เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
- Tibular
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 211
คำสอนจากพระตถาคตนั้นถ้าจะสรุปสั้นๆ สำหรับผู้ที่ไม่เคยศึกษาและปฏิบัติ
หรือมีความรู้เก่ามาก่อน จะไม่สามารถเข้าใจได้ง่ายๆคับ
เพราะจะไม่เหมือนกับที่เราเคยเรียนหรือศึกษากันมาในหลักสูตรการศึกษาเสียทีเดียว
ที่เราศึกษาเล่าเรียนกันมานั้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องพระประวัติ แล้วก็ เรื่องของศีล การดำรงชีวิตที่เหมาะสม เรื่องของจริยธรรมต่างๆ
ซึ่งพระพุทธเจ้า ท่านก็สอนเรื่องนี้ เพราะเป็นเรื่องที่ เป็นประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งการปฏิบัติขั้นต่อๆไป
ส่วนเรื่องที่สำคัญที่สุด
พระพุทธเจ้า ท่านสอนเรื่อง ทุกข์ คือ ความที่สิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วแตกสลายไป
คือธรรมชาติต่างๆนั้น อันเกิดขึ้นมาแล้ว สุดท้ายก็แตกสลายไปเสมอๆ
นิยามของทุกข์ ท่านก็จะอธิบายว่า
ทุกข์ คือ ความเกิด ความแก่ ความตาย
และต่อมา อาการที่เกิดตามมาหากไม่เข้าใจ ไม่เห็นทุกข์ คือ ความโศก ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ
ความคับแค้นใจทั้งหลาย ความประสบกันสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ
มีความปราถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น
อาการเหล่านี้เกิดอันเนื่องมาจากความไม่เข้าใจ ไม่เห็นทุกข์ แล้วไปยึดมั่นว่า นี้ของเรา นี้ตัวเรา นี้เป็นตัวเราของเรา
ท่านออกบวชเพราะอยากหาทางแก้ หรือ หลุดพ้นออกจากสิ่งเหล่านี้ สิ่งที่เป็นทุกข์
ซึ่งมันเป็นไปได้หรือ ที่จะหลุดพ้น จาก ความเกิด ความแก่ ความตาย ...
แต่หลังจากการศึกษาและปฏิบัติ โดยแนวทางต่างๆ
สุดท้ายท่านก็ ตรัสรู้ ค้นพบ เหตุแห่งการเกิด เหตุแห่งการดับ
และหนทางปฏิบัติเพื่อความดับไป ของทุกข์
ตอนแรกท่านจะไม่สอน ไม่บอกกล่าว ด้วยเพราะว่า สิ่งที่ท่านตรัสรู้นั้นละเอียด เห็นได้ยาก
แต่ด้วยท่านได้ใคร่ครวญว่า อาจจะมีสัตว์ที่มีธุลีในดวงตาน้อย สามารถเห็นตามได้
ท่านก็ได้ประกาศอริยสัจสี่ ให้แก่ ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ผู้ซึ่งเคยศึกษาและปฏิบัติ ร่วมกันท่าน ในการหาทางพ้นทุกข์ เพราะท่านเห็นว่า
มีปัญญามากพอที่จะเข้าใจ
การเกิดของทุกข์ นั้นอาศัยอะไร
การดับไปของทุกข์ นั้นอาศัยอะไร
ท่านกล่าวว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้ไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย
ทั้งไม่ใช่ของคนเหล่าอื่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้ อันกรรมเก่าควบคุมแล้ว อันจิตประมวล
เข้าแล้ว ท่านทั้งหลายพึงเห็นว่าเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ย่อมมนสิการถึงปฏิจจสมุปบาท นั่นแหละโดยแยบคายเป็นอย่างดีในกายนั้นว่า เพราะเหตุนี้ๆ
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี
เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ
กล่าวคือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ
ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
เพราะอวิชชานั้นแลดับด้วย สามารถความสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไรๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่า
สิ่งนี้ของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.
และนี่คือสายของ ปฏิจจสมุปบาท วงรอบการเกิดและวงรอบการดับของทุกข์
เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง
ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้ธรรม
พร้อมทั้งเหตุ.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท เป็นอนุโลมและปฏิโลม
ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:-
ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.
ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วย มรรค คือ วิราคะ สังขาร จึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
มรรค คือหนทางปฏิบัติเพื่อความดับไปของทุกข์ มีองค์แปดประการนั่นเอง
แล้วสุดท้าย ถามว่าจะมานับถือ หรือปฏิบัติ ในศาสนาพุทธ เพื่ออะไร?
ก็ลองดูเหตุผลง่ายๆ ว่า เราๆ เดินทางสู่ความทุกข์ไหม?
เรา เกิดมา แล้ว แก่ เจ็บ ตาย กันไหม? เราประสบกับความไม่สบายกาย ไม่สบายใจกันอยู่ไหม?
หรือเพราะว่า วันนี้เรายังไม่ทุกข์ จึงยังไม่เห็นความสำคัญของทางดับทุกข์
แล้วแน่ใจหรือว่าพรุ่งนี้เราจะไม่ทุกข์
หรือพอเกษียณอายุหกสิบ เราจะไม่ทุกข์
แล้วแน่ใจหรือว่าพอเราแก่ชราอายุแปดสิบ เราจะไม่ทุกข์
“ก็สาวกของพระโคดมผู้เจริญ เมื่อพระโคดมกล่าวสอน พร่ำสอนอยู่อย่างนี้
ทุกๆ รูปได้บรรลุนิพพานอันเป็นผลสำเร็จถึงที่สุดอย่างยิ่งหรือ? หรือว่าไม่ได้บรรลุ?”
พราหมณ์ผู้หนึ่งทูลถามพระผู้มีพระภาค.
พราหมณ์ ! สาวกของเรา แม้เรากล่าวสอน
พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ น้อยพวกที่ได้บรรลุนิพพาน อันเป็น
ผลสำเร็จถึงที่สุดอย่างยิ่ง, บางพวกไม่ได้บรรลุ.
“พระโคดมผู้เจริญ ! อะไรเล่าเป็นเหตุ อะไรเล่าเป็น
ปัจจัย, ที่พระนิพพานก็ยังตั้งอยู่, หนทางที่ยังสัตว์ให้ถึงนิพพาน ก็ยังตั้งอยู่.
พระโคดมผู้ชักชวน (เพื่อดำเนินไป) ก็ยังตั้งอยู่, ทำไมน้อยพวกที่บรรลุ และบางพวกไม่บรรลุ?”
พราหมณ์ ! เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้,
ท่านจงตอบตามควร. ท่านเป็นผู้ช่ำชองในหนทางไปสู่เมือง
ราชคฤห์มิใช่หรือ? มีบุรษผู้จะไปเมืองราชคฤห์ เข้ามาหา
และกล่าวกับท่านว่า “ท่านผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าปรารถนาจะไป
เมืองราชคฤห์ ขอท่านจงชี้บอกทางไปเมืองราชคฤห์
แก่ข้าพเจ้าเถิด” ดังนี้;
ท่านก็จะกล่าวกะบุรุษผู้นั้นว่า “มาซิท่าน ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์ ไปได้ครู่หนึ่งจักพบบ้าน
ชื่อโน้น แล้วจักเห็นนิคมชื่อโน้น จักเห็นสวนและป่าอัน
น่ารื่นรมย์ จักเห็นภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีอัน
น่ารื่นรมย์ของเมืองราชคฤห์” ดังนี้.
บุรุษนั้นอันท่าน พร่ำบอก พร่ำชี้ให้อย่างนี้ ก็ยังถือเอาทางผิด กลับหลัง ตรงกันข้ามไป,
ส่วนบุรุษอีกคนหนึ่ง ไปถึงเมืองราชคฤห์ ได้โดยสวัสดี.
พราหมณ์เอย ! อะไรเล่าเป็นเหตุ อะไรเล่าเป็นปัจจัย ที่เมืองราชคฤห์ก็ยังตั้งอยู่ ท่านผู้ชี้บอก
ก็ยังตั้งอยู่ แต่ทำไมบุรุษผู้หนึ่งกลับหลงผิดทาง ส่วนบุรุษ
อีกผู้หนึ่งไปถึงเมืองราชคฤห์ได้โดยสวัสดี?
“พระโคดมผู้เจริญ ! ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าจักทำอย่างไรได้เล่า,
เพราะข้าพเจ้าเป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้น”
พราหมณ์ ! ฉันใดก็ฉันนั้นแล, ที่พระนิพพาน
ก็ยังตั้งอยู่ ทางเป็นเครื่องถึงพระนิพพาน ก็ยังตั้งอยู่ เรา
ผู้ชักชวนก็ยังตั้งอยู่; แต่สาวกแม้เรากล่าวสอนพร่ำสอน
อยู่อย่างนี้ น้อยพวกที่ได้บรรลุนิพพานอันเป็นผลสำเร็จ
ถึงที่สุดอย่างยิ่ง, บางพวกไม่ได้บรรลุ.
พราหมณ์ ! ในเรื่องนี้ เราจักทำอย่างไรได้เล่า,
เพราะเราเป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้น.
หรือมีความรู้เก่ามาก่อน จะไม่สามารถเข้าใจได้ง่ายๆคับ
เพราะจะไม่เหมือนกับที่เราเคยเรียนหรือศึกษากันมาในหลักสูตรการศึกษาเสียทีเดียว
ที่เราศึกษาเล่าเรียนกันมานั้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องพระประวัติ แล้วก็ เรื่องของศีล การดำรงชีวิตที่เหมาะสม เรื่องของจริยธรรมต่างๆ
ซึ่งพระพุทธเจ้า ท่านก็สอนเรื่องนี้ เพราะเป็นเรื่องที่ เป็นประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งการปฏิบัติขั้นต่อๆไป
ส่วนเรื่องที่สำคัญที่สุด
พระพุทธเจ้า ท่านสอนเรื่อง ทุกข์ คือ ความที่สิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วแตกสลายไป
คือธรรมชาติต่างๆนั้น อันเกิดขึ้นมาแล้ว สุดท้ายก็แตกสลายไปเสมอๆ
นิยามของทุกข์ ท่านก็จะอธิบายว่า
ทุกข์ คือ ความเกิด ความแก่ ความตาย
และต่อมา อาการที่เกิดตามมาหากไม่เข้าใจ ไม่เห็นทุกข์ คือ ความโศก ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ
ความคับแค้นใจทั้งหลาย ความประสบกันสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ
มีความปราถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น
อาการเหล่านี้เกิดอันเนื่องมาจากความไม่เข้าใจ ไม่เห็นทุกข์ แล้วไปยึดมั่นว่า นี้ของเรา นี้ตัวเรา นี้เป็นตัวเราของเรา
ท่านออกบวชเพราะอยากหาทางแก้ หรือ หลุดพ้นออกจากสิ่งเหล่านี้ สิ่งที่เป็นทุกข์
ซึ่งมันเป็นไปได้หรือ ที่จะหลุดพ้น จาก ความเกิด ความแก่ ความตาย ...
แต่หลังจากการศึกษาและปฏิบัติ โดยแนวทางต่างๆ
สุดท้ายท่านก็ ตรัสรู้ ค้นพบ เหตุแห่งการเกิด เหตุแห่งการดับ
และหนทางปฏิบัติเพื่อความดับไป ของทุกข์
ตอนแรกท่านจะไม่สอน ไม่บอกกล่าว ด้วยเพราะว่า สิ่งที่ท่านตรัสรู้นั้นละเอียด เห็นได้ยาก
แต่ด้วยท่านได้ใคร่ครวญว่า อาจจะมีสัตว์ที่มีธุลีในดวงตาน้อย สามารถเห็นตามได้
ท่านก็ได้ประกาศอริยสัจสี่ ให้แก่ ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ผู้ซึ่งเคยศึกษาและปฏิบัติ ร่วมกันท่าน ในการหาทางพ้นทุกข์ เพราะท่านเห็นว่า
มีปัญญามากพอที่จะเข้าใจ
การเกิดของทุกข์ นั้นอาศัยอะไร
การดับไปของทุกข์ นั้นอาศัยอะไร
ท่านกล่าวว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้ไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย
ทั้งไม่ใช่ของคนเหล่าอื่น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้ อันกรรมเก่าควบคุมแล้ว อันจิตประมวล
เข้าแล้ว ท่านทั้งหลายพึงเห็นว่าเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ย่อมมนสิการถึงปฏิจจสมุปบาท นั่นแหละโดยแยบคายเป็นอย่างดีในกายนั้นว่า เพราะเหตุนี้ๆ
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี
เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ
กล่าวคือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ
ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
เพราะอวิชชานั้นแลดับด้วย สามารถความสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ ฯลฯ
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ความกังวลอะไรๆ ว่า สิ่งนี้ของเรา หรือว่า
สิ่งนี้ของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด.
และนี่คือสายของ ปฏิจจสมุปบาท วงรอบการเกิดและวงรอบการดับของทุกข์
เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง
ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้ธรรม
พร้อมทั้งเหตุ.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท เป็นอนุโลมและปฏิโลม
ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:-
ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.
ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วย มรรค คือ วิราคะ สังขาร จึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
มรรค คือหนทางปฏิบัติเพื่อความดับไปของทุกข์ มีองค์แปดประการนั่นเอง
แล้วสุดท้าย ถามว่าจะมานับถือ หรือปฏิบัติ ในศาสนาพุทธ เพื่ออะไร?
ก็ลองดูเหตุผลง่ายๆ ว่า เราๆ เดินทางสู่ความทุกข์ไหม?
เรา เกิดมา แล้ว แก่ เจ็บ ตาย กันไหม? เราประสบกับความไม่สบายกาย ไม่สบายใจกันอยู่ไหม?
หรือเพราะว่า วันนี้เรายังไม่ทุกข์ จึงยังไม่เห็นความสำคัญของทางดับทุกข์
แล้วแน่ใจหรือว่าพรุ่งนี้เราจะไม่ทุกข์
หรือพอเกษียณอายุหกสิบ เราจะไม่ทุกข์
แล้วแน่ใจหรือว่าพอเราแก่ชราอายุแปดสิบ เราจะไม่ทุกข์
“ก็สาวกของพระโคดมผู้เจริญ เมื่อพระโคดมกล่าวสอน พร่ำสอนอยู่อย่างนี้
ทุกๆ รูปได้บรรลุนิพพานอันเป็นผลสำเร็จถึงที่สุดอย่างยิ่งหรือ? หรือว่าไม่ได้บรรลุ?”
พราหมณ์ผู้หนึ่งทูลถามพระผู้มีพระภาค.
พราหมณ์ ! สาวกของเรา แม้เรากล่าวสอน
พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ น้อยพวกที่ได้บรรลุนิพพาน อันเป็น
ผลสำเร็จถึงที่สุดอย่างยิ่ง, บางพวกไม่ได้บรรลุ.
“พระโคดมผู้เจริญ ! อะไรเล่าเป็นเหตุ อะไรเล่าเป็น
ปัจจัย, ที่พระนิพพานก็ยังตั้งอยู่, หนทางที่ยังสัตว์ให้ถึงนิพพาน ก็ยังตั้งอยู่.
พระโคดมผู้ชักชวน (เพื่อดำเนินไป) ก็ยังตั้งอยู่, ทำไมน้อยพวกที่บรรลุ และบางพวกไม่บรรลุ?”
พราหมณ์ ! เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้,
ท่านจงตอบตามควร. ท่านเป็นผู้ช่ำชองในหนทางไปสู่เมือง
ราชคฤห์มิใช่หรือ? มีบุรษผู้จะไปเมืองราชคฤห์ เข้ามาหา
และกล่าวกับท่านว่า “ท่านผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าปรารถนาจะไป
เมืองราชคฤห์ ขอท่านจงชี้บอกทางไปเมืองราชคฤห์
แก่ข้าพเจ้าเถิด” ดังนี้;
ท่านก็จะกล่าวกะบุรุษผู้นั้นว่า “มาซิท่าน ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์ ไปได้ครู่หนึ่งจักพบบ้าน
ชื่อโน้น แล้วจักเห็นนิคมชื่อโน้น จักเห็นสวนและป่าอัน
น่ารื่นรมย์ จักเห็นภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีอัน
น่ารื่นรมย์ของเมืองราชคฤห์” ดังนี้.
บุรุษนั้นอันท่าน พร่ำบอก พร่ำชี้ให้อย่างนี้ ก็ยังถือเอาทางผิด กลับหลัง ตรงกันข้ามไป,
ส่วนบุรุษอีกคนหนึ่ง ไปถึงเมืองราชคฤห์ ได้โดยสวัสดี.
พราหมณ์เอย ! อะไรเล่าเป็นเหตุ อะไรเล่าเป็นปัจจัย ที่เมืองราชคฤห์ก็ยังตั้งอยู่ ท่านผู้ชี้บอก
ก็ยังตั้งอยู่ แต่ทำไมบุรุษผู้หนึ่งกลับหลงผิดทาง ส่วนบุรุษ
อีกผู้หนึ่งไปถึงเมืองราชคฤห์ได้โดยสวัสดี?
“พระโคดมผู้เจริญ ! ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าจักทำอย่างไรได้เล่า,
เพราะข้าพเจ้าเป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้น”
พราหมณ์ ! ฉันใดก็ฉันนั้นแล, ที่พระนิพพาน
ก็ยังตั้งอยู่ ทางเป็นเครื่องถึงพระนิพพาน ก็ยังตั้งอยู่ เรา
ผู้ชักชวนก็ยังตั้งอยู่; แต่สาวกแม้เรากล่าวสอนพร่ำสอน
อยู่อย่างนี้ น้อยพวกที่ได้บรรลุนิพพานอันเป็นผลสำเร็จ
ถึงที่สุดอย่างยิ่ง, บางพวกไม่ได้บรรลุ.
พราหมณ์ ! ในเรื่องนี้ เราจักทำอย่างไรได้เล่า,
เพราะเราเป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้น.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 676
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 212
หัวใจของศาสนาพุทธ คือ โอวาทปาฏิโมกข์ครับ ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนเหมือนกันทุกๆ พระองค์ คือRichdollar เขียน:เห็นที่นี้คุยเรื่องธรรมะกันลองอ่านๆดูแล้วก็ยังงงๆ
เลยอยากจะถามว่า จริงๆแล้ว
"คำสอนของศาสนาพุทธ คืออะไรหรอครับ"
ขอสั้นๆนะครับ อยากได้แก่นจริงๆ
1 ทำความดี 2 ละเว้นความชั่ว และ 3 ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
กาย เวทนา จิต ธรรม
-
- Verified User
- โพสต์: 2690
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 214
กัลยาณมิตร
ที่ใฝ่รู่อยากปฎิบัติทางธรรม
ควร
ถามคำถามเหล่านี้..ก่อน
อะไรหนอ
a. อะไร คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา (ไตรลักษณ์)
มันเป็นกฏธรรมชาติ หรือกฏสมมติที่มนุษย์ตั้งขึ้น
b. กฏธรรมชาติ หรือกฏสมมติ ต่างกันอย่างไร อย่างไหนทำงานตลอดเวลา
อย่างไหนขึ้นกับเงื่อนไข
1. อะไรปิดบังไตรลักษณ์ ไม่ให้เราเห็นชัดๆ
http://thedharmablog.wordpress.com/2013 ... %E0%B9%8C/
1.1 อะไรคือ ความสืบต่อ ความยักย้าย และความเป็นหน่วยรวม
2. ปฏิบัติ อะไร เช่นไร จึงนำเรา ไปเห็น ไตรลักษณ์
http://www.noyshop.com/web-board/board.php?newsId=1431
และเห็นไปเพื่อ ประโยชน์อะไร
3. วิปลาสคือ ความสำคัญผิดว่า นามรูป เป็นของงาม เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวเป็นตน
จะกำจัดไปได้อย่างไร
วิสุทธิ 7 จากการบรรยายของ ท่านอาจารย์แนบ มหานีรานนท์
http://www.noyshop.com/web-board/board.php?newsId=1431
......
ที่ใฝ่รู่อยากปฎิบัติทางธรรม
ควร
ถามคำถามเหล่านี้..ก่อน
อะไรหนอ
a. อะไร คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา (ไตรลักษณ์)
มันเป็นกฏธรรมชาติ หรือกฏสมมติที่มนุษย์ตั้งขึ้น
b. กฏธรรมชาติ หรือกฏสมมติ ต่างกันอย่างไร อย่างไหนทำงานตลอดเวลา
อย่างไหนขึ้นกับเงื่อนไข
1. อะไรปิดบังไตรลักษณ์ ไม่ให้เราเห็นชัดๆ
http://thedharmablog.wordpress.com/2013 ... %E0%B9%8C/
1.1 อะไรคือ ความสืบต่อ ความยักย้าย และความเป็นหน่วยรวม
2. ปฏิบัติ อะไร เช่นไร จึงนำเรา ไปเห็น ไตรลักษณ์
http://www.noyshop.com/web-board/board.php?newsId=1431
และเห็นไปเพื่อ ประโยชน์อะไร
3. วิปลาสคือ ความสำคัญผิดว่า นามรูป เป็นของงาม เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวเป็นตน
จะกำจัดไปได้อย่างไร
...แต่เวลาที่จะยกขึ้นสู่วิปัสสนานั้น ไม่ได้เพ่งอารมณ์ของสมถะกรรมฐาน เพราะอารมณ์เหล่านั้นเป็นบัญญัติธรรม ไม่มีสภาวะธรรมที่จะให้เห็นว่า เป็นอนิจจัง ทุกขัง หรือ อนัตตาได้ เพราะฉะนั้นท่านจึงยกปีติขึ้นสู่วิปัสสนา เพระปีติเป็นนามธรรม เป็นนามขันธ์ เป็นสังขารขันธ์ ซึ่งสภาวะธรรมของนามรูป ย่อมเป็นไตรลักษณ์ และธรรมชาติของปีตินั้นจะเพ่งหรือไม่เพ่งก็มีการเกิดดับ แม้จิตที่เป็นสมาธิก็มีการเกิดดับ เมื่อ ปีติอาศัยจิตที่ได้ฌาณแล้ว ปีติก็เกิดดับอยู่เป็นธรรมดา เช่นเดียวกัน โดยการเกิดดับนั้นติดต่อกันรวดเร็วมาก
เมื่อยกปีติขึ้นเพ่งปีติอันเป็นนามธรรมที่มีความเกิดดับและสามารถพิสูจน์ได้ ปีตินั้นแหละก็จะแสดงความเกิดดับให้ปรากฏ แก่ผู้เพ่งได้เห็น เมื่อเห็นว่าปีติมีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ หรือเป็นอนัตตาแล้ว จิตก็จะดำเนินไปในอารมณ์ของวิปัสสนาด้วยอำนาจแห่งการเพ่ง วิปลาสก็จะจับในอารมณ์นั้นไม่ได้ ก็จะถอนความยินดีความเพลิดเพลิน ในธรรมนั้นแล้วเรียกฌาน
source:เมื่อสนใจในสิ่งใดมากก็ต้องเห็นสิ่งนั้นมาก ยิ่งดูมากยิ่งพิจารณามากๆเข้าก็จะเห็นความดับความสลายไปแต่ถ่ายเดียวเท่านั้น ปัญญาในที่นี้ก็จะมีความรู้สึกอยู่อย่างเดียวว่า ธรรมทั้งหลายใดๆที่มีการเกิดขึ้นแล้ว ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นย่อมมีความแตกสลายไปเป็นธรรมดา ปัญญาของท่านผู้ปฏบัตินั้นก็เข้าถึงคำว่า ยังกิญจิ สมุทยธัมมํ สัพพันตํ นิโรธธัมมํ ความว่า ธรรมทั้งหลายที่มีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา ที่มาใน ( วิ . มหา . ธัมมจักกัปปวัตนสูตร 4 / 16 / 21 ; สัง . มหา . ตถาคตสูตร 19 / 167 / 479 )
เมื่อปัญญาได้เข้าถึงอารมณ์ดังกล่าวแล้ว ความรู้สึกว่า สังขารคือนามรูปเป็นของเที่ยงเป็นความสุขหรือมีตัวตน หรือมีสาระแก่นสาร จะไม่เกิดขึ้นได้เลย ปัญญาที่ได้เห็นความแตกความทำลายของสังขารทั้งหลายในที่นี้ท่านเรียกว่าภังคญาณ ผู้ที่เข้าถึงภังคญาณได้นั้น ท่านแสดงอานิสสงค์ไว้ 8 ประการ
อานิสสงค์ 8 ประการคือ
1. ละความใคร่ในการต่างๆเพราะว่าไม่ใช่ความสุข
2. ละความใคร่ในชีวิตเพราะเห็นว่าชีวิตเป็นไปเพื่อทุกข์
3. หมั่นประกอบความเพียรเพื่อจะได้พ้นจากทุกข์
4. เลี้ยงชีพด้วยความบริสุทธิถูกต้องตามพระธรรมวินัย
5. ไม่ขวนขวายในทางที่ผิดให้ผิดไปจากธรรมวินัย
6. ไม่กลังเกรงต่อสิ่งที่จะทำให้เสียศีลธรรม
7. มีขันติอดทน ไม่เป็นไปกับกิเลสของคนอื่น และสอนง่าย เลี้ยงง่าย ไม่ดื้อรั้น
8. อดกลั้นต่อความยินดียินร้ายในกิเลสของตนในอารมณ์ต่างๆ
คุณธรรม 8 ประการนี้เป็นอานิสงส์อันเนื่องมาจากปัญญาของผู้ปฏิบัติที่ได้เข้าถึงภังคานุปัสสนาญาณ และอาศัยคุณธรรมเหล่านี้ เป็นปัจจัยที่จะให้บรรลุถึงธรรมที่ดับทุกข์ ถ้าผู้ใดยังไม่ได้รับอานิสงส์ 8 ประการอย่างนี้เป็นปัจจัยแล้วก็ยากที่จะดำเนินถึงพระนิพพานได้ และอานิสงส์ดังกล่าวนี้ มิใช่ได้มาจากทาน ศีล หรือจากสมาธิ แต่จะต้องได้มาจากเหตุโดยตรง คือ จากวิปัสสนาเท่านั้น
วิสุทธิ 7 จากการบรรยายของ ท่านอาจารย์แนบ มหานีรานนท์
http://www.noyshop.com/web-board/board.php?newsId=1431
......
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4940
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 215
ดูเหมือนว่าแก่นพุทธศาสน์นี้ จะอยู่ที่ใครยึดอะไรไว้ ผมก็ยึดไว้แบบหนึ่ง 55555
ผมสงสัยว่าพุทธศาสนาไม่มีแก่นได้มั้ยครับ เพราะไม่มีอะไรต้องยึดมั่น
ผมสงสัยว่าพุทธศาสนาไม่มีแก่นได้มั้ยครับ เพราะไม่มีอะไรต้องยึดมั่น
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1575
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 216
ผมเคยพยายามจัดแบ่งสรรเงินออมเงินลงทุน
เพื่อให้จิตได้นิ่งที่สุด มีเรื่องให้คิดให้กังวลน้อยที่สุด
ขณะเดียวกันก็ยังสามารถรักษาความมั่งคั่งและเติบโตได้ในระดับหนึ่ง
.......................
ผมพยายามแบ่งเงินลงทุนไปอยู่ในสินทรัพย์และตราสารประเภทอื่นที่ไม่ใช่หุ้น
เพื่อลดความผันผวนของตลาดหุ้น
ขณะเดียวกัน ก็พยายามเลือกหุ้นที่ผันผวนน้อย
และเติบโตไปได้ตามเศรษฐกิจและการพัฒนาของกระแสสังคม
..........................
ผมพบว่า การเลือกหุ้นลงทุนตามแนวคิดส่วนตัวของผมนั้น
ทำได้ไม่ง่ายนักครับ
........
การเลือกหุ้นตามแนวทางที่ผมคิดนั้น
ถูกจำกัดลงในระดับหนึ่ง ด้วยหุ้นที่เข้าข่ายสิ่งที่ผมลงทุนไม่ได้
ที่ลงทุนไม่ได้เพราะความเชื่อส่วนตัวนะครับ
เพราะหุ้นเหล่านี้ แม้ว่าหลายหุ้นหากมองทางโลกแล้ว
ถือว่าน่าสนใจอย่างมาก
แต่หากมองด้วยแนวคิดความเชื่อส่วนตัวของผมแล้ว
ไม่น่าจะเหมาะกับสิ่งที่ผมตั้งเป้าชีวิตไว้
............................
เมื่อหลายๆหุ้นที่ดีในทางโลก ผมลงทุนไม่ได้
ก็เหลือหุ้นที่ดีให้เลือกลงทุนได้ไม่มากนัก
ทำให้ช่องทางการลงทุนจำกัดลงไประดับหนึ่งทีเดียว
และผลตอบแทนที่ดีในทางโลก ที่วัดกันด้วยตัวเลข
ก็ถูกจำกัดไปด้วยเช่นกัน
..........................
คิดลึกๆแล้ว
หรือเส้นทางเดินทางโลก
จะไม่เอื้ออำนวยไม่เหมาะกับเส้นทางชีวิตที่เราอยากเดิน?
เพื่อให้จิตได้นิ่งที่สุด มีเรื่องให้คิดให้กังวลน้อยที่สุด
ขณะเดียวกันก็ยังสามารถรักษาความมั่งคั่งและเติบโตได้ในระดับหนึ่ง
.......................
ผมพยายามแบ่งเงินลงทุนไปอยู่ในสินทรัพย์และตราสารประเภทอื่นที่ไม่ใช่หุ้น
เพื่อลดความผันผวนของตลาดหุ้น
ขณะเดียวกัน ก็พยายามเลือกหุ้นที่ผันผวนน้อย
และเติบโตไปได้ตามเศรษฐกิจและการพัฒนาของกระแสสังคม
..........................
ผมพบว่า การเลือกหุ้นลงทุนตามแนวคิดส่วนตัวของผมนั้น
ทำได้ไม่ง่ายนักครับ
........
การเลือกหุ้นตามแนวทางที่ผมคิดนั้น
ถูกจำกัดลงในระดับหนึ่ง ด้วยหุ้นที่เข้าข่ายสิ่งที่ผมลงทุนไม่ได้
ที่ลงทุนไม่ได้เพราะความเชื่อส่วนตัวนะครับ
เพราะหุ้นเหล่านี้ แม้ว่าหลายหุ้นหากมองทางโลกแล้ว
ถือว่าน่าสนใจอย่างมาก
แต่หากมองด้วยแนวคิดความเชื่อส่วนตัวของผมแล้ว
ไม่น่าจะเหมาะกับสิ่งที่ผมตั้งเป้าชีวิตไว้
............................
เมื่อหลายๆหุ้นที่ดีในทางโลก ผมลงทุนไม่ได้
ก็เหลือหุ้นที่ดีให้เลือกลงทุนได้ไม่มากนัก
ทำให้ช่องทางการลงทุนจำกัดลงไประดับหนึ่งทีเดียว
และผลตอบแทนที่ดีในทางโลก ที่วัดกันด้วยตัวเลข
ก็ถูกจำกัดไปด้วยเช่นกัน
..........................
คิดลึกๆแล้ว
หรือเส้นทางเดินทางโลก
จะไม่เอื้ออำนวยไม่เหมาะกับเส้นทางชีวิตที่เราอยากเดิน?
ดู clip รายการ money talk ย้อนหลังได้ที่
http://www.facebook.com/MoneyTalkTV
http://www.facebook.com/MoneyTalkTV
- Tibular
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 217
เอ่อ ไม่ได้นะคับ เพราะจะเข้าไปสู่มิจฉาทิฏฐิได้นะคับDech เขียน:ดูเหมือนว่าแก่นพุทธศาสน์นี้ จะอยู่ที่ใครยึดอะไรไว้ ผมก็ยึดไว้แบบหนึ่ง 55555
ผมสงสัยว่าพุทธศาสนาไม่มีแก่นได้มั้ยครับ เพราะไม่มีอะไรต้องยึดมั่น
พระสมณโคดม ท่านตรัสรู้แล้ว เป็นผู้ที่ไม่หลงแล้ว ก็มาทบทวน ว่าเราควรเคารพอะไร
ท่านเห็นว่าควรเคารพ "ธรรม" ที่ท่านได้ตรัสรู้แล้ว
เพราะฉะนั้น ไม่ใข่อยู่ที่ใครยึดอะไร ไม่ยึดอะไรนะคับ
ในธรรมวินัยนี้ ต้องฟังธรรมที่ท่านตรัสรู้เป็นหลัก เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
ซึ่งตัวท่านก็ได้แสดงแนวทางการปฏิบัติไว้เป็นขั้นตอน(อย่างย่อ)ด้วยนะคับ
โดยท่านได้เปรียบเทียบกับการฝึกม้า
พราหมณ์ ! ในธรรมวินัยนี้ เราสามารถบัญญัติ
กฎเกณฑ์แห่งการศึกษาตามลำดับ การกระทำตามลำดับ
และการปฏิบัติตามลำดับได้เหมือนกัน.
พราหมณ์ ! เปรียบเหมือนผู้ชำนาญการฝึกม้า
ได้ม้าชนิดที่อาจฝึกได้มาแล้ว ในขั้นแรกย่อมฝึกให้รู้จักการ
รับสวมบังเหียนก่อน แล้วจึงค่อยฝึกอย่างอื่นๆ ให้ยิ่งขึ้นไปฉันใด;
พราหมณ์เอย ! ตถาคตครั้นได้บุรุษที่พอฝึกได้มาแล้ว
ในขั้นแรกย่อมแนะนำอย่างนี้ก่อนว่า
“มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยดี
ในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็น
เป็นภัยแม้ในโทษที่เล็กน้อย จงสมาทานศึกษาในสิกขาบท
ทั้งหลายเถิด” ดังนี้.
พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้น เป็นผู้มีศีล (เช่นที่
กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า
“มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเป็นผู้สำรวมในอินทรีย์
ทั้งหลาย : ได้เห็นรูปด้วยตาแล้ว จักไม่ถือเอาโดยนิมิต
(คือรวบถือทั้งหมด ว่างามหรือไม่งามแล้วแต่กรณี) จักไม่ถือเอา
โดยอนุพยัญชนะ (คือแยกถือเอาแต่บางส่วน ว่าส่วนใดงามหรือ
ไม่งามแล้วแต่กรณี), บาปอกุศล กล่าวคืออภิชฌาและโทมนัส
มักไหลไปตามอารมณ์ เพราะการไม่สำรวมจักขุนทรีย์ใด
เป็นเหตุ เราจักสำรวมอินทรีย์นั้นไว้ เป็นผู้รักษาสำรวมจักขุนทรีย์” ดังนี้.
(ในกรณี โสตินทรีย์คือหู ฆานินทรีย์คือจมูก ชิวหินทรีย์คือลิ้น
กายินทรีย์คือกาย และมนินทรีย์คือใจ ก็มีข้อความนัยเดียวกัน).
พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้น เป็นผู้สำรวมอินทรีย์
(เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า
“มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ
อยู่เสมอ จงพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงฉัน ไม่ฉันเพื่อเล่น
เพื่อมัวเมา เพื่อประดับตกแต่ง, แต่ฉันเพียงเพื่อให้กายนี้
ตั้งอยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อป้องกันความลำบาก
เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์, โดยคิดว่า เราจักกำจัดเวทนาเก่า
(คือหิว) เสีย แล้วไม่ทำเวทนาใหม่ (คืออิ่มจนอึดอัด) ให้เกิดขึ้น,
ความที่อายุดำเนินไปได้ ความไม่มีโทษเพราะอาหาร และ
ความอยู่ผาสุกสำราญ จักมีแก่เรา” ดังนี้.
พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้น เป็นผู้รู้ประมาณ
ในโภชนะ (เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า
“มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงประกอบความเพียรใน
ธรรมเป็นเครื่องตื่น (ไม่หลับ ไม่ง่วง ไม่มึนชา). จงชำระจิต
ให้หมดจดสิ้นเชิงจากอาวรณิยธรรมทั้งหลาย ด้วยการเดิน
การนั่ง ตลอดวันยันค่ำ ไปจนสิ้นยามแรกแห่งราตรี.
ครั้นยามกลางแห่งราตรี สำเร็จการนอนอย่างราชสีห์
(คือตะแคงขวา เท้าเหลื่อมเท้า) มีสติสัมปชัญญะในการลุกขึ้น.
ครั้นถึงยามท้ายแห่งราตรี ลุกขึ้นแล้ว ชำระจิตให้หมดจด
จากอาวรณิยธรรม ด้วยการเดิน การนั่ง อีกต่อไป” ดังนี้.
พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้น เป็นผู้ประกอบ
ความเพียรในธรรมเป็นเครื่องตื่น (เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว
ตถาคตย่อมแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า
“มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วย
สติสัมปชัญญะ รู้ตัวรอบคอบในการก้าวไปข้างหน้า
การถอยกลับไปข้างหลัง, การแลดู การเหลียวดู, การคู้
การเหยียด, การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร, การฉัน การดื่ม
การเคี้ยว การลิ้ม, การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ, การไป
การหยุด, การนั่ง การนอน, การหลับ การตื่น, การพูด
การนิ่ง” ดังนี้.
พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้น เป็นผู้ประกอบด้วย
สติสัมปชัญญะ (เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำ
ให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า
“มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ
ป่าละเมาะ โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ
ที่แจ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึ่ง). ในกาลเป็นปัจฉาภัตต์
กลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า,
ละ อภิชฌาในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา คอยชำระจิตจากอภิชฌา;
ละ พยาบาท มีจิตปราศจากพยาบาท เป็นผู้กรุณา มีจิต
หวังความเกื้อกูลในสัตว์ทั้งหลาย คอยชำระจิตจากพยาบาท;
ละ ถีนมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีจิตปราศจาก
ถีนมิทธะ มีสติสัมปชัญญะ คอยชำระจิตจากถีนมิทธะ;
ละ อุทธัจจกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ภายใน
คอยชำระจิตจากอุทธัจจกุกกุจจะ;
ละ วิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่า
‘นี่อะไร นี่อย่างไร’ ในกุศลธรรมทั้งหลาย (เพราะความสงสัย)
คอยชำระจิตจากวิจิกิจฉา” ดังนี้.
ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์ห้าประการ อันเป็นเครื่อง
เศร้าหมองของจิต ทำปัญญาให้ถอยจากกำลังเหล่านี้
จึงบรรลุฌานที่หนึ่ง มีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก
แล้วแลอยู่;
เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึงบรรลุฌานที่สอง
เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน เป็นที่เกิดสมาธิ
แห่งใจ ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ
แล้วแลอยู่;
เพราะความจางหายไปแห่งปีติ ย่อมอยู่อุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่สาม
อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่าผู้ได้ฌานนี้ “เป็นผู้อยู่
อุเบกขา มีสติ มีการอยู่เป็นสุข” แล้วแลอยูู่;
และเพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัส
และโทมนัสในกาลก่อน จึงได้บรรลุฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์
ไม่สุข มีแต่ความที่มีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธ์ิ เพราะอุเบกขา
แล้วแลอยู่.
พราหมณ์เอย !
ภิกษุเหล่าใดที่ยังเป็นเสขะ (คือยังต้องทำต่อไป) ยัง
ไม่บรรลุอรหัตตผล ยังปรารถนานิพพานอันเป็นที่เกษม
จากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งไปกว่าอยู่, คำสอนที่กล่าวมานี้แหละ
เป็นคำสอนสำหรับภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น.
ส่วนภิกษุเหล่าใด เป็นอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว
จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลง
ได้แล้ว มีประโยชน์ตนอันบรรลุถึงแล้ว มีสัญโญชน์ในภพสิ้น
ไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ, ธรรมทั้งหลาย
(ในคำสอน) เหล่านี้ เป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
และเพื่อสติสัมปชัญญะ แก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ด้วย.
อุปริ. ม. ๑๔/๘๒/๙๔.
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 218
นี่แหละครับ... ความยากของทางสายกลาง...Dech เขียน:ดูเหมือนว่าแก่นพุทธศาสน์นี้ จะอยู่ที่ใครยึดอะไรไว้ ผมก็ยึดไว้แบบหนึ่ง 55555
ผมสงสัยว่าพุทธศาสนาไม่มีแก่นได้มั้ยครับ เพราะไม่มีอะไรต้องยึดมั่น
ภาพในมุมหนึ่งของที่สุดแห่งทุกข์ คือ การไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดๆ แต่ในอีกมุมหนึ่งกิเลสก็หลอกล่อเราว่าเราไม่ยึดแล้ว แต่กลายเป็นไม่ยึดด้วยอำนาจของโมหะ ไม่ใช่อุเบกขา
ความยากของทางสายกลาง คือ จะต้องมีความเพียรที่เข้มข้นมาก เพียรและขยันที่จะรู้เพียงขณะหนึ่งๆ... รู้แล้วทิ้ง เพียรที่จะไม่ยึดแม้กระทั่งอารมณ์ที่พึ่งจะดับไปในขณะจิตก่อนหน้า
ดังนั้นพระอาจารย์หลายๆ รูป จึงสอนให้ปฏิบัติให้มาก ทำให้มาก อ่านให้น้อย เพราะ ยิ่งอ่านก็ยิ่งยึด... การไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดทั้งปวง จำเป็นต้องไม่ยึดแม้กระทั่งอารมณ์ที่พึ่งดับไป มีความเพียรที่จะอยู่กับปัจจุบันอารมณ์ ขณะจิตสั้นๆ เพียงขณะหนึ่งๆ
แต่ก่อนที่เข้าถึงความเพียรที่จะละได้นี่ ต้องเคยผ่านความเพียรแบบอื่นๆ ความเพียรแบบที่เคยยึด จนแก่กล้า ครั้งแล้วครั้งเล่าๆ จนเห็นว่าทางที่ยึดยังไม่ใช่ทางไปสู่ที่สุดแห่งทุกข์ สัมมาทิฎฐิจึงจะตั้งขึ้นได้ จึงเพียรที่จะละแทน โดยใช้กำลังของความเพียรที่เคยฝึกมาก่อนหน้าในการละแทน จึงทำให้สามารถตั้งเป้าได้ถูก ได้ตรงมากขึ้น เพียรที่จะละได้มากขึ้นๆ และเมื่อละสิ่งหนึ่งๆ จึงรู้ว่าก่อนหน้านี้ยังยึดอยู่ แล้วจึงรู้ว่าต้องเพียรละอย่างไรต่อไป ทำไปเรื่อยๆ วนเป็นรอบๆ จนปัญญาแก่กล้ามากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ จนจะวางความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้นเรื่อยๆ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 219
แล้วรู้ได้อย่างไรว่า การไม่ยึดในขณะนี้ เป็นการละด้วยโมหะ หรือ อุเบกขา... สัญญาณหนึ่งคือ อารมณ์ที่ปรากฎขึ้นในจิตจะชัดมาก ถ้าละด้วยอุเบกขา ไม่ขณะที่หากละด้วยโมหะ อารมณ์จะไม่ชัด ขมุกขมัว ไม่มีตัวรู้ ไม่มีปัญญาที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะ... หากรู้ด้วยปัญญา ละด้วยอุเบกขา แต่ละขณะที่กำหนดรู้ ธัมมวิจยะ จะเกิดขึ้นอยู่ตลอด ไม่ว่าจะกำหนดรู้อะไร ก็จะเกิดปัญญา เห็นธรรมในสิ่งต่างๆ ที่กำหนดรู้
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 676
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 220
ผมคิดว่าคุณ picatos ทราบดีนะครับ เพราะหลักธรรมที่ใช้ตรวจสอบการปฏิบัติคือ โพชฌงค์ 7 ซึ่งธรรมวิจยะเป็น 1 ในข้อนั้นpicatos เขียน:แล้วรู้ได้อย่างไรว่า การไม่ยึดในขณะนี้ เป็นการละด้วยโมหะ หรือ อุเบกขา... สัญญาณหนึ่งคือ อารมณ์ที่ปรากฎขึ้นในจิตจะชัดมาก ถ้าละด้วยอุเบกขา ไม่ขณะที่หากละด้วยโมหะ อารมณ์จะไม่ชัด ขมุกขมัว ไม่มีตัวรู้ ไม่มีปัญญาที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะ... หากรู้ด้วยปัญญา ละด้วยอุเบกขา แต่ละขณะที่กำหนดรู้ ธัมมวิจยะ จะเกิดขึ้นอยู่ตลอด ไม่ว่าจะกำหนดรู้อะไร ก็จะเกิดปัญญา เห็นธรรมในสิ่งต่างๆ ที่กำหนดรู้
สิ่งที่เหนือกว่าอุเบกขา คือ พระนิพพาน ความว่างในจิตที่ปราศจากอวิชชาครอบงำครับ แต่พรหมวิหารธรรมทั้ง 4 ก็เป็นรากฐานที่สำคัญที่ทุกคนต้องมี แต่ยังตัดสังโยชน์ทั้ง 10 ไม่ขาด เพราะยังขาดปัญญาไม่รู้จักเรื่อง "ตัวเรา" และเรื่อง "สังโยชน์" ว่าสิ่งเหล่านี้คืออะไร หน้าตามันเป็นอย่างไร
ดังนั้น การเข้าถึงพระนิพพาน ต้องอาศัยมรรคเท่านั้น การที่จะรู้จักมรรค ก็ต้องรู้เรื่องอริยสัจ 4 ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สอนโอวาทปากฏิโมกข์(ไตรสิกขา) ก็คือ ทาน ศีล ภาวนมยปัญญา (สมาธิ+วิปัสสนา) นั่นคือวกกลับมาเรื่องมรรคอีก ซึ่งเป็นหลักธรรมเดียวกัน เพียงแต่การแสดงหลักธรรมก่อนหรือหลังนั้น พระพุทธองค์ใช้ญาณกับเวไนยสัตว์นั้น ว่ามีบุญบารมีเห็นด้านใดได้ชัดเจนเป็นพิเศษครับ ซึ่งสิ่งที่ศาสนาพุทธไม่เหมือนกับศาสนาอื่น คือ มีเรื่องมรรค 8 และบัญญัติเรื่องศีลสิกขา (เป็นคำตอบพระพุทธองค์ต่อข้อสงสัยของสุภัททะ พระอรหันต์องค์สุดท้ายที่พระพุทธองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่)
พระโสดาบันเข้าใจอริยสัจ 4 อย่างถ่องแท้ และรู้วิธีการกำจัดกิเลสที่เหลือในดวงจิตของตน เพียงแต่ยังขาดกำลังใจหรืออินทรีย์และปัญญายังไม่แก่กล้าพอที่จะถล่มราคะ โลภะ โทสะ โมหะให้ขาดสะบั้นไปจากจิต ต้องใช้เวลา(แต่อีกไม่นาน)ศึกษาต่อ ยังคงเป็นพระเสขะต่อไปครับ
ผมคิดว่าท่านพุทธทาสภิกขุได้บอกถึงหลักสูตรศาสนาพุทธครบถ้วนไว้แล้วในคู่มืออานาปานสติภาวนา 16 ขั้น คือ สัมมามัตตะ ก็คือ มรรค 8 ข้อปฏิบัติ 8 ประการ และนิโรธ-ผลของการปฏิบัติอีก 2 ประการ คือ สัมมาญาณะ และสัมมาวิมุติ คือ เมื่อมีความเห็นชอบเกิดขึ้น (สัมมาทิฏฐิ ตัวสรุปสุดท้ายของมรรค 8) ย่อมเกิดอีก 2 สิ่งพร้อมกันในเวลาเดียวกัน คือ ได้ความรู้ที่ถูกต้อง เมื่อมีความรู้ที่ถูกต้อง ส่งผลให้จิตหลุดพ้นตามลำดับขั้น เข้าสู่ความว่างสุญญตาราม ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสถามพระสารีบุตรว่า อะไรคือวิหารธรรมของเธอ ซึ่งพระสารีบุตรีตอบว่า สุญญตาเป็นวิหารธรรมของข้าพเจ้าครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
กาย เวทนา จิต ธรรม
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 676
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 221
ผมคิดว่าคุณ Dech ก็ปฏิบัติและทราบในสิ่งที่ถูกอย่างดียิ่ง ถึงสรุปได้ว่าปลายทางของพุทธศาสนา ถึงเป็นแก่นหรือเป็นอะไรก็อย่ายึดมั่นถือมั่น เพราะพระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ว่าธรรมทั้งหลายทั้งปวงล้วนเป็นอนัตตาDech เขียน:ดูเหมือนว่าแก่นพุทธศาสน์นี้ จะอยู่ที่ใครยึดอะไรไว้ ผมก็ยึดไว้แบบหนึ่ง 55555
ผมสงสัยว่าพุทธศาสนาไม่มีแก่นได้มั้ยครับ เพราะไม่มีอะไรต้องยึดมั่น
การแสดงธรรมของพระพุทธองค์ในบางกาล ก็มีการเปรียบเทียบเพื่อให้สาวกของท่านเข้าใจได้มากขึ้น แต่สมมติบัญญัติภาษาก็อาจทำให้เราๆไขว้เขวเข้าใจผิดไปได้เหมือนกันครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
กาย เวทนา จิต ธรรม
- Tibular
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 222
เพิ่มเติมเรื่องการละนิวรณ์ห้านะคับ เผื่อท่านที่สนใจ
นิวรณ์มี 5 อย่าง เป็นอาการของจิตที่เราทุกคนมีเสมอๆ คือ
1. กามฉันทะ ความพอใจอยากได้ในกามคุณห้า ใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
2. พยาบาท ความโกรธ ความพยาบาท ความไม่พอใจ ขัดเคืองใจ
3. ถีนมิทธะ ความหดหู่ท้อถอย ความง่วงเหงาหาวนอน
4. อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านของจิต ความรำคาญใจ
5. วิจิกิจฉา ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล หวาดระแวง
พระอานนท์ ได้สดับฟังจาก พระผู้มีพระภาคในเรื่องการละนิวรณ์ห้าโดยเปรียบเทียบว่า
1. การละกามฉันทะ เปรียบเหมือน ผู้ที่เป็นหนี้ เมื่อทำงานได้เงิน ใช้หนี้หมดแล้ว ยังมีเงินเหลือมาให้ภรรยาอีกด้วย
คือ ได้ความโล่งใจ ไม่เร่าร้อน เพราะความอยากได้อีก เพราะใช้หนี้หมด แถมมีเงินเหลืออีก
2. การละพยาบาท เปรียบเหมือน ผู้ที่นอนเจ็บป่วยด้วยโรค ทุรนทุราย จนสุดท้าย โรคได้บรรเทาลง
คือ ได้ความโล่งใจ เหมือนที่เราหายจากเจ็บป่วยนั่นเอง
3. การละถีนมิทธะ เปรียบเหมือน ผู้ที่โดนจองจำอยู่ในเรือนจำมานาน แล้วได้ออกจากเรือนจำนั้น
คือ ได้ความโล่งใจ เหมือนได้ออกจากเรือนจำ ไม่ต้องรู้สึก หดหู่ ท้อแท้อีกแล้ว
4. การละอุทธัจจะกุกกุจจะ เปรียบเหมือน ผู้ที่เป็นทาส ต้องโดนเจ้านายจูงไป ทางนั้นที ทางนี้ที แล้วได้รับอิสระภาพ
คือ ได้ความโล่งใจ เปรียบได้กับการไม่ต้องเป็นทาสแล้ว คือ จิตหลุดจาก ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ ที่ทำให้ไม่สงบ
5. การละวิจิกิจฉา เปรียบเหมือน ผู้ที่พกพาเงินทองของมีค่า เดินทางไกลผ่านที่เปลี่ยว แล้วเดินทางถึงที่หมายได้โดยสวัสดิภาพ
คือ ได้ความโล่งใจ เพราะไม่ต้องหวาดกลัว กังวล ว่าจะมีโจรมาปล้นของมีค่าไป เพราะเดินทางถึงที่หมายแล้ว
นี่ก็เป็นเทคนิคที่น่าสนใจโดยการเปรียบเทียบ
เพื่อทำให้เราทราบและประเมินความรู้สึกที่เกิดขึ้น เวลาที่เราละนิวรณ์ห้าได้
นิวรณ์มี 5 อย่าง เป็นอาการของจิตที่เราทุกคนมีเสมอๆ คือ
1. กามฉันทะ ความพอใจอยากได้ในกามคุณห้า ใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
2. พยาบาท ความโกรธ ความพยาบาท ความไม่พอใจ ขัดเคืองใจ
3. ถีนมิทธะ ความหดหู่ท้อถอย ความง่วงเหงาหาวนอน
4. อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านของจิต ความรำคาญใจ
5. วิจิกิจฉา ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล หวาดระแวง
พระอานนท์ ได้สดับฟังจาก พระผู้มีพระภาคในเรื่องการละนิวรณ์ห้าโดยเปรียบเทียบว่า
1. การละกามฉันทะ เปรียบเหมือน ผู้ที่เป็นหนี้ เมื่อทำงานได้เงิน ใช้หนี้หมดแล้ว ยังมีเงินเหลือมาให้ภรรยาอีกด้วย
คือ ได้ความโล่งใจ ไม่เร่าร้อน เพราะความอยากได้อีก เพราะใช้หนี้หมด แถมมีเงินเหลืออีก
2. การละพยาบาท เปรียบเหมือน ผู้ที่นอนเจ็บป่วยด้วยโรค ทุรนทุราย จนสุดท้าย โรคได้บรรเทาลง
คือ ได้ความโล่งใจ เหมือนที่เราหายจากเจ็บป่วยนั่นเอง
3. การละถีนมิทธะ เปรียบเหมือน ผู้ที่โดนจองจำอยู่ในเรือนจำมานาน แล้วได้ออกจากเรือนจำนั้น
คือ ได้ความโล่งใจ เหมือนได้ออกจากเรือนจำ ไม่ต้องรู้สึก หดหู่ ท้อแท้อีกแล้ว
4. การละอุทธัจจะกุกกุจจะ เปรียบเหมือน ผู้ที่เป็นทาส ต้องโดนเจ้านายจูงไป ทางนั้นที ทางนี้ที แล้วได้รับอิสระภาพ
คือ ได้ความโล่งใจ เปรียบได้กับการไม่ต้องเป็นทาสแล้ว คือ จิตหลุดจาก ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ ที่ทำให้ไม่สงบ
5. การละวิจิกิจฉา เปรียบเหมือน ผู้ที่พกพาเงินทองของมีค่า เดินทางไกลผ่านที่เปลี่ยว แล้วเดินทางถึงที่หมายได้โดยสวัสดิภาพ
คือ ได้ความโล่งใจ เพราะไม่ต้องหวาดกลัว กังวล ว่าจะมีโจรมาปล้นของมีค่าไป เพราะเดินทางถึงที่หมายแล้ว
นี่ก็เป็นเทคนิคที่น่าสนใจโดยการเปรียบเทียบ
เพื่อทำให้เราทราบและประเมินความรู้สึกที่เกิดขึ้น เวลาที่เราละนิวรณ์ห้าได้
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 223
ผมว่า ที่พี่เด็กใหม่ เขียนไว้ข้างบน น่าจะเหมาะกับพระพุทธพจน์ ที่ว่าเด็กใหม่ไฟแรง เขียน: คิดลึกๆแล้ว
หรือเส้นทางเดินทางโลก
จะไม่เอื้ออำนวยไม่เหมาะกับเส้นทางชีวิตที่เราอยากเดิน?
"ท่านทั้งหลาย เมื่อใดที่ท่านรู้จักอกุศลและรากเหง้าของอกุศล กุศลและรากเหง้าของกุศล...ฯลฯ
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ชื่อว่าเป็นสัมมาทิฐิ"
ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของมรรค สุดท้ายก็จะน้อมจิตเข้าสู่ สัมมาสมาธิครับ
ซึ่งหากเปรียบก็คือ เจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ ครับ
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
-
- Verified User
- โพสต์: 39
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 224
เดิมแท้ไม่มีอะไร ต่อมาเริ่มมีอะไร ยิ่งอยู่นานยิ่งมีอะไรต่อมิอะไร สุดท้ายกลับคืนสู่ความไม่มีอะไร
นักเดินทางทางโลก - ยิ่งคิดก็ยิ่งติดอะไรต่อมิอะไร สุดท้ายแล้วก็ต้องกลับมาเริ่มมีอะไร
นักเดินทางทางธรรม - ยิ่งรู้ก็ยิ่งไม่ติดอะไรต่อมิอะไร สุดท้ายไปแล้วไปลับไม่กลับมา
นักเดินทางทางโลก - ยิ่งคิดก็ยิ่งติดอะไรต่อมิอะไร สุดท้ายแล้วก็ต้องกลับมาเริ่มมีอะไร
นักเดินทางทางธรรม - ยิ่งรู้ก็ยิ่งไม่ติดอะไรต่อมิอะไร สุดท้ายไปแล้วไปลับไม่กลับมา
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 676
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 226
ขอย่นย่อท่านอาจารย์นะครับ
ความสุขอยู่ที่กายใจเรา ไม่ใช่อยู่ที่คนอื่น คนรอบข้าง สิ่งแวดล้อมครับ ตีวงแคบเข้ามาแล้วพิจารณาแค่กายแค่ใจเราเท่านั้นพอครับ
ทางเดินของฆราวาสย่อมคับแคบกว่าบรรพชิตหากต้องการออกจากกองทุกข์ครับ แต่พระพุทธองค์ยังประทานหลักธรรมเพื่อมิให้ฆราวาสที่เป็นอุบาสก อุบาสิกามีทุกข์มากเกินไป นั่นคือ ฆราวาสธรรม 7 และทิศ 6 ดังที่ผมเคย Post ไปก่อนหน้านี้แล้วครับ
ถ้าสังเกตจะพบว่าอภิมหาเศรษฐีไทยมีส่วนเกี่ยวข้องกับมิจฉาอาชีวะ หรือประเทศอภิมหาอำนาจก็ยังเกี่ยวข้องกับมิจฉาอาชีวะเช่นกัน อาจทำให้หลายๆท่าน หลายๆ ประเทศรู้สึกอิจฉา หรือท้อแท้หดหู่หมดกำลังใจ แต่ผมอยากให้มองความจริงย้อนกลับที่ตนเองว่าถึงรวยน้อยหน่อย หรือมีฐานะปานกลาง ยังมีความสุขได้ สุขโดยไม่ต้อง/ไม่เกี่ยวข้อง/ไม่เป็นสาเหตุของการเบียดเบียนชีวิตใคร ซึ่งความสุข ความสบายใจเป็นนามธรรมครับ ไม่สามารถตีค่าเป็นรูปธรรมหรือจำนวนเงินได้ อย่าพยายามวัดนามเป็นรูป หรือไปเทียบเคียงกับผู้อื่น เพราะจะเป็นหาเหตุเพิ่มทุกข์เข้าไปอีกเด็กใหม่ไฟแรง เขียน: ........
การเลือกหุ้นตามแนวทางที่ผมคิดนั้น
ถูกจำกัดลงในระดับหนึ่ง ด้วยหุ้นที่เข้าข่ายสิ่งที่ผมลงทุนไม่ได้
ที่ลงทุนไม่ได้เพราะความเชื่อส่วนตัวนะครับ
เพราะหุ้นเหล่านี้ แม้ว่าหลายหุ้นหากมองทางโลกแล้ว
ถือว่าน่าสนใจอย่างมาก
แต่หากมองด้วยแนวคิดความเชื่อส่วนตัวของผมแล้ว
ไม่น่าจะเหมาะกับสิ่งที่ผมตั้งเป้าชีวิตไว้
............................
เมื่อหลายๆหุ้นที่ดีในทางโลก ผมลงทุนไม่ได้
ก็เหลือหุ้นที่ดีให้เลือกลงทุนได้ไม่มากนัก
ทำให้ช่องทางการลงทุนจำกัดลงไประดับหนึ่งทีเดียว
และผลตอบแทนที่ดีในทางโลก ที่วัดกันด้วยตัวเลข
ก็ถูกจำกัดไปด้วยเช่นกัน
..........................
คิดลึกๆแล้ว
หรือเส้นทางเดินทางโลก
จะไม่เอื้ออำนวยไม่เหมาะกับเส้นทางชีวิตที่เราอยากเดิน?
ความสุขอยู่ที่กายใจเรา ไม่ใช่อยู่ที่คนอื่น คนรอบข้าง สิ่งแวดล้อมครับ ตีวงแคบเข้ามาแล้วพิจารณาแค่กายแค่ใจเราเท่านั้นพอครับ
ทางเดินของฆราวาสย่อมคับแคบกว่าบรรพชิตหากต้องการออกจากกองทุกข์ครับ แต่พระพุทธองค์ยังประทานหลักธรรมเพื่อมิให้ฆราวาสที่เป็นอุบาสก อุบาสิกามีทุกข์มากเกินไป นั่นคือ ฆราวาสธรรม 7 และทิศ 6 ดังที่ผมเคย Post ไปก่อนหน้านี้แล้วครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
กาย เวทนา จิต ธรรม
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 228
ผมคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแล้วแต่เป็นไปตามเหตุปัจจัย กุศลกรรมก็มีกุศลวิบาก อกุศลกรรมก็มีอกุศลวิบาก เมื่อเรามีความเข้าใจในกฎแห่งกรรมมากยิ่งขึ้น เราก็จะรู้ถึงอำนาจของการเลือกมากยิ่งขึ้น เมื่อปัญญาแก่กล้าถึงจุดหนึ่ง เราอาจจะเห็นทางเลือกนับล้านๆ ปรากฎอยู่ต่อหน้าให้เราเลือกอยู่ทุกขณะ... และปัญญาที่แก่กล้านี้เองทำให้เราเห็นว่าทางเลือกแต่ละทาง เหตุแต่ละเหตุ จะให้ผลอย่างไรนับตั้งแต่ปัจจุบันไปจนถึงอนาคต จึงทำให้เราเลือกที่จะกระทำกรรมที่ให้ผลที่ดีที่สุดทั้งในปัจจุบันไปจนถึงอนาคต และถ้าเรารู้ไม่ชัดถึงเหตุปัจจัย แต่จำเป็นต้องตัดสินใจทำ แม้ว่าจะรู้ว่าสิ่งที่เลือกอาจจะส่งผลร้าย เราก็พร้อมที่จะรับผลร้ายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้เด็กใหม่ไฟแรง เขียน:ผมเคยพยายามจัดแบ่งสรรเงินออมเงินลงทุน
เพื่อให้จิตได้นิ่งที่สุด มีเรื่องให้คิดให้กังวลน้อยที่สุด
ขณะเดียวกันก็ยังสามารถรักษาความมั่งคั่งและเติบโตได้ในระดับหนึ่ง
.......................
ผมพยายามแบ่งเงินลงทุนไปอยู่ในสินทรัพย์และตราสารประเภทอื่นที่ไม่ใช่หุ้น
เพื่อลดความผันผวนของตลาดหุ้น
ขณะเดียวกัน ก็พยายามเลือกหุ้นที่ผันผวนน้อย
และเติบโตไปได้ตามเศรษฐกิจและการพัฒนาของกระแสสังคม
..........................
ผมพบว่า การเลือกหุ้นลงทุนตามแนวคิดส่วนตัวของผมนั้น
ทำได้ไม่ง่ายนักครับ
........
การเลือกหุ้นตามแนวทางที่ผมคิดนั้น
ถูกจำกัดลงในระดับหนึ่ง ด้วยหุ้นที่เข้าข่ายสิ่งที่ผมลงทุนไม่ได้
ที่ลงทุนไม่ได้เพราะความเชื่อส่วนตัวนะครับ
เพราะหุ้นเหล่านี้ แม้ว่าหลายหุ้นหากมองทางโลกแล้ว
ถือว่าน่าสนใจอย่างมาก
แต่หากมองด้วยแนวคิดความเชื่อส่วนตัวของผมแล้ว
ไม่น่าจะเหมาะกับสิ่งที่ผมตั้งเป้าชีวิตไว้
............................
เมื่อหลายๆหุ้นที่ดีในทางโลก ผมลงทุนไม่ได้
ก็เหลือหุ้นที่ดีให้เลือกลงทุนได้ไม่มากนัก
ทำให้ช่องทางการลงทุนจำกัดลงไประดับหนึ่งทีเดียว
และผลตอบแทนที่ดีในทางโลก ที่วัดกันด้วยตัวเลข
ก็ถูกจำกัดไปด้วยเช่นกัน
..........................
คิดลึกๆแล้ว
หรือเส้นทางเดินทางโลก
จะไม่เอื้ออำนวยไม่เหมาะกับเส้นทางชีวิตที่เราอยากเดิน?
ในความคิดของผม เรื่องทางโลก กับเรื่องทางธรรม เป็นสิ่งที่ไม่ขัดแย้งกัน จะว่าไปกลับเป็นสิ่งที่ผมเห็นว่าส่งเสริมกันเสียด้วยซ้ำ... โดยนัยยะหนึ่งของคำว่า ธรรมะ ก็คือ ธรรมชาติ และธรรมชาติก็ครอบคลุมกฏเกณฑ์ทางโลกไว้ทั้งหมดอยู่แล้ว กุศลก็เป็นธรรมะ อกุศลก็เป็นธรรมะ ดังนั้นเมื่อเราศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรมะ เราจึงศึกษาทั้งสิ่งที่เป็นกุศล และเป็นอกุศล การเจริญสติ กำหนดรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะ อาจารย์ผมก็สอนให้แค่กำหนดรู้เฉยๆ กำหนดรู้ไปตามความเป็นจริง ไม่เปิดรับแค่สิ่งที่เป็นกุศล ไม่ปฏิเสธสิ่งที่เป็นอกุศล กำหนดมันตรงๆ ซื่อๆ ซึ่งการเรียนรู้ธรรมเหล่านี้ต้องอาศัย ขันธ์ 5 ต้องอาศัยเรื่องราว สิ่งที่ปรากฎขึ้นในทางโลกในการเรียนรู้ธรรมอยู่ตลอดเวลา และเราก็ใช้เหตุการณ์ ประสบการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในทางโลกทำความเข้าใจธรรมะต่างๆ เช่นกัน... ดังนั้นจึงไม่อาจปฎิเสธได้เลยว่าเราเรียนรู้ธรรมได้ ก็เพราะ เรารู้จักโลก
อย่างไรก็ตามความขัดแย้งของนักปฏิบัติที่ยังคงครองฆราวาสเท่าที่ผมเข้าใจ เกิดจาก 1) ยังมีความติดใจยินดีกับเรื่องทางโลกอยู่ 2) ยังไม่เห็นโทษที่ชัดเจนกับความติดใจยินดีนั้น เมื่อยังติดใจยินดี และไม่เห็นทุกข์เห็นโทษจากเรื่องทางโลกที่มากเพียงพอ ก็ยังไม่มีแรงขับ เป็นแรงผลักดัน ที่จะละเรื่องราวที่ติดใจยินดีนั้น เพราะ ยังเห็นสิ่งนั้นเป็นคุณ เป็นประโยชน์มากกว่าที่จะใช้เวลาไปกับเรื่องอื่น ดีไม่ดีจะถูกกิเลสเล่นงานซะอีก กลัวว่าศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรมแล้ว จะเบื่อหน่อย ไม่ได้สิ่งดีๆ ที่เราเคยชอบ เคยหลง เลยไม่ปฏิบัติธรรมซะเลย ซึ่งในกระบวนการเรียนรู้ตรงนี้ก็ต้องอาศัยประสบการณ์ เรียนรู้ ซ้ำแล้ว ซ้ำอีก โดยธรรมชาติของคนเดินทางสายมรรคแล้ว เมื่อสัมมาทิฏฐิตั้งขึ้น กระบวนการพัฒนาจะพัฒนาเป็นวงรอบที่จะทำให้ปัญญาแก่กล้ามากยิ่งขึ้น และได้ความเห็นที่ถูก ที่ตรงมากยิ่งขึ้น และทุกครั้งที่วงรอบแห่งปัญญาหมุนวงขึ้นจากการที่มีสติเป็นฐาน พัฒนาระดับความเข้มข้นของสัมมาทิฎฐิไปเรื่อยๆ จนถึงระดับที่แก่กล้ามากที่สุดจนประหารกิเลสในระดับต่างๆ ได้
กระบวนการเรียนรู้ พัฒนาสัมมาทิฎฐินี้ เป็นกระบวนการที่กินเวลายาวนานเกินกว่าที่เราจะคาดคิดนัก จำเป็นต้องสั่งสมบุญบารมี พัฒนาปัญญากันมากมายนับชาติไม่ถ้วน เรียนรู้จากของหยาบ ไปของละเอียด เรียนรู้ด้วยการเล่นจริงเจ็บจริงตายจริงบ้าง เรียนรู้ในห้องเรียน ในห้องกรรมฐานบ้าง... อย่างไรก็ตาม หากใครมีโอกาสที่จะพัฒนาถึงขั้นได้ปฏิบัติธรรมด้วยการเจริญสติแล้ว ถือว่าเป็นโชคอันดีลาภอันประเสริฐอย่างยิ่ง เพราะ การได้เรียนรู้ธรรมจากการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนี้ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่รวดเร็ว เข้าเป้า ตรงประเด็นที่สุดแล้ว ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงสรรเสริญการทำภาวนาว่ายิ่งกว่าการทำทาน รักษาศีลมาก เพราะ การเจริญภาวนานี้เป็นเข้าไปเรียนรู้นิสัยเสียๆ นิสัยชั่วๆ ของเรา แล้วเข้าไปแก้กับที่เหตุโดยตรง ในระหว่างการเจริญสติ นิสัยไม่ดีต่างๆ ที่ทำกันจนเคยชินจะถูกนำขึ้นมาตีแผ่ ให้เราเห็นถึงเหตุปัจจัย ให้เหตุถึงทุกข์ถึงโทษ ขึ้นมาซ้ำเสียจนเรายอมรับในความเป็นจริงต่างๆ เพื่อที่เราจะยอมรับ ปรับปรุง แก้ไข นิสัย ที่เป็นอกุศลกรรมเหล่านี้เสียใหม่... หากปฏิบัติธรรมอย่างถูกวิธี คนที่ผ่านการปฏิบัติในช่วงเวลาที่เหมาะสม ด้วยวิธีการที่เหมาะสม สมควรที่จะได้พัฒนาจิตตัวเองขึ้น เพื่อเอามาปรับใช้ในชีวิตทางโลกให้ดียิ่งขึ้น
ผลจากการปฏิบัติธรรมอย่างถูกวิธี จะทำให้ชีวิตทางโลกดีขึ้น การดำเนินชีวิตเป็นประโยชน์มากขึ้น เบียดเบียนคนอื่นน้อยลง จิตตั้งอยู่ในกุศลได้มากขึ้น... เมื่อจิตตั้งอยู่ในกุศลได้มากขึ้น และมีโอกาสได้กลับเข้ามาปฏิบัติธรรมอย่างเข้มข้นในครั้งต่อๆ ไป ก็จะทำให้จิตตั้งเป็นกุศลได้ง่ายยิ่งขึ้นกว่าเก่า สามารถเห็นของละเอียด เห็นกิเลสที่ละเอียดได้มากยิ่งขึ้น จึงทำให้เรียนรู้ เข้าใจตัวเอง และมีปัญญาที่จะได้ไปพัฒนาตัวเองในทางโลกที่ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีก... ชีวิตทางโลกกับทางธรรม สำหรับฆราวาสผู้ปฎิบัติธรรม จะวนกลับไปกลับมาอย่างนี้ จนกระทั่ง ทานสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ศีลบริสุทธิ์มากยิ่งขึ้น ภาวนากลายเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตทางโลก... วงรอบแห่งปัญญาที่หมุนรอบแล้ว รอบเล่า ก็จะทำให้ฐานแน่นขึ้นๆ... ละสิ่งต่างๆ ทางโลกได้มากขึ้นๆ อย่างเข้าใจถึงเหตุปัจจัย เข้าใจถึงการกระทำต่างๆ เข้าใจถึงผลของการกระทำต่างๆ ทั้งในชาตินี้ และชาติต่อๆ ไปมากขึ้น... เมื่อบุญบารมีที่สั่งสมไปเรื่อยๆ เหล่านี้เต็มเปี่ยม สติ สมาธิ ปัญญาแก่กล้า จิตจึงจะมีกำลังมากพอที่จะข้ามพ้นผ่านโลกียะ ไปสู่โลกุตระ... แต่ก่อนที่จะประหารกิเลสได้ การรู้จัก เท่าทันกิเลสแต่ละตัวต้องเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ จิตเบา ว่าง ปราศจากจากกิเลสได้บ่อยๆ จนเป็นอาจิณกรรมก่อน... เมื่อกิเลสเกิดขึ้นก็ดับกิเลสแต่ละตัวได้อย่างทันท่วงทีก่อน... ไม่ใช่กิเลสยังท่วมท้นจิต แค่จิตสงบแว่บเดียว ประหารกิเลสขาด... มันไม่ง่ายแบบนั้น... มันต้องฝึกจนจิตต้องห่างไกลจากกิเลสจนเป็นอาจิณก่อน จัดการกิเลสแต่ละตัวได้อย่างเชี่ยวชาญก่อน จะชนะสงครามใหญ่ สงครามย่อยๆ เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ต้องจัดการได้อย่างเด็ดขาดก่อน จึงจะเป็นชัยชนะได้อย่างสมบูรณ์
การลงทุนยากฉันใด การปฏิบัติธรรมยากมากกว่ามากๆ... การจะบรรลุธรรมง่ายๆ เร็วๆ แบบที่เคยได้ยินมาในพุทธกาลนั้น คนๆ นั้นจำเป็นต้องสั่งสมบุญบารมีมาอย่างเต็มเปี่ยม เป็นบัวพ้นน้ำที่รอวันแสงแรกของดวงตะวัน... อย่างผมเองที่กิเลสหนา ปัญญาน้อย นี่คงต้องปฎิบัติ ศึกษาธรรม อีกนาน... ไม่คิด ไม่คาดหวังว่าจะต้องเอาถึงขั้นนั้นขั้นนี้... เอาแค่ทำวันนี้ให้ดีที่สุด พรุ่งนี้ตายไปไม่เสียดาย... แล้วค่อยๆ พัฒนาตัวเองให้วันนี้ดีกว่าเมื่อวานได้สักนิดก็ดีใจแล้ว... และเมื่อทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ชีวิตของเราจะห่างไกลจากความวุ่นวาย ห่างจากทุกข์มากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ... ชีวิตแบบนี้ถึงแม้ไม่บรรลุธรรม แต่ก็เป็นชีวิตที่สงบสุข และมีคุณค่าความหมายอย่างยิ่ง สมกับที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ได้พบพระพุทธศาสนา ได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งเป็นโอกาสอันน้อยยิ่งกว่าน้อย
เมื่อได้เห็นสภาวะที่ห่างไกลจากทุกข์บ่อยๆ เข้า ห่างจากความวุ่นวายบ่อยๆ เข้า... มองย้อนกลับไปในเรื่องการลงทุน ผมก็ได้เห็นมุมมองที่ต่างออกไป... สำหรับผมคุณค่าความหมายของการลงทุนในปัจจุบันเป็นเพียงแค่วิธีการยังชีพ หาเลี้ยงชีพ... มองย้อนไปในอดีต ผมเคยดิ้นรนที่จะสร้างผลตอบแทนที่สูงสุด ซึ่งในช่วงดังกล่าวมีทุกข์เสียมาก มีสุขเสียน้อย เมื่อพิจารณาดูแล้ว สำหรับผม มันเป็นเรื่องของอัตตาล้วนๆ เป็นเรื่องที่อยากจะเก่งกว่าคนอื่น เหนือกว่า อยากที่จะได้รับการยกย่องจากคนอื่น ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่ใจร้อนรุ่ม มุ่งที่จะหาๆๆ ทั้งๆ สิ่งที่พยายามหามานั้นมันมากเกินความจำเป็น นำมาซึ่งความรุ่มร้อนใจ และเสียเวลาที่จะไปทำสิ่งอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ได้มากกว่านี้
ทัศนคติเหล่านี้ ค่อยๆ เกิดขึ้น ระหว่างการเจริญสติ ค่อยๆ เปลี่ยนตัวเรา ทีละนิดๆ... ไม่ได้เปลี่ยนเราทันทีจากหน้ามือเป็นหลังมือ... ทุกๆ ครั้งที่ผมร้อนรุ่มใจจากการกระทำต่างๆ อันเนื่องจากอัตตา ผมเดินจงกรม-นั่งสมาธิ ทุกๆ ครั้งที่มีโอกาส ผมเจริญสติ กำหนดรู้ รูป นาม ของตัวเอง... ค่อยๆ สังเกตดูความร้อนรุ่มใจ จากการกระทำแต่ละอย่าง แล้วก็ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองทีละนิดๆ หรือบางครั้งก็ต้องหักดิบในบางเรื่องบ้างก็ต้องทำ... ค่อยๆ ลองทำอะไรใหม่ๆ โดยไม่แคร์คนอื่นบ้าง ไม่แคร์หน้าตา ชื่อเสียง ความสัมพันธ์บ้าง... ค่อยๆ ทดลองกระทำ ทดสอบกำลัง ปรับไปเรื่อยๆ กว่าที่จะมาเป็นแบบทุกวันนี้
ผมคิดว่า... ในวันนี้ผมทำได้ดีกว่าเมื่อวาน และผมก็หวังว่าผมคงจะค่อยๆ ได้พัฒนาตัวเองได้ต่อไปเรื่อยๆ... แม้ว่าจะต้องฝืนตัวเองบ้าง ขัดใจท่านกิเลส นายใหญ่ที่คอยบงการผมมาตลอดบ้าง... แต่ผมคิดว่าความขัดแย้งบางครั้ง ก็เป็นอะไรที่ท้าทายดีเหมือนกันนะครับ... สู้ชนะบ้าง แพ้บ้าง อะลุ่มอล่วยกันไปบ้าง เผลอบ้าง เท่าทันบ้าง... ตราบใดที่เราไม่หยุดเดิน มันก็จะค่อยๆ มีความก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ.... แต่ที่สำคัญ อย่างปล่อยให้กิเลสมาหลอกให้เราหยุดเดินไปนานๆ นะครับ... รู้ตัวต้องรีบตั้งขึ้นมาใหม่... จะเร็วบ้าง ช้าบ้าง ขอให้ก้าวหน้าไปเรื่อยๆ... ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆ ทุกคนที่ก้าวเดินบนทางสายนี้ครับ
ปล. ขออภัยหากความคิดเห็นในข้างต้น ทำให้ท่านผู้อ่านบางท่านรู้สึกแย่หรือเสียประโยชน์ใดๆ ก็แล้วแต่... ขออโหสิด้วยนะครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- Verified User
- โพสต์: 2690
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 229
ถ้าเราว่ายน้ำอยู่
หรือพายเรืออยู่
ริมทะเล
ต้องคอยมองฝั่งด้วย ..นะ
เดี๋ยวเกิด ออกทะเลไปไกล...
ก็..กลายเป็น.. ลอยคออยู่กลางทะเล
(เตือนตัวเอง)
...
กลับมาต่อ
...
ถามต่อว่า
อะไรคือ
ปรมัตถธรรม
และ อะไรคือ บัญญัติธรรม
.................
source: อ่านต่อเต็มที่นี้ ดีมาก ให้ 5 ดาว *****
http://www.thepathofpurity.com/%E0%B8%9 ... %E0%B9%91/
.................................
จาก source ข้างบน
more
good read at
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/n ... ham-02.htm
........
หรือพายเรืออยู่
ริมทะเล
ต้องคอยมองฝั่งด้วย ..นะ
เดี๋ยวเกิด ออกทะเลไปไกล...
ก็..กลายเป็น.. ลอยคออยู่กลางทะเล
(เตือนตัวเอง)
...
กลับมาต่อ
...
ถามต่อว่า
อะไรคือ
ปรมัตถธรรม
และ อะไรคือ บัญญัติธรรม
บัญญัติธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์บัญญัติขึ้น เพื่อสื่อสารให้เข้าใจความหมายซึ่งกันและกัน เช่น ชื่อ นายมี นางมา สีเขียว สีแดง ทิศเหนือ ทิศใต้ วันจันทร์ วันอังคาร เดือน ๘ เดือน ๑๐ ปีชวด ปีฉลู เวลาเช้า เวลาเย็น เวลา ๒๔.๐๐ น. พลเอก อธิบดี รัฐมนตรี เหรียญ ๕๐ สตางค์ ธนบัตร ๑๐๐ บาท ระยะทาง ๑ กิโลเมตร น้ำหนัก ๑ กิโลกรัม เนื้อที่ ๑ ไร่ ล้วนเป็นสิ่งสมมุติทั้งสิ้น สิ่งเหล่านี้ท่านเรียกว่า บัญญัติธรรม
ปรมัตถธรรม...มีอะไรบ้าง? มีประโยชน์อะไร?ปรมัตถธรรม คือ ธรรมชาติที่เป็นความจริงแท้แน่นอน ที่ดำรง ลักษณะเฉพาะของตนไว้โดยไม่ผันแปรเปลี่ยนแปลง เป็นธรรมที่ปฏิเสธ ความเป็นสัตว์ ความเป็นบุคคล ความเป็นตัวตนโดยสิ้นเชิง
.................
source: อ่านต่อเต็มที่นี้ ดีมาก ให้ 5 ดาว *****
http://www.thepathofpurity.com/%E0%B8%9 ... %E0%B9%91/
.................................
จาก source ข้างบน
พระอภิธรรม เป็นธรรมะชั้นสูงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับปรมัตถธรรม ๔ ประการ อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน พระอภิธรรมเปรียบเสมือน แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา มีเนื้อหาสุขุมล้ำลึก อันนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องธรรมชาติ ของชีวิต เรื่องของกรร มและการส่งผลของ กรรม เรื่องภพภูมิต่างๆ เรื่องของการเวียนว่ายตายเกิด และเรื่องของการปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งเป็นจุดหมายอันสูงสุดในพระพุทธศาสนา
วิชาการทั้งหลายทางโลก ที่เราได้เคยเรียน เคยฟังและเคยอ่านกันมา มิใช่แต่เพียงในภพนี้เท่านั้น ในภพก่อนๆ ที่เราเวียนว่ายตายเกิดกันมาจน นับไม่ถ้วนนั้น เราก็คงได้เคยเรียน เคยฟัง และเคยอ่านกันมามากแล้ว แต่ก็ไม่เห็นว่า จะทำให้เราพ้นจากความทุกข์ พ้นจากความลำบาก หรือพ้น จากกิเลสไปได้เลย นี่ก็แสดงให้เห็นว่า วิชาการต่างๆ เหล่านั้นไม่ได้ทำให้ เราเกิดปัญญาอันถูกต้องอย่างแท้จริง แต่เป็นเพียงแค่ความรู้ทางโลกเพื่อ ใช้ในการดำรงชีพไปภพหนึ่ง ชาติหนึ่ง เท่านั้นเอง
....การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าใจคำสอนที่มีคุณค่าสูงสุด ในพระพุทธศาสนา เพราะแค่การใหทาน รักษาศีล และการเจริญสมาธิก็ยังมิใช่ คำสอนที่มีค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นเหตุ ให้ต้องเกิดมารับ ผลของกุศลเหล่านั้นอีก ท่านเรียกว่า วัฏฏกุศล เพราะกุศลเหล่านี้ยังไม่ทำให้ พ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิด คำสอนที่มีค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา คือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวมหาสติปัฏฐาน ๔ เพื่อให้เห็นว่า ทั้งนามธรรม (จิต + เจตสิก) และรูปธรรม (รูป) มีสภาพที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ ได้ ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ มีการเกิดดับ ๆ ตลอดเวลา หาแก่นสาร หาตัวตน หาเจ้าของไม่ได้เลย เมื่อมีปัญญาเห็นแจ้ง ในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเช่นนี้แล้ว ก็จะนำไปสู่การประหาณกิเลส และเข้าถึงพระนิพพาน ได้ในที่สุด
more
good read at
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/n ... ham-02.htm
........
...เหมือนอย่างว่า
เพราะอวัยวะเครื่องปรุง
จึงมีเสียงเรียกว่ารถฉันใด
เมื่อขันธ์ ทั้งหลายยังมีอยู่
ย่อมมีสมมุติเรียกว่าสัตว์ฉันนั้น
(ขันธ์ ๕ ได้แก่ นามธรรมและรูปธรรมนั่นเอง)
"......เมื่อเป็นเช่นนี้ นามรูปนั่นแหละ ท่านจึงแสดงแล้วโดยพระสูตรตั้งหลายร้อย ไม่ใช่แสดงถึงบุคคลฯ ดุจเมื่อเครื่องสัมภาระ (ของรถ) อันเป็นอวัยวะ มีเพลา ล้อ เรือนรถ งอน เป็นต้น ปรุงคุมกันเข้าโดยอาการอันเป็นอันเดียวกัน จึงมีโวหารมาตรว่ารถ แต่เมื่อจะพิจารณาแยกองค์ออกเป็นอย่าง ๆ โดยทางปรมัตถ์ ชื่อว่ารถหามีไม่..... เหตุนั้น....จึงมีโวหารว่าสัตว์ ว่าบุคคล แต่โดยปรมัตถ์ เมื่อจะแยกพิจารณา แยกธรรมออกเป็นอัน ๆ ขึ้นชื่อว่าสัตว์ อันเป็นวัตถุแห่งการยึดถือว่า มีเราหรือว่าเป็นเราดังนี้หามีไม่ โดยปรมัตถ์คงมีนามรูปเท่านั้น ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า ยถาภูตทัสสนะเห็นตามเป็นจริง ๆ "
-
- Verified User
- โพสต์: 2690
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 230
คำสอนที่มีค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา
คือ
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวมหาสติปัฏฐาน ๔
เพื่อให้เห็นว่า ทั้งนามธรรม (จิต + เจตสิก) และรูปธรรม (รูป)
มีสภาพที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ ได้ ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้
มีการเกิดดับ ๆ ตลอดเวลา
หาแก่นสาร หาตัวตน หาเจ้าของไม่ได้เลย
เมื่อมีปัญญาเห็นแจ้ง ในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเช่นนี้แล้ว
ก็จะนำไปสู่การประหาณกิเลส
และเข้าถึงพระนิพพาน ได้ในที่สุด
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 231
ผมคิดว่า คงยากที่เราจะรู้หรือเข้าใจอย่างถ่องแท้ไปหมดทุกเรื่องpicatos เขียน: ปล. ขออภัยหากความคิดเห็นในข้างต้น ทำให้ท่านผู้อ่านบางท่านรู้สึกแย่หรือเสียประโยชน์ใดๆ ก็แล้วแต่... ขออโหสิด้วยนะครับ
เพราะส่วนใหญ่มักโดนความยึดติดส่วนตัวเข้าครอบงำ จนกลายเป็นความหลง
หลงว่าเราถูก เขาผิด หลงคิดว่าเขาไม่รู้จริง เรารู้จริง
แต่การได้แชร์ข้อมูล หรือแบ่งปันความคิดเห็นเหมือนอย่างกระทู้นี้
ผมคิดว่า เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด ทำให้เราเข้าใจได้ดีขึ้นว่า
ข้อมูล หรือ ความเชื่อที่เรามีอยู่ มีส่วนไหนบ้างที่บกพร่อง ส่วนไหนที่ถูกต้องแล้ว
สุดท้ายการเรียนรู้ หรือ ข้อมูลที่มากขึ้น จากหลายๆด้าน ก็เป็นการเปิดโลกทรรศน์
ของตัวเราเองให้กว้างขึ้น เพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกวัน
ตำราหรือข้อมูลที่ได้จากการอ่านมากๆ ยิ่งทำให้เราเกิดความอยากรู้ อยากเห็น
ว่าสิ่งที่เขียนไว้ เมื่อนำมาทดลองปฏิบัติ จะเกิดผลอย่างไร ตรงกันไหม ยากง่ายอย่างไร
สุดท้ายเมื่อเราปฎิบัติจนได้ที่ เราก็จะรู้ได้ด้วยตนเองว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าเมื่อนำมา
ปฎิบัติจริงก็จะสอดคล้องกัน คือ เป็นเรื่องจริงที่พิสูจน์ได้ด้วยตัวของเราเอง
สำหรับผมการ โพลส์ข้อความของแต่ละคน จึงเป็นเหมือนการแบ่งปันทรัพย์ทางปัญญาที่มีค่ายิ่งครับ
เพราะจะทำให้ดวงจิตของเรา สว่างไสว มากขึ้นเรื่อยๆครับ
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
-
- Verified User
- โพสต์: 39
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 232
สรรพสิ่งทั้งหลายนั้นถูกสร้างขึ้นมาจากที่ใด คำตอบของคำถามเหล่านี้ก็คือ ไม่มีที่ใดเลย ทุกๆ สิ่งคือ สัจภาวะเดียวกันทั้งหมด เป็นพลังเดียวกัน ไม่มีที่มา ไม่มีจุดเริ่มต้น ไม่มีการแบ่งแยกที่แท้จริงระหว่างอดีตกับปัจจุบัน ที่นี่กับที่นั่น เราอยู่ภายใต้สัจภาวะตลอดเวลา จิตของเรานั่นมิได้ถูกแบ่งแยกออกจากการรู้แจ้ง
ถ้าเช่นนั้นภาวะของการรู้แจ้งกับภาวะปกติธรรมดาของชีวิตต่างกันตรงไหน ภาวะแห่งการรู้แจ้งนั้นเป็นภาวะที่มั่งคั่งเต็มเปี่ยมและเปิดกว้าง ในขณะที่สังสารวัฏนั้นเต็มไปด้วยความทุกข์ อวิชชาและความสับสน อย่างไรก็ดี จากมุมมองของสุญตา ภาวะทั้งสองนั้นดำรงอยู่ร่วมกันและไม่มีความแบ่งแยกแต่อย่างใด
เมื่อเราเข้าใจแล้วว่า รากฐานของการรู้แจ้งนั้นมิใช่สถานที่ใดหรือบุคคลใด เราจะรู้ว่าแท้จริงแล้วเราไม่เคยแยกห่างจากจิตที่ตื่นรู้นี้เลย เราจะเห็นว่าการรู้แจ้งนั้นซึมแทรกอยู่ภายในตัวเราและมิอาจแยกไปจากเราได้ เฉกเช่นเสียงที่มิอาจพรากจากดนตรีได้ฉันนั้น สุญตามิได้เป็นอะไรเลย แต่กระนั้นก็เป็นทุกๆสิ่ง ประสบการณ์ทั้งปวงของเราล้วนรวมอยู่ในประจักษ์แจ้งอันหมดจดถึงความเปิดกว้างนี้
คัดลอกบางส่วนจากหนังสือ Hidden Mind of Freedom ตาร์ธาง ตุลกู เขียน นัยนา นาควัชระ แปล
จากประสบการณ์การปฏิบัติที่ผมอยากแบ่งปัน คือ ธรรม (ชาติ) นั้น ที่แท้แล้วไร้รูปไร้นาม ไม่มีตำแหน่งแห่งที่แน่นอน มีแต่สภาวะที่เปลี่ยนไปอย่างไร้ขอบเขตและไร้เวลา ไม่มีเกิด ไม่มีตาย
จิตเดิม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ก็มีสภาวะไม่ต่างกัน เคลื่อน (เปลี่ยนไป) ไม่สิ้นไม่สุด ไร้รูป ไร้นาม เป็นอิสระ และมีความว่าง (ไร้ตัวตน) เป็นฐานเพื่อนบางคนอาจจะไม่เข้าใจเรื่องจิตเดิม ก็ให้ลองสังเกตบรรดาเด็กเล็กๆ หรือไม่ก็คิดถึงตัวเองตอนที่เป็นเพียงเด็กๆ เราจะพบว่าจิตใจของเด็กเล็กๆ นั้นจะไม่ติดยึดอยู่กับอะไร (เป็นอิสระ) จะสนใจไปทุกเรื่อง ชอบเล่น ชอบสนุกเกือบตลอดเวลา เมื่อจิตเป็นอิสระ จิตก็จะไม่ติดยึด (หรือว่าง) เมื่อว่างและวางได้ จิตก็จะไม่เป็นทุกข์ จิตที่ไม่ทุกข์ร้อนก็จะสงบเย็น (หรือนิพพาน) ‘นิพพาน’ ที่จริงแล้ว ไม่ได้แปลว่า ‘การดับสูญ’ แต่แปลว่า ‘ความสงบเย็น’ ดังนั้น ‘นิพพาน’ ก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะนิพพานก็คือสภาวะธรรมชาติแบบหนึ่งคนเราที่อยู่อย่างไร้ทุกข์ ย่อมมีจิตใจที่สงบเย็น ก็จะพบกับนิพพานได้ เช่นกัน ตรงจุดนี้ จะเห็นว่าผมตีความคำว่า นิพพาน ต่างจากคนอื่นๆ ทั่วไป ที่พยายามทำให้นิพพานเป็นเรื่องสูงสุด เป็นเรื่องที่คนทั่วไปก้าวไปไม่ถึง ดังนั้น นิพพานของผมเป็นเรื่องที่ไม่ยากอย่างที่เข้าใจ ซึ่งก็คือการเข้าใจถึงธรรมชาติแห่งความสงบเย็นของจิตนั่นเอง
คนทุกคนก็พบนิพพานได้ด้วยกันทั้งนั้น เพียงแต่ว่า ‘ที่พบ’ มักจะเป็นสภาวะนิพพานแบบชั่วคราว หลักพุทธ ที่ว่าด้วยเรื่อง “จิตเดิมที่เป็นอิสระและสงบเย็น” นี้จะคล้ายกับหลักหัวใจของเต๋าที่ว่าด้วยเรื่อง “การคืนกลับสู่ความเป็นธรรมชาติ”
ที่สุดแล้ว ชาวเต๋าก็จะเลือกดำเนินชีวิตไปอย่างเรียบๆ ง่ายๆ และสอดคล้องกับกฎแห่งธรรมชาติ ส่วนชาวพุทธจะเลือกเดินชีวิตตามหลักอริยมรรคมีองค์ 8 ที่มีความเรียบง่าย มีความพอเพียงเป็นฐานไม่ต่างกัน เช่นกัน ชีวิตที่เรียบง่าย ไร้อัตตา จึงไร้ทุกข์
จากบางส่วนของ บทความคุณยุค ศรีอาริยะ ว่าด้วยเรื่องอัตตา และอนัตตา
ถ้าอ่านแล้วเกิดประโยชน์ก็นำไปต่อยอดให้เกิดผลตามกำลังของท่าน ขอบคุณครับ
ถ้าเช่นนั้นภาวะของการรู้แจ้งกับภาวะปกติธรรมดาของชีวิตต่างกันตรงไหน ภาวะแห่งการรู้แจ้งนั้นเป็นภาวะที่มั่งคั่งเต็มเปี่ยมและเปิดกว้าง ในขณะที่สังสารวัฏนั้นเต็มไปด้วยความทุกข์ อวิชชาและความสับสน อย่างไรก็ดี จากมุมมองของสุญตา ภาวะทั้งสองนั้นดำรงอยู่ร่วมกันและไม่มีความแบ่งแยกแต่อย่างใด
เมื่อเราเข้าใจแล้วว่า รากฐานของการรู้แจ้งนั้นมิใช่สถานที่ใดหรือบุคคลใด เราจะรู้ว่าแท้จริงแล้วเราไม่เคยแยกห่างจากจิตที่ตื่นรู้นี้เลย เราจะเห็นว่าการรู้แจ้งนั้นซึมแทรกอยู่ภายในตัวเราและมิอาจแยกไปจากเราได้ เฉกเช่นเสียงที่มิอาจพรากจากดนตรีได้ฉันนั้น สุญตามิได้เป็นอะไรเลย แต่กระนั้นก็เป็นทุกๆสิ่ง ประสบการณ์ทั้งปวงของเราล้วนรวมอยู่ในประจักษ์แจ้งอันหมดจดถึงความเปิดกว้างนี้
คัดลอกบางส่วนจากหนังสือ Hidden Mind of Freedom ตาร์ธาง ตุลกู เขียน นัยนา นาควัชระ แปล
จากประสบการณ์การปฏิบัติที่ผมอยากแบ่งปัน คือ ธรรม (ชาติ) นั้น ที่แท้แล้วไร้รูปไร้นาม ไม่มีตำแหน่งแห่งที่แน่นอน มีแต่สภาวะที่เปลี่ยนไปอย่างไร้ขอบเขตและไร้เวลา ไม่มีเกิด ไม่มีตาย
จิตเดิม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ก็มีสภาวะไม่ต่างกัน เคลื่อน (เปลี่ยนไป) ไม่สิ้นไม่สุด ไร้รูป ไร้นาม เป็นอิสระ และมีความว่าง (ไร้ตัวตน) เป็นฐานเพื่อนบางคนอาจจะไม่เข้าใจเรื่องจิตเดิม ก็ให้ลองสังเกตบรรดาเด็กเล็กๆ หรือไม่ก็คิดถึงตัวเองตอนที่เป็นเพียงเด็กๆ เราจะพบว่าจิตใจของเด็กเล็กๆ นั้นจะไม่ติดยึดอยู่กับอะไร (เป็นอิสระ) จะสนใจไปทุกเรื่อง ชอบเล่น ชอบสนุกเกือบตลอดเวลา เมื่อจิตเป็นอิสระ จิตก็จะไม่ติดยึด (หรือว่าง) เมื่อว่างและวางได้ จิตก็จะไม่เป็นทุกข์ จิตที่ไม่ทุกข์ร้อนก็จะสงบเย็น (หรือนิพพาน) ‘นิพพาน’ ที่จริงแล้ว ไม่ได้แปลว่า ‘การดับสูญ’ แต่แปลว่า ‘ความสงบเย็น’ ดังนั้น ‘นิพพาน’ ก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะนิพพานก็คือสภาวะธรรมชาติแบบหนึ่งคนเราที่อยู่อย่างไร้ทุกข์ ย่อมมีจิตใจที่สงบเย็น ก็จะพบกับนิพพานได้ เช่นกัน ตรงจุดนี้ จะเห็นว่าผมตีความคำว่า นิพพาน ต่างจากคนอื่นๆ ทั่วไป ที่พยายามทำให้นิพพานเป็นเรื่องสูงสุด เป็นเรื่องที่คนทั่วไปก้าวไปไม่ถึง ดังนั้น นิพพานของผมเป็นเรื่องที่ไม่ยากอย่างที่เข้าใจ ซึ่งก็คือการเข้าใจถึงธรรมชาติแห่งความสงบเย็นของจิตนั่นเอง
คนทุกคนก็พบนิพพานได้ด้วยกันทั้งนั้น เพียงแต่ว่า ‘ที่พบ’ มักจะเป็นสภาวะนิพพานแบบชั่วคราว หลักพุทธ ที่ว่าด้วยเรื่อง “จิตเดิมที่เป็นอิสระและสงบเย็น” นี้จะคล้ายกับหลักหัวใจของเต๋าที่ว่าด้วยเรื่อง “การคืนกลับสู่ความเป็นธรรมชาติ”
ที่สุดแล้ว ชาวเต๋าก็จะเลือกดำเนินชีวิตไปอย่างเรียบๆ ง่ายๆ และสอดคล้องกับกฎแห่งธรรมชาติ ส่วนชาวพุทธจะเลือกเดินชีวิตตามหลักอริยมรรคมีองค์ 8 ที่มีความเรียบง่าย มีความพอเพียงเป็นฐานไม่ต่างกัน เช่นกัน ชีวิตที่เรียบง่าย ไร้อัตตา จึงไร้ทุกข์
จากบางส่วนของ บทความคุณยุค ศรีอาริยะ ว่าด้วยเรื่องอัตตา และอนัตตา
ถ้าอ่านแล้วเกิดประโยชน์ก็นำไปต่อยอดให้เกิดผลตามกำลังของท่าน ขอบคุณครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4940
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 233
ขออนุโมทนาสาธุกับทุกๆ ท่านที่ช่วยกันบรรยายแลกเปลี่ยนครับ
ที่ทุกท่านสามารถเขียนบรรยายอะไรออกมาได้แบบนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายนะครับ
ยิ่งแบ่งบันมากก็ยิ่งได้รับมากครับ
ได้รับในที่นี่คือ ได้รับเสร็จเรียบร้อยในขณะที่เรียบเรียงและแบ่งบันแล้วนะครับ ไม่ต้องรอผลเลย
เพราะทุกๆ ครั้งที่เราแบ่งบันออกไป เป็นการทบทวนตัวเองไปด้วย ในทุกๆ ครั้งที่เล่าอยู่แล้ว
เราจะรู้เลยว่าเราได้จุดไหน พลาดจุดไหน ได้รับผลมากมายของการอธิบายความรู้ที่เรารู้แล้ว ในทุกครั้งๆ ที่เล่านะครับ
ไม่ว่าความรู้นั้นจะได้มากจากไหนก็ตาม ทั้งการอ่านมา ฟังมา จดจำมา คัดลอกมา หรือกลั่นออกมาจากใจ
เพราะเมื่อเราเรียบเรียงเล่าออกมาหรือเขียนบรรยายออกมา
ไม่ว่าสำนวนนั้นจะเหมือนครูอาจารย์ทุกอย่างหรือปรับเปลี่ยนไปตามที่เราจำได้หรือเข้าใจได้
ตัวผู้เล่าผู้บรรยายเองนั้นแหละ จะเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุด
เพราะจะพบว่า เราได้อะไรใหม่ๆ ในทุกๆ ครั้งที่เราเล่าเรื่องเก่าๆ เหล่านั้นครับ
แล้วเราก็สามารถนำความรู้ใหม่ๆ จากเรื่องเก่า มาปรับปรุงต่อไปได้อีก เหมือนที่ครูอาจารย์ท่านสอนไว้
ขอยกคำครูบาอาจารย์ของผม ท่านบอกสอนไว้ว่า
เรามีชีวิตแค่สองวันคือ วันนี้กับวันวานนี้ แค่นั้นสองวัน วันพรุ่งนี้ นี่ไม่มี
แล้วมีวันวานกับวันนี้อย่างไร มีวันนี้ที่จะบอกวันวาน เรื่องอะไร
เราจะบอกท่านว่า มีวันนี้เพื่อมาทบทวนเรื่อง ข้อบกพร่องของวันวาน (เพราะท่านสอนหลายรอบแล้ว เราจะจำได้ว่าต้องตอบแบบนี้)
ท่านย้อนตอบบอกว่า วันวานของผมไม่บกพร่อง แต่เรื่องความบกพร่องของวันวานนะ ที่เอามานั่งคิดวันนี้...มี
แล้วท่านจะถามกลับว่า แล้วเรื่องอะไรละ
เราก็จะตอบท่านไปว่า เรื่องของการปฏิบัติ พูดกว้างๆ ท่านก็จะย้อนมาบอกว่า ตอบอะไรต้องให้ชัดเจน
แล้วท่านก็จะบอกให้ว่า ให้ดูสิ่งที่จะทำได้ก็คือ ถอยกลับไปดูที่เป็นวันวานนี้ ว่ามีข้อประพฤติพรหมจรรย์
ติดตรงไหนบ้างที่บกพร่อง แล้วยังแยกลงไปอีกว่า พรหมจรรย์นี่คือ มรรค ที่มีองค์ 8 นั้นแหละ พวกเธอจะเอาหรือไม่เอา
เราก็ตอบไปว่า เอา
ท่านก็จะย้อนกลับมาว่า ไม่เอาสิ ถ้าเอา ก็ต้องจำได้ทำได้สิ นี่เห็นจำก็ไม่ได้ ทำก็ไม่ได้
แล้วก็เห็นว่าไม่ทำกันเลย ให้ไปทำกัน เพราะหัวใจของพุทธศาสนาคือการปฏิบัติ
ถ้าพวกเธอทำได้ทั้งหมดในวันนี้แล้ว ก็จบ วันพรุ่งนี้ก็จะไม่มี
ดังนั้น ขอวันพรุ่งนี้ จงอย่างได้มีแก่ทุกๆ ท่านนะครับ สาธุ
ที่ทุกท่านสามารถเขียนบรรยายอะไรออกมาได้แบบนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายนะครับ
ยิ่งแบ่งบันมากก็ยิ่งได้รับมากครับ
ได้รับในที่นี่คือ ได้รับเสร็จเรียบร้อยในขณะที่เรียบเรียงและแบ่งบันแล้วนะครับ ไม่ต้องรอผลเลย
เพราะทุกๆ ครั้งที่เราแบ่งบันออกไป เป็นการทบทวนตัวเองไปด้วย ในทุกๆ ครั้งที่เล่าอยู่แล้ว
เราจะรู้เลยว่าเราได้จุดไหน พลาดจุดไหน ได้รับผลมากมายของการอธิบายความรู้ที่เรารู้แล้ว ในทุกครั้งๆ ที่เล่านะครับ
ไม่ว่าความรู้นั้นจะได้มากจากไหนก็ตาม ทั้งการอ่านมา ฟังมา จดจำมา คัดลอกมา หรือกลั่นออกมาจากใจ
เพราะเมื่อเราเรียบเรียงเล่าออกมาหรือเขียนบรรยายออกมา
ไม่ว่าสำนวนนั้นจะเหมือนครูอาจารย์ทุกอย่างหรือปรับเปลี่ยนไปตามที่เราจำได้หรือเข้าใจได้
ตัวผู้เล่าผู้บรรยายเองนั้นแหละ จะเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุด
เพราะจะพบว่า เราได้อะไรใหม่ๆ ในทุกๆ ครั้งที่เราเล่าเรื่องเก่าๆ เหล่านั้นครับ
แล้วเราก็สามารถนำความรู้ใหม่ๆ จากเรื่องเก่า มาปรับปรุงต่อไปได้อีก เหมือนที่ครูอาจารย์ท่านสอนไว้
ขอยกคำครูบาอาจารย์ของผม ท่านบอกสอนไว้ว่า
เรามีชีวิตแค่สองวันคือ วันนี้กับวันวานนี้ แค่นั้นสองวัน วันพรุ่งนี้ นี่ไม่มี
แล้วมีวันวานกับวันนี้อย่างไร มีวันนี้ที่จะบอกวันวาน เรื่องอะไร
เราจะบอกท่านว่า มีวันนี้เพื่อมาทบทวนเรื่อง ข้อบกพร่องของวันวาน (เพราะท่านสอนหลายรอบแล้ว เราจะจำได้ว่าต้องตอบแบบนี้)
ท่านย้อนตอบบอกว่า วันวานของผมไม่บกพร่อง แต่เรื่องความบกพร่องของวันวานนะ ที่เอามานั่งคิดวันนี้...มี
แล้วท่านจะถามกลับว่า แล้วเรื่องอะไรละ
เราก็จะตอบท่านไปว่า เรื่องของการปฏิบัติ พูดกว้างๆ ท่านก็จะย้อนมาบอกว่า ตอบอะไรต้องให้ชัดเจน
แล้วท่านก็จะบอกให้ว่า ให้ดูสิ่งที่จะทำได้ก็คือ ถอยกลับไปดูที่เป็นวันวานนี้ ว่ามีข้อประพฤติพรหมจรรย์
ติดตรงไหนบ้างที่บกพร่อง แล้วยังแยกลงไปอีกว่า พรหมจรรย์นี่คือ มรรค ที่มีองค์ 8 นั้นแหละ พวกเธอจะเอาหรือไม่เอา
เราก็ตอบไปว่า เอา
ท่านก็จะย้อนกลับมาว่า ไม่เอาสิ ถ้าเอา ก็ต้องจำได้ทำได้สิ นี่เห็นจำก็ไม่ได้ ทำก็ไม่ได้
แล้วก็เห็นว่าไม่ทำกันเลย ให้ไปทำกัน เพราะหัวใจของพุทธศาสนาคือการปฏิบัติ
ถ้าพวกเธอทำได้ทั้งหมดในวันนี้แล้ว ก็จบ วันพรุ่งนี้ก็จะไม่มี
ดังนั้น ขอวันพรุ่งนี้ จงอย่างได้มีแก่ทุกๆ ท่านนะครับ สาธุ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
-
- Verified User
- โพสต์: 39
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 234
English Version for Saturday morning then you all have a great day.
The Buddha said:
Look up to heaven and down on earth and they will remind you of their impermanency.
Look about the world and it will remind you of its impermanency.
But when you gain spiritual enlightenment you shall then find wisdom.
The knowledge thus attained leads you anon to the way.
Explain: Look you don’t look, you never look. Before you look, you have and idea. You never look I purity, you never look unprejudiced. You always carry some prejudice, some opinion, ideology, scripture – your own experience or others’ experiences, but you always carry something in the mind. You are never naked with reality. He means look with a naked eye, with no coatings of opinions, ideas, experiences, borrowed or otherwise.
Explain : You have been looking in life but you have not come to see that all is impermanence. Everything is dying, everything is decaying, everything is on a death procession. People are standing in a death queue. Look around –everything rushing towards death. Everything is fleeting, momentary, fluxlike; nothing seems to be of eternal value, nothing seems to abide, nothing seems to hold, nothing seems to remain. Everything just goes on and on and on, and goes on changing. What else is it but a dream? Buddha says this life, this world that you live in, that you are surrounded with, that you have created around yourself, is but a dream – impermanent, temporary. Don’t make you abode there, otherwise you will suffer. Because nobody can be contented with the temporary. By the time you think it is in your hands it is gone. By the time you think you possessed it, it is no longer there. You struggle for it – by the time you achieve it, it has disappeared.
One of the most fundamental principles of Gautama the Buddha – that one should become aware of the impermanent world we are surrounded with, Then immediately you will be able to understand why Buddha calls it a dream, maya, an illusion.
Explain: Wisdom cannot be found through scriptures. It is an experience, it is not knowledge. Wisdom is not knowledge; you cannot gather it from others, you cannot borrow it. It is not information. You cannot learn it from the scriptures. There is only one way to become wise and that is enter into a live experience of life.
From some parts of spiritual enlightenment, THE BUDDHA SAID.
The Buddha said:
Look up to heaven and down on earth and they will remind you of their impermanency.
Look about the world and it will remind you of its impermanency.
But when you gain spiritual enlightenment you shall then find wisdom.
The knowledge thus attained leads you anon to the way.
Explain: Look you don’t look, you never look. Before you look, you have and idea. You never look I purity, you never look unprejudiced. You always carry some prejudice, some opinion, ideology, scripture – your own experience or others’ experiences, but you always carry something in the mind. You are never naked with reality. He means look with a naked eye, with no coatings of opinions, ideas, experiences, borrowed or otherwise.
Explain : You have been looking in life but you have not come to see that all is impermanence. Everything is dying, everything is decaying, everything is on a death procession. People are standing in a death queue. Look around –everything rushing towards death. Everything is fleeting, momentary, fluxlike; nothing seems to be of eternal value, nothing seems to abide, nothing seems to hold, nothing seems to remain. Everything just goes on and on and on, and goes on changing. What else is it but a dream? Buddha says this life, this world that you live in, that you are surrounded with, that you have created around yourself, is but a dream – impermanent, temporary. Don’t make you abode there, otherwise you will suffer. Because nobody can be contented with the temporary. By the time you think it is in your hands it is gone. By the time you think you possessed it, it is no longer there. You struggle for it – by the time you achieve it, it has disappeared.
One of the most fundamental principles of Gautama the Buddha – that one should become aware of the impermanent world we are surrounded with, Then immediately you will be able to understand why Buddha calls it a dream, maya, an illusion.
Explain: Wisdom cannot be found through scriptures. It is an experience, it is not knowledge. Wisdom is not knowledge; you cannot gather it from others, you cannot borrow it. It is not information. You cannot learn it from the scriptures. There is only one way to become wise and that is enter into a live experience of life.
From some parts of spiritual enlightenment, THE BUDDHA SAID.
-
- Verified User
- โพสต์: 2690
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 235
ละครดัง..เมื่อคืน..
เช้ามาอดไม่ได้..รีัรันฟังมาดู
อีกครั้ง
เกร็ด เล็กๆที่มีคุณค่าจากละคร..
ละครสื่อรักสัมผัสหัวใจ ซีซั่น 2
แล้วย้อนดูตัว
....
http://www.thaitv3.com/%E0%B8%A5%E0%B8% ... ad-image-0
..............
สื่อรักสัมผัสหัวใจ ซีซั่น 2 The Sixth Sense 2 Ep.20 (ตอนที่ 20) วันที่ 15 พฤศจิกายน 2556
[youtube]4tZAZIgrQyo&list=UUypf_Q2us28YN0aG6zpBJtw[/youtube]
เช้ามาอดไม่ได้..รีัรันฟังมาดู
อีกครั้ง
เกร็ด เล็กๆที่มีคุณค่าจากละคร..
ละครสื่อรักสัมผัสหัวใจ ซีซั่น 2
แล้วย้อนดูตัว
....
http://www.thaitv3.com/%E0%B8%A5%E0%B8% ... ad-image-0
..............
m 11.20“ขอแสดงความยินดีด้วยครับคุณปาร์คจุนจี คุณได้รับมรดกพันล้านแล้ว”
ผู้การหันไปบอกจุนจีที่ไม่รู้สึกยินดีด้วย
“มรดกพันล้าน ที่เป็นต้นเหตุทำให้คุณย่าตายและอีกหลายคนต้องเดือดร้อน เงินนี่ มันคืองูพิษจริงๆ ผมไม่ได้พูดเท่ๆนะครับ งูพิษ ถ้าเอามันมากอดไว้ ก็ต้อง โดนมันกัดสักวัน ครอบครัวเล็กๆของผม พ่อ แม่ลูกที่เกาหลี ถึงเราจะอยู่แบบชาวบ้านๆ พ่อทำงานหนัก แม่เหนื่อย ผมเดินไปโรงเรียนข้างบ้าน แต่ผมมีแต่ความสุข เราทุกคน รักกัน กอดกันทุกวัน หัวเราะกัน ยิ้มกันทุกวัน มีแต่ความเจ็บป่วยเท่านั้น ที่ทำให้พวก เรามีความทุกข์ ซึ่งมันก็คือความทุกข์ที่เป็นไปตามธรรมชาติของชีวิต แล้วดูคุณย่าสิ มีเงินพันล้าน แล้วมีความสุขมั้ย ได้ยิ้ม ได้หัวเราะ ได้มีคนที่รักท่านมากอดมั้ย..ผมพูด ถูกไหมครับ..คุณย่า “
สิ้นเสียงจุนจีพูด ทุกคนต้องตกใจเมื่อได้ยินเสียงร้องไห้คร่ำครวญของวิญญาณดังก้องเรือน กล้วยไม้ ทุกคนหันมองหา แต่ไม่เห็นวิญญาณ
กรรัมภายื่นมือไปจับที่เสาต้นหนึ่งของเรือนกล้วยไม้ แล้วจับไปที่มือของจุนจี ทำให้จุนจีเห็น...ที่ มุมหนึ่งที่ดงกล้วยไม้ พิมพ์พิลาศที่ค่อยๆหยุดร้องไห้ แล้วเงยหน้ามา
“คุณย่า...”
“จักร...ย่าอยากจะขอโทษหลานสำหรับทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านมา งูพิษน่ะไม่ใช่เงินทองหรอก ลูก งูพิษมันอยู่ในใจย่าเองตังหาก ย่าใจร้ายอย่างที่หลานเคยชี้หน้าว่าย่านั่นแหละ ใจร้าย เพราะใจมันเป็นงูพิษ มันขบกัดคนรอบๆ ทำให้ย่าไล่หลานกับพ่อแม่ออกจากบ้าน ไปตกระกำลำบาก แล้วมันก็กัดทุกคนจนเขาเกลียดย่ากันหมด แล้วสุดท้าย มันก็กัดตัว ของมันเอง งูพิษในใจ มันกัดจนย่าตายไปแล้วทั้งเป็น ก่อนที่จะตายจริงๆซะอีก ทุกวันทุกคืน ถึงจะมีชีวิตที่มีเงินมากมายนับไม่หมด อาศัยในบ้านหรูหรา มีคนรับใช้รายรอบ แต่มันเหมือนคนตายแล้ว มันขมเหมือนอมพิษไว้เต็มตัว มันเยือกเย็น มันอ้างว้าง เหมือนอยู่ ในสุสานล้อมรอบไปด้วยคนที่เกลียดเรา ย่าชดใช้กรรมที่ตัวเองก่อขึ้นทั้งตอนยังมีชีวิต อยู่และตอนนี้ หากหลานมีใจที่ดีงาม มีใจที่ไม่ใช่งูพิษ แม้จะมีเงินมากมายหรือมีเงินนิด เดียว มันก็ไม่เป็นปัญหาหรอกลูก”
“ผมเข้าใจครับ”
“เงินนั้น แล้วแต่หลานก็แล้วกัน ว่าหลานจะทำยังไงกะมันแต่ย่าขออย่างเดียว... ยกโทษ ให้ย่า..อโหสิให้ย่า”
“ครับย่า ผมหายโกรธย่าแล้วผมกลับสงสารย่ามากกว่า ผมให้อภัย และอโหสิกรรม ทุกอย่างครับ ขอให้วิญญาณของย่ามีความสุขนะครับ”
“ขอบใจมากจักร ขอบใจ ย่าก็ขออวยพรให้หลานมีความสุขความเจริญมีแต่ความสงบ เย็นในจิตใจนะหลานรัก ลาก่อน”
วิญญาณของพิมพ์พิลาศก็ค่อยๆจางหายไป
“ขอให้วิญญาณของย่าไปสู่สุขคติเถอะนะครับ”
จุนจียกมือขึ้นไหว้
source:http://www.manager.co.th/Drama/ViewNews ... D=2&Page=3
สื่อรักสัมผัสหัวใจ ซีซั่น 2 The Sixth Sense 2 Ep.20 (ตอนที่ 20) วันที่ 15 พฤศจิกายน 2556
[youtube]4tZAZIgrQyo&list=UUypf_Q2us28YN0aG6zpBJtw[/youtube]
...งูพิษน่ะไม่ใช่เงินทองหรอก ลูก งูพิษมันอยู่ในใจย่าเองตังหาก ย่าใจร้ายอย่างที่หลานเคยชี้หน้าว่าย่านั่นแหละ ใจร้าย เพราะใจมันเป็นงูพิษ มันขบกัดคนรอบๆ ทำให้ย่าไล่หลานกับพ่อแม่ออกจากบ้าน ไปตกระกำลำบาก แล้วมันก็กัดทุกคนจนเขาเกลียดย่ากันหมด แล้วสุดท้าย มันก็กัดตัว ของมันเอง งูพิษในใจ มันกัดจนย่าตายไปแล้วทั้งเป็น ก่อนที่จะตายจริงๆซะอีก ทุกวันทุกคืน ถึงจะมีชีวิตที่มีเงินมากมายนับไม่หมด อาศัยในบ้านหรูหรา มีคนรับใช้รายรอบ แต่มันเหมือนคนตายแล้ว มันขมเหมือนอมพิษไว้เต็มตัว มันเยือกเย็น มันอ้างว้าง เหมือนอยู่ ในสุสานล้อมรอบไปด้วยคนที่เกลียดเรา ย่าชดใช้กรรมที่ตัวเองก่อขึ้นทั้งตอนยังมีชีวิต
-
- Verified User
- โพสต์: 2690
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 237
ไหนก็พา
ออกทะเลมาไกลแล้ว
เอาบทความ ยาวๆ
ไปเลย
ทนเบื่อหน่อยนะ
ถ้าเบื่อไม่พอก็ไปอ่าน
Post subject: Expected value analysis
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=38833
...
จริงแล้ว
จะเอาแค่เรื่อง ไม่สามารถประกัน ศรัทธาได้
แต่บทความนี้ดีเหลือเกิน เลยเอามาหมดดีกว่า..
แปลว่า
ท่าน ผู้กังวลทางโลก
เวลาเราตายไป แม้นแต่ เงินปากผี ก็เอาไปไม่ได้
จึง ให้ เอาทางธรรมขึ้น หน้า อย่าได้ ประมาท
เพราะ ศรัทธาของเรา อาจ....เปลี่ยนไปทางอกุศลได้ง่าย
สรุปว่าไม่มีใครอาจประกันจิตที่เป็นกุศลของใครได้ว่า จะไม่เปลี่ยนเป็นอื่น เพราะจิตนั้นเกิดดับ
รวดเร็ว กลับกลอกรักษาได้ยาก ...
ประมาณนี้...
ถ้าลอยทะเล อยู่ใคร
มีเรือ ก็ขอขึ้นเรือเขา
ใครว่ายน้ำเก่งก็ขอเกาะเขาไปด้วย..
...
อย่าหลง ลอยคออยู่..
ออกทะเลมาไกลแล้ว
เอาบทความ ยาวๆ
ไปเลย
ทนเบื่อหน่อยนะ
ถ้าเบื่อไม่พอก็ไปอ่าน
Post subject: Expected value analysis
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=38833
...
................เป็นมนุษย์นี้แสนยาก
ประณีต ก้องสมุทร
source:
http://www.84000.org/tipitaka/book/bookpn03.html
บนพื้นโลกอันกว้างใหญ่ไพศาล เป็นที่อาศัยของสัตว์นานาชนิด มากมายเหลือที่จะนับ มีทั้งที่เราเคยเห็นและไม่เคยเห็น ที่มีรายกายใหญ่โตอย่างช้างก็มี ที่มีร่างกายเล็กอย่างมดหรือ เล็กยิ่งกว่ามดก็มี ที่มีร่างกายละเอียดเกินกว่าที่ตามนุษย์จะเห็นได้ เช่นเทวดาก็มี
สัตว์บางพวกมีรูปร่างสวยงาม น่าทัศนา บางพวกมีรูปร่างน่าเกลียด ไม่ชวนมอง บางพวกก็มีรูปร่างแปลกๆจนดูน่าขัน สัตว์นอกจากจะมีมากมายหลายชนิด และมีรูปร่างผิดแผกแตกต่างกันแล้ว ยังมีอุปนิสัยจิตใจ แตกต่างกันด้วย บางพวกมีจิตใจอ่อนโยน มีเมตตากรุณา บางพวกดุร้าย ใจแคบ บางพวกใจกว้างเอื้อ เฟื้อเผื่อแผ่อารีอารอบ ฯลฯ ไม่มีสัตว์ชนิดใดเลยที่เหมือนกันทุกอย่าง แม้ลูกฝาแฝดที่ว่ามีรูปร่างหน้าตา คล้ายกันมากที่สุด ก็ยังไม่เหมือนกันทุกส่วน ถ้าเหมือนกันทุกส่วนแล้ว เราจะไม่ทราบเลยว่าใครเป็นพี่ ใครเป็นน้อง นอกจากนั้น นิสัยใจคอของฝาแฝดก็มิได้เหมือนกัน
ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายเกิดมาด้วยกรรม และดำเนินไปตามกรรมที่ตนทำไว้ มีกรรม จำแนกให้ผิดแผกแตกต่างกัน
ในน้ำมี กุ้ง ปู เต่า ปลา และสัตว์น้อยใหญ่ที่เรารู้จัก และไม่รู้จักอีกมากมาย บนบกมี มนุษย์ ช้าง ม้า วัว ควาย สุนัข แมว เป็นต้น ในอากาศมี นก ผีเสื้อ และแมลงต่างๆ นอกจากนั้นก็ยังมีเทพบุตร เทพธิดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ เปรต อสุรกาย และสัตว์นรก
ในบรรดาสัตว์เหล่านั้น มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐที่สุด ที่ประเสริฐที่สุดเพราะมนุษย์มีโอกาส ทำความดีได้ทุกชนิด ตั้งแต่ความดีเล็กน้อย ไปจนถึงความดีขั้นสูงสุด คือการบรรลุมรรค ผล นิพพาน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า "การได้อัตภาพเป็นมนุษย์นั้นแสนยาก" แต่การดำเนินชีวิต ให้ถูกทางเมื่อมาแล้วยังยากกว่า เพราะถ้าดำเนินชีวิตไม่ถูกทางแล้วชีวิตในอนาคตมีแต่จะตกต่ำลง ยากนักที่จะมีโอกาสกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ในเมื่อตายไป
การเกิดเป็นมนุษย์ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างนำเกิดฉันใด การดำเนินชีวิตให้ถูกต้องเมื่อเกิด มาแล้ว ก็ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างฉันนั้น
การเกิดเป็นมนุษย์ต้องอาศัย บุญ มีทานเป็นต้นนำเกิด
การดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง ก็ต้องอาศัยสมบัติ ๔ อย่างที่พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า จักกะ ๔ หรือ จักร ๔ เป็นสำคัญผู้ใดมีจักร ๔ อย่างนี้ ย่อมได้รับโภคทรัพย์ ยศ ชื่อเสียง ความสุขและความเจริญ ตลอดชีวิต
จักร ๔ อย่าง คือ ๑. ปฏิรูปเทสวาสะ การได้อยู่ในประเทศที่สมควร คำว่า ประเทศที่สมควร นั้นได้แก่ สถานที่ หรือถิ่นที่มีคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แผ่ไปถึง หรือเป็นที่อยู่ หรือเป็นที่ผ่านไปมาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสงฆ์สาวก หรืออุบาสก อุบาสิกา ผู้นับถือพระรัตนตรัย
ลองพิจารณาดูเมืองไทยที่ได้ชื่อว่า ดินแดนแห่งพระพุทธศาสนาบ้าง บางแห่งก็ไม่มีพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้าอาศัยอยู่ หรือจาริกผ่านไป บางแห่งมีวัดก็ไม่มีพระสงฆ์ ต้องการจะทำบุญ ถวาย ทานสักครั้ง ก็หาภิกษุผู้รับทานไม่ได้ แม้การทำทานก็ยังยาก จะป่วยกล่าวไปไยกับการรักษาศีล หรือเจริญ ภาวนา ที่ใดที่กุศลเกิดได้ยาก ที่นั้นไม่ชื่อว่าประเทศที่สมควร
ผู้ที่อยู่ในถิ่นที่พระพุทธศาสนาแผ่ไปไม่ถึงนั้นน่าสงสารมาก แม้การหาเลี้ยงชีพจะไม่ฝืดเคือง มีอาหารบริโภคสมบูรณ์ แต่เขาก็ดำเนินชีวิตไปตามยถากรรม โดยไม่รู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร อะไรทำแล้วเป็นบุญ อะไรทำแล้วเป็นบาป สักแต่ว่าทำตามๆกัน อย่างที่บรรพบุรุษเคยทำมา
แม้คนที่อยู่ในถิ่นที่พระพุทธศาสนาแผ่ไปถึง แต่ไม่สนใจศึกษาหรือสดับพระธรรมคำสอนของ พระพุทธเจ้า ก็ไม่ผิดอะไรกับคนป่าคนดอย
คนที่ไม่รู้จักพระพุทธศาสนานั้น เวลามีทุกข์ก็แสวงหาวิธีดับทุกข์ที่ไม่ถูกทาง
บางคนอาศัยอบายมุข มีการพนันเป็นต้น เป็นเครื่องดับทุกข์ บางคนบนบาน เทวดา ผีสาง นางไม้ เจ้าป่า เจ้าเขาให้ช่วย บางคนคิดว่า ตายเสียได้คงพ้นทุกข์ จึงได้ฆ่าตัวตายด้วยวิธีต่างๆ ฯลฯ
ผู้ที่แสวงหาสิ่งดังกล่าวแล้วเป็นต้นนี้ เป็นที่พึ่ง เป็นที่ดับทุกข์ ชื่อว่าแสวงหาที่พึ่งผิด ทาง เพราะที่พึ่งเหล่านั้นไม่ใช่ที่พึ่งอันประเสริฐ ไม่ใช่ที่พึ่งที่อาจดับทุกข์ได้ตลอดไป
เพราะอะไร เพราะตัวของผู้เป็นทุกข์เองก็มีสภาพไม่เที่ยง ยังต้องมีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย แตกดับ เป็นธรรมดา สิ่งที่ยึดเอาเป็นที่พึ่งนั้นเล่าก็ไม่เที่ยง มีความแตกดับเป็นธรรมดาเช่นเดียวกัน สิ่งที่มี สภาพไม่เที่ยง แตกดับด้วยกัน จะดับทุกข์ของกันได้ตลอดไปได้อย่างไร
บางคนมีทุกข์ไม่ได้แสวงหาที่พึ่งดังกล่าวนั้น แต่อาศัยพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง คนเช่นนี้ชื่อว่าแสวงหาที่พึ่งที่ถูกทาง แสวงหาเครื่องดับทุกข์ที่ถูกทาง
เพราะอะไร เพราะพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ๓ ประการนี้ชื่อว่าที่พึ่งอันประเสริฐ ชื่อว่าที่พึ่งอัน สูงสุด ชื่อว่าที่พึ่งอันเกษม เพราะเป็นที่พึ่งที่เป็นปัจจัยให้เข้าถึงความเกษม คือพระนิพพาน อันไม่มี ความแตกดับ ก้าวล่วงทุกข์ทั้งปวงได้ในที่สุด
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ธรรมบท พุทธวรรค ข้อ ๒๔ ว่า "มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก ถูกภัยคุกคามแล้ว ย่อมถือเอาภูเขา ป่า อาราม และรุกขเจดีย์ว่าเป็นที่พึ่ง นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันเกษม นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด บุคคลอาศัยสิ่งเหล่านั้นแล้วย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
ส่วนผู้ใดมาถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง เห็นแจ้งอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์, สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์, นิโรธ ธรรมเป็นเครื่องดับทุกข์, และอริยมรรคอันประกอบด้วย องค์ ๘ อันเป็นทางให้ถึงความดับทุกข์ ด้วยปัญญาอันชอบ นั่นเป็นที่พึ่งอันเกษม นั่นเป็นสูงสุด บุคคลอาศัยพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งแล้ว ยังพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้"
เพราะฉะนั้น การอยู่ในประเทศที่สมควร ประเทศที่มีพระพุทธศาสนาแผ่ไปถึง จึงเป็นอุดมมงคล เป็นเหตุให้เกิดความเจริญ เป็นปัจจัยให้เราดำเนินชีวิตได้ถูกทางประการหนึ่ง
๒. สัปปุริสูปัสสยะ การเข้าไปอาศัยสัตบุรุษ หรือการคบหาสัตบุรุษ อย่าว่าแต่คนที่อยู่ในดินแดนที่ไม่สมควรเลย ที่จะแสวงหาที่พึ่งอันไม่ถูกทาง แม้คนที่อยู่ใน ประเทศที่สมควร บางครั้งและบางคนก็ยังแสวงหาที่พึ่งไม่ถูกทางเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพราะเขามิได้เข้าไป คบหา สนทนากับสัตบุรุษผู้รู้ทั้งหลาย เขาจึงไม่มีโอกาสทราบว่า สิ่งใดควรประพฤติ สิ่งใดไม่ควรประพฤติ สิ่งใดมีโทษ สิ่งใดไม่มีโทษ สิ่งใดเป็นประโยชน์ สิ่งใดไม่เป็นประโยชน์
เพราะฉะนั้น การคบหาสัตบุรุษจึงเป็นปัจจัยประการหนึ่งที่ ๒ ในการดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง สัตบุรุษนั้น ได้แก่ผู้สงบ คือ สงบจากกายทุจริต สงบจากวจีทุจริต สงบจากมโนทุจริต อันเป็นบาปอกุศล กายทุจริตการประพฤติชั่วทางกาย มี ๓ อย่าง คือ การฆ่าสัตว์ทั้งด้วยตนเองและใช้ผู้อื่น ๑ การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ด้วยเจตนาคิดจะลัก ๑ การประพฤติผิดประเวณี ๑
วจีทุจริตการประพฤติชั่วทางวาจา มี ๔ อย่าง คือ การพูดเท็จ ๑ การพูดส่อเสียด ให้ผู้อื่น แตกแยกกัน ๑ การพูดคำหยาบ ๑ การพูดเพ้อเจ้อ เหลวไหล ไร้สาระ ๑
มโนทุจริตการประพฤติชั่วทางใจ มี ๓ อย่าง คือ อภิชฌา การคิดเพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น มาเป็นของตน ๑ พยาบาท การคิดให้ผู้อื่นพินาศ ๑ มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดว่าทานที่ให้แล้วไม่มีผล เป็นต้น ๑
สัตบุรุษนั้นเป็นผู้มีศรัทธา เชื่อมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เชื่อกรรมและผลของกรรม เชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นผู้มีศีล เป็นผู้มีพาหุสัจจะ คือ สดับฟังตรับฟังมาก มีหิริ ความ ละอายบาป มีโอตตัปปะ ความกลัวบาป มีจาคะ ยินดีในการให้ไม่ตระหนี่ และมีปัญญารู้จัก อะไรควร ไม่ควรตลอดจนมีปัญญาพาตนให้พ้นทุกข์ได้
พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวก ตลอดจนผู้ตั้งอยู่ในศีล ในธรรม ชื่อว่าสัตบุรุษ ในบรรดาสัตบุรุษเหล่านั้น พระพุทธเจ้าประเสริฐที่สุด
พระพุทธเจ้านั้นเกิดขึ้นได้แสนยาก นานนักหนาว่าจะมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้สักพระองค์ หนึ่ง การบังเกิดขึ้นของพระองค์นำมาซึ่งประโยชน์ และความสุขแก่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย อย่าง หาประมาณมิได้ พระองค์ทรงชี้ทางให้สัตว์ทั้งหลายได้เข้าสู่สุคติโลกสวรรค์ และมรรค ผล นิพพาน เป็นจำนวนมาก
การได้ฟังพระสัทธรรม คือคำสั่งสอนของพระองค์ก็ยากเพราะเราอาจจะไปเกิดเสียในทุคติมี นรกเป็นต้น หรือแม้ได้เกิดในสุคติมีมนุษย์เป็นต้น ก็ไม่แน่ว่าเราจะได้มีโอกาสฟังธรรมของพระองค์หรือ ไม่ ทั้งนี้เพราะใจของสัตว์นั้นมากด้วยความยินดีต้องการ แต่พระองค์ทรงสอนให้ละความยินดีความต้อง การ เป็นการทวนกระแสกิเลส ผู้ฟังที่ขาดปัญญาบารมี จึงมิได้สนใจคำสอนของพระองค์เท่าที่ควร เมื่อไม่สนใจก็ประพฤติผิดทาง
ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า "ในโลกนี้ คนที่เห็นแจ้งมีน้อย สัตว์ที่ไปสวรรค์มีน้อย เหมือนนกพ้นจากข่ายมีน้อย"
และตรัสว่า "คนที่ไปถึงฝั่งคือพระนิพพานมีน้อย ส่วนมากมักเลาะอยู่ริมฝั่ง"
ผู้ใดได้ฟังธรรมของพระองค์แล้วประพฤติตาม ย่อมได้รับความสุขชั่วนิรันดร
พระพุทธเจ้าและพระสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นผู้ที่ควรบูชา ใครๆไม่ควรดูหมิ่นว่า บุญที่เกิดจากการบูชาพระองค์และสาวกของพระองค์เป็นบุญเล็กน้อย เพราะว่าการบูชาบุคคล ที่ควรบูชา ผู้เช่นกับด้วยพระองค์และสาวกของพระองค์ผู้หมดจดจากกิเลสนั้น ใครๆ ไม่อาจ ประมาณบุญนั้นได้ว่ามีประมาณเท่านั้นเท่านี้
เมื่อสัตบุรุษท่านเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณความดีดังกล่าวนี้ ท่านก็ปรารถนาให้ผู้อื่นได้เป็น เช่นเดียวกับท่าน เมื่อผู้ใดเข้าไปหาท่าน ท่านก็ย่อมจะสอนให้ผู้นั้นได้ตั้งอยู่ในคุณความดีเช่นเดียวกับ ท่าน นั่นคือสอนให้ละชั่ว ประพฤติดี ได้แก่ละบาปทุจริต ประพฤติกุศลสุจริต
ปัจจุบันนี้แม้พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไปแล้ว แต่พระสงฆ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ตลอดจนอุบาสก อุบาสิกา ผู้ตั้งอยู่ในศีล ในธรรม มั่นคงในพระรัตนตรัย ยังมีอยู่ ท่านเหล่านี้ เป็นสัตบุรุษที่เราควรเข้าไปคบหาสมาคม และดำเนินรอยตามท่าน
การคบหาสัตบุรุษ จึงเป็นปัจจัยประการหนึ่งในการดำเนินชีวิตให้ถูกทาง
๓. อัตตสัมมาปณิธิ การตั้งตนไว้ชอบ แม้การคบสัตบุรุษจะเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการดำเนินชีวิตให้ถูกทาง แต่ถ้าเป็นแต่ เพียงเข้าไปคบหา มิได้สนใจที่จะประพฤติตามคำสอนของท่านแล้ว การคบหานั้นก็ไม่เกิดประโยชน์อันใด ในเมื่อเรามิได้ตั้งตนไว้ชอบ คือมิได้ตั้งอยู่ในธรรมของสัตบุรุษ คือสุจริตธรรม ๑๐ ประการ มีการงดเว้น จากการฆ่าสัตว์เป็นต้น
ก็สุจริตธรรม ๑๐ ประการ หรือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ ชื่อว่าธรรมของมนุษย์ เราเกิดเป็นมนุษย์แล้วมีกุศลกรรมบถไม่ครบ ๑๐ จะชื่อว่าเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้อย่างไร
ก็คำว่า "มนุษย์" นั้นแปลว่า ผู้มีใจสูง คือสูงด้วยคุณธรรม มีเมตตากรุณา ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียนสัตว์ เป็นต้น ทั้งเป็นผู้จักเหตุที่สมควรและไม่สมควร เป็นผู้รู้จักว่าอะไรเป็นประโยชน์ อะไร ไม่เป็นประโยชน์ และอะไรเป็นกุศล อะไรไม่เป็นกุศล ถ้ามนุษย์ไม่รู้จักสิ่งเหล่านี้ มนุษย์ก็ไม่ต่างกับสัตว์ เดียรัจฉาน
มนุษย์ที่มีจิตใจเป็นมนุษย์ ท่านเรียกว่า มนุสสมนุสโส มนุษย์ที่มีจิตใจเหมือนเปรต คือหิวกระหาย อยากได้ ต้องการ อยู่เสมอ ไม่อิ่ม ไม่เต็ม ท่านเรียกว่า มนุสสเปโต มนุษย์ที่มีจิตใจเหมือนเดียรัจฉาน ไม่รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว เอาแต่ กิน นอน และสืบพันธุ์เท่านั้น ท่านเรียกว่า มนุสสติรัจฉาโน มนุษย์ที่มีจิตใจเหมือนเทวดา คือรู้จักละอายบาปและกลัวบาป รื่นเริงบันเทิงอยู่ ท่านเรียกว่า มนุสสเทโว
มนุษย์จึงควรมีศีล ๕ เป็นอย่างต่ำ มีกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นอย่างสูง ส่วนใครสามารถ จะทำฌาน วิปัสสนา มรรค ผล อันเป็นอุตตริมนุสสธรรม คือธรรมที่ยิ่งกว่า ธรรมของมนุษย์ ให้เกิดได้ ยิ่งประเสริฐ
คนในสมัยพุทธกาลเป็นจำนวนมาก ที่ได้เกิดในประเทศที่สมควร คือเกิดในดินแดนของ พระพุทธศาสนาในสมัยที่พระบรมศาสดาอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ได้เข้าไปคบหา ใกล้ชิดพระองค์ ได้ฟังธรรมของพระองค์ แต่ยังคงประพฤตินอกลู่ นอกทาง ผิดศีล ผิดธรรม อย่างนี้ชื่อ ว่าตั้งตนไว้ผิด ดังพระเทวทัตเป็นตัวอย่าง เมื่อตั้งต้นไว้ผิด ชีวิตของเขาจะพบกับความสุขความเจริญ ได้อย่างไร
ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกทาง" คือบอกทางสวรรค์ และ มรรค ผล นิพพาน ให้เท่านั้น ส่วนการดำเนินชีวิตให้ถึงจุดหมายปลายทางนั้น ท่านทั้งหลาย ต้องประ พฤติด้วยตนเอง
๔. ปุพเพ กตปุญญตา การได้ทำบุญไว้ในปางก่อน เป็นจักรข้อที่ ๔ ที่จะสนับสนุนให้ เราดำรงชีวิตอยู่ในทางที่ชอบ กอปรด้วยประโยชน์
การเกิดเป็นมนุษย์ในชาตินี้ ก็อาศัยบุญที่ได้ทำไว้ในปางก่อน คือในชาติที่ล่วงมาแล้วนำเกิด เมื่อมีชีวิตอยู่ มีโอกาสได้อยู่ในถิ่นที่สมควร ได้พบพระพุทธศาสนา ได้คบหาสัตบุรุษและฟังธรรมจากท่าน ทำให้ตั้งตนไว้ชอบ สนใจในการทำบุญกุศล ตลอดจนการประพฤติปฏิบัติ เพื่อบรรลุ มรรค ผล นิพพาน อันเป็นกุศลสูงสุด ก็ล้วนอาศัย บุญ ที่ได้เคยทำไว้เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ได้รับผลสำเร็จทั้งสิ้น
ถ้าขาดบุญเสียแล้ว ท่านจะไม่มีโอกาสได้รับสิ่งเหล่านี้เลย
หากยังต้องเกิดอีกตราบใด บุญที่ทำไว้ในชาติก่อนๆที่ยังไม่มีโอกาสให้ผล รวมกับบุญ ที่ทำใหม่ในชาตินี้ ก็ยังติดตามไปให้ผลในชาติต่อไปด้วย
สิ่งทั้งหลายที่เราปรารถนาและแสวงหามาไว้ ล้วนอยู่กับเราผู้เป็นเจ้าของไม่นานเลย ของเหล่า นั้นแม้จะเป็นที่รักสักเพียงใด ก็ไม่อาจติดตามเจ้าของไปภพหน้าได้ แม้เมื่อเจ้าของยังมีชีวิตอยู่ ก็ไม่แน่ ว่าของนั้นจะอยู่กับเจ้าของตลอดไป อาจสูญหาย หรือถูกทำลายไปด้วยไฟบ้าง ด้วยโจรบ้าง ด้วยน้ำบ้าง ด้วยผู้มีอำนาจบ้าง ด้วยการล้างผลาญของทายาทที่มีความประพฤติไม่ดีบ้าง ฯลฯ
ส่วนบุญมิได้เป็นเช่นนั้น ใครๆไม่อาจทำลายบุญให้สูญหายไปได้ แม้โจรก็ลักไปไม่ได้ ไฟไหม้ไม่ได้ น้ำท่วมไม่ได้ ถูกผู้มีอำนาจริบไม่ได้ หรือถูกทายาทที่มีความประพฤติไม่ดีล้างผลาญ ไม่ได้ ฯลฯ แม้เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว บุญนั้นสามารถติดตามไปให้ความสุขแก่เจ้าของในภพหน้าได้ด้วย
เพราะเหตุนั้น บุญ ที่ทำไว้ จึงเป็นปัจจัยเกื้อกูลแก่ชีวิตของเรา ให้พบกับความสุขและความ สำเร็จ ประการหนึ่ง
ในทางตรงกันข้าม บาปที่บุคคลสั่งสมไว้ในปางก่อน ก็เป็นปัจจัยให้พบกับความทุกข์และความ ผิดหวังนานาประการ ทั้งยังติดตามไปให้ความทุกข์แก่ผู้กระทำในภพหน้าด้วย
ผู้มีปัญญาจึงเพียรละบาป เร่งบำเพ็ญบุญ
เรื่องของการทำความดี คือบุญกุศลนั้น เมื่อมีจิตเลื่อมใสศรัทธาแล้ว อย่ารีรอจงทำทันที เพราะ จิตนั้นกลับกลอกเปลี่ยนแปลงรวดเร็วนัก มีปกติไหลไปหาบาป ทั้งเราไม่อาจรู้ว่าความตายจะมาถึงเราเมื่อไร เราอาจจะตายเสียในขณะที่ยังรีรออยู่ก็ได้
ชีวิตนั้นยังพอประกันได้ แต่ไม่มีใครสามารถประกันศรัทธาของใครได้ ว่าให้ตั้งอยู่ นานเท่านั้นเท่านี้แม้ท่านผู้ทรงฤทธิ์ เป็นพระอรหันต์อย่างท่านพระมหาโมคคัลลานะ ก็ยังไม่อาจ ประกันศรัทธาของอุบาสกผู้เป็นอุปัฏฐากของท่านได้
มีเรื่องเล่าไว้ใน สุปปาวาสาสูตร ขุททกนิกาย อุทาน ข้อ ๖๒ ตอนหนึ่งว่า . . . . . .
พระนางสุปปาวาสาโกลิยธิดา ประสูติพระโอรสแล้ว ทรงปรารถนาจะถวายภัตตาหารแด่ พระพุทธเจ้ากับพระสงฆ์สาวกสัก ๗ วัน เมื่อทรงส่งคนไปกราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่อาจ ทรงรับนิมนต์ได้ในทันที เพราะอุบาสกผู้เป็นอุปัฏฐากของท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กราบทูลนิมนต์ไว้ ก่อนแล้ว จึงตรัสสั่งให้ท่านพระมหาโมคคัลลานะบอกเรื่องนี้แก่อุบาสกผู้เป็นอุปัฏฐากของท่าน อุบาสกนั้น กล่าวว่า ถ้าท่านพระมหาโมคคัลลานะสามารถประกันโภคสมบัติ ชีวิตและศรัทธาของท่านได้ ท่านก็ยอม ตกลง ท่านพระมหาโมคคัลลานะยอมประกันแต่โภคสมบัติ และชีวิตของอุบาสกนั้นเท่านั้น แต่ไม่อาจประ กันศรัทธาของอุบาสกได้
เมื่ออุบาสกนั้นเห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะประกันโภคสมบัติและชีวิตของตน ว่าจะไม่เป็น อันตรายใน ๗ วัน จึงได้ยินยอมให้พระนางสุปปวาสาถวายภัตตาหารแก่พระพุทธเจ้าและพระสาวกก่อน ตน จะถวายภายหลัง ทั้งนี้เพราะมั่นใจว่าศรัทธาของตนที่มีต่อพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก จะไม่หวั่นไหว เปลี่ยนแปลงเป็นอื่น
สรุปว่าไม่มีใครอาจประกันจิตที่เป็นกุศลของใครได้ว่า จะไม่เปลี่ยนเป็นอื่น เพราะจิตนั้นเกิดดับ รวดเร็ว กลับกลอกรักษาได้ยาก แต่ผู้ที่สามารถผึกจิตที่กลับกลอก รักษาได้ยากให้อยู่ในอำนาจได้ คือให้ ตั้งอยู่ในกุศลได้แล้ว เป็นความดีเพราะจิตที่บุคคลฝึกดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้
แต่จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิด คือตั้งไว้ในบาปอกุศล มีกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ย่อมนำ ความทุกข์และความพินาศมาให้ แม้คนที่มีเวรต่อกัน ก็ยังนำความทุกข์และความพินาศมาให้น้อย กว่าจิตที่ตั้งไว้ผิด
มีคนเป็นจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจว่า จิตของมนุษย์เมื่อเริ่มเกิด คือถือกำเนิดในครรภ์มารดานั้น บริสุทธิ์ ไม่มีความต้องการใดๆ แต่เมื่อโตขึ้นจิตก็เศร้าหมอง เพราะอุปกิเลสมีโลภะเป็นต้นจรมารบกวน ทำให้ต้องการสิ่งโน้นสิ่งนี้ไม่มีที่สิ้นสุด
จริงอยู่ พระพุทธองค์ตรัสไว้ใน อํ. เอกนิบาต ข้อ ๕๐ ว่า จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนี้เศร้า หมองแล้ว ด้วยอุปกิเลสที่จรมา
คำว่า จิตปภัสสร ที่แปลกันว่า จิตผุดผ่อง นี้ ก็มีความหมายเพียงผุดผ่องเท่านั้น มิได้หมาย ไกลไปถึงว่าบริสุทธิ์ เพราะจิตบริสุทธิ์นั้นหมายถึงจิตที่ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง
แต่จิตผุดผ่องมิได้เป็นเช่นนั้น เพราะยังมีกิเลสอย่างละเอียดคืออนุสัยกิเลสตามนอนอยู่ ด้วย เหตุที่ยังละไม่ได้ ก็อนุสัยกิเลสนี้ที่ทำให้จิตเศร้าหมอง หากเชื้อคืออนุสัยกิเลสยังนอนสงบนิ่งอยู่ตราบใด จิตนี้ผุดผ่องอยู่ตราบนั้น จิตผุดผ่องนี้คือภวังคจิต ที่ทำหน้าที่รักษาภพชาติคือความเป็นมนุษย์เอาไว้เป็น จิตที่รับอารมณ์ที่ได้รับมาจากภพเก่าคือชาติก่อน ยังมิได้ขึ้นสู่วิถี ทำหน้าที่เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส เย็น ร้อน อ่อน แข็ง และรู้ธัมมารมณ์ ต่อเมื่อใดอารมณ์ใหม่มาปรากฎทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เมื่อนั้นจิตก็ขึ้นวิถีทำหน้าที่เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัสเย็น ร้อน อ่อน แข็ง และรู้ธัมมารมณ์ หาก ไม่สำรวมจิตให้ดี คือขาดสติหลงใหลไปในอารมณ์เหล่านั้นอุปกิเลสก็จะจรเข้ามา ทำให้จิตเศร้าหมองทันที
ด้วยเหตุนี้ ภวังคจิตจึงไม่ผิดกับน้ำที่มองดูใส แต่มีตะกอนนอนอยู่ข้างล่าง เมื่อมีอะไร มากวน น้ำนั้นก็ขุ่นทันที
น้ำที่มีตะกอนนอนอยู่ข้างล่าง มองดูใสสะอาดฉันใด ภวังคจิตที่มีอนุสัยนอนสงบอยู่ก็ดู ผุดผ่องฉันนั้น
ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ จิตของทารกแรกเกิดจึงมิได้บริสุทธิ์ เพราะถ้าจิตของทารกบริสุทธิ์แล้ว ไซร์ ทารกนั้นก็ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง เป็นพระอรหันต์มาตั้งแต่เกิด แต่พระอรหันต์นั้นเมื่อปรินิพพาน แล้ว ท่านไม่เกิดอีก เพราะท่านดับอนุสัยกิเลสอันเป็นเชื้อที่จะทำให้เกิดได้หมดแล้ว
ในทางพระพุทธศาสนานั้นแสดงว่าผู้ที่มาเกิด ไม่ว่าจะเกิดในภพภูมิใด ผู้นั้นคือผู้ที่ยังไม่หมด กิเลส จิตยังไม่บริสุทธิ์ เพราะถ้าจิตบริสุทธิ์หมดกิเลสแล้วจะมาเกิดอีกไม่ได้ นอกจากนั้นยังแสดงว่า ผู้ที่เกิดขึ้นในภพใหม่นั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วจิตที่เกิดขึ้นรับอารมณ์ใหม่เป็นครั้งแรกต่อภวังคจิต คือโลภะจิตที่ประกอบด้วยความยินดีในภพที่ตนเกิด ต่อแต่นั้นจิตอื่นมีกุศลเป็นต้นจึงจะเกิดได้ ทั้งนี้ ไม่เว้นแม้แต่พระอนาคามีผู้เกิดในพรหมโลก
การร้องไห้ของทารกที่คลอดจากครรภ์มารดาก็ดี ร้องไห้เพราะต้องการนมก็ดี ล้วนแต่แสดงว่า ทารกนั้นมีกิเลสทั้งสิ้น จริงอยู่ เด็กไม่อาจแสดงออกซึ่งกิเลสหยาบมีการตีการด่า เป็นต้นได้ แต่เด็กก็แสดง ออกซึ่งกิเลสที่มีอยู่ในใจให้ผู้อื่นรู้ว่า เขาชอบใจ ไม่ชอบใจ อยากได้ ไม่อยากได้ เป็นต้น
ก็กิเลสที่มีอยู่ในใจนั้นมาจากไหนเล่า ถ้าหากว่าไม่มีเชื้อ คืออนุสัย ตามนอนอยู่ในสันดาน คือ ความสืบต่อของจิตแล้ว กิเลสอย่างกลางที่คอยกลุ้มรุมจิตใจให้เร่าร้อน และกิเลสอย่างหยาบที่แสดงออกทาง กายทางวาจา มีการตีการด่าเป็นต้น จะเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่เพราะมีอนุสัยอันเป็นกิเลสอย่างละเอียดเป็น เชื้ออยู่ กิเลสอย่างกลางและอย่างหยาบจึงเกิดได้
ด้วยเหตุนี้ ความเข้าใจที่ว่า จิตของมนุษย์แรกเกิดบริสุทธิ์จึงไม่ถูกต้อง เพราะเมื่อเรายังละเชื้อ คืออนุสัยยังไม่ได้ตราบใด อนุสัยนั้นก็ติดตามเราไปทุกชาติตราบนั้น ทำให้เกิดในภพใหม่อยู่ร่ำไป ทั้งยังทำให้ จิตใจของเราผู้เกิดแล้ว ต้องเศร้าหมองด้วยความรักบ้าง ความโกรธบ้าง ความหลงบ้าง
พระพุทธองค์ตรัสว่า ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐที่สุด สำเร็จแล้วแต่ใจ (คือจิต) ถ้าบุคคลมีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว กล่าวอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม ทุกข์ย่อมไปตามบุคคลนั้น เพราะทุจริต ๓ อย่าง เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าโคตัวลากเกวียนไปฉะนั้น
เพราะฉะนั้นจึงควรติดตามดูจิต เพื่อมิให้ตกไปในอกุศล ด้วยการกำหนดรู้สภาพของจิต ที่เกิดขึ้นทุกขณะ
เพียงเท่านี้ก็จะเห็นได้ว่า การเกิดเป็นมนุษย์แล้วดำรงชีวิตให้ถูกทาง คือให้อยู่ในบุญกุศลนั้น แสนยาก เพราะต้องคอยประคับประคองจิตไม่ให้ตกไปในบาปอกุศล หากใจเป็นบาปอกุศลแล้วโอกาสที่ ความชั่วทางกาย ทางวาจา ทางใจ คืออกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ อันมิใช่ธรรมของมนุษย์ย่อมเกิดขึ้น ได้ง่าย การรักษาใจเพียงอย่างเดียวชื่อว่ารักษากายและวาจาด้วย
ในจำนวนคนเป็นล้านๆ มีกี่คนที่รักษาใจไว้มิให้ตกไปในบาปอกุศล แม้คนที่ศึกษาธรรมมาอย่าง ดี รู้โทษของอกุศลแล้ว ก็ยังยากที่จะทำใจให้เป็นกุศลได้ตลอดเวลา เพราะธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา จิต หรือใจก็เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจของใคร เราจึงไม่อาจบังคับจิตของเราให้เป็นกุศลตลอดไปได้ กุศล และอกุศลเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยและความคุ้นเคย กล่าวคือ ถ้าจิตคุ้นเคยอยู่กับบุญกุศล บุญกุศล ก็เกิดได้ง่าย แต่ถ้าจิตคุ้นเคยกับอกุศล อกุศลก็เกิดได้ง่าย ด้วยเหตุนี้ควรพยายามสั่งสมกุศลให้มา เพื่อให้จิตคุ้นเคยกับกุศล โดยเฉพาะกุศลขั้นภาวนาเพราะกุศลขั้นภาวนาเท่านั้น ที่ช่วยรักษาจิตมิให้ตกไป ในบาปอกุศลได้ การตามรู้สภาพของจิตตามความเป็นจริงนี้ จะช่วยให้เรารู้ว่าขณะนี้จิตเป็นกุศล หรือจิต เป็นอกุศล เมื่อรู้ว่าเป็นกุศลก็พยายามรักษาไว้และเจริญให้มากขึ้น แต่ถ้ารู้ว่าจิตเป็นอกุศลก็พยายามละ และระวังไม่ให้เกิดขึ้นอีก
การฝึกจิตให้คุ้นเคยกับกุศลนั้นทำอย่างไร ไม่ยากเลย ขอเพียงอย่าปล่อยกุศลเล็กๆน้อยๆผ่าน ไปโดยไม่ใส่ใจ หรือดูหมิ่นว่าเป็นกุศลเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องทำ ซึ่งไม่ถูกต้อง กุศลทุกชนิดไม่ควรละเลย
เช่นเราเห็นมดลอยน้ำอยู่ในน้ำ โอกาสที่เราจะช่วยให้มดรอดตายมีอยู่ จะโดยการใช้มือช้อนขึ้นมา หรือใช้ไม้เขี่ยให้พ้นน้ำก็ได้ แต่เราไม่ได้ทำ เพราะคิดว่าธุระไม่ใช่ มดไม่ใช่ลูกหรือพ่อแม่ ญาติพี่น้องของเรา หรือคิดว่าการช่วยมดไม่ทำให้เราได้รับประโยชน์อันใด ถึงจะได้บุญ ก็ได้บุญเล็กน้อย เสียเวลา เอาไว้ทำบุญ ใหญ่ๆดีกว่า แล้วก็ละเลยเสีย ไม่ได้คิดว่านั่นเป็นโอกาสที่จะได้ทำกุศลแล้ว กลับปล่อยให้กุศลที่จะเกิดผ่านไป เสียด้วยความประมาท ความจริงแล้วมดก็มีชีวิตจิตใจเช่นเดียวกับมนุษย์ กลัวตายเหมือนมนุษย์ ทั้งหมดนั้น อาจเป็นพ่อแม่หรือญาติพี่น้องของเราในอดีตก็ได้ ใครจะรู้ว่าในวัฏฏสงสารอันยืดยาวนี้ เราและสัตว์ทั้ง หลายมีความผูกพันกันอย่างไร จึงไม่ควรดูดาย คนที่ตกน้ำแลัวช่วยตนเองไม่ให้จมน้ำตายไม่ได้ ย่อมกลัว ตายอย่างไร มดก็กลัวจมน้ำตายอย่างนั้นการช่วยให้มดรอดชีวิตจึงไม่ใช่กุศลเล็กน้อย แต่เพราะประมาทดูหมิ่น ว่าเป็นกุศลเล็กน้อย กุศลก็เกิดไม่ได้ มิหนำซ้ำอกุศลยังเกิดแทนอีกด้วย
หรือเพียงเราเดินไปตามถนนหนทาง พบเศษกระเบี้องหรือเศษแก้วทิ้งอยู่บนทางเดิน พบแล้ว ก็มิได้เดินผ่านไปเฉยๆ ได้เก็บเศษแก้วแตกนั้นออกไปให้พ้นทางเดิน ด้วยจิตใจที่ประกอบด้วยเมตตากรุณา ต้องการให้ผู้คนที่เดินผ่านไปมาได้รับความปลอดภัย ไม่ถูกกระเบื้องแตกตำเท้าให้บาดเจ็บ ซึ่งบางคร้งเมื่อ ถูกตำแล้วไม่รักษาให้ถูกต้อง ปล่อยให้สกปรก อาจเป็นบาดทะยักถึงตายได้ การทำอย่างนี้ ก็เป็นบุญเป็น กุศล ซึ่งบางคนอาจคิดว่าเป็นบุญเล็กน้อยจึงละเลย ความจริงหาได้เล็กน้อยไม่ เพราะเป็นประโยชน์แก่คน เป็นอันมาก
ถ้าเราหมั่นฝึกจิตของเราให้ไม่ละเลยต่อกุศล แม้เล็กน้อยอย่างนี้บ่อยๆ จิตใจของเราจะคุ้นเคย กับกุศล จนกุศลสามารถเกิดได้บ่อยและง่ายขึ้น อกุศลหาโอกาสแทรกได้ยาก ด้วยเหตุนี้จึงไม่ควรปล่อยให้ กุศลเล็กน้อยผ่านไป อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า "บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญว่าบุญมีประมาณน้อย จัก ไม่มาถึง แม้หม้อน้ำยังเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมาทีละหยาดๆ ฉันใด นักปราชญ์สั่งสมบุญ แม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบุญ ฉันนั้น"
ในทางตรงกันข้าม เราก็ไม่ควรดูหมิ่นบาปเล็กน้อยว่าจะไม่เพิ่มมากขึ้น ในเมื่อเราทำบาปนั้น บ่อยๆ และเมื่อทำบ่อยๆ จิตใจก็คุ้นกับบาป เป็นเหตุให้บาปเกิดได้ง่ายและบ่อยขึ้น
ลองสังเกตดูเด็กที่ขาดการอบรมสั่งสอน มักชอบรังแกและฆ่าสัตว์เล็กๆโดยเห็นเป็นของสนุก เมื่อโตขึ้นก็สามารถฆ่าสัตว์ใหญ่ตลอดจนมนุษย์ได้อย่างสบาย โดยไม่มีความละอายและเกรงกลัวบาป เห็นการกระทำความชั่ว การกระทำบาปเป็นเรื่องธรรมดา ทั้งนี้ก็เพราะ จิตใจของเขาคุ้นเคยกับบาปมา ตั้งแต่เยาว์
บางคนชอบลักเล็กขโมยน้อย หยิบฉวยทรัพย์สินของผู้อื่น ทั้งที่เป็นของสาธารณะ และของส่วน บุคคลจนเคยชิน สายไฟ หลอดไฟตามถนนหนทางถูกขโมย ต้นไม้ที่มีผลยื่นออกมานอกรั้ว หรือแม้จะอยู่ ภายในรั้ว มีเจ้าของหวงแหนและระแวดระวัง ก็ถูกคนจำพวกนี้หยิบฉวย เก็บเอาไปทั้งต่อหน้าและลับหลัง โดยขาดความละอายใจ ว่าตนได้ละเมิดกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น
คนเหล่านี้หวงแหนชีวิตและทรัพย์สินของตน ใครมาทำลายชีวิตและทรัพย์ของตนก็โกรธคิดอาฆาต พยาบาท แต่ร่าเริงบันเทิงใจ เมื่อได้ชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่นโดยมิชอบธรรม ลืมเอาใจเขามาใส่ใจเรา ว่าเรารักชีวิตและทรัพย์สินของเราอย่างไร ผู้อื่นก็รักชีวิตและทรัพย์สินของเขาอย่างนั้น
พระพุทธองค์ตรัสว่า "บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบาปว่ามีประมาณน้อยจะไม่มาถึง แม้หม้อน้ำย่อม เต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมาทีละหยาดๆฉันใด คนพาลสั่งสมบาปแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบาปฉันนั้น"
เพราะฉะนั้นจงสั่งสมบุญ ละเว้นบาป
ด้วยเหตุที่การเกิดเป็นมนุษย์นี้แสนยาก เพราะต้องอาศัยบุญนำเกิด เมื่อได้ความเป็นมนุษย์มา แล้ว ก็ควรใช้ชีวิตให้ถูกต้อง ให้สมกับที่ได้มาโดยยาก และให้สมกับที่ได้รับสมญาว่า "ผู้มีใจสูง" ผู้มีใจสูง ย่อมตั้งตนไว้ในบุญกุศล คือ ทาน ศีล ภาวนา ไม่ปล่อยตนให้ตกไปในบาปอกุศล เพราะถ้าประมาทพลาด พลั้งไปกับบาปอกุศลแล้ว โอกาสที่จะได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกนั้นยากนัก
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เอกธัมมาทิบาลี ตอนหนึ่งว่า "สัตว์ที่จุติคือตายจากมนุษย์กลับมาเกิดในมนุษย์มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในนรกเกิด ในกำเนิดเดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้"
ถ้าไม่อยากไปเกิดในนรก ในกำเนิดเดียรัจฉาน ในปิตติวิสัย ก็จงตั้งตนไว้ในธรรมของมนุษย์ คือกุศลกรรมบถ ๑๐ อันได้แก่การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ การงดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่ ให้ ๑ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑ งดเว้นจากการพูดเท็จ ๑ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ งดเว้น จากการพูดคำหยาบ ๑ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น ๑ ไม่พยาบาทปองร้ายผู้ อื่น ๑ มีความเห็นถูก คือเห็นว่าการทำบุญมีผล เป็นต้น ๑ หรือจะเจริญกุศลให้สูงยิ่งขึ้นจนได้ฌาน วิปัสสนา และมรรค ผล นิพพาน ก็ยิ่งประเสริฐ
แม้ว่าการเกิดเป็นมนุษย์จะได้มาโดยยาก และมนุษย์จะได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ถึงกระนั้น การเกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นทุกข์ ไม่ใข่จะเป็นสุขไปทุกอย่าง ทุกข์เพราะต้องแสวงหาสิ่งต่างๆมาปรนเปรอชีวิต ทุกข์เพราะเจ็บป่วย ทุกข์เพราะต้องพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก เป็นต้น แม้มนุษย์ที่มีความเป็นอยู่อุดมสม บูรณ์ที่สุดอย่างพระเจ้าจักรพรรดิ ก็หนีทุกข์เป็นต้นเหล่านี้ไม่พ้น เกิดมาแล้วก็เป็นทุกข์บ้าง สุขบ้าง คละ เคล้ากันไป
ในวัฏฏสงสารอันยาวนานนี้ เราจำกันได้หรือไม่ว่า เราได้เกิดมากี่ครั้ง เชื่อแน่ว่าไม่มี ใครจำได้
*พระพุทธเจ้าตรัสว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดและเบื้องต้นไม่ได้ เมื่อหมู่สัตว์ผู้มีอวิชชากางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดและเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฎ
*อนมตัคคสังยุตต์ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
พระพุทธองค์ทรงแสดงให้เราทราบว่า ทุกคนที่เกิดมานี้ล้วนแต่มีบรรพบุรุษสืบสายกันมานับไม่ ถ้วน ทั้งทางฝ่ายมารดาและบิดา โดยทรงเปรียบเทียบกับผืนแผ่นดินใหญ่นี้ว่าถ้าเราจะเอาดินมาปั้นเป็นก้อน เล็กๆเท่าเมล็ดกระเบา แล้วสมมุติให้ก้อนนี้เป็นมารดาของเรา ก้อนนี้เป็นมารดาของมารดาเราเป็นลำดับไป มารดาของมารดาเราจะไม่ถึงความสิ้นสุด แต่ดินบนผืนแผ่นดินใหญ่นี้จะพึงหมดไปเสียก่อน แม้ในฝ่ายบรรพ บุรุษของบิดาก็เช่นเดียวกัน
เราได้เสวยความทุกข์เดือดร้อน ร้องไห้ คร่ำครวญกันมานานไม่น้อยเลย พระพุทธองค์ ตรัสว่า น้ำตาของเราผู้ร้องไห้อยู่ในสงสารอันยาวนานนี้ ยังมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ รวมกัน เสียอีก ร่างกายของเรานั้นเล่าก็นอนทับถมพื้นดินกันมานานมิใช่น้อย จนนับประมาณมิได้
ตลอดเวลาที่เราท่องเที่ยวอยู่ในสงสารนี้ บางคราวก็จากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น บางคราวก็จากโลก อื่นมาสู่โลกนี้ เวียนวนไปมาอยู่อย่างนี้ โดยไม่อาจกำหนดที่สุดของการเกิดของเราได้เลย ตราบเท่าที่ยัง ไม่เห็นอริยสัจ ๔
ทุกข์นั้นมีมากมาย แต่ไม่มีทุกข์อะไรที่น่ากลัวยิ่งกว่า ทุกข์ในวัฏฏะ อันมีการเวียนเกิดเวียนตาย ที่หาจุดจบมิได้ เกิดทีไรก็เป็นทุกข์ทีนั้น
การเกิดบ่อยๆ จึงเป็นทุกข์ การไม่ต้องเกิดเป็นอะไรเลยเป็นความสุข
ทุกข์เหล่านี้มีตัณหาความอยาก ความต้องการเป็นมูล พระพุทธองค์ตรัสว่า ผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน สองท่องเที่ยวไปอยู่สิ้นกาลนาน ย่อมไม่ก้าวล่วงสงสารไปได้ เพราะฉะนั้นการดับตัณหาอันเป็นมูลเหตุของ ทุกข์ทั้งมวลเสียได้ จึงเป็นความสุขอย่างยิ่ง
ตัณหาจะดับได้ก็เพราะได้ดำเนินตามทางสายกลางที่เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ อันประกอบ ด้วย สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ การทำงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ ๑ สัมมาวายามะ การเพียร ๑ สัมมาสติ การระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ การตั้งใจมั่นชอบ ๑ จนบรรลุพระอรหัตต์เป็นพระอรหันต์เท่านั้น
ความเป็นมนุษย์ของเราจะสมบูรณ์ที่สุดก็เพราะได้เข้าถึง อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ อันเกษม จากโยคะ หมดสิ้นทั้งกิเลสและขันธ์ทั้งปวง ไม่ต้องเกิดมาพบกับความทุกข์อีก
จริงแล้ว
จะเอาแค่เรื่อง ไม่สามารถประกัน ศรัทธาได้
แต่บทความนี้ดีเหลือเกิน เลยเอามาหมดดีกว่า..
แปลว่า
ท่าน ผู้กังวลทางโลก
เวลาเราตายไป แม้นแต่ เงินปากผี ก็เอาไปไม่ได้
จึง ให้ เอาทางธรรมขึ้น หน้า อย่าได้ ประมาท
เพราะ ศรัทธาของเรา อาจ....เปลี่ยนไปทางอกุศลได้ง่าย
สรุปว่าไม่มีใครอาจประกันจิตที่เป็นกุศลของใครได้ว่า จะไม่เปลี่ยนเป็นอื่น เพราะจิตนั้นเกิดดับ
รวดเร็ว กลับกลอกรักษาได้ยาก ...
พระนางสุปปาวาสาโกลิยธิดา ประสูติพระโอรสแล้ว ทรงปรารถนาจะถวายภัตตาหารแด่
พระพุทธเจ้ากับพระสงฆ์สาวกสัก ๗ วัน เมื่อทรงส่งคนไปกราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่อาจ
ทรงรับนิมนต์ได้ในทันที เพราะอุบาสกผู้เป็นอุปัฏฐากของท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กราบทูลนิมนต์ไว้
ก่อนแล้ว จึงตรัสสั่งให้ท่านพระมหาโมคคัลลานะบอกเรื่องนี้แก่อุบาสกผู้เป็นอุปัฏฐากของท่าน อุบาสกนั้น
กล่าวว่า ถ้าท่านพระมหาโมคคัลลานะสามารถประกันโภคสมบัติ ชีวิตและศรัทธาของท่านได้ ท่านก็ยอม
ตกลง ท่านพระมหาโมคคัลลานะยอมประกันแต่โภคสมบัติ และชีวิตของอุบาสกนั้นเท่านั้น แต่ไม่อาจประ
กันศรัทธาของอุบาสกได้
เมื่ออุบาสกนั้นเห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะประกันโภคสมบัติและชีวิตของตน ว่าจะไม่เป็น
อันตรายใน ๗ วัน จึงได้ยินยอมให้พระนางสุปปวาสาถวายภัตตาหารแก่พระพุทธเจ้าและพระสาวกก่อน ตน
จะถวายภายหลัง ทั้งนี้เพราะมั่นใจว่าศรัทธาของตนที่มีต่อพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก จะไม่หวั่นไหว
เปลี่ยนแปลงเป็นอื่น
สรุปว่าไม่มีใครอาจประกันจิตที่เป็นกุศลของใครได้ว่า จะไม่เปลี่ยนเป็นอื่น เพราะจิตนั้นเกิดดับ
รวดเร็ว กลับกลอกรักษาได้ยาก แต่ผู้ที่สามารถผึกจิตที่กลับกลอก รักษาได้ยากให้อยู่ในอำนาจได้ คือให้
ตั้งอยู่ในกุศลได้แล้ว เป็นความดีเพราะจิตที่บุคคลฝึกดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้
ประมาณนี้...
ถ้าลอยทะเล อยู่ใคร
มีเรือ ก็ขอขึ้นเรือเขา
ใครว่ายน้ำเก่งก็ขอเกาะเขาไปด้วย..
...
อย่าหลง ลอยคออยู่..
-
- Verified User
- โพสต์: 2690
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 238
ลอยคอนานแล้ว
เห็นขอนไม้งาม
ก็เกาะไว้บ้าง
...
ขอนไม้
"บุญ๑๗,๒๘๐"..
....
...(จาก หนังสือไตรภูมิพระร่วง)
a. มหากุศล 8
b. บุญกิริยาวัตถุ 10
c. อารมณ์ 6
d. อธิบดี 4
e. กรรม 3
f. ความตั้งใจจริง 3
คือว่าให้เอามหากุศล ๘ ตั้งเอาทศบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คูณแล้วเอาอารมณ์ ๖ คูณแล้ว เอาอธิบดี ๔ คูณแล้ว เอากรรม ๓ คือ กายกรรมวจีกรรมมโนกรรมนั้นคูณ แลเอาหินติก ๓ คือหินมัชฌิมปณีตนั้นคูณได้ ๑๗๒๘๐ แลฯ
ทดสอบการ คำนวณ 8x10x6x4x3x3 = 17280 ถูกต้อง
......
a. มหากุศล 8
a1. รู้จักบุญและบาป ทำบุญด้วยความยินดี
a2. เมื่อมีคนมาชักชวนเกิดความยินดี จึงทำบุญ
a3. ไม่รู้จักบุญและบาป แต่ยินดีในการทำบุญ
a4. ไม่รู้จักบุญและบาป มีผู้ชวนเกิดความละอาย จึงทำบุญ
a5. รู้จักบุญและบาป ทำบุญด้วยคิดเอง
a6. รู้จักบุญและบาป ไม่ปรารถนาทำด้วยตนเอง แต่มีคนชวนจึงทำ
a7. ไม่รู้จักบุญและบาป แต่ได้ทำบุญด้วยตัวเอง
a8. ไม่รู้จักบุญและบาป ไม่ยินดีในการทำบุญ เห็นคนอื่นทำก็ทำตาม
......
b. บุญกิริยาวัตถุ 10 (โดยนัยของ ไตรภูมิพระร่วง)
b1. ทาน b2. ศีล b3. ภาวนา
b4. อุทิศส่วนบุญ ให้ เทพยดา ผู้มีพระคุณ...(ญาติชน เปรตชน?)
b5. อนุโมทนา
b6. ปรนิบัติ บิดา มารดา ครู สถูป เจดีย์
b7. เคารพยำเกรง บิดา มารดา ครู
b8. เทศนาที่มีประโยชน์
b9. ฟังธรรม ศึกษาธรรม
b10. ความเห็นถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
(เชื่อเรื่อง ของกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว)
.....
C.อารมณ์ 6
= ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
....
d. อธิบดี 4 (เหตุจูงใจ ทำบุญ)
d1. มีความพอใจเที่ยงตรง ตั้งมั่น แล้วจึงทำบุญ
d2. มีความขวนขวายในบุญ (ในการทำบุญ?)
d3. มีความเอาใจใส่ ไม่หวั่นไหว ในบุญ
d4. มีความ พินิจพิจารณา ในบุญ
....
e. กรรม 3
กาย วาจา ใจ
...
f. ความตั้งใจจริง 3
หินติก ๓ คือ
หิน
มัชฌิม
ปณีต
นั้นคูณ
อย่าง หยาบ
อย่าง ปานกลาง
อย่าง ประณีต
......
%%%
link เพื่อ ดู ไตรภูมิพระร่วง
http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B9%84 ... 1%E0%B8%B4
แล้ว เลือก edit find ๑๗๒๘๐
........
....
link: แบบ word download
http://olddreamz.com/bookshelf/tibhum/tibhum.doc
....
{โปรดตรวจสอบความ ถูกต้อง จากแหล่งๆอื่นด้วย}
........
ต.ย. อย่างบุญอย่าง ประณีต
source:
http://goo.gl/QHHcv2
..
เห็นขอนไม้งาม
ก็เกาะไว้บ้าง
...
ขอนไม้
"บุญ๑๗,๒๘๐"..
....
...(จาก หนังสือไตรภูมิพระร่วง)
a. มหากุศล 8
b. บุญกิริยาวัตถุ 10
c. อารมณ์ 6
d. อธิบดี 4
e. กรรม 3
f. ความตั้งใจจริง 3
คือว่าให้เอามหากุศล ๘ ตั้งเอาทศบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คูณแล้วเอาอารมณ์ ๖ คูณแล้ว เอาอธิบดี ๔ คูณแล้ว เอากรรม ๓ คือ กายกรรมวจีกรรมมโนกรรมนั้นคูณ แลเอาหินติก ๓ คือหินมัชฌิมปณีตนั้นคูณได้ ๑๗๒๘๐ แลฯ
ทดสอบการ คำนวณ 8x10x6x4x3x3 = 17280 ถูกต้อง
......
a. มหากุศล 8
a1. รู้จักบุญและบาป ทำบุญด้วยความยินดี
a2. เมื่อมีคนมาชักชวนเกิดความยินดี จึงทำบุญ
a3. ไม่รู้จักบุญและบาป แต่ยินดีในการทำบุญ
a4. ไม่รู้จักบุญและบาป มีผู้ชวนเกิดความละอาย จึงทำบุญ
a5. รู้จักบุญและบาป ทำบุญด้วยคิดเอง
a6. รู้จักบุญและบาป ไม่ปรารถนาทำด้วยตนเอง แต่มีคนชวนจึงทำ
a7. ไม่รู้จักบุญและบาป แต่ได้ทำบุญด้วยตัวเอง
a8. ไม่รู้จักบุญและบาป ไม่ยินดีในการทำบุญ เห็นคนอื่นทำก็ทำตาม
......
b. บุญกิริยาวัตถุ 10 (โดยนัยของ ไตรภูมิพระร่วง)
b1. ทาน b2. ศีล b3. ภาวนา
b4. อุทิศส่วนบุญ ให้ เทพยดา ผู้มีพระคุณ...(ญาติชน เปรตชน?)
b5. อนุโมทนา
b6. ปรนิบัติ บิดา มารดา ครู สถูป เจดีย์
b7. เคารพยำเกรง บิดา มารดา ครู
b8. เทศนาที่มีประโยชน์
b9. ฟังธรรม ศึกษาธรรม
b10. ความเห็นถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
(เชื่อเรื่อง ของกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว)
.....
C.อารมณ์ 6
= ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
....
d. อธิบดี 4 (เหตุจูงใจ ทำบุญ)
d1. มีความพอใจเที่ยงตรง ตั้งมั่น แล้วจึงทำบุญ
d2. มีความขวนขวายในบุญ (ในการทำบุญ?)
d3. มีความเอาใจใส่ ไม่หวั่นไหว ในบุญ
d4. มีความ พินิจพิจารณา ในบุญ
....
e. กรรม 3
กาย วาจา ใจ
...
f. ความตั้งใจจริง 3
หินติก ๓ คือ
หิน
มัชฌิม
ปณีต
นั้นคูณ
อย่าง หยาบ
อย่าง ปานกลาง
อย่าง ประณีต
......
%%%
-----------
[มหากุศล ๘]
1. อนึ่งรู้จักบุญแลบาป แลกระทำบุญด้วยใจรักฯ
2. อนึ่งบมิรู้จักบุญ แลบาปแท้บมิใจจะมักกระทำบุญฯ
3. อนึ่งรู้จักบุญแลบาปแท้ แลใจบมิรู้มักบาปหากกระทำบุญเอง ฯ
4. อนึ่งมิรู้จักบุญแลบาปแท้ หินใจตนก็บมิโสดเพื่อเห็นท่านทำบุญแลกระทำด้วยท่านฯ
5. อนึ่งรู้จักบุญแลบาปแลบมิกระทำบุญ ครั้นว่ามีผู้มาชวนแลมีใจรักหนักหนาจึงกระทำบุญโสดฯ
6. อนึ่งบมิรู้จักบุญแลบาปแท้หินบมิกระทำบุญโสดฯ ครั้นว่ามีคนมาชวนไส้แลมีใจรักนักหนาจึงกระทำบุญโสดฯ
7.อนึ่งรู้จักบุญแลบาปแลบมิกระทำบุญ ครั้นว่ามีคนมาชวนไส้ใจก็บมิมักกระทำบุญสักอันโสด สักอันแล ยังกระทำบุญโสดฯ
8. อนึ่งบมิรู้จักบุญแลบาปสักอันแลยินละอายแก่คำอันท่นมาชวนจึงกระทำบุญฯ
บุญทั้งหลาย ๘ จำพวกนี้แล
-----------------------
[ทศบุญกิริยาวัตถุ ๑๐]
๑๐ อันโสดฯ อันใดสิ้นหนึ่งบันดาบใจดังกล่าวนี้แล
จึงอวยทานมีต้นว่าข้าวน้ำหมากพลูฯ
อนึ่งจำศีล ๕ อันก็ดี ๘ อันก็ดี ๑๐ ก็ดีฯ
อนึ่งภาวนาเป็นต้นว่าสวดมนต์แลสวดพระพุทงธคุณแล
ระลึกถึงคุณพ่อแม่เจ้าไทยท่านผู้มีคุณแก่ตนแล
ภาวนาอนิจจสังขารแลฯ
อนึ่งคณนาบุญญานิสงส์อันได้กระทำแก่เทวดามนุษย์สัตว์ทั้งหลายอันมีคุณแก่ตนฯ
อนึ่งอนุโมทนาด้วยทานแห่งท่าน
ให้ทนแลกระทำบุญแลมีใจยินดีแลเอาช่วยท่านแล
สัทธาด้วยท่านฯ อนึ่งกระทำด้วยกายแลบำเรอแก่พ่อแลแม่ครูบาธยาย
แลกวาดวัดปัดแผ้วแผ่นดินที่พระพุทธรูปแลที่สถูปพระเจดีย์พระรีรมหาโพธิฯ
อนึ่งกระทำบุญด้วยกายคือว่ายำเยงพ่อแลแม่ผู้เฒ่าผู้แก่แลครูบาอาจารย์
แลมิได้ประมาทท่านสักอันฯ
อนึ่งเทศนาธรรมสั่งสอนท่านฯ
อนึ่งหมั่นฟังพระธรรมเทศนาอันใดอันตนกระทำบำเพ็งบมิแท้ไส้
หมั่นถามท่านรู้ผู้รู้หลักโสดฯ อนึ่งเอาใจปลงใจเชื่อแก่ดพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ พ่อแม่ครูอาจารย์เจ้าไทยผู้ได้เลี้ยงตนด้วยใจอันซื่อตรง ฯ บุญทั้ง ๑๐ จำพวกนี้แล
---------------
[อารมณ์ ๖]
อันมีบุญอันเป็นอารมณ์แล ๖ โสดฯ
บุญอันใดอันเป็นอารมณ์สิ้นฯ อนึ่งเห็นอารมณ์เพื่ออันเป็นบุญด้วยตาแลบันดาลใจเป็นอารมณ์แล้วจึงมากระทำบุญฯ
อนึ่งได้ยินเสียงอันจะเป็นบุญด้วยเป็นอารมณ์จึงมาทำบุญฯ
อนึ่งหอมกลิ่นอันเป็นบุญด้วยจมูกเป็นอารมณ์จึงมากระทำบุญฯ
อนึ่งกินอาหารสะอาดเพื่ออันเป็นบุญด้วยลิ้นเป็นอารมณ์จึงมาทำบุญแลให้ทานฯ
อนึ่งท่านผู้ใดถือผิด อนึ่งเพื่ออันเป็นบุญด้วยตนเป็นอารมณ์จึงมากระทำบุญฯ
อนึ่งหากคำนึงธรรมในใจตนเป็นอารมณ์จึงมาทำบุญฯ บุญทั้ง ๖ จำพวกนี้แล
-------------
[อธิบดี ๔]
อันมีบุญอันเป็นอธิบดีแล ๔ แล ๔
1.อันโสด ๆ อนึ่งมีใจเที่ยงแก่บุญจึงกระทำฯ
2.อนึ่งพยายามแก่บุญแลกระทำฯ
3.หนึ่งให้มั่นแก่บุญแลจึงกระทำฯ
4.อนึ่งพิจารณาแก่บุญแลยินดีจึงทำฯ บุญทั้ง ๔ จำพวกนี้แล
------------------
[กรรม ๓]
อัน ๆ มีบุญสุตวาภาพ แล๓ แล ๓ โสดฯ อันใดสิ้นฯ
1. อนึ่งกระทำด้วยตนฯ
2.อนึ่งกระทำบุญด้วยถ้อยคำฯ
3.อนึ่งกระทำบุญด้วยใจฯ
------
[หินติก ๓]
บุญทั้งหลายอันนั้นแลอันยังมีแล ๓ โสดฯ
1. อนึ่งเมื่อกระทำบุญจริง
2. แต่เท่าว่ากระทำสเล็กสน้อยฯ
3. อนึ่งกระทำแต่พอปรามฯ แต่ใจอันบังเกิดบุญในกามภูมิได้ ๑๗๓๘๐
ดังนี้
--------------
คือว่าให้เอา
มหากุศล ๘ ตั้ง
เอาทศบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คูณ
แล้วเอาอารมณ์ ๖ คูณ
แล้ว เอาอธิบดี ๔ คูณ
แล้ว เอากรรม ๓ คือ กายกรรมวจีกรรมมโนกรรมนั้นคูณ
แลเอาหินติก ๓ คือหินมัชฌิมปณีตนั้นคูณ
ได้ ๑๗๒๘๐ แลฯ
..............
link เพื่อ ดู ไตรภูมิพระร่วง
http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B9%84 ... 1%E0%B8%B4
แล้ว เลือก edit find ๑๗๒๘๐
........
....
link: แบบ word download
http://olddreamz.com/bookshelf/tibhum/tibhum.doc
....
ปุญฺญญฺเจ ปุริโส กยิรา กยิราเถนํ ปุนปฺปุนํ
ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย.
ถ้าบุรุษพึงทำบุญไซร้, พึงทำบุญนั้นบ่อยๆ
พึงทำความพอใจในบุญนั้น, เพราะว่า
ความสั่งสมบุญทำให้เกิดสุข.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... 5&i=19&p=3
{โปรดตรวจสอบความ ถูกต้อง จากแหล่งๆอื่นด้วย}
........
ต.ย. อย่างบุญอย่าง ประณีต
source:
http://goo.gl/QHHcv2
..
-
- Verified User
- โพสต์: 2690
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 239
เรือลำน้อยๆ
...
20 พ.ย.2553 ได้ทำบุญพระไตรปิฏก 91เล่ม ของมูลนิธิมหามงกุฎฯ ราคา 25,000บาท
ส่วน ตู้ไม้สัก สั่งร้านที่เสาชิงช้า แล้วไปถวาย วัดกระซ้าขาว สมุทรสาคร ดีใจสุดๆ.
ครั้งนี้เป็นการถวายพระไตรปิฏกครั้งที่ 3 ในชีวิตนี้.
อานิสงค์ผลบุญที่ได้จากการถวายพระไตรปิฎกพร้อมตู้ไม้สักครังนี้
นอกจากจะอุทิศให้กับท่านต่างๆตามที่ได้กรวดน้ำแล้ว
ยังขออุทิศให้กับ ผู้รจนาแต่งตำราหรือบทความความรู้ต่างๆ
ที่ข้าพเจ้าได้นำมาใช้ฯ .....
ขอจงได้รับส่วนกุศลผลบุญในครั้งนี้ด้วยเทอญ..สาธุ
ในปี
2009
ได้เคยทำ wishlist ไว้
http://www.dhammajak.net/forums/viewtop ... =1&t=20477
ใครสนใจ จะ copy ไปทำ
ไม่สงวน
มีแต่จะอนุโมทนา สาธุ
....
อย่างที่
กล่าวข้างต้น
ไม่สามารถประกันศรัทธาได้..
ใดๆในโลกล้วน อนิจจัง..
...
20 พ.ย.2553 ได้ทำบุญพระไตรปิฏก 91เล่ม ของมูลนิธิมหามงกุฎฯ ราคา 25,000บาท
ส่วน ตู้ไม้สัก สั่งร้านที่เสาชิงช้า แล้วไปถวาย วัดกระซ้าขาว สมุทรสาคร ดีใจสุดๆ.
ครั้งนี้เป็นการถวายพระไตรปิฏกครั้งที่ 3 ในชีวิตนี้.
อานิสงค์ผลบุญที่ได้จากการถวายพระไตรปิฎกพร้อมตู้ไม้สักครังนี้
นอกจากจะอุทิศให้กับท่านต่างๆตามที่ได้กรวดน้ำแล้ว
ยังขออุทิศให้กับ ผู้รจนาแต่งตำราหรือบทความความรู้ต่างๆ
ที่ข้าพเจ้าได้นำมาใช้ฯ .....
ขอจงได้รับส่วนกุศลผลบุญในครั้งนี้ด้วยเทอญ..สาธุ
ในปี
2009
ได้เคยทำ wishlist ไว้
http://www.dhammajak.net/forums/viewtop ... =1&t=20477
ใครสนใจ จะ copy ไปทำ
ไม่สงวน
มีแต่จะอนุโมทนา สาธุ
....
อย่างที่
กล่าวข้างต้น
ไม่สามารถประกันศรัทธาได้..
ใดๆในโลกล้วน อนิจจัง..
-
- Verified User
- โพสต์: 2690
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 240
คําอธิฐานที่ควร -สำหรับผู้ประพฤติธรรม และสั่งสมบารมี
ตัวอย่าง
"เจ้าประคุณ ขอให้ข้า ฯ ได้เป็นมนุษย์
เถิด กับขอพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พึงบังเกิดในโลก ขอให้ข้า ฯ
ได้เข้าใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นพึงทรงแสดงธรรม
และขอให้ข้า ฯ พึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเถิด"
ที่มา
****พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 151****
http://www.tripitaka91.com/91book/book34/151_200.htm
.....
อธิบาย
ถ้าเราปฎิบัติแล้ว
ยังไม่ใกล้ฝั่ง ..จะคอยออกกลางทะเล อยู่เรื่อย
อย่างน้อย เวลาเราสร้างบารมี ทำการกุศล
ก็จง อธิฐานให้ได้เกิดก็ทัน
พระผู้มีพระภาคเจ้า ที่จะพึงบังเกิดในโลก
(ยิ่งเป็น พระศรีอาริยเมตไตรย ลำดับที่5 ในภัทรกัลปนี้ ก็คงยิ่งดี)
เกิดเป็นมนุษย์ด้วย เป็นผู้มีสัมมาทิฐิด้วย
ได้เข้าใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นพึงทรงแสดงธรรม
และขอให้ข้า ฯ พึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเถิด
...
เป็น อุบาสก อุบาสิกา เถรวาท
อย่าง เราๆ ท่านๆ ควร อธิฐานไว้
ทุกครั้งที่ทำการกุศลใหญ่...อย่าลืมละ
...
ตัวอย่าง
"เจ้าประคุณ ขอให้ข้า ฯ ได้เป็นมนุษย์
เถิด กับขอพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พึงบังเกิดในโลก ขอให้ข้า ฯ
ได้เข้าใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นพึงทรงแสดงธรรม
และขอให้ข้า ฯ พึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเถิด"
ที่มา
****พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 151****
Quote Tipitaka:
พวกนิรยบาล จับบุรุษนั้นนอนลงแล้วถากด้วยขวานผึ่ง... ตั้งเอา
เท้าขึ้นศีรษะลงแล้วถากด้วยพร้า...จับเอาเทียมรถให้แล่นไปแล่นมาบนพื้นอัน
ร้อนลุกเป็นเปลวช่วงโชติ... บังคับให้ขึ้นลงภูเขาเถ้าถ่านอันร้อนลุกโชน..
จับเอาเท้าขึ้นศีรษะลง ทุ่มลงไปในโลหกุมภี อันร้อนแดงลุกเป็นแสง บุรุษ
นั้นถูกต้มอยู่ในนั้นจนตัวพอง เมื่อถูกต้มจนตัวพองอยู่ในนั้น ลางทีก็โผล่
ขึ้นม้า ลางทีก็จมลงไป ลางทีก็ลอยขวางไป บุรุษนั้นเสวยทุกขเวทนาอันกล้า
หนัก เผ็ดร้อนอยู่ ณ ที่นั้น และไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกนิรยบาลจับบุรุษนั้นไปลงมหานรก ก็
มหานรกนั้น
มีสี่มุม สี่ประตู แบ่งออกเป็นส่วนๆ
มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วย (ฝา)
เหล็ก พื้นก็ล้วนไปด้วยเหล็ก ร้อนลุกโชน
แผ่ (ความร้อน) ไปถึง ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ
ตั้งอยู่ทุกเมื่อ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีแล้ว ความปริวิตกนี้ได้มีแก่พญายม
ว่า ได้ยินว่า ชนเหล่าใดทำกรรมทั้งหลายที่เป็นบาปในโลก ชนเหล่านั้นย่อม
ถูกทำกรรมกรต่าง ๆ เช่นอย่างนี้ เจ้าประคุณ ขอให้ข้า ฯ ได้เป็นมนุษย์
เถิด กับขอพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พึงบังเกิดในโลก ขอให้ข้า ฯ
ได้เข้าใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นพึงทรงแสดงธรรม
และขอให้ข้า ฯ พึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเถิด
****พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 152****
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้ฟังเรื่องนั้นต่อผู้อื่น เป็นสมณะหรือ
พราหมณ์ก็ตาม จึงมากล่าวอย่างนี้ หามิได้ ที่จริง เรากล่าวเรื่องที่เราได้รู้เอง
ได้เห็นเอง แจ่มแจ้งเองทีเดียว.
คนเหล่าใดถูกเทวทูตเตือนแล้วยัง
ประมาทอยู่ คนเหล่านั้น ย่อมเข้าถึงกาย
อันเลว โศกเศร้าสิ้นกาลนาน
ฝ่ายคนเหล่าใด เป็นสัตบุรุษผู้สงบ
ในโลกนี้ ถูกเทวทูตเตือนแล้วไม่ประมาท
ในธรรมของพระอริยเจ้าเสมอไป เห็นภัย
ในเพราะอุปาทานอันเป็นแดนเกิดแห่งชาติ
และมรณะ เลิกยึดถือ หลุดพ้นไปเพราะ
สิ้นชาติและมรณะ คนเหล่านั้น ถึงความ
เกษมเป็นสุข ดับทุกข์ได้ในชาติปัจจุบัน
พ้นเวรภัยทั้งปวง ล่วงทุกข์ทั้งหมด.
จบทูตสูตรที่ ๖
http://www.tripitaka91.com/91book/book34/151_200.htm
.....
อธิบาย
ถ้าเราปฎิบัติแล้ว
ยังไม่ใกล้ฝั่ง ..จะคอยออกกลางทะเล อยู่เรื่อย
อย่างน้อย เวลาเราสร้างบารมี ทำการกุศล
ก็จง อธิฐานให้ได้เกิดก็ทัน
พระผู้มีพระภาคเจ้า ที่จะพึงบังเกิดในโลก
(ยิ่งเป็น พระศรีอาริยเมตไตรย ลำดับที่5 ในภัทรกัลปนี้ ก็คงยิ่งดี)
เกิดเป็นมนุษย์ด้วย เป็นผู้มีสัมมาทิฐิด้วย
ได้เข้าใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นพึงทรงแสดงธรรม
และขอให้ข้า ฯ พึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเถิด
...
เป็น อุบาสก อุบาสิกา เถรวาท
อย่าง เราๆ ท่านๆ ควร อธิฐานไว้
ทุกครั้งที่ทำการกุศลใหญ่...อย่าลืมละ
...