รอบที่แล้ววิกฤติต้มยำกุ้ง ถ้าเกิดอีกชื่อ วิกฤติผัดไท
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2846
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รอบที่แล้ววิกฤติต้มยำกุ้ง ถ้าเกิดอีกชื่อ วิกฤติผัดไท
โพสต์ที่ 2
เห็นกระทู้ Bank Run พี่มิ โดนล็อกไปก่อนหน้านี้ เลยตอบไม่ได้
ผมลอง search ทำการบ้าน เรื่อง Bank Run
เจอคนที่เขียน ลิงค์ข้างล่างนี้ ผมว่า เป็นความรู้น่าสนใจดีครับ
http://www.econlib.org/library/Enc/BankRuns.html
ผมลอง search ทำการบ้าน เรื่อง Bank Run
เจอคนที่เขียน ลิงค์ข้างล่างนี้ ผมว่า เป็นความรู้น่าสนใจดีครับ
http://www.econlib.org/library/Enc/BankRuns.html
“Market prices are always wrong in the sense that they present a biased view of the future.”, Soros.
Blog about the investment playbook https://www.blockdit.com/alphainvesting
Blog about the investment playbook https://www.blockdit.com/alphainvesting
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รอบที่แล้ววิกฤติต้มยำกุ้ง ถ้าเกิดอีกชื่อ วิกฤติผัดไท
โพสต์ที่ 3
อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมระหว่างธนาคาร (Interbank Rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในตลาดเงินระยะสั้น เพื่อใช้ในการปรับสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์โดยธุรกรรมอาจจะอยู่ในรูปการกู้ยืมแบบจ่ายคืนเมื่อทวงถาม (at call) หรือเป็นการกู้ยืมแบบมีกำหนดระยะเวลา (term) ตั้งแต่ 1 วัน ถึง 6 เดือน ในทางปฏิบัติส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 50-70 เป็นการกู้ยืมระยะ 1 วัน (Overnight) รองลงมาเป็นการกู้ยืมแบบจ่ายคืนเมื่อทวงถาม (at call)
อนึ่ง ถ้าเป็นการกู้ยืมในตลาดระหว่างสถาบันการเงินด้วยกันจะเรียกว่า Interfinance และอัตราดอกเบี้ยที่ใช้เรียกว่า Interfinance Rate
อ้างอิงจาก http://www2.bot.or.th/statistics/Downlo ... 001_TH.PDF
นั้นคือ สถาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ ในที่นี้คือ ธกส ไม่มี
ธกส โดดเข้าไปหาธนาคารอื่นๆที่มีสภาพคล่องเพื่อหาแหล่งเงินกู้ มาพยุงสภาพคล่องของตัวเองไว้
ปรากฏว่า อัศวินขี่ม้าดำมาช่วยปล่อยออกไป 20,000 ล้าน แต่สุดท้ายตัวเองเจอถอนสองวันไป มากกว่า 50,000 ล้านบาท พร้อมเสียแม่ทัพด้วยการลาออกในตำแหน่ง 30 วัน
อัศวินขี่ม้าดำ เมื่อเห็นแม่ทัพเสียในสนามรบ ก็ต้องถอนทหารออกจากสนามรบดังกล่าว อย่างเร่งด่วน
แต่ถอนออกมาไม่ได้รบติดพันเนื่องจากฝ่ายที่บอกให้ส่งทหารไปช่วย บอกว่ารบติดพันอยู่ ถ้าส่งทหารกลับ มีหวังแพ้กันหมด
งานนี้ต้องดูกันต่อไปครับ ว่าเป็นอย่างไง
by the way
bank run คือ ปรากฏการณ์ที่ประชาชนแห่กันถอนเงิน
การถอนเงินคือการเอาตัวเลขที่อยู่ในสมุดเงินฝาก แปลงเป็นเหรียญหรือธนบัตร ทันที
ดังนั้น ถ้าหากธนาคารไม่มีเงินสด หรือระดมเงินสดไม่ทัน ก็ต้องหาแหล่งเงินกู้มาช่วย
แต่ในเคสของ ธกส หรือ ออมสินไม่ได้อยู่ในข่ายของกองทุนประกันเงินฝากด้วย แต่กระทรวงการคลังค้ำประกัน
งานนี้เลยงานเข้า ที่กระทรวงการคลัง ว่าจะเอาไง เรื่องสภาพคล่องของอีก 2 ธนาคารรัฐ
ก่อนหน้านี้โดนไป 2 ธนาคารแล้ว คือ SME bank กับ iBank
มาเจอธนาคารที่ขนาดใหญ่กว่า
ยังดีที่ ธอส ยังไม่มารวมวงไพบูลย์ด้วย
อนึ่ง ถ้าเป็นการกู้ยืมในตลาดระหว่างสถาบันการเงินด้วยกันจะเรียกว่า Interfinance และอัตราดอกเบี้ยที่ใช้เรียกว่า Interfinance Rate
อ้างอิงจาก http://www2.bot.or.th/statistics/Downlo ... 001_TH.PDF
นั้นคือ สถาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ ในที่นี้คือ ธกส ไม่มี
ธกส โดดเข้าไปหาธนาคารอื่นๆที่มีสภาพคล่องเพื่อหาแหล่งเงินกู้ มาพยุงสภาพคล่องของตัวเองไว้
ปรากฏว่า อัศวินขี่ม้าดำมาช่วยปล่อยออกไป 20,000 ล้าน แต่สุดท้ายตัวเองเจอถอนสองวันไป มากกว่า 50,000 ล้านบาท พร้อมเสียแม่ทัพด้วยการลาออกในตำแหน่ง 30 วัน
อัศวินขี่ม้าดำ เมื่อเห็นแม่ทัพเสียในสนามรบ ก็ต้องถอนทหารออกจากสนามรบดังกล่าว อย่างเร่งด่วน
แต่ถอนออกมาไม่ได้รบติดพันเนื่องจากฝ่ายที่บอกให้ส่งทหารไปช่วย บอกว่ารบติดพันอยู่ ถ้าส่งทหารกลับ มีหวังแพ้กันหมด
งานนี้ต้องดูกันต่อไปครับ ว่าเป็นอย่างไง
by the way
bank run คือ ปรากฏการณ์ที่ประชาชนแห่กันถอนเงิน
การถอนเงินคือการเอาตัวเลขที่อยู่ในสมุดเงินฝาก แปลงเป็นเหรียญหรือธนบัตร ทันที
ดังนั้น ถ้าหากธนาคารไม่มีเงินสด หรือระดมเงินสดไม่ทัน ก็ต้องหาแหล่งเงินกู้มาช่วย
แต่ในเคสของ ธกส หรือ ออมสินไม่ได้อยู่ในข่ายของกองทุนประกันเงินฝากด้วย แต่กระทรวงการคลังค้ำประกัน
งานนี้เลยงานเข้า ที่กระทรวงการคลัง ว่าจะเอาไง เรื่องสภาพคล่องของอีก 2 ธนาคารรัฐ
ก่อนหน้านี้โดนไป 2 ธนาคารแล้ว คือ SME bank กับ iBank
มาเจอธนาคารที่ขนาดใหญ่กว่า
ยังดีที่ ธอส ยังไม่มารวมวงไพบูลย์ด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รอบที่แล้ววิกฤติต้มยำกุ้ง ถ้าเกิดอีกชื่อ วิกฤติผัดไท
โพสต์ที่ 4
มี Youtube ให้ดูจากรายการ "จับประเด็นร้อน ตอน 'ค้านออมสินปล่อยกู้ ธกส.' "
https://www.youtube.com/watch?v=nL8QsAx2hsA
https://www.youtube.com/watch?v=iEq8b3n6itE
https://www.youtube.com/watch?v=H1FZ6C25QxI
https://www.youtube.com/watch?v=nL8QsAx2hsA
https://www.youtube.com/watch?v=iEq8b3n6itE
https://www.youtube.com/watch?v=H1FZ6C25QxI
-
- Verified User
- โพสต์: 1679
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รอบที่แล้ววิกฤติต้มยำกุ้ง ถ้าเกิดอีกชื่อ วิกฤติผัดไท
โพสต์ที่ 6
วิกฤตปูเผา
หิวเลยยย
หิวเลยยย
value trap
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1172
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รอบที่แล้ววิกฤติต้มยำกุ้ง ถ้าเกิดอีกชื่อ วิกฤติผัดไท
โพสต์ที่ 11
อย่าเกิดเลยดีที่สุดครับ ธนาคารออมสินใหญ่พอๆกับ ธนาคารพาณิชย์ใหญ่ๆเช่น KBANK เลยนะครับในแง่สินเชื่อ ถ้าล้มละก็จะเป็นเรื่องที่มีโอกาสเกิด Domino ได้เลย
ไม่ควรลงทุนอะไร ถ้าไม่รู้สึกสบายใจในสิ่งนั้น
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รอบที่แล้ววิกฤติต้มยำกุ้ง ถ้าเกิดอีกชื่อ วิกฤติผัดไท
โพสต์ที่ 12
ตอนนี้ การถอนของออมสิน เข้าสู่ภาวะปกติตามรูปแล้ว
งานนี้ ให้กู้ interbank ไป 5 พันล้าน แต่โดนถอนเงินไปมากกว่าวงเงินกู้ Interbank อีก
เรียกได้ว่า ได้ไม่คุ้มเสียจริงๆๆ เรื่องเล็กแค่นี้
แต่มีคนให้ข้อสังเกตว่า
ธนาคารเหล่านี้ ออมสิน ธกส ธอส SME Bank Exim bank ซึ่งเป็นธนาคารเฉพาะกิจ
ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานคือ กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม
อยู่ภายใต้กฏหมายพิเศษ
ดังนั้น ธปท ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวได้ ก่อนหน้านี้ ธปท ออกข่าวว่า ขอเข้าไปดูแลและกำกับธนาคารเฉพาะกิจด้วย แต่รัฐบาลไม่ยอมให้เข้าไปดูแล
มาตอนนี้ที่ ออมสินเกิดเรื่อง อัศวินม้าขาวตัวจริงคือ ธปท
แล้วแบบนี้ไม่ให้กระบี่อาญาสิทธิ์แก่ ธปท ดูแลเลยล่ะท่าน
งานนี้ ให้กู้ interbank ไป 5 พันล้าน แต่โดนถอนเงินไปมากกว่าวงเงินกู้ Interbank อีก
เรียกได้ว่า ได้ไม่คุ้มเสียจริงๆๆ เรื่องเล็กแค่นี้
แต่มีคนให้ข้อสังเกตว่า
ธนาคารเหล่านี้ ออมสิน ธกส ธอส SME Bank Exim bank ซึ่งเป็นธนาคารเฉพาะกิจ
ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานคือ กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม
อยู่ภายใต้กฏหมายพิเศษ
ดังนั้น ธปท ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวได้ ก่อนหน้านี้ ธปท ออกข่าวว่า ขอเข้าไปดูแลและกำกับธนาคารเฉพาะกิจด้วย แต่รัฐบาลไม่ยอมให้เข้าไปดูแล
มาตอนนี้ที่ ออมสินเกิดเรื่อง อัศวินม้าขาวตัวจริงคือ ธปท
แล้วแบบนี้ไม่ให้กระบี่อาญาสิทธิ์แก่ ธปท ดูแลเลยล่ะท่าน
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รอบที่แล้ววิกฤติต้มยำกุ้ง ถ้าเกิดอีกชื่อ วิกฤติผัดไท
โพสต์ที่ 13
ตอนนี้เริ่มมีข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ที่เกี่ยวกับหุ้นโดยตรงในเรื่องการปรับลดความเชื่อถือใน พันธบัตรรัฐบาลของไทย
จากสถานบันการจัดอันดับความเชื่อถือ หนึ่งในสามรายใหญ่ของโลกลงจากเดิม
เนื่องจากปัญหาทางการเมืองภายในประเทศ
ต้องจำตาดูดีๆๆ เพราะว่า ข่าวสารจากแหล่งข่าวดังกล่าว มั่วมาก็มาก จริงก็พอควร ต้องฟังหูไว้หู
พิจารณากันให้รอบคอบละกัน
จากสถานบันการจัดอันดับความเชื่อถือ หนึ่งในสามรายใหญ่ของโลกลงจากเดิม
เนื่องจากปัญหาทางการเมืองภายในประเทศ
ต้องจำตาดูดีๆๆ เพราะว่า ข่าวสารจากแหล่งข่าวดังกล่าว มั่วมาก็มาก จริงก็พอควร ต้องฟังหูไว้หู
พิจารณากันให้รอบคอบละกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รอบที่แล้ววิกฤติต้มยำกุ้ง ถ้าเกิดอีกชื่อ วิกฤติผัดไท
โพสต์ที่ 15
ผลในเดือนมกราคม 2557 ออกมาแล้ว
เครืืองยนต์ส่งออก ติดลบ
เครื่องยนต์นำเข้าก็ลดลงแต่ยังคงนำเข้าสูงกว่าส่งออก อยู่ 2 พันกว่าล้านเหรียญ
อาการน่าเป็นห่วงจากปริมาณส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นแต่ราคามันลดลง เลยทำให้ มูลค่าการส่งออกลดลง
ส่วนรถยนต์ ก็ดูไม่ค่อยดีสำหรับการส่งออก ด้วย
งานนี้ต้องรอดูเดือนอื่นๆๆต่อไป
เครืืองยนต์ส่งออก ติดลบ
เครื่องยนต์นำเข้าก็ลดลงแต่ยังคงนำเข้าสูงกว่าส่งออก อยู่ 2 พันกว่าล้านเหรียญ
อาการน่าเป็นห่วงจากปริมาณส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นแต่ราคามันลดลง เลยทำให้ มูลค่าการส่งออกลดลง
ส่วนรถยนต์ ก็ดูไม่ค่อยดีสำหรับการส่งออก ด้วย
งานนี้ต้องรอดูเดือนอื่นๆๆต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รอบที่แล้ววิกฤติต้มยำกุ้ง ถ้าเกิดอีกชื่อ วิกฤติผัดไท
โพสต์ที่ 16
เรื่อง แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินเดือนมกราคม ปี 2557
เศรษฐกิจเดือนมกราคม 2557 โดยรวมหดตัวจากเดือนก่อนตามภาวะการส่งออก ขณะที่ภาค
การท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองมากขึ้น ขณะเดียวกันครัวเรือนและธุรกิจยัง
ระมัดระวังในการใช้จ่าย ส่งผลให้การบริโภค การลงทุน และการผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงอ่อนแอ
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นตามการส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาอาหารสำเร็จรูปที่
มากขึ้น การว่างงานอยู่ในระดับต่ำ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลจากการเกินดุลบริการ รายได้และเงินโอน
ดุลเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลจากการชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นจากต่างประเทศของสถาบันรับฝากเงินและการขาย
หลักทรัพย์ของนักลงทุนต่างชาติเป็นสำคัญ ในภาพรวมดุลการชำระเงินเกินดุล
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทยมีดังนี้
การส่งออกสินค้ามีมูลค่า 17,656 ล้านดอลลาร์ สรอ. หดตัวร้อยละ 1.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตาม
การหดตัวของ 1) การส่งออกยานยนต์ที่อุปสงค์จากประเทศในภูมิภาคอาเซียนและออสเตรเลียชะลอลง
2) การส่งออกสินค้าประมงและสินค้าเกษตรแปรรูปที่ยังเผชิญปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบจากโรคระบาดในกุ้ง
และ 3) การส่งออกสินค้าเกษตรทั้งข้าวและยางพาราจากผลของราคาที่ลดลงเป็นสำคัญ เนื่องจากจีนลด
การนำเข้าหลังจากที่เร่งนำเข้าไปแล้วในช่วงก่อนหน้า นอกจากนี้ การส่งออกเหล็กและโลหะได้รับผลของฐานสูง
ในปีก่อนที่ได้รับผลดีจากการยกเลิกมาตรการทุ่มตลาดของประเทศคู่ค้า อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าบางหมวด
อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรและอุปกรณ์ รวมทั้งปิโตรเคมี ปรับดีขึ้นต่อเนื่องตามทิศทางการฟื้นตัวของ
อุปสงค์จากต่างประเทศ
ภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยได้รับผลกระทบจากปัจจัยทางการเมืองมากขึ้น
และจากการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศในเดือนนี้มีจำนวน 2.3 ล้านคน
ขยายตัวร้อยละ 0.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 6.7 ในเดือนก่อน ตามการลดลง
ของนักท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียเป็นสำคัญ อาทิ จีนและมาเลเซีย
การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีทิศทางทรงตัวจากเดือนก่อน เนื่องจากประชาชนยังระมัดระวัง
ในการใช้จ่าย ประกอบกับความเชื่อมั่นของครัวเรือนและธุรกิจได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมือง
แต่หากเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนทั้งการบริโภคและการลงทุนหดตัว โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
หดตัวร้อยละ 1.5 ตามการใช้จ่ายในสินค้าคงทนโดยเฉพาะยานยนต์ที่หดตัวจากฐานที่สูงในปีก่อนและ
ความต้องการซื้อยานยนต์ใหม่ที่น้อยลงเป็นสำคัญ ขณะที่การใช้จ่ายสินค้าไม่คงทนหดตัวในบางหมวด
โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 8.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน
ตามการลงทุนทั้งในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์และในหมวดก่อสร้าง เนื่องจากผู้ประกอบการบางส่วนเลื่อน
การลงทุนออกไปเพื่อรอประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมือง
อุปสงค์โดยรวมที่อ่อนแอส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมทรงตัวจากเดือนก่อน แต่หากเทียบกับ
ระยะเดียวกันปีก่อนดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 6.4 ส่วนใหญ่เป็นผลจากการผลิตที่ลดลงของ
1) ยานยนต์ที่ได้เร่งผลิตไปมากในปีก่อน ประกอบกับคำสั่งซื้อต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นไม่เพียงพอที่จะชดเชยคำสั่งซื้อ
ในประเทศที่ลดลง 2) เบียร์ที่ผลิตลดลงตามยอดขายที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และ
3) กุ้งแช่แข็งที่ยังประสบปัญหาโรคระบาด
อุปสงค์โดยรวมที่ชะลอตัวต่อเนื่องส่งผลให้การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าทุน วัตถุดิบและสินค้า
ขั้นกลางหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ประกอบกับการนำเข้าทองคำลดลงมาก ส่งผลให้การนำเข้าโดยรวมมี
มูลค่า 18,405 ล้านดอลลาร์ สรอ. หดตัวร้อยละ 12.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน แต่เมื่อหักการนำเข้าทองคำ
จะทำให้การนำเข้าหดตัวร้อยละ 2.3
รายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 6.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน จากผลทั้งทางด้านราคาและผลผลิต
โดยราคาขยายตัวตามราคาปาล์มน้ำมันและมันสำปะหลังที่ปรับสูงขึ้นตามความต้องการในการผลิตพลังงาน
ทดแทน รวมทั้งราคากุ้งและปศุสัตว์ที่ผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการ อย่างไรก็ดี ราคาข้าวยังคงลดลงตาม
ราคาในตลาดโลกเนื่องจากผลผลิตของประเทศผู้ผลิตสำคัญเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการระบายสต็อกข้าวของทางการไทย
ส่วนราคายางพาราปรับลดลงเนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น ในขณะที่ความต้องการที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะ
จากจีนซึ่งเป็นผู้นำเข้าหลักยังไม่มากพอที่จะทำให้ราคาปรับขึ้นได้ สำหรับผลผลิตทางการเกษตรขยายตัวตาม
ผลผลิตข้าวและมันสำปะหลังที่ปริมาณน้ำและภูมิอากาศเอื้ออำนวย รวมถึงผลผลิตยางพาราที่เพิ่มขึ้นตามการ
ขยายพื้นที่เพาะปลูกในช่วงก่อนหน้า
ภาครัฐใช้จ่ายโดยรวมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการเบิกจ่ายค่าจ้างและเงินเดือน รวมทั้ง
ค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการของรัฐบาลที่สามารถเบิกจ่ายได้ตามปกติ ขณะที่รายจ่ายลงทุนบางส่วนล่าช้า
ออกไปเพราะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมือง สำหรับรายได้นำส่งลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน
ตามภาษีสรรพสามิต สอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอลง และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ลดลงจาก
การปรับโครงสร้างภาษีที่มีผลบังคับใช้สำหรับเงินได้ปี 2556 รายจ่ายที่มากกว่ารายได้ทำให้รัฐบาลขาดดุล
เงินสด 70.5 พันล้านบาท
สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.93 ตามการส่งผ่าน
ต้นทุนก๊าซหุงต้ม (LPG) และเครื่องประกอบอาหารไปยังราคาอาหารสำเร็จรูป การว่างงานอยู่ในระดับต่ำ
ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลจากการเกินดุลบริการ รายได้และเงินโอน ดุลเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลจากการชำระคืน
เงินกู้ระยะสั้นจากต่างประเทศของสถาบันรับฝากเงินและการขายหลักทรัพย์ของนักลงทุนต่างชาติเป็นสำคัญ
ในภาพรวมดุลการชำระเงินเกินดุล
ธนาคารแห่งประเทศไทย
28 กุมภาพันธ์ 2557
ข้อมูลเพิ่มเติม: ทีมเศรษฐกิจมหภาค
โทร. 0 2283 5647, 0 2283 5648
e-mail: [email protected]
----------------------------------------------------------------
http://www.bot.or.th/Thai/EconomicCondi ... ry2014.pdf
เศรษฐกิจเดือนมกราคม 2557 โดยรวมหดตัวจากเดือนก่อนตามภาวะการส่งออก ขณะที่ภาค
การท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองมากขึ้น ขณะเดียวกันครัวเรือนและธุรกิจยัง
ระมัดระวังในการใช้จ่าย ส่งผลให้การบริโภค การลงทุน และการผลิตภาคอุตสาหกรรมยังคงอ่อนแอ
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นตามการส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาอาหารสำเร็จรูปที่
มากขึ้น การว่างงานอยู่ในระดับต่ำ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลจากการเกินดุลบริการ รายได้และเงินโอน
ดุลเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลจากการชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นจากต่างประเทศของสถาบันรับฝากเงินและการขาย
หลักทรัพย์ของนักลงทุนต่างชาติเป็นสำคัญ ในภาพรวมดุลการชำระเงินเกินดุล
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทยมีดังนี้
การส่งออกสินค้ามีมูลค่า 17,656 ล้านดอลลาร์ สรอ. หดตัวร้อยละ 1.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตาม
การหดตัวของ 1) การส่งออกยานยนต์ที่อุปสงค์จากประเทศในภูมิภาคอาเซียนและออสเตรเลียชะลอลง
2) การส่งออกสินค้าประมงและสินค้าเกษตรแปรรูปที่ยังเผชิญปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบจากโรคระบาดในกุ้ง
และ 3) การส่งออกสินค้าเกษตรทั้งข้าวและยางพาราจากผลของราคาที่ลดลงเป็นสำคัญ เนื่องจากจีนลด
การนำเข้าหลังจากที่เร่งนำเข้าไปแล้วในช่วงก่อนหน้า นอกจากนี้ การส่งออกเหล็กและโลหะได้รับผลของฐานสูง
ในปีก่อนที่ได้รับผลดีจากการยกเลิกมาตรการทุ่มตลาดของประเทศคู่ค้า อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้าบางหมวด
อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรและอุปกรณ์ รวมทั้งปิโตรเคมี ปรับดีขึ้นต่อเนื่องตามทิศทางการฟื้นตัวของ
อุปสงค์จากต่างประเทศ
ภาคการท่องเที่ยวชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยได้รับผลกระทบจากปัจจัยทางการเมืองมากขึ้น
และจากการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศในเดือนนี้มีจำนวน 2.3 ล้านคน
ขยายตัวร้อยละ 0.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 6.7 ในเดือนก่อน ตามการลดลง
ของนักท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียเป็นสำคัญ อาทิ จีนและมาเลเซีย
การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีทิศทางทรงตัวจากเดือนก่อน เนื่องจากประชาชนยังระมัดระวัง
ในการใช้จ่าย ประกอบกับความเชื่อมั่นของครัวเรือนและธุรกิจได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมือง
แต่หากเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนทั้งการบริโภคและการลงทุนหดตัว โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
หดตัวร้อยละ 1.5 ตามการใช้จ่ายในสินค้าคงทนโดยเฉพาะยานยนต์ที่หดตัวจากฐานที่สูงในปีก่อนและ
ความต้องการซื้อยานยนต์ใหม่ที่น้อยลงเป็นสำคัญ ขณะที่การใช้จ่ายสินค้าไม่คงทนหดตัวในบางหมวด
โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชนหดตัวร้อยละ 8.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน
ตามการลงทุนทั้งในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์และในหมวดก่อสร้าง เนื่องจากผู้ประกอบการบางส่วนเลื่อน
การลงทุนออกไปเพื่อรอประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมือง
อุปสงค์โดยรวมที่อ่อนแอส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมทรงตัวจากเดือนก่อน แต่หากเทียบกับ
ระยะเดียวกันปีก่อนดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 6.4 ส่วนใหญ่เป็นผลจากการผลิตที่ลดลงของ
1) ยานยนต์ที่ได้เร่งผลิตไปมากในปีก่อน ประกอบกับคำสั่งซื้อต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นไม่เพียงพอที่จะชดเชยคำสั่งซื้อ
ในประเทศที่ลดลง 2) เบียร์ที่ผลิตลดลงตามยอดขายที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และ
3) กุ้งแช่แข็งที่ยังประสบปัญหาโรคระบาด
อุปสงค์โดยรวมที่ชะลอตัวต่อเนื่องส่งผลให้การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าทุน วัตถุดิบและสินค้า
ขั้นกลางหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ประกอบกับการนำเข้าทองคำลดลงมาก ส่งผลให้การนำเข้าโดยรวมมี
มูลค่า 18,405 ล้านดอลลาร์ สรอ. หดตัวร้อยละ 12.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน แต่เมื่อหักการนำเข้าทองคำ
จะทำให้การนำเข้าหดตัวร้อยละ 2.3
รายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 6.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน จากผลทั้งทางด้านราคาและผลผลิต
โดยราคาขยายตัวตามราคาปาล์มน้ำมันและมันสำปะหลังที่ปรับสูงขึ้นตามความต้องการในการผลิตพลังงาน
ทดแทน รวมทั้งราคากุ้งและปศุสัตว์ที่ผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการ อย่างไรก็ดี ราคาข้าวยังคงลดลงตาม
ราคาในตลาดโลกเนื่องจากผลผลิตของประเทศผู้ผลิตสำคัญเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการระบายสต็อกข้าวของทางการไทย
ส่วนราคายางพาราปรับลดลงเนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น ในขณะที่ความต้องการที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะ
จากจีนซึ่งเป็นผู้นำเข้าหลักยังไม่มากพอที่จะทำให้ราคาปรับขึ้นได้ สำหรับผลผลิตทางการเกษตรขยายตัวตาม
ผลผลิตข้าวและมันสำปะหลังที่ปริมาณน้ำและภูมิอากาศเอื้ออำนวย รวมถึงผลผลิตยางพาราที่เพิ่มขึ้นตามการ
ขยายพื้นที่เพาะปลูกในช่วงก่อนหน้า
ภาครัฐใช้จ่ายโดยรวมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการเบิกจ่ายค่าจ้างและเงินเดือน รวมทั้ง
ค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการของรัฐบาลที่สามารถเบิกจ่ายได้ตามปกติ ขณะที่รายจ่ายลงทุนบางส่วนล่าช้า
ออกไปเพราะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมือง สำหรับรายได้นำส่งลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน
ตามภาษีสรรพสามิต สอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอลง และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ลดลงจาก
การปรับโครงสร้างภาษีที่มีผลบังคับใช้สำหรับเงินได้ปี 2556 รายจ่ายที่มากกว่ารายได้ทำให้รัฐบาลขาดดุล
เงินสด 70.5 พันล้านบาท
สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.93 ตามการส่งผ่าน
ต้นทุนก๊าซหุงต้ม (LPG) และเครื่องประกอบอาหารไปยังราคาอาหารสำเร็จรูป การว่างงานอยู่ในระดับต่ำ
ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลจากการเกินดุลบริการ รายได้และเงินโอน ดุลเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลจากการชำระคืน
เงินกู้ระยะสั้นจากต่างประเทศของสถาบันรับฝากเงินและการขายหลักทรัพย์ของนักลงทุนต่างชาติเป็นสำคัญ
ในภาพรวมดุลการชำระเงินเกินดุล
ธนาคารแห่งประเทศไทย
28 กุมภาพันธ์ 2557
ข้อมูลเพิ่มเติม: ทีมเศรษฐกิจมหภาค
โทร. 0 2283 5647, 0 2283 5648
e-mail: [email protected]
----------------------------------------------------------------
http://www.bot.or.th/Thai/EconomicCondi ... ry2014.pdf
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1523
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รอบที่แล้ววิกฤติต้มยำกุ้ง ถ้าเกิดอีกชื่อ วิกฤติผัดไท
โพสต์ที่ 18
วิกฤติแต่ละรอบ ไม่เคยมีอะไรที่เหมือนกัน วิกฤติตอนปี2540 เกิดจากการขาดสภาพคล่องของสถาบันการเงิน และการที่เราถูกโจมตีค่าเงิน เพราะตอนนั้นเรา fix ค่าเงินเอาไว้
และสัดส่วนของทุนสำรองก้น้อย เมื่อเกิดดอลล่าร์ไหลออกมากจนทุนสำรองน้อยมากๆ ก้ต้องเทขายเงินบาทและขึ้นดอกเบี้ย ระยะสั้นในระดับที่สูง ผลของการขึ้นดอกเบี้ยครั้งนั้น
ก้ส่งผลให้ เกิด NPL ตามมาทันที เกิดกระทบกันเป็นโดมิโน่
ครั้งนี้มันต่างกันมาก เรามีทุนสำรองต่อเงินหมุนเวียน ที่ระดับสูงมาก มีเงินฝากในแบงค์รวมทุกๆแบงค์ระดับ 10-11 ลล บาท มีอัตราการว่างงานที่ต่ำกว่า1 %
สิ่งที่เกิดขึ้น ณ ตอนนี้ คำว่า strug in the middle น่าจะเหมาะที่สุดแล้ว แปลเป็นไทยว่า สถานการณ์เศรษฐกิจติดหล่ม เพราะภาครัฐก้เป็นเพียงแค่รัฐบาลรักษาการไม่มีอำนาจ
การเบิกจ่ายเงินเพื่อใช้อัดฉีดระบบเศรษฐกิจ ภาคครัวเรือนชะลอการใช้จ่ายจากหนี้ครัวเรือนที่สูงเกินกว่า80% ภาคการลงทุนชะลอตัวจากความไม่มั่นใจ และการขอ BOIที่เรื่องยังค้าง
ไม่สามารถทำได้ ทำให้บริษัทที่คิดมาลงทุนอาจจะถอนการลงทุนในไทย พระเอกที่ทุกคนหวังพึ่งพาตอนนี้ก้คือ ภาคส่งออกที่คิดกันไว้ว่าจะขยายตัวได้>ร้อยละ5
และคาดการณ์ GDP เอาไว้ที่ระดับ 4% (world bank) 2.9%(ธนาคารแห่งประเทศไทย) ในสมมติฐาน
1.ผลของการเมืองจะสิ้นสุดลงในไตรมาสที่2
2.ส่งออกโตได้มากกว่า 7%
ในความคิดของผม ข้อแรก ไม่แน่นอน ไม่มีใครรู้ ว่าจะจบเมื่อไหร่ แต่ข้อ2 ถ้าตัดสินค้าเกษตรและยานยนต์ออก หมวดอื่นก้ถือว่าไม่เลวร้ายนัก
โอกาศที่ไทยจะกลับไปสู่วิกฤติได้แบบปี 2540 ก้คงต้องรอให้
1.การเมืองบานปลายแยกประเทศ
2.ทุนสำรองกลับไปน้อยมากๆ และหนี้ครัวเรือนไม่ลดต่ำกว่า 80% และการตกงาน >3%+
และสัดส่วนของทุนสำรองก้น้อย เมื่อเกิดดอลล่าร์ไหลออกมากจนทุนสำรองน้อยมากๆ ก้ต้องเทขายเงินบาทและขึ้นดอกเบี้ย ระยะสั้นในระดับที่สูง ผลของการขึ้นดอกเบี้ยครั้งนั้น
ก้ส่งผลให้ เกิด NPL ตามมาทันที เกิดกระทบกันเป็นโดมิโน่
ครั้งนี้มันต่างกันมาก เรามีทุนสำรองต่อเงินหมุนเวียน ที่ระดับสูงมาก มีเงินฝากในแบงค์รวมทุกๆแบงค์ระดับ 10-11 ลล บาท มีอัตราการว่างงานที่ต่ำกว่า1 %
สิ่งที่เกิดขึ้น ณ ตอนนี้ คำว่า strug in the middle น่าจะเหมาะที่สุดแล้ว แปลเป็นไทยว่า สถานการณ์เศรษฐกิจติดหล่ม เพราะภาครัฐก้เป็นเพียงแค่รัฐบาลรักษาการไม่มีอำนาจ
การเบิกจ่ายเงินเพื่อใช้อัดฉีดระบบเศรษฐกิจ ภาคครัวเรือนชะลอการใช้จ่ายจากหนี้ครัวเรือนที่สูงเกินกว่า80% ภาคการลงทุนชะลอตัวจากความไม่มั่นใจ และการขอ BOIที่เรื่องยังค้าง
ไม่สามารถทำได้ ทำให้บริษัทที่คิดมาลงทุนอาจจะถอนการลงทุนในไทย พระเอกที่ทุกคนหวังพึ่งพาตอนนี้ก้คือ ภาคส่งออกที่คิดกันไว้ว่าจะขยายตัวได้>ร้อยละ5
และคาดการณ์ GDP เอาไว้ที่ระดับ 4% (world bank) 2.9%(ธนาคารแห่งประเทศไทย) ในสมมติฐาน
1.ผลของการเมืองจะสิ้นสุดลงในไตรมาสที่2
2.ส่งออกโตได้มากกว่า 7%
ในความคิดของผม ข้อแรก ไม่แน่นอน ไม่มีใครรู้ ว่าจะจบเมื่อไหร่ แต่ข้อ2 ถ้าตัดสินค้าเกษตรและยานยนต์ออก หมวดอื่นก้ถือว่าไม่เลวร้ายนัก
โอกาศที่ไทยจะกลับไปสู่วิกฤติได้แบบปี 2540 ก้คงต้องรอให้
1.การเมืองบานปลายแยกประเทศ
2.ทุนสำรองกลับไปน้อยมากๆ และหนี้ครัวเรือนไม่ลดต่ำกว่า 80% และการตกงาน >3%+
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รอบที่แล้ววิกฤติต้มยำกุ้ง ถ้าเกิดอีกชื่อ วิกฤติผัดไท
โพสต์ที่ 19
รอบปี 2540 วิกฤตินั้นเกิดจากภาคเอกชนกู้ยืมเงินต่างประเทศ เพื่อดำเนินธุรกิจ
เริ่มจากรัฐบาลพลเอก ชายชาติ เป็นยุคที่ที่ดินบูมมากๆๆ เกิดเศรษฐีจากเป็นนายหน้าที่ดิน
โดยสมัยรัฐบาลชวน-1 เปิด BIBF ทำให้เอกชนกู้เงินต่างประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำเข้ามา
แต่ไม่ได้ยกเลิกการมาตราการอัตราแลกเปลี่ยนแบบตะกร้าเงิน ช่วงนั้น ดอลล่าร์ไม่แข็งค่า
แต่ต่อมา ดอลล่าร์แข็งค่า และประกอบกับเกิดน้ำท่วมใหญ่ จำได้ว่าท่วมถึงจังหวัดปทุมธานี นนทบุรีจมน้ำ
เหมือนปี 2554 ภาพเหตุการณ์หลังคือ น้ำทะลักเข้าที่หมู่บ้าน White house ที่จังหวัดปทุมธานี และภาพพระบรมมหาราชวังมีน้ำทะลักจากแม่น้ำเจ้าพระยา
วิกฤติรอบ 2540 รัฐมีการกู้ยืมน้อย ดังนั้นรัฐเป็นคนพยุงช่วยเหลือเศรษฐกิจ ด้วยการกู้
วิกฤติรอบนี้ เกิดจากรัฐ ที่ไปอุ้มสินค้าคอมมูนิตี้ คือ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง
ยางพารา อุ้มไปปี 2555-2556
ข้าวอุ้มไป 2-3 ปี ตอนนี้ยังไม่มีจ่ายค่าจำนำข้าว
รอบนี้เป็นวิกฤติของหนี้สาธารณะ ไม่ใช่หนี้จากภาคเอกชน เพราะเอกชนเข็ดจากวิกฤติ 2540
แต่รอบนี้เน้นเลยว่า มันมาจากรัฐ
สิ่งที่มาจากรัฐคืออะไร
1. ซุกหนี้ ในที่นี้บอกว่า ซุกหนี้จากวิกฤติ 2540 จากรัฐเป็นผู้รับผิดชอบโอนไปยังหน่วยงานอื่นๆ
2. การอุ้มสินค้าเกษตร ที่ประเทศของเราเป็นผู้นำในการส่งออก เช่น ข้าว ยางพารา แต่ไม่ได้ดูว่า Supplier เป็นอย่างไง
3. การขึ้นค่าแรง อันนี้ทำให้ต้นทุนการดำเนินการธุรกิจที่สูงขึ้น
เริ่มจากรัฐบาลพลเอก ชายชาติ เป็นยุคที่ที่ดินบูมมากๆๆ เกิดเศรษฐีจากเป็นนายหน้าที่ดิน
โดยสมัยรัฐบาลชวน-1 เปิด BIBF ทำให้เอกชนกู้เงินต่างประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำเข้ามา
แต่ไม่ได้ยกเลิกการมาตราการอัตราแลกเปลี่ยนแบบตะกร้าเงิน ช่วงนั้น ดอลล่าร์ไม่แข็งค่า
แต่ต่อมา ดอลล่าร์แข็งค่า และประกอบกับเกิดน้ำท่วมใหญ่ จำได้ว่าท่วมถึงจังหวัดปทุมธานี นนทบุรีจมน้ำ
เหมือนปี 2554 ภาพเหตุการณ์หลังคือ น้ำทะลักเข้าที่หมู่บ้าน White house ที่จังหวัดปทุมธานี และภาพพระบรมมหาราชวังมีน้ำทะลักจากแม่น้ำเจ้าพระยา
วิกฤติรอบ 2540 รัฐมีการกู้ยืมน้อย ดังนั้นรัฐเป็นคนพยุงช่วยเหลือเศรษฐกิจ ด้วยการกู้
วิกฤติรอบนี้ เกิดจากรัฐ ที่ไปอุ้มสินค้าคอมมูนิตี้ คือ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง
ยางพารา อุ้มไปปี 2555-2556
ข้าวอุ้มไป 2-3 ปี ตอนนี้ยังไม่มีจ่ายค่าจำนำข้าว
รอบนี้เป็นวิกฤติของหนี้สาธารณะ ไม่ใช่หนี้จากภาคเอกชน เพราะเอกชนเข็ดจากวิกฤติ 2540
แต่รอบนี้เน้นเลยว่า มันมาจากรัฐ
สิ่งที่มาจากรัฐคืออะไร
1. ซุกหนี้ ในที่นี้บอกว่า ซุกหนี้จากวิกฤติ 2540 จากรัฐเป็นผู้รับผิดชอบโอนไปยังหน่วยงานอื่นๆ
2. การอุ้มสินค้าเกษตร ที่ประเทศของเราเป็นผู้นำในการส่งออก เช่น ข้าว ยางพารา แต่ไม่ได้ดูว่า Supplier เป็นอย่างไง
3. การขึ้นค่าแรง อันนี้ทำให้ต้นทุนการดำเนินการธุรกิจที่สูงขึ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รอบที่แล้ววิกฤติต้มยำกุ้ง ถ้าเกิดอีกชื่อ วิกฤติผัดไท
โพสต์ที่ 21
2 ล้านล้านบาท ก็เรียบร้อยไปแล้ว
งานนี้ ต้องรอตั้งงบประมาณใหม่ เป็นงบประจำ และ งบผูกพันต่อไปในอนาคต
ผลกระทบคืออะไรจาก 2 ล้านล้านบาท คือ ความคาดหวังของคน
ความคาดหวังของคนที่ได้ข่าว 2 ล้านล้านบาท แค่ขีดเส้นว่าสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง ลากผ่าน
เป็นจุดจอด ราคาที่ดินพุ่งสูงขึ้น แต่เมื่อโครงการเดินหน้าไม่ได้ ราคาของที่ดินดังกล่าวก็กลับสู่โลกของความเป็นจริง
ควรติดตามต่อไปว่า ผลกระทบจากเลิก 2 ล้านล้านบาท ในรอบนี้คืออะไร
กระทบแน่นอน คือ กลุ่มก่อสร้างที่งบจากถนน รถไฟฟ้าความเร็วสูง รถไฟ
กลุ่มต่อมาคือ ภาพอสังหา
ตามมาด้วยการแบ่งเค้กของเหล่าสถานบันการเงิน (ธนาคารพาณิชย์)
ไปนอนละ
งานนี้ ต้องรอตั้งงบประมาณใหม่ เป็นงบประจำ และ งบผูกพันต่อไปในอนาคต
ผลกระทบคืออะไรจาก 2 ล้านล้านบาท คือ ความคาดหวังของคน
ความคาดหวังของคนที่ได้ข่าว 2 ล้านล้านบาท แค่ขีดเส้นว่าสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูง ลากผ่าน
เป็นจุดจอด ราคาที่ดินพุ่งสูงขึ้น แต่เมื่อโครงการเดินหน้าไม่ได้ ราคาของที่ดินดังกล่าวก็กลับสู่โลกของความเป็นจริง
ควรติดตามต่อไปว่า ผลกระทบจากเลิก 2 ล้านล้านบาท ในรอบนี้คืออะไร
กระทบแน่นอน คือ กลุ่มก่อสร้างที่งบจากถนน รถไฟฟ้าความเร็วสูง รถไฟ
กลุ่มต่อมาคือ ภาพอสังหา
ตามมาด้วยการแบ่งเค้กของเหล่าสถานบันการเงิน (ธนาคารพาณิชย์)
ไปนอนละ
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รอบที่แล้ววิกฤติต้มยำกุ้ง ถ้าเกิดอีกชื่อ วิกฤติผัดไท
โพสต์ที่ 22
หวั่นราคาที่ดินร่วงหลังเลิกโครงการ2ล้านล้าน 13 มีนาคม 2557 เวลา 15:37 น.....
อ่านต่อได้ที่ : http://bit.ly/1cAzff5
อ่านต่อได้ที่ : http://bit.ly/1cAzff5
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รอบที่แล้ววิกฤติต้มยำกุ้ง ถ้าเกิดอีกชื่อ วิกฤติผัดไท
โพสต์ที่ 23
การที่ 2 ล้านล้านบาทไม่ผ่านจากศาลรัฐธรรมนูญ ถ้ามองอีกด้านคือ
เบรกความร้อนแรงของราคาที่ดินที่ต่างจังหวัด ไม่ให้พุ่งแรง แซงโค้งไป
เป็นการเจาะฟองสบู่ของราคาอสังหาริมทรัพย์
ตามที่เมื่องไทยได้ใช้ระบบทุนนิยม นั้น ยอมให้เกิดเงินเฟ้อได้ แต่เงินเฟ้อต้องเกิดในระดับที่ต่ำ
พอที่ ธนาคารกลางของประเทศนั้นๆ ควบคุมดูแลได้ แต่ทว่าในความเป็นจริง ฟองสบู่กว่าที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เข้าดำเนินการเจาะให้มัน ยุบลง มันก็เป็นฟองสบู่ไปแล้ว ถ้าไม่เจาะเลยเสียก็ทำให้เกิดเวิกฤติทางการเงินได้
มันเป็นสิ่งที่มองในด้านนี้เรียกได้ว่าดีเพื่อเบรกความร้อนแรงของการเกร็งกำไรลงไป เพื่อให้เหลือแต่ คนที่ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงๆๆ เท่านั้น
ปล.
สิ่งที่ต้องระวังคือ ชาวต่างชาติที่เข้ามาซื้อ ว่า ยังคงซื้ออยู่หรือเปล่า
เบรกความร้อนแรงของราคาที่ดินที่ต่างจังหวัด ไม่ให้พุ่งแรง แซงโค้งไป
เป็นการเจาะฟองสบู่ของราคาอสังหาริมทรัพย์
ตามที่เมื่องไทยได้ใช้ระบบทุนนิยม นั้น ยอมให้เกิดเงินเฟ้อได้ แต่เงินเฟ้อต้องเกิดในระดับที่ต่ำ
พอที่ ธนาคารกลางของประเทศนั้นๆ ควบคุมดูแลได้ แต่ทว่าในความเป็นจริง ฟองสบู่กว่าที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เข้าดำเนินการเจาะให้มัน ยุบลง มันก็เป็นฟองสบู่ไปแล้ว ถ้าไม่เจาะเลยเสียก็ทำให้เกิดเวิกฤติทางการเงินได้
มันเป็นสิ่งที่มองในด้านนี้เรียกได้ว่าดีเพื่อเบรกความร้อนแรงของการเกร็งกำไรลงไป เพื่อให้เหลือแต่ คนที่ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงๆๆ เท่านั้น
ปล.
สิ่งที่ต้องระวังคือ ชาวต่างชาติที่เข้ามาซื้อ ว่า ยังคงซื้ออยู่หรือเปล่า
-
- Verified User
- โพสต์: 1724
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รอบที่แล้ววิกฤติต้มยำกุ้ง ถ้าเกิดอีกชื่อ วิกฤติผัดไท
โพสต์ที่ 24
กับการที่ 2 ล้านๆไม่ผ่าน นี่ ถึงแม้ว่าบางคนอาจจะบอกว่าค่อยๆทยอยทำหรือใส่ในงบประมาณได้ อาจจะใช้เวลานานขึ้นหน่อย แต่ผมว่าการที่ไม่ผ่านนั้น คงมีผลต่อการลงทุนของต่างชาติต่อประเทศเราพอสมควรนะครับ หมายถึงต่อตลาดทุนนะครับ ผมว่ายังไม่มีปัจจัยบวกที่ทำให้ต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนแบบจริงๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รอบที่แล้ววิกฤติต้มยำกุ้ง ถ้าเกิดอีกชื่อ วิกฤติผัดไท
โพสต์ที่ 25
ระบุใช้งบปกติไม่มีปัญหาลงทุนVAEEEEE เขียน:กับการที่ 2 ล้านๆไม่ผ่าน นี่ ถึงแม้ว่าบางคนอาจจะบอกว่าค่อยๆทยอยทำหรือใส่ในงบประมาณได้ อาจจะใช้เวลานานขึ้นหน่อย แต่ผมว่าการที่ไม่ผ่านนั้น คงมีผลต่อการลงทุนของต่างชาติต่อประเทศเราพอสมควรนะครับ หมายถึงต่อตลาดทุนนะครับ ผมว่ายังไม่มีปัจจัยบวกที่ทำให้ต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนแบบจริงๆ
นางณดา จันทร์สม คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) กล่าวว่าอาจทำให้ดูเหมือนว่าโครงการลงทุนต่างๆ ต้องชะลอออกไป ซึ่งในความจริงแล้วงบประมาณสำหรับโครงการเหล่านี้สามารถโยกไปไว้ในงบประมาณประจำปีได้ เพียงแต่ต้องให้รัฐบาลใหม่เป็นผู้อนุมัติ ดังนั้นเงื่อนไขของความล่าช้าในโครงการลงทุนเหล่านี้จึงอยู่ที่ว่า เมื่อไรเราจะได้รัฐบาลใหม่ที่มีอำนาจในการบริหารจัดการ
“ในแง่การหาแหล่งเงินลงทุนนั้น จริงๆ เมื่อเข้ากระบวนการงบประมาณปกติก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะหนี้สาธารณะเราไม่ได้สูง และยิ่งถ้าเป็นการกู้มาเพื่อไปลงทุนก็น่าจะเป็นที่ยอมรับได้”นางณดากล่าว
นอกจากนี้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมา ก็น่าจะเป็นการเปิดช่องให้รัฐบาลได้มีเวลาในการนำโครงการต่างๆ กลับมาพิจารณาใหม่ และจัดลำดับความสำคัญของโครงการเหล่านี้อย่างจริงจัง ซึ่งเป็นเรื่องที่ สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ควรนำมาพิจารณาใหม่
แนะเร่งทบทวนความสำคัญใหม่
“ควรเอามาดูเลยว่าอันไหนที่น่าจะเป็นโครงการเร่งด่วนและต้องทำก่อน เราต้องศึกษาให้ชัดเจนว่าที่จะทำมีความคุ้มค่าหรือไม่ ซึ่งไม่จำเป็นว่าต้องลงทุนในทุกโครงการ เราสามารถเลือกและดูความเหมาะสมได้ เมื่อได้ข้อมูลที่ละเอียดแล้วค่อยทยอยทำก็ได้”นางณดากล่าว
นอกจากนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ ที่อยู่ในแผนยุทธศาสตร์ 3 ตรงนี้ก็ควรนำมาจัดลำดับความสำคัญใหม่ว่าเป็นโครงการจำเป็นเร่งด่วนหรือไม่ และเมื่อได้รัฐบาลใหม่ที่มีอำนาจในการบริหารงานเต็มที่ ก็สามารถนำโครงการลงทุนต่างๆ มาลงในงบประมาณปี 2558 และเริ่มดำเนินการได้ทันทีเลย แต่ถ้าอันไหนมีความจำเป็นเร่งด่วนก็สามารถดึงงบกลางของปี 2557 มาใช้ก่อนได้
"ยอมรับว่าคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่ออกมา อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนอยู่บ้าง โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์และวัสดุก่อสร้าง เพราะการลงทุนบางส่วนอาจจะมีความล่าช้าออกไปกว่าที่คาดการณ์กันไว้บ้าง แต่สุดท้ายยังเชื่อว่า การลงทุนยังต้องเกิดขึ้นจริง เพราะโครงการเหล่านี้ถือเป็นโครงการที่มีความจำเป็นทางเศรษฐกิจของประเทศ"
Nation
ขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขข
สรุป 2 ล้านล้านบาท ไม่ผ่าน จาก พรบ.
แต่จริงๆ มันกลับไปอยู่ในงบประมาณประจำปีได้ แต่เงื่อนไขคือ รัฐบาล ที่แท้จริงกลับมาเมื่อไร
สิ่งนี้คือ เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการชะลอตัว คือ เป็นการเจาะฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ลง จากการเกร็งกำไรที่เกิดก่อนหน้า
แต่เขียนแผนราคาที่ดิน หรือ อสังหาริมทรัพย์ก็แพงขึ้น เกิดการกว้านซื้อเกิดขึ้น ทำให้เงินมันหมุนไปเร็วขึ้น จึงเกิดเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น เมื่อเจาะฟองสบู่ออก มันทำให้ยอดของการหมุนของเงินช้าลง เกิดการล่มสลายบ้างส่วน แต่เศรษฐกิจหลักก็ยังคงเดินหน้าได้
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รอบที่แล้ววิกฤติต้มยำกุ้ง ถ้าเกิดอีกชื่อ วิกฤติผัดไท
โพสต์ที่ 26
ตอนนี้ ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินในเรื่องการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. 2557 เป็นโมฆะ
เป็นสิ่งที่ดีหรือเปล่าต่อเศรษฐกิจไทย เป็นสิ่งที่ทุกท่านไปเปิดอดีตในช่วงปี 2549-2550
ข้อมูลการเลือกตั้งดูได้จาก
http://th.wikipedia.org/wiki/การเลือกตั้งในประเทศไทย
การเลือกตั้งแต่ละครั้งเป็นการที่กระตุ้นเศรษฐกิจรูปแบบหนึ่ง
เนื่องจาก
1. มีการจัดซื้อผู้ผลิตโฆษณาที่ติดป้ายประกาศหาเสียง ใบปลิว ในการจัดทำ และ ติดต้ง
2. มีการจ้างงานพิเศษเป็นผู้ช่วยในการหาเสียง
3. หลังเลือกตั้ง มีขบวนการสามล้อ ซาเล้ง ในการจัดเก็บป้ายโฆษณาที่ติดตั้ง โดยขายต่อให้ร้านขายของเก่า เกิดการหมุนเวียนเกิดขึ้น
4. มีการจัดอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง
5. เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยมีรายได้ ในวันเลือกตั้ง ทั้งเลือกตั้งล่วงด้วย
ในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง ใช้เงินระดับ พันล้านบาทในการจัดการเลือกตั้ง ส่งให้ระบบเศรษฐกิจที่ซบเซาให้ตื่นขึ้นมาชั่วคราว
เหล่านี้คือมุมมองของผม ว่าการเลือกหลายครั้งมันก็ดีอีกแบบ แต่หลายต่อหลายท่านไม่ชอบเพราะมันไม่มีรัฐบาลเบื่อการลงคะแนนเสียง นั้นเอง แต่ท่านก็ชอบที่ไปลงคะแนนในการประชุมผู้ถือหุ้น ที่บริษัทจดทะเบียนเป็นผู้จัดมากกว่า
เพราะ ได้ขายทาน ได้ถามผู้บริหารถึงทิศทางของบริัษัท ทำให้สิ่งที่ท่านลงทุนไปได้ผลตอบแทนกลับคืนมานั้นเอง
เดี๋ยวค่อยเขียนเรื่องการเลือกตั้ง เหมือนหรือแตกต่างกับการไปประชุมผู้ถือหุ้นอย่างไงดีกว่า
เพื่อที่ให้นักลงทุนเห็นว่า การประชุมผู้ถือหุ้นนั้นคือการใช้อำนาจในระบบประชาธิปไตยเหมือนกัน
แล้วทำไม 1 หุ้นถึงเป็น 1 คะแนนเสียง แล้วทำไมประเทศถึงไม่ใช่ 1 บาทภาษีเป็น 1 คะแนนเสียง
เป็นสิ่งที่ดีหรือเปล่าต่อเศรษฐกิจไทย เป็นสิ่งที่ทุกท่านไปเปิดอดีตในช่วงปี 2549-2550
ข้อมูลการเลือกตั้งดูได้จาก
http://th.wikipedia.org/wiki/การเลือกตั้งในประเทศไทย
การเลือกตั้งแต่ละครั้งเป็นการที่กระตุ้นเศรษฐกิจรูปแบบหนึ่ง
เนื่องจาก
1. มีการจัดซื้อผู้ผลิตโฆษณาที่ติดป้ายประกาศหาเสียง ใบปลิว ในการจัดทำ และ ติดต้ง
2. มีการจ้างงานพิเศษเป็นผู้ช่วยในการหาเสียง
3. หลังเลือกตั้ง มีขบวนการสามล้อ ซาเล้ง ในการจัดเก็บป้ายโฆษณาที่ติดตั้ง โดยขายต่อให้ร้านขายของเก่า เกิดการหมุนเวียนเกิดขึ้น
4. มีการจัดอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง
5. เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยมีรายได้ ในวันเลือกตั้ง ทั้งเลือกตั้งล่วงด้วย
ในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง ใช้เงินระดับ พันล้านบาทในการจัดการเลือกตั้ง ส่งให้ระบบเศรษฐกิจที่ซบเซาให้ตื่นขึ้นมาชั่วคราว
เหล่านี้คือมุมมองของผม ว่าการเลือกหลายครั้งมันก็ดีอีกแบบ แต่หลายต่อหลายท่านไม่ชอบเพราะมันไม่มีรัฐบาลเบื่อการลงคะแนนเสียง นั้นเอง แต่ท่านก็ชอบที่ไปลงคะแนนในการประชุมผู้ถือหุ้น ที่บริษัทจดทะเบียนเป็นผู้จัดมากกว่า
เพราะ ได้ขายทาน ได้ถามผู้บริหารถึงทิศทางของบริัษัท ทำให้สิ่งที่ท่านลงทุนไปได้ผลตอบแทนกลับคืนมานั้นเอง
เดี๋ยวค่อยเขียนเรื่องการเลือกตั้ง เหมือนหรือแตกต่างกับการไปประชุมผู้ถือหุ้นอย่างไงดีกว่า
เพื่อที่ให้นักลงทุนเห็นว่า การประชุมผู้ถือหุ้นนั้นคือการใช้อำนาจในระบบประชาธิปไตยเหมือนกัน
แล้วทำไม 1 หุ้นถึงเป็น 1 คะแนนเสียง แล้วทำไมประเทศถึงไม่ใช่ 1 บาทภาษีเป็น 1 คะแนนเสียง
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รอบที่แล้ววิกฤติต้มยำกุ้ง ถ้าเกิดอีกชื่อ วิกฤติผัดไท
โพสต์ที่ 27
ตัววัดวิกฤติเศรษฐกิจตัวหนึ่งของเมืองไทยคือ
การที่คนไทยไปท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้น
ทำไมหรือ เพราะว่า การท่องเที่ยวต่างประเทศเป็นการเอาเงินบาทไปแลกเงินตราต่างประเทศ
แล้วไปอุดหนุนประเทศที่เราไปท่องเที่ยวให้เกิดความคึกคักเกิดขึ้น
ดังเช่นก่อนวิกฤติต้มยำกุ้ง
คนไทยแห่ไปเที่ยวเมืองนอกมากๆๆ จนเดินชนกันในต่างประเทศละ
การที่คนไทยไปท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้น
ทำไมหรือ เพราะว่า การท่องเที่ยวต่างประเทศเป็นการเอาเงินบาทไปแลกเงินตราต่างประเทศ
แล้วไปอุดหนุนประเทศที่เราไปท่องเที่ยวให้เกิดความคึกคักเกิดขึ้น
ดังเช่นก่อนวิกฤติต้มยำกุ้ง
คนไทยแห่ไปเที่ยวเมืองนอกมากๆๆ จนเดินชนกันในต่างประเทศละ
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รอบที่แล้ววิกฤติต้มยำกุ้ง ถ้าเกิดอีกชื่อ วิกฤติผัดไท
โพสต์ที่ 28
ปีงบประมาณ 2557 เริ่มต้นเดือน ตุลาคม 2556 ถึงกันยายน 2557
ปีนี้เป็นปีที่รัฐบาลขาดดุลเงินสดมากๆๆ เนื่องจากอะไรหรือ
1. การลดภาษีนิติบุคคลไปที่ 20% เพื่อส่งเสริมการแข่งขัน ในการเข้าสู่สมาคมอาเซียน
2. การลดภาษีบุคคลธรรม โดยแบ่งซอยแต่ละระดับชั้นมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการลดภาษีนิติบุคคล ถ้าหากไม่ทำ มันทำให้ บุคคลไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลมากขึ้น และเพื่อให้สิ่งที่อยู่ใต้ดินโพล่มาบนดินบ้างส่วน
3. การจัดเก็บเงินทั้งกรมสรรสามิต เหล้า บุหรี่ น้ำมัน (น้ำมันดีเซลตัวดีเลย เพราะลดภาษีสรรสามิต ทำให้เงินหายไปจากระบบจัดเก็บ) ส่วนเหล้าโดนเพิ่มภาษีไป ทำให้บริษัทใหญ่ยอดขายตกลง
4. การจัดเก็บจากกรมศุลกากร ที่ลดลง เนื่องจากนำเข้าและส่งออกน้อยลง จากผลกระทบค่าเงินบาทในปี 2556 ที่แข็งค่าไปที่ 29 บาทก่อนที่ลดลงในช่วงปลายปีไปอยู่ในกรอบ 32-33 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ ถ้าหากไม่เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองคงคิดว่าไม่ถึงระดับนี้ได้หรอก
สิ่งที่คลังดำเนินการ ณ ตอนนี้คือ กู้เงินเพิ่ม จากแหล่งเงินกู้ต่างๆ แต่เห็นแล้ว กู้ก็ไม่ค่อยได้ด้วย
ดังนั้นตอนนี้จับตาดูว่า คลังของประเทศไทย ขาดเงินสดเมื่อไร มันคือ เหมือนบริษัทที่ขาดสภาพคล่อง นั้นเอง อาการเดียวกัน
ปีนี้เป็นปีที่รัฐบาลขาดดุลเงินสดมากๆๆ เนื่องจากอะไรหรือ
1. การลดภาษีนิติบุคคลไปที่ 20% เพื่อส่งเสริมการแข่งขัน ในการเข้าสู่สมาคมอาเซียน
2. การลดภาษีบุคคลธรรม โดยแบ่งซอยแต่ละระดับชั้นมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการลดภาษีนิติบุคคล ถ้าหากไม่ทำ มันทำให้ บุคคลไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลมากขึ้น และเพื่อให้สิ่งที่อยู่ใต้ดินโพล่มาบนดินบ้างส่วน
3. การจัดเก็บเงินทั้งกรมสรรสามิต เหล้า บุหรี่ น้ำมัน (น้ำมันดีเซลตัวดีเลย เพราะลดภาษีสรรสามิต ทำให้เงินหายไปจากระบบจัดเก็บ) ส่วนเหล้าโดนเพิ่มภาษีไป ทำให้บริษัทใหญ่ยอดขายตกลง
4. การจัดเก็บจากกรมศุลกากร ที่ลดลง เนื่องจากนำเข้าและส่งออกน้อยลง จากผลกระทบค่าเงินบาทในปี 2556 ที่แข็งค่าไปที่ 29 บาทก่อนที่ลดลงในช่วงปลายปีไปอยู่ในกรอบ 32-33 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ ถ้าหากไม่เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองคงคิดว่าไม่ถึงระดับนี้ได้หรอก
สิ่งที่คลังดำเนินการ ณ ตอนนี้คือ กู้เงินเพิ่ม จากแหล่งเงินกู้ต่างๆ แต่เห็นแล้ว กู้ก็ไม่ค่อยได้ด้วย
ดังนั้นตอนนี้จับตาดูว่า คลังของประเทศไทย ขาดเงินสดเมื่อไร มันคือ เหมือนบริษัทที่ขาดสภาพคล่อง นั้นเอง อาการเดียวกัน