใช้ p/e บวกกับอัตราเงินเฟ้อ ถ้าเกิน 18-20 ถือว่าแพง
(เพราะผลตอบแทนที่แท้จริงต้องรวมอัตราเงินเฟ้อไปด้วย)
ซึ่งถ้า p/e 18-20 แล้วยิลต์จากค่า e/p จะได้ 5-5.6% ซึงเมื่อนำมา
เทียบกับผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวสิบปี (4-5%) กับผลตอบแทน
ระยะยาวของหุ้นไม่รวมปันผล (6-7%) ประกอบกับความเสี่ยงในการ
ลงทุนแล้วถือว่าใกล้เคียงเกินไป (1-2%) ทำให้ไม่คุ้มกับการลงทุนใน
หุ้นถึงแม้หุ้นจะมีปันผลให้ (2-3%) แต่มีโอกาสที่มูลค่าหุ้นจะผันผวน
กว่านั้นมากและลดลงสู่พื้นฐานที่ควรจะเป็นทำให้เราขาดทุนได้
มากกว่าการรับปันผล เช่น Set ที่ผ่านมาตอน p/e 18 เท่า 1650 จุด
ถ้าคิด p/e บวกเงินเฟ้อ 2.5-3% ก็จะได้ p/e 20.5-21 เท่า ซึ่งนับว่า
แพงและมีความเสี่ยงมาก



ระยะเวลาการลดลงของดัชนีหุ้น

โดยปกติตามสถิติระยะยาว (ตลาดหุ้นอเมริกา) ตลาดจะปรับฐานลงลง
ได้ตั้งแต่ 10-20% เพราะฉะนั้นเราควรเผื่อ MoS ไว้ไม่ต่ำกว่า 20-30%
ส่วนช่วงเวลาที่เกิดวิกฤติต่างๆก็อาจจะลดลงมากถึง 40-50% เลยทีเดียว

และส่วนใหญ่ตามสถิติระยะยาว (ตลาดหุ้อเมริกา)
ถ้าปรับฐานในภาวะปกติก็จะประมาณ 2 สัปดาห์ (5-10%)
ถ้าปรับฐานในภาวะไม่แน่นอนจะประมาณ 2 เดือน (10-20%)
ถ้าในภาวะวิกฤติ อาจกินเวลาถึง 2 ปี (40-50%)

(เป็นข้อสังเกตุ ลองดูผลรายงานการวิจัยต่างๆ แล้วลองเทียบ
อัตราการลดลงของตลาด และระยะเวลาการฟื้นตัวดู)



ผลตอบแทนที่คาดหวังจาก Gordon Growth Model

ผลตอบแทนปันผลที่กำลังจะได้รับในงวดหน้า
บวกกับการเติบโตของเงินปันผลในอนาคตระยะยาว (ตลอดไป)
เช่น กิจการจ่ายปันผล 5% และมีการเติบโต 10%
ในระยะยาวสิบปีขึ้นไป ซึ่งกำไรและปันผลน่าจะโตได้ปีละ 10%
ผลตอบแทนคาดหวังจะประมาณ 15% หรือถ้ากิจการจ่ายปันผล 10%
แต่ไม่มีการเติบโตเลยก็ได้ผลตอบแทนคาดหวัง 10%

ถ้าเราคาดหวังผลตอบแทน 15% ก็ควรหาหุ้นที่จะเติบโตได้ตามนั้น
แต่เราก็ไม่สามารถมั่นใจได้ว่าบริษัทจะเติบโตตามนั้น เราจึงต้อง
ซื้อหุ้นหลายตัวประกอบกันเป็นพอร์ตโฟลิโอ ที่คาดว่าจะมีการเติบโต
ตามที่เราคาดไว้ เพราะบางทีอาจมีบางตัวดีกว่าที่เราคาด และบางตัว
แย่กว่าที่เราคาด


เราอาจใช้หลักง่ายๆในการบริหารพอร์ต คือ เร็ว ช้า หนัก เบา เพิ่ม ลด

เร็ว เมื่อมีโอกาสทอง เช่น เกิดเหตุการณ์พิเศษกระทบราคาหุ้นอย่าง
แรงแต่พื้นฐานหุ้นไม่ได้เปลี่ยน เราควรตัดสินใจทันที (ถ้าเรามีข้อมูล
เพียงพอ) เพราะราคาหุ้นอาจจะต่ำลงอย่างรวดเร็วจนคุ้มค่าในการลงทุน
และน่าจะฟื้นกลับมาได้ (อย่างช้าหรือเร็วก็ตาม) ซึ่งทำให้เราได้ผล
ตอบแทนที่ดีในอนาคต เช่น ตอนมาตรการณ์กันสำรอง 30%

ช้า ตอนที่เกิดภาวะไม่ปกติต่างๆ เช่น ตลาดหุ้นหรือตัวหุ้นมี p/e สูง
เกินไป หรือต่ำเกินไป หรือตัวอุตสาหกรรมและธุรกิจมีความไม่แน่นอน
เพราะปัจจัยต่าง ช่วงนี้จะมีความเสี่ยงมากกว่าปกติ ให้เราใจเย็นๆรวบ
รวมข้อมูล สมมติฐานต่างๆ ไปก่อนการตัดสินใจลงทุน

หนัก เมื่อเรามั่นใจคุณภาพและมูลค่าของกิจการว่าจะเติบโต และเรา
สามารถซื้อหุ้นได้ในราคาต่ำ ก็ลงทุนมากขึ้นได้

เบา เมื่อเราไม่มั่นใจว่าหุ้นที่เราซื้อมีระดับราคาที่มี MoS เพียงพอ แต่
ตัวธุรกิจและอนาคตดูน่าสนใจ ก็อาจจะทะยอยซื้อทีละน้อยไปก่อนได้

เพิ่ม เมื่อหุ้นที่เรามีอยู่ มีอนาคตที่สดใสขึ้น หรือเมื่อราคาตกต่ำเกิน
เหตุผลที่เหมาะสม

ลด เมื่อหุ้นที่เรามีอยู่ มีภาวะเสี่ยงเพิ่มขึ้น หรือกิจการถดถอยลง เรา
ควรลดการถือครอง หรือขายไปบางส่วน หรือทั้งหมด เพื่อนำเงินลง
ทุนไปเพิ่มให้กับหุ้นที่ดูดีมีอนาคตกว่า
Money Maker
Verified User
โพสต์: 73
ผู้ติดตาม: 0

Re: หุ้นคิดในใจ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เห็นด้วยหลายประเด็นยกเว้นเรื่อง P/E

จากสถิติของ SET ที่ผ่านมาหลังต้มยำกุ้ง P/E ตลาดจะอยู่เฉลี่ย 12 เท่า+/- เท่านั้น เท่าที่สังเกตดูพอตลาดไปแตะ P/E 15-16 เท่าก็มักจะลง
ยกเว้นก็แต่ปีนี้เองที่ตลาดไปแตะ P/E 17-18 เท่า ไม่ต้องไปพูดเลยว่ามีหุ้น P/E 30-50 เท่าที่ไม่ใช่หุ้นปั่นเกลื่อนตลาด ขณะที่หุ้น Mkt cap ใหญ่อย่างกลุ่ม PTT ที่มีน้ำหนักที่สุดใน SET มี P/E อยู่ราว 8-9 เท่าและไม่ขยับขึ้นตามตลาดเท่าไหร่ ดังนั้น สมมติว่า PTT ไม่ laggard มากนัก P/E ขยายไปถึงสัก 12 เท่า (ซึ่งก็ไม่ได้แพงไป) P/E ของ SET จะ 2x เท่าแน่นอน

ถามว่าพื้นฐานเศรษฐกิจของไทยตอนช่วงนี้หรืออีก 5-10 ปีข้างหน้า สามารถให้การเติบโตเท่ากับ 10 ปีที่ผ่านมาหรือไม่ ให้เดาก็คงตอบว่าไม่ เพราะการหดตัวจากต้มยำกุ้งรุนแรงมาก ทำให้การฟื้นตัวหลังจากนั้นค่อนข้างแรง ดังนั้น หากช่วงก่อนนั้น P/E range อยู่ราวๆ 10-16 เท่า ตอนนี้ก็ควรต่ำกว่า

ความคิดเห็นส่วนตัวของผม P/E ตลาดที่เกินกว่า 14 เท่าก็แพงแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 531
ผู้ติดตาม: 0

Re: หุ้นคิดในใจ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

Money Maker เขียน:เห็นด้วยหลายประเด็นยกเว้นเรื่อง P/E

จากสถิติของ SET ที่ผ่านมาหลังต้มยำกุ้ง P/E ตลาดจะอยู่เฉลี่ย 12 เท่า+/- เท่านั้น เท่าที่สังเกตดูพอตลาดไปแตะ P/E 15-16 เท่าก็มักจะลง
ยกเว้นก็แต่ปีนี้เองที่ตลาดไปแตะ P/E 17-18 เท่า ไม่ต้องไปพูดเลยว่ามีหุ้น P/E 30-50 เท่าที่ไม่ใช่หุ้นปั่นเกลื่อนตลาด ขณะที่หุ้น Mkt cap ใหญ่อย่างกลุ่ม PTT ที่มีน้ำหนักที่สุดใน SET มี P/E อยู่ราว 8-9 เท่าและไม่ขยับขึ้นตามตลาดเท่าไหร่ ดังนั้น สมมติว่า PTT ไม่ laggard มากนัก P/E ขยายไปถึงสัก 12 เท่า (ซึ่งก็ไม่ได้แพงไป) P/E ของ SET จะ 2x เท่าแน่นอน

ถามว่าพื้นฐานเศรษฐกิจของไทยตอนช่วงนี้หรืออีก 5-10 ปีข้างหน้า สามารถให้การเติบโตเท่ากับ 10 ปีที่ผ่านมาหรือไม่ ให้เดาก็คงตอบว่าไม่ เพราะการหดตัวจากต้มยำกุ้งรุนแรงมาก ทำให้การฟื้นตัวหลังจากนั้นค่อนข้างแรง ดังนั้น หากช่วงก่อนนั้น P/E range อยู่ราวๆ 10-16 เท่า ตอนนี้ก็ควรต่ำกว่า

ความคิดเห็นส่วนตัวของผม P/E ตลาดที่เกินกว่า 14 เท่าก็แพงแล้ว
ใช่แล้วคับ ถ้า p/e ตลาด 14-15 เท่า บวกด้วยอัตราเงินเฟ้อบ้านเราตามเป้าหมายของ ธปท. ไม่เกิน 3%
ก็รวมกันได้เป็นประมาณ p/e 17-18 เท่า ก็แพงแล้วละคับถ้าเทียบกับการเติบโตของเศรษฐกิจบ้านเรา
ก็คงต้องมาดูหุ้นต่อเป็นรายตัว ถึงแม้ VI จะลงทุนโดยดูหุ้นเป็นรายตัว แต่ก็อย่างน้อย
เราจะได้รู้ระดับความเสี่ยงไว้ก่อน

SET ช่วงที่ผ่านมา p/e 18 เท่า ถ้าบวกอัตราเงินเฟ้อ ก็เกิน 20 เท่าแล้ว แต่นักวิเคราะห์ก็ยังบอกไม่แพง ตาบอดจริงๆ
และสุดท้ายก็ไม่สามารถคงระดับไว้ได้ ถ้านักลงทุนใส่ใจซะหน่อย ก็จะไม่เสียหายมาก
ผมเป็นห่วงนักลงทุนหน้าใหม่ๆ ที่เข้าตลาดพร้อมความฝันสวยหรู

เมื่อเก้าอี้ดนตรีหยุดลง คนที่ได้นั่งเป็นใครกัน?
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 531
ผู้ติดตาม: 0

Re: หุ้นคิดในใจ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ASP ฟันธงแรงขายฝรั่งช่วงสั้นหมดไปแล้ว

บล.เอเซีย พลัส(ASP) ประเมินว่า ผลจากการดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายของกลุ่มประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ของโลก เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน ส่งผลให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจโลก เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และทำให้เม็ดเงินลงทุนบางส่วนถูกขับเคลื่อนเข้าไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะตลาดหุ้นไทย นับตั้งแต่ปี 2552 จนถึง 18 มี.ค..2556 พบว่านักลงทุนต่างชาติมีมูลค่าซื้อสุทธิสะสมรวมประมาณ 1.96 แสนล้านบาท และมีต้นทุนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่ SET Index 1,033 จุด และหากคิดเป็นมูลค่าตลาดในช่วงเวลาดังกล่าวพบว่ามียอดสูงสุดถึง 3.2 แสนล้านบาท หลังจากนั้นได้เกิดแรงขายทำกำไรออกมา และกดดันทำให้ SET Index ปรับลดลงจาก 18 มี.ค.2556 จนถึงปัจจุบัน 18.79% จนล่าสุดทำให้มูลค่าเงินลงทุนตามราคาตลาดของเม็ดเงินก้อนดังกล่าวปรับลดลงมาเหลือเพียง 1.5 แสนล้านบาท หรือลดลง 53.37% แยกได้เป็นการปรับลดลงจาก SET Index 18.79% และลดลงจากการขายออกมา 34.58% จึงทำให้คาดว่าแรงขายในระยะสั้นน่าจะหมดไปแล้ว

อย่างไรก็ตามหากมองภาพใหญ่ เชื่อว่ายังมีแรงขายต่างชาติต่อเนื่อง ภายใต้สมมุติฐานเลวร้ายสุด คือ จะมีแรงขายออกมาประมาณ 2 ใน 3 ของมูลค่าเม็ดเงินลงทุนสูงสุดที่ 3.2 แสนล้านบาท หรือ คงเหลือมูลค่าเพียง 1 ใน 3 ก็อาจเห็นการปรับลดลงของมูลค่าเงินลงทุนอีกประมาณ 6.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งเกิดจากทั้งแรงขายที่มีออกมา และการปรับตัวลดลงของ SET Index คาดว่าน่าจะเห็นแรงขายสุทธิออกมาอีกประมาณ 4.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้ SET Index ปรับลดลงอีกไม่เกิน 65 จุด โดยการศึกษาในเชิงสถิติพบว่า ทุกๆ แรงขาย 1 พันล้านบาท จะทำให้ SET Index ลดลง 1.6 จุด ซึ่งหากเป็นไปตามที่คาดหมายก็ไม่น่าที่จะทำให้ SET Index ในรอบนี้ปรับตัวลดลงไปต่ำกว่า 1,200 จุด อย่างไรก็ตามกรณีนี้คาดว่าเกิดขึ้นยากมาก
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 531
ผู้ติดตาม: 0

Re: หุ้นคิดในใจ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

สัดส่วนการลงทุนในโครงการ 2 ล้านล้านบาท

รถไฟความเร็วสูง, 783,230 ,39%
รถไฟฟ้า, 472,448 , 24%
รถไฟทางคู่, 403,214 , 20%
อื่น ๆ, 65,719 , 3%
มอเตอร์เวย์, 91,820 , 5%
ถนน 4 ช่อง,สะพานข้าม
รถไฟ,ถนนเชื่อมประตูการค้า, 183,569 , 9%
ที่มา: กระทรวงคมนาคม


โครงการลงทุนเพื่อโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท มีสัดส่วนการลงทุนส่วนใหญ่เป็นรถไฟความเร็วสูง 39%
และรถไฟฟ้า 24% ซึ่งมีการวางแผนเส้นทางไว้ครบถ้วนแล้ว และเตรียมการเปิดประมูลได้ภายในปีงบประมาณ
2557 (เริ่ม 1 ต.ค.56) เป็นส่วนใหญ่


กระทรวงคมนาคมระบุเป้าหมายการลงทุน ไว้ดังนี้

1) ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ลดลงจากปัจจุบันไม่น้อยกว่า 2% (ปัจจุบัน 15.2%)

2) สัดส่วนผู้เดินทางระหว่างจังหวัดโดยรถยนต์ส่วนบุคคลลดลงจาก 59% เหลือ 40%

3) ความเร็วเฉลี่ยของรถไฟขนส่งสินค้า เพิ่มขึ้นจาก 39 กม./ชม. เป็น
60 กม./ชม. และขบวนรถโดยสาร เพิ่มขึ้นจาก 60 กม./ชม. เป็น 100 กม./ชม.

4) สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางรางเพิ่มขึ้นจาก 2.5% เป็น 5%

5) สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางน้าเพิ่มขึ้นจาก 12% เป็น 18%

6) ลดความสูญเสียจากน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาท/ปี

7) สัดส่วนการเดินทางรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 5% เป็น 30%

8) ปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านเข้า-ออก ณ ด่านการค้าชายแดนที่สาคัญ เพิ่มขึ้น 5%

9) ปริมาณผู้โดยสารทางรถไฟเพิ่มขึ้นจาก 45 ล้านคนเที่ยว/ปี เป็น 75 ล้านเที่ยว/ปี

10) ลดระยะเวลาการเดินทางจาก กทม. ไปยังเมืองภูมิภาค ด้วยรถไฟความเร็วสูงภายในรัศมี 300 ก.ม.
รอบกรุงเทพมหานคร ในระยะเวลาไม่เกิน 90 นาที จากเดิมที่ใช้ระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ 3 ชั่วโมง
โพสต์โพสต์