เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 391

โพสต์

อนัตตา พุทธกาล สมมติบัญญัติ ปรมัตถอารมณ์ ปรมัตถสภาวะ

ก็
สมถ..มีมาก่อน พุทธกาล หรือ?
อนิจจังทุกขัง..มีมาก่อน พุทธกาล หรือ?
อนัตตาปรากฏ..ในสมัยพุทธกาล หรือ?

บทความ นี้ ช่วยแตกความรู้
การเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่วามีอยู่แต่ในสมัยพุทธกาล นอกสมัยพุทธกาล ไม่อาจเกิดมีขึ้นได้นั้น

ถาจะกล่าวอย่างรวบรัดก็อาจกล่าวได้ว่า เพราะการ เจริญวิปัสสนากรรมฐานั้น ต้องมีรูปนามขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์
และรูปนามขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นปรมัตถสภาวะนั้น
ย่อมมีพระไตรลักษณ์ปรากฏอยู่ เมื่อใช้สติกำหนด รูปนามอยู่อย่างไม่ขาดสายแล้ว พระไตรลักษณ์ ก็ย่อมจะปรากฏ แต่อย่างไร ก็ดี พระไตรลักษณ์ที่จะเป็นอารมณืของวิปัสสนากรรมฐานได้นั้น
จะต้อง เกิดจากสัพพัญญุตฌาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเฉพาะ นอกจาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ไม่มีใครจะสามารถนำมาสั่งสอนได้ เว้นแต่จะได้ ฟังคำสั่งสอนมาจากพระพุทธองค์ก่อน ดังปรากฏหลักฐานในสัมโมหวิโนทนี อรรถกถาว่า

อนฺตลกฺขณํ ปญฺญาปนสฺส อญฺญสฺส กสฺสจิ อวิสโย สพฺพญฺญุพุทฺธานเมว วิสโย เอวเมตํ อนตฺตลกฺขณํ อปากฏฺํ ตสฺมา สตฺถา อนฺตตลกฺขณํ ทสฺเสนฺโต อนิจฺเจน วา ทสฺเสติ ทุกฺเขน วา อนิจฺจทุกเขหิ วา

ซึ่งแปลเป็นใจความว่า อนัตตลักขณะเป็นวิสัยของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า พระองค์เดียว ผู้อื่นไม่สามารถสอนได้ เพราะว่าอนัตตลักขณะนั้นสุขุม คัมภีรภาพยิ่งนัก ไม่อาจจะเห็นได้ชัดโดยง่าย ในการเทศนาของพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงเทศนาอนิจจังทุกขังก่อน แล้วจังเทศนาอนัตตา ต่อภายหลัง

ดังมีเรื่องกล่าวว่า สมัยนอกพุทธกาล มีพระดาบสองค์หนึ่ง นามว่า สรภังคดาบส ก็คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยที่เสวยพระชาติ เป็นพระบรมโพธิสัตว์กำลังสร้างพระบารมีอยู่นั้นเอง ได้ทรงสอนให้สัตว์ ทั้งหลายรู้จักอนิจจังและทุกขัง ส่วนอนัตตานั้นไม่สามารถจะสอนได้ และแท้จริงอนิจจังทุกขังที่ท่านสรภังคดาบสสอนนั้นก็ไม่ใช่อนิจจังทุกขัง แท้ เป็นเพียงอนิจจังทุกขังเทียม เพราะอนิจจังทุกขังที่ท่านสรภังคดาบส สอนนั้น ถือสมมติบัญญัติเป็นอารมณ์ หาใช่ปรมัตถอารมณ์ไม่ เช่น ถ้วยโถโอชามแตกก็สอนว่าเป็นอนิจจัง หรือแม้ที่สุดเมื่อมีสัตว์หรือ บุคคลใดถึงแก่ความตาย ก็สอนว่าลักษณะเช่นนั้นแหละเป็นอนิจจัง ส่วนทุกขังนั้นก็เมื่อบุคคลใดได้รับความลำบาก มีการเจ็บป่วยหรือ ถูกภัยใดๆ เบียดเบียน ก็กล่าวว่านี้แหละเป็นทุกขัง ส่วนอนัตตานั้น ท่านไม่อาจสอนได้

นี้จะเห็นได้ว่า แม้แต่พระบรมโพธิสัตว์ ก่อนแต่การตรัสรู้ซึ่งสัพพัญญุตญาณนั้น ก็ไม่อาจจะสอนพระไตรลักษณ์ให้สมบูรณ์ได้ ถึงแม้การสอนเพียงอนิจจังทุกขัง ก็ถือสมมติบัญญัติเป็นอารมณ์หาใช่ปรมัตถอารมณ์ไม่ อนิจจังทุกขังดังกล่าว นั้นจึงยังหาใช่อารมณ์วิปัสสนากรรมฐานไม่ และการพิจารณาโดยถือสมมติ บัญญัติเป็นอารมณ์เช่นนั้น
ไม่อาจเป็นเหตุให้อนัตตาปรากฏเกิดขึ้นได้เลย
จึงไม่สามารถอน

สักกายทิฏฐิ

อันอุปมาเหมือนศรเสียบอยู่ที่อุระประเทศ ออกได้เลย อนัตตาลักขณะจะปรากฏเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการพิจารณา อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะอันเกิดจากปรมัตถอารมณ์ และได้เห็น ลักษณะทั้งสองนั้นอย่างแจ่มชัดแล้ว เมื่อนั้นแหละอนัตตลักษณะ จึงจะปรากฏเกิดขึ้นได้

(จาก 'วิปัสสนาธุระ'
โดย ดร. ภัททันตะ อาสภมหาเถระ อัคคมหกัมมัฏฐานจริยะ
พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์
สำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม
หน้า ๑๐๗ ถึง ๑๑๓)

source:
http://www.reocities.com/easydharma/dm005024.html

******
recheck related source from แหล่งปฐมภูมิ
.......................................
http://home.palapanyo.com/files/tpd/fco ... 770159.txt

p 74
009
อนัตตลักษณะไม่ปรากฏ มืดมน ไม่แจ่มแจ้ง แทงตลอดได้โดย
006 ยาก แสดงได้โดยยาก ทำให้เข้าใจได้โดยยาก. แต่อนิจจลักษณะและ
007 ทุกขลักษณะ พระตถาคตทั้งหลายจะทรงอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่ทรงอุบัติขึ้นก็ตาม
008 ย่อมปรากฏ. อนัตตลักษณะ เว้นจากการบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าแล้วย่อม
009 ไม่ปรากฏ ย่อมปรากฏในพุทธุปเท่านั้น.

010 จริงอยู่ ดาบสและปริพาชกทั้งหลายผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
011 แม้มีสรภังคศาสดาเป็นต้น ย่อมสามารถกล่าวว่า อนิจจัง ทุกขัง ได้ แต่ไม่
012 สามารถจะกล่าวว่า อนัตตา
ได้ แม้ถ้าพวกดาบสเป็นต้นเหล่านั้นพึงสามารถ
013 กล่าวคำว่า อนัตตา ในบริษัทที่ประชุมกันแล้ว บริษัทที่ประชุมกันก็จะพึง
014 แทงตลอดมรรคและผล เพราะการประกาศให้รู้อนัตตลักษณะไม่ใช่วิสัยของ
015 ใคร ๆ อื่น เป็นวิสัยของพระสัพพัญญูพุทธเจ้านั้น
อนัตตลักษณะนี้จึง
016 ไม่ปรากฏแล้วด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น พระศาสดาเมื่อจะแสดงอนัตต-
017 ลักษณะจึงทรงแสดง โดยความไม่เที่ยงบ้าง โดยความเป็นทุกข์บ้าง
018 โดยทั้งความไม่เที่ยงทั้งความเป็นทุกข์บ้าง แต่ในอายตนวิภังค์นี้ พึงทราบ


...
..
:?: :?: :?:
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 392

โพสต์

พระบรมศาสดา ครั้นทรงถือเอายอดแห่งเทศนาด้วยอรหัตผลอย่างนี้แล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในชาตินี้เท่านั้น แม้ในชาติก่อน ฝนดอกไม้ก็ตกลงในสุสานที่เผาพระโมคคัลลานะ ดังนี้ แล้วทรงประกาศอริยสัจ
เมื่อจะทรงประชุมชาดก จึงตรัสพระคาถาความว่า
สาลิสสระดาบสในครั้งนั้น ได้มาเป็น พระสารีบุตร
เมณฑิสสรดาบสได้มาเป็น พระกัสสป
ปัพพตดาบสได้มาเป็น พระอนุรุทธะ
เทวลดาบสได้มาเป็น พระกัจจายนะ
อนุสิสสดาบสได้มาเป็น พระอานนท์
กีสวัจฉดาบสได้มาเป็น พระโกลิตะ คือพระโมคคัลลานะ
นารทดาบสได้มาเป็น พระปุณณมันตานีบุตร
บริษัทที่เหลือได้มาเป็น พุทธบริษัท
สรภังคดาบสโพธิสัตว์ได้มาเป็น เราตถาคต
เธอทั้งหลายจงทรงจำชาดกไว้อย่างนี้.
จบอรรถกถาสรภังคชาดกที่ ๒
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... =27&i=2446
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 393

โพสต์

รูป-นาม ต่อ

...
อย่างไร คือ รูป?
อย่างไร คือ นาม?
ให้นิยามหน่อย?
....
http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... sem_20.htm
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7064

***
รูป:
..
รูปจะมีลักษณะเสื่อมสิ้นสลายไป สิ่งใดที่มีลักษณะเสื่อมสิ้นสลายไปไม่สามารถรับรู้อารมณ์ได้ สิ่งนั้นคือรูป
..
รูป คือ ธรรมชาติที่มีลักษณะเสื่อมสิ้นสลายไป เสื่อมสิ้นสลายไป คือมันเกิดขึ้นแล้วมันก็แตกสลายไป ก็คือเป็นการปฏิเสธของการรับรู้อารมณ์ คือรูปมันไม่สามารถจะรับรู้ได้
..
***
นาม:
..
สิ่งใดที่รู้อารมณ์ได้ สิ่งนั้นก็เป็นนามธรรม สิ่งใดที่เข้าไปรับรู้อารมณ์ได้จัดเป็นนามธรรม ยกเว้นนิพพานที่เป็นนาม รู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นได้แต่อารมณ์เท่านั้น เป็นผู้รู้อารมณ์ไม่ได้ นอกนั้นสิ่งใดที่เกิดขึ้นมารับรู้อารมณ์ได้นั้นเป็นนาม ก็คือจิตกับเจตสิกเป็นนาม
..
ไม่เหมือนจิตเจตสิก จิตเจตสิกนี้นี่มันรู้อารมณ์ได้ มันไปจับไปรับรู้อารมณ์ได้..
แต่ไม่ใช่ว่าจิตเจตสิก จะไม่สลายตัว มันก็เกิดขึ้น ดับไปเหมือนกัน แต่ว่ามันรับรู้ อารมณ์ได้
..



///
นิพพานก็เป็นธรรมชาติที่ไม่ใช่รูป ไม่ใช่จิต ไม่ใช่เจตสิก แต่ว่านิพพานก็มีอยู่ โดยความเป็นธรรมารมณ์ คือเป็นอารมณ์ที่มาปรากฎทางใจ ในร่างกายในชีวิตของเราก็มีจิต เจตสิก รูป ขาดนิพพานไป นอกจากเราปฏิบัติวิปัสสนา ให้ถึงจุดหนึ่งก็จะถึง จะไปรับสัมผัสนิพพานได้ ในปรมัตถธรรม 3 ประการ คือ จิต เจตสิก รูป (นิพพานก็ยกไว้ก่อน) ในจิต เจตสิก รูป นี้ เมื่อย่อลงแล้วก็คือรูปและนาม หรือถ้าย่อกว้างนิดก็คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เราได้ฟังศึกษาอบรมมา ขันธ์ 5 ถ้าย่อลงมานั้น ก็คือรูปกับนาม รูปให้คำจำกัดความไว้ว่า คือธรรมชาติที่เสื่อมสลาย ไม่สามารถจะรับรู้อารมณ์ได้ ส่วนนามให้คำจำกัดความไว้ว่า สามารถรับรู้อารมณ์ได้
///

.................
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 394

โพสต์

รูปธรรมนามธรรม แบบชาวโลก
ไม่ใช่ รูปนาม หรือ?
http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... sem_20.htm
คำว่ารูปคำว่านาม ภาษาชาวโลกก็ได้เอาไปใช้พูดกันอยู่เหมือนกัน ทำโครงการอะไรก็มักจะว่าเป็นนามธรรม ทำโครงการให้มันเป็นรูปธรรมขึ้น ที่เขามีโครงการนโยบายอะไรต่าง ๆ เขาก็บอกว่าทำให้มันเป็นรูปธรรม ถ้าเพียงแค่คิดวางแผนกันอยู่ อย่างนั้นเขาก็ว่าเป็นนามธรรม ฉะนั้น คำพูดที่ชาวโลกนำไปใช้มันไม่ตรงกับภาษาสภาวะที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติคำว่านามธรรมรูปธรรมนั้น ชาวโลกก็เอาไปใช้ไม่ตรงกัน อย่างที่เขามีเป็นโครงการเอาไว้ สร้างโครงการสร้างนโยบายวางแผนไว้ เขาบอกเป็นนามธรรม แต่โดยสภาวะจริง ๆ แล้วนั่นก็ยังไม่ใช่เป็นนามธรรม นั่นก็ยังเป็นสมมุติเป็นบัญญัติไม่ใช่นามธรรม หรือเมื่อเขามีเป็นวัตถุขึ้นมาโครงการมีวัตถุอะไรขึ้นมา อันนี้จริงเป็นรูปธรรม แต่การไปรับรู้มันก็ไปรู้แบบสมมุติ ไปรู้เป็นรูปร่างสัณฐาน เป็นความหมาย ก็เรียกว่าเป็นบัญญัติ

หรือว่าคำว่านามในภาษาไทยเรา ใครที่เรียนภาษาไทยจะพบว่า คำว่านามหมายถึงอะไร นามก็ดี สรรพนามก็ดี นามนี่หมายถึงชื่อใช่ไหม ชื่อคนสัตว์สิ่งของ ถ้าเป็นสรรพนามก็เรียกว่าใช้แทนชื่อคนสัตว์สิ่งของ เช่น ชื่อโต๊ะ เก้าอี้ แมว สุนัข อะไรอย่างนี้ เขาบอกว่านี่คือนาม ถ้าสรรพนามก็ใช้แทน เช่นคำว่า เขา เรา อะไรอย่างนี้ แทนชื่อคนสัตว์สิ่งของ เป็นสรรพนาม ก็อย่าไปเอามาใช้ในความหมายเดียวกัน ไม่ตรงกัน นามในลักษณะภาษาไทยอย่างนั้นตรงกันข้ามกับนามในภาษาธรรมะ คือนามในภาษาไทยนั่นเป็นบัญญัติ ชื่อคนสัตว์สิ่งของนี่ถ้าโดยธรรมะแล้วถือว่าเป็นบัญญัติ คำว่าโต๊ะ คำว่าสุนัข คำว่าแมว คำว่าต้นไม้ เป็นชื่อเรียก ในภาษา

ธรรมะถือว่านั่นยังไม่ใช่นาม เป็นบัญญัติ คำว่าเขาคำว่าเรา ที่เป็นสรรพนามมันก็เป็นบัญญัติ ต้องทำความเข้าใจว่าที่เราเคยได้ฟังตามภาษาโลก คำว่านามนั้นเอามาใช้ไม่ได้ มันเป็นสมมุติทั้งหมด ชื่อ คน สัตว์ สิ่งของหรือคำที่ใช้แทนชื่อคนสัตว์สิ่งของนั้นเป็นสมมุติทั้งหมด โครงการอะไรต่าง ๆ ที่ว่าเป็นนามธรรมก็เป็นสมมุติ ตามประสาโลกเขาจะคิดว่าถ้าสิ่งใดที่มองไม่เห็นเป็นนาม ถ้าอะไรที่มองเห็นขึ้นมาเป็นรูปธรรม นี่คือเขาเอาไปใช้กันไม่ค่อยตรง ไม่ตรงกับความเป็นจริง เราก็ต้องเกิดความไขว้เขว พอมาฟังธรรมะเรื่องรูปเรื่องนาม เราก็อาจจะไปคิดติดอยู่ในที่เคยชินตามประสาโลก ฉะนั้นการจะทำความเข้าใจขั้นแรก ก็ต้องตัดไอ้ที่เคยเข้าใจตามภาษาโลก ออกไปก่อน มาทำความเข้าใจเสียใหม่
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 395

โพสต์

รูปบางชนิด
เห็นไม่ได้
จับต้องไม่ได้
ยังเป็นรูปหรือ?

สี เสียง กลิ่น รส
.......
รูป บางทีเราเคยได้ฟังว่า สิ่งที่เห็นได้จับต้องได้คือรูป มันก็ไม่ตรงไม่ถูก
รูปบางชนิดเห็นไม่ได้จับต้องก็ไม่ได้ ก็ยังเป็นรูปธรรม

แล้วรูปที่เห็นได้มีเพียงรูปเดียวเท่านั้นคือรูปารมณ์

ได้แก่สีต่าง ๆ รูปนอกนั้นเห็นไม่ได้

เสียงเห็นได้ไหม เสียงก็เป็นรูปธรรม
จับต้องได้ไหม ไม่ได้
เห็นก็ไม่ได้จับต้องก็ไม่ได้ แต่ก็เป็นรูปธรรม
คือเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง รูปกล่าวไว้ตอนต้นมีลักษณะอย่างไร เสื่อมสิ้นสลายไป เสียงมีการเกิดดับไหม
เสื่อมสลายไหม เสียงกระทบแล้วสลายตัวไหม สลาย

รับรู้อะไรได้ไหมเสียงนี่ ไม่ได้ นั่นน่ะคือรูป

ฉะนั้นเสียงต่าง ๆ นั่นน่ะคือรูปธรรมอันหนึ่ง
สีต่าง ๆ เป็นรูป กลิ่น เห็นได้ไหมกลิ่น ไม่ได้ จับต้องได้ไหมกลิ่น

พราะฉะนั้น ถ้าใครไปพูดว่ารูปคือสิ่งที่เห็นได้จับต้องได้ แสดงว่าไม่เข้าใจหลักธรรมะที่แท้จริง เป็นการกล่าวผิด

ชาวโลกเขาจะไปเอาอย่างนั้นแหละ รูปคือสิ่งที่จับต้องได้เห็นได้ หรือบางทีผู้บรรยายบางท่านก็อาจจะไปพูดอย่างนั้นก็มี เป็นการผิดไปจากหลักความจริงของธรรมชาติ ฉะนั้น กลิ่นเป็นรูปธรรม กลิ่นเป็นรูปเพราะว่าไม่รู้อะไร เสื่อมสลายแล้วก็รับรู้อะไรไม่ได้

รสนี่ก็เป็นรูป รสในที่นี้ไม่ใช่รถยนต์รถเมล์อะไรนะ ไม่ใช่รถไฟลอยฟ้านะ รสในที่นี้หมายถึงสิ่งที่ออกมาจากอาหารจากยาง มันเป็นยางอาหารออกมา เอากายไปสัมผัสรู้เรื่องได้ไหม กายไปสัมผัสรสได้ไหม เห็นก็ไม่ได้สัมผัสก็ไม่ได้ ได้ยินได้ไหม ได้ยินรสก็ไม่ได้ สิ่งที่จะไปรับรสได้อย่างเดียวคือลิ้นเท่านั้น รสจึงเป็นรูปที่มาปรากฏได้เฉพาะทางไหน รสต่าง ๆ นี้มาปรากฏได้เฉพาะทางลิ้นเท่านั้นเอง อย่างเราเอานิ้วไปจี้ที่มะนาว ฝานมะนาวแล้วเอานิ้วไปจี้ดู เปรี้ยวไหม ถ้ามันเปรี้ยวแสดงว่าเรานึกขึ้นมาเอง จำ มีเป็นธัมมารมณ์ นึกด้วยใจ กายสัมผัสไม่ได้รส
http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... sem_20.htm
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 396

โพสต์

เย็นร้อน อ่อนแข็ง อะไรอีก หย่อนตึง
เป็นรูป หรือ? ..
สิ่งที่จะสัมผัสด้วยกายได้มีอะไรบ้าง
รูปที่มากระทบที่กายมีอะไร

เย็นร้อน อ่อนแข็ง อะไรอีก หย่อนตึง

ได้สามรูปเรียกว่าโผฏฐัพพารมณ์ เย็นร้อนเป็นรูปอะไร ไฟ
หย่อนตึงเป็นรูปลม
แข็งอ่อน รูปดิน

เห็นได้ไหม เห็นดินได้ไหม เห็นได้
ไปเห็นตรงไหน มองไปที่ลานธรรมเห็นอะไร ดินเขามีลักษณะอย่างไรล่ะดิน แข็ง
โยมไปเห็นความแข็งได้หรือ เห็นความแข็งความอ่อนได้ไหม เห็นไม่ได้ใช่ไหม

ที่เห็นไปเห็นสีต่าง ๆ เห็นสีที่ผสมอยู่กับดิน ไปเห็นสีไม่ได้ไปเห็นความแข็งไม่ได้ไปเห็นความอ่อน

ไฟก็เห็นไม่ได้ เห็นไฟไหม เวลาไฟไหม้บ้านไหม้อะไรเห็นไฟหรือเปล่า เห็นสีไม่ได้เห็นไฟ
ไฟนี่มันมีลักษณะอย่างไร ร้อนและเย็น
ไปเห็นความเย็นได้ไหม เห็นความร้อนได้ไหม ความร้อนความเย็นต้องสัมผัสที่กาย เห็นไม่ได้
ได้ยินก็ไม่ได้ ดมก็ไม่ได้ สัมผัสรู้ได้โดยทางกาย เวลาที่ไฟไหม้เราบอกเห็นไฟที่จริงไม่ได้เห็นไฟหรอก
เห็นสีที่ผสมอยู่กับไฟ สีแดงๆ สีอะไรต่าง ๆ เห็นสี
จิตทางมโนทวารเราก็ได้ประมวลเอาสีต่างๆ ออกมา แล้วจึงบอกได้ว่าไฟกำลังลุกไหม้อยู่

ที่นี้เวลาประพฤติปฏิบัตินี่จะต้องเจริญสติ สัมผัสตรงระลึกรู้ตรงถึงตัวของรูปนาม
เรียกว่าสัมผัสกันตรง ๆ ถึงตัวถึงลักษณะหรือจุดสภาวะของรูปของนาม
เสียงปรากฏที่ไหน ที่หู ก็ต้องระลึกขณะที่มันมาสัมผัสกันที่หู
แล้วในขณะนั้น ขณะที่กำลังผัสสะกำลังกระทบได้ยิน
พอเสียงมากระทบหูมันก็ต้องเกิดได้ยินขึ้น ถ้าจะพิสูจน์เสียงก็ต้องขณะนั้น
ขณะที่กำลังได้ยินเสียงนั้นน่ะ
ถ้าเลยจากนั้นแล้วก็ไม่รู้แจ้งแล้ว ต้องพิสูจน์อันอื่นแล้ว
มีรูปใหม่นามใหม่เกิดสลับเข้ามาก็พิสูจน์อันใหม่

สรุปแล้วมีอะไรบ้างที่บอกไปนี่รูป
สีต่าง ๆ
เสียงต่าง ๆ
กลิ่นต่าง ๆ
รสต่าง ๆ
โผฏฐัพพะต่าง ๆ
คือเย็นร้อน อ่อนแข็ง หย่อนตึง นี่คือรูปธรรม
http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... sem_20.htm
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 397

โพสต์

การเห็น เป็น นาม หรือ? เพราะรับรู้อารมณ์ได้?
สีกับการเห็น อันเดียวกันไหม?

ส่วนนามธรรม นามธรรมคือธรรมชาติที่รับรู้อารมณ์ได้ ก็ประกอบด้วย
จิต เจตสิก นี่เป็นนาม
มันเป็นธรรมชาติที่รับรู้อารมณ์ได้
การเห็น
รู้อารมณ์ได้ไหมเห็นนี่
การเห็นก็รู้อารมณ์ไปรู้อะไรเห็น เห็นอะไร
...
.. รู้ รู้อารมณ์ คำว่ารู้อารมณ์ในลักษณะของจิตก็คือรับอารมณ์
รู้ในที่นี้หมายถึงการรับอารมณ์ ไม่ได้หมายถึงรู้แจ้งแทงตลอด
ความรู้แจ้งแทงตลอดเป็นเรื่องของปัญญา
ที่ว่ารู้อารมณ์ก็คือมันรับอารมณ์ จิตเกิดขึ้นมาก็จะรับอารมณ์
เห็นนั่นน่ะคือจิต
ฉะนั้น
สีกับการเห็นน่ะอันเดียวกันไหม
สีต่าง ๆ ที่มากระทบที่ตากับการเห็นเป็นอันเดียวกันไหม
คนละอันกัน
(สี=รูป,การเห็น=นาม)


***
คนละธรรมชาติกัน
สี:
สีนั้นเป็นธรรมชาติที่มาจากภายนอกใช่ไหม
สะท้อนมาจากวัตถุที่แสงผ่านไม่ได้
มันสะท้อนเป็นสีมากระทบประสาทตา
การเห็น:
ส่วนการเห็นมันเกิดขึ้นภายในตัว
เกิดขึ้นที่ตาเป็นวิญญาณเกิดขึ้นมา
แล้วมันก็ไม่ใช่มีอยู่แล้วนะ มันเห็นขึ้นมานี่
มันก็เกิดขึ้นมาในขณะนั้นน่ะ เหตุปัจจัยมาประชุมพร้อมกันมันจึงเกิดการเห็นขึ้น
แล้วมันก็ดับลง คือ
มีสี
มีประสาทตา
มีแสงสว่าง
ประชุมพร้อมมีความตั้งใจ การเห็นก็เกิดขึ้น
...
เห็นแล้วดับไหม เห็นแล้วดับหรือเปล่า ก็สังเกตเอา นามธรรมก็เป็นสังขารธรรม เป็นธรรมที่ถูกปรุงแต่ง เพราะฉะนั้นจะมีความเกิดดับ เห็นแล้วจะดับทันทีอย่างรวดเร็ว เห็นนี่เป็นนาม เป็นนามธรรม

%%%
นี้คือความจริงธรรมชาติที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ พระพุทธองค์ทรงพิสูจน์แล้ว ตรัสรู้ได้แล้วก็นำมาแสดง เรานี้ก็ง่ายขึ้นไม่ต้องไปค้นเอง ถ้าค้นเองไม่รู้ว่าจะค้นกันได้เมื่อไร ก็ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วก็มาสังเกตสังกาง่ายขึ้น ถ้าเราไม่ได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าเราอาจจะไปนั่งคิดเอา นั่งนึกเอา นั่งวิจัยวิจารณ์ ไปอดีตอนาคตหมด หรือไปสมมุติบัญญัติหมด ไม่มีโอกาสจะระลึกรู้ปรมัตถ์ มันก็เลยบรรลุไม่ได้ ไม่สามารถจะตรัสรู้ได้เพราะว่าไปสู่สมมุติบัญญัติทั้งหมด

พอจะเข้าใจนะรูปธรรมมีอะไรบ้าง สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นี่รูปแต่ละรูปก็ยกตัวอย่างมาไม่หมดหรอกก็เอาที่เป็นสิ่งที่จะนำมาประพฤติปฏิบัติ ส่วนนามธรรม นามธรรมคือธรรมชาติที่รับรู้อารมณ์ได้ ก็ประกอบด้วยจิต เจตสิก นี่เป็นนาม มันเป็นธรรมชาติที่รับรู้อารมณ์ได้ การเห็นรู้อารมณ์ได้ไหมเห็นนี่ การเห็นก็รู้อารมณ์ไปรู้อะไรเห็น เห็นอะไร
:idea: :idea: :idea:
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 398

โพสต์

ทุกข์คืออการเช่นไร?
อนัตตาคือลักษณะเช่นไร?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7064
อาการของความเป็นทุกข์
คือทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้

ส่วนอนัตตา ก็คือ ลักษณะที่บังคับบัญชาไม่ได้
ไม่สามารถจะบังคับบัญชาได้
สิ่งที่บังคับบัญชาไม่ได้คือไม่มีตัวตน คำว่าไม่มีตัวตน
ไม่ได้หมายความว่ามันไม่มีอะไร
ที่เราฟังกันว่าชีวิตนี้ไม่มีตัวไม่มีตน
ไม่ใช่ว่ามันว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย ไม่ใช่
มันมีอยู่
แต่มีอยู่ในลักษณ์ที่บังคับไม่ได้
มีอยู่ในลักษณะที่มันเกิดตามเหตุตามปัจจัย
เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุตามปัจจัย
เราจะไปบังคับอะไรมันไม่ได้
แต่มันมีอยู่จริง

สิ่งที่เราจะต้องเข้าไปรู้เป็นปรมัตถธรรม ฉะนั้น
เมื่อเราปฏิบัติไปเห็นรูป เห็นนาม ก็เท่ากับเห็นของจริง
และถ้าเราเห็นลักษณะของรูปของนาม
ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็เรียกว่ารู้ตามความเป็นจริง
นั่นคือ เรียกว่า วิปัสสนาญาณ เกิดขึ้น
....... :idea:
การระลึกรู้ถ้าหากระลึกรู้บัญญัติก็ได้ ระลึกชื่อ รู้เรื่องราวต่างๆ ภาษา ความหมาย ก็ระลึกได้ แต่มันจะไม่สามารถรู้ตามความจริง เพราะไปรู้ของปลอม บัญญัตินี้เป็นของปลอม บัญญัติเป็นของจริงเหมือนกันแต่เป็น ของจริงโดยสมมุติที่ชาวโลกกำหนดกันไว้ โดยเนื้อแท้แล้วไม่ใช่ของจริง ไปรู้ของปลอม มันก็รู้ตามความของปลอม กลายไปรู้เป็นคน เป็นสัตว์ เพราะฉะนั้นสติจะต้องระลึกรู้ ที่ของจริง จึงจะรู้ตามความเป็นจริงของกฎธรรมชาติ ฉะนั้นการปฏิบัตินั้นจะต้องพยายามเจริญสติระลึกรู้ให้ตรงปรมัตถ์

คือตรงรูปตรงนาม
ละคลายสมมุติบัญญัติ ออกไป คือกำหนดให้ตรงปรมัตถ์
และการจะรู้แจ้งตามความเป็นจริงนั้นเราไม่ต้องไปบังคับ หรือไม่ต้องไปหาเหตุผล เอาอดีต อนาคต
อุปมากับแจกันนี่ ตัวแจกันอุปมา เป็นรูปนาม แต่ลวดลายของมันเหมือนกับเป็นไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ถ้าเราอยากจะเห็นรู้ว่าแจกันนี้ลวดลายมันเป็นอย่างไร เราก็ต้องดูที่แจกัน ถ้าเราไปดูที่อย่างอื่น มันก็ไม่เห็นลวดลายบนแจกัน เมื่อเราเพ่งดู เราก็เห็นลวดลายของมัน อันนี้ลวดลายของมันก็คือลักษณะ ดังนั้นเมื่อเรากำหนด ให้ตรงรูปนามแล้ว ไม่ต้องกลัวว่ามันจะไม่รู้ ไม่เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันจะเห็นเอง เมื่อเพ่งดูที่แจกัน มันต้องเห็นลักษณะ เห็นลวดลายของมัน ฉะนั้นในการปฏิบัติวิปัสสนา ปัญญาวิปัสสนาไม่ใช่ปัญญาแบบที่เราเรียนทางโลก เราเรียนทางโลกเราจะต้องคิดมาก เอาเหตุผลในอดีต ในอนาคตอะไรต่างๆ เอามารวม มาประมวล มาคิด เราก็จะเกิดความเข้าใจ
แต่ในการปฏิบัติวิปัสสนากลับตรงกันข้าม มันกลายเป็นว่าเราจะต้องปล่อยวางอดีต เรื่องทั้งหมดที่ผ่านมาแล้วเราต้องวางมันได้ เรื่องอนาคตทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นเราจะต้องปล่อยมันได้ คือไม่คำนึงถึง จะต้องรู้อยู่ที่ปัจจุบัน
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 399

โพสต์

\\ปรมัตถ์
แจกัน
ที่ตา มีอะไรที่เป็นปรมัตถ์บ้าง
ที่ตาสิ่งที่เป็นปรมัตถ์ได้แก่
ตัวรับสี ก็คือ
ประสาทตา
ทำหน้าที่รับสี

แล้วก็มีตัวที่เป็นสีสะท้อนมาจากวัตถุ อาศัยแสงสว่างสะท้อนมากระทบ
อันนั้นก็เป็นรูป

ภาษาธรรมะเรียกว่า รูปารมณ์
ประสาทตา ท่านเรียกว่า จักขุปสาท ก็เป็นรูป
รูปต่อรูปมันจะสัมผัสกระทบกัน

ตากระทบกับรูป กระทบแล้วมันจะทำให้เกิดวิญญาณขึ้น

ที่มันเกิดขึ้นมันก็เกิดขึ้นในขณะที่พอกระทบ ก็เกิดขึ้นทันที
ประชุมกันพร้อม ตัวที่เกิดขึ้นเป็นวิญญาณ
คือจิต
จิตทางตา ภาษาธรรมะเรียกว่า จักขุวิญญาณจิต

คือ ธรรมชาติที่ทำหน้าที่เห็น

เกิดขึ้นที่ปสาทตาเป็นจิตชนิดหนึ่ง
จิตท่านจึงจัดเป็นนาม

ฉะนั้น
ประสาทตาจัดเป็นรูป
สี ก็เป็นรูป
ส่วนสภาพ เห็นเป็นนาม

แต่ประสาทตาเรากำหนดได้ยาก รูปที่มากระทบ ตากำหนดง่ายกว่า แต่สิ่งที่ควรกำหนดทางตาก็คือ กำหนดทางนามธรรม คือ สภาพเห็น

เพราะว่าธรรมดาจิตมันคอยนึกไปสู่สมมุติ บัญญัติ
ถ้าเราไปกำหนดที่สี
พอเพ่งไปที่สีปุ๊บมันเห็นเป็นวัตถุ
นี่ชื่อว่าแจกัน
นี่ชื่อว่าดอกไม้
มีความหมาย มันไหลไปสู่สมมุติบัญญัติหมดเลย

สิ่งที่เป็นปรมัตถ์ทางตา
ก็คือ แค่สี สีต่างๆ ที่มากระทบตาเป็นรูป
และสภาพเห็นคือตัวฉายออกมาทางตาเป็นตัวไปรับรู้สี เป็นนาม
คนละอย่างกันแล้ว
สีคือภาพ รูป ภาพอย่างหนึ่ง การเห็นก็อย่างหนึ่งคนละอย่าง
สีเป็นรูป
การเห็นเป็นนาม
ฉะนั้นในการทำความรู้สึกทางตาก็เสนอแนะว่า
ให้ทำความรู้สึกน้อมมาทางสภาพเห็น การน้อมมาทางสภาพเห็น ก็น้อมมาที่ธรรมชาติที่ฉายทางตา มันจะไม่มุ่งไปสู่รูปร่างสัณฐานความหมาย มาอยู่กับปรมัตถ์ได้ดีขึ้น

ฉะนั้นสิ่งที่เป็นปรมัตถ์ทางตา
ก็คือ
สี รูปตา เป็นรูป
การเห็นเป็นนาม

ส่วนเข้าไปรู้ว่านี่เป็นแจกัน เป็นดอกไม้ นั่นเป็นการไปรู้สมมุติบัญญัติ ไม่ใช่ปรมัตถ์แล้ว

พอรู้ว่าเป็นแจกันเป็นดอกไม้ไม่ใช่การเห็นแล้ว ไม่ใช่การเห็นแจกัน ไม่ใช่การเห็นดอกไม้ เห็นแจกันไม่ได้ เห็นดอกไม้ไม่ได้
สิ่งที่เห็นทางตา จะเห็นเพียงสีต่างๆ
สลับกันอยู่แต่ที่มันรู้ว่าเป็นแจกันเป็นดอกไม้คือ

จิตทางจิต จิตทางตามันอันหนึ่ง จิตทางมโนทวารมันอันหนึ่ง เป็นจิตเหมือนกัน แต่เป็นจิตที่เกิดขึ้นที่ หทยวัตถุ มันจะไปนึก ประมวลอาศัยความจำ คือถ้าเราไม่รู้มาก่อนว่านี่เขาเรียกว่าแจกัน เขาเรียกว่าดอกไม้ เราก็นึกถึงชื่อมันไม่ได้ เราก็แค่เห็นรูปร่าง ไม่รู้ว่ามันชื่ออะไร แต่เราเคยฟังมาแล้วว่า เขาเรียกว่าแจกัน เขาเรียกว่าดอกไม้ ดอกอะไร ชื่ออะไร มันจำไว้ได้ พอเห็นสีเหล่านี้มันจำ สัญญามันจำ ก็ประมวลรู้ว่านี่ชื่อแจกัน นี่ดอกไม้ ฉะนั้นในขณะที่รู้ว่าเป็นแจกัน เป็นดอกไม้ ขณะนั้นจิตมีอารมณ์เป็นบัญญัติ แต่ในขณะที่จิตมีอารมณ์เป็นบัญญัตินั้น ในขณะนั้น ก็มีปรมัตถ์เกิดขึ้น ปรมัตถ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นก็คือสภาพจิตทางใจ ตัวที่เข้าไปรู้ว่า นี่คือแจกัน นี่คือดอกไม้

ตัวที่ไปรู้ว่าแจกัน ดอกไม้ คือจิต เป็นนามธรรม เป็นปรมัตถ์ ฉะนั้นในขณะที่รู้ว่าเป็นแจกัน สิ่งที่เป็นปรมัตถ์ก็คือตัวจิต ทางใจคือตัวนึก ตัวประมวล ถ้าสติเกิดขึ้นมาที่จะรู้ปรมัตถ์มันจะรู้ขึ้นมาที่ใจ สติมันรู้ที่ใจ ในขณะที่เห็น สัมผัสสี ถ้าสติเกิดขึ้นก็กำหนดสี กำหนดสภาพเห็น พอมันเกิดรู้ไปว่าเป็นแจกัน เป็นดอกไม้ เป็นคน สัตว์ สิ่งของอะไร ขณะนั้นปรมัตถธรรมคือ จิตกำลังคิดนึก สติก็ต้องรู้มาที่จิต พอรู้มาที่จิต สภาพการรู้เป็นดอกไม้บัญญัติเปลี่ยนไป อารมณ์มันเปลี่ยนไป อารมณ์มันเปลี่ยนมารู้ที่จิต ไม่ใช่รู้ดอกไม้ แจกัน มารู้ที่จิต มันก็เข้าทางสติมารู้ที่ปรมัตถ์ ไม่ใช่รู้บัญญัติ อันนี้เป็นทางหนึ่ง วิธีการหนึ่ง ทางอื่นๆ ก็เหมือนกัน
...
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 400

โพสต์

ยุบหนอ-พองหนอ
อะไรเป็นรูป? อะไรเป็นนาม?
ลมที่ดันให้ท้องพองออกหรือยุบลงก็เป็นรูป?
แต่จิตที่เป็นตัวรู้อาการนั้นเป็นนาม?

http://abhidhamonline.org/thesis/thesis6/thesis63.htm
จากการสัมภาษณ์ พระมหาภาณุวัฒน์ ปิยสีโล พรรษา 63 ปี เป็นอาจารย์สอนพระอภิธรรมอยู่ที่ อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า

“เคยปฏิบัติพองหนอ-ยุบหนอ กับพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) อาจารย์บอกเพียง
ให้สังเกตอาการที่ท้องพองขึ้น-ยุบลง ช่วงนั้นยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม
พอมาเรียนอภิธรรมจึงรู้ว่า
ขณะหายใจเข้า ลมที่เข้าไปจะดันให้ท้องพองขึ้น
ขณะหายใจออกลมที่ออก มีผลให้ท้องยุบลง
อาการพองออกและยุบลงเป็นรูปธรรม
ลมที่ดันให้ท้องพองออกหรือยุบลงก็เป็นรูปธรรม
แต่จิตที่เป็นตัวรู้อาการนั้นเป็นนามธรรม




พูดรวม ๆ ว่าจิตรู้ ขณะที่รู้อาการนั้นมีธรรมอยู่ 5 อย่าง
คือ ปัญญา วิตก วิริยะ สติ สมาธิ
ในสติปัฏฐานยกมากล่าว 3 อย่าง คือ สติ ปัญญา วิริยะ
ที่เรากำหนดอยู่ได้ เพราะมีความเพียร (วิริยะ) เกิดขึ้น สติเป็นตัวรู้ว่าขณะนี้กำลังทำอะไร
ส่วนปัญญาเป็นตัวตัดสิน สิ่งที่กำลังปรากฏอยู่ว่าเป็นรูปหรือนาม




เมื่อรวม ความรู้อาการ พอง-ยุบ-นั่ง-ถูก ซึ่งเป็นรูป กับ การกำหนด อาการซึ่งเป็นนาม เรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ ทั้งนี้คงเห็นแต่ฐิติขณะ คือ การตั้งอยู่ของนามและรูปเท่านั้น ไม่เห็นอุปปาททขณะ (ขณะเกิดขึ้น) และภังคขณะ (ขณะดับลง) เป็นญาณขั้นต้น ซึ่งเป็นความรู้โดยการเห็นประจักษ์ด้วยประสบการณ์จากการปฏิบัติของตนเอง หากปฏิบัติต่อไปจนญาณนี้แก่กล้าขึ้น จะรู้ว่าในขณะหายใจเข้ามีแต่อาการพองของท้องเท่านั้น ในเวลาหายใจออกก็จะมีแต่อาการยุบของท้องเท่านั้น

อาการพอง กับ ใจที่รู้สึก เกิดพร้อมกัน
แต่เป็นคนละส่วนกัน
***ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า อัตตา***
เป็นผู้สั่งหรือบงการให้เป็นอย่างนั้น
คงมีแต่รูปซึ่งเป็นอารมณ์
และนามซึ่งเป็นผู้รู้อารมณ์เท่านั้น
การรู้อย่างนี้เรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ จัดอยู่ใน ทิฏฐิวิสุทธิ์





mood
Verified User
โพสต์: 151
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 401

โพสต์

ขออนุญาตสนทนาธรรมด้วยครับ
ในการปฏิบัติอานาปานสติ ผู้ปฏิบัติควรจะแยกได้ครับ ว่าอย่างไหนเป็นสมถะ (พัฒนาสมาธิ) , วิปัสสนา (พัฒนาปัญญา) เนื่องจากเมื่อเกิดเวทนา คือ อารมหรือความรู้สึกมากระทบ แนวทางในการตอบสนองจะต่างกัน

1. สมถะ : ตอบสนองต่อเวทนานั้นๆตามสมควร เพื่อไม่ให้รบกวนต่อการปฏิบัติ เช่น
ทางกาย
คัน > ไม่ต้องสนใจ หรือ เกา
ปวดเมื่อย > ไม่ต้องสนใจ หรือ เปลี่ยนอิริยาบท
เสียงดัง > ไม่ต้องสนใจ หรือ หาทางแก้ปัญหา
ทางใจ
ดีใจ ตื่นเต้น เบื่อ > ปล่อยไปตามธรรมชาติ

2. วิปัสสนา : ใช้สติและปัญญาตามดูรู้ทันเวทนาทางกายหรือทางใจตามความเป็นจริง

ผิดพลาดอย่างไรก็ขออภัยด้วยครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 402

โพสต์

mood เขียน:ขออนุญาตสนทนาธรรมด้วยครับ
ในการปฏิบัติอานาปานสติ ผู้ปฏิบัติควรจะแยกได้ครับ ว่าอย่างไหนเป็นสมถะ (พัฒนาสมาธิ) , วิปัสสนา (พัฒนาปัญญา) เนื่องจากเมื่อเกิดเวทนา คือ อารมหรือความรู้สึกมากระทบ แนวทางในการตอบสนองจะต่างกัน

1. สมถะ : ตอบสนองต่อเวทนานั้นๆตามสมควร เพื่อไม่ให้รบกวนต่อการปฏิบัติ เช่น
ทางกาย
คัน > ไม่ต้องสนใจ หรือ เกา
ปวดเมื่อย > ไม่ต้องสนใจ หรือ เปลี่ยนอิริยาบท
เสียงดัง > ไม่ต้องสนใจ หรือ หาทางแก้ปัญหา
ทางใจ
ดีใจ ตื่นเต้น เบื่อ > ปล่อยไปตามธรรมชาติ

2. วิปัสสนา : ใช้สติและปัญญาตามดูรู้ทันเวทนาทางกายหรือทางใจตามความเป็นจริง

ผิดพลาดอย่างไรก็ขออภัยด้วยครับ
ของที่ผมตอนปฏิบัติ เวลาคัน ก็กำหนดรู้อาการคันที่เกิดขึ้น ดูอาการคัน ถ้าเกิดความรำคาญ หงุดหงิดก็ไปกำหนดดูความรำคาญ หรือความหงุดหงิด ถ้าอยากเกาก็กำหนอรู้ดูความอยากเกา ถ้าเกิดความคิดก็กำหนดความคิด เอาสติเข้าไปดูอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่เกิดอาการคัน ผลจากอาการคันที่มีต่อจิต จนกระทั่งอาการคันหายไป จิตไม่สนใจอาการคัน ก็กลับมากำหนดอารมณ์หลักต่อ โดยเป็นผู้ดู ผู้รู้เฉยๆ

เช่นเดียวกับการปวดเมื่อย เกิดเสียงขึ้น เราก็จะกำหนดดูสิ่งที่เกิดขึ้น ดูไปเรื่อยๆ นอกจากจะเห็นสภาวะความเป็นไตรลักษณ์ของสิ่งที่ปรากฎขึ้น ก็จะเห็นความเป็นเหตุปัจจัยของสิ่งต่างๆ เห็นว่าเมื่อมีสิ่งที่กระทบทางอายตนะแล้วเกิดผลอย่างไรตามมา ก็จะเห็นความเป็นเหตุปัจจัยมากขึ้นเรื่อยๆ เห็นการปรุงแต่งของจิตที่เป็นเหตุปัจจัยเนื่องกันๆ มากขึ้นเรื่อยๆ จิตจะมีความว่องไวในการตามดูการปรุงแต่งของจิตมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นผลให้มีความเข้าใจในอิทัปปัจจยตาธรรม หรือ ปฏิจจสมุปบาท เองตามความเป็นจริง โดยไม่ต้องไปคิดพิจารณา เพราะ ธรรมที่เกิดขึ้นที่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงเป็นเหตุปัจจัยเนื่องกันๆ กันอยู่แล้ว เพียงแค่เราโน้มใจลงดูสิ่งที่เกิดขึ้น ซ้ำไปซ้ำมา ก็จะมีความเข้าใจในสิ่งที่เกิดมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่ต้องอ่านปริยัติแม้แต่น้อย

ด้วยเหตุนี้ในขณะปฏิบัติในสายของผม ในช่วงนอกเวลาเดินจงกรม นั่งสมาธิ อินทรียสังวรศีล หรือการสำรวมอินทรีย์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย จะเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เราจะงดพูด สำรวมสายตา การเคลื่อนกายจะค่อยๆ ทำอย่างเนิบช้า แต่เป็นธรรมชาติ เราจะเป็นผู้กำหนดรู้กายใจของเรา ตั้งแต่จิตที่มีความคิดที่อยากจะเคลื่อนไหว จิตที่สั่งการให้เคลื่อน ตามดูอาการเคลื่อนแต่ละอย่างๆ พยายามลดการรับรู้ทางอายตนะให้น้อยลงด้วยอินทรียสังวรศีล ไม่รับอารมณ์มากเหมือนปกติ เพื่อเปิดโอกาสให้สติได้ตามดูตามรู้สิ่งที่เกิดขึ้นตอนที่เรากระทบกับอารมณ์ต่างๆ ให้ได้อย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาสได้เห็นอาการ เห็นลักษณะ เห็นความเป็นเหตุปัจจัยของสิ่งต่างๆ จากการกระทบอารมณ์แต่ละครั้งได้มากขึ้น อันนำไปสู่ความเข้าใจใจกายใจของเราได้มากยิ่งขึ้น
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
mood
Verified User
โพสต์: 151
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 403

โพสต์

@คุณpicatos
แบบนี้เรียกว่าวิปัสสนาในแนวทางสติปัฏฐานใช่ไหมครับ ผมเคยลองฝึกอยู่ระยะหนึ่งไม่เกิดความก้าวหน้าเลยต้องพัฒนาปัญญาด้วยการอ่านหนังสือไปก่อน ไว้สะสมความรู้ความเข้าใจพอสมควรแล้วจะลองปฏิบัติแนวนี้ดูอีกครั้ง ขอบคุณมากครับที่แชร์ประสบการณ์ ผมตามอ่านอยู่ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
oatty
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2444
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 404

โพสต์

กรรมฐาน มี สองอย่าง คือสมถะ กับ วิปัสสนา

แนวทางที่ อ.picatos ปฏิบัติเป็นสาย วิปัสสนากรรมฐาน ตามตำราที่แบ่งกันไว้ครับ ซึ่งแต่ละสำนักก็มีการแยกย่อยไปอีกหลายแบบเท่าที่ได้คุยกัน สำนักของปฏิบัติของท่าน picatos จะมาจากท่านภัททันตะ อาสภเภระ ซึ่งต่างจากบรรดาวัดป่าดัง ๆ หลายวัด แต่จุดมุ่งหมายในการปฏิบัติ คือลด ละกิเลส เหมือนกัน

ลองไปตามอ่านประวัติของท่านดูได้ครับ
http://www.phuttawong.net/index.aspx?Co ... 8172901233

หรือจะหาในกูเกิ้ลดูก็ได้
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 405

โพสต์

oatty เขียน:กรรมฐาน มี สองอย่าง คือสมถะ กับ วิปัสสนา

แนวทางที่ อ.picatos ปฏิบัติเป็นสาย วิปัสสนากรรมฐาน ตามตำราที่แบ่งกันไว้ครับ ซึ่งแต่ละสำนักก็มีการแยกย่อยไปอีกหลายแบบเท่าที่ได้คุยกัน สำนักของปฏิบัติของท่าน picatos จะมาจากท่านภัททันตะ อาสภเภระ ซึ่งต่างจากบรรดาวัดป่าดัง ๆ หลายวัด แต่จุดมุ่งหมายในการปฏิบัติ คือลด ละกิเลส เหมือนกัน

ลองไปตามอ่านประวัติของท่านดูได้ครับ
http://www.phuttawong.net/index.aspx?Co ... 8172901233

หรือจะหาในกูเกิ้ลดูก็ได้
ขอบคุณพี่ oatty ที่แชร์ประวัติพระอาจารย์ภัททันตะให้อ่านนะครับ พึ่งจะเคยอ่านเหมือนกัน... อย่างไรก็ตามในหลายๆ ประเด็นที่ผู้เขียนยกขึ้นมาอาจจะทำให้คนอ่านเกิดความสงสัย หรือเกิดอคติตามมาได้ ซึ่งในการปฏิบัติธรรมนั้นสาระสำคัญจริงๆ ไม่ใช่ว่าแนวทางนี้ได้ทำประโยชน์อะไร อย่างไรให้กับใครบ้าง แต่แนวทางนี้เหมาะสมและเป็นประโยชน์กับเราได้ไหมมากกว่า

ซึ่งในแนวทางสายนี้ เค้าจะมีแนวทางการปฏิบัติ แนวทางการสอน แนวทางการตรวจสอบผลของการปฏิบัติ รวมไปถึงการสร้างสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติ ค่อนข้างชัดเจนในระดับหนึ่ง อย่างเช่น ระยะเวลาการปฏิบัติควรปฏิบัติกี่วัน ช่วงเวลาการปฏิบัติ ควรเดินจงกรม นั่งสมาธินานเท่าไหร่ การเดินจงกรมระยะทางเดินจงกรมควรมีระยะไกลขนาดไหน ควรวางสายตาที่ตำแหน่งไหน สูงต่ำขนาดไหน ที่พัก กิจต่างๆ อิริยาบทย่อย รวมไปถึงการพักผ่อน ควรทำอะไร อย่างไร เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการปรับแต่งอินทรีย์ให้สมส่วน ช่วยให้การปฏิบัติเจริญก้าวหน้า ซึ่งหากถูกจริตกับแนวทางนี้ก็จะช่วยให้อินทรีย์ 5 กลายเป็นพละ 5 ได้ง่าย

อันที่จริงแล้วแนวทางการปฏิบัติสายนี้ หากเป็นที่พม่าจะเป็นการปฏิบัติเพื่อมุ่งมรรคเอาผลเท่านั้น อาจารย์ที่สอนผมตอนไปขอหลวงพ่ออาสภะปฏิบัติที่วิเวกอาศรม ท่านลางานมาได้ 1 เดือน 2 เดือน พอมาขอหลวงพ่อปฏิบัติ หลวงพ่อก็บอกว่าไม่สอน เวลาน้อยเกินไป ถ้าจะมาปฏิบัติต้องมาอยู่ 3 เดือนขึ้นไป ฆราวาสที่พม่าเวลาจะมาปฏิบัติสายนี้ ก็จะลางานกันมา 3 เดือน ปฏิบัติไป 3 เดือนจะบรรลุธรรมไม่บรรลุธรรมพอครบเวลาก็กลับไปทำกิจทางโลกต่อ มีโอกาสก็ลางานมาปฏิบัติอีก 3 เดือนใหม่ หรือบางคนหากดูแล้วมีโอกาสที่จะพัฒนาต่อได้ ครบ 3 เดือนแล้วหลวงพ่อก็อาจจะอนุญาตให้อยู่ต่อ แต่ก็ไม่เกิน 7 เดือน โดยย่อแล้วหลักสูตรหลักๆ ของสายนี้ของทางพม่าจะเป็นหลักสูตร 3 เดือน ซึ่งก็เหมาะสมกับชาวพม่า เพราะ ความศรัทธาในพุทธศาสนาของชาวพม่ามีมากพอ

พอมาในไทยหลักสูตรก็ถูกประยุกต์มาสอนให้กับฆราวาสที่มีเวลาน้อย มีภาระทางโลกมาก ก็ถูกย่นระยะเวลาในการปฏิบัติลงเหลือ 21 วันบ้าง 8 วัน 7 คืนบ้าง ซึ่งเป้าหมายในการปฏิบัติก็ไม่ได้เข้มข้นจะเอามรรคเอาผลแบบที่พม่า ลดเป้าหมายลงเหลือแค่เป็นหลักสูตรพัฒนาจิต พัฒนาให้คนเป็นคนดี เพื่อให้เอาไปใช้ในชีวิตประจำวัน หรือเอาไว้ใช้เตรียมตัวก่อนตาย ซึ่งก็ค่อนข้างเหมาะกับคนไทยในยุคปัจจุบันมากกว่า

อย่างไรก็ตามในหนังสือ In This Very Life เขียนโดย พระกัมมัฏฐานาจริยะ อู บัณฑิตาภิวังสะ พระกรรมฐานผู้สืบทอดการสอนจากมหาสี สยาดอร์ ได้เขียนเอาไว้ว่า แรงบันดาลใจในการปฏิบัติธรรมที่แท้จริง ควรมาจากความเชื่อว่า ที่สุดของทุกข์มีอยู่ และเราสามารถทำให้ถึงความสิ้นทุกข์ได้ด้วยการปฏิบัติธรรม ซึ่งท่านเชื่อว่าโสดาปัตติมรรคเป็นที่หวังได้ในชาตินี้ หากมีความเพียรที่มากพอ ซึ่งเป้าหมายที่ควรตั้งและควรพยายามที่จะไปให้ถึง
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
koko8889
Verified User
โพสต์: 39
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 406

โพสต์

ผู้มีปัญญาท่านหนึ่งกล่าวเรื่องจิตมนุษย์ไว้น่าสนใจว่า
บางครั้งเป็นพระ บางขณะเป็นมาร บางกาลเป็นพรหม บางอารมณ์เป็นมนุษย์
ดังนั้น ผู้มีปัญญาจึงรู้จักครองใจอุเบกขา ทำความสงบเกิดแก่ตนทุกนาที เพื่อป้องกันและปราบกิเลสทั้ง 3 ที่มีอยู่ทุกหนแห่งที่เกิดได้ทุกนาที คือ
ยามโกรธ กาย วาจา ใจ จักแสดงความไร้มารยาท ขาดเมตตา กรุณา ทำร้ายผู้อื่นถึงบาดเจ็บล้มตายได้อย่างโหดเหี้ยมทารุณ หมดความยั้งคิด
ยามโลภ กาย วาจา ใจ จักแสดงความเห็นแก่ตัว แล้งน้ำใจ ไม่ซื่อตรง ไม่คงเส้นคงวา ไม่เคยพอ เห็นแต่ได้โดยปราศจากหิริโอตตัปปะ ไม่ชอบสันโดษ ไร้สัจจะ ไม่มีมุทิตาอย่างจริงใจ
ยามหลง กาย วาจา ใจ จักขาดสติสัมปชัญญะ หมกมุ่นมัวเมาในวัตถุ อย่างลืมหูลืมตามไม่ขึ้น โดยไม่คิดว่าจะเลิกละได้อย่างไร
ความโกรธ โลภ หลง มีฤทธิ์มากเพียงไร โลกจะมืดมนเพียงนั้น
คัดลอกบางส่วนจากหนังสือทางสายตรง...คุณเจือจันทน์ อัชพรรณ.
dr1
Verified User
โพสต์: 874
ผู้ติดตาม: 1

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 407

โพสต์

ขอบคุณท่านoattyนะครับ
ผมได้หนังสืออ.ภัททันตะ จากกัลยาณมิตรคนนึงเกือบสิบปีที่แล้ว (ตอนนี้ก็ยังไม่ได้อ่าน เฮ้อ..)
สามปีืีที่แล้วผมไปเยี่ยมอาที่ศิริราช อาผมพาไปห้องข้างๆไปกราบพระอาจารย์ที่อาพาธอยู่
แล้วได้หนังสือแจกจากลูกศิษย์ที่ดูแล จากนั้นก็ขึ้นตึกนั้นโน้นไปกราบพระอาจารย์อีกหลายท่าน
พอกลับถึงบ้านถึงได้เห็นหนังสือว่าเป็นพระอาจารย์ภัททันตะ

พอมาอ่านแนวทางสายพม่าของอ.picatos ก็รู้สึกว่าคล้ายของอ.โกเอนก้า
(ไปมาสามปีได้แล้ว ล่าสุดที่ได้ไกล้ธรรมมะ)ซึ่งท่านก็ได้จากไปปีที่แล้ว

หวังใจว่าคงได้เข้าคอร์สสามเดือนสักครั้งในชีวิตนี้ครับ
samatah
Dech
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4940
ผู้ติดตาม: 1

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 408

โพสต์

เห็นกระทู้ใกล้จะตก และใกล้วันมาฆบูชาแล้ว
ขออนุญาติท่าน อ. แนะนำครูบาอาจารย์หนึ่งรูปครับ

หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ วัดป่าบ้านค้อ ต.เขือน้ำ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี แต่ท่านละไปหลายปีแล้วนะครับ

ผมคิดเอาเองว่า อ. น่าจะเหมาะกับธรรมของพระพุทธองค์ที่ท่านนำมาบอกต่อนะครับ
และคิดว่า อ.เด็กใหม่ อาจจะรู้จักท่านอยู่แล้วก็ได้นะครับ แนะนำเผื่อท่านอื่นๆ ครับ

ท่านพูดถึงปัญญาอบรมสมาธิไว้หลายแบบ หลายที่ครับ ลองหาหนังสือและคำสอนท่านมาฟังดูนะครับ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 409

โพสต์

..7 ยอด..

1. หิว..เป็นยอดของ..โรค
2. ลาภ.เป็นยอดของ..ความไม่มีโรค

3. ความสันโดษรู้จักพอ..เป็นยอดของ..ทรัพย์
4. ความคุ้นเคย....เป็นยอดของ..ญาติ


5. รูปกับนาม..เป็นยอด..ทุกข์
6. พระนิพพาน..เป็นยอด..สุข

7. ยอดคน..
ยอดคนอยู่ที่ไหน
อะสัดโท อะกัตตัง รูจะ สันฉิจเฉโทจะโรนาโร อะกาวะ วันตาโส วันตาโส วัยอุปปมาโรริโส
ยอดคนก็คือ หนึ่ง คนที่ไม่เชื่อใคร เชื่อตัวเองที่ได้ประพฤติปฏิบัติธรรมะมาดีแล้ว
สอง คนที่รู้พระนิพพานที่ปัจจัยอะไรปรุงแต่งไม่ได้
สามคนตัดที่ต่อของวัฏฏะ กิเลสวัฏ ที่ต่อของกิเลส กรรมวัฏ ที่ต่อของกรรม มีปากวัฏ ที่ต่อของวิบาก ตัดได้ เป็นยอดคน
อะตาวะกาโส คนหมดโอกาส คือไม่มีโอกาสที่จะให้บาปเกิดขึ้นได้ ก็เป็นยอดคน วังตาโส คนสิ้นหวัง สังเวอุปปะมะโภ ริโสโภ
นี่แหละคือยอดคน
....

ถอดความจาก...

http://www.namjaidham.net/forum/index.php?topic=715.0

แต่เทศน์วันนี้เทศน์ยอดของวิปัสสนา คำว่ายอด แปลว่าของที่สูง เช่นยอดตาลหมายอันสุดยอด ยอดไม้ หมายเอาที่สุดนั่นแหละ ยอดเรือน เรือนยอด หมายเอาที่สูง อะไรที่เป็นยอด ยอดโคนก็หมายเอาถึงที่มันสูง ที่มันเด่น คนสูง คนเด่น สมมุติว่ายอดต้นไม้ เอาตรงไหน ไม่ใช่สมมุติแล้วข้อเท็จจริง ที่เราหากัน เอาที่มันสูงที่สุด นั้นแหละ เค้าเรียกว่ายอดก็แล้วกัน ท่านกล่าวว่ายอด มีถึง 7 ยอด ยอดโรค อะโรคยา ชิกัจฉา ปรมาโรคา ความหิวเป็นยอดโรค อือ หิวมันเป็นยอดของโรค อาโรคยา ปรมาลาภา ความไม่มีโรคเป็นยอดลาภ ยอดลาภก็คือ ไม่มีโรค ยอดโรคก็คือหิว ยอดลาภ ก็คือ ไม่มีโรค เบียดเบียน ยอดทรัพย์ คืออะไร สันโดษ สันดุษฐี ปรมังทะลัง ความสันโดษ คือรูจักพอเป็นยอดทรัพย์ และยอดญาติ วิสสาฉาปรมา ญัตติ ความคุ้นเคยกันเป็นยอด เป็นยอดญาติ เป็นญาติชั้นสูง ยอดทุกข์ สังขาร สังขารา ปรามาทุกคา รูปกับนามเป็นยอดทุกข์ แล้วมารวมที่นี่หมดเลย แล้วก็ยอดสุข คืออะไร นิพพาน นิพพานนัง ปรมัง สุขขัง พระนิพพานเป็นยอดสุข นี้ยอดคนอยู่ที่ไหน อะสัดโท อะกัตตัง รูจะ สันฉิจเฉโทจะโรนาโร อะกาวะ วันตาโส วันตาโส วัยอุปปมาโรริโส ยอดคนก็คือ หนึ่ง คนที่ไม่เชื่อใคร เชื่อตัวเองที่ได้ประพฤติปฏิบัติธรรมะมาดีแล้ว สอง คนที่รู้พระนิพพานที่ปัจจัยอะไรปรุงแต่งไม่ได้ สามคนตัดที่ต่อของวัฏฏะ กิเลสวัฏ ที่ต่อของกิเลส กรรมวัฏ ที่ต่อของกรรม มีปากวัฏ ที่ต่อของวิบาก ตัดได้ เป็นยอดคน อะตาวะกาโส คนหมดโอกาส คือไม่มีโอกาสที่จะให้บาปเกิดขึ้นได้ ก็เป็นยอดคน วังตาโส คนสิ้นหวัง สังเวอุปปะมะโภ ริโสโภ นี่แหละคือยอดคน
แต่เทศน์วันนี้ไม่ใช่เทศน์เจ็ดยอดนี้ ก็เทศน์อยู่ในเจ็ดยอดมีอยู่เหมือนกัน

วันนี้เทศน์เรื่องยอดของวิปัสสนา คำว่ายอดของวิปัสนานี้ หมายเอาตรงไหน ก็เป็นปัญหาที่น่าคิด แต่ก็ไม่ต้องคิดเพราะมีหลักฐานอยู่แล้ว วิปัสสนา ที่เป็นยอด ก็หมายเอาถึง วิปัสสนาที่สูงที่สุด คือสูงแค่ไหนก็โปรดฟังต่อไป สูงที่สุดนั้นคือไปถึง นิพพานแล้ว จวนจะถึงแล้วนั่นแหละคือยอดของวิปัสสนา แต่ก็ถึงนิพพานแล้วมันก็เป็นเลยยอดไปแล้ว มันเหนือแล้ว เหนือยอดไปแล้ว ในที่นี่ไม่ ยกไว้ก่อน จะพูดยอดของวิปัสสนา

คำว่ายอดของวิปัสสนา คือ เอาวิปัสสนาที่สูง ที่สูงกว่าเพื่อนสูงกว่าเพื่อนวิปัสสนาทั้งหลาย แล้วเอาอะไรเป็นเครื่องวัด เครื่องวัดของยอดก็คือว่า ผู้เจริญวิปัสสนานั้น จะต้องคบธรรมะ เรียกว่าแก่นของพระธรรม เป็นขั้นเป็น เป็นขั้นไป

แก่นของพระธรรมขั้นต้น ท่านเรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ แก่นขั้นต้นได้แก่ปัญญา ที่สามารถแยกรูปกับนามออกจากกันได้ ตัวอย่างเช่นขณะที่ท่านฟังเสียงอยู่เดี๋ยวนี้ ตรงไหนเป็นรูปตรงไหนเป็นนาม ท่านผู้ฟังแยกได้มั้ย ลองแยกดูสิ ว่าขณะที่ฟังเสียงอยู่นี่ เสียงของอาตมากระทบหูของโยมอยู่เดี๋ยวนี้ ตรงไหนเป็นรูปตรงไหนเป็นนาม นี่ยอดที่หนึ่งยอด

ต้น ๆ มีถึง 16 ยอด แต่ยอดแท้ ๆ ในที่นี้หมายถึง หมายเอาตรงไหน นี่ก็เป็นยอดเล็ก ๆ ยังไม่ได้ใหญ่โตนักพึ่งเริ่มผลิยอดออกมา เสียงที่ได้ยินกับหูของโยม นี่เป็นรูปใจที่ได้ยินนี่เป็นนาม ได้ยินเสียงครั้งหนึ่งรูปกันนามเกิดแล้ว ขันธ์ ห้า เกิดแล้ว นี่คือรูปกับนามทีนี้ ขันธ์ 5 เอาตรงไหนเป็น เสียงกับหูเป็นรูปขันธ์ ถ้าได้ยินเสียงแล้ว รู้สึกสบายใจ

มีโยมคนหนึ่งมาจากราชบุรี อยากจะมาเห็นอาตมา ได้ฟังแต่วิทยุ ได้ฟังแล้วก็สบายใจ นี่แหละความสบายนี่แหละเป็นเวทนาขันธ์ จำได้ว่านี่เสียงอาจารย์หนอมาแล้วหลวงพ่อหนอมาแล้ว นี่วิปัสสนามาแล้ว นี่ก็เป็นสัญญาขันธ์ แต่งใจของโยมให้เห็นว่านี่เทศน์ดีหรือเทศน์ไม่ดี เทศน์สูงหรือเทศน์ต่ำไป เข้าใจหรือไม่เข้าใจ นี่เป็นสังขารขันธ์ ที่ได้ยินแว่ว ๆ นี่ไม่ใช่หู เป็นวิญญาณคือจิต โสตวิญญาณจิต นี่เป็นนามเป็นวิญญาณ เป็นจิตครบ ห้า ขันธ์พอดีนี่แหละวิญญาณขันธ์ล่ะนี่ ถึงเมื่อย่อมันก็เหลือสาม รูปขันธ์ ก็รูปแล้วก็นามเจตสิกกับนามจิต ย่อที่สุดเหลือสอง รูปกับนาม อย่างนี่ก็เป็นเรื่องยอดยนิด ๆ ของวิปัสสนา

พอถึงแก่นที่สอง ปัจจยปริคคหญาณ แก่นของ วิปัสสนาที่สองนี่ก็คือแยกเหตุและผล ของรูปและนามได้ เช่นเสียงที่โยมได้ยินอยู่นี้ ตรงไหนเป็นเหตุ ตรงไหนเป็นผล เสียงมากระทบหู นั่นแหละเสียงกระทบหู ก็เกิดความได้ยินขึ้นมา อันนี้อะไรมันเกิดก่อน รูปมากระทบหูโยมก่อน จิตของโยมก็ได้ยิน รูปมากระทบหู อันนี้ก็เป็นตัวเหตุ ที่ได้ยินนั้นเป็นผล ว่ามันเกิดทีหลัง รูปมาซะก่อนเสียงมากระทบจึงเกิดได้ อันนี้เรียกว่าแยกเหตุและผลของรูปและนาม โยมนั่งอยู่อย่างนี้อยากลุกไปทำงาน ใจที่อยากลุกน่ะนามเป็นเหตุ รูปคือร่างกายของโยมก็ลุกขึ้นไปทำงาน รูปเป็นผล อันนี้ก็เป็นแก่นที่สอง ถึงแก่นนี้ก็ไม้ใช่เบานะ ถ้าใครแยกได้ถึงแก่นนี้แล้วในบาลี วิสุทธิมรรค หลักสูตรประโยคเก้า ภาคสามหน้า สองร้อยยี่สิบก้า ท่านกล่าวว่า ผู้ปฏิบัติถึงตรงนี้ ญาณสองนี่แหละ เรียกว่า จุลโสดาบัน

:arrow: :arrow: :arrow:
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 410

โพสต์

แก้ สลับกัน
ไม่มีโรคเป็นยอดลาภ
..อันอื่นก็อาจสลับ..??
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 411

โพสต์

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... =16&A=2425
๘. นามรูปสูตร
[๒๑๖] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรม
ทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ นามรูปก็หยั่งลง เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
จึงมีสฬายตนะ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้ ฯ
[๒๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงและแผ่ไปข้างๆ ราก
ทั้งหมดนั้นย่อมดูดโอชารสไปเบื้องบน ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้น มี
อาหารอย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น พึงเป็นอยู่ตลอดกาลนาน แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่
นามรูปก็หยั่งลง ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
[๒๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ นามรูปก็ไม่หยั่งลง เพราะนามรูปดับ สฬายตนะ
จึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

[๒๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ยืนต้นอยู่อย่างนั้น ทีนั้นบุรุษเอา
จอบและภาชนะมา ฯลฯ ไม่เกิดอีกต่อไป แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็น
โทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ นามรูปก็ไม่หยั่งลง
ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
:idea:
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 412

โพสต์

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... =35&A=3732

๖. ปัจจยาการวิภังค์
สุตตันตภาชนีย์
[๒๕๕] สังขารเกิดเพราะอวิชาเป็นปัจจัย
วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย
นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย
ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย
อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย
ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เกิดเพราะชาติ
เป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
[๒๕๖] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ทุกข์ ความไม่รู้ทุกขสมุทัย ความไม่รู้ทุกขนิโรธ ความไม่รู้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
นี้เรียกว่า อวิชชา
[๒๕๗] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร กายสังขาร
วจีสังขาร จิตตสังขาร
ในสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน
กุศลเจตนา เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร ที่สำเร็จด้วยทาน ที่สำเร็จ-
*ด้วยศีล ที่สำเร็จด้วยภาวนา
นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร
อปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน
อกุศลเจตนาเป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร
อาเนญชาภิสังขาร เป็นไฉน
กุศลเจตนาเป็นอรูปาวจร นี้เรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร
กายสังขาร เป็นไฉน
กายสัญเจตนา เป็นกายสังขาร วจีสัญเจตนา เป็นวจีสังขาร มโนสัญ-
*เจตนา เป็นจิตตสังขาร
เหล่านี้เรียกว่า สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
[๒๕๘] วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณ
เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย
[๒๕๙] นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน
นาม ๑ รูป ๑
ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน
เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน
มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
[๒๖๐] สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน
จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ มนาย-
*ตนะ นี้เรียกว่า สฬายตนะ
เกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย
[๒๖๑] ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เป็นไฉน
จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโน-
*สัมผัส นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
[๒๖๒] เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน
จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เรียกว่า
เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
[๒๖๓] ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน
รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมม-
*ตัณหา นี้เรียกว่า ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย
[๒๖๔] อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย เป็นไฉน
กามุปาทาน ทิฏฐปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า
อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย
[๒๖๕] ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย เป็นไฉน
ภพ ๒ คือ กรรมภพ ๑ อุปปัตติภพ ๑
ในภพ ๒ นั้น กรรมภพ เป็นไฉน
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร นี้เรียกว่า กรรมภพ
กรรมที่เป็นเหตุให้ไปสู่ภพแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า กรรมภพ
อุปปัตติภพ เป็นไฉน
กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญา-
*นาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ นี้เรียกว่า อุปปัตติภพ
กรรมภพและอุปปัตติภพดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอุปาทาน
เป็นปัจจัย
[๒๖๖] ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย เป็นไฉน
ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความเกิดจำเพาะ ความปรากฏ
แห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด
นี้เรียกว่า ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย
[๒๖๗] ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย เป็นไฉน
ชรา ๑ มรณะ ๑
ในชราและมรณะนั้น ชรา เป็นไฉน
ความคร่ำคร่า ภาวะที่คร่ำคร่า ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอก ความ-
*ที่หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมสิ้นอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ
ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า ชรา
มรณะ เป็นไฉน
ความเคลื่อน ภาวะที่เคลื่อน ความทำลาย ความหายไป มฤตยู ความ-
*ตาย ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่ง
ชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า มรณะ
ชราและมรณะดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย
[๒๖๘] โสกะ เป็นไฉน
ความโศกเศร้า กิริยาโศกเศร้า สภาพโศกเศร้า ความแห้งผากภายใน
ความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความโศกเศร้า
ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค
ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ กระทบแล้ว ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อม
อย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว นี้เรียกว่า
โสกะ
[๒๖๙] ปริเทวะ เป็นไฉน
ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาร้องไห้ กิริยาคร่ำครวญ สภาพร้อง-
*ไห้ สภาพคร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพร่ำเพ้อ ความร่ำไห้ ความพิไรร่ำ
กิริยาพิไรร่ำ สภาพพิไรร่ำ ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์
ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ กระทบแล้ว ของ
ผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่าง-
*หนึ่งกระทบแล้ว นี้เรียกว่า ปริเทวะ
[๒๗๐] ทุกข์ เป็นไฉน
ความไม่สบายกาย ความทุกข์กาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย เป็น
ทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กาย
สัมผัส อันใด นี้เรียกว่า ทุกข์
[๒๗๑] โทมนัส เป็นไฉน
ความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส
[๒๗๒] อุปายาส เป็นไฉน
ความแค้น ความขุ่นแค้น สภาพแค้น สภาพขุ่นแค้น ของผู้ที่ถูกความ
เสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือ
ความเสื่อมทิฏฐิ กระทบแล้ว ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง
ของผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว นี้เรียกว่า อุปายาส
[๒๗๓] คำว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้นั้น
ได้แก่ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุม ความปรากฏ
แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้


ดูกรมาร เพราะเหตุไรหนอ ความเห็นของท่านจึงหวนกลับ
มาว่าสัตว์ ฯ
ในกองสังขารล้วนนี้ ย่อมไม่ได้นามว่าสัตว์ ฯ
เหมือนอย่างว่า เพราะคุมส่วนทั้งหลายเข้า เสียงว่ารถย่อมมี
ฉันใด ฯ
เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่ การสมมติว่าสัตว์ย่อมมี ฉันนั้น ฯ
ความจริงทุกข์เท่านั้นย่อมเกิด ทุกข์ย่อมตั้งอยู่และเสื่อมสิ้น
ไป นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มี
อะไรดับ ฯ

ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า วชิราภิกษุณีรู้จักเรา ดังนี้
จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 367&Z=4404
:twisted: :evil:
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 413

โพสต์

good read
n research...

ศึกษาการก าหนดรูปนามทางวิญญาณ๖
ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
http://bit.ly/1lLf2Uk
..........
..
..
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 414

โพสต์

เกิด..ดับ
เมื่อพิจารณาดูรูปดูนามตรงต่อสภาวะของรูปของนามแต่ละอย่าง ๆ
ที่กำลังปรากฏด้วยความปล่อยวางด้วยความเป็นปรกติ ก็จะ
เห็นรูปนามเกิดดับ เห็นรูปนามมีเกิดมีดับ

ได้ยินเสียงก็มีแต่ดับ พอได้ยินก็ดับ
กลิ่นกระทบจมูกก็มีแต่ดับ กระทบแล้วก็ดับ
เย็นมากระทบแล้วก็ดับ
แข็งมากระทบก็ดับ
ตึงมากระทบก็ดับ
เคลื่อนไหวแต่ละอันมีความแตกดับ
จิตใจที่คิด คิดแล้วก็ดับ ๆ
ความปรุงแต่ง ความตรึก ความนึก ความชอบไม่ชอบ มีเกิดมีดับอยู่

มันจะเห็นแต่ความเกิดขึ้นความหมดไป ความเกิดขึ้นความดับไป ญาณนี้เรียกว่าเป็นวิปัสสนาญาณแท้ ๆ ขึ้น ญาณก่อนหน้านั้นที่จริงก็ยังไม่เป็นวิปัสสนาที่แท้จริง เพราะว่ามันยังอดมีสมมุติเข้ามาด้วย เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่มันก็เป็นลักษณะมีสมมุติเข้ามา เห็นเหตุปัจจัยมันก็มีความตรึกนึกอยู่ด้วย มันยังมีสมมุติเข้ามา แต่เมื่อเห็นความเกิดดับ เรียกว่าสติสัมปชัญญะมันรู้ได้ตรงปรมัตถ์มากขึ้น ทันต่อรูปนามต่อปรมัตถ์ที่กำลังปรากฏเปลี่ยนแปลงเป็นปัจจุบันอยู่ได้ดีขึ้น ได้มากขึ้น มากขึ้น ทันต่อรูปนาม ต่อปรมัตถ์ที่กำลังปรากฏ เปลี่ยนแปลงเป็นปัจจุบันอยู่ได้ดีขึ้น ได้มากขึ้น ได้ตรงสภาวะขึ้น มันก็เห็นความเกิดดับของรูปของนาม
http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... sem_23.htm
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 415

โพสต์

ระดับ
ไม่ยินดี-ยินร้าย
ฉะนั้นท่านจึงสอนให้ละความยินดีติดใจ เกิดปีติก็เข้าไปรู้แล้วก็ดูจิต มีความพอใจติดใจไหม ถ้ามันมีความพอใจติดใจก็รู้เท่าทัน เพื่อคลี่คลายให้จิตปรกติ เกิดความสุขก็เหมือนกัน มันจะเข้าไปยินดีติดใจ เกิดสมาธิก็เข้าไปยินดีติดใจ เกิดญาณะ เกิดปัญญา เกิดสติ เกิดแสงสว่าง เกิดความน้อมใจเชื่อ เกิดความเพียรก็ตาม ให้รู้สิ่งเหล่านั้นด้วยความวางเฉย โดยปรกติของจิตใจของบุคคลนั้น เมื่อเกิดสภาวะอะไรดี ๆ ขึ้นมามันจะติดใจ มันจะพอใจ มันจะเข้าไปยินดี เข้าไปติดมันก็เกิดความตื่นเต้นดีอกดีใจ ชอบอกชอบใจหรือเพลิดเพลิน เพลิดเพลินอยู่กับความสงบ เพลิดเพลินอยู่กับความสุข เพลิดเพลินอยู่กับปีติ ก็ทำให้ไม่เห็นสภาวะ ไม่เห็นรูปเห็นนามต่อไป ไม่เห็นความเกิดดับต่อไป ก็ไปอยู่กับความสงบอยู่กับปีติ ก็มีความสุขดี แต่ว่ามันไม่ก้าวขึ้นไป ได้รับความสุขแล้วก็พอใจอยู่อย่างนั้น

อย่างคนเดินทางพอไปเจอร่มเงาเย็นสบายเจอน้ำใสเย็นลงไปพัก เลยอยู่อย่างนั้นแหละ ติดอยู่อย่างนั้นไม่ยอมเดินทางต่อไป เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติก็ต้องมีการรู้เท่าทัน

ละตัณหาความพอใจติดใจ นิกันตินี่มันก็คือตัวโลภะนั่นแหละ โลภะก็คือตัณหา
ก็เกิดธัมมตัณหาความพอใจติดใจในธรรม
พอใจติดใจในความสงบ พอใจติดใจในปีติ
พอใจติดใจในสติ ในปัญญา

เป็นต้น มันกลับเป็นกิเลสขึ้นมา กิเลสแบบนี้ผู้ปฏิบัติมักจะไม่ค่อยรู้ตัว

ไม่ค่อยรู้ตัวเพราะว่า ดูว่ามันกำลังเสวยความสุขอยู่ มันติดใจพอใจอยู่กับความสุข

มันไม่ค่อยรู้ ไม่เห็นโทษเห็นทุกข์ของมัน ไม่เห็นโทษของตัณหาของความพอใจ

เรียกว่าศัตรูที่มาในคราบของความเป็นมิตร เราก็เลยไม่รู้สึกว่ามันจะเป็นศัตรูอะไร

ความพอใจติดใจนี่ไม่เห็นว่ามันจะเป็นพิษเป็นภัย เมื่อไม่เห็นเป็นพิษเป็นภัยก็เลยเลี้ยงมันไว้ อยู่กับมันไป

ที่ไหนได้มันพาให้เราไม่ก้าวหน้า ติดขัดอยู่อย่างนั้น ฉะนั้นผู้ปฏิบัติก็จะต้องวินิจฉัยสังเกตสังกาจิตใจตัวเองให้รู้ทัน อ้อ ขณะนี้มันพอใจมันติดใจ มันมีโลภะมีตัณหาเกิดขึ้น ถ้าเข้าไปรู้หน้าตาของตัณหาของความพอใจมันก็หลบหน้าไป จิตใจก็จะวางเฉย จิตใจก็จะออกมาจากความพอใจติดใจ ก็จะทำให้วิปัสสนาญาณก็จะได้เจริญต่อไป เข้าสู่อุทยัพพยญาณอย่างแก่ขึ้นมา

เห็นความเกิดดับต่อไป
http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... sem_23.htm
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 416

โพสต์

http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=26&i=448
ขณะนั้น นางจำไม่ได้ว่าตนปราศจากผ้านุ่งห่มฟุบล้มลง โดยรูปที่เกิด เพราะเป็นคนบ้าด้วยความเศร้าโศก นางจึงวนเวียนเพ้อรำพันว่า
ลูกทั้งสองก็ตาย สามีเราก็ตายที่หนทาง บิดา
มารดาและพี่ชาย ก็ถูกเผาที่เชิงตะกอนเดียวกัน.
นับตั้งแต่นั้นมา นางก็มีสมญาว่า ปฏาจารา เพราะมีอาจาระตกไป เหตุไม่เที่ยวไปด้วยผ้าแม้แต่เพียงผ้านุ่ง. ผู้คนทั้งหลายเห็นนาง บางพวกก็โยนขยะลงบนศีรษะ พร้อมทั้งขับไล่ว่า ไปอีคนบ้า. บางพวกก็โปรยฝุ่น อีกพวกหนึ่งก็ขว้างก้อนดินท่อนไม้.
พระศาสดากำลังประทับนั่งทรงแสดงธรรมท่ามกลางบริษัทหมู่ใหญ่ ณ พระเชตวันวิหาร ทอดพระเนตรเห็นนางกำลังวนเวียนอย่างนั้น และทรงสำรวจดูความแก่กล้าแห่งญาณ ได้ทรงทำโดยอาการที่นางจะบ่ายหน้ามายังพระวิหาร.
บริษัทเห็นนาง จึงกล่าวว่า อย่าให้หญิงบ้ามาที่นี่นะ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อย่าห้ามนางเลย. เมื่อนางมาถึงที่ไม่ไกล จึงตรัสว่า แม่นางจงกลับได้สติ.
ในทันใด นางก็กลับได้สติ เพราะพุทธานุภาพ รู้ตัวว่าผ้าที่นุ่งหลุดหล่นหมดแล้ว เกิดหิริโอตตัปปะขึ้นมาก็นั่งคุกเข่าลง. ชายผู้หนึ่งก็โยนผ้าห่มให้ นางนุ่งผ้านั้นแล้วก็เข้าเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอทรงเป็นที่พึ่งของข้าพระองค์ด้วย เหยี่ยวเฉี่ยวเอาบุตรของข้าพระองค์ไปคนหนึ่ง คนหนึ่งถูกน้ำพัดไป สามีก็ตายที่หนทาง บิดามารดาและพี่ชายก็ถูกเรือนล้มทับตาย เขาเผาที่เชิงตะกอนเดียวกัน.
นางก็ทูลเล่าถึงเหตุแห่งความเศร้าโศก.
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนปฏาจารา เจ้าอย่าคิดไปเลย เจ้ามาหาเราซึ่งสามารถจะเป็นที่พึ่งของเจ้าได้ ก็บัดนี้เจ้าหลั่งน้ำตา เพราะความตายของลูกเป็นต้นเป็นเหตุฉันใด ในสังสารวัฏที่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายตามไปไม่รู้แล้วก็ฉันนั้น น้ำตาที่หลั่งเพราะความตายของลูกเป็นต้นเป็นเหตุยังมากกว่าน้ำของมหาสมุทรทั้งสี่อีก.
เมื่อทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถาว่า
น้ำในมหาสมุทรทั้งสี่ยังมีปริมาณน้อย ความ
เศร้าโศกของนรชนผู้ถูกทุกข์กระทบแล้ว น้ำของน้ำ
ตามิใช่น้อย มีปริมาณมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔
นั้นเสียอีก แม่เอย เหตุไร เจ้าจึงยังประมาทอยู่เล่า.
เมื่อพระศาสดากำลังตรัสกถาบรรยายเรื่องสังสารวัฏ ที่มีเงื่อนต้นและเงื่อนปลายตามไปไม่รู้แล้ว ความเศร้าโศกของนางก็ค่อยทุเลาลง.
ลำดับนั้น พระศาสดาทรงทราบว่า นางมีความเศร้าโศกเบาบางแล้ว เมื่อทรงแสดงว่า ดูก่อนปฏาจารา ขึ้นชื่อว่าปิยชนมีบุตรเป็นต้นก็ไม่อาจจะช่วย จะซ่อนเร้นหรือเป็นที่พึ่งของคนที่กำลังไปสู่ปรโลกได้ ดังนั้น ปิยชนเหล่านั้นแม้มีอยู่ ก็ชื่อว่าไม่มี เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงชำระศีลของตนแล้ว ทำทางที่จะไปพระนิพพานให้สำเร็จ ดังนี้ จึงทรงแสดงธรรมด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
ไม่มีบุตรที่จะช่วยได้ บิดาก็ไม่ได้แม้พวกพ้องก็
ไม่ได้ เมื่อความตายมาถึงตัวแล้ว หมู่ญาติก็ช่วยไม่ได้
เลย
สัจจะ ธรรมะ อหิงสา สัญญมะและทมะมีอยู่ใน
ผู้ใด พระอริยะทั้งหลายย่อมคบผู้นั้น นั่นเป็นอนามต
ธรรม ธรรมที่ไม่ตาย (นิพพาน) ในโลก.
บัณฑิตรู้ใจความข้อนี้แล้ว สำรวมในศีล พึงรีบ
เร่งชำระทางไปพระนิพพานทีเดียว.
จบเทศนา นางปฏาจาราก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล
ทูลขอบรรพชากะพระศาสดา. พระศาสดาทรงนำไปสำนักภิกษุณีให้บรรพชา นางได้อุปสมบทแล้ว ก็ทำกิจกรรมในวิปัสสนาเพื่อมรรคเบื้องบนขึ้นไป.






วันหนึ่งก็เอาหม้อนำน้ำมาล้างเท้ารดน้ำลง น้ำนั้นไปได้หน่อยหนึ่งแล้วก็ขาดหายไป
รดครั้งที่สอง น้ำก็ไปได้ไกลกว่าครั้งที่หนึ่งนั้น
รดครั้งที่สามน้ำไปได้ไกลกว่าครั้งที่สองนั้น.


นางยึดน้ำนั้นนั่นแหละเป็นอารมณ์

กำหนดวัยทั้งสามคิดว่า
สัตว์เหล่านี้ตายเสียในปฐมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เรารดครั้งแรก
ตายเสียในมัชฌิมวัยก็มี เหมือนน้ำที่รดครั้งที่สอง
ที่ไปไกลกว่าครั้งแรกตายเสียในปัจฉิมวัยก็มี
เหมือนน้ำที่รดครั้งที่สามซึ่งไปได้ไกลกว่าครั้งที่สองนั้นเสียอีก.


พระศาสดาประทับนั่งอยู่ในพระคันธกุฎี ทรงแผ่พระรัศมีไปประหนึ่งประทับยืนตรัสอยู่ต่อหน้านาง เมื่อทรงแสดงความข้อนี้ว่า ดูก่อนปฏาจารา ข้อนั้นก็เป็นอย่างนั้นแหละ สัตว์เหล่านี้ทั้งหมดล้วนมีความตายเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นคนที่เห็นความเกิดความเสื่อมของปัญจขันธ์ มีชีวิตเป็นอยู่วันเดียวก็ดี ขณะเดียวก็ดี ยังประเสริฐกว่าคนที่ไม่เห็นความเกิดความเสื่อมนั้น ถึงจะมีชีวิตเป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี
จึงตรัสพระคาถาว่า
คนที่เห็นความเกิดความเสื่อม [ของปัญจขันธ์]
มีชีวิตเป็นอยู่วันเดียวยังประเสริฐกว่า คนที่ไม่เห็น
ความเกิดความเสื่อมถึงจะมีชีวิตเป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี.
จบพระคาถา พระปฏาจาราภิกษุณีก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔
.

....


...
..........................
ก็แล พระปฏาจาราเถรี ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาทบทวนถึงการปฏิบัติของตนในเวลาเป็นเสกขบุคคล เมื่อจะชี้แจงอาการบังเกิดของผลเบื้องบน จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้เป็นอุทานว่า
ผู้ชายทั้งหลายไถนาด้วยไถ หว่านเมล็ดพืชลงที่พื้นนา
ย่อมได้ทรัพย์มาเลี้ยงดูบุตรภริยา ข้าพเจ้าสมบูรณ์ด้วยศีล ทำ
ตามคำสั่งสอนของพระศาสดา ไม่เกียจคร้าน ไม่ฟุ้งซ่าน ไฉน
จะไม่ประสบพบพระนิพพานเล่า.

ข้าพเจ้าล้างเท้า ใส่ใจนิมิตในน้ำ เห็นน้ำล้างเท้าไหล
จากที่ดอนมาสู่ที่ลุ่ม แต่นั้น ข้าพเจ้าก็ตั้งจิตไว้ได้มั่นคง ดุจ
ม้าอาชาไนยที่ดี ถือประทีปจากที่นั้นเข้าไปยังวิหาร มองเห็น
ที่นอน จึงเข้าไปที่เตียง
ต่อนั้นก็ถือลูกดาล ชักไส้ประทีปออกไป ความหลุดพ้น
ทางใจก็ได้มี เหมือนความดับของประทีปที่ติดโพลง ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กสํ ได้แก่ ไถนา ทำกสิกรรม.
ความจริง คำนี้เป็นเอกวจนะ ใช้ในอรรถพหุวจนะ.
บทว่า ปวปํ ได้แก่ หว่านเมล็ดพืช.
บทว่า ฉมา แปลว่า บนพื้นดิน.
ความจริง คำนี้เป็นปฐมาวิภัตติ ใช้ในอรรถสัตตมีวิภัตติ.
ในข้อนี้มีความสังเขปดังนี้ว่า
ผู้ชายคือสัตว์เหล่านี้ ไถนาด้วยไถ คือผาลทั้งหลาย หว่านเมล็ดพืชทั้งหลายที่ต่างโดยเป็นปุพพัณณชาติบ้าง อปรัณณชาติบ้าง ลงที่พื้นเนื้อนา ตามที่ประสงค์ ย่อมได้ทรัพย์มาเลี้ยงดูตนและบุตรภริยาเป็นต้น เพราะการไถนาหว่านพืชนั้นเป็นเหตุ เป็นนิมิต ธรรมดาว่าการทำอย่างลูกผู้ชาย คือความพากเพียรจำเพาะตนที่บุคคลประกอบโดยแยบคาย ก็มีผลมีกำไรอย่างนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิมหํ สีลสมฺปนฺนา สตฺถุสาสนการิกา นิพฺพานํ นาธิคจฺฉามิ อกุสีตา อนุทฺธตา ความว่า


ข้าพเจ้ามีศีลบริสุทธิ์ดี ชื่อว่าไม่เกียจคร้าน เพราะเป็นผู้ปรารภความเพียร และชื่อว่าไม่ฟุ้งซ่าน เพราะเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นดีในภายใน กระทำคำสั่งสอนของพระศาสดา กล่าวคือเจริญกรรมฐานที่มีสัจจะ ๔ เป็นอารมณ์ เหตุไรจะไม่ประสบ คือบรรลุพระนิพพานเล่า.
ก็พระเถรีครั้นคิดอย่างนี้แล้ว กระทำอยู่ซึ่งกรรมในวิปัสสนา ในวันหนึ่งถือนิมิตในน้ำล้างเท้า ด้วยเหตุนั้น พระเถรีจึงกล่าวว่า ปาทา ปกฺขาลยิตฺวาน เป็นต้น.


คำนั้นมีความว่า ข้าพเจ้าเมื่อล้างเท้า ในจำนวนน้ำที่รด ๓ ครั้ง เหตุล้างเท้าก็เห็นน้ำล้างเท้าไหลจากที่ดอนมาสู่ที่ลุ่ม ก็ทำให้เป็นนิมิต.

:idea: :idea: :idea:
ข้าพเจ้าพิจารณาอนิจจลักษณะอย่างนี้ว่า น้ำนี้สิ้นไป เสื่อมไปเป็นธรรมดาฉันใด อายุและสังขารของสัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น และ

:idea: :idea: :idea:
พิจารณาทุกขลักษณะและอนัตตลักษณะตามแนวนั้น
เจริญวิปัสสนา แต่นั้นก็ทำจิตให้ตั้งมั่น เหมือนสารถีฝึกม้าอาชาไนยที่ดี.

อธิบายว่า สารถีผู้ฉลาดฝึกม้าอาชาไนยตัวสำคัญให้เชื่อฟังโดยง่ายฉันใด ข้าพเจ้าฝึกจิตของตนให้ตั้งมั่นโดยง่ายก็ฉันนั้น ได้กระทำจิตที่ตั้งมั่นแล้วด้วยสมาธิสัมปยุตด้วยวิปัสสนา.
อนึ่ง ข้าพเจ้าเมื่อเจริญวิปัสสนาอย่างนั้น เข้าห้องน้อยเมื่อต้องการอุตุสัปปายะ ถือประทีปเพื่อกำจัดความมืดเข้าห้องแล้ววางประทีป พอนั่งลงบนเตียง ก็หมุนไส้ประทีปขึ้นลงด้วยลูกดาล เพื่อเพ่งประทีป ทันใดนั่นเอง จิตของพระเถรีนั้นก็ตั้งมั่น เพราะได้อุตุสัปปายะ หยั่งลงสู่วิถีแห่งวิปัสสนา สืบต่อด้วยมรรค.
แต่นั้น อาสวะทั้งหลายก็สิ้นไปโดยประการทั้งปวง ตามลำดับมรรค.
ด้วยเหตุนั้น พระเถรีจึงกล่าวว่า แต่นั้น ข้าพเจ้าก็ถือประทีป ฯลฯ ความหลุดพ้นทางใจได้มีแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสยฺยํ โอโลกยิตฺวาน ได้แก่ เห็นที่นอนโดยแสงสว่างแห่งประทีป.
บทว่า สูจึ ได้แก่ ลูกดาล.
บทว่า วฏฺฏึ โอกสฺสยามิ ได้แก่ หมุนไส้ประทีปที่ตรงต่อน้ำมันขึ้นลง เพื่อดับประทีป.
บทว่า วิโมกฺโข ได้แก่ ความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลาย.
ก็วิโมกข์นั้น เพราะเหตุที่เป็นความสืบต่อแห่งจิตโดยปรมัตถ์ ฉะนั้น พระเถรีจึงกล่าวว่า เจตโส เหมือนอย่างว่าเมื่อปัจจัยมีไส้และน้ำมันมีอยู่ ประทีปที่ควรจะติดขึ้น แต่ไม่ติดขึ้นเพราะไม่มีปัจจัยนั้น จึงเรียกว่าดับ ฉันใด เมื่อปัจจัยมีกิเลสเป็นต้นมีอยู่ จิตที่ควรจะเกิดขึ้น แต่ไม่เกิดขึ้น เพราะไม่มีปัจจัยนั้น จึงเรียกว่าดับฉันนั้น
เพราะฉะนั้น พระเถรีจึงกล่าวว่า ความหลุดพ้นทางใจได้มีแล้ว เหมือนความดับของประทีปที่ติดโพลง ฉะนั้น.

จบอรรถกถาปฏาจาราเถรีคาถาที่ ๑๐
:arrow: :arrow: :arrow:

.........
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในคัมภีร์อปทานว่า๑-
พระปฏาจาราเถรีกล่าวบุพกรรมของตนว่า
พระชินพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งสรรพธรรม ทรงเป็นผู้นำ เสด็จอุบัติในแสนกัปนับแต่กัปนี้ไป.
ครั้งนั้น ข้าพเจ้าเกิดในสกุลเศรษฐีผู้รุ่งโรจน์ด้วยรัตนะนานาชนิด ในกรุงหงสวดี เปี่ยมด้วยสุขเป็นอันมาก เข้าไปเฝ้าพระมหาวีระพระองค์นั้น ได้สดับพระธรรมเทศนา เกิดความเลื่อมใส ก็ถึงพระชินพุทธเจ้าเป็นสรณะ.
ลำดับนั้น พระผู้ทรงเป็นผู้นำทรงยกย่องภิกษุณีผู้มีความละอาย คงที่ แกล้วกล้าในกิจที่ควรและไม่ควร ว่าเป็นเลิศของภิกษุณีผู้ทรงพระวินัย.
ครั้งนั้น ข้าพเจ้ามีจิตยินดีปรารถนาตำแหน่งนั้น จึงนิมนต์พระทศพลผู้นำโลกพร้อมทั้งพระสงฆ์ให้เสวย ๗ วัน ถวายไตรจีวร หมอบลงแทบพระยุคลบาทด้วยเศียรเกล้า กราบทูลดังนี้ว่า
ข้าแต่พระมุนีผู้เป็นปราชญ์ เป็นผู้นำ พระองค์ทรงยกย่องภิกษุณีรูปใดไว้ในกัปที่ ๘ นับแต่กัปนี้ไป ข้าพระองค์จักเป็นเช่นภิกษุณีรูปนั้น ถ้าความปรารถนาของข้าพระองค์สำเร็จ.
ครั้งนั้น พระศาสดาได้ตรัสกะข้าพเจ้าว่า แม่นางเอย เจ้าอย่ากลัวเลย เบาใจได้ ในอนาคตกาล เจ้าจักได้มโนรถความปรารถนานั้น ในแสนกัปนับแต่กัปนี้ไป พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะ ทรงสมภพในราชสกุลพระเจ้าโอกกากราช จักเป็นศาสดาในโลก เจ้าจักมีนามว่าปฏาจารา เป็นธรรมทายาทโอรสในธรรมของพระองค์ ถูกเนรมิตโดยธรรม เป็นสาวิกาของพระศาสดา.
ครั้งนั้น ข้าพเจ้าดีใจมีจิตเมตตา บำรุงพระชินพุทธเจ้าผู้นำโลกพร้อมทั้งพระสงฆ์ จนตลอดชีวิต.
ด้วยกรรมที่ทำมาดีนั้นและด้วยการตั้งใจไว้ชอบ ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้วก็ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์.
ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสป เป็นพราหมณ์มียศใหญ่ ประเสริฐกว่าพวกบัณฑิต เสด็จอุบัติ ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีจอมนรชนพระนามว่ากิกิ ประทับ ณ กรุงพาราณสีราชธานี ทรงเป็นอุปฐาก บำรุงพระกัสสปพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่.
ข้าพเจ้าเป็นราชธิดาองค์ที่สามของพระองค์ ปรากฏพระนามว่าภิกขุนี ฟังธรรมของพระชินพุทธเจ้าผู้เลิศแล้ว ก็ชอบใจบรรพชา พระราชบิดาไม่ทรงอนุญาตพวกเรา ครั้งนั้นพวกเราจึงอยู่แต่ในพระราชมณเฑียร ไม่เกียจคร้าน ประพฤติโกมาริพรหมจรรย์มาถึง ๒๐,๐๐๐ ปี.
พวกเราราชธิดาอยู่ในความสุข บันเทิง ยินดีเนืองนิตย์ในการบำรุงพระพุทธเจ้า เป็นพระราชธิดา ๗ พระองค์ คือ สมณี สมณคุตตา ภิกขุนี ภิกขุทาสิกา ธัมมา สุธัมมาและสังฆทาสิกาที่ครบ ๗.
บัดนี้ก็คือข้าพเจ้า อุบลวรรณา เขมา ภัททา ภิกขุนี กิสาโคตมี ธัมมทินนาและวิสาขาที่ครบ ๗.
ด้วยกรรมที่ทำมาดีเหล่านั้นและด้วยการตั้งใจไว้ชอบ ข้าพเจ้าละกายมนุษย์แล้วก็ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ บัดนี้ภพสุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดในสกุลเศรษฐีผู้มั่งคั่ง รุ่งเรือง มีทรัพย์มาก ในกรุงสาวัตถีราชธานี แคว้นโกศล.
ข้าพเจ้าเติบโตเป็นสาวตกอยู่ในอำนาจความวิตก พบชายชนบทก็หนีตามไปกับเขา ข้าพเจ้าคลอดบุตรคนหนึ่ง คนที่สองยังอยู่ในครรภ์ ข้าพเจ้าตกลงใจว่าจะบอกบิดามารดา ข้าพเจ้าไม่บอกสามีของข้าพเจ้า เมื่อสามีไปค้างแรม ข้าพเจ้าก็ออกจากบ้านลำพังคนเดียว หมายจะไปกรุงสาวัตถี แต่นั้น สามีก็ตามมาทันข้าพเจ้าในระหว่างทาง.
ครั้งนั้น ลมกัมมัชวาตเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าอย่างทารุณยิ่ง เมฆฝนขนาดใหญ่ก็เกิดขึ้นในเวลาที่ข้าพเจ้าคลอดบุตร ขณะนั้น สามีไปหาทัพสัมภาระเพื่อกำบังฝน แต่ก็ถูกงูกัดตาย.
ครั้งนั้น เพราะทุกข์ที่คลอดบุตร ข้าพเจ้าก็เป็นคนอนาถายากไร้ เห็นแม่น้ำเล็กๆ น้ำเต็มเปี่ยม ก็เดินไปแม่น้ำตรงที่ตื้นเขิน พาลูกอ่อนข้ามน้ำ อีกคนหนึ่งเอาไว้ฝั่งโน้น ให้ลูกอ่อนดื่มนม เพื่อข้ามไปอีกฝั่งหนึ่ง เหยี่ยวโฉบเฉี่ยวลูกอ่อนที่ร้องจ้าไป ลูกอีกคนหนึ่งกระแสน้ำพัดไป ข้าพเจ้านั้นเปี่ยมด้วยความเศร้าโศก.
ข้าพเจ้ากลับไปกรุงสาวัตถี ได้ยินข่าวว่าบิดามารดาพี่ชายตายเสียแล้ว ครั้งนั้น ข้าพเจ้าถูกความเศร้าโศกบีบคั้น เต็มเปี่ยมด้วยความเศร้าโศกใหญ่หลวง.
บุตรทั้งสองก็ตาย สามีของข้าพเจ้าก็ตายเสียที่หนทาง บิดามารดาและพี่ชายก็ถูกเผาบนเชิงตะกอนเดียวกัน.
ครั้งนั้น ข้าพเจ้าผอมเหลือง ไม่มีที่พึ่ง มีใจห่อเหี่ยว เดินซมซานไปพบพระผู้ทรงฝึกชนที่ควรฝึก



พระศาสดาได้ตรัสกะข้าพเจ้าว่า อย่าเศร้าโศกถึงบุตรเลย จงเบาใจเถิด จงแสวงหาตนของเจ้าเถิด จะเดือดร้อนไร้ประโยชน์ไปทำไม. ไม่มีบุตรที่จะช่วยได้ดอก บิดาก็ไม่ได้ แม้พวกพ้องก็ไม่ได้ เมื่อความตายมาถึงตัว หมู่ญาติก็ช่วยไม่ได้เลย.


ข้าพเจ้าฟังพระดำรัสของพระมุนีแล้วก็บรรลุผลอันดับแรก [โสดาปัตติผล]

แล้วก็บวช ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต.
ข้าพเจ้ากระทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดาก็เป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์ ในทิพโสตธาตุ รู้ปรจิตตวิชชา รู้ปุพเพนิวาสญาณ ชำระทิพยจักษุ ทำอาสวะให้สิ้นไปหมด เป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีมลทิน.

ต่อนั้น ข้าพเจ้าก็เล่าเรียนพระวินัยทั้งหมดในสำนักของพระผู้ทรงเห็นทุกอย่าง อย่างพิสดารและนำสืบทอดมาตามเป็นจริง.
พระชินเจ้าทรงยินดีในคุณข้อนั้น จึงทรงสถาปนาข้าพเจ้าว่า ปฏาจาราภิกษุณีผู้เดียวเป็นเลิศของภิกษุณีผู้ทรงพระวินัย.
พระศาสดา ข้าพเจ้าก็บำรุงแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ทำเสร็จแล้ว.
ภาระหนัก ข้าพเจ้าก็ปลงลงแล้ว ตัณหาที่นำไปในภพ ข้าพเจ้าก็ถอนเสียแล้ว คนทั้งหลายออกจากเรือนบวชไม่มีเรือน เพื่อประโยชน์อันใด ประโยชน์อันนั้น ข้าพเจ้าก็บรรลุแล้ว ธรรมเป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งหมด ข้าพเจ้าก็บรรลุแล้ว.
กิเลสทั้งหลาย ข้าพเจ้าก็เผาเสียแล้ว ฯลฯ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ทำเสร็จแล้ว.
:bow: :bow: :bow:
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 417

โพสต์

คนที่เห็นความเกิดความเสื่อม [ของปัญจขันธ์]
มีชีวิตเป็นอยู่วันเดียวยังประเสริฐกว่า คนที่ไม่เห็น
ความเกิดความเสื่อมถึงจะมีชีวิตเป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี.
โคลงโลกนิติ..
๏ มีอายุร้อยหนึ่ง นานนัก
ศีลชื่อปัญจางค์จัก ไป่รู้
ขวบเดียวเด็กรู้รัก- ษานิจ ศีลนา
พระตรัสสรรเสริญผู้ เด็กนั้นเกิดศรี ฯ

๏ คนใดยืนอยู่ร้อย พรรษา
ใจบ่มีปรีชา โหดไร้
วันเดียวเด็กเกิดมา ใจปราชญ์
สรรเพชญ์บัณฑูรไว้ เด็กนั้นควรยอ ฯ

๏ คนใดยืนเหยียบร้อย ขวบปี
ความอุตส่าหฤามี เท่าก้อย
เด็กเกิดขวบหนึ่งดี เพียรพาก
พระตรัสว่าเด็กน้อย นี่เนื้อเวไนย ฯ

๏ อายุถึงร้อยขวบ เจียรกาล
ธัมโมชอันโอฬาร บ่รู้
เด็กน้อยเกิดประมาณ วันหนึ่ง
เห็นถ่องธรรมยิ่งผู้ แก่ร้อยพรรษา ฯ

๏ มีอายุอยู่ร้อย ปีปลาย
ความเกิดแลความตาย ไป่รู้
วันเดียวเด็กหญิงชาย เห็นเกิด ตายนา
ลูกอ่อนนั้นยิ่งผู้ แก่ร้อยปีปลาย ฯ


...
เกิด..ดับ.
...
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 418

โพสต์

ทบทวน
ชัด..
นามรูป
....
ถามทางจิต

“เวลากำหนดท้องพองท้องยุบเอาอะไรมากำหนด” ถ้าเขายังไม่รู้ให้ถามเขาว่า “คนตายพูดได้ไหม” ตอบว่า “ไม่ได้” ถามว่า “ไม่ได้เพราะอะไร” ตอบว่า “เพราะไม่มีจิต”

ถามว่า “เวลากำหนดท้องพอง-ยุบนี้ ใจที่กำหนดท้อง พอง-ยุบ เป็นใจเดียวกันหรือไม่” ถ้าเขาตอบว่า “เป็นใจเดียวกัน” ถามว่า “แล้วใจบุญกับใจบาป ใจโลภ ใจโกรธ ใจหลง ใจเดียวกันหรือเปล่าใจกำหนดท้องพองท้องยุบต้องเป็นคนละขณะกันจึงจะใช่ สอบท้องพอง-ท้องยุบ ขวาย่าง-ซ้ายย่างเสร็จแล้ว ถ้ามีเวลามาก ก็สอบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สอบไปหมดทุกทาง

ถ้าพื้นฐานของการปฏิบัติดี มานะ ทิฏฐิก็ลดลงไปด้วย ถ้าพื้นฐานไม่ดีไม่ค่อยได้ผล หนักๆ เข้าก็หาว่าอาจารย์สู้เราไม่ได้ เสียผู้เสียคนเกิดทิฏฐิวิปลาสไปก็ได้ ถ้ามานะ ทิฏฐิกล้า เจ็บปวดนิดๆ หน่อยๆ ก็ไม่กล้าสู้ ถ้ามานะ ทิฏฐิลดลง ไปธุดงค์ก็ได้ไม่กลัวตาย


สอบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
ถามทางตา

“สีขาวกับตาเป็นอันเดียวกันหรือไม่” ถ้าเขาตอบว่า “เป็นอันเดียวกัน” แล้วให้เอาผ้าปิดตาไว้ ถามเขาว่า “เห็นหรือไม่” ถ้าตอบว่า “เห็น” หยุดสอบแค่นั้น แต่อย่าบอกว่าเป็นคนละอันกันอย่างโน้นอย่างนี้ไม่ได้

ถามทางหู

“หูได้ยินเสียงนกร้องไหม เสียงกับหูเป็นอันเดียวกันหรือไม่” ถ้าเขาตอบว่า “เป็นอันเดียวกัน” ถามว่า “คุณฟังเสียงวิทยุเทปอยู่ที่บ้านสนุกไหม เสียงวิทยุเทปติดหูมาไหม” ถ้าตอบว่า “ติด” ก็ถามว่า “ไหนลองฟังเสียงวิทยุเทปดูซิ” แล้วก็แนะให้สังเกตว่าขณะที่ฟังเสียงแล้วดีใจ เสียใจ กลุ้มใจมีหรือเปล่า แนะให้สังเกตกำหนดดูให้รู้

ถามทางจมูก

“จมูกกับกลิ่นอันเดียวกันหรือไม่” ถ้าเขาตอบว่า “อันเดียวกัน” ถามว่า “กลิ่นติดจมูกมาหรือไม่”

ถามทางลิ้น

“ลิ้นกับรสอันเดียวกันหรือไม่” ถ้าเขาตอบว่า “อันเดียวกัน” ถามว่า “รสเผ็ด รสเค็ม เป็นต้น ที่เกิดจากอาหารที่เราบริโภคติดอยู่ที่ลิ้นหรือไม่”

ถามทางกายสัมผัส

“เสื่ออ่อนไหม” ถ้าเขาตอบว่า “อ่อน” ถามเขาว่า “อ่อนกับกายอันเดียวกันหรือไม่” ถ้าเขาตอบว่า “อันเดียวกัน” แล้วก็ถามว่า “สัมผัสอ่อนนั้นติดกายไปด้วยหรือเปล่า” สอบเสร็จเป็นลำดับๆ ไป

ในการสอบอารมณ์ ถ้ามีเวลามาก ให้ถามรูปกับนามควบคู่กันไป เช่น ถามตากับรูปและความรู้สึก ๓ อย่างนี้เป็นอันเดียวกันหรือไม่

ตา+สี เกิดความรู้สึกขึ้น ให้ถามว่า “ตาเป็นรูปหรือเป็นนาม สีเป็นรูปหรือเป็นนาม ความรู้สึกเป็นรูปหรือเป็นนาม ตา สี และความรู้สึกทั้ง ๓ อย่างนี้ เป็นอันเดียวกันหรือไม่”

หู+เสียง เกิดความรู้สึกขึ้น....................ฯลฯ

จมูก+กลิ่น เกิดความรู้สึกขึ้น....................ฯลฯ

ลิ้น+รส เกิด ความรู้สึกขึ้น.........................ฯลฯ

กาย+ผัสสะ เกิดความรู้สึกขึ้น ถามเขาว่า “กายเป็นรูปหรือเป็นนาม ผัสสะเป็นรูปหรือเป็นนาม ความรู้สึกเป็นรูปหรือเป็นนาม และกาย ผัสสะ และความรู้สึกทั้ง ๓ นี้เป็นอันเดียวกันหรือไม่” ถ้าเขาตอบถูก ก็เทศน์โปรดเขาต่อ เช่น การปฏิบัติธรรมนี้ต้องตั้งใจสำเหนียกรูปนามที่เกิดขึ้นให้เห็นชัดให้เห็นรูป กับนามเกิดขึ้นพร้อมกัน จึงจะใช้ได้ สิ่งเหล่าใดสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สิ่งเหล่านี้เป็นรูป (ลิ้นสัมผัสกับโอชารส)

ถ้าผู้ถูกสอบอารมณ์ถามขึ้นว่า “ผมตอบถูกไหม” พึงตอบเขาไปว่า “จะถูกหรือไม่ไม่เป็นไรหรอก อาจารย์ต้องการทราบถึงความรู้สึกในเวลานี้เท่านั้น”

สอบอารมณ์ขั้นต่อไป คือสอบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กับขันธ์ ๕ หมายความว่า ขณะที่ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องโผฏฐัพพะ ใจรู้ธรรมารมณ์ การกระทบกันของอายตนะเหล่านี้แต่ละครั้ง ขันธ์ ๕ (ย่อก็คือ รูปนาม) ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกันทุกครั้ง เช่น

ตาเห็นรูปคน ตาและรูปนั้นจัดเป็นรูปขันธ์ เมื่อเห็นคนแล้วรู้สึกดีใจ เสียใจ หรือเฉยๆ จัดเป็นเวทนาขันธ์ ถ้าจำได้ว่าคน จัดเป็นสัญญาขันธ์ ถ้าใจปรุงแต่งให้รู้ว่าเป็นคนดีหรือว่าเป็นคนไม่ดี จัดเป็นสังขารขันธ์ และการเห็นเป็นจิตดวงหนึ่ง เรียกว่า จักขุวิญญาณจิต จัดเป็นวิญญาณขันธ์

หูกับเสียง จัดเป็นรูปขันธ์ เมื่อได้ยินเสียงแล้วรู้สึกดีใจ เสียใจ หรือเฉยๆ จัดเป็นเวทนาขันธ์ ความจำเสียงได้ จัดเป็นสัญญาขันธ์ ถ้าใจปรุงแต่งให้รู้ว่าเป็นเสียงดีหรือว่าเป็นเสียงไม่ดีจัดเป็นสังขารขันธ์ และการฟังเป็นจิตดวงหนึ่ง เรียกว่าโสตวิญญาณจิต จัดเป็นวิญญาณขันธ์

จมูกกับกลิ่น จัดเป็นรูปขันธ์ เมื่อได้กลิ่นแล้วรู้สึกดีใจเสียใจ หรือเฉยๆ จัดเป็นเวทนาขันธ์ ความจำกลิ่นได้ จัดเป็นสัญญาขันธ์ ถ้าใจปรุงแต่งให้รู้ว่าเป็นกลิ่นดีหรือว่าเป็นกลิ่นไม่ดี จัดเป็นสังขารขันธ์ และการดมกลิ่นเป็นจิตดวงหนึ่ง เรียกว่า ฆานวิญญาณจิต จัดเป็นวิญญาณขันธ์

ลิ้นกับรส จัดเป็นรูปขันธ์ เมื่อได้รับรสแล้วรู้สึกดีใจ เสียใจหรือเฉยๆ จัดเป็นเวทนาขันธ์ ความจำรสได้ จัดเป็นสัญญาขันธ์ ถ้าใจปรุงแต่งให้รู้ว่าเป็นรสดีหรือว่าเป็นรสไม่ดี จัดเป็นสังขารขันธ์ และการลิ้มรสเป็นจิตดวงหนึ่ง เรียกว่า ชิวหา วิญญาณจิต จัดเป็นวิญญาณขันธ์

กายกับโผฏฐัพพะ จัดเป็นรูปขันธ์ เมื่อกายถูกต้องโผฏฐัพพะแล้วรู้สึกดีใจ เสียใจ หรือเฉยๆ จัดเป็นเวทนาขันธ์ ความจำการถูกต้องโผฏฐัพพะได้ จัดเป็นสัญญาขันธ์ ถ้าใจปรุงแต่งให้รู้ว่าการถูกต้องโผฏฐัพพะนั้นดีหรือไม่ดี จัดเป็นสังขารขันธ์ และความถูกต้องเป็นจิตดวงหนึ่ง เรียกว่า โผฏฐัพพวิญญาณจิต จัดเป็นวิญญาณขันธ์

ใจกับธรรมารมณ์ หทัยวัตถุ จัดเป็นรูปขันธ์ ธรรมารมณ์เป็นนาม เมื่อใจถูกต้องกระทบอารมณ์ เกิดความรู้สึกดีใจเสียใจ หรือเฉยๆ จัดเป็นเวทนาขันธ์ ความจำการกระทบอารมณ์นั้นได้ จัดเป็นสัญญาขันธ์ การปรุงแต่งใจให้รู้ว่าอารมณ์นั้นดีหรือไม่ดี จัดเป็นสังขารขันธ์ การรับรู้อารมณ์เป็นจิตดวงหนึ่ง เรียกว่ามโนวิญญาณจิต จัดเป็นวิญญาณขันธ์
ถ้าไม่มีสติกำหนด ขันธ์ ๕ ไม่เกิด

ถ้ารูปนามขันธ์ ๕ ไม่ชัด มานะ ทิฏฐิจะแรงกล้ามาก เราจะต้องแก้ด้วยวิธีพูดให้เขาเจ็บใจมากๆ แล้วความโกรธก็จะเกิดขึ้น เมื่อความโกรธเกิดขึ้นแล้ว สมาธิก็ลดลงทันที สภาวะต่างๆ ช่วงนั้นจะหายไป แล้วเขาก็จะเกิดความรู้สึกผิดชอบชั่วดีได้

ถ้ารูปนามขันธ์ ๕ ชัด ตายก็ยอมตาย ขาขาดเอาคางเกาะไป เมื่อรูปนามชัด จะเห็นว่าร่างกายนี้ไม่มีอะไรดี มีแต่รูปนามเท่านั้น บางท่านจะไม่ยอมเรียกชื่อตนเอง เพราะเห็นแต่รูปแต่นามเท่านั้น ใช้อนัตตาแทนชื่อตัวเองบ้าง

ญาณนี้อย่าปล่อยให้ผ่านเร็วมากนัก ให้ใจเย็นๆ สอบให้ละเอียดๆ ถ้าจะไปเพิ่มบทพระกรรมฐานเข้าไป จะเกิดความฟุ้งซ่าน ถ้าผ่านแล้วก็เพิ่มบทจงกรมเข้าไปอีก ญาณจะผ่านช้าหรือเร็วแล้วแต่บารมี

ญาณที่ ๑ ถ้าตายในขณะที่อยู่ในญาณ หรือเวลาที่จะตาย เรามีสติกำหนดท้องพอง ท้องยุบ ภาวนาพองหนอ ยุบหนอ เวลาตายจะไม่ไปสู่อบายภูมิ ๑ ชาติ ถ้าไม่ประมาท เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา ก็จะเป็นสัมมาทิฏฐิ

นามรูปปริจเฉทญาณ
http://bit.ly/MTQ4pm
.......
:arrow: :arrow: :arrow:
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 419

โพสต์

http://bit.ly/1b47WJ6
ปัญญากำหนดพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของรูปนาม
คือพิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปของรูปนามขันธ์ ๕ จนทราบชัดว่า
สิ่งทั้งปวงมีความเกิดขึ้นแล้วก็ล้วนแต่ต้องดับไปเป็นธรรมดา

เมื่อญาณนี้เกิดขึ้นแล้ว จะเห็นความเกิดดับของรูปนามตั้งแต่ญาณที่ ๔ เป็นต้นไป เป็นวิปัสสนาล้วนๆ วิธีถามอาการท้องพอง-ยุบ มี ๒ ระยะบ้าง บางคนก็มี ๓ ระยะบ้าง ถ้าบางคนอาการท้องยุบชัดเจนดี อาการท้องพองก็จะเป็นพักๆไป อาจถึง ๗-๘ พัก อย่างนี้ให้ได้ สภาวะเช่นนี้แสดงว่าอยู่ในญาณที่ ๔ สภาวะนี้จะเป็นอยู่ในญาณที่ ๔ นี้นาน เวลาปฏิบัติไป นานๆ อาการพอง อาการยุบไปปรากฏข้างนอกร่างกายของเราก็มี ปรากฏอยู่ตรงหน้าที่เรานั่งอยู่ก็มี ปรากฏอยู่ด้านนอกทั้งข้าง ซ้าย-ขวาก็มี และให้ถามถึงอาการของต้นพอง กลางพอง สุดพอง ว่าอะไรปรากฏชัดเจนกว่ากัน

และเวลาเดินจงกรม เช่น เวลายกเท้า ย่างไป เหยียบลง ขณะไหนชัดกว่ากัน ถ้าขณะยกกับขณะเหยียบชัดเจนดี กลางไม่ชัด ก็ให้ได้ และพึงเตือนผู้ปฏิบัติในขณะเวลากำหนดเวทนา เช่น กำหนดทุกขเวทนามีความปวดเป็นต้นว่า “ปวดหนอๆๆ” นั้น ไม่ใช่กำหนดแต่ปาก ถ้าอย่างนั้นใช้ไม่ได้ ต้องเอาจิตเพ่งตรงไปที่อาการปวดนั้นกำหนดว่า “ปวดหนอๆๆ” ถ้ากำหนด ๒-๓ ครั้งหาย ให้ได้บางครั้ง คิดจะกำหนด ยังไม่ทันจะกำหนด หายไปเลยก็มีอาการเช่นนี้แสดงว่าอยู่ในญาณที่ ๔ บางครั้งนั่งไปๆ นิมิตเห็นตัวเลขสีแดง ปรากฏว่าถูกจริงๆ ด้วยก็มี ถามอาการนั่งว่า “นั่งตัวตรงตลอดเวลาไหม” อาการของญาณนี้ เมื่อนั่งไปจะมีการวูบลงไปๆ อยู่เป็นประจำ เหมือนคนเคยนั่งเครื่องบินตกหลุมอากาศ

ข้อสำคัญ ถ้าขาดหลักสำคัญ ๓ ประการคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่าพึ่งให้ ถ้าอาการพอง-ยุบเร็วขึ้นๆ แล้วก็ผ่อนหายไปเลย นี้แสดงว่าอยู่ในญาณที่ ๓ แต่ถ้าอาการ พอง-ยุบเร็วขึ้นๆ แล้วสัปหงกวูบลงไป หรือผงะไปข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างขวาบ้าง โดยเฉพาะผู้มีสมาธิดีๆ นี้ เวลาสัปหงกก็จะสัปหงกแรงหรือผงะแรง ส่วนผู้มีสมาธิเบาก็วูบลงไปช้าๆ ค่อยวูบลงไปๆ ก็มี อย่างนี้ให้ได้

อาการของทุกขังแน่นหน้าอก คือจะแน่นเข้าๆ แล้วผงะไปข้างหน้า ผงะไปข้างหลังอย่างแรง จนทำให้ตกใจ แสดงว่าอยู่ในญาณที่ ๔ อาการของอนัตตา คือการกำหนดอาการพองอาการยุบนี้จะค่อยแผ่วเบาลงไปๆ เมื่อแผ่วเบาเต็มที่แล้ว ก็จะผงะไปข้างหลังแรงๆ บ้าง สัปหงกวูบลงไปข้างหน้าบ้าง
ลักษณะเหล่านี้ ทั้งลักษณะของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นลักษณะของสันตติขาด ไม่มีการสืบต่อ คือขาดไปชั่วขณะจิตหนึ่ง ลักษณะของพระไตรลักษณ์ปรากฏชัดนี้จะไม่เกิดมากครั้งและเป็นอยู่ไม่นาน ชั่วโมงหนึ่งหรือวันหนึ่งอาจจะเกิดครั้งเดียวถ้าอาการของพระไตรลักษณ์ปรากฏ ชัดนั้น ขอให้พยายามจำให้ได้ว่ามันสัปหงกไปขณะไหน
........................
เหตุที่ทำให้ญาณนี้ไม่เกิด
๑. ทำหมัน พวกนี้บวชไม่ขึ้น ต้องให้เขาต่อให้ และมีใบประกาศรับรองว่าใช้การได้ตามปกติก่อน จึงจะบวชให้
๒. ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก
๓. ฆ่าบิดามารดา
๔. ฆ่าพระอรหันต์
๕. ทำบุญไม่ครบไตรเหตุ
แต่ถ้าญาณนี้เกิดขึ้นแล้ว ถ้าไม่ประมาท สามารถบรรลุมรรคผลชั้นใดชั้นหนึ่งได้ในปัจจุบันชาติ

...............

วิถีของญาณ

ญาณที่ ๔,๕ เป็นวิถีเดียวกัน ญาณที่ ๖,๗,๘ เป็นวิถีเดียวกัน ญาณที่ ๙,๑๐,๑๑ เป็นวิถีเดียวกัน ญาณที่ ๑๒,๑๓,๑๔,๑๕,๑๖ เป็นวิถีเดียวกัน ญาณแต่ละวิถีนี้ ถ้าตัวแรกชัดจะเกิดหมดทั้งวิถีเลย

ผู้มีชีวิตเป็นอยู่วันเดียว แต่เห็นรูปนาม ประเสริฐกว่าผู้มีอายุเป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี แต่ไม่เห็นรูปนาม หมายเอาญาณนี้ด้วย ญาณนี้เมื่อเกิดแล้วจะตัดภพตัดชาติได้ คือขณะเดินจงกรม ๑ ก้าว สามารถตัดภพตัดชาติได้ ๖ ชาติ เวลาตายจะไม่ไปสู่อบายภูมิ ๓-๔ ชาติ ถ้าไม่ประมาท ชาติแรกถ้าไปเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ก็จะเป็นพวกสัมมาทิฏฐิมีความเห็นชอบมีเดชานุภาพ ถ้าไปเกิดในกาลที่โลกว่างจากพระพุทธศาสนา ก็จะได้ตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ที่จะตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ต้องบำเพ็ญบารมีให้ครบ ๒๐ ทัศ

ถ้าอาจารย์ผู้สอนเอาสภาวะเหล่านี้ไปเล่าให้โยมฟัง อุปมาอุปไมยมากๆส่วนมากโยมจะตามมาบวชด้วย

อุทยัพพยญาณ จบ
-------------------
สันตติ
สันตติ คือ การสืบต่อเนื่องกันไปไม่ขาดสายของขันธ์ 5 โดยสืบต่อเนื่องจากจิตดวงหนึ่งที่ดับไป จิตดวงใหม่ก็เกิดขึ้นต่อกันในทันที, หรือรูป ๆ หนึ่งดับไป รูปใหม่ ๆ ก็เกิดต่อกันไปในทันที หรือบางทีรูปเก่ายังไม่ดับรูปใหม่ก็เกิดขึ้นมาสำทับกันเข้าไปอีก. สันตติเป็นกฎธรรมชาติ เป็นนิยามห้ามไม่ได้ เว้นแต่จะดับขันธปรินิพพานแล้วเท่านั้น สันตติจึงจะไม่เป็นไป, แม้ในอสัญญสัตตภพ และผู้เข้านิโรธสมาบัติท่านก็ยังจัดว่ามีสันตติของจิตอยู่นั่นเอง.

สันตติที่เกิดขึ้นสืบต่อกันไปอย่างรวดเร็วไม่ขาดสายนี้ จะทำให้เรารู้สึกเหมือนกับว่า ขันธ์ 5 ไม่เกิดไม่ดับ ทั้งที่ความจริงแล้วเกิดดับต่อกันวินาทีละนับครั้งไม่ได้. ในคัมภีร์ท่านจึงกล่าวว่า "สันตติปิดบังอนิจจลักษณะ" เพราะอนิจจลักษณะเป็นเครื่องกำหนดความไม่สืบต่อของขันธ์ 5 ที่มีขอบเขตของเวลาในการดำรงอยู่จำกัดมาก ซึ่งตรงกันข้ามกับสันตติที่ต่อกันจนดูราวกับว่าไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเลย. การที่ยังพิจารณาอนิจจลักษณะว่า "ขันธ์ที่ยังไม่เกิดก็เกิดมีขึ้น พอมีขึ้นแล้วต่อไปก็จะกลายเป็นไม่มีไปอีก"เป็นต้น ไม่บ่อย ไม่ต่อเนื่อง หรือเพิ่งเริ่มกำหนด จึงยังไม่เกิดความชำนาญ อนิจจลักษณะที่กำหนดอยู่ก็จะไม่ชัดเจน ไม่เข้าใจกระจ่างเท่าไหร่สันตติจึงยังมีอำนาจรบกวนไม่ให้กำหนดอนิจจลักษณะได้ชัดเจนแจ่มแจ้ง.

สำหรับวิธีการจัดการกับสันตติไม่ให้มีผลกับการกำหนดอนิจจลักษณะนั้นไม่มีวิธีจัดการกับสันตติโดยตรง เพราะสันตติเป็นธรรมชาติ เป็นธรรมดาของขันธ์ไปห้ามกันไม่ได้. แต่ท่านก็ยังคงให้พิจารณาอนิจจลักษณะแบบเดิมเป็นต้นว่า "ขันธ์ที่ยังไม่เกิดก็เกิดมีขึ้น พอมีขึ้นแล้วต่อไปก็จะกลายเป็นไม่มีไปอีก"ดังนี้ ต่อไป โดยทำให้มาก ให้ต่อเนื่อง ให้บ่อยครั้งเข้า อนิจจลักษณะก็จะปรากฏชัดขึ้น และสันตติแม้จะยังมีอยู่ตามเดิม แต่ก็จะไม่มีอำนาจปกปิดอนิจจลักษณะ หรือ ทำให้อนิจจลักษณะไม่ชัดเจนอีกต่อไป.
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84% ... 3%E0%B9%8C
:arrow: :arrow:

~~~
เด็กใหม่ไฟแรง
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1575
ผู้ติดตาม: 0

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์ที่ 420

โพสต์

ผมได้เสนอกระทู้ “วีไอกับเส้นทางธรรม”
เพื่อขอความรู้และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์
โดยเฉพาะสำหรับตัวผมเอง และอาจจะเป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนๆวีไอด้วย

ผมขอกราบขอบคุณและอนุโมทนากับการให้ความรู้ด้วยการนำข้อคิดข้อเขียนทางธรรมมาแนะนำ
แต่เนื่องจากผมมีความรู้ทางปริยัติน้อย การให้ความรู้ด้วยภาษาที่อ่านยากสำหรับผม
ก็ทำให้การอ่านได้ประโยชน์ไม่เต็มที่

แต่ผมก็ยังอยากได้คำแนะนำ อยากได้ฟังประสบการณ์ของผู้ที่เดินผ่านเส้นทางนี้ไปก่อน
แต่อยากอ่านด้วยภาษาที่ผมเข้าใจได้ง่ายกว่านี้ครับ
นึกว่าสงเคราะห์สำหรับวีไอที่อ่อนปริยัติแต่มีความปรารถนาที่จะเดินตามไปในเส้นทางธรรมครับ
ดู clip รายการ money talk ย้อนหลังได้ที่
http://www.facebook.com/MoneyTalkTV