จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
TLSS
Verified User
โพสต์: 616
ผู้ติดตาม: 0

จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 1

โพสต์

จิตวิทยาการลงทุน : พี่ WEB : Alumni day

ขอบคุณพี่ WEB พรชัย รัตนนนทชัยสุข เป็นอย่างสูง สำหรับการสละเวลามาถ่ายทอดความรู้ครั้งนี้ครับ
ขอบคุณอาจารย์ทุกท่าน พี่ไก่ พี่โจ พี่คเชนทร์ อาจารย์ตี่ พี่ขาว สำหรับข้อคิดดีๆ จาก case study ครับ
ขอบคุณคุณหลิน และทีมงานทุกท่าน สำหรับการจัดสัมมนาครั้งนี้ด้วยครับ

Standard Finance : Efficient Market Hypothesis

วิชานี้ใช้ไม่ได้ ไม่ค่อยตรงกับความเป็นจริง
ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้เท่าเทียมกัน
แต่ละคนฉลาด มีเหตุผล ไม่มีอคติ
ราคาหุ้นสะท้อนข้อมูลข่าวสารทุกอย่างทันที
ไม่มีใครสามารถหากำไรจากราคาที่ผิดพลาดได้อย่างต่อเนื่อง

Behavioral Finance : Psychology of Investing

เหตุผลที่สนับสนุนว่าตลาดไม่มีประสิทธิภาพ
มีเหตุการณ์หลายอย่างผิดปกติในโลกการลงทุน เช่น อยากซื้อเอ็มเคสุกี้ แต่ไปซื้อ MK, ขาย Advanc เพราะการเมือง รักชาติ, Market cap บริษัทลูก ใหญ่กว่าบริษัทแม่ เป็นต้น
เกิดภาวะฟองสบู่ และตลาดตกต่ำซ้ำแล้วซ้ำอีก วนไปวนมา
คนไม่ได้ตัดสินใจด้วยเหตุผลตลอดเวลา เช่น รู้ว่าทานเค้กแล้วอ้วน แต่ก็อยากทาน, ผู้หญิงมีรองเท้า 28 คู่ แต่ยังอยากได้คู่ใหม่
อคติต่างๆ มีลักษณะเป็นรูปแบบที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก

Daniel Kahneman : คนมีความคิด 2 ระบบ, System 1 Thinking ความคิดแบบไม่ค่อยได้คิด เกิดจากสัญชาตญาณ เช่น เจองูแล้วกระโดดหนี ความผิดพลาดจะเกิดบ่อยจากความคิดแบบนี้, System 2 Thinking ความคิดที่ค่อยๆ คิด วิเคราะห์

ตัวอย่างคำถาม
A bat and ball cost $1.10 in total. The bat costs 1$ more than the ball. How much does the ball cost? คำตอบ คือ 5 เซนต์ แต่คนส่วนใหญ่จะตอบ 10 เซนต์

If it takes five machines five minues to make five widgets, how long does it take 100 machines to make 100 widgets? คำตอบ คือ 5 นาที แต่คนส่วนใหญ่จะตอบ 100 นาที

In a lake, there is patch of lily pads. Every day the patch doubles in size. If it takes 48 days for the patch to cover the entire lake, how long would it take for the patch to cover half of the lake? คำตอบ คือ 47 แต่คนส่วนใหญ่จะตอบ 24

นำคำถามเหล่านี้ ไปถามนักศึกษา มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ผลคะแนน คือ MIT 2.18, Princeton 1.9, Carnegie Mellon 1.51, Harvard 1.43, U of Michigan 1.18, U of Toleo 0.57

นำคำถาม A bat and ball cost $1.10 in total. The bat costs 1$ more than the ball. How much does the ball cost? ไปถามนักศึกษา Princeton ใหม่ แต่ทำตัวอักษรจางๆ (จะได้มีเวลาเพ่ง พินิจ วิเคราะห์) ผลปรากฏว่า คะแนน เพิ่มเป็น 2.45 (จากเดิม 1.9)

แม้แต่นักลงทุนระดับโลก ก็ยังมีความผิดพลาดในเรื่องนี้

Warren Buffett มีช่วงนึงหุ้นแบงค์อเมริกาตกหนักมาก ราคาถูกมาก แต่กลัวไม่กล้าซื้อ, ตกรถ Walmart เพราะรอราคาหุ้นลง แต่หุ้นไม่ลงและขึ้นยาวต่อเนื่อง
Michael Steinhardt ช่วง black Monday วิเคราะห์แล้วว่า Upside เหลือน้อยแล้ว ควรออกจากตลาด แต่ยังไม่ยอมออกเพราะตลาดยังขึ้นไปต่อ จนสุดท้ายตลาดลงหนัก คือ วิเคราะห์อย่างดีแล้วแต่ไม่ปฏิบัติ
Stanley Druckenmiller ผู้บริหารกองทุนขนาดใหญ่ ช่วงหุ้น dotcom เฟื่องฟู วิเคราะห์ว่า ราคาแพงมากแล้ว จึงขาย แต่สุดท้ายเห็น ลูกน้องที่บริหารกองเล็กๆ ยังสนุกกับหุ้น dotcom และได้ผลตอบแทนดี สุดท้ายอดใจไม่ไหวกลับมาลงทุน ต่อมาไม่นานฟองสบู่ dotcom แตก
Peter Lynch หุ้นขึ้นมาระดับนึง เพื่อนเตือนว่าราคาแพงแล้ว ควรขายได้แล้ว เสียงเพื่อนเตือนก้องในหูตลอด จึงตัดสินใจขาย สุดท้ายหุ้นขึ้นไปอีกหลายเด้ง ความเห็นคนอื่นมีอิทธิพลต่อความคิดตนเองมากไป
Victor Niederhoffer ช่วงต้มยำกุ้ง หุ้นธนาคารกรุงไทยตกหนักมาก คิดว่าราคาต่ำมากแล้ว เดี๋ยวคงเด้งขึ้น จึงตัดสินใจซื้อ สุดท้ายไม่เด้ง ลงต่อตลอด ผิดพลาดที่มั่นใจตัวเองมากเกินไป และไม่รู้ข้อมูลตลาดไทยดีเพียงพอแต่เข้ามาลงทุน

In our view, though, investment Students need only two well-taught courses- How to Value a Business, and How to Think about Market Prices : วิชาสำคัญที่จำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อการลงทุน ได้แก่ การประเมินมูลค่ากิจการ และจิตวิทยาการลงทุน : Warren Buffett

พลังความสนใจของคนเรามีจำกัด เช่น ไม่ควรโทรศัพท์ขณะขับรถ ควรมีสมาธิและโฟกัสในเรื่องนั้นๆ

ทำไมต้องเรียนจิตวิทยาการลงทุน
เรียนรู้ลักษณะกับดักเชิงจิตวิทยาแต่ละอย่าง
ถ้าเรารู้จักพวกมัน เราจะตระหนักถึงพวกมันได้ง่ายขึ้น
และถ้าเราตระหนัก เราก็มีโอกาสรอดพ้นจากอิทธิพลของพวกมัน ตัวอย่างเช่น ถ้ามีคนใส่หมวกกันน็อค เข้ามาในธนาคาร ก็ให้เตรียมพร้อมว่า อาจจะมาปล้น เป็นต้น

1) Overconfidence Bias

ทำไมเราถึง Overconfidence
เป็นธรรมชาติของมนุษย์ มองตัวเองดี มองตัวเองด้านบวก เช่น ในชั้นเรียนเราเรียนเก่งกว่าเพื่อน, มาอบรมหุ้นแล้วจะไม่เจ๊งหุ้น
ได้ผลลัพธ์ดีๆ ติดต่อกัน เช่น มือใหม่ช่วงตลาดขึ้น ก็นึกว่าตนเองเก่งแล้ว
Illusion of control คือ ถ้ามีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น ก็จะเพิ่มความเชื่อมั่น เช่น ถ้าเลือกลอตเตอรี่เอง จะมีความรู้สึกว่าจะมีโอกาสถูกมากกว่าให้คนอื่นเลือกให้ ทั้งที่จริงๆ ความน่าจะเป็นที่จะถูกรางวัลเท่ากัน
ทำในสิ่งที่ตนเองยังมีประสบการณ์น้อย และประสบความสำเร็จในช่วงสั้น เช่น ปีแรกได้ผลตอบแทนได้ 100% ก็มั่นใจว่าปีต่อไปจะทำได้ 100% ต่อเนื่อง

ผลที่ตามมา
ซื้อขายบ่อยเกินไป
กล้าเสี่ยงมากเกินไป
กระจายความเสี่ยงน้อยเกินไป
มั่นใจกับการตัดสินใจของตนเองมากไป
คิดถึงความเสี่ยงน้อยเกินไป

นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จจะมีความถ่อมตัว และไม่เชื่อมั่นในความคิดของตัวเองมากจนเกินไป เพราะพวกเขารู้ว่า ไม่ว่าจะทุ่มเทหรือระมัดระวังแค่ไหน พวกเขาก็อาจคิดผิดได้ : Seth Klarman

Skill = Observed Outcome – Luck

กิจกรรมที่ใช้ Pure Skill >> Pure Luck เรียงจากมากไปน้อย หมากรุก บาส บอล รักบี้ เล่นหุ้นระยะสั้น การพนัน

Cost of your mistakes แปรผันตาม Level of Overconfidence เช่น พอมั่นใจมาก ก็เพิ่มเงินลงทุน กู้เงินมาลงทุน เวลาเสียหายจะเสียหายมาก (รูปแมวเดินผ่านฝูงหมา)

Poisonous Triangle 1. Herd Behavior เชื่อตามฝูงชน 2. Overconfidence มั่นใจมากไป 3. Excess Leverage เพิ่มขนาดลงทุน >>> ถ้าทำทั้ง 3 ปัจจัยพร้อมกัน ความ Ship-หาย ก็จะตามมา

คุณต้องมีความอ่อนน้อมถ่อมตน เพราะคุณสามารถคิดผิดได้ ซึ่งถ้าคนยอมรับในประเด็นนี้ คุรจะเน้นความระมัดระวัง ด้วยการซื้อหุ้นที่ราคามี Margin of Safety และไม่ยอมจ่ายแพงเกินไป : Jean marie Eveillard

ดึงสติกลับมาก่อน นึกถึง System 1 & System 2 Thinking
เรามีหลักฐานอะไรที่พิสูจน์ว่าตัวเองเก่ง ? รู้จริงหรือไม่
ถ้าคนที่มีความสามารถอย่างเรา พยายามเท่าเรา ถือว่า เก่งหรือประสบความสำเร็จ คนทั้งโลกคงเก่งกันหมดทุกคนแล้วหรือเปล่า?
ประวัติความสำเร็จของเรามีความต่อเนื่อง ยาวนาน มากน้อยแค่ไหน

ลองคิดดูว่าเรามีโอกาสคิดผิด เพราะสาเหตุอะไรบ้าง พยายามคิดทางลบ คิดผิดเพราะอะไร ?
ปรับระดับความมั่นใจลงให้สอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้น เช่น มั่นใจ 90% แต่จริงๆ แค่ 70% ก็ควรจะมั่นใจ 70% อย่ามโนเอาเอง

2) Loss Aversion Bias

Daniel Kahneman และ Amos Tversky พบว่า คนเราจะพยายามหลีกเลี่ยงการขาดทุน มากกว่าการหากำไร
ความเสียใจที่เกิดจากการขาดทุน มีความรุนแรงเป็นสองเท่าของความดีใจที่ได้กำไร

ผลที่ตามมา
ถือหุ้นไม่ดี หุ้นที่ขาดทุนนานเกินไป คิดว่าวันนึงจะกลับมา ไม่ขายไม่ขาดทุน (Sunk Cost Effect)
ขายหุ้นที่ได้กำไรเร็วเกินไป ขอล็อคกำไรก่อน (Pride Seeking)
ถือเงินสดเพราะกลัวขาดทุน (Snake bite Effect ถ้าถูกงูกัดจะกลัว) คนที่ลงทุนช่วงต้มยำกุ้งแล้วเจ๊ง จะกลัว ไม่กล้าเข้าตลาดหุ้นอีกเลย

ถ้าคุณพบว่าอยู่ในเรือที่รั่วแบบไม่หยุดหย่อน การใช้ความพยายามในการเปลี่ยนเรือจะดีกว่าการใช้ความพยายามในการปะรูรั่ว Warren Buffett
ทุกการตัดสินใจ มีต้นทุนค่าเสียโอกาสมาเกี่ยวข้อง เราต้องเปรียบเทียบโอกาสทางการลงทุนที่เราดูอยู่กับโอกาสทางการลงทุนอื่นๆ Warren Buffett
อย่ามัวไปนั่งคิดถึงราคาหุ้นของวันก่อนๆ ให้ถามว่าที่ราคาหุ้นปัจจุบัน เราควรซื้อ ซื้อเพิ่ม หรือขาย Andrew A. Lanyi

ตัวอย่างหนังเรื่อง 127 ชั่วโมง พระเอกไปเดินป่า ตกซอกหินผา แล้วแขนไปติดอยู่กับหินไม่สามารถดึงออก ต้องทนติดอยู่ 127 ชั่วโมง อาหาร น้ำ เริ่มหมด สุดท้ายจึงตัดสินใจตัดแขน เพื่อรักษาชีวิตรอด

ถ้าวันนี้เราถือแต่เงินสด เราจะซื้อหุ้นตัวนี้หรือเปล่า ?
หุ้นตัวนี้มีระดับผลตอบแทนเมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่น่าสนใจกว่าหุ้นตัวอื่นๆ ใช่หรือไม่ ?
ทุกครั้งที่ซื้อหุ้น ให้คิดล่วงหน้าว่า มีสถานการณ์อะไรบ้างที่ทำให้เราขายหุ้นตัวนี้ ?

3) Confirmation Bias

คนเรามักให้น้ำหนักกับข้อมูล หรือความคิดเห็นที่ยืนยันความคิดของตัวเอง
ในขณะเดียวกัน ก็มักจะมองข้ามหรือให้น้ำหนักน้อยกับข้อมูลหรือความคิดเห็นที่ขัดแย้งกับความคิดของตนเอง
Confirmation Bias = การเห็นในสิ่งที่ตนเองอยากเห็น
เช่น ซื้อหุ้นเพราะชอบ พอมีข้อมูลด้านดี เราจะให้น้ำหนักเยอะ พอมีข้อมุลด้านไม่ดีเราจะให้น้ำหนักน้อย (คือ ถ้าไม่ดีทำไม่เราถือล่ะ)

ผลที่ตามมา
มองข้ามข้อเสียหรือแง่ลบของหุ้นและบริษัท
ถือหุ้นในสัดส่วนที่เยอะเกินไป
ถือหุ้นที่ไม่ได้ดีอย่างที่คิดนานเกินไป

แรเงา
ตา : ผอ.ต้องการเพียงเท่านี้ใช่มั้ย (ข้อมูลจริง)
ผอ. : ตา ผมรักตานะ ผมรักตาคนเดียวจริงๆ (ข้อมูลที่ตาเลือกที่จะรับ)

Club Friday
ในรายการ มีหัวข้อเรื่อง เมียน้อย มีเมียน้อย 4-5 ราย โทรมา พอฟังแล้ว เหมือนทุกๆคนจะมีจุดที่ผิดพลาดคล้ายๆ กัน คือประมาณว่า เลือกที่จะเชื่อในคำพูดผู้ชาย มากไป เพราะสิ่งที่เลือกที่จะเชื่อ คือสิ่งที่ทำให้มีความสุข ทั้งๆ ที่ความจริง ไม่ได้เป็นเช่นนั้น

เราสามารถที่จะฆ่าหุ้นตัวนี้ได้อย่างไรบ้าง ? พยายามหาสาเหตุที่จะทำให้บริษัทเจ๊ง เช่น ขยายต่างประเทศแล้วเจ๊ง พยายามหาข้อเสีย
คนที่ไม่ชอบหุ้นตัวนี้ เขามีเหตุผลอะไร ?
ถ้าหุ้นดีจริง ทำไมราคายังถูก ? ทำไมเราเห็นคนเดียว คนอื่นไม่เห็น (เช่นดูกำไรบรรทัดเดียว แต่ไม่ดูว่า เป็นกำไรพิเศษครั้งเดียวหรือไม่)
Confirmation bias สามารถ confirm ได้ทั้งแง่บวกและแง่ลบ

4) Cognitive Dissonance Bias

รู้สึกไม่สบายใจ เมื่อสิ่งที่ควรทำกับสิ่งที่อยากทำไม่เหมือนกัน เช่น อยากสูบบุหรี่ ทั้งที่รู้ว่าไม่ดี ก็จำเป็นต้องหาเหตุผลมาสนับสนุนว่า ไม่สูบเพราะอันตรายต่อสุขภาพ สูบเพราะขอแค่วันนี้วันสุดท้าย พรุ่งนี้เลิก พยายามหาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง
รู้สึกไม่สบายใจ เมื่อสิ่งที่ควรเชื่อกับสิ่งที่อยากเชื่อไม่เหมือนกัน ต้องพยายามหาเหตุผลหลอกตัวเองให้ได้เชื่อในสิ่งที่อยากเชื่อ หรือหาเหตุผลหักล้างเพื่อไม่ต้องเชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ

ผลที่ตามมา
ถือหุ้นที่ขาดทุน หรือหุ้นไม่ดีนานไป
ซื้อเฉลี่ยขาลงแบบไม่ได้ใช้เหตุผล
คิดว่าตนเองเก่ง แต่จริงๆ คือ เข้าข้างตัวเอง

เราหาเหตุผลเข้าข้างหรือหลอกตัวเองเพื่อให้ได้ทำในสิ่งที่อยากทำ หรือหาเหตุผลหักล้างเพื่อไม่ต้องทำในสิ่งที่ควรทำ ใช่หรือไม่ ?

5) Representativeness Bias

คนเรามีแนวโน้มที่จะจัดหมวดหมู่สิ่งของ และความคิด เช่น หุ้น Value หุ้น IPO หุ้นปันผล โดยจัดหมวดหมู่เพื่อที่จะลงทุนหรือไม่ โดยที่ไม่ดูรายละเอียด ตัวอย่างเช่น หุ้น IPO Jubeli 3 บาท ถ้าไม่ได้ซื้อก็เสียโอกาส, ตลาดหลักทรัพย์ยังเคยพลาด จัดอันดับหุ้นปันผล มีหุ้นตัวนึงเข้า list แต่ปัจจุบันก็ห้ามซื้อขายไปแล้ว

คนมักใช้ข้อมูลน้อยมาเป็นข้อสรุป (Law of small numbers) เช่น net profit margin ดูย้อนแค่ 2 ปี แล้วบอกว่าดี, ทองคำเป็นการลงทุนที่ดี ราคาขึ้นต่อเนื่อง

ผลที่ตามมา
ตัดสินใจผิดจากการแบ่งหุ้นเป็นกลุ่มๆ
ตัดสินใจลงทุนจากข้อมูลที่ผ่านมาไม่นาน
คิดว่าสิ่งที่กำลังเกิด จะเกิดขึ้นเรื่อยๆ

เราตัดสินหุ้นตัวนี้จากการจัดกลุ่ม เราได้ศึกษาหุ้นตัวนี้อย่างละเอียดหรือยัง ?
ข้อสรุปนี้มีกลุ่มตัวอย่างสนับสนุนมากเพียงพอหรือไม่ เราด่วนสรุปหรือไม่ ?

6) Familiarity Bias

คนเรามักจะชอบสิ่งที่ตนเองคุ้นเคย ถ้าไม่คุ้นเคยไม่ลงทุน

ผลที่ตามมา
ซื้อหุ้นที่ขายสินค้าที่ตัวเองชอบใช้และคุ้นเคย เช่น ชอบโอปองแปง ซื้อ SST โดยไม่ดูรายละเอียด
ซื้อหุ้นเพราะคนแนะนำเยอะ พูดถึงเยอะ
ซื้อหุ้นบริษัทที่ตนเองทำงานอยู่
ซื้อหุ้นในประเทศ
ไม่ซื้อหุ้นที่ไม่เคยใช้สินค้า เช่น Robins ไม่เคยไปเลย ไม่ซื้อ, Singer เราไม่เคยใช้สินค้า ไม่ซื้อ

ความผิดพลาด แปรผันตาม อารมณ์

เราซื้อหุ้นตัวนี้ เพราะเราใช้สินค้าและบริการบ่อยใช่หรือไม่ ?
หลังซื้อหุ้นแล้ว เราใช้บริการบ่อยมากขึ้นใช่หรือไม่ ?
เราไม่ชอบหุ้นตัวนี้ เพราะไม่เคยเห็น หรือไม่เคยใช้สินค้าเลยใช่หรือไม่ ?

7) Hindsight Bias

พอเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว คนเรามีแนวโน้มที่จะคิดว่า ตัวเองรู้ก่อนแล้วว่ามันจะต้องเกิดขึ้น
ทำให้คนประเมินความสามารถในการคาดการณ์ของตัวเองสูงเกินไป

ผลที่ตามมา
คิดว่าตนเองรู้ล่วงหน้า คาดการณ์ได้
กล้าเสี่ยงมากขึ้น
แยกแยะไม่ได้ว่า ความสำเร็จหรือล้มเหลวเกิดจากโชค หรือความสามารถ
ขาดโอกาสในการเรียนรู้

เรามีหลักฐานอะไรที่พิสูจน์ว่า เรารู้ล่วงหน้าว่าเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้น? ได้จดบันทึกไว้ก่อนหรือไม่
มีเหตุการณ์อื่นๆ อะไรบ้างที่อาจเกิดขึ้นได้


8) Availability Bias

คนเรามักจะพิจารณาแนวโน้มหรือความน่าจะเป็นของสิ่งต่างๆ จากข้อมูลที่ตนเองนึก หรือคุ้นเคย ซึ่งอาจไม่ใช่ข้อมูลที่สมบูรณ์หรือตรงความเป็นจริง

ผลที่ตามมา
ซื้อหุ้นที่มีคนพูดถึงเยอะ
ซื้อหุ้นที่ตนเองคุ้นเคย รู้จัก หรือทำงานอยู่
ตัดสินใจลงทุนจากเรื่องราวหรือผลตอบแทนล่าสุด
ตอบสนองต่อเหตุการณ์ล่าสุดมากเกินไป

มีกระบวนการคัดเลือกหุ้นอย่างมีวินัยและเป็นระบบ
มองข้อมูลย้อนหลังไปยาวๆ

9) Anchoring Bias

เวลาคนเราคิดเกี่ยวกับตัวเลข หรือมูลค่า ตัวเลขบางตัวจะมีผลต่อการตัดสินใจของเรา

มีการทดลอง ให้คนเขียนเลขท้าย 4 ตัวของเบอร์โทรศัพท์ และจำนวนแพทย์ในเมือง Manhattan ผลปรากฏว่า กลุ่มคนที่มีเลขท้าย 4 ตัวน้อย ก็จะแจ้งจำนวนแพทย์น้อย คนที่เลขท้ายมาก ก็แจ้งจำนวนแพทย์มาก ซึ่งไม่ได้เป็นเหตุเป็นผลต่อกันเลย แต่กลับมีอิทธิพล

ตัวเลขในตลาดหุ้นมีมากมาย ทำให้มีโอกาสผิดพลาดได้ง่าย และบ่อย
ราคาทุน จดไว้อย่างดี จริงๆ ไม่เกี่ยวเลย
ราคาสูงสุด
ราคาต่ำสุด
ราคาล่าสุด เคส Buffett ตกรถ Walmart เพราะเกี่ยงราคาไม่กี่ช่อง
ราคาเป้าหมายของนักวิเคราะห์ (มักจะปรับราคาเป้าหมายไปเรื่อยๆ มีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยๆ)
ราคา IPO
ราคาทุนของคนอื่น เปรียบเทียบกับเพื่อน ถ้าเราซื้อแพงกว่า เหมือนว่าเราโง่กว่าเพื่อน

ผลที่ตามมา
คาดการณ์ดัชนี หรือราคาเป้าหมายเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับปัจจุบัน
ตัดสินใจซื้อหรือขายแบบไม่มีเหตุผลหรือไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของมูลค่า

จริงๆ VI สนใจเพียงแค่ ราคาตลาด ณ ปัจจุบัน เปรียบเทียบกับ มูลค่า เท่านั้น

10) Status Quo Bias

คนเรามีแนวโน้มที่จะตัดสินใจเลือกทางเลือกแบบที่เป็นอยู่ปัจจุบัน เช่น นั่งกระดิกเท้าตามอาจารย์(อาจารย์ท่านมีเหตุผลของท่าน) แต่จริงๆ เราอาจจะกำลังกลัว เลยไม่ได้ทำอะไร
ความผิดพลาดจากการที่เราลงมือทำ เจ็บใจกว่า ความผิดพลาดจากการที่เราอยู่เฉยๆ ไม่ได้ทำอะไร

ผลที่ตามมา
ไม่ซื้อหรือขายเมื่อถึงเวลาที่ควร
ถือหุ้นขาดทุนนานเกินไป (ร่วมกับ Loss Aversion Bias)
ทำให้ยังถือหุ้นพื้นฐานแย่ลงต่อไป

ถ้าเรายังไม่มีหุ้น ณ ระดับราคานี้ เราจะซื้อหรือไม่ ?

11) Endowment Bias

ให้ค่ากับสิ่งที่ตนเองเป็นเจ้าของมากเกินไป เช่น อาจารย์ถามนักเรียนว่า กระบอกน้ำนี้ราคาเท่าไร นักเรียนตอน 6 เหรียญ แล้วให้นักเรียนออกจากห้องไป ซักพักกลับมา อาจารย์ถามว่า กระบอกน้ำนี้ราคาเท่าไร นักเรียนตอบ 9 เหรียญ คนเรามักจะให้มูลค่าเพิ่มสิ่งที่เรามี

ผลที่ตามมา
มองหุ้นทีตัวเองถืออยู่ดีเกินจริง
ถือหุ้นที่มีอยู่นานเกินไป

ถ้าเรายังไม่มีหุ้นตัวนี้ ณ ราคานี้ เราจะซื้อหรือไม่ ?

12) Regret Aversion Bias

คนเรามักไม่กล้าตัดสินใจลงมือทำแบบเด็ดเดี่ยว เพราะกลัวว่าจะตัดสินใจผิดพลาด

ผลที่ตามมา
ไม่กล้าเข้าลงทุน เพราะกลัวขาดทุน
ไม่กล้าขายหุ้นไม่ดี เพราะกลัวขายแล้วขึ้น
ซื้อตอนแพง เพราะไม่อยากเสียใจที่คนอื่นกำไรแต่เราไม่ได้
ไม่กล้าขายหุ้นที่แพงแล้ว เพราะกลัวจะขึ้นต่อ
ไม่กล้าซื้อหุ้นที่ถูกแล้ว เพราะกลัวซื้อแล้วลงต่อ

ตัวอย่าง
ตอน Powerpoint ขายให้ Microsoft, Microsoft เสนอว่าจะเอาเงินสด 14 ล้าน หรือจะเอาหุ้น แต่เจ้าของ Powerpoint เลือกเงินสด เอาชัวร์ไว้ก่อน ซึ่งก็เสียโอกาสมากมาย
บัฟเฟตต์เวลาซื้อกิจการ ก็เสนอซื้อโดยจ่ายเงินสด หรือหุ้น ก็จะมีบริษัทที่จะเลือกเงินสด เพราะเลือกที่จะไม่เสียใจซึ่งหน้า
คนไทยนิยมฝากเงินธนาคาร มากกว่าลงทุนหุ้น

ในระหว่างที่เราตัดสินใจ เรารู้สึกถึงความกลัว ความไม่กล้า หรือไม่ ?

13) Affinity Bias

คนเรามักเลือกสิ่งที่สะท้อนคุณค่า ภาพลักษณ์ หรือตัวตนของตนเอง

ตัวอย่างเช่น CPF ไม่ลงทุน เพราะเป็นธุรกิจบาป, CPALL ไม่ลงทุนเพราะขายสุรา, ชอบอ่านหนังสือ เลือกลงทุน มติชน อัมรินทร์ โดยที่ไม่ได้ศึกษากิจการอย่างละเอียด

ผลที่ตามมา
ซื้อหุ้นของบริษัทที่ตนเองชอบ แต่อาจจะไม่ใช่หุ้นที่น่าลงทุน
ไม่ซื้อหุ้นของบริษัทที่ตนเองไม่ชอบ แต่อาจเป็นหุ้นที่น่าลงทุน

เราตัดสินใจซื้อหุ้นหรือไม่ซื้อหุ้น ด้วยเหตุผลอื่นนอกเหนือจากการที่หุ้นมีราคาถูกเมื่อเทียบกับมูลค่าใช่หรือไม่ ?

14) Mental Accounting Bias

เวลาคนเราคิดถึงเรื่องเงินหรือสินทรัพย์ มักจะแยกเงินเป็นกลุ่มๆ เช่น เงินจากการทำงาน เงินมรดก เงินลาภลอย เงินใช้จ่าย เงินท่องเที่ยว

ผลที่ตามมา
พิจารณาหุ้นแยกเป็นตัวๆ โดยไม่ได้ดูความสัมพันธ์ของพวกมัน
ไม่ได้คิดผลตอบแทนรวม คิดแยกปันผล และ ส่วนต่างราคา
กล้าเสี่ยงมากขึ้นกับเงินที่ได้กำไรมา House money effect

เงินทุกบาท มีค่าเท่ากันหมดไม่ว่าจะมีที่มาอย่างไร
มองผลตอบแทนรวม
พิจารณาความสัมพันธ์ของหุ้นแต่ละตัว

15) Self - Attribution Bias

เวลาประสบความสำเร็จ ชอบคิดว่าเกิดจากความสามารถหรือทักษะของตัวเอง
เวลาประสบความล้มเหลว จะโทษปัจจัยภายนอกหรือโชคร้าย เช่น หุ้นตก โทษน้ำท่วม โทษการเมือง โทษนายตลาด, จะพบที่ผู้บริหารบ่อยกว่าผู้ถือหุ้น

ผลที่ตามมา
มั่นใจตัวเองมากเกินไป
ซื้อขายบ่อยเกินไป
กล้าเสี่ยงเกินไป
กระจายความเสี่ยงน้อยเกินไป
ขาดโอกาสเรียนรู้

เราได้กำไรเพราะเหตุผลที่เราคิดตั้งแต่ตอนซื้อมันถูกต้องใช่หรือไม่ ?

16) Outcome Bias

คนเราชอบใช้ผลลัพธ์ในการตัดสินสิ่งต่างๆ ทั้งที่หลายครั้งผลลัพธ์เกิดจากเหตุบังเอิญ

ตัวอย่างเช่น ลงทุนปีแรก กำไร 200% เทพมาก จริงๆ อาจจะเสี่ยงมาก กู้มาเล่น ถ้าทำบ่อยๆ จะเสี่ยง

บางครั้งเราทำดี แต่ผลลัพธ์ไม่ดี แต่สุดท้าย ให้ยึดที่กระบวนการไว้ก่อน ถ้ากระบวนการถูกต้องก็ถือว่าดีแล้ว (อย่าดูที่ผลลัพธ์อย่างเดียว)

เรื่องที่น่ายั่วยวนใจในแวดวงการลงทุน คือ บางครั้งคนที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย ก็สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงมาก มันทำให้คนหลงคิดว่าการได้ผลตอบแทนที่ดี ไม่ต้องใช้ความเป็นมืออาชีพ และนั่นคือ กับดัก คำแนะนำ คือ ให้จำไว้ว่า การลงทุนเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงมาก ไม่ว่าคุณจะซื้อหรือขายหุ้น คุณต้องสู้กับคนที่ทุ่มเทความพยายามให้กับเรื่องนี้หลายต่อหลายคน ซึ่งหลายๆ ครั้ง คนพวกนี้ขายหุ้นที่คุณกำลังซื้อ หรือซื้อหุ้นที่คุณกำลังขาย : Michael Steinhardt

ผลที่ตามมา
ซื้อหุ้นที่ให้ผลตอบแทนดีในช่วงที่ผ่านมา (หมดรอบ)
ขายหุ้นที่ให้ผลตอบแทนแย่ในช่วงที่ผ่านมา
ใช้กลยุทธ์การลงทุนที่ให้ผลลัพธ์ดีในช่วงที่ผ่านมา
ตัดสินใจลงทุนโดยดูจากผลลัพธ์ ไม่ได้ดูกระบวนการ

เราประเมินการตัดสินใจต่างๆ จากผลลัพธ์หรือกระบวนการ ?

17) Herding and Social Interaction

คนเรามีแนวโน้มชอบทำสิ่งที่คนส่วนใหญ่กำลังทำ เช่น ไปทานข้าว มี 2 ร้าน ร้านคนเยอะกับร้านคนน้อย ถ้าไปกินร้านคนเยอะแล้วไม่อร่อย จะรู้สึกว่าอย่างน้อยยังมีเพื่อน แต่ถ้ากินร้านคนน้อยแล้วไม่อร่อย แบบนี้จะรู้สึกแย่ยิ่งกว่า
การทำเหมือนคนอื่นทำให้รู้สึกสบายใจ
สิ่งที่คนส่วนใหญ่กำลังทำจะมีอิทธิพลทำให้เราอยากทำสิ่งนั้น

ผลที่ตามมา
ซื้อแพง
ขายถูก
โทษคนอื่น ไม่โทษตนเอง

ถ้าหมอ 10 คนสั่งยาเหมือนกัน ยาตัวนั้นคงเป็นยาที่ควรกิน แต่ถ้านักวิเคราะห์ 10 คนแนะนำหุ้นตัวเดียวกัน การซื้อหุ้นนั้นอาจเป็นข้อผิดพลาดได้ เพราะถ้าทุกคนต่างซื้อหุ้นนี้ ราคาคงใกล้ดอยแล้ว เหตุผลเดียวที่ทำให้ราคาหุ้นขึ้นไปได้คือ มีคนจำนวนมากขึ้นๆ มาซื้อ ดังนั้นเมื่อไรที่เจอหุ้นที่ใครๆ บอกให้ซื้อ อยู่ห่างมันซะ : Sir John Templeton

คุณต้องกล้าใส่กางเกงขาบาน ขณะที่คนส่วนใหญ่ใส่ทรงกระบอก : Ross Southam

You are neiter right nor wrong because the crowd disagrees with you. You are right because your data and reasoning are right. : Benjamin Graham

เราอยากทำเพราะใครๆ ก็กำลังทำกันแบบนี้ใช่หรือเปล่า ?

18) Expert & Authority

คนเรามีแนวโน้มที่จะเชื่อคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ นักวิเคราะห์ เซียนหุ้น
ยิ่งเราไม่มีความรู้ เราจะยิ่งเชื่อ
ถ้าเรากำลังกดดัน ทำอะไรไม่ถูก เราจะยิ่งเชื่อ

เด็กดีไม่ดื้อ เด็กดื้อไม่ดี เด็กดื้อครูตี เด็กดีครูชม (ถูกปลูกฝัง)

ผลที่ตามมา : ลงทุนผิดพลาด
คนที่เราเชื่ออาจไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญตัวจริง
ผู้เชี่ยวชาญก็ไม่ได้รู้ทุกเรื่อง
ผู้เชี่ยวชาญอาจคิดผิด
ผู้เชี่ยวชาญไม่สามารถแนะนำได้ตลอดเวลา เราลงทุน 10 – 30 ปี ลงทุนตลอดชีวิต จะพึ่งพาคนอื่นตลอดคงไม่ได้
เราจะลงทุนแบบไม่มีหลักยึด
เราจะไม่มีโอกาสเรียนรู้

กูรู หลายๆคนไม่ใช่ตัวจริง : Anthony Bolton

เปลี่ยนจากคำว่า รับแซ่บ ชิส์ เป็น อ่าน วิเคราะห์เอง

ความอยากซื้อหรือขายของเรา เกิดจากการฟังคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญใช่หรือไม่ ?
ที่ผ่านมา คำแนะนำเหล่านั้นมีความถูกต้องมากน้อยแค่ไหน ?

19) Hot – Seat

เวลาเราถูกกระตุ้นหรือกดดัน เราจะใช้เหตุผลน้อยลง ใช้อารมณ์ตัดสินใจมากขึ้น และลงมือทำผิดจากแผนที่คิดไว้ หรือเลือกทำในสิ่งที่แตกต่างจากสิ่งที่เราจะเลือกทำในสภาวะปกติ ตัวอย่าง เช่น ปกติ ผู้หญิงคงไม่อยากท้องก่อนแต่ง แต่เมื่อมีสิ่งเร้า ก็อาจตัดสินใจผิดได้

หุ้นในสภาวะวิกฤต ทำอะไรไม่ถูก วิธีแก้คือ คิดล่วงหน้าในสภาวะปกติ เขียนไว้ล่วงหน้าว่าจะทำอะไรในช่วงวิกฤต

ผลที่ตามมา : ตัดสินใจโดยใช้อารมณ์ เชื่อคนอื่นง่ายขึ้น
ไม่ซื้อหุ้นที่คิดว่าราคาถูกแล้ว
ไม่ขายหุ้นที่คิดว่าแพงมากแล้ว
ขายหุ้นออกไป เพราะทนดูมันตกติดต่อกันไม่ได้
ซื้อหุ้น เพราะทนเห็นคนอื่นได้กำไรไม่ได้

ลองทิ้งช่วงให้ใจสงบ และดูว่า เราจะตัดสินใจเหมือนเดิมหรือไม่ ?
ถ้าเป็นบัฟเฟตต์ จะเลือกตัดสินใจอย่างไร ?
มีแผนการลงทุนล่วงหน้า

20) The Power of Story

คนเรามักจะได้รับอิทธิพลจากเรื่องเล่าที่ได้ฟังจากเพื่อน หรือเรื่องเล่าตามสื่อหรือตาม internet มากกว่าหลักฐานทางวิทยาศาตร์หรือสถิติ

ผลที่ตามมา
ซื้อหุ้นเพราะผู้บริหารเล่าโครงการมากมาย
ซื้อหุ้นเพราะหลงลมปากผู้บริหาร
ไม่ขายหุ้นเพราะผู้บริหารหาเหตุผลมาสนับสนุนผลประกอบการที่แย่
ใช้กลยุทธ์การลงทุนที่มีคนทำแล้วได้ผลดี แต่จริงๆ เป็นกลยุทธ์ที่เสี่ยง

สิ่งที่เราเชื่อมีหลักฐานจำนวนมากพอยืนยันหรือเปล่า ?

21) Recency Bias & Extrapolation

คนเรามักจะจดจำและให้น้ำหนักกับเหตุการณ์ล่าสุดมากกว่าเหตุการณ์ในอดีต
คนเราชอบลากเส้นต่อจากปัจจุบันไปยังอนาคต และชอบคิดว่าอนาคตจะเหมือนปัจจุบัน

ผลที่ตามมา
ซื้อหุ้นที่ขึ้นเยอะ หรือมีข่าวดีในช่วงที่ผ่านมา
ซื้อสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนดีในช่วงที่ผ่าน (Barn-Door Closing)
ขายหุ้นที่ลงเยอะ หรือมีข่าวร้ายในช่วงที่ผ่านมา
ซื้อช่วงฟองสบู่ ขายช่วงตลาดตกต่ำ
รีรอขายช่วงฟองสบู่ รีรอขายช่วงตลาดตกต่ำ

ถ้ามันอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์ มันก็คงจะสะท้อนอยู่ในราคาหุ้นแล้ว : Bill Miller

การที่ราคาหุ้นขึ้นมา 20% หมายความว่าหุ้นตัวนี้มีความน่าสนใจน้อยลงไป 20% : Francisco Garcia Parames
จังหวะที่ดีที่สุดสำหรับการเริ่มต้นซื้อหุ้นเพื่อการลงทุนระยะยาว คือ ช่วงเวลาหลังจากที่หุ้นให้ผลตอบแทนไม่ดีติดต่อกันมายาวนาน : Jack D Schwager
การคาดหวังหรือวาดฝันว่า ผลลัพธ์ในอนาคตมันจะเหมืนอกับที่เคยเป็นในอดีตเป็นเรื่องอันตราย : Lord Keynes

ตระหนักว่าทุกอย่างในโลก ไม่สามารถดำเนินไปทางใดทางหนึ่งได้ตลอด ความรุ่งเรื่องจะตามมาด้วยความเสื่อมถอย ความมืดจะตามมาด้วยความสว่าง
ศึกษาประวัติศาสตร์ ศึกษาวัฎจักร

ถ้าเราดูข้อมูลย้อนหลังไปมากกว่านี้ ข้อสรุปของเรายังคงเหมือนเดิมหรือเปล่า ?
ประเด็นสำคัญ คือ ปัจจัยบวกหรือลบที่ว่า ถูกสะท้อนอยู่ในราคาแล้วหรือยัง ?

22) Halo Effect

คนเราชอบใช้ข้อมูลแง่มุมเดียวมาสรุปเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั้งหมด

ผลที่ตามมา
ใช้ข้อมูลเพียงส่วนเดียว มาสรุปว่าหุ้นหรือบริษัทดีหรือไม่ดี

มีกระบวนการวิเคราะห์หุ้นที่เป็นระบบและรอบด้าน
ตระหนักไว้เสมอว่าไม่มีอะไรที่มีแต่ข้อดีหรือมีแต่ข้อเสียไปทุกเรื่อง

Case Study

LVT 15/8/12 ตัดใจขายไม่ได้ ขอเป็นนักลงทุนระยะยาววว Loss Aversion

SST 14/8/12 งบเฉพาะกิจการก็กำไรนิคับ Confirmation Bias

MLINK 5/8/12 ผมตามมาตั้งแต่ปี 51 ครับ เสียเวลากับหุ้นตัวนี้นานมาก ตอนนี้ถือคติว่า รอดูมาห้าปีแล้ว อีกนิดเดียวก็จะได้ดูตอนจบ Sunk-Cost Effect

พูดแล้วก็อายอ่ะ ไม่รู้ผีป่าที่ไหนดลใจให้ซื้อตอนนั้น Self Attribution Bias

LVT 20/8/12 ยังไงก็ถือครับ ออกตอนนี้ทำใจลำบากครับ ขอลุ้นต่อ Loss Aversion

ตามความเห็นของผมยังไงงบต้องกลับมาบวก และน่าจะกลับมาเร็วและแรงด้วยตามธรรมดาของงานรับเหมา วัดกันตอนจบงาน รวมถึงการประกันผลงานด้วยซึ่งทั่วไปอยู่ที่หนึ่งปี ยังไงเงินรายได้ตามสัญญาก็ต้องเข้าบริษัท Wishful Thinking

SSI 21/8/12 Timing การ Turnaround ไม่ใช่เรื่องง่าย การล่าช้าของการ Turnaround ไม่ใช่ปัญหา ตราบใดที่อนาคตยังมองว่า สามารถรอดชีวิตได้ต่อ แต่ประโยชน์ของการล่าช้าของ Turnaround คือเราได้สะสมจำนวนหุ้นไปเรื่อยๆ ตลอดการรอคอย พอถึงเวลา Turnaround จริงๆ เราก็จะมีผลกำไรมหาศาลตอนนี้ก็สะสมพลังงานไปเรื่อยๆ รอเวลา Cognitive Dissonance

MCS คนที่ซื้อมาต่ำกว่า 2.- คงอยู่ได้ครับ แต่สูกว่า 4.- นี่ต้องคิดหนักๆ หน่อย Anchoring (อ้างต้นทุน)

AEONTS SEP14 ลงทุนน้อยไปหน่อย อยากซื้อมากกว่านี้แต่ราคาดันขึ้นซะก่อน Barn Door Closing

เห็นเคสบ้านปู ผมนึกถึงหุ้นสี่ตัว หุ้นโรจนะตอนน้ำท่วม หุ้นรับประกันภัยต่อ หุ้นช่องสาม (สรยุทธโดนฟ้อง) หุ้น Advanc ตอนทักษิณขายหุ้นชิน Seeking Patterns

MCS ถือตัวนี้อยู่เหมือนกันครับ ส่วนตัวคิดว่า บริษัทมีปัญหาหลักๆ อยู่ 2 อย่าง คือ ผู้บริหารกับสภาพเศรษฐกิจญี่ปุ่น ถ้ามีความชัดเจนเพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง ผมว่าบริษัทน่าจะพอฟื้นได้นะ เพราะบริษัทยังคงมีพื้นฐานที่ดีอยู่ เอาใจช่วยทุกคนที่ถือ รวมถึงตัวผมเองด้วยครับ Wishful Thinking

Oishi ขายหุ้นอย่างกับบริษัทจะเจ๊งอย่างนั้นล่ะ 9/11/12 after 20% drop, Endowment Effect + Recency Bias

ถ้ารู้จักผู้บริหารปฏิบัติธรรมจริงๆ ผมให้คะแนนเรื่องธรรมาภิบาลของตัวผู้บริหารเป็นบวก Halo Effect

เศรษฐกิจยังดีอยู่ ยังมองไม่เห็นว่าอะไรจะทำให้หุ้นตก Extrapolation

หุ้นที่ถืออยู่ ซื้อมาราคาต่ำๆ มีความผูกพันกับมัน Anchoring, Status Quo Bias, Endowment Bias

หุ้นขึ้นมาเยอะแล้ว แพงแล้ว ซื้อตอนนี้ทุนสูงกว่าคนอื่นเยอะ Anchoring

บลจ.ฟินันซ่าชวนนักลงทุน LTF RMF มอง 5 ปีข้างหน้าหุ้นไทยสดใสรับเศรษฐกิจเอเชียผงาด Extrapolation

ตลาดหุ้นขึ้นลงเป็นรอบๆ ขึ้น 5 ปี ลง 5 ปี เพราะฉะนั้นจากนี้ยังขึ้นได้อีก 4 ปี Law of Small Numbers

ขายแพงแล้ว ยังมีแพงกว่า มูลค่าไม่สำคัญ Extrapolation

ถ้าผมรู้ว่าการเล่นหุ้นมันง่ายขนาดนี้ ผมเล่นไปนานแล้ว ประโยคนี้หลุดจากปากผม ภายหลังจากที่ผมได้เริ่มเล่นหุ้นเพียงไม่กี่วัน มันเป็นอะไรที่คับแค้นใจมากกว่า ผมมัวไปกลัวอะไรอยู่ตั้งนาน Overconfidence

นักลงทุนมือใหม่สนใจเรื่องหุ้นสักนิด เพราะมันง่ายกว่ากว่าที่คุณคิด Overconfidence

หลังจากเล่นหุ้นมาหลายวันพอว่า เล่นไม่ยาก Overconfidence

ยกตัวอย่างผมเอง ปัจจุบันเล่นหุ้นจาก port หลักหมื่นเป็นหลักล้านต้นๆ แล้วนะครับ ด้วยเวลาประมาณ 8-9 ปีครับ ซึ่งปัจจุบัน ผมคิดว่า ผมควรจะตั้งเป้ารวยหุ้นที่พันล้านแล้วก่อนอายุ 60 ปี Overconfidence

เมื่อผมขายไม่ทัน ผมจะไม่ทำอะไรเลยปล่อยไว้ Loss Aversion

จากงบที่ประกาศ กำไร 91 m ยังคงมากกกว่าที่ทางกสิกรคาดการณ์ว่า น่าจะได้ประมาณ 88 m ในช่วงต้นเดือน ก.ค. ที่ปรับลดประมาณการณ์ลง หลังจากที่ราคาลงมาแรง ปล.เขียนให้กำลังใจเพื่อนๆ และตัวเอง Confirmation Bias กำไรลด37% แต่พยายามหาข้อดีจนได้

คือตั้งแต่ผมซื้อหุ้นเอ็มเคมาวันแรกที่เข้าตลาด เวลาไปกินเอ็มเค รู้สึกอร๊อย อร่อยจริงๆ ครับ Confirmation Bias

มองอีกด้าน หากคนไทยอ่านหนังสือน้อยมาก และเราสามารถพัฒนาให้มีคนอ่านหนังสือได้มากขึ้น ลองเทียบกับเพื่อนบ้าน ตลาดหนังสือบ้านเราจะใหญ่โตขนาดไหน Confirmation Bias

ดู opp day Oishi Q1/12 ฟังคุณแมททิวพูดแล้วเคลิ้มอ่ะ หลังจาก re-positioning แล้ว มองเห็นโอกาสใหม่ๆ อีกเพียบ ฟังแล้วพอจับใจความได้ว่า แกหวัง ชากูซ่ามากกว่าชาเขียวเสียอีก เพราะแกภูมิใจว่า แกเป็นคนคิดคนแรกของโลกที่คิดชาเขียวผสมโซดา กินไม่มีโรคภัยเท่าน้ำอดลมอย่างโค้ก เป๊ปซี่ และน่าจะไปขายได้ทั่วโลก Power of Story

กะจะเก็บไว้ให้ลูกดู แกจะได้รู้ว่าวันหนึ่งพอกับแม่เคยซื้อหุ้นบ้านปูราคาสูงลิ่วขนาดนี้ ซื้อหุ้นน้องปู เพราะมีกูรู VI บอกว่าหุ้นจะขึ้นไปแตะระดับ 1,000 บาท นึกแล้วโกรธ Expert & Authority + Self Attribution Bias

วันนี้คงนอนหลับสบายได้ซื้อ Makro ที่ราคาถูกกว่า Tender ตั้ง 10 กว่าเปอร์เซ็นต์ Anchoring

ผู้บริหารบ้านปูเก่งอ่ะ อย่างตอนซื้อ ATC ได้กำไรหลายสิบเท่าเลย Outcome Bias

ทองราคามีแต่ขึ้น ซื้อได้ตลอด Extrapolation & Recency Bias

ขาดทุนอยู่ แต่ปันผลดี ถือกินปันผล Cognitive Dissonance & Mental Accounting

ในเดือนตุลาที่ผ่านมา ยอดขายร้านเดิมของเอ็มเค ไม่มีการเติบโต ในขณะที่ร้านอาหารญี่ปุ่น yayoi มียอดขายร้านเดิมในเดือนตุลาคม เติบโตในอัตรา 2 digits หรือมากกว่า 10% สุดยอด Confirmation Bias

อ่านเวปบอร์ดเกี่ยวกับหุ้นรับเหมาตัวหนึ่งทำให้อยากซื้อ (Social Interacion) พอไปดูตัวเลขกำไรย้อนหลังก็ดูดีเลยชอบ (Representativeness + Extrapolation) เลยเข้าไปซื้อ ต่อมาอ่านหนังสือพิมพ์ มีนักวิเคราะห์เชียร์ (Expert & Authority) เลยยิ่งซื้อเพิ่ม (Overconfidence) จากนั้นผู้บริหารออกมาออกทีวีพูดว่า บริษัทพื้นฐานดี แต่ช่วงปีหน้าจะไม่มีงาน (Confirmation Bias) แต่ก็ยังฟังว่าดีเลยถือต่อ จากนั้นบริษัทประกาศผลกำไรลดลง หุ้นตก 20% ทำใจขายไม่ได้ (Denial + Loss aversion + Anchoring to cost + Mistaking the cause = House & Mr.Market) ราคาหุ้นลต่ออีก 10% ทำใจขายไม่ได้ (Sunk Cost + Cognitive Dissonance = new work/dividend + Start to be VI)

Recommendations

อ่านหนังสือเกี่ยวกับจิตวิทยาการลงทุน หาความรู้มากๆ
ฝึกรู้เท่าทันความคิดตนเอง
ถาม Why 3 ครั้ง เป็นอย่างน้อย เช่น ทำไมกำไรมาก ทำไม project เยอะ ทำไมลดต้นทุนได้ ฯลฯ
ตัดสินใจซื้อขายหุ้นทุกครั้งบนพื้นฐานของราคากับมูลค่า
ตั้งคำถามว่า ถ้าเป็น อ.นิเวศน์ หรือ บัฟเฟตต์ ท่านจะตัดสินใจอย่างไร
จิตวิทยาการลงทุน เรียนง่าย ใช้ยาก / งบการเงิน การประเมินมูลค่า เรียนยาก แต่ใช้ได้ตลอดไป
Reappraisal หรือ คิดถึงสถานการณ์ในลักษณะของผู้ดู ไม่ใช่ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ ซึ่งมันจะช่วยทำให้เรามี Bias น้อยลง
ห้อมล้อมตัวเองด้วยคนที่มีพื้นฐาน ประสบการณ์ และความคิดแตกต่างกัน (อย่า unfriend)
จดไดอารี่การลงทุน วิเคราะห์ผล รู้รูปแบบความผิดพลาดของตนเอง ควบคุมสภาพแวะล้อม
มี Rules and Checklist วางแผนล่วงหน้า
ติดคำคมเตือนใจ เช่น คำคมดีๆ จากบัฟเฟตต์ ดร.นิเวศน์

Recommendation Reading List

Thinking, Fast and Slow by Daniel Kahneman
Think Twice by Michael J Mauboussin
Psychology of Investing by John R. Nofsinger
The Little Book of Behavioral Investing by Jame Montier
Why Smart People Make Big Money Mistakes by Gary Belsky and Thomas Gilovich
Behavioral Finance and Wealth Management by Michael Pompian
Predictable Irrational by Dan Ariely
Your Money and Your Brain by Jason Zweig
The Art of Thinking Clearly by Rolf Dobelli
Sway by Ori Brafman and Rom Brafman
The Behavior Gap by Carl Richards
What Investors Really Want by Meir Statman

ข้อคิดช่วง Case Study

ต้องรู้ที่มาที่ไปของกำไรจึงจะคาดการณ์ราคาหุ้นได้ (พี่โจ)
การใช้ valuation หลายๆ แบบ โดยมีเหตุผลรองรับ เป็นสิ่งที่ดี (พี่โจ)
ระวังลงทุนในบริษัทที่มีความเสี่ยงด้านกฎหมาย (พี่โจ)
เมล็ดพันธุ์ VI รุ่นต่อๆ ไป ควรจะตอบแทนให้สังคมบ้าง อย่าลืมสังคม (พี่โจ)
ควรใช้ PE band แทน Historical price ดูได้จาก E finance (อาจารย์ตี่)
การทำ Finance projection สำคัญไม่น้อยกว่า การประเมินมูลค่า (อาจารย์ตี่)
ที่มาของ PE ที่นำมาใช้ควรมีที่มา ไม่ใช่ลอยๆ มา (อาจารย์ตี่)
อาจจะทำ Common size เทียบกับคู่แข่ง หรือ อุตสาหกรรม จะทำให้เห็นภาพชัดขึ้น (อาจารย์ตี่)
การที่เลือกธุรกิจที่ทำหลายๆอย่าง อาจต้องใช้วิธีประเมินแบบ Sum of the part (อาจารย์ตี่)
หุ้นเทคโนโลยี มองได้ไกลขนาดนั้นจริงหรือ เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนเร็วมาก (อาจารย์ตี่)
CAGR ควรเริ่มต้นจากปีที่สถานการณ์ปกติ ไม่ใช่ไปเริ่มจากสถานการณ์ที่ตกต่ำผิดปกติ ซึ่งจะได้ค่าที่สูงเกินจริง (พี่คเชนทร์)
เอายอดขาย หารจำนวนชิ้น ก็พอเห็นภาพ ว่าขายดีหรือไม่ดี (พี่คเชนทร์)
ระวังกำไรที่เป็น one time ก่อนนำมาประเมินมูลค่า (พี่ขาว)
เปรียบเทียบ รายได้/market share จำนวนสาขา ของบริษัท เทียบกับคู่แข่ง เช่น รายได้พอๆ กันแต่สาขาคู่แข่งน้อยกว่ามาก แปลว่าอะไร (พี่ขาว)
การเทียบ market cap กับยอดขาย ก็อาจจะเป็นวิธีประเมินความถูกแพงของกิจการคร่าวๆ ได้ (พี่ไก่)
การเปรียบเทียบ ควรเปรียบเทียบคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน เช่นอุตสาหกรรมเสื้อผ้า ก็ไม่ควรเปรียบเทียบกับเครื่องสำอาง (พี่ไก่)
ลูกหิน
Verified User
โพสต์: 1217
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณในนํ้าใจมากๆครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 3

โพสต์

อย่างนี้ต้อง bookmark
ขอบคุณครับ :P
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee

FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
the_heng
Verified User
โพสต์: 10
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณมากๆเลยครับที่สรุปให้ ยังเสียดายเลยว่ามีเวลาน้อย ข้ามไปหลายอยู่ แต่ได้แง่คิดเยอะมากครับ
现在就做!有时候“晚点儿做”会变成“永远不做”。
Do it now. Sometimes "later" becomes "never".
doctornon
Verified User
โพสต์: 4
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 5

โพสต์

สุดยอดเลยครับ ขอบคุณมากๆ ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Highway_Star
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 452
ผู้ติดตาม: 1

Re: จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 6

โพสต์

เหมือนกลับมาอ่านจิตวิทยาการลงทุนอีกรอบเลยครับ
หลายข้อคิดแล้วยังหลอนจนบัดนี้
ขอบคุณมากๆ ครับ
zephyr
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 962
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 7

โพสต์

โห จดเลคเชอร์ได้ขนาดนี้ สุดยอดครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1522
ผู้ติดตาม: 1

Re: จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอบคุณครับ จดมาได้แต่เนื้อหา(เลคเชอร์ได้สุดยอดมาก) แต่ความฮาต้องฟังเองครับ 555

ส่วน presentation รุ่น 5 ผมว่ามันส์มากครับ ส่วนมากจะวิแคะได้ดีทีเดียวครับ

เจอกันอีกทีปีหน้านะครับ สำหรับ Alumni day เวลาคราวนี้น้อยไปหน่อย คราวหน้าอาจจะจัดกินมื้อเย็นกันครับ :)

ส่วนผู้ที่สนใจอบรมรุ่นที่ 6 น่าจะช่วงกลางปีครับ
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
Money Maker
Verified User
โพสต์: 73
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอบคุณคับ มีน้ำใจมากจิงๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
นายมานะ
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1167
ผู้ติดตาม: 1

Re: จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ขอบคุณมากครับ สุดยอดทั้งผู้จดและผู้บรรยายเลยครับ เสียดาย อยากฟัง session เต็ม 4.30 ชม. ครับ :mrgreen:
theenuch
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1735
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ขอบคุณมากค่ะ :wink:
ภาพประจำตัวสมาชิก
oatty
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2444
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ขอบคุณพี่แซคมาก ๆ ครับ
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
kengkung
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 55
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ขอบคุณมากครับ :P
ภาพประจำตัวสมาชิก
i-salmon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 293
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ขอบคุณมากครับพี่แซค เมพขิงๆ
Go against and stay alive.
ภาพประจำตัวสมาชิก
The Kop 71
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 271
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 15

โพสต์

แค่งาน Alumni Day เวลาน้อยไปหน่อย กระแสตอบรับแรงส์ซะขนาดนี้

ใครได้เข้างาน Meeting ที่ขอนแก่น ได้เรียนรู้ฉบับเต็มๆ อย่าลืมเล่าสู่กันฟังด้วยนะครับ

อาจมีการแย่งหรือขอซื้อสิทธิ์เข้างานกันแน่เลย

บัตรเข้างานมี Upside ขนาดนี้ พี่ปรัชญาเตรียมรับมวลมหาประชา VI ได้เลยคร้าบ...
เพราะสังคม..ประเมินค่า..ที่จนรวย
คนจึงสร้าง..เปลือกสวย..ไว้สวมใส่
หากสังคม..วัดค่า..ที่ภายใน
คนจะสร้าง..แต่จิตใจ..ที่ใฝ่ดี
บุณยา
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 178
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ขอบคุณมากครับ :D
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

Re: จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ภาพบรรยากาศ
แนบไฟล์

จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
ภาพประจำตัวสมาชิก
kissme
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1311
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 18

โพสต์

อ่านกระทู้เดียว เหมือนอ่านหนังสือ 10 เล่มครับ กระทู้นี้ทรงคุณค่ามากครับ ขอคาราวะครับ :mrgreen:
booklover
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1063
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ขอบคุณมากครับ print มาเก็บไว้ละครับ :D
Au Gratin
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 276
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 20

โพสต์

ขอบคุณครับ
The best way to predict your future is to create it.
Mr. Wealth
Verified User
โพสต์: 45
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ขอบคุณครับ
คุณค่า แข็งแกร่ง เติบโต ยั่งยืน
seksan999
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 101
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 22

โพสต์

ขอบคุณอาจารย์และพี่ๆทุกท่านครับที่ให้ความรู้ในการลงทุน :bow: :bow: :bow:

ขอบคุณ คุณ TLSS มากๆครับ ที่นำความรู้มาแบ่งปัน :cool: :cool: :cool:


ชอบประโยคนี้ครับ

"นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จจะมีความถ่อมตัว และไม่เชื่อมั่นในความคิดของตัวเองมากจนเกินไป เพราะพวกเขารู้ว่า ไม่ว่าจะทุ่มเทหรือระมัดระวังแค่ไหน พวกเขาก็อาจคิดผิดได้ : Seth Klarman"
"วันคืนล่วงเลยไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่"

"สิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันใครๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น"

........ คำสอน พระพุทธเจ้า ........
ReRedrum
Verified User
โพสต์: 198
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 23

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
"ผมไม่ได้ลงทุนในหุ้นเพียงเพราะว่าผมต้องการเงินมากมาย
แต่มันเป็นความสนุกในการค้นหาบริษัทชั้นเยี่ยม
เฝ้าดูมันเติบโต และทำเงินให้เรา"

"เบื้องหลังของด้านหลัง ก็คือ ด้านหน้า"
csoon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 8
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ขอบคุณค่ะ
MaiFuen
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 385
ผู้ติดตาม: 1

Re: จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 25

โพสต์

อ่านแล้วสุดยอดจริงๆครับ

ขอบคุณพี่TLSS สำหรับการสรุปเนื้อหา

ขอบคุณพี่WEB และ อาจารย์ทุกท่าน
ที่ช่วยให้ความรู้ และ ประสบการณ์การลงทุนครับ

:bow: :bow: :bow: :bow: :bow:
MACUS
Verified User
โพสต์: 238
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 26

โพสต์

ขอบพระคุณพี่ TLSS มากขอรับ :bow:
*********\\\ฉันต้องเก่งขึ้น เรียนรู้ตลอดชีวิต///**********
ooyser37564
Verified User
โพสต์: 34
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 27

โพสต์

A bat and ball cost $1.10 in total. The bat costs 1$ more than the ball. How much does the ball cost?
ผมสงสัยข้อนี้ครับ ไม่เข้าใจว่าทำไมคำตอบถึง เป็น 5 เซ็น รบกวนพี่ๆช่วยอธิบายให้ฟังหน่อยครับ :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 28

โพสต์

ooyser37564 เขียน:
A bat and ball cost $1.10 in total. The bat costs 1$ more than the ball. How much does the ball cost?
ผมสงสัยข้อนี้ครับ ไม่เข้าใจว่าทำไมคำตอบถึง เป็น 5 เซ็น รบกวนพี่ๆช่วยอธิบายให้ฟังหน่อยครับ :D
1.05-0.05=1
1.05+0.05=1.10
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
WEB
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1139
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 29

โพสต์

ต้องขอขอบคุณผู้เข้าอบรมทุกคนด้วยครับที่ไม่หลับกันมากนัก :D
วันนั้นมีเวลาแค่ 2 ชั่วโมง ผมเลยข้ามเนื้อหาไปเยอะเลย
แต่ให้เอกสารทั้งหมดไป เพราะคิดว่าอันไหนที่ไม่มีเวลาพูด
ก็เอาไปอ่านเองได้ครับ

ยังไง ที่ขอนแก่นมีเวลาทั้งวัน คงค่อยๆพูดไปครับ น่าจะครบถ้วน
ว่าแต่ว่า เขียนมาหมดแล้วทั้งเนื้อหา ทั้งแบบฝึกหัด ทั้งมุข
แล้วผมจะพูดอะไรล่ะคราวนี้ :oops:
ทุ่มเททุกสิ่งให้แก่ความฝันซึ่งมีแต่คุณเท่านั้นที่มองเห็น

http://WarrenBuffettFan.blogspot.com/
TLSS
Verified User
โพสต์: 616
ผู้ติดตาม: 0

Re: จิตวิทยาการลงทุน:พี่ WEB:Alumni day

โพสต์ที่ 30

โพสต์

ooyser37564 เขียน:
A bat and ball cost $1.10 in total. The bat costs 1$ more than the ball. How much does the ball cost?
ผมสงสัยข้อนี้ครับ ไม่เข้าใจว่าทำไมคำตอบถึง เป็น 5 เซ็น รบกวนพี่ๆช่วยอธิบายให้ฟังหน่อยครับ :D
ball = x
bat = x+1
ball + bat = x+ (x+1) = 1.1
x = 0.05 = ball
x+1 = 1.05 = bat
โพสต์โพสต์