Moneytalk@SET16Nov2014จับตาหุ้นเด่น&เลือกหุ้นจัดพอร์ตVI
- i-salmon
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 293
- ผู้ติดตาม: 0
Moneytalk@SET16Nov2014จับตาหุ้นเด่น&เลือกหุ้นจัดพอร์ตVI
โพสต์ที่ 1
Money talk at SET16Nov2014
หัวข้อ 1 สัมมนา “จับตาหุ้นเด่นปี 58”
1.คุณสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหาร INTUCH
2.คุณนลินี งามเศรษฐมาศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIRA
3.คุณวิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการ AMATA
4.คุณกฤษดา โพธิสมภรณ์ กรรมการ SRICHA
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ นพ.ศุภศักดิ์ หล่อธนวนิช ดำเนินรายการ
การประกอบธุรกิจ
AIRA
• เป็น holding company ด้านการเงิน 75% sectorอื่นๆ 25% เนื่องจากต้องการบริหารความเสี่ยง มีธุรกิจดังนี้
1) Aira securities เป็นธุรกิจหลักทรัพย์ no.48 (ถือ 99%)
2) Aira factoring(AF) รับซื้อ AR นำใบรับสินค้ามารับเงินไปหมุนเวียน (ถือ74%)
3) Aira advisory ให้คำแนะนำการลงทุน ปรับปรุงกิจการ ระบบบัญชี ภาษี
4) Aira advisory international ตั้งอยู่ที่สิงคโปร์ ทำ M&A crossborder และให้คำแนะนำกับผู้ลงทุนทั่วไป,บริษัทไทยที่อยากไป aec ก็ติดต่อได้
5) Aira&AIFUL public co.,ltd เป็นตัวล่าสุด คือ consumer finance ร่วมกับบ.AIFUL ประเทศญี่ปุ่น สำหรับผู้ต้องการเงินหมุนเวียนธุรกิจ หรือส่วนบุคคล คล้ายอีซี่บาย อิออน (ถือ 30%)
• สัดส่วนรายได้บริษํทหลัก มาจาก securities 50% ตัวอื่นๆที่เหลือ 50%
• โครงการลงทุนกระจายความเสี่ยง concept คืออยากให้ฝากทั้งชีวิตไว้กับ AIRA ได้ ในช่วงที่ผันผวนมากหลักทรัพย์จะไม่นิ่ง คนต้องการกู้เงิน aira factoring ก็ช่วยได้ เกิดปัญหาก็ไปหา aira advisory ถ้าแก้ไขปัญหาไม่ได้หาผู้ร่วมทุนก็ให้ aira advisory international ช่วย รวมถึงระดับพนักงานก็สามารถไปกู้จาก aira & aiful
INTUCH
• เป็น holding company หน้าที่คือ ส่งเสริมให้บริษัทลูกเจริญ มี 4 บริษัท
1) Intuch
2) Ais (advanc)
3) Thcom
4) Cs loxinfo
• AIS เริ่มแรกทำโทรศัพท์ แต่ตอนนี้เป็น total service provider มีลูกค้า 44 ล้านเลขหมาย มีบริษัทลูกทำการจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ รวมแล้วรายได้ 1.3-1.4 แสนล้านบาทต่อปี
• Thcom ธุรกิจหลักคือดาวเทียม ที่ให้บริหาร ไทยคม 3,4,5,6 และหมายเลข 7 กำลังจะส่งขึ้นไป ไทยคม 8 จะส่งปี 2559 รวมแล้วจะมี 6 ดวง
• กิจการทั้ง 2 บริษัทไปได้ดี มีกำไรและจ่ายปันผล
•บริษัทเพิ่งได้รางวัลด้าน ธรรมมาภิบาลจากฮ่องกงเมื่อ 2-3 สัปดาห์ก่อน
• เคยได้ประกาศในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เราอยากเป็น total share holder return จะจ่ายปันผลให้เต็มที่และจะใช้เงินจากตลาดเงิน คือเราต้องมีเครดิตดี พูดอย่างไรทำอย่างนั้น โปร่งใสตรวจสอบได้
• เรามุ่งบริหารต้นทุนเงินทุนจากหนี้มากกว่าต้นทุนจากทุน จะได้ประโยชน์กับผู้ถือหุ้นก็จะได้ทั้งระยะสั้นระยะยาว
•เราทำตัวเป็นมืออาชีพด้านวิศวกรรม การตลาด บริหารการเงิน ดำเนินธุรกิจ 4 ด้าน
1) เทเลคอม 2) Internet service provider 3) ดาวเทียม 4) มีเดีย,ไอที,ดิจิตอล คอนเท้นท์
• ไทยคม ดวงที่ 1 ยิงในปี 2536 ตอนนี้ทั้งดวงที่ 1,2 หมดอายุทางวิศวกรรมแล้ว ตอนนี้อยู่ที่ใดที่หนึ่งในอวกาศ ดาวเทียมของเราเป็น ดาวเทียมเชิงพาณิชย์ ทำหน้าที่ broadcasting TV กับ โทรคม(ส่งข้อมูลต่างๆถึงกัน) อยู่ที่ระดับความสูง 36000 km เหนือพื้นโลก จึงไม่ตกลงมาที่พื้นโลก (เครื่องบินอยู่ระดับ 30,000-40,000 ฟุต)
• Ais เป็นตัวหลักที่สร้างรายได้ให้บริษัท ปี 56 3.6 หมื่นล้าน จ่ายเงินปันผล 40% เข้ามาที่ตัว intuch ก็จ่ายปันผลออกไปหมด
o ส่วนแบ่งการตลาด เมื่อ 20 ปีก่อน วัดจากจำนวนผู้ใช้บริการ(subscriber) แต่เวลานี้วัดที่ส่วนแบ่งรายได้ คือ ดูว่าในอุตสาหกรรม 100% ได้ส่วนแบ่งเท่าไร ตอนนี้เรามี revenue market share 53% , subscriber market share 46% นั่น แสดงว่าคุณภาพของลูกค้าเราสูงกว่า เรามี data growth สูงสุด มีใช้ capex มากที่สุดในอุตสาหกรรม แล้วค่อยโฆษณา
o นโยบายใช้วิศวกรรมเป็นตัวนำ การรตลาดเป็นตัวตาม คือต้องวาง network ให้แล้วเสร็จ ขยายแล้วโฆษณา การใช้การตลาดเป็นตัวนำ ดูตื่นเต้น ดูฮึกเหิม แต่ไม่ใช่ชัยชนะครั้งสุดท้าย ต้องเข้าไปยึดพื้นที่ได้ มี AR แล้วเก็บเงินได้ บริหาร bad debt จะสมบูรณ์ได้ต้องเก็บเงินได้
•ธุรกิจดาวเทียมก็สำเร็จดี ไทยคม5 utilization 99% การเจริญขึ้นของช่องทีวีก็จะทำให้เราได้ประโยชน์
•เรื่อง Touch point กับ moment of truth อย่างที่ได้บอกไป ว่าการโฆษณาทำให้คนตื่นเต้น พอถึงจุดที่ได้สัมผัสจริงๆ ประสบการณ์ลูกค้าเป็นอย่างไร มันต้องดีทั้งสองจุด
• ปัจจุบันเบอร์มือถือ ผู้ใช้บริการเกิน 70 ล้าน ประชากรไทยมี 60 ล้านปลายๆแสดงว่า มีหมายเลขจดทะเบียนคนละมากกว่า 1 เบอร์ แสดงว่าคนใช้ data มากขึ้น
• เรื่องการแข่งขันสูงเป็นเรื่อง ปกติตลาดอยู่ในเทรนด์ การแข่งขันยิ่งทำให้แข็งแรงยิ่งขยาย ธุรกิจที่มีการแข่งขันต่ำมีอยู่ 2 แบบ 1) มีเทคโนโลยีสูงจนคนอื่นไม่สามารถทำตามได้ กับ 2) ใครๆก็ทำได้ แต่ไม่มีใครอยากทำ เพราะธุรกิจกำลังจะตาย
SRICHA
• รับเหมาก่อสร้างเน้นงานโครงสร้างโลหะขนาดใหญ่
• ในตลาดหลักทรัพย์ ตอนนี้มีรับเหมาก่อสร้าง 19 บริษัท แต่ของ sricha ไม่เหมือนใคร เราทำงานในกลุ่มพวกโลหะ พวก oil & gas, โรงไฟฟ้า, ปิโตรเคมี
•ธุรกิจ เกี่ยวกับความมั่นใจ ต้องสะสมประสบการณ์และ track record ลูกค้าเป็นบ.ต่างประเทศ งานที่ทำค่อนข้างยาก ด้าน safety ถือเป็นความสำคัญสูงสุด เพราะเสียหายทีมีผลกระทบะใหญ่หลวง
• บางทีงานต้องเข้าไปทำในโรงงานที่กำลังผลิตอยู่ก็จะยากยิ่งขึ้น ทั้งการเตรียมงาน เตรียมบุคคลากร คนงานต้องเตรียมอบรม เตรียมอุปกรณ์คนหนึ่งก็เสียเงินเป็นหมื่นสองหมื่นบาท คนงานของเราส่วนใหญ่เป็นคนไทย คนเพื่อนบ้านยังมีทักษะไม่พอ ซึ่งประเทศไทยเราสร้างชื่อเป็นแรงงานที่งานมีคุณภาพ และค่าแรงไม่แพงนัก
• งานก่อสร้างพวกนี้มีขนาดใหญ่ ตัวอย่างบางโครงกาในออสเตรเลียมูลค่า 2.4 ล้านล้านบาท คนที่รับงานได้ก็เป็นผู้รับเหมาระดับใหญ่ ในโลกมีไม่กี่ราย ส่วนของเราก็จะเป็นลูกค้าประจำ หรือบางครั้งจะมีลูกค้าใหม่เข้ามาบ้างใช้แล้วติดใจก็มาเป็นลูกค้าเรา บางรายใช้เราซ้ำบ่อยๆมีอะไรก็มาหาเราก่อน
• บริษัทที่ใกล้เคียงกันในตลาดหลักทรัพย์ คือ stpi, bjchi แต่ก็มีความแตกต่างพอสมควร จุดแข็งที่เรามั่นใจคือการนำชิ้นงานไปประกอบติดตั้งในโรงงาน
• งานที่มาดากัสการ์ เป็นงานที่ทำชื่อเสียงและทำเงินให้กับบบริษัทเยอะ บริษัทสุมิโตโม่ได้สัมปทานงานนี้จากรัฐบาลมาก็จ้างทางเราทำ
AMATA
•บริษัทมุ่งว่า ทำอย่างไรให้เรากับสิ่งแวดล้อมเป็นมิตรกับได้มากสุด จะเป็น world class ต้องไม่ทำร้ายใคร เป็น ecological industrial estate ซึ่งอันนี้พูดง่ายทำยาก
• บริษัทจะทำความพึงพอใจให้กับผู้ลงทุน(FDI) มี 4 อย่าง สร้างโงงาน ผลิตขาย ขาย เซ็นเชคให้บริษัท
• เรามีโรงงานในพื้นที่เกือบ 1,000 โรงงานรวมน่าจะ 10% ของ gdp ประเทศไทย พื้นที่ใหญ่สุดอยู่ที่บางปะกง ราว 2.7-2.8 หมื่นไร่ ที่อ amata city 1.6 หมื่นไร่
• คติเราคือทำให้ลูกค้าจากมิร่าเป็นเบนซ์หรือเล็กซัส มีลูกค้าที่เคยเช่าเราเมื่อก่อน 2-3 ไร่ ปัจจุบันใช้พื้นที่เกือบ 30 ไร่
• นิคมของอมตะยังไม่เคยน้ำท่วม เรามีที่อยู่ที่ บางปะกง,ชลบุรี,ปลวกแดง ที่เวียดนามทีที่เบียนหัว จังหวัดดองไน ห่างจากโฮจิมินส์ไปทางเหนือ 30 km แต่ใช้เวลาชั่วโมงครึ่ง มอเตอร์ไซค์เยอะเหมือนผึ้ง รถยนต์ก็ต้องค่อยๆวิ่งไป
• ลูกค้าหลักเป็นกลุ่มรถยนต์ราว 50% มีลูกค้าญี่ปุ่นอยู่กับเรามาก พวก part supplier, หัวฉีด, คอมมอนเรล
• รายได้หลักจากการขายที่ดิน เราพยายามจะเปลี่ยนให้มีรายได้สม่ำเสมอมากขึ้น(recurring income) พวกการเช่า ขายไฟฟ้า ประปา เดิมสัดส่วนคือคือ 80:20 ในช่วงที่มีวิกฤติ สัดส่วนพวกการขายจะลดลงมาก สัดส่วนจากการเช่าก็จะมีมากขึ้น
• ที่ดินที่ขายออกไปก็มีการซื้อเพิ่มเข้ามา ตอนนี้ซื้อเก็บไว้หมื่นกว่าไร่ ต้องมีเทคนิคในการซื้อ หลังๆต้องไปซื้อไกลๆที่โล่งที่ไม่รู้จะเอามาทำอะไรได้ อย่างเช่นที่นาเกลือ
ผลดำเนินงานและแนวโน้มธุรกิจ
AIRA
• ผลไตรมาส 1-2 ได้รับผลกระทบจากการเมืองและเศรษฐกิจ ไตรมาส 3 ได้กำไรแล้ว โดยไตรมาส 4 น่าจะดีกว่า 3 มาก และปีหน้าธปท.คาด GDP ไทย 4.1 ซึ่งผลประกอบการเราก็น่าจะดีกว่าปีนี้มาก โดยตัวที่น่าจะดีสุดคือตัวที่เพิ่งลงทุนไป(aira&aiful)
• ธุรกิจหลักทรัพย์ปี 2014 คาด market share 1.5% ปี 2015 เป้า 2%
• เราจะเน้นเชิงรุกหมดทุกตัว อย่าง partner เรา EUGENE ที่เกาหลี asset size เป็นแสนล้าน, AIFUL ญี่ปุ่น ก็ asset size มากกว่า 3 แสนล้าน ซึ่งจะเป็นยักษ์ใหญ่ ช่วย transfer technology, แลกเปลี่ยนสินค้า ซึ่งตัวสำคัญของเราคือ consumer loan ซึ่งน่าจะพอคาดการณ์ size ในอนาคตได้
•มี โครงการเพิ่ม พอร์ตโฟลิโอด้าน leasing และ renting เช่าเครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรม รวมถึง insurance ซึ่งจะเชื่อมโยงเป็นสิ่งที่ทำให้ครบวงจรยิ่งขึ้น
• บริษัทไม่มีปัญหาฐานทุน ใน shareholder หลักของเราคือ JLK จุฬางกูร กลุ่ม summit ทำธุรกิจด้านรถยนต์ ทาง shareholder fully support อยู่แล้ว รวมทั้งได้ธนาคารหลายเจ้าก็ให้บริการเรา partner ระดับโลกมีความสามารถลงทุนไม่จำกัด เราจะเติบโตด้วย debt ก่อน equity เพราะอยากให้ eps ออกมาสวยงาม
• ปี 58 ตัวที่จะเป็นเรือธงน่าจะเป็น AIRA และ AIFUL จะ transfer technology และ build up ลูกค้า ก่อสร้างบริษัทให้เสร็จภายใน 4-5 เดือน สินเชื่อ lot แรกก็จะน่าจะเปิดได้ในปีแรก
• สินเชื่อส่วนบุคคล AIFUL เป็นขนาดอันดับ 3 ในญี่ปุ่น AEON เป็นอันดับ 4
• ธุรกิจสินเชื่อของเราช่วยแก้ปัญหาให้ประเทศชาติ เพราะมีดอกเบี้ยน้อยกว่าสินเชื่อนอกระบบ( shark loan) มาก และปลอดภัยเป็นระบบ
•ธุรกิจ Securities เซ็นสัญญาร่วมกับ Eugene Investment & Securities Company Limited จากประเทศเกาหลีใต้ ตัวที่ดีมากคือการบริหารกองทุน จะมีบอนด์มาขายแลกกันระหว่างในเกาหลีและไทย และ dual listing จดทะเบียนสองประเทศพร้อมกัน ซึ่งทางเขามีความถนัด
•ความน่าลงทุนของบริษัท คือ ตั้งแต่เข้ามาก็ค่อนข้างดี เพราะพันธมิตรสนใจเราเยอะ ทั้งทางธุรกิจและหุ้น ถ้าบริษัทกระจายความเสี่ยงด้วยตนเองอยู่แล้วก็จะสามารถอยู่รอดได้
• ในปี 2011 เคยน้ำท่วมเราได้กำไร และปีนี้เป็นปีที่ 8 เรายังไม่เคยขาดทุน เป็นเทคนิคการบริหารพอร์ตฟอลิโอ
•เรามีพอร์ต อีก 25% สำหรับการลงทุน เท่าที่ดูการก่อสร้าง การบริหารที่ดิน โทรคมนาคมน่าสนใจ มีคนเคยติดต่อเรื่องอาหารก็น่าสนใจ ตัวไหนที่ช่วยลดความเสี่ยงของบริษัทก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับบริษัท
INTUCH
• ผลประกอบการปี 57 ดีกว่าปี 56 โดยใน Q3 กำไร 3.78 พันล้าน เติบโตขึ้นจาก Q2 2 ร้อยกว่าล้านบาท ทั้ง ais, thcom ก็เติบโตได้ดีขึ้น ปีหน้าก็น่าจะจ่ายปันผลได้ตามปกติ มีเงินสดในมืออยู่ราว 2400 ล้านบาท
•สาเหตุที่หุ้นไม่ขึ้น ในทฤษฎีเราก็มองว่าหุ้นเรามีคุณสมบัติดี คนถือหุ้นเรามากกว่า 7.5 หมื่นราย market cap ใหญ่อยู่ในจอเรดาร์ แต่คนที่ลงทุนเราอาจเป็น long term investor มองว่าบริษัทเสี่ยงน้อย ผันผวนไม่มาก
• ปีหน้าจะมีประมูลคลื่น 4g ก็จะเป็นตัวช่วยขับเคลื่อน
• มาร์ค โมเบียส เคยมาพบที่บริษัท 3 ครั้งได้คุยกันยาวเรื่องแนวคิด ปรัชญาในธุรกิจ จากวันนั้นถึงวันนี้เขาถือมา 20 ปี
(หมอเคเสริม) เรื่องหุ้นราคาไม่ขึ้นอาจเพราะกำไรออกมาไม่ดีพออย่างที่นักลงทุนคาดหวังจากต้นทุนที่ลดลง กับ กฏหมายนอมินี คนกังวลด้านการเมือง อีกเรื่องคือยังไม่ได้ลงทุนในธุรกิจโซลาร์(มุข)
•(คุณสมประสงค์ต่อ) เรื่อง ความคาดหวังนักลงทุนอาจเคยเกิดขึ้นเดือน ก.ค. ที่ให้ชะลอประมูลคลื่นความถี่ แต่ตอนนี้เริ่มชัดเจนแล้วในต้นปีหน้า
•โดยธรรมชาตินักลงทุนจะมี 2 แง่คิด คือ quantitative กับ qualitative ในด้าน quantitative เรา ok ไม่มีปัญหา และดีกว่าทั่วไปด้วย แต่ตัว qualitative ตัวหนึ่งก็น่าจะเป็น 4g ที่เลื่อนประมูลออกไป
•ส่วนเรื่องการเมืองเราก็โดนกดดันอย่างนี้มากว่า 7 ปีแล้ว ซึ่งมันอาจไม่ได้ตรงกับที่เราเป็น ถ้าทุกอย่างชัดเจน ก็น่าจะกลับมาได้
• การประมูลคลื่นความถี่จะได้ประโยชน์กับประเทศชาติ เพราะจะได้เงินประมูลเข้าประเทศ มีการจ้างงานตามมา ทำให้เกิดผลดี มีภาษีรายได้ส่วนบุคคล, cooperate tax, ภาษี vat
• คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่หมดไป ถ้าเลิก 4g ตอน 5g ก็เอาคลื่นความถี่เดิมไปใช้ได้
• เราสร้าง venture capital อย่าง ookbee เป็น ebook platform ซึี่งเราลงทุน 25% มูลค่า 50 กว่าล้านบาท โดยเราขายหุ้นให้คนเข้าใหม่ก็ได้กำไรเป็นร้อยกว่าล้านบาท
• เรามีศักยภาพ มีกำลังจะไป acquire บริษัทใหม่ อยากจะทำร่วมทุนกับบริษัทที่เป็นเทคโนโลยี ช่วยให้เจ้าของกิจการตั้งตัวได้ และเกิดการสร้างงาน สามารถเสริมกันอย่างเราก็จะมีบริการให้ลูกค้าเพิ่มเติม สามารถอ่านหนังสือผ่าน tablet ได้
• Venture capital พวกเจ้าของกิจการเราจะไม่ไปยุ่งในการทำงานกับเขา ให้เขาได้ใช้ความสามารถเต็มที่ แต่ถ้าบริษัทที่ไปซื้อมา ก็จะผนวกตามกฏบริษัทของเรา
SRICHA
• ผลดำเนินงานของบริษัทต้องมองยาวๆ ดูเป็นไตรมาสไม่ได้
• ลูกค้ามีทั้งในประเทศต่างประเทศ ส่วนแบ่งไม่สูงนัก แต่มีงานเรื่อยๆ
• เศรษฐกิจไม่ค่อยมีผลกับเรา ตอน hamburger crisis ก็งานเต็มมือ ต้องดูเป็นวัฏจักร
• งานอย่างในออสเครเลียก็เริ่มซาลงไปแล้ว ตอนนี้ที่บูมก็เป็นที่อเมริกา พบเรื่อง shalegas , LNG บ่อใหญ่ จึงต้องผันตัวเป็น exporter
• โรงงานพวกนี้ก็เป็นโปรเจคใหญ่ ของประเทศไทยก็เป็นแหล่งที่ทำงานได้ดี มีงานเยอะทำไม่ทัน
• เรามี Profit margin 30-35% ไม่มีหนี้ เงื่อนไขชำระเงินเราก็ดีพอสมควร ไม่ต้องใช้เงินหมุนเวียน ขยายโรงงานเสร็จสิ้นเกือบหมดแล้ว เงินสดตอนนี้ก็เหลืออยู่
• ตอนนี้มีหลายโครงการที่เข้ามาคุย ที่มาดากัสการ์ตอนนี้ทำเสร็จแล้วแต่เขาก็จ้างให้อยู่ต่อรายได้ 30-40 ล้านบาทต่อเดือน ให้คนของเราช่วยดูแล ซ่อมแซมต่อ
AMATA
• ล่าสุดมีประกาศจ่ายปันผล 0.2 บาท cashflow เราก็ไม่มีปัญหาอะไร จ่ายโดยเฉลี่ยปีละ 2 ครั้ง
• กำไรเปรียบเทียบปี 56 ใช้ได้ แต่ในไตรมาส 1-2 ก็เป็น effect จากการเมือง ในไตรมาส 3-4 ปกติน่าจะดี
• เคยมีปีหนึ่งที่บ้านเรามีปัญหาการเมือง บริษัท first โซลาร์ ทำแผงโซลาร์เซลล์ จะมาตั้งที่เรา 3 พันล้านดอลลาร์ เดือน sep เกิดปัญหาขึ้น เขาก็ตัดสินใจไปปีนังแทน ซึ่งโรงงานเขาขนาดใหญ่มาก และเมื่อมีตัวแม่ไปก็จะมี cluster ตามมาห้อมล้อม ก็เป็นที่น่าเสียดาย ธุรกิจเราเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากด้านการเมือง
• (คุณนลินีเสริม) AIRA ก็เคยอยู่ในเหตุการณ์นี้ตอนร่วมโต๊ะอาหารกับประธาน AIFUL แต่โชคดีที่ท่านประธานเข้าใจธรรมชาติประเทศไทยและยอมรับได้
• (คุณสมประสงค์เสริม) Intuch ก็เคยอยู่ในช่วงนั้นไปพบนักลงทุนสหรัฐ และก็ได้รับคำถามอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งเราก็ว่า สภาวะของไทย กับ อเมริกาไม่เหมือนกัน ต้องแยกสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ออก ของเรามีขั้นตอนไปตามกฏหมาย มีพระราชองค์การโปรดเกล้าเป็นกระบวนการที่ต้องเคารพไปตามนั้น ซึ่งเขาก็เข้าใจได้
หัวข้อ 2 สัมมนา “เลือกหุ้นจัดพอร์ตแบบวีไอ”
1. ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
2.นพ.พงษ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารีย์ นักลงทุนแนววีไอ
3. คุณอนุรักษ์ บุญแสวง(โจ ลูกอีสาน) นายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่าประเทศไทย
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
แนวทางการเลือกหุ้น
คุณโจ ลูกอีสาน
• เลือกหุ้นแบบ VI มี 4 คำ “ของดี ราคาถูก”
1) ต้องรู้ว่าอะไรเป็นชองดีหรือไม่ดี วิเคราะห์หุ้นหรือบริษัทมีคุณภาพที่ดีหรือไม่
2) ดูราคา ของดีราคาแพง อาจจะไม่ซื้อ แต่ของที่แย่พอประมาณ ราคาถูกมากเหมือนแถมฟรี ก็น่าสนใจ
• ต้องมองทั้ง 2 มิติประกอบกัน
• VI มีหลายสไตล์ ในอดีตสุดโต่งไปด้านหนึ่ง เน้นดูตัวเลข pe,pbv,dividend เข้าเกณฑ์ก็ซื้อ ปัจจุบัน มีแบบที่สุดโต่งอีกด้าน คือดูคุณภาพ มีคุณภาพดี ซื้อได้ไม่ต้องสนใจราคา
• สำหรับคุณโจ เน้นสายกลาง ดูทั้งคุณภาพใช้ได้ และราคาถูก เคยมีบทเรียนซื้อหุ้นคุณภาพดีมาก 2-3 ปีราคาไม่ไปไหน กับมีหุ้นที่ถูกมาก แต่กำไรลดลงเรื่อยๆวันหนึ่งก็กลายเป็นหุ้นแพง
•ขยายความเรื่องราคาถูก สมมติว่าวิเคราะห์หุ้นกิจการแห่งหนึ่ง ต้องดูว่าหุ้นคุณภาพระดับนี้ควรซื้อขาย pe ระดับเท่าไร ถ้ามีคุณภาพดีมาก อาจให้ pe 20-30 เท่า แต่ถ้าคุณภาพไม่ดีนัก อาจให้ pe 8-9 เท่า แล้วก็มาดูราคาในตลาดปัจจุบันว่าสูงหรือต่ำกว่าระดับปัจจุบันที่คำนวณไว้ ถ้าต่ำกว่าก็คือราคาถูก ซื้อได้
หมอพงษ์ศักดิ์
• อันดับแรกดู ภาพใหญ่ ธุรกิจอยู่ในเทรนด์ที่เจริญเติบโตในระยะยาวไหม อาจไม่ต้องเป็น mega trend แต่อย่างน้อย 3-5 ปีต้องเติบโต ยิ่งยาวยิ่งดี แต่โอกาสที่จะเจอหุ้นที่ถูกด้วย เติบโตด้วยก็ยาก ถ้าเติบโตสั้นมากก็ไม่ค่อยชอบ ต้องเข้าออกเร็ว ซึ่งทำได้ลำบาก จุดแข็งเราคือต้องถือได้ 3-5 ปีให้มูลค่าสะท้อน
• บริษัทต้องมีจุดเด่น เลียนแบบได้ยาก
• (อ.เสน่ห์ถาม) หุ้นแบบโซลาร์ฟาร์ม เห็นใครๆก็เลียนแบบกันได้? (หมอพงษ์ศักดิ์) สุดท้ายก็ต้องมีผู้โดดเด่นออกมาจากผู้ไม่มีความสามารถ แล้วบริษัทนั้นมีองค์ประกอบอยู่หรือไม่ ถ้าเรามาซื้อตามเขาไป วันหนึ่งอาจจะขายไม่ได้เมื่อไม่มีใครเล่น
•( อ.เสน่ห์ถาม) ปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนเร็วมากจะถือ 3-5 ปีได้หรือ? (หมอพงษ์ศักดิ์) ถ้าขึ้นเร็วเกินก็ขาย แต่ที่ผ่านมายังไม่เคยได้ขึ้นเร็วขนาดนั้น
• ไม่ควรซื้อหุ้นตามคนอื่นถ้าไม่มีความเข้าใจ ใครซื้อก็ต้องไปศึกษา และเข้าใจ ถ้ามั่นใจมีเหตุผลซื้อตามถือว่าไม่ผิด
• ทุกคนมีโอกาสพลาด คนที่เก่งที่สุดในโลกก็พลาด ถ้าเราไปตามตัวที่เขาพลาดก็อาจจะโชคร้าย ถ้าเราตามที่เหตุผลเราจะไม่พลาด
• หลายคนรู้เรื่องบริษัทได้ดี มีโอกาสลงทุนในบริษัที่เข้าใจ ถ้าอยู่ในจังหวะดีก็อาจได้ผลตอบแทนได้ ควรลงทุนในบริษัทที่รู้จัก เข้าใจได้ ไม่งั้นจะเป็นอะไรที่เสี่ยง
ดร.นิเวศน์
• ทุกคนมีสิทธิ์เลือกจะเล่นหรือไม่เล่น คนส่วนใหญ่เล่นทุกตัวมีคนเชียร์ มีเซียนซื้อ ถ้ามีความรู้น้อยควรเล่นในสิ่งที่รู้ดี ไม่แพ้คนอื่น เป็นสิ่งที่เราสัมผัสประจำ หรือเป็นคนที่อยู่ในตลาด อย่างปีเตอร์ ลินซ์พูดเราเป็นพนักงานรับซื้อของเข้าร้าน จะรู้ว่าดีมาก ยอดขายกำลังมาคนนิยม บางคนจะมีความรู้ที่ค่อนข้างลึกซึ้งในบางเรื่อง ถ้าใช้ก็จะได้เปรียบ แต่คนเรามักจะชิน รู้ดีเกินไป
• ควรถือลงทุนระยะยาว ทุกๆวันที่หุ้นขึ้นตอนนี้จะมีตัวที่ขึ้นมากๆก็จะหลอกล่อให้เราเล่นหุ้นทุกวัน ในปีหนึ่งก็เล่น 300 กว่าตัว ต้องไปปรับทัศนคติใหม่ 3 ปีซื้อ 1 ตัว ยกนิ้วให้ ทำแบบนี้ไม่ขาดทุนหรอก จะต้องระวังมากซื้อแล้วไม่ให้ขาย
• ดร.นิเวศน์ มีหุ้นมากกว่า 75% ที่ถือเกิน 10 ปี หุ้นที่เปลี่ยนเป็นตัวเล็กๆน้อยๆ ไม่มีความหมาย เนื่องจาก 10 ปีที่ผ่านมามันพิเศษมาก หุ้นขึ้นตลอด โดยทั่วไปอาจจะถือ 3-4 ปี ก็ OK แล้ว ถ้ามันยังดีก็ถือต่อไป ซื้อหุ้นแต่ละตัวก็อยากถือตลอดชีวิต
• แบงค์ใหญ่ 4-5 ปีที่ผ่านมาผลตอบแทนไม่เลว สามารถถือได้ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน
• (ดร.ไพบูลย์เสริม) สมัยหนึ่งมีแบงค์ที่ปิดเหมือนกัน ex.ศรีนคร,นครหลวงไทย,มหานคร
สไตล์การเลือกหุ้น
คุณโจ ลูกอีสาน
• เน้นหุ้นคุณภาพกลางๆ ราคาซื้อต้องถูก ส่วนใหญ่ pe ต่ำ
• พอซื้อหุ้น pe ต่ำก็มีแต้มต่อ ถือไปนานๆ มันก็เติบโตเรื่อยๆ pe ยิ่งลดลง ยิ่งซื้อ pe ต่ำอยู่แล้ว อนาคตก็ต่ำลงไปอีก ซึ่งการจ่ายปันผลก็จะเยอะ ถ้าจ่ายปันผล 7-8% ต่อปีได้ต่อเนื่อง ราคายังอยู่ที่เดิม มาบอกได้
• หุ้นแบบนี้มักเป็นขนาดกลาง ถึงเล็ก ขนาดกลาง market cap 4-5 หมื่นล้าน ขนาดเล็ก ราว พันล้านบาท
• หุ้นที่มักหลีกเลี่ยงคือหุ้น set50 เพราะเราไม่ได้เปรียบ มีคนคอยติดตามตลอด ไม่ใช่แค่นักวิเคราะห์ในไทย และเป็นนักวิเคราะห์ทั่วโลก โอกาสเจอหุ้นใหญ่ต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็นยากมาก เหมือนเป็น red ocean แต่ถ้าเป็นหุ้นขนาดกลางเล็ก จะเหมือน blue ocean เรามีโอกาสเจอหุ้นที่คนไม่ได้ติดตามเยอะ
• อ.ไพบูลย์เคยนำ chart มาเสนอให้ดู หุ้นตัวใหญ่ ผลตอบแทน 10% ,หุ้นตัวเล็ก 12% ผลตอบแทนต่างกัน 2% ถ้าต่างกันต่อเนื่อง10 ปีต่างมหาศาล รายย่อยมีจุดแข็งของเราคือมีเงินน้อย ให้ใช้จุดแข็งตัวเองมาลงทุน อย่าเห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง
หมอพงษ์ศักดิ์
• ชอบหุ้นที่มีความแน่นอน โลกธุรกิจมีความไม่แน่นอน ผลประกอบการค่อนข้างแน่นอน โดยธุรกิจมีความแข็งแกร่ง มีสัญญากับรัฐบาล
• ควรจะมีช่องว่างในการเติบโต มีโอกาสโตกว่าที่เราเห็นได้อีกมา
• ต้องมีจุดเปลี่ยน ที่มีผลให้ธุรกิจดีขึ้น บางครั้ง เจอจุดเปลี่ยนหลายอย่าง เช่นพฤติกรรมของคน การส่งเสริมกิจการจากภาครัฐ มีกำไรเพิ่มขึ้น มีปรับราคาค่าบริการ ค่าเสื่อมราคาลดลงมาก จุดเปลี่ยนผลักดันให้มูลค่าธุรกิจเพิ่มขึ้น เป็นเหมือน catalyst จะเป็นสิ่งที่ดี โอกาสอาจเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ ถ้าพลาดแล้วมีสิ่งรองรับก็จะยิ่งน่าสนใจในการลงทุน
• คัดบริษัที่ได้ผลประโยชน์มากสุด มีความเสี่ยงต่ำสุด ราคายังไม่สะท้อน ต้องทำละเอียดหน่อย ถ้าอ่านคร่าวๆหาข้อมูลคร่าวๆอาจจะไม่ได้ คิดว่าจะมีอยู่ตลอด
จำนวนถือหุ้น
คุณโจ ลูกอีสาน
• อะไรทำซ้ำๆมักจะเป็นนิสัย พอเงินเยอะขึ้น โอกาสก็เยอะขึ้น ปัจจุบันมีหุ้นเยอะขึ้น ราว 25 ตัว เยอะพอสมควรแล้วคงไม่มากกว่านี้ติดตามยาก
• ข้อดีการที่ศึกษาหุ้นเยอะ ก็เจอโอกาสเยอะ พลิกหินไปเยอะๆ ก็มีโอกาส หุ้นมี 600 ตัว ถือ 25 ตัวก็ไม่ได้เยอะมาก รุ้สึกสนุกที่ได้ทำ ยิ่งศึกษามาก ความรู้ก็ยิ่งมากขึ้นเกิดการทบต้น เจอหุ้นแบบเดียวกันก็จะรู้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องอัตโนมัติ
ชอบหุ้นแบบไหน
ดร.นิเวศน์
• มันเปลี่ยนไปทุก 10 ปี ชอบดูภาพใหญ่ ชีวิตคนประสบความสำเร็จขึ้นกับการตัดสินใจไม่กี่เรื่อง ถ้าตัดสินใจบ่อยๆไม่ได้ดี ถ้าเราทำถูกต้องไม่ต้องทำอะไรมาก มันก็จะพาเราไปเอง เหมือนยกตัวอย่าง ผู้หญิงหาสามีได้ถูกต้องคนเดียว ชีวิตก็ไม่ต้องทำอะไรแล้ว
• ต้องมองหุ้นบางตัวบางกลุ่มที่โตขึ้นเรื่อยๆ เมื่อรู้ว่าอุตสาหกรรมโตก็ต้องหาผู้ชนะ ต้องรู้ว่าแข่งขันกันด้วยอะไร เช่น แข่งด้วยจำนวนสาขา คนที่สาขาเยอะได้เปรียบ model ธุรกิจต้องมองให้ออก factor ที่ใช้แข่งขันไม่เหมือนกัน ถ้าหาเจอแล้ว ต้องซื้อด้วยเงินที่มากพอในราคาที่เหมาะสม ก็ทำให้ชีวิตเปลี่ยนได้ ถ้ามีแบบนี้ซัก 5-6 ตัวอยู่กับมันยาวๆ คอยติดตามมัน เพราะปัจจัยอาจเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ร้านหนังสือ ครั้งหนึ่งจำนวนสาขาเป็นตัวชี้ขาด วันหนึ่งก็ไม่มีประโยชน์ ซื้อออนไลน์ได้ ค่าเช่าก็อาจไม่คุ้ม factor เปลี่ยนหมดแล้ว การแข่งขันไม่แบบเดิม ก็ต้องดูตัวเลข ดูหลายๆอย่างประกอบกัน
• Factor ในการแข่งขันเป็นเรื่องที่ต้องศึกษา เรื่องการตลาด เช่น สินค้าบางอย่างแข่งกันอย่างไร หรือบางอย่างไม่ต้องแข่ง โรงไฟฟ้าถ้าปั่นไฟได้ก็ได้เงิน มีกำไรแน่นอน
การจัดพอร์ต ปรับพอร์ต ทำอย่างไร
คุณโจ ลูกอีสาน
• เหตุผลในการขาย : ส่วนใหญ่เจอหุ้นที่ดีกว่า ตัวเก่า upside น้อย ตัวใหม่ upside มากกว่า มีโอกาสขึ้นได้มากกว่า ค่าคอมมิชชั่นไทยถูกมาก
• อย่างอาทิตย์ก่อนก็ต้องจำใจขายหุ้นเป็นเหตุการณ์ที่ไม่บ่อย พื้นฐานเปลี่ยนต้องขาย บางครั้งก็มีค่าเสียโอกาส อาจต้องรอ 5 ปี
• บางครั้งหุ้นขึ้นจนเกินมูลค่าที่คิดเราไม่ขาย เราคิดว่าจะขึ้นไปอีก วันหนึ่งไหลลงกลับมาที่เดิม เหมือนนั่งรถเลยป้ายวนกลับมาป้ายเดิม ดังนั้นต้องตัดสินใจตามเหตุผลที่คิดไว้
• เหตุผลในการซื้อ : หุ้นตัวนี้ต้องต่ำกว่ามูลค่าควรจะเป็น ไม่งั้นไม่ซื้อ มีวินัย
หมอพงษ์ศักดิ์
• เหตุผลในการขาย เหมือนคุณโจ นอกจากวิเคราะห์ผิด พื้นฐานเปลี่ยน ก็ต้องระวังเมื่อตลาดมีราคาสูงเกินไป ปีก่อน หุ้นขึ้น 1600 แล้วก็มีข่าว usa จะลด QE ซึ่งตลาดก็ตกลงมา ก็อย่าลืมมองด้วยว่าตลาดสูงไปหรือยัง บางครั้งโอกาสขึ้นไม่มากแต่ลงได้มาก ก็ต้องระวังด้วย
VI ซื้อขายเร็วได้ไหม?
คุณพงษ์ศักดิ์
• VI ซื้อแล้วขายได้เร็วก็มี ถ้าเราคิดผิดได้ข้อมูลใหม่ว่าต้องขายก็ขาย ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยซื้อขายเร็วมาก ถ้าผิดพลาดก็คงไม่เยอะ
คุณโจ ลูกอีสาน
• ยึดที่มูลค่าที่ควรจะเป็น เช่นซื้อหุ้นต่ำกว่าที่ควรจะเป็น 30% ปรากฏว่าขึ้นไป ceiling ก็ขายแน่นอน ไม่เกี่ยวว่าถือนานแค่ไหน
ดร.นิเวศน์
• คิดว่าเป็นปลายทางของยุคทอง vi ทุกสรรพสิ่งในโลกก็เป็นเช่นนั้น มีเลิกราบ้าง มันจะดีเกินหน้าเกินตานานไป มันผิดธรรมชาติ
• ที่อเมริกาเป็นที่มี track record ยาวนานก็จะมียุค growth vi หาหุ้นราคาถูกแพ้หมด สู้หุ้น growth ไม่ได้ มียุคหนึ่งต้องเล่น หุ้น hitech ไม่เช่นนั้น under perform เยอะมาก ยุคนั้นบิล มิลเลอรืกลายเป็นเซียนเหนือบัฟเฟตต์
ข้อควรระวังในสถานการณ์ตอนนี้
หมอพงษ์ศักดิ์
• มองความเสี่ยงที่ทำให้พื้นฐานธุรกิจเปลี่ยน อะไรเป็น key factor ที่ทำให้ธุรกิจเปลี่ยน บางทีเห็นภาพไม่ชัด แต่มีโอกาสเกิด 1-2 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะหุ้นเทคโนโลยีเปลี่ยนเร็วมาก บางครั้งนักวิเคราะห์ไม่ได้คิดถึงเรื่องพวกนี้ การใช้โทรศัพท์มือถือ คิดว่าเปลี่ยนพฤติกรรมไปเยอะ บริการต่างๆที่แข่งกัน อาจพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ อาจจะลงทุนแล้วขาดทุนถาวรได้ เพราะมันไม่กลับมา
• ต้องมองให้ออกว่าความเสี่ยงที่ทำให้พื้นฐานเปลี่ยนคืออะไร มีโอกาสเกิดไหม ต้องระวังให้ดี วันหนึ่งอาจจะเกิด
• อย่างถ่านหิน คิดว่าโครงสร้างพลังงานของโลกกำลังเปลี่ยน และจะเปลี่ยนถาวรด้วย อย่าง shale gas เกิดที่อเมริกาได้ ก็เกิดที่อื่นได้ ไม่ควรลงทุน เราได้น้อยไม่เป็นไรแต่ไม่ควรเสีย
Vi จำเป็น ต้องมีเงินสดในพอร์ตไหม?
คุณโจ ลูกอีสาน
• ปกติจะถือหุ้น 100% ตลอดเวลา มีช่วงปีก่อนที่หุ้นขึ้นไป 1600 หาหุ้นถูกๆไม่ได้ แล้วขายออกบางสว่นถือเงินสด ตลาดก็ย่อลงมาจริงๆ ถ้าไม่เจอโอกาสก็ถือเป็นเงินสด เราไม่รู้ว่ามันจะลงวันไหน ก็เตรียมปืนรอไว้เลย
• เคยถือสูงสุด 15% บริษัทที่ถือแล้วพอใจยังต่ำกว่ามูลค่า ก็จะไม่ถือเงิน
หมอพงษ์ศักดิ์
• ขึ้นกับสถานการณ์ที่เรามองด้วย อนาคตคิดว่าจะเป็นอย่างไร ปัจจุบันราคาเป็นอย่างไร ถ้าราคาหุ้นเริ่มแพง เราจะถือสัดส่วนหนึ่ง ถ้าแพงขึ้นไปอีกก็ถือมากขึ้น
• คิดว่าหุ้นไทยไม่ถูก ดูจากภาวะเศรษฐกิจและอนาคตมีความไม่แน่นอน การถือสัดส่วนเท่าไรอยู่ที่ความเชื่อมั่น
• อย่าง GDP เห็นปรับได้ทุกเดือน ตอนนี้ที่ประกาศก็ฟังไว้อย่างนั้น ถ้าสัมผัสกับคนทำมาค้าขายแล้วฝืดเคืองก็น่าเป็นห่วง
• เคยถือเงินสด 25%
• อย่างหุ้น mai ก็ดูสูงเกิน standard ไปมาก ฟองสบู่ไม่มีใครรู้ว่าจะแตกเมื่อไร วันดีคืนดีอาจจะมีจุดเปลี่ยนแล้วทุกคนก็มองว่าตลาดแพงแล้ว ทุกคนยังคิดว่าไปได้อีก เราคงไม่ใช่มือสุดท้าย
•มีคนบอกว่ามีอยู่ 2 เวลาที่อย่าเก็งกำไร คือ เวลาที่มีเงินซึ่งจะเสียไปไม่ได้ กับมีเงินให้เสียไปได้ สรุปคืออย่าไปเก็งกำไร
ดร.นิเวศน์
• ไม่มีใครห้ามถือเงินสด แต่ที่ผ่านมาก็ถือ 100% มาตลอด
• ตอนหลังมีเงินสดแล้วเพราะภาพใหญ่อาจจะหมดยุคทอง หลายสัญญาณบอกว่าไม่สูงสุดก็ใกล้ ซึ่งถ้าวิ่งไปอีกเราก็อาจเสียโอกาส
• หุ้นดีอยู่ยังมีแต่ราคาสูงเกินจะปลอดภัยก็เก็บเป็นเงินสดไว้ ถ้าตกลงมาต่ำกว่าปัจจุบันก็มีเงินไปซื้อในราคาถูกลง
• 80% ยังเป็นหุ้น ถ้ามีตัวที่น่าสนใจก็ซื้อ
VI ซื้อหุ้น ipo ไหม?
คุณโจ ลูกอีสาน
•เคย ปฏิเสธหุ้น ipo บางตัว ดูพื้นฐานแล้วไม่ชอบ ปรากฏว่าวิ่งไปอีกไกล หุ้นบางตัวให้ผลขาดทุน ส่วนใหญ่จะเอา ต้องเลือกหน่อย
หมอพงษ์ศักดิ์
•กระแสมีการเก็งกำไรสูง ถ้าเราได้หุ้นมาคงมีโอกาสขาดทุนน้อย โดยเฉพาะหุ้นเล็ก
•ไม่ค่อยได้หุ้น ipo ถ้าได้มาถึงเราก็คงไม่ดี
• ส่วนใหญ่ไม่ค่อยซื้อ ถ้าไม่มีการเก็งกำไรราคาก็คงเป็นไปตามมาตรฐาน ยกเว้นว่าถ้าหุ้นคุณภาพดี คงจะซื้อถือนานหน่อย
ดร.นิเวศน์
• ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ ipo ถ้าได้ก็เหมือนค่าขนม แต่เวลาปกติคงไม่เอา ถ้าเวลาหุ้นขึ้นก็ต้องได้
• โดยพื้นฐานไม่คุ้มก็เป็นการเล่นเก็งกำไร
Money talk@SET ครั้งต่อไป
อาทิตย์ 14 ธันวาคม 57
หัวข้อ 1 ทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 58 ดร.กอบศักดื ภูตระกูล อ.นิเวศน์,อ.เสน่ห์,อ.ไพบูลย์
หัวข้อ 2 ทิศทางหุ้นไทยปี 58 ดร.นิเวศน์,ดร.ก้องเกียรติ,คุณมนตรี ศลไพศาล
เปิดจอง facebook.com/moneytalktv เสาร์ 6 ธันวาคม 7 โมงเช้า
สำหรับหัวข้อที่เป็นกลยุทธ์ vi ปี 58 จะจัดในวันที่ 17 ม.ค.
และเดือนม.ค. จะมีชวนทำบุญกับวัดพระบาทน้ำพุด้วย
ขอบพระคุณอ.ไพบูลย์,พิธีกร,วิทยากร และทีมงาน money talk
และผู้สนับสนุนทุกท่านทั้งตลาดหลักทรัพย์,สปอนเซอร์ต่างๆครับ
หากเนื้อหามีความผิดพลาดอย่างไรขออภัยด้วยครับ สามารถช่วยเสริม แสดงความเห็นได้ ขอบคุณครับ
หัวข้อ 1 สัมมนา “จับตาหุ้นเด่นปี 58”
1.คุณสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหาร INTUCH
2.คุณนลินี งามเศรษฐมาศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIRA
3.คุณวิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการ AMATA
4.คุณกฤษดา โพธิสมภรณ์ กรรมการ SRICHA
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ นพ.ศุภศักดิ์ หล่อธนวนิช ดำเนินรายการ
การประกอบธุรกิจ
AIRA
• เป็น holding company ด้านการเงิน 75% sectorอื่นๆ 25% เนื่องจากต้องการบริหารความเสี่ยง มีธุรกิจดังนี้
1) Aira securities เป็นธุรกิจหลักทรัพย์ no.48 (ถือ 99%)
2) Aira factoring(AF) รับซื้อ AR นำใบรับสินค้ามารับเงินไปหมุนเวียน (ถือ74%)
3) Aira advisory ให้คำแนะนำการลงทุน ปรับปรุงกิจการ ระบบบัญชี ภาษี
4) Aira advisory international ตั้งอยู่ที่สิงคโปร์ ทำ M&A crossborder และให้คำแนะนำกับผู้ลงทุนทั่วไป,บริษัทไทยที่อยากไป aec ก็ติดต่อได้
5) Aira&AIFUL public co.,ltd เป็นตัวล่าสุด คือ consumer finance ร่วมกับบ.AIFUL ประเทศญี่ปุ่น สำหรับผู้ต้องการเงินหมุนเวียนธุรกิจ หรือส่วนบุคคล คล้ายอีซี่บาย อิออน (ถือ 30%)
• สัดส่วนรายได้บริษํทหลัก มาจาก securities 50% ตัวอื่นๆที่เหลือ 50%
• โครงการลงทุนกระจายความเสี่ยง concept คืออยากให้ฝากทั้งชีวิตไว้กับ AIRA ได้ ในช่วงที่ผันผวนมากหลักทรัพย์จะไม่นิ่ง คนต้องการกู้เงิน aira factoring ก็ช่วยได้ เกิดปัญหาก็ไปหา aira advisory ถ้าแก้ไขปัญหาไม่ได้หาผู้ร่วมทุนก็ให้ aira advisory international ช่วย รวมถึงระดับพนักงานก็สามารถไปกู้จาก aira & aiful
INTUCH
• เป็น holding company หน้าที่คือ ส่งเสริมให้บริษัทลูกเจริญ มี 4 บริษัท
1) Intuch
2) Ais (advanc)
3) Thcom
4) Cs loxinfo
• AIS เริ่มแรกทำโทรศัพท์ แต่ตอนนี้เป็น total service provider มีลูกค้า 44 ล้านเลขหมาย มีบริษัทลูกทำการจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ รวมแล้วรายได้ 1.3-1.4 แสนล้านบาทต่อปี
• Thcom ธุรกิจหลักคือดาวเทียม ที่ให้บริหาร ไทยคม 3,4,5,6 และหมายเลข 7 กำลังจะส่งขึ้นไป ไทยคม 8 จะส่งปี 2559 รวมแล้วจะมี 6 ดวง
• กิจการทั้ง 2 บริษัทไปได้ดี มีกำไรและจ่ายปันผล
•บริษัทเพิ่งได้รางวัลด้าน ธรรมมาภิบาลจากฮ่องกงเมื่อ 2-3 สัปดาห์ก่อน
• เคยได้ประกาศในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เราอยากเป็น total share holder return จะจ่ายปันผลให้เต็มที่และจะใช้เงินจากตลาดเงิน คือเราต้องมีเครดิตดี พูดอย่างไรทำอย่างนั้น โปร่งใสตรวจสอบได้
• เรามุ่งบริหารต้นทุนเงินทุนจากหนี้มากกว่าต้นทุนจากทุน จะได้ประโยชน์กับผู้ถือหุ้นก็จะได้ทั้งระยะสั้นระยะยาว
•เราทำตัวเป็นมืออาชีพด้านวิศวกรรม การตลาด บริหารการเงิน ดำเนินธุรกิจ 4 ด้าน
1) เทเลคอม 2) Internet service provider 3) ดาวเทียม 4) มีเดีย,ไอที,ดิจิตอล คอนเท้นท์
• ไทยคม ดวงที่ 1 ยิงในปี 2536 ตอนนี้ทั้งดวงที่ 1,2 หมดอายุทางวิศวกรรมแล้ว ตอนนี้อยู่ที่ใดที่หนึ่งในอวกาศ ดาวเทียมของเราเป็น ดาวเทียมเชิงพาณิชย์ ทำหน้าที่ broadcasting TV กับ โทรคม(ส่งข้อมูลต่างๆถึงกัน) อยู่ที่ระดับความสูง 36000 km เหนือพื้นโลก จึงไม่ตกลงมาที่พื้นโลก (เครื่องบินอยู่ระดับ 30,000-40,000 ฟุต)
• Ais เป็นตัวหลักที่สร้างรายได้ให้บริษัท ปี 56 3.6 หมื่นล้าน จ่ายเงินปันผล 40% เข้ามาที่ตัว intuch ก็จ่ายปันผลออกไปหมด
o ส่วนแบ่งการตลาด เมื่อ 20 ปีก่อน วัดจากจำนวนผู้ใช้บริการ(subscriber) แต่เวลานี้วัดที่ส่วนแบ่งรายได้ คือ ดูว่าในอุตสาหกรรม 100% ได้ส่วนแบ่งเท่าไร ตอนนี้เรามี revenue market share 53% , subscriber market share 46% นั่น แสดงว่าคุณภาพของลูกค้าเราสูงกว่า เรามี data growth สูงสุด มีใช้ capex มากที่สุดในอุตสาหกรรม แล้วค่อยโฆษณา
o นโยบายใช้วิศวกรรมเป็นตัวนำ การรตลาดเป็นตัวตาม คือต้องวาง network ให้แล้วเสร็จ ขยายแล้วโฆษณา การใช้การตลาดเป็นตัวนำ ดูตื่นเต้น ดูฮึกเหิม แต่ไม่ใช่ชัยชนะครั้งสุดท้าย ต้องเข้าไปยึดพื้นที่ได้ มี AR แล้วเก็บเงินได้ บริหาร bad debt จะสมบูรณ์ได้ต้องเก็บเงินได้
•ธุรกิจดาวเทียมก็สำเร็จดี ไทยคม5 utilization 99% การเจริญขึ้นของช่องทีวีก็จะทำให้เราได้ประโยชน์
•เรื่อง Touch point กับ moment of truth อย่างที่ได้บอกไป ว่าการโฆษณาทำให้คนตื่นเต้น พอถึงจุดที่ได้สัมผัสจริงๆ ประสบการณ์ลูกค้าเป็นอย่างไร มันต้องดีทั้งสองจุด
• ปัจจุบันเบอร์มือถือ ผู้ใช้บริการเกิน 70 ล้าน ประชากรไทยมี 60 ล้านปลายๆแสดงว่า มีหมายเลขจดทะเบียนคนละมากกว่า 1 เบอร์ แสดงว่าคนใช้ data มากขึ้น
• เรื่องการแข่งขันสูงเป็นเรื่อง ปกติตลาดอยู่ในเทรนด์ การแข่งขันยิ่งทำให้แข็งแรงยิ่งขยาย ธุรกิจที่มีการแข่งขันต่ำมีอยู่ 2 แบบ 1) มีเทคโนโลยีสูงจนคนอื่นไม่สามารถทำตามได้ กับ 2) ใครๆก็ทำได้ แต่ไม่มีใครอยากทำ เพราะธุรกิจกำลังจะตาย
SRICHA
• รับเหมาก่อสร้างเน้นงานโครงสร้างโลหะขนาดใหญ่
• ในตลาดหลักทรัพย์ ตอนนี้มีรับเหมาก่อสร้าง 19 บริษัท แต่ของ sricha ไม่เหมือนใคร เราทำงานในกลุ่มพวกโลหะ พวก oil & gas, โรงไฟฟ้า, ปิโตรเคมี
•ธุรกิจ เกี่ยวกับความมั่นใจ ต้องสะสมประสบการณ์และ track record ลูกค้าเป็นบ.ต่างประเทศ งานที่ทำค่อนข้างยาก ด้าน safety ถือเป็นความสำคัญสูงสุด เพราะเสียหายทีมีผลกระทบะใหญ่หลวง
• บางทีงานต้องเข้าไปทำในโรงงานที่กำลังผลิตอยู่ก็จะยากยิ่งขึ้น ทั้งการเตรียมงาน เตรียมบุคคลากร คนงานต้องเตรียมอบรม เตรียมอุปกรณ์คนหนึ่งก็เสียเงินเป็นหมื่นสองหมื่นบาท คนงานของเราส่วนใหญ่เป็นคนไทย คนเพื่อนบ้านยังมีทักษะไม่พอ ซึ่งประเทศไทยเราสร้างชื่อเป็นแรงงานที่งานมีคุณภาพ และค่าแรงไม่แพงนัก
• งานก่อสร้างพวกนี้มีขนาดใหญ่ ตัวอย่างบางโครงกาในออสเตรเลียมูลค่า 2.4 ล้านล้านบาท คนที่รับงานได้ก็เป็นผู้รับเหมาระดับใหญ่ ในโลกมีไม่กี่ราย ส่วนของเราก็จะเป็นลูกค้าประจำ หรือบางครั้งจะมีลูกค้าใหม่เข้ามาบ้างใช้แล้วติดใจก็มาเป็นลูกค้าเรา บางรายใช้เราซ้ำบ่อยๆมีอะไรก็มาหาเราก่อน
• บริษัทที่ใกล้เคียงกันในตลาดหลักทรัพย์ คือ stpi, bjchi แต่ก็มีความแตกต่างพอสมควร จุดแข็งที่เรามั่นใจคือการนำชิ้นงานไปประกอบติดตั้งในโรงงาน
• งานที่มาดากัสการ์ เป็นงานที่ทำชื่อเสียงและทำเงินให้กับบบริษัทเยอะ บริษัทสุมิโตโม่ได้สัมปทานงานนี้จากรัฐบาลมาก็จ้างทางเราทำ
AMATA
•บริษัทมุ่งว่า ทำอย่างไรให้เรากับสิ่งแวดล้อมเป็นมิตรกับได้มากสุด จะเป็น world class ต้องไม่ทำร้ายใคร เป็น ecological industrial estate ซึ่งอันนี้พูดง่ายทำยาก
• บริษัทจะทำความพึงพอใจให้กับผู้ลงทุน(FDI) มี 4 อย่าง สร้างโงงาน ผลิตขาย ขาย เซ็นเชคให้บริษัท
• เรามีโรงงานในพื้นที่เกือบ 1,000 โรงงานรวมน่าจะ 10% ของ gdp ประเทศไทย พื้นที่ใหญ่สุดอยู่ที่บางปะกง ราว 2.7-2.8 หมื่นไร่ ที่อ amata city 1.6 หมื่นไร่
• คติเราคือทำให้ลูกค้าจากมิร่าเป็นเบนซ์หรือเล็กซัส มีลูกค้าที่เคยเช่าเราเมื่อก่อน 2-3 ไร่ ปัจจุบันใช้พื้นที่เกือบ 30 ไร่
• นิคมของอมตะยังไม่เคยน้ำท่วม เรามีที่อยู่ที่ บางปะกง,ชลบุรี,ปลวกแดง ที่เวียดนามทีที่เบียนหัว จังหวัดดองไน ห่างจากโฮจิมินส์ไปทางเหนือ 30 km แต่ใช้เวลาชั่วโมงครึ่ง มอเตอร์ไซค์เยอะเหมือนผึ้ง รถยนต์ก็ต้องค่อยๆวิ่งไป
• ลูกค้าหลักเป็นกลุ่มรถยนต์ราว 50% มีลูกค้าญี่ปุ่นอยู่กับเรามาก พวก part supplier, หัวฉีด, คอมมอนเรล
• รายได้หลักจากการขายที่ดิน เราพยายามจะเปลี่ยนให้มีรายได้สม่ำเสมอมากขึ้น(recurring income) พวกการเช่า ขายไฟฟ้า ประปา เดิมสัดส่วนคือคือ 80:20 ในช่วงที่มีวิกฤติ สัดส่วนพวกการขายจะลดลงมาก สัดส่วนจากการเช่าก็จะมีมากขึ้น
• ที่ดินที่ขายออกไปก็มีการซื้อเพิ่มเข้ามา ตอนนี้ซื้อเก็บไว้หมื่นกว่าไร่ ต้องมีเทคนิคในการซื้อ หลังๆต้องไปซื้อไกลๆที่โล่งที่ไม่รู้จะเอามาทำอะไรได้ อย่างเช่นที่นาเกลือ
ผลดำเนินงานและแนวโน้มธุรกิจ
AIRA
• ผลไตรมาส 1-2 ได้รับผลกระทบจากการเมืองและเศรษฐกิจ ไตรมาส 3 ได้กำไรแล้ว โดยไตรมาส 4 น่าจะดีกว่า 3 มาก และปีหน้าธปท.คาด GDP ไทย 4.1 ซึ่งผลประกอบการเราก็น่าจะดีกว่าปีนี้มาก โดยตัวที่น่าจะดีสุดคือตัวที่เพิ่งลงทุนไป(aira&aiful)
• ธุรกิจหลักทรัพย์ปี 2014 คาด market share 1.5% ปี 2015 เป้า 2%
• เราจะเน้นเชิงรุกหมดทุกตัว อย่าง partner เรา EUGENE ที่เกาหลี asset size เป็นแสนล้าน, AIFUL ญี่ปุ่น ก็ asset size มากกว่า 3 แสนล้าน ซึ่งจะเป็นยักษ์ใหญ่ ช่วย transfer technology, แลกเปลี่ยนสินค้า ซึ่งตัวสำคัญของเราคือ consumer loan ซึ่งน่าจะพอคาดการณ์ size ในอนาคตได้
•มี โครงการเพิ่ม พอร์ตโฟลิโอด้าน leasing และ renting เช่าเครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรม รวมถึง insurance ซึ่งจะเชื่อมโยงเป็นสิ่งที่ทำให้ครบวงจรยิ่งขึ้น
• บริษัทไม่มีปัญหาฐานทุน ใน shareholder หลักของเราคือ JLK จุฬางกูร กลุ่ม summit ทำธุรกิจด้านรถยนต์ ทาง shareholder fully support อยู่แล้ว รวมทั้งได้ธนาคารหลายเจ้าก็ให้บริการเรา partner ระดับโลกมีความสามารถลงทุนไม่จำกัด เราจะเติบโตด้วย debt ก่อน equity เพราะอยากให้ eps ออกมาสวยงาม
• ปี 58 ตัวที่จะเป็นเรือธงน่าจะเป็น AIRA และ AIFUL จะ transfer technology และ build up ลูกค้า ก่อสร้างบริษัทให้เสร็จภายใน 4-5 เดือน สินเชื่อ lot แรกก็จะน่าจะเปิดได้ในปีแรก
• สินเชื่อส่วนบุคคล AIFUL เป็นขนาดอันดับ 3 ในญี่ปุ่น AEON เป็นอันดับ 4
• ธุรกิจสินเชื่อของเราช่วยแก้ปัญหาให้ประเทศชาติ เพราะมีดอกเบี้ยน้อยกว่าสินเชื่อนอกระบบ( shark loan) มาก และปลอดภัยเป็นระบบ
•ธุรกิจ Securities เซ็นสัญญาร่วมกับ Eugene Investment & Securities Company Limited จากประเทศเกาหลีใต้ ตัวที่ดีมากคือการบริหารกองทุน จะมีบอนด์มาขายแลกกันระหว่างในเกาหลีและไทย และ dual listing จดทะเบียนสองประเทศพร้อมกัน ซึ่งทางเขามีความถนัด
•ความน่าลงทุนของบริษัท คือ ตั้งแต่เข้ามาก็ค่อนข้างดี เพราะพันธมิตรสนใจเราเยอะ ทั้งทางธุรกิจและหุ้น ถ้าบริษัทกระจายความเสี่ยงด้วยตนเองอยู่แล้วก็จะสามารถอยู่รอดได้
• ในปี 2011 เคยน้ำท่วมเราได้กำไร และปีนี้เป็นปีที่ 8 เรายังไม่เคยขาดทุน เป็นเทคนิคการบริหารพอร์ตฟอลิโอ
•เรามีพอร์ต อีก 25% สำหรับการลงทุน เท่าที่ดูการก่อสร้าง การบริหารที่ดิน โทรคมนาคมน่าสนใจ มีคนเคยติดต่อเรื่องอาหารก็น่าสนใจ ตัวไหนที่ช่วยลดความเสี่ยงของบริษัทก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับบริษัท
INTUCH
• ผลประกอบการปี 57 ดีกว่าปี 56 โดยใน Q3 กำไร 3.78 พันล้าน เติบโตขึ้นจาก Q2 2 ร้อยกว่าล้านบาท ทั้ง ais, thcom ก็เติบโตได้ดีขึ้น ปีหน้าก็น่าจะจ่ายปันผลได้ตามปกติ มีเงินสดในมืออยู่ราว 2400 ล้านบาท
•สาเหตุที่หุ้นไม่ขึ้น ในทฤษฎีเราก็มองว่าหุ้นเรามีคุณสมบัติดี คนถือหุ้นเรามากกว่า 7.5 หมื่นราย market cap ใหญ่อยู่ในจอเรดาร์ แต่คนที่ลงทุนเราอาจเป็น long term investor มองว่าบริษัทเสี่ยงน้อย ผันผวนไม่มาก
• ปีหน้าจะมีประมูลคลื่น 4g ก็จะเป็นตัวช่วยขับเคลื่อน
• มาร์ค โมเบียส เคยมาพบที่บริษัท 3 ครั้งได้คุยกันยาวเรื่องแนวคิด ปรัชญาในธุรกิจ จากวันนั้นถึงวันนี้เขาถือมา 20 ปี
(หมอเคเสริม) เรื่องหุ้นราคาไม่ขึ้นอาจเพราะกำไรออกมาไม่ดีพออย่างที่นักลงทุนคาดหวังจากต้นทุนที่ลดลง กับ กฏหมายนอมินี คนกังวลด้านการเมือง อีกเรื่องคือยังไม่ได้ลงทุนในธุรกิจโซลาร์(มุข)
•(คุณสมประสงค์ต่อ) เรื่อง ความคาดหวังนักลงทุนอาจเคยเกิดขึ้นเดือน ก.ค. ที่ให้ชะลอประมูลคลื่นความถี่ แต่ตอนนี้เริ่มชัดเจนแล้วในต้นปีหน้า
•โดยธรรมชาตินักลงทุนจะมี 2 แง่คิด คือ quantitative กับ qualitative ในด้าน quantitative เรา ok ไม่มีปัญหา และดีกว่าทั่วไปด้วย แต่ตัว qualitative ตัวหนึ่งก็น่าจะเป็น 4g ที่เลื่อนประมูลออกไป
•ส่วนเรื่องการเมืองเราก็โดนกดดันอย่างนี้มากว่า 7 ปีแล้ว ซึ่งมันอาจไม่ได้ตรงกับที่เราเป็น ถ้าทุกอย่างชัดเจน ก็น่าจะกลับมาได้
• การประมูลคลื่นความถี่จะได้ประโยชน์กับประเทศชาติ เพราะจะได้เงินประมูลเข้าประเทศ มีการจ้างงานตามมา ทำให้เกิดผลดี มีภาษีรายได้ส่วนบุคคล, cooperate tax, ภาษี vat
• คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่หมดไป ถ้าเลิก 4g ตอน 5g ก็เอาคลื่นความถี่เดิมไปใช้ได้
• เราสร้าง venture capital อย่าง ookbee เป็น ebook platform ซึี่งเราลงทุน 25% มูลค่า 50 กว่าล้านบาท โดยเราขายหุ้นให้คนเข้าใหม่ก็ได้กำไรเป็นร้อยกว่าล้านบาท
• เรามีศักยภาพ มีกำลังจะไป acquire บริษัทใหม่ อยากจะทำร่วมทุนกับบริษัทที่เป็นเทคโนโลยี ช่วยให้เจ้าของกิจการตั้งตัวได้ และเกิดการสร้างงาน สามารถเสริมกันอย่างเราก็จะมีบริการให้ลูกค้าเพิ่มเติม สามารถอ่านหนังสือผ่าน tablet ได้
• Venture capital พวกเจ้าของกิจการเราจะไม่ไปยุ่งในการทำงานกับเขา ให้เขาได้ใช้ความสามารถเต็มที่ แต่ถ้าบริษัทที่ไปซื้อมา ก็จะผนวกตามกฏบริษัทของเรา
SRICHA
• ผลดำเนินงานของบริษัทต้องมองยาวๆ ดูเป็นไตรมาสไม่ได้
• ลูกค้ามีทั้งในประเทศต่างประเทศ ส่วนแบ่งไม่สูงนัก แต่มีงานเรื่อยๆ
• เศรษฐกิจไม่ค่อยมีผลกับเรา ตอน hamburger crisis ก็งานเต็มมือ ต้องดูเป็นวัฏจักร
• งานอย่างในออสเครเลียก็เริ่มซาลงไปแล้ว ตอนนี้ที่บูมก็เป็นที่อเมริกา พบเรื่อง shalegas , LNG บ่อใหญ่ จึงต้องผันตัวเป็น exporter
• โรงงานพวกนี้ก็เป็นโปรเจคใหญ่ ของประเทศไทยก็เป็นแหล่งที่ทำงานได้ดี มีงานเยอะทำไม่ทัน
• เรามี Profit margin 30-35% ไม่มีหนี้ เงื่อนไขชำระเงินเราก็ดีพอสมควร ไม่ต้องใช้เงินหมุนเวียน ขยายโรงงานเสร็จสิ้นเกือบหมดแล้ว เงินสดตอนนี้ก็เหลืออยู่
• ตอนนี้มีหลายโครงการที่เข้ามาคุย ที่มาดากัสการ์ตอนนี้ทำเสร็จแล้วแต่เขาก็จ้างให้อยู่ต่อรายได้ 30-40 ล้านบาทต่อเดือน ให้คนของเราช่วยดูแล ซ่อมแซมต่อ
AMATA
• ล่าสุดมีประกาศจ่ายปันผล 0.2 บาท cashflow เราก็ไม่มีปัญหาอะไร จ่ายโดยเฉลี่ยปีละ 2 ครั้ง
• กำไรเปรียบเทียบปี 56 ใช้ได้ แต่ในไตรมาส 1-2 ก็เป็น effect จากการเมือง ในไตรมาส 3-4 ปกติน่าจะดี
• เคยมีปีหนึ่งที่บ้านเรามีปัญหาการเมือง บริษัท first โซลาร์ ทำแผงโซลาร์เซลล์ จะมาตั้งที่เรา 3 พันล้านดอลลาร์ เดือน sep เกิดปัญหาขึ้น เขาก็ตัดสินใจไปปีนังแทน ซึ่งโรงงานเขาขนาดใหญ่มาก และเมื่อมีตัวแม่ไปก็จะมี cluster ตามมาห้อมล้อม ก็เป็นที่น่าเสียดาย ธุรกิจเราเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากด้านการเมือง
• (คุณนลินีเสริม) AIRA ก็เคยอยู่ในเหตุการณ์นี้ตอนร่วมโต๊ะอาหารกับประธาน AIFUL แต่โชคดีที่ท่านประธานเข้าใจธรรมชาติประเทศไทยและยอมรับได้
• (คุณสมประสงค์เสริม) Intuch ก็เคยอยู่ในช่วงนั้นไปพบนักลงทุนสหรัฐ และก็ได้รับคำถามอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งเราก็ว่า สภาวะของไทย กับ อเมริกาไม่เหมือนกัน ต้องแยกสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ออก ของเรามีขั้นตอนไปตามกฏหมาย มีพระราชองค์การโปรดเกล้าเป็นกระบวนการที่ต้องเคารพไปตามนั้น ซึ่งเขาก็เข้าใจได้
หัวข้อ 2 สัมมนา “เลือกหุ้นจัดพอร์ตแบบวีไอ”
1. ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
2.นพ.พงษ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารีย์ นักลงทุนแนววีไอ
3. คุณอนุรักษ์ บุญแสวง(โจ ลูกอีสาน) นายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่าประเทศไทย
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
แนวทางการเลือกหุ้น
คุณโจ ลูกอีสาน
• เลือกหุ้นแบบ VI มี 4 คำ “ของดี ราคาถูก”
1) ต้องรู้ว่าอะไรเป็นชองดีหรือไม่ดี วิเคราะห์หุ้นหรือบริษัทมีคุณภาพที่ดีหรือไม่
2) ดูราคา ของดีราคาแพง อาจจะไม่ซื้อ แต่ของที่แย่พอประมาณ ราคาถูกมากเหมือนแถมฟรี ก็น่าสนใจ
• ต้องมองทั้ง 2 มิติประกอบกัน
• VI มีหลายสไตล์ ในอดีตสุดโต่งไปด้านหนึ่ง เน้นดูตัวเลข pe,pbv,dividend เข้าเกณฑ์ก็ซื้อ ปัจจุบัน มีแบบที่สุดโต่งอีกด้าน คือดูคุณภาพ มีคุณภาพดี ซื้อได้ไม่ต้องสนใจราคา
• สำหรับคุณโจ เน้นสายกลาง ดูทั้งคุณภาพใช้ได้ และราคาถูก เคยมีบทเรียนซื้อหุ้นคุณภาพดีมาก 2-3 ปีราคาไม่ไปไหน กับมีหุ้นที่ถูกมาก แต่กำไรลดลงเรื่อยๆวันหนึ่งก็กลายเป็นหุ้นแพง
•ขยายความเรื่องราคาถูก สมมติว่าวิเคราะห์หุ้นกิจการแห่งหนึ่ง ต้องดูว่าหุ้นคุณภาพระดับนี้ควรซื้อขาย pe ระดับเท่าไร ถ้ามีคุณภาพดีมาก อาจให้ pe 20-30 เท่า แต่ถ้าคุณภาพไม่ดีนัก อาจให้ pe 8-9 เท่า แล้วก็มาดูราคาในตลาดปัจจุบันว่าสูงหรือต่ำกว่าระดับปัจจุบันที่คำนวณไว้ ถ้าต่ำกว่าก็คือราคาถูก ซื้อได้
หมอพงษ์ศักดิ์
• อันดับแรกดู ภาพใหญ่ ธุรกิจอยู่ในเทรนด์ที่เจริญเติบโตในระยะยาวไหม อาจไม่ต้องเป็น mega trend แต่อย่างน้อย 3-5 ปีต้องเติบโต ยิ่งยาวยิ่งดี แต่โอกาสที่จะเจอหุ้นที่ถูกด้วย เติบโตด้วยก็ยาก ถ้าเติบโตสั้นมากก็ไม่ค่อยชอบ ต้องเข้าออกเร็ว ซึ่งทำได้ลำบาก จุดแข็งเราคือต้องถือได้ 3-5 ปีให้มูลค่าสะท้อน
• บริษัทต้องมีจุดเด่น เลียนแบบได้ยาก
• (อ.เสน่ห์ถาม) หุ้นแบบโซลาร์ฟาร์ม เห็นใครๆก็เลียนแบบกันได้? (หมอพงษ์ศักดิ์) สุดท้ายก็ต้องมีผู้โดดเด่นออกมาจากผู้ไม่มีความสามารถ แล้วบริษัทนั้นมีองค์ประกอบอยู่หรือไม่ ถ้าเรามาซื้อตามเขาไป วันหนึ่งอาจจะขายไม่ได้เมื่อไม่มีใครเล่น
•( อ.เสน่ห์ถาม) ปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนเร็วมากจะถือ 3-5 ปีได้หรือ? (หมอพงษ์ศักดิ์) ถ้าขึ้นเร็วเกินก็ขาย แต่ที่ผ่านมายังไม่เคยได้ขึ้นเร็วขนาดนั้น
• ไม่ควรซื้อหุ้นตามคนอื่นถ้าไม่มีความเข้าใจ ใครซื้อก็ต้องไปศึกษา และเข้าใจ ถ้ามั่นใจมีเหตุผลซื้อตามถือว่าไม่ผิด
• ทุกคนมีโอกาสพลาด คนที่เก่งที่สุดในโลกก็พลาด ถ้าเราไปตามตัวที่เขาพลาดก็อาจจะโชคร้าย ถ้าเราตามที่เหตุผลเราจะไม่พลาด
• หลายคนรู้เรื่องบริษัทได้ดี มีโอกาสลงทุนในบริษัที่เข้าใจ ถ้าอยู่ในจังหวะดีก็อาจได้ผลตอบแทนได้ ควรลงทุนในบริษัทที่รู้จัก เข้าใจได้ ไม่งั้นจะเป็นอะไรที่เสี่ยง
ดร.นิเวศน์
• ทุกคนมีสิทธิ์เลือกจะเล่นหรือไม่เล่น คนส่วนใหญ่เล่นทุกตัวมีคนเชียร์ มีเซียนซื้อ ถ้ามีความรู้น้อยควรเล่นในสิ่งที่รู้ดี ไม่แพ้คนอื่น เป็นสิ่งที่เราสัมผัสประจำ หรือเป็นคนที่อยู่ในตลาด อย่างปีเตอร์ ลินซ์พูดเราเป็นพนักงานรับซื้อของเข้าร้าน จะรู้ว่าดีมาก ยอดขายกำลังมาคนนิยม บางคนจะมีความรู้ที่ค่อนข้างลึกซึ้งในบางเรื่อง ถ้าใช้ก็จะได้เปรียบ แต่คนเรามักจะชิน รู้ดีเกินไป
• ควรถือลงทุนระยะยาว ทุกๆวันที่หุ้นขึ้นตอนนี้จะมีตัวที่ขึ้นมากๆก็จะหลอกล่อให้เราเล่นหุ้นทุกวัน ในปีหนึ่งก็เล่น 300 กว่าตัว ต้องไปปรับทัศนคติใหม่ 3 ปีซื้อ 1 ตัว ยกนิ้วให้ ทำแบบนี้ไม่ขาดทุนหรอก จะต้องระวังมากซื้อแล้วไม่ให้ขาย
• ดร.นิเวศน์ มีหุ้นมากกว่า 75% ที่ถือเกิน 10 ปี หุ้นที่เปลี่ยนเป็นตัวเล็กๆน้อยๆ ไม่มีความหมาย เนื่องจาก 10 ปีที่ผ่านมามันพิเศษมาก หุ้นขึ้นตลอด โดยทั่วไปอาจจะถือ 3-4 ปี ก็ OK แล้ว ถ้ามันยังดีก็ถือต่อไป ซื้อหุ้นแต่ละตัวก็อยากถือตลอดชีวิต
• แบงค์ใหญ่ 4-5 ปีที่ผ่านมาผลตอบแทนไม่เลว สามารถถือได้ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน
• (ดร.ไพบูลย์เสริม) สมัยหนึ่งมีแบงค์ที่ปิดเหมือนกัน ex.ศรีนคร,นครหลวงไทย,มหานคร
สไตล์การเลือกหุ้น
คุณโจ ลูกอีสาน
• เน้นหุ้นคุณภาพกลางๆ ราคาซื้อต้องถูก ส่วนใหญ่ pe ต่ำ
• พอซื้อหุ้น pe ต่ำก็มีแต้มต่อ ถือไปนานๆ มันก็เติบโตเรื่อยๆ pe ยิ่งลดลง ยิ่งซื้อ pe ต่ำอยู่แล้ว อนาคตก็ต่ำลงไปอีก ซึ่งการจ่ายปันผลก็จะเยอะ ถ้าจ่ายปันผล 7-8% ต่อปีได้ต่อเนื่อง ราคายังอยู่ที่เดิม มาบอกได้
• หุ้นแบบนี้มักเป็นขนาดกลาง ถึงเล็ก ขนาดกลาง market cap 4-5 หมื่นล้าน ขนาดเล็ก ราว พันล้านบาท
• หุ้นที่มักหลีกเลี่ยงคือหุ้น set50 เพราะเราไม่ได้เปรียบ มีคนคอยติดตามตลอด ไม่ใช่แค่นักวิเคราะห์ในไทย และเป็นนักวิเคราะห์ทั่วโลก โอกาสเจอหุ้นใหญ่ต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็นยากมาก เหมือนเป็น red ocean แต่ถ้าเป็นหุ้นขนาดกลางเล็ก จะเหมือน blue ocean เรามีโอกาสเจอหุ้นที่คนไม่ได้ติดตามเยอะ
• อ.ไพบูลย์เคยนำ chart มาเสนอให้ดู หุ้นตัวใหญ่ ผลตอบแทน 10% ,หุ้นตัวเล็ก 12% ผลตอบแทนต่างกัน 2% ถ้าต่างกันต่อเนื่อง10 ปีต่างมหาศาล รายย่อยมีจุดแข็งของเราคือมีเงินน้อย ให้ใช้จุดแข็งตัวเองมาลงทุน อย่าเห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง
หมอพงษ์ศักดิ์
• ชอบหุ้นที่มีความแน่นอน โลกธุรกิจมีความไม่แน่นอน ผลประกอบการค่อนข้างแน่นอน โดยธุรกิจมีความแข็งแกร่ง มีสัญญากับรัฐบาล
• ควรจะมีช่องว่างในการเติบโต มีโอกาสโตกว่าที่เราเห็นได้อีกมา
• ต้องมีจุดเปลี่ยน ที่มีผลให้ธุรกิจดีขึ้น บางครั้ง เจอจุดเปลี่ยนหลายอย่าง เช่นพฤติกรรมของคน การส่งเสริมกิจการจากภาครัฐ มีกำไรเพิ่มขึ้น มีปรับราคาค่าบริการ ค่าเสื่อมราคาลดลงมาก จุดเปลี่ยนผลักดันให้มูลค่าธุรกิจเพิ่มขึ้น เป็นเหมือน catalyst จะเป็นสิ่งที่ดี โอกาสอาจเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ ถ้าพลาดแล้วมีสิ่งรองรับก็จะยิ่งน่าสนใจในการลงทุน
• คัดบริษัที่ได้ผลประโยชน์มากสุด มีความเสี่ยงต่ำสุด ราคายังไม่สะท้อน ต้องทำละเอียดหน่อย ถ้าอ่านคร่าวๆหาข้อมูลคร่าวๆอาจจะไม่ได้ คิดว่าจะมีอยู่ตลอด
จำนวนถือหุ้น
คุณโจ ลูกอีสาน
• อะไรทำซ้ำๆมักจะเป็นนิสัย พอเงินเยอะขึ้น โอกาสก็เยอะขึ้น ปัจจุบันมีหุ้นเยอะขึ้น ราว 25 ตัว เยอะพอสมควรแล้วคงไม่มากกว่านี้ติดตามยาก
• ข้อดีการที่ศึกษาหุ้นเยอะ ก็เจอโอกาสเยอะ พลิกหินไปเยอะๆ ก็มีโอกาส หุ้นมี 600 ตัว ถือ 25 ตัวก็ไม่ได้เยอะมาก รุ้สึกสนุกที่ได้ทำ ยิ่งศึกษามาก ความรู้ก็ยิ่งมากขึ้นเกิดการทบต้น เจอหุ้นแบบเดียวกันก็จะรู้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องอัตโนมัติ
ชอบหุ้นแบบไหน
ดร.นิเวศน์
• มันเปลี่ยนไปทุก 10 ปี ชอบดูภาพใหญ่ ชีวิตคนประสบความสำเร็จขึ้นกับการตัดสินใจไม่กี่เรื่อง ถ้าตัดสินใจบ่อยๆไม่ได้ดี ถ้าเราทำถูกต้องไม่ต้องทำอะไรมาก มันก็จะพาเราไปเอง เหมือนยกตัวอย่าง ผู้หญิงหาสามีได้ถูกต้องคนเดียว ชีวิตก็ไม่ต้องทำอะไรแล้ว
• ต้องมองหุ้นบางตัวบางกลุ่มที่โตขึ้นเรื่อยๆ เมื่อรู้ว่าอุตสาหกรรมโตก็ต้องหาผู้ชนะ ต้องรู้ว่าแข่งขันกันด้วยอะไร เช่น แข่งด้วยจำนวนสาขา คนที่สาขาเยอะได้เปรียบ model ธุรกิจต้องมองให้ออก factor ที่ใช้แข่งขันไม่เหมือนกัน ถ้าหาเจอแล้ว ต้องซื้อด้วยเงินที่มากพอในราคาที่เหมาะสม ก็ทำให้ชีวิตเปลี่ยนได้ ถ้ามีแบบนี้ซัก 5-6 ตัวอยู่กับมันยาวๆ คอยติดตามมัน เพราะปัจจัยอาจเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ร้านหนังสือ ครั้งหนึ่งจำนวนสาขาเป็นตัวชี้ขาด วันหนึ่งก็ไม่มีประโยชน์ ซื้อออนไลน์ได้ ค่าเช่าก็อาจไม่คุ้ม factor เปลี่ยนหมดแล้ว การแข่งขันไม่แบบเดิม ก็ต้องดูตัวเลข ดูหลายๆอย่างประกอบกัน
• Factor ในการแข่งขันเป็นเรื่องที่ต้องศึกษา เรื่องการตลาด เช่น สินค้าบางอย่างแข่งกันอย่างไร หรือบางอย่างไม่ต้องแข่ง โรงไฟฟ้าถ้าปั่นไฟได้ก็ได้เงิน มีกำไรแน่นอน
การจัดพอร์ต ปรับพอร์ต ทำอย่างไร
คุณโจ ลูกอีสาน
• เหตุผลในการขาย : ส่วนใหญ่เจอหุ้นที่ดีกว่า ตัวเก่า upside น้อย ตัวใหม่ upside มากกว่า มีโอกาสขึ้นได้มากกว่า ค่าคอมมิชชั่นไทยถูกมาก
• อย่างอาทิตย์ก่อนก็ต้องจำใจขายหุ้นเป็นเหตุการณ์ที่ไม่บ่อย พื้นฐานเปลี่ยนต้องขาย บางครั้งก็มีค่าเสียโอกาส อาจต้องรอ 5 ปี
• บางครั้งหุ้นขึ้นจนเกินมูลค่าที่คิดเราไม่ขาย เราคิดว่าจะขึ้นไปอีก วันหนึ่งไหลลงกลับมาที่เดิม เหมือนนั่งรถเลยป้ายวนกลับมาป้ายเดิม ดังนั้นต้องตัดสินใจตามเหตุผลที่คิดไว้
• เหตุผลในการซื้อ : หุ้นตัวนี้ต้องต่ำกว่ามูลค่าควรจะเป็น ไม่งั้นไม่ซื้อ มีวินัย
หมอพงษ์ศักดิ์
• เหตุผลในการขาย เหมือนคุณโจ นอกจากวิเคราะห์ผิด พื้นฐานเปลี่ยน ก็ต้องระวังเมื่อตลาดมีราคาสูงเกินไป ปีก่อน หุ้นขึ้น 1600 แล้วก็มีข่าว usa จะลด QE ซึ่งตลาดก็ตกลงมา ก็อย่าลืมมองด้วยว่าตลาดสูงไปหรือยัง บางครั้งโอกาสขึ้นไม่มากแต่ลงได้มาก ก็ต้องระวังด้วย
VI ซื้อขายเร็วได้ไหม?
คุณพงษ์ศักดิ์
• VI ซื้อแล้วขายได้เร็วก็มี ถ้าเราคิดผิดได้ข้อมูลใหม่ว่าต้องขายก็ขาย ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยซื้อขายเร็วมาก ถ้าผิดพลาดก็คงไม่เยอะ
คุณโจ ลูกอีสาน
• ยึดที่มูลค่าที่ควรจะเป็น เช่นซื้อหุ้นต่ำกว่าที่ควรจะเป็น 30% ปรากฏว่าขึ้นไป ceiling ก็ขายแน่นอน ไม่เกี่ยวว่าถือนานแค่ไหน
ดร.นิเวศน์
• คิดว่าเป็นปลายทางของยุคทอง vi ทุกสรรพสิ่งในโลกก็เป็นเช่นนั้น มีเลิกราบ้าง มันจะดีเกินหน้าเกินตานานไป มันผิดธรรมชาติ
• ที่อเมริกาเป็นที่มี track record ยาวนานก็จะมียุค growth vi หาหุ้นราคาถูกแพ้หมด สู้หุ้น growth ไม่ได้ มียุคหนึ่งต้องเล่น หุ้น hitech ไม่เช่นนั้น under perform เยอะมาก ยุคนั้นบิล มิลเลอรืกลายเป็นเซียนเหนือบัฟเฟตต์
ข้อควรระวังในสถานการณ์ตอนนี้
หมอพงษ์ศักดิ์
• มองความเสี่ยงที่ทำให้พื้นฐานธุรกิจเปลี่ยน อะไรเป็น key factor ที่ทำให้ธุรกิจเปลี่ยน บางทีเห็นภาพไม่ชัด แต่มีโอกาสเกิด 1-2 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะหุ้นเทคโนโลยีเปลี่ยนเร็วมาก บางครั้งนักวิเคราะห์ไม่ได้คิดถึงเรื่องพวกนี้ การใช้โทรศัพท์มือถือ คิดว่าเปลี่ยนพฤติกรรมไปเยอะ บริการต่างๆที่แข่งกัน อาจพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ อาจจะลงทุนแล้วขาดทุนถาวรได้ เพราะมันไม่กลับมา
• ต้องมองให้ออกว่าความเสี่ยงที่ทำให้พื้นฐานเปลี่ยนคืออะไร มีโอกาสเกิดไหม ต้องระวังให้ดี วันหนึ่งอาจจะเกิด
• อย่างถ่านหิน คิดว่าโครงสร้างพลังงานของโลกกำลังเปลี่ยน และจะเปลี่ยนถาวรด้วย อย่าง shale gas เกิดที่อเมริกาได้ ก็เกิดที่อื่นได้ ไม่ควรลงทุน เราได้น้อยไม่เป็นไรแต่ไม่ควรเสีย
Vi จำเป็น ต้องมีเงินสดในพอร์ตไหม?
คุณโจ ลูกอีสาน
• ปกติจะถือหุ้น 100% ตลอดเวลา มีช่วงปีก่อนที่หุ้นขึ้นไป 1600 หาหุ้นถูกๆไม่ได้ แล้วขายออกบางสว่นถือเงินสด ตลาดก็ย่อลงมาจริงๆ ถ้าไม่เจอโอกาสก็ถือเป็นเงินสด เราไม่รู้ว่ามันจะลงวันไหน ก็เตรียมปืนรอไว้เลย
• เคยถือสูงสุด 15% บริษัทที่ถือแล้วพอใจยังต่ำกว่ามูลค่า ก็จะไม่ถือเงิน
หมอพงษ์ศักดิ์
• ขึ้นกับสถานการณ์ที่เรามองด้วย อนาคตคิดว่าจะเป็นอย่างไร ปัจจุบันราคาเป็นอย่างไร ถ้าราคาหุ้นเริ่มแพง เราจะถือสัดส่วนหนึ่ง ถ้าแพงขึ้นไปอีกก็ถือมากขึ้น
• คิดว่าหุ้นไทยไม่ถูก ดูจากภาวะเศรษฐกิจและอนาคตมีความไม่แน่นอน การถือสัดส่วนเท่าไรอยู่ที่ความเชื่อมั่น
• อย่าง GDP เห็นปรับได้ทุกเดือน ตอนนี้ที่ประกาศก็ฟังไว้อย่างนั้น ถ้าสัมผัสกับคนทำมาค้าขายแล้วฝืดเคืองก็น่าเป็นห่วง
• เคยถือเงินสด 25%
• อย่างหุ้น mai ก็ดูสูงเกิน standard ไปมาก ฟองสบู่ไม่มีใครรู้ว่าจะแตกเมื่อไร วันดีคืนดีอาจจะมีจุดเปลี่ยนแล้วทุกคนก็มองว่าตลาดแพงแล้ว ทุกคนยังคิดว่าไปได้อีก เราคงไม่ใช่มือสุดท้าย
•มีคนบอกว่ามีอยู่ 2 เวลาที่อย่าเก็งกำไร คือ เวลาที่มีเงินซึ่งจะเสียไปไม่ได้ กับมีเงินให้เสียไปได้ สรุปคืออย่าไปเก็งกำไร
ดร.นิเวศน์
• ไม่มีใครห้ามถือเงินสด แต่ที่ผ่านมาก็ถือ 100% มาตลอด
• ตอนหลังมีเงินสดแล้วเพราะภาพใหญ่อาจจะหมดยุคทอง หลายสัญญาณบอกว่าไม่สูงสุดก็ใกล้ ซึ่งถ้าวิ่งไปอีกเราก็อาจเสียโอกาส
• หุ้นดีอยู่ยังมีแต่ราคาสูงเกินจะปลอดภัยก็เก็บเป็นเงินสดไว้ ถ้าตกลงมาต่ำกว่าปัจจุบันก็มีเงินไปซื้อในราคาถูกลง
• 80% ยังเป็นหุ้น ถ้ามีตัวที่น่าสนใจก็ซื้อ
VI ซื้อหุ้น ipo ไหม?
คุณโจ ลูกอีสาน
•เคย ปฏิเสธหุ้น ipo บางตัว ดูพื้นฐานแล้วไม่ชอบ ปรากฏว่าวิ่งไปอีกไกล หุ้นบางตัวให้ผลขาดทุน ส่วนใหญ่จะเอา ต้องเลือกหน่อย
หมอพงษ์ศักดิ์
•กระแสมีการเก็งกำไรสูง ถ้าเราได้หุ้นมาคงมีโอกาสขาดทุนน้อย โดยเฉพาะหุ้นเล็ก
•ไม่ค่อยได้หุ้น ipo ถ้าได้มาถึงเราก็คงไม่ดี
• ส่วนใหญ่ไม่ค่อยซื้อ ถ้าไม่มีการเก็งกำไรราคาก็คงเป็นไปตามมาตรฐาน ยกเว้นว่าถ้าหุ้นคุณภาพดี คงจะซื้อถือนานหน่อย
ดร.นิเวศน์
• ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ ipo ถ้าได้ก็เหมือนค่าขนม แต่เวลาปกติคงไม่เอา ถ้าเวลาหุ้นขึ้นก็ต้องได้
• โดยพื้นฐานไม่คุ้มก็เป็นการเล่นเก็งกำไร
Money talk@SET ครั้งต่อไป
อาทิตย์ 14 ธันวาคม 57
หัวข้อ 1 ทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 58 ดร.กอบศักดื ภูตระกูล อ.นิเวศน์,อ.เสน่ห์,อ.ไพบูลย์
หัวข้อ 2 ทิศทางหุ้นไทยปี 58 ดร.นิเวศน์,ดร.ก้องเกียรติ,คุณมนตรี ศลไพศาล
เปิดจอง facebook.com/moneytalktv เสาร์ 6 ธันวาคม 7 โมงเช้า
สำหรับหัวข้อที่เป็นกลยุทธ์ vi ปี 58 จะจัดในวันที่ 17 ม.ค.
และเดือนม.ค. จะมีชวนทำบุญกับวัดพระบาทน้ำพุด้วย
ขอบพระคุณอ.ไพบูลย์,พิธีกร,วิทยากร และทีมงาน money talk
และผู้สนับสนุนทุกท่านทั้งตลาดหลักทรัพย์,สปอนเซอร์ต่างๆครับ
หากเนื้อหามีความผิดพลาดอย่างไรขออภัยด้วยครับ สามารถช่วยเสริม แสดงความเห็นได้ ขอบคุณครับ
Go against and stay alive.
- JobJakraphan
- Verified User
- โพสต์: 749
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Moneytalk@SET16Nov2014จับตาหุ้นเด่น&เลือกหุ้นจัดพอร์ตVI
โพสต์ที่ 6
ขอบคุณมากครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 139
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Moneytalk@SET16Nov2014จับตาหุ้นเด่น&เลือกหุ้นจัดพอร์ตVI
โพสต์ที่ 14
ขอบคุณมากครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 458
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Moneytalk@SET16Nov2014จับตาหุ้นเด่น&เลือกหุ้นจัดพอร์ตVI
โพสต์ที่ 17
ขอบคุณครับ
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Moneytalk@SET16Nov2014จับตาหุ้นเด่น&เลือกหุ้นจัดพอร์ตVI
โพสต์ที่ 18
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
-
- Verified User
- โพสต์: 5620
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Moneytalk@SET16Nov2014จับตาหุ้นเด่น&เลือกหุ้นจัดพอร์ตVI
โพสต์ที่ 19
ขอบคุณมากครับพี่บิ๊ก
วินัย + แผนการ + ลงรายละเอียด => ขุดหุ้น
fb fanpage : https://www.facebook.com/stockinvestigator
fb fanpage : https://www.facebook.com/stockinvestigator
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4741
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Moneytalk@SET16Nov2014จับตาหุ้นเด่น&เลือกหุ้นจัดพอร์ตVI
โพสต์ที่ 27
ขอบคุณครับ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"