สิ้นสุดยุคทองของ VI/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1827
- ผู้ติดตาม: 1
สิ้นสุดยุคทองของ VI/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
ผมเป็นคนที่เชื่อในเรื่องของ “สัจธรรม” ข้อหนึ่งที่ว่า อะไรก็ตาม เมื่อมันดี โต ก้าวหน้า ไปมากและยาวนานเกินกว่าที่เคยเป็นมาในอดีตหรือเกินกว่าสิ่งอื่นหรือคนอื่นที่เป็นคู่แข่งกัน ในที่สุดมันก็ต้องชะลอและกลับตัวลงมาเพื่อที่จะทำให้มันไม่ดีเกินไป โตเกินไป หรือก้าวหน้ามากเกินไป มิฉะนั้น ในระยะยาวแล้ว มันก็จะโตเกินกว่าที่เป็นไปได้ตาม “ธรรมชาติ” ผมมีความเชื่อว่าธรรมชาตินั้น ในระยะยาวแล้วไม่มีความ “ลำเอียง” มันจะพยายามปรับให้เกิดความ “สมดุล” ที่ไม่มีอะไรที่ใหญ่หรือ “ดีเด่น” เกินไปจนทำให้สิ่งอื่นนั้นเล็กเกินไปและ “ด้อย” กว่าจนอยู่ไม่ได้ ภาษาทางปรัชญาอาจจะเรียกปรากฏการณ์แบบนี้ว่า “สูงสุดคืนสู่สามัญ” ภาษาทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า “Regression to the Mean” หรือแนวโน้มทางสถิติของสิ่งต่าง ๆ ในทางธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่จะวิ่งเข้าหาอัตราการเติบโตหรือตัวเลขของ “ค่าเฉลี่ย” โดยที่ไม่ต้องไปคิดหาเหตุผลว่าอะไรทำให้มันเป็นเช่นนั้น เหตุผลนั้น แน่นอนต้องมี เพียงแต่ว่าเราอาจจะยังไม่รู้หรือมันอาจจะยังไม่เกิด อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์นั้นมีอาชีพต้องหาเหตุผล เพื่อที่จะบอกว่าอะไรที่จะทำให้การเติบโตนั้นจะต้องช้าลงกว่าเดิมไปอีกหลายปีเพื่อที่มันจะวิ่งเข้าสู่ค่าเฉลี่ย
ผมกำลังจะบอกว่าความสำเร็จ หรือความก้าวหน้าของการลงทุน หรือผลตอบแทนที่นักลงทุนโดยรวมและเฉพาะอย่างยิ่ง VI ของไทยเคยทำได้มายาวนานกว่า 10 ปีที่ผ่านมานี้ มันอาจจะถึงเวลาที่จะต้องชะลอตัวลง การลงทุนที่จะสามารถสร้างผลตอบแทนต่อปีที่เกิน 20%-30% แบบทบต้นในระยะยาวเป็น 10 ปีขึ้นไปนั้น เป็นเรื่องที่ยากมาก อย่างไรก็ตาม นักลงทุนโดยเฉพาะที่เป็น VI ที่สามารถทำผลตอบแทนสูงในระดับนี้ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาของตลาดหุ้นไทยนั้น ผมเชื่อว่ามีไม่น้อย และมันทำให้เกิด “ภาพลวง” ว่า การทำผลตอบแทนเกินกว่า 20%-30% ต่อปี ในระยะยาวนั้นเป็นไปได้ไม่ยาก แต่ในความคิดของผมแล้ว นี่อาจจะเป็นเวลาที่แนวโน้มการทำกำไรงดงามอย่างง่าย ๆ ของนักลงทุนในตลาดหุ้นกำลังเปลี่ยนไป นี่อาจจะเป็นเวลาที่ “ยุคทองของ VI” ที่ดำเนินมามากกว่า 10 ปี กำลังหมดลง ภายในเวลา 10 ปีข้างหน้านั้น การทำผลตอบแทนได้ปีละ 15%-20% แบบทบต้นอาจจะเป็นสิ่งที่ “ดีสุดยอด” แล้ว เพราะนั่นสำหรับหลาย ๆ คนจะเป็นสถิติระดับโลกที่สามารถทำผลตอบแทนในระดับ 20% ขึ้นไปเป็นเวลาอาจจะ 20 ปีติดต่อกัน น้อยคนมากที่จะทำได้!
เหตุผลที่ผมคิดว่ายุคทองของตลาดหุ้นไทยนั้นใกล้จบลงมีหลาย ๆ เรื่อง และมันคือเหตุผลที่ทำให้เกิดยุคทองหรือทศวรรษทองของตลาดหุ้นไทยในทางตรงกันข้าม พูดง่าย ๆ สิ่งที่ขับดันราคาหุ้นหรือดัชนีตลาดหุ้นไทยขึ้นมาตลอดกว่า 10 ปีที่ผ่านมานั้น กำลังหมดพลังลงหรือเปลี่ยนทิศ มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมานั้นต้องบอกว่าอยู่ในระดับปานกลางคือช่วงหลังจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 มานั้นเราโตปีละประมาณ 5% จากประมาณ 7% ก่อนหน้านั้น จนถึงประมาณปี 2550 หลังจากนั้นเศรษฐกิจไทยก็เริ่มชะลอตัวลงมาค่อนข้างมากเหลือแค่ 3%-4% ผมเองไม่รู้ว่านี่เป็นการชะลอตัวลงอย่างถาวรแล้วหรือไม่ เหตุผลก็เพราะว่าคนไทยนั้นเริ่มแก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว เด็กเกิดใหม่มีน้อยลงมาก กำลังแรงงานที่เพิ่มขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก็น้อยลงและในอนาคตก็อาจจะเริ่มลดลง และหากเป็นอย่างนั้น ไทยก็อาจจะเหมือนประเทศของคนสูงอายุในยุโรปหรือในญี่ปุ่นที่เศรษฐกิจเติบโตยาก ตลาดหุ้นก็จะไปไม่ได้
สิ่งสำคัญที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยเติบโตสูงมากในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมานั้นผมคิดว่าคือเรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่เริ่มลดลงมาอย่างรวดเร็วหลังวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2542 ที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารขนาดใหญ่ลดลงจากประมาณ 5% เหลือ ไม่ถึง 4% พอถึงปี 2543 ดอกเบี้ยลดลงอีกเหลือประมาณ 2.5% และลดลงต่อเนื่องจนเหลือเพียงประมาณ 1% ในปี 2546 หลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยก็ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำมาโดยตลอดจนถึงวันนี้ และนี่น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนถอนเงินมาลงทุนในตลาดหุ้นต่อเนื่องยาวนานและทำให้ดัชนีหุ้นปรับตัวขึ้นมาตลอดกว่า 10 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยนับจากวันนี้ดูเหมือนว่ามันคงไม่สามารถลงต่อไปได้อีกและมีแต่จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากนโยบายของสหรัฐที่จะลดสภาพคล่องทางการเงินโดยการยกเลิก QE และหากอัตราดอกเบี้ยของไทยเริ่มปรับตัวขึ้น โอกาสก็เป็นไปได้ที่คนจะถอนเงินออกจากตลาดและทำให้ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลงหรือขึ้นต่อไปได้ยากขึ้น
ตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ปี 2543 เริ่มปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่นสอดคล้องกับเวลาที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวลงอย่างชัดเจน จนถึงวันนี้เป็นเวลา 14 ปี ตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนปีละประมาณ 16%-17% แบบทบต้น เงินลงทุน 1 ล้านบาท กลายเป็นประมาณ 10 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นผลตอบแทนที่สูงมากในระยะเวลาที่ยาวมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ประเด็นก็คือ อนาคตอีก 10 ปีข้างหน้านั้น ผมคิดว่าตลาดจะปรับตัวดีแบบเดิมคงเป็นไปได้ยากมาก เพราะมันจะทำให้ตลาดหุ้นไทยใหญ่เกินไปเมื่อเทียบกับศักยภาพของประเทศ
การปรับตัวของหุ้นไทยยังน่าจะมาจากการที่กำไรของบริษัทจดทะเบียนเติบโตขึ้นหลังจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 และการปรับโครงสร้างทางการเงินในช่วง 2-3 ปีต่อมา ในช่วงเวลาประมาณ 12 ปีที่ผ่านมาจนถึงล่าสุด กำไรของบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้นประมาณ 117% หรือโตปีละประมาณ 6.7% แบบทบต้น แต่ดัชนีตลาดหรือราคาหุ้นนั้นปรับตัวขึ้นถึงประมาณ 260% หรือเพิ่มขึ้นปีละกว่า 13% คิดเป็น 2 เท่าของกำไร ดังนั้น ราคาหุ้นของไทยในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมานั้นไม่ได้ขึ้นเพียงเพราะกำไรบริษัทเพิ่มขึ้น แต่เพิ่มขึ้นด้วย “พลังเงิน” ของนักลงทุนที่ทำให้หุ้นแพงขึ้น ซึ่งตัวเลขค่า PE ของตลาดมีการปรับตัวขึ้นจากค่า PE ในช่วงหลังวิกฤติใหม่ ๆ ไม่เกิน 10 เท่าก็กลายเป็นประมาณ 18 เท่าในปัจจุบัน
ประเด็นก็คือ การเติบโตของกำไรของบริษัทจดทะเบียนนั้น เร่งตัวขึ้นในช่วงหลังจากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ แต่ในช่วงปีหรือสองปีนี้ กำไรกลับไม่ได้โตขึ้นเท่าไรนัก อาจจะมาจากภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเนื่องจากวิกฤติการเมืองหรือภาวะเศรษฐกิจโลกที่ไม่เอื้ออำนวยหรืออาจจะมาจากผลของการเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ อาจจะดีขึ้นตามที่นักวิเคราะห์คาด แต่กำไรของบริษัทจดทะเบียนก็ดูเหมือนว่าจะไม่โดดเด่นนัก นอกจากนั้น ค่า PE ก็คงมีโอกาสสูงขึ้นยากและอาจจะมีแนวโน้มที่ลดลงได้หากเกิดเหตุการณ์ไม่ดีอะไรบางอย่าง ดังนั้น ความหวังที่จะเห็นหุ้นปรับตัวดีขึ้นไปอีกจากปัจจุบันก็อาจจะไม่เป็นจริงได้
ทั้งหมดที่ผมพูดมานั้น ดูเหมือนจะเกี่ยวกับตลาดหุ้นและบริษัทจดทะเบียนโดยรวมมากกว่า บางคนอาจจะเถียงว่าหุ้น VI อาจจะไม่ได้เข้าข่ายดังกล่าว ดังนั้น มันอาจจะไม่ใช่การหมด “ยุคทองของ VI” ในประเด็นนี้ผมเองกลับเห็นว่า การปรับตัวขึ้นของหุ้นในระยะกว่า 10 ปี ที่ผ่านมานั้น หุ้นที่เรียกว่า “VI” นั้น มีการปรับตัวขึ้นมามากกว่าหุ้นกลุ่มอื่น และการปรับตัวขึ้นของมันเองนั้นก็มาจากเรื่องของกำไรที่เพิ่มมากขึ้นของบริษัทและการปรับตัวขึ้นของค่า PE เช่นเดียวกับหุ้นทั่วไป สิ่งที่แตกต่างนั้น ผมกลับคิดว่าหุ้นที่เรียกว่า VI นั้น มีการปรับตัวขึ้นของ PE มากกว่าการเพิ่มขึ้นของกำไร หรือพูดง่าย ๆ โดยเปรียบเทียบแล้ว หุ้น VI นั้น มีราคาแพงขึ้นมากกว่าหุ้นธรรมดา ดังนั้น โอกาสที่หุ้น VI จะทำผลตอบแทนดีกว่าหุ้นทั่วไปในอีก 10 ปีข้างหน้าก็อาจจะยากขึ้นกว่าในอดีตมาก และนี่ทำให้ผมมีความรู้สึกว่า มันอาจจะเป็นช่วงเวลาที่ใกล้หมดยุคทองของ VI อย่างไรก็ตาม การลงทุนแบบ VI เองนั้น ก็ยังเป็นการลงทุนที่ดีที่สุด เพียงแต่อย่าหวังว่ามันจะทำกำไรได้มหาศาลเหมือนเดิม ตัวเลขที่หวังนั้น ผมคิดว่าควรกำหนดไว้ที่ไม่เกิน 10%-15% ต่อปีในระยะยาวซัก 5-10 ปีข้างหน้า
ผมกำลังจะบอกว่าความสำเร็จ หรือความก้าวหน้าของการลงทุน หรือผลตอบแทนที่นักลงทุนโดยรวมและเฉพาะอย่างยิ่ง VI ของไทยเคยทำได้มายาวนานกว่า 10 ปีที่ผ่านมานี้ มันอาจจะถึงเวลาที่จะต้องชะลอตัวลง การลงทุนที่จะสามารถสร้างผลตอบแทนต่อปีที่เกิน 20%-30% แบบทบต้นในระยะยาวเป็น 10 ปีขึ้นไปนั้น เป็นเรื่องที่ยากมาก อย่างไรก็ตาม นักลงทุนโดยเฉพาะที่เป็น VI ที่สามารถทำผลตอบแทนสูงในระดับนี้ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาของตลาดหุ้นไทยนั้น ผมเชื่อว่ามีไม่น้อย และมันทำให้เกิด “ภาพลวง” ว่า การทำผลตอบแทนเกินกว่า 20%-30% ต่อปี ในระยะยาวนั้นเป็นไปได้ไม่ยาก แต่ในความคิดของผมแล้ว นี่อาจจะเป็นเวลาที่แนวโน้มการทำกำไรงดงามอย่างง่าย ๆ ของนักลงทุนในตลาดหุ้นกำลังเปลี่ยนไป นี่อาจจะเป็นเวลาที่ “ยุคทองของ VI” ที่ดำเนินมามากกว่า 10 ปี กำลังหมดลง ภายในเวลา 10 ปีข้างหน้านั้น การทำผลตอบแทนได้ปีละ 15%-20% แบบทบต้นอาจจะเป็นสิ่งที่ “ดีสุดยอด” แล้ว เพราะนั่นสำหรับหลาย ๆ คนจะเป็นสถิติระดับโลกที่สามารถทำผลตอบแทนในระดับ 20% ขึ้นไปเป็นเวลาอาจจะ 20 ปีติดต่อกัน น้อยคนมากที่จะทำได้!
เหตุผลที่ผมคิดว่ายุคทองของตลาดหุ้นไทยนั้นใกล้จบลงมีหลาย ๆ เรื่อง และมันคือเหตุผลที่ทำให้เกิดยุคทองหรือทศวรรษทองของตลาดหุ้นไทยในทางตรงกันข้าม พูดง่าย ๆ สิ่งที่ขับดันราคาหุ้นหรือดัชนีตลาดหุ้นไทยขึ้นมาตลอดกว่า 10 ปีที่ผ่านมานั้น กำลังหมดพลังลงหรือเปลี่ยนทิศ มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมานั้นต้องบอกว่าอยู่ในระดับปานกลางคือช่วงหลังจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 มานั้นเราโตปีละประมาณ 5% จากประมาณ 7% ก่อนหน้านั้น จนถึงประมาณปี 2550 หลังจากนั้นเศรษฐกิจไทยก็เริ่มชะลอตัวลงมาค่อนข้างมากเหลือแค่ 3%-4% ผมเองไม่รู้ว่านี่เป็นการชะลอตัวลงอย่างถาวรแล้วหรือไม่ เหตุผลก็เพราะว่าคนไทยนั้นเริ่มแก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว เด็กเกิดใหม่มีน้อยลงมาก กำลังแรงงานที่เพิ่มขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก็น้อยลงและในอนาคตก็อาจจะเริ่มลดลง และหากเป็นอย่างนั้น ไทยก็อาจจะเหมือนประเทศของคนสูงอายุในยุโรปหรือในญี่ปุ่นที่เศรษฐกิจเติบโตยาก ตลาดหุ้นก็จะไปไม่ได้
สิ่งสำคัญที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยเติบโตสูงมากในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมานั้นผมคิดว่าคือเรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่เริ่มลดลงมาอย่างรวดเร็วหลังวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2542 ที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารขนาดใหญ่ลดลงจากประมาณ 5% เหลือ ไม่ถึง 4% พอถึงปี 2543 ดอกเบี้ยลดลงอีกเหลือประมาณ 2.5% และลดลงต่อเนื่องจนเหลือเพียงประมาณ 1% ในปี 2546 หลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยก็ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำมาโดยตลอดจนถึงวันนี้ และนี่น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนถอนเงินมาลงทุนในตลาดหุ้นต่อเนื่องยาวนานและทำให้ดัชนีหุ้นปรับตัวขึ้นมาตลอดกว่า 10 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยนับจากวันนี้ดูเหมือนว่ามันคงไม่สามารถลงต่อไปได้อีกและมีแต่จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากนโยบายของสหรัฐที่จะลดสภาพคล่องทางการเงินโดยการยกเลิก QE และหากอัตราดอกเบี้ยของไทยเริ่มปรับตัวขึ้น โอกาสก็เป็นไปได้ที่คนจะถอนเงินออกจากตลาดและทำให้ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลงหรือขึ้นต่อไปได้ยากขึ้น
ตลาดหุ้นไทยตั้งแต่ปี 2543 เริ่มปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่นสอดคล้องกับเวลาที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวลงอย่างชัดเจน จนถึงวันนี้เป็นเวลา 14 ปี ตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนปีละประมาณ 16%-17% แบบทบต้น เงินลงทุน 1 ล้านบาท กลายเป็นประมาณ 10 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นผลตอบแทนที่สูงมากในระยะเวลาที่ยาวมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ประเด็นก็คือ อนาคตอีก 10 ปีข้างหน้านั้น ผมคิดว่าตลาดจะปรับตัวดีแบบเดิมคงเป็นไปได้ยากมาก เพราะมันจะทำให้ตลาดหุ้นไทยใหญ่เกินไปเมื่อเทียบกับศักยภาพของประเทศ
การปรับตัวของหุ้นไทยยังน่าจะมาจากการที่กำไรของบริษัทจดทะเบียนเติบโตขึ้นหลังจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 และการปรับโครงสร้างทางการเงินในช่วง 2-3 ปีต่อมา ในช่วงเวลาประมาณ 12 ปีที่ผ่านมาจนถึงล่าสุด กำไรของบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้นประมาณ 117% หรือโตปีละประมาณ 6.7% แบบทบต้น แต่ดัชนีตลาดหรือราคาหุ้นนั้นปรับตัวขึ้นถึงประมาณ 260% หรือเพิ่มขึ้นปีละกว่า 13% คิดเป็น 2 เท่าของกำไร ดังนั้น ราคาหุ้นของไทยในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมานั้นไม่ได้ขึ้นเพียงเพราะกำไรบริษัทเพิ่มขึ้น แต่เพิ่มขึ้นด้วย “พลังเงิน” ของนักลงทุนที่ทำให้หุ้นแพงขึ้น ซึ่งตัวเลขค่า PE ของตลาดมีการปรับตัวขึ้นจากค่า PE ในช่วงหลังวิกฤติใหม่ ๆ ไม่เกิน 10 เท่าก็กลายเป็นประมาณ 18 เท่าในปัจจุบัน
ประเด็นก็คือ การเติบโตของกำไรของบริษัทจดทะเบียนนั้น เร่งตัวขึ้นในช่วงหลังจากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ แต่ในช่วงปีหรือสองปีนี้ กำไรกลับไม่ได้โตขึ้นเท่าไรนัก อาจจะมาจากภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเนื่องจากวิกฤติการเมืองหรือภาวะเศรษฐกิจโลกที่ไม่เอื้ออำนวยหรืออาจจะมาจากผลของการเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ อาจจะดีขึ้นตามที่นักวิเคราะห์คาด แต่กำไรของบริษัทจดทะเบียนก็ดูเหมือนว่าจะไม่โดดเด่นนัก นอกจากนั้น ค่า PE ก็คงมีโอกาสสูงขึ้นยากและอาจจะมีแนวโน้มที่ลดลงได้หากเกิดเหตุการณ์ไม่ดีอะไรบางอย่าง ดังนั้น ความหวังที่จะเห็นหุ้นปรับตัวดีขึ้นไปอีกจากปัจจุบันก็อาจจะไม่เป็นจริงได้
ทั้งหมดที่ผมพูดมานั้น ดูเหมือนจะเกี่ยวกับตลาดหุ้นและบริษัทจดทะเบียนโดยรวมมากกว่า บางคนอาจจะเถียงว่าหุ้น VI อาจจะไม่ได้เข้าข่ายดังกล่าว ดังนั้น มันอาจจะไม่ใช่การหมด “ยุคทองของ VI” ในประเด็นนี้ผมเองกลับเห็นว่า การปรับตัวขึ้นของหุ้นในระยะกว่า 10 ปี ที่ผ่านมานั้น หุ้นที่เรียกว่า “VI” นั้น มีการปรับตัวขึ้นมามากกว่าหุ้นกลุ่มอื่น และการปรับตัวขึ้นของมันเองนั้นก็มาจากเรื่องของกำไรที่เพิ่มมากขึ้นของบริษัทและการปรับตัวขึ้นของค่า PE เช่นเดียวกับหุ้นทั่วไป สิ่งที่แตกต่างนั้น ผมกลับคิดว่าหุ้นที่เรียกว่า VI นั้น มีการปรับตัวขึ้นของ PE มากกว่าการเพิ่มขึ้นของกำไร หรือพูดง่าย ๆ โดยเปรียบเทียบแล้ว หุ้น VI นั้น มีราคาแพงขึ้นมากกว่าหุ้นธรรมดา ดังนั้น โอกาสที่หุ้น VI จะทำผลตอบแทนดีกว่าหุ้นทั่วไปในอีก 10 ปีข้างหน้าก็อาจจะยากขึ้นกว่าในอดีตมาก และนี่ทำให้ผมมีความรู้สึกว่า มันอาจจะเป็นช่วงเวลาที่ใกล้หมดยุคทองของ VI อย่างไรก็ตาม การลงทุนแบบ VI เองนั้น ก็ยังเป็นการลงทุนที่ดีที่สุด เพียงแต่อย่าหวังว่ามันจะทำกำไรได้มหาศาลเหมือนเดิม ตัวเลขที่หวังนั้น ผมคิดว่าควรกำหนดไว้ที่ไม่เกิน 10%-15% ต่อปีในระยะยาวซัก 5-10 ปีข้างหน้า
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4641
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สิ้นสุดยุคทองของ VI/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 2
บทความนี้อ่านแล้วได้อารมณ์ใกล้เคียงกับ บทสัมภาษณ์ของ เบนแกรม อาจารย์ใหญ่แห่งวอลล์สตรีทที่ผมพึ่งแปลจบไป
http://nevercry-boy.blogspot.com/
คือไม่ใช่เนื้อหานะ แต่คืออารมณ์ เพราะคนที่ต้องต่อสู้กับมิสเตอร์มาร์เก๊ต มานาน ๆ จนเป็นเพื่อนกันไปแล้วหน่ะ จะรู้สึกว่า ตลาดมันค่อนข้างสมเหตุสมผล จน เบนแกรม ในช่วงท้ายๆ ของการลงทุนถึงกับให้สัมภาษณ์ว่า เค้าค่อนข้างเชื่อในทฤษฎีตลาดมีเหตุมีผล
บัฟเฟตต์เอง เมื่อจดหมายฉบับล่าสุดเค้าก็บอกว่าการลงทุนหลังจากไม่มีเค้าแล้ว น่าจะใช้ 90% ในกองทุนดัชนี ซึ่งแกแนะนำแวนการ์ด เพราะชาร์จค่าบริหารไม่แพง
เคน ฟิชเชอร์ ลูกชายของ ฟิล ฟิชเชอร์ ก็ประกาศชัดว่าเค้าค่อนข้างเชื่อในระบอบทุนนิยม และก็รู้สึกเฉย ๆ กับแนวคิดการลงทุนในหุ้นตัวเล็ก ซึ่งเป็นที่โปรดปรานของเค้าในยุคต้นของการลงทุน
ดร. เองก็คงอยู่ในอารมณ์นั้น บทความนี้ออกมาในโทน ๆ นี้
แต่ผมเชื่อว่า อย่างไรก็ตามตลาดคงไม่ให้ราคาที่เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกก็จริง แต่สักวันหนึ่งก็จะต้องจัดขึ้นมาอีกครั้ง จริงที่ว่าหุ้นวีไออาจหมดไป
แต่แล้ววีไอที่เราสั่งสมมามันไม่ไปไหนหรอกครับ
มันอยู่ในตัวตนของพวกเราทุก ๆ คน
ขอบพระคุณ ดร. อย่างสูงครับ
http://nevercry-boy.blogspot.com/
คือไม่ใช่เนื้อหานะ แต่คืออารมณ์ เพราะคนที่ต้องต่อสู้กับมิสเตอร์มาร์เก๊ต มานาน ๆ จนเป็นเพื่อนกันไปแล้วหน่ะ จะรู้สึกว่า ตลาดมันค่อนข้างสมเหตุสมผล จน เบนแกรม ในช่วงท้ายๆ ของการลงทุนถึงกับให้สัมภาษณ์ว่า เค้าค่อนข้างเชื่อในทฤษฎีตลาดมีเหตุมีผล
บัฟเฟตต์เอง เมื่อจดหมายฉบับล่าสุดเค้าก็บอกว่าการลงทุนหลังจากไม่มีเค้าแล้ว น่าจะใช้ 90% ในกองทุนดัชนี ซึ่งแกแนะนำแวนการ์ด เพราะชาร์จค่าบริหารไม่แพง
เคน ฟิชเชอร์ ลูกชายของ ฟิล ฟิชเชอร์ ก็ประกาศชัดว่าเค้าค่อนข้างเชื่อในระบอบทุนนิยม และก็รู้สึกเฉย ๆ กับแนวคิดการลงทุนในหุ้นตัวเล็ก ซึ่งเป็นที่โปรดปรานของเค้าในยุคต้นของการลงทุน
ดร. เองก็คงอยู่ในอารมณ์นั้น บทความนี้ออกมาในโทน ๆ นี้
แต่ผมเชื่อว่า อย่างไรก็ตามตลาดคงไม่ให้ราคาที่เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกก็จริง แต่สักวันหนึ่งก็จะต้องจัดขึ้นมาอีกครั้ง จริงที่ว่าหุ้นวีไออาจหมดไป
แต่แล้ววีไอที่เราสั่งสมมามันไม่ไปไหนหรอกครับ
มันอยู่ในตัวตนของพวกเราทุก ๆ คน
ขอบพระคุณ ดร. อย่างสูงครับ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 532
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สิ้นสุดยุคทองของ VI/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 3
ผมมีวันนี้ได้ ยังไงก็ต้องกราบขอบคุณอาจารย์มากๆเป็นแนวคิดที่ผมยึดถือในการลงทุน และดำเนินชีวิต ขอบคุณครับ
ผมก็พยายามแบ่งปันแนวคิดการลงทุนเน้นคุณค่าให้เพื่อนที่เข้ามาปรึกษาและเข้าตลาดใหม่ๆครับ
ผมก็พยายามแบ่งปันแนวคิดการลงทุนเน้นคุณค่าให้เพื่อนที่เข้ามาปรึกษาและเข้าตลาดใหม่ๆครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 154
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สิ้นสุดยุคทองของ VI/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 4
อ่านบทความของท่านอาจารย์นี้แล้วให้อารมณ์เหมือนกำลังอาลัยเพื่อนเก่าที่ใกล้จะจากไปหรือกำลังเสื่อมมนต์ขลังลงทุกทีๆเลยครับ
ก่อนอื่นส่วนตัวผมอ่านหนังสือของท่านอาจารย์มาตั้งแต่เริ่มลงทุนใหม่ๆ รวมทั้งหนังสือแนว VI ของท่านอื่นๆ เท่าที่ผมจะสามารถหาอ่านได้แต่ผมกลับเชื่อเรื่องตลาดมีเหตุผลนะซึ่งไม่รู้ว่าความหมายเดียวกับตลาดมีประสิทธิภาพหรือเปล่า แต่ผมเชื่อว่า ณ ขณะใดๆขณะหนึ่งนั้น ราคาของหุ้นในขณะนั้นเหมาะสมแล้วมีเหตุมีผลโดยสมบูรณ์แล้วของมันอยู่ (และความรู้สึกส่วนตัวผมถือว่าตลาดเป็นอาจารย์ผมท่านนึงเลยนะครับที่ให้บทเรียนให้ผมได้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา) เพียงแต่ว่านักลงทุนแต่ละคนก็จะมีหลักการส่วนตัวของแต่ละคนเข้ามาใช้ทำนายราคาในอนาคตเมื่อเทียบกับสภาวการณ์แวดล้อมปัจจุบัน ใครถูกใครผิดใครแม่นยำอย่างไรเวลาจะเป็นผู้แสดงคำตอบ ผมคิดว่าหลักการVI นั้นมีเพียงประโยคเดียวสั้นๆเท่านั้นคือ “ซื้อเมื่อราคาต่ำกว่ามูลค่าที่ได้รับ ขายเมื่อราคาสูงกว่ามูลค่าที่ได้รับ” เช่นเดียวกับแนวทางเทคนิคอลที่ก็เป็นเพียงประโยคเดียวสั้นๆเท่านั้นเช่นกันคือ “ซื้อเมื่อราคาดูเหมือนว่าจะขึ้น ขายเมื่อราคาดูเหมือนว่าจะลง” อันนี้ก็เหมือนกับประโยคทองอันนึงของท่านปลานิลจิ๋วแห่งพันทิปที่บอกว่า ”ถ้ามันเป็นอย่างที่เราคิดเราก็จะเล่นกับมัน”
ส่วนการอธิบายเทคนิคการเล่นการลงทุนต่างๆตามหลักการประโยคข้างต้นรวมทั้งระยะเวลาในการถือครองหุ้นนั้นมันเป็นเพียงการแปรผันตามตัวตน ประสบการณ์ ความชำนาญ สังคม รวมทั้งสภาวการณ์ของประเทศของโลกของตลาดหุ้นเท่านั้น ในฐานะที่ผมเกิดและเติบโตในประเทศนี้ เห็นวิวัฒนาการของเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษารวมทั้งนิสัยใจคอของผู้คนรวมทั้งของตนเอง เมื่อมาเทียบเคียงสังเกตตลาดก็ไม่แปลกใจถึง ลักษณะความเป็นไปของบริษัทในตลาด ไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก
ผมคิดว่าแก่นแท้ของ VI ก็จะยังคงอยู่และใช้ได้ไปอีกนานเท่านานตราบใดที่ตลาดทุนแห่งนี้ยังใช้เป็นแหล่งระดมทุนอยู่ เพียงแต่วิธีการใช้ที่เหมาะสมจะถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆตามความเปลี่ยนแปลงของตลาด ของเศรษฐกิจประเทศ และผลตอบแทนที่แต่ละคนจะได้รับจะมากน้อยก็ยังคงขึ้นกับว่าวิธีการที่เหมาะสมที่ใช้กับตลาดในช่วงนั้นเหมาะหรือขัดแย้งกับลักษณะตัวตน ความชำนาญของบุคคลนั้นหรือไม่
สุดท้ายผมยกย่องท่านอาจารย์อย่างสูงเสมอมา แม้ว่าในบางครั้งบางคราวอาจมีบ้างที่ผมไม่เห็นตามที่ได้อ่านหนังสือของท่านอาจารย์ซึ่งนั่นไม่สำคัญเลย แต่ผมพบว่าเมื่อผมอ่านหนังสือของท่านอาจารย์ไปเรื่อยๆเหมือนผมได้รับการฝึกฝนจากท่านอาจารย์ให้ “เข้าใจในการเปลี่ยนแปลง” อันนำมาซึ่งวิกฤตและโอกาสอันหาได้ยากในหนังสือของท่านอื่น
กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ
ก่อนอื่นส่วนตัวผมอ่านหนังสือของท่านอาจารย์มาตั้งแต่เริ่มลงทุนใหม่ๆ รวมทั้งหนังสือแนว VI ของท่านอื่นๆ เท่าที่ผมจะสามารถหาอ่านได้แต่ผมกลับเชื่อเรื่องตลาดมีเหตุผลนะซึ่งไม่รู้ว่าความหมายเดียวกับตลาดมีประสิทธิภาพหรือเปล่า แต่ผมเชื่อว่า ณ ขณะใดๆขณะหนึ่งนั้น ราคาของหุ้นในขณะนั้นเหมาะสมแล้วมีเหตุมีผลโดยสมบูรณ์แล้วของมันอยู่ (และความรู้สึกส่วนตัวผมถือว่าตลาดเป็นอาจารย์ผมท่านนึงเลยนะครับที่ให้บทเรียนให้ผมได้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา) เพียงแต่ว่านักลงทุนแต่ละคนก็จะมีหลักการส่วนตัวของแต่ละคนเข้ามาใช้ทำนายราคาในอนาคตเมื่อเทียบกับสภาวการณ์แวดล้อมปัจจุบัน ใครถูกใครผิดใครแม่นยำอย่างไรเวลาจะเป็นผู้แสดงคำตอบ ผมคิดว่าหลักการVI นั้นมีเพียงประโยคเดียวสั้นๆเท่านั้นคือ “ซื้อเมื่อราคาต่ำกว่ามูลค่าที่ได้รับ ขายเมื่อราคาสูงกว่ามูลค่าที่ได้รับ” เช่นเดียวกับแนวทางเทคนิคอลที่ก็เป็นเพียงประโยคเดียวสั้นๆเท่านั้นเช่นกันคือ “ซื้อเมื่อราคาดูเหมือนว่าจะขึ้น ขายเมื่อราคาดูเหมือนว่าจะลง” อันนี้ก็เหมือนกับประโยคทองอันนึงของท่านปลานิลจิ๋วแห่งพันทิปที่บอกว่า ”ถ้ามันเป็นอย่างที่เราคิดเราก็จะเล่นกับมัน”
ส่วนการอธิบายเทคนิคการเล่นการลงทุนต่างๆตามหลักการประโยคข้างต้นรวมทั้งระยะเวลาในการถือครองหุ้นนั้นมันเป็นเพียงการแปรผันตามตัวตน ประสบการณ์ ความชำนาญ สังคม รวมทั้งสภาวการณ์ของประเทศของโลกของตลาดหุ้นเท่านั้น ในฐานะที่ผมเกิดและเติบโตในประเทศนี้ เห็นวิวัฒนาการของเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษารวมทั้งนิสัยใจคอของผู้คนรวมทั้งของตนเอง เมื่อมาเทียบเคียงสังเกตตลาดก็ไม่แปลกใจถึง ลักษณะความเป็นไปของบริษัทในตลาด ไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก
ผมคิดว่าแก่นแท้ของ VI ก็จะยังคงอยู่และใช้ได้ไปอีกนานเท่านานตราบใดที่ตลาดทุนแห่งนี้ยังใช้เป็นแหล่งระดมทุนอยู่ เพียงแต่วิธีการใช้ที่เหมาะสมจะถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆตามความเปลี่ยนแปลงของตลาด ของเศรษฐกิจประเทศ และผลตอบแทนที่แต่ละคนจะได้รับจะมากน้อยก็ยังคงขึ้นกับว่าวิธีการที่เหมาะสมที่ใช้กับตลาดในช่วงนั้นเหมาะหรือขัดแย้งกับลักษณะตัวตน ความชำนาญของบุคคลนั้นหรือไม่
สุดท้ายผมยกย่องท่านอาจารย์อย่างสูงเสมอมา แม้ว่าในบางครั้งบางคราวอาจมีบ้างที่ผมไม่เห็นตามที่ได้อ่านหนังสือของท่านอาจารย์ซึ่งนั่นไม่สำคัญเลย แต่ผมพบว่าเมื่อผมอ่านหนังสือของท่านอาจารย์ไปเรื่อยๆเหมือนผมได้รับการฝึกฝนจากท่านอาจารย์ให้ “เข้าใจในการเปลี่ยนแปลง” อันนำมาซึ่งวิกฤตและโอกาสอันหาได้ยากในหนังสือของท่านอื่น
กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 332
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สิ้นสุดยุคทองของ VI/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 5
หุ้นที่มีคุณภาพดีช่วง 2-3ปีที่ผ่านมามันโดนดันจน PE สุดโต่ง
คนที่มาทีหลังจะลำบากในการหาหุ้นดีๆในราคาทถูกนั้นยากขึ้น
การจะซื้อให้เต็มพอร์ตเหมือนช่วงที่ผ่านมานั้นเริ่มมีความเสี่ยงมากขึ้น
เห็นด้วยว่าต่อไปในช่วงที่ set ยังอื่อๆ PE 18เท่า นั้นคงหวังผลเลิดเลอ เหมือนช่วงที่ผ่านมานั้นเป็นไปได้ยาก
คนที่มาทีหลังจะลำบากในการหาหุ้นดีๆในราคาทถูกนั้นยากขึ้น
การจะซื้อให้เต็มพอร์ตเหมือนช่วงที่ผ่านมานั้นเริ่มมีความเสี่ยงมากขึ้น
เห็นด้วยว่าต่อไปในช่วงที่ set ยังอื่อๆ PE 18เท่า นั้นคงหวังผลเลิดเลอ เหมือนช่วงที่ผ่านมานั้นเป็นไปได้ยาก
- Tibular
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สิ้นสุดยุคทองของ VI/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 6
คือแบบว่า ไม่ถึงกับแย่อะไรหรอกคับ แต่ว่าการที่จะสามารถทำผลตอบแทนได้สูงๆ
(เกิน 20-25%) อาจจะยาก (แต่ไม่ใช่เป็นไปไม่ได้ซะหน่อย)
ดร. ท่านก็ว่า ถ้าทำผลตอบแทนได้ 10-15% ต่อจากนี้ก็ถือว่าเยี่ยม
ซึ่งผมก็ว่ามันเยอะแล้วนะ แต่ก็อีกนะ สถานะการณ์ก็เปลี่ยนแปลงได้เสมอ
โอกาสดีๆ อาจจะรอเราอยู่ข้างหน้าก็เป็นได้ อย่ายอมแพ้ ท้อแท้ เสียก่อน
อย่างตลาดที่อเมริกาเอง หลักการลงทุน VI ก็ยังคงใช้ได้มาตลอดตั้งแต่ 70-80 ปีที่ผ่านมา
ถึงแม้หลังๆ นักลงทุนเน้นคุณค่าตัวเอ้ เช่น แกรแฮม จะออกมาพูดว่าเค้าชักยอมรับว่าตลาด
กำหนดราคาได้เหมาะสม ซึ่งในระยะยาวแล้ว ทุกตลาดหุ้นทั่วโลก (รวมทั้งไทย) ก็น่าจะเป็นอย่างอเมริกา
แน่นอนว่า บางช่วงก็เป็นยุคทอง บางช่วงก็เป็นยุคตกต่ำ บางช่วงก็เป็นยุคธรรมดา
แต่หลักการลงทุนที่ จำกัดความเสี่ยง และ ได้ผลตอบแทนที่สมเหตุสมผล ก็จะยังอยู่ตราบเท่าที่มีตลาดหุ้น
เราควรพยายามต่อไป แม้ยุคทองอาจจะจบลง แต่เราเดินกันมาไกลแล้ว
ลองมองย้อนกลับไปถึงวันที่เราเริ่มเดินทาง เรามีความฝัน ความหวัง ความพยายาม
ก็แค่รักษามันไว้ ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร
(เกิน 20-25%) อาจจะยาก (แต่ไม่ใช่เป็นไปไม่ได้ซะหน่อย)
ดร. ท่านก็ว่า ถ้าทำผลตอบแทนได้ 10-15% ต่อจากนี้ก็ถือว่าเยี่ยม
ซึ่งผมก็ว่ามันเยอะแล้วนะ แต่ก็อีกนะ สถานะการณ์ก็เปลี่ยนแปลงได้เสมอ
โอกาสดีๆ อาจจะรอเราอยู่ข้างหน้าก็เป็นได้ อย่ายอมแพ้ ท้อแท้ เสียก่อน
อย่างตลาดที่อเมริกาเอง หลักการลงทุน VI ก็ยังคงใช้ได้มาตลอดตั้งแต่ 70-80 ปีที่ผ่านมา
ถึงแม้หลังๆ นักลงทุนเน้นคุณค่าตัวเอ้ เช่น แกรแฮม จะออกมาพูดว่าเค้าชักยอมรับว่าตลาด
กำหนดราคาได้เหมาะสม ซึ่งในระยะยาวแล้ว ทุกตลาดหุ้นทั่วโลก (รวมทั้งไทย) ก็น่าจะเป็นอย่างอเมริกา
แน่นอนว่า บางช่วงก็เป็นยุคทอง บางช่วงก็เป็นยุคตกต่ำ บางช่วงก็เป็นยุคธรรมดา
แต่หลักการลงทุนที่ จำกัดความเสี่ยง และ ได้ผลตอบแทนที่สมเหตุสมผล ก็จะยังอยู่ตราบเท่าที่มีตลาดหุ้น
เราควรพยายามต่อไป แม้ยุคทองอาจจะจบลง แต่เราเดินกันมาไกลแล้ว
ลองมองย้อนกลับไปถึงวันที่เราเริ่มเดินทาง เรามีความฝัน ความหวัง ความพยายาม
ก็แค่รักษามันไว้ ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร
- newbie_12
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2912
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สิ้นสุดยุคทองของ VI/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 8
VI เยอะขึ้นมามหาศาลด้วยหล่ะครับ แล้วแต่ละคน port ยักษ์ใหญ่ทั้งนั้น ส่วนใหญ่สร้างเนื่อสร้างตัวมาราวๆ 10 ปี
งานชุมนุม VI แต่ละหนนี่ port หลักพันล้านเห็นกันอยู่หลายคน ไม่ต้องพูดถึง port ระดับร้อยล้าน เดินชนกันเป็นมด หลักร้อยล้านหลายร้อยล้านในกลุ่ม VI กลายเป็นเรื่องธรรมดาไป
เจอเข้าไปแบบนี้หุ้นตัวไหนที่มีทีท่าว่าจะ undervalue มันก็ถูกวิเคราะห์ถูกซื้อจนราคาแฟร์ไปหมด ทำให้ผลตอบแทนระยะยาวในระยะต่อไปน้อยลงด้วยประการฉะนี้
งานชุมนุม VI แต่ละหนนี่ port หลักพันล้านเห็นกันอยู่หลายคน ไม่ต้องพูดถึง port ระดับร้อยล้าน เดินชนกันเป็นมด หลักร้อยล้านหลายร้อยล้านในกลุ่ม VI กลายเป็นเรื่องธรรมดาไป
เจอเข้าไปแบบนี้หุ้นตัวไหนที่มีทีท่าว่าจะ undervalue มันก็ถูกวิเคราะห์ถูกซื้อจนราคาแฟร์ไปหมด ทำให้ผลตอบแทนระยะยาวในระยะต่อไปน้อยลงด้วยประการฉะนี้
.
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง
----------------------------
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง
----------------------------
-
- Verified User
- โพสต์: 1667
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สิ้นสุดยุคทองของ VI/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 9
โชคดีที่ได้เคยใช้ชีวิตการลงทุนอยู่ในยุคทอง
คงไม่มีใคร หาเงินมากมาย ไว้ยัดใส่โลงศพตัวเอง
.........
เชิญรับแจก เมล็ดพันธุ์พืชนานาชนิดได้ที่
http://www.kasetporpeang.com/forums/ind ... board=22.0
เชิญฟังธรรมฟรี ที่ http://www.fungdham.com
.........
เชิญรับแจก เมล็ดพันธุ์พืชนานาชนิดได้ที่
http://www.kasetporpeang.com/forums/ind ... board=22.0
เชิญฟังธรรมฟรี ที่ http://www.fungdham.com
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4741
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สิ้นสุดยุคทองของ VI/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 10
ผมก็เช่นกันครับteetotal เขียน:โชคดีที่ได้เคยใช้ชีวิตการลงทุนอยู่ในยุคทอง
ขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงครับ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
-
- Verified User
- โพสต์: 263
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สิ้นสุดยุคทองของ VI/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 11
นับจากปี 2551 จนถึงปัจจุบัน พอร์ทผมโตจาก เจ็ดหลักต้น มาสู่ 8 หลักปลาย ๆ จากนี้ไปอีก 5 ปียังไม่รู้ว่าจะเติบโตได้อีกไหม แต่ขอบคุณยุคทองที่ทำให้มีวันนี้ ถึงแม้พอร์ทจะไม่ใช่หลักร้อยล้านพันล้านแต่ผมยังสามารถอยู่ในตลาดได้อีกหลายสิบปีครับ แต่ 9 หลักก็น่าจะอีกไม่ไกล
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สิ้นสุดยุคทองของ VI/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 12
ผมก็เช่นกันนับได้ว่าเป็นวาสนาที่ได้เข้ามาร่วมแม้จะเป็นช่วงปลายๆก็ตามทีdome@perth เขียน:ผมก็เช่นกันครับteetotal เขียน:โชคดีที่ได้เคยใช้ชีวิตการลงทุนอยู่ในยุคทอง
ขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงครับ
ขอขอบพระคุณอาจารย์มากครับ สำหรับคำชี้แนะและสั่งสอนที่ดีๆอย่างเรื่อยมาครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1217
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สิ้นสุดยุคทองของ VI/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 13
ขอบคุณมากครับ ผมเสียดายที่ไม่ได้เข้ามารู้จัก Vi ในยุคทอง ถึงจะลงทุนมาเป็น 10 ปี แต่ทุกๆวันยุ่งอยู่กับงาน พึ่งมาตกผลึกได้ราวๆ 6 ปีก่อน และมารู้จักเวปนี้เมื่อประมาณ 2 ปีก่อน ซึ่งผมก็ดีใจนะครับที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเวป เพราะเวปนี้ได้คัดกรองข้อมูลขยะออกไปได้มาก ทำให้ผมประหยัดเวลาในการหาข้อมูลแต่ละบริษัทไปมาก ทำให้ผมมีเวลานั่งคิดวิเคราาะห์ อ่านข่าว ดูเหตุการ์ณรอบตัวได้มากขึ้น ซึ่งนำพาการพัฒนาไปได้อย่างมากครับ ผมคิดว่าดร.ท่านพูดถูกครับเพราะตอนนี้หากิจการที่ดีและถูกยากมากครับ หลายๆปีจะเจอที่เข้าตาสักตัวนึง ผมขอชดเชยการหมดยุคทองของ Vi ด้วยการทำการบ้านให้หนักขึ้นหลายๆเท่า เพื่อที่จะได้ผลตอบแทนใกล้เคียงเดิมนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สิ้นสุดยุคทองของ VI/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 14
ไปฟังจากปากของอาจารย์ครับ หมดยุคทอง(ดีเกินปกติ) แต่ยุคปกติยังคงอยู่
http://mcot-web.mcot.net/fm965/audio/vi ... EzFV1c5tVU
http://mcot-web.mcot.net/fm965/audio/vi ... EzFV1c5tVU