หลีกเลี่ยงหายนะจากวิกฤติตลาดหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1827
- ผู้ติดตาม: 1
หลีกเลี่ยงหายนะจากวิกฤติตลาดหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
โลกในมุมมองของ Value Investor 15 กันยายน 2556
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
หลีกเลี่ยงหายนะจากวิกฤติตลาดหุ้น
สิ่งที่ผมกลัวมากที่สุดอย่างหนึ่งในการลงทุนในตลาดหุ้นก็คือ “วิกฤติตลาดหุ้น” เพราะวิกฤติทำให้หุ้นตกลงมามาก ผมเองนิยามว่าถ้าดัชนีตลาดลดลงตั้งแต่ประมาณ 40% ขึ้นไปภายในระยะเวลาหนึ่งปี แบบนี้ผมถือว่าเป็นวิกฤติ และถ้าเราถือหุ้นไว้เต็มพอร์ต เราก็อาจจะขาดทุนหลายสิบเปอร์เซ็นต์ได้ทั้ง ๆ ที่หุ้นที่เราถืออยู่อาจจะมีพื้นฐานและผลประกอบการที่ยังดีอยู่ อย่างไรก็ตาม บางครั้งวิกฤติตลาดหุ้นก็ฉุดให้พื้นฐานของบริษัทเปลี่ยนแปลงไปและการขาดทุนของเราก็อาจจะหนักจนแทบจะเป็น “หายนะ” ดังนั้น หน้าที่หลักอย่างหนึ่งที่สำคัญมากสำหรับผมก็คือ การพยายามหลีกเลี่ยง “หายนะ” ซึ่งรวมถึงหายนะจากภาวะตลาดหุ้น ว่าที่จริง ถ้านักลงทุนสามารถหลีกเลี่ยงวิกฤติตลาดหุ้นได้แล้วละก็ ผมคิดว่าเขาแทบจะไม่ต้องเลือกหุ้นเก่งกาจอะไรเลย แค่ซื้อกองทุนรวมหุ้น ถือไว้ แล้วก็ขายหน่วยลงทุนทิ้งเมื่อเห็นว่าตลาดหุ้นจะวิกฤติในระยะประมาณหนึ่งปีข้างหน้า ทำได้แบบนี้ผลตอบแทนของเขาก็จะดีมากในระดับ “เซียน” ผมลองศึกษาคร่าว ๆ ดูถึงผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้นว่าถ้าเราสามารถเลี่ยงหายนะที่เกิดจากวิกฤติตลาดหุ้นตั้งแต่เปิดตลาดมาจนถึงปัจจุบัน ผลตอบแทนของเราจะเป็นอย่างไร?
เริ่มตั้งแต่เปิดตลาดหลักทรัพย์ในเดือนเมษายน 2518 จนถึงสิ้นปี 2521 เป็นเวลาประมาณ 3 ปีแปดเดือนนั้น ดัชนีตลาดเพิ่มขึ้นจาก 100 จุดเป็นประมาณ 258 จุด หรือเป็นการเพิ่มขึ้นประมาณ 160% เท่ากับผลตอบแทนทบต้นปีละประมาณ 29.5% ซึ่งถือว่าเป็นช่วงที่หุ้นบูมอย่างหนักโดยเฉพาะในช่วงปี 2520 ถึง 2521 ส่วนหนึ่งจากการปั่นหุ้นและการใช้เงินกู้จากบริษัทเงินทุนบางแห่งเช่นราชาเงินทุนมาซื้อหุ้นของตนเองดันให้ราคาหุ้นขึ้นไปสูงเกินพื้นฐานไปมากในช่วงที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายควบคุมธุรกิจหลักทรัพย์ ในช่วงปลายปี 2521 นั้น ถ้านักลงทุนตระหนักว่าตลาดหุ้นกำลังก้าวเข้าสู่วิกฤติและขายหุ้นออกไปหมด เขาก็จะหลีกเลี่ยงความเสียหายที่เกิดจากวิกฤติตลาดหุ้นในปี 2522 ที่ดัชนีตลาดหุ้นตกลงมาประมาณ 42% เหลือเพียง 149 จุดในตอนสิ้นปีได้ ในช่วงเกือบ 4 ปีแรกของตลาดหุ้นนั้นเรายังไม่มีกองทุนรวมให้ลงทุนแต่นักลงทุนที่ลงทุนในช่วงนั้นต่างก็ได้กำไรกันโดยไม่ต้องเลือกหุ้น เขาเพียงแต่อยู่ในตลาดก็พอแล้ว
สมมุติว่าหลังจากปีวิกฤติ 2522 นักลงทุนนำเงินกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นใหม่ในตอนสิ้นปี 2522 หรือต้นปี 2523 ที่ดัชนี 149 จุด และเขาก็ถือมันไปเรื่อย ๆ ตราบที่ยังไม่มีสัญญาณวิกฤติรอบใหม่แม้ว่าในช่วงปีแรก ๆ ตลาดหุ้นจะซบเซามาก ดัชนีตลาดหุ้นแทบจะไม่ขยับเลยเป็นเวลาติดต่อกันประมาณ 6 ปี แต่หลังจากนั้นหุ้นก็ทะยานขึ้นในปี 2529 และพุ่งขึ้นอย่างแรงในปี 2530 ตามตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากจนถึงเดือนตุลาคมที่เกิดเหตุการณ์ Black Monday ที่ตลาดหุ้นถล่มทะลายทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์แบล็กมันเดย์นั้น ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับตลาดหุ้นหรือเศรษฐกิจไทยเลย ตลาดไทยเองก็ยังเป็นตลาดปิดที่ต่างชาติไม่สามารถลงทุนได้ ตลาดตกลงมาสั้นมากไม่กี่เดือนก็ปรับขึ้นไปใหม่ และผมคิดว่าหุ้นไทยน่าจะตกไม่ถึง 40% ไม่ถือว่าเป็นวิกฤติตลาดหุ้น ดังนั้นเราก็ถือหุ้นต่อไปจนถึงสิ้นปี 2532 ที่ดัชนีปรับขึ้นไปเป็น 770 จุด เราตัดสินใจขายหุ้นไปเพราะเราเชื่อว่าตลาดหุ้นจะเกิดวิกฤติหลังจากที่มันปรับตัวขึ้นไปเกือบ 100% ตั้งแต่ต้นปี 2532 ผลตอบแทนที่เราได้คือประมาณ 17.9% ทบต้นเป็นเวลาถึง 10 ปี
ตลาดหุ้นไทยวิกฤติและตกลงมาถึงเกือบ 50% ในช่วงปี 2533 ผลจากการที่อิรักเข้ายึดคูเวตซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันสำคัญของโลก พอถึงสิ้นปี 2533 เราก็เริ่มกลับเข้าไปลงทุนที่ดัชนี 613 จุด ในช่วงต้น ๆ เราก็ประสบกับปัญหาทางการเมืองมากมายเช่นการปฏิวัติและเหตุการณ์พฤษภาทมิฬในปี 2535 อย่างไรก็ตามเราไม่คิดว่ามันจะกระทบกับตลาดหุ้นมากมายอะไร แต่ข้อดีหลังจากนั้นก็คือ ประเทศไทยหลังจากนั้นเราได้นายกที่มาจากการเลือกตั้งที่เน้นทางด้านของการพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้เศรษฐกิจเฟื่องฟูอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นเป็นปีละกว่า 10% ติดต่อกันถึง 3 ปี ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นเป็น “ฟองสบู่” เช่นเดียวกับดัชนีหุ้นที่ปรับเพิ่มขึ้นไปสูงสุดถึง 1750 กว่าจุดในปี 2537 แต่เราก็ยังไม่ขายเนื่องจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจก็ยังดีอยู่มากประมาณไม่ต่ำกว่า 7-8% ต่อปี อานิสงค์จากการลงทุนของเอกชนที่กู้เงินต่างประเทศเข้ามามากมาย อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นเริ่มปรับตัวลงมา 25- 30% ในช่วงปี 2537-2538 พอถึงสิ้นปี 2538 เราก็เริ่มเห็นว่าเศรษฐกิจไทยไม่น่าจะไปต่อได้เนื่องจากการขาดดุลการค้าที่สูงมาก สินค้าส่งออกของไทยไม่สามารถแข่งขันได้เนื่องจากค่าเงินบาทที่ถูกผูกติดกับเงินดอลลาร์ เราจึงขายหุ้นไปที่ดัชนี 1281 จุด เพื่อเลี่ยงภาวะวิกฤติ ผลตอบแทนที่ได้คือ 15.9% ต่อปีแบบทบต้นในเวลา 5 ปี
ในปี 2539 และ 2540 เศรษฐกิจไทยเกิดวิกฤติครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศ เงินสำรองของประเทศหมดและเราต้องเข้าขอความช่วยเหลือจาก IMF ต้องบอกว่าเรา “ล้มละลาย” ผลจากการใช้เงินเกินตัวของภาคธุรกิจเอกชนและความผิดพลาดของหน่วยงานการเงินของรัฐโดยเฉพาะแบงค์ชาติ ปี 2539 ดัชนีตกลงไปจากจุดสูงสุดประมาณ 41% ปี 2540 ที่มีการประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ดัชนีตกลงไปอีก 55% พอถึงสิ้นปี เราตัดสินใจเข้าไปลงทุนในหุ้นอีกครั้งที่ดัชนี 373 จุด ภายในเวลา 2 ปี หุ้นฟื้นขึ้นมาเป็น 482 จุด แต่เราก็รู้สึกว่าปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะระบบสถาบันการเงินยังไม่สามารถแก้ไขได้ เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงจากหายนะ เราจึงขายไปได้ผลตอบแทน 13.7% ทบต้น วิกฤติตลาดหุ้นเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนตัวลงในปี 2543 ทำให้ดัชนีลดลงจาก 482 เป็น 269 เมื่อสิ้นปี 2543 เป็นการลดลงถึง 44% และเช่นเคย เราคิดว่าเป็นโอกาสที่จะลงทุนในยามที่สถานการณ์เลวร้ายที่สุด
เริ่มต้นจากปี 2544 ดูเหมือนว่าเศรษฐกิจไทยจะค่อย ๆ ฟื้นตัว การแก้ปัญหาของบริษัทต่าง ๆ และสถาบันการเงินคืบหน้าไปเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับตลาดหุ้นที่ค่อย ๆ ปรับตัวขึ้น พอถึงปี 2546 ไทยก็ประกาศใช้หนี้คืน IMF ก่อนกำหนด ทุกอย่างดูสดใสทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองที่มีความมั่นคงเนื่องจากเราได้รัฐบาลที่มีเสียงสนับสนุนสูง ดัชนีในปีนั้นปรับขึ้นไปถึง 117% แต่หลังจากนั้นเพียง 2-3 ปี ประเทศไทยก็เกิดปัญหาการชุมนุมประท้วงเรียกร้องทางการเมืองอย่างรุนแรงซึ่งนำไปสู่การรัฐประหารในปี 2549 อย่างไรก็ตาม หุ้นก็ไม่ได้ถูกกระทบอะไรมากนักเช่นเดียวกับทุกครั้งจนมาถึงปี 2551 ที่เกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในสหรัฐและลามไปทั่วโลกทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยตกลงมา 47.5% แต่นี่เป็นเรื่องที่เราไม่สามารถคาดได้แน่เนื่องจากพื้นฐานเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยไม่ได้มีปัญหาอะไร ราคาหุ้นเองก็ไม่แพงเลย ดังนั้น เราไม่ได้ขายหุ้นเลยและยังคงถือมาตลอดจนถึงวันนี้ที่ดัชนีประมาณ 1400 จุด คิดเป็นผลตอบแทนทบต้นประมาณ 13.9% ในช่วงเวลา 12 ปี 8 เดือน นับเป็นผลตอบแทนของตลาดที่ดีเยี่ยมยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของตลาดหุ้นไทย
จาก “ตุ๊กตา” ที่ผมตั้งขึ้นว่าเราสามารถหลีกเลี่ยงหายนะส่วนใหญ่ของวิกฤติตลาดหุ้นได้ ถ้านำภาพเหล่านั้นมาต่อกัน ก็คำนวณได้ว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนจะได้ผลตอบแทนทบต้นสูงถึงประมาณ 17% ต่อปี เป็นเวลาลงทุนประมาณ 33 ปี เงินต้น 100 บาทจะกลายเป็น 19,500 บาท ถ้าคิดรวมปันผลปีละประมาณ 3% ต่อปี จะได้ว่าผลตอบแทนต่อปีแบบทบต้นเท่ากับ 20% เงิน 100 บาทจะกลายเป็นประมาณ 43,000 บาท หรือโตขึ้น 430เท่า ในเวลาประมาณ 33 ปี โดยไม่ต้องเลือกหุ้นลงทุนเลย
ในชีวิตจริงคงไม่ง่ายที่จะหลีกเลี่ยงจากหายนะของวิกฤติตลาดหุ้นได้ง่ายนัก อย่างไรก็ตาม สำหรับนักลงทุน โดยเฉพาะคนที่เลือกจะเป็นนักลงทุนผู้มุ่งมั่นที่จะเลือกหุ้นเองนั้น หัวใจสำคัญอย่างหนึ่งที่เรามักจะไม่ค่อยพูดถึงก็คือ การหลีกเลี่ยงหายนะจากการลงทุน โดยเฉพาะจากวิกฤติตลาดหุ้น เพราะเรา “ไม่สามารถคาดการณ์ตลาด” ได้ อย่างไรก็ตาม การตระหนักว่านี่คือความเสี่ยงจะช่วยให้เราเลือกการลงทุนได้ดีขึ้น นั่นก็คือ หากเกิดวิกฤติตลาดหุ้นขึ้น พอร์ตของเราจะเป็นอย่างไร? หายนะตามตลาดหรือไม่? ถ้าใช่ เราก็อาจจะต้องเปลี่ยนตัวหุ้นลงทุน
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
หลีกเลี่ยงหายนะจากวิกฤติตลาดหุ้น
สิ่งที่ผมกลัวมากที่สุดอย่างหนึ่งในการลงทุนในตลาดหุ้นก็คือ “วิกฤติตลาดหุ้น” เพราะวิกฤติทำให้หุ้นตกลงมามาก ผมเองนิยามว่าถ้าดัชนีตลาดลดลงตั้งแต่ประมาณ 40% ขึ้นไปภายในระยะเวลาหนึ่งปี แบบนี้ผมถือว่าเป็นวิกฤติ และถ้าเราถือหุ้นไว้เต็มพอร์ต เราก็อาจจะขาดทุนหลายสิบเปอร์เซ็นต์ได้ทั้ง ๆ ที่หุ้นที่เราถืออยู่อาจจะมีพื้นฐานและผลประกอบการที่ยังดีอยู่ อย่างไรก็ตาม บางครั้งวิกฤติตลาดหุ้นก็ฉุดให้พื้นฐานของบริษัทเปลี่ยนแปลงไปและการขาดทุนของเราก็อาจจะหนักจนแทบจะเป็น “หายนะ” ดังนั้น หน้าที่หลักอย่างหนึ่งที่สำคัญมากสำหรับผมก็คือ การพยายามหลีกเลี่ยง “หายนะ” ซึ่งรวมถึงหายนะจากภาวะตลาดหุ้น ว่าที่จริง ถ้านักลงทุนสามารถหลีกเลี่ยงวิกฤติตลาดหุ้นได้แล้วละก็ ผมคิดว่าเขาแทบจะไม่ต้องเลือกหุ้นเก่งกาจอะไรเลย แค่ซื้อกองทุนรวมหุ้น ถือไว้ แล้วก็ขายหน่วยลงทุนทิ้งเมื่อเห็นว่าตลาดหุ้นจะวิกฤติในระยะประมาณหนึ่งปีข้างหน้า ทำได้แบบนี้ผลตอบแทนของเขาก็จะดีมากในระดับ “เซียน” ผมลองศึกษาคร่าว ๆ ดูถึงผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้นว่าถ้าเราสามารถเลี่ยงหายนะที่เกิดจากวิกฤติตลาดหุ้นตั้งแต่เปิดตลาดมาจนถึงปัจจุบัน ผลตอบแทนของเราจะเป็นอย่างไร?
เริ่มตั้งแต่เปิดตลาดหลักทรัพย์ในเดือนเมษายน 2518 จนถึงสิ้นปี 2521 เป็นเวลาประมาณ 3 ปีแปดเดือนนั้น ดัชนีตลาดเพิ่มขึ้นจาก 100 จุดเป็นประมาณ 258 จุด หรือเป็นการเพิ่มขึ้นประมาณ 160% เท่ากับผลตอบแทนทบต้นปีละประมาณ 29.5% ซึ่งถือว่าเป็นช่วงที่หุ้นบูมอย่างหนักโดยเฉพาะในช่วงปี 2520 ถึง 2521 ส่วนหนึ่งจากการปั่นหุ้นและการใช้เงินกู้จากบริษัทเงินทุนบางแห่งเช่นราชาเงินทุนมาซื้อหุ้นของตนเองดันให้ราคาหุ้นขึ้นไปสูงเกินพื้นฐานไปมากในช่วงที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายควบคุมธุรกิจหลักทรัพย์ ในช่วงปลายปี 2521 นั้น ถ้านักลงทุนตระหนักว่าตลาดหุ้นกำลังก้าวเข้าสู่วิกฤติและขายหุ้นออกไปหมด เขาก็จะหลีกเลี่ยงความเสียหายที่เกิดจากวิกฤติตลาดหุ้นในปี 2522 ที่ดัชนีตลาดหุ้นตกลงมาประมาณ 42% เหลือเพียง 149 จุดในตอนสิ้นปีได้ ในช่วงเกือบ 4 ปีแรกของตลาดหุ้นนั้นเรายังไม่มีกองทุนรวมให้ลงทุนแต่นักลงทุนที่ลงทุนในช่วงนั้นต่างก็ได้กำไรกันโดยไม่ต้องเลือกหุ้น เขาเพียงแต่อยู่ในตลาดก็พอแล้ว
สมมุติว่าหลังจากปีวิกฤติ 2522 นักลงทุนนำเงินกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นใหม่ในตอนสิ้นปี 2522 หรือต้นปี 2523 ที่ดัชนี 149 จุด และเขาก็ถือมันไปเรื่อย ๆ ตราบที่ยังไม่มีสัญญาณวิกฤติรอบใหม่แม้ว่าในช่วงปีแรก ๆ ตลาดหุ้นจะซบเซามาก ดัชนีตลาดหุ้นแทบจะไม่ขยับเลยเป็นเวลาติดต่อกันประมาณ 6 ปี แต่หลังจากนั้นหุ้นก็ทะยานขึ้นในปี 2529 และพุ่งขึ้นอย่างแรงในปี 2530 ตามตลาดหุ้นนิวยอร์กที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากจนถึงเดือนตุลาคมที่เกิดเหตุการณ์ Black Monday ที่ตลาดหุ้นถล่มทะลายทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์แบล็กมันเดย์นั้น ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับตลาดหุ้นหรือเศรษฐกิจไทยเลย ตลาดไทยเองก็ยังเป็นตลาดปิดที่ต่างชาติไม่สามารถลงทุนได้ ตลาดตกลงมาสั้นมากไม่กี่เดือนก็ปรับขึ้นไปใหม่ และผมคิดว่าหุ้นไทยน่าจะตกไม่ถึง 40% ไม่ถือว่าเป็นวิกฤติตลาดหุ้น ดังนั้นเราก็ถือหุ้นต่อไปจนถึงสิ้นปี 2532 ที่ดัชนีปรับขึ้นไปเป็น 770 จุด เราตัดสินใจขายหุ้นไปเพราะเราเชื่อว่าตลาดหุ้นจะเกิดวิกฤติหลังจากที่มันปรับตัวขึ้นไปเกือบ 100% ตั้งแต่ต้นปี 2532 ผลตอบแทนที่เราได้คือประมาณ 17.9% ทบต้นเป็นเวลาถึง 10 ปี
ตลาดหุ้นไทยวิกฤติและตกลงมาถึงเกือบ 50% ในช่วงปี 2533 ผลจากการที่อิรักเข้ายึดคูเวตซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันสำคัญของโลก พอถึงสิ้นปี 2533 เราก็เริ่มกลับเข้าไปลงทุนที่ดัชนี 613 จุด ในช่วงต้น ๆ เราก็ประสบกับปัญหาทางการเมืองมากมายเช่นการปฏิวัติและเหตุการณ์พฤษภาทมิฬในปี 2535 อย่างไรก็ตามเราไม่คิดว่ามันจะกระทบกับตลาดหุ้นมากมายอะไร แต่ข้อดีหลังจากนั้นก็คือ ประเทศไทยหลังจากนั้นเราได้นายกที่มาจากการเลือกตั้งที่เน้นทางด้านของการพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้เศรษฐกิจเฟื่องฟูอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นเป็นปีละกว่า 10% ติดต่อกันถึง 3 ปี ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นเป็น “ฟองสบู่” เช่นเดียวกับดัชนีหุ้นที่ปรับเพิ่มขึ้นไปสูงสุดถึง 1750 กว่าจุดในปี 2537 แต่เราก็ยังไม่ขายเนื่องจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจก็ยังดีอยู่มากประมาณไม่ต่ำกว่า 7-8% ต่อปี อานิสงค์จากการลงทุนของเอกชนที่กู้เงินต่างประเทศเข้ามามากมาย อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นเริ่มปรับตัวลงมา 25- 30% ในช่วงปี 2537-2538 พอถึงสิ้นปี 2538 เราก็เริ่มเห็นว่าเศรษฐกิจไทยไม่น่าจะไปต่อได้เนื่องจากการขาดดุลการค้าที่สูงมาก สินค้าส่งออกของไทยไม่สามารถแข่งขันได้เนื่องจากค่าเงินบาทที่ถูกผูกติดกับเงินดอลลาร์ เราจึงขายหุ้นไปที่ดัชนี 1281 จุด เพื่อเลี่ยงภาวะวิกฤติ ผลตอบแทนที่ได้คือ 15.9% ต่อปีแบบทบต้นในเวลา 5 ปี
ในปี 2539 และ 2540 เศรษฐกิจไทยเกิดวิกฤติครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศ เงินสำรองของประเทศหมดและเราต้องเข้าขอความช่วยเหลือจาก IMF ต้องบอกว่าเรา “ล้มละลาย” ผลจากการใช้เงินเกินตัวของภาคธุรกิจเอกชนและความผิดพลาดของหน่วยงานการเงินของรัฐโดยเฉพาะแบงค์ชาติ ปี 2539 ดัชนีตกลงไปจากจุดสูงสุดประมาณ 41% ปี 2540 ที่มีการประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ดัชนีตกลงไปอีก 55% พอถึงสิ้นปี เราตัดสินใจเข้าไปลงทุนในหุ้นอีกครั้งที่ดัชนี 373 จุด ภายในเวลา 2 ปี หุ้นฟื้นขึ้นมาเป็น 482 จุด แต่เราก็รู้สึกว่าปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะระบบสถาบันการเงินยังไม่สามารถแก้ไขได้ เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงจากหายนะ เราจึงขายไปได้ผลตอบแทน 13.7% ทบต้น วิกฤติตลาดหุ้นเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนตัวลงในปี 2543 ทำให้ดัชนีลดลงจาก 482 เป็น 269 เมื่อสิ้นปี 2543 เป็นการลดลงถึง 44% และเช่นเคย เราคิดว่าเป็นโอกาสที่จะลงทุนในยามที่สถานการณ์เลวร้ายที่สุด
เริ่มต้นจากปี 2544 ดูเหมือนว่าเศรษฐกิจไทยจะค่อย ๆ ฟื้นตัว การแก้ปัญหาของบริษัทต่าง ๆ และสถาบันการเงินคืบหน้าไปเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับตลาดหุ้นที่ค่อย ๆ ปรับตัวขึ้น พอถึงปี 2546 ไทยก็ประกาศใช้หนี้คืน IMF ก่อนกำหนด ทุกอย่างดูสดใสทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองที่มีความมั่นคงเนื่องจากเราได้รัฐบาลที่มีเสียงสนับสนุนสูง ดัชนีในปีนั้นปรับขึ้นไปถึง 117% แต่หลังจากนั้นเพียง 2-3 ปี ประเทศไทยก็เกิดปัญหาการชุมนุมประท้วงเรียกร้องทางการเมืองอย่างรุนแรงซึ่งนำไปสู่การรัฐประหารในปี 2549 อย่างไรก็ตาม หุ้นก็ไม่ได้ถูกกระทบอะไรมากนักเช่นเดียวกับทุกครั้งจนมาถึงปี 2551 ที่เกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในสหรัฐและลามไปทั่วโลกทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยตกลงมา 47.5% แต่นี่เป็นเรื่องที่เราไม่สามารถคาดได้แน่เนื่องจากพื้นฐานเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยไม่ได้มีปัญหาอะไร ราคาหุ้นเองก็ไม่แพงเลย ดังนั้น เราไม่ได้ขายหุ้นเลยและยังคงถือมาตลอดจนถึงวันนี้ที่ดัชนีประมาณ 1400 จุด คิดเป็นผลตอบแทนทบต้นประมาณ 13.9% ในช่วงเวลา 12 ปี 8 เดือน นับเป็นผลตอบแทนของตลาดที่ดีเยี่ยมยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของตลาดหุ้นไทย
จาก “ตุ๊กตา” ที่ผมตั้งขึ้นว่าเราสามารถหลีกเลี่ยงหายนะส่วนใหญ่ของวิกฤติตลาดหุ้นได้ ถ้านำภาพเหล่านั้นมาต่อกัน ก็คำนวณได้ว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนจะได้ผลตอบแทนทบต้นสูงถึงประมาณ 17% ต่อปี เป็นเวลาลงทุนประมาณ 33 ปี เงินต้น 100 บาทจะกลายเป็น 19,500 บาท ถ้าคิดรวมปันผลปีละประมาณ 3% ต่อปี จะได้ว่าผลตอบแทนต่อปีแบบทบต้นเท่ากับ 20% เงิน 100 บาทจะกลายเป็นประมาณ 43,000 บาท หรือโตขึ้น 430เท่า ในเวลาประมาณ 33 ปี โดยไม่ต้องเลือกหุ้นลงทุนเลย
ในชีวิตจริงคงไม่ง่ายที่จะหลีกเลี่ยงจากหายนะของวิกฤติตลาดหุ้นได้ง่ายนัก อย่างไรก็ตาม สำหรับนักลงทุน โดยเฉพาะคนที่เลือกจะเป็นนักลงทุนผู้มุ่งมั่นที่จะเลือกหุ้นเองนั้น หัวใจสำคัญอย่างหนึ่งที่เรามักจะไม่ค่อยพูดถึงก็คือ การหลีกเลี่ยงหายนะจากการลงทุน โดยเฉพาะจากวิกฤติตลาดหุ้น เพราะเรา “ไม่สามารถคาดการณ์ตลาด” ได้ อย่างไรก็ตาม การตระหนักว่านี่คือความเสี่ยงจะช่วยให้เราเลือกการลงทุนได้ดีขึ้น นั่นก็คือ หากเกิดวิกฤติตลาดหุ้นขึ้น พอร์ตของเราจะเป็นอย่างไร? หายนะตามตลาดหรือไม่? ถ้าใช่ เราก็อาจจะต้องเปลี่ยนตัวหุ้นลงทุน
- anubist
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1373
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลีกเลี่ยงหายนะจากวิกฤติตลาดหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวราก
โพสต์ที่ 3
ใจความบทความนี้คงไม่ใช่การพยามหลีกเลี่ยงวิกฤติ เพราะการจะทำเช่นนั้นต้องใช้เรื่องtimingมาช่วย
ซึ่งส่วนใหญ่เรามักกะจังหวะผิดพลาดจากความโลภและความกลัว
แต่ให้กลับไปดูพื้นฐานของหุ้นที่สามารถรองรับวิกฤติได้หรือสามารถฟื้นตัวได้ดีหลังภาวะวิกฤติ
หากหุ้นในพอร์ตไม่สามารถรองรับวิกฤติได้ก็ต้องขายให้ทันหรือปรับเปลี่ยนหุ้นในพอร์ตให้พร้อม
พี่ตู่ วรวรรณบอกว่า เราไม่สามารถบริหารผลตอบแทนได้ แต่เราสามารถบริหารความเสี่ยงได้
การลงทุนเกี่ยวพันถึงเรื่องการบริหารความเสี่ยง การบริหารการเงิน
ซึ่งสองเรื่องหลังก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน
การใส่ใจสองเรื่องหลังจะช่วยให้ผลตอบแทนมีเสถียรภาพมากขึ้นครับ
ซึ่งส่วนใหญ่เรามักกะจังหวะผิดพลาดจากความโลภและความกลัว
แต่ให้กลับไปดูพื้นฐานของหุ้นที่สามารถรองรับวิกฤติได้หรือสามารถฟื้นตัวได้ดีหลังภาวะวิกฤติ
หากหุ้นในพอร์ตไม่สามารถรองรับวิกฤติได้ก็ต้องขายให้ทันหรือปรับเปลี่ยนหุ้นในพอร์ตให้พร้อม
พี่ตู่ วรวรรณบอกว่า เราไม่สามารถบริหารผลตอบแทนได้ แต่เราสามารถบริหารความเสี่ยงได้
การลงทุนเกี่ยวพันถึงเรื่องการบริหารความเสี่ยง การบริหารการเงิน
ซึ่งสองเรื่องหลังก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน
การใส่ใจสองเรื่องหลังจะช่วยให้ผลตอบแทนมีเสถียรภาพมากขึ้นครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1523
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลีกเลี่ยงหายนะจากวิกฤติตลาดหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวราก
โพสต์ที่ 5
ผมกลับมองว่า ที่อาจารย์จะสื่อถึงพวกเราคือ ตลอด33ปีที่ผ่านมา ถ้าเราไม่สนใจอะไร
ผลตอบแทนที่ได้ยังไงก้ยังได้ผลตอบแทนที่ดีมาก ไม่แพ้คนที่เล่นรอบ (ขายก่อนเกิดวิกฤติ แล้ว
ไปซื้อข้างล่างถูกๆ) เพราะการจะคาดเดาว่านี่ คือ วิกฤติหรือไม่เป็นเรื่องที่ยากจะคาดเดา
ถ้าเป็นนักลงทุนระยะยาว(มาก) ผลตอบแทนที่ได้ถ้าเราซื้อหุ้นที่อิงกับดัชนี ก้จะได้ผลตอบแทนที่
น่าพึงพอใจครับ
เท่าที่ผมศึกษาจากตีแตก คำว่า วิกฤติ คือ หุ้นต้องลงไปมากกว่า 40% ถึงจะเรียกวิกฤติ
แต่ในขณะนี้ ดัชนีลดลงจาก 1650 มา 1260 จุดในไม่กี่เดือน ก้ยังไม่ถือว่าเป็นวิกฤติ
ซึ่งหุ้นจะลงมากกว่า 1260 หรือ 1260คือ จุดต่ำสุดแล้วหรือไม่ คงไม่มีใครตอบได้แม่นยำ100%
เพราะถ้ารู้ขนาดนั้นก้ึคง ซื้อหวยรางวัลที่1 ถูกทุกงวด
ผมคิดว่า นี่คงเป็นการสอนจากท่านอาจารย์ว่า บางที การเต้นไปกับหุ้นขึ้นหรือลงอาจจะทำให้เรา
หลงทางได้ในการลงทุน ขอบคุณท่านอาจารย์ที่เตือนสติครับ
ผลตอบแทนที่ได้ยังไงก้ยังได้ผลตอบแทนที่ดีมาก ไม่แพ้คนที่เล่นรอบ (ขายก่อนเกิดวิกฤติ แล้ว
ไปซื้อข้างล่างถูกๆ) เพราะการจะคาดเดาว่านี่ คือ วิกฤติหรือไม่เป็นเรื่องที่ยากจะคาดเดา
ถ้าเป็นนักลงทุนระยะยาว(มาก) ผลตอบแทนที่ได้ถ้าเราซื้อหุ้นที่อิงกับดัชนี ก้จะได้ผลตอบแทนที่
น่าพึงพอใจครับ
เท่าที่ผมศึกษาจากตีแตก คำว่า วิกฤติ คือ หุ้นต้องลงไปมากกว่า 40% ถึงจะเรียกวิกฤติ
แต่ในขณะนี้ ดัชนีลดลงจาก 1650 มา 1260 จุดในไม่กี่เดือน ก้ยังไม่ถือว่าเป็นวิกฤติ
ซึ่งหุ้นจะลงมากกว่า 1260 หรือ 1260คือ จุดต่ำสุดแล้วหรือไม่ คงไม่มีใครตอบได้แม่นยำ100%
เพราะถ้ารู้ขนาดนั้นก้ึคง ซื้อหวยรางวัลที่1 ถูกทุกงวด
ผมคิดว่า นี่คงเป็นการสอนจากท่านอาจารย์ว่า บางที การเต้นไปกับหุ้นขึ้นหรือลงอาจจะทำให้เรา
หลงทางได้ในการลงทุน ขอบคุณท่านอาจารย์ที่เตือนสติครับ