AEC เรารุกเขาหรือเขามารุกเรา
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
AEC เรารุกเขาหรือเขามารุกเรา
โพสต์ที่ 1
ปัจจุบันหลายบริษัท ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้น
ออกมาบอกว่า AEC เป็นโอกาสที่ขยายฐานลูกค้าในต่างประเทศ
คำถามที่ผมสงสัยอย่างมากๆเลย
ที่นั้นไม่มีใครทำธุรกิจเดียวกับ บริษัทที่ไปหรือ
แล้ว บริษัทที่อยู่ต่างประเทศมันไม่เข้ามาในประเทศไทยหรือไง
บริษัทของไทยไปรุกนอกเอารุกนอกเอา
แต่ในบ้านกลับโดนคนอื่นรุก
มันก็น่าแปลก น่าจะมองกลับมุมมอง เพราะตรวจสอบบ้างละ
ว่า บริษัทเหล่านั้น ทำได้จริงหรือเปล่า
คิดมองมุมที่แตกต่าง มันจะได้เห็นอีกมุมมองหนึ่ง
และคำพูด เมื่อพูดออกมาแล้วเป็นนายของเรา
ยังไม่พูดเราเป็นนายมัน
ออกมาบอกว่า AEC เป็นโอกาสที่ขยายฐานลูกค้าในต่างประเทศ
คำถามที่ผมสงสัยอย่างมากๆเลย
ที่นั้นไม่มีใครทำธุรกิจเดียวกับ บริษัทที่ไปหรือ
แล้ว บริษัทที่อยู่ต่างประเทศมันไม่เข้ามาในประเทศไทยหรือไง
บริษัทของไทยไปรุกนอกเอารุกนอกเอา
แต่ในบ้านกลับโดนคนอื่นรุก
มันก็น่าแปลก น่าจะมองกลับมุมมอง เพราะตรวจสอบบ้างละ
ว่า บริษัทเหล่านั้น ทำได้จริงหรือเปล่า
คิดมองมุมที่แตกต่าง มันจะได้เห็นอีกมุมมองหนึ่ง
และคำพูด เมื่อพูดออกมาแล้วเป็นนายของเรา
ยังไม่พูดเราเป็นนายมัน
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2770
- ผู้ติดตาม: 0
Re: AEC เรารุกเขาหรือเขามารุกเรา
โพสต์ที่ 4
ประเทศที่เศรษฐกิจแข็งอยู่แล้ว เจ้าใหม่จะเข้าไปก็คงลำบากครับ ส่วนประเทศที่ขนาดเศรษฐกิจยังเล็กอยู่ คู่แข่งเจ้าถิ่นยังน้อย เขาก็อาจจะพร้อมให้ประเทศเพื่อนบ้านไปลงทุนเพื่อประโยชน์คนในประเทศ
ถ้าบริษัทเราจะไปลงทุนในประเทศที่คู่แข่งยังน้อยก็จะดีครับ แต่บริษัทไหนจะไปลงทุนในประเทศที่คู่แข่งเยอะมาก หรือเราเป็นบริษัทเล็กที่คู่แข่งต่างประเทศอาจเข้ามาได้ บริษัทพวกนี้อาจต้องระวังตัวครับ
ถ้าบริษัทเราจะไปลงทุนในประเทศที่คู่แข่งยังน้อยก็จะดีครับ แต่บริษัทไหนจะไปลงทุนในประเทศที่คู่แข่งเยอะมาก หรือเราเป็นบริษัทเล็กที่คู่แข่งต่างประเทศอาจเข้ามาได้ บริษัทพวกนี้อาจต้องระวังตัวครับ
Vi IMrovised
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: AEC เรารุกเขาหรือเขามารุกเรา
โพสต์ที่ 5
ในประวัติศาสตร์
ก็มีให้เห็น ยกทัพ ออกไปรบ แต่ เมืองของเราเองก็โดนตีแตก
ดังเช่น เล่าปี้ โดน ลิโป้ง ตีเมือง ครั้นนั้นให้เตียวหุยดูแลเมือง
หรือ ตอนที่ กวนอู ถึงฆาต เพราะ ยกทัพออกไปตีเมืองอื่น หยามใจแม่ทัพที่อ่อนวัยกว่า
จนสุดท้ายเสียเกงจิ๋วให้ฝ่าย ซุนกวนไป
ก็มีให้เห็นกันแล้ว
ก็มีให้เห็น ยกทัพ ออกไปรบ แต่ เมืองของเราเองก็โดนตีแตก
ดังเช่น เล่าปี้ โดน ลิโป้ง ตีเมือง ครั้นนั้นให้เตียวหุยดูแลเมือง
หรือ ตอนที่ กวนอู ถึงฆาต เพราะ ยกทัพออกไปตีเมืองอื่น หยามใจแม่ทัพที่อ่อนวัยกว่า
จนสุดท้ายเสียเกงจิ๋วให้ฝ่าย ซุนกวนไป
ก็มีให้เห็นกันแล้ว
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: AEC เรารุกเขาหรือเขามารุกเรา
โพสต์ที่ 7
บ.สัญชาติและเชื้อชาติไทย จริงๆ เหลือสักกี่บริษัท ครับ
แบงค์เรา โดนเขายึดไปนานแล้ว ไม่ต้องภาคภูมิใจอะไร
การยึุดแบงค์เป็นการปูทางในการยึดเศรษฐกิจประเทศอื่นๆ
ผมดูแล้ว ดูเหมือน มี SCC อยู่เจ้าเดียวที่แกร่งพอจะได้สู้กับคนอื่นๆ ได้
และได้ไปแล้วในหลายๆ ประเทศ AEC อ้ออาจจะมี BGH กับ CPN
กระมัง ที่น่าจะไปบุก KLM ได้
นอกนั้นดูแล้ว ว่าบ้านเราเป็นฐานให้ประเทศอื่นๆ ไปยึด KLM รอบบ้านเรา
มากกว่า แต่กระนั้่นดูเหมือนต้องผ่านฐานทางการเงินที่ Singapore อยู่ดี
ไม่ทราบทำไม น่าแปลกใจเหมือนกันอยากถามคนที่มีความรู้ด้านกฎหมาย
การลงทุนและภาษีใน AEC ครับ ใครทราบช่วยเฉลยหน่อย
ยกตัวอย่างเช่น GL (บ.ลูกของ ญี่ปุ่น นะครับ ไม่ใช่ของคนไทยแล้ว ถึง
พวกเราจะถือหุ้นบ้างก็ตาม) ต้องไปจดทะเบียน บ.ลูกที่ สิงคโปร์ ก่อน
แล้วถึงไปลงทุนที่ กัมพูชา
อุตสาหกรรมใดบ้างที่เป็นจุดแข็งของไทย เท่าที่นึกออกก็มีแค่รถยนต์
แต่ถามว่า ม้ันเป็นของใครกันแน่ คงต้องตอบตามจริงว่า ส่วนใหญ่เกือบ
ทั้งหมดเป็นของ ญี่ปุ่น มีอเมริกาบ้าง เดือนก่อนอ่านข่าว แต่จำตัวเลข
ไม่ได้ ว่าปีที่แล้ว เราส่งกำไรจากอุตสาหกรรมรถยนต์กลับไปให้
ประเทศญี่ปุ่น (เหมือนส่งบรรณาการ) มากมายมหาศาล น่าภูมิใจหรือครับ
(ขณะัที่ โปรตอนมาเลเซีย สามารถ บอกได้อย่างเต็มภาคภูมิว่า รถยนต์
ของเขาเอง และยังเป็นเจ้าของบริษัทรถยนต์ Lotus แห่งอังกฤษ อีกด้วย)
แล้วมาตรฐานการศึกษาของเรา อยู่ท้ายแถวของ AEC คิดหรือครับว่า
เราจะได้เป็นผู้ชนะ . . .
แบงค์เรา โดนเขายึดไปนานแล้ว ไม่ต้องภาคภูมิใจอะไร
การยึุดแบงค์เป็นการปูทางในการยึดเศรษฐกิจประเทศอื่นๆ
ผมดูแล้ว ดูเหมือน มี SCC อยู่เจ้าเดียวที่แกร่งพอจะได้สู้กับคนอื่นๆ ได้
และได้ไปแล้วในหลายๆ ประเทศ AEC อ้ออาจจะมี BGH กับ CPN
กระมัง ที่น่าจะไปบุก KLM ได้
นอกนั้นดูแล้ว ว่าบ้านเราเป็นฐานให้ประเทศอื่นๆ ไปยึด KLM รอบบ้านเรา
มากกว่า แต่กระนั้่นดูเหมือนต้องผ่านฐานทางการเงินที่ Singapore อยู่ดี
ไม่ทราบทำไม น่าแปลกใจเหมือนกันอยากถามคนที่มีความรู้ด้านกฎหมาย
การลงทุนและภาษีใน AEC ครับ ใครทราบช่วยเฉลยหน่อย
ยกตัวอย่างเช่น GL (บ.ลูกของ ญี่ปุ่น นะครับ ไม่ใช่ของคนไทยแล้ว ถึง
พวกเราจะถือหุ้นบ้างก็ตาม) ต้องไปจดทะเบียน บ.ลูกที่ สิงคโปร์ ก่อน
แล้วถึงไปลงทุนที่ กัมพูชา
อุตสาหกรรมใดบ้างที่เป็นจุดแข็งของไทย เท่าที่นึกออกก็มีแค่รถยนต์
แต่ถามว่า ม้ันเป็นของใครกันแน่ คงต้องตอบตามจริงว่า ส่วนใหญ่เกือบ
ทั้งหมดเป็นของ ญี่ปุ่น มีอเมริกาบ้าง เดือนก่อนอ่านข่าว แต่จำตัวเลข
ไม่ได้ ว่าปีที่แล้ว เราส่งกำไรจากอุตสาหกรรมรถยนต์กลับไปให้
ประเทศญี่ปุ่น (เหมือนส่งบรรณาการ) มากมายมหาศาล น่าภูมิใจหรือครับ
(ขณะัที่ โปรตอนมาเลเซีย สามารถ บอกได้อย่างเต็มภาคภูมิว่า รถยนต์
ของเขาเอง และยังเป็นเจ้าของบริษัทรถยนต์ Lotus แห่งอังกฤษ อีกด้วย)
แล้วมาตรฐานการศึกษาของเรา อยู่ท้ายแถวของ AEC คิดหรือครับว่า
เราจะได้เป็นผู้ชนะ . . .
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: AEC เรารุกเขาหรือเขามารุกเรา
โพสต์ที่ 8
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1379489732
ทีดีอาร์ไอแนะนำ "เมียนมาร์-เวียดนาม" โอกาสที่คุ้มเสี่ยงของนักลงทุนไทย
updated: 18 ก.ย. 2556 เวลา 14:45:54 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ทีดีอาร์ไอหนุนนักธุรกิจไทยลงทุนในเมียนมาร์และเวียดนามใน 3 อุตสาหกรรมหลัก ชี้ค่าแรงต่ำ-กำลังแรงงานสูง พร้อมระบุ เตรียมนำผลการวิจัยและข้อเสนอแนะให้ กกร.เพื่อเสนอภาครัฐบูรณาการร่วมกับภาคเอกชนดำเนินการให้เป็นรูปธรรม
ตลาดอาเซียนกำลังถูกจับตามองว่ากำลังจะเข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของโลกรายใหม่ ทั้งด้านการค้า การลงทุน เงินทุน และแรงงาน โดยเฉพาะในปี 2558ที่จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการไทยจะต้องพัฒนา และปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะการสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนตามแนวชายแดนหรือการย้ายฐานการผลิตการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งผู้ประกอบการต้องมีข้อมูลเชิงลึก สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้ทำการศึกษาเรื่อง"แนวทางการย้ายฐานการผลิตของอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นไปยังประเทศเพื่อนบ้าน” โดยศึกษาอุตสาหกรรมหลักๆ 3 ด้าน ได้แก่ 1.อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 2.อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง 3.อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งการศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นในประเทศเมียนมาร์และเวียดนาม
น.ส.พลอย ธรรมาภิรานนท์ นักวิจัยทีดีอาร์ไอ ผู้ศึกษาแนวทางในประเทศเมียนมาร์ เปิดเผยว่า เมียนมาร์มีประชากรทั้งสิ้น 52.8 ล้านคน และมีกำลังแรงงานประมาณ 33.4 ล้านคน โดยโรงงานสำหรับอุตสาหกรรมที่ศึกษาส่วนใหญ่ตั้งอยู่ใกล้กับย่างกุ้ง เนื่องจากมีสาธารณูปโภคและท่าเรือที่มีความพร้อมมากที่สุด มีค่าเช่าที่ดินประมาณ 15 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ/ตารางเมตร/ปี นิคมอุตสาหกรรมใกล้ย่างกุ้ง ได้แก่ ผะอัน พะโค ผะเต ซึ่งในส่วนของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มส่วนใหญ่ทำการผลิตแบบ Cutting Marking Packaging (CMP) ทำให้สามารถนำเข้าวัตถุดิบโดยปลอดภาษี ค่าจ้างแรงงานทั่วไปจะอยู่ที่ 80-90 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ส่วนแรงงานที่มีประสบการณ์และทักษะอยู่ที่ 120-150 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ซึ่งในปี 2555 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมดังกล่าวมีตลาดการส่งออกหลักคือญี่ปุ่น 45 % และเกาหลีใต้ 31 % มีมูลค่าการส่งออก 903.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ถึง 448.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยพบว่าผู้ประกอบการชาวไทยที่เข้าไปลงทุนในเมียนมาร์มักจะใช้วิธีร่วมทุนกับชาวเมียนมาร์ หรือให้ชาวเมียนมาร์เป็นนอมินีและมักมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจมาเป็นเวลานาน
ส่วนอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังพบว่าส่วนใหญ่ผลิตในอุตสาหกรรมปลายน้ำ อาทิ การตัดหนัง ขัดหนัง ประกอบ และตกแต่ง มีผู้ประกอบการทั้งหมด 12 แห่ง เป็นของชาวต่างชาติ 4 แห่ง และเป็นของเมียนมาร์เอง 8 แห่ง ดำเนินการผลิตแบบ CMP ส่วนค่าจ้างแรงงานที่ไม่มีประสบการณ์ 1.89 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน แต่หากมีประสบการณ์ 2.11 ดอลล่าสหรัฐต่อวัน โดยมีตลาดส่งออกหลักคือญี่ปุ่น 88 % มีมูลค่าการส่งออกในปี 2555 รวม 119.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีจุดแข็งของอุตสาหกรรม ที่สำคัญคือที่ตั้งใกล้กับแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญได้แก่ บังคลาเทศและปากีสถาน บวกกับมีตลาดผู้บริโภคใหญ่ถึง 60 ล้านคน ซึ่งมีกำลังซื้อมากขึ้นและมีแนวโน้มว่าจะขยายตัว
ด้านอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในเมียนมาร์ มีโรงงานทั้งหมด 5 แห่ง โดยกระจุกตัวอยู่บริเวณย่างกุ้ง และส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตระดับครัวเรือน เนื่องจากมีกฎระเบียบซับซ้อนและมีอัตราภาษีค่อนข้างสูง มีค่าจ้างแรงงานทั่วไป 3 ดอลล่าสหรัฐต่อวัน ส่วนแรงงานที่มีทักษะอยู่ที่ 5-8 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ตลาดหลักในการส่งออกใหญ่ที่สุดคือ จีน 91% มูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 322.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ นักวิจัยทีดีอาร์ไอ ระบุว่า โดยภาพรวมแล้วหากมีการขยายฐานการผลิตในเมียนมาร์ เป็นเรื่องที่น่าสนใจเพราะมีค่าแรงต่ำแต่กำลังแรงงานสูง รวมทั้งขณะนี้สหภาพยุโรปกำลังพิจารณาคืนสิทธิพิเศษทางการค้า และสหรัฐกำลังพิจารณายกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและให้สิทธิพิเศษทางภาษีตามมา
ด้าน ดร.เสาวรัจ รัตนคำฟู นักวิชาการทีดีอาร์ไอ ซึ่งศึกษาแนวปฏิบัติการลงทุนในประเทศเวียดนามเปิดเผยว่า สภาพเศรษฐกิจในเวียดนามในส่วนของภาคธุรกิจยังมีความกังวลต่อความเชื่อมั่นในสกุลเงินและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาค ขณะที่ค่าแรงยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งมีผลมาจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ซึ่งในส่วนของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 70 % เป็นโรงงานขนาดเล็กประเภท CUT MAKE AND TRIM หรือ CMT ซึ่งผู้ว่าจ้างหรือผู้ซื้อสินค้าจะจัดหาผ้ามาให้ผู้ผลิตเพื่อทำการตัดเย็บ โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกหลัก มูลค่าการส่งออก 17.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ส่วนอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง ที่ตั้งโรงงานส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ของประเทศ มีผู้ประกอบการประมาณ 400 ราย โดยใน 30-50 รายเป็นผู้ประกอบการต่างชาติ ส่วนใหญ่เป็นชาวไต้หวันและเกาหลีใต้ตลาดส่งออกหลักคือสหภาพยุโรป ขณะที่อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของเวียดนามส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนและผลิตเพื่อตลาดในประเทศเท่านั้น จึงยังไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้เท่าที่ควร โรงงานร้อยละ 80 ตั้งอยู่ที่โฮจิมินห์เนื่องจากสะดวกในการขนส่ง ตลาดส่งออกหลักคือสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งในปีที่ผ่านมามีการส่งออกเพียงแค่ 546ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น ลดลงจากปี 2554 ถึง 2119 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดร.เสาวรัจกล่าวด้วยว่า ภาพรวมการลงทุนในอนาคตของเวียดนามจะเป็นอีกประเทศหนึ่งที่น่าสนใจในภูมิภาคนี้ เนื่องจากมีการเปิดกว้างโดยเฉพาะการเอื้อประโยชน์ให้นักลงทุนต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ 100% ซึ่งทำให้เวียดนามมีแต้มต่อมากขึ้น
ขณะที่ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า การย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านนั้นมีหลายปัจจัยในการพิจารณา ซึ่งในส่วนของเมียนมาร์มีจุดแข็งคือเป็นแหล่งแรงงานค่าจ้างขั้นต่ำและกำลังแรงงานมาก ต้นทุนวัตถุดิบต่ำ และสามารถเป็นฐานการส่งออกไปยังประเทศที่สามได้ดี แต่ยังมีจุดอ่อนในด้านโครงสร้างพื้นฐานยังไม่ค่อยพัฒนาเท่าที่ควรโดยเฉพาะด้านไฟฟ้า รวมถึงการขาดเสถียรภาพทางการเมือง และการเข้าถึงข้อมูลเป็นไปได้ยากเพราะเอกสารราชการส่วนใหญ่ยังไม่แปลเป็นภาษาอังกฤษ บวกกับระบบกฎหมายยังไม่พัฒนามากนัก ทำให้กฎระเบียบต่างๆยังไม่ชัดเจน ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ทั้งนี้พบว่า พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการลงทุนจะอยู่ในตัวเมืองย่างกุ้งและจังหวัดใกล้เคียง เนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานดีกว่าส่วนอื่นของประเทศ ส่วนประเทศเวียดนาม มีจุดแข็งในเรื่องของตลาดภายในประเทศ ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง เป็นแหล่งแรงงานที่มีค่าจ้างต่ำและมีจำนวนมาก ทรัพยากรบุคคลมีคุณภาพ และเป็นฐานการส่งออกไปยังประเทศที่สามได้ แต่ยังมีจุดอ่อนในเรื่องกฎหมายที่ไม่ชัดเจนและมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยเช่นเดียวกับเมียนมาร์ และมีปัญหาด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาค รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานยังไม่ค่อยพัฒนาเท่าที่ควร
ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาต่อภาครัฐเพื่อส่งเสริมนักธุรกิจไทยในการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ ควรจัดตั้งหน่วยงานบริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (one-stop service) เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจระหว่าง SMEsไทยและประเทศเพื่อนบ้าน สนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนของSMEsในต่างประเทศ โดยให้ข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลเชิงลึกในเรื่องสิทธิประโยชน์ทางการค้าและภาษีสิทธิประโยชน์การลงทุนของต่างชาติ กฎหมายการลงทุน ข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานและข้อมูลเชิงลึก รวมถึงการเร่งรัดการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณตะเข็บชายแดน เช่น ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ,อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี , อ.แม่สายจ.เชียงราย , จ.มุกดาหาร , อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว โดยอาจจะมีการบังคับใช้กฎหมายพิเศษ เช่น การจ่ายค่าจ้างแรงงานที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ประธานทีดีอาร์ไอ ย้ำว่า การที่อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นจะเข้าไปลงทุนใน 2 ประเทศนี้ เป็นเรื่องที่เหมาะสม ส่วนการผลักดันแนวทางดังกล่าวไปสู่ภาคการปฏิบัตินั้น ขณะนี้ทีดีอาร์ไอได้ร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นำผลการวิจัยและข้อเสนอแนะต่างๆเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. ซึ่งประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เพื่อให้ภาครัฐและภาคเอกชนนำไปดำเนินการให้เป็นรูปธรรมต่อไป.
ที่มา : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
ทีดีอาร์ไอแนะนำ "เมียนมาร์-เวียดนาม" โอกาสที่คุ้มเสี่ยงของนักลงทุนไทย
updated: 18 ก.ย. 2556 เวลา 14:45:54 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ทีดีอาร์ไอหนุนนักธุรกิจไทยลงทุนในเมียนมาร์และเวียดนามใน 3 อุตสาหกรรมหลัก ชี้ค่าแรงต่ำ-กำลังแรงงานสูง พร้อมระบุ เตรียมนำผลการวิจัยและข้อเสนอแนะให้ กกร.เพื่อเสนอภาครัฐบูรณาการร่วมกับภาคเอกชนดำเนินการให้เป็นรูปธรรม
ตลาดอาเซียนกำลังถูกจับตามองว่ากำลังจะเข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของโลกรายใหม่ ทั้งด้านการค้า การลงทุน เงินทุน และแรงงาน โดยเฉพาะในปี 2558ที่จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการไทยจะต้องพัฒนา และปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะการสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนตามแนวชายแดนหรือการย้ายฐานการผลิตการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งผู้ประกอบการต้องมีข้อมูลเชิงลึก สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้ทำการศึกษาเรื่อง"แนวทางการย้ายฐานการผลิตของอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นไปยังประเทศเพื่อนบ้าน” โดยศึกษาอุตสาหกรรมหลักๆ 3 ด้าน ได้แก่ 1.อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 2.อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง 3.อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งการศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นในประเทศเมียนมาร์และเวียดนาม
น.ส.พลอย ธรรมาภิรานนท์ นักวิจัยทีดีอาร์ไอ ผู้ศึกษาแนวทางในประเทศเมียนมาร์ เปิดเผยว่า เมียนมาร์มีประชากรทั้งสิ้น 52.8 ล้านคน และมีกำลังแรงงานประมาณ 33.4 ล้านคน โดยโรงงานสำหรับอุตสาหกรรมที่ศึกษาส่วนใหญ่ตั้งอยู่ใกล้กับย่างกุ้ง เนื่องจากมีสาธารณูปโภคและท่าเรือที่มีความพร้อมมากที่สุด มีค่าเช่าที่ดินประมาณ 15 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ/ตารางเมตร/ปี นิคมอุตสาหกรรมใกล้ย่างกุ้ง ได้แก่ ผะอัน พะโค ผะเต ซึ่งในส่วนของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มส่วนใหญ่ทำการผลิตแบบ Cutting Marking Packaging (CMP) ทำให้สามารถนำเข้าวัตถุดิบโดยปลอดภาษี ค่าจ้างแรงงานทั่วไปจะอยู่ที่ 80-90 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ส่วนแรงงานที่มีประสบการณ์และทักษะอยู่ที่ 120-150 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ซึ่งในปี 2555 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมดังกล่าวมีตลาดการส่งออกหลักคือญี่ปุ่น 45 % และเกาหลีใต้ 31 % มีมูลค่าการส่งออก 903.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ถึง 448.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยพบว่าผู้ประกอบการชาวไทยที่เข้าไปลงทุนในเมียนมาร์มักจะใช้วิธีร่วมทุนกับชาวเมียนมาร์ หรือให้ชาวเมียนมาร์เป็นนอมินีและมักมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจมาเป็นเวลานาน
ส่วนอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังพบว่าส่วนใหญ่ผลิตในอุตสาหกรรมปลายน้ำ อาทิ การตัดหนัง ขัดหนัง ประกอบ และตกแต่ง มีผู้ประกอบการทั้งหมด 12 แห่ง เป็นของชาวต่างชาติ 4 แห่ง และเป็นของเมียนมาร์เอง 8 แห่ง ดำเนินการผลิตแบบ CMP ส่วนค่าจ้างแรงงานที่ไม่มีประสบการณ์ 1.89 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน แต่หากมีประสบการณ์ 2.11 ดอลล่าสหรัฐต่อวัน โดยมีตลาดส่งออกหลักคือญี่ปุ่น 88 % มีมูลค่าการส่งออกในปี 2555 รวม 119.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีจุดแข็งของอุตสาหกรรม ที่สำคัญคือที่ตั้งใกล้กับแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญได้แก่ บังคลาเทศและปากีสถาน บวกกับมีตลาดผู้บริโภคใหญ่ถึง 60 ล้านคน ซึ่งมีกำลังซื้อมากขึ้นและมีแนวโน้มว่าจะขยายตัว
ด้านอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในเมียนมาร์ มีโรงงานทั้งหมด 5 แห่ง โดยกระจุกตัวอยู่บริเวณย่างกุ้ง และส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตระดับครัวเรือน เนื่องจากมีกฎระเบียบซับซ้อนและมีอัตราภาษีค่อนข้างสูง มีค่าจ้างแรงงานทั่วไป 3 ดอลล่าสหรัฐต่อวัน ส่วนแรงงานที่มีทักษะอยู่ที่ 5-8 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ตลาดหลักในการส่งออกใหญ่ที่สุดคือ จีน 91% มูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 322.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ นักวิจัยทีดีอาร์ไอ ระบุว่า โดยภาพรวมแล้วหากมีการขยายฐานการผลิตในเมียนมาร์ เป็นเรื่องที่น่าสนใจเพราะมีค่าแรงต่ำแต่กำลังแรงงานสูง รวมทั้งขณะนี้สหภาพยุโรปกำลังพิจารณาคืนสิทธิพิเศษทางการค้า และสหรัฐกำลังพิจารณายกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและให้สิทธิพิเศษทางภาษีตามมา
ด้าน ดร.เสาวรัจ รัตนคำฟู นักวิชาการทีดีอาร์ไอ ซึ่งศึกษาแนวปฏิบัติการลงทุนในประเทศเวียดนามเปิดเผยว่า สภาพเศรษฐกิจในเวียดนามในส่วนของภาคธุรกิจยังมีความกังวลต่อความเชื่อมั่นในสกุลเงินและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาค ขณะที่ค่าแรงยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งมีผลมาจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ซึ่งในส่วนของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 70 % เป็นโรงงานขนาดเล็กประเภท CUT MAKE AND TRIM หรือ CMT ซึ่งผู้ว่าจ้างหรือผู้ซื้อสินค้าจะจัดหาผ้ามาให้ผู้ผลิตเพื่อทำการตัดเย็บ โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกหลัก มูลค่าการส่งออก 17.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ส่วนอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง ที่ตั้งโรงงานส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ของประเทศ มีผู้ประกอบการประมาณ 400 ราย โดยใน 30-50 รายเป็นผู้ประกอบการต่างชาติ ส่วนใหญ่เป็นชาวไต้หวันและเกาหลีใต้ตลาดส่งออกหลักคือสหภาพยุโรป ขณะที่อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของเวียดนามส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนและผลิตเพื่อตลาดในประเทศเท่านั้น จึงยังไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้เท่าที่ควร โรงงานร้อยละ 80 ตั้งอยู่ที่โฮจิมินห์เนื่องจากสะดวกในการขนส่ง ตลาดส่งออกหลักคือสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งในปีที่ผ่านมามีการส่งออกเพียงแค่ 546ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น ลดลงจากปี 2554 ถึง 2119 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดร.เสาวรัจกล่าวด้วยว่า ภาพรวมการลงทุนในอนาคตของเวียดนามจะเป็นอีกประเทศหนึ่งที่น่าสนใจในภูมิภาคนี้ เนื่องจากมีการเปิดกว้างโดยเฉพาะการเอื้อประโยชน์ให้นักลงทุนต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ 100% ซึ่งทำให้เวียดนามมีแต้มต่อมากขึ้น
ขณะที่ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า การย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านนั้นมีหลายปัจจัยในการพิจารณา ซึ่งในส่วนของเมียนมาร์มีจุดแข็งคือเป็นแหล่งแรงงานค่าจ้างขั้นต่ำและกำลังแรงงานมาก ต้นทุนวัตถุดิบต่ำ และสามารถเป็นฐานการส่งออกไปยังประเทศที่สามได้ดี แต่ยังมีจุดอ่อนในด้านโครงสร้างพื้นฐานยังไม่ค่อยพัฒนาเท่าที่ควรโดยเฉพาะด้านไฟฟ้า รวมถึงการขาดเสถียรภาพทางการเมือง และการเข้าถึงข้อมูลเป็นไปได้ยากเพราะเอกสารราชการส่วนใหญ่ยังไม่แปลเป็นภาษาอังกฤษ บวกกับระบบกฎหมายยังไม่พัฒนามากนัก ทำให้กฎระเบียบต่างๆยังไม่ชัดเจน ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ทั้งนี้พบว่า พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการลงทุนจะอยู่ในตัวเมืองย่างกุ้งและจังหวัดใกล้เคียง เนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานดีกว่าส่วนอื่นของประเทศ ส่วนประเทศเวียดนาม มีจุดแข็งในเรื่องของตลาดภายในประเทศ ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง เป็นแหล่งแรงงานที่มีค่าจ้างต่ำและมีจำนวนมาก ทรัพยากรบุคคลมีคุณภาพ และเป็นฐานการส่งออกไปยังประเทศที่สามได้ แต่ยังมีจุดอ่อนในเรื่องกฎหมายที่ไม่ชัดเจนและมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยเช่นเดียวกับเมียนมาร์ และมีปัญหาด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาค รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานยังไม่ค่อยพัฒนาเท่าที่ควร
ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาต่อภาครัฐเพื่อส่งเสริมนักธุรกิจไทยในการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ ควรจัดตั้งหน่วยงานบริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (one-stop service) เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจระหว่าง SMEsไทยและประเทศเพื่อนบ้าน สนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนของSMEsในต่างประเทศ โดยให้ข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลเชิงลึกในเรื่องสิทธิประโยชน์ทางการค้าและภาษีสิทธิประโยชน์การลงทุนของต่างชาติ กฎหมายการลงทุน ข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานและข้อมูลเชิงลึก รวมถึงการเร่งรัดการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณตะเข็บชายแดน เช่น ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ,อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี , อ.แม่สายจ.เชียงราย , จ.มุกดาหาร , อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว โดยอาจจะมีการบังคับใช้กฎหมายพิเศษ เช่น การจ่ายค่าจ้างแรงงานที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ประธานทีดีอาร์ไอ ย้ำว่า การที่อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นจะเข้าไปลงทุนใน 2 ประเทศนี้ เป็นเรื่องที่เหมาะสม ส่วนการผลักดันแนวทางดังกล่าวไปสู่ภาคการปฏิบัตินั้น ขณะนี้ทีดีอาร์ไอได้ร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นำผลการวิจัยและข้อเสนอแนะต่างๆเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. ซึ่งประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เพื่อให้ภาครัฐและภาคเอกชนนำไปดำเนินการให้เป็นรูปธรรมต่อไป.
ที่มา : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- Verified User
- โพสต์: 1679
- ผู้ติดตาม: 0
Re: AEC เรารุกเขาหรือเขามารุกเรา
โพสต์ที่ 9
เครือเจ้าสัวหละคับsyj เขียน:บ.สัญชาติและเชื้อชาติไทย จริงๆ เหลือสักกี่บริษัท ครับ
แบงค์เรา โดนเขายึดไปนานแล้ว ไม่ต้องภาคภูมิใจอะไร
การยึุดแบงค์เป็นการปูทางในการยึดเศรษฐกิจประเทศอื่นๆ
ผมดูแล้ว ดูเหมือน มี SCC อยู่เจ้าเดียวที่แกร่งพอจะได้สู้กับคนอื่นๆ ได้
และได้ไปแล้วในหลายๆ ประเทศ AEC อ้ออาจจะมี BGH กับ CPN
กระมัง ที่น่าจะไปบุก KLM ได้
นอกนั้นดูแล้ว ว่าบ้านเราเป็นฐานให้ประเทศอื่นๆ ไปยึด KLM รอบบ้านเรา
มากกว่า แต่กระนั้่นดูเหมือนต้องผ่านฐานทางการเงินที่ Singapore อยู่ดี
ไม่ทราบทำไม น่าแปลกใจเหมือนกันอยากถามคนที่มีความรู้ด้านกฎหมาย
การลงทุนและภาษีใน AEC ครับ ใครทราบช่วยเฉลยหน่อย
ยกตัวอย่างเช่น GL (บ.ลูกของ ญี่ปุ่น นะครับ ไม่ใช่ของคนไทยแล้ว ถึง
พวกเราจะถือหุ้นบ้างก็ตาม) ต้องไปจดทะเบียน บ.ลูกที่ สิงคโปร์ ก่อน
แล้วถึงไปลงทุนที่ กัมพูชา
อุตสาหกรรมใดบ้างที่เป็นจุดแข็งของไทย เท่าที่นึกออกก็มีแค่รถยนต์
แต่ถามว่า ม้ันเป็นของใครกันแน่ คงต้องตอบตามจริงว่า ส่วนใหญ่เกือบ
ทั้งหมดเป็นของ ญี่ปุ่น มีอเมริกาบ้าง เดือนก่อนอ่านข่าว แต่จำตัวเลข
ไม่ได้ ว่าปีที่แล้ว เราส่งกำไรจากอุตสาหกรรมรถยนต์กลับไปให้
ประเทศญี่ปุ่น (เหมือนส่งบรรณาการ) มากมายมหาศาล น่าภูมิใจหรือครับ
(ขณะัที่ โปรตอนมาเลเซีย สามารถ บอกได้อย่างเต็มภาคภูมิว่า รถยนต์
ของเขาเอง และยังเป็นเจ้าของบริษัทรถยนต์ Lotus แห่งอังกฤษ อีกด้วย)
แล้วมาตรฐานการศึกษาของเรา อยู่ท้ายแถวของ AEC คิดหรือครับว่า
เราจะได้เป็นผู้ชนะ . . .
value trap
-
- Verified User
- โพสต์: 440
- ผู้ติดตาม: 0
Re: AEC เรารุกเขาหรือเขามารุกเรา
โพสต์ที่ 10
ผมขอพยากรณ์ไว้ล่วงหน้าเลยครับว่า บริษัท ใหญ่ ๆ เท่านั้นที่ได้ประโยชน์ บริษัทขนาดกลางถึงเล็กเตรียมตายได้ หากไม่ปรับตัว หรือเข้าไปอยู่ในชายคาของบริษัทใหญ่ ภายในสิ้นปีนี้(2556) ภายในปี 2558 ต้องล่มละลายแน่
Try to find a good company.
-
- Verified User
- โพสต์: 92
- ผู้ติดตาม: 0
Re: AEC เรารุกเขาหรือเขามารุกเรา
โพสต์ที่ 11
ถ้าเป็นผม ผมคงจะดูจุดอ่อน-จุดแข็งของตัวเองและต่างชาติ แล้วชวนมาทำธุรกิจรร่วมกัน
ผมว่าแบบนี้น่าจะดีกว่าจ้องจะรุกหรือรับกัน เราจะแข่งกันทำไม ถ้าเราร่วมมือกัน น่าจะไปได้ไกลกว่าแค่ภูมิภาคนี้
สามัคคีคือพลัง
ผมว่าแบบนี้น่าจะดีกว่าจ้องจะรุกหรือรับกัน เราจะแข่งกันทำไม ถ้าเราร่วมมือกัน น่าจะไปได้ไกลกว่าแค่ภูมิภาคนี้
สามัคคีคือพลัง