แบรนด์ไทยแห่งปี 2557 "เอไอเอส" ผงาดแชมป์ "ดีเอสจี" มาแรง
จุฬาฯ ประกาศรางวัล ให้ "เอไอเอส" ครองแชมป์ดาวเด่นที่มีมูลค่าแบรนด์สูงสุด Thailand’s Top Corporate Brand Values 2014 และให้ "ดีเอสจี" คว้าอันดับ 1 บริษัทที่มีการเติบโตของมูลค่าแบรนด์สูงสุด Thailand’s Corporate Brand Rising Stars 2014
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด ภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศผลงานวิจัยและมอบรางวัล Thailand’s Top Corporate Brand Values 2014 และ Thailand’s Corporate Brand Rising Stars 2014 แยกตามหมวดอุตสาหกรรม 8 หมวด ได้แก่ เกษตรและอาหาร อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง การเงิน สินค้าอุปโภคบริโภค ทรัพยากร เทคโนโลยี สินค้าอุตสาหกรรม และหมวดบริการ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้อาศัยเครื่องมือ CBS Valuation ในการวัดค่าแบรนด์บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ในส่วนของ 8 องค์กรดาวเด่นที่มีมูลค่าแบรนด์สูงสุด ปรากฏว่า "เอไอเอส" เป็นบริษัทที่มีมูลค่าแบรนด์สูงสุดในประเทศไทย 4.63 แสนล้านบาท รองลงมาคือ "ธนาคารไทยพาณิชย์" 3.19 แสนล้านบาท และ "ซีพีออลล์" 2.64 แสนล้านบาท ขณะที่ในกลุ่ม 8 องค์กรดาวรุ่งที่มีการเติบโตของมูลค่าแบรนด์สูงสุด 3 อันดับแรก คือ "ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล" มีการเติบโตสูงถึง 373%, "ทียูเอฟ" 179.71% และ "เดลต้าอีเลคโทรนิคส์" 159.77%
Forbes Thailand ได้เรียงลำดับตามมูลค่าแบรนด์และอัตราการเติบโตสูงสุด ดังนี้
Thailand’s Top Corporate Brand Values 2014 หรือแบรนด์องค์กรที่มีมูลค่าสูงสุดปี 2557 แยกตามหมวดอุตสาหกรรม
บมจ.แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส มูลค่าแบรนด์ 462,817 ล้านบาท (เทคโนโลยี)
บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ มูลค่าแบรนด์ 318,704 ล้านบาท (การเงิน)
บมจ.ซีพี ออลล์ มูลค่าแบรนด์ 263,604 ล้านบาท (บริการ)
บมจ.เอสซีจี มูลค่าแบรนด์ 249,608 ล้านบาท (อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง)
บมจ. ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม มูลค่าแบรนด์ 184,127 ล้านบาท (ทรัพยากร)
บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร มูลค่าแบรนด์ 113,120 ล้านบาท (เกษตรและอาหาร)
บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล มูลค่าแบรนด์ 48,852 ล้านบาท (สินค้าอุตสาหกรรม)
8. บมจ.ซาบีน่า 5,873 สินค้าอุปโภคบริโภค
Thailand’s Corporate Brand Rising Stars 2014 หรือบริษัทที่มีอัตราการเติบโตของมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุดปี 2557 แยกตามหมวดอุตสาหกรรม
บมจ.ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) อัตราการเติบโต 373% มูลค่าแบรนด์ 2,502 ล้านบาท (สินค้าอุปโภคบริโภค)
บมจ.ไทยยูเนียน โฟรเซ่น โปรดักส์ อัตราการเติบโต 179.71% มูลค่าแบรนด์ 11,958 ล้านบาท (เกษตรและอาหาร)
บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ อัตราการเติบโต 159.77% มูลค่าแบรนด์ 12,507 ล้านบาท (เทคโนโลยี)
บมจ.บริการเชื้อเพลิงการบิน กรุงเทพ อัตราการเติบโต 91.50% มูลค่าแบรนด์ 5,605 ล้านบาท (ทรัพยากร)
บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา อัตราการเติบโต 45.77% มูลค่าแบรนด์ 101,566 ล้านบาท (อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง)
บมจ.สยามแม็คโคร อัตราการเติบโต 82.66% มูลค่าแบรนด์ 68,975 ล้านบาท (บริการ)
บมจ.ไทยสตีลเคเบิล อัตราการเติบโต 18.68% มูลค่าแบรนด์ 1,102 ล้านบาท (สินค้าอุตสาหกรรม)
บมจ.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา อัตราการเติบโต 15.10% มูลค่าแบรนด์ 65,529 ล้านบาท (การเงิน)
ทั้งนี้ การจัดอันดับแบรนด์องค์กรดังกล่าวเริ่มต้นจากการที่ รศ.ดร.กุณฑลี รื่นรมย์ และ เอกก์ ภทรธนกุล อาจารย์จากภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันทำวิจัยเรื่อง “การประเมินค่าและจัดอันดับแบรนด์องค์กรในประเทศไทย” โดยสามารถสร้างเครื่องมือวัดค่าแบรนด์องค์กรซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในชื่อ CBS Valuation (Corporate Brand Success Valuation) ซึ่งช่วยให้สามารถประเมินมูลค่าแบรนด์องค์กรได้เป็นตัวเลขทางการเงินได้อย่างแม่นยำ เป็นรูปธรรม และมีการพัฒนาต่อเนื่อง กระทั่งได้มีการจัดอันดับและมีการประกาศผล Thailand’s Top Corporate Brand Values และ Thailand’s Corporate Brand Rising Stars เป็นปีที่ 3 ในปีนี้ ที่ตลาดหลักทรัพย์
http://forbesthailand.com/article_detai ... FA3KT.dpuf