มองตลาดในปี 57 กันอย่างไร
-
- Verified User
- โพสต์: 1803
- ผู้ติดตาม: 0
มองตลาดในปี 57 กันอย่างไร
โพสต์ที่ 1
กระทู้สรุปผลการลงทุนปี 56 ก็มีไปแล้ว มันคงเป็นอดีตกันไปแล้ว แต่สิ่งที่เราต้องเจอก็คืออนาคตในปี 57
อยากให้ช่วยกันระดมความเห็นว่าในปี 57 เหล่าผองเพื่อนมองตลาดกันอย่างไร ไม่ได้หมายถึงการคาดการณ์ทิศทางของตลาดนะครับ แต่หมายถึงว่าเราคิดว่าหุ้นกลุ่มไหนน่าสนใจหรือไม่น่าสนใจในปี 57 นี้ เพื่อเป็นการมองหาโอกาสในการต่อสู้กับปี 57 นี้
วันนี้ตลาดเปิดมาก็ลบไป 25 จุดแล้ว ดุกันตั้งแต่วันแรกของปีทีเดียว
ผมประเดิมก่อนแล้วกันครับ ถูกผิดไม่เป็นไรนะครับ ถือเป็นการแชร์ความเห็นครับ
1) QE เงินนอกคงไหลออกไป จะเหลืออยู่แค่ไหนอันนี้คงบอกยาก ระยะสั้นคงมีผลแน่ ๆ รวมถึงผลทางด้านจิตวิทยา แต่ระยะยาวอาจจะเป็นเรื่องที่ดีถ้าการลด QE เกิดจากเศรษฐกิจทางอเมริกาดีขึ้น
2) ประเด็นในประเทศทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ คิดว่าตอนนี้คงรอรัฐบาลใหม่ รอนโยบายใหม่ แต่ระหว่างที่รอนี้ ถ้ามีเหตุรุนแรงก็คงจะมีผลต่อวิทยาของตลาด
หุ้นที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก กลุ่มชิ้นส่วนอิเลคโทรนิคส์ ธุรกิจส่งออกที่เน้นไปอเมริกา ยุโรป เรือ สินค้าโภคภัณฑ์บางชนิด
อยากให้ช่วยกันระดมความเห็นว่าในปี 57 เหล่าผองเพื่อนมองตลาดกันอย่างไร ไม่ได้หมายถึงการคาดการณ์ทิศทางของตลาดนะครับ แต่หมายถึงว่าเราคิดว่าหุ้นกลุ่มไหนน่าสนใจหรือไม่น่าสนใจในปี 57 นี้ เพื่อเป็นการมองหาโอกาสในการต่อสู้กับปี 57 นี้
วันนี้ตลาดเปิดมาก็ลบไป 25 จุดแล้ว ดุกันตั้งแต่วันแรกของปีทีเดียว
ผมประเดิมก่อนแล้วกันครับ ถูกผิดไม่เป็นไรนะครับ ถือเป็นการแชร์ความเห็นครับ
1) QE เงินนอกคงไหลออกไป จะเหลืออยู่แค่ไหนอันนี้คงบอกยาก ระยะสั้นคงมีผลแน่ ๆ รวมถึงผลทางด้านจิตวิทยา แต่ระยะยาวอาจจะเป็นเรื่องที่ดีถ้าการลด QE เกิดจากเศรษฐกิจทางอเมริกาดีขึ้น
2) ประเด็นในประเทศทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ คิดว่าตอนนี้คงรอรัฐบาลใหม่ รอนโยบายใหม่ แต่ระหว่างที่รอนี้ ถ้ามีเหตุรุนแรงก็คงจะมีผลต่อวิทยาของตลาด
หุ้นที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก กลุ่มชิ้นส่วนอิเลคโทรนิคส์ ธุรกิจส่งออกที่เน้นไปอเมริกา ยุโรป เรือ สินค้าโภคภัณฑ์บางชนิด
"Become a risk taker, not a risk maker"
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2846
- ผู้ติดตาม: 1
Re: มองตลาดในปี 57 กันอย่างไร
โพสต์ที่ 2
มองตลาดรวมๆ ผมว่า ตลาดหุ้นไทย คงมี Valuation ที่สมเหตุ สมผลมากขึ้น
ชัดเจนว่า เงินที่ไหลจาก QE มากลายเป็นไหลออก อะไร ที่เคย ถูก Speculate ไปมากๆ มัน ก็กลับเข้าสู่สามัญ
ปีนี้ คงยากกว่า ปีที่แล้ว เยอะนะครับ
ชัดเจนว่า เงินที่ไหลจาก QE มากลายเป็นไหลออก อะไร ที่เคย ถูก Speculate ไปมากๆ มัน ก็กลับเข้าสู่สามัญ
ปีนี้ คงยากกว่า ปีที่แล้ว เยอะนะครับ
“Market prices are always wrong in the sense that they present a biased view of the future.”, Soros.
Blog about the investment playbook https://www.blockdit.com/alphainvesting
Blog about the investment playbook https://www.blockdit.com/alphainvesting
-
- Verified User
- โพสต์: 332
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองตลาดในปี 57 กันอย่างไร
โพสต์ที่ 3
ผมเชื่อว่าอะไรที่มันแย่ๆเดี๋ยวก็ดีขึ้น
คล้ายมันกำลังวนลูปไปยังจุดที่ทุกๆอย่างค่อยๆคลี่คลายไป
ส่วน QE มันก็คือโอกาสที่ดีที่ผ่านมาสำหรับนักลงทุน
แต่ยังไงระยะยาว ผลประกอบการจะนำพาราคาตามมาเอง
คล้ายมันกำลังวนลูปไปยังจุดที่ทุกๆอย่างค่อยๆคลี่คลายไป
ส่วน QE มันก็คือโอกาสที่ดีที่ผ่านมาสำหรับนักลงทุน
แต่ยังไงระยะยาว ผลประกอบการจะนำพาราคาตามมาเอง
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1523
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองตลาดในปี 57 กันอย่างไร
โพสต์ที่ 4
ผมมองว่าเราต้องมองไปข้างหน้าครับ เพราะตลาดหุ้นระยะยาวแล้ว คือ กิโล ครับ ช่วงที่คนอื่นโลภกันเรากลับกลัว
แต่เวลาที่คนอื่นกลัวกัน เราก้ควรจะดักซื้อหุ้นถูกๆครับ ต้องถามตัวเองก่อนว่า ปัจจัยอะไรที่จะทำให้ดัชนีลงไปแตะ 200-300จุด
นั่นคงต้องเกิดต้มยำกุ้ง2 แล้ว
คนส่วนใหญ่นิยมขายไปก่อน แล้วไปรอถูกๆ แต่ใครจะรู้ชัดเจนหล่ะว่า ตรงไหนมันพื้นแล้ว ถ้ารู้ได้ขนาดนั้นซื้อหวย รางวัลที่1 ถูกทุกงวดแล้วครับ
ในความเป็นจริงแล้ว ถ้าเรามองกิจการของเรา จะมองเห็นภาพใหญ่ชัดเจนกว่าการมองดัชนี และเพื่อไม่เสียโอกาศ ก้ควรนำกำไรจากการ S index future
มาดักรอคนที่เค้าร้อนเงินหรือตกใจขายจะดีกว่า ยิ่งเค้าขายแม้หุ้นที่เราถือจะตกไปบ้างแต่กำไรจาก future ก้จะทำให้เรามีเงินรอช้อนหุ้นเพิ่มได้มันส์มือมากขึ้นครับ
แต่เวลาที่คนอื่นกลัวกัน เราก้ควรจะดักซื้อหุ้นถูกๆครับ ต้องถามตัวเองก่อนว่า ปัจจัยอะไรที่จะทำให้ดัชนีลงไปแตะ 200-300จุด
นั่นคงต้องเกิดต้มยำกุ้ง2 แล้ว
คนส่วนใหญ่นิยมขายไปก่อน แล้วไปรอถูกๆ แต่ใครจะรู้ชัดเจนหล่ะว่า ตรงไหนมันพื้นแล้ว ถ้ารู้ได้ขนาดนั้นซื้อหวย รางวัลที่1 ถูกทุกงวดแล้วครับ
ในความเป็นจริงแล้ว ถ้าเรามองกิจการของเรา จะมองเห็นภาพใหญ่ชัดเจนกว่าการมองดัชนี และเพื่อไม่เสียโอกาศ ก้ควรนำกำไรจากการ S index future
มาดักรอคนที่เค้าร้อนเงินหรือตกใจขายจะดีกว่า ยิ่งเค้าขายแม้หุ้นที่เราถือจะตกไปบ้างแต่กำไรจาก future ก้จะทำให้เรามีเงินรอช้อนหุ้นเพิ่มได้มันส์มือมากขึ้นครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1523
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองตลาดในปี 57 กันอย่างไร
โพสต์ที่ 5
ผมคงไม่สามารถบอกได้ว่า ดัชนีจะลงไปต่ำสุดที่เท่าไหร่ และก้คงไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า ตรงไหนคือพื้นแล้ว
แต่สิ่งที่ผมบอกกับตัวเองและคนที่ผมรู้จัก คือ
1.ถ้าเรามองดัชนี ให้น้อยลง มองกิจการให้มากขึ้น ออกไปมองกิจการให้มากๆ เราจะรู้เองว่า ควรจะทำยังไงกับหุ้นในมือ
2.ตลาดหุ้นคนส่วนมากเป็นผู้แพ้ 80% ถ้าแนวคิดส่วนมากและคนส่วนใหญ่กลัว นั่นคือ ช่วงเวลาที่ดี ที่คุณจะได้ซื้อของถูก เพราะคนกลัวจะขายถูกๆและคนร้อนเงินจะขาย ทุกราคา
3.โอกาศกับวิกฤติ คือ ตัวเดียวกัน ขึ้นกับว่า จะไปคว้าอะไรมา ถ้าไปคว้าวิกฤติ ก้อาจจะหมดตัวแต่ถ้าคว้า โอกาศ ชีวิตก้ไม่มีทางจน
เราเคยได้ยินเสมอว่า หลายๆคนจะบอกว่า แน่สิพวกฉันไม่ได้ซื้อหุ้นต้นทุนถูกเหมือนพวกVIที่ซื้อกันตอนปี 2008 ก้แน่หล่ะสิ ก้เพราะปี2008 หุ้นมันก้ลงแล้วพวกนั้นก้บ่นกันแบบนี้ว่า
มันต้องลงไปต่อแน่ๆ-
แถวๆนี้ไม่ใช่จุดซื้อ-
ซื้อไปแล้ว ข้างล่างยังมองไม่เห็นเหวเลย-
อย่าเอามือไปรับมีด-
มันต้องลงไป 200 จุดแน่ๆ-
ก้แน่หล่ะสิ เพราะ ตอนนี้ประโยคเหล่านี้ มันก้เริ่มกลับมาอีกแล้ว เหมือนมันจะเป็นการย้อนยุคและย้อนประวติศาสตร์ไปในตัว
ถ้าถามผมว่า เอาไง ผมตอบได้เลยว่า
stay clam stay invest ดักรอของถูก ไม่เคาะขวา คนจะขายมี2ประเภท 1.คนกลัวพวกนี้จะรีบๆโยน แต่จะไม่โยนซ้ายหมดและ 2.คนร้อนเงิน คนพวกนี้จะขายโยนซ้ายทุกราคา
ตลาดมันเป็นช่วงที่ คนขาย>คนซื้อ ทำไมเราต้องรีบตักๆ โกยๆ รอเค้าร้อนเงินเพิ่มเค้าก้ขายถูกเพิ่ม รอเค้ากลัวเพิ่มก้ขายถูกๆลงมาเอง ยิ่งกลัวเท่าไหร่ แรงขายก้จะยิ่งมากตาม
ตลาดขาลงไม่ได้ทำร้ายใคร แต่อารมณ์ของคนเหล่านั้นต่างหาก ที่ทำร้ายคนเหล่านั้นเอง เมื่อเค้ากลัวเค้าก้ขาย เมื่อตอนกุมภาเค้าโลภเค้าก้ซื้อ สรุป
นายตลาดไปโลภตอนดัชนี 1600 และมากลัวตอน นี้ แล้วเราหล่ะ จะทำไง ก้รอต่อราคาตีหัวเข้ามาเก็บไว้ หุ้นลงดีแล้วคนอยากขายเยอะ ไม่ต้องรอBIDนานก้ได้หุ้น
เหมือนตอนน้ำท่วมที่ปทุม ราคาที่ดินลดไปมาก พอหมดน้ำท่วม ราคาที่ดินกลับขึ้นมาแพงกว่าเดิม2เท่า
ความโลภและความกลัวนี่ช่างเป็น สิ่งที่สวยงามสำหรับนักลงทุนอย่างพวกเรา เพราะถ้าไม่มีสองสิ่งนี้แล้ว เราคงขายไม่ได้ราคาแพงและก้คงไม่ได้ซื้อของถูกๆ
แต่สิ่งที่ผมบอกกับตัวเองและคนที่ผมรู้จัก คือ
1.ถ้าเรามองดัชนี ให้น้อยลง มองกิจการให้มากขึ้น ออกไปมองกิจการให้มากๆ เราจะรู้เองว่า ควรจะทำยังไงกับหุ้นในมือ
2.ตลาดหุ้นคนส่วนมากเป็นผู้แพ้ 80% ถ้าแนวคิดส่วนมากและคนส่วนใหญ่กลัว นั่นคือ ช่วงเวลาที่ดี ที่คุณจะได้ซื้อของถูก เพราะคนกลัวจะขายถูกๆและคนร้อนเงินจะขาย ทุกราคา
3.โอกาศกับวิกฤติ คือ ตัวเดียวกัน ขึ้นกับว่า จะไปคว้าอะไรมา ถ้าไปคว้าวิกฤติ ก้อาจจะหมดตัวแต่ถ้าคว้า โอกาศ ชีวิตก้ไม่มีทางจน
เราเคยได้ยินเสมอว่า หลายๆคนจะบอกว่า แน่สิพวกฉันไม่ได้ซื้อหุ้นต้นทุนถูกเหมือนพวกVIที่ซื้อกันตอนปี 2008 ก้แน่หล่ะสิ ก้เพราะปี2008 หุ้นมันก้ลงแล้วพวกนั้นก้บ่นกันแบบนี้ว่า
มันต้องลงไปต่อแน่ๆ-
แถวๆนี้ไม่ใช่จุดซื้อ-
ซื้อไปแล้ว ข้างล่างยังมองไม่เห็นเหวเลย-
อย่าเอามือไปรับมีด-
มันต้องลงไป 200 จุดแน่ๆ-
ก้แน่หล่ะสิ เพราะ ตอนนี้ประโยคเหล่านี้ มันก้เริ่มกลับมาอีกแล้ว เหมือนมันจะเป็นการย้อนยุคและย้อนประวติศาสตร์ไปในตัว
ถ้าถามผมว่า เอาไง ผมตอบได้เลยว่า
stay clam stay invest ดักรอของถูก ไม่เคาะขวา คนจะขายมี2ประเภท 1.คนกลัวพวกนี้จะรีบๆโยน แต่จะไม่โยนซ้ายหมดและ 2.คนร้อนเงิน คนพวกนี้จะขายโยนซ้ายทุกราคา
ตลาดมันเป็นช่วงที่ คนขาย>คนซื้อ ทำไมเราต้องรีบตักๆ โกยๆ รอเค้าร้อนเงินเพิ่มเค้าก้ขายถูกเพิ่ม รอเค้ากลัวเพิ่มก้ขายถูกๆลงมาเอง ยิ่งกลัวเท่าไหร่ แรงขายก้จะยิ่งมากตาม
ตลาดขาลงไม่ได้ทำร้ายใคร แต่อารมณ์ของคนเหล่านั้นต่างหาก ที่ทำร้ายคนเหล่านั้นเอง เมื่อเค้ากลัวเค้าก้ขาย เมื่อตอนกุมภาเค้าโลภเค้าก้ซื้อ สรุป
นายตลาดไปโลภตอนดัชนี 1600 และมากลัวตอน นี้ แล้วเราหล่ะ จะทำไง ก้รอต่อราคาตีหัวเข้ามาเก็บไว้ หุ้นลงดีแล้วคนอยากขายเยอะ ไม่ต้องรอBIDนานก้ได้หุ้น
เหมือนตอนน้ำท่วมที่ปทุม ราคาที่ดินลดไปมาก พอหมดน้ำท่วม ราคาที่ดินกลับขึ้นมาแพงกว่าเดิม2เท่า
ความโลภและความกลัวนี่ช่างเป็น สิ่งที่สวยงามสำหรับนักลงทุนอย่างพวกเรา เพราะถ้าไม่มีสองสิ่งนี้แล้ว เราคงขายไม่ได้ราคาแพงและก้คงไม่ได้ซื้อของถูกๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 1803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองตลาดในปี 57 กันอย่างไร
โพสต์ที่ 6
ผมว่าช่วงที่หุ้นร้อนแรงมากจริง ๆ มันก็มีความน่ากลัวของมันอยู่ในบางเรื่องนะครับ
1) หุ้นขึ้นเรื่อย ๆ วันหนึ่งมันก็ต้องจบ เราอาจจะกำลังซื้อหุ้นที่ยอดดอยอยู่
2) หุ้นดีไม่ดีไม่รู้ แต่มันขึ้นหมด ผมว่าตรงนี้น่ากลัว เพราะมันทำให้เราเข้าใจตัวเองผิด เราซื้อหุ้นด้วยเหตุผลอะไรบางอย่าง และมันก็ขึ้น แต่มันขึ้นเพราะอะไร เพราะเหตุผลเราถูกหรือเพราะตลาดมันดี ตรงนี้ทำให้เราเข้าใจผิดว่าเราวิเคราะห์ถูก เกิดความไม่ระมัดระวังในการวิเคราะห์หุ้น เกิดความมั่นใจในตัวเองแบบผิด ๆ ว่า เออ เล่นหุ้นไม่ยาก เราก็แน่กับเขาเหมือนกัน
3) สังเกตดูช่วงตลาดดี ๆ บางทีมีหุ้นน่าสนใจ ไม่ทันกลับไปดูอะไรมันก็ขึ้นไปแล้ว บางครั้งก็เผลอเคาะตามเพราะกลัวตกรถ แต่ในช่วงตลาดตก หุ้นที่ดีจริง ๆ มันก็ไม่ไปไหนแถมตกซะอีก ตรงนี้ถือเป็นข้อดีทำให้เราไม่ต้องรีบร้อน มีเวลาวิเคราะห์ให้ละเอียด
4) ทฤษฎีที่จะทำให้เราหละหลวม มักจะโผล่ออกมาให้เห็น จริงอยู่ทฤษฎีเหล่านั้นมันอาจจะใช้ได้จริง ๆ แต่มันก็ต้องดูส่วนประกอบอื่น ๆ ด้วย เช่น หุ้นบางกลุ่มสามารถยอมรับที่ PE "สูงมาก ๆ" ได้ พอเราได้ยินมาก ๆ เข้า สุดท้ายการ์ดที่เราเคยตั้งเอาไว้สูงจะเริ่มต่ำลง เพราะเราจะมีแนวโน้มเชื่อว่ามันเป็นแบบนั้น พอเจอหมัดของคู่ต่อสู้เข้าเต็ม ๆ ก็เหมือนโดนน็อค เพราะการ์ดที่เคยตั้งสูงป้องกันหมัดมันลดต่ำจนมีความเสี่ยง
หุ้นตก ๆ มันก็มีข้อดีของมันอยู่นะครับ
1) ไม่ต้องรีบซื้อหุ้น มีเวลาเลือก เพราะไม่ค่อยมีใครอยากซื้อ
2) ตลาดสลัดนักเก็งกำไรอาชีพออกไปส่วนหนึ่ง ทำให้กลไกที่ทำให้เกิดราคาหุ้นที่แพงเกินจริงหายไป แต่สิ่งที่เข้ามาแทนคือกลไกที่ทำให้หุ้นราคาถูกกว่าความเป็นจริงเกิดขึ้นมากกว่า จากความกลัวของตลาด จากนักลงทุนทุก ๆ กลุ่ม ตรงนี้คนที่ใจเข้มแข็งก็คือโอกาสในการซื้อ ๆๆๆๆๆๆ
3) ทำให้เราเข้าใจสัจธรรมชีวิต ชีวิตคือความไม่แน่นอน ตลาดหุ้นก็คือความไม่แน่นอนเช่นกัน ต้นปี 56 เรายินดี เงินไหลมาเทมา ใครจะคิดว่าไม่ทันก้าวข้ามปี เงินมันก็ไหลกลับออกไป เงินหุ้นคือเงินร้อน มาเร็วไปเร็ว อย่ายึดติดไม่งั้นเราจะอยู่กับมันแบบไม่มีความสุข
4) คนที่กำลังจะออกมาลงทุนอย่างเดียว ได้มีโอกาสเห็นตลาดหุ้นในด้านลบ (ถ้ายังไม่เคยเห็น) อาจจะทำให้เราไตร่ตรองได้ดีขึ้น
5) ข่าวลือเกี่ยวกับหุ้นน้อยลง ข่าวตามนสพ.หุ้น กระตุ้นหุ้นไม่ขึ้น ทำให้เราไม่เอาข่าวลือมาวิเคราะห์ ไม่เอามาเป็นอารมณ์อยากซื้ออยากขาย
6) ตลาดขาลงเป็นตลาดที่ทำให้เราได้ฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง ทั้งต่อการเห็นสีแดงของตลาดและพอร์ต ได้ทดสอบวิชาความรู้ที่มีอยู่ว่าเรามีอยู่จริงหรือไม่ เพราะไม่มีตัวรบกวนจากตลาดที่ดีที่จะทำให้เราเข้าใจตัวเราเองผิด ซึ่งถ้าเราผ่านตลาดในสภาพแบบนี้ไปได้ เราก็พร้อมจะลุยกับทุกสภาวะ
1) หุ้นขึ้นเรื่อย ๆ วันหนึ่งมันก็ต้องจบ เราอาจจะกำลังซื้อหุ้นที่ยอดดอยอยู่
2) หุ้นดีไม่ดีไม่รู้ แต่มันขึ้นหมด ผมว่าตรงนี้น่ากลัว เพราะมันทำให้เราเข้าใจตัวเองผิด เราซื้อหุ้นด้วยเหตุผลอะไรบางอย่าง และมันก็ขึ้น แต่มันขึ้นเพราะอะไร เพราะเหตุผลเราถูกหรือเพราะตลาดมันดี ตรงนี้ทำให้เราเข้าใจผิดว่าเราวิเคราะห์ถูก เกิดความไม่ระมัดระวังในการวิเคราะห์หุ้น เกิดความมั่นใจในตัวเองแบบผิด ๆ ว่า เออ เล่นหุ้นไม่ยาก เราก็แน่กับเขาเหมือนกัน
3) สังเกตดูช่วงตลาดดี ๆ บางทีมีหุ้นน่าสนใจ ไม่ทันกลับไปดูอะไรมันก็ขึ้นไปแล้ว บางครั้งก็เผลอเคาะตามเพราะกลัวตกรถ แต่ในช่วงตลาดตก หุ้นที่ดีจริง ๆ มันก็ไม่ไปไหนแถมตกซะอีก ตรงนี้ถือเป็นข้อดีทำให้เราไม่ต้องรีบร้อน มีเวลาวิเคราะห์ให้ละเอียด
4) ทฤษฎีที่จะทำให้เราหละหลวม มักจะโผล่ออกมาให้เห็น จริงอยู่ทฤษฎีเหล่านั้นมันอาจจะใช้ได้จริง ๆ แต่มันก็ต้องดูส่วนประกอบอื่น ๆ ด้วย เช่น หุ้นบางกลุ่มสามารถยอมรับที่ PE "สูงมาก ๆ" ได้ พอเราได้ยินมาก ๆ เข้า สุดท้ายการ์ดที่เราเคยตั้งเอาไว้สูงจะเริ่มต่ำลง เพราะเราจะมีแนวโน้มเชื่อว่ามันเป็นแบบนั้น พอเจอหมัดของคู่ต่อสู้เข้าเต็ม ๆ ก็เหมือนโดนน็อค เพราะการ์ดที่เคยตั้งสูงป้องกันหมัดมันลดต่ำจนมีความเสี่ยง
หุ้นตก ๆ มันก็มีข้อดีของมันอยู่นะครับ
1) ไม่ต้องรีบซื้อหุ้น มีเวลาเลือก เพราะไม่ค่อยมีใครอยากซื้อ
2) ตลาดสลัดนักเก็งกำไรอาชีพออกไปส่วนหนึ่ง ทำให้กลไกที่ทำให้เกิดราคาหุ้นที่แพงเกินจริงหายไป แต่สิ่งที่เข้ามาแทนคือกลไกที่ทำให้หุ้นราคาถูกกว่าความเป็นจริงเกิดขึ้นมากกว่า จากความกลัวของตลาด จากนักลงทุนทุก ๆ กลุ่ม ตรงนี้คนที่ใจเข้มแข็งก็คือโอกาสในการซื้อ ๆๆๆๆๆๆ
3) ทำให้เราเข้าใจสัจธรรมชีวิต ชีวิตคือความไม่แน่นอน ตลาดหุ้นก็คือความไม่แน่นอนเช่นกัน ต้นปี 56 เรายินดี เงินไหลมาเทมา ใครจะคิดว่าไม่ทันก้าวข้ามปี เงินมันก็ไหลกลับออกไป เงินหุ้นคือเงินร้อน มาเร็วไปเร็ว อย่ายึดติดไม่งั้นเราจะอยู่กับมันแบบไม่มีความสุข
4) คนที่กำลังจะออกมาลงทุนอย่างเดียว ได้มีโอกาสเห็นตลาดหุ้นในด้านลบ (ถ้ายังไม่เคยเห็น) อาจจะทำให้เราไตร่ตรองได้ดีขึ้น
5) ข่าวลือเกี่ยวกับหุ้นน้อยลง ข่าวตามนสพ.หุ้น กระตุ้นหุ้นไม่ขึ้น ทำให้เราไม่เอาข่าวลือมาวิเคราะห์ ไม่เอามาเป็นอารมณ์อยากซื้ออยากขาย
6) ตลาดขาลงเป็นตลาดที่ทำให้เราได้ฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง ทั้งต่อการเห็นสีแดงของตลาดและพอร์ต ได้ทดสอบวิชาความรู้ที่มีอยู่ว่าเรามีอยู่จริงหรือไม่ เพราะไม่มีตัวรบกวนจากตลาดที่ดีที่จะทำให้เราเข้าใจตัวเราเองผิด ซึ่งถ้าเราผ่านตลาดในสภาพแบบนี้ไปได้ เราก็พร้อมจะลุยกับทุกสภาวะ
"Become a risk taker, not a risk maker"
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1523
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองตลาดในปี 57 กันอย่างไร
โพสต์ที่ 7
มันเป็นสัจธรรมครับ ขึ้นและลง มืดและสว่าง ดำและขาว เราแค่ เดินไปตามธรรมชาติและอย่าฝืนมัน
ตลาดตอนนี้ก้มีคน 3ประเภท
1.กลัว (ขายและก้ขาย กลัวมากขายมาก กลัวน้อยขายน้อย)
2.กล้า(กล้าประสา ชาวสวน กล้ามากซื้อมาก กล้าน้อยซื้อน้อย)
3.เฉยๆ (ไม่กล้าและกลัว พร้อมจะทยอยซื้อเมื่อลดราคาเพิ่ม และพร้อมจะขายออกเมื่อความโลภมาอีกครั้ง)
reflexibility ไม่ได้กำหนดแค่เรื่องการโลภไว้ ความกลัวก้เช่นกัน
เมื่อคนหนึ่งกลัว ความกลัวก้จะถูกส่งต่อไปเรื่อยๆ จนคนสุดท้าย ก้จะขายออกมาตามแรงที่สะท้อน ยิ่งชักนำกันไปเท่าไหร่ แรงขายก้จะยิ่งขายออกมา
โซรอสและบัฟเฟต เข้าใจธรรมชาติ ของคนครับแม้จะต่างสาย แต่ทั้งคู่เหมือนกัน คือ เข้าใจว่า อะไรคือธรรมชาติ
ขอแค่เราไม่โลภไม่กลัว สติจะมาเองครับ ปล่อยมันทิ้งไป ละมันทิ้งไป ความโลภและความกลัว
ตลาดตอนนี้ก้มีคน 3ประเภท
1.กลัว (ขายและก้ขาย กลัวมากขายมาก กลัวน้อยขายน้อย)
2.กล้า(กล้าประสา ชาวสวน กล้ามากซื้อมาก กล้าน้อยซื้อน้อย)
3.เฉยๆ (ไม่กล้าและกลัว พร้อมจะทยอยซื้อเมื่อลดราคาเพิ่ม และพร้อมจะขายออกเมื่อความโลภมาอีกครั้ง)
reflexibility ไม่ได้กำหนดแค่เรื่องการโลภไว้ ความกลัวก้เช่นกัน
เมื่อคนหนึ่งกลัว ความกลัวก้จะถูกส่งต่อไปเรื่อยๆ จนคนสุดท้าย ก้จะขายออกมาตามแรงที่สะท้อน ยิ่งชักนำกันไปเท่าไหร่ แรงขายก้จะยิ่งขายออกมา
โซรอสและบัฟเฟต เข้าใจธรรมชาติ ของคนครับแม้จะต่างสาย แต่ทั้งคู่เหมือนกัน คือ เข้าใจว่า อะไรคือธรรมชาติ
ขอแค่เราไม่โลภไม่กลัว สติจะมาเองครับ ปล่อยมันทิ้งไป ละมันทิ้งไป ความโลภและความกลัว
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1523
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองตลาดในปี 57 กันอย่างไร
โพสต์ที่ 8
ขออนุญาตินำบทความของท่าน อาจารย์ ดร นิเวศน์ นะครับ
ตั้งแต่ต้นปีมาดูเหมือนว่านักลงทุนในตลาดหุ้นจะเจ็บ ตัวกันหนัก และเป็นการเปลี่ยนภาพที่สดใสของตลาดหุ้นจากปีที่ผ่านมา ตัวเลขคร่าวๆก็คือ ปีที่แล้วดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวขึ้นมาประมาณ 26% ยังไม่นับรวมปันผลอีกประมาณ 3 – 4 % ซึ่งถือเป็นผลตอบแทนที่ดีเยี่ยม ทั้งๆที่ประเทศไทย “มีปัญหา” มาตลอดทั้งปี
ปี 2551 นี้ นักวิเคราะห์ต่างก็ตั้งเป้าหมายว่าดัชนีหุ้นจะดีขึ้นไปอีกมาก บางคนบอกว่าจะไปถึง 1,000 จุด เพราะสถานการณ์ต่างๆโดยเฉพาะการเมืองจะดีขึ้น แต่แล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ เฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของซับไพร์มที่สหรัฐอเมริกาก็ทำให้ตลาดหุ้นตกต่ำกัน ทั่วโลก ผลก็คือ เพียงแค่ประมาณเดือนเดียว ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของเราก็ตกลงมาแล้วประมาณ 11% คือตกจากประมาณ 858 จุดเหลือเพียง 760 จุดในวันที่ 25 มกราคม 2551 และนี่ก็ เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เป็นบทเรียนให้เรารู้ว่า ตลาดหุ้นเป็นสิ่งที่ “คาดไม่ได้” และความเสี่ยงของการลงทุนในตลาดหุ้นนั้นมีอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เรารู้สึกดีและสบายใจในการลงทุน
เมื่อตลาดตกอย่างหนัก ก็มักจะมีคนถามผมเสมอว่าเขาควรทำอย่างไร? ขายทิ้งก่อนดีไหม? บางคนก็ถามว่า ควรจะ “เข้า” หรือยัง?
ส่วนใหญ่ผมก็มักจะตอบว่าควร “อยู่เฉย ๆ” เพราะ เราไม่รู้ว่าตลาดหุ้นในวันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร แม้ว่าที่ผ่านมา 2-3 สัปดาห์ แทบจะเรียกว่าเลวร้ายเกือบทุกวัน และนักลงทุนต่างชาติขายหุ้นสุทธิในตลาดเกือบทุกวัน เหตุผลของผมก็คือ พื้นฐานของเศรษฐกิจของประเทศไทยไม่ได้อยู่ในภาวะวิกฤติ ทุกอย่างยังเป็นปกติ เพียงแต่ว่าเราค่อนข้างจะโตช้ากว่าเพื่อนบ้านบ้างในช่วงปีที่ผ่านมาและอนาคต คือในปีนี้ก็ยังดูเหมือนว่าจะมีอุปสรรคอยู่โดยเฉพาะในภาคการส่งออกที่อาจจะ โตช้าลงจากความถดถอยของเศรษฐกิจโลกที่ดูเหมือนว่ากำลังจะเกิดขึ้น แต่ทั้งหลายทั้งปวงนี้ คงไม่ทำให้เราเกิดวิกฤติ เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ตลาดหุ้นได้ปรับตัวลงมาพอสมควรแล้ว ดังนั้น ถ้าเราขายหุ้นในวันนี้อาจจะเป็นว่าเราได้ขายไปในราคาถูก ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราเข้าไปซื้อเพราะคิดว่าราคาหุ้นได้ตกลงมามากแล้ว เราก็อาจจะผิดหวัง เพราะราคาหุ้นอาจจะลงต่อไปอีก เพราะความผันผวนของตลาดหุ้นโลกยังไม่สงบลงก็ได้
ส่วนตัวผมเองนั้น ในภาวะที่ดัชนีตลาดตกต่ำลงมากๆ ผมมักจะเฝ้าดูราคาหุ้นของกิจการที่ดีเยี่ยม ทั้งที่ผมถือหุ้นอยู่และที่ผมอาจจะยังไม่ได้เป็นเจ้าของ ดูว่าราคาหุ้นตัวนั้นตกต่ำลงมามากน้อยแค่ไหน ถึงจุดที่น่าสนใจพอหรือยัง ถ้ายังไม่ต่ำพอผมก็จะอยู่เฉยๆ แต่ถ้าราคาต่ำลงจนถึงจุดที่น่าสนใจมากๆ ผมก็จะเริ่มคิดที่จะหาเงินมาลงทุน ซึ่งน่าเสียดายว่าผมมักจะไม่มีเงินสดเหลือ เพราะผมลงทุนเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์อยู่แล้ว ถ้าผมต้องการเงินมาลงทุนผมก็ต้องขายหุ้นตัวอื่นที่ผมถืออยู่ ซึ่งก็มักจะน่าเสียดายอีกว่าผมไม่อยากขาย เพราะราคามันลงมามาก การขายในเวลาที่เลวร้ายอย่างนั้นผมรู้สึกว่าจะทำใจได้ยาก ดังนั้น โดยสรุปแล้ว ช่วงที่ดัชนีตลาดตกต่ำอย่างหนัก ผมมักจะไม่ค่อยทำอะไร ผมชอบเปรียบตัวเองเหมือนเต่า นั่นก็คือ ในยามที่เกิดพายุฝนตกฟ้าคะนองรุนแรง เต่าจะอยู่นิ่งๆ หลบฝนอยู่ในที่กำบัง และถ้าจะให้ดีก็คือ หดหัวไม่มองดูสายฟ้าที่ฟาดกระหน่ำลงมาไม่หยุดหย่อน ว่าที่จริง เวลาหุ้นตกหนักผมชอบที่จะหนีไปเล่นกอล์ฟ เพื่อจะได้ไม่ต้องพะวงกับการตกลงของราคาหุ้นมากนัก
เมื่อเวลาผ่านไป ผมเชื่อว่า หุ้นก็มักจะกลับมาสู่ราคาที่มันควรเป็นตามปัจจัยพื้นฐานของมัน ที่จริงมันก็เป็นอย่างนั้นทุกครั้ง ดังนั้นถ้าเรา “กอดหุ้น” ที่ทำธุรกิจที่เรามั่นใจว่า จะสามารถฝ่ากระแสของเศรษฐกิจที่กำลังถดถอยได้ เราก็ไม่เห็นว่าจะต้องกลัวอะไร บางคนบอกว่า เขาไม่ได้กลัวเรื่องของธุรกิจของบริษัทที่เขาลงทุน แต่เขาคิดว่าหุ้นกำลังตกด้วยอิทธิพลของกระแสเงิน หรือเดี๋ยวนี้ชอบเรียกว่า “Fund Flow” ดังนั้นเขาคิดว่า อย่างไรหุ้นก็จะต้องตกต่อ เพราะในยามที่นักลงทุนกำลังขายหุ้นเพราะต้องการถอนตัวออกจากตลาด ปัจจัยพื้นฐานก็ไม่มีความหมาย เราจึงควรขายไปก่อนเพื่อความปลอดภัยและกลับไปซื้อภายหลังเมื่อหุ้น “นิ่ง” แล้ว แต่นี่ก็จะกลับไปสู่ประเด็นเดิมที่ว่า “เราคิดว่าเรารู้ว่าเมื่อไรที่หุ้นจะนิ่ง” ซึ่งผมก็อยากจะพูดย้ำอีกครั้งว่า “เราไม่รู้” และสิ่งที่พิสูจน์ก็คือ ดัชนีหุ้นที่ดีดตัวขึ้นมาถึง 31 จุด หรือ เพิ่มขึ้นถึง 4.1% ในวันที่ 25 มกราคม 2551 เมื่อมีข่าวว่ารัฐสภาสหรัฐตกลงอนุมัติแผนกู้เศรษฐกิจของประธานาธิบดีบุช
สำหรับคนส่วนใหญ่ ที่ไม่ได้ถือหุ้นร้อยเปอร์เซ็นต์เหมือนผม ผมคิดว่าการที่หุ้นตกลงมามากนั้น เป็นโอกาสที่เราจะเลือกลงทุนในหุ้นที่มีคุณภาพทางธุรกิจดี ที่เดิมเราไม่อยากซื้อเพราะราคาหุ้นแพงเกินไป ดัชนีหุ้นที่ตกลงมามากนั้น ส่วนใหญ่แล้วก็มักจะดึงราคาของหุ้นตัวอื่นๆลงมาด้วย ทั้งที่ปัจจัยพื้นฐานทางธุรกิจแทบไม่ได้เปลี่ยนแปลง ถ้าเรากล้าที่จะเข้าไปเก็บหุ้นเหล่านั้น และพร้อมที่จะถือยาวโดยไม่สนใจกับราคาหุ้นที่อาจจะปรับตัวลงต่อ โอกาสที่เราจะได้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคต 3-4 ปีขึ้นไป ก็มักจะสูงกว่าปกติ และความเสี่ยงที่จะขาดทุนก็มักจะน้อยกว่าปกติ การขายหุ้นไปก่อนเมื่อดัชนีกำลังอยู่ในช่วงตกหนักนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นกลยุทธ์ที่ผิดพลาดอย่างแน่นอน เพราะบ่อยครั้งก็ทำให้นักลงทุนหลายคน “เอาตัวรอดไปได้” และก็มาเล่าให้คนทั้งหลายฟัง แต่หลายคนก็เสียหายหนัก เพราะ “หุ้นฟื้นอย่างไม่คาดฝัน” และคนเหล่านั้นไม่ได้มาพูด ข้อสรุปที่แท้จริงก็คือ ไม่รู้ว่าคนที่เอาตัวรอดไปได้กับคนที่เสียหายเนื่องจากการขายหุ้น ฝ่ายไหนจะมากกว่ากัน
ผมเชื่อว่า สำหรับนักเก็งกำไรแล้ว การที่ดัชนีตลาดปรับตัวผันผวนรุนแรง พวกเขาจะต้องเฝ้ากระดานและมักจะมี Action นั่นคือ ไม่ซื้อก็ขายกันมากขึ้นมาก แต่สำหรับนักลงทุน โดยเฉพาะที่เป็น Value Investor ผมคิดว่าเขาควรจะซื้อมากกว่าขาย ส่วนตัวผมเองนั้น ผมยึดภาษิตที่ว่า Stay Calm, Stay Invest นั่นก็คือ ทำใจให้สงบและลงทุนต่อไป
ทำอย่างไรเมื่อหุ้นตก
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โลกในมุมมองของ Value Investor
29 ม.ค. 2551
ปล1. ผมเชื่อท่านอาจารย์ ดร นิเวศน์ครับ เพราะ ท่านเขียน ความจริง fact ไม่ใช่ข้อคิดเห็น
ปล2. VI ส่วนมากไม่ทำตัวฟู่ฟ่า ดังนั้น ช่วงหุ้นลงเค้าเหล่านั้น มีเงินสดรอของถูกๆแน่นอน และก้เป็นอีกครั้งที่จะมีประโยคนี้ตามมาหลังหุ้นตกรอบนี้และขึ้นมาได้
ประโยคเหล่านี้จะตามมา
-ก้แหงหล่ะสิ ผม/ฉันไม่ได้ซื้อหุ้นตอนดัชนี ตกลงไปเท่าโน้นเท่านี้นี่ จะได้ถือยาวเป็น VI ได้
-พวก VIก้แค่ดวงดี ที่ซื้อหุ้นได้ถูก
-ถ้าเป็นตอนนั้นผมกล้าซื้อหล่ะก้
-ทำไมตอนนั้นผมถึงขายขาดทุนไปทั้งๆที่ตอนนี้ .....มันขึ้นมาเท่าเดิม
-น่าจะซื้อนะ เสียดาย
-ผมไม่รู้ว่า แรงขายจะหมดแล้ว ผมเลยไม่กล้า
-ETC
ถ้า VI แค่ดวงดี ก้คงเป็นลัคกี้แมนแล้วครับ แต่เผอิญ VIเค้าซื้อกิจการตอนถูกๆ จะขายก้ต่อเมื่อแพง แพงมาก หรือ พื้นฐานเปลี่ยน รายได้ไม่ดี กำไรไม่ดี เทรนด์บริโภคเปลี่ยน
ประโยคนี้เจอบ่อยๆ สำหรับพวกชอบแขวะแทนที่เค้าจะเอาเวลาไปพัฒนาตัว เพื่อให้เก่งขึ้นดีขึ้น หุ้นก้เหมือนกอลฟ์ คุณต้องเข้าใจมันหลอมกับมัน อยู่กับมันแล้วจะเข้าใจมัน
ตั้งแต่ต้นปีมาดูเหมือนว่านักลงทุนในตลาดหุ้นจะเจ็บ ตัวกันหนัก และเป็นการเปลี่ยนภาพที่สดใสของตลาดหุ้นจากปีที่ผ่านมา ตัวเลขคร่าวๆก็คือ ปีที่แล้วดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวขึ้นมาประมาณ 26% ยังไม่นับรวมปันผลอีกประมาณ 3 – 4 % ซึ่งถือเป็นผลตอบแทนที่ดีเยี่ยม ทั้งๆที่ประเทศไทย “มีปัญหา” มาตลอดทั้งปี
ปี 2551 นี้ นักวิเคราะห์ต่างก็ตั้งเป้าหมายว่าดัชนีหุ้นจะดีขึ้นไปอีกมาก บางคนบอกว่าจะไปถึง 1,000 จุด เพราะสถานการณ์ต่างๆโดยเฉพาะการเมืองจะดีขึ้น แต่แล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ เฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของซับไพร์มที่สหรัฐอเมริกาก็ทำให้ตลาดหุ้นตกต่ำกัน ทั่วโลก ผลก็คือ เพียงแค่ประมาณเดือนเดียว ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของเราก็ตกลงมาแล้วประมาณ 11% คือตกจากประมาณ 858 จุดเหลือเพียง 760 จุดในวันที่ 25 มกราคม 2551 และนี่ก็ เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เป็นบทเรียนให้เรารู้ว่า ตลาดหุ้นเป็นสิ่งที่ “คาดไม่ได้” และความเสี่ยงของการลงทุนในตลาดหุ้นนั้นมีอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เรารู้สึกดีและสบายใจในการลงทุน
เมื่อตลาดตกอย่างหนัก ก็มักจะมีคนถามผมเสมอว่าเขาควรทำอย่างไร? ขายทิ้งก่อนดีไหม? บางคนก็ถามว่า ควรจะ “เข้า” หรือยัง?
ส่วนใหญ่ผมก็มักจะตอบว่าควร “อยู่เฉย ๆ” เพราะ เราไม่รู้ว่าตลาดหุ้นในวันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร แม้ว่าที่ผ่านมา 2-3 สัปดาห์ แทบจะเรียกว่าเลวร้ายเกือบทุกวัน และนักลงทุนต่างชาติขายหุ้นสุทธิในตลาดเกือบทุกวัน เหตุผลของผมก็คือ พื้นฐานของเศรษฐกิจของประเทศไทยไม่ได้อยู่ในภาวะวิกฤติ ทุกอย่างยังเป็นปกติ เพียงแต่ว่าเราค่อนข้างจะโตช้ากว่าเพื่อนบ้านบ้างในช่วงปีที่ผ่านมาและอนาคต คือในปีนี้ก็ยังดูเหมือนว่าจะมีอุปสรรคอยู่โดยเฉพาะในภาคการส่งออกที่อาจจะ โตช้าลงจากความถดถอยของเศรษฐกิจโลกที่ดูเหมือนว่ากำลังจะเกิดขึ้น แต่ทั้งหลายทั้งปวงนี้ คงไม่ทำให้เราเกิดวิกฤติ เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ตลาดหุ้นได้ปรับตัวลงมาพอสมควรแล้ว ดังนั้น ถ้าเราขายหุ้นในวันนี้อาจจะเป็นว่าเราได้ขายไปในราคาถูก ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราเข้าไปซื้อเพราะคิดว่าราคาหุ้นได้ตกลงมามากแล้ว เราก็อาจจะผิดหวัง เพราะราคาหุ้นอาจจะลงต่อไปอีก เพราะความผันผวนของตลาดหุ้นโลกยังไม่สงบลงก็ได้
ส่วนตัวผมเองนั้น ในภาวะที่ดัชนีตลาดตกต่ำลงมากๆ ผมมักจะเฝ้าดูราคาหุ้นของกิจการที่ดีเยี่ยม ทั้งที่ผมถือหุ้นอยู่และที่ผมอาจจะยังไม่ได้เป็นเจ้าของ ดูว่าราคาหุ้นตัวนั้นตกต่ำลงมามากน้อยแค่ไหน ถึงจุดที่น่าสนใจพอหรือยัง ถ้ายังไม่ต่ำพอผมก็จะอยู่เฉยๆ แต่ถ้าราคาต่ำลงจนถึงจุดที่น่าสนใจมากๆ ผมก็จะเริ่มคิดที่จะหาเงินมาลงทุน ซึ่งน่าเสียดายว่าผมมักจะไม่มีเงินสดเหลือ เพราะผมลงทุนเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์อยู่แล้ว ถ้าผมต้องการเงินมาลงทุนผมก็ต้องขายหุ้นตัวอื่นที่ผมถืออยู่ ซึ่งก็มักจะน่าเสียดายอีกว่าผมไม่อยากขาย เพราะราคามันลงมามาก การขายในเวลาที่เลวร้ายอย่างนั้นผมรู้สึกว่าจะทำใจได้ยาก ดังนั้น โดยสรุปแล้ว ช่วงที่ดัชนีตลาดตกต่ำอย่างหนัก ผมมักจะไม่ค่อยทำอะไร ผมชอบเปรียบตัวเองเหมือนเต่า นั่นก็คือ ในยามที่เกิดพายุฝนตกฟ้าคะนองรุนแรง เต่าจะอยู่นิ่งๆ หลบฝนอยู่ในที่กำบัง และถ้าจะให้ดีก็คือ หดหัวไม่มองดูสายฟ้าที่ฟาดกระหน่ำลงมาไม่หยุดหย่อน ว่าที่จริง เวลาหุ้นตกหนักผมชอบที่จะหนีไปเล่นกอล์ฟ เพื่อจะได้ไม่ต้องพะวงกับการตกลงของราคาหุ้นมากนัก
เมื่อเวลาผ่านไป ผมเชื่อว่า หุ้นก็มักจะกลับมาสู่ราคาที่มันควรเป็นตามปัจจัยพื้นฐานของมัน ที่จริงมันก็เป็นอย่างนั้นทุกครั้ง ดังนั้นถ้าเรา “กอดหุ้น” ที่ทำธุรกิจที่เรามั่นใจว่า จะสามารถฝ่ากระแสของเศรษฐกิจที่กำลังถดถอยได้ เราก็ไม่เห็นว่าจะต้องกลัวอะไร บางคนบอกว่า เขาไม่ได้กลัวเรื่องของธุรกิจของบริษัทที่เขาลงทุน แต่เขาคิดว่าหุ้นกำลังตกด้วยอิทธิพลของกระแสเงิน หรือเดี๋ยวนี้ชอบเรียกว่า “Fund Flow” ดังนั้นเขาคิดว่า อย่างไรหุ้นก็จะต้องตกต่อ เพราะในยามที่นักลงทุนกำลังขายหุ้นเพราะต้องการถอนตัวออกจากตลาด ปัจจัยพื้นฐานก็ไม่มีความหมาย เราจึงควรขายไปก่อนเพื่อความปลอดภัยและกลับไปซื้อภายหลังเมื่อหุ้น “นิ่ง” แล้ว แต่นี่ก็จะกลับไปสู่ประเด็นเดิมที่ว่า “เราคิดว่าเรารู้ว่าเมื่อไรที่หุ้นจะนิ่ง” ซึ่งผมก็อยากจะพูดย้ำอีกครั้งว่า “เราไม่รู้” และสิ่งที่พิสูจน์ก็คือ ดัชนีหุ้นที่ดีดตัวขึ้นมาถึง 31 จุด หรือ เพิ่มขึ้นถึง 4.1% ในวันที่ 25 มกราคม 2551 เมื่อมีข่าวว่ารัฐสภาสหรัฐตกลงอนุมัติแผนกู้เศรษฐกิจของประธานาธิบดีบุช
สำหรับคนส่วนใหญ่ ที่ไม่ได้ถือหุ้นร้อยเปอร์เซ็นต์เหมือนผม ผมคิดว่าการที่หุ้นตกลงมามากนั้น เป็นโอกาสที่เราจะเลือกลงทุนในหุ้นที่มีคุณภาพทางธุรกิจดี ที่เดิมเราไม่อยากซื้อเพราะราคาหุ้นแพงเกินไป ดัชนีหุ้นที่ตกลงมามากนั้น ส่วนใหญ่แล้วก็มักจะดึงราคาของหุ้นตัวอื่นๆลงมาด้วย ทั้งที่ปัจจัยพื้นฐานทางธุรกิจแทบไม่ได้เปลี่ยนแปลง ถ้าเรากล้าที่จะเข้าไปเก็บหุ้นเหล่านั้น และพร้อมที่จะถือยาวโดยไม่สนใจกับราคาหุ้นที่อาจจะปรับตัวลงต่อ โอกาสที่เราจะได้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคต 3-4 ปีขึ้นไป ก็มักจะสูงกว่าปกติ และความเสี่ยงที่จะขาดทุนก็มักจะน้อยกว่าปกติ การขายหุ้นไปก่อนเมื่อดัชนีกำลังอยู่ในช่วงตกหนักนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นกลยุทธ์ที่ผิดพลาดอย่างแน่นอน เพราะบ่อยครั้งก็ทำให้นักลงทุนหลายคน “เอาตัวรอดไปได้” และก็มาเล่าให้คนทั้งหลายฟัง แต่หลายคนก็เสียหายหนัก เพราะ “หุ้นฟื้นอย่างไม่คาดฝัน” และคนเหล่านั้นไม่ได้มาพูด ข้อสรุปที่แท้จริงก็คือ ไม่รู้ว่าคนที่เอาตัวรอดไปได้กับคนที่เสียหายเนื่องจากการขายหุ้น ฝ่ายไหนจะมากกว่ากัน
ผมเชื่อว่า สำหรับนักเก็งกำไรแล้ว การที่ดัชนีตลาดปรับตัวผันผวนรุนแรง พวกเขาจะต้องเฝ้ากระดานและมักจะมี Action นั่นคือ ไม่ซื้อก็ขายกันมากขึ้นมาก แต่สำหรับนักลงทุน โดยเฉพาะที่เป็น Value Investor ผมคิดว่าเขาควรจะซื้อมากกว่าขาย ส่วนตัวผมเองนั้น ผมยึดภาษิตที่ว่า Stay Calm, Stay Invest นั่นก็คือ ทำใจให้สงบและลงทุนต่อไป
ทำอย่างไรเมื่อหุ้นตก
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โลกในมุมมองของ Value Investor
29 ม.ค. 2551
ปล1. ผมเชื่อท่านอาจารย์ ดร นิเวศน์ครับ เพราะ ท่านเขียน ความจริง fact ไม่ใช่ข้อคิดเห็น
ปล2. VI ส่วนมากไม่ทำตัวฟู่ฟ่า ดังนั้น ช่วงหุ้นลงเค้าเหล่านั้น มีเงินสดรอของถูกๆแน่นอน และก้เป็นอีกครั้งที่จะมีประโยคนี้ตามมาหลังหุ้นตกรอบนี้และขึ้นมาได้
ประโยคเหล่านี้จะตามมา
-ก้แหงหล่ะสิ ผม/ฉันไม่ได้ซื้อหุ้นตอนดัชนี ตกลงไปเท่าโน้นเท่านี้นี่ จะได้ถือยาวเป็น VI ได้
-พวก VIก้แค่ดวงดี ที่ซื้อหุ้นได้ถูก
-ถ้าเป็นตอนนั้นผมกล้าซื้อหล่ะก้
-ทำไมตอนนั้นผมถึงขายขาดทุนไปทั้งๆที่ตอนนี้ .....มันขึ้นมาเท่าเดิม
-น่าจะซื้อนะ เสียดาย
-ผมไม่รู้ว่า แรงขายจะหมดแล้ว ผมเลยไม่กล้า
-ETC
ถ้า VI แค่ดวงดี ก้คงเป็นลัคกี้แมนแล้วครับ แต่เผอิญ VIเค้าซื้อกิจการตอนถูกๆ จะขายก้ต่อเมื่อแพง แพงมาก หรือ พื้นฐานเปลี่ยน รายได้ไม่ดี กำไรไม่ดี เทรนด์บริโภคเปลี่ยน
ประโยคนี้เจอบ่อยๆ สำหรับพวกชอบแขวะแทนที่เค้าจะเอาเวลาไปพัฒนาตัว เพื่อให้เก่งขึ้นดีขึ้น หุ้นก้เหมือนกอลฟ์ คุณต้องเข้าใจมันหลอมกับมัน อยู่กับมันแล้วจะเข้าใจมัน
- shanghaigeny
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3762
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองตลาดในปี 57 กันอย่างไร
โพสต์ที่ 9
มองว่าปีนี้ นักลงทุนในตลาดจะมีเหตุผลมากขึ้น ไม่เหมือนปีที่แล้ว ที่ซื้อกันด้วยใจและความคาดหวังล้วนๆ ดังนั้นราคาหุ้นจะวิ่งก็ต่อเมื่อผลประกอบการต้องดีจริง
ส่วนหุ้นที่ยังดูดีในปี 57 ที่คิดไว้คงมีดังนี้
1.พวกกลุ่ม 3 G โดยเฉพาะ operator
2.กลุ่มรับเหมาที่มีงาน backlog ชัดเจน และกินยาวได้อีกหลายปี จะดีมากถ้ามีรายรับเป็นดอลลาร์
3.อาหาร แต่พวกกุ้งคงต้องดูไปอีกซักพัก
4.ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
5.กลุ่มเดินเรือ น่าจะเริ่ม cycle ใหม่แล้วมั้ง
6.ประกันภัยและประกันชีวิต
ปล.ความเห็นส่วนตัวนะครับ
ส่วนหุ้นที่ยังดูดีในปี 57 ที่คิดไว้คงมีดังนี้
1.พวกกลุ่ม 3 G โดยเฉพาะ operator
2.กลุ่มรับเหมาที่มีงาน backlog ชัดเจน และกินยาวได้อีกหลายปี จะดีมากถ้ามีรายรับเป็นดอลลาร์
3.อาหาร แต่พวกกุ้งคงต้องดูไปอีกซักพัก
4.ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
5.กลุ่มเดินเรือ น่าจะเริ่ม cycle ใหม่แล้วมั้ง
6.ประกันภัยและประกันชีวิต
ปล.ความเห็นส่วนตัวนะครับ
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองตลาดในปี 57 กันอย่างไร
โพสต์ที่ 10
ขอวิแคะ ในมุมมองตัวเอง และเฉพาะด้านที่ตัวเองพอรู้
ผมว่า ที่น่ากลัวคือเศรษฐกิจโลกมากกว่าการเมืองบ้านเรา
แต่ระยะนี้ มันจะยังเป็น too big to fail ไปอีกนาน เขาไม่ปล่อยให้ล้มง่ายๆ ใหญ่ๆ โตๆ ยังเป็นมหาอำนาจกันอยู่
ตลอดเวลาที่ผ่านมา ระยะเวลาซบเซามักจะสั้นๆ ระยะเวลาคงที่และกลายมาเป็นขาขึ้น มันยาวกว่าเสมอ ไม่ว่าจะแก้ปัญหาด้วยวิธีเด็ดขาด หรือชั่วคราว พอกหนี้ก็ตาม แต่สุดท้ายมันเป็นวัฏจักรแบบนี้ตลอด
จีนก็ยังเป็นจีนทรงอิทธิพลอยู่ จัดอันดับคนรวย เทมาจีนมากขึ้น
หันมามองไทย ถ้าสมมติเศรษฐกิจโลกไร้ปัญหาเลย เอาแต่ปัจจัยภายในประเทศล้วนๆ
ปัญหาที่เราเห็นนี้มันแค่กระทบระยะสั้นเท่านั้น แล้วมันก็จะผ่านไป
เป็นแค่เกมการเมืองขึ้นกับช่วงไหน ใครชิงอำนาจมาได้
ถ้าเป็นสมัยก่อน ใครชนะก็ตั้งตัวเป็นเจ้าเมือง เป็นราชา หรือถ้าขนาดระดับอาณาจักรปราบดาภิเษกเป็นจักพรรดิ ส่วนใครแพ้ก็กลายเป็นกบฎถุกทุบด้วยท่อนจันทน์ลงหลุม ถ้าเป็นแบบจีน ก็เล่นกันยกครอบครัวเอามาตัดหัวกลางลานเจ็ดชั่วโคตร ยกบ้าน
ผมไม่ได้สนับสนุนอะไรเห็นด้วย-ไม่เห็นด้วยนะครับ ประเด็นแค่มองว่าแก่นแท้แล้วมันไม่เกี่ยวกับว่าใครดีใครชั่วจริงๆ ซักเท่าไหร่ แต่ก็คือ "เกม" ชิงอำนาจธรรมดาที่มีมาแต่โบราณกาล ... ผิดแค่ว่ายุคนี้ เพิ่มมากลายเป็นชิงช่องทางข่าวสาร ชิงมวลชนเพิ่มเติม เหมือนเกมหมากรุกเอาประชาชนเป็นตัวเดิน ผลัดกันรุกผลัดกันรับ ใครชนะ ก็ครองอำนาจรัฐไป
แต่มันไม่ได้ทำให้ประเทศเราถึงกับเจริญทันตาเห็น หรือล่มโคมไปทันทีเลย แค่เพราะการแย่งชิงอำนาจแค่นี้หรอกครับ เชื่อเถอะ อีกไม่กี่เดือน ลองกลับมาดู ว่าจะเป็นอย่างที่ผมว่ารึเปล่า (เหมือนกับตอนน้ำท่วม ผมก็เคยบอกเพื่อนๆ ผมที่มาถาม ว่ามันก็ไม่ได้ท่วมทุกปี ไม่เห็นต้องชิงขาย)
ระยะยาวที่เราเห็น ผมเห็นสัญญาณอันหนึ่ง จาก campaign เพียงชุดเดียว ก็ที่เราเห็นวิสัยทัศน์ "2020" จากประชาธิปัตย์
ถึงแม้คือการเกทับบลัฟแหลก หรือการโต้ข่าวกันทางการเมือง หรือฝ่ายที่เชียร์เพื่อไทย บอกว่านี่คือการ copy กันชัดๆ
แต่มันคือจุดเริ่มต้น
มันบอกได้ว่า ต่อให้เป็นรัฐบาลไม่ว่าใครเข้ามา ไม่ว่าด้วยวิธีกู้/ไม่กู้ก็ตาม 2ล้านล้านหรือไม่ก็ตาม ต่อไปนี้ต้องมากับ Mega project นี้แล้ว เพราะเป็นเรื่องที่เรียกได้ว่าไม่ว่าฝ่ายไหน ไม่สามารถทิ้งโครงการ "จำเป็น" ต่อการพัฒนาประเทศไปพวกนี้แล้ว
ต่อให้จะตระบัดสัตย์ เล่นลิ้น สร้างไม่เยอะ แต่ยังไงก็ "ต้องมี"
แล้วลงทุน มันก็ไม่ได้หนีไปไหน เพราะเป็น infrastructure อยู่ในประเทศ
ไม่ได้หมายถึงทุนคืนแบบระยะสั้น แต่มันคือการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เห็นผล ที่ไม่ต้องใช้วิธี "เงินโปรยเฮลิคอปเตอร์"
ไม่ขอมองมุมการเมืองนะครับ เพราะเราคงเถียงกันไม่จบ ไม่เคยเห็นรัฐบาลชุดไหนในไทย ที่ขาวสะอาดบริสุทธิ์
ขอพูดในผลลัพธ์จริง ที่มีผลต่อระยะยาว และเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจประเทศ แล้วส่งผลการลงทุนของเรามากกว่า ...ในแง่ไม่ว่าอีก 5-10 ปีนับต่อไปนี้ ไม่ว่าใครได้อำนาจไปก็ตาม ก็ต้องมาเล่นโครงการพวกนี้
ในเมื่อประชาชนล้วนเอาด้วย กระแสส่วนใหญ่ ที่ไม่ต้องเกี่ยวกับการเมือง แต่เกี่ยวกับการพัฒนาประเทศ ล้วนเห็นว่ามันถึงเวลาแล้ว ที่ต้องมี หรือถ้าไม้เอาใหญ่มาก อย่างน้อย ต้องเริ่มแล้ว
ผมเลยอยากออกความเห็นส่วนตัว ขอเป็น "โหน" เดากระแสนะครับ
เดาล้วนๆ นะครับ แต่เดามีเหตุผลรองรับ ไม่อยากให้เชื่อทั้งหมด แต่เอาส่วนหนึ่งไปเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจดู ว่าผม "เดา" แบบนี้ เพราะอะไร
เพราะถ้าเรา "เดาแบบมีเหตุผลประกอบ" ตอนเหตุการณ์หรือ ปัจจัยเปลี่ยน เราก็จะพร้อมเสมอ ที่จะ หาเหุตผล "วิเคราะห์ใหม่" ได้ถูกทาง
ไม่ใช่หลับหูหลับตาเดาไม่ใช่เดาแบบแค่ว่ากราฟพุ่งขึ้นมากี่ยอด ถัดมามันต้องดิ่งลงเสมอ เลยต้องชิงขายก่อน...
เดาว่าเมื่อฝุ่นควันการเมืองจางลง (และน่าจะจางลงภายในระยะเวลาไม่นาน เพราะรบย่อมมีพัก เรื่องแตกหัก มันแค่ละคร
มีการเดินเกมเจรจา lobby กันอะไรสาระพิษสารพัดหลังฉาก)
กิจการที่ได้รับผลประโยชน์ กลับมาคึกคัก ก็เดิมๆ คือรับเหมาโครงการต่างๆ
ในภาพรวม
นอกจากโครงการในประเทศแล้ว ประเทศเพื่อนบ้านก็พากันโต จะดึงดูดฝรั่งกลับมา
ตอนนี้ก็ดึงพอควรอยู่แล้ว อาจไม่มากถึงตอนฝรั่งโปรยเงิน QE ที่นั่นเป็นภาวะเงินมากผิดปกติ และเป็นแค่ financial sector
แต่เอเชีย ยังโตเรื่อยๆ เป็นการลงทุน real sector
ผมไม่เชื่อว่า AEC มันจะเกิดขึ้น แล้วพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เศรษฐกิจไม่คิดว่าจะบูมขนาดทำให้เป็นแบบสิบล้อถูกล็อตโต้ หรือยาจกตกยากกลายเป็นเศรษฐีพบบ่อน้ำมันอะไรขนาดนั้น
แต่ผมก็เชื่อว่า เศรษฐกิจเอเชียจะยึดโยง ไร้พรมแดนกันมากขึ้น เพราะกระแสมันไปทางนั้น
เมื่อต่างชาติมาลงทุนแถบนี้ จะมองเป็น "เอเชีย" เพราะการลงทุนไมได้มีแค่ตลาดหุ้นเท่านั้น
การเอาเงินมาลงแบบ FDI หรือ foreign direct investment ในรูปอุตสาหกรรม อสังหา ที่ต้องใช้เม็ดเงินมาทั้งนั้น ...
ใครจะลงด้วยเหตุผลทางธุรกิจจริง หรือ "ไม่มีที่ลง" เลยเอามาฟอกขาว ก็แล้วแต่ (อย่างที่ได้ยินมาที่บูมในพนมเปญ)... แต่มันคือโครงการที่เกิดขึ้นจริง สร้างงาน ใช้เงินจริง มีวัตถุจับต้องได้
เมื่อประเทศข้างเคียงบูม อีกประเทศก็ได้รับผลประโยชน์สะท้อนด้วย
โดยเฉพาะพม่า เมื่อสร้างเมือง ก็ย่อมต้องการเอาประเทศใกล้และสะดวก ... ผมไม่คิดว่าต่างชาติ ใครจะเอาบังคลาเทศหรืออินเดีย เป็นจุดเชื่อมต่อ
มันเหมือนตอนนี้ ที่ตะวันตก หรือแม้แต่จีนก็เถอะ ถ้าจะไปขยายธุรกิจที่ลาว ก็จะมองจากบริษัทลูกที่ไทยให้ไปหยั่งเชิงที่เวียงจันทน์ก่อน
ถ้าเป็นธุรกิจที่พนมเปญก็จะเลือกว่า ตัวแทนสาขาในกทม.หรือในโฮจิมินห์จะเหมาะกว่า ก่อนจะเอาจริง
ดังนั้นก็ต้องเอาไทยเป็นศูนย์บัญชาการหรืออย่างน้อยทางผ่าน
เพราะสะดวกและเอื้ออำนวยในการทำธุรกรรมการเงินรวมถึงการเดินทาง... แล้วเชื่อมโยงไปบริษัทที่พม่า ที่ "ย่างกุ้ง"
ถัดมา คิดว่าคงไม่ต้องอธิบายมาก เป็นกระแสต่อเนื่องจากตอนนี้
ICT คือ "สื่อสารโทรคมนาคม" ยังเป็นประเภท "ผู้เล่นน้อยราย" ต่อไป ขณะที่ trend ใช้ Data โตขึ้นเรื่อยๆ
ตรงข้ามกับหน่วยงานรัฐ คือ TOT กับ CAT จะดิ้นกันเหนื่อย จะอ่อนล้า ถูกลู่ถูกังกันต่อไปแบบ THAI, รฟท, ขสมก
ส่วน "สื่อสารมวลชน" ที่เราเห็นในรูปแบบ Digital TV นั้น
ผู้เล่นรายเก่าของวงการ "สื่อสารมวลชน" ที่เป็นของรัฐหรือกึ่งรัฐโชคดีกว่าสื่อสารโทรคมนาคม เพราะมีทางออกได้ใบอนุญาตประเภทเสือนอนกินกันไปแล้ว
(ยังเหลือ 2 ใบที่ยังไม่ให้ใคร...)
แต่ที่สบายตัวที่สุดคือ MCOT เพราะนอกจากได้งานทำต่อเหมือนช่อง11(กรมประชาสัมพันธ์)/ช่อง 5 (ทบ)/TBPS ได้ "ใบอนุญาตนอนกิน" ไปก่อน โดยไม่ต้องออกแรงประมูลแล้ว ยังประมูล HD ทำมาหากินได้อีกช่อง
โดยควบคุมต้นทุนได้เอง เพราะได้ใบอนุญาต MUX ประเภทเดียวกัน
โดยแผนงานของกสทช. จะให้รายเก่าออกอากาศคู่กันทั้ง Digital และ Analogue และคืนคลื่นได้ภายใน 5 ปี แล้วไปทำธุรกิจ MUX ส่วน content ต้องทำเป็นช่องสาธารณะ
นี่ถ้า MCOT ปรับปรุงกระบวนการทำงานใหม่ หรือได้ผู้บริหารมาใหม่อย่างผอ.แสงชัย ผอ.มิ่งขวัญ ผมจะรีบเอางบย้อนหลัง MCOT มานั่งvaluation ดูเตรียมตัวทันที เพราะได้เปรียบชาวบ้านขนาดนี้แล้ว...
ในภาพรวม
"วงการ" มันจะบูม แต่ใครจะเป็นใหญ่ จะไม่เด็ดขาด เหมือนวงการมือถือ
แต่ก็จะ "ค่อยๆ" ขยายผลประโยชน์ให้ใหญ่ขึ้น เหมือนกับที่เราเห็น "ผู้จัด" "ผู้ผลิตรายการ" เกิดขึ้นใหม่
เหมือนนิคมอุตสาหกรรมใหม่ ขนาดย่อม เปรียบได้ ก็คล้ายฮอลลีวู๊ดทีวีเมืองไทย
ดังที่เราเห็น "ผู้จัด" หน้าเก่า หน้าใหม่ ผลิตงานเข้าช่อง 3 ช่อง 7 กันเกิดเสี่ย เฮีย เงินล้าน ร้อยล้าน พันล้าน รายใหม่ผูดกันขึ้นมาอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
เหมือนที่เราเห็นมันเริ่มต้นที่วงการดาวเทียมแล้ว (แต่มันยังเลอะไปด้วยโฆษณาขายตรงอยู่)
การมีช่องทางสื่อสารไปมวลชนมากขึ้น มีคุณภาพดีขึ้น ผมมองว่า "ธุรกิจผลิต content" (content provider) จะเติบโต
แต่จะมีบริษัทที่อยู่ในตลาดเท่าไหร่ ได้รับผลบุญไป ไม่แน่ใจ
และก็อาจมีบริษัทใหม่ เข้าตลาดอีก ที่ไม่จำเป็นต้องเป็น คนได้ใบอนุญาตที่ประมูลไปไม่กี่วันมานี้ แต่สามารถที่จะมีศักยภาพ สร้าง "ผลิตผล" ป้อนอุตสาหกรรมนี้ได้
ส่วนบริษัทที่ได้ใบอนุญาต ในฐานะ service provider ไม่ได้คิดว่า "เล่นง่ายๆ" เหมือนเจ้าของมือถือ
นอกจาก "ศึกชิงตา" อย่างดร.นิเวศน์ว่าแล้ว ที่ทำให้รูปแบบ "prime channels" ทรงอิทธิพลอย่างเก่า คือ rating "กึ่งผูกขาด" 7->3->9/5/11 ลดความสำคัญลงไป
เพราะเริ่มต้นจุดสตาร์ทที่เท่าเทียวกัน ด้วยผู้เล่นมากรายขึ้น
ยังเพราะต้นทุนคงที่ เมื่อหักตัวเลขแล้ว มันยังดูไม่น่าดึงดูด (ลองดูสรุป "ประมาณการ" ที่กระทู้พี่ฉัตร http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=56988)
โดยเฉพาะช่องทางกระจายภาคพื้นดินที่เรียกว่า "MUX" ที่ข้อเท็จจริงคือยังไม่ได้ตัวเลขแม้จริงเลย ยังเป็นแค่แผนงานเสนอกสทช.
ธุรกิจอะไรกันเนี่ย จะยืมเงินจากธนาคารอยู่แล้ว ได้แค่ประมาณ.. แต่ป่านนี้ ยังไม่ได้ตัวเลขที่แท้จริงเลย... ทำเองก็ไม่ได้ด้วย เพราะไม่ได้ใบอนุญาต ... กสทช. เอาไป "แลกเปลี่ยน" กับการคืนคลื่นเร็วขึ้น 5 ปี ให้เหล่าเสือนอนกินไปแล้ว
ดังนั้นคอยจับตาดู...
แล้วถ้าใครบริหารไม่ดี หรือสู้แรงรายใหญ่สายป่านยาวไม่ได้ หรือ ถ้าระหว่างสัมปทานมีเหตุการณ์สะดุด แบบวงการโทรคมนาคม
คงต้องมีบางรายเหี่ยวเฉา หรืออาจต้องคืน/เปลี่ยนเจ้าของใบอนุญาตกันบ้าง
แบบที่เคยเกิดมาแล้วกับ The M Group/IEC/WCS/Samart/DCS
หรือเป็นเสือลำบาก เดินกระเผลกๆ อย่าง TT&T/TA Orange -> True
ผมว่า ที่น่ากลัวคือเศรษฐกิจโลกมากกว่าการเมืองบ้านเรา
แต่ระยะนี้ มันจะยังเป็น too big to fail ไปอีกนาน เขาไม่ปล่อยให้ล้มง่ายๆ ใหญ่ๆ โตๆ ยังเป็นมหาอำนาจกันอยู่
ตลอดเวลาที่ผ่านมา ระยะเวลาซบเซามักจะสั้นๆ ระยะเวลาคงที่และกลายมาเป็นขาขึ้น มันยาวกว่าเสมอ ไม่ว่าจะแก้ปัญหาด้วยวิธีเด็ดขาด หรือชั่วคราว พอกหนี้ก็ตาม แต่สุดท้ายมันเป็นวัฏจักรแบบนี้ตลอด
จีนก็ยังเป็นจีนทรงอิทธิพลอยู่ จัดอันดับคนรวย เทมาจีนมากขึ้น
หันมามองไทย ถ้าสมมติเศรษฐกิจโลกไร้ปัญหาเลย เอาแต่ปัจจัยภายในประเทศล้วนๆ
ปัญหาที่เราเห็นนี้มันแค่กระทบระยะสั้นเท่านั้น แล้วมันก็จะผ่านไป
เป็นแค่เกมการเมืองขึ้นกับช่วงไหน ใครชิงอำนาจมาได้
ถ้าเป็นสมัยก่อน ใครชนะก็ตั้งตัวเป็นเจ้าเมือง เป็นราชา หรือถ้าขนาดระดับอาณาจักรปราบดาภิเษกเป็นจักพรรดิ ส่วนใครแพ้ก็กลายเป็นกบฎถุกทุบด้วยท่อนจันทน์ลงหลุม ถ้าเป็นแบบจีน ก็เล่นกันยกครอบครัวเอามาตัดหัวกลางลานเจ็ดชั่วโคตร ยกบ้าน
ผมไม่ได้สนับสนุนอะไรเห็นด้วย-ไม่เห็นด้วยนะครับ ประเด็นแค่มองว่าแก่นแท้แล้วมันไม่เกี่ยวกับว่าใครดีใครชั่วจริงๆ ซักเท่าไหร่ แต่ก็คือ "เกม" ชิงอำนาจธรรมดาที่มีมาแต่โบราณกาล ... ผิดแค่ว่ายุคนี้ เพิ่มมากลายเป็นชิงช่องทางข่าวสาร ชิงมวลชนเพิ่มเติม เหมือนเกมหมากรุกเอาประชาชนเป็นตัวเดิน ผลัดกันรุกผลัดกันรับ ใครชนะ ก็ครองอำนาจรัฐไป
แต่มันไม่ได้ทำให้ประเทศเราถึงกับเจริญทันตาเห็น หรือล่มโคมไปทันทีเลย แค่เพราะการแย่งชิงอำนาจแค่นี้หรอกครับ เชื่อเถอะ อีกไม่กี่เดือน ลองกลับมาดู ว่าจะเป็นอย่างที่ผมว่ารึเปล่า (เหมือนกับตอนน้ำท่วม ผมก็เคยบอกเพื่อนๆ ผมที่มาถาม ว่ามันก็ไม่ได้ท่วมทุกปี ไม่เห็นต้องชิงขาย)
ระยะยาวที่เราเห็น ผมเห็นสัญญาณอันหนึ่ง จาก campaign เพียงชุดเดียว ก็ที่เราเห็นวิสัยทัศน์ "2020" จากประชาธิปัตย์
ถึงแม้คือการเกทับบลัฟแหลก หรือการโต้ข่าวกันทางการเมือง หรือฝ่ายที่เชียร์เพื่อไทย บอกว่านี่คือการ copy กันชัดๆ
แต่มันคือจุดเริ่มต้น
มันบอกได้ว่า ต่อให้เป็นรัฐบาลไม่ว่าใครเข้ามา ไม่ว่าด้วยวิธีกู้/ไม่กู้ก็ตาม 2ล้านล้านหรือไม่ก็ตาม ต่อไปนี้ต้องมากับ Mega project นี้แล้ว เพราะเป็นเรื่องที่เรียกได้ว่าไม่ว่าฝ่ายไหน ไม่สามารถทิ้งโครงการ "จำเป็น" ต่อการพัฒนาประเทศไปพวกนี้แล้ว
ต่อให้จะตระบัดสัตย์ เล่นลิ้น สร้างไม่เยอะ แต่ยังไงก็ "ต้องมี"
แล้วลงทุน มันก็ไม่ได้หนีไปไหน เพราะเป็น infrastructure อยู่ในประเทศ
ไม่ได้หมายถึงทุนคืนแบบระยะสั้น แต่มันคือการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เห็นผล ที่ไม่ต้องใช้วิธี "เงินโปรยเฮลิคอปเตอร์"
ไม่ขอมองมุมการเมืองนะครับ เพราะเราคงเถียงกันไม่จบ ไม่เคยเห็นรัฐบาลชุดไหนในไทย ที่ขาวสะอาดบริสุทธิ์
ขอพูดในผลลัพธ์จริง ที่มีผลต่อระยะยาว และเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจประเทศ แล้วส่งผลการลงทุนของเรามากกว่า ...ในแง่ไม่ว่าอีก 5-10 ปีนับต่อไปนี้ ไม่ว่าใครได้อำนาจไปก็ตาม ก็ต้องมาเล่นโครงการพวกนี้
ในเมื่อประชาชนล้วนเอาด้วย กระแสส่วนใหญ่ ที่ไม่ต้องเกี่ยวกับการเมือง แต่เกี่ยวกับการพัฒนาประเทศ ล้วนเห็นว่ามันถึงเวลาแล้ว ที่ต้องมี หรือถ้าไม้เอาใหญ่มาก อย่างน้อย ต้องเริ่มแล้ว
ผมเลยอยากออกความเห็นส่วนตัว ขอเป็น "โหน" เดากระแสนะครับ
เดาล้วนๆ นะครับ แต่เดามีเหตุผลรองรับ ไม่อยากให้เชื่อทั้งหมด แต่เอาส่วนหนึ่งไปเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจดู ว่าผม "เดา" แบบนี้ เพราะอะไร
เพราะถ้าเรา "เดาแบบมีเหตุผลประกอบ" ตอนเหตุการณ์หรือ ปัจจัยเปลี่ยน เราก็จะพร้อมเสมอ ที่จะ หาเหุตผล "วิเคราะห์ใหม่" ได้ถูกทาง
ไม่ใช่หลับหูหลับตาเดาไม่ใช่เดาแบบแค่ว่ากราฟพุ่งขึ้นมากี่ยอด ถัดมามันต้องดิ่งลงเสมอ เลยต้องชิงขายก่อน...
เดาว่าเมื่อฝุ่นควันการเมืองจางลง (และน่าจะจางลงภายในระยะเวลาไม่นาน เพราะรบย่อมมีพัก เรื่องแตกหัก มันแค่ละคร
มีการเดินเกมเจรจา lobby กันอะไรสาระพิษสารพัดหลังฉาก)
กิจการที่ได้รับผลประโยชน์ กลับมาคึกคัก ก็เดิมๆ คือรับเหมาโครงการต่างๆ
ในภาพรวม
นอกจากโครงการในประเทศแล้ว ประเทศเพื่อนบ้านก็พากันโต จะดึงดูดฝรั่งกลับมา
ตอนนี้ก็ดึงพอควรอยู่แล้ว อาจไม่มากถึงตอนฝรั่งโปรยเงิน QE ที่นั่นเป็นภาวะเงินมากผิดปกติ และเป็นแค่ financial sector
แต่เอเชีย ยังโตเรื่อยๆ เป็นการลงทุน real sector
ผมไม่เชื่อว่า AEC มันจะเกิดขึ้น แล้วพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เศรษฐกิจไม่คิดว่าจะบูมขนาดทำให้เป็นแบบสิบล้อถูกล็อตโต้ หรือยาจกตกยากกลายเป็นเศรษฐีพบบ่อน้ำมันอะไรขนาดนั้น
แต่ผมก็เชื่อว่า เศรษฐกิจเอเชียจะยึดโยง ไร้พรมแดนกันมากขึ้น เพราะกระแสมันไปทางนั้น
เมื่อต่างชาติมาลงทุนแถบนี้ จะมองเป็น "เอเชีย" เพราะการลงทุนไมได้มีแค่ตลาดหุ้นเท่านั้น
การเอาเงินมาลงแบบ FDI หรือ foreign direct investment ในรูปอุตสาหกรรม อสังหา ที่ต้องใช้เม็ดเงินมาทั้งนั้น ...
ใครจะลงด้วยเหตุผลทางธุรกิจจริง หรือ "ไม่มีที่ลง" เลยเอามาฟอกขาว ก็แล้วแต่ (อย่างที่ได้ยินมาที่บูมในพนมเปญ)... แต่มันคือโครงการที่เกิดขึ้นจริง สร้างงาน ใช้เงินจริง มีวัตถุจับต้องได้
เมื่อประเทศข้างเคียงบูม อีกประเทศก็ได้รับผลประโยชน์สะท้อนด้วย
โดยเฉพาะพม่า เมื่อสร้างเมือง ก็ย่อมต้องการเอาประเทศใกล้และสะดวก ... ผมไม่คิดว่าต่างชาติ ใครจะเอาบังคลาเทศหรืออินเดีย เป็นจุดเชื่อมต่อ
มันเหมือนตอนนี้ ที่ตะวันตก หรือแม้แต่จีนก็เถอะ ถ้าจะไปขยายธุรกิจที่ลาว ก็จะมองจากบริษัทลูกที่ไทยให้ไปหยั่งเชิงที่เวียงจันทน์ก่อน
ถ้าเป็นธุรกิจที่พนมเปญก็จะเลือกว่า ตัวแทนสาขาในกทม.หรือในโฮจิมินห์จะเหมาะกว่า ก่อนจะเอาจริง
ดังนั้นก็ต้องเอาไทยเป็นศูนย์บัญชาการหรืออย่างน้อยทางผ่าน
เพราะสะดวกและเอื้ออำนวยในการทำธุรกรรมการเงินรวมถึงการเดินทาง... แล้วเชื่อมโยงไปบริษัทที่พม่า ที่ "ย่างกุ้ง"
ถัดมา คิดว่าคงไม่ต้องอธิบายมาก เป็นกระแสต่อเนื่องจากตอนนี้
ICT คือ "สื่อสารโทรคมนาคม" ยังเป็นประเภท "ผู้เล่นน้อยราย" ต่อไป ขณะที่ trend ใช้ Data โตขึ้นเรื่อยๆ
ตรงข้ามกับหน่วยงานรัฐ คือ TOT กับ CAT จะดิ้นกันเหนื่อย จะอ่อนล้า ถูกลู่ถูกังกันต่อไปแบบ THAI, รฟท, ขสมก
ส่วน "สื่อสารมวลชน" ที่เราเห็นในรูปแบบ Digital TV นั้น
ผู้เล่นรายเก่าของวงการ "สื่อสารมวลชน" ที่เป็นของรัฐหรือกึ่งรัฐโชคดีกว่าสื่อสารโทรคมนาคม เพราะมีทางออกได้ใบอนุญาตประเภทเสือนอนกินกันไปแล้ว
(ยังเหลือ 2 ใบที่ยังไม่ให้ใคร...)
แต่ที่สบายตัวที่สุดคือ MCOT เพราะนอกจากได้งานทำต่อเหมือนช่อง11(กรมประชาสัมพันธ์)/ช่อง 5 (ทบ)/TBPS ได้ "ใบอนุญาตนอนกิน" ไปก่อน โดยไม่ต้องออกแรงประมูลแล้ว ยังประมูล HD ทำมาหากินได้อีกช่อง
โดยควบคุมต้นทุนได้เอง เพราะได้ใบอนุญาต MUX ประเภทเดียวกัน
โดยแผนงานของกสทช. จะให้รายเก่าออกอากาศคู่กันทั้ง Digital และ Analogue และคืนคลื่นได้ภายใน 5 ปี แล้วไปทำธุรกิจ MUX ส่วน content ต้องทำเป็นช่องสาธารณะ
นี่ถ้า MCOT ปรับปรุงกระบวนการทำงานใหม่ หรือได้ผู้บริหารมาใหม่อย่างผอ.แสงชัย ผอ.มิ่งขวัญ ผมจะรีบเอางบย้อนหลัง MCOT มานั่งvaluation ดูเตรียมตัวทันที เพราะได้เปรียบชาวบ้านขนาดนี้แล้ว...
ในภาพรวม
"วงการ" มันจะบูม แต่ใครจะเป็นใหญ่ จะไม่เด็ดขาด เหมือนวงการมือถือ
แต่ก็จะ "ค่อยๆ" ขยายผลประโยชน์ให้ใหญ่ขึ้น เหมือนกับที่เราเห็น "ผู้จัด" "ผู้ผลิตรายการ" เกิดขึ้นใหม่
เหมือนนิคมอุตสาหกรรมใหม่ ขนาดย่อม เปรียบได้ ก็คล้ายฮอลลีวู๊ดทีวีเมืองไทย
ดังที่เราเห็น "ผู้จัด" หน้าเก่า หน้าใหม่ ผลิตงานเข้าช่อง 3 ช่อง 7 กันเกิดเสี่ย เฮีย เงินล้าน ร้อยล้าน พันล้าน รายใหม่ผูดกันขึ้นมาอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
เหมือนที่เราเห็นมันเริ่มต้นที่วงการดาวเทียมแล้ว (แต่มันยังเลอะไปด้วยโฆษณาขายตรงอยู่)
การมีช่องทางสื่อสารไปมวลชนมากขึ้น มีคุณภาพดีขึ้น ผมมองว่า "ธุรกิจผลิต content" (content provider) จะเติบโต
แต่จะมีบริษัทที่อยู่ในตลาดเท่าไหร่ ได้รับผลบุญไป ไม่แน่ใจ
และก็อาจมีบริษัทใหม่ เข้าตลาดอีก ที่ไม่จำเป็นต้องเป็น คนได้ใบอนุญาตที่ประมูลไปไม่กี่วันมานี้ แต่สามารถที่จะมีศักยภาพ สร้าง "ผลิตผล" ป้อนอุตสาหกรรมนี้ได้
ส่วนบริษัทที่ได้ใบอนุญาต ในฐานะ service provider ไม่ได้คิดว่า "เล่นง่ายๆ" เหมือนเจ้าของมือถือ
นอกจาก "ศึกชิงตา" อย่างดร.นิเวศน์ว่าแล้ว ที่ทำให้รูปแบบ "prime channels" ทรงอิทธิพลอย่างเก่า คือ rating "กึ่งผูกขาด" 7->3->9/5/11 ลดความสำคัญลงไป
เพราะเริ่มต้นจุดสตาร์ทที่เท่าเทียวกัน ด้วยผู้เล่นมากรายขึ้น
ยังเพราะต้นทุนคงที่ เมื่อหักตัวเลขแล้ว มันยังดูไม่น่าดึงดูด (ลองดูสรุป "ประมาณการ" ที่กระทู้พี่ฉัตร http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=56988)
โดยเฉพาะช่องทางกระจายภาคพื้นดินที่เรียกว่า "MUX" ที่ข้อเท็จจริงคือยังไม่ได้ตัวเลขแม้จริงเลย ยังเป็นแค่แผนงานเสนอกสทช.
ธุรกิจอะไรกันเนี่ย จะยืมเงินจากธนาคารอยู่แล้ว ได้แค่ประมาณ.. แต่ป่านนี้ ยังไม่ได้ตัวเลขที่แท้จริงเลย... ทำเองก็ไม่ได้ด้วย เพราะไม่ได้ใบอนุญาต ... กสทช. เอาไป "แลกเปลี่ยน" กับการคืนคลื่นเร็วขึ้น 5 ปี ให้เหล่าเสือนอนกินไปแล้ว
ดังนั้นคอยจับตาดู...
แล้วถ้าใครบริหารไม่ดี หรือสู้แรงรายใหญ่สายป่านยาวไม่ได้ หรือ ถ้าระหว่างสัมปทานมีเหตุการณ์สะดุด แบบวงการโทรคมนาคม
คงต้องมีบางรายเหี่ยวเฉา หรืออาจต้องคืน/เปลี่ยนเจ้าของใบอนุญาตกันบ้าง
แบบที่เคยเกิดมาแล้วกับ The M Group/IEC/WCS/Samart/DCS
หรือเป็นเสือลำบาก เดินกระเผลกๆ อย่าง TT&T/TA Orange -> True
-
- Verified User
- โพสต์: 1426
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองตลาดในปี 57 กันอย่างไร
โพสต์ที่ 11
ตลาดหุ้นเป็นขาขึ้นแบบผิดปกติต่อเนื่องมาหลายปี เพราะได้รับ
สาระพัดยากระตุ้นทั้งใน-นอก
ซึ่งขณะนี้ไม่มีแล้ว
เศรษฐกิจไทย ก็ได้ยากระตุ้นเหมือนกัน (ยาผิดยาถูกไม่ใช่ประเด็น) ซึ่ง
ขณะนี้ไม่มีแล้วเช่นกัน
ดังนั้น...ต่อจากนี้ตลาดหุ้นและเศรษฐกิจจะเหลือเพียงพื้นฐานแท้จริง
จะโตหรือไม่โต โตมาก โตน้อย หรือฟุบ ไม่มีตัวช่วยอีกต่อไป
นักธุรกิจต้องพึ่งตัวเอง นักลงทุนก็เช่นกัน
การเมืองวุ่นวาย เศรษฐกิจซบชั่วคราว มีผลต่อบรรยากาศตลาดหุ้นและตัวผลประกอบการอยู่บ้าง
แต่ ปัจจัยภายในตัวหุ้น(กิจการ)น่าจะยังมีน้ำหนักมากกว่า
โดยส่วนตัวเมื่อมองให้กว้างอีกหน่อย ยังมั่นใจว่า เอเซีย(จีน-อินเดีย)ยังเติบโต aec ยังอยู่ clmv กำลังขาขึ้น
ถึงไทยแลนด์ไม่อยากเดินก็จะถูกลากให้เดิน ถึงไม่อยากโต ก็จะถูกบังคับให้โต
อยู่ในกระแสทุนนิยม ใครหน้าไหนก็ต้านไม่ได้หรอก (ทุนนิยมจงเจริญ)
กิจการที่อยู่ในกระแสนี้น่าจะยังสามารถเติบโตได้อยู่ (ยกเว้นบริษัทมีปัญหาคุณภาพผู้บริหาร)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ในยามที่ตลาดหุ้นไปในทิศทางเดียวต่อเนื่องกันนานเกินไป การรักษามุมมองแบบนักลงทุนเอาไว้
จะเริ่มกลายเป็นเรื่องยาก ความสนใจของเราจะเคลื่อนย้ายจากการลงทุนไปเป็นการเก็งกำไร
แทนที่เราจะตั้งคำถามว่าหุ้นมันถูกหรือเปล่าเมื่อเทียบราคากับมูลค่า เราจะหันไปตั้งคำถามว่า
ตลาดหุ้นมันใกล้จุดต่ำสุดหรือจุดสูงสุดแล้วหรือยัง – Benjamin Graham
สาระพัดยากระตุ้นทั้งใน-นอก
ซึ่งขณะนี้ไม่มีแล้ว
เศรษฐกิจไทย ก็ได้ยากระตุ้นเหมือนกัน (ยาผิดยาถูกไม่ใช่ประเด็น) ซึ่ง
ขณะนี้ไม่มีแล้วเช่นกัน
ดังนั้น...ต่อจากนี้ตลาดหุ้นและเศรษฐกิจจะเหลือเพียงพื้นฐานแท้จริง
จะโตหรือไม่โต โตมาก โตน้อย หรือฟุบ ไม่มีตัวช่วยอีกต่อไป
นักธุรกิจต้องพึ่งตัวเอง นักลงทุนก็เช่นกัน
การเมืองวุ่นวาย เศรษฐกิจซบชั่วคราว มีผลต่อบรรยากาศตลาดหุ้นและตัวผลประกอบการอยู่บ้าง
แต่ ปัจจัยภายในตัวหุ้น(กิจการ)น่าจะยังมีน้ำหนักมากกว่า
โดยส่วนตัวเมื่อมองให้กว้างอีกหน่อย ยังมั่นใจว่า เอเซีย(จีน-อินเดีย)ยังเติบโต aec ยังอยู่ clmv กำลังขาขึ้น
ถึงไทยแลนด์ไม่อยากเดินก็จะถูกลากให้เดิน ถึงไม่อยากโต ก็จะถูกบังคับให้โต
อยู่ในกระแสทุนนิยม ใครหน้าไหนก็ต้านไม่ได้หรอก (ทุนนิยมจงเจริญ)
กิจการที่อยู่ในกระแสนี้น่าจะยังสามารถเติบโตได้อยู่ (ยกเว้นบริษัทมีปัญหาคุณภาพผู้บริหาร)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ในยามที่ตลาดหุ้นไปในทิศทางเดียวต่อเนื่องกันนานเกินไป การรักษามุมมองแบบนักลงทุนเอาไว้
จะเริ่มกลายเป็นเรื่องยาก ความสนใจของเราจะเคลื่อนย้ายจากการลงทุนไปเป็นการเก็งกำไร
แทนที่เราจะตั้งคำถามว่าหุ้นมันถูกหรือเปล่าเมื่อเทียบราคากับมูลค่า เราจะหันไปตั้งคำถามว่า
ตลาดหุ้นมันใกล้จุดต่ำสุดหรือจุดสูงสุดแล้วหรือยัง – Benjamin Graham
-
- Verified User
- โพสต์: 2547
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองตลาดในปี 57 กันอย่างไร
โพสต์ที่ 13
มันมีเก็งกำไรอีกด้านเข้ามา ผ่าน short ตราสารอนุพันธ์แทนครับ2) ตลาดสลัดนักเก็งกำไรอาชีพออกไปส่วนหนึ่ง ทำให้กลไกที่ทำให้เกิดราคาหุ้นที่แพงเกินจริงหายไป แต่สิ่งที่เข้ามาแทนคือกลไกที่ทำให้หุ้นราคาถูกกว่าความเป็นจริงเกิดขึ้นมากกว่า จากความกลัวของตลาด จากนักลงทุนทุก ๆ กลุ่ม ตรงนี้คนที่ใจเข้มแข็งก็คือโอกาสในการซื้อ ๆๆๆๆๆๆ
ส่วน Port ใหญ่ที่ลงหุ้นใหญ่ด้วย เขาป้องกันตนเองได้ครับเพื่อลดความเสี่ยงลง ยอมเสีย fee นิดหน่อยทำการ hedge port อีกด้านโดยอาจไม่ต้องขายหุ้นใน port ก็ได้
หรือบางคนเขาขอให้เห็นแนวโน้มชัด ๆ ด้านใดด้านหนึ่งก็มีการเก็งกำไรเกิดขึ้นได้ทั้ง 2 ขาครับถ้าเป็นมืออาชีพจริง ๆ
ผมว่าเพราะเก็งกำไร 2 ขาแบบนี้ จะทำให้เป็นตัวเร่งปรับสมดุลย์ที่รุนแรงผันผวนมากขึ้นเร็วขึ้นภายใต้ความไม่แน่นอนของเหตุการณ์
และนำไปสู่สมดุลย์ใหม่เร็วขึ้นด้วยครับ อาจผันผวนผิดด้านได้ง่าย เพราะแรงขายก็จะมีแรงซื้ออีกด้านยันกันไปมาอดเวลา
เลห์แมนมืออาชีพยังเก็งราคาน้ำมันผิดด้านได้ และเจ๊งได้ ไม่มีอะไรแน่นอน แม้แต่โซลอสก็มีพลาดเก็งกำไรผิดด้านเหมือนกัน
ส่วนพวกเราเป็น vi ไม่ถนัดเทคนิค อย่าไปเล่นเกมราคาหรือคาดเดาตลาด อาจผิดทิศผิดทางได้ครับ เพราะความถนัดต่างกัน การรอคอยต่างกันครับ เราเป็นเต่าก็ต้องวิเคราะห์แบบเต่า จะไปวิคราะห์แบบกระต่ายคงสู้ไม่ไหวครับ
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
- kissme
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1311
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองตลาดในปี 57 กันอย่างไร
โพสต์ที่ 14
ปีนี้ผมว่าจะมี super surprise แรงมาก ๆ ปีนึง
หันไปทางไหนตอนนี้ นักลงทุนไม่ว่าจะ vi หรือ vivi
ทุกคนมองตลาดปีนี้เลวร้ายสุดๆ การเมืองไร้ทางออก เปลี่ยนระบอบการปกครอง สงครามกลางเมือง
ทุกครั้งที่นักลงทุนส่วนใหญ่กลัว กังวล ไม่กล้าซื้อ มักจะเป็นจุดทุ่มซื้อของนักลงทุนรายใหญ่เสมอ
ซึ่งอาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นฝรั่ง เป็นใครก็ได้ แต่มีอิทธิพล มีเม็ดเงิน ผลักดันดัชนีได้มหาศาล
ราคาหุ้นตอนนี้ ก็ยั่วใจมากๆ และผลประกอบการจริงๆ หลายๆ บริษัทก็ยังดีมาก ๆ
และ อีกไม่กี่เดือน เมษาก็จ่ายปันผลกันอีกแล้ว ตอนนี้ปันผล 5% หลายบริษัท บริษัทดีๆ ทั้งนั้น
ตีมใหญ่ยังเหมือนเดิม AEC ไม่ว่าการเมืองจะเน่าแค่ไหน หลายๆบริษัทจดทะเบียนไทย จะเติบโตมหาศาล
ที่ชัดสุดก็ cpall เรานี่หล่ะ ลูกค้าจะเพิ่มอีก 10 เท่า
ผมคงมองแบบบ้าระห่ำ แต่มั่นใจที่สุดว่าปีนี้จะได้เห็น all time high หุ้นไทย 1,800 จุดขึ้นไป !!!
อย่าเชื่อนะครับ ผมมันพวกมองโลกแง่บวกเสมอ ดอยประจำ อ่านกันขำๆครัชชช ... แหม่
หันไปทางไหนตอนนี้ นักลงทุนไม่ว่าจะ vi หรือ vivi
ทุกคนมองตลาดปีนี้เลวร้ายสุดๆ การเมืองไร้ทางออก เปลี่ยนระบอบการปกครอง สงครามกลางเมือง
ทุกครั้งที่นักลงทุนส่วนใหญ่กลัว กังวล ไม่กล้าซื้อ มักจะเป็นจุดทุ่มซื้อของนักลงทุนรายใหญ่เสมอ
ซึ่งอาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นฝรั่ง เป็นใครก็ได้ แต่มีอิทธิพล มีเม็ดเงิน ผลักดันดัชนีได้มหาศาล
ราคาหุ้นตอนนี้ ก็ยั่วใจมากๆ และผลประกอบการจริงๆ หลายๆ บริษัทก็ยังดีมาก ๆ
และ อีกไม่กี่เดือน เมษาก็จ่ายปันผลกันอีกแล้ว ตอนนี้ปันผล 5% หลายบริษัท บริษัทดีๆ ทั้งนั้น
ตีมใหญ่ยังเหมือนเดิม AEC ไม่ว่าการเมืองจะเน่าแค่ไหน หลายๆบริษัทจดทะเบียนไทย จะเติบโตมหาศาล
ที่ชัดสุดก็ cpall เรานี่หล่ะ ลูกค้าจะเพิ่มอีก 10 เท่า
ผมคงมองแบบบ้าระห่ำ แต่มั่นใจที่สุดว่าปีนี้จะได้เห็น all time high หุ้นไทย 1,800 จุดขึ้นไป !!!
อย่าเชื่อนะครับ ผมมันพวกมองโลกแง่บวกเสมอ ดอยประจำ อ่านกันขำๆครัชชช ... แหม่
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองตลาดในปี 57 กันอย่างไร
โพสต์ที่ 15
ขอให้คำทำนายของพี่ kissme เป็นจริงkissme เขียน:ปีนี้ผมว่าจะมี super surprise แรงมาก ๆ ปีนึง
หันไปทางไหนตอนนี้ นักลงทุนไม่ว่าจะ vi หรือ vivi
ทุกคนมองตลาดปีนี้เลวร้ายสุดๆ การเมืองไร้ทางออก เปลี่ยนระบอบการปกครอง สงครามกลางเมือง
ทุกครั้งที่นักลงทุนส่วนใหญ่กลัว กังวล ไม่กล้าซื้อ มักจะเป็นจุดทุ่มซื้อของนักลงทุนรายใหญ่เสมอ
ซึ่งอาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นฝรั่ง เป็นใครก็ได้ แต่มีอิทธิพล มีเม็ดเงิน ผลักดันดัชนีได้มหาศาล
ราคาหุ้นตอนนี้ ก็ยั่วใจมากๆ และผลประกอบการจริงๆ หลายๆ บริษัทก็ยังดีมาก ๆ
และ อีกไม่กี่เดือน เมษาก็จ่ายปันผลกันอีกแล้ว ตอนนี้ปันผล 5% หลายบริษัท บริษัทดีๆ ทั้งนั้น
ตีมใหญ่ยังเหมือนเดิม AEC ไม่ว่าการเมืองจะเน่าแค่ไหน หลายๆบริษัทจดทะเบียนไทย จะเติบโตมหาศาล
ที่ชัดสุดก็ cpall เรานี่หล่ะ ลูกค้าจะเพิ่มอีก 10 เท่า
ผมคงมองแบบบ้าระห่ำ แต่มั่นใจที่สุดว่าปีนี้จะได้เห็น all time high หุ้นไทย 1,800 จุดขึ้นไป !!!
อย่าเชื่อนะครับ ผมมันพวกมองโลกแง่บวกเสมอ ดอยประจำ อ่านกันขำๆครัชชช ... แหม่
ขอให้อีกอย่าง ให้ น่อล เราได้ แชมป์ อะไรซักอย่างติดมือมาบ้างนะครัช !!
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4641
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองตลาดในปี 57 กันอย่างไร
โพสต์ที่ 16
เหม่ ไอ้ผมก็โลกสวยซะด้วย ได้ยินท่าน kiss me. พูด แบบนี้หัวใจมันพองโตจิง ๆนะครัชkissme เขียน:ปีนี้ผมว่าจะมี super surprise แรงมาก ๆ ปีนึง
หันไปทางไหนตอนนี้ นักลงทุนไม่ว่าจะ vi หรือ vivi
ทุกคนมองตลาดปีนี้เลวร้ายสุดๆ การเมืองไร้ทางออก เปลี่ยนระบอบการปกครอง สงครามกลางเมือง
ทุกครั้งที่นักลงทุนส่วนใหญ่กลัว กังวล ไม่กล้าซื้อ มักจะเป็นจุดทุ่มซื้อของนักลงทุนรายใหญ่เสมอ
ซึ่งอาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นฝรั่ง เป็นใครก็ได้ แต่มีอิทธิพล มีเม็ดเงิน ผลักดันดัชนีได้มหาศาล
ราคาหุ้นตอนนี้ ก็ยั่วใจมากๆ และผลประกอบการจริงๆ หลายๆ บริษัทก็ยังดีมาก ๆ
และ อีกไม่กี่เดือน เมษาก็จ่ายปันผลกันอีกแล้ว ตอนนี้ปันผล 5% หลายบริษัท บริษัทดีๆ ทั้งนั้น
ตีมใหญ่ยังเหมือนเดิม AEC ไม่ว่าการเมืองจะเน่าแค่ไหน หลายๆบริษัทจดทะเบียนไทย จะเติบโตมหาศาล
ที่ชัดสุดก็ cpall เรานี่หล่ะ ลูกค้าจะเพิ่มอีก 10 เท่า
ผมคงมองแบบบ้าระห่ำ แต่มั่นใจที่สุดว่าปีนี้จะได้เห็น all time high หุ้นไทย 1,800 จุดขึ้นไป !!!
อย่าเชื่อนะครับ ผมมันพวกมองโลกแง่บวกเสมอ ดอยประจำ อ่านกันขำๆครัชชช ... แหม่
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 1679
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองตลาดในปี 57 กันอย่างไร
โพสต์ที่ 18
ใครมีหุ้นเยอะก็มุมนึง เงินสดเยอะก็มุมนึง
อิอิอิ ชัดเจนเปลี่ยน
อิอิอิ ชัดเจนเปลี่ยน
value trap
-
- Verified User
- โพสต์: 1803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองตลาดในปี 57 กันอย่างไร
โพสต์ที่ 19
เมื่อเช้าฟังข่าวเหมือนหลาย ๆ โบรกส่งสัญญาณให้ดูปัจจัยเรื่องการเมืองและชะลอการลงทุน
หรือนี่คือสัญญาณ >>>>>>>>>>>>>>>>>>>> ซื้อ
ผมอาจจะคิดไปเองก็ได้นะครับ อันนี้ไม่ต้องถามเหตุผลเพราะมันไม่มีเหตุผลครับ
หรือนี่คือสัญญาณ >>>>>>>>>>>>>>>>>>>> ซื้อ
ผมอาจจะคิดไปเองก็ได้นะครับ อันนี้ไม่ต้องถามเหตุผลเพราะมันไม่มีเหตุผลครับ
"Become a risk taker, not a risk maker"
- kissme
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1311
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองตลาดในปี 57 กันอย่างไร
โพสต์ที่ 20
นั่นหล่ะครับ ชัดมาก โบรคออกมาบอก 1,100 จุด ในสินธร ทุกคนมองลงต่อหมด
บางคนเผ่นไปแล้ว คัทไปเรียบร้อย กระทู้เซียนมาฟันธง เตือนหวังดี แนะให้เม่าขายเพียบ
ขายไปก่อนแล้วรอช้อนของถูกข้างล่างบ้าง อารมณ์แบบนี้ ผมเห็นตอนใกล้จุดต่ำสุดทุกที
แกล้งตายก่อนนะครัชช เปิดจอแล้วลมจะใส่ แดงเทือกมาก มวลมหาประชาเม่า
บางคนเผ่นไปแล้ว คัทไปเรียบร้อย กระทู้เซียนมาฟันธง เตือนหวังดี แนะให้เม่าขายเพียบ
ขายไปก่อนแล้วรอช้อนของถูกข้างล่างบ้าง อารมณ์แบบนี้ ผมเห็นตอนใกล้จุดต่ำสุดทุกที
แกล้งตายก่อนนะครัชช เปิดจอแล้วลมจะใส่ แดงเทือกมาก มวลมหาประชาเม่า
-
- Verified User
- โพสต์: 2236
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองตลาดในปี 57 กันอย่างไร
โพสต์ที่ 21
อารมณ์คล้ายตอนช่วงปี2011ที่ไหลลงมา8xx ตอนนั้นหลายคนหลายสำนักบอกเจอกัน6-700 ปรากฏว่าลงต่ออีกหน่อยแล้วก็ไม่ได้เห็นหลัก800อีกเลย
ไม่ได้บอกว่าจะเป็นแบบเดียวกันเพราะเหตุและปัจจัยต่างกัน แต่เป็นตัวอย่างว่าการเดาตลาดนั้นยากมากๆ
ไม่ได้บอกว่าจะเป็นแบบเดียวกันเพราะเหตุและปัจจัยต่างกัน แต่เป็นตัวอย่างว่าการเดาตลาดนั้นยากมากๆ
นักเลงคีย์บอร์ด4.0
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองตลาดในปี 57 กันอย่างไร
โพสต์ที่ 23
เห็นด้วยครับ ...leky เขียน:เมื่อเช้าฟังข่าวเหมือนหลาย ๆ โบรกส่งสัญญาณให้ดูปัจจัยเรื่องการเมืองและชะลอการลงทุน
หรือนี่คือสัญญาณ >>>>>>>>>>>>>>>>>>>> ซื้อ
ผมอาจจะคิดไปเองก็ได้นะครับ อันนี้ไม่ต้องถามเหตุผลเพราะมันไม่มีเหตุผลครับ
... ดูสัญญาณ โดยการคอยติดตาม monitor อ่านค่า RSI (Relative SUTHEP Index)
พอจะเริ่มมีเหตุผลได้ใช่ไหมครับคุณหมอ
รอบนี้ ขอร่วมวงด้วยคน มีงบอยู่นิดพอดีตอนแรกจะไปใช้อย่างอื่น แต่เอามาใช้เรื่องนี้ก่อน... แค่รออีกนิด ให้สถานการณ์สุกงอมกว่านี้อีกหน่อยซักอาทิตย์
แล้วก็นั่งสบายอารมณ์ ซักพัก...มันอาจดูเหมือนจะมีแบริชไดเวอร์เจ๊ง ไปช่วงหนึ่ง เป็นธรรมดาดังที่เคยเห็นเคยเป็นมา ถือว่าเป็นโอกาส เพิ่มความแข็งแกร่ง เพิ่มภูมิคุ้มกัน ฝึกวิทยายุทธไร้ใจ (แต่ไม่ไร้สติ) ไปในตัวอีกหน
ยังไงระยะยาว บูลชิต เอ๊ย บูลลิช ต้องกลับมา ... วันพระไม่ได้มีหนเดียว ไหนจะยังมี วันวาเลนไทน์ วันขอบคุณพระเจ้า etc. วนกลับมาอีก