***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1840
- ผู้ติดตาม: 8
***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 1
เนื่องจากในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน ของทุกปี เป็นฤดูกาล “ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญ” ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทางสมาคมฯขอเชิญชวนให้สมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวเพื่อสิทธิ์ของสมาชิกเอง แต่เนื่องจากมีสมาชิกสมาคมฯหลายท่านไม่สามารถเข้าร่วมประชุมดังกล่าวได้ ด้วยสาเหตุต่างๆ (เช่น ไม่สะดวกในวันนั้น อยู่ต่างจังหวัด อยู่ต่างประเทศ ฯ) ดังนั้นสมาคมขอเชิญชวนสมาชิกที่มี “จิตอาสา” แชร์ข้อมูลที่ได้จากการประชุมในห้องร้อยคนร้อยหุ้นของแต่ละตัว โดยมีข้อเสนอแนะการแชร์ข้อมูลดังนี้
1.ข้อมูลที่แชร์ ควรเป็นข้อมูลเชิงพื้นฐานกิจการ
2.เป็นข้อมูลที่รอบด้าน ทั้งดีและลบ หากมี
3.ขอให้สมาชิกโพสต์โดยเจตนาสุจริต และคนอ่านใช้หลักกาลามสูตรในการรับฟัง
กิจกรรมดังกล่าว เพื่อสร้างสรรค์เวปสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่าให้เป็นสังคมแห่งการแบ่งปัน เป็นประโยชน์แก่สมาชิกของสมาคมฯโดยรวม และยังเป็นประโยชน์แก่สมาชิกที่นำข้อมูลมาแชร์เองด้วย
สมาชิกที่นำข้อมูลมาแชร์อย่างโดดเด่น 3 คนแรกจะได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่สมาคมฯ เพื่อมอบสิทธิ์พิเศษร่วมกิจกรรมต่างๆของสมาคมในปีนั้นๆ (เลือกได้อย่างใดอย่างนึง >> เยี่ยมกิจการ Company visit, Moneytalk@Set, สังสรรค์รายไตรมาสฟรี และสิทธิเข้าหลักสูตรอบรมนักลงทุนเน้นคุณค่าในราคาพิเศษ 10,000 บ.โดยไม่ต้องจอง)
ตัดสินโดยกรรมการของสมาคมฯ และผลการตัดสินของคณะกรรมการ ถือเป็นที่สิ้นสุด
อนึ่งท่านที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสมาคมฯ สามารถนำข้อมูลมาแชร์ได้เช่นกัน โดยสามารถโพสต์ได้ในกระทู้นี้
1.ข้อมูลที่แชร์ ควรเป็นข้อมูลเชิงพื้นฐานกิจการ
2.เป็นข้อมูลที่รอบด้าน ทั้งดีและลบ หากมี
3.ขอให้สมาชิกโพสต์โดยเจตนาสุจริต และคนอ่านใช้หลักกาลามสูตรในการรับฟัง
กิจกรรมดังกล่าว เพื่อสร้างสรรค์เวปสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่าให้เป็นสังคมแห่งการแบ่งปัน เป็นประโยชน์แก่สมาชิกของสมาคมฯโดยรวม และยังเป็นประโยชน์แก่สมาชิกที่นำข้อมูลมาแชร์เองด้วย
สมาชิกที่นำข้อมูลมาแชร์อย่างโดดเด่น 3 คนแรกจะได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่สมาคมฯ เพื่อมอบสิทธิ์พิเศษร่วมกิจกรรมต่างๆของสมาคมในปีนั้นๆ (เลือกได้อย่างใดอย่างนึง >> เยี่ยมกิจการ Company visit, Moneytalk@Set, สังสรรค์รายไตรมาสฟรี และสิทธิเข้าหลักสูตรอบรมนักลงทุนเน้นคุณค่าในราคาพิเศษ 10,000 บ.โดยไม่ต้องจอง)
ตัดสินโดยกรรมการของสมาคมฯ และผลการตัดสินของคณะกรรมการ ถือเป็นที่สิ้นสุด
อนึ่งท่านที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสมาคมฯ สามารถนำข้อมูลมาแชร์ได้เช่นกัน โดยสามารถโพสต์ได้ในกระทู้นี้
ขอแสดงความนับถือ
สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย)
สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย)
-
- Verified User
- โพสต์: 86
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 6
เป็นโครงการที่ดีมากๆค่ะ ในฐานะที่เป็นสมาชิกที่อยู่ต่างจังหวัด ซึ่งไม่เคยมีโอกาสได้เข้าร่วมประชุมเลย ต้องขอขอบคุณทาง ThaiVI ที่คิดกิจกรรมนี้ขึ้นและขอบคุณอาสาสมัครทุกท่านมาล่วงหน้าด้วยค่ะ
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
-
- Verified User
- โพสต์: 1217
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 7
เป็นโครงการที่มีประโยชน์มากๆครับ แต่ถ้าแชร์เป็นภาพได้จะดีมากๆครับ ถ้าไม่ได้ได้แต่เสียงก็ยังดีครับ แต่ไม่ทราบว่าแต่ละบริษัทอนุญาติหรือเปล่า แต่ผมเคยเห็นผู้ถือหุ้นท่านอื่นนำวีดีโอไปถ่ายแบบเปิดเผยเลยนะครับ ถ้าได้แบบนั้นละก็จะขอบพระคุณอย่างสูง และยินดีร่วมแชร์ค่าใช้จ่ายให้สำหรับผู้มีจิตอาสานะครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 8
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- oatty
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2444
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 9
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1317
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 15
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2576
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 16
ขออนุญาติสรุปประชุมประจำปีของบริษัท ไอทีซิตี้
วันที่ 1 เมษายน 2557
รายได้ของบริษัทมาจากการขายสินค้าคิดเป็น 99% ส่วนอีก 1% มาจากการให้บริการ
รายได้ลดลงจากปี 55 = 5,864 MB เป็น 5,341 MB ในปี 56
ขาดทุนสุทธิ ในปี 56 = 8.8 MB สาเหตุเนื่องมาจาก
1. ค่าใช้จ่ายในการขาย เพิ่มขึ้น จาก ปี 55 = 408MB เป็น 424 MB ในปี 56 ซึ่งค่าใช้จ่ายในการขายจะรวมค่าเช่าอยู่ในส่วนนี้
2. ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทย่อย SPVI ลดลงจาก ปี 55 = 17.9 MB เหลือ 6.38 MB ในปี 56
3. เงินสนับสนุนจากบริษัท คู่ค้าลดลง
กลยุทธของไอทีซิ้ตี้ในปีนี้
1. Right sizing เนื่องจากการบริหารสินค้าคงคลังได้ดี ดังนั้นจึงมีพื้นที่เหลือ ดังนั้นจึงมีการลดขนาดพื้นที่เช่า IT plaza ลงได้ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายลง
สำหรับร้านค้าที่มีขนาดเล็กลง ต้องพิจารณาสินค้าไหนที่มี margin มาก ขนาดเล็กมาใส่ในร้านเพื่อให้ได้กำไรได้มาก
2. Right location เนื่องจากต้องการเน้นไปขาย Smartphone / Tablet เพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงไปขยายสาขานอก IT plaza เช่น Hyper mart เพื่อจะไปขายให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย แต่ค่าเช่าจะสูงกว่าค่าเช่าใน IT plaza ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการขายปี 56 สูงขึ้น 5%
3. Right product
เพิ่มสินค้าที่ขายดีเช่น Smartphone / Tablet มาขายในร้าน
สัดส่วน ของสินค้า Product mix ในปี 56 คอมพิวเตอร์ 85% Smartphone / Tablet 15% ( ปี 55 สัดส่วน 93:7 )
ตั้งเป้าจะเปลี่ยน สัดส่วน เป็น 75:25 ในปี 57
กลยูทธ์ ของปี 2557 เพื่อให้มีกำไรได้
ถ้าค่าใช้จ่ายในการบริหารและการขาย คงที่ 11.27% เท่ากับ หรือ น้อยกว่าปี 56
ดังนั้น บริษัทต้องทำรายได้ ให้เพิ่มขึ้น 10%
ถ้ารายได้ลดลง 10% หรือรายได้เท่าเดิม มีโอกาสขาดทุน
Update รายได้ปัจจุบัน รายได้ใน มค และ กพ น้อยมาก สำหรับรายได้ใน commart ยอดขายดีกว่า งาน commart เดือน พย แต่ยังน้อยกว่า งาน commart มีค 56
ปีนี้งดจ่ายปันผล และจะนำกำไรสะสม 280 MB ไว้เป็นทุนเพื่อบริหาร และ ขยายสาขา
วันที่ 1 เมษายน 2557
รายได้ของบริษัทมาจากการขายสินค้าคิดเป็น 99% ส่วนอีก 1% มาจากการให้บริการ
รายได้ลดลงจากปี 55 = 5,864 MB เป็น 5,341 MB ในปี 56
ขาดทุนสุทธิ ในปี 56 = 8.8 MB สาเหตุเนื่องมาจาก
1. ค่าใช้จ่ายในการขาย เพิ่มขึ้น จาก ปี 55 = 408MB เป็น 424 MB ในปี 56 ซึ่งค่าใช้จ่ายในการขายจะรวมค่าเช่าอยู่ในส่วนนี้
2. ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทย่อย SPVI ลดลงจาก ปี 55 = 17.9 MB เหลือ 6.38 MB ในปี 56
3. เงินสนับสนุนจากบริษัท คู่ค้าลดลง
กลยุทธของไอทีซิ้ตี้ในปีนี้
1. Right sizing เนื่องจากการบริหารสินค้าคงคลังได้ดี ดังนั้นจึงมีพื้นที่เหลือ ดังนั้นจึงมีการลดขนาดพื้นที่เช่า IT plaza ลงได้ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายลง
สำหรับร้านค้าที่มีขนาดเล็กลง ต้องพิจารณาสินค้าไหนที่มี margin มาก ขนาดเล็กมาใส่ในร้านเพื่อให้ได้กำไรได้มาก
2. Right location เนื่องจากต้องการเน้นไปขาย Smartphone / Tablet เพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงไปขยายสาขานอก IT plaza เช่น Hyper mart เพื่อจะไปขายให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย แต่ค่าเช่าจะสูงกว่าค่าเช่าใน IT plaza ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการขายปี 56 สูงขึ้น 5%
3. Right product
เพิ่มสินค้าที่ขายดีเช่น Smartphone / Tablet มาขายในร้าน
สัดส่วน ของสินค้า Product mix ในปี 56 คอมพิวเตอร์ 85% Smartphone / Tablet 15% ( ปี 55 สัดส่วน 93:7 )
ตั้งเป้าจะเปลี่ยน สัดส่วน เป็น 75:25 ในปี 57
กลยูทธ์ ของปี 2557 เพื่อให้มีกำไรได้
ถ้าค่าใช้จ่ายในการบริหารและการขาย คงที่ 11.27% เท่ากับ หรือ น้อยกว่าปี 56
ดังนั้น บริษัทต้องทำรายได้ ให้เพิ่มขึ้น 10%
ถ้ารายได้ลดลง 10% หรือรายได้เท่าเดิม มีโอกาสขาดทุน
Update รายได้ปัจจุบัน รายได้ใน มค และ กพ น้อยมาก สำหรับรายได้ใน commart ยอดขายดีกว่า งาน commart เดือน พย แต่ยังน้อยกว่า งาน commart มีค 56
ปีนี้งดจ่ายปันผล และจะนำกำไรสะสม 280 MB ไว้เป็นทุนเพื่อบริหาร และ ขยายสาขา
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2576
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 17
สรุปประชุมประจำปีของบริษัท Minor International วันที่ 2 เมษายน 2557
รายได้ของบริษัทมาจากส่วน
1. ธุรกิจโรงแรม และ อื่นๆ คิดเป็น 49%
2. ธุรกิจร้านอาหาร คิดเป็น 41%
3. ธุรกิจจัดจำหน่าย และ รับจ้างผลิต คิดเป็น 10%
รายได้เพิ่มขึ้นจากปี 55 36,936 MB เป็น 32,993 MB ในปี 56
EBITDA ของบริษัทมาจากส่วน
1. ธุรกิจโรงแรม และ อื่นๆ คิดเป็น 63%
2. ธุรกิจร้านอาหาร คิดเป็น 33%
3. ธุรกิจจัดจำหน่าย และ รับจ้างผลิต คิดเป็น 4%
กำไรสุทธิ ในปี 56 4,101 MB เติบโตจาก 3,243 MB ในปี 55 กำไรหลักมาจาก
รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ 3,319 MB โดยต้นทุน 1,173 MB อ้างอิงจากรายงานประจำปี หน้า 71
(คุณศิริวัฒน์ เป็นผู้สอบถาม)
ซึ่งคุณไตรทิพย์แจ้งว่าปี 57 ยังมีโครงการ park land ซึ่งเป็น projectต่อเนื่องที่จะให้กำไรเหมือนปี 56
กลยุทธของMintในปีนี้
1. ธุรกิจร้านอาหาร
นำเข้า brand The coffee club จากออสเตรเลียมาเปิดในเมืองไทย
นำร้าน ไทยเอ็กซ์เพรสจากมาเลย์เซียมาเปิดที่โทเทิล วิลเลท จ.ภูเก็ต
เปิดร้านสเวนเซ่นที่มัลดีฟส์
เปิดร้านลีฟแอนด์ลอนด์
พยายามนำแบรนด์ร้านอาหารไปเปิดในต่างประเทศ
2. ธุรกิจโรงแรม และ อื่นๆ
ขยายธุรกิจโรงแรมทั้งร่วมกับ partner และ รับจ้างบริหาร เช่น ลงทุนเปิดโรงแรม 3-4 แห่งที่อาฟริกา
Update สถานการณ์ปัจจุบัน
ในช่วงเดือน มค และ กพ occupied rate ของ รร ใน กรุงเทพ เช่น St regis , Four seasons อยู่ในช่วง 25-35%
เดือน มีค occupied rate สูงขึ้น
ส่วน รร ในต่างจังหวัด หรือ ต่างประเทศไม่ถูกกระทบ ถึงแม้นักท่องเที่ยวลดลง18%
ชาวจีนซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 40%ของนักท่องเที่ยวทั้งหมดที่มาไทย ประกอบกับ มาเลย์มีปัญหาจากเที่ยวบิน MH370
นักท่องเที่ยวชาวจีน จะหนีไปเที่ยวรร ในต่างจังหวัด เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต สมุย หรือ ไปเที่ยวในต่างประเทศ เช่น ที่มัลดีฟส์ บาหลี ออสเตรเลีย ยังมีผลประกอบการที่ดี ซึ่งมีโชว์ผลประกอบการQ1 ในช่วงปลายเดือน เมย
รายได้ของบริษัทมาจากส่วน
1. ธุรกิจโรงแรม และ อื่นๆ คิดเป็น 49%
2. ธุรกิจร้านอาหาร คิดเป็น 41%
3. ธุรกิจจัดจำหน่าย และ รับจ้างผลิต คิดเป็น 10%
รายได้เพิ่มขึ้นจากปี 55 36,936 MB เป็น 32,993 MB ในปี 56
EBITDA ของบริษัทมาจากส่วน
1. ธุรกิจโรงแรม และ อื่นๆ คิดเป็น 63%
2. ธุรกิจร้านอาหาร คิดเป็น 33%
3. ธุรกิจจัดจำหน่าย และ รับจ้างผลิต คิดเป็น 4%
กำไรสุทธิ ในปี 56 4,101 MB เติบโตจาก 3,243 MB ในปี 55 กำไรหลักมาจาก
รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ 3,319 MB โดยต้นทุน 1,173 MB อ้างอิงจากรายงานประจำปี หน้า 71
(คุณศิริวัฒน์ เป็นผู้สอบถาม)
ซึ่งคุณไตรทิพย์แจ้งว่าปี 57 ยังมีโครงการ park land ซึ่งเป็น projectต่อเนื่องที่จะให้กำไรเหมือนปี 56
กลยุทธของMintในปีนี้
1. ธุรกิจร้านอาหาร
นำเข้า brand The coffee club จากออสเตรเลียมาเปิดในเมืองไทย
นำร้าน ไทยเอ็กซ์เพรสจากมาเลย์เซียมาเปิดที่โทเทิล วิลเลท จ.ภูเก็ต
เปิดร้านสเวนเซ่นที่มัลดีฟส์
เปิดร้านลีฟแอนด์ลอนด์
พยายามนำแบรนด์ร้านอาหารไปเปิดในต่างประเทศ
2. ธุรกิจโรงแรม และ อื่นๆ
ขยายธุรกิจโรงแรมทั้งร่วมกับ partner และ รับจ้างบริหาร เช่น ลงทุนเปิดโรงแรม 3-4 แห่งที่อาฟริกา
Update สถานการณ์ปัจจุบัน
ในช่วงเดือน มค และ กพ occupied rate ของ รร ใน กรุงเทพ เช่น St regis , Four seasons อยู่ในช่วง 25-35%
เดือน มีค occupied rate สูงขึ้น
ส่วน รร ในต่างจังหวัด หรือ ต่างประเทศไม่ถูกกระทบ ถึงแม้นักท่องเที่ยวลดลง18%
ชาวจีนซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 40%ของนักท่องเที่ยวทั้งหมดที่มาไทย ประกอบกับ มาเลย์มีปัญหาจากเที่ยวบิน MH370
นักท่องเที่ยวชาวจีน จะหนีไปเที่ยวรร ในต่างจังหวัด เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต สมุย หรือ ไปเที่ยวในต่างประเทศ เช่น ที่มัลดีฟส์ บาหลี ออสเตรเลีย ยังมีผลประกอบการที่ดี ซึ่งมีโชว์ผลประกอบการQ1 ในช่วงปลายเดือน เมย
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 64
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 18
ข้อมูลที่ได้รับจากการประชุมผู้ถือหุ้นนะครับ
NPL
-รถคันแรก NPL นี่น้อยมากครับ .2% (อันนี้ถ้าผมฟังไม่ผิด)
-NPL ที่เพิ่มขึ้นของ สหฟาร์ม และ โรงไฟฟ้า มูลหนี้ที่เกิดขึ้นในปี 2556 ที่ผ่านมาประมาณ 3,000 กว่าล้านบาท ทางคุณสมเจตน์บอกว่า บริษัททั้งสองแห่งนั้น มีโอกาสกลับไปประกอบกิจการได้อีกครั้ง โดยกรณีสหฟาร์ทนั้นตั้งสำรองครบถ้วนแล้ว ก็คงเข้าฟื้นฟูกิจการ เพราะทางธนาคารธนชาตเองก็ได้มีการปรึกษาหารือกับทางเจ้าหนี้รายอื่นๆ ส่วนในกรณีของโรงไฟฟ้านั้นมีความซับซ้อน แต่เชื่อว่าสามารถดำเนินการจัดการได้
- ณ ปัจจุบัน NPL ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี อันนี้ท่านประธาน คุณบันเทิงเป็นคนกล่าว พร้อมทั้งผมมีโอกาสได้พูดคุยกับคุณ ศุภเดช ตอนแวะเข้าห้องน้ำ คุณศุภเดชบอกว่า NPL ยังไม่มีสัญญาณ น่าเป็นห่วง ( อันนี้รองบออกนะครับเป็นการ confirm )
สำรอง
ณ ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าทาง TCAP นั้นมี coverage ratio ที่ต่ำกว่าแบงอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด แต่ทางผู้บริหารก็ยังคงยืนยันว่าสำรองนั้นมีความเพียงพอ ก่อนอื่นต้องขอให้ทุกคนทำความเข้าใจก่อนว่า
1.พอร์ทสินเชื่อและมูลค่าหลักค้ำประกันของแต่ละแบง ไม่เหมือนกันและไม่เท่ากัน
2.สำรองที่ ณ ปัจจุบัน ขอให้แยกเป็นสองส่วน
2.1 พอร์ทที่เป็นสินเชื่อเช่าซื้อ สำรองต่อสินเชื่อโดยรวมของอุตสาหกรรมม อยู่ที่ 2% แต่ ของธนาคารอยู่ที่ 2.2-2.4%(ตัวเลขผมไม่ตรงซะทีเดียว แต่พอสรุปได้ว่ามากกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม)
2.2.พอร์ทสินเชื่อที่ไม่ใช่เช่าซื้อก็พวก Corporate , SME และอื่นๆ สำรองต่อสินเชื่ออยู่ที่ 4%กว่าๆ ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดตรงนี้ก็มากกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม
ดังนั้นสรุปเรื่องสำรอง ผู้บริหารยังคงยืนยันว่าสำรองนั้นพอเพียงครับ
เงินกองทุน
อันนี้ผมถามมาเองว่า ทำไม เงินกองทุนของ TBANK (ไม่ใช่ TCAP นะครับ ) ถึงได้ลดลงจาก ณ 31/12/56 ที่ 14.77% มาเหลือที่ 14.05% ใน ธ.พ.11 ของเดือนกุมภา ทั้งที่ทาง TBANK นั้น apply เกณฑ์ BASEL III ไปตั้งแต่ปีที่แล้ว และสินเชื่อไม่ได้ขยายตัวอย่างก้าวกระโดด ทางคุณสมเจตน์ชี้แจ้งว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของ หุ้นกู้ที่เป็นHybrid Security ที่ทางตัว TCAP ถือ ใน TBANK นั้นมีเงื่อนไขไม่เข้าเกณฑ์ของ BASEL III ทั้งหมดส่งผลให้เงินกองทุนลดลง แต่อย่างไรก็ดีทางคุณสมเจตน์ก็ได้แจ้งว่า ดำเนินการเพิ่มเงื่อนไขให้ครบถ้วน (คิดว่าน่าจะไถ่ถอนตัวเก่าออก และให้ TCAP ถือตัวใหม่ที่เงื่อนไขครบตามเกณฑ์ BASEL III ครับ)
- ปัจจุบันบริษัทยังถือหุ้นในสยามซัมซุงประกันชีวิตอยู่นะครับ แต่ถือไม่ถึง 10% แล้วเพราะทางธนาคารไม่ซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่ทาง บริษัทสยามซัมซุง ประกาศเพิ่มทุนเนื่องจาก บริษัทดำเนินการไม่มีกำไร ทาง ธนาคารเลยไม่ซื้อหุ้นเพิ่มทุน อันนี้ทางคุณสมเจตน์กล่าวไว้
- Commission ที่ได้จากการเป็นนายหน้าขายประกันให้พรูเด็นเชียล ตกเดือนละ 100 ล้านบาทครับ
-บริษัทนั้นมีการทำ Road Show ด้วยนะครับ ไม่ได้เก็บตัวเงียบ
-บริษัทยังคงดำเนินการ ควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องนะครับ
การซื้อหุ้นคืนที่ราคาสูงกว่าราคาตลาดปัจจุบัน
ท่านประธานคุณบันเทิงได้แจ้งไว้ว่า ธนชาตมีเงินเหลือ เราหาผลตอบแทนจากเงินก้อนนี้ได้แค่ 2-3% แต่ซื้อหุ้นคืนสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นมากกว่า เพราะราคาซื้อตอนนั้น P/E ยังไม่ถึง 10 เท่า (10%) แต่ทางท่านประธานกล่าว เราซื้อหุ้นมาแพงจะว่าอย่างนั้นก็ได้ และไม่คิดว่าราคาจะตกลงมาต่ำขนาดนี้
การซื้อประกันชีวิตนครหลวงไทย
คุณศุภเดชแจ้งว่า เราขายธนชาตประกันชีวิตให้ไปนั้น ทำให้เราไม่สามารถขายสินค้าของประกันชีวิตนครหลวงได้เลย บริษัทนี้ถูก Freeze มา 3 ปีแล้ว เห็นอย่างนี้ ประกันชีวิตนครหลวงมีพนักงานนะครับ และก็นั่งว่างอยู่ด้วย อย่างไรก็ดีตั้งแต่ซื้อมาก็เข้าไปตรวจสอบและติดตามอย่างละเอียดมาโดยตลอด และที่เห็นขาดทุนนั้นเกิดจาก Yield Curve และ ความไม่เหมาะสมของ Asset และทางธนชาตก็ได้เข้าไปปรับปรุง ตอนนี้ต่อธนาคารซมา 900 ล้านบาท แต่มีคนเคยของเสนอซื้อที่ 850 ล้านบาท แต่ธนาคารมองว่าต่ำไปและทาง scotia ก็อยากให้ขาย สถานการณ์ต่อจากนี้คือก็คงปรับรากฐานก่อนและก็ค่อยทำตลาดแบบค่อยเป็น ค่อยไป อาจจะทำประกันพวก สะสมทรัพย์ และ อีกอันหนึ่งไม่แน่ใจ และคงไม่เข้าไปทำประกันสุขภาพ รู้แต่ว่าจะดำเนินงานอย่างค่อยๆเป็น ค่อยๆไป ดำเนินงานผ่านช่องทางของ Telesale
นอกเหนือจากนี้ยังมีการพูดถึงว่าทำไม ตลาดถึงให้ Valuation ที่ต่ำกว่าแบงอื่นๆ
-ดร.นิเวศน์ ท่านสนใจมาฟังเรื่องของ NPL
ผมอาจจะมีขาดตกบกพร่องตรงไหนไป อาจจะรบกวนผู้ที่เข้าฟังด้วยช่วยเสริม และแก้ไขให้ด้วยครับ
NPL
-รถคันแรก NPL นี่น้อยมากครับ .2% (อันนี้ถ้าผมฟังไม่ผิด)
-NPL ที่เพิ่มขึ้นของ สหฟาร์ม และ โรงไฟฟ้า มูลหนี้ที่เกิดขึ้นในปี 2556 ที่ผ่านมาประมาณ 3,000 กว่าล้านบาท ทางคุณสมเจตน์บอกว่า บริษัททั้งสองแห่งนั้น มีโอกาสกลับไปประกอบกิจการได้อีกครั้ง โดยกรณีสหฟาร์ทนั้นตั้งสำรองครบถ้วนแล้ว ก็คงเข้าฟื้นฟูกิจการ เพราะทางธนาคารธนชาตเองก็ได้มีการปรึกษาหารือกับทางเจ้าหนี้รายอื่นๆ ส่วนในกรณีของโรงไฟฟ้านั้นมีความซับซ้อน แต่เชื่อว่าสามารถดำเนินการจัดการได้
- ณ ปัจจุบัน NPL ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี อันนี้ท่านประธาน คุณบันเทิงเป็นคนกล่าว พร้อมทั้งผมมีโอกาสได้พูดคุยกับคุณ ศุภเดช ตอนแวะเข้าห้องน้ำ คุณศุภเดชบอกว่า NPL ยังไม่มีสัญญาณ น่าเป็นห่วง ( อันนี้รองบออกนะครับเป็นการ confirm )
สำรอง
ณ ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าทาง TCAP นั้นมี coverage ratio ที่ต่ำกว่าแบงอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด แต่ทางผู้บริหารก็ยังคงยืนยันว่าสำรองนั้นมีความเพียงพอ ก่อนอื่นต้องขอให้ทุกคนทำความเข้าใจก่อนว่า
1.พอร์ทสินเชื่อและมูลค่าหลักค้ำประกันของแต่ละแบง ไม่เหมือนกันและไม่เท่ากัน
2.สำรองที่ ณ ปัจจุบัน ขอให้แยกเป็นสองส่วน
2.1 พอร์ทที่เป็นสินเชื่อเช่าซื้อ สำรองต่อสินเชื่อโดยรวมของอุตสาหกรรมม อยู่ที่ 2% แต่ ของธนาคารอยู่ที่ 2.2-2.4%(ตัวเลขผมไม่ตรงซะทีเดียว แต่พอสรุปได้ว่ามากกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม)
2.2.พอร์ทสินเชื่อที่ไม่ใช่เช่าซื้อก็พวก Corporate , SME และอื่นๆ สำรองต่อสินเชื่ออยู่ที่ 4%กว่าๆ ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดตรงนี้ก็มากกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม
ดังนั้นสรุปเรื่องสำรอง ผู้บริหารยังคงยืนยันว่าสำรองนั้นพอเพียงครับ
เงินกองทุน
อันนี้ผมถามมาเองว่า ทำไม เงินกองทุนของ TBANK (ไม่ใช่ TCAP นะครับ ) ถึงได้ลดลงจาก ณ 31/12/56 ที่ 14.77% มาเหลือที่ 14.05% ใน ธ.พ.11 ของเดือนกุมภา ทั้งที่ทาง TBANK นั้น apply เกณฑ์ BASEL III ไปตั้งแต่ปีที่แล้ว และสินเชื่อไม่ได้ขยายตัวอย่างก้าวกระโดด ทางคุณสมเจตน์ชี้แจ้งว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของ หุ้นกู้ที่เป็นHybrid Security ที่ทางตัว TCAP ถือ ใน TBANK นั้นมีเงื่อนไขไม่เข้าเกณฑ์ของ BASEL III ทั้งหมดส่งผลให้เงินกองทุนลดลง แต่อย่างไรก็ดีทางคุณสมเจตน์ก็ได้แจ้งว่า ดำเนินการเพิ่มเงื่อนไขให้ครบถ้วน (คิดว่าน่าจะไถ่ถอนตัวเก่าออก และให้ TCAP ถือตัวใหม่ที่เงื่อนไขครบตามเกณฑ์ BASEL III ครับ)
- ปัจจุบันบริษัทยังถือหุ้นในสยามซัมซุงประกันชีวิตอยู่นะครับ แต่ถือไม่ถึง 10% แล้วเพราะทางธนาคารไม่ซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่ทาง บริษัทสยามซัมซุง ประกาศเพิ่มทุนเนื่องจาก บริษัทดำเนินการไม่มีกำไร ทาง ธนาคารเลยไม่ซื้อหุ้นเพิ่มทุน อันนี้ทางคุณสมเจตน์กล่าวไว้
- Commission ที่ได้จากการเป็นนายหน้าขายประกันให้พรูเด็นเชียล ตกเดือนละ 100 ล้านบาทครับ
-บริษัทนั้นมีการทำ Road Show ด้วยนะครับ ไม่ได้เก็บตัวเงียบ
-บริษัทยังคงดำเนินการ ควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องนะครับ
การซื้อหุ้นคืนที่ราคาสูงกว่าราคาตลาดปัจจุบัน
ท่านประธานคุณบันเทิงได้แจ้งไว้ว่า ธนชาตมีเงินเหลือ เราหาผลตอบแทนจากเงินก้อนนี้ได้แค่ 2-3% แต่ซื้อหุ้นคืนสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นมากกว่า เพราะราคาซื้อตอนนั้น P/E ยังไม่ถึง 10 เท่า (10%) แต่ทางท่านประธานกล่าว เราซื้อหุ้นมาแพงจะว่าอย่างนั้นก็ได้ และไม่คิดว่าราคาจะตกลงมาต่ำขนาดนี้
การซื้อประกันชีวิตนครหลวงไทย
คุณศุภเดชแจ้งว่า เราขายธนชาตประกันชีวิตให้ไปนั้น ทำให้เราไม่สามารถขายสินค้าของประกันชีวิตนครหลวงได้เลย บริษัทนี้ถูก Freeze มา 3 ปีแล้ว เห็นอย่างนี้ ประกันชีวิตนครหลวงมีพนักงานนะครับ และก็นั่งว่างอยู่ด้วย อย่างไรก็ดีตั้งแต่ซื้อมาก็เข้าไปตรวจสอบและติดตามอย่างละเอียดมาโดยตลอด และที่เห็นขาดทุนนั้นเกิดจาก Yield Curve และ ความไม่เหมาะสมของ Asset และทางธนชาตก็ได้เข้าไปปรับปรุง ตอนนี้ต่อธนาคารซมา 900 ล้านบาท แต่มีคนเคยของเสนอซื้อที่ 850 ล้านบาท แต่ธนาคารมองว่าต่ำไปและทาง scotia ก็อยากให้ขาย สถานการณ์ต่อจากนี้คือก็คงปรับรากฐานก่อนและก็ค่อยทำตลาดแบบค่อยเป็น ค่อยไป อาจจะทำประกันพวก สะสมทรัพย์ และ อีกอันหนึ่งไม่แน่ใจ และคงไม่เข้าไปทำประกันสุขภาพ รู้แต่ว่าจะดำเนินงานอย่างค่อยๆเป็น ค่อยๆไป ดำเนินงานผ่านช่องทางของ Telesale
นอกเหนือจากนี้ยังมีการพูดถึงว่าทำไม ตลาดถึงให้ Valuation ที่ต่ำกว่าแบงอื่นๆ
-ดร.นิเวศน์ ท่านสนใจมาฟังเรื่องของ NPL
ผมอาจจะมีขาดตกบกพร่องตรงไหนไป อาจจะรบกวนผู้ที่เข้าฟังด้วยช่วยเสริม และแก้ไขให้ด้วยครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2576
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 19
สรุปการประชุมประจำปีของบริษัท TUF วันที่ 3 เมษายน 2557
รายได้ของบริษัทมาจากส่วน
1. ธุรกิจปลาทูน่า คิดเป็น 47%
2. ธุรกิจกุ้งและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกุ้ง คิดเป็น 25% กำไรสุทธิคิดเป็น19% ของรายได้รวม
3. ธุรกิจปลาซาร์ดีนและปลาแมคเคอเรล คิดเป็น 6%
4. ธุรกิจปลาแซลมอน คิดเป็น 4%
5. ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง คิดเป็น 7%
6. ธุรกิจผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าและผลิตภัณฑ์อี่น คิดเป็น 11%
สัดส่วนของการจำหน่ายในปี 56
สหรัฐ 41% ยุโรป 30% ญี่ปุ่น 7% ขายในประเทศ 7% และ อื่นๆ 15%
รายได้เพิ่มขึ้นจากปี 55 = 107,679 MB เป็น 114,277 MB ในปี 56 เพิ่มขึ้น 4.4% มาจากการปรับราคาสินค้า
ธุรกิจแบรนด์ แต่ปริมาณของการขายลดลง 2.6%
ปี 56 บริษัทต้องเผชิญกับปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ค่าเงินบาทที่แข็งค่าและผันผวนอย่างมากในครึ่งปีแรก
2. ปัญหาของตะวันออกกลางกระทบกับการค้าขาย
3. วัตถุดิบกุ้ง ลดลงกว่า 50% จาก 500,000 ตันในปี 55 เป็น 250,000 ตันในปี 56 เนื่องจากโรค EMS ทำให้วัตถุดิบขาดแคลน และ ราคาสูงขึ้น 60%
4. ราคาวัตถุดิบปลาทูน่า ผันผวนอย่างมาก ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องทุกวันในครึ่งปีแรก ทำให้ราคาขายตามไม่ทันกับต้นทุนปรับขึ้นทุกวัน และ ลดลงในครึ่งปีหลัง
ปกติปลาทูน่าเป็นตัวเอกในการสร้างรายได้และกำไรในช่วง5ปีที่ผ่านมา โดยราคาวัตถุดิบค่อยๆขึ้นจาก 1000 USD ไปสูงสุด ที่ 2,450 USDทำให้ราคาวัตถุดิบในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว และราคาได้ปรับลดลงในครึ่งปีหลัง
เหลือ 1,200 USD จะเห็นได้ว่าราคาสูงสุดและ ต่ำสุดในปีเดียวกัน
ราคาวัตถุดิบน่าจะต่ำในปี57 เพราะถ้าราคามากกว่า 2000 USD ตลาดรับไม่ได้ ปัจจุบัน ราคาต่ำกว่า 1200 USD ซึ่งตลาดจะรับราคาได้ถึง 1700 USD ดังนั้นมีโอกาสสร้างกำไรได้ในปีนี้
และธุรกิจนี้จะสร้างกำไรเมื่อวัตถุดิบเป็น trend ขาขึ้นอย่างเช่นปัจจุบันซึ่งทางบริษัทสามารถปรับราคาขึ้นได้
5. ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง รายได้ในอเมริกาและในประเทศไม่ถึงเป้า แต่ในปี 57 จะหยุดขาดทุน และ เชื่อว่าจะดีกว่าปี 56
MW brand มีความเข้มแข็งใน5ตลาดหลัก และบริษัทมีความตั้งใจจะเข้าไปบุกตลาด สแกนดิเนียเวีย ตะวันออกกลาง และยุโรปฝั่งตะวันออกเป้าหมาย ใน 5 ปี จะขยายรายได้จาก 700 ล้านยูโร เป็น 1,000 ล้านยูโร
อัตรากำไรขั้นต้น ของปี 56 =12.6% ลดลงเมื่อเทียบกัน ปี 55 = 15.3% กำไรสุทธิ ลดลง 39% เหลือ 2,853 MB
โดยกำไร ของครึ่งปีแรก 1,034 MB มาจากต้นทุนวัตถุดิบสูง และ เริ่มลดลงในครึ่งปีหลัง รวมถึงการควบคุมสินค้าคงคลัง เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ทำให้กำไรเพิ่มขึ้น 76% เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก = 1,819 MB
ธุรกิจในต่างประเทศ เช่นยุโรป และ อเมริกา ดีมาก แต่ธุรกิจในประเทศเช่น กุ้ง ปลาทูน่า ไม่ดี จุดต่ำสุดได้ผ่านไปแล้ว
ทิศทาง ดีขึ้น ฐานะการเงินดีขึ้น ลดการลงทุน กระแสเงินสดเข้มแข็ง
Debt/Equity ration ปี 57 จะลดจาก 1 เป็น 0.8 ในช่วงปลายปี
แนวโน้มปี 57 ดีขึ้นมาก GP ปรับสูงกว่าปี 56 12.6% แต่ยังไม่เข้าสู่ปกติ ( GP=15-16% )
ดังนั้น 12.6%< GPปี57 <15%
โรคกุ้ง EMS ยังคงอยู่อีก1ปี ราคากุ้งเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น และ สามารถปรับราคาขายให้สอดคล้องกับวัตถุดิบดีขึ้น
เพราะปริมาณกุ้งได้เพิ่มจาก 250,000 ตัน เป็น 300,000 ตัน แต่ถ้าเป็น ช่วงปกติจะประมาณ 500,000 ตัน
นโยบายในปีนี้
จะเน้นสร้างอัตรากำไรให้สูง ขึ้น พัฒนาบุคคลากร ,Innovation
สำหรับ AEC ได้เปิดตลาดแล้วในหลายประเทศ เช่น กัมพูชา ลาว พม่า และ จะนำวัตถุดิบจากประเทศใน AEC มาใช้ในการผลิตด้วย และจะนำbrand ซีเล็ค ไปเจาะตลาดAEC ในปี 58
รายได้ของบริษัทมาจากส่วน
1. ธุรกิจปลาทูน่า คิดเป็น 47%
2. ธุรกิจกุ้งและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกุ้ง คิดเป็น 25% กำไรสุทธิคิดเป็น19% ของรายได้รวม
3. ธุรกิจปลาซาร์ดีนและปลาแมคเคอเรล คิดเป็น 6%
4. ธุรกิจปลาแซลมอน คิดเป็น 4%
5. ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง คิดเป็น 7%
6. ธุรกิจผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าและผลิตภัณฑ์อี่น คิดเป็น 11%
สัดส่วนของการจำหน่ายในปี 56
สหรัฐ 41% ยุโรป 30% ญี่ปุ่น 7% ขายในประเทศ 7% และ อื่นๆ 15%
รายได้เพิ่มขึ้นจากปี 55 = 107,679 MB เป็น 114,277 MB ในปี 56 เพิ่มขึ้น 4.4% มาจากการปรับราคาสินค้า
ธุรกิจแบรนด์ แต่ปริมาณของการขายลดลง 2.6%
ปี 56 บริษัทต้องเผชิญกับปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ค่าเงินบาทที่แข็งค่าและผันผวนอย่างมากในครึ่งปีแรก
2. ปัญหาของตะวันออกกลางกระทบกับการค้าขาย
3. วัตถุดิบกุ้ง ลดลงกว่า 50% จาก 500,000 ตันในปี 55 เป็น 250,000 ตันในปี 56 เนื่องจากโรค EMS ทำให้วัตถุดิบขาดแคลน และ ราคาสูงขึ้น 60%
4. ราคาวัตถุดิบปลาทูน่า ผันผวนอย่างมาก ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องทุกวันในครึ่งปีแรก ทำให้ราคาขายตามไม่ทันกับต้นทุนปรับขึ้นทุกวัน และ ลดลงในครึ่งปีหลัง
ปกติปลาทูน่าเป็นตัวเอกในการสร้างรายได้และกำไรในช่วง5ปีที่ผ่านมา โดยราคาวัตถุดิบค่อยๆขึ้นจาก 1000 USD ไปสูงสุด ที่ 2,450 USDทำให้ราคาวัตถุดิบในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว และราคาได้ปรับลดลงในครึ่งปีหลัง
เหลือ 1,200 USD จะเห็นได้ว่าราคาสูงสุดและ ต่ำสุดในปีเดียวกัน
ราคาวัตถุดิบน่าจะต่ำในปี57 เพราะถ้าราคามากกว่า 2000 USD ตลาดรับไม่ได้ ปัจจุบัน ราคาต่ำกว่า 1200 USD ซึ่งตลาดจะรับราคาได้ถึง 1700 USD ดังนั้นมีโอกาสสร้างกำไรได้ในปีนี้
และธุรกิจนี้จะสร้างกำไรเมื่อวัตถุดิบเป็น trend ขาขึ้นอย่างเช่นปัจจุบันซึ่งทางบริษัทสามารถปรับราคาขึ้นได้
5. ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง รายได้ในอเมริกาและในประเทศไม่ถึงเป้า แต่ในปี 57 จะหยุดขาดทุน และ เชื่อว่าจะดีกว่าปี 56
MW brand มีความเข้มแข็งใน5ตลาดหลัก และบริษัทมีความตั้งใจจะเข้าไปบุกตลาด สแกนดิเนียเวีย ตะวันออกกลาง และยุโรปฝั่งตะวันออกเป้าหมาย ใน 5 ปี จะขยายรายได้จาก 700 ล้านยูโร เป็น 1,000 ล้านยูโร
อัตรากำไรขั้นต้น ของปี 56 =12.6% ลดลงเมื่อเทียบกัน ปี 55 = 15.3% กำไรสุทธิ ลดลง 39% เหลือ 2,853 MB
โดยกำไร ของครึ่งปีแรก 1,034 MB มาจากต้นทุนวัตถุดิบสูง และ เริ่มลดลงในครึ่งปีหลัง รวมถึงการควบคุมสินค้าคงคลัง เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ทำให้กำไรเพิ่มขึ้น 76% เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก = 1,819 MB
ธุรกิจในต่างประเทศ เช่นยุโรป และ อเมริกา ดีมาก แต่ธุรกิจในประเทศเช่น กุ้ง ปลาทูน่า ไม่ดี จุดต่ำสุดได้ผ่านไปแล้ว
ทิศทาง ดีขึ้น ฐานะการเงินดีขึ้น ลดการลงทุน กระแสเงินสดเข้มแข็ง
Debt/Equity ration ปี 57 จะลดจาก 1 เป็น 0.8 ในช่วงปลายปี
แนวโน้มปี 57 ดีขึ้นมาก GP ปรับสูงกว่าปี 56 12.6% แต่ยังไม่เข้าสู่ปกติ ( GP=15-16% )
ดังนั้น 12.6%< GPปี57 <15%
โรคกุ้ง EMS ยังคงอยู่อีก1ปี ราคากุ้งเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น และ สามารถปรับราคาขายให้สอดคล้องกับวัตถุดิบดีขึ้น
เพราะปริมาณกุ้งได้เพิ่มจาก 250,000 ตัน เป็น 300,000 ตัน แต่ถ้าเป็น ช่วงปกติจะประมาณ 500,000 ตัน
นโยบายในปีนี้
จะเน้นสร้างอัตรากำไรให้สูง ขึ้น พัฒนาบุคคลากร ,Innovation
สำหรับ AEC ได้เปิดตลาดแล้วในหลายประเทศ เช่น กัมพูชา ลาว พม่า และ จะนำวัตถุดิบจากประเทศใน AEC มาใช้ในการผลิตด้วย และจะนำbrand ซีเล็ค ไปเจาะตลาดAEC ในปี 58
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 274
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 20
การประชุม ผถห ASIMAR ปี 2557
คุณ สุธรรม ไม่สบาย มาถึงที่ประชุมแล้วไม่ไหวจึงต้องกลับก่อน
การประชุมเป็นไปตามวาระที่ส่งมา การโหวตทุกวาระผ่านหมด ไม่มีผู้ไม่เห็นด้วยหรืองดออกเสียง
ปันผล ผ่านฉลุย
โบนัสกรรมการ เท่ากับปีก่อน
วิสัยทัศน์ ผบห
รับลูกค้าเกรด A-B เท่านั้น
งานตปท. รับ off shore มากขึ้น การซ่อมเรือจะโตจากปีก่อนในระยะยาวจะขยายไปพท.อื่น เพื่อรับงานใหญ่ขึ้น
รายละเอียดที่ ผบห บอกในที่ประชุมมีดังนี้
กำลังผลิตซ่อมเรือ 75 ลำต่อปี
back log ปัจจุบันประมาณ 500 ล้านบาท รับรู้ปีนี้ 250 ล้านบาท ที่เหลือรับรู้ปีหน้า
ปี 56 ได้รับงาน off shore ประมาณ 10-20 ล้านบาท เป็นส่วนที่ผบห หวังจะให้เป็นรายได้ต่อเนื่องในอนาคต
ปี 57 เชื่อว่ารายได้ไม่ต่ำกว่าปีที่แล้วจาก backlog ที่มีอยู่ เชื่อว่าที่เหลืออีก 10 เดือน หากประมูลงานใหม่ได้รายได้น่าจะโต
โดยผบห อยากให้รายได้ถึง 1,000 ล้านบาทภายใน 2-3 ปี โดยจะโตไปทาง off shore เป็นส่วนใหญ่ หวังว่ารายได้จาก offshore จะเป็น 2-300 ล้านภายใน 2-3 ปี
โดยงาน off shore มีแบ่งเป็นงานสำรวจ โครงสร้างเหล็ก และ บริการ โดยมีเรือเป็น 10 ประเภท ซึ่งงานโครงสร้างเหล็กเรามีความถนัดอยู่แล้ว
คำถามจากผถห
Q: การเมืองกระทบไหม
a: ไม่กระทบเลย
q: สัดส่วนรายได้เป็นอย่างไร
a: ปี 56 ต่อเรือ 51.29% ซ่อมเรือ 41.51% บริษัทย่อย 4.67% อื่นๆ 2.52%
ปี 57-58 สัดส่วนรายได้ก็จะประมาณนี้ รวมทั้ง npm ก็จะใกล้เคียงเดิมเพราะสัดส่วนงานเหมือนเดิม
q: ทำไมเงินสดปลายปี 55 เยอะ
a: ปลายปี 55 รับเงินจากการท่าเรือมาพอดี ปลายปี 56 ไม่เหมือนกันไม่มีเงินรับช่วงปลายปี
q: q1 56 ทำไม npm ตกเยอะ
a: อยู่ที่การรับรู้รายได้ งานซ่อม gpm 40-50% งานต่อเรือ gpm 10% ช่วงไหนรับรู้งานใดเยอะ npm ก็จะเอียงไปทางนั้น
q: อุตเรือดี อย่าง PSL ก็ต่อเรือเยอะ asimar ได้อะไรไหม
a: ไม่เกี่ยวกันของ PSL เป็นเรือ commercial แต่ตลาดเราเป็น niche เป็นเรือที่ซับซ้อนกว่า เช่นเรือ off shore
Sector ต่อเรือของเรากับเรือ PSL แยกกันชัดเจน ไม่กระทบทั้งบวกและลบ
q: จะมีการขยายกำลังการต่อเรือจาก 2-3 ลำต่อปีไหม
a: เพิ่งต่อสัญญากับกรมธนารักษ์ไป 30 ปี คราวนี้เป็นเช่าตรงโดยค่าเช่าเท่าเดิมคือปีละ 2 ล้านบาท จะมีการลงทุนในปีนี้
50ล้านบาทในปีนี้เพื่อขยายกำลังการผลิต 30% และ "มีแผน" ที่จะหา พท. เพิ่มเพื่อรองรับงาน off shore ตรงนี้ผบห บอกเป็นแผนเฉยๆ ยังไม่ชัวร์
q: เศรษฐกิจไม่ดีมี NPL ไหม
a: ต่อเรือมีส่วนรับจากรัฐไม่กลัว ส่วนงานที่ กัมพูชา รับเงินจาก JICA ไม่มีปัญหา
ซ่อมเรือ เราระวังเรื่องหนี้สูญมากปี 55-56 ไม่มีหนี้สูญเลย
q:การใช้กำลังการผลิตปี 56เป็นอย่างไร
a: ซ่อมเรือ ใช้ไป 80-90% ต่อเรือ ตอบยากเพราะการผลิตเป็นขั้นตอนเช่นเสร็จขั้น 1 ลำแรกเอาไปทำขั้น 2 ต่อ แล้วก็เริ่มขั้น 1 ของลำที่ 2 ที่เดิมได้เลย
q: ปีก่อนๆผบห บอกเรือน้ำมันต้องเปลี่ยนเปลือเรือเป็น 2 ชั้น ยังมีลูกค้าเหล่านี้มาให้บริษัทดัดแปลงอีกหรือไม่
a: demand ลดลงไปแล้ว เรารับงานดัดแปลงนี้มากที่สุดในประเทศในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาเพราะเราชำนาญ เรือในปัจจุบันเป็น 2 ชั้นหมดแล้ว แต่อีกไม่นานจะมีกฎใหม่ออกมาใน 2-3 ปีซึ่งจะทำให้มีเรือมาดัดแปลงกับเราในตอนนั้น (ฟังดูเหมือนกฎเปลี่ยนทีเราได้งานที)
q: คำถามจากสมาคส่งเสริมนักลงทุน ทำไม ASIMAR ไม่เข้าร่วมโครงการต่อต้านคอรัปชั่น
a: อย่ากเข้าร่วมแต่อยู่ในช่วงปรับโครงสร้างและกฎระเบียบให้พร้อมก่อน
q: สินทรัพย์บน balance sheet ที่ตัดค่าเสื่อมไปแล้วยังใช้ได้หรือไม่
a: ผจก ฝ่ายบัญชีตอบว่ายังใช้ได้ไม่ต้องลงทุนเพิ่ม
q: งานมีคู่แข่งหรือไม่ มี barrier to entry หรือไม่
a: คู่แข่งมีทั้งไทยและตปท. ในไทยมีประมาณ 20 อู่ที่เต็มรูปแบบ แต่ที่เทียบเท่าเรามี 5 อู่
แข่งขันด้านราคากันเยอะ แต่เราไม่แข่งด้านราคาเราเน้นคุณภาพและความตรงต่อเวลา
ตปท เลือกเราเพราะเราถนัดงานเฉพาะทาง คู่แข่งน้อย และลูกค้าใช้งานต่อเนื่อง เพราะ key ในการตัดสินใจไม่ใช่ราคา
barrier to entry สูง เข้ามายาก แต่ก็ออกยาก เช่นกัน
q: กลัวการแย่งพนักงานไหม
a: มีการแข่งขันบ้าง เพราะต้องใช้ประสบการณ์ในการทำงานสูง แต่ asimar เน้นสร้างคนและ engagement กับพนักงาน
มีการสร้าง successor ในทุกตำแหน่ง asimar เหมือนเป็น รร. ของอุตสาหกรรม
q: อันดับของ asimar ใน 5 อู่ที่เทียบเท่า
a: รายได้อยู่ 2-3
พท. ทำงาน 2
ความหลากหลายในการรับงาน 1
q: รายได้จะเติบโตเท่าไหร่ใน ปี 57
a: "หวังว่า" จะโต 20%
q: ค่าเงินอ่อนมีผลไหม
a: ปกติไม่มี แต่ปีนี้มีเพราะมีงานที่กัมพูชาประมาณ 6.3 ล้านเหรียญ ซึ่งรับรู้ปีนี้ประมาณ 100 กว่าล้านบาท
q:ค่าระว่างเรือขึ้นมีผลไหม
a: งานซ่อมจะดีขึ้น เพราะเจ้าของเรือจะซ่อมมากขึ้น ดีขึ้นทางอ้อม จะเพิ่มในเชิงรายได้มากกว่าเชิง margin
จบการประชุมด้วยดี
ปล. ของชำร่วยเป็น flash drive screen ตราบริษัทครับ
คุณ สุธรรม ไม่สบาย มาถึงที่ประชุมแล้วไม่ไหวจึงต้องกลับก่อน
การประชุมเป็นไปตามวาระที่ส่งมา การโหวตทุกวาระผ่านหมด ไม่มีผู้ไม่เห็นด้วยหรืองดออกเสียง
ปันผล ผ่านฉลุย
โบนัสกรรมการ เท่ากับปีก่อน
วิสัยทัศน์ ผบห
รับลูกค้าเกรด A-B เท่านั้น
งานตปท. รับ off shore มากขึ้น การซ่อมเรือจะโตจากปีก่อนในระยะยาวจะขยายไปพท.อื่น เพื่อรับงานใหญ่ขึ้น
รายละเอียดที่ ผบห บอกในที่ประชุมมีดังนี้
กำลังผลิตซ่อมเรือ 75 ลำต่อปี
back log ปัจจุบันประมาณ 500 ล้านบาท รับรู้ปีนี้ 250 ล้านบาท ที่เหลือรับรู้ปีหน้า
ปี 56 ได้รับงาน off shore ประมาณ 10-20 ล้านบาท เป็นส่วนที่ผบห หวังจะให้เป็นรายได้ต่อเนื่องในอนาคต
ปี 57 เชื่อว่ารายได้ไม่ต่ำกว่าปีที่แล้วจาก backlog ที่มีอยู่ เชื่อว่าที่เหลืออีก 10 เดือน หากประมูลงานใหม่ได้รายได้น่าจะโต
โดยผบห อยากให้รายได้ถึง 1,000 ล้านบาทภายใน 2-3 ปี โดยจะโตไปทาง off shore เป็นส่วนใหญ่ หวังว่ารายได้จาก offshore จะเป็น 2-300 ล้านภายใน 2-3 ปี
โดยงาน off shore มีแบ่งเป็นงานสำรวจ โครงสร้างเหล็ก และ บริการ โดยมีเรือเป็น 10 ประเภท ซึ่งงานโครงสร้างเหล็กเรามีความถนัดอยู่แล้ว
คำถามจากผถห
Q: การเมืองกระทบไหม
a: ไม่กระทบเลย
q: สัดส่วนรายได้เป็นอย่างไร
a: ปี 56 ต่อเรือ 51.29% ซ่อมเรือ 41.51% บริษัทย่อย 4.67% อื่นๆ 2.52%
ปี 57-58 สัดส่วนรายได้ก็จะประมาณนี้ รวมทั้ง npm ก็จะใกล้เคียงเดิมเพราะสัดส่วนงานเหมือนเดิม
q: ทำไมเงินสดปลายปี 55 เยอะ
a: ปลายปี 55 รับเงินจากการท่าเรือมาพอดี ปลายปี 56 ไม่เหมือนกันไม่มีเงินรับช่วงปลายปี
q: q1 56 ทำไม npm ตกเยอะ
a: อยู่ที่การรับรู้รายได้ งานซ่อม gpm 40-50% งานต่อเรือ gpm 10% ช่วงไหนรับรู้งานใดเยอะ npm ก็จะเอียงไปทางนั้น
q: อุตเรือดี อย่าง PSL ก็ต่อเรือเยอะ asimar ได้อะไรไหม
a: ไม่เกี่ยวกันของ PSL เป็นเรือ commercial แต่ตลาดเราเป็น niche เป็นเรือที่ซับซ้อนกว่า เช่นเรือ off shore
Sector ต่อเรือของเรากับเรือ PSL แยกกันชัดเจน ไม่กระทบทั้งบวกและลบ
q: จะมีการขยายกำลังการต่อเรือจาก 2-3 ลำต่อปีไหม
a: เพิ่งต่อสัญญากับกรมธนารักษ์ไป 30 ปี คราวนี้เป็นเช่าตรงโดยค่าเช่าเท่าเดิมคือปีละ 2 ล้านบาท จะมีการลงทุนในปีนี้
50ล้านบาทในปีนี้เพื่อขยายกำลังการผลิต 30% และ "มีแผน" ที่จะหา พท. เพิ่มเพื่อรองรับงาน off shore ตรงนี้ผบห บอกเป็นแผนเฉยๆ ยังไม่ชัวร์
q: เศรษฐกิจไม่ดีมี NPL ไหม
a: ต่อเรือมีส่วนรับจากรัฐไม่กลัว ส่วนงานที่ กัมพูชา รับเงินจาก JICA ไม่มีปัญหา
ซ่อมเรือ เราระวังเรื่องหนี้สูญมากปี 55-56 ไม่มีหนี้สูญเลย
q:การใช้กำลังการผลิตปี 56เป็นอย่างไร
a: ซ่อมเรือ ใช้ไป 80-90% ต่อเรือ ตอบยากเพราะการผลิตเป็นขั้นตอนเช่นเสร็จขั้น 1 ลำแรกเอาไปทำขั้น 2 ต่อ แล้วก็เริ่มขั้น 1 ของลำที่ 2 ที่เดิมได้เลย
q: ปีก่อนๆผบห บอกเรือน้ำมันต้องเปลี่ยนเปลือเรือเป็น 2 ชั้น ยังมีลูกค้าเหล่านี้มาให้บริษัทดัดแปลงอีกหรือไม่
a: demand ลดลงไปแล้ว เรารับงานดัดแปลงนี้มากที่สุดในประเทศในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาเพราะเราชำนาญ เรือในปัจจุบันเป็น 2 ชั้นหมดแล้ว แต่อีกไม่นานจะมีกฎใหม่ออกมาใน 2-3 ปีซึ่งจะทำให้มีเรือมาดัดแปลงกับเราในตอนนั้น (ฟังดูเหมือนกฎเปลี่ยนทีเราได้งานที)
q: คำถามจากสมาคส่งเสริมนักลงทุน ทำไม ASIMAR ไม่เข้าร่วมโครงการต่อต้านคอรัปชั่น
a: อย่ากเข้าร่วมแต่อยู่ในช่วงปรับโครงสร้างและกฎระเบียบให้พร้อมก่อน
q: สินทรัพย์บน balance sheet ที่ตัดค่าเสื่อมไปแล้วยังใช้ได้หรือไม่
a: ผจก ฝ่ายบัญชีตอบว่ายังใช้ได้ไม่ต้องลงทุนเพิ่ม
q: งานมีคู่แข่งหรือไม่ มี barrier to entry หรือไม่
a: คู่แข่งมีทั้งไทยและตปท. ในไทยมีประมาณ 20 อู่ที่เต็มรูปแบบ แต่ที่เทียบเท่าเรามี 5 อู่
แข่งขันด้านราคากันเยอะ แต่เราไม่แข่งด้านราคาเราเน้นคุณภาพและความตรงต่อเวลา
ตปท เลือกเราเพราะเราถนัดงานเฉพาะทาง คู่แข่งน้อย และลูกค้าใช้งานต่อเนื่อง เพราะ key ในการตัดสินใจไม่ใช่ราคา
barrier to entry สูง เข้ามายาก แต่ก็ออกยาก เช่นกัน
q: กลัวการแย่งพนักงานไหม
a: มีการแข่งขันบ้าง เพราะต้องใช้ประสบการณ์ในการทำงานสูง แต่ asimar เน้นสร้างคนและ engagement กับพนักงาน
มีการสร้าง successor ในทุกตำแหน่ง asimar เหมือนเป็น รร. ของอุตสาหกรรม
q: อันดับของ asimar ใน 5 อู่ที่เทียบเท่า
a: รายได้อยู่ 2-3
พท. ทำงาน 2
ความหลากหลายในการรับงาน 1
q: รายได้จะเติบโตเท่าไหร่ใน ปี 57
a: "หวังว่า" จะโต 20%
q: ค่าเงินอ่อนมีผลไหม
a: ปกติไม่มี แต่ปีนี้มีเพราะมีงานที่กัมพูชาประมาณ 6.3 ล้านเหรียญ ซึ่งรับรู้ปีนี้ประมาณ 100 กว่าล้านบาท
q:ค่าระว่างเรือขึ้นมีผลไหม
a: งานซ่อมจะดีขึ้น เพราะเจ้าของเรือจะซ่อมมากขึ้น ดีขึ้นทางอ้อม จะเพิ่มในเชิงรายได้มากกว่าเชิง margin
จบการประชุมด้วยดี
ปล. ของชำร่วยเป็น flash drive screen ตราบริษัทครับ
Aim high and be there!!
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 21
SNC by K'Tsurumi
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f ... 6#p1606436
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f ... 6#p1606436
AGM SNC ประชุม ผถห. ประจำปีวันที่ 3.4.2014 ที่โรงงานเลยนิคมฯบางพลี
เก็บตกมาได้เพียงบางประเด็น ผิด/ตก ยกเว้น ก็ขอให้เพื่อนเติมให้เต็มอีกเช่นเคย
เริ่มประชุมมี ผถห มาเอง 69 ราย =25,623,772 หุ้น รับมอบอำนาจมา 35 ราย =187,242,095 หุ้น รวม 104 รายเป็นทั้งสิ้น 212,865,867 หุ้น จากหุ้นทั้งหมด 287,777,339 หุ้น / 3,645 ราย เป็นร้อยละ 73 ของหุ้นทั้งหมด ถือว่า ครบองค์ประชุม
– ผ่านไปประมาณ 40 นาทีแจ้งว่า มี ผถห มาเพิ่มอีก 11 ราย
a. วาระที่ต้องลงคะแนนเสียงนั้นได้คะแนนมติ 99 % หรือ 100 % ทุกวาระ ไม่มีเสียงค้านในทุกวาระ มีการงดออกเสียงไม่เกิน 2.59หมื่นเสียงในบางวาระเท่านั้น
b. ไม่มีการขึ้นภาพสไลด์แสดงผลงาน/ประกอบการเหมือนงาน Opp Day ขึ้นชื่อวาระบนสไลด์แล้วอ่านจากกระดาษให้ ผถห ฟัง ถามคำถามว่ามีใหม ไม่มีก็ลงมติกันเลย รวดเร็ว ตั้งแต่วาระแรกถึงวาระสุดท้าย มี ผถห ถามไม่เกิน 10 คน
คำถาม/คำตอบจากที่ประชุมที่จดมาได้ ไม่เรียงประเด็น/คำถาม-ตอบ มีดังนี้
ถาม. ขอให้ ผบห แจ้งแนวทางการปฏิบัติตามแนวทางการจัดการที่โปร่งใส ไม่มีการคอรับฯหรือ ต่อต้านการคอรับชั่นหน่อยครับ สถานะตอนนี้ไปถึงใหนแล้ว
ตอบ. เราเป็น หนึ่งในสองบริษัทที่ได้รับรางวัลความโปร่งใสในการบริหารจัดการนอกจาก กสิกรแล้วคือเราเท่านั้นทั้งปีจากปีที่แล้ว ผมทำเรื่องการบริหารหน่วยงานธุรกิจที่โปร่งใสประกอบรับปริญญาเอก จึงตระหนักเรื่องนี้ดีมาก บริษัทเราแยกบริษัทย่อยให้เป็น business Unit หรือ BU ให้ทีมมินิเอ็มดีควบคุมบริหารกันเอง ให้เขารู้สึกว่าเขาเป็นเจ้าของกิจการรายงานให้บอร์ดรู้ผลงาน ผมมีรายงานทุกวัน ให้ฝ่ายบัญชีตรวจซ้ำอีกที เรามีลูกค้าเป็นบริษัทต่างประเทศ เขาก็ต่อต้านคอรับชั่น .เราไม่ค้ากับพวกโกงทั้งหลาย ประเทศเราแพ้ความโปร่งใสใน ASEAN ทั้งหมด เราชนะเพียง 4 ประเทศพวก CLMV เท่านั้น การเขียนขั้นตอนทำงานอาจไม่ชัดเจนเท่าทำจริงๆ ผมเป็นผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงาน ก็มีศักดิ์ศรีที่ต้องระมัดระวังอยู่แล้ว ...............
ถาม. ผลกระทบการเมืองต่อธุรกิจมีใหม เห็นมีการส่งออกไปมาก
ตอบ. ไม่มีครับ
ถาม. เห็น asia plus วิเคราะห์ว่า งานรถยนต์กำไรสุทธิดีกว่า OEM สถานะจริงเป็นอย่างไร
ตอบ. ทั่วไปแล้วงานของรถยนต์จะมีกำไรประมาณ 9-10% ขึ้นไป ส่วน OEM จะอยู่ประมาณ 5-6% แต่ก็มีงานแอร์บ้านบางชิ้นกำไรดีมากๆ อย่างไรก็ดี เราต้องการเพิ่มการผลิตท่อแอร์รถยนต์ตลาดรถยนต์ให้มากขึ้น
ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เก่งกันทั้ังหมด ไม่เก่งก็ทำไม่ได้ เรามี Capacity เหลือจากพวกแอร์บ้าน หรือ พวกพลาสติกงานบ้าน พวก ถังซักผ้า ตู้เย็น ก็เอากำลังผลิตเหล่่านั้นมาให้กลุ่มรถยนต์ เช่นฉีดพลาสติกชิ้นส่วนมอไซต์ได้ ไม่เสียหายอะไรเลย
เรามี ผบห. โรงทำพลาสติกที่เก่งมาก ต้องชมกันเลย สามปีที่แล้วทำยอดได้แค่ 300 ล้าน ผ่านมาปีสามหรือปีแล้วทำได้ 1200 ล้าน ยอดเยี่ยมจริงๆ เรามีผบห. จากอดีตทำให้honda มาอยู่กับเราแล้ว และเราจะเชิญ ผบห. ใน Nissan & Mitsubishi มาอยู่กับเราต่อไป กำไรด้านรถยนต์๋ดีมาก แต่ก็ยากมากเช่นกัน คู่แข่งถึงมีน้อย จะมีก็บริษัทญี่ปุ่นด้วยกันเท่านั้น เราสู้ด้วยการลดต้นทุนที่เราทำได้ดีกว่า อย่่างไรก็ดี หลักใหญ่ของธุรกิจเราก็คือแอร์บ้าน การทำงานรถยนต์ต้องมีศูนย์ R&D ต้องมองการณ์ให้ได่้สามปีข้างหน้า เราพัฒนาสินค้าให้ลูกค้า 3 ปีข้างหน้าไม่ได้ก็จบกัน โชคดีเรามีอดีต ผบห. จากฮอนด้ามาช่วย เราซื้อโน/ฮาวส์จากฮอนด้ามา เราจะรักษาระดับดอกเบี้ย 25-30 ล้านบาทไว้ จะลงทุน 500-700 ล้านบาทเป็นเครื่องจักร์ทั้งหมด
ถาม. Heat Exchanger ที่โรงงาน SCAN ผลิตขายได้หรือยัง หรือต้องลงทุนเพิ่มอีก เห็นมีค่าเสื่อมปีก่อนหน้าและปีที่แล้ว 183 และ 226 บาทตามลำดับ จดทะเบียนเพียง 100 ล้านและถือหุ้นเพียง 20% เท่านั้น มันเพียงพอหรือ
ตอบ. จะผลิตขายไตรมาส 4 ปีนี้ครับ ซึ่งเข้าจังหวะกับที่ยอดขายแอร์บ้านต่ำลงพอดี พวกแอร์บ้่านจะดีไตรมาสหนึ่งและสองเท่านั้น พอไตรมาส สามและสี่ก็จะมียอดขายลดลงทุกปีในธุรกิจนี้ ขอเสริมว่าเราลงทุนกับ Fuso เมื่อ ตค. ปีที่แล้วเป็นต้นมา เป็นการเอาคู่แข่งมาเป็นเพื่อน เขาเก่งเรื่องแอร์ใหญ่ๆ ทั้งนี้เริ่มมาแต่สมัยที่ลูกค้าในไทยแจ้งว่า Fuso จะเข้าไทย เราจึงเสนอที่ดินให้ ขอร่วมทุนด้วย แรกๆไม่ให้เราเลย เราขอไป 30% แต่ได้ขณะนี้ 20% ก่อน ร่วมกันในโรงงานใหม่ เราทำสินค้าให้ลูกค้า ที่ลูกค้าก็ทำเองได้อยู่แล้ว เคร่ืองจักรเหมือนกัน ถ้าเขาไม่พอ เราผลิตเพิ่มให้ได้ ถ้าเรามีปัญหาเขามาช่วยเรากแก้ปัญหาได้
ที่ SCAN จะผลิตชิ้นงานที่ีใช้ได้ทั้งแอร์บ้านและแอร์รถยนต์ ไม่ว่า ตลาดแอร์บ้านจะลดลง หรือ แอร์รถยนต์ลดลง เราก็จะปรับตัวได้สะบาย เพราะชิ้่นงานเราใช้เข้าได้ทั้งสองระบบแอร์ เป็นโนฮาวซื้อจาก เคฮิน เรากระจายความเสี่ยงไว้ตลอด รวมทั้งการตั้งบริษัทยอ่อยมากๆก็เพราะเราเอาสิทธิทาง BOI
SCAN ยังต้องลงทุนอีก ความเสี่ยงน้อย ผู้ร่วมลงทุนเอาบุคคลากรมา เอาโน-ฮาวมา เอาลูกค้ามาด้วย
ถาม ทำไมเอาตังค์ไปจ่ายปันผลมาก และต้องยืมกู้ธนาคารมาลงทุนให้เสียดอกเบี้ยเพิ่มอีก ลงทุนสูงเช่น ปี 55 = 542 ปี56 = 500 ล้านyield 2013 = ROE 25% จะบริหารจัดการดอกเบี้ยกันยังไง
ตอบ มันมี ผถห อยู่สองกลุ่ม ๆ แรกคือ รายใหญ่ ประเภทหลายร้อยล้่านบาท ซื้อแล้วก็ไม่ค่อยขายออกไป มือใหญ่ประเภท 600 ล้านก็มี กลุ่มที่สองคือ รายย่อยๆทั้งหลายเช่น คุณป้า คุณลุง ผมต้องเอาใจทั้งหมด ไม่เช่นนัี้นการตกงานมีแน่ ผมไม่ดูผลประกอบการบริษัทเป็นหลักในการจ่ายเงินปันผล แต่ ดูราคาซื้อเป็นหลักเพื่อให้่พอใจกัน 8ปีที่ผ่านมาเราไม่ปันผลตามการประกอบการ แต่ปันผลตามราคาซื้อมาตลอด การบริหารดอกเบี้ยเป็นหน้าที่หลักของ ผบห.
ถาม ทำไมราคาหุ้นมันลงไปเรื่อยๆ ผมติดดอยแล้ว เมื่อไรมันจะขึ้นอีก
ตอบ ผมไม่รู้ว่ามันจะขึ้น หรือมันจะลง งวดก่อนผมบอกให้ญาติซื้ออยู่แถว 27 บาทเป็นเงินห้าล้านบาท ตัวผมเองก็เคยซื้อที่ 23 บาท สรุปติดดอยทั้งผมและญาติ (มีเสียงเฮ..) แต่อนาคตยังมองดูดี เมื่อเศรษฐกิจสดุด พวกราคาหุ้นก็ลงกันแทบทั้งหมด การเมืองไม่นิ่งก็เป็นแบบนี้แหละ ผมละโกรธ... จริงๆ
พอจดได้เท่านี้ครับ ยังไม่จบ ตอนต่อไปเป็นการเดินตามหลังผู้ใหญ่สามิตต์ พาดูโรงงาน โดยมีการ์ดสาวๆ เดินตามหลังดูแลความปลอดภัยให้
AGM SNC ประชุม ผถห. ประจำปีวันที่ 3.4.2014 ที่โรงงานเลยนิคมฯบางพลี
การเดินตามหลังผู้ใหญ่สามิตต์ พาดูโรงงาน โดยมีการ์ดสาวๆ เดินตามหลังดูแลความปลอดภัยให้
เก็บตกจากเดินตามหลังผบห. ชมโรงงาน หลังประชุม ผถห. ประจำปี เมื่อ 3.4.2014 เดินชมแบ่งเป็นสองกลุ่ม มีหลายคำถาม/คำตอบ ผมเดินห่างไปบ้างไม่ได้ยินทั้งหมด แต่ขอเอาเท่าที่จำได้มาแบ่งปันกันดังนี้ (เนื้อความอาจดัดแปลงเพื่อความเหมาะสม แต่เนื้อเรื่องยังเป็นของเดิม)
พื้นโรงงานสะอาดมาก สมกับเป็นโรงางานคุณภาพชั้นเยี่ยม ต้องชมกิจกรรม 5 ส. พื้นทางเดินก็แจ่ม ใต้เครื่องก็สะอาด เป็นสิ่งที่ประทับใจลูกค้าแน่นอนถ้าได้เข้ามาเห็น ไม่น่ามีการปลูกผักชีบริเวณนี้ น่าแปลกใจที่เครื่องฉีดก็มีอุณหภูมิสูง วัตถุดิบก็น่าจะมากมาย แต่อากาศภายในก็สบาย เรามองไม่เห็นเม็ดพลาสติก เพราะมันป้อนเข้าหลังเครื่องฉีด ระบบอัตโนมัติ ฉีดเสร็จก็มีมือวิเศษหยิบชิ้นงานออกจากโมลด์มาให้่ พนง. ดำเนินงานต่อ ขณะทัวร์นัี้นเห็นบอกว่ายอดผลิตต่ำ ไม่สูงเหมือนที่ควรจะเป็น บางเครื่องฉีดก็ไม่ได้ทำงาน เสียงก็ไม่ดังหนวกหู (หรือว่าไม่เดินเครื่องมาก ?)
ก่อนอ่านตรงนี้ กรุณาดูภาพสินค้าประกอบในหนัีงสือรายงานประจำปี จะได้นึกภาพออกว่า ผมเขียนถึงอะไรอยู่
1. โรงงานทั้งหมดบริเวณนี้เป็นการเช่า เจ้าของสร้างโรงงานให้เราจ่ายค่าเช่า สัญญาสามปีต่ออายุเช่าหนึ่งครั้ง ราคาค่าเช่าอยู่ประมาณ …. บาท/ตรม. ราคาดีมาก อยู่กับเจ้าของโรงงานสมัยอยู่กม. 24 ถนน เทพารักษ์ เจ้าของที่ดินถนัดสร้างโรงงาน เมื่อที่นั่นเต็มขยายไม่ได้จึงขอให้ท่านเจ้าของให้สร้างที่ใหม่ให้เราเช่า เราก็เลยตามกันมาอยู่ที่นี่ เราอยู่กับเจ้าของนี้มา 17 ปีแล้ว แต่ที่เก่าก็ยังเก็บไว้อยู่เป็นหนึ่งโรงงาน อยากย้ายมาอยู่รวมกันเพื่อสะดวกการบริหารจัดการ
2. ส่วนที่ระยองก็ซื้อที่ดินไว้นานสมัยราคายังไม่สูงขนาดนี้ ก็ให้ตั้งเป็น SCAN (ย่อจาก บริษัท เอส เอ็น ซี ครีเอติวิตี้ แอนโทโลจี จำกัด) ที่กำลังติดตั้่งเครื่องจักรอยู่ จะผลิตปลายปีนี้
3. (โรงผลิตถังซักผ้าญี่ปุ่นยี่ห้อหนึ่ง-ฉีดพลาสติกไส้ในถังซัก) ค่าแม่พิมพ์/โมลด์ตกอยู่ 7-8 ล้านบาท/ชุด สำหรับฉีดที่เครื่อง 800 ตัน ถ้าเป็นโมลด์ใหญ่ เช่น ถังซักผ้า สำหรับเครื่อง 1600 ตัน ก็ประมาณ 10 กว่าล้านบาท ส่วนใหญ่ทำในไทย จาก supplyer ที่เป็นญี่ปุ่น เราจ้างทำโมลด์เองบ้าง แต่ส่วนหนึ่งลูกค้าจัดให้มาเลย เครื่องฉีดพลาสติกเดินตลอด 24 ชั่วโมง เป็น 2 กะบวก OT เป็น 24 ชม. ส่วนใหญ่เป็นงานพลาสติกรถมอไซต์
4. (โรงผลิตท่อแอร์บ้าน) แอร์บ้านใช้ท่อทองแดง ทนกว่าอลูได้เป็นสิบปี ไลน์ประกอบแอร์อยู่ระยอง โรงนีีทำแอร์บ้านเท่านั้น บริษัทลูกนี้ชื่อว่า Immortal Part คือทุกชิ้นงานเราอยากให้เป็นอมตะ จึงเป็นที่มาของชื่อบริษัทนี้ (Immortal Part Co., Ltd. = IMP) ทุกโรงงานจะแบ่งเป็นส่วนงานย่อยๆออกไป เช่นของลูกค้าชื่อนั้นๆ จะมีขั้นตอนการทำงานคล้ายกันคือ ตัด/ปั้ม/ดัด/เชื่อม/ล้าง/แพ้ค ฯลฯ แต่ละส่วนงานก็จะมี “Mini Managing Director = Mini MD” เป็นผู้ควบคุมที่เราบอกว่าเป็น BU – business Unit แต่ละกลุ่มกันไป (เจ้า มินิเอ็มดีนี่ผมอยากแปลเป็นไทยมาก จึงขอแปลเป็น เถ้าแก่จิ๋วก็แล้วกัน) เรามีมินิเอ็มดีอยู่เกือยบ 40 ท่าน นั่นคือเรามีบริษัทย่อยๆอยู่ 40 บริษัท นี่เป็นการกระจายอำนาจของเรา ส่วนการจะเอา SME ญี่ปุ่นมาร่วมด้วยตอนนนีั้ก็รอกันก่อน เนื่องด้วยปัจจัยภายนอกไม่ปรกติ ส่วน ผบห. ชาวญี่ปุ่นมีอยู่ 10-15 ท่าน ส่วนใหญ่ประธานเราไปเชิญมา เช่น อดีตประธาน บริษัท F... รองประธาน บริษัท D.... ผจก. ทั่วไป บริษัทผลิตแอร์ญี่ปุ่น บริษัท P... vอดีต ผจก. โรงงาน P.... ฯลฯ เรามี ผบห. ญี่ปุ่นมาช่วย เพราะเราไม่มีพาร์ทเอนร์เป็นญ่่ปุ่น จึงต้องจ้างคนญี่ปุ่นมาช่วยด้านนี้ เราจ้าง ผบห. ตลอดไปแม้ว่า work permit ต่อให้ปีต่อปีก็ตาม ท่อทองแดงนี้ทำในไทย โดยญี่ปุ่น แต่เราก็สั่งจากจากจีนได้เมื่อลูกค้าต้องการ เป็นสเป็คที่ต่ำกว่าไทย เอาลูกค้าเป็นหลัก เดือนเมษาฯพวกผู้ผลิตรถยนต์หยุดมาก เราก็ต้องหยุดนานตามไปด้วย โรงนี้โรงเดียวทำให้ลูกค้าญี่ปุ่นชื่อ … รายเดียว ปีหนึ่งก็มากกว่า 400 ล้าน คือ วันละกว่าล้านบาทอยู่แล้ว กำไรสุทธิในวงการไฟฟ้า เรื่องท่อแอร์นี้จะอยู่ที่ ทางบริษัทญี่ปุ่นแท้ก็มีแค่ 2-3% ก็พอ อาจเป็นการวิธีกรรมทางบัญชี มองไม่ได้ชัดเจนว่ากำไรจริงๆเท่าไร แต่ก็เทียบไม่ีได้อีก เพราะพวกญ่่ปุ่นเองโรงงานเขาทำเงินสูงสุดแค่ 1,500 บาทเท่านั้นเทียบกันไม่ได้ โรงนี้ของเราทำได้ 9-10% ถ้าเป็นพวก aluminium กำไรสุทธิต้องเกินสิบขึ้นไป อย่าลืมกฏ economy scale ที่เราทำได้ไม่ว่าจัดซื้อวัตถุดิบเรามีอำนาจจัดซื้อมากกว่าเขามาก จำนวนเรามาก ถ้ารวมพวกท่อทองแดงด้วยเรามีจำนวนซื้อ แปดพันตัน ถึง หนึ่งมื่นตันต่อปี เราต่อรองได้ เราใหญ่ที่ีสุด เทียบกันไม่ได้ อีกอย่างพวกลดต้นทุนก้เราไม่เหมือนเขา เช่น ในบริษัทญี่หปุ่นแห่งหนึง ผบห. ญี่ปุ่นมากในแผนกคุณภาพ ผลิต จัดซื้อ เอ็มดี ฯลฯ ในหลายแผนกมาก บริษัททำเงิน พันกว่าล่้านมีญี่ปุ่นอยู่ 10กว่าคนๆละ 3-4 ล้านบาท/ปี นี่มันหนักมากนะ เป็นต้นทุนสูงมาก แต่ทางเราๆทำยอด 7-8 พันล้านบาท/ปี มี ผบห. ญี่ปุ่น 10-15 ท่านมันเทียบกันไม่ได้ เราน่าจะมีส่วนแบ่งตลาดท่อทองแดงในแอรฺ์ประมารเกิน 60% ขึ้นไป
ถ้าแอร์ทั้งตัว เราไม่มีส่วนแบ่งมาก เราทำแอร์แค่ 4-5 แสน OEM ต่อปีเท่านั้น ไทยผลิตแอร์ 20 ล้านเครื่องต่อปี ไดกิ้นทำ 4 ล้านเครื่อง/ปี มิตซุทำ 5 ล้านเครื่อง/ ปี เหล่านี้เขาซื้อชิ้นส่วนจากเรา ไม่ได้จ้างเราประกอบไให้ เราควรดูการเริญเติบตามชิ้นส่วนที่ใช้ อย่้าดูเพียงว่า ตลาดรถยนต์ หรือ ตลาดแอร์อย่างเดียว ให้ดูว่า เช่น แอร์เราทำหลายอย่างมาก งานท่ออาจไม่โต แต่เราก็ทำงานแผ่น sheet metal หรือ พวกพลาสติกให้แอร์ได้อีกมาก โตได้อีกมาก เป็นต้น งานประกอบแอร์เกาหลีที่หายไปคงเป็นเพราะนโยบายบริษัทแม่มากกว่า เช่นที่อินโดนีเซีย เขาก็ตั้งโรงงานขึ้นมา เมื่อมีจำนวนผลิตถึงและมี supplyer chain เพียงพอก็เท่านั้นเอง แต่ก็ไม่ใช่ทุกประเทศที่มีแหล่ง supplyers ที่พร้อมเหมือนไทยแลนด์
5. (โรงผลิตท่อแอร์รถยนต์) แอร์รถใช้ท่ออลูเป็นท่อแอร์ เพราะนำความร้อน/เย็นได้รวดเร็ว งานจะเป็น ตัด ดัดหัว/ปลายท่อ ทำข้อต่อ เชื่อม (connector) ทำสี ตัวอย่างเช่นงานท่อเหล็กที่เห็นเราขึ้นรูปที่นี่ เมื่อเชื่อมเสร็จ ส่งไปทำสีข้างนอก พอส่งกลับมาก็ทำการประกอบอีกครั้ง ส่วนทำสี มันไม่คุ้ม จำนวนมันน้อย และมีปัญหาเรื่องมลภาวะมากเกินไป งานรถยนต์เดือนเมษายนจะลดทุกปี งานรถยนต์ทำให้ทุกย่ห้อ เผอิญยี่ห้อ … ที่เราทำให้นี้ส่งออกมาก งานจึงไม่ลด ลูกค้าให้ประมาณการผลิต สาม เดือนล่วงหน้า และยืนยันยอดผลิต หนึ่ง เดือนล่วงหน้าเท่านั้น จุดนี้เราทำข้อต่อที่ทำด้วย Forging Process (การทุบขึ้นรูปเหล็กร้อน – ทำให้เหล็กร้อนมากๆแล้วขึ้นรูป) เช่นข้อต่อแอร์รถ (ต่อตรง/ต่อสามทาง/ต่อสองทาง/ ต่อใหลวน ฯลฯ) เราซื้อจากเจ้าญี่ปุ่นอื่นมากัดเป็นข้อต่อ เราทำเองไม่ได้ งวดหน้าจะทำโรงงาน Forging parts เองโดยตั้งโรงงานที่ด้านนอกกำแพงโรงงานนี้ ด้วยการชี้นิ้วไปทางกำแพงโรงงานที่พวกเรายืนอยู่
พนจ.ฝ่ายผลิตเข้า/ออก หลัีงผ่านงานสองปีแล้วน้อยมาก ประมาณ ร้อยละสองเท่านั้น แต่ก่อนหนึ่งปีจะเปลี่ยนงานกันมาก เราแก้ด้วยโครงการนักศึกษามาทำงานกับเรา ทำงาน 6 เดือนไม่ออกกันเลย จบแล้วก็อยู่กับเราต่อได้ ไม่มีการทำ sub-contract หรือ Outsourcing ทั่วไปแล้ว ทุกแห่งมีปัญหาจัดหาแรงงานทั้งนั้น เราก็มี คนอื่นก็มี เราต้องหาวิธีการให้พนง. อยู่นานๆ พนง. มีอำนาจต่อรองมากกว่านายจ้างทุกแห่งตอนนี้ เครื่ีองพวกนี่้เป็นเครื่องกัด (CNC) เครื่องละสองล้านกว่าบาท เครื่องกัดทำงานสองด้าน ส่งชิ้นงานแล้วมันหมุดนไปกัดอีกดด้านของตู้เครื่องแล้วหมุนอีกด้านให้ป้อนชิ้นงานเข้าเตรียมรอไว้ เครื่ิองหมุนเช่นนี้ตลอดการทำงาน งานรถยนต์มันปริมาณน้อยมาก ประมาณแค่ หมื่นกว่า/เดือน ทำ full automatic ไม่ได้ ถ้ามัีนได้ 5 หมื่น/เดือนก็ทำด้วยเครื่อง full automatic ได้ แม้จะเป็นรถโตต้ารุ่นฮิต... ก็ตามจำนวนสุงสุดก็เพียง 4 แสนคัน/ปีเท่านั้น ไม่คุ้มทำ full automatic จึงทำเป็น กึ่งอัตโนมัติเท่านั้น
เรื่องงานด้านรถยนต์ควรดูสินค้าเราให้ดีว่า กำไรสุทธิเราก็ไม่ได้ดีทุกอย่าง เช่น ด้านรถยนต์ในวงการก็จะเป็นแบบนี้ งานปั้มชิ้นงานเหล็๋กแผ่นกำไรสุทธิอย่างต่ำที่ 5% งานฉีดพลาสติกอยู่ที่ 10% งานทำท่อแอร์อยู่ที่ 13% เป็นค่าต่ำสุดในวงการเรา กรุณามองให้เห็นเช่นนี้ งานท่อเป็นงานฝีมือแรงงาน ทำแบบอัตโนฯมันยากเพราะจำนวนต่ำ ผลตอบแทนจึงสูง แต่งานปั้มเหล็กแผ่นมันง่าย ผู้ซื้อกำหนดราคา/ต้นทุนได้ว่า เครื่องปั้มกระแทก (Machine Stroke)แผ่นเหล็กหนึ่งครั้งเอาไป 70 สตางค์ ปั้มลงกี่ครั่้งก็คุณกันไป บวกค่าขนส่งเข้าไปเป็นเสร์จ ในวงการเห็นๆกันอยู่ กำไรน้อย เอาจำนวนเข้าช่วยเท่านั้น
เราส่งชิ้นงานให้แก่รถยนต์ Toyota, Mitsubishi, มอไซต์ Suzuki ถ้าเชียร์ก็ช่วยสนับสนุนสินค้าเหล่านี้ได้เลย เราส่งงานบางรุ่นถึง 4-5 หมื่นชิ้น(งานมอไซต์)
เครื่องในโรงฉีดพลาสาติก เราได้เครดิตถึงสามปี คือใช้แล้วใช้เลยสามปีแล้วมาจชำระค่าเครื่องจักรกัน เป็นธุรกิจเดิมของครอบครัวประธานฯ เราเอาออร์เดอร์มาอย่างเดียวแล้วซื้อเครื่องมา จ้างคนมาทำต่อจนถึงปัจจุบันยอดขายจากเดิม 300 มาเป็น 1200 ล้านแล้ว
การตีราคาพวกงานฝีมือจะตีงานตาม machine rate เช่น เชื่อมกี่ตำแหน่ง ดัีดท่อกี่จุด แปลงปลายท่อกี่ครั้งก็คุณจำนวนครัง/จำนวนเงินเข้าไป มันทำอัตโนมัติไม่ได้ จำนวนไม่ถึง การลดต้นทุน / คุณภาพงาน ส่งงานตรงเวลา จึงเป็นหัวใจหลักธุรกิจ
เห็นประธานฯบอกว่า อยากทำให้่ถึงยอดขาย 2 หมื่นล่้านบาท มีปัญหาอะไรตอนนี้บ้าง ต้องบอกว่า เราห่วงลูกค้ามากกว่า เพราะลูกค้ากังวลมาก หอการค้าญี่ปุ่นก็บอกว่าห่วงมาก เรามีปัญหาใหญ่เช่น น้ำท่วม แต่เรามี infrastructure ดีมาก มีวัฒนธรรมดีมาก ห่วงการเมืองเท่านั้นแทนลูกค้า เราห่วงการเมืองมาก เพราะญี่ปุ่นห่วงเรื่องนี้มาก
งานท่อตอนนี้เราเดินเครื่องอยู่ที่สองกะบวกงานโอที อย่าลืมว่า ไตรมาสหนึ่งกับไตรมาสสองเป็นช่วงทำยอดวงการแอร์บ้านที่เป็น 65-70% ของทั้งปี พวกไตรมาสามและสี่เป็นเพียงจำนวน 30-35 % ของทั้งปี
ปีนี้ัเหนื่อยไม่น้อยกว่าปีที่แล้ว แต่เห็นว่า ปีนี้น่าจะแก้ได้บางส่วนแล้ว ปีนี้น่าจะไปได้ดีกว่า เพราะปีที่แล้วเรามีเรื่องรถคันแรก เรื่องลูกค้าซาอุฯ
งานรถยนต์น่าจะเพิ่ม แม้ว่ายอดผลิตรถอาจลด หรือเพิ่มไม่มาก แต่เราจะเพิ่มด้วยการให้มีหลายพาร์ท/ชิ้นงาน แต่มันไม่มากกว่าแอร์หรอก เพราะแค่ OEM ก็กินไป 40% แล้ว
งานรถยนต์จะลดจำนวนในเดือนเมษายนทุกปี เพราะวันหยุดยาว
ปีนี้น่าจะกู้มาลงทุนอีก 200-300 ล้านบาทเพื่อการลงทุน
สุดท้าย ผู้ใหญ่สามิตต์ได้ ชี้นิ้วบนฟ้าข้ามหลังคาโรงงานไปในอากาศที่ไม่มีอะไรแล้วบอกว่า จะสร้างโรงงานด้านหลังตึกนี้ต่ออีก เพื่อทำ insuration pipe kit ที่ทำ 4-5 แสนชิ้นขายในประเทศอยู่แล้ว แต่จะขยายออกไปทำจำนวนเพื่อส่งออกต่างประเทศต่อไป ผมก็ได้แต่มองไปในอากาศที่ว่างเปล่าที่้ต้องคล้อยตามเอาว่า ต้องควักอีก 2-300 ล้านบาททั้งที่ยังมองไม่เห็นอะไร เพราะมันอยู่ด้านหลังตึกโรงงาน เมื่อสิบนาทีที่แล้วก็บอกว่าจะทำโรงงาน ทุบขึ้นรูปเหล็กร้อน (Forging Process Plant) ในห้องประชุมท่านประธานฯก็แจ้งเป็นทางการว่าต้องลงทุนเพิ่มใน โรงงาน SCAN ให้เสร็จในปีนี้ สมองผมท่องตัวเลขงบกระแสเงินสดทันทีว่าจะเป็นตัวเลขใหนกันแน่ คิดไม่จบฝ่ายการ์ดสาวๆก็มาแจ้งว่า ต้องหยุดแล้ว เพราะหมดเวลา ขณะนี้ 5 โมงเย็นย่านนี้รถติดออกจากนิคมฯนี้ยาก ให้รีบขึ้นรถกลับเดี๋ยวรถติดยาว ผมได้แต่เหม่อมองทะลุหน้าต่างรถตู้เพื่อเห็นอนาคตเราที่โรงงาน insuration pipe kit & forging plant เห็นแต่อากาศที่ว่างเปล่า เพราะรถตู้รับ/ส่งเรารีบออกมาก่อน คงต้่องอาศัียวิธีผู้่ใหญ่สามิตต์ที่บอกว่า ต้่องจินตนาการเองเสียบ่้างจะได้เห็นอะไรใหม่ๆ
ความเห็นผมครับ
- การประชุมน่าจะมีการทำสไลด์นำเสนอให้เป็นทางการเหมาะสมอย่างน้อยก็เทียบกับวัน Opp Day แสดงให้เจ้าของบริษัท (ผถห.)ได้รับรู้เชิงจิตวิทยา ไม่เพิียงแต่นำเสนอสมบูรณ์ให้นักวิเคราะห์เท่านั้น
- คุณภาพรายงานประจำปีควรปรับปรุง พวกรูปภาพไม่ชัดเจน ไม่เหมาะสมกับงานระดับผู้ลิตสินค้าคุณภาพและสินค้าความปลอดภัย
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 22
BANPU by K'Samkok
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f ... 7#p1606437
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f ... 7#p1606437
สรุปประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2557
3 เมษายน 2557
ภาวะอุตสาหกรรมถ่านหินปี 2556
ดัชนีราคาถ่านหิน NEX ขาลง จาก 92 เหรียญ/ตัน
ครึ่งหลังปี ก.ค.56 เหลือ 77 เหรียญ/ตัน
Q4 จึงปรับตัวขึ้น 85 เหรียญ/ตัน
ราคาขายถ่านหินเฉลี่ยทั้งปีของบ้านปูอยู่ที่ 83 เหรียญ/ตัน ลดลง 13% จากปี 55
Supply เกินมีอยู่ต่อเนื่อง
India ค่าเงินรูปีอ่อนค่า 20% ลงไปอยู่ในช่วง 60-70 รูปี
ส่งผลให้ผู้ที่ซื้อถ่านหินไปผลิต ขาดทุนค่าเงิน จึงมี Supply บางส่วนหยุดไป
Demand
Economy ชะลอตัว จีนคือผู้ที่ใช้มากที่สุด
ต้องการลดการนำเข้า และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้ถ่านหินในเซียงไฮ้ ปักกิ่ง กวางเจา
และจีนควบคุมเมืองต่างๆไม่ให้ใช้เงินตัว ทำให้การใช้ถ่านหินลดลง
เฉินหัว ผู้ผลิตถ่านหินรายใหญ่ในจีนหลายร้อยล้านตัน ประกาศลดราคา Supply Shock ในระยะสั้น
คงเป็นแบบนี้ต่อไปในปี 2557
เรามีการซื้อขาย Physical ไว้แล้ว ในราคาที่ดีพอสมควร
จนกระทั่งปัจจุบัน 30 ล้านตันในปีใหม่ เรากำหนดไปแล้ว ร้อยละ 60 (18 ล้านตัน) ที่เหลือมี Coal Swap อีก 8%
= เรากำหนดราคาอินโดไปแล้ว 68%
ด้วยเหตุนี้ใน Q2-57 ทำให้เราไม่มีแรงกดดันที่ต้องขาย ยกเว้นลูกค้ามาหาเราแล้วกำหนดราคา เป็นลูกค้าประจำ จะขายที่ราคาที่ดีเท่านั้น คาดครึ่งหลังราคาถ่านหินจะดี แต่หลายสำนักคาดราคาถ่านหินใช้เวลา 2-3 ปี
อีกทั้ง Shadow Banking ที่ปล่อยกู้บริษัทถ่านหิน จีนพยายามกำจัดออก และเน้นความสะอาดมากขึ้น
อนาคตจีนจะลง Solar และ Wind มากขึ้น
ทั้งนี้โรงไฟฟ้าถ่านหินของบ้านปู ปรับปรุงคุณภาพมาโดยตลอด
การลงทุนที่ผ่านมา
2546 (2003) เข้าจีน ทำถ่านหิน และไฟฟ้า
2550 (2007) เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นอินโด
2553 (2010) ซื้อกิจการ Centennial ที่ออสเตรเลีย 100%
2554 (2011) ซื้อเหมืองที่มองโกเลีย 3 แหล่ง อยู่ระหว่างพัฒนา
นับได้ว่า
“บ้านปูครองเหนือจรดใต้ของทวีปเอเชีย”
ยอดขายถ่านหินทั้งหมดของบ้านปู 43 ล้านตัน
สรุปแต่ละประเทศ
ธุรกิจถ่านหินอินโดนีเซีย
· Indonesia มีส่วนลดคุณภาพ ราคาถ่านหิน 64.95 เหรียญ ลดลง 17%
· ปริมาณการผลิต 29.4 ล้านตัน เพิ่ม 8%
· ITM (ถือ 65%) ขายถ่านหินให้ไทย ใช้ราคาตลาดโลก ไม่ได้ทำกำไรนอกประเทศ
· ทั้งนี้ ภาษีที่อินโด จัดเก็บหลายขั้นตอน ทำให้การตีความไม่ตรงกัน
ทางเราจึงต้องพึ่งศาลภาษีอากร เนื่องจากเรานับทั้งปีที่ขาดทุนและกำไร
แต่ทางอินโดนับเฉพาะปีที่กำไร
แนวทางแก้ไข คุยกับฝ่ายกฎหมายล่วงหน้า ทำแล้วจะได้ถูกต้อง
Cost Management
· ลดต้นทุน ลดสัดส่วนหน้าดินต่อถ่านหิน หน้าดินต่ำกว่าเพิ่มขึ้น ลดจากราคาท่าหลวงและอยู่บนเรือและส่งออก
· ทำให้บริษัทสามารถลดต้นทุนถ่านหินจาก 70 เหรียญ ในปี 2555 เหลือ 62 เหรียญในปี 2556 ลดได้ถึง 11%
· เหมืองเปิดใหม่อย่าง บารินโต ที่เพิ่มกำลังการผลิตขึ้นไปอย่างชัดเจนในปีที่ผ่านมา
และกำลังจะมีสัญญาซื้อขายกับรัฐบาล
· โครงการเครื่องบดถ่านหิน ที่เหมือง East Block (อินโดมินโคฝั่งตะวันออก) และเหมืองบารินโต ลำเลียงด้วย
สายพาน แทน รถบรรทุก ทำเสร็จปลายปี 56 พอดี
ย้ายเครื่องจักรบางส่วนที่อยู่เหมืองแม่เมาะ, ลำปาง และโจ-ร่ง ในอดีตที่ไม่ได้ใช้ ไปรวม และมีซื้อเพิ่มบางส่วน
ทำเสร็จแล้ว ลำเลียงตัวหน้าดินได้ 14 ล้านลูกบาศก์เมตร
· และใช้ไฟฟ้าที่เราผลิตจากบอนตันที่เราทำมาเมื่อหลายปีก่อน ลดต้นทุนในการใช้พลังงานน้ำมัน
และการผลิตลงไปด้วย
· เจรจาขนส่งถ่านหินบนเรือ ปัจจุบัน ลากจูงเรือ 10กว่าล้านตัน จาก ทรูบาอินโด
· งบลงทุนถ่านหินในอินโด ใช้ไปน้อยมาก
เราพยายามไม่ใช้จ่ายอะไรที่ไม่จำเป็น
ธุรกิจถ่านหินออสเตรเลีย
· ใน Australia นั้นบ้านปูลงทุนในเหมืองต่างๆผ่าน บริษัท Centennial Coal Company Limited (Centennial)
· ราคาขายของ Coteninal 69.75 เหรียญ ลดลง 4% เป็นการขายในปท 62% ส่งออก 38%
· ปริมาณการผลิต 13.8 ล้านตัน ลดลง 8แสนตันจากปี 2555 ปิดเหมือง 2 แห่ง เหมืองแอรี่ และเหมืองแมนดาริ่ง
ทำให้ เหมืองใหญ่สุดในเหมืองถ่านหินแมนดาลองผลิตลดลงเองจากเครื่องจักรที่เข้าไปตัดที่เรียกว่า Long Wall
เข้าตัดไวมาก ตัวที่พัฒนาไปล่วงหน้าไม่ทัน ในขณะนี้ได้ซื้อตัวที่พัฒนามาแล้ว
คาดว่าจะแก้ปัญหาได้ในปีนี้
Cost Management
· ลด คชจ. ในการลงทุนไป เนื่องจากเหมืองส่วนใหญ่เราติดตั้งอุปกรณ์ครบหมดแล้ว รวมทั้งเรื่องในการจัดส่ง
รถล้อยาง เราเป็นระบบเป็นหยอดลงด้วยตัว Hopper (กรวยบรรจุ) แล้วนำรถไฟเข้าไปรับ กำลังใกล้จะเสร็จ
ทำให้การขนส่งด้วยรถไฟ ท่าเรือ ส่งออก และส่งให้โรงไฟฟ้า ให้มีสมดุลมากที่สุด
· ระหว่างปี เจรจาขายถ่านหินในประเทศมากขึ้น สัญญา 8 ปี 24 ล้านตัน เทียบราคาส่งออก แต่ขายในประเทศ
แก้ปัญหาตลาดส่งออก ที่ล้นตลาดอยู่
ธุรกิจถ่านหินในจีน
· เหมืองเกาเหอ (ถือ 45%) ผลิต 6 ล้านตัน เพิ่มจากเป้า 5 ล้านตัน เกินเป้า และกำลังพัฒนารางรถไฟ
· เหมืองเฮ่อปี้ (ถือ 40%) ผลิตคงตัว 1.2 ล้านตัน
· คิดเป็นส่วนของบริษัท 3.2 ล้านตัน
ธุรกิจถ่านหินมองโกเลีย
· เหมือนซานต์ฮูล ได้ทดลองนำถ่านหินจากจีน มาอบแปรรูปให้เป็น น้ำมัน เป็นก๊าซ
ลงทุนในเครื่องทดลองขนาดเล็ก เสร็จกลางปีนี้ จะไปทดลองที่แหล่งเลย
แล้วจะเริ่มโครงการในมองโกเลีย
น้ำมันที่ได้เป็นน้ำมัน Light oil ถ้าผลิตไปหาน้ำมัน Diesel จะได้ต้นทุนต่ำ
· แหล่งอัลไต นูร์ส ซีกตะวันตก เป็นแหล่งถ่านหิน Hard Coking coal (ถ่านหินแข็งที่ใช้ในการถลุงเหล็ก)
สำรวจเสร็จสิ้นปี 56 แต่ผลการเจาะต้อง test ในห้อง Lab ก่อน และศึกษาผลเศรษฐกิจ ซึ่งทราบผลปี 2557
· แหล่ง UK เหนือซานต์ฮูลขึ้นไป เป็นเหมืองขนาดใหญ่หลายร้อยล้านตัน คุณภาพปานกลาง
Test ตัวแปรรูปน้ำมันเช่นกัน อยู่ระหว่างทดสอบ รอผลให้ชัดเจน
ธุรกิจโรงไฟฟ้า
ในจีน
· เริ่ม2006 ซื้อต้นทุน 85 ล้านเหรียญ ปรับปรุงระหว่างซื้อ 23 ล้านเหรียญ อีกทั้งมีการขยายย่อย รวมแล้ว 150 ล้านเหรียญ
ทำกำไรได้สูงสุดในปี 2556 ที่ 24 ล้านเหรียญ (ถือ 100% 1โรง และ 70%อีก 1 โรง) คิดเป็น Return 16%
· ได้ประโยชน์จากต้นทุนถ่านหินที่ถูกลง และความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้น
· 3 เมืองในจีนทางภาคเหนือ 400 เมกะวัตต์
ในไทย
· BANPU ถือหุ้นร้อยละ 50 ในบริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด (BLCP) โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน
ขนาด 1,434 เมกะวัตต์ ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง
· กำไรเพิ่ม 13% เป็น 82 ล้านเหรียญ
ในลาว
· โรงไฟฟ้าหงสา ถือหุ้น 40% มี 3 Units
· โดย Unit แรก จากสิ้นปี 78% คืบหน้าเป็น 81% แล้ว Unit 1 จะเสร็จกลางปี 58
· Unit 2 ปลายปี 58 และ Unit 3 ต้นปี 59 โดยรวม 3 Unit ที่ 1,300 เมกะวัตต์
· ขาย 95% เข้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นเวลา 25 ปี อีกส่วนขายเข้าการไฟฟ้าลาว หลวงพระบาง
· จำนวนเงินลงทุนขนาดใหญ่มาก 3,700 ล้านเหรียญ
· เริ่มจ่ายค่าทุน 340 ล้านเหรียญ เหลือ 300 ล้านเหรียญที่ต้องจ่าย เริ่มจ่ายกลางปีหน้าเป็นต้นไป ถึง 2559
โอกาสของธุรกิจโรงไฟฟ้า
· India Key ยังขาดไฟฟ้าอีกมาก
· Indonesia อัตราการโตของประชากรมาก และ Economic ก็โต
· Philippine 100 ล้านคน และ Economic โต ซึ่งฐานการไฟฟ้ายังต่ำ โอกาสโตอีกมาก
GM ถ่านหิน 32% ปี 56 38% ปี 55
GM โรงไฟฟ้า 27% ปี 56 17% ปี 55
กำไรอื่นๆ
กำไรอื่นๆ อาทิ Coal Swap ล่วงหน้า ไม่ขาดทุน , ซื้อน้ำมัน Diesel ล่วงหน้า กำไร 5 m เหรียญ ,
อนุพันธ์ US-Baht AUS-US กำไร 22m เหรียญ
แต่ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 27m ทำให้เท่าทุนกันไป
Q1-57
Q1-57 ราคาถ่านหินล่วงหน้า 83 เหรียญ ลดลงเหลือ 75 เหรียญ ในเวลาไม่ถึง 1 เดือน
ทั้งนี้ บ้านปูกำหนดราคาขายล่วงหน้าแล้ว และไฟฟ้าเป็นส่วนที่จะช่วยให้กำไรยั่งยืน
(ปี 56 กำไรจากธุรกิจไฟฟ้า = 50% ของทั้งหมด)
นโยบายการลงทุน
บ้านเรา Gas Return เลข 1 หลัก (แน่นอน แต่ Return ต่ำไป)
บ้านปูต้องการ 2 หลักขึ้นไป
ลงทุน Solar Cell และ Wind ในประเทศที่เราคุ้นเคย และมีฐานการผลิตอยู่แล้วส่วนใหญ่
เดือนธันวาคม 56 ไปดู น้ำมันและแก๊สที่แคนนาดา เดือนหน้า คุณชนินท์ จะไปดูที่อเมริกา ผลระยะยาว
กำไรของโรงไฟฟ้า ต่อ กำไรรวม
· เป็นสัดส่วน 25% จากการดำเนินงานมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 (ค.ศ.1992) เป็นเวลา 20 กว่าปี
· โดย ไฟฟ้า + หงสา จะตั้งเป้า 3x-45% ใน 3-4 ปีข้างหน้า
การลงทุนในธุรกิจไฟฟ้าจากถ่านหิน
โรงไฟฟ้าเดิม จีน ฟิลิปปินส์ และบางประเทศ ส่วนนี้ทางบ้านปูสนใจไปลงทุน เพราะรับรู้รายได้เร็วกว่า
เวียดนามอินโดนีเซีย พม่า ยังไม่มี – เป็นโครงการยื่นขอพัฒนา ประมูล กว่าจะสร้างเสร็จ 5-6 ปี เราก็เข้าไปดู
เป็นการใช้เงินน้อย แต่ต้องมีทีมงาน
ขยาย BLCP อีก 1,000 เมกะวัตต์
การลดต้นทุน
สำนักงานกรุงเทพ พนักงาน 200 คน
ลด คชจ 10% ทำได้ตามแผน
ค่าจ้างคน และบริหาร 142 ล้านเหรียญ ลดได้ 10%
ค่าขนส่ง IT
เลื่อนแผนการลงทุนออกไป
การบริหารจัดการด้านการเงิน
ราคาถ่านหินลดลงมีผลต่อราคาหุ้น
ซื้อหุ้นคืน 5% และลดทุน
เหลือ 2,580 ล้านหุ้น
สกุลเงินที่มีผลต่อบ้านปู ได้แก่ US
AUS หยวน รูเปีย พยายามสมดุล
· Cross Currency Swap
เปลี่ยนบาท เป็นแปลงหนี้เป็นหนี้สกุลเงิน US มากขึ้น
หุ้นกู้ไทยบาท 300 เหรียญ
4,500 ล้านบาท 7-10 ปี (150 ล้านเหรียญ)
150 ล้านเหรียญ ระยะยาว ขายในไทย
· Interest Rate Swap
Fixed Interest Rate มากขึ้น ทำมา 3 ปี ทำให้สัดส่วนดอกเบี้ยคงที่เป็น 60% จากหนี้ทั้งหมด เป้า 65-70%
ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า Coal Swap ,Diesel Swap
ซื้อหนี้คืน และขยายอายุเงินกู้จาก 3 ปี เป็น 6 ปี
Dividend
รักษาอัตราจ่ายเงินปันผล
เครดิตปันผลไม่ได้
ปีก่อน 30% เนื่องจากส่วนของกำไรสะสมจ่ายจดหมดแล้วที่เสียภาษี
ปัจจุบันส่วนใหญ่ได้ BOI จึงไม่สามารถเครดิตภาษีได้
เริ่ม Trading ถ่านหิน
ก่อตั้งสำนักงานด้านการตลาด ย้ายคนไปรวมที่สิงคโปร์ จากไทย จากาตาร์ ออสเตรเลีย ทพตลาดรวมในเอเชีย
ปริมาณส่งออกจากอินโดนีเซีย 28 ล้านตัน
ปริมาณส่งออกจาก Centennial ออสเตรเลีย 5 ล้านตัน
2 ส่วนนี้จะโตขึ้น ถ้าเราทำ Trading จะได้supply ที่ใหญ่ขึ้น
ประเด็น Shale Gas
การผันผวนราคาสูงจะยากขึ้น เพราะมีทั้ง Gas และถ่านหินที่มากขึ้น
Law
คดีหงสา อยู่ในศาลอุทธรณ์ อยู่ในภาวะที่เราบริหารได้ โอกาสเกิดน้อย ถึงเกิดก็รับได้อยู่
สินทรัพย์
แสดงที่ราคาทุน ถ้าด้อยค่าก็จะหักเป็น ด้อยค่าในสินทรัพย์ ที่ลงทุนในตลาดก็ตาม ราคาตลาด
การเลือกสถาบันการเงิน
เน้นความสัมพันธ์ในระยะยาว และการให้บริการที่ครบวงจรไปในต่างประเทศได้ ธนาคารไทยที่บริการในตปท. ได้
การต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินในไทย
โอกาสเกิดโรงไฟฟ้าถ่านหินในไทยค่อนข้างยาเพราะประชาชนคัดค้าน
ต่างจากตปท.เช่น จีน ใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้า 70% ตั้งเป้าลดเป็น 65% ใน 4-5 ปี
การผลิตไฟฟ้าของจีน ใกล้ 1 ล้านเมกะวัตต์ ลดไป 5% = 50,000 เมกะวัตต์
โดย 50,000 เมกะวัตต์ ใช้ถ่านหิน 120-150 ล้านตัน/ปี
เทียบไทย 30,000 เมกะวัตต์ เราใช้ก๊าซ 70% เป็นเชื้อเพลิง
และถ้าการเจริญเติบโตของจีนเหลือ 5-6% ค่าการใช้พลังงานจะเพิ่มขึ้นตามการโตของEcomony โต 5%
ก็จะเพิ่ม 50,000 เมกะวัตต์ แสดงว่า การลดสัดส่วน 5% จะลดไปได้เพียง 1 ปี อัตราการใช้ถ่านหินยังคงเพิ่มอยู่
ทางบ้านปูได้มีโครงการให้เยี่ยมชม BLCP มาต่อเนื่อง 7 ปี เป็นโรงไฟฟ้าที่มีมลพิษลดลง และมีมาตรฐานดีระดับโลก
IOD
เรื่องการต่อต้านคอร์รัปชั่น ท่านประธาน นายเกริกไกร จีระแพทย์ เป็นประธาน IOD เป็น 1 ใน 20 บริษัทที่ร่วม IOD
กรรมการต่างชาติคนแรก
นายSudiarso Prasetio ชาวอินโด
บ้านปู บริษัทระหว่างประเทศ ถ่านหิน และโรงไฟฟ้า
ปล. ผิดพลาดประการใด ขอคำชี้แนะจากผู้รู้ด้วยครับ ในการพัฒนาและปรับปรุงตนเองต่อไปครับ ขอบคุณครับ
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 23
IFS by shanghaigeny and Tsurumi
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f ... iew=unread
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f ... iew=unread
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 25
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 26
JMART by Dorasa
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f ... start=1590
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f ... start=1590
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 27
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- thumbman2001
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 8116
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 28
MCS by BLSH Krub
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f ... iew=unread
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f ... iew=unread
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 29
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- Samkok
- Verified User
- โพสต์: 1880
- ผู้ติดตาม: 0
***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 30
ขออนุญาติโพสต์หุ้น MAX ลงกระทู้นี้ครับ เนื่องจากไม่มีในร้อยคนร้อยหุ้น
และไม่ได้เป็นการเขียนเชียร์แต่อย่างใด โดยส่วนตัวผมถือ 1 หุ้น เพื่อมีโอกาสได้ไปประชุม
และได้แวะไปชมบรรยากาศ พบผู้บริหาร
ก่อนที่ โรงแรมเจ้าพระยาพาร์ค ซึ่งใกล้กับสถานที่ต่อไปที่ผมจะไปในช่วงบ่าย AGM TMB จตุจักรครับผม
ข้อมูลที่ได้จากการนั่งประชุมในวันนี้ครับผม
MAX : บริษัท แมกซ์ เมทัล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
สรุปประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2557
11 เมษายน 2557
เท้าความ MAX เดิมทำธุรกิจเครื่องจักรกลการเกษตร เปลี่ยนเป็น Trading เหล็ก พร้อมหนี้สินจากธุรกิจเก่าติดตัวมาด้วย
56 Economy ชะลอ
ภาคก่อสร้างไปได้ดี เอกชนสร้าง Property เรียบทางรถไฟฟ้า
สภาพอุตสาหกรรมเหล็ก
ความต้องการ 18 ล้านตัน แต่ปริมาณผลิตเพียง 7 ล้านตัน ซื้อสุทธิ 11 ล้านตัน
ซึ่งในส่วนการผลิต ผู้ผลิต 2 ราย หยุดผลิต ชั่วคราว ทำให้ MAX ได้รับผลกระทบ
ผู้ผลิตดังกล่าวจะเปิดผลิต มีนาคม 55 แต่เอาเข้าจริงเปิด มิ.ย. – ก.ค. 56 และต้องจ่ายเงินค่าเหล็กล่วงหน้าอีก
แผนปี 57 ขยายฐานทุน
ตอนนี้บริษัทมีเงินสด 40 m ไม่พอ
เหล็ก 1 ตัน ใช้เงิน 25,000 บาท
ซึ่งเงิน 40 m ซื้อได้ 1,000 ตัน
โดยธรรมเนียมการซื้อเหล็กต้องวางเงินล่วงหน้า 7 วัน
และต้องมานั่งลุ้นด้วยว่าจะได้เหล็กไหม
ถาม-ตอบ วาระ 2
ค่าจองสินค้า 70 m คืออะไร
ตอนนั้นปี 55 บริษัทมี Cash 130 m ได้นำเงิน 100 ไปซื้อเหล็ก
วางมัดจำ 100 m แต่ได้เหล็ก 30%
70% ถูก Stocks --- ซึ่งบริษัทได้ตั้งสำรองสูญไปแล้ว
และดำเนินคดี พร้อมยื่น Notice 3-4 ครั้ง ถึงกรรมการทุกท่านของบริษัทนั้น
ซึ่งโรงงาน 2 รายที่เราสั่งซื้อของ หยุดผลิตไป Q3/56 –Q2/56 เราจึงไม่มีของขาย
พึ่งโรงงานในประเทศทั้ง 3 โรงใหญ่ไม่ได้ ทางออกคือนำเข้า
L/C 10,000 ตัน ใช้เงิน 250 ลบ. รอของ 15 วัน
วาระ 3 B/S
อายุเจ้าหนี้ปี 56 พุ่งมา 200กว่าวัน
จริงๆแล้วเราซื้อสด ขายสด
แต่สาเหตุมาจาก ผลธุรกิจเดิมจักรกลดีเซล ที่ ตามฟ้องอยู่เลย มีบางส่วนให้ยึด ขายเลยเอาเงินเข้าบริษัท
ทั้งนี้ MAX สำรองหมดแล้ว
ส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น -1,427 m แก้อย่างไร
จาก Operation หลักก่อน หลังจากจากนัดจะมัดรวมหุ้น หรือลดทุนค่อยว่ากัน
วาระ 4 งดจ่าย Dividend
วาระ 6 – 12 เพิ่มทุน PP
ที่มาของการเพิ่มทุน
การทำ Trading เหล็ก
- ยี่ปั๊ว กำไรต่อตัน 300 บาท
- เจ้าของโรงงานขนาดกลาง กำไรตันละ 800 - 1,000 บาท
เรามีเงินสด 40 ลบ. ตกเดือนละ 2,000 ตัน ปีละ 24,000 ตัน กำไรปีละ600 บาท โดยทั้ง ผถห.ด่าแน่
เราจะไม่โต
สร้างโรงงานเอง
เราควรมีทรัพย์สินโรงงานเอง กำไรมากกว่า ก็ควรจะทำ
Deal กับ Bank ที่เขาไปตีโอนทรัพย์สิน (NPA) มา คุยมาพักใหญ่ๆแล้ว
ถ้า MAX จะซื้อขายไหม
เบื้องต้น Balance Sheet ไม่สวย และเงินที่ต้องใช้ซื้อโรงงาน 1000 – 1200 m
เงินมาจ่ายไหน ? กู้ได้ไหม ? Bank มองเหล็กไม่ค่อยดี
เราเพิ่มทุนที่ MAX คุยกับ Partner ขาใหญ่ที่ถือหุ้นด้วยกัน
เรื่องนี้ตั้งแต่หุ้น 0.10 บาท โดยคุณสิริวัฒน์ โตวชิรกุล เห็นตรงกันกับคุณชำนิ จันทร์ฉาย
แต่ Partner ขาใหญ่ไม่เอาด้วย ภาระมันเยอะ เขายอมลดสัดส่วน
ถ้าเพิ่มทุนจาก คุณชำนิ คุณสิริวัฒน์ โตวชิรกุล และรายย่อย
- คุณชำนิ 100 ล้านหุ้น
- คุณสิริวัฒน์ โตวชิรกุล 60 ล้านหุ้น
- รายย่อย 40% 700 ล้านหุ้น
- รวม 800 ล้านหุ้น คูณ 0.03 (BV) ได้เงิน 24 ล้านบาท ทำอะไรไม่ได้
ดูคนนอกเพื่อจัด PP
ปีที่แล้ว ไปหา PP ไม่ได้ และทุกรายดูที่ Book Value ครับ 0.03 จะขอซื้อ 0.027 ตัง
ไม่ไหว คิดแบบ IB ตั้งโจทย์เงินพันลบ. ทำอย่างไร
จนเจอ คุณขจรศิษฐ์ อดียผู้บริหาร ฤทธา (ที่สร้าง Tesco Lotus, Makro) ปัจจุบันท่านทำ Property ในนามส่วนตัว
สนใจ และบริษัทแกใช้เหล็กเยอะ เรื่องนี้ไปเจอกันในสนามกอล์ฟ ตัวคุณชำนิอยู่ซิโนไทยด้วย
เขาเกี่ยวข้องเราจะได้ซื้อเหล็กจากเรา ซึ่งคุณขจรศิษฐ์โดนเบี้ยวเหล็กบ่อยมาก
ทางเราก็ถูกเบี้ยวบ่อยเช่นกัน แต่ไม่กล้าบอกเขา
ที่สุดแล้ว คุยกันได้
รวมอีก 2 ท่าน คุณอนุกูล จองไม่มาก เป็นเจ้าของบริษัท Consult งานระบบ ซึ่งต่อยอด Rev เราได้
คุณสุทธิพจน์ จองไม่มาก Furniture ส่งออก นักลงทุน
ต้องการเงิน 1,100 ลบ.
ต่อรองได้ 0.05 จะไดลูทมาก 3 ท่าน รวม 18,000 ล้านหุ้น = 900 ลบ.
ตอนนั้น 0.15 คิดว่าไดลูทจะเหลือ 0.01
แต่ความจริงหุ้นกลับขึ้น 0.10 - 0.20 - 0.30 - 0.40 ตรงข้ามกับที่คุณชำนิคาดการณ์
เนื่องจากการเก็งกำไร และคาดว่า อนาคตจะดี
ทั้งนี้ทำเหล็กต้องมี Working Capital
อีก 2-3 ปี ได้อีกก้อนจาก Warrant ที่ไม่มีขายในตลาดแก่ 3 ท่านดังกล่าว
5,000 ล้านหุ้น x0.05 = 250 ลบ.
ถ้าติดต่อ Bank ได้โรงงาน 1,000 ลบ.
จะต่อรอง โรงงานจ่ายเงินสด 700 ลบ.
กู้ 300 ทำ longterm 5 ปี
และขอกู้ Working Capital 3-400 ลบ.
ถ้าหากซื้อโรงงานไม่ได้
หนทางที่ทำได้คือ เปิด L/C ทำ Trader เหล็ก ส่งลูกค้าโรงท่อ
ถ้าไม่ทำเหล็ก
- โรงฟฟ้า ? 7 ลบ. ต่อ เมก ต่อ ปี
คุณชำนิ มีไลเซน ขายได้ เมก ละ 20 ลบ.
- ถ่านหิน ? อินโดพึ่งมีเลือกตั้ง ดูคนที่มารับหน้าที่ มีความคิดอย่างไร
- Logistic ? Cost 20% ของทุกธุรกิจในไทย -- ขนส่ง โกดัง งานระบบ
- Property ? ดู Demand & Supply
- Solar Cell
- Wind
ถ้าเพิ่มทุนไม่ได้
ก่อนหน้านั้นคุณชำนิไปนั่งดูบริษัทที่เพิ่มทุนคล้ายเราแต่เขาไม่ได้มติ
ราคาตลาดตอนทำ 0.05 พอถึงว่าประชุมเหลือ 0.02
ผู้ถือหุ้นถามทำไมถึงเอาภาระมาให้ผม ซื้อในตลาดก็ได้
และสถานการณ์บริษัทตอนนี้ Cash 40 ลบ. โดย Fixed Overhead อยู่ได้ 3-4 ปี
ผู้บริหาร 7 คน พนักงาน 5 คน
ใช้เงินส่วนตัว จ้างคนออก 400 คน ที่ระยอง
ถ้าไม่จ้างออก ติดคุก เพราะเป็นคดีอาญา ผู้บริหารเดิมค้างค่าจ้าง เคลียร์เรื่องธุรกิจเก่า
ทำโรงงานเหล็กคนจะพร้อม ?
คุณชำนิ มี Connection อยู่ ทีมงานรอ Standby
คุณชำนิเป็นผู้ก่อตั้งร่วมกับคุณสวัสดิ์ บริษัท เอ็น.ที.เอส.สตีลกรุ๊ป
ผ่านงานที่ นครไทยสตริปมิล , เมทัล สตาร์
ลูกน้องผมรักผมอยู่ ไม่ต้องเป่านกหวีด โทรเรียกก็มา
การค้าการขาย 31 ปีในวงการเหล็ก คิดว่าพอมีน้ำหนักอะไรบ้าง ว่าทำเป็นรึเปล่า
Free Float หลังเพิ่มทุน จะน้อยกว่า 15%
MAX จะหารือกับ กลต. เพื่อขอผ่อนผัน กลต. ขนาดนี้มี Free Float 60%
ปล. ราคาหุ้นถูกหยิบยกขึ้นในมาในที่ประชุมนี้หลายต่อหลายครั้งมากๆครับ
ปิดการประชุมเพียงเท่านี้ครับ
และไม่ได้เป็นการเขียนเชียร์แต่อย่างใด โดยส่วนตัวผมถือ 1 หุ้น เพื่อมีโอกาสได้ไปประชุม
และได้แวะไปชมบรรยากาศ พบผู้บริหาร
ก่อนที่ โรงแรมเจ้าพระยาพาร์ค ซึ่งใกล้กับสถานที่ต่อไปที่ผมจะไปในช่วงบ่าย AGM TMB จตุจักรครับผม
ข้อมูลที่ได้จากการนั่งประชุมในวันนี้ครับผม
MAX : บริษัท แมกซ์ เมทัล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
สรุปประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2557
11 เมษายน 2557
เท้าความ MAX เดิมทำธุรกิจเครื่องจักรกลการเกษตร เปลี่ยนเป็น Trading เหล็ก พร้อมหนี้สินจากธุรกิจเก่าติดตัวมาด้วย
56 Economy ชะลอ
ภาคก่อสร้างไปได้ดี เอกชนสร้าง Property เรียบทางรถไฟฟ้า
สภาพอุตสาหกรรมเหล็ก
ความต้องการ 18 ล้านตัน แต่ปริมาณผลิตเพียง 7 ล้านตัน ซื้อสุทธิ 11 ล้านตัน
ซึ่งในส่วนการผลิต ผู้ผลิต 2 ราย หยุดผลิต ชั่วคราว ทำให้ MAX ได้รับผลกระทบ
ผู้ผลิตดังกล่าวจะเปิดผลิต มีนาคม 55 แต่เอาเข้าจริงเปิด มิ.ย. – ก.ค. 56 และต้องจ่ายเงินค่าเหล็กล่วงหน้าอีก
แผนปี 57 ขยายฐานทุน
ตอนนี้บริษัทมีเงินสด 40 m ไม่พอ
เหล็ก 1 ตัน ใช้เงิน 25,000 บาท
ซึ่งเงิน 40 m ซื้อได้ 1,000 ตัน
โดยธรรมเนียมการซื้อเหล็กต้องวางเงินล่วงหน้า 7 วัน
และต้องมานั่งลุ้นด้วยว่าจะได้เหล็กไหม
ถาม-ตอบ วาระ 2
ค่าจองสินค้า 70 m คืออะไร
ตอนนั้นปี 55 บริษัทมี Cash 130 m ได้นำเงิน 100 ไปซื้อเหล็ก
วางมัดจำ 100 m แต่ได้เหล็ก 30%
70% ถูก Stocks --- ซึ่งบริษัทได้ตั้งสำรองสูญไปแล้ว
และดำเนินคดี พร้อมยื่น Notice 3-4 ครั้ง ถึงกรรมการทุกท่านของบริษัทนั้น
ซึ่งโรงงาน 2 รายที่เราสั่งซื้อของ หยุดผลิตไป Q3/56 –Q2/56 เราจึงไม่มีของขาย
พึ่งโรงงานในประเทศทั้ง 3 โรงใหญ่ไม่ได้ ทางออกคือนำเข้า
L/C 10,000 ตัน ใช้เงิน 250 ลบ. รอของ 15 วัน
วาระ 3 B/S
อายุเจ้าหนี้ปี 56 พุ่งมา 200กว่าวัน
จริงๆแล้วเราซื้อสด ขายสด
แต่สาเหตุมาจาก ผลธุรกิจเดิมจักรกลดีเซล ที่ ตามฟ้องอยู่เลย มีบางส่วนให้ยึด ขายเลยเอาเงินเข้าบริษัท
ทั้งนี้ MAX สำรองหมดแล้ว
ส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น -1,427 m แก้อย่างไร
จาก Operation หลักก่อน หลังจากจากนัดจะมัดรวมหุ้น หรือลดทุนค่อยว่ากัน
วาระ 4 งดจ่าย Dividend
วาระ 6 – 12 เพิ่มทุน PP
ที่มาของการเพิ่มทุน
การทำ Trading เหล็ก
- ยี่ปั๊ว กำไรต่อตัน 300 บาท
- เจ้าของโรงงานขนาดกลาง กำไรตันละ 800 - 1,000 บาท
เรามีเงินสด 40 ลบ. ตกเดือนละ 2,000 ตัน ปีละ 24,000 ตัน กำไรปีละ600 บาท โดยทั้ง ผถห.ด่าแน่
เราจะไม่โต
สร้างโรงงานเอง
เราควรมีทรัพย์สินโรงงานเอง กำไรมากกว่า ก็ควรจะทำ
Deal กับ Bank ที่เขาไปตีโอนทรัพย์สิน (NPA) มา คุยมาพักใหญ่ๆแล้ว
ถ้า MAX จะซื้อขายไหม
เบื้องต้น Balance Sheet ไม่สวย และเงินที่ต้องใช้ซื้อโรงงาน 1000 – 1200 m
เงินมาจ่ายไหน ? กู้ได้ไหม ? Bank มองเหล็กไม่ค่อยดี
เราเพิ่มทุนที่ MAX คุยกับ Partner ขาใหญ่ที่ถือหุ้นด้วยกัน
เรื่องนี้ตั้งแต่หุ้น 0.10 บาท โดยคุณสิริวัฒน์ โตวชิรกุล เห็นตรงกันกับคุณชำนิ จันทร์ฉาย
แต่ Partner ขาใหญ่ไม่เอาด้วย ภาระมันเยอะ เขายอมลดสัดส่วน
ถ้าเพิ่มทุนจาก คุณชำนิ คุณสิริวัฒน์ โตวชิรกุล และรายย่อย
- คุณชำนิ 100 ล้านหุ้น
- คุณสิริวัฒน์ โตวชิรกุล 60 ล้านหุ้น
- รายย่อย 40% 700 ล้านหุ้น
- รวม 800 ล้านหุ้น คูณ 0.03 (BV) ได้เงิน 24 ล้านบาท ทำอะไรไม่ได้
ดูคนนอกเพื่อจัด PP
ปีที่แล้ว ไปหา PP ไม่ได้ และทุกรายดูที่ Book Value ครับ 0.03 จะขอซื้อ 0.027 ตัง
ไม่ไหว คิดแบบ IB ตั้งโจทย์เงินพันลบ. ทำอย่างไร
จนเจอ คุณขจรศิษฐ์ อดียผู้บริหาร ฤทธา (ที่สร้าง Tesco Lotus, Makro) ปัจจุบันท่านทำ Property ในนามส่วนตัว
สนใจ และบริษัทแกใช้เหล็กเยอะ เรื่องนี้ไปเจอกันในสนามกอล์ฟ ตัวคุณชำนิอยู่ซิโนไทยด้วย
เขาเกี่ยวข้องเราจะได้ซื้อเหล็กจากเรา ซึ่งคุณขจรศิษฐ์โดนเบี้ยวเหล็กบ่อยมาก
ทางเราก็ถูกเบี้ยวบ่อยเช่นกัน แต่ไม่กล้าบอกเขา
ที่สุดแล้ว คุยกันได้
รวมอีก 2 ท่าน คุณอนุกูล จองไม่มาก เป็นเจ้าของบริษัท Consult งานระบบ ซึ่งต่อยอด Rev เราได้
คุณสุทธิพจน์ จองไม่มาก Furniture ส่งออก นักลงทุน
ต้องการเงิน 1,100 ลบ.
ต่อรองได้ 0.05 จะไดลูทมาก 3 ท่าน รวม 18,000 ล้านหุ้น = 900 ลบ.
ตอนนั้น 0.15 คิดว่าไดลูทจะเหลือ 0.01
แต่ความจริงหุ้นกลับขึ้น 0.10 - 0.20 - 0.30 - 0.40 ตรงข้ามกับที่คุณชำนิคาดการณ์
เนื่องจากการเก็งกำไร และคาดว่า อนาคตจะดี
ทั้งนี้ทำเหล็กต้องมี Working Capital
อีก 2-3 ปี ได้อีกก้อนจาก Warrant ที่ไม่มีขายในตลาดแก่ 3 ท่านดังกล่าว
5,000 ล้านหุ้น x0.05 = 250 ลบ.
ถ้าติดต่อ Bank ได้โรงงาน 1,000 ลบ.
จะต่อรอง โรงงานจ่ายเงินสด 700 ลบ.
กู้ 300 ทำ longterm 5 ปี
และขอกู้ Working Capital 3-400 ลบ.
ถ้าหากซื้อโรงงานไม่ได้
หนทางที่ทำได้คือ เปิด L/C ทำ Trader เหล็ก ส่งลูกค้าโรงท่อ
ถ้าไม่ทำเหล็ก
- โรงฟฟ้า ? 7 ลบ. ต่อ เมก ต่อ ปี
คุณชำนิ มีไลเซน ขายได้ เมก ละ 20 ลบ.
- ถ่านหิน ? อินโดพึ่งมีเลือกตั้ง ดูคนที่มารับหน้าที่ มีความคิดอย่างไร
- Logistic ? Cost 20% ของทุกธุรกิจในไทย -- ขนส่ง โกดัง งานระบบ
- Property ? ดู Demand & Supply
- Solar Cell
- Wind
ถ้าเพิ่มทุนไม่ได้
ก่อนหน้านั้นคุณชำนิไปนั่งดูบริษัทที่เพิ่มทุนคล้ายเราแต่เขาไม่ได้มติ
ราคาตลาดตอนทำ 0.05 พอถึงว่าประชุมเหลือ 0.02
ผู้ถือหุ้นถามทำไมถึงเอาภาระมาให้ผม ซื้อในตลาดก็ได้
และสถานการณ์บริษัทตอนนี้ Cash 40 ลบ. โดย Fixed Overhead อยู่ได้ 3-4 ปี
ผู้บริหาร 7 คน พนักงาน 5 คน
ใช้เงินส่วนตัว จ้างคนออก 400 คน ที่ระยอง
ถ้าไม่จ้างออก ติดคุก เพราะเป็นคดีอาญา ผู้บริหารเดิมค้างค่าจ้าง เคลียร์เรื่องธุรกิจเก่า
ทำโรงงานเหล็กคนจะพร้อม ?
คุณชำนิ มี Connection อยู่ ทีมงานรอ Standby
คุณชำนิเป็นผู้ก่อตั้งร่วมกับคุณสวัสดิ์ บริษัท เอ็น.ที.เอส.สตีลกรุ๊ป
ผ่านงานที่ นครไทยสตริปมิล , เมทัล สตาร์
ลูกน้องผมรักผมอยู่ ไม่ต้องเป่านกหวีด โทรเรียกก็มา
การค้าการขาย 31 ปีในวงการเหล็ก คิดว่าพอมีน้ำหนักอะไรบ้าง ว่าทำเป็นรึเปล่า
Free Float หลังเพิ่มทุน จะน้อยกว่า 15%
MAX จะหารือกับ กลต. เพื่อขอผ่อนผัน กลต. ขนาดนี้มี Free Float 60%
ปล. ราคาหุ้นถูกหยิบยกขึ้นในมาในที่ประชุมนี้หลายต่อหลายครั้งมากๆครับ
ปิดการประชุมเพียงเท่านี้ครับ
ในโลกหล้านี้... มีเพียงหนึ่งเดียวที่ฟ้ามิอาจลิขิตได้นั่นก็คือ "ยอดคน"