เปิดพอร์ต: กวิน สุวรรณตระกูล ผู้ลงทุนสไตล์ถัวเฉลี่ย

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 0

เปิดพอร์ต: กวิน สุวรรณตระกูล ผู้ลงทุนสไตล์ถัวเฉลี่ย

โพสต์ที่ 1

โพสต์

คอลัมน์: เปิดพอร์ต: กวิน สุวรรณตระกูล ผู้ลงทุนสไตล์ถัวเฉลี่ย
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th)

Friday, December 06, 2013 03:04


บงกชรัตน์ สร้อยทอง
"กวิน สุวรรณตระกูล" หรือ "ต้าร์"พนักงานบริษัทและผู้ที่ศึกษาเรื่องการลงทุนเพิ่มความมั่งคั่งด้วยหลักการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย (Dollar Average Cost)หรือ DCA และยังเป็นพิธีกรรายการ "มือใหม่ The Season 2" ของสถานีโทรทัศน์มันนี่ ชาแนล
ผู้ชายที่เริ่มต้นทำงานประจำและมีความคิดว่า วันหนึ่งอยากรวยแต่การทำงานประจำเพียงอย่างเดียวคงจะประสบความสำเร็จได้ยาก และการจะไปเป็นเจ้าของธุรกิจเองอาจจะเป็นหนทางหนึ่ง แต่แล้วจะหาเงินจากไหนไปลงทุน เพราะแต่ละเดือนก็มีรายจ่ายมาก การจะเก็บเงินเป็นจำนวนเงินก้อนจึงยาก
ดังนั้น จึงเริ่มเก็บเงินที่มีอยู่ให้งอกเงยเพราะการจะนำเงินไปฝากธนาคารเพียงอย่างเดียวก็ไม่น่าพอที่จะให้มีเงินหลัก 1 ล้านบาทในอายุน้อย ดังนั้น ต้องนำเงินไปลงทุนอย่างอื่นอย่างหุ้น พันธบัตร หรือกองทุนรวมถึงจะได้เงินตอบแทนที่เพิ่มขึ้น
"กวิน" จึงตัดสินใจเอาเงินออมที่เก็บไว้เดือนละ 6,000-8,000 บาท และเป็นก้อนประมาณ 2 แสนบาท กระโจนไปซื้อกับกองทุนรวมและลงทุนในหุ้นบางส่วน
โชคไม่เข้าข้าง "กวิน" เข้าไปในช่วงที่เกิดวิกฤตซับไพรม์ ทำให้ขาดทุนติดลบ 70% ทั้งหมดนั้นเกิดจากที่ไม่สามารถควบคุมตัวเอง เจ้าหน้าที่การตลาดแนะนำอะไรก็ปฏิบัติตามหมด เพราะเขาคำนึงเรื่องเป้าหมายของการลงทุน โดยคิดถึงผลตอบแทนเป็นตัวตั้ง
"ตอนนั้นเรียกได้ว่าฟังทุกอย่างที่บอกว่าตัวไหนดีน่าลงทุน หาหุ้นทุกตัวในเว็บพันทิป ซึ่งสามารถจำกัดความให้ตัวเองได้เลยว่าเป็นแมลงเม่าของแท้" กวินบอก
จากนั้นเขากลับมาตั้งหลัก โดยพยายามหาคำตอบและจัดระบบวิธีความคิดใหม่ ขณะเดียวกันก็ไม่ยอมขายหุ้นนั้นทิ้งไป เพราะคิดว่าจะกลับมาจัดการให้ดีขึ้น
ช่วงนั้นเริ่มได้ยินการลงทุนหุ้นแบบที่เน้นหุ้นคุณค่าหรือแบบวีไอ พร้อมกับเริ่มหาหนังสืออ่านไปเรื่อยๆเพื่อมาช่วยตอบโจทย์การลงทุนในแบบฉบับของตัวเองและเป็นการลงทุนระยะยาว
ในที่สุดได้บทสรุปแนวทางการลงทุนที่คิดว่าเหมาะกับตัวเอง คือต้องเริ่มจากการเลือกหุ้นให้ถูกเป็นอย่างแรก และหุ้นตัวนั้นต้องมีการจ่ายปันผลที่ดีและต่อเนื่องแต่วิธีการลงทุนจะเลือกใช้วิธีแบบ DCA ที่มีการหักบัญชีจากธนาคารเพื่อไปออมหุ้นแบบรายเดือน พร้อมกับเปลี่ยนเป้าหมายเป็นจะทำอย่างไรให้ตัวเองมีเงินเก็บ 1 ล้านบาท ได้โดยที่ยังใช้ชีวิตของการทำงานอยู่ แม้เงินที่ลงทุนไปครั้งหนึ่งจะได้จำนวนหุ้นแต่ละครั้งที่ไม่เยอะก็ตาม
"กวิน" บอกว่า ตอนนั้นหาข้อมูลมาได้ว่ามี 2 บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เท่านั้นที่มีการตัดบัญชีแบบรายเดือนโดยเริ่มคัดเลือกหุ้นที่ดี ที่คิดว่ามีการเติบโต และมีการจ่ายปันผลต่อเนื่องเช่น บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ(BGH) บริษัท ซีพี ออลล์ (CPALL) บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ (HMPRO) และก็เริ่มนำเงินที่แบ่งไว้สำหรับออมทุกเดือน 6,000-8,000 บาท ตัดบัญชีกับธนาคาร จนทุกวันนี้ได้เพิ่มวงเงินสำหรับออมหุ้นที่ 2-3 หมื่นบาทต่อเดือน
"ได้ลงทุนแบบ DCA รู้สึกว่าตัวเองมีความสุขมากเพราะไม่ต้องไปสนใจกับภาวะหรือดัชนีหุ้นที่มีความผันผวน ซึ่งใครหลายๆ คน ก็สามารถทำได้และไม่ต้องไปกลัวการขาดทุน เพียงแต่จุดเริ่มต้นที่สำคัญอยู่ที่ต้องไปศึกษาตัวธุรกิจให้ดี วิเคราะห์มูลค่าหุ้นที่แท้จริงเพราะเขามีความเชื่อและมั่นใจว่าการที่เลือกหุ้นที่ดีแล้วถึงอย่างไรก็ไม่มีทางเจ๊งได้" กวิน เล่า
อย่างไรก็ดี ถึงวันนี้ก็มีวิธีการปรับเปลี่ยนวิธีการลงทุนบ้าง โดยหันมาเลือกหุ้นที่มีโอกาสเติบโตสูงแม้จะยังไม่ได้ปันผลก็ตาม เนื่องจากเชื่อว่าการได้ผลตอบแทนส่วนต่างของราคาหุ้นจะช่วยให้อัตราผลตอบแทนที่ดีและเพิ่มขึ้นในอนาคตได้ เพราะราคาหุ้นบางตัวก็ปรับเพิ่มขึ้นมา 100-200% ซึ่งคิดเป็น 70% ของพอร์ตการลงทุนในปัจจุบัน
นอกจากนั้น อีก 20% คือ การมีหุ้นที่มีการจ่ายปันผลต่อเนื่องหรือกองทุนหุ้นปันผลที่เขาก็สามารถเลือกซื้อจากบล.ฟิลลิป (ประเทศไทย)เช่นกัน เพราะมีโปรแกรมทั้งออมหุ้นและเป็นตัวแทนจำหน่ายการซื้อขายหน่วยลงทุนของทุกบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ด้วย ทำให้สามารถเลือกซื้อเลือกขายกองทุนรวมได้สะดวกและที่เหลือก็ต้องเป็นเงินสด 10%
"กวิน" บอกว่า ก็จะมีการทบทวนพอร์ตเสมอ โดยจะมีการคัดเลือกหุ้นที่จ่ายปันผลน้อยออกไปก่อนเพราะเชื่อว่าอัตราผลตอบแทนที่ได้ในเรื่องส่วนต่างราคาหุ้นจะดีกว่า แต่ก็จะไม่กลับไปเลือกลงทุนในหุ้นที่เก็งกำไร ในที่สุดตลอดระยะเวลาการลงทุนมา 6-7 ปีซึ่ง 1-2 ปี แรกนิ่ง
เขาถือว่าโชคดีมากเพราะเจอปัญหาได้เร็วและกลับตัวได้ทัน และหันมาเลือกการลงทุน DCA และส่งผลให้เขามีเงิน 1 ล้านบาทได้ แม้จะทำงานประจำด้วยอายุเพียง 27-28 ปี
จนถึงวันนี้ "กวิน" อายุ 31 ปี มูลค่าพอร์ตการลงทุนมากกว่า 5 ล้านบาทแล้ว n


ลงทุนแบบ DCA รู้สึกว่าตัวเองมีความสุขมาก เพราะไม่ต้องไปสนใจ
กับภาวะหรือดัชนีหุ้นที่มี
ความผันผวน

บรรยายใต้ภาพ
กวิน สุวรรณตระกูล--จบ--

ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
pongpanj
Verified User
โพสต์: 89
ผู้ติดตาม: 0

Re: เปิดพอร์ต: กวิน สุวรรณตระกูล ผู้ลงทุนสไตล์ถัวเฉลี่ย

โพสต์ที่ 2

โพสต์

pakapong_u เขียน:คอลัมน์: เปิดพอร์ต: กวิน สุวรรณตระกูล ผู้ลงทุนสไตล์ถัวเฉลี่ย
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th)

Friday, December 06, 2013 03:04


บงกชรัตน์ สร้อยทอง
"กวิน สุวรรณตระกูล" หรือ "ต้าร์"พนักงานบริษัทและผู้ที่ศึกษาเรื่องการลงทุนเพิ่มความมั่งคั่งด้วยหลักการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย (Dollar Average Cost)หรือ DCA และยังเป็นพิธีกรรายการ "มือใหม่ The Season 2" ของสถานีโทรทัศน์มันนี่ ชาแนล
ผู้ชายที่เริ่มต้นทำงานประจำและมีความคิดว่า วันหนึ่งอยากรวยแต่การทำงานประจำเพียงอย่างเดียวคงจะประสบความสำเร็จได้ยาก และการจะไปเป็นเจ้าของธุรกิจเองอาจจะเป็นหนทางหนึ่ง แต่แล้วจะหาเงินจากไหนไปลงทุน เพราะแต่ละเดือนก็มีรายจ่ายมาก การจะเก็บเงินเป็นจำนวนเงินก้อนจึงยาก
ดังนั้น จึงเริ่มเก็บเงินที่มีอยู่ให้งอกเงยเพราะการจะนำเงินไปฝากธนาคารเพียงอย่างเดียวก็ไม่น่าพอที่จะให้มีเงินหลัก 1 ล้านบาทในอายุน้อย ดังนั้น ต้องนำเงินไปลงทุนอย่างอื่นอย่างหุ้น พันธบัตร หรือกองทุนรวมถึงจะได้เงินตอบแทนที่เพิ่มขึ้น
"กวิน" จึงตัดสินใจเอาเงินออมที่เก็บไว้เดือนละ 6,000-8,000 บาท และเป็นก้อนประมาณ 2 แสนบาท กระโจนไปซื้อกับกองทุนรวมและลงทุนในหุ้นบางส่วน
โชคไม่เข้าข้าง "กวิน" เข้าไปในช่วงที่เกิดวิกฤตซับไพรม์ ทำให้ขาดทุนติดลบ 70% ทั้งหมดนั้นเกิดจากที่ไม่สามารถควบคุมตัวเอง เจ้าหน้าที่การตลาดแนะนำอะไรก็ปฏิบัติตามหมด เพราะเขาคำนึงเรื่องเป้าหมายของการลงทุน โดยคิดถึงผลตอบแทนเป็นตัวตั้ง
"ตอนนั้นเรียกได้ว่าฟังทุกอย่างที่บอกว่าตัวไหนดีน่าลงทุน หาหุ้นทุกตัวในเว็บพันทิป ซึ่งสามารถจำกัดความให้ตัวเองได้เลยว่าเป็นแมลงเม่าของแท้" กวินบอก
จากนั้นเขากลับมาตั้งหลัก โดยพยายามหาคำตอบและจัดระบบวิธีความคิดใหม่ ขณะเดียวกันก็ไม่ยอมขายหุ้นนั้นทิ้งไป เพราะคิดว่าจะกลับมาจัดการให้ดีขึ้น
ช่วงนั้นเริ่มได้ยินการลงทุนหุ้นแบบที่เน้นหุ้นคุณค่าหรือแบบวีไอ พร้อมกับเริ่มหาหนังสืออ่านไปเรื่อยๆเพื่อมาช่วยตอบโจทย์การลงทุนในแบบฉบับของตัวเองและเป็นการลงทุนระยะยาว
ในที่สุดได้บทสรุปแนวทางการลงทุนที่คิดว่าเหมาะกับตัวเอง คือต้องเริ่มจากการเลือกหุ้นให้ถูกเป็นอย่างแรก และหุ้นตัวนั้นต้องมีการจ่ายปันผลที่ดีและต่อเนื่องแต่วิธีการลงทุนจะเลือกใช้วิธีแบบ DCA ที่มีการหักบัญชีจากธนาคารเพื่อไปออมหุ้นแบบรายเดือน พร้อมกับเปลี่ยนเป้าหมายเป็นจะทำอย่างไรให้ตัวเองมีเงินเก็บ 1 ล้านบาท ได้โดยที่ยังใช้ชีวิตของการทำงานอยู่ แม้เงินที่ลงทุนไปครั้งหนึ่งจะได้จำนวนหุ้นแต่ละครั้งที่ไม่เยอะก็ตาม
"กวิน" บอกว่า ตอนนั้นหาข้อมูลมาได้ว่ามี 2 บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เท่านั้นที่มีการตัดบัญชีแบบรายเดือนโดยเริ่มคัดเลือกหุ้นที่ดี ที่คิดว่ามีการเติบโต และมีการจ่ายปันผลต่อเนื่องเช่น บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ(BGH) บริษัท ซีพี ออลล์ (CPALL) บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ (HMPRO) และก็เริ่มนำเงินที่แบ่งไว้สำหรับออมทุกเดือน 6,000-8,000 บาท ตัดบัญชีกับธนาคาร จนทุกวันนี้ได้เพิ่มวงเงินสำหรับออมหุ้นที่ 2-3 หมื่นบาทต่อเดือน
"ได้ลงทุนแบบ DCA รู้สึกว่าตัวเองมีความสุขมากเพราะไม่ต้องไปสนใจกับภาวะหรือดัชนีหุ้นที่มีความผันผวน ซึ่งใครหลายๆ คน ก็สามารถทำได้และไม่ต้องไปกลัวการขาดทุน เพียงแต่จุดเริ่มต้นที่สำคัญอยู่ที่ต้องไปศึกษาตัวธุรกิจให้ดี วิเคราะห์มูลค่าหุ้นที่แท้จริงเพราะเขามีความเชื่อและมั่นใจว่าการที่เลือกหุ้นที่ดีแล้วถึงอย่างไรก็ไม่มีทางเจ๊งได้" กวิน เล่า
อย่างไรก็ดี ถึงวันนี้ก็มีวิธีการปรับเปลี่ยนวิธีการลงทุนบ้าง โดยหันมาเลือกหุ้นที่มีโอกาสเติบโตสูงแม้จะยังไม่ได้ปันผลก็ตาม เนื่องจากเชื่อว่าการได้ผลตอบแทนส่วนต่างของราคาหุ้นจะช่วยให้อัตราผลตอบแทนที่ดีและเพิ่มขึ้นในอนาคตได้ เพราะราคาหุ้นบางตัวก็ปรับเพิ่มขึ้นมา 100-200% ซึ่งคิดเป็น 70% ของพอร์ตการลงทุนในปัจจุบัน
นอกจากนั้น อีก 20% คือ การมีหุ้นที่มีการจ่ายปันผลต่อเนื่องหรือกองทุนหุ้นปันผลที่เขาก็สามารถเลือกซื้อจากบล.ฟิลลิป (ประเทศไทย)เช่นกัน เพราะมีโปรแกรมทั้งออมหุ้นและเป็นตัวแทนจำหน่ายการซื้อขายหน่วยลงทุนของทุกบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ด้วย ทำให้สามารถเลือกซื้อเลือกขายกองทุนรวมได้สะดวกและที่เหลือก็ต้องเป็นเงินสด 10%
"กวิน" บอกว่า ก็จะมีการทบทวนพอร์ตเสมอ โดยจะมีการคัดเลือกหุ้นที่จ่ายปันผลน้อยออกไปก่อนเพราะเชื่อว่าอัตราผลตอบแทนที่ได้ในเรื่องส่วนต่างราคาหุ้นจะดีกว่า แต่ก็จะไม่กลับไปเลือกลงทุนในหุ้นที่เก็งกำไร ในที่สุดตลอดระยะเวลาการลงทุนมา 6-7 ปีซึ่ง 1-2 ปี แรกนิ่ง
เขาถือว่าโชคดีมากเพราะเจอปัญหาได้เร็วและกลับตัวได้ทัน และหันมาเลือกการลงทุน DCA และส่งผลให้เขามีเงิน 1 ล้านบาทได้ แม้จะทำงานประจำด้วยอายุเพียง 27-28 ปี
จนถึงวันนี้ "กวิน" อายุ 31 ปี มูลค่าพอร์ตการลงทุนมากกว่า 5 ล้านบาทแล้ว n


ลงทุนแบบ DCA รู้สึกว่าตัวเองมีความสุขมาก เพราะไม่ต้องไปสนใจ
กับภาวะหรือดัชนีหุ้นที่มี
ความผันผวน

บรรยายใต้ภาพ
กวิน สุวรรณตระกูล--จบ--

ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
มี บล. ไหนบ้างที่มีบริการตัดบัญชีแบบรายเดือน ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
romee
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 1

Re: เปิดพอร์ต: กวิน สุวรรณตระกูล ผู้ลงทุนสไตล์ถัวเฉลี่ย

โพสต์ที่ 3

โพสต์

มี บล. ไหนบ้างที่มีบริการตัดบัญชีแบบรายเดือน ครับ[/quote]

บล.ฟิลลิป : Share Builder Plan http://www.poems.in.th/SBP/main_SBP.htm

บล.CIMB : Easy Wealth Builder http://www.cimbsecurities.co.th/files/EWB5000.pdf

แต่เหมือนว่าจำกัดหุ้นนะครับ (ต้องคุยกับมาร์ดูอีกที)
การลงทุนแนวvi ไม่ได้แปลว่า นักลงทุนคนนั้นดีกว่า หรือมีวรรณะสูงกว่าคนที่ลงทุนแนวอื่นๆหรอก
pongpanj
Verified User
โพสต์: 89
ผู้ติดตาม: 0

Re: เปิดพอร์ต: กวิน สุวรรณตระกูล ผู้ลงทุนสไตล์ถัวเฉลี่ย

โพสต์ที่ 4

โพสต์

romee เขียน:มี บล. ไหนบ้างที่มีบริการตัดบัญชีแบบรายเดือน ครับ
บล.ฟิลลิป : Share Builder Plan http://www.poems.in.th/SBP/main_SBP.htm

บล.CIMB : Easy Wealth Builder http://www.cimbsecurities.co.th/files/EWB5000.pdf

แต่เหมือนว่าจำกัดหุ้นนะครับ (ต้องคุยกับมาร์ดูอีกที)[/quote]

ขอบคุณครับ
paokarn
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 50
ผู้ติดตาม: 0

Re: เปิดพอร์ต: กวิน สุวรรณตระกูล ผู้ลงทุนสไตล์ถัวเฉลี่ย

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ถ้าของ CIMB ซื้อได้แค่หุ้นใน set50 ครับ ส่วนฟิลิปไม่แน่ใจลองเช็คในเวปดูครับมีบอกอยู่
pakapong_u
Verified User
โพสต์: 47266
ผู้ติดตาม: 0

Re: เปิดพอร์ต: กวิน สุวรรณตระกูล ผู้ลงทุนสไตล์ถัวเฉลี่ย

โพสต์ที่ 6

โพสต์

รวยหุ้นด้วย Dollar Cost Average "กวิน สุวรรณตระกูล"
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)

Sunday, December 22, 2013 10:32


“การจะลงทุนแนว Dollar Cost Average ให้สำเร็จ ต้องมีวินัยในตัวเองสูง เข้าใจการลงทุนอย่างถูกต้องและเลือกหุ้นให้ถูกตัว มั่นใจว่าสามารถสร้างความมั่งคั่งได้แน่นอน ” กวิน สุวรรณตระกูล
อดีตนายแบงก์หนุ่ม ผู้หลงทางในตลาดหุ้นช่วงแรกของการเป็นนักลงทุนจนกระทั่งเขาค้นพบแนวทางลงทุนแบบซื้อหุ้นเฉลี่ยเท่ากันทุกเดือนหรือ Dollar Cost Average จนมั่นใจว่าแนวทางนี้จะช่วยสร้างความมั่งคั่งระยะยาวในอนาคตได้
“ต้องบอกว่าแม้ผมจะทำงานสถาบันการเงินแต่ไม่รู้เรื่องลงทุนมากนัก พอเข้าตลาดหุ้นช่วงแรกๆก็ทำเหมือนกับแมงเม่าทุกคนคือลงซื้อ ขึ้นขาย ได้กำไรหลักพันบาทก็ขายทำกำไรแล้ว เรียกได้ว่าไม่มีแนวทางลงทุนที่ชัดเจน” กวิน สุวรรณตระกูล หรือตาร์ เล่าก้าวแรกในตลาดหุ้นให้ฟัง
แม้ช่วงแรกๆจะได้กำไรตลอด เพราะช่วงนั้นตลาดหุ้นกำลังเป็นขาขึ้น ช่วงนั้นคิดอยู่ในใจว่าคงจะได้เกษียณอายุเร็วกว่ากำหนดแน่นอน เพราะได้เงินมาเร็วมาก แต่หลังจากที่โลกเกิดวิกฤติซับไพร์มทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงอย่างหนัก พอร์ตที่ถืออยู่ติดลบลงกว่า 70% ส่วนหนึ่งเพราะหลงไปลงทุน “หุ้นเก็งกำไร” ตามกระแสทำให้พอร์ตติดลบหนักกว่าหุ้นพื้นฐานดี
“ช่วงนั้นต้องบอกว่าทำใจไม่ได้ ไม่พร้อมที่จะทำอะไรเลย รู้สึกเครียดมาก เพราะช่วงเวลาเพียงไม่กี่เดือน พอร์ตติดลบจากที่กำไรอยู่ดีๆ จำได้ว่าเห็นหุ้นลงทุกวันก็ดีใจนำเงินเก็บไปใส่ไว้ในหุ้นแต่กลับเป็นซื้อเฉลี่ยขาลงและไม่กล้าตัดขายขาดทุนด้วย แต่ดีที่ทำให้คิดได้ว่าตลาดหุ้นไม่ได้ง่ายอย่างที่คิดเลยทำให้ต้องตัดสินใจหาแนวทางลงทุนของตัวเองใหม่”
เวลานั้นเขาบอกกับตัวเองว่าโชคดีที่ขาดทุนหนักๆจากการลงทุนเมื่ออายุยังน้อย ถ้ามาล้มตอนที่อายุมากแล้วอาจจะไม่มีโอกาสแก้มือกลับมาก็เป็นได้ ถือเสียว่าเป็น “ค่าครู” ที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น
หลังจากนั้น กวิน ขวนขวายหาหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนมาอ่านไม่ว่าจะเป็นแนววีไอหรือเทคนิคัล สุดท้ายค้นพบว่าตนเองเหมาะสมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานมากกว่า จนกระทั่งได้ค้นพบแนวทางลงทุนแบบ Dollar Cost Average จนรู้สึกว่าน่าจะเป็นที่ “ใช่” สำหรับตัวเอง
“ผมตัดสินใจลงทุนโดยมองที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลักไม่สนใจราคาหุ้นที่เปลี่ยนแปลงขึ้นลง ส่วนหนึ่งเพราะราคาหุ้นมันไม่ได้เกี่ยวกับตัวธุรกิจ กำไรที่เกิดขึ้นมันได้แสดงอยู่ในงบการเงินไม่ใช่ราคาหุ้น ดังนั้นต้องแยกราคากับตัวกิจการออกจากกัน”
สำหรับหัวใจของการลงทุนแบบ Dollar Cost Average คือการซื้อหุ้นอย่างสม่ำเสมอในจำนวนหุ้นที่เท่ากัน โดยไม่สนใจว่าราคาที่ซื้อในเวลานั้นจะถูกหรือแพง ข้อดีของการลงทุนแบบนี้คือการลดความเสี่ยงในการลงทุน เพราะถ้าราคาหุ้นที่ถือไว้ปรับตัวลงจะเป็นโอกาสในการซื้อหุ้นในราคาถูก แต่ถ้าหุ้นที่ถืออยู่ปรับตัวขึ้นก็จะเป็นการสร้างผลตอบแทนให้กับพอร์ต เหมือนกับเป็นการออมเงินผ่านตลาดหุ้น
ส่วนวิธีการคัดเลือกหุ้นที่จะลงทุน ต้องเป็นหุ้นพื้นฐานดีที่สามารถถือลงทุนได้ในระยะยาว ส่วนตัวจะเลือกลงทุนในหุ้นที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงซึ่งสามารถหาได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น ถ้าหากเราคิดจะไปชอปปิ้ง คิดถึงห้างสรรพสินค้าอะไร เจ็บป่วยจะนึกถึงโรงพยาบาลอะไร จะซื้อของต้องเดินร้านค้าปลีกอะไร หรือจะตามข่าวเพิ่มเติมก็ได้ว่ามีแผนจะขยายธุรกิจอีกหรือไม่ ถ้าธุรกิจยังเติบโตต่อเนื่องสามารถเข้าลงทุนได้
ที่สำคัญ “งบการเงิน” ต้องดีด้วย แต่ไม่จำเป็นต้องลงละเอียดมากนัก เพียงแค่ไม่ถึงกับเพิ่มทุนกับสร้างหนี้อยู่บ่อยๆ และเวลาให้ข่าวว่าจะลงทุนอะไรต้องเกิดขึ้นจริงไม่ใช่พูดไปเรื่อยๆอย่างเดียว แต่สำคัญต้องดูธุรกิจภายนอกของเขามากกว่า
กวิน บอกว่าแนวทางนี้นักลงทุนทุกระดับสามารถทำตามได้แม้กระทั่งผู้ที่มีรายได้ไม่เยอะมาก เพราะจะเป็นการสั่งสอมวินัยทางการเงินที่ดี แม้ว่าส่วนมากคนที่ลงทุนแนวนี้จะมีอายุมากเพราะเป็นแนวทางที่เสี่ยงต่ำ แต่ส่วนตัวแนะนำว่าลงทุนตั้งแต่อายุยังไม่มากดีกว่า ถ้าคนที่ใจร้อนอาจจะแบ่งพอร์ตส่วนหนึ่งมาเล่นแบบเก็งกำไรควบคู่กันไปด้วยก็ได้
“ข้อดีอีกอย่างของแนวทางลงทุนแบบนี้คือพอร์ตของเราจะสามารถเติบโตด้วยเงินปันผลซึ่งเราสามารถนำมันมาทบต้นให้พอร์ตโตขึ้นเรื่อยได้ แต่ข้อเสียคือเราอาจจะไม่ได้ซื้อหุ้นตอนที่ราคาต่ำที่สุด แต่ความจริงคือเราไม่มีทางที่จะรู้ได้หรอกว่าตอนไหนที่หุ้นถูกที่สุด ต้องทำใจว่าอาจจะซื้อหุ้นตอนที่แพงที่สุดก็ได้”
ส่วนตัวเขามีหุ้นในพอร์ตไม่เกิน 10 ตัว ซื้อหุ้นเท่ากันทุกตัวทุกเดือน หุ้นบางตัวอาจจะซื้อเยอะกว่าตัวอื่นก็ได้ เรื่องของผลตอบแทนต้องทำใจว่าช่วงแรกๆอาจจะไม่เห็นผลมากนัก ส่วนตัวช่วงสองปีแรกพอร์ตติดลบจนมองไม่เห็นสีเขียว แต่เมื่อผ่านไปนานขึ้นจะเริ่มเห็นผล มั่นใจว่าผลตอบแทนระดับ 200-300% เป็นไปได้แน่นอนภายในสองถึงสามปี
“ผมเข้าซื้อหุ้นโรงพยาบาลชื่อดังแห่งหนึ่งตอนราคา 16 บาท ปีที่ผ่านมาราคาหุ้นขึ้นไปถึง 180 บาท ถามว่าผมยังกล้าซื้อในราคานี้ไหม ต้องบอกว่าถ้าธุรกิจเขายังเติบโตผมก็กล้าซื้อ”
ถามว่าแนวทางแบบนี้มีโอกาสที่จะตัดขาดทุนได้ไหม..คำตอบคือสามารถตัดขายได้ถ้าเห็นว่าธุรกิจของบริษัทนั้นๆเริ่มเป็นขาลงต้องเปลี่ยนตัวเล่น แต่สำคัญตอนที่ลงทุนครั้งแรกขอให้เลือกหุ้นที่ดีไปเลย ส่วนตัวตั้งแต่ลงทุนแนวนี้มายังไม่ได้ขายหุ้นออกจากพอร์ตไปเลย
กวิน เล่าถึงเป้าหมายในการลงทุนของตัวเองว่าต้องการที่จะสร้างอิสรภาพทางการเงินด้วยเงินปันผลที่ได้จากพอร์ต เมื่อถึงจุดหนึ่งจะต้องมากพอที่จะเลี้ยงตัวเองได้โดยที่ไม่ต้องทำงานประจำอีก ส่วนตัวถ้าไม่จำเป็นจะไม่ถอนเงินในพอร์ตออกมาเพราะต้องการให้เติบโตไปเรื่อยๆ ยกเว้นแต่มีเหตุจำเป็นเช่นต้องซื้อบ้านใหม่ก็อาจจะขายออกมาบางส่วนเท่านั้น
“อยากจะฝากถึงผู้ที่สนใจการลงทุนแบบ Dollar Cost Average ต้องอดทนรอความสำเร็จได้ด้วยวินัยอย่างเคร่งครัด คิดเสมือนว่าเวลาที่เราสร้างธุรกิจมันไม่มีทางที่จะสำเร็จได้ในเวลาสั้น การลงทุนเช่นกันต้องใช้เวลาที่นานพอจึงจะเห็นผล”

“การจะลงทุนแนว Dollar Cost Average ให้สำเร็จ ต้องมีวินัยในตัวเองสูง เข้าใจการลงทุนอย่างถูกต้องและเลือกหุ้นให้ถูกตัว มั่นใจว่าสามารถสร้างความมั่งคั่งได้แน่นอน ” กวิน สุวรรณตระกูล--จบ--

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
โพสต์โพสต์