Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
-
- Verified User
- โพสต์: 64
- ผู้ติดตาม: 0
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 1
ตามสัญญาที่ให้กับพี่ครรชิตไว้ ว่าจะหาอะไรดีๆจากข้อมูลย้อนหลัง แล้วจะเอามาแชร์ให้เพื่อนๆ Vi กัน ตอนนี้เสร็จแล้วครับ ลองวิจารณ์กันดูนะครับ
ถ้านำเงิน 1ล้านบาท ลงทุนในหุ้นที่มี P/B ต่ำ (50%) ของตลาดในทุกๆปี (ซื้อต้นปี ขายปลายปี) ตั้งแต่ปี 1994 ถึง ปี2005 โดยแบ่งซื้อหุ้นด้วยจำนวนที่เท่ากัน (Equally-weight) วิธีง่ายๆ ไม่ต้องใช้สมองนี้จะให้พอร์ทของคุณโตเป็น 6.6ล้านบาท ในปี 2005 เท่ากับ ดอกเบี้ยทบต้น 19%ต่อปี ในขณะที่ ตลาดโดยรวมโต 5% ต่อปี อีกอย่างนึง
ถ้านำเงิน 1ล้านบาท ลงทุนในหุ้นที่มี P/B ต่ำ (50%) ของตลาดในทุกๆปี (ซื้อต้นปี ขายปลายปี) ตั้งแต่ปี 1994 ถึง ปี2005 โดยแบ่งซื้อหุ้นด้วยจำนวนที่เท่ากัน (Equally-weight) วิธีง่ายๆ ไม่ต้องใช้สมองนี้จะให้พอร์ทของคุณโตเป็น 6.6ล้านบาท ในปี 2005 เท่ากับ ดอกเบี้ยทบต้น 19%ต่อปี ในขณะที่ ตลาดโดยรวมโต 5% ต่อปี อีกอย่างนึง
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 2
สนใจครับ ว่ามาเลย
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 5786
- ผู้ติดตาม: 0
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 5
เป็นการศึกษาที่น่าสนใจมากครับ
"Winners never quit, and quitters never win."
- วัวแดง
- Verified User
- โพสต์: 1429
- ผู้ติดตาม: 0
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 8
นี่ล่ะครับ ......สิ่งที่ผมชอบคิดว่า............
ซื้อหุ้นตอน p/b ยิ่งต่ำ ผลตอบแทนยิ่งสูง
ซื้อตอนp/b สูงยิ่งมีโอกาสขาดทุนเยอะ.........
อยากทราบว่าถ้าเกิดซื้อหุ้นที่ p/b 50% และมีปันผลด้วย ผลตอบแทนจะเป็นเท่าไหร่ครับ
ซื้อหุ้นตอน p/b ยิ่งต่ำ ผลตอบแทนยิ่งสูง
ซื้อตอนp/b สูงยิ่งมีโอกาสขาดทุนเยอะ.........
อยากทราบว่าถ้าเกิดซื้อหุ้นที่ p/b 50% และมีปันผลด้วย ผลตอบแทนจะเป็นเท่าไหร่ครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 9
50% นี่หมายถึง P/B=0.5 เหรอ ผมเข้าใจว่า 50% ของหุ้นในตลาด ที่ P/B ต่ำ...คือ หุ้นที่ P/B ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด
-
- ผู้ติดตาม: 0
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 11
เรื่อง Revalue Asset คงไม่เกี่ยวกับครับ
ผู้ทำคงมองคล้ายๆเป็น Trading System อย่างหนึ่งมากกว่า
แต่เพียงใช้ปัจจัยพื้นฐานในการตัดสินใจ
ผู้ทำคงมองคล้ายๆเป็น Trading System อย่างหนึ่งมากกว่า
แต่เพียงใช้ปัจจัยพื้นฐานในการตัดสินใจ
-
- Verified User
- โพสต์: 64
- ผู้ติดตาม: 0
50% นี่หมายถึง P/B=0.5 เหรอ
โพสต์ที่ 12
50% นี่หมายถึง P/B=0.5 เหรอ
50 percentile ครับ นี่คือ P/B ที่50 percentile ในแต่ละปี
PB 94 1.57
PB 95 1.20
PB 96 0.89
PB 97 0.53
PB 98 0.53
PB 99 0.63
PB 00 0.57
PB 01 0.73
PB 02 0.91
PB 03 1.63
PB 04 1.29
PB 05 1.05
50 percentile ครับ นี่คือ P/B ที่50 percentile ในแต่ละปี
PB 94 1.57
PB 95 1.20
PB 96 0.89
PB 97 0.53
PB 98 0.53
PB 99 0.63
PB 00 0.57
PB 01 0.73
PB 02 0.91
PB 03 1.63
PB 04 1.29
PB 05 1.05
-
- Verified User
- โพสต์: 64
- ผู้ติดตาม: 0
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 13
ขอบคุณที่แสดงความสนใจครับ ก่อนที่จะเข้าเรื่องsimulation ผมมีการศึกษาอีกสองตัว คือP/S and Small/Mid/Large Cap stock returns ใช้วิธีการเดียวกับP/B ผลออกมาน่าสนใจเช่นกันครับ
(ผมยังไม่ได้ดูปันผลเพราะยังไม่เห็นว่าจะเพิ่มมูลค่าให้ port ได้อย่างไร ถ้ามีเหตุผลดีๆมาsupport ผมจะทำให้ครับ-คุณวัวแดง)
Price/sales index
Low PS High PS
1994 100.00 100.00
1995 85.87 87.05
1996 75.58 58.59
1997 52.11 31.66
1998 72.15 29.13
1999 136.50 40.91
2000 170.05 30.99
2001 243.35 38.67
2002 348.29 46.99
2003 595.23 81.38
2004 565.69 65.03
2005 545.60 60.65
Size index
Year Small Mid Large Cap
1994 100 100 100
1995 88 82 91
1996 72 67 63
1997 48 43 33
1998 50 46 34
1999 89 69 50
2000 95 71 36
2001 140 94 42
2002 203 119 51
2003 331 208 90
2004 331 170 72
2005 336 145 57
อย่างที่เห็นครับ การใช้screeningตัวอื่นก็ให้ผลลัพท์ที่outperformตลาดได้เหมือนกัน แต่ว่าไม่ดีเท่าP/B ที่น่าสังเกตุคือ Large Cap รั้งท้ายเลย ทั้งๆที่เราได้ยินนักวิเคราะห์บางท่านเชียร์กันอยู่ทุกๆเช้า!
(ผมยังไม่ได้ดูปันผลเพราะยังไม่เห็นว่าจะเพิ่มมูลค่าให้ port ได้อย่างไร ถ้ามีเหตุผลดีๆมาsupport ผมจะทำให้ครับ-คุณวัวแดง)
Price/sales index
Low PS High PS
1994 100.00 100.00
1995 85.87 87.05
1996 75.58 58.59
1997 52.11 31.66
1998 72.15 29.13
1999 136.50 40.91
2000 170.05 30.99
2001 243.35 38.67
2002 348.29 46.99
2003 595.23 81.38
2004 565.69 65.03
2005 545.60 60.65
Size index
Year Small Mid Large Cap
1994 100 100 100
1995 88 82 91
1996 72 67 63
1997 48 43 33
1998 50 46 34
1999 89 69 50
2000 95 71 36
2001 140 94 42
2002 203 119 51
2003 331 208 90
2004 331 170 72
2005 336 145 57
อย่างที่เห็นครับ การใช้screeningตัวอื่นก็ให้ผลลัพท์ที่outperformตลาดได้เหมือนกัน แต่ว่าไม่ดีเท่าP/B ที่น่าสังเกตุคือ Large Cap รั้งท้ายเลย ทั้งๆที่เราได้ยินนักวิเคราะห์บางท่านเชียร์กันอยู่ทุกๆเช้า!
-
- Verified User
- โพสต์: 64
- ผู้ติดตาม: 0
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 14
ทีนี้มาดูlow P/B strategyกัน
สำหรับคนที่ไม่รู้จัก Monte Carloนะครับ (ใครเปรี้ยวเรื่องนี้ ช่วยผมอธิบายด้วยนะ) ถ้ารู้เรื่องอยู่แล้ว หรือไม่สนให้ข้ามไปอ่านผลการศึกษาเลย
นี่คือวิธีการสุ่มซื้อหุ้นที่มีลักษณะที่เราต้องการศึกษา (ในที่นี้ low P/B) โดยการสร้าง port ขี้น 1,000port แล้วเราก็หาค่าเฉลี่ยจาก 1,000 ตัวอย่างนั้น ให้นึกภาพนี้นะครับ ผมมีกล่องอยู่หนึ่งกล่อง ข้างในมีลูกปิงปองอยู่ จำนวนเท่าไหร่ก็ไม่รู้ รู้แต่ว่ามีอยู่สองสี ผมถามคุณว่า มีสัดส่วนของสีขาวต่อดำเป็นเท่าไหร่ โดยห้ามคุณเปิดกล่องดู คุณสามารถล้วงเข้าไปหยิบได้ทีละลูก แต่ต้องหย่อนคืนทุกครั้ง ถามว่าคุณจะรู้ได้ไหมว่าสัดส่วนของขาวกับดำเป็นเท่าไหร่ คุณตอบได้ถ้าคุณหยิบลูกบอลบ่อยๆ ยิ่งบ่อยมากคุณก็ยิ่ง 'เห็น'สัดส่วนของสีของลูกบอลในกล่อง สิ่งที่ผมทำก็เหมือนกันครับ ผมสุ่มสร้างport หลายๆ เพื่อให้เรา'เห็น'ความน่าจะเป็นของ trading strategy นี้
ผลการศึกษา
Simulation Result ระยะเวลา 1 ปี(ซื้อต้นปี ขายยก portปลายปี)
Statistic Total Market Low P/B
(equally weighted) (50 Percentile)
Trials 1,000 1,000
Mean 11% 21%
Median 11% 22%
Standard Deviation 11% 12%
Sharpe Ratio 0.45 1.25
Chance of loss 18% 4%
1.)returnชนะตลาด:สรุปว่าstrategyนี้ให้ผลลัพท์การลงทุนที่มีค่าเฉลี่ย 21%ต่อปี (หมายเหตุ ข้อมูลของผมที่กระทู้แรก อยู่ที่ 19% นี่หมายความว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจริงใน 10ปีที่ผ่านมานี้confirmตัวเลข 21%นะครับ)
2.)ความเสี่ยงน้อยกว่าตลาด:
2.1) Standard Deviation(ความผันผวน) ของport ของผมน้อยกว่าของตลาดอีก
2.2) โอกาศที่จะขาดทุนต่อปี ของตลาด 18% ของผม 4%
2.3) อัตตรากำไรต่อความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น (Sharpe Ratio)สูงกว่า (เพราะกำไรสูงกว่าแต่ความเสี่ยงตำกว่า)
3.) ข้อนี้ค่อนข้างtechnicalหน่อย port ผม เบี้ยวไปทางซ้าย(ขอย้ำว่าport) หมายความว่า จะมีหุ้นบางตัวที่ขาดทุนมาก (เช่นเข้าrehabco หรือโดนถอดออกจากตลาด) ในขณะที่หุ้นจำนวนมากกว่าจะกำไร
สรุปการศึกษานี้ (ไม่ใช่ผมนะ) บอกว่าไม่ต้องเหนื่อยวิเคราะห์งบ ลุ้นผลประกอบการ อ่านนสพ ต่อว่าBroker ก็ได้ผลการลงทุนที่Money managers ทั้งหลายอิจฉา "dumb strategy doesn't mean dumb money"
PS: ผมเองก็ยังไม่อยากเชื่อเลย เพราะมันฟังดูดีเกินไป แต่ผมค้านตัวเองไม่ออกถ้าใครอยากค้านการศีกษานี้ ผมยินดีนะครับ จะขอfileไปดูก็ได้ เราจะได้เรียนรู้ตลาดของเราเพิ่มขึ้น
สำหรับคนที่ไม่รู้จัก Monte Carloนะครับ (ใครเปรี้ยวเรื่องนี้ ช่วยผมอธิบายด้วยนะ) ถ้ารู้เรื่องอยู่แล้ว หรือไม่สนให้ข้ามไปอ่านผลการศึกษาเลย
นี่คือวิธีการสุ่มซื้อหุ้นที่มีลักษณะที่เราต้องการศึกษา (ในที่นี้ low P/B) โดยการสร้าง port ขี้น 1,000port แล้วเราก็หาค่าเฉลี่ยจาก 1,000 ตัวอย่างนั้น ให้นึกภาพนี้นะครับ ผมมีกล่องอยู่หนึ่งกล่อง ข้างในมีลูกปิงปองอยู่ จำนวนเท่าไหร่ก็ไม่รู้ รู้แต่ว่ามีอยู่สองสี ผมถามคุณว่า มีสัดส่วนของสีขาวต่อดำเป็นเท่าไหร่ โดยห้ามคุณเปิดกล่องดู คุณสามารถล้วงเข้าไปหยิบได้ทีละลูก แต่ต้องหย่อนคืนทุกครั้ง ถามว่าคุณจะรู้ได้ไหมว่าสัดส่วนของขาวกับดำเป็นเท่าไหร่ คุณตอบได้ถ้าคุณหยิบลูกบอลบ่อยๆ ยิ่งบ่อยมากคุณก็ยิ่ง 'เห็น'สัดส่วนของสีของลูกบอลในกล่อง สิ่งที่ผมทำก็เหมือนกันครับ ผมสุ่มสร้างport หลายๆ เพื่อให้เรา'เห็น'ความน่าจะเป็นของ trading strategy นี้
ผลการศึกษา
Simulation Result ระยะเวลา 1 ปี(ซื้อต้นปี ขายยก portปลายปี)
Statistic Total Market Low P/B
(equally weighted) (50 Percentile)
Trials 1,000 1,000
Mean 11% 21%
Median 11% 22%
Standard Deviation 11% 12%
Sharpe Ratio 0.45 1.25
Chance of loss 18% 4%
1.)returnชนะตลาด:สรุปว่าstrategyนี้ให้ผลลัพท์การลงทุนที่มีค่าเฉลี่ย 21%ต่อปี (หมายเหตุ ข้อมูลของผมที่กระทู้แรก อยู่ที่ 19% นี่หมายความว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจริงใน 10ปีที่ผ่านมานี้confirmตัวเลข 21%นะครับ)
2.)ความเสี่ยงน้อยกว่าตลาด:
2.1) Standard Deviation(ความผันผวน) ของport ของผมน้อยกว่าของตลาดอีก
2.2) โอกาศที่จะขาดทุนต่อปี ของตลาด 18% ของผม 4%
2.3) อัตตรากำไรต่อความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น (Sharpe Ratio)สูงกว่า (เพราะกำไรสูงกว่าแต่ความเสี่ยงตำกว่า)
3.) ข้อนี้ค่อนข้างtechnicalหน่อย port ผม เบี้ยวไปทางซ้าย(ขอย้ำว่าport) หมายความว่า จะมีหุ้นบางตัวที่ขาดทุนมาก (เช่นเข้าrehabco หรือโดนถอดออกจากตลาด) ในขณะที่หุ้นจำนวนมากกว่าจะกำไร
สรุปการศึกษานี้ (ไม่ใช่ผมนะ) บอกว่าไม่ต้องเหนื่อยวิเคราะห์งบ ลุ้นผลประกอบการ อ่านนสพ ต่อว่าBroker ก็ได้ผลการลงทุนที่Money managers ทั้งหลายอิจฉา "dumb strategy doesn't mean dumb money"
PS: ผมเองก็ยังไม่อยากเชื่อเลย เพราะมันฟังดูดีเกินไป แต่ผมค้านตัวเองไม่ออกถ้าใครอยากค้านการศีกษานี้ ผมยินดีนะครับ จะขอfileไปดูก็ได้ เราจะได้เรียนรู้ตลาดของเราเพิ่มขึ้น
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 15
จำได้ว่าเคยอ่านเจอว่าถ้าเป็นตลาดสหรัฐการซื้อหุ้นโดยใช้ P/S เป็นตัวเดียวที่ให้ abnormal return ไม่นึกเลยว่าตลาดหุ้นไทยจะให้ abnormal return ทั้ง PB และ PS
แล้วตัวดังสุด PE ล่ะเป็นไง
แล้วตัวดังสุด PE ล่ะเป็นไง
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 17
ในความเป็นจริง
หุ้น p/bv ต่ำต้อยติดดิน (ที่ให้ return สูงมาก) หลายต่อหลายตัว
โดยเฉพาะตัวที่อยู่ในช่วง percentile 10
volume ต่ำจนไม่สามารถซื้อได้จริง ที่ราคาตลาด
เพราะบางทีมันเคาะกันทั้งวันแค่ 100 หุ้น
และเป็นธรรมชาติของหุ้น p/bv ต่ำ ที่จะมีสภาพคล่องต่ำ
(ถ้าสภาพคล่องสูง ราคาคงวิ่งขึ้นไปแล้ว)
ดังนั้น ในความเป็นจริง
เมื่อซื้อหุ้นตามทฤษฎีนี้ จึงมักจะได้หุ้นไม่ครบ
และมักจะพลาดตัวที่ high return
ผลตอบแทนจริง จึงมักจะต่ำกว่า simulation มากๆ
ประเด็นถัดไป ผลตอบแทนเทียบกับ large cap
ยังไงถ้าไม่ซื้อ large cap ผลตอบแทนเฉลี่ยระยะยาว
ต้องชนะตลาดอยู่แล้ว มันเป็นธรรมชาติของตลาดหุ้น
เหตุผลก็คล้ายๆ กับข้างบนนั่นแหละ
ขอเอามะพร้าวห้าวมาขายสวน เรื่อง Monte Carlo
เปรียบเหมือนคนเมาพยายามเดินกลับบ้าน
เป๋ไปเป๋มา แต่ในระยะยาว ก็เข้าใกล้บ้านขึ้นเรื่อยๆ
บางทีเขาจึงเรียกทฤษฎีนี้ว่า Random Walk Theory
ไม่แน่ใจว่า ใช่ Monte Carlo ที่คุณ palm พูดถึงหรือไม่
หุ้น p/bv ต่ำต้อยติดดิน (ที่ให้ return สูงมาก) หลายต่อหลายตัว
โดยเฉพาะตัวที่อยู่ในช่วง percentile 10
volume ต่ำจนไม่สามารถซื้อได้จริง ที่ราคาตลาด
เพราะบางทีมันเคาะกันทั้งวันแค่ 100 หุ้น
และเป็นธรรมชาติของหุ้น p/bv ต่ำ ที่จะมีสภาพคล่องต่ำ
(ถ้าสภาพคล่องสูง ราคาคงวิ่งขึ้นไปแล้ว)
ดังนั้น ในความเป็นจริง
เมื่อซื้อหุ้นตามทฤษฎีนี้ จึงมักจะได้หุ้นไม่ครบ
และมักจะพลาดตัวที่ high return
ผลตอบแทนจริง จึงมักจะต่ำกว่า simulation มากๆ
ประเด็นถัดไป ผลตอบแทนเทียบกับ large cap
ยังไงถ้าไม่ซื้อ large cap ผลตอบแทนเฉลี่ยระยะยาว
ต้องชนะตลาดอยู่แล้ว มันเป็นธรรมชาติของตลาดหุ้น
เหตุผลก็คล้ายๆ กับข้างบนนั่นแหละ
ขอเอามะพร้าวห้าวมาขายสวน เรื่อง Monte Carlo
เปรียบเหมือนคนเมาพยายามเดินกลับบ้าน
เป๋ไปเป๋มา แต่ในระยะยาว ก็เข้าใกล้บ้านขึ้นเรื่อยๆ
บางทีเขาจึงเรียกทฤษฎีนี้ว่า Random Walk Theory
ไม่แน่ใจว่า ใช่ Monte Carlo ที่คุณ palm พูดถึงหรือไม่
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 18
Monte Carlo system น่าจะหมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อ simulate ปัญหาเกี่ยวกับความน่าจะเป็นหรือปัญหาทางสถิติต่างๆ ที่ยากเกินกว่าจะคำนวนได้ด้วยมือหรือเปล่าครับ เคยได้ยินว่าอย่างนั้น
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 19
กระทู้นี้ยอดเยี่ยมมากครับ โหวตให้เลย
ตอนเล่นหุ้นใหม่ๆผมก็เคยคิดที่จะทำวิจัยแบบนี้เหมือนกันครับ แต่ก็มีไฟอยู่พักเดียวแล้วก็มอดหมดเพราะคิดว่าเป็นงานวิจัยที่หนักมาก ยิ่งกว่าเข็นครกขึ้นภูเขา ถ้าจะทำต้องมีทีมงานเลยหละ ไม่คิดว่าคุณปาล์มจะสามารถทำได้ เยี่ยมจริงๆครับ
ผมเข้าใจว่าเกรแฮม บิดาแห่ง VI ก็ใช้ค่า pb เป็นหลักในการเลือกหุ้นและก็สร้างผลกำไรให้เขาไม่น้อย แต่นั่นเป็นตลาดหุ้นฝรั่ง จากงานวิจัยนี้ก็สรุปได้ว่าตลาดหุ้นไทยก็ใช้ได้เหมือนกัน
ทีนี้ขอถามเพิ่มเติมนะครับว่า ถ้าเปลี่ยนรายละเอียดอีกนิดหน่อยเช่น
1. เลือกเฉพาะตัวที่มีสินทรัพย์หมุนเวียนลบออกด้วยหนี้สินทั้งหมด แล้วค่าที่ได้ยังมากกว่าราคาตลาดอย่างน้อย 1/3 จะเป็นอย่างไร(จำได้ว่าเกรแฮมใช้วิธีนี้)
2.จากข้อหนึ่งเพิ่มเงื่อนไขเข้าไปอีกนิดว่า จะซื้อเมื่อผลดำเนินงานเริ่มมีกำไรมากขึ้น ใช้ตัวเลขที่ roe > 15%
หรือถ้าเงื่อนไขข้อ 1และ 2 ทำให้ได้หุ้นน้อยเกินไปก็เปลี่ยนเป็น
3. เลือกหุ้นที่มีค่า pb ต่ำสุดสักชุดหนึ่งแล้วดูที่งบกระแสเงินสดว่ามีเงินสดเพียงพอที่จะไม่เจ๊ง จะเป็นอย่างไร
ck wrote
ตอนเล่นหุ้นใหม่ๆผมก็เคยคิดที่จะทำวิจัยแบบนี้เหมือนกันครับ แต่ก็มีไฟอยู่พักเดียวแล้วก็มอดหมดเพราะคิดว่าเป็นงานวิจัยที่หนักมาก ยิ่งกว่าเข็นครกขึ้นภูเขา ถ้าจะทำต้องมีทีมงานเลยหละ ไม่คิดว่าคุณปาล์มจะสามารถทำได้ เยี่ยมจริงๆครับ
ผมเข้าใจว่าเกรแฮม บิดาแห่ง VI ก็ใช้ค่า pb เป็นหลักในการเลือกหุ้นและก็สร้างผลกำไรให้เขาไม่น้อย แต่นั่นเป็นตลาดหุ้นฝรั่ง จากงานวิจัยนี้ก็สรุปได้ว่าตลาดหุ้นไทยก็ใช้ได้เหมือนกัน
ทีนี้ขอถามเพิ่มเติมนะครับว่า ถ้าเปลี่ยนรายละเอียดอีกนิดหน่อยเช่น
1. เลือกเฉพาะตัวที่มีสินทรัพย์หมุนเวียนลบออกด้วยหนี้สินทั้งหมด แล้วค่าที่ได้ยังมากกว่าราคาตลาดอย่างน้อย 1/3 จะเป็นอย่างไร(จำได้ว่าเกรแฮมใช้วิธีนี้)
2.จากข้อหนึ่งเพิ่มเงื่อนไขเข้าไปอีกนิดว่า จะซื้อเมื่อผลดำเนินงานเริ่มมีกำไรมากขึ้น ใช้ตัวเลขที่ roe > 15%
หรือถ้าเงื่อนไขข้อ 1และ 2 ทำให้ได้หุ้นน้อยเกินไปก็เปลี่ยนเป็น
3. เลือกหุ้นที่มีค่า pb ต่ำสุดสักชุดหนึ่งแล้วดูที่งบกระแสเงินสดว่ามีเงินสดเพียงพอที่จะไม่เจ๊ง จะเป็นอย่างไร
ck wrote
เหตุผลนี้ผมก็คิดว่ามีปัญหาในทางปฏิบัติเหมือนกัน ถ้าตั้งเงื่อนไขเพิ่มเติมว่าต้องมีการซื้อขายอย่างน้อยวันละ 50,000-100,000บาทจได้หรือไม่ คุณปาล์มมีข้อมูลวอลุ่มซื้อขายด้วยไหมครับหุ้น p/bv ต่ำต้อยติดดิน (ที่ให้ return สูงมาก) หลายต่อหลายตัว
โดยเฉพาะตัวที่อยู่ในช่วง percentile 10
volume ต่ำจนไม่สามารถซื้อได้จริง ที่ราคาตลาด
เพราะบางทีมันเคาะกันทั้งวันแค่ 100 หุ้น
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
- hongvalue
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2703
- ผู้ติดตาม: 0
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 21
มีคำถามเรียงตามลำดับตามนี้นะครับ 1.ที่บอกว่า low ps เนี้ยใช้เกณฑ์ตัวเลจเท่าไหร่ครับ 1 เท่าหรือป่าว
2.ค่า pb ที่ใช้เนี้ย ใช้ตอนต้นปีหรือปลายปีครับหมายความว่าของปี 2005 ก็ใช่ตัวเลขปลายปีใช่ไหมครับ
3.ที่บอกว่า small mid ตัวเลข market cap เท่าไหร่เป็นเกณฑ์ครับ ว่า small ต้องไม่เกินกี่พันล้าน mid ต้องไม่เกินกี่พันล้าน
4.แล้วไฟล์ที่ว่าช่วยส่งให้ดูได้ไหมครับ [email protected] หรือไม่ก็ post แสดงในนี้ก็ได้ครับ
5.พอจะบอกได้ไหมครับว่าตัวเลยสถิติเก่าๆ แบบนี้หาข้อมูลได้จากที่ไหน
6.sharpe ratio คำนวนจากไหนครับ
ขอบคุณมากที่เอื้อเฟื้อครับผม
2.ค่า pb ที่ใช้เนี้ย ใช้ตอนต้นปีหรือปลายปีครับหมายความว่าของปี 2005 ก็ใช่ตัวเลขปลายปีใช่ไหมครับ
3.ที่บอกว่า small mid ตัวเลข market cap เท่าไหร่เป็นเกณฑ์ครับ ว่า small ต้องไม่เกินกี่พันล้าน mid ต้องไม่เกินกี่พันล้าน
4.แล้วไฟล์ที่ว่าช่วยส่งให้ดูได้ไหมครับ [email protected] หรือไม่ก็ post แสดงในนี้ก็ได้ครับ
5.พอจะบอกได้ไหมครับว่าตัวเลยสถิติเก่าๆ แบบนี้หาข้อมูลได้จากที่ไหน
6.sharpe ratio คำนวนจากไหนครับ
ขอบคุณมากที่เอื้อเฟื้อครับผม
-
- ผู้ติดตาม: 0
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 22
คิดเหมือนพี่ซีเคครับ
สำหรับประสบการณ์จริงของเฮียคลายเครียดที่เล่นหุ้นแนวนี้เล่าให้อ่าน ท่านยอมซื้อแพงกว่าราคาเปิด เพื่อให้ได้หุ้นครบ ดังนั้นอาจจะต้องเพิ่มต้นทุนอีกนิดหน่อย เช่นหุ้น S ราคาเปิด 11 บาท 100 หุ้น แต่จะซื้อ 10,000 หุ้น อาจจะต้องยอมไล่เคาะ ถึง 12 บาท เพื่อให้มีคนขายมาให้ครบตามจำนวน
รวมๆแล้วลอง ใส่ bias + ให้กับราคาเปิดของหุ้น say..3-5% หรือมากกว่า แล้วแต่สภาพคล่องหุ้น น่าจะพออนุโลมเรื่อง Volume ได้ครับ ไม่งั้นก็ตัดหุ้นที่ volume เฉลี่ยไม่ถึงเกณฑ์ออกไปเลย
เช่นกัน เวลาขายก็ควรใส่ bias - ให้กับราคาขายด้วยเหตุผลเดียวกันครับ ถ้าใครได้ดู DTCI เมื่อสัปดาห์ก่อนคงพอนึกออก
ขอแสดงความนับถือกับผลงานครับ
สำหรับประสบการณ์จริงของเฮียคลายเครียดที่เล่นหุ้นแนวนี้เล่าให้อ่าน ท่านยอมซื้อแพงกว่าราคาเปิด เพื่อให้ได้หุ้นครบ ดังนั้นอาจจะต้องเพิ่มต้นทุนอีกนิดหน่อย เช่นหุ้น S ราคาเปิด 11 บาท 100 หุ้น แต่จะซื้อ 10,000 หุ้น อาจจะต้องยอมไล่เคาะ ถึง 12 บาท เพื่อให้มีคนขายมาให้ครบตามจำนวน
รวมๆแล้วลอง ใส่ bias + ให้กับราคาเปิดของหุ้น say..3-5% หรือมากกว่า แล้วแต่สภาพคล่องหุ้น น่าจะพออนุโลมเรื่อง Volume ได้ครับ ไม่งั้นก็ตัดหุ้นที่ volume เฉลี่ยไม่ถึงเกณฑ์ออกไปเลย
เช่นกัน เวลาขายก็ควรใส่ bias - ให้กับราคาขายด้วยเหตุผลเดียวกันครับ ถ้าใครได้ดู DTCI เมื่อสัปดาห์ก่อนคงพอนึกออก
ขอแสดงความนับถือกับผลงานครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 64
- ผู้ติดตาม: 0
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 23
ชอบคนที่นี่ครับ ประทับใจในความรู้และความเข้าใจในเรื่องลงทุน ที่นี้สำหรับคำถาม 4 ชั่วโมง (ใช้เวลา 4 ชั่วโมงในการแก้) ต้องขอคาราวะคุณ CK ว่าสายตาแหลมคมจริงๆ แน่นอนครับ ความโลภและความกลัวส่งผลลบต่อportแน่นอน ถ้าโลภมากก็ยอมซื้อแพง ถ้าใจแข็งพอ ก็ได้ราคาดี (ทำได้โดย ทุกๆ 7โมงเช้าของวันทำการ ก็ตื่นขึ้นมาตั้งราคารอไว้)
ที่นี้เรามาดูกันว่าค่าความโลภควรเป็นเท่าไหร่ดี คุณ JayChou ให้ไว้ 3-5% ซึ่งก็สมเหตุสมผลทีเดียว ผมลองให้ 7% เลย แถม10%ให้ด้วย
วิธี:ผมนำคำแนะนำของคุณ CK and JayChou มาผสมกัน กฎเกณฑ์คือดังนี้
10 percentile ของport จะต้องfactorค่าความโลภเข้าไป (Greed factor)
G factor ที่ X% คือจะต้องซื้อที่ราคาสูงกว่าตลาด X% และขายต่ำกว่าตลาดX%
ที่นี้ผลละ
G Factor Average Return
0% 22.7%
3% 21.6%
5% 20.8%
7% 20.3%
10% 19.2%
อย่างที่เห็นครับ liquidity มีผลต่อportของผมจริงๆ ถ้าหุ้นมีLiquidityต่ำ แล้วผมใจร้อน ยอมbidขึ้นไป แน่นอน returnย่อมลดลง แต่ถ้าถามว่า liquidityจะลบล้างกำไรเหนือตลาด (abnormal return) ของportหรือเปล่า ตัวเลขข้างบนบอกว่าไม่ครับ ต่อให้ผมยอม bid up 10% และ ask ต่ำกว่าราคาตลาด 10% สำหรับหุ้นที่ไม่มีvolume (ในที่นี้ คือหุ้น low p/b 10 percentile) กำไรก็ยังอยู่ที่แถวๆ 19% เพราะฉนั้น ผมยังยืนยันว่าstrategyนี้ให้ abnormal return เหนือตลาดครับ
ทีนี้เรื่อง technical บ้าง
1.) ค่าreturnข้างบนเป็น ค่าmeanของlow p/b universe ไม่ใช่ผลจากsimulation เพราะฉนั้น ค่าอาจคลาดเคลื่อนไปได้ ประมาณคร่าว +/- 1-1.5%. ที่ผมไม่สามารถrun simulation ได้เพราะมันกินเวลามาก แล้วอีกอย่าง mean return ก็ให้ค่าประมาณการที่ดีแล้ว ไม่ค่อย off เท่าไหร่
2.) สมมุตติฐานว่าหุ้นที่ percentileเท่าไหร่ ถึงจะต้อง factor in G ratio นั้นเป็นการสุ่มอย่างมีสติ แต่ไม่ได้อิงจากข้อมูลตลาดจริง อาจจะแค่ 5 หรือ อาจ จะ 12 percentile หรืออาจจะ ไม่มีความสำพันระหว่าง P/B and Liquidity ก็ได้ เอาเป็นว่า 10 percentile จะไม่มี Liquidityเลย จึงต้องยอมเสียราคาเพื่อซื้อหุ้นนั้น เป็นสมมุติฐานที่conservative แล้วครับ ตามความคิดของผม
ที่นี้เรามาดูกันว่าค่าความโลภควรเป็นเท่าไหร่ดี คุณ JayChou ให้ไว้ 3-5% ซึ่งก็สมเหตุสมผลทีเดียว ผมลองให้ 7% เลย แถม10%ให้ด้วย
วิธี:ผมนำคำแนะนำของคุณ CK and JayChou มาผสมกัน กฎเกณฑ์คือดังนี้
10 percentile ของport จะต้องfactorค่าความโลภเข้าไป (Greed factor)
G factor ที่ X% คือจะต้องซื้อที่ราคาสูงกว่าตลาด X% และขายต่ำกว่าตลาดX%
ที่นี้ผลละ
G Factor Average Return
0% 22.7%
3% 21.6%
5% 20.8%
7% 20.3%
10% 19.2%
อย่างที่เห็นครับ liquidity มีผลต่อportของผมจริงๆ ถ้าหุ้นมีLiquidityต่ำ แล้วผมใจร้อน ยอมbidขึ้นไป แน่นอน returnย่อมลดลง แต่ถ้าถามว่า liquidityจะลบล้างกำไรเหนือตลาด (abnormal return) ของportหรือเปล่า ตัวเลขข้างบนบอกว่าไม่ครับ ต่อให้ผมยอม bid up 10% และ ask ต่ำกว่าราคาตลาด 10% สำหรับหุ้นที่ไม่มีvolume (ในที่นี้ คือหุ้น low p/b 10 percentile) กำไรก็ยังอยู่ที่แถวๆ 19% เพราะฉนั้น ผมยังยืนยันว่าstrategyนี้ให้ abnormal return เหนือตลาดครับ
ทีนี้เรื่อง technical บ้าง
1.) ค่าreturnข้างบนเป็น ค่าmeanของlow p/b universe ไม่ใช่ผลจากsimulation เพราะฉนั้น ค่าอาจคลาดเคลื่อนไปได้ ประมาณคร่าว +/- 1-1.5%. ที่ผมไม่สามารถrun simulation ได้เพราะมันกินเวลามาก แล้วอีกอย่าง mean return ก็ให้ค่าประมาณการที่ดีแล้ว ไม่ค่อย off เท่าไหร่
2.) สมมุตติฐานว่าหุ้นที่ percentileเท่าไหร่ ถึงจะต้อง factor in G ratio นั้นเป็นการสุ่มอย่างมีสติ แต่ไม่ได้อิงจากข้อมูลตลาดจริง อาจจะแค่ 5 หรือ อาจ จะ 12 percentile หรืออาจจะ ไม่มีความสำพันระหว่าง P/B and Liquidity ก็ได้ เอาเป็นว่า 10 percentile จะไม่มี Liquidityเลย จึงต้องยอมเสียราคาเพื่อซื้อหุ้นนั้น เป็นสมมุติฐานที่conservative แล้วครับ ตามความคิดของผม
-
- Verified User
- โพสต์: 64
- ผู้ติดตาม: 0
ตอบคำถาม
โพสต์ที่ 24
คุณhongvalue
Low P/B ใช้กฎ percentile ครับ (ให้หุ้นยีนแถวเรียงหนึ่งตามลำดับไหล่ แล้วเอาคนที่เตี้ยที่สุด 50% แรกออกมาครับ) แล้วก็ใช้ P/B ปลายปีเพราะไม่มีข้อมูลP/B เฉลี่ย Small/big cap ก็ใช้ percentile เหมือนกัน
Sharpe ratio = (Rm-Rf)/SD
Rm = return of the portfolio
Rf = risk free rate (here i used 1 year return from BOT)
SD = standard deviation of the portfolio's return
เรื่องFILE ขอผมclean up ซักหน่อย เพราะตอนนี้ดูไม่รู้เรื่องครับ
คุณสุมาอี้
เข้าใจถูกแล้วครับ เป็นวิธีการให้computer สุ่มเหตุการณ์หลายพันครั้งเพื่อศึกษาความน่าจะเป็นและความเสี่ยง
คุณสามัญชน
น่าลองครับ
ขอขอบคุณทุกคนสำหรับคำแนะนำ และความสนใจครับ
Palm
Low P/B ใช้กฎ percentile ครับ (ให้หุ้นยีนแถวเรียงหนึ่งตามลำดับไหล่ แล้วเอาคนที่เตี้ยที่สุด 50% แรกออกมาครับ) แล้วก็ใช้ P/B ปลายปีเพราะไม่มีข้อมูลP/B เฉลี่ย Small/big cap ก็ใช้ percentile เหมือนกัน
Sharpe ratio = (Rm-Rf)/SD
Rm = return of the portfolio
Rf = risk free rate (here i used 1 year return from BOT)
SD = standard deviation of the portfolio's return
เรื่องFILE ขอผมclean up ซักหน่อย เพราะตอนนี้ดูไม่รู้เรื่องครับ
คุณสุมาอี้
เข้าใจถูกแล้วครับ เป็นวิธีการให้computer สุ่มเหตุการณ์หลายพันครั้งเพื่อศึกษาความน่าจะเป็นและความเสี่ยง
คุณสามัญชน
น่าลองครับ
ขอขอบคุณทุกคนสำหรับคำแนะนำ และความสนใจครับ
Palm
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 25
เป็นกระทู้ที่ดีจริง ๆ ครับ มีหลักวิชาการดีครับ ขอบคุณเจ้าของกระทู้ที่นำบทวิจัยมาเผยแพร่นะครับ
ถ้าเป็นไปได้ ไม่ทราบว่าจะวิจัยแยกเป็น กลุ่มหลัก ๆ ตามอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ได้หรือไม่ เช่น กลุ่มสถาบันการเงิน กลุ่มพลังงาน กลุ่มสื่อสาร เป็นต้น อยากดูว่าในแง่สถิติของ P/B ของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมให้ผลแตกต่างกันหรือไม่ครับ
และสามารถเอาปัจจัยร่วมมาสัมพันธ์กัน แล้วหาผลตอบแทนว่าเป็นอย่างไรได้หรือไม่ครับ เช่น ถ้า P/b ร่วมกับ Dividend yield หรือ P/B ร่วมกับ PE เป็นต้น จะมีส่วนทำให้ผลตอบแทนเป็นอย่างไรบ้างครับ เพราะเวลาลงทุนจริง ผู้ลงทุนส่วนใหญ่จะมองหลายมุมมองด้วยกัน แทนที่จะมองเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้นครับ
ขอบคุณอีกครั้งครับ
ถ้าเป็นไปได้ ไม่ทราบว่าจะวิจัยแยกเป็น กลุ่มหลัก ๆ ตามอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ได้หรือไม่ เช่น กลุ่มสถาบันการเงิน กลุ่มพลังงาน กลุ่มสื่อสาร เป็นต้น อยากดูว่าในแง่สถิติของ P/B ของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมให้ผลแตกต่างกันหรือไม่ครับ
และสามารถเอาปัจจัยร่วมมาสัมพันธ์กัน แล้วหาผลตอบแทนว่าเป็นอย่างไรได้หรือไม่ครับ เช่น ถ้า P/b ร่วมกับ Dividend yield หรือ P/B ร่วมกับ PE เป็นต้น จะมีส่วนทำให้ผลตอบแทนเป็นอย่างไรบ้างครับ เพราะเวลาลงทุนจริง ผู้ลงทุนส่วนใหญ่จะมองหลายมุมมองด้วยกัน แทนที่จะมองเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้นครับ
ขอบคุณอีกครั้งครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 26
ที่นี่ไม่มีระบบโหวต ผมขอปักหมุดให้เป็นกระทู้แนะนำนะครับ
- ROGER
- Verified User
- โพสต์: 609
- ผู้ติดตาม: 0
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 27
ข้อสังเกตุ
ผลการทดสอบคุณผมว่าไม่ครอบคลุมทั้งหมดนะครับ ผมเสนอให้คุณ แบ่งช่วงเวาลการทดสอบ โดยแบ่งเป็น sub group โดยอาจเป็นการทดสอบ 3 ช่วงเวลา แล้วลองเอาผลการทดสอบมาเปรียบเทียบกันดู แล้วคุณจะเห็นว่า port folio ที่ p/b ต่ำ จะสามารถเอาชนะ set index ได้ทุกช่วงเวลาหรือไม่
เอาง่าย ปี 1994 เป็นปีที่ set index ทำ all time high คุณทดสอบยังไง return ของ set index มันแพ้อันอื่นชัวร์อยู่แล้ว
คุณลองเอาปี่ 1998 หรือ 1999 เป็นตัวตั้งดูนะครับ แล้วลองดูผลที่ได้จะออกมาเป็นยังไง
ส่วนอันอื่นไว้ผมคิดออกจะมาร่วมเสนอข้อคิดเห็นใหม่นะครับ
ผลการทดสอบคุณผมว่าไม่ครอบคลุมทั้งหมดนะครับ ผมเสนอให้คุณ แบ่งช่วงเวาลการทดสอบ โดยแบ่งเป็น sub group โดยอาจเป็นการทดสอบ 3 ช่วงเวลา แล้วลองเอาผลการทดสอบมาเปรียบเทียบกันดู แล้วคุณจะเห็นว่า port folio ที่ p/b ต่ำ จะสามารถเอาชนะ set index ได้ทุกช่วงเวลาหรือไม่
เอาง่าย ปี 1994 เป็นปีที่ set index ทำ all time high คุณทดสอบยังไง return ของ set index มันแพ้อันอื่นชัวร์อยู่แล้ว
คุณลองเอาปี่ 1998 หรือ 1999 เป็นตัวตั้งดูนะครับ แล้วลองดูผลที่ได้จะออกมาเป็นยังไง
ส่วนอันอื่นไว้ผมคิดออกจะมาร่วมเสนอข้อคิดเห็นใหม่นะครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2166
- ผู้ติดตาม: 0
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 28
ขอชื่นชมในความพยายามทำวิจัยเรื่องนี้ครับ ทำให้ได้รู้จริงๆ ว่า "What Works on SET"
ผมว่าสามารถพิมพ์ขายได้เลยนะครับแข่งกับ "What Works on Wall Street" ของ James P. Oshaunessy (สะกดถูกรึเปล่าไม่รู้) อย่างไรก็ดีฐานข้อมูลของ SET ยังค่อนข้างน้อย ประมาณ 30 ปีเท่านั้น แต่ผมคิดว่าคงช่วยให้เห็นอะไรได้เยอะขึ้น
ผมว่าสามารถพิมพ์ขายได้เลยนะครับแข่งกับ "What Works on Wall Street" ของ James P. Oshaunessy (สะกดถูกรึเปล่าไม่รู้) อย่างไรก็ดีฐานข้อมูลของ SET ยังค่อนข้างน้อย ประมาณ 30 ปีเท่านั้น แต่ผมคิดว่าคงช่วยให้เห็นอะไรได้เยอะขึ้น
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 29
ตกลงการใช้ PE เป็นเกณฑ์ในการเลือกหุ้น ผลการทดลองเป็นอย่างไรบ้างครับ คุณ Palm อันนี้อยากรู้เพราะ PE เป็น ratio ที่ฮิตมากจริงๆ
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 5786
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Value Index ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่
โพสต์ที่ 30
ผมสงสัยว่าทำไมต้องคำนวณ SET Index โดยการใช้การเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักเท่ากันในแต่ละหุ้นครับPalm เขียน: ๒. คำนวน Set Index ใหม่โดยใช้การเฉล่ายถ่วงน้ำหนักเท่ากันในแต่ละหุ้น
(SET Index ถูกคำนวณจากการถ่วงน้ำหนักตาม Market Cap)
ผมมีข้อเสนอให้ทำ percentile เป็น variable
จากงานวิจัยใช้ หุ้นที่ P/B ต่ำที่สุดครึ่งหนึ่งของตลาด
(ผู้ที่เตี้ยที่สุด 50% แรกจากการยืนเรียงแถว)
หากเรา run ทดสอบโดยการใช้ 10% ที่เตี้ยที่สุด, 20% ที่เตี้ยที่สุด, etc.
ผลจะเป็นอย่างไร
ผมขอ file มาศึกษาด้วยคนครับ
[email protected]
ขอบคุณคุณ Palm ในความเอื้อเฟื้อ และขอให้กำลังใจในการวิจัย
"Winners never quit, and quitters never win."