"ประภาคาร ภราดรภิบาล" กำไรเด้ง ด้วย หุ้น P/E ต่ำ
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
"ประภาคาร ภราดรภิบาล" กำไรเด้ง ด้วย หุ้น P/E ต่ำ
โพสต์ที่ 1
ธุรกิจ : BizWeek
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557 01:00
"ประภาคาร ภราดรภิบาล" กำไรเด้ง ด้วย หุ้น P/E ต่ำ
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
เมื่อเส้นทางผลิตรายการโทรทัศน์“หมดสนุก”10 ปีก่อน “ประภาคาร ภราดรภิบาล”เจ้าของพอร์ตอีกนิด 8 หลัก“ใจปล้ำ”ควักเงินเก็บ“หลักหมื่น”เล่นหุ้นแนว VI
“ความฝันและความหวังเล็กๆ” ของ “ตุ้ม-ประภาคาร ภราดรภิบาล” นักลงทุนแนววีไอ ในฐานะเจ้าของสำนักพิมพ์ บริษัท วิง มีเดีย จำกัด คือ อยากเห็นพอร์ตลงทุนของตนเองมุ่งหน้าสู่ “หลักสิบล้านบาท” ภายในระยะเวลาอันใกล้ ปัจจุบันมูลค่าการลงทุนของเขาอยู่ในหลักล้านปลายๆ
เมื่อ 10 ปีก่อน พี่ชายคนโตของน้องสาว 2 คน ที่อายุห่างกันปีเว้นปี
ประจำตระกูลภราดรภิบาล เริ่มต้นเดินตามรอยเท้า “ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร” เซียนหุ้นเน้นคุณค่า หรือ Value Investor อันดับ 1 ของเมืองไทย ในช่วงที่นั่งโต๊ะทำงานตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายผลิตรายการในบริษัท เนเวอร์แลนด์ จำกัด ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ ซึ่งเป็นบริษัทสุดท้ายที่เขายึด “อาชีพมุนษย์เงินเดือน”
ก่อนจะหันมาใช้หลักการลงทุนตาม “วอร์เรน บัฟเฟตต์” มหาเศรษฐีคนดังของโลก ด้วยการทยอยเติมเงินลงทุนในหุ้นที่ดีมีกิจการเป็นอันดับต้นๆของอุตสาหกรรม “วอร์เรน” ได้นำหลักการของ “เบนจามิน เกรแฮม” ซึ่งเป็นอาจารย์ของเขา และเป็นต้นตำรับของการลงทุนแบบ value investing มาประยุกต์ใช้กับวิธีการของ “ฟิลลิป ฟิชเชอร์”
“ประภาคาร ภราดรภิบาล” ในฐานะผู้เขียนบทความ Value Way ในหนังสือพิมพ์ “กรุงเทพ Biz Week” ซึ่งเขาเขียนร่วมกับ “วิบูลย์ พึงประเสริฐ” เซียนหุ้นวีไอ นัดเจอ “บิสวีค” เพื่อบอกเล่าเส้นทางการลงทุนที่เขาออกตัวว่า “แม้พอร์ตลงทุนไม่ใหญ่ แต่กลยุทธ์การเลือกหุ้นพอใช้ได้” ณ บ้านหลังใหม่ พื้นที่เกือบ 50 ตารางวา
“ผมเพิ่งพาภรรยา หญิงสาวผู้ทำหน้าที่แม้บ้าน และลูกชายวัย 9 ขวบ เข้ามาอยู่บ้านหลังใหม่ได้กว่า 3 เดือนแล้ว หมู่บ้านแห่งนี้มีแค่ 69 หลังคาเรือน “ความเงียบสงบ” จะทำให้สมองของเราปลอดโปร่ง”
“บุรุษวัย 44 ปี” เล่าประวัติชีวิตฉบับเต็มให้ฟังว่า พ่อแม่และน้องๆอาศัยอยู่ในกรุงเทพจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากนั้นคุณพ่อได้ย้ายครอบครัวไปปักหลักทำงานรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งเป็นอาชีพที่เลี้ยงดูทุกคนมาตั้งแต่เด็กๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ท่านคงรู้สึกเบื่อ แถมเพื่อนๆที่ทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเหมือนกันย้ายไปอยู่ที่โน้นกันหมด
เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 6 ตั้งใจจะสอบเอ็นทรานซ์ เพื่อไปเรียนที่อื่น แต่สุดท้ายสอบติดคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่เลือกไว้เป็นอันดับ 2 ใช้เวลาเรียนแค่ 3 ปีครึ่ง เพราะอยากรีบออกมาทำงานหาเงินช่วยแม่ ไม่อยากรบกวนเงินแม่ ไม่อยากให้แม่เหนื่อย
ด้วยความที่สนใจเรื่องธุรกิจ ทำให้ช่วงเรียนปริญญาตรี เลือกเรียนวิชาโท บริหารธุรกิจ แปลกใจตัวเองเหมือนกัน เขาสถบ ทั้งๆที่ตอนเด็กๆเห็นพ่อไม่ประสบความสำเร็จในอาชีพรับเหมาก่อสร้างจนต้องปิดกิจการ แต่นั่นอาจเป็นเพราะท่านใจดีเกินไป ทำให้โดนคนอื่นโกง
ช่วงนั้นคุณแม่ต้องรับหน้าที่หาเงินเลี้ยงลูกๆ ด้วยการออกไปทำอาชีพแม่ค้าจำเป็นในจังหวัดเชียงใหม่ จริงๆท่านเคยมีอาชีพเป็นคุณครูตอนครอบครัวยังอยู่กรุงเทพ แต่สุดท้ายต้องมาขายผลไม้แทน แม้คาแรคเตอร์ไม่ให้ แต่เพื่อปากท้องท่านต้องทำ ตอนนั้นการเงินฝืดเคืองทำท่านต้องกู้ยืมเงินนอกระบบ เพื่อให้ลูกทั้ง 3 คน ได้เรียนจนจบปริญญาตรี
“แม่เปรียบเหมือนซูเปอร์วูแมนสำหรับลูกทุกคน”
ทุกวันนี้ท่านไม่ต้องทำงานอะไรแล้ว ลูกๆได้ทำหน้าเลี้ยงแม่แทนแล้ว ตั้งแต่ทำงานมีเงินเดือนเป็นของตัวเองได้ส่งเงินให้ท่านตลอด ทุกวันนี้ยังคงทำเช่นนั้นอยู่ จำได้เงินที่ได้จากการทำงานในเดือนแรกๆ ส่งให้แม่เดือนละ1,000 บาท
ตอนโน้นได้เงินเดือนประมาณ 4,000 บาท จากงานประจำแห่งแรกในบริษัท ทีวีซีน แอนด์ พิคเจอร์ จำกัด ผู้ผลิตละครโทรทัศน์ไทยให้กับสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ที่ก่อตั้งและบริหารงานโดย “ณัฏฐนันท์ ฉวีวงษ์” ทำตำแหน่งครีเอทีฟได้เพียงปีครึ่งตัดสินใจลาออก
หลังพรรคพวกที่ทำงานในแวดวงเดียวกัน แนะนำให้ไปสมัครงานตำแหน่งโปรดิวเซอร์สารคดี บริษัท พีฟิลม์แอนด์วีดีโอ จำกัด รอบนี้เงินเดือนขยับขึ้นเป็น 6,500 บาท ทำงานได้ไม่กี่เดือนรู้สึก “ไม่ท้าทายไม่สนุก” ด้วบความที่เพิ่งจบใหม่ออกแนวไฟแรง ประจวบเหมาะกับในปี 2535 เมืองไทยเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ทำให้งานวีดีโอเริ่มมีลดลง
ตอนนั้นทีมงานรายการ ท้าพิสูจน์ ของ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นรายการที่เราเคยฝึกงานตอนเรียนอยู่มหาวิทยาลัยปี 3 มาชวนให้กลับไปทำงาน จังหวะชีวิตอยากหวนคืนสู่งานลุยๆ จึงตัดสินใจกลับไปทำงานที่นั่นอีกครั้ง
เข้ามาฝึกงานใน “กันตนา กรุ๊ป” ใหม่ๆ แม่ให้เงินติดตัวมา 3,000 บาท ใช้เพื่อเช่าหอพักนักศึกษาชาย แถวมหาวิทยาลัยรามคำแหงเดือนละ 600 บาท ห้องน้ำรวม (หัวเราะ) ห้องเล็กๆ เอาไว้ซุกห้องนอน เราทุนน้อยต้องประหยัดมัธยัสถ์ เขารำลึกชีวิตวันวันวานให้ฟัง
เขา เล่าต่อว่า กลับมาทำงานในแผนกครีเอทีฟประจำ “กันตนา กรุ๊ป” อีกครั้ง รับเงินเดือนน้อยลงเหลือแค่ 4,000 บาท บางครั้งเงินเดือนสูงๆ ไม่ได้ตอบโจทย์ชีวิตทำงาน ทำงานรอบนี้สนุกมาก สงสัยเหมาะกับจริตของเรา ทำให้นั่งทำงานที่นี่นานถึง 4 ปี งานสุดท้าย คือ การผลิตรายการเกมโชว์ ท้าทาย ซึ่งเจ้าของบริษัทแห่งหนึ่งที่ซื้อเวลาออกอากาศรายการทางช่อง 5 เอ่ยปากชวนไปทำรายการตอนเดินทางไปล่องเรือสำราญที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
จริงๆงานแรกเริ่มที่ “กันตนา กรุ๊ป” คือ ทำหน้าที่คัดจดหมายจากทางบ้านทีเขียนมาแนะนำเรื่องแปลกๆ หากทีมงานสนใจเรื่องไหน เขาจะให้เราเดินทางไปสำรวจเรื่องนั้นด้วยตัวเอง เราต้องไปดูว่า เรื่องที่เขาเขียนแนะนำมาน่าสนใจจริงหรือไม่ ถ้าโอเคเราต้องทำหน้าที่จำเส้นทางด้วย ระหว่างทางที่ไปต้องคอยส่องดูอีกว่า มีเรื่องอื่นที่น่าสนใจอีกหรือเปล่า เรียกง่ายๆต้องวางแผนการเดินทางให้กองถ่าย สนุกไปอีกแบบนะ
ทำรายการเกมโชว์ ท้าทาย ได้แค่ 1 ปี พี่คนสนิทที่ทำตำแหน่งโปรดิวเซอร์รายการเกมโชว์ด้วยกันรวมถึงเพื่อนๆในแวดวง ชักชวนให้ออกเปิดบริษัทผลิตรายการ ด้วยการออกเงินคนละ 250,000 บาท ทุนจดทะเบียนบริษัทแรกเริ่ม 1 ล้านบาท ภายใต้ชื่อ “แฮททริค โปรเฟสชั่นนัล” หรือ HATTRICK ตอนนั้นสนุกกันใหญ่ได้ทำทั้งโฆษณา รายการถ่ายทอดสด และมิวสิควีดีโอ เป็นต้น
เปิดบริษัทใหม่ๆงานเข้ามาเพียบ เชื่อหรือไม่!! “โกยกำไรหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ต่องาน” เพราะพี่โปรดิวเซอร์มีคอนเน็ตชั่นที่ดี เราทำงานกันแค่ 2 คน ทำไปช่วงเวลาหนึ่งเช็คของลูกค้าบางรายเริ่มเด้ง ลูกค้าที่เคยจ่ายตรงเวลากลายเป็นคนไม่ตรงเวลา ตอนนั้นยังไม่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 เมื่อเริ่มเห็นสัญญาณออกแนวรู้ตัวก่อนล่วงหน้า เรามานั่งคุยกันทั้งๆที่เมืองไทยยังไม่มีการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทว่า ตอนนี้บริษัทยังมีกำไร ฉะนั้นแบ่งเงินกันแล้วแยกย้ายไปทำงานบริษัทใหญ่ๆก่อนดีกว่ามั้ย เผื่อเศรษฐกิจไม่ดีบริษัทจะเจ๊งเอา
“สุดท้ายผมกลับไปทำงานกับเจ้าของบริษัทที่ทำรายการเกมโชว์ ท้าทาย พอดีเขาต้องการคนทำตำแหน่งครีเอทีฟเพิ่มเติม เพราะเขากำลังทำรายการถ่ายทอดสด สายตรงบันเทิง ซึ่งออนแอร์รายการไอทีวี ด้วยความที่มีประสบการณ์ค่อนข้างเยอะ บริษัทจึงให้เราไปนั่งตำแหน่งโปรดิเซอร์”
ทำงานได้ 4 ปี มีรุ่นน้องที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำลังจะเซ็ททีม เพื่อผลิตรายการโทรทัศน์ ภายใต้ชื่อ “บริษัท เนเวอร์แลนด์ จำกัด” เขามาชวนให้ไปนั่งตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายผลิตรายการ หน้าที่หลัก คือ ตั้งทีมใหม่หาคนมาทำ “รายการแฟนซีโดน”
ด้วยความที่เคยเป็นครีเอทีฟมาก่อน ทำให้รู้สึกสนุกที่ได้คิดงาน แต่เมื่อต้องมานั่งเป็นผู้บริหาร เน้นดูแลเรื่องนโยบาย และติดต่อสถานี ออกแนวใส่สูทผูกเนคไทไปขอเวลาทางสถานี เดินสายพูดคุยประชุม ทำให้เริ่มรู้สึกว่า “ความสนุกน้อยลง” แต่เรายังได้เรียนรู้เรื่องการบริหาร ทำให้มุมมองของเราโตขึ้นระดับหนึ่ง
ทำงานได้เกือบ 4 ปี ผลปรากฎว่า สภาพคล่องของบริษัทเริ่มตรึงตัว ค่าเวลาออกอากาศสถานีเริ่มเพิ่มขึ้น
ทำให้บริษัทต้องการลดค่าใช้จ่าย ด้วยการตัดพนักงานบางคนออกไป เราในฐานะผู้บริหารต้องทำหน้าที่ชี้เป็นชี้ตายให้คนออกบางส่วน ตอนนั้นรู้สึกไม่ไหวแล้ว ไม่อยากทำแบบนี้ ตัดสินใจลาออกเองดีกว่า เพราะเราเงินเดือนสูงถึง 50,000-60,000 บาท ฉะนั้นแทนที่จะมีคนออก 7 คน จะเหลือแค่ 2 คน อีกอย่างเริ่มสนใจอยากเขียนหนังสืออย่างจริงจัง หลังมีโอกาสได้ชิมลางแล้วเกิดติดใจ
“ผมลาออกตอนอายุ 40 ปี พอจะมีเงินเก็บหนักแสนบาท บ้านและรถผ่อนหมดแล้วเรียกว่า ไม่มีภาระค่าใช้จ่ายอะไรแล้ว ถือว่า พร้อมแล้วถึงออก”
“ประภาคาร” เริ่มต้นเล่าถึงที่มาของการลงทุนว่า ความสนใจเรื่องหุ้นเกิดขึ้นในช่วงที่ทำงานใน บริษัท เนเวอร์แลนด์ จำกัด ต้องบอกก่อนว่า “ผมเป็นคนชอบอ่านหนังสือวางแผนทางการเงิน เพราะอยากมีชีวิตที่ดี ไม่ต้องการมีหนี้สินเหมือนในอดีต และอยากมีเงินเลี้ยงดูครอบครัวให้สุขสบาย”
เมื่อแรงบันดาลใจเป็นเช่นนั้น จึงไปหาหนังสือต่างประเทศมาอ่าน เริ่มด้วยเรื่อง “คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก” เขียนโดย David J. Schwartz ซึ่ง “ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร” เป็นผู้แปล ตอนนั้นจำชื่อคนแปลไว้ในใจ เขาวิ่งขึ้นไปชั้น 2 ของบ้าน เพื่อหยิบหนังสือเล่มนี้มาให้ “บิสวีค” ยลโฉม
ระหว่างนั้นยังได้อ่านหนังสือ “พ่อรวยสอนลูก” หรือ Rich Dad Poor Dad ของ “โรเบิร์ต คิโยซากิ” อ่านจบรู้สึกประทับใจมาก ในหนังสือจะบอกว่า หากมุนษย์เงินเดือนต้องการมี “อิสระภาพทางการเงิน” ควรเลือกที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจหรือนักลงทุน แม้วันนี้จะทำงานในบริษัทใหญ่โต แต่หากสภาพเศรษฐกิจไม่ดี คุณอาจโดนชี้ตัวให้ออกจากงานเป็นคนแรก เหมือนที่ “ดร.นิเวศน์” เคยโดนมาแล้ว
ตอนนั้นยังได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งของเครือเนชั่น ทำให้ได้รู้จักว่า ชายชื่อ “ดร.นิเวศน์” คือ นักลงทุนหุ้นเน้นคุณค่าชื่อดัง ความสนใจอยากลงทุนในตลาดหุ้นเริ่มตอกย้ำหนักขึ้น หลังเห็นเพื่อนที่ทำงานเป็นมาร์เก็ตติ้งคุยกับเพื่อนๆที่เล่นหุ้นด้วยกัน
“ผมตัดสินใจเปิดพอร์ตในปี 2546 กับบริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย จำกัด เงินทุนตั้งต้นก้อนแรก“หลักหมื่นบาท” ใจจริงแค่อยากลองเล่นดู “หุ้นตัวแรก” ลงทุนตามเพื่อน ด้วยการซื้อใบสำคัญแสดงสิทธิ หรือ Warrant หุ้น MS-W2 ราคา 0.60 บาท ตอนนี้เปลี่ยนชื่อไปแล้ว”
ผลออกมา คือ“ขาดทุน” เพราะราคาลงมาเหลือแค่ 0.40 บาท ทั้งๆที่เพื่อนมาร์เก็ตติ้งโทรมาถามแล้วว่า จะขายหรือไม่ หลังราคาขึ้นไป 0.62 บาท “ผมใช้เวลาในการถือวอร์แรนท์ตัวนี้แค่ 1 เดือน เหลือเงินกลับมาแค่หมื่นกว่าบาท จากทุน 20,000 บาท”
คราวนี้กลับมาตั้งหลักอ่านหนังสือใหม่อีกรอบ การลงทุนตามคนอื่น โดยไม่ได้ศึกษาคงไม่ใช่วิถีที่ดีนัก นั่นคือ ความคิดในช่วงนั้น บังเอิญไปอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง เขาพูดถึง “หุ้นบูลชิพ” เมื่อเข้าไปศึกษาจริงๆจึงรู้ว่า หุ้นประเภทนี้ ไม่มีทางที่กิจการจะล่มจม
ในปี 2546 เริ่มใช้เงินประมาณ 60,000 บาท ในการซื้อ “หุ้นบูลชิพ” กลุ่มพลังงาน แบงก์และสื่อสาร ช่วงนั้นตลาดหุ้นไทยกำลังบูม ด้วยความที่เราเข้าไปตอนงานเลี้ยงกำลังเลิกลา ทำให้เกิดอาการ “หุ้นติดดอย” แต่ด้วยความที่เป็นเงินเย็น ฉะนั้นหุ้นจะติดให้ติดไป ไม่สนใจ เพราะเป้าหมายคือ “กินปันผล”
ถือหุ้นบูลชิพได้ 1 ปี ราคาหุ้นดีดกลับมา ทำให้ “หุ้นติดดอย” กลับมากำไรอีกครั้ง “ผมรีบขายทันทีได้ผลตอบแทนจากราคาหุ้นทั้ง 3 ตัว เฉลี่ย 5-6 เปอร์เซ็นต์ แต่ก่อนราคาหุ้นจะดีดขึ้น ผมได้เงินปันผลมาแล้วประมาณ 3-4 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ได้กำไรรวมๆเฉลี่ย 10 เปอร์เซ็นต์ การซื้อหุ้นบูลชิพครั้งนั้น ทำให้เข้าใจคำว่า “จังหวะลงทุน” ต่อให้หุ้นตัวนั้นดีแสนดี แต่หากจังหวะไม่ได้ ผลการลงทุนจะออกมาไม่ดีเท่าที่ควร”
หลังจากขายหุ้นบูลชิพหมดแล้ว ทำใหมีมุมมองเปลี่ยนแปลงไป “ผมค้นพบว่า ไม่จำเป็นต้องลงทุนหุ้นขนาดใหญ่ที่ให้เงินปันผลดี เพราะหุ้นขนาดเล็กบางตัวสามารถให้เงินปันผลที่ดีแก่นักลงทุนได้เช่นกัน”
ตอนนั้นมีโอกาสอ่านหนังสือ “ตีแตก” ของ “ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร” พิมพ์ครั้งที่ 3ในหนังสือสอนว่า หากต้องการความปลอดภัยจากการลงทุนให้เลือกหุ้นที่มีอัตราส่วนราคาต่อกำไร หรือ ค่า P/E ต่ำๆ ไม่เกิน 10 เท่า และให้เลือกหุ้นที่มีอัตราเงินปันผลสูงๆ เฉลี่ย 5 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ที่สำคัญต้องลงทุนหุ้นให้เหมือนลงทุนในธุรกิจ
เมื่อจับประเด็นได้แล้วจึงปฎิบัติการณ์แสวงหาหุ้นที่มีคุณสมบัติดังกล่าว จาก “หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ”
สุดท้ายไปเจอ หุ้น อุตสาหกรรมถังโลหะไทย หรือ TMD เรียกว่า เข้าคุณสมบัติ เพราะหุ้น อุตสาหกรรมถังโลหะไทย มีอัตราส่วนราคาต่อกำไรประมาณ 6-7 เท่า และมีผลตอบแทนจากการลงทุนเฉลี่ย 7 เปอร์เซ็นต์
ตัดสินใจช้อนหุ้น อุตสาหกรรมถังโลหะไทย ต้นทุนเฉลี่ย 42 บาท หลังพบว่า ฐานะการเงินย้อนหลังของบริษัทเติบโตสม่ำเสมอ แม้ไม่ได้มากมาย แต่ไม่ถอยหลังเข้าคลอง ฉะนั้นเขามีสิทธิจ่ายเงินปันผลให้กับนักลงทุนเพิ่มขึ้น
ตอนนั้นตั้งใจจะลงทุนหุ้น อุตสาหกรรมถังโลหะไทย คล้ายๆสไตล์ “หุ้นห่านทองคำ” ช่วงนั้นกำลังอินหนังสือ "คัมภีร์หุ้นห่านทองคำ" ของ “เทพ รุ่งธนาภิรมย์”
ผลการลงทุนหุ้น อุตสาหกรรมถังโลหะไทย ถือว่า “โอเค” เรียกว่า “ได้กำไร 2 เด้ง” ได้รับทั้งผลตอบแทนจากเงินปันผล หรือ Dividend Yield ที่จ่ายในอัตราที่ดี และได้รับผลตอบแทนจากส่วนต่างของราคาหุ้น หรือ Capital Gain ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตลอด
“จงนำเงินเย็นไปลงทุนในตลาดหุ้น เพราะหุ้นจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าฝากแบงก์ ตลาดหุ้นถือเป็นสินทรัพย์ที่ดีอย่างหนึ่งที่นักลงทุนควรศึกษาไว้ “ประภาคาร” ชักชวนนักลงทุนมือใหม่ สัปดาห์หน้าติดตามวิถีลงทุนและหุ้นในพอร์ตของ "เซียนหุ้น VI" ได้ ณ “บิสวีค” ที่เดียวเท่านั้น
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557 01:00
"ประภาคาร ภราดรภิบาล" กำไรเด้ง ด้วย หุ้น P/E ต่ำ
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
เมื่อเส้นทางผลิตรายการโทรทัศน์“หมดสนุก”10 ปีก่อน “ประภาคาร ภราดรภิบาล”เจ้าของพอร์ตอีกนิด 8 หลัก“ใจปล้ำ”ควักเงินเก็บ“หลักหมื่น”เล่นหุ้นแนว VI
“ความฝันและความหวังเล็กๆ” ของ “ตุ้ม-ประภาคาร ภราดรภิบาล” นักลงทุนแนววีไอ ในฐานะเจ้าของสำนักพิมพ์ บริษัท วิง มีเดีย จำกัด คือ อยากเห็นพอร์ตลงทุนของตนเองมุ่งหน้าสู่ “หลักสิบล้านบาท” ภายในระยะเวลาอันใกล้ ปัจจุบันมูลค่าการลงทุนของเขาอยู่ในหลักล้านปลายๆ
เมื่อ 10 ปีก่อน พี่ชายคนโตของน้องสาว 2 คน ที่อายุห่างกันปีเว้นปี
ประจำตระกูลภราดรภิบาล เริ่มต้นเดินตามรอยเท้า “ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร” เซียนหุ้นเน้นคุณค่า หรือ Value Investor อันดับ 1 ของเมืองไทย ในช่วงที่นั่งโต๊ะทำงานตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายผลิตรายการในบริษัท เนเวอร์แลนด์ จำกัด ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ ซึ่งเป็นบริษัทสุดท้ายที่เขายึด “อาชีพมุนษย์เงินเดือน”
ก่อนจะหันมาใช้หลักการลงทุนตาม “วอร์เรน บัฟเฟตต์” มหาเศรษฐีคนดังของโลก ด้วยการทยอยเติมเงินลงทุนในหุ้นที่ดีมีกิจการเป็นอันดับต้นๆของอุตสาหกรรม “วอร์เรน” ได้นำหลักการของ “เบนจามิน เกรแฮม” ซึ่งเป็นอาจารย์ของเขา และเป็นต้นตำรับของการลงทุนแบบ value investing มาประยุกต์ใช้กับวิธีการของ “ฟิลลิป ฟิชเชอร์”
“ประภาคาร ภราดรภิบาล” ในฐานะผู้เขียนบทความ Value Way ในหนังสือพิมพ์ “กรุงเทพ Biz Week” ซึ่งเขาเขียนร่วมกับ “วิบูลย์ พึงประเสริฐ” เซียนหุ้นวีไอ นัดเจอ “บิสวีค” เพื่อบอกเล่าเส้นทางการลงทุนที่เขาออกตัวว่า “แม้พอร์ตลงทุนไม่ใหญ่ แต่กลยุทธ์การเลือกหุ้นพอใช้ได้” ณ บ้านหลังใหม่ พื้นที่เกือบ 50 ตารางวา
“ผมเพิ่งพาภรรยา หญิงสาวผู้ทำหน้าที่แม้บ้าน และลูกชายวัย 9 ขวบ เข้ามาอยู่บ้านหลังใหม่ได้กว่า 3 เดือนแล้ว หมู่บ้านแห่งนี้มีแค่ 69 หลังคาเรือน “ความเงียบสงบ” จะทำให้สมองของเราปลอดโปร่ง”
“บุรุษวัย 44 ปี” เล่าประวัติชีวิตฉบับเต็มให้ฟังว่า พ่อแม่และน้องๆอาศัยอยู่ในกรุงเทพจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากนั้นคุณพ่อได้ย้ายครอบครัวไปปักหลักทำงานรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งเป็นอาชีพที่เลี้ยงดูทุกคนมาตั้งแต่เด็กๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ท่านคงรู้สึกเบื่อ แถมเพื่อนๆที่ทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเหมือนกันย้ายไปอยู่ที่โน้นกันหมด
เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 6 ตั้งใจจะสอบเอ็นทรานซ์ เพื่อไปเรียนที่อื่น แต่สุดท้ายสอบติดคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่เลือกไว้เป็นอันดับ 2 ใช้เวลาเรียนแค่ 3 ปีครึ่ง เพราะอยากรีบออกมาทำงานหาเงินช่วยแม่ ไม่อยากรบกวนเงินแม่ ไม่อยากให้แม่เหนื่อย
ด้วยความที่สนใจเรื่องธุรกิจ ทำให้ช่วงเรียนปริญญาตรี เลือกเรียนวิชาโท บริหารธุรกิจ แปลกใจตัวเองเหมือนกัน เขาสถบ ทั้งๆที่ตอนเด็กๆเห็นพ่อไม่ประสบความสำเร็จในอาชีพรับเหมาก่อสร้างจนต้องปิดกิจการ แต่นั่นอาจเป็นเพราะท่านใจดีเกินไป ทำให้โดนคนอื่นโกง
ช่วงนั้นคุณแม่ต้องรับหน้าที่หาเงินเลี้ยงลูกๆ ด้วยการออกไปทำอาชีพแม่ค้าจำเป็นในจังหวัดเชียงใหม่ จริงๆท่านเคยมีอาชีพเป็นคุณครูตอนครอบครัวยังอยู่กรุงเทพ แต่สุดท้ายต้องมาขายผลไม้แทน แม้คาแรคเตอร์ไม่ให้ แต่เพื่อปากท้องท่านต้องทำ ตอนนั้นการเงินฝืดเคืองทำท่านต้องกู้ยืมเงินนอกระบบ เพื่อให้ลูกทั้ง 3 คน ได้เรียนจนจบปริญญาตรี
“แม่เปรียบเหมือนซูเปอร์วูแมนสำหรับลูกทุกคน”
ทุกวันนี้ท่านไม่ต้องทำงานอะไรแล้ว ลูกๆได้ทำหน้าเลี้ยงแม่แทนแล้ว ตั้งแต่ทำงานมีเงินเดือนเป็นของตัวเองได้ส่งเงินให้ท่านตลอด ทุกวันนี้ยังคงทำเช่นนั้นอยู่ จำได้เงินที่ได้จากการทำงานในเดือนแรกๆ ส่งให้แม่เดือนละ1,000 บาท
ตอนโน้นได้เงินเดือนประมาณ 4,000 บาท จากงานประจำแห่งแรกในบริษัท ทีวีซีน แอนด์ พิคเจอร์ จำกัด ผู้ผลิตละครโทรทัศน์ไทยให้กับสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ที่ก่อตั้งและบริหารงานโดย “ณัฏฐนันท์ ฉวีวงษ์” ทำตำแหน่งครีเอทีฟได้เพียงปีครึ่งตัดสินใจลาออก
หลังพรรคพวกที่ทำงานในแวดวงเดียวกัน แนะนำให้ไปสมัครงานตำแหน่งโปรดิวเซอร์สารคดี บริษัท พีฟิลม์แอนด์วีดีโอ จำกัด รอบนี้เงินเดือนขยับขึ้นเป็น 6,500 บาท ทำงานได้ไม่กี่เดือนรู้สึก “ไม่ท้าทายไม่สนุก” ด้วบความที่เพิ่งจบใหม่ออกแนวไฟแรง ประจวบเหมาะกับในปี 2535 เมืองไทยเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ทำให้งานวีดีโอเริ่มมีลดลง
ตอนนั้นทีมงานรายการ ท้าพิสูจน์ ของ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นรายการที่เราเคยฝึกงานตอนเรียนอยู่มหาวิทยาลัยปี 3 มาชวนให้กลับไปทำงาน จังหวะชีวิตอยากหวนคืนสู่งานลุยๆ จึงตัดสินใจกลับไปทำงานที่นั่นอีกครั้ง
เข้ามาฝึกงานใน “กันตนา กรุ๊ป” ใหม่ๆ แม่ให้เงินติดตัวมา 3,000 บาท ใช้เพื่อเช่าหอพักนักศึกษาชาย แถวมหาวิทยาลัยรามคำแหงเดือนละ 600 บาท ห้องน้ำรวม (หัวเราะ) ห้องเล็กๆ เอาไว้ซุกห้องนอน เราทุนน้อยต้องประหยัดมัธยัสถ์ เขารำลึกชีวิตวันวันวานให้ฟัง
เขา เล่าต่อว่า กลับมาทำงานในแผนกครีเอทีฟประจำ “กันตนา กรุ๊ป” อีกครั้ง รับเงินเดือนน้อยลงเหลือแค่ 4,000 บาท บางครั้งเงินเดือนสูงๆ ไม่ได้ตอบโจทย์ชีวิตทำงาน ทำงานรอบนี้สนุกมาก สงสัยเหมาะกับจริตของเรา ทำให้นั่งทำงานที่นี่นานถึง 4 ปี งานสุดท้าย คือ การผลิตรายการเกมโชว์ ท้าทาย ซึ่งเจ้าของบริษัทแห่งหนึ่งที่ซื้อเวลาออกอากาศรายการทางช่อง 5 เอ่ยปากชวนไปทำรายการตอนเดินทางไปล่องเรือสำราญที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
จริงๆงานแรกเริ่มที่ “กันตนา กรุ๊ป” คือ ทำหน้าที่คัดจดหมายจากทางบ้านทีเขียนมาแนะนำเรื่องแปลกๆ หากทีมงานสนใจเรื่องไหน เขาจะให้เราเดินทางไปสำรวจเรื่องนั้นด้วยตัวเอง เราต้องไปดูว่า เรื่องที่เขาเขียนแนะนำมาน่าสนใจจริงหรือไม่ ถ้าโอเคเราต้องทำหน้าที่จำเส้นทางด้วย ระหว่างทางที่ไปต้องคอยส่องดูอีกว่า มีเรื่องอื่นที่น่าสนใจอีกหรือเปล่า เรียกง่ายๆต้องวางแผนการเดินทางให้กองถ่าย สนุกไปอีกแบบนะ
ทำรายการเกมโชว์ ท้าทาย ได้แค่ 1 ปี พี่คนสนิทที่ทำตำแหน่งโปรดิวเซอร์รายการเกมโชว์ด้วยกันรวมถึงเพื่อนๆในแวดวง ชักชวนให้ออกเปิดบริษัทผลิตรายการ ด้วยการออกเงินคนละ 250,000 บาท ทุนจดทะเบียนบริษัทแรกเริ่ม 1 ล้านบาท ภายใต้ชื่อ “แฮททริค โปรเฟสชั่นนัล” หรือ HATTRICK ตอนนั้นสนุกกันใหญ่ได้ทำทั้งโฆษณา รายการถ่ายทอดสด และมิวสิควีดีโอ เป็นต้น
เปิดบริษัทใหม่ๆงานเข้ามาเพียบ เชื่อหรือไม่!! “โกยกำไรหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ต่องาน” เพราะพี่โปรดิวเซอร์มีคอนเน็ตชั่นที่ดี เราทำงานกันแค่ 2 คน ทำไปช่วงเวลาหนึ่งเช็คของลูกค้าบางรายเริ่มเด้ง ลูกค้าที่เคยจ่ายตรงเวลากลายเป็นคนไม่ตรงเวลา ตอนนั้นยังไม่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 เมื่อเริ่มเห็นสัญญาณออกแนวรู้ตัวก่อนล่วงหน้า เรามานั่งคุยกันทั้งๆที่เมืองไทยยังไม่มีการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทว่า ตอนนี้บริษัทยังมีกำไร ฉะนั้นแบ่งเงินกันแล้วแยกย้ายไปทำงานบริษัทใหญ่ๆก่อนดีกว่ามั้ย เผื่อเศรษฐกิจไม่ดีบริษัทจะเจ๊งเอา
“สุดท้ายผมกลับไปทำงานกับเจ้าของบริษัทที่ทำรายการเกมโชว์ ท้าทาย พอดีเขาต้องการคนทำตำแหน่งครีเอทีฟเพิ่มเติม เพราะเขากำลังทำรายการถ่ายทอดสด สายตรงบันเทิง ซึ่งออนแอร์รายการไอทีวี ด้วยความที่มีประสบการณ์ค่อนข้างเยอะ บริษัทจึงให้เราไปนั่งตำแหน่งโปรดิเซอร์”
ทำงานได้ 4 ปี มีรุ่นน้องที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำลังจะเซ็ททีม เพื่อผลิตรายการโทรทัศน์ ภายใต้ชื่อ “บริษัท เนเวอร์แลนด์ จำกัด” เขามาชวนให้ไปนั่งตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายผลิตรายการ หน้าที่หลัก คือ ตั้งทีมใหม่หาคนมาทำ “รายการแฟนซีโดน”
ด้วยความที่เคยเป็นครีเอทีฟมาก่อน ทำให้รู้สึกสนุกที่ได้คิดงาน แต่เมื่อต้องมานั่งเป็นผู้บริหาร เน้นดูแลเรื่องนโยบาย และติดต่อสถานี ออกแนวใส่สูทผูกเนคไทไปขอเวลาทางสถานี เดินสายพูดคุยประชุม ทำให้เริ่มรู้สึกว่า “ความสนุกน้อยลง” แต่เรายังได้เรียนรู้เรื่องการบริหาร ทำให้มุมมองของเราโตขึ้นระดับหนึ่ง
ทำงานได้เกือบ 4 ปี ผลปรากฎว่า สภาพคล่องของบริษัทเริ่มตรึงตัว ค่าเวลาออกอากาศสถานีเริ่มเพิ่มขึ้น
ทำให้บริษัทต้องการลดค่าใช้จ่าย ด้วยการตัดพนักงานบางคนออกไป เราในฐานะผู้บริหารต้องทำหน้าที่ชี้เป็นชี้ตายให้คนออกบางส่วน ตอนนั้นรู้สึกไม่ไหวแล้ว ไม่อยากทำแบบนี้ ตัดสินใจลาออกเองดีกว่า เพราะเราเงินเดือนสูงถึง 50,000-60,000 บาท ฉะนั้นแทนที่จะมีคนออก 7 คน จะเหลือแค่ 2 คน อีกอย่างเริ่มสนใจอยากเขียนหนังสืออย่างจริงจัง หลังมีโอกาสได้ชิมลางแล้วเกิดติดใจ
“ผมลาออกตอนอายุ 40 ปี พอจะมีเงินเก็บหนักแสนบาท บ้านและรถผ่อนหมดแล้วเรียกว่า ไม่มีภาระค่าใช้จ่ายอะไรแล้ว ถือว่า พร้อมแล้วถึงออก”
“ประภาคาร” เริ่มต้นเล่าถึงที่มาของการลงทุนว่า ความสนใจเรื่องหุ้นเกิดขึ้นในช่วงที่ทำงานใน บริษัท เนเวอร์แลนด์ จำกัด ต้องบอกก่อนว่า “ผมเป็นคนชอบอ่านหนังสือวางแผนทางการเงิน เพราะอยากมีชีวิตที่ดี ไม่ต้องการมีหนี้สินเหมือนในอดีต และอยากมีเงินเลี้ยงดูครอบครัวให้สุขสบาย”
เมื่อแรงบันดาลใจเป็นเช่นนั้น จึงไปหาหนังสือต่างประเทศมาอ่าน เริ่มด้วยเรื่อง “คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก” เขียนโดย David J. Schwartz ซึ่ง “ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร” เป็นผู้แปล ตอนนั้นจำชื่อคนแปลไว้ในใจ เขาวิ่งขึ้นไปชั้น 2 ของบ้าน เพื่อหยิบหนังสือเล่มนี้มาให้ “บิสวีค” ยลโฉม
ระหว่างนั้นยังได้อ่านหนังสือ “พ่อรวยสอนลูก” หรือ Rich Dad Poor Dad ของ “โรเบิร์ต คิโยซากิ” อ่านจบรู้สึกประทับใจมาก ในหนังสือจะบอกว่า หากมุนษย์เงินเดือนต้องการมี “อิสระภาพทางการเงิน” ควรเลือกที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจหรือนักลงทุน แม้วันนี้จะทำงานในบริษัทใหญ่โต แต่หากสภาพเศรษฐกิจไม่ดี คุณอาจโดนชี้ตัวให้ออกจากงานเป็นคนแรก เหมือนที่ “ดร.นิเวศน์” เคยโดนมาแล้ว
ตอนนั้นยังได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งของเครือเนชั่น ทำให้ได้รู้จักว่า ชายชื่อ “ดร.นิเวศน์” คือ นักลงทุนหุ้นเน้นคุณค่าชื่อดัง ความสนใจอยากลงทุนในตลาดหุ้นเริ่มตอกย้ำหนักขึ้น หลังเห็นเพื่อนที่ทำงานเป็นมาร์เก็ตติ้งคุยกับเพื่อนๆที่เล่นหุ้นด้วยกัน
“ผมตัดสินใจเปิดพอร์ตในปี 2546 กับบริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย จำกัด เงินทุนตั้งต้นก้อนแรก“หลักหมื่นบาท” ใจจริงแค่อยากลองเล่นดู “หุ้นตัวแรก” ลงทุนตามเพื่อน ด้วยการซื้อใบสำคัญแสดงสิทธิ หรือ Warrant หุ้น MS-W2 ราคา 0.60 บาท ตอนนี้เปลี่ยนชื่อไปแล้ว”
ผลออกมา คือ“ขาดทุน” เพราะราคาลงมาเหลือแค่ 0.40 บาท ทั้งๆที่เพื่อนมาร์เก็ตติ้งโทรมาถามแล้วว่า จะขายหรือไม่ หลังราคาขึ้นไป 0.62 บาท “ผมใช้เวลาในการถือวอร์แรนท์ตัวนี้แค่ 1 เดือน เหลือเงินกลับมาแค่หมื่นกว่าบาท จากทุน 20,000 บาท”
คราวนี้กลับมาตั้งหลักอ่านหนังสือใหม่อีกรอบ การลงทุนตามคนอื่น โดยไม่ได้ศึกษาคงไม่ใช่วิถีที่ดีนัก นั่นคือ ความคิดในช่วงนั้น บังเอิญไปอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง เขาพูดถึง “หุ้นบูลชิพ” เมื่อเข้าไปศึกษาจริงๆจึงรู้ว่า หุ้นประเภทนี้ ไม่มีทางที่กิจการจะล่มจม
ในปี 2546 เริ่มใช้เงินประมาณ 60,000 บาท ในการซื้อ “หุ้นบูลชิพ” กลุ่มพลังงาน แบงก์และสื่อสาร ช่วงนั้นตลาดหุ้นไทยกำลังบูม ด้วยความที่เราเข้าไปตอนงานเลี้ยงกำลังเลิกลา ทำให้เกิดอาการ “หุ้นติดดอย” แต่ด้วยความที่เป็นเงินเย็น ฉะนั้นหุ้นจะติดให้ติดไป ไม่สนใจ เพราะเป้าหมายคือ “กินปันผล”
ถือหุ้นบูลชิพได้ 1 ปี ราคาหุ้นดีดกลับมา ทำให้ “หุ้นติดดอย” กลับมากำไรอีกครั้ง “ผมรีบขายทันทีได้ผลตอบแทนจากราคาหุ้นทั้ง 3 ตัว เฉลี่ย 5-6 เปอร์เซ็นต์ แต่ก่อนราคาหุ้นจะดีดขึ้น ผมได้เงินปันผลมาแล้วประมาณ 3-4 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ได้กำไรรวมๆเฉลี่ย 10 เปอร์เซ็นต์ การซื้อหุ้นบูลชิพครั้งนั้น ทำให้เข้าใจคำว่า “จังหวะลงทุน” ต่อให้หุ้นตัวนั้นดีแสนดี แต่หากจังหวะไม่ได้ ผลการลงทุนจะออกมาไม่ดีเท่าที่ควร”
หลังจากขายหุ้นบูลชิพหมดแล้ว ทำใหมีมุมมองเปลี่ยนแปลงไป “ผมค้นพบว่า ไม่จำเป็นต้องลงทุนหุ้นขนาดใหญ่ที่ให้เงินปันผลดี เพราะหุ้นขนาดเล็กบางตัวสามารถให้เงินปันผลที่ดีแก่นักลงทุนได้เช่นกัน”
ตอนนั้นมีโอกาสอ่านหนังสือ “ตีแตก” ของ “ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร” พิมพ์ครั้งที่ 3ในหนังสือสอนว่า หากต้องการความปลอดภัยจากการลงทุนให้เลือกหุ้นที่มีอัตราส่วนราคาต่อกำไร หรือ ค่า P/E ต่ำๆ ไม่เกิน 10 เท่า และให้เลือกหุ้นที่มีอัตราเงินปันผลสูงๆ เฉลี่ย 5 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ที่สำคัญต้องลงทุนหุ้นให้เหมือนลงทุนในธุรกิจ
เมื่อจับประเด็นได้แล้วจึงปฎิบัติการณ์แสวงหาหุ้นที่มีคุณสมบัติดังกล่าว จาก “หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ”
สุดท้ายไปเจอ หุ้น อุตสาหกรรมถังโลหะไทย หรือ TMD เรียกว่า เข้าคุณสมบัติ เพราะหุ้น อุตสาหกรรมถังโลหะไทย มีอัตราส่วนราคาต่อกำไรประมาณ 6-7 เท่า และมีผลตอบแทนจากการลงทุนเฉลี่ย 7 เปอร์เซ็นต์
ตัดสินใจช้อนหุ้น อุตสาหกรรมถังโลหะไทย ต้นทุนเฉลี่ย 42 บาท หลังพบว่า ฐานะการเงินย้อนหลังของบริษัทเติบโตสม่ำเสมอ แม้ไม่ได้มากมาย แต่ไม่ถอยหลังเข้าคลอง ฉะนั้นเขามีสิทธิจ่ายเงินปันผลให้กับนักลงทุนเพิ่มขึ้น
ตอนนั้นตั้งใจจะลงทุนหุ้น อุตสาหกรรมถังโลหะไทย คล้ายๆสไตล์ “หุ้นห่านทองคำ” ช่วงนั้นกำลังอินหนังสือ "คัมภีร์หุ้นห่านทองคำ" ของ “เทพ รุ่งธนาภิรมย์”
ผลการลงทุนหุ้น อุตสาหกรรมถังโลหะไทย ถือว่า “โอเค” เรียกว่า “ได้กำไร 2 เด้ง” ได้รับทั้งผลตอบแทนจากเงินปันผล หรือ Dividend Yield ที่จ่ายในอัตราที่ดี และได้รับผลตอบแทนจากส่วนต่างของราคาหุ้น หรือ Capital Gain ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตลอด
“จงนำเงินเย็นไปลงทุนในตลาดหุ้น เพราะหุ้นจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าฝากแบงก์ ตลาดหุ้นถือเป็นสินทรัพย์ที่ดีอย่างหนึ่งที่นักลงทุนควรศึกษาไว้ “ประภาคาร” ชักชวนนักลงทุนมือใหม่ สัปดาห์หน้าติดตามวิถีลงทุนและหุ้นในพอร์ตของ "เซียนหุ้น VI" ได้ ณ “บิสวีค” ที่เดียวเท่านั้น
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ประภาคาร ภราดรภิบาล" กำไรเด้ง ด้วย หุ้น P/E ต่ำ
โพสต์ที่ 2
-
- Verified User
- โพสต์: 31
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ประภาคาร ภราดรภิบาล" กำไรเด้ง ด้วย หุ้น P/E ต่ำ
โพสต์ที่ 3
ขอบคุณนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 155
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ประภาคาร ภราดรภิบาล" กำไรเด้ง ด้วย หุ้น P/E ต่ำ
โพสต์ที่ 5
ผมก็ถือ TMD ฮะ เริ่มซื้อตั้งแต่ 2012 ราคาเกือบร้อย
คิด annual return ได้ 100+%
คิด annual return ได้ 100+%
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ประภาคาร ภราดรภิบาล" กำไรเด้ง ด้วย หุ้น P/E ต่ำ
โพสต์ที่ 6
'ประภาคาร ภราดรภิบาล'VI ต้นทุนหุ้น BIGC 30 บาท
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Monday, March 03, 2014 06:41
ชาลินี กุลแพทย์
"ประภาคาร ภราดรภิบาล" เซียนหุ้น VI วัย 44 ชายผู้หลงใหลหุ้นที่มีกิจการเป็นเบอร์ของหนึ่งของอุตสาหกรรม รักมากยกให้ "ค้าปลีก-พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อค้าปลีก-โรงพยาบาล"
ทุกวันนี้มีความสุขและสบายใจในการถือหุ้นทุกตัว เป้าหมายใหญ่ไม่มี ขอโตแค่ปีละ15%
"ประภาคาร ภราดรภิบาล" เซียนหุ้น VI ชายผู้หลงใหลหุ้นที่มีกิจการเป็นเบอร์ของหนึ่งของอุตสาหกรรม รักมากยกให้ "ค้าปลีกพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อค้าปลีก-โรงพยาบาล" เป้าหมายใหญ่ไม่มี ขอโตแค่ปีละ 15%
ก่อน "ตุ้ม-ประภาคาร ภราดรภิบาล"เจ้าของสำนักพิมพ์ บริษัท วิง มีเดีย จำกัด จะได้ขึ้นชื่อว่า เป็นนักลงทุนเน้นคุณค่า หรือ Value Investor และเจ้าของพอร์ตลงทุนเกือบแตะ "หลักสิบล้านบาท" เขาเคยยึดอาชีพผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ในบริษัทชั้นนำหลายแห่ง อาทิ บริษัท ทีวีซีน แอนด์ พิคเจอร์ จำกัด ผู้ผลิตละครโทรทัศน์ไทยให้กับสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นต้น "บุรุษวัย 44 ปี" ในฐานะผู้เขียนบทความ Value Way หนังสือพิมพ์ "กรุงเทพธุรกิจ Biz Week" ที่เขาเขียนร่วมกับ "วิบูลย์ พึงประเสริฐ" เซียนหุ้นวีไอ เริ่มต้นสนใจการลงทุนใน ตลาดหุ้น หลังมีโอกาสได้อ่านหนังสือต่างประเทศ เรื่อง "คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก" เขียนโดย David J. Schwartz ซึ่ง "ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร"เป็นผู้แปล รวมถึงหนังสือ "พ่อรวยสอนลูก"หรือ Rich Dad Poor Dad ของ "โรเบิร์ต คิโยซากิ" เป็นต้น เขาตัดสินใจเปิดพอร์ตในปี 2546 กับบริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด ด้วยเงินทุนตั้งต้นก้อนแรก "หลัก หมื่นบาท" ลองผิดลองถูกมาเรื่อยๆ เริ่มจากลงทุนตามเพื่อน ก่อนจะมาหันมาลงทุนใน "หุ้นบูลชิพ" ติดดอยอยู่ 1 ปี กว่าจะได้กำไร จากนั้นไม่นานเขาเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ เน้นสอยหุ้นที่มีอัตราส่วนราคาต่อกำไร หรือ ค่า P/E ไม่เกิน 10 เท่า และให้อัตราเงินปันผลเฉลี่ย 5 เปอร์เซ็นต์ ตามคำแนะนำในหนังสือ "ตีแตก"
"ประภาคาร ภราดรภิบาล" เล่าเรื่องราวการลงทุนต่อว่า หลังได้ "กำไร 2 เด้ง" จาก หุ้น อุตสาหกรรมถังโลหะไทยหรือ TMD "ผมเริ่มศึกษาหาความรู้มากขึ้น ด้วยการอ่านหนังสือการลงทุนของต่างประเทศ ทำให้รู้จักชายชื่อ "วอร์เรน บัฟเฟตต์-ปีเตอร์ ลินซ์- ฟิลลิป ฟิชเชอร์" คนเหล่านี้ถือเป็นนักลงทุนชื่อดังของโลก
ศึกษาไปได้สักพัก ทำให้รู้ว่า สไตล์การลงทุนของ "วอร์เรน" คือ ไม่จำเป็นต้องลงทุนหุ้น ที่มีอัตราส่วนราคาต่อกำไร หรือ ค่า P/E ต่ำเสมอไป เพราะหุ้นบางตัวมีกิจการที่ดี แต่อัตราส่วนราคาต่อกำไรไม่ต่ำ ในตลาดมีเยอะแยะ มาก ขอแค่หุ้นตัวนั้นต้องมีกิจการเป็นเบอร์ต้นๆ ของอุตสาหกรรม
ส่วนตัวชอบแนวการลงทุนของ "วอร์เรน บัฟเฟตต์" มากที่สุด เพราะเขาประยุกต์รูปแบบ มาจาก "เบนจามิน เกรแฮม" ซึ่งเป็นอาจารย์ของ "วอร์เรน" และเป็นต้นตำรับของการลงทุน
แบบ Value Investing ช่วงแรกๆ "วอร์เรน"ใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบ "เบนจามิน" ถือว่าประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง
แต่เมื่อ "วอร์เรน" รู้สึกไม่สุดๆ กับการลงทุน เขาจึงหันมาศึกษาการลงทุนของ "ฟิลลิป ฟิชเชอร์" ทำให้รู้ว่า นอกจากต้องเลือกหุ้น ที่มีอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่ำๆ แล้วยังต้องเลือกหุ้นที่มีความสุดยอด ในการทำธุรกิจด้วย "วอร์เรน" จึงนำ 2 ส่วนมาประยุกต์รวมกัน
"ผมศึกษาการลงทุนมาสักพักจึงค้นพบรูปแบบการลงทุนเป็นของตัวเองว่า หากเราจะเน้นเพียงหุ้นที่มีอัตราส่วนราคาต่อกำไร ต่ำๆ และมีอัตรา เงินปันผลสูงอย่างเดียวคงไม่ได้ แต่ต้องลงทุนในบริษัทที่มีกิจการอันดับหนึ่งของแต่ละอุตสาหกรรมด้วย ที่สำคัญหุ้นตัวนั้นต้องมีการเติบโตต่อเนื่อง ไม่ใช่ดีแค่วันนี้แล้วต้องมานั่งลุ้นการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงในปีหน้า"
เมื่อความคิดสะเด็ดน้ำ ตัดสินใจปรับโมทการลงทุนใหม่ ด้วยการหันมาเลือกลงทุนในหุ้นที่เราอยากเป็นเจ้าของกิจการ "กลุ่มค้าปลีก" จึงเป็นตัวเลือกแรกในการลงทุน "จุดเด่น" ของหุ้นกลุ่มนี้คือ ซื้อขายเป็นเงินสดทำให้มีเงินกองอยู่ในบริษัทจำนวนมาก เขาสามารถนำไปขยายกิจการหรือทำอะไรได้เยอะแยะ
ปี 2549 ตัดสินใจซื้อ หุ้น ซีพี ออลล์ หรือ CPALL ต้นทุนไม่ถึง 7 บาท ตอนนั้นหุ้น ซีพี ออลล์ ยังไม่เป็นที่นิยม เพราะกิจการเทสโก้โลตัสที่เมืองจีนไม่ค่อยดี แต่ช่วงนั้น มีความเชื่อว่า เขาน่าจะตัดกิจการนี้ทิ้งไป ขณะที่ร้านสะดวกซื้อ "เซเว่น อีเลฟเว่น" ในเมืองไทย น่าจะมีแนวโน้มที่ดี เพราะ "ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์"ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ซีพี ออลล์ เขาเก่งและทุนหนา
จากนั้นไม่นานไปซื้อ หุ้น บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ หรือ BIGC ต้นทุน 30 กว่าบาท ราคาหุ้น บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ เคยขึ้นไปสูงสุดระดับ 252 บาท (ณ วันที่ 23 เม.ย.2556) ข้อดีของหุ้นตัวนี้ คือ กิจการของเขาเป็นรองแค่ เทสโก้โลตัส แถมยังลดราคาสินค้าบ่อยๆ ถูกใจคนชอบของถูก เขาเจาะตลาดแตกต่างจากร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อีเลฟเว่น ที่เน้นความสะดวกมากกว่าสินค้าราคาประหยัด
เมื่อหลายปีก่อน "บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์" ได้เทคโอเวอร์ "คาร์ฟูร์ เมืองไทย" ทำให้ราคาหุ้น BIGC พุ่งกระฉูด แถมกิจการยังขยายตัว ดีอย่างต่อเนื่อง ผู้ถือหุ้นรายย่อยอย่างเราแทบ ไม่ต้องไปทำอะไรกับหุ้นตัวนี้เลย ที่ผ่านมาแทบไม่เคยส่องดูว่า บริษัทเติบโตปีละกี่เปอร์เซ็นต์ แต่จะดูงบการเงินว่า ขยายตัวทุกไตรมาส หรือเปล่า การเลือกหุ้นที่ดีเป็นผู้นำของธุรกิจจะมีข้อดีแบบนี้ละ
จากนั้นในปี 2554 ได้ควักเงินซื้อ หุ้น เซ็นทรัลพัฒนา หรือ CPN หุ้นตัวนี้ไม่ได้อยู่ในกลุ่มค้าปลีก แต่อยู่ในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อค้าปลีก ธุรกิจหลัก คือ เปิดศูนย์การค้าให้เช่าโมเดลลักษณะนี้ถือว่า น่าสนใจมาก เพราะถ้าทำเลดีคนจะมาเช่าพื้นที่เยอะบริษัทก็จะเติบโตมากขึ้น
ต้นทุนหุ้น เซ็นทรัลพัฒนา ประมาณ 30 บาท แม้วันนี้ยังไม่ได้กำไรงามๆจากหุ้นตัวนี้ เพราะเข้าไปซื้อช้า แต่ด้วยความที่เขาเป็นผู้นำในธุรกิจศูนย์การค้าคงทำให้บริษัทเติบโตได้เรื่อยๆ จากนั้น ไม่นานมาซื้อ หุ้น ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน หรือ ROBINS ต้นทุนแค่ 10 กว่าบาท วันนี้ปาเข้าไปจะ 50 บาทแล้ว (ยิ้ม)
เขา เล่าต่อว่า หลังเห็นคนเริ่มใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น ทำให้หันมาสนใจลงทุน "หุ้นกลุ่มโรงพยาบาล" ในปี 2555 จัดการซื้อ หุ้น กรุงเทพดุสิตเวชการ หรือ BGH เห็นบริษัทพยายามขยายเครือข่ายในเชิงรุก ด้วยการเทคโอเวอร์โรงพยาบาลขนาดเล็ก ถือเป็นการเติบโตทางลัด
ต้นทุนเฉลี่ย 70-80 บาท ตอนนั้นคิดว่า "ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ" ในฐานะเจ้าของบริษัทคงไม่หยุดขยายกิจการแค่นี้แน่นอน เขามีวิชั่นกว้างไกล จริงๆ เคยมองหุ้นตัวนี้ตั้งแต่ราคา 20-30 บาท แต่ตอนนั้นยังสนใจหุ้น ค้าปลีกมากกว่า แม้จะเข้ามาซื้อแพง แต่ด้วยศักยภาพที่ยังสามารถไปได้ ทำให้วันนี้ราคาหุ้นวิ่งมาอยู่ 120 บาทแล้ว
ตัวสุดท้าย คือ หุ้น เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป หรือ M ต้นทุนเฉลี่ย 40 กว่าบาท "ผมมองว่า การที่บริษัทเกาะการเติบโตไปตามห้างสรรพสินค้าจะทำให้ศักยภาพของบริษัทดีขึ้นเรื่อยๆ ส่วนตัวชอบแบรนด์เอ็มเค และการทำธุรกิจของเขา ที่ผ่านมาบริษัทมักพัฒนาเรื่องการให้บริการนำหน้าคนอื่นมาตลอด แอบประทับใจ เขามานานแล้ว เคยคิดว่า ถ้าบริษัทเข้าตลาดเราต้องเข้ามาเป็นเจ้าของให้ได้
"ทุกวันนี้มีความสุขและสบายใจในการถือหุ้นทุกตัว หน้าที่เรา คือ คอยติดตามผลการดำเนินงานทุกไตรมาส หากราคาหรือธุรกิจอิ่มตัว หรือมีเรื่องอะไรมากระทบคงต้องมาปรับกลยุทธ์ใหม่ทันที"
ถามว่า เคยทำราคาเป้าหมายและการเติบโตล่วงหน้าของหุ้นที่ถืออยู่หรือไม่ "ตุ้ม"ตอบทันทีว่า ไม่เคยทำราคาเป้าหมาย ทุกวันนี้ ไม่ได้มองเรื่องราคาเหมาะสมเป็นหลัก แต่มองเรื่องการเติบโตของกิจการมากกว่า เรื่องราคาหุ้นตลาดจะเป็นคนให้เขาเอง ส่วนเรื่องการทำตารางเปรียบเทียบผลประกอบการไม่เคยทำเช่นเดียวกัน
จริงๆ เคยทำในช่วงแรกๆ ที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น เพราะตอนนั้นภาพการเติบโตของแต่ละ ธุรกิจยังไม่ชัดเจน ครั้งหนึ่งเคยทำราคาเป้าหมายและการเติบโตของหุ้น ซีพี ออลล์ โดยมองว่า บริษัทจะน่าจะมีสาขามากกว่า 5,000 แห่ง
สุดท้ายบริษัทสามารถพิสูจน์ตัวเองได้แล้วว่า ทำได้จริง ปัจจุบันบริษัทมีมากกว่า 7,000 แห่ง ล่าสุดผู้บริหารออกมายืนยันว่า ภายใน ปี 2560 จะมีสาขาประมาณ 10,000 แห่ง ถ้าทำได้จริงกำไรของบริษัทคงงอกเงยขึ้นมาก ขณะที่อำนาจการต่อรองกับซัพพลายเออร์คงสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
"ผมมักหาจังหวะดีๆ ซื้อหุ้นตัวเดิมๆ เพิ่มเติม ตลอด ซื้อมากหรือน้อย ดูตามหน้าตักของตัวเอง ส่วนใหญ่จะใช้เงินหลักหมื่นในการสอยหุ้นแต่ละตัว แต่จะกี่หมื่นบาทแล้วแต่ความเหมาะสม เช่น ราคาหุ้นน่าสนใจมากน้อยแค่ไหน เป็นต้น
ที่ผ่านมาได้ขายหุ้นตัวเดิมๆ ออกบ้างหรือเปล่า "ประภาคาร" ตอบว่า มีบ้างในช่วงแรกๆของการลงทุน ครั้งหนึ่งเคยขายหุ้น ซีพี ออลล์ และหุ้น บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ หลังถือมานาน และต้องการโยกเงินไปลงทุนหุ้นตัวอื่นที่คิดว่าน่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
แต่กลยุทธ์นี้ไม่ได้ใช้แล้วในปัจจุบัน เพราะการมีหุ้นที่ดีแล้วปล่อยทิ้งไว้น่าจะเป็นเรื่องที่ดีกว่าขายออกไป "ผมได้รับเงินปันผลหลายหมื่นบาทต่อเนื่องทุกปี จากการปล่อยให้หุ้นดีๆ อยู่ในพอร์ต ทุกครั้งที่เงินปันผลถูกโอนเข้าบัญชี มักนำไปซื้อหุ้นตัวเดิมๆ แทนเลือกซื้อหุ้นตัวใหม่ๆ อย่างน้อยความคุ้นเคยจะทำให้เราประสบความสำเร็จในการลงทุน"
"วันนี้พอร์ตลงทุนมีมูลค่าไม่สูงแค่ 7 หลัก ผมแอบลุ้นให้ถึง 8 หลัก ไม่มีในใจว่า พอร์ตลงทุน ต้องขึ้นไปยืนระดับสิบล้านบาทปีไหน อยากใช้ชีวิตสบายๆ ปล่อยให้พอร์ตเติบโตเองอัตโนมัติ ขอแค่ขยายตัวปีละ10-15 เปอร์เซ็นต์ เท่านี้สุดแสนจะแฮปปี้ เมื่อก่อนพอร์ตลงทุนเคยขยายตัวมากกว่านี้ แต่นั่นเป็นเพราะมีข่าวเร่งปฏิกิริยา"
หากมีเงิน "ร้อยเปอร์เซ็นต์" มักนำไปลงทุนในตลาดหุ้น 50 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือจะออมเงินในรูปแบบของทองคำ เคยซื้อทองคำช่วงแต่งงาน ต้นทุนแค่ 6,000 บาท นอกจากนั้นยังมีบ้านให้เช่าแถวเกษตรนวมินทร์เดือนละ 6,000-7,000 บาท จริงๆ มีคนถามซื้อประมาณ 1.4-1.5 บาท จากต้นทุนไม่กี่แสนบาท
เขา เล่ากลยุทธ์การลงทุนในปัจจุบันให้ฟังว่า อันดับแรกจะเลือกลงทุนในบริษัทที่มีความรู้ ความเข้าใจเป็นอย่างดี หากเจอบริษัทที่ถูกใจใช่เลย แต่ยังรู้จักไม่ดีพอต้องรีบทำความรู้จักเพิ่มเติมในเชิงลึก ด้วยการอ่านรายงานประจำปี หรือเข้าไปดูแบบฟอร์ม 56-1 ในสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.
อันดับ 2 เข้าไปดูรูปแบบของธุรกิจ สุดท้ายคือ ดูงบการเงิน บริษัทที่ดีควรมี "กำไรสุทธิ"เติบโตปีละ 10 เปอร์เซ็นต์ แต่หลังๆแทบไม่ดูเปอร์เซ็นต์แล้ว ขอแค่เติบโตสม่ำเสมอก็พอ ส่วนอัตราส่วนราคาต่อกำไร หรือ ค่า P/E ขอแค่ไม่เวอร์เกินไป อยากถือหุ้นเบอร์หนึ่งในแต่ละอุตสาหกรรมที่มีอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่ำๆ คงเป็นไปได้ยาก หุ้นสวยๆ ควรมีค่าอัตราส่วนราคาต่อกำไรเฉลี่ย 10-20 เท่า สำหรับผลตอบแทนผู้ถือหุ้น หรือ ROE ควรอยู่ระดับ 15 เปอร์เซ็นต์
ช่วงนี้เล็งหุ้นกลุ่มไหนเพิ่มเติมหรือไม่ เขาตอบว่า ส่องแต่หุ้นตัวเดิมๆ "ผมเป็นคนเคลื่อนไหวน้อยเหมือนนักลงทุนชื่อดังหลายๆคน ยึดคติเลือกหุ้นดีแล้วปล่อยให้เงินทำงาน" ช่วงนี้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเขียนหนังสือ แปล หนังสือ และพิมพ์หนังสือ ภายใต้ชื่อบริษั ท วิง มีเดีย จำกัด บริษัทแห่งนี้เปิดมาตั้งแต่ปี 2551 พิมพ์หนังสือมาแล้ว 12 เล่ม ไม่รวมเล่มที่พิมพ์ซ้ำ
อาทิเช่น เรื่อง "คัมภีร์ VI ลงทุนหุ้นแบบเน้นคุณค่า" โดย "มนตรี นิพิฐวิทยา" และ "วิบูลย์ พึงประเสริฐ" รวมถึงเรื่อง "เคล็ดลับเซียนหุ้นบันลือโลก" เป็นต้น บังเอิญรู้จัก "วิบูลย์" ผ่านเว็บไซต์ THAIVI เห็นเขาเขียนบทความ Value Way ในหนังสือพิมพ์ Biz Week" น่าสนใจหลายเรื่อง เมื่อได้พูดคุยกันทำให้รู้ว่า เรามีหลักการลงทุนคล้ายๆ กัน จึงชักชวนให้มาทำหนังสือด้วยการ
บริษัทพิมพ์หนังสือเล่มแรกขายเมื่อเดือนมี.ค.2552 ชื่อ "ทำอย่างไรให้เงินงอกเงย" ซึ่งผมเป็นคนเขียนเอง โดยใช้นามปากกาว่า "ธนพล ภราดล" ซึ่ง ธน มาจากคำว่า ธนบัตร และพล มาจากคำว่า พลัง ตอนนั้นยังไม่กล้าใช้ชื่อจริง (หัวเราะ) ทำเล่มนี้ขึ้นมา เพราะต้องการให้น้องๆ ที่ทำงานร่วมกันใน บริษัท เนเวอร์แลนด์ จำกัด รู้จักใช้เงิน หลังเห็นเขาใช้เงินค่อนข้างฟุ่มเฟือยเล่มแรกมียอดขายมากถึง 3,000-4,000 เล่ม
เมื่อยอดขายหนังสือเกี่ยวกับการวางแผนทางการเงินประสบความสำเร็จ จึงหันมาพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับการลงทุนในตลาดหุ้น แต่จะให้นำเสนอเรื่องราวของตนเองคงดูไม่น่าสนใจ เมื่อเทียบกับเรื่องของคนเก่งๆอย่าง "ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร" เซียนหุ้นแนวคุณค่าหมายเลข 1 ของเมืองไทย
"ผมไปขออนุญาตอาจารย์ เพื่อนำประวัติของท่านมาเขียน หวังให้เป็นแรงบันดาลใจให้นักลงทุนรุ่นใหม่ๆ" หลังเขียนเสร็จนำไปให้ท่านตรวจดูความถูกต้อง ท่านเอ่ยปากชมว่า เขียนได้ดี สิ้นเสียงคำชื่นชมรู้สึกว่า ประสบความสำเร็จแล้ว ทั้งๆที่ไม่รู้ว่า จะขายดีหรือไม่
สุดท้ายเรื่อง "พลิกชีวิตด้วยการลงทุน เซียนหุ้นพันล้าน" ขายดีพิมพ์ซ้ำมากถึง 4 ครั้ง จากนั้นไปขออนุญาตอาจารย์อีกครั้ง เพื่อพิมพ์เรื่องเกี่ยวกับการลงทุนของท่าน ชื่อเรื่อง "ลงทุนอย่างดร.นิเวศน์" ถือว่า ประสบความสำเร็จเหมือนกัน
เขา ทิ้งท้ายบทสนทนาว่า "ผมไม่ชอบหุ้นปั่น หุ้นประเภทนี้ชอบสร้างข่าวมาหากินเงินนักลงทุน ที่ไม่มีความรู้ และนักลงทุนที่มีความโลภ" ด้วยความที่ไม่อยากเห็นนักลงทุนโดนหลอก ทำให้ต้องลุกขึ้นมาเขียนหนังสือเรื่องการลงทุน อยากให้มือใหม่มีภูมิคุ้มกันในการลงทุนจะได้ไม่โดนคนอื่นหลอก
นักลงทุนวันนี้ไม่แตกต่างจากนักลงทุนเมื่อหลายสิบปีก่อน ส่วนใหญ่เข้ามาด้วย "ความโลภ" เรียกว่า เข้ามาจ่ายค่าเทอมก่อนแล้วค่อยเข้ามา ศึกษา เมื่อจบการศึกษาและประสบความสำเร็จในการลงทุนจึงค่อยโดดเข้าไปเล่นในเกมที่ตนเองมีความถนัด
"จงหาความสุข และความปลอดภัย ในการลงทุนให้เจอ เราจะได้ไม่บาดเจ็บหรือเสียเปรียบคนอื่น ช่วงแรกๆ ผมเคยศึกษาแนวเทคนิค แต่เมื่อไม่ค่อยเข้าใจ รู้สึกว่า เป็นภาษาที่เราตีไม่แตก ทำให้ตัดสินใจถอยออกมา"
'ทุกวันนี้มีความสุข และสบายใจในการถือหุ้นทุกตัว หน้าที่เรา คือ คอยติดตามผลการดำเนินงานทุกไตรมาส'--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Monday, March 03, 2014 06:41
ชาลินี กุลแพทย์
"ประภาคาร ภราดรภิบาล" เซียนหุ้น VI วัย 44 ชายผู้หลงใหลหุ้นที่มีกิจการเป็นเบอร์ของหนึ่งของอุตสาหกรรม รักมากยกให้ "ค้าปลีก-พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อค้าปลีก-โรงพยาบาล"
ทุกวันนี้มีความสุขและสบายใจในการถือหุ้นทุกตัว เป้าหมายใหญ่ไม่มี ขอโตแค่ปีละ15%
"ประภาคาร ภราดรภิบาล" เซียนหุ้น VI ชายผู้หลงใหลหุ้นที่มีกิจการเป็นเบอร์ของหนึ่งของอุตสาหกรรม รักมากยกให้ "ค้าปลีกพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อค้าปลีก-โรงพยาบาล" เป้าหมายใหญ่ไม่มี ขอโตแค่ปีละ 15%
ก่อน "ตุ้ม-ประภาคาร ภราดรภิบาล"เจ้าของสำนักพิมพ์ บริษัท วิง มีเดีย จำกัด จะได้ขึ้นชื่อว่า เป็นนักลงทุนเน้นคุณค่า หรือ Value Investor และเจ้าของพอร์ตลงทุนเกือบแตะ "หลักสิบล้านบาท" เขาเคยยึดอาชีพผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ในบริษัทชั้นนำหลายแห่ง อาทิ บริษัท ทีวีซีน แอนด์ พิคเจอร์ จำกัด ผู้ผลิตละครโทรทัศน์ไทยให้กับสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นต้น "บุรุษวัย 44 ปี" ในฐานะผู้เขียนบทความ Value Way หนังสือพิมพ์ "กรุงเทพธุรกิจ Biz Week" ที่เขาเขียนร่วมกับ "วิบูลย์ พึงประเสริฐ" เซียนหุ้นวีไอ เริ่มต้นสนใจการลงทุนใน ตลาดหุ้น หลังมีโอกาสได้อ่านหนังสือต่างประเทศ เรื่อง "คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก" เขียนโดย David J. Schwartz ซึ่ง "ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร"เป็นผู้แปล รวมถึงหนังสือ "พ่อรวยสอนลูก"หรือ Rich Dad Poor Dad ของ "โรเบิร์ต คิโยซากิ" เป็นต้น เขาตัดสินใจเปิดพอร์ตในปี 2546 กับบริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด ด้วยเงินทุนตั้งต้นก้อนแรก "หลัก หมื่นบาท" ลองผิดลองถูกมาเรื่อยๆ เริ่มจากลงทุนตามเพื่อน ก่อนจะมาหันมาลงทุนใน "หุ้นบูลชิพ" ติดดอยอยู่ 1 ปี กว่าจะได้กำไร จากนั้นไม่นานเขาเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ เน้นสอยหุ้นที่มีอัตราส่วนราคาต่อกำไร หรือ ค่า P/E ไม่เกิน 10 เท่า และให้อัตราเงินปันผลเฉลี่ย 5 เปอร์เซ็นต์ ตามคำแนะนำในหนังสือ "ตีแตก"
"ประภาคาร ภราดรภิบาล" เล่าเรื่องราวการลงทุนต่อว่า หลังได้ "กำไร 2 เด้ง" จาก หุ้น อุตสาหกรรมถังโลหะไทยหรือ TMD "ผมเริ่มศึกษาหาความรู้มากขึ้น ด้วยการอ่านหนังสือการลงทุนของต่างประเทศ ทำให้รู้จักชายชื่อ "วอร์เรน บัฟเฟตต์-ปีเตอร์ ลินซ์- ฟิลลิป ฟิชเชอร์" คนเหล่านี้ถือเป็นนักลงทุนชื่อดังของโลก
ศึกษาไปได้สักพัก ทำให้รู้ว่า สไตล์การลงทุนของ "วอร์เรน" คือ ไม่จำเป็นต้องลงทุนหุ้น ที่มีอัตราส่วนราคาต่อกำไร หรือ ค่า P/E ต่ำเสมอไป เพราะหุ้นบางตัวมีกิจการที่ดี แต่อัตราส่วนราคาต่อกำไรไม่ต่ำ ในตลาดมีเยอะแยะ มาก ขอแค่หุ้นตัวนั้นต้องมีกิจการเป็นเบอร์ต้นๆ ของอุตสาหกรรม
ส่วนตัวชอบแนวการลงทุนของ "วอร์เรน บัฟเฟตต์" มากที่สุด เพราะเขาประยุกต์รูปแบบ มาจาก "เบนจามิน เกรแฮม" ซึ่งเป็นอาจารย์ของ "วอร์เรน" และเป็นต้นตำรับของการลงทุน
แบบ Value Investing ช่วงแรกๆ "วอร์เรน"ใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบ "เบนจามิน" ถือว่าประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง
แต่เมื่อ "วอร์เรน" รู้สึกไม่สุดๆ กับการลงทุน เขาจึงหันมาศึกษาการลงทุนของ "ฟิลลิป ฟิชเชอร์" ทำให้รู้ว่า นอกจากต้องเลือกหุ้น ที่มีอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่ำๆ แล้วยังต้องเลือกหุ้นที่มีความสุดยอด ในการทำธุรกิจด้วย "วอร์เรน" จึงนำ 2 ส่วนมาประยุกต์รวมกัน
"ผมศึกษาการลงทุนมาสักพักจึงค้นพบรูปแบบการลงทุนเป็นของตัวเองว่า หากเราจะเน้นเพียงหุ้นที่มีอัตราส่วนราคาต่อกำไร ต่ำๆ และมีอัตรา เงินปันผลสูงอย่างเดียวคงไม่ได้ แต่ต้องลงทุนในบริษัทที่มีกิจการอันดับหนึ่งของแต่ละอุตสาหกรรมด้วย ที่สำคัญหุ้นตัวนั้นต้องมีการเติบโตต่อเนื่อง ไม่ใช่ดีแค่วันนี้แล้วต้องมานั่งลุ้นการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงในปีหน้า"
เมื่อความคิดสะเด็ดน้ำ ตัดสินใจปรับโมทการลงทุนใหม่ ด้วยการหันมาเลือกลงทุนในหุ้นที่เราอยากเป็นเจ้าของกิจการ "กลุ่มค้าปลีก" จึงเป็นตัวเลือกแรกในการลงทุน "จุดเด่น" ของหุ้นกลุ่มนี้คือ ซื้อขายเป็นเงินสดทำให้มีเงินกองอยู่ในบริษัทจำนวนมาก เขาสามารถนำไปขยายกิจการหรือทำอะไรได้เยอะแยะ
ปี 2549 ตัดสินใจซื้อ หุ้น ซีพี ออลล์ หรือ CPALL ต้นทุนไม่ถึง 7 บาท ตอนนั้นหุ้น ซีพี ออลล์ ยังไม่เป็นที่นิยม เพราะกิจการเทสโก้โลตัสที่เมืองจีนไม่ค่อยดี แต่ช่วงนั้น มีความเชื่อว่า เขาน่าจะตัดกิจการนี้ทิ้งไป ขณะที่ร้านสะดวกซื้อ "เซเว่น อีเลฟเว่น" ในเมืองไทย น่าจะมีแนวโน้มที่ดี เพราะ "ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์"ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ซีพี ออลล์ เขาเก่งและทุนหนา
จากนั้นไม่นานไปซื้อ หุ้น บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ หรือ BIGC ต้นทุน 30 กว่าบาท ราคาหุ้น บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ เคยขึ้นไปสูงสุดระดับ 252 บาท (ณ วันที่ 23 เม.ย.2556) ข้อดีของหุ้นตัวนี้ คือ กิจการของเขาเป็นรองแค่ เทสโก้โลตัส แถมยังลดราคาสินค้าบ่อยๆ ถูกใจคนชอบของถูก เขาเจาะตลาดแตกต่างจากร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อีเลฟเว่น ที่เน้นความสะดวกมากกว่าสินค้าราคาประหยัด
เมื่อหลายปีก่อน "บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์" ได้เทคโอเวอร์ "คาร์ฟูร์ เมืองไทย" ทำให้ราคาหุ้น BIGC พุ่งกระฉูด แถมกิจการยังขยายตัว ดีอย่างต่อเนื่อง ผู้ถือหุ้นรายย่อยอย่างเราแทบ ไม่ต้องไปทำอะไรกับหุ้นตัวนี้เลย ที่ผ่านมาแทบไม่เคยส่องดูว่า บริษัทเติบโตปีละกี่เปอร์เซ็นต์ แต่จะดูงบการเงินว่า ขยายตัวทุกไตรมาส หรือเปล่า การเลือกหุ้นที่ดีเป็นผู้นำของธุรกิจจะมีข้อดีแบบนี้ละ
จากนั้นในปี 2554 ได้ควักเงินซื้อ หุ้น เซ็นทรัลพัฒนา หรือ CPN หุ้นตัวนี้ไม่ได้อยู่ในกลุ่มค้าปลีก แต่อยู่ในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อค้าปลีก ธุรกิจหลัก คือ เปิดศูนย์การค้าให้เช่าโมเดลลักษณะนี้ถือว่า น่าสนใจมาก เพราะถ้าทำเลดีคนจะมาเช่าพื้นที่เยอะบริษัทก็จะเติบโตมากขึ้น
ต้นทุนหุ้น เซ็นทรัลพัฒนา ประมาณ 30 บาท แม้วันนี้ยังไม่ได้กำไรงามๆจากหุ้นตัวนี้ เพราะเข้าไปซื้อช้า แต่ด้วยความที่เขาเป็นผู้นำในธุรกิจศูนย์การค้าคงทำให้บริษัทเติบโตได้เรื่อยๆ จากนั้น ไม่นานมาซื้อ หุ้น ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน หรือ ROBINS ต้นทุนแค่ 10 กว่าบาท วันนี้ปาเข้าไปจะ 50 บาทแล้ว (ยิ้ม)
เขา เล่าต่อว่า หลังเห็นคนเริ่มใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น ทำให้หันมาสนใจลงทุน "หุ้นกลุ่มโรงพยาบาล" ในปี 2555 จัดการซื้อ หุ้น กรุงเทพดุสิตเวชการ หรือ BGH เห็นบริษัทพยายามขยายเครือข่ายในเชิงรุก ด้วยการเทคโอเวอร์โรงพยาบาลขนาดเล็ก ถือเป็นการเติบโตทางลัด
ต้นทุนเฉลี่ย 70-80 บาท ตอนนั้นคิดว่า "ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ" ในฐานะเจ้าของบริษัทคงไม่หยุดขยายกิจการแค่นี้แน่นอน เขามีวิชั่นกว้างไกล จริงๆ เคยมองหุ้นตัวนี้ตั้งแต่ราคา 20-30 บาท แต่ตอนนั้นยังสนใจหุ้น ค้าปลีกมากกว่า แม้จะเข้ามาซื้อแพง แต่ด้วยศักยภาพที่ยังสามารถไปได้ ทำให้วันนี้ราคาหุ้นวิ่งมาอยู่ 120 บาทแล้ว
ตัวสุดท้าย คือ หุ้น เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป หรือ M ต้นทุนเฉลี่ย 40 กว่าบาท "ผมมองว่า การที่บริษัทเกาะการเติบโตไปตามห้างสรรพสินค้าจะทำให้ศักยภาพของบริษัทดีขึ้นเรื่อยๆ ส่วนตัวชอบแบรนด์เอ็มเค และการทำธุรกิจของเขา ที่ผ่านมาบริษัทมักพัฒนาเรื่องการให้บริการนำหน้าคนอื่นมาตลอด แอบประทับใจ เขามานานแล้ว เคยคิดว่า ถ้าบริษัทเข้าตลาดเราต้องเข้ามาเป็นเจ้าของให้ได้
"ทุกวันนี้มีความสุขและสบายใจในการถือหุ้นทุกตัว หน้าที่เรา คือ คอยติดตามผลการดำเนินงานทุกไตรมาส หากราคาหรือธุรกิจอิ่มตัว หรือมีเรื่องอะไรมากระทบคงต้องมาปรับกลยุทธ์ใหม่ทันที"
ถามว่า เคยทำราคาเป้าหมายและการเติบโตล่วงหน้าของหุ้นที่ถืออยู่หรือไม่ "ตุ้ม"ตอบทันทีว่า ไม่เคยทำราคาเป้าหมาย ทุกวันนี้ ไม่ได้มองเรื่องราคาเหมาะสมเป็นหลัก แต่มองเรื่องการเติบโตของกิจการมากกว่า เรื่องราคาหุ้นตลาดจะเป็นคนให้เขาเอง ส่วนเรื่องการทำตารางเปรียบเทียบผลประกอบการไม่เคยทำเช่นเดียวกัน
จริงๆ เคยทำในช่วงแรกๆ ที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น เพราะตอนนั้นภาพการเติบโตของแต่ละ ธุรกิจยังไม่ชัดเจน ครั้งหนึ่งเคยทำราคาเป้าหมายและการเติบโตของหุ้น ซีพี ออลล์ โดยมองว่า บริษัทจะน่าจะมีสาขามากกว่า 5,000 แห่ง
สุดท้ายบริษัทสามารถพิสูจน์ตัวเองได้แล้วว่า ทำได้จริง ปัจจุบันบริษัทมีมากกว่า 7,000 แห่ง ล่าสุดผู้บริหารออกมายืนยันว่า ภายใน ปี 2560 จะมีสาขาประมาณ 10,000 แห่ง ถ้าทำได้จริงกำไรของบริษัทคงงอกเงยขึ้นมาก ขณะที่อำนาจการต่อรองกับซัพพลายเออร์คงสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
"ผมมักหาจังหวะดีๆ ซื้อหุ้นตัวเดิมๆ เพิ่มเติม ตลอด ซื้อมากหรือน้อย ดูตามหน้าตักของตัวเอง ส่วนใหญ่จะใช้เงินหลักหมื่นในการสอยหุ้นแต่ละตัว แต่จะกี่หมื่นบาทแล้วแต่ความเหมาะสม เช่น ราคาหุ้นน่าสนใจมากน้อยแค่ไหน เป็นต้น
ที่ผ่านมาได้ขายหุ้นตัวเดิมๆ ออกบ้างหรือเปล่า "ประภาคาร" ตอบว่า มีบ้างในช่วงแรกๆของการลงทุน ครั้งหนึ่งเคยขายหุ้น ซีพี ออลล์ และหุ้น บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ หลังถือมานาน และต้องการโยกเงินไปลงทุนหุ้นตัวอื่นที่คิดว่าน่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
แต่กลยุทธ์นี้ไม่ได้ใช้แล้วในปัจจุบัน เพราะการมีหุ้นที่ดีแล้วปล่อยทิ้งไว้น่าจะเป็นเรื่องที่ดีกว่าขายออกไป "ผมได้รับเงินปันผลหลายหมื่นบาทต่อเนื่องทุกปี จากการปล่อยให้หุ้นดีๆ อยู่ในพอร์ต ทุกครั้งที่เงินปันผลถูกโอนเข้าบัญชี มักนำไปซื้อหุ้นตัวเดิมๆ แทนเลือกซื้อหุ้นตัวใหม่ๆ อย่างน้อยความคุ้นเคยจะทำให้เราประสบความสำเร็จในการลงทุน"
"วันนี้พอร์ตลงทุนมีมูลค่าไม่สูงแค่ 7 หลัก ผมแอบลุ้นให้ถึง 8 หลัก ไม่มีในใจว่า พอร์ตลงทุน ต้องขึ้นไปยืนระดับสิบล้านบาทปีไหน อยากใช้ชีวิตสบายๆ ปล่อยให้พอร์ตเติบโตเองอัตโนมัติ ขอแค่ขยายตัวปีละ10-15 เปอร์เซ็นต์ เท่านี้สุดแสนจะแฮปปี้ เมื่อก่อนพอร์ตลงทุนเคยขยายตัวมากกว่านี้ แต่นั่นเป็นเพราะมีข่าวเร่งปฏิกิริยา"
หากมีเงิน "ร้อยเปอร์เซ็นต์" มักนำไปลงทุนในตลาดหุ้น 50 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือจะออมเงินในรูปแบบของทองคำ เคยซื้อทองคำช่วงแต่งงาน ต้นทุนแค่ 6,000 บาท นอกจากนั้นยังมีบ้านให้เช่าแถวเกษตรนวมินทร์เดือนละ 6,000-7,000 บาท จริงๆ มีคนถามซื้อประมาณ 1.4-1.5 บาท จากต้นทุนไม่กี่แสนบาท
เขา เล่ากลยุทธ์การลงทุนในปัจจุบันให้ฟังว่า อันดับแรกจะเลือกลงทุนในบริษัทที่มีความรู้ ความเข้าใจเป็นอย่างดี หากเจอบริษัทที่ถูกใจใช่เลย แต่ยังรู้จักไม่ดีพอต้องรีบทำความรู้จักเพิ่มเติมในเชิงลึก ด้วยการอ่านรายงานประจำปี หรือเข้าไปดูแบบฟอร์ม 56-1 ในสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.
อันดับ 2 เข้าไปดูรูปแบบของธุรกิจ สุดท้ายคือ ดูงบการเงิน บริษัทที่ดีควรมี "กำไรสุทธิ"เติบโตปีละ 10 เปอร์เซ็นต์ แต่หลังๆแทบไม่ดูเปอร์เซ็นต์แล้ว ขอแค่เติบโตสม่ำเสมอก็พอ ส่วนอัตราส่วนราคาต่อกำไร หรือ ค่า P/E ขอแค่ไม่เวอร์เกินไป อยากถือหุ้นเบอร์หนึ่งในแต่ละอุตสาหกรรมที่มีอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่ำๆ คงเป็นไปได้ยาก หุ้นสวยๆ ควรมีค่าอัตราส่วนราคาต่อกำไรเฉลี่ย 10-20 เท่า สำหรับผลตอบแทนผู้ถือหุ้น หรือ ROE ควรอยู่ระดับ 15 เปอร์เซ็นต์
ช่วงนี้เล็งหุ้นกลุ่มไหนเพิ่มเติมหรือไม่ เขาตอบว่า ส่องแต่หุ้นตัวเดิมๆ "ผมเป็นคนเคลื่อนไหวน้อยเหมือนนักลงทุนชื่อดังหลายๆคน ยึดคติเลือกหุ้นดีแล้วปล่อยให้เงินทำงาน" ช่วงนี้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเขียนหนังสือ แปล หนังสือ และพิมพ์หนังสือ ภายใต้ชื่อบริษั ท วิง มีเดีย จำกัด บริษัทแห่งนี้เปิดมาตั้งแต่ปี 2551 พิมพ์หนังสือมาแล้ว 12 เล่ม ไม่รวมเล่มที่พิมพ์ซ้ำ
อาทิเช่น เรื่อง "คัมภีร์ VI ลงทุนหุ้นแบบเน้นคุณค่า" โดย "มนตรี นิพิฐวิทยา" และ "วิบูลย์ พึงประเสริฐ" รวมถึงเรื่อง "เคล็ดลับเซียนหุ้นบันลือโลก" เป็นต้น บังเอิญรู้จัก "วิบูลย์" ผ่านเว็บไซต์ THAIVI เห็นเขาเขียนบทความ Value Way ในหนังสือพิมพ์ Biz Week" น่าสนใจหลายเรื่อง เมื่อได้พูดคุยกันทำให้รู้ว่า เรามีหลักการลงทุนคล้ายๆ กัน จึงชักชวนให้มาทำหนังสือด้วยการ
บริษัทพิมพ์หนังสือเล่มแรกขายเมื่อเดือนมี.ค.2552 ชื่อ "ทำอย่างไรให้เงินงอกเงย" ซึ่งผมเป็นคนเขียนเอง โดยใช้นามปากกาว่า "ธนพล ภราดล" ซึ่ง ธน มาจากคำว่า ธนบัตร และพล มาจากคำว่า พลัง ตอนนั้นยังไม่กล้าใช้ชื่อจริง (หัวเราะ) ทำเล่มนี้ขึ้นมา เพราะต้องการให้น้องๆ ที่ทำงานร่วมกันใน บริษัท เนเวอร์แลนด์ จำกัด รู้จักใช้เงิน หลังเห็นเขาใช้เงินค่อนข้างฟุ่มเฟือยเล่มแรกมียอดขายมากถึง 3,000-4,000 เล่ม
เมื่อยอดขายหนังสือเกี่ยวกับการวางแผนทางการเงินประสบความสำเร็จ จึงหันมาพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับการลงทุนในตลาดหุ้น แต่จะให้นำเสนอเรื่องราวของตนเองคงดูไม่น่าสนใจ เมื่อเทียบกับเรื่องของคนเก่งๆอย่าง "ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร" เซียนหุ้นแนวคุณค่าหมายเลข 1 ของเมืองไทย
"ผมไปขออนุญาตอาจารย์ เพื่อนำประวัติของท่านมาเขียน หวังให้เป็นแรงบันดาลใจให้นักลงทุนรุ่นใหม่ๆ" หลังเขียนเสร็จนำไปให้ท่านตรวจดูความถูกต้อง ท่านเอ่ยปากชมว่า เขียนได้ดี สิ้นเสียงคำชื่นชมรู้สึกว่า ประสบความสำเร็จแล้ว ทั้งๆที่ไม่รู้ว่า จะขายดีหรือไม่
สุดท้ายเรื่อง "พลิกชีวิตด้วยการลงทุน เซียนหุ้นพันล้าน" ขายดีพิมพ์ซ้ำมากถึง 4 ครั้ง จากนั้นไปขออนุญาตอาจารย์อีกครั้ง เพื่อพิมพ์เรื่องเกี่ยวกับการลงทุนของท่าน ชื่อเรื่อง "ลงทุนอย่างดร.นิเวศน์" ถือว่า ประสบความสำเร็จเหมือนกัน
เขา ทิ้งท้ายบทสนทนาว่า "ผมไม่ชอบหุ้นปั่น หุ้นประเภทนี้ชอบสร้างข่าวมาหากินเงินนักลงทุน ที่ไม่มีความรู้ และนักลงทุนที่มีความโลภ" ด้วยความที่ไม่อยากเห็นนักลงทุนโดนหลอก ทำให้ต้องลุกขึ้นมาเขียนหนังสือเรื่องการลงทุน อยากให้มือใหม่มีภูมิคุ้มกันในการลงทุนจะได้ไม่โดนคนอื่นหลอก
นักลงทุนวันนี้ไม่แตกต่างจากนักลงทุนเมื่อหลายสิบปีก่อน ส่วนใหญ่เข้ามาด้วย "ความโลภ" เรียกว่า เข้ามาจ่ายค่าเทอมก่อนแล้วค่อยเข้ามา ศึกษา เมื่อจบการศึกษาและประสบความสำเร็จในการลงทุนจึงค่อยโดดเข้าไปเล่นในเกมที่ตนเองมีความถนัด
"จงหาความสุข และความปลอดภัย ในการลงทุนให้เจอ เราจะได้ไม่บาดเจ็บหรือเสียเปรียบคนอื่น ช่วงแรกๆ ผมเคยศึกษาแนวเทคนิค แต่เมื่อไม่ค่อยเข้าใจ รู้สึกว่า เป็นภาษาที่เราตีไม่แตก ทำให้ตัดสินใจถอยออกมา"
'ทุกวันนี้มีความสุข และสบายใจในการถือหุ้นทุกตัว หน้าที่เรา คือ คอยติดตามผลการดำเนินงานทุกไตรมาส'--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ