แก่นวีไอ ลงทุนได้ทั่วโลก
-
- Verified User
- โพสต์: 616
- ผู้ติดตาม: 0
แก่นวีไอ ลงทุนได้ทั่วโลก
โพสต์ที่ 1
งานสังสรรค์ VI Q2/57 แก่นวีไอ ลงทุนได้ทั่วโลก
17 สิงหาคม 2557
ขอบพระคุณ อาจารย์ ดร.นิเวศน์, อาจารย์ picatos, พี่ sai ได้รับความรู้ และเป็นการเปิดโลกการลงทุนต่างประเทศที่มีประโยชน์มากๆ ครับ
ขอบคุณทีมงาน ThaiVI ทุกๆ ท่านด้วยครับ งานครั้งนี้ยอดเยี่ยมมากๆ ครับ สาระเต็มๆ พร้อมความอบอุ่น เฮฮา ^^
PART 1 แก่นวีไอ ลงทุนได้ทั่วโลก
1) สไตล์การลงทุน ?
พี่ sai
หุ้นไทยเน้นหุ้น PE ต่ำ ไม่มองยาวมาก 1-2 ปี เน้น Growth เยอะ หุ้นต่างประเทศจะมองแตกต่าง โดยจะมองอนาคตยาวกว่า จะให้ PE มากกว่า
สำหรับการลงทุนต่างประเทศ หัวใจ คือ ข้อมูล ซึ่งหาได้ง่ายมาก เปิด web บริษัท หน้า investor relation ข้อมูลเยอะมาก ละเอียดมาก แต่การจะตรวจสอบข้อมูลว่าถูกต้องหรือไม่ จะยากหน่อย เช่น ข้อมูลจริง พฤติกรรมผู้บริโภค เพราะเราไม่ได้อยู่ที่ประเทศนั้นๆ
ตัวอย่าง facebook สังเกตจากพ่อแม่ เดิมเป็นคน low tech มาก ตอนนี้ติด facebook มาก เราเห็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมชัดเจน เรามองว่ามันดี แต่พอดู PE 80 เท่า หุ้นเทคโนโลยี บัฟเฟตต์ให้ระวัง และมีตัวอย่างเทคโนโลยีแบบนี้เปลี่ยนแปลงได้ง่าย เมื่อก่อนยังเคยมี hi5 ต่อมาเป็น facebook ต่อไปจะเป็นอะไรอีก เราก็ไม่กล้า เกิดความกลัว เราอาจจะไม่รู้ลึกรู้จริง ถ้าอย่าง picatos เค้ารู้จริง ก็เหมือนลงทุนในธุรกิจที่เข้าใจ ราคาก็วิ่งจาก 36 ไป 70 ก็ไม่ถือว่าพลาดแต่ได้เรียนรู้ธุรกิจ เพราะช่วงนั้นก็ติดตามหุ้นตัวนี้ตลอด
ปัจจุบัน ต่างประเทศลงเงิน 10% ลงเวลา 50%
picatos
สไตล์การลงทุน ปรับเปลี่ยนเรื่อยๆ ตลอด 10 ปี ใช้หลักทางพุทธศาสนา หลักความพอดี เช่น รู้เหตุ รู้ผล รูตน รู้ปริมาณ รู้เวลา รู้สังคม รู้บุคคล สไตล์การลงทุนจะเปลี่ยนไปตาม life style ในการดำเนินชีวิต
ปี 2003 เริ่มลงทุน เริ่มต้นผ่านกองทุน เงินยังไม่มาก จากนั้นค่อยๆ เปลี่ยนเป็นหาหุ้น miss price แต่กำลังจะเติบโต เน้นหุ้น PE ต่ำ แต่มี Growth Driver มีความเสี่ยงสูงต้องติดตามใกล้ชิด
เป้าหมายต้องการอิสรภาพ ไม่ใช่แค่เรื่องเงิน ไม่ใช่มีเงินมากมาย ต้องการมีให้พอใช้จ่าย แต่ให้มีอิสรภาพด้านเวลา ทำให้เปลี่ยนสไตล์มาลงทุนในธุรกิจที่ติดตามได้ง่าย ใช้เวลาน้อย
ดังนั้นจึงเน้นมองภาพใหญ่ ไม่ดูรายละเอียดเยอะ อยากเป็นแบบ ทำงาน 0.0001% ได้ผลงาน 99.9999% เช่น ซื้อหุ้นครั้งเดียว ถือจนวันตาย ถือเป็นสมบัติให้ลูกหลาน ไม่ต้องตามงบ ไม่ต้องตามราคาหุ้น อยากหาหุ้นลักษณะนั้น
ทุกอย่างในโลก เดี๋ยวนี้เชื่อมโยงกันหมด เช่น มือถือออกแบบโดยอเมริกา ผลิตจีน ขายไทย พยายามหากิจการที่อยู่ใน circle เช่น facebook Line แม้เป็นธุรกิจจากต่างประเทศ แต่เราใช้ทุกวัน บางธุรกิจ เช่น บริษัทอิเลคทรอนิคส์ ที่ผลิตในไทย เรายังไม่รู้ลึกเท่าพวก facebook Line เลย
2) หลังจากที่เปลี่ยนสไตล์ มีสิ่งใดที่เปลี่ยนไปบ้าง ?
picatos
เมื่อก่อนเน้น mos 50% upside 100% ทุกวันนี้ได้ 10% พอใจแล้ว สิ่งที่ได้คือ ความเครียดน้อยลง มีเวลาใส่ใจสุขภาพ ท่องเที่ยวต่างประเทศได้นานเป็นเดือนๆ โดยไม่ต้องติดตามหุ้น
การมีคู่ชีวิตที่ดี คือ การลงทุนที่ดีที่สุด
3) ทำไมจึงสนใจลงทุนต่างประเทศ ?
พี่ sai
ชอบคุยกับคนฉลาด เช่น โย picatos คุยแล้วเราจะได้มุมคิด ทำให้เราฉลาดขึ้น
ครั้งแรกไปจีน ขาดทุนเยอะ
เป้าหมาย อยากให้ภรรยามีความสุข (กับตัวเลข ^^)
4) ทำไมถึงสนใจ facebook เห็นอะไร ถึงลงทุน?
picatos
ปัญหาส่วนใหญ่ของนักลงทุน คือ เรื่อง bias (อคติ)
ถ้าอยู่คนเดียว ต้องเอาตัวรอดในสภาพแวดล้อมนั้นๆ มักจะมองแย่เกินจริง จะเกิดความกลัว
แต่ถ้ามีพฤติกรรมรวมฝูง จะมั่นใจ จะ over confident
ซึ่งเป็นสาเหตุที่ คนชอบอยู่ใน comfort zone
พอได้ idea ที่น่าสนใจ จะมี bias มากดไว้ จนกระทั่งคนรอบตัวมายืนยันว่ามันดี เราถึงจะกล้า
Facebook เป็นกิจการที่ยอดเยี่ยม และเป็นสิ่งใกล้ตัว ตื่นนอนก็ต้องใช้เป็นสิ่งแรก ก่อนนอนก็ต้องใช้เป็นสิ่งสุดท้าย และการโฆษณาผ่านช่องทางนี้ เป็นอะไรที่มีประสิทธิภาพสูงมาก แต่ติดที่ valuation แล้วค่อนข้างแพง (มี bias)
ก่อนหน้ามีประสบการณ์กับ Netflix ช่วงนั้นก็เห็นว่าคนใช้เยอะ แต่กำไรยังไม่มา เลยยังไม่ลงทุน เลยพลาดจาก 60 วิ่งไป 440 ในเวลาปีกว่าๆ
Facebook เริ่มติดตามตั้งแต่ ipo Q4 2012 รายได้โฆษณาผ่านมือถือเริ่มดี Q1 2013 กำไรดรอปจาก seasoning ตอนนั้นก็คิดเล่นๆ ว่า รายได้โฆษณาได้ซักครึ่งนึงของ google จะได้ PE ไม่ถึง 20 ซึ่งก็เป็นไปได้ เพราะคนใช้เวลาหมดไปกับ facebook เยอะมาก และเป็นกลุ่มเป้าหมายของบริษัทที่ต้องการโฆษณา เพราะ Efficient มาก
เริ่มลงทุนโดยใส่เงินน้อยๆ พอ Q2 2013 เริ่ม confirm สิ่งที่เราคาด ก็ซื้อเพิ่ม
5) ตลาดประเทศอื่นเป็นอย่างไร เช่น เอเชีย ?
picatos
ตัด bias เรื่องประเทศออกไปก่อน เพราะเราลงทุนในกิจการ เนื่องจากหุ้นไทยแพง หาหุ้นลงทุนยาก พยายามมองไปรอบตัวหาโอกาสอื่นๆ สังเกตจากที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ถ้าสินค้าผลิตจากบริษัทต่างประเทศ เมื่อก่อนอาจจะตัดออก ไม่พิจารณาเลย แต่ตอนนี้เหมือนเราได้เครื่องมือเพิ่มขึ้น โดยที่ใช้ชีวิตเหมือนเดิม
ตัวอย่างเช่น booking agoda เติบโต 30-40% / ปี เราก็ใช้บริการบ่อย ใช้เป็น bottom up เลือกหุ้นที่เราใช้บริการ ตัดข้อจำกัดด้านต่างประเทศออกไป เลือกกิจการที่ verify ได้ ใช้ product ใกล้ๆ ตัว
ถ้าลงทุนต่างประเทศแล้วทำให้ชีวิตดีขึ้น นั่นคือคำตอบ แต่ถ้าลงทุนต่างประเทศแล้วทำให้วุ่นวายขึ้น อาจไม่ใช่คำตอบ
หลักการลงทุนควรนอนหลับ (เพราะเวลาไม่ตรงกัน ^^) เอาสบายใจไว้ก่อน
ตอนนี้ก็เริ่มพัฒนา มามอง Top down บ้าง
พี่ sai
สัดส่วนนักลงทุนรายย่อยมากเป็นที่ 2 ของโลก
ต่างประเทศส่วนใหญ่จะลงผ่านกองทุน ทำให้ตลาด efficient มากกว่า
ต่างประเทศ จะไปเล่นๆ ไม่ได้ ต้องประเมินละเอียด เน้นปัจจัยคุณภาพ
ตลาดที่ราคาถูกตอนนี้ คือ รัสเซีย จีน แต่คุณภาพต้องดูรายบริษัทอีกที
6) หุ้นไทยมี 500 กว่าตัว ต่างประเทศประมาณ 50,000 กว่าตัว เริ่มต้นอย่างไร ?
picatos
เริ่มต้นจากกองทุน ช่วงที่ลงกองทุนจะเป็นการบังคับให้เราต้องศึกษาหุ้นนั้นๆ ใส่เวลา 80 อาจจะได้ผลตอบแทนซัก 20
ใส่เงิน 20 ใส่เวลา 80 1+1 จะไม่เท่ากับ 2 ยิ่งถ้าเพิ่มความพยายามเรียนรู้ตลาดต่างประเทศ เราจะได้อะไรมากขึ้น 1+1 อาจจะเป็น 10
มองภาพต่างประเทศชัดขึ้น มองธุรกิจดี ราคาถูก
ตอนนั้น Google PE 12-15 เท่า Growth 20% ต่อเนื่อง
พนักงานปัจจุบันมี 50,000 คน เคยฟังผู้บริหารบอกว่า สามารถสร้างองค์กรสำหรับรองรับพนักงานได้ 1,000,000 คน (คิดดูว่าจะขยายได้อีกขนาดไหน)
Google เป็นที่รวบรวมคนเก่งทั่วโลก คนเก่งๆ อยากทำงานที่นี่
พอได้ภาพแบบนี้ ตอนนั้นคิด อยากจะลงตัวเดียวทั้งพอร์ตเลย เพราะมองว่าเป็นการลงทุนที่ดี คือ มันไม่ต้องคิดอะไรมาก เพราะเห็นอยู่ ก็ติดตามไป ยังไม่คิดขาย
พี่ sai
มีกลุ่มเพื่อนๆ ที่ลงทุนต่างประเทศ ก็มีแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน
อย่าง google ทราบว่าจะมีการผลิตรถ self drive (ขับเองอัตโนมัติ) ก็สนใจ
สนใจลงทุนหุ้นจีน เพราะเคยไปเรียนที่นั่น ตอนนั้นเคยอ่านยอดขายมือถือ Xiaomi เป็นอันดับ 1 ในจีน (อยู่นอกตลาด) แซง Sumsung Lenovo ก็สนใจอ่านบทความนั้นอยู่นานจนจบ จากนั้นก็ไปตามอ่าน Sumsung Lenovo ก็เหมือนได้ต่อยอดความรู้ เกิดไอเดียการลงทุนไปลงทุนหุ้นอื่นๆ
ภาษาอังกฤษอาจจะไม่เก่งมาก แต่ใช้ตัวช่วยแปล ก็พอช่วยได้
ศึกษาหุ้นต่างประเทศมีแต่บวกกับตัวเรา
เวลาลงทุนให้ conservative มากๆ
ขนาดนักลงทุนที่เก่งมากๆ (ที่พี่ sai คิดว่า ในไทย ถ้านึกถึงคนเก่ง 1 ใน 10 ต้องนึกถึงท่านนี้) ก็ยังทำผลตอบแทนได้ไม่ดี เพราะฉะนั้นไปต่างประเทศนั้นไม่ง่าย
ข้อมูลส่วนใหญ่ดูจาก seekingalpha
พวกแฟชั่น/เทคโนโลยี ยังไม่ค่อยกล้า เช่น facebook จะมีอะไรมาแทน เพราะเมื่อก่อนเคยมี hi5 แต่อาจจะเป็นที่เราเข้าใจพวกนี้น้อย ถ้าคนเข้าใจก็อาจลงทุนได้
อย่าง Coca Cola อาจจะกล้าลงทุนมากกว่า
Google ก็อาจจะลงทุนแล้วสบายใจกว่า Facebook เพราะดูแล้วไม่มีคู่แข่ง มีจุดแข็งมากกว่า
หุ้นแฟชั่นอเมริกา ก็เกิดผลกระทบจาก H&M Forever21 ก็ไม่รู้ต่อไปจะมีอะไรมาอีก
สุดท้ายอยู่ที่ความเข้าใจของแต่ละบุคคลที่จะเลือกลงทุนใดๆ
7) จำเป็นหรือไม่ ที่นักลงทุนไทยต้องไปลงทุนต่างประเทศ ?
picatos
ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าต้องการอะไร
แต่ให้ภาพอนาคตว่า เราจะอยู่รอดยังไง สังคมนักลงทุนเติบโต เทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น โลกเชื่อมกันหมด
เมื่อก่อนตอนไม่มี internet ใครสนิทกับ Broker ได้ข้อมูลก่อน ต่อมามี webboard ล่าสุดตอนนี้ มี Line group
เราเคยได้ยิน กลยุทธ์ปลาใหญ่กินปลาเล็ก ปลาเร็วกินปลาช้า แต่ตอนนี้ ปลาช้ามันติดไอพ่น ปลาเล็กมันติดที่ครอบปากให้ใหญ่ขึ้น
เป้าหมายคือ ต้องการอิสรภาพทางด้านเวลา ดังนั้นเลือกหุ้นที่ติดตามได้ง่าย
ในชีวิตไม่เคยไปอเมริกาเลย แต่ปัจจุบันมีสัดส่วนพอร์ตลงทุนในอเมริกา 60% เพราะส่วนใหญ่ใช้ product เหล่านั้นในชีวิตประจำวัน ติดตามง่าย
โลกเป็นหนึ่งเดียวมากขึ้น ตลาดไทยก็มีการแข่งขันสูงขึ้น ก็ลงทุนยากขึ้น ตลาดหุ้นไทยจะสมเหตุสมผลมากขึ้น เราจะอยู่รอดอย่างไร คนที่มีกำลัง มีเงินทุนก็จะเข้ามา ยุคต่อไปจะเป็น Create Economy เป็นตลาดของคนที่มีความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ การแข่งขันจะรุนแรงขึ้น
เรา concern การแข่งขันที่จะรุนแรงขึ้นนี้หรือไม่ แล้วถ้าเราปรับตัวไม่ทัน เราอาจจะเป็นปลาเล็กหรือปลาช้าที่โดนกิน
เป็นการกระจายความเสี่ยง เพราะวิกฤตแต่ละประเทศเกิดไม่พร้อมกัน ตัวอย่าง ต้มยำกุ้ง ไทย -50% อเมริกา +30%
พี่ sai
ในไทยสินค้าเกษตร ราคาอาจจะยังไม่ดีไปอีก 4-5 ปี
พวกส่งออกอิเลคทรอนิคส์ ไทยยังผลิตพวกสินค้าที่โลกกำลังจะเลิกใช้ เช่น Floppy disk Ram อยู่เลย ถ้ายกเลิก สัดส่วนส่งออกน่าจะลดลง
เศรษฐกิจไทยอาจจะโตช้า
แต่ถ้ามองต่างประเทศ เช่น จีน ภาพมันชัดว่าโต
8) ความเสี่ยงในการลงทุนต่างประเทศ ?
picatos
ความเสี่ยงที่สำคัญที่สุด คือ market risk
ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจอยู่แล้ว แต่ต้องดูว่าเป็นสาระสำคัญ ส่งผลต่อกิจการหรือไม่
วิเคราะห์เหมือนกิจการในไทย กฎหมาย ภาษี ฯลฯ
พี่ sai
ชอบลงทุนในประเทศที่แข็งแรงกว่าไทย
ตัวอย่างหุ้น google รายได้ต่างประเทศ : ในประเทศ = 60 : 40
จริงๆ คงเหมือนกัน อย่างในไทย ถ้าลงทุนหุ้นชาเขียว จะมีเก็บภาษี ซึ่งนักลงทุนต่างประเทศอาจจะงงว่ามีแบบนี้ด้วย
ลงทุนต่างประเทศก็เป็นการกระจายความเสี่ยงอย่างหนึ่ง
9) สมมุติมีไข่ 2 ใบ สำหรับคนพอร์ตเล็ก จำเป็นต้องกระจายความเสี่ยงไปต่างประเทศหรือไม่ ?
picatos
ขึ้นอยู่กับแต่ละคน บางคนหัวอินเตอร์ หา balance ของตัวเองมากกว่า
แต่ลองดูก็ได้ ถ้าไม่ work ก็ถอยกลับมาได้
แต่ส่วนตัว ตอนพอร์ตเล็ก ใช้กลยุทธ์ปลาเร็ว ใช้เครือข่ายข้อมูล แต่ไปต่างประเทศไม่เหมือนกัน จะรู้สึกโดดเดี่ยว ต้องทำอะไรด้วยตนเอง ช่วงพอร์ตเล็กเน้นในไทยเป็นหลัก
10) กรณีศึกษาที่ สำเร็จ/ผิดพลาด ?
picatos
ข้อมูลบริษัทต่างประเทศเยอะมาก บางทีท้อ แต่ต้องขยัน เพื่อจะได้ขี้เกียจในอนาคต
ตัวอย่าง แค่ข้อมูลจ่ายปันผล google เอกสาร 500 หน้า อเมริกาบ้าข้อมูลมาก
เราต้องดูภาพใหญ่ ดูสาระสำคัญ คัดกรองข้อมูล
สำคัญที่สุด คือ ปัจจัยเชิงคุณภาพของกิจการ ผู้บริหาร ผู้บริโภค มองให้เป็น มี sense ทางธุรกิจ
พี่ sai
มีตัวอย่าง หุ้นจีน ทำเกี่ยวกับจุลินทรีย์ใส่ยา ใส่อาหาร เป็นเทคโนโลยีใหม่ มีคู่แข่งน้อยราย ภาพดูดีหมด
ROE 30% GPM 65-70% NPM30-35% เงินสด 6$ กำไร 2$ ราคา 10$ ดูแล้วน่าลงทุนมาก
มีขยาย retail เพิ่งเจาะตลาด 13 มณฑล ยังเติบโตได้อีกมาก มีการขยายกำลังการผลิต market share อันดับ 1 ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก PE 5-6 เท่า ถ้าหักเงินสดออก PE 2 เท่า
ติดอันดับ 72 fortune หุ้น small cap เติบโตเร็ว ผู้ตรวจสอบบัญชี big 4
แต่เริ่มพบสิ่งผิดปกติในงบ ข้อมูลที่รายงานไม่ตรงกัน ดอกเบี้ยรับไม่ตรง พอบินไปดูจริง (เพื่อนพี่ sai) ดูเงินสดก็เอาบัญชีธนาคารให้ดู ถามว่า location retail มีตรงไหนบ้างก็ไม่ยอมบอก
มีการเพิ่มทุนตลอดทาง ออก convertible bond สุดท้าย ผู้ตรวจบัญชีไม่รับรอง ราคาจาก 20$ เหลือ 0.0000
ถูกมากกว่าคำว่าถูก คือ ถูกหลอก
ถ้าจะลงทุนในจีนต้องหาข้อมูล confirm ดีๆ เช่นสอบถามเพื่อนที่จีน หรือไปดูกิจการจริงๆ ดูผู้บริหาร
picatos
ช่วงต้นปีเริ่มสนใจลงทุนประเทศอื่นๆ ตอนนั้นดูจีน รัสเซีย เกาหลีใต้ เพราะถูก แต่รัสเซียกับเกาหลีใต้ตัดไป เลือกจีนเพราะคุ้นเคยกว่า เป็นครอบครัวคนจีน
ตลาดหุ้นจีน 2000 จุด เท่ากับเมื่อ 10 ปีที่แล้ว (เคยสูงสุด 6000) PE 7-8 เท่า
หุ้นไทย PE 14-15 เท่า ถ้าไม่คิด แบงค์ พลังงาน PE 25 เท่า
ลงทุนจีนก็ยังกลัวๆ (ได้ข้อมูลจากพี่ sai) อีกอย่างไม่เคยใช้ product
ลงทุนจีน 15% เป็นกองทุนครึ่งนึง อีกครึ่งเป็นหุ้นรายตัว
เลือกผิงอัน เพราะเห็นว่า CP ยังสนใจ แสดงว่าต้องมีอะไรดี และบริษัทมีตัวตนจริง
ดูจาก paper valuation 11-12 เท่า upside 100% ซื้อมา 2-3 เดือน จาก 60 ไป 66 กำไรประมาณ 10%
พยายามศึกษาตัวอื่นๆ พวกค้าปลีก แข่งขันรุนแรง ห้างสรรพสินค้าพฤติกรรมไม่เหมือนคนไทย คือ ไปห้าง ถ่ายรูปแล้วสั่งของที่บ้าน กลุ่มเทเลคอมก็ยังไม่ค่อยแน่ใจ
ไปเจอหุ้นโรงเรียนสอนพิเศษ น่าสนใจ
ในไทย ผ่านมา 20 ปี ครูที่มีชื่อเสียง ยังเป็นคนเดิม แสดงว่าธุรกิจนี้ต้องมี DCA บางอย่าง
ในจีน การแข่งขันสอบเข้ามีประวัติศาตร์ยาวนานเป็น 1,000 ปี ซึ่งเปลี่ยนแปลงค่านิยมนี้ได้ยาก มีการแข่งขันสูงมาก คนเอาจริงเอาจังเรื่องนี้มาก
ไปเจอบริษัทนึง ได้รับลิขสิทธิ์ในการสอน TOEFL GRE แต่เพียงผู้เดียว ดูแล้วน่าสนใจ เพราะมีจุดแข็งไม่เหมือนรายอื่นๆ
ประเมินว่า แม้ว่า เศรษฐกิจตกต่ำ แต่เรื่องการเรียน พ่อแม่ต้องสนับสนุนลูกเต็มที่ ไม่น่าจะส่งผลกระทบ
PE 15 เท่า Growth 20%
ตัดสินใจซื้อ ต่อมาโบรคเกอร์ปรับ Outlook ว่าจะเติบโต drop ลง ทำให้ราคา ลดลง 20%
สรุป คือ ลงทุนในจีน ก็ไม่ง่าย
11) บทสรุป ?
พี่ sai
พยายาม valuation conservative มองธุรกิจยาวๆ ขึ้นหน่อย ภาพระยะสั้นไม่สะท้อนความจริง ต่อไปเมื่อตลาดเปิดเสรีมากขึ้น การแข่งขันจะรุนแรงมากขึ้น
พยายามมอง long term มองแบบธุรกิจ การแข่งขัน หาผู้ชนะ
picatos
ขอบคุณทุกท่าน ไม่รู้คนฟังจะได้อะไรหรือเปล่า แต่ตนเองได้ประโยชน์แน่ๆ เพราะก่อนจะมาพูด ต้องเตรียมตัว เป็นการบังคับตัวเองให้คิด ทบทวนความคิดตนเอง ในสิ่งที่จะมาพูดในวันนี้
สิ่งที่จะฝากนักลงทุน ทุกวันนี้ข้อมูลเยอะมาก ข้อมูลอาจจะเยอะจนมากเกินไป อยากให้ลองหยุดรับข้อมูล แล้วลองอยู่กับตัวเอง ทบทวนตนเองให้เกิดเป็นแก่นการลงทุนของตนเอง ชนะขีดจำกัดของตนเอง เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
12) ลงทุนต่างประเทศยุ่งยากไหม เรื่องภาษี ขั้นตอนเอาเงินกลับ ?
picatos
รายละเอียดแต่ละประเทศต่างกัน สอบถามโบรคดีที่สุด หลักๆ คือ ลงทุนต่างประเทศควรลงทุนระยะยาว ถ้าต้องการเอาเงินกลับให้ถือจนถึงก่อนสิ้นปี แล้วขายเป็นเงินสด แล้วเอาเงินกลับต้นปี
เริ่มต้นผ่านกองทุนก่อนก็ได้
13) website ที่น่าสนใจ ?
พี่ sai
Google finance, Bloomberg, seeking alpha, investor relation ของแต่ละบริษัท
14) แนะนำ Broker ?
picatos
แรกๆ เปิด port 4-5 ราย เปรียบเทียบกัน สุดท้ายเลือกรายที่แพงที่สุด เพราะให้ข้อมูล support รวมถึง service ดีสุด
บทวิเคราะห์มีประโยชน์มาก เพราะพวกนี้ทำให้พวกกองทุนอ่าน เราอ่านแล้ว เปิดโลกเรามากๆ ได้ความรู้มาก
15) ตลาดหุ้นจีน PE ต่ำ เพราะศักยภาพเติบโตน้อยกว่าไทย ?
picatos
ถ้าพูดถึงศักยภาพ ไม่น่าจะใช่ ตัวอย่าง alibaba ยอดขายมากกว่า amazon+ebay
จีนไม่ได้มีปัญหาในการเติบโต GDP โต 7-10% มาตลอด แต่อาจจะมีปัญหาบาง sector เช่น อสังหาริมทรัพย์ Shadow banking (หนี้เน่า)
แยก sector New China Economy PE 25, Old China Economy PE10, อื่นๆ PE 6
16) ลงทุนในประเทศที่พัฒนาแล้ว vs ประเทศกำลังพัฒนา ?
พี่ sai
Facebook รายได้ 1900 เป็น 10000 ภายใน 4 ปี, google รายได้มาก แต่ยังโตต่อเนื่อง 20% ตลอด
ผิงอัน โต 30-40% หลายปีต่อเนื่อง
จริงๆ ลงทุนที่ไหนก็ได้ เลือกเป็นรายบริษัท ขอให้เติบโตได้จริง
ถ้าลงทุนประเทศที่กำลังพัฒนาตอนนี้ เช่น เวียดนาม จะคล้ายๆ ปี 2542 คือ หลังต้มยำกุ้ง แล้วมีการจัดการแก้ไขปัญหาบ้างแล้ว แต่อาจจะมีปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือของงบการเงิน
หุ้นจีนถูก แต่ต้องไปเจาะรายตัว
เวียดนามก็น่าสนใจ เพราะติดตามง่ายกว่า ไป visit ง่ายกว่า
picatos
ตอนนี้มีกลุ่มประเทศที่เรียกว่า new frontier economy คือ กลุ่มประเทศที่เพิ่งปรากฎขึ้นมา เช่น พวกแอฟริกา ก็น่าสนใจ
จีนเมื่อก่อนปิดประเทศ พอเปิดประเทศ ข้อมูล การลงทุนหลั่งไหล เกิดการเติบโตอย่างรวดเร็ว
ตอนนี้ลงทุนต่างประเทศ 80% เป็นอเมริกา 60% จีน 15% new frontier 5%
ประชากรโลก 5,000 ล้านคน เป็นกลุ่มคนจนประมาณ 3,000 ล้าน ถ้าคนกลุ่มนี้มีรายได้เพิ่มขึ้น จะเติบโตมาก ซึ่งน่าสนใจ วิธีการคือ ลงทุนในกองทุนไปก่อน ศึกษาไปก่อน
PART 2 ถาม-ตอบ สบายๆ กับ ดร.นิเวศน์
1) จุดเริ่มต้นลงทุนต่างประเทศ ?
เมื่อก่อนไม่สนใจ หลังๆ มีเงินสดจากปันผล จากการขายหุ้น ไม่รู้จะลงทุนอะไร เพราะในไทยค่อนข้างแพง
พอดี Money Talk เชิญไปโปรโมท AEC Asian linkage ไปมาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม
มีเงินลงทุนต่างประเทศ ประมาณ 4-5% ถ้ารอตลาดไทย ไม่รู้ต้องรออีกนานแค่ไหน กว่าตลาดจะลง
คุยกับเพื่อนชาวต่างชาติที่เป็นผู้บริหารกองทุนที่อยู่เมืองไทยมานาน ส่วนใหญ่ขายหุ้นไทยไปหมดแล้ว ขายตอนปีที่แล้วดัชนี 1,600 แล้วไปลงทุนที่จีน เวียดนาม เค้าเล่าว่า ผลตอบแทนดี ไปไม่นานได้ 10% ล่ะ แล้วก็ให้ list หุ้นเรามา ก็เป็นโอกาสที่จะให้ลูกได้เริ่มศึกษาเรื่องหุ้น
ตัวอย่างธุรกิจในเวียดนาม เช่น ธุรกิจขายแบบเรียน PE 6 BV<1 ปันผล 10% เป็น monopoly แต่ราคาไม่ไปไหน เพราะไม่มีคนเล่นหุ้น
ราคาตลาดหุ้นเวียดนามตกลงมากว่า 50% เปิดมา 10 กว่าปี ตลาดไม่ไปไหน Volume 2,000 ล้าน ตลาดซบเซา
เปรียบเทียบ เหมือนไทยช่วงหลังต้มยำกุ้ง ก็คล้ายๆ แบบนี้ ก็หวังว่า อาจจะมีโอกาสแบบนั้นอีก คือ ใช้เงินลงทุนน้อยๆ แต่ผลตอบแทนมาก
เวียดนาม ประชากร 80 ล้านคน คนขยันทำมาหากิน เศรษฐกิจโต 5-6% มีทรัพยกร แร่ ชายทะเล คนเวียดนามต้อนรับนักท่องเที่ยวไม่แพ้ไทย
เหตุผล คือ ความเป็น สังคมนิยม ยังเปิดประเทศไม่ 100% เคยมีคนกล่าวว่า ถ้าจะทำธุรกิจเวียดนาม ต้องเจรจา 3 ฝ่าย รัฐบาล พรรคคอมมิวนิสต์ สภา ปัจจุบันเริ่มเปิดประเทศมากขึ้น
เวียดนามเริ่มท้าทายไทยมากขึ้น Sumsung ไปตั้งฐานผลิตที่นั่น ค่าแรงที่นั่นเป็น 1/3 ของค่าแรงไทย
ประชากรยังอยู่วัยทำงาน คนหนุ่มสาวมาก แต่เงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยสูง 8-9% ค่าเงินลดตลอดเวลา เพราะขาดดุลการค้า มีการนำเข้าสินค้า เครื่องจักรเพื่อพัฒนาประเทศมากกว่าส่งออก
ค่าเงินเคยลดปีละ 30% คนเลยไม่กล้าลงทุน เพราะได้กำไรจากลงทุน แต่ขาดทุนค่าเงิน ปัจจุบันเริ่มนิ่ง ลดไม่มากแล้ว เงินเฟ้อเหลือ 6-7% จากเมื่อก่อน 10% ดุลการค้าเริ่มเป็นบวก เศรษฐกิจนิ่งขึ้น เริ่มเห็นภาพมา 2 ปีนี้
ลงทุนในเวียดนาม ผิดกฎการลงทุนแบบ VI คือ ไม่รู้จักบริษัทที่ลงทุน เพราะหุ้นเวียดนามส่วนใหญ่ทำครอบจักรวาล เช่น บริษัทเดียว ทำค้าปลีก รับเหมาก่อสร้าง ผลิตปุ๋ย ข้อเท็จจริงยังไงเราไม่รู้แน่
หุ้น 700 - 800 ตัว กว่า 90% เป็นรัฐวิสาหกิจ เลยสร้างทฤษฎีว่า เมื่อก่อนเป็นของหลวงมาก่อน แล้วจ้างคนทำงานมาเป็นลูกจ้าง ต่อมาเอาหุ้นมาขายให้ประชาชน ไม่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เช่น มีเงิน 1 ล้าน อาจติดชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่แล้ว
2) Stock Selection ?
ดูเชิงปริมาณเป็นหลัก เชิงคุณภาพไม่ได้ดู เน้น PE ต่ำ BV ต่ำ กำไรเติบโต แต่แปลกใจว่า บริษัทส่วนใหญ่มีกำไรและเติบโตหมด ไม่ค่อยเจอบริษัทขาดทุน
สร้างเป็นทฤษฎีตนเองว่า เนื่องจากเมื่อก่อนเป็นของรัฐ ก็สามารถกำหนดราคา จัดการ ไม่ให้ขาดทุนได้ กำไรมั่นคง แต่ไม่ได้เติบโตมาก เพราะเป็นระบบจัดสรร เช่น รับเหมา ก็แบ่งเขตกันไปรับผิดชอบ
ข้อด้อย คือ จะไม่มีบริษัทดีเลิศ แต่มีบริษัทดีเยอะ แต่แบบนี้ก็ ok เพราะปันผลก็ 10% แล้ว ก็หวังว่า ถ้าเปิดประเทศมากขึ้น บริษัทจะเติบโตขึ้น บริษัทส่วนใหญ่ mkt cap ไม่ใหญ่มาก เช่น 100 ล้าน 500 ล้าน
พวก 100,000 ล้าน มีไม่ถึง 10 ราย เช่นปิโตรเวียดนาม เวียดนามมิลค์ บริษัทปุ๋ย แต่พวกบริษัทใหญ่ๆ ส่วนใหญ่ PE 10 กว่า เราก็ยังไม่ลงทุน และส่วนใหญ่กองทุนเล่นหมด
ซื้อหุ้นเล็กๆ ซื้อหลายตัว ตัวละ 3-5 ล้าน ตั้งใจถือไปเรื่อยๆ อาจจะเจอแจ็คพอต
3) ปรับพอร์ตอย่างไร ?
เพิ่งลงทุน ยังไม่ได้ปรับพอร์ตอะไร ยังไม่มีกำไร
ซื้อหุ้นก็ไม่ขึ้น เพราะไม่มีคนซื้อ แถมยังมีคนคอยขายอีก (ถ้าเป็นหุ้นไทย คงขึ้นไปแล้ว)
ตลาดเหมือนปี 40 คือ ซบเซามาก (ตอนนั้น ดร.ก็ซื้อสหพัฒน์ ก็คล้ายๆ แบบนี้ ไม่มีใครแข่งซื้อ)
หุ้นน้ำตาลบางตัว mkt cap 100 ล้าน ถ้าเป็นไทย 20,000 ล้าน
ดูย้อนหลัง หุ้น 200 ตัว ไป 5 ปี ไม่มีตัวไหนขาดทุน
ตอนนี้ลงทุนเวียดนามเหมือน diversify พอร์ทไปก่อน
หวังว่าถ้าเปิด AEC โลกเป็นหนึ่งเดียว การไหลของเงินทุนจะเสรีมากขึ้น
ยังคิดเล่นๆ เลยว่า กลุ่มนักลงทุน ThaiVI บุกเวียดนาม ^^
อันนี้คือความฝัน แต่ความจริงอาจจะเป็นคนละเรื่อง
เหตุผลที่ไปเวียดนามไม่ได้เน้นที่ return แต่เน้นที่ diversify คนที่มีเงินถึงจุดนึง จะต้องกระจายความเสี่ยงไปต่างประเทศ เพราะในไทยเราก็ไม่รู้จะเกิดอะไรขึ้น
4) คำแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นลงทุนต่างประเทศ ?
แรกๆ ก็คิดมาก กังวลไปต่างๆนานา
พอลงมือทำก็พบว่า ไม่เห็นมีอะไร ไม่เห็นยุ่งยากอย่างที่คิด รู้แบบนี้ทำนานแล้ว
ลงทุนในเวียดนามต่างจากลงทุนในบริษัทยอดเยี่ยม เช่น H&M Visa ต้องสร้างทฤษฎีของตนเอง invest first, investigate last
ศึกษาธุรกิจยาก สินค้าทำอะไร งานนี้เลยซื้อไปก่อน ใช้วิธี diversify
หลักการคือ ซื้อประเทศเวียดนาม เพราะเชื่อว่า ประเทศเติบโตในอนาคต
ถ้าเป็น รัสเซีย เกาหลี ก็เป็นอีกแบบเพราะพวกนี้ แม้จะราคาถูก แต่ประเทศก็พัฒนาแล้ว
เราซื้อ Potiential ของประเทศเวียดนาม ซึ่งแปลกใจว่า บริษัททำไมยังเล็กมาก contribute ให้ประเทศน้อยมาก บริษัทยังเล็กเกินไป ไม่สอดคล้องกับสังคมที่ใหญ่
5) สาเหตุที่หุ้นเวียดนามถูก ?
ถูกจัดสรรโดยรัฐบาล รัฐอุ้ม ทำให้กำไรเติบโต แต่โตไม่มาก
หลายบริษัทมีขนาดเล็ก ไม่สอดคล้องกับ size ประชากร
6) ความเสี่ยงในเวียดนาม เช่น งบการเงิน บริษัทมีตัวตนจริงหรือไม่ ?
เคยได้ยินเรื่องนี้ในจีน แต่ที่เวียดนามไม่คิดว่าจะเป็นเช่นนั้น เพราะ คนทำจะไม่ได้ประโยชน์อะไร เพราะทำไป ราคาหุ้นก็ไม่ขึ้น ตลาดซบเซา และหุ้นก็จ่ายปันผลสูง เหมือนเป็นภาษีให้รัฐ
7) ทำไมมาเลเซียไม่ค่อยมี modern trade ?
เข้าใจว่า ระบบที่ดิน โดยเฉพาะในเมือง อยู่ในมือกลุ่มคนไม่กี่กลุ่ม ขอทำธุรกิจยาก เพราะอาจถูกขอส่วนแบ่งจากยอดขาย หรือไม่ก็เจอข้อตกลงแปลกๆ แต่ถ้ารายใดสามารถแก้ไขจุดนี้ได้ น่าจะไปได้ดี
8) เปรียบเทียบ ตลาดหุ้นจีน vs เวียดนาม ?
จีนดูดีกว่า สภาพคล่องดี บริษัทใหญ่ ถูก กิจการมีคุณภาพ ก็อาจจะมีโอกาสมากกว่าเวียดนาม
แต่จีนใหญ่มาก และนักลงทุนเก่งๆ มีมาก คู่แข่งเยอะ แต่ก็เป็นไปได้ที่อาจจะลงทุนผ่านฮ่องกง
แนว ดร. ชอบลงทุนในประเทศที่นักลงทุนอาจจะมีความรู้น้อยกว่าเรา เราจะมีโอกาสมากกว่า
เวียดนาม เราลงทุน theme ประเทศที่กำลังจะเติบโต แต่ถ้าเป็นจีนก็เจาะซัก 3-4 บริษัท
9) Mega Trend ประเทศไทย ?
บอกยาก เพราะส่วนใหญ่ที่รู้ว่าเป็น mega trend มักจะเกิดแล้ว 2 - 3 ปี
มีคนพยายามทำนาย 10 ปีผ่านไป ก็ผิดหมด
แต่ถ้าเห็นชัดๆ เช่น รายได้เพิ่ม ความเจริญสู่ต่างจังหวัด สังคมผู้สูงอายุ
เวียดนามอาจจะโตกว่าไทย เพราะคนหนุ่มสาวเยอะ ไทยอาจจะโตเกิน 5% ยาก
10) ลงทุนเวียดนาม ต้องประกันความเสี่ยงค่าเงินหรือไม่ ?
2 ปีที่ผ่านมา รัฐไม่ได้ลดค่าเงิน และดอกเบี้ยทรงๆ ก็น่าจะเริ่มนิ่งขึ้น
11) Health Care ในไทย เป็นอย่างไร ?
เป็นธุรกิจที่ดี แต่ Overrate ไปเยอะ ให้ราคาเยอะไป ธุรกิจอาจจะโตได้แค่ 15% แต่ให้ราคาสูงเกินไป อาจมีบางกิจการที่ aggressive มาก แต่ราคาก็สูงไปมาก
12) ฟิลิปปินส์ น่าสนใจหรือไม่ ?
ยังมีระบบเรียกค่าคุ้มครอง ประเทศเติบโตเพราะส่งคนไปทำงานนอกประเทศ เศรษฐีต้องมีการ์ดประจำตัว ยังไม่น่าสนใจ
เวียดนามยังปลอดภัย พม่าคนสุภาพเรียบร้อย ไทยต่างชาติชอบอยู่อาศัย แม้จะไม่ได้ลงทุน
13) Urbanization ในไทยยังเติบโตได้หรือไม่ ?
ยังไปได้อีก ประชากรรายได้เพิ่ม พ่อแม่อาจไม่ใช้เงินมาก แต่ลูกใช้เงินมาก ยังไม่จบ ไปได้อีกไกล แต่โตเฉลี่ยไม่มาก
14) จุดสังเกตฟองสบู่ หรือตลาดขาลง ดูจุดไหน ?
เคยผ่านทั้งต้มยำกุ้ง และ Subprime
อะไรที่ได้มาง่ายๆ หรือเยอะเกินไป นั่นแหละ คือฟองสบู่
เช่น ต้มยำกุ้ง กู้ง่ายมาก ทั้งภาคอสังหา และภาคอื่นๆ ทุกคนแย่งปล่อยกู้
ตอนนี้ที่เห็น เช่น ipo เข้าใหม่ ไม่ค่อย make sense โบรคยังเชียร์ไม่แพง ถ้า PE แพง ก็ไปใช้วิธีอื่นประเมิน เช่น DCF BV แล้วบอกไม่แพง หาเหตุผลมาใส่ ระวังวันนึงจะกลายเป็น too good to be true
ลองเทียบเวียดนาม พวกร้าน drug retail store PE 6-7 เท่า Growth 30%
ตลาดหุ้นเมืองไทยตอนนี้อาจจะอยู่ในช่วงที่แพงโดยไม่รู้ตัว ตลาดหุ้นขึ้นมาเยอะ ก็มีโอกาสที่จะลง
ตอนนี้ PE ยังไม่แพงมาก 15-16 เท่า โดยที่ดอกเบี้ยยังต่ำมาก
ถ้าเมื่อใดที่ดอกเบี้ยเริ่มขึ้นให้ระวัง เงินจะถูกดึงกลับ
ทุกครั้งที่เกิดวิกฤตมักเกิดจากกระแสเงินถูกดึงกลับ เงินหดหายจากระบบ อันตรายที่สุด
15) ธุรกิจไทยที่จะไปลงทุนในเวียดนาม เช่น Modern trade ?
จุดอ่อนเวียดนาม คือ ที่ดินแพงมาก เลยอาจไม่คุ้มค่าเช่า ค่าที่ดิน
คนที่อยู่ก่อนจะได้เปรียบเรื่องต้นทุน
ร้าน cash & carry เช่น Makro อาจจะเริ่มก่อน แล้วพวกร้านสะดวกซื้ออาจจะค่อยๆ ไป
16) จำเป็นต้องไปลงทุนต่างประเทศหรือไม่ ?
เงินที่ลงทุนต่างประเทศ เป็นการ diversify
คิดว่าเงินนั้นจะไม่เอากลับประเทศ ให้งอกเงยที่ประเทศนั้นๆ
ถ้าเงินทุนยังน้อย ก็อาจลงทุนในประเทศก่อน
เวียดนามตอนนี้คล้ายไทยช่วงปี 40 ประเด็นที่น่าคิดคือ บริษัทเล็กๆ mkt cap 100 ล้าน ไม่สอดคล้องกับจำนวนประชากร
แต่ถ้าลงพวกบริษัทยอดเยี่ยม เช่น google ก็คิดอีกแบบ
17) สนใจลงทุนประเทศพัฒนาแล้วหรือไม่ ?
ตลาด Efficient เราอาจมีความรู้ไม่ลึกซึ้งพอ
หุ้นขนาดใหญ่มาก อาจจะเติบโตช้าลง
หุ้นเล็กมักเติบโตเร็วกว่า สนใจหุ้นเล็กที่ถูกละเลยมากกว่า (ตลาดต่างประเทศ)
บริษัทที่ต้องการเติบโต โดยการควบรวม (case บริษัทไทยแห่งหนึ่งที่ไปลงทุนในเวียดนาม) ทำอะไรหลายๆ อย่าง ส่วนใหญ่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ นอกจากขยายลงทุนในธุรกิจแบบเดียวกัน ที่เห็นตัวอย่างจากต่างประเทศที่ทำสำเร็จเห็นบริษัทเดียว คือ GE
ลงทุนในเวียดนามอาจจะยังไม่มีพวกกองทุน พวกเราชอบหาเป็นแบบ value ไม่ชอบลงทุนตามใคร หรือรวมๆ ไปกับใคร ชอบแบบพลิกหินทีละก้อน
ปล. ผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ด้วยนะครับ
17 สิงหาคม 2557
ขอบพระคุณ อาจารย์ ดร.นิเวศน์, อาจารย์ picatos, พี่ sai ได้รับความรู้ และเป็นการเปิดโลกการลงทุนต่างประเทศที่มีประโยชน์มากๆ ครับ
ขอบคุณทีมงาน ThaiVI ทุกๆ ท่านด้วยครับ งานครั้งนี้ยอดเยี่ยมมากๆ ครับ สาระเต็มๆ พร้อมความอบอุ่น เฮฮา ^^
PART 1 แก่นวีไอ ลงทุนได้ทั่วโลก
1) สไตล์การลงทุน ?
พี่ sai
หุ้นไทยเน้นหุ้น PE ต่ำ ไม่มองยาวมาก 1-2 ปี เน้น Growth เยอะ หุ้นต่างประเทศจะมองแตกต่าง โดยจะมองอนาคตยาวกว่า จะให้ PE มากกว่า
สำหรับการลงทุนต่างประเทศ หัวใจ คือ ข้อมูล ซึ่งหาได้ง่ายมาก เปิด web บริษัท หน้า investor relation ข้อมูลเยอะมาก ละเอียดมาก แต่การจะตรวจสอบข้อมูลว่าถูกต้องหรือไม่ จะยากหน่อย เช่น ข้อมูลจริง พฤติกรรมผู้บริโภค เพราะเราไม่ได้อยู่ที่ประเทศนั้นๆ
ตัวอย่าง facebook สังเกตจากพ่อแม่ เดิมเป็นคน low tech มาก ตอนนี้ติด facebook มาก เราเห็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมชัดเจน เรามองว่ามันดี แต่พอดู PE 80 เท่า หุ้นเทคโนโลยี บัฟเฟตต์ให้ระวัง และมีตัวอย่างเทคโนโลยีแบบนี้เปลี่ยนแปลงได้ง่าย เมื่อก่อนยังเคยมี hi5 ต่อมาเป็น facebook ต่อไปจะเป็นอะไรอีก เราก็ไม่กล้า เกิดความกลัว เราอาจจะไม่รู้ลึกรู้จริง ถ้าอย่าง picatos เค้ารู้จริง ก็เหมือนลงทุนในธุรกิจที่เข้าใจ ราคาก็วิ่งจาก 36 ไป 70 ก็ไม่ถือว่าพลาดแต่ได้เรียนรู้ธุรกิจ เพราะช่วงนั้นก็ติดตามหุ้นตัวนี้ตลอด
ปัจจุบัน ต่างประเทศลงเงิน 10% ลงเวลา 50%
picatos
สไตล์การลงทุน ปรับเปลี่ยนเรื่อยๆ ตลอด 10 ปี ใช้หลักทางพุทธศาสนา หลักความพอดี เช่น รู้เหตุ รู้ผล รูตน รู้ปริมาณ รู้เวลา รู้สังคม รู้บุคคล สไตล์การลงทุนจะเปลี่ยนไปตาม life style ในการดำเนินชีวิต
ปี 2003 เริ่มลงทุน เริ่มต้นผ่านกองทุน เงินยังไม่มาก จากนั้นค่อยๆ เปลี่ยนเป็นหาหุ้น miss price แต่กำลังจะเติบโต เน้นหุ้น PE ต่ำ แต่มี Growth Driver มีความเสี่ยงสูงต้องติดตามใกล้ชิด
เป้าหมายต้องการอิสรภาพ ไม่ใช่แค่เรื่องเงิน ไม่ใช่มีเงินมากมาย ต้องการมีให้พอใช้จ่าย แต่ให้มีอิสรภาพด้านเวลา ทำให้เปลี่ยนสไตล์มาลงทุนในธุรกิจที่ติดตามได้ง่าย ใช้เวลาน้อย
ดังนั้นจึงเน้นมองภาพใหญ่ ไม่ดูรายละเอียดเยอะ อยากเป็นแบบ ทำงาน 0.0001% ได้ผลงาน 99.9999% เช่น ซื้อหุ้นครั้งเดียว ถือจนวันตาย ถือเป็นสมบัติให้ลูกหลาน ไม่ต้องตามงบ ไม่ต้องตามราคาหุ้น อยากหาหุ้นลักษณะนั้น
ทุกอย่างในโลก เดี๋ยวนี้เชื่อมโยงกันหมด เช่น มือถือออกแบบโดยอเมริกา ผลิตจีน ขายไทย พยายามหากิจการที่อยู่ใน circle เช่น facebook Line แม้เป็นธุรกิจจากต่างประเทศ แต่เราใช้ทุกวัน บางธุรกิจ เช่น บริษัทอิเลคทรอนิคส์ ที่ผลิตในไทย เรายังไม่รู้ลึกเท่าพวก facebook Line เลย
2) หลังจากที่เปลี่ยนสไตล์ มีสิ่งใดที่เปลี่ยนไปบ้าง ?
picatos
เมื่อก่อนเน้น mos 50% upside 100% ทุกวันนี้ได้ 10% พอใจแล้ว สิ่งที่ได้คือ ความเครียดน้อยลง มีเวลาใส่ใจสุขภาพ ท่องเที่ยวต่างประเทศได้นานเป็นเดือนๆ โดยไม่ต้องติดตามหุ้น
การมีคู่ชีวิตที่ดี คือ การลงทุนที่ดีที่สุด
3) ทำไมจึงสนใจลงทุนต่างประเทศ ?
พี่ sai
ชอบคุยกับคนฉลาด เช่น โย picatos คุยแล้วเราจะได้มุมคิด ทำให้เราฉลาดขึ้น
ครั้งแรกไปจีน ขาดทุนเยอะ
เป้าหมาย อยากให้ภรรยามีความสุข (กับตัวเลข ^^)
4) ทำไมถึงสนใจ facebook เห็นอะไร ถึงลงทุน?
picatos
ปัญหาส่วนใหญ่ของนักลงทุน คือ เรื่อง bias (อคติ)
ถ้าอยู่คนเดียว ต้องเอาตัวรอดในสภาพแวดล้อมนั้นๆ มักจะมองแย่เกินจริง จะเกิดความกลัว
แต่ถ้ามีพฤติกรรมรวมฝูง จะมั่นใจ จะ over confident
ซึ่งเป็นสาเหตุที่ คนชอบอยู่ใน comfort zone
พอได้ idea ที่น่าสนใจ จะมี bias มากดไว้ จนกระทั่งคนรอบตัวมายืนยันว่ามันดี เราถึงจะกล้า
Facebook เป็นกิจการที่ยอดเยี่ยม และเป็นสิ่งใกล้ตัว ตื่นนอนก็ต้องใช้เป็นสิ่งแรก ก่อนนอนก็ต้องใช้เป็นสิ่งสุดท้าย และการโฆษณาผ่านช่องทางนี้ เป็นอะไรที่มีประสิทธิภาพสูงมาก แต่ติดที่ valuation แล้วค่อนข้างแพง (มี bias)
ก่อนหน้ามีประสบการณ์กับ Netflix ช่วงนั้นก็เห็นว่าคนใช้เยอะ แต่กำไรยังไม่มา เลยยังไม่ลงทุน เลยพลาดจาก 60 วิ่งไป 440 ในเวลาปีกว่าๆ
Facebook เริ่มติดตามตั้งแต่ ipo Q4 2012 รายได้โฆษณาผ่านมือถือเริ่มดี Q1 2013 กำไรดรอปจาก seasoning ตอนนั้นก็คิดเล่นๆ ว่า รายได้โฆษณาได้ซักครึ่งนึงของ google จะได้ PE ไม่ถึง 20 ซึ่งก็เป็นไปได้ เพราะคนใช้เวลาหมดไปกับ facebook เยอะมาก และเป็นกลุ่มเป้าหมายของบริษัทที่ต้องการโฆษณา เพราะ Efficient มาก
เริ่มลงทุนโดยใส่เงินน้อยๆ พอ Q2 2013 เริ่ม confirm สิ่งที่เราคาด ก็ซื้อเพิ่ม
5) ตลาดประเทศอื่นเป็นอย่างไร เช่น เอเชีย ?
picatos
ตัด bias เรื่องประเทศออกไปก่อน เพราะเราลงทุนในกิจการ เนื่องจากหุ้นไทยแพง หาหุ้นลงทุนยาก พยายามมองไปรอบตัวหาโอกาสอื่นๆ สังเกตจากที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ถ้าสินค้าผลิตจากบริษัทต่างประเทศ เมื่อก่อนอาจจะตัดออก ไม่พิจารณาเลย แต่ตอนนี้เหมือนเราได้เครื่องมือเพิ่มขึ้น โดยที่ใช้ชีวิตเหมือนเดิม
ตัวอย่างเช่น booking agoda เติบโต 30-40% / ปี เราก็ใช้บริการบ่อย ใช้เป็น bottom up เลือกหุ้นที่เราใช้บริการ ตัดข้อจำกัดด้านต่างประเทศออกไป เลือกกิจการที่ verify ได้ ใช้ product ใกล้ๆ ตัว
ถ้าลงทุนต่างประเทศแล้วทำให้ชีวิตดีขึ้น นั่นคือคำตอบ แต่ถ้าลงทุนต่างประเทศแล้วทำให้วุ่นวายขึ้น อาจไม่ใช่คำตอบ
หลักการลงทุนควรนอนหลับ (เพราะเวลาไม่ตรงกัน ^^) เอาสบายใจไว้ก่อน
ตอนนี้ก็เริ่มพัฒนา มามอง Top down บ้าง
พี่ sai
สัดส่วนนักลงทุนรายย่อยมากเป็นที่ 2 ของโลก
ต่างประเทศส่วนใหญ่จะลงผ่านกองทุน ทำให้ตลาด efficient มากกว่า
ต่างประเทศ จะไปเล่นๆ ไม่ได้ ต้องประเมินละเอียด เน้นปัจจัยคุณภาพ
ตลาดที่ราคาถูกตอนนี้ คือ รัสเซีย จีน แต่คุณภาพต้องดูรายบริษัทอีกที
6) หุ้นไทยมี 500 กว่าตัว ต่างประเทศประมาณ 50,000 กว่าตัว เริ่มต้นอย่างไร ?
picatos
เริ่มต้นจากกองทุน ช่วงที่ลงกองทุนจะเป็นการบังคับให้เราต้องศึกษาหุ้นนั้นๆ ใส่เวลา 80 อาจจะได้ผลตอบแทนซัก 20
ใส่เงิน 20 ใส่เวลา 80 1+1 จะไม่เท่ากับ 2 ยิ่งถ้าเพิ่มความพยายามเรียนรู้ตลาดต่างประเทศ เราจะได้อะไรมากขึ้น 1+1 อาจจะเป็น 10
มองภาพต่างประเทศชัดขึ้น มองธุรกิจดี ราคาถูก
ตอนนั้น Google PE 12-15 เท่า Growth 20% ต่อเนื่อง
พนักงานปัจจุบันมี 50,000 คน เคยฟังผู้บริหารบอกว่า สามารถสร้างองค์กรสำหรับรองรับพนักงานได้ 1,000,000 คน (คิดดูว่าจะขยายได้อีกขนาดไหน)
Google เป็นที่รวบรวมคนเก่งทั่วโลก คนเก่งๆ อยากทำงานที่นี่
พอได้ภาพแบบนี้ ตอนนั้นคิด อยากจะลงตัวเดียวทั้งพอร์ตเลย เพราะมองว่าเป็นการลงทุนที่ดี คือ มันไม่ต้องคิดอะไรมาก เพราะเห็นอยู่ ก็ติดตามไป ยังไม่คิดขาย
พี่ sai
มีกลุ่มเพื่อนๆ ที่ลงทุนต่างประเทศ ก็มีแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน
อย่าง google ทราบว่าจะมีการผลิตรถ self drive (ขับเองอัตโนมัติ) ก็สนใจ
สนใจลงทุนหุ้นจีน เพราะเคยไปเรียนที่นั่น ตอนนั้นเคยอ่านยอดขายมือถือ Xiaomi เป็นอันดับ 1 ในจีน (อยู่นอกตลาด) แซง Sumsung Lenovo ก็สนใจอ่านบทความนั้นอยู่นานจนจบ จากนั้นก็ไปตามอ่าน Sumsung Lenovo ก็เหมือนได้ต่อยอดความรู้ เกิดไอเดียการลงทุนไปลงทุนหุ้นอื่นๆ
ภาษาอังกฤษอาจจะไม่เก่งมาก แต่ใช้ตัวช่วยแปล ก็พอช่วยได้
ศึกษาหุ้นต่างประเทศมีแต่บวกกับตัวเรา
เวลาลงทุนให้ conservative มากๆ
ขนาดนักลงทุนที่เก่งมากๆ (ที่พี่ sai คิดว่า ในไทย ถ้านึกถึงคนเก่ง 1 ใน 10 ต้องนึกถึงท่านนี้) ก็ยังทำผลตอบแทนได้ไม่ดี เพราะฉะนั้นไปต่างประเทศนั้นไม่ง่าย
ข้อมูลส่วนใหญ่ดูจาก seekingalpha
พวกแฟชั่น/เทคโนโลยี ยังไม่ค่อยกล้า เช่น facebook จะมีอะไรมาแทน เพราะเมื่อก่อนเคยมี hi5 แต่อาจจะเป็นที่เราเข้าใจพวกนี้น้อย ถ้าคนเข้าใจก็อาจลงทุนได้
อย่าง Coca Cola อาจจะกล้าลงทุนมากกว่า
Google ก็อาจจะลงทุนแล้วสบายใจกว่า Facebook เพราะดูแล้วไม่มีคู่แข่ง มีจุดแข็งมากกว่า
หุ้นแฟชั่นอเมริกา ก็เกิดผลกระทบจาก H&M Forever21 ก็ไม่รู้ต่อไปจะมีอะไรมาอีก
สุดท้ายอยู่ที่ความเข้าใจของแต่ละบุคคลที่จะเลือกลงทุนใดๆ
7) จำเป็นหรือไม่ ที่นักลงทุนไทยต้องไปลงทุนต่างประเทศ ?
picatos
ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าต้องการอะไร
แต่ให้ภาพอนาคตว่า เราจะอยู่รอดยังไง สังคมนักลงทุนเติบโต เทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น โลกเชื่อมกันหมด
เมื่อก่อนตอนไม่มี internet ใครสนิทกับ Broker ได้ข้อมูลก่อน ต่อมามี webboard ล่าสุดตอนนี้ มี Line group
เราเคยได้ยิน กลยุทธ์ปลาใหญ่กินปลาเล็ก ปลาเร็วกินปลาช้า แต่ตอนนี้ ปลาช้ามันติดไอพ่น ปลาเล็กมันติดที่ครอบปากให้ใหญ่ขึ้น
เป้าหมายคือ ต้องการอิสรภาพทางด้านเวลา ดังนั้นเลือกหุ้นที่ติดตามได้ง่าย
ในชีวิตไม่เคยไปอเมริกาเลย แต่ปัจจุบันมีสัดส่วนพอร์ตลงทุนในอเมริกา 60% เพราะส่วนใหญ่ใช้ product เหล่านั้นในชีวิตประจำวัน ติดตามง่าย
โลกเป็นหนึ่งเดียวมากขึ้น ตลาดไทยก็มีการแข่งขันสูงขึ้น ก็ลงทุนยากขึ้น ตลาดหุ้นไทยจะสมเหตุสมผลมากขึ้น เราจะอยู่รอดอย่างไร คนที่มีกำลัง มีเงินทุนก็จะเข้ามา ยุคต่อไปจะเป็น Create Economy เป็นตลาดของคนที่มีความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ การแข่งขันจะรุนแรงขึ้น
เรา concern การแข่งขันที่จะรุนแรงขึ้นนี้หรือไม่ แล้วถ้าเราปรับตัวไม่ทัน เราอาจจะเป็นปลาเล็กหรือปลาช้าที่โดนกิน
เป็นการกระจายความเสี่ยง เพราะวิกฤตแต่ละประเทศเกิดไม่พร้อมกัน ตัวอย่าง ต้มยำกุ้ง ไทย -50% อเมริกา +30%
พี่ sai
ในไทยสินค้าเกษตร ราคาอาจจะยังไม่ดีไปอีก 4-5 ปี
พวกส่งออกอิเลคทรอนิคส์ ไทยยังผลิตพวกสินค้าที่โลกกำลังจะเลิกใช้ เช่น Floppy disk Ram อยู่เลย ถ้ายกเลิก สัดส่วนส่งออกน่าจะลดลง
เศรษฐกิจไทยอาจจะโตช้า
แต่ถ้ามองต่างประเทศ เช่น จีน ภาพมันชัดว่าโต
8) ความเสี่ยงในการลงทุนต่างประเทศ ?
picatos
ความเสี่ยงที่สำคัญที่สุด คือ market risk
ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจอยู่แล้ว แต่ต้องดูว่าเป็นสาระสำคัญ ส่งผลต่อกิจการหรือไม่
วิเคราะห์เหมือนกิจการในไทย กฎหมาย ภาษี ฯลฯ
พี่ sai
ชอบลงทุนในประเทศที่แข็งแรงกว่าไทย
ตัวอย่างหุ้น google รายได้ต่างประเทศ : ในประเทศ = 60 : 40
จริงๆ คงเหมือนกัน อย่างในไทย ถ้าลงทุนหุ้นชาเขียว จะมีเก็บภาษี ซึ่งนักลงทุนต่างประเทศอาจจะงงว่ามีแบบนี้ด้วย
ลงทุนต่างประเทศก็เป็นการกระจายความเสี่ยงอย่างหนึ่ง
9) สมมุติมีไข่ 2 ใบ สำหรับคนพอร์ตเล็ก จำเป็นต้องกระจายความเสี่ยงไปต่างประเทศหรือไม่ ?
picatos
ขึ้นอยู่กับแต่ละคน บางคนหัวอินเตอร์ หา balance ของตัวเองมากกว่า
แต่ลองดูก็ได้ ถ้าไม่ work ก็ถอยกลับมาได้
แต่ส่วนตัว ตอนพอร์ตเล็ก ใช้กลยุทธ์ปลาเร็ว ใช้เครือข่ายข้อมูล แต่ไปต่างประเทศไม่เหมือนกัน จะรู้สึกโดดเดี่ยว ต้องทำอะไรด้วยตนเอง ช่วงพอร์ตเล็กเน้นในไทยเป็นหลัก
10) กรณีศึกษาที่ สำเร็จ/ผิดพลาด ?
picatos
ข้อมูลบริษัทต่างประเทศเยอะมาก บางทีท้อ แต่ต้องขยัน เพื่อจะได้ขี้เกียจในอนาคต
ตัวอย่าง แค่ข้อมูลจ่ายปันผล google เอกสาร 500 หน้า อเมริกาบ้าข้อมูลมาก
เราต้องดูภาพใหญ่ ดูสาระสำคัญ คัดกรองข้อมูล
สำคัญที่สุด คือ ปัจจัยเชิงคุณภาพของกิจการ ผู้บริหาร ผู้บริโภค มองให้เป็น มี sense ทางธุรกิจ
พี่ sai
มีตัวอย่าง หุ้นจีน ทำเกี่ยวกับจุลินทรีย์ใส่ยา ใส่อาหาร เป็นเทคโนโลยีใหม่ มีคู่แข่งน้อยราย ภาพดูดีหมด
ROE 30% GPM 65-70% NPM30-35% เงินสด 6$ กำไร 2$ ราคา 10$ ดูแล้วน่าลงทุนมาก
มีขยาย retail เพิ่งเจาะตลาด 13 มณฑล ยังเติบโตได้อีกมาก มีการขยายกำลังการผลิต market share อันดับ 1 ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก PE 5-6 เท่า ถ้าหักเงินสดออก PE 2 เท่า
ติดอันดับ 72 fortune หุ้น small cap เติบโตเร็ว ผู้ตรวจสอบบัญชี big 4
แต่เริ่มพบสิ่งผิดปกติในงบ ข้อมูลที่รายงานไม่ตรงกัน ดอกเบี้ยรับไม่ตรง พอบินไปดูจริง (เพื่อนพี่ sai) ดูเงินสดก็เอาบัญชีธนาคารให้ดู ถามว่า location retail มีตรงไหนบ้างก็ไม่ยอมบอก
มีการเพิ่มทุนตลอดทาง ออก convertible bond สุดท้าย ผู้ตรวจบัญชีไม่รับรอง ราคาจาก 20$ เหลือ 0.0000
ถูกมากกว่าคำว่าถูก คือ ถูกหลอก
ถ้าจะลงทุนในจีนต้องหาข้อมูล confirm ดีๆ เช่นสอบถามเพื่อนที่จีน หรือไปดูกิจการจริงๆ ดูผู้บริหาร
picatos
ช่วงต้นปีเริ่มสนใจลงทุนประเทศอื่นๆ ตอนนั้นดูจีน รัสเซีย เกาหลีใต้ เพราะถูก แต่รัสเซียกับเกาหลีใต้ตัดไป เลือกจีนเพราะคุ้นเคยกว่า เป็นครอบครัวคนจีน
ตลาดหุ้นจีน 2000 จุด เท่ากับเมื่อ 10 ปีที่แล้ว (เคยสูงสุด 6000) PE 7-8 เท่า
หุ้นไทย PE 14-15 เท่า ถ้าไม่คิด แบงค์ พลังงาน PE 25 เท่า
ลงทุนจีนก็ยังกลัวๆ (ได้ข้อมูลจากพี่ sai) อีกอย่างไม่เคยใช้ product
ลงทุนจีน 15% เป็นกองทุนครึ่งนึง อีกครึ่งเป็นหุ้นรายตัว
เลือกผิงอัน เพราะเห็นว่า CP ยังสนใจ แสดงว่าต้องมีอะไรดี และบริษัทมีตัวตนจริง
ดูจาก paper valuation 11-12 เท่า upside 100% ซื้อมา 2-3 เดือน จาก 60 ไป 66 กำไรประมาณ 10%
พยายามศึกษาตัวอื่นๆ พวกค้าปลีก แข่งขันรุนแรง ห้างสรรพสินค้าพฤติกรรมไม่เหมือนคนไทย คือ ไปห้าง ถ่ายรูปแล้วสั่งของที่บ้าน กลุ่มเทเลคอมก็ยังไม่ค่อยแน่ใจ
ไปเจอหุ้นโรงเรียนสอนพิเศษ น่าสนใจ
ในไทย ผ่านมา 20 ปี ครูที่มีชื่อเสียง ยังเป็นคนเดิม แสดงว่าธุรกิจนี้ต้องมี DCA บางอย่าง
ในจีน การแข่งขันสอบเข้ามีประวัติศาตร์ยาวนานเป็น 1,000 ปี ซึ่งเปลี่ยนแปลงค่านิยมนี้ได้ยาก มีการแข่งขันสูงมาก คนเอาจริงเอาจังเรื่องนี้มาก
ไปเจอบริษัทนึง ได้รับลิขสิทธิ์ในการสอน TOEFL GRE แต่เพียงผู้เดียว ดูแล้วน่าสนใจ เพราะมีจุดแข็งไม่เหมือนรายอื่นๆ
ประเมินว่า แม้ว่า เศรษฐกิจตกต่ำ แต่เรื่องการเรียน พ่อแม่ต้องสนับสนุนลูกเต็มที่ ไม่น่าจะส่งผลกระทบ
PE 15 เท่า Growth 20%
ตัดสินใจซื้อ ต่อมาโบรคเกอร์ปรับ Outlook ว่าจะเติบโต drop ลง ทำให้ราคา ลดลง 20%
สรุป คือ ลงทุนในจีน ก็ไม่ง่าย
11) บทสรุป ?
พี่ sai
พยายาม valuation conservative มองธุรกิจยาวๆ ขึ้นหน่อย ภาพระยะสั้นไม่สะท้อนความจริง ต่อไปเมื่อตลาดเปิดเสรีมากขึ้น การแข่งขันจะรุนแรงมากขึ้น
พยายามมอง long term มองแบบธุรกิจ การแข่งขัน หาผู้ชนะ
picatos
ขอบคุณทุกท่าน ไม่รู้คนฟังจะได้อะไรหรือเปล่า แต่ตนเองได้ประโยชน์แน่ๆ เพราะก่อนจะมาพูด ต้องเตรียมตัว เป็นการบังคับตัวเองให้คิด ทบทวนความคิดตนเอง ในสิ่งที่จะมาพูดในวันนี้
สิ่งที่จะฝากนักลงทุน ทุกวันนี้ข้อมูลเยอะมาก ข้อมูลอาจจะเยอะจนมากเกินไป อยากให้ลองหยุดรับข้อมูล แล้วลองอยู่กับตัวเอง ทบทวนตนเองให้เกิดเป็นแก่นการลงทุนของตนเอง ชนะขีดจำกัดของตนเอง เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
12) ลงทุนต่างประเทศยุ่งยากไหม เรื่องภาษี ขั้นตอนเอาเงินกลับ ?
picatos
รายละเอียดแต่ละประเทศต่างกัน สอบถามโบรคดีที่สุด หลักๆ คือ ลงทุนต่างประเทศควรลงทุนระยะยาว ถ้าต้องการเอาเงินกลับให้ถือจนถึงก่อนสิ้นปี แล้วขายเป็นเงินสด แล้วเอาเงินกลับต้นปี
เริ่มต้นผ่านกองทุนก่อนก็ได้
13) website ที่น่าสนใจ ?
พี่ sai
Google finance, Bloomberg, seeking alpha, investor relation ของแต่ละบริษัท
14) แนะนำ Broker ?
picatos
แรกๆ เปิด port 4-5 ราย เปรียบเทียบกัน สุดท้ายเลือกรายที่แพงที่สุด เพราะให้ข้อมูล support รวมถึง service ดีสุด
บทวิเคราะห์มีประโยชน์มาก เพราะพวกนี้ทำให้พวกกองทุนอ่าน เราอ่านแล้ว เปิดโลกเรามากๆ ได้ความรู้มาก
15) ตลาดหุ้นจีน PE ต่ำ เพราะศักยภาพเติบโตน้อยกว่าไทย ?
picatos
ถ้าพูดถึงศักยภาพ ไม่น่าจะใช่ ตัวอย่าง alibaba ยอดขายมากกว่า amazon+ebay
จีนไม่ได้มีปัญหาในการเติบโต GDP โต 7-10% มาตลอด แต่อาจจะมีปัญหาบาง sector เช่น อสังหาริมทรัพย์ Shadow banking (หนี้เน่า)
แยก sector New China Economy PE 25, Old China Economy PE10, อื่นๆ PE 6
16) ลงทุนในประเทศที่พัฒนาแล้ว vs ประเทศกำลังพัฒนา ?
พี่ sai
Facebook รายได้ 1900 เป็น 10000 ภายใน 4 ปี, google รายได้มาก แต่ยังโตต่อเนื่อง 20% ตลอด
ผิงอัน โต 30-40% หลายปีต่อเนื่อง
จริงๆ ลงทุนที่ไหนก็ได้ เลือกเป็นรายบริษัท ขอให้เติบโตได้จริง
ถ้าลงทุนประเทศที่กำลังพัฒนาตอนนี้ เช่น เวียดนาม จะคล้ายๆ ปี 2542 คือ หลังต้มยำกุ้ง แล้วมีการจัดการแก้ไขปัญหาบ้างแล้ว แต่อาจจะมีปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือของงบการเงิน
หุ้นจีนถูก แต่ต้องไปเจาะรายตัว
เวียดนามก็น่าสนใจ เพราะติดตามง่ายกว่า ไป visit ง่ายกว่า
picatos
ตอนนี้มีกลุ่มประเทศที่เรียกว่า new frontier economy คือ กลุ่มประเทศที่เพิ่งปรากฎขึ้นมา เช่น พวกแอฟริกา ก็น่าสนใจ
จีนเมื่อก่อนปิดประเทศ พอเปิดประเทศ ข้อมูล การลงทุนหลั่งไหล เกิดการเติบโตอย่างรวดเร็ว
ตอนนี้ลงทุนต่างประเทศ 80% เป็นอเมริกา 60% จีน 15% new frontier 5%
ประชากรโลก 5,000 ล้านคน เป็นกลุ่มคนจนประมาณ 3,000 ล้าน ถ้าคนกลุ่มนี้มีรายได้เพิ่มขึ้น จะเติบโตมาก ซึ่งน่าสนใจ วิธีการคือ ลงทุนในกองทุนไปก่อน ศึกษาไปก่อน
PART 2 ถาม-ตอบ สบายๆ กับ ดร.นิเวศน์
1) จุดเริ่มต้นลงทุนต่างประเทศ ?
เมื่อก่อนไม่สนใจ หลังๆ มีเงินสดจากปันผล จากการขายหุ้น ไม่รู้จะลงทุนอะไร เพราะในไทยค่อนข้างแพง
พอดี Money Talk เชิญไปโปรโมท AEC Asian linkage ไปมาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม
มีเงินลงทุนต่างประเทศ ประมาณ 4-5% ถ้ารอตลาดไทย ไม่รู้ต้องรออีกนานแค่ไหน กว่าตลาดจะลง
คุยกับเพื่อนชาวต่างชาติที่เป็นผู้บริหารกองทุนที่อยู่เมืองไทยมานาน ส่วนใหญ่ขายหุ้นไทยไปหมดแล้ว ขายตอนปีที่แล้วดัชนี 1,600 แล้วไปลงทุนที่จีน เวียดนาม เค้าเล่าว่า ผลตอบแทนดี ไปไม่นานได้ 10% ล่ะ แล้วก็ให้ list หุ้นเรามา ก็เป็นโอกาสที่จะให้ลูกได้เริ่มศึกษาเรื่องหุ้น
ตัวอย่างธุรกิจในเวียดนาม เช่น ธุรกิจขายแบบเรียน PE 6 BV<1 ปันผล 10% เป็น monopoly แต่ราคาไม่ไปไหน เพราะไม่มีคนเล่นหุ้น
ราคาตลาดหุ้นเวียดนามตกลงมากว่า 50% เปิดมา 10 กว่าปี ตลาดไม่ไปไหน Volume 2,000 ล้าน ตลาดซบเซา
เปรียบเทียบ เหมือนไทยช่วงหลังต้มยำกุ้ง ก็คล้ายๆ แบบนี้ ก็หวังว่า อาจจะมีโอกาสแบบนั้นอีก คือ ใช้เงินลงทุนน้อยๆ แต่ผลตอบแทนมาก
เวียดนาม ประชากร 80 ล้านคน คนขยันทำมาหากิน เศรษฐกิจโต 5-6% มีทรัพยกร แร่ ชายทะเล คนเวียดนามต้อนรับนักท่องเที่ยวไม่แพ้ไทย
เหตุผล คือ ความเป็น สังคมนิยม ยังเปิดประเทศไม่ 100% เคยมีคนกล่าวว่า ถ้าจะทำธุรกิจเวียดนาม ต้องเจรจา 3 ฝ่าย รัฐบาล พรรคคอมมิวนิสต์ สภา ปัจจุบันเริ่มเปิดประเทศมากขึ้น
เวียดนามเริ่มท้าทายไทยมากขึ้น Sumsung ไปตั้งฐานผลิตที่นั่น ค่าแรงที่นั่นเป็น 1/3 ของค่าแรงไทย
ประชากรยังอยู่วัยทำงาน คนหนุ่มสาวมาก แต่เงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยสูง 8-9% ค่าเงินลดตลอดเวลา เพราะขาดดุลการค้า มีการนำเข้าสินค้า เครื่องจักรเพื่อพัฒนาประเทศมากกว่าส่งออก
ค่าเงินเคยลดปีละ 30% คนเลยไม่กล้าลงทุน เพราะได้กำไรจากลงทุน แต่ขาดทุนค่าเงิน ปัจจุบันเริ่มนิ่ง ลดไม่มากแล้ว เงินเฟ้อเหลือ 6-7% จากเมื่อก่อน 10% ดุลการค้าเริ่มเป็นบวก เศรษฐกิจนิ่งขึ้น เริ่มเห็นภาพมา 2 ปีนี้
ลงทุนในเวียดนาม ผิดกฎการลงทุนแบบ VI คือ ไม่รู้จักบริษัทที่ลงทุน เพราะหุ้นเวียดนามส่วนใหญ่ทำครอบจักรวาล เช่น บริษัทเดียว ทำค้าปลีก รับเหมาก่อสร้าง ผลิตปุ๋ย ข้อเท็จจริงยังไงเราไม่รู้แน่
หุ้น 700 - 800 ตัว กว่า 90% เป็นรัฐวิสาหกิจ เลยสร้างทฤษฎีว่า เมื่อก่อนเป็นของหลวงมาก่อน แล้วจ้างคนทำงานมาเป็นลูกจ้าง ต่อมาเอาหุ้นมาขายให้ประชาชน ไม่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เช่น มีเงิน 1 ล้าน อาจติดชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่แล้ว
2) Stock Selection ?
ดูเชิงปริมาณเป็นหลัก เชิงคุณภาพไม่ได้ดู เน้น PE ต่ำ BV ต่ำ กำไรเติบโต แต่แปลกใจว่า บริษัทส่วนใหญ่มีกำไรและเติบโตหมด ไม่ค่อยเจอบริษัทขาดทุน
สร้างเป็นทฤษฎีตนเองว่า เนื่องจากเมื่อก่อนเป็นของรัฐ ก็สามารถกำหนดราคา จัดการ ไม่ให้ขาดทุนได้ กำไรมั่นคง แต่ไม่ได้เติบโตมาก เพราะเป็นระบบจัดสรร เช่น รับเหมา ก็แบ่งเขตกันไปรับผิดชอบ
ข้อด้อย คือ จะไม่มีบริษัทดีเลิศ แต่มีบริษัทดีเยอะ แต่แบบนี้ก็ ok เพราะปันผลก็ 10% แล้ว ก็หวังว่า ถ้าเปิดประเทศมากขึ้น บริษัทจะเติบโตขึ้น บริษัทส่วนใหญ่ mkt cap ไม่ใหญ่มาก เช่น 100 ล้าน 500 ล้าน
พวก 100,000 ล้าน มีไม่ถึง 10 ราย เช่นปิโตรเวียดนาม เวียดนามมิลค์ บริษัทปุ๋ย แต่พวกบริษัทใหญ่ๆ ส่วนใหญ่ PE 10 กว่า เราก็ยังไม่ลงทุน และส่วนใหญ่กองทุนเล่นหมด
ซื้อหุ้นเล็กๆ ซื้อหลายตัว ตัวละ 3-5 ล้าน ตั้งใจถือไปเรื่อยๆ อาจจะเจอแจ็คพอต
3) ปรับพอร์ตอย่างไร ?
เพิ่งลงทุน ยังไม่ได้ปรับพอร์ตอะไร ยังไม่มีกำไร
ซื้อหุ้นก็ไม่ขึ้น เพราะไม่มีคนซื้อ แถมยังมีคนคอยขายอีก (ถ้าเป็นหุ้นไทย คงขึ้นไปแล้ว)
ตลาดเหมือนปี 40 คือ ซบเซามาก (ตอนนั้น ดร.ก็ซื้อสหพัฒน์ ก็คล้ายๆ แบบนี้ ไม่มีใครแข่งซื้อ)
หุ้นน้ำตาลบางตัว mkt cap 100 ล้าน ถ้าเป็นไทย 20,000 ล้าน
ดูย้อนหลัง หุ้น 200 ตัว ไป 5 ปี ไม่มีตัวไหนขาดทุน
ตอนนี้ลงทุนเวียดนามเหมือน diversify พอร์ทไปก่อน
หวังว่าถ้าเปิด AEC โลกเป็นหนึ่งเดียว การไหลของเงินทุนจะเสรีมากขึ้น
ยังคิดเล่นๆ เลยว่า กลุ่มนักลงทุน ThaiVI บุกเวียดนาม ^^
อันนี้คือความฝัน แต่ความจริงอาจจะเป็นคนละเรื่อง
เหตุผลที่ไปเวียดนามไม่ได้เน้นที่ return แต่เน้นที่ diversify คนที่มีเงินถึงจุดนึง จะต้องกระจายความเสี่ยงไปต่างประเทศ เพราะในไทยเราก็ไม่รู้จะเกิดอะไรขึ้น
4) คำแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นลงทุนต่างประเทศ ?
แรกๆ ก็คิดมาก กังวลไปต่างๆนานา
พอลงมือทำก็พบว่า ไม่เห็นมีอะไร ไม่เห็นยุ่งยากอย่างที่คิด รู้แบบนี้ทำนานแล้ว
ลงทุนในเวียดนามต่างจากลงทุนในบริษัทยอดเยี่ยม เช่น H&M Visa ต้องสร้างทฤษฎีของตนเอง invest first, investigate last
ศึกษาธุรกิจยาก สินค้าทำอะไร งานนี้เลยซื้อไปก่อน ใช้วิธี diversify
หลักการคือ ซื้อประเทศเวียดนาม เพราะเชื่อว่า ประเทศเติบโตในอนาคต
ถ้าเป็น รัสเซีย เกาหลี ก็เป็นอีกแบบเพราะพวกนี้ แม้จะราคาถูก แต่ประเทศก็พัฒนาแล้ว
เราซื้อ Potiential ของประเทศเวียดนาม ซึ่งแปลกใจว่า บริษัททำไมยังเล็กมาก contribute ให้ประเทศน้อยมาก บริษัทยังเล็กเกินไป ไม่สอดคล้องกับสังคมที่ใหญ่
5) สาเหตุที่หุ้นเวียดนามถูก ?
ถูกจัดสรรโดยรัฐบาล รัฐอุ้ม ทำให้กำไรเติบโต แต่โตไม่มาก
หลายบริษัทมีขนาดเล็ก ไม่สอดคล้องกับ size ประชากร
6) ความเสี่ยงในเวียดนาม เช่น งบการเงิน บริษัทมีตัวตนจริงหรือไม่ ?
เคยได้ยินเรื่องนี้ในจีน แต่ที่เวียดนามไม่คิดว่าจะเป็นเช่นนั้น เพราะ คนทำจะไม่ได้ประโยชน์อะไร เพราะทำไป ราคาหุ้นก็ไม่ขึ้น ตลาดซบเซา และหุ้นก็จ่ายปันผลสูง เหมือนเป็นภาษีให้รัฐ
7) ทำไมมาเลเซียไม่ค่อยมี modern trade ?
เข้าใจว่า ระบบที่ดิน โดยเฉพาะในเมือง อยู่ในมือกลุ่มคนไม่กี่กลุ่ม ขอทำธุรกิจยาก เพราะอาจถูกขอส่วนแบ่งจากยอดขาย หรือไม่ก็เจอข้อตกลงแปลกๆ แต่ถ้ารายใดสามารถแก้ไขจุดนี้ได้ น่าจะไปได้ดี
8) เปรียบเทียบ ตลาดหุ้นจีน vs เวียดนาม ?
จีนดูดีกว่า สภาพคล่องดี บริษัทใหญ่ ถูก กิจการมีคุณภาพ ก็อาจจะมีโอกาสมากกว่าเวียดนาม
แต่จีนใหญ่มาก และนักลงทุนเก่งๆ มีมาก คู่แข่งเยอะ แต่ก็เป็นไปได้ที่อาจจะลงทุนผ่านฮ่องกง
แนว ดร. ชอบลงทุนในประเทศที่นักลงทุนอาจจะมีความรู้น้อยกว่าเรา เราจะมีโอกาสมากกว่า
เวียดนาม เราลงทุน theme ประเทศที่กำลังจะเติบโต แต่ถ้าเป็นจีนก็เจาะซัก 3-4 บริษัท
9) Mega Trend ประเทศไทย ?
บอกยาก เพราะส่วนใหญ่ที่รู้ว่าเป็น mega trend มักจะเกิดแล้ว 2 - 3 ปี
มีคนพยายามทำนาย 10 ปีผ่านไป ก็ผิดหมด
แต่ถ้าเห็นชัดๆ เช่น รายได้เพิ่ม ความเจริญสู่ต่างจังหวัด สังคมผู้สูงอายุ
เวียดนามอาจจะโตกว่าไทย เพราะคนหนุ่มสาวเยอะ ไทยอาจจะโตเกิน 5% ยาก
10) ลงทุนเวียดนาม ต้องประกันความเสี่ยงค่าเงินหรือไม่ ?
2 ปีที่ผ่านมา รัฐไม่ได้ลดค่าเงิน และดอกเบี้ยทรงๆ ก็น่าจะเริ่มนิ่งขึ้น
11) Health Care ในไทย เป็นอย่างไร ?
เป็นธุรกิจที่ดี แต่ Overrate ไปเยอะ ให้ราคาเยอะไป ธุรกิจอาจจะโตได้แค่ 15% แต่ให้ราคาสูงเกินไป อาจมีบางกิจการที่ aggressive มาก แต่ราคาก็สูงไปมาก
12) ฟิลิปปินส์ น่าสนใจหรือไม่ ?
ยังมีระบบเรียกค่าคุ้มครอง ประเทศเติบโตเพราะส่งคนไปทำงานนอกประเทศ เศรษฐีต้องมีการ์ดประจำตัว ยังไม่น่าสนใจ
เวียดนามยังปลอดภัย พม่าคนสุภาพเรียบร้อย ไทยต่างชาติชอบอยู่อาศัย แม้จะไม่ได้ลงทุน
13) Urbanization ในไทยยังเติบโตได้หรือไม่ ?
ยังไปได้อีก ประชากรรายได้เพิ่ม พ่อแม่อาจไม่ใช้เงินมาก แต่ลูกใช้เงินมาก ยังไม่จบ ไปได้อีกไกล แต่โตเฉลี่ยไม่มาก
14) จุดสังเกตฟองสบู่ หรือตลาดขาลง ดูจุดไหน ?
เคยผ่านทั้งต้มยำกุ้ง และ Subprime
อะไรที่ได้มาง่ายๆ หรือเยอะเกินไป นั่นแหละ คือฟองสบู่
เช่น ต้มยำกุ้ง กู้ง่ายมาก ทั้งภาคอสังหา และภาคอื่นๆ ทุกคนแย่งปล่อยกู้
ตอนนี้ที่เห็น เช่น ipo เข้าใหม่ ไม่ค่อย make sense โบรคยังเชียร์ไม่แพง ถ้า PE แพง ก็ไปใช้วิธีอื่นประเมิน เช่น DCF BV แล้วบอกไม่แพง หาเหตุผลมาใส่ ระวังวันนึงจะกลายเป็น too good to be true
ลองเทียบเวียดนาม พวกร้าน drug retail store PE 6-7 เท่า Growth 30%
ตลาดหุ้นเมืองไทยตอนนี้อาจจะอยู่ในช่วงที่แพงโดยไม่รู้ตัว ตลาดหุ้นขึ้นมาเยอะ ก็มีโอกาสที่จะลง
ตอนนี้ PE ยังไม่แพงมาก 15-16 เท่า โดยที่ดอกเบี้ยยังต่ำมาก
ถ้าเมื่อใดที่ดอกเบี้ยเริ่มขึ้นให้ระวัง เงินจะถูกดึงกลับ
ทุกครั้งที่เกิดวิกฤตมักเกิดจากกระแสเงินถูกดึงกลับ เงินหดหายจากระบบ อันตรายที่สุด
15) ธุรกิจไทยที่จะไปลงทุนในเวียดนาม เช่น Modern trade ?
จุดอ่อนเวียดนาม คือ ที่ดินแพงมาก เลยอาจไม่คุ้มค่าเช่า ค่าที่ดิน
คนที่อยู่ก่อนจะได้เปรียบเรื่องต้นทุน
ร้าน cash & carry เช่น Makro อาจจะเริ่มก่อน แล้วพวกร้านสะดวกซื้ออาจจะค่อยๆ ไป
16) จำเป็นต้องไปลงทุนต่างประเทศหรือไม่ ?
เงินที่ลงทุนต่างประเทศ เป็นการ diversify
คิดว่าเงินนั้นจะไม่เอากลับประเทศ ให้งอกเงยที่ประเทศนั้นๆ
ถ้าเงินทุนยังน้อย ก็อาจลงทุนในประเทศก่อน
เวียดนามตอนนี้คล้ายไทยช่วงปี 40 ประเด็นที่น่าคิดคือ บริษัทเล็กๆ mkt cap 100 ล้าน ไม่สอดคล้องกับจำนวนประชากร
แต่ถ้าลงพวกบริษัทยอดเยี่ยม เช่น google ก็คิดอีกแบบ
17) สนใจลงทุนประเทศพัฒนาแล้วหรือไม่ ?
ตลาด Efficient เราอาจมีความรู้ไม่ลึกซึ้งพอ
หุ้นขนาดใหญ่มาก อาจจะเติบโตช้าลง
หุ้นเล็กมักเติบโตเร็วกว่า สนใจหุ้นเล็กที่ถูกละเลยมากกว่า (ตลาดต่างประเทศ)
บริษัทที่ต้องการเติบโต โดยการควบรวม (case บริษัทไทยแห่งหนึ่งที่ไปลงทุนในเวียดนาม) ทำอะไรหลายๆ อย่าง ส่วนใหญ่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ นอกจากขยายลงทุนในธุรกิจแบบเดียวกัน ที่เห็นตัวอย่างจากต่างประเทศที่ทำสำเร็จเห็นบริษัทเดียว คือ GE
ลงทุนในเวียดนามอาจจะยังไม่มีพวกกองทุน พวกเราชอบหาเป็นแบบ value ไม่ชอบลงทุนตามใคร หรือรวมๆ ไปกับใคร ชอบแบบพลิกหินทีละก้อน
ปล. ผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ด้วยนะครับ
- simpleBE
- Verified User
- โพสต์: 2335
- ผู้ติดตาม: 0
- i-salmon
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 293
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แก่นวีไอ ลงทุนได้ทั่วโลก
โพสต์ที่ 3
ขอบคุณคร้าบพี่แซค เยี่ยมเลย
ขอบคุณแขกรับเชิญ พี่ตี่ พี่มี่ อ.นิเวศน์ ที่มาแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ช่วยให้เรียนรู้ได้กว้างขึ้นมากเลยครับ
ขอบคุณพี่ๆน้องๆทีมงานthaivi ทั้งทีมหน้าเวที หน้างาน หลังงานช่วยจัดการต่างๆคร้าบ
ขอบคุณเพื่นอๆสมาชิกทุกท่านที่เข้ามาสร้างสังคมนักลงทุน บรรยากาศอบอุ่นครึกครื้นมากคร้าบ
(p.s. ขอบคุณพี่ขจร พี่แป๋มที่แจกหนมให้กินด้วยค้าบ )
ขอบคุณแขกรับเชิญ พี่ตี่ พี่มี่ อ.นิเวศน์ ที่มาแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ช่วยให้เรียนรู้ได้กว้างขึ้นมากเลยครับ
ขอบคุณพี่ๆน้องๆทีมงานthaivi ทั้งทีมหน้าเวที หน้างาน หลังงานช่วยจัดการต่างๆคร้าบ
ขอบคุณเพื่นอๆสมาชิกทุกท่านที่เข้ามาสร้างสังคมนักลงทุน บรรยากาศอบอุ่นครึกครื้นมากคร้าบ
(p.s. ขอบคุณพี่ขจร พี่แป๋มที่แจกหนมให้กินด้วยค้าบ )
Go against and stay alive.
-
- Verified User
- โพสต์: 139
- ผู้ติดตาม: 0
-
- Verified User
- โพสต์: 365
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แก่นวีไอ ลงทุนได้ทั่วโลก
โพสต์ที่ 9
ขอบคุณ คุณ TLSS มากๆเลยครับ ที่นำมาแชร์ความรู้จากงาน ให้เพื่อนๆที่ไม่ได้ไปครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 96
- ผู้ติดตาม: 1
Re: แก่นวีไอ ลงทุนได้ทั่วโลก
โพสต์ที่ 10
ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ ขอให้เจริญ เจริญ นะค๊า
-
- Verified User
- โพสต์: 297
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แก่นวีไอ ลงทุนได้ทั่วโลก
โพสต์ที่ 12
ขอบคุณครับ
- SI Freedom
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 174
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แก่นวีไอ ลงทุนได้ทั่วโลก
โพสต์ที่ 13
ขอบคุณครับ ละเอียดมากๆ
ปล. อยากได้ไฟล์ CHBT ที่คุณโย ทำไว้มาดูเป็นกรณีศึกษาจังครับ เห็นพิธีกรบอกว่าจะแจกให้ทีหลัง
ปล. อยากได้ไฟล์ CHBT ที่คุณโย ทำไว้มาดูเป็นกรณีศึกษาจังครับ เห็นพิธีกรบอกว่าจะแจกให้ทีหลัง
เพราะแสวงหา..มิใช่เพราะรอคอย เพราะเชี่ยวชาญ..มิใช่เพราะโอกาส
เพราะสามารถ..มิใช่เพราะโชคช่วย ดังนี้แล้ว ลิขิตฟ้า หรือจะสู้ มานะตน
เพราะสามารถ..มิใช่เพราะโชคช่วย ดังนี้แล้ว ลิขิตฟ้า หรือจะสู้ มานะตน
-
- Verified User
- โพสต์: 31
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แก่นวีไอ ลงทุนได้ทั่วโลก
โพสต์ที่ 14
สุดยอดเลยครับ ขอบคุณมากครับ
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แก่นวีไอ ลงทุนได้ทั่วโลก
โพสต์ที่ 19
ขอบคุณมากๆครับ
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 315
- ผู้ติดตาม: 1
Re: แก่นวีไอ ลงทุนได้ทั่วโลก
โพสต์ที่ 23
ขอบคุณครับ
-----------------------------------------
เกิดเหตุอะไร อย่าตื่นใจ ไปตามเขา
ปัญญาเรา มีหน้าที่ พิพากษา
ต้องดูน้ำ ดูลม ระดมมา
พิจารณา เชิงชั้น หมั่นตริตรอง
-----------------------------------------
ท่านพุทธทาสภิกขุ
เกิดเหตุอะไร อย่าตื่นใจ ไปตามเขา
ปัญญาเรา มีหน้าที่ พิพากษา
ต้องดูน้ำ ดูลม ระดมมา
พิจารณา เชิงชั้น หมั่นตริตรอง
-----------------------------------------
ท่านพุทธทาสภิกขุ
- JobJakraphan
- Verified User
- โพสต์: 749
- ผู้ติดตาม: 0
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4741
- ผู้ติดตาม: 1
Re: แก่นวีไอ ลงทุนได้ทั่วโลก
โพสต์ที่ 27
ขอบคุณคร๊าบบบ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
-
- Verified User
- โพสต์: 37
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แก่นวีไอ ลงทุนได้ทั่วโลก
โพสต์ที่ 30
ขอบคุณครับ จดได้ละเอียดมากเลยครับ