ที่ผมเขียนหมายความว่า บริษัทรับทำลายรถยนต์ แยกชิ้นส่วน หรือ พวกกำจัดขยะ แยกขายไม่ยอมมาจดทะเบียนในตลาพ(ห)ลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไงล่ะครับHisoka เขียน:บ้านเราเจ๋งกว่านั้นครับ เพราะเรามีเชียงกง ขายซาก แยกชิ้นส่วน วางกองให้ลูกค้าเดินเลือกเลย รถรุ่นเก่ามาก 20-30ปี ยังพอหาอะไหล่ใช้ได้อยู่เลยครับ(ที่ผมรู้จักส่วนใหญ่จะเป็นรถบรรทุกน่ะครับ) ชิ้นส่วนที่ใช้ไม่ได้จริงๆ ซ่อมไม่ได้แล้ว ถึงจะขายเป็นเศษเหล็กmiracle เขียน: แต่สิ่งหนึ่งที่น่าเสียดายคืออะไร คือ
เมืองไทยที่ผมค้นหาคือ ไม่เจอะเจอโรงงานทำลายรถยนต์ แยกชิ้นส่วน อัดก๊อปปี้เป็นก้อนเหล็ก
อุตสาหกรรมนี้ ได้ครบถ้วนวงจรซักที
สถานการณ์รถยนต์
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 121
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 122
ค่ายรถโละสต๊อก! กระหน่ำแคมเปญทิ้งทวน
วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม 2014 เวลา 10:12 น
ค่ายรถสต๊อกล้น แห่กระหน่ำแคมเปญระบายรถโค้งสุดท้ายของปี ซูบารุชี้ประสานโรงงานชะลอส่งมอบ พร้อมอัดโปรโมชันผ่อน 0 % นาน 60 เดือน มาสด้า 2 เหลือ 900 คันเร่งเคลียร์ล็อตสุดท้าย ส่วนฟอร์ดฟอร์มดุ ให้ส่วนลดเงินดาวน์ 1.3 แสนบาท 0% นาน 72 เดือน
นายสุเมศร์ เพ็ญสุข ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ทีซี ซูบารุ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จำหน่ายรถยนต์ซูบารุอย่างเป็นทางการในประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดรถยนต์ที่ชะลอตัว ส่งผลให้บริษัทต้องวางแผนงานบริหารสต๊อกรถเพื่อไม่ให้เป็นภาระกับดีลเลอร์ โดยแนวทางในเบื้องต้นได้ประสานงานกับโรงงานที่มาเลเซีย หากมีจำนวนรถในสต๊อกเหลืออยู่มาก ก็จะชะลอคำสั่งซื้อออกไปก่อน
ขณะที่แผนการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายและระบายสต๊อกนั้น ได้จัดแคมเปญพิเศษสำหรับลูกค้าที่ซื้อรถรุ่นใหม่ เอ็กซ์วี 2.0i, เอ็กซ์วี สปอร์ต และซูบารุ เอ็กซ์วี เอสทีไอ เพอร์ฟอร์มานซ์ ผ่อน 0% นาน 60 เดือน ,ฟรี เมทาแนนซ์ 3 ปี และ บาย แบค การันตี กล่าวคือลูกค้าที่เป็นเจ้าของรถซูบารุ เอ็กซ์วี อายุไม่เกิน 3 ปี หากต้องการเปลี่ยนรุ่นอื่น บริษัทจะรับซื้อคืนในราคา 50%
"เมื่อเรามีสินค้าอยู่ในมือ ก็ต้องมีการอัดแคมเปญเพื่อจะได้ไม่เป็นภาระกับดีลเลอร์ จึงเป็นที่มาของแคมเปญที่เราได้นำเสนอลูกค้าอยู่ในขณะนี้ โดยปัจจุบันเรามีสต๊อกสินค้าเฉลี่ย 2 – 3 เดือน ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่รับได้"
นางสาวสุรีทิพย์ ละอองทอง โฉมทองดี รองประธานฝ่ายการตลาด บริษัท มาสด้า เซลส์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันมาสด้ามีสินค้าแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มเทคโนโลยีสกายแอกทีฟ ประกอบด้วยรุ่น มาสด้า ซีเอ็กซ์ 5 และ มาสด้า 3 ซึ่งทั้ง 2 รุ่นได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าคนไทย จนผลิตไม่เพียงพอกับยอดสั่งซื้อ โดยลูกค้าต้องรอรถประมาณ 2 เดือน ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งคือ รุ่นเครื่องยนต์ทั่วไป คือ มาสด้า 2 และ บีที -50
โดยมาสด้า 2 ขณะนี้มีสต๊อกรถจำนวน 900 คัน และบริษัทได้จัดทำแคมเปญขึ้นมาเพื่อเคลียร์สต๊อกรถรุ่นนี้ให้หมดก่อนงานมอเตอร์เอ็กซ์โปที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน- ธันวาคมนี้ ภายใต้แคมเปญ "Mazda2 Deal of the Year" ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-26 ตุลาคม 2557 ที่โชว์รูมมาสด้า ส่วนมาสด้า บีที -50 โปร ก็มีข้อเสนอผ่อน 5,555 บาท หรือเลือกรับดอกเบี้ยต่ำ 0.55% ผ่อนนานสูงสุด 5 ปี พร้อมรับฟรีประกันภัยชั้นหนึ่ง
"เดิมบริษัทแม่จะให้อินเทนซีฟกับดีลเลอร์ในรุ่น มาสด้า 2 ประมาณ 4 – 5 หมื่นบาท แต่สำหรับแคมเปญล่าสุดที่มีเพียง 900 คันนี้ เราได้ให้อินเทนซีฟกับดีลเลอร์คิดเป็นมูลค่ากว่า 8 – 9 หมื่นบาท ทั้งนี้เพื่อจะช่วยดีลเลอร์ในการบริหารจัดการรถรุ่นนี้ให้หมด และเตรียมสำหรับจะจำหน่ายในรุ่นใหม่ที่เข้ามาทำตลาดในเร็ววันนี้"
ส่วนจำนวนรถในสต๊อกของมาสด้าที่กระจายอยู่ที่ดีลเลอร์แต่ละรายนั้นถือว่าน้อยมาก ซึ่งบริษัทได้มีการจัดแคมเปญออกมาเพื่อกระตุ้นการขายและเป็นการดึงกลุ่มลูกค้าให้เข้ามายังโชว์รูมมากขึ้น โดยบริษัทคาดว่าก่อนที่งานมอเตอร์เอ็กซ์โปจะเริ่มขึ้นในช่วงปลายปีนี้ จำนวนสต๊อกรถของมาสด้าจะกลับมาสู่ภาวะปกติอย่างแน่นอน
ด้านดีลเลอร์ฮอนด้ารายหนึ่งในเขตกรุงเทพฯเปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทแม่ได้มีการเพิ่มจำนวนสต๊อกรถหลายรุ่นให้กับดีลเลอร์ เนื่องจากใกล้เข้าสู่ช่วงฤดูกาลขาย และใกล้ถึงงานมอเตอร์เอ็กซ์โป ซึ่งฮอนด้ามีรถรุ่นใหม่หลายรุ่นที่กำลังจะเปิดตัว อาทิ ซีอาร์วี ไมเนอร์เชนจ์ ,รถอเนกประสงค์ขนาดเล็ก HR-V และรุ่นที่เพิ่งเปิดตัวไปคือ โมบิลิโอ โดยจำนวนรุ่นรถที่เปิดตัวสู่ตลาด ทำให้ดีลเลอร์แต่ละรายต้องเตรียมสต๊อกรถเพื่อรองรับกับคำสั่งซื้อของลูกค้า
ขณะที่จำนวนสต๊อกรถของดีลเลอร์ขณะนี้ ถือว่ากลับมาสู่ระดับปกติ กล่าวคือเฉลี่ยเดือนครึ่ง จากเดิมในช่วงปีที่ผ่านมาที่มี 2 – 3 เดือน อย่างไรก็ตามดีลเลอร์ในต่างจังหวัดอาจจะมีภาระสต๊อกที่มากกว่าในเขตกรุงเทพฯ เนื่องจากได้รับผลกระทบทางด้านราคาพืชผลทางการเกษตรที่ปรับตัวลดลง ทำให้ลูกค้าชะลอการตัดสินใจซื้อรถ
"สต๊อกรถที่มีอยู่ในตอนนี้ถือว่าโอเค ซึ่งดีลเลอร์แต่ละรายพยายามบริหารสต๊อกที่มีอยู่ ทั้งมีการจัดแคมเปญ มอบข้อเสนอต่างๆรวมไปถึงการที่บริษัทแม่เปิดตัวรถรุ่นใหม่หลายๆรุ่นออกมาก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยการขายของดีลเลอร์ อย่างไรก็ตามสิ่งที่กระทบกับการขายของดีลเลอร์แต่ละแห่งคือ ความเข้มงวดของไฟแนนซ์ที่ยังถือว่าไม่ผ่อนคลาย ประกอบกับหนี้ครัวเรือนที่ยังสูง"
ด้านค่ายน้องใหม่เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด หรือแบรนด์เอ็มจี ก็มีการกระตุ้นตลาดด้วยการจัดแคมเปญสำหรับรุ่น MG6 เริ่มตั้งแต่ ผ่อนสบายๆ ด้วยดอกเบี้ย 0% นาน 48 เดือน ,ฟรีประกันภัยชั้น 1 นาน 1 ปี และ warranty ฟรีตรวจเช็กระยะและค่าแรงนาน 4 ปี หรือ 1.2 แสนกิโลเมตร และในรุ่นท็อป MG6 X รับฟรี Navigator Entertainment System กล้องมองหลัง และเครื่องเล่น DVD และลูกค้าทุกคนยังมีสิทธิ์ลุ้นรับ iphone6 จำนวน 90 เครื่อง โดยแคมเปญจะสิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2558
ส่วนโตโยต้า วีโก้ ให้เงื่อนไขดาวน์ต่ำ 1.5 หมื่นบาท พร้อมลุ้นทองคำหนัก 50 บาท 10 รางวัล และรางวัลอื่นๆรวม 50 ล้านบาท หรือแค่ทดลองขับก็ได้รับคูปองเซเว่นอีเลฟเว่น 200 บาท ส่วนฟอร์ดให้ส่วนลดเงินดาวน์สูงสุดไม่เกิน 1.3 แสนบาท หรือ รับดอกเบี้ย 0% นาน 72 เดือน
ด้านนายขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานจัดงาน มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 31 หรือมอเตอร์เอ็กซ์โป 2014 เปิดเผยว่า ในงานที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน – 10 ธันวาคมนี้ ที่เมืองทองธานี คาดว่าแคมเปญหรือข้อเสนอทางการเงิน-ของแถมต่างๆจะถูกนำมาแข่งขันกันอย่างรุนแรง เนื่องจากเป็นช่วงสุดท้ายของปีและแต่ละบริษัทจะต้องทำยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายที่ตัวเองวางไว้ ประกอบกับผู้บริโภคได้รับเงินและคาดว่าจะนำมาจับจ่ายใช้สอย
"ในงานที่เราจัดขึ้นถือเป็นช่วงโค้งสุดท้าย ดังนั้นแต่ละค่ายจะมีการนำรถรุ่นใหม่ นำแคมเปญต่างมาแข่งขันกันอย่างดุเดือด ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าการจัดงานในครั้งนี้จะมีเม็ดเงินสะพัดกว่า 5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านั้นที่ทำได้ประมาณ 4.1 หมื่นล้านบาท"
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,995 วันที่ 26 - 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=417
วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม 2014 เวลา 10:12 น
ค่ายรถสต๊อกล้น แห่กระหน่ำแคมเปญระบายรถโค้งสุดท้ายของปี ซูบารุชี้ประสานโรงงานชะลอส่งมอบ พร้อมอัดโปรโมชันผ่อน 0 % นาน 60 เดือน มาสด้า 2 เหลือ 900 คันเร่งเคลียร์ล็อตสุดท้าย ส่วนฟอร์ดฟอร์มดุ ให้ส่วนลดเงินดาวน์ 1.3 แสนบาท 0% นาน 72 เดือน
นายสุเมศร์ เพ็ญสุข ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ทีซี ซูบารุ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จำหน่ายรถยนต์ซูบารุอย่างเป็นทางการในประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดรถยนต์ที่ชะลอตัว ส่งผลให้บริษัทต้องวางแผนงานบริหารสต๊อกรถเพื่อไม่ให้เป็นภาระกับดีลเลอร์ โดยแนวทางในเบื้องต้นได้ประสานงานกับโรงงานที่มาเลเซีย หากมีจำนวนรถในสต๊อกเหลืออยู่มาก ก็จะชะลอคำสั่งซื้อออกไปก่อน
ขณะที่แผนการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายและระบายสต๊อกนั้น ได้จัดแคมเปญพิเศษสำหรับลูกค้าที่ซื้อรถรุ่นใหม่ เอ็กซ์วี 2.0i, เอ็กซ์วี สปอร์ต และซูบารุ เอ็กซ์วี เอสทีไอ เพอร์ฟอร์มานซ์ ผ่อน 0% นาน 60 เดือน ,ฟรี เมทาแนนซ์ 3 ปี และ บาย แบค การันตี กล่าวคือลูกค้าที่เป็นเจ้าของรถซูบารุ เอ็กซ์วี อายุไม่เกิน 3 ปี หากต้องการเปลี่ยนรุ่นอื่น บริษัทจะรับซื้อคืนในราคา 50%
"เมื่อเรามีสินค้าอยู่ในมือ ก็ต้องมีการอัดแคมเปญเพื่อจะได้ไม่เป็นภาระกับดีลเลอร์ จึงเป็นที่มาของแคมเปญที่เราได้นำเสนอลูกค้าอยู่ในขณะนี้ โดยปัจจุบันเรามีสต๊อกสินค้าเฉลี่ย 2 – 3 เดือน ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่รับได้"
นางสาวสุรีทิพย์ ละอองทอง โฉมทองดี รองประธานฝ่ายการตลาด บริษัท มาสด้า เซลส์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันมาสด้ามีสินค้าแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มเทคโนโลยีสกายแอกทีฟ ประกอบด้วยรุ่น มาสด้า ซีเอ็กซ์ 5 และ มาสด้า 3 ซึ่งทั้ง 2 รุ่นได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าคนไทย จนผลิตไม่เพียงพอกับยอดสั่งซื้อ โดยลูกค้าต้องรอรถประมาณ 2 เดือน ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งคือ รุ่นเครื่องยนต์ทั่วไป คือ มาสด้า 2 และ บีที -50
โดยมาสด้า 2 ขณะนี้มีสต๊อกรถจำนวน 900 คัน และบริษัทได้จัดทำแคมเปญขึ้นมาเพื่อเคลียร์สต๊อกรถรุ่นนี้ให้หมดก่อนงานมอเตอร์เอ็กซ์โปที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน- ธันวาคมนี้ ภายใต้แคมเปญ "Mazda2 Deal of the Year" ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-26 ตุลาคม 2557 ที่โชว์รูมมาสด้า ส่วนมาสด้า บีที -50 โปร ก็มีข้อเสนอผ่อน 5,555 บาท หรือเลือกรับดอกเบี้ยต่ำ 0.55% ผ่อนนานสูงสุด 5 ปี พร้อมรับฟรีประกันภัยชั้นหนึ่ง
"เดิมบริษัทแม่จะให้อินเทนซีฟกับดีลเลอร์ในรุ่น มาสด้า 2 ประมาณ 4 – 5 หมื่นบาท แต่สำหรับแคมเปญล่าสุดที่มีเพียง 900 คันนี้ เราได้ให้อินเทนซีฟกับดีลเลอร์คิดเป็นมูลค่ากว่า 8 – 9 หมื่นบาท ทั้งนี้เพื่อจะช่วยดีลเลอร์ในการบริหารจัดการรถรุ่นนี้ให้หมด และเตรียมสำหรับจะจำหน่ายในรุ่นใหม่ที่เข้ามาทำตลาดในเร็ววันนี้"
ส่วนจำนวนรถในสต๊อกของมาสด้าที่กระจายอยู่ที่ดีลเลอร์แต่ละรายนั้นถือว่าน้อยมาก ซึ่งบริษัทได้มีการจัดแคมเปญออกมาเพื่อกระตุ้นการขายและเป็นการดึงกลุ่มลูกค้าให้เข้ามายังโชว์รูมมากขึ้น โดยบริษัทคาดว่าก่อนที่งานมอเตอร์เอ็กซ์โปจะเริ่มขึ้นในช่วงปลายปีนี้ จำนวนสต๊อกรถของมาสด้าจะกลับมาสู่ภาวะปกติอย่างแน่นอน
ด้านดีลเลอร์ฮอนด้ารายหนึ่งในเขตกรุงเทพฯเปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทแม่ได้มีการเพิ่มจำนวนสต๊อกรถหลายรุ่นให้กับดีลเลอร์ เนื่องจากใกล้เข้าสู่ช่วงฤดูกาลขาย และใกล้ถึงงานมอเตอร์เอ็กซ์โป ซึ่งฮอนด้ามีรถรุ่นใหม่หลายรุ่นที่กำลังจะเปิดตัว อาทิ ซีอาร์วี ไมเนอร์เชนจ์ ,รถอเนกประสงค์ขนาดเล็ก HR-V และรุ่นที่เพิ่งเปิดตัวไปคือ โมบิลิโอ โดยจำนวนรุ่นรถที่เปิดตัวสู่ตลาด ทำให้ดีลเลอร์แต่ละรายต้องเตรียมสต๊อกรถเพื่อรองรับกับคำสั่งซื้อของลูกค้า
ขณะที่จำนวนสต๊อกรถของดีลเลอร์ขณะนี้ ถือว่ากลับมาสู่ระดับปกติ กล่าวคือเฉลี่ยเดือนครึ่ง จากเดิมในช่วงปีที่ผ่านมาที่มี 2 – 3 เดือน อย่างไรก็ตามดีลเลอร์ในต่างจังหวัดอาจจะมีภาระสต๊อกที่มากกว่าในเขตกรุงเทพฯ เนื่องจากได้รับผลกระทบทางด้านราคาพืชผลทางการเกษตรที่ปรับตัวลดลง ทำให้ลูกค้าชะลอการตัดสินใจซื้อรถ
"สต๊อกรถที่มีอยู่ในตอนนี้ถือว่าโอเค ซึ่งดีลเลอร์แต่ละรายพยายามบริหารสต๊อกที่มีอยู่ ทั้งมีการจัดแคมเปญ มอบข้อเสนอต่างๆรวมไปถึงการที่บริษัทแม่เปิดตัวรถรุ่นใหม่หลายๆรุ่นออกมาก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ช่วยการขายของดีลเลอร์ อย่างไรก็ตามสิ่งที่กระทบกับการขายของดีลเลอร์แต่ละแห่งคือ ความเข้มงวดของไฟแนนซ์ที่ยังถือว่าไม่ผ่อนคลาย ประกอบกับหนี้ครัวเรือนที่ยังสูง"
ด้านค่ายน้องใหม่เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด หรือแบรนด์เอ็มจี ก็มีการกระตุ้นตลาดด้วยการจัดแคมเปญสำหรับรุ่น MG6 เริ่มตั้งแต่ ผ่อนสบายๆ ด้วยดอกเบี้ย 0% นาน 48 เดือน ,ฟรีประกันภัยชั้น 1 นาน 1 ปี และ warranty ฟรีตรวจเช็กระยะและค่าแรงนาน 4 ปี หรือ 1.2 แสนกิโลเมตร และในรุ่นท็อป MG6 X รับฟรี Navigator Entertainment System กล้องมองหลัง และเครื่องเล่น DVD และลูกค้าทุกคนยังมีสิทธิ์ลุ้นรับ iphone6 จำนวน 90 เครื่อง โดยแคมเปญจะสิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2558
ส่วนโตโยต้า วีโก้ ให้เงื่อนไขดาวน์ต่ำ 1.5 หมื่นบาท พร้อมลุ้นทองคำหนัก 50 บาท 10 รางวัล และรางวัลอื่นๆรวม 50 ล้านบาท หรือแค่ทดลองขับก็ได้รับคูปองเซเว่นอีเลฟเว่น 200 บาท ส่วนฟอร์ดให้ส่วนลดเงินดาวน์สูงสุดไม่เกิน 1.3 แสนบาท หรือ รับดอกเบี้ย 0% นาน 72 เดือน
ด้านนายขวัญชัย ปภัสร์พงษ์ ประธานจัดงาน มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 31 หรือมอเตอร์เอ็กซ์โป 2014 เปิดเผยว่า ในงานที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน – 10 ธันวาคมนี้ ที่เมืองทองธานี คาดว่าแคมเปญหรือข้อเสนอทางการเงิน-ของแถมต่างๆจะถูกนำมาแข่งขันกันอย่างรุนแรง เนื่องจากเป็นช่วงสุดท้ายของปีและแต่ละบริษัทจะต้องทำยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายที่ตัวเองวางไว้ ประกอบกับผู้บริโภคได้รับเงินและคาดว่าจะนำมาจับจ่ายใช้สอย
"ในงานที่เราจัดขึ้นถือเป็นช่วงโค้งสุดท้าย ดังนั้นแต่ละค่ายจะมีการนำรถรุ่นใหม่ นำแคมเปญต่างมาแข่งขันกันอย่างดุเดือด ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าการจัดงานในครั้งนี้จะมีเม็ดเงินสะพัดกว่า 5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านั้นที่ทำได้ประมาณ 4.1 หมื่นล้านบาท"
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,995 วันที่ 26 - 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=417
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 124
10 ค่ายรถเดินหน้าอีโคคาร์ 2
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=452
10 ค่ายรถเดินหน้า อีโคคาร์ 2 เตรียมคุยโฟล์คโค้งสุดท้ายกลางเดือนนี้ มาสด้า ปาดหน้าเดินเครื่องผลิตมาสด้า 2 ที่โรงงานระยองก่อนใครเพื่อน ขอตีตั๋วเด็ก ขี่ภาษีอีโคคาร์ 17% ยันลงทุนในไทยเต็มสูบ ต้นปี 58 เปิดโรงงานผลิตเกียร์สกายแอกทีฟ ปลายปีเดินเครื่องโรงงานผลิตเครื่องยนต์ใหม่
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงความคืบหน้าในการอนุมัติโครงการอีโคคาร์ เฟส 2 ที่ได้อนุมัติไปแล้ว 6 รายได้แก่ มาสด้า , ฟอร์ด, จีเอ็ม, มิตซูบิชิ, โตโยต้า, นิสสัน และยังเหลืออีก 4 รายที่ยังไม่ได้อนุมัติได้แก่ ฮอนด้า , ซูซูกิ, เอ็มจี และ โฟล์คสวาเกน ล่าสุดจะมีการพูดคุยเพิ่มเติมกับโฟล์คสวาเกนในวันที่ 15 -16 พฤศจิกายนนี้
เรามีผู้ผลิตที่มาจากฝั่งญี่ปุ่น และอเมริกา ส่วนยุโรปยังไม่มี ดังนั้นเราจะเข้าไปพูดคุยกับโฟล์คสวาเกน เอจี เยอรมนี ในกลางเดือนนี้ เพื่อพูดคุยและเจรจาดึงดูดนักลงทุน ซึ่งในแง่ของคำตอบว่าจะเมื่อไรนั้น ก็ต้องดูความพร้อมอีกที เนื่องจากเงื่อนไขรายละเอียดของโครงการไม่ได้กำหนดระยะเวลาเอาไว้ ส่วนอีก 3 ค่ายที่เหลือก็คาดว่าจะไม่มีปัญหา"
นายจักรมณฑ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวทางของภาครัฐมีการวางแผนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไทยอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางของอุตสาหกรรมยานยนต์โลกที่มุ่งพัฒนาไปสู่ "Sustainable Mobility"โดยอาศัยกลไกของโครงสร้างภาษีและการส่งเสริมการลงทุน เริ่มต้นจากการที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์และเปลี่ยนหลักเกณฑ์การให้สิทธิลดหย่อนอัตราภาษีสรรพสามิต จากรถยนต์ที่มีขนาด "ซีซีต่ำ แรงม้าน้อย" มาเป็นรถยนต์ที่มีคุณสมบัติ "สะอาด ประหยัด ปลอดภัย" ต่อมาก็มีการเปิดโครงการรถประหยัดพลังงาน หรืออีโคคาร์ เฟส 2 ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีทั้งจากผู้ผลิตรายเดิมทั้ง 5 ราย และรายใหม่อีก 5 ราย
ในส่วนของมาสด้า เป็นหนึ่งในผู้ผลิตที่ยื่นเรื่องเพื่อขอรับการส่งเสริม และเป็นรายแรกที่ได้เปิดเผยรายละเอียด โดยจะทำการเปิดตัวรถรุ่นใหม่นี้ในงานมอเตอร์เอ็กซ์โป ปลายปีนี้ และเริ่มขายพร้อมส่งมอบในต้นปีหน้า
"มาสด้า 2 จะเริ่มขายและส่งมอบในปีหน้า ซึ่งประเมินว่าภาพรวมเศรษฐกิจน่าจะกลับมาดีขึ้น เพราะสภาพัฒน์มีการคาดการณ์ตัวเลขจีดีพีว่าจะอยู่ที่ 3.5-4% และเราประเมินว่าตลาดรวมรถยนต์ในปีหน้าจะกลับมาสู่ภาวะปกติสอดคล้องกับเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะดีขึ้น"
ด้านนายยูจิ นากามิเน่ ผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ได้ลงทุนกว่า 1.26 หมื่นล้านบาทสำหรับโครงการอีโคคาร์ เฟส 2 แบ่งออกเป็นการลงทุนในส่วนปรับปรุงโรงงาน 9.7 พันล้านบาท และ 2.9 พันล้านบาทเป็นการลงทุนของชิ้นส่วนหลักตามที่บีโอไอกำหนด โดยจะเริ่มจำหน่ายในประเทศไทยต้นปีหน้า และเริ่มส่งออกไปยังออสเตรเลียในเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งตามแผนงานที่วางไว้มาสด้าจะมีกำลังการผลิตในโครงการอีโคคาร์ทั้งหมด จำนวน 1.58 แสนคัน
สำหรับมาสด้า 2 เป็นอีโคคาร์ เฟส 2 คันแรกและเป็นครั้งแรกที่มาสด้าเข้าร่วมโครงการดังกล่าวโดยจะเสียภาษีสรรพสามิต 17% โดยมีคุณสมบัติ อาทิ เป็นรถยนต์นั่งเครื่องยนต์ดีเซลสกายแอกทีฟคันแรกที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลที่ผลิตขึ้นในประเทศไทยถือเป็นเครื่องยนต์ดีเซลเทคโนโลยีชั้นสูง (Advanced Diesel)นอกจากนั้นแล้วยังเป็นรถยนต์นั่งคันแรกที่มาพร้อมกับคุณสมบัติด้านความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุ (Active Safety)โดยมีระบบห้ามล้อแบบป้องกันการล็อก (ABS) ซึ่งได้ติดตั้งระบบควบคุมเสถียรภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ (ESC)ตามข้อกำหนดทางเทคนิค UN Reg.13H
ขณะที่คุณสมบัติด้านการประหยัดพลังงาน อยู่ที่ 4.3 ลิตร/100 กิโลเมตร หรือ 23 กิโลเมตรต่อลิตร ด้านการปล่อยมลพิษน้อยลง ตามมาตรฐานมลพิษระดับ ยูโร 5 โดยปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 100 กรัมต่อกิโลเมตร และด้านความปลอดภัยระดับสากลที่สูงกว่า โดยเป็นมาตรฐานความปลอดภัยในระดับเดียวกับที่บังคับใช้ในสหภาพยุโรป
"การนำเครื่องยนต์ดีเซลเข้ามาใส่ในมาสด้า 2 นั้น เพราะมาสด้ามีการพัฒนาเทคโนโลยีคลีน ดีเซลออกมา ซึ่งคุณสมบัติของดีเซล มีการเผาไหม้ที่ดีกว่า ราคาถูกกว่า และมาสด้ามั่นใจว่าลูกค้าจะให้การตอบรับที่ดี ยกตัวอย่างที่ญี่ปุ่นที่เพิ่งเปิดตัวในเดือนกันยายนที่ผ่านมา พบว่าลูกค้ามีการจองเข้ามากว่า 1.9 หมื่นคัน ซึ่งในจำนวน 60% เป็นเครื่องยนต์ดีเซล และอีก 40% เป็นเครื่องยนต์เบนซิน ส่วนในประเทศไทยการทำเครื่องยนต์เบนซินเพื่อทำตลาดนั้น ต้องทำการศึกษาและเป็นเรื่องในอนาคต ปัจจุบันมาสด้า 2 ใหม่ มีการผลิตจากฐานการผลิต 3 แห่งได้แก่ ญี่ปุ่น , เม็กซิโก และไทย"
นายนากามิเน่ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในเดือนมกราคมปี 2558 มาสด้าจะเริ่มสายการผลิตระบบเกียร์อัตโนมัติที่โรงงานผลิตเกียร์ สกายแอกทีฟ ไดรฟ์โดยจะผลิตระบบเกียร์อัตโนมัติให้กับทั้งเอเอทีและโรงงานอื่นๆทั่วโลก นอกจากนี้มาสด้าได้เพิ่มกำลังการผลิตรถยนต์นั่งที่โรงงานเอเอทีจาก 5 หมื่นคันต่อปี เป็น 1.2 แสนคันต่อปี และมาสด้ากำลังก่อสร้างโรงงานผลิตเครื่องยนต์แห่งใหม่ในบริเวณเดียวกับโรงงานผลิตระบบเกียร์อัตโนมัติ ซึ่งจะเริ่มสายการผลิตได้ภายในไตรมาสที่ 4 ของปี 2558
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,999 วันที่ 9 - 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=452
10 ค่ายรถเดินหน้า อีโคคาร์ 2 เตรียมคุยโฟล์คโค้งสุดท้ายกลางเดือนนี้ มาสด้า ปาดหน้าเดินเครื่องผลิตมาสด้า 2 ที่โรงงานระยองก่อนใครเพื่อน ขอตีตั๋วเด็ก ขี่ภาษีอีโคคาร์ 17% ยันลงทุนในไทยเต็มสูบ ต้นปี 58 เปิดโรงงานผลิตเกียร์สกายแอกทีฟ ปลายปีเดินเครื่องโรงงานผลิตเครื่องยนต์ใหม่
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงความคืบหน้าในการอนุมัติโครงการอีโคคาร์ เฟส 2 ที่ได้อนุมัติไปแล้ว 6 รายได้แก่ มาสด้า , ฟอร์ด, จีเอ็ม, มิตซูบิชิ, โตโยต้า, นิสสัน และยังเหลืออีก 4 รายที่ยังไม่ได้อนุมัติได้แก่ ฮอนด้า , ซูซูกิ, เอ็มจี และ โฟล์คสวาเกน ล่าสุดจะมีการพูดคุยเพิ่มเติมกับโฟล์คสวาเกนในวันที่ 15 -16 พฤศจิกายนนี้
เรามีผู้ผลิตที่มาจากฝั่งญี่ปุ่น และอเมริกา ส่วนยุโรปยังไม่มี ดังนั้นเราจะเข้าไปพูดคุยกับโฟล์คสวาเกน เอจี เยอรมนี ในกลางเดือนนี้ เพื่อพูดคุยและเจรจาดึงดูดนักลงทุน ซึ่งในแง่ของคำตอบว่าจะเมื่อไรนั้น ก็ต้องดูความพร้อมอีกที เนื่องจากเงื่อนไขรายละเอียดของโครงการไม่ได้กำหนดระยะเวลาเอาไว้ ส่วนอีก 3 ค่ายที่เหลือก็คาดว่าจะไม่มีปัญหา"
นายจักรมณฑ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวทางของภาครัฐมีการวางแผนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไทยอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางของอุตสาหกรรมยานยนต์โลกที่มุ่งพัฒนาไปสู่ "Sustainable Mobility"โดยอาศัยกลไกของโครงสร้างภาษีและการส่งเสริมการลงทุน เริ่มต้นจากการที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์และเปลี่ยนหลักเกณฑ์การให้สิทธิลดหย่อนอัตราภาษีสรรพสามิต จากรถยนต์ที่มีขนาด "ซีซีต่ำ แรงม้าน้อย" มาเป็นรถยนต์ที่มีคุณสมบัติ "สะอาด ประหยัด ปลอดภัย" ต่อมาก็มีการเปิดโครงการรถประหยัดพลังงาน หรืออีโคคาร์ เฟส 2 ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีทั้งจากผู้ผลิตรายเดิมทั้ง 5 ราย และรายใหม่อีก 5 ราย
ในส่วนของมาสด้า เป็นหนึ่งในผู้ผลิตที่ยื่นเรื่องเพื่อขอรับการส่งเสริม และเป็นรายแรกที่ได้เปิดเผยรายละเอียด โดยจะทำการเปิดตัวรถรุ่นใหม่นี้ในงานมอเตอร์เอ็กซ์โป ปลายปีนี้ และเริ่มขายพร้อมส่งมอบในต้นปีหน้า
"มาสด้า 2 จะเริ่มขายและส่งมอบในปีหน้า ซึ่งประเมินว่าภาพรวมเศรษฐกิจน่าจะกลับมาดีขึ้น เพราะสภาพัฒน์มีการคาดการณ์ตัวเลขจีดีพีว่าจะอยู่ที่ 3.5-4% และเราประเมินว่าตลาดรวมรถยนต์ในปีหน้าจะกลับมาสู่ภาวะปกติสอดคล้องกับเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะดีขึ้น"
ด้านนายยูจิ นากามิเน่ ผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ได้ลงทุนกว่า 1.26 หมื่นล้านบาทสำหรับโครงการอีโคคาร์ เฟส 2 แบ่งออกเป็นการลงทุนในส่วนปรับปรุงโรงงาน 9.7 พันล้านบาท และ 2.9 พันล้านบาทเป็นการลงทุนของชิ้นส่วนหลักตามที่บีโอไอกำหนด โดยจะเริ่มจำหน่ายในประเทศไทยต้นปีหน้า และเริ่มส่งออกไปยังออสเตรเลียในเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งตามแผนงานที่วางไว้มาสด้าจะมีกำลังการผลิตในโครงการอีโคคาร์ทั้งหมด จำนวน 1.58 แสนคัน
สำหรับมาสด้า 2 เป็นอีโคคาร์ เฟส 2 คันแรกและเป็นครั้งแรกที่มาสด้าเข้าร่วมโครงการดังกล่าวโดยจะเสียภาษีสรรพสามิต 17% โดยมีคุณสมบัติ อาทิ เป็นรถยนต์นั่งเครื่องยนต์ดีเซลสกายแอกทีฟคันแรกที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลที่ผลิตขึ้นในประเทศไทยถือเป็นเครื่องยนต์ดีเซลเทคโนโลยีชั้นสูง (Advanced Diesel)นอกจากนั้นแล้วยังเป็นรถยนต์นั่งคันแรกที่มาพร้อมกับคุณสมบัติด้านความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุ (Active Safety)โดยมีระบบห้ามล้อแบบป้องกันการล็อก (ABS) ซึ่งได้ติดตั้งระบบควบคุมเสถียรภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ (ESC)ตามข้อกำหนดทางเทคนิค UN Reg.13H
ขณะที่คุณสมบัติด้านการประหยัดพลังงาน อยู่ที่ 4.3 ลิตร/100 กิโลเมตร หรือ 23 กิโลเมตรต่อลิตร ด้านการปล่อยมลพิษน้อยลง ตามมาตรฐานมลพิษระดับ ยูโร 5 โดยปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 100 กรัมต่อกิโลเมตร และด้านความปลอดภัยระดับสากลที่สูงกว่า โดยเป็นมาตรฐานความปลอดภัยในระดับเดียวกับที่บังคับใช้ในสหภาพยุโรป
"การนำเครื่องยนต์ดีเซลเข้ามาใส่ในมาสด้า 2 นั้น เพราะมาสด้ามีการพัฒนาเทคโนโลยีคลีน ดีเซลออกมา ซึ่งคุณสมบัติของดีเซล มีการเผาไหม้ที่ดีกว่า ราคาถูกกว่า และมาสด้ามั่นใจว่าลูกค้าจะให้การตอบรับที่ดี ยกตัวอย่างที่ญี่ปุ่นที่เพิ่งเปิดตัวในเดือนกันยายนที่ผ่านมา พบว่าลูกค้ามีการจองเข้ามากว่า 1.9 หมื่นคัน ซึ่งในจำนวน 60% เป็นเครื่องยนต์ดีเซล และอีก 40% เป็นเครื่องยนต์เบนซิน ส่วนในประเทศไทยการทำเครื่องยนต์เบนซินเพื่อทำตลาดนั้น ต้องทำการศึกษาและเป็นเรื่องในอนาคต ปัจจุบันมาสด้า 2 ใหม่ มีการผลิตจากฐานการผลิต 3 แห่งได้แก่ ญี่ปุ่น , เม็กซิโก และไทย"
นายนากามิเน่ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในเดือนมกราคมปี 2558 มาสด้าจะเริ่มสายการผลิตระบบเกียร์อัตโนมัติที่โรงงานผลิตเกียร์ สกายแอกทีฟ ไดรฟ์โดยจะผลิตระบบเกียร์อัตโนมัติให้กับทั้งเอเอทีและโรงงานอื่นๆทั่วโลก นอกจากนี้มาสด้าได้เพิ่มกำลังการผลิตรถยนต์นั่งที่โรงงานเอเอทีจาก 5 หมื่นคันต่อปี เป็น 1.2 แสนคันต่อปี และมาสด้ากำลังก่อสร้างโรงงานผลิตเครื่องยนต์แห่งใหม่ในบริเวณเดียวกับโรงงานผลิตระบบเกียร์อัตโนมัติ ซึ่งจะเริ่มสายการผลิตได้ภายในไตรมาสที่ 4 ของปี 2558
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,999 วันที่ 9 - 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 125
ส.อ.ท. ยังมองว่า ปีนี้จะผลิตได้ 2 ล้านคัน ปีหน้า 2.3 ล้านคัน
ไม่รู้ว่าจะเป็นไปได้มากแค่ไหน คงต้องลุ้นกัน
http://news.voicetv.co.th/business/134798.html
ส.อ.ท. ประกาศลดเป้าหมายการผลิตรถยนต์ในปีนี้ เหลือ 2 ล้านคัน จากเดิมตั้งเป้าที่ประมาณ 2,100,000 คัน เนื่องจากการบริโภคในประเทศยังชะลอตัว
โดยเดือนตุลาคม 2557 ถ้ามาดูยอดผลิตรถยนต์ มีจำนวน 159,760 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 13.7% ขณะที่ยอดขายในประเทศ มี 55,557 คัน ลดลง 35.73% ส่วนการส่งออก มีจำนวน 104,203 คัน ขยายตัวเพิ่มขึ้น 5.6% ซึ่ง ส.อ.ท. เชื่อว่า ช่วงที่เหลือของปี ทั้งยอดผลิต , ขายในประเทศ และการส่งออก จะไม่เติบโตตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
ขณะที่ช่วง 10 เดือนแรกปีนี้ มียอดผลิตรวม 1,568,300 คัน ลดลง 25.86% โดยเป็นยอดขายในประเทศ 623,791 คัน ลดลง 46.61% ส่วนยอดส่งออก มีจำนวน 944,509 คัน ลดลง 0.27%
อย่างไรก็ตาม ช่วงปลายปีนี้ จะมีงานมหกรรมยานยนต์ หรือ มอร์เตอร์ เอ็กซ์โปร์ 2014 อาจช่วยกระตุ้นยอดขายขึ้นมาได้บ้าง แต่ปิดยอดขายในประเทศทั้งปีนี้ อาจอยู่ที่ 900,000คัน จากยอดขายรวม 10 เดือน มีกว่า 890,000 คัน เช่นเดียวกับ การส่งออก จะไม่ถึง 1 ล้าน 2 แสนคัน ส่วนปีหน้า ตั้งเป้ายอดขายในประเทศจะดีขึ้น มาแตะ 1,000,000 คัน และส่งออก 1,300,000 คันได้
ด้านนายสุพันธ์ุ มงคลสุธี ประธาน ส.อ.ท. คาดว่า จีดีพี ปีนี้ จะไม่เกิน 1.5% ลดลงจากการประมาณการครั้งก่อนที่ 1.7-1.8% เพราะเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า ในขณะที่มาตรการช่วยเหลือชาวนาระยะสั้น วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท อาจยังไม่เห็นผลต่อเศรษฐกิจในปีนี้
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมไทย เดือนตุลาคมนี้ ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 87.5 เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย ปริมาณการผลิตและผลประกอบการโดยรวมเพิ่มขึ้น ทั้งในกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่น , อาหาร , เครื่องใช้ไฟฟ้า และโทรคมนาคม ตลอดจนการค้าชายแดน
แต่ผู้ประกอบการ ยังมีความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ รัฐบาลจึงควรเร่งรัดแผนการลงทุนและการเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจระยะยาว และสร้างความเชื่อมั่นต่อการลงทุนของภาคเอกชน
ไม่รู้ว่าจะเป็นไปได้มากแค่ไหน คงต้องลุ้นกัน
http://news.voicetv.co.th/business/134798.html
ส.อ.ท. ประกาศลดเป้าหมายการผลิตรถยนต์ในปีนี้ เหลือ 2 ล้านคัน จากเดิมตั้งเป้าที่ประมาณ 2,100,000 คัน เนื่องจากการบริโภคในประเทศยังชะลอตัว
โดยเดือนตุลาคม 2557 ถ้ามาดูยอดผลิตรถยนต์ มีจำนวน 159,760 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 13.7% ขณะที่ยอดขายในประเทศ มี 55,557 คัน ลดลง 35.73% ส่วนการส่งออก มีจำนวน 104,203 คัน ขยายตัวเพิ่มขึ้น 5.6% ซึ่ง ส.อ.ท. เชื่อว่า ช่วงที่เหลือของปี ทั้งยอดผลิต , ขายในประเทศ และการส่งออก จะไม่เติบโตตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
ขณะที่ช่วง 10 เดือนแรกปีนี้ มียอดผลิตรวม 1,568,300 คัน ลดลง 25.86% โดยเป็นยอดขายในประเทศ 623,791 คัน ลดลง 46.61% ส่วนยอดส่งออก มีจำนวน 944,509 คัน ลดลง 0.27%
อย่างไรก็ตาม ช่วงปลายปีนี้ จะมีงานมหกรรมยานยนต์ หรือ มอร์เตอร์ เอ็กซ์โปร์ 2014 อาจช่วยกระตุ้นยอดขายขึ้นมาได้บ้าง แต่ปิดยอดขายในประเทศทั้งปีนี้ อาจอยู่ที่ 900,000คัน จากยอดขายรวม 10 เดือน มีกว่า 890,000 คัน เช่นเดียวกับ การส่งออก จะไม่ถึง 1 ล้าน 2 แสนคัน ส่วนปีหน้า ตั้งเป้ายอดขายในประเทศจะดีขึ้น มาแตะ 1,000,000 คัน และส่งออก 1,300,000 คันได้
ด้านนายสุพันธ์ุ มงคลสุธี ประธาน ส.อ.ท. คาดว่า จีดีพี ปีนี้ จะไม่เกิน 1.5% ลดลงจากการประมาณการครั้งก่อนที่ 1.7-1.8% เพราะเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า ในขณะที่มาตรการช่วยเหลือชาวนาระยะสั้น วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท อาจยังไม่เห็นผลต่อเศรษฐกิจในปีนี้
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมไทย เดือนตุลาคมนี้ ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 87.5 เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย ปริมาณการผลิตและผลประกอบการโดยรวมเพิ่มขึ้น ทั้งในกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่น , อาหาร , เครื่องใช้ไฟฟ้า และโทรคมนาคม ตลอดจนการค้าชายแดน
แต่ผู้ประกอบการ ยังมีความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ รัฐบาลจึงควรเร่งรัดแผนการลงทุนและการเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจระยะยาว และสร้างความเชื่อมั่นต่อการลงทุนของภาคเอกชน
-
- Verified User
- โพสต์: 1154
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 127
กราฟและตัวเลขที่ผมมาแชร์เป็นยอดประกอบรถยนต์ทุกชนิดในประเทศไทย (ประกอบเป็นคัน หรือที่เราเรียกว่า CBU) ซึ่งยอดประกอบนี้เป็นการประกอบเพื่อขายในประเทศและส่งออกครับ (คัน) นะครับmunink เขียน:doang เขียน:update production plan
ยอดประกอบปีนี้ไม่ถึง 1.9 ล้านคันครับ
CBU นี่คือนำเข้าทั้งคัน ไม่ใช่ CKD ใช่มั้ยครับ ดูมันเยอะจัง
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 290
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 128
ส.อ.ท. เผย 11 เดือนปีนี้ ส่งออกรถยนต์ 1,038,956 คัน / ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศ พ.ย. ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว 21.8%
สำนักข่าวหุ้นอินไซด์( 24 ธันวาคม 2557 )------ นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยจำนวนการผลิต ยอดขายภายในประเทศ และการส่งออกรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนพฤศจิกายน 2557 ดังต่อไปนี้
การผลิต
จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนพฤศจิกายน 2557 มีทั้งสิ้น 158,038 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 13.55 และลดลงจากเดือนตุลาคม 2557 ร้อยละ 1.08 เนื่องจากยอดขายภายในประเทศยังไม่ฟื้นตัวจากเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัวลง
จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,726,338 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 24.88
รถยนต์นั่ง เดือนพฤศจิกายน 2557 ผลิตได้ 64,869 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 14.27
ยอดผลิตของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 มีจำนวน 679,145 คัน เท่ากับร้อยละ 39.34 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 32.51
รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ในเดือนพฤศจิกายน 2557 ผลิตได้ 61 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 10.91 รวมเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 ผลิตได้ 541 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 22.93
รถยนต์บรรทุก เดือนพฤศจิกายน 2557 ผลิตได้ทั้งหมด 93,108 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 13.06 และตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 ผลิตได้ทั้งสิ้น 1,046,652 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 18.93
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนพฤศจิกายน 2557 ผลิตได้ทั้งหมด 90,221 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 13.12 และตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 ผลิตได้ทั้งสิ้น 1,027,435 คัน เท่ากับร้อยละ 59.52 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 17.22 โดยแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 341,585 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 25.25
• รถกระบะดับเบิลแค็บ 577,719 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 15.03
• รถกระบะ PPV 108,131 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 3.69
รถบรรทุกขนาดต่ำกว่า 5 ตัน - มากกว่า 10 ตัน เดือนพฤศจิกายน 2557 ผลิตได้ 2,887 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 11.09 รวมเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 ผลิตได้ 19,217 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 61.51 เนื่องจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐที่ล่าช้าออกไป
ผลิตเพื่อส่งออก
เดือนพฤศจิกายน 2557 ผลิตได้ 92,620 คัน เท่ากับร้อยละ 58.61 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 0.36 ส่วนเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 ผลิตเพื่อส่งออกได้ 1,037,129 คัน เท่ากับร้อยละ 60.08 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากปี 2556 ระยะเวลาเดียวกัน ร้อยละ 0.27
รถยนต์นั่ง เดือนพฤศจิกายน 2557 ผลิตเพื่อการส่งออก 36,284 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 17.71 ยอดผลิตส่งออกของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 จำนวน 382,091 คัน เท่ากับร้อยละ 56.26 ของยอดผลิตรถยนต์นั่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 6.4
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนพฤศจิกายน 2557 มียอดการผลิตเพื่อการส่งออก 56,336 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 9.32 และตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 655,038 คัน เท่ากับร้อยละ 63.75 ของยอดการผลิตรถกระบะ ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 3.8 โดยแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 116,788 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 11.97
• รถกระบะดับเบิลแค็บ 477,995 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 2.9
• รถกระบะ PPV 60,255 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 7.69
ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ
เดือนพฤศจิกายน 2557 ผลิตได้ 65,418 คัน เท่ากับร้อยละ 41.39 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 27.2 และเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 ผลิตได้ 689,209 คัน เท่ากับ ร้อยละ 39.92 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 45.22
รถยนต์นั่ง เดือนพฤศจิกายน 2557 ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 28,585 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 36.26 ยอดผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 ผลิตได้ 297,054 คัน เท่ากับร้อยละ 43.74 ของยอดการผลิตรถยนต์นั่ง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 แล้ว ลดลงร้อยละ 54.11
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนพฤศจิกายน 2557 มียอดการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 33,885 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 18.78 และตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 ผลิตได้ทั้งสิ้น 372,397 คัน เท่ากับร้อยละ 36.25 ของยอดการผลิตรถกระบะ ซึ่งลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 33.54 ซึ่งแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 224,797 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 30.69
• รถกระบะดับเบิลแค็บ 99,724 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 46.86
• รถกระบะ PPV 47,876 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 0.94
รถจักรยานยนต์
เดือนพฤศจิกายน 2557 ผลิตรถจักรยานยนต์ได้ทั้งสิ้น 201,002 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 9.94 แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 149,526 คัน ลดลงจากปี 2556 ร้อยละ 9.08 และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 51,476 คัน ลดลงจากปี 2556 ร้อยละ 12.34
ยอดการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,236,624 คัน ลดลงจากปี 2556 ร้อยละ 14.49 แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 1,689,521 คัน ลดลงจากปี 2556 ร้อยละ 18.57 และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 547,103 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ร้อยละ 1.15
ยอดขาย
ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนพฤศจิกายน 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 73,068 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว ร้อยละ 21.8 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2557 ร้อยละ 3.13 จากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ยังคงชะลอตัว การเบิกจ่ายงบประมาณยังอยู่ในอัตราที่ต่ำ นักท่องเที่ยวยังคงเดินทางเข้ามาในประเทศเป็นจำนวนน้อยไม่ถึงตามเป้าหมาย อีกทั้ง การลงทุนของภาคเอกชนยังไม่ฟื้นจากการนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบที่ยังไม่เพิ่มขึ้น
ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 121,025 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 12.77 และลดลงจากเดือนตุลาคม 2557 ร้อยละ 10.95
ตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 รถยนต์มียอดขาย 792,328 คัน ลดลงจากปี 2556 ในระยะเวลาเดียวกัน ร้อยละ 34.9 ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 1,581,531 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 15.78
การส่งออก
รถยนต์สำเร็จรูป
เดือนพฤศจิกายน 2557 ส่งออกได้ 106,591 คัน ส่งออกเท่ากับร้อยละ 115.08 ของยอดการผลิตเพื่อส่งออก เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 11.03 โดยมีมูลค่าการส่งออก 47,829.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 6.96
• เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,736.81 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 5.06
• ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 16,264.43 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 2.45
• อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 1,739.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 1.16
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนพฤศจิกายน 2557 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 68,570.51 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 5.62
เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 1,038,956 คัน ส่งออกเท่ากับร้อยละ 100.18 ของยอดการผลิตเพื่อส่งออก โดยส่งออกลดลงจากปี 2556 ในระยะเวลาเดียวกัน ร้อยละ 0.12 มีมูลค่าการส่งออก 487,981.08 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 3.45
• เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 28,756.58 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 12.67
• ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 185,483.70 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 5.02
• อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 20,201.72 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 13.07
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 722,423.09 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 4.44
รถจักรยานยนต์
เดือนพฤศจิกายน 2557 มีจำนวนส่งออก 74,348 คัน (รวม CBU + CKD) ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 15.57 โดยมีมูลค่า 3,581.27 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 24.74
• ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 470.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 2.03
• อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 98.33 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 39.37
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ เดือนพฤศจิกายน 2557 ชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์ 4,150.21 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 21.55
เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 รถจักรยานยนต์ มีจำนวนส่งออก 806,033 คัน (รวม CBU + CKD) ลดลงจากปี 2556 ร้อยละ 4.76 โดยมีมูลค่า 40,870.10 ล้านบาท ลดลงจากปี 2556 ร้อยละ 9.8
• ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 4,866.67 ล้านบาท ลดลงจากปี 2556 ร้อยละ 22.16
• อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 956.33 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ร้อยละ 2.87
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 ชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 46,693.10 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 11.05
เดือนพฤศจิกายน 2557 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 72,720.72 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ร้อยละ 3.58เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 769,116.19 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ร้อยละ 3.34
(สุกัญญา ศิริรวง รายงาน; ธนัสสรณ์ เปี่ยมสมบูรณ์ เรียบเรียง;โทร 02-664-4451-2 อีเมล์: [email protected]/ )
ที่มา: หุ้นอินไซด์
วันที่ : 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557
สำนักข่าวหุ้นอินไซด์( 24 ธันวาคม 2557 )------ นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยจำนวนการผลิต ยอดขายภายในประเทศ และการส่งออกรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนพฤศจิกายน 2557 ดังต่อไปนี้
การผลิต
จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนพฤศจิกายน 2557 มีทั้งสิ้น 158,038 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 13.55 และลดลงจากเดือนตุลาคม 2557 ร้อยละ 1.08 เนื่องจากยอดขายภายในประเทศยังไม่ฟื้นตัวจากเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัวลง
จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,726,338 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 24.88
รถยนต์นั่ง เดือนพฤศจิกายน 2557 ผลิตได้ 64,869 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 14.27
ยอดผลิตของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 มีจำนวน 679,145 คัน เท่ากับร้อยละ 39.34 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 32.51
รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ในเดือนพฤศจิกายน 2557 ผลิตได้ 61 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 10.91 รวมเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 ผลิตได้ 541 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 22.93
รถยนต์บรรทุก เดือนพฤศจิกายน 2557 ผลิตได้ทั้งหมด 93,108 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 13.06 และตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 ผลิตได้ทั้งสิ้น 1,046,652 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 18.93
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนพฤศจิกายน 2557 ผลิตได้ทั้งหมด 90,221 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 13.12 และตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 ผลิตได้ทั้งสิ้น 1,027,435 คัน เท่ากับร้อยละ 59.52 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 17.22 โดยแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 341,585 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 25.25
• รถกระบะดับเบิลแค็บ 577,719 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 15.03
• รถกระบะ PPV 108,131 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 3.69
รถบรรทุกขนาดต่ำกว่า 5 ตัน - มากกว่า 10 ตัน เดือนพฤศจิกายน 2557 ผลิตได้ 2,887 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 11.09 รวมเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 ผลิตได้ 19,217 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 61.51 เนื่องจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐที่ล่าช้าออกไป
ผลิตเพื่อส่งออก
เดือนพฤศจิกายน 2557 ผลิตได้ 92,620 คัน เท่ากับร้อยละ 58.61 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 0.36 ส่วนเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 ผลิตเพื่อส่งออกได้ 1,037,129 คัน เท่ากับร้อยละ 60.08 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากปี 2556 ระยะเวลาเดียวกัน ร้อยละ 0.27
รถยนต์นั่ง เดือนพฤศจิกายน 2557 ผลิตเพื่อการส่งออก 36,284 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 17.71 ยอดผลิตส่งออกของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 จำนวน 382,091 คัน เท่ากับร้อยละ 56.26 ของยอดผลิตรถยนต์นั่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 6.4
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนพฤศจิกายน 2557 มียอดการผลิตเพื่อการส่งออก 56,336 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 9.32 และตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 655,038 คัน เท่ากับร้อยละ 63.75 ของยอดการผลิตรถกระบะ ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 3.8 โดยแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 116,788 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 11.97
• รถกระบะดับเบิลแค็บ 477,995 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 2.9
• รถกระบะ PPV 60,255 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 7.69
ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ
เดือนพฤศจิกายน 2557 ผลิตได้ 65,418 คัน เท่ากับร้อยละ 41.39 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 27.2 และเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 ผลิตได้ 689,209 คัน เท่ากับ ร้อยละ 39.92 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 45.22
รถยนต์นั่ง เดือนพฤศจิกายน 2557 ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 28,585 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 36.26 ยอดผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 ผลิตได้ 297,054 คัน เท่ากับร้อยละ 43.74 ของยอดการผลิตรถยนต์นั่ง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 แล้ว ลดลงร้อยละ 54.11
รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนพฤศจิกายน 2557 มียอดการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 33,885 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 18.78 และตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 ผลิตได้ทั้งสิ้น 372,397 คัน เท่ากับร้อยละ 36.25 ของยอดการผลิตรถกระบะ ซึ่งลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 33.54 ซึ่งแบ่งเป็น
• รถกระบะบรรทุก 224,797 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 30.69
• รถกระบะดับเบิลแค็บ 99,724 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 46.86
• รถกระบะ PPV 47,876 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 0.94
รถจักรยานยนต์
เดือนพฤศจิกายน 2557 ผลิตรถจักรยานยนต์ได้ทั้งสิ้น 201,002 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 9.94 แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 149,526 คัน ลดลงจากปี 2556 ร้อยละ 9.08 และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 51,476 คัน ลดลงจากปี 2556 ร้อยละ 12.34
ยอดการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,236,624 คัน ลดลงจากปี 2556 ร้อยละ 14.49 แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 1,689,521 คัน ลดลงจากปี 2556 ร้อยละ 18.57 และชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 547,103 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ร้อยละ 1.15
ยอดขาย
ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนพฤศจิกายน 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 73,068 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว ร้อยละ 21.8 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2557 ร้อยละ 3.13 จากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ยังคงชะลอตัว การเบิกจ่ายงบประมาณยังอยู่ในอัตราที่ต่ำ นักท่องเที่ยวยังคงเดินทางเข้ามาในประเทศเป็นจำนวนน้อยไม่ถึงตามเป้าหมาย อีกทั้ง การลงทุนของภาคเอกชนยังไม่ฟื้นจากการนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบที่ยังไม่เพิ่มขึ้น
ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 121,025 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 12.77 และลดลงจากเดือนตุลาคม 2557 ร้อยละ 10.95
ตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 รถยนต์มียอดขาย 792,328 คัน ลดลงจากปี 2556 ในระยะเวลาเดียวกัน ร้อยละ 34.9 ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 1,581,531 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 15.78
การส่งออก
รถยนต์สำเร็จรูป
เดือนพฤศจิกายน 2557 ส่งออกได้ 106,591 คัน ส่งออกเท่ากับร้อยละ 115.08 ของยอดการผลิตเพื่อส่งออก เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 11.03 โดยมีมูลค่าการส่งออก 47,829.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 6.96
• เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,736.81 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 5.06
• ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 16,264.43 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 2.45
• อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 1,739.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 1.16
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนพฤศจิกายน 2557 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 68,570.51 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 5.62
เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 1,038,956 คัน ส่งออกเท่ากับร้อยละ 100.18 ของยอดการผลิตเพื่อส่งออก โดยส่งออกลดลงจากปี 2556 ในระยะเวลาเดียวกัน ร้อยละ 0.12 มีมูลค่าการส่งออก 487,981.08 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 3.45
• เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 28,756.58 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 12.67
• ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 185,483.70 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 5.02
• อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 20,201.72 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 13.07
รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 722,423.09 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 4.44
รถจักรยานยนต์
เดือนพฤศจิกายน 2557 มีจำนวนส่งออก 74,348 คัน (รวม CBU + CKD) ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 15.57 โดยมีมูลค่า 3,581.27 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 24.74
• ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 470.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 2.03
• อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 98.33 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 39.37
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ เดือนพฤศจิกายน 2557 ชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์ 4,150.21 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 21.55
เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 รถจักรยานยนต์ มีจำนวนส่งออก 806,033 คัน (รวม CBU + CKD) ลดลงจากปี 2556 ร้อยละ 4.76 โดยมีมูลค่า 40,870.10 ล้านบาท ลดลงจากปี 2556 ร้อยละ 9.8
• ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 4,866.67 ล้านบาท ลดลงจากปี 2556 ร้อยละ 22.16
• อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 956.33 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ร้อยละ 2.87
รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 ชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 46,693.10 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2556 ร้อยละ 11.05
เดือนพฤศจิกายน 2557 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 72,720.72 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ร้อยละ 3.58เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2557 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 769,116.19 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ร้อยละ 3.34
(สุกัญญา ศิริรวง รายงาน; ธนัสสรณ์ เปี่ยมสมบูรณ์ เรียบเรียง;โทร 02-664-4451-2 อีเมล์: [email protected]/ )
ที่มา: หุ้นอินไซด์
วันที่ : 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 129
ยอดขายรถยนต์ที่ลดลงไม่น่าแปลกใจอะไรเท่าไร
เนื่องจากไม่มีมาตราการรถยนต์คันแรกจากทางรัฐบาล ออกมา
สิ่งที่น่าจับตาดูคือ จำนวนประชาชนที่ออกจากโครงการรถยนต์คันแรกต่างหาก
ว่ามีจำนวนเท่าไร ที่ส่งคืน ภาษีสรรพาสามิตรถยนต์คือให้แก่กรมสรรพาสามิตต่างหาก
ตอนนี้ตลาดรถยนต์เป็นตลาดของผู้ซื้ออย่างมากตั้งแต่ต้นปี 2557
ไล่ตั้งแต่ Promotion ดอกเบี้ย 0% ,ค่ายรถยนต์ให้ 2-3 เดือน(ซื้อปีนี้จ่ายปีหน้า หรือ ขับฟรี)
ฟรีประกันภัยชั้น 1 ,เพิ่มระยะเวลาในการดูแลหรือเพิ่มจำนวนระยะทางในการซ่อมบำรุงไม่เสียค่าใช้จ่าย
จากเดิมที่ให้ที่ 100,000 กิโลเมตรหรือ 3 ปี เพิ่มเป็น 300,000 กิโลเมตร หรือ 5 ปี
ส่วนค่ายรถยนต์ก็ลดกำลังการผลิต พอที่พยุงให้กิจการดำเนินการได้ คือเปิดไลน์การผลิตในเกณฑ์ปกติหรือต่ำกว่าปกติ
เพื่อให้มีงานทำเท่านั้น ส่วนรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ได้ผลกระทบจากน้ำท่วมทำให้ไลน์การผลิตไม่เพิ่ม ย้ายไปประเทศเพื่อนบ้าน
โดยที่ค่ายรถยนต์ก็ไม่ได้ทิ้งเมืองไทยไป (เปิดไลน์เก่าไปล่ะกัน)
ถ้าหากดูรถยนต์รุ่นที่เปิดตอน Motor Show ปลายปี 2557 เรียกได้ว่าเปิดตัวรุ่นใหม่น้อยมากๆๆ แสดงว่า ตลาดยังไม่เอื้ออำนวยเท่าไร แถมพวกไมเนอร์ ก็ไม่ค่อยมีเปิดตัวด้วย ซึ่งจริงๆแล้ว การเปลี่ยนแปลงของรุ่นของรถยนต์นั้นเกิดทุก 2-3 ปี ต้องมีการปรับเปลี่ยนเล็กๆในรุ่นนั้นออกมาให้เห็นในตลาด ด้วย และทุก 5-6 ปี ก็ออกมาทดแทนรุ่นเดิม เป็นรุ่นที่ใหม่กว่า มีเทคโนโลยี่ที่ใหม่กว่า เช่น การประหยัดการใช้น้ำมัน เทคโนโลยี่การเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือ ระบบการเบรก เป็นต้น
ดังนั้น ใจเย็นๆๆสำหรับคนที่รอตลาดรถยนต์ฟื้นตัว สัญญาณยังไม่เห็นชัดเจนเท่าไร
(ยอดขายรถยนต์นั้น กลับเป็นยอดของปี 2554 (ยกเว้นเดือน ตุลาคม - ธันวาคมที่มีผลกระทบจากน้ำท่วม) ส่วนเดือน ตุลาคม -ธันวาคม 2557 นั้นยอดขายพอๆๆกับเดือน ตุลาคม-ธันวาคม 2553 เท่านั้น)
เนื่องจากไม่มีมาตราการรถยนต์คันแรกจากทางรัฐบาล ออกมา
สิ่งที่น่าจับตาดูคือ จำนวนประชาชนที่ออกจากโครงการรถยนต์คันแรกต่างหาก
ว่ามีจำนวนเท่าไร ที่ส่งคืน ภาษีสรรพาสามิตรถยนต์คือให้แก่กรมสรรพาสามิตต่างหาก
ตอนนี้ตลาดรถยนต์เป็นตลาดของผู้ซื้ออย่างมากตั้งแต่ต้นปี 2557
ไล่ตั้งแต่ Promotion ดอกเบี้ย 0% ,ค่ายรถยนต์ให้ 2-3 เดือน(ซื้อปีนี้จ่ายปีหน้า หรือ ขับฟรี)
ฟรีประกันภัยชั้น 1 ,เพิ่มระยะเวลาในการดูแลหรือเพิ่มจำนวนระยะทางในการซ่อมบำรุงไม่เสียค่าใช้จ่าย
จากเดิมที่ให้ที่ 100,000 กิโลเมตรหรือ 3 ปี เพิ่มเป็น 300,000 กิโลเมตร หรือ 5 ปี
ส่วนค่ายรถยนต์ก็ลดกำลังการผลิต พอที่พยุงให้กิจการดำเนินการได้ คือเปิดไลน์การผลิตในเกณฑ์ปกติหรือต่ำกว่าปกติ
เพื่อให้มีงานทำเท่านั้น ส่วนรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ได้ผลกระทบจากน้ำท่วมทำให้ไลน์การผลิตไม่เพิ่ม ย้ายไปประเทศเพื่อนบ้าน
โดยที่ค่ายรถยนต์ก็ไม่ได้ทิ้งเมืองไทยไป (เปิดไลน์เก่าไปล่ะกัน)
ถ้าหากดูรถยนต์รุ่นที่เปิดตอน Motor Show ปลายปี 2557 เรียกได้ว่าเปิดตัวรุ่นใหม่น้อยมากๆๆ แสดงว่า ตลาดยังไม่เอื้ออำนวยเท่าไร แถมพวกไมเนอร์ ก็ไม่ค่อยมีเปิดตัวด้วย ซึ่งจริงๆแล้ว การเปลี่ยนแปลงของรุ่นของรถยนต์นั้นเกิดทุก 2-3 ปี ต้องมีการปรับเปลี่ยนเล็กๆในรุ่นนั้นออกมาให้เห็นในตลาด ด้วย และทุก 5-6 ปี ก็ออกมาทดแทนรุ่นเดิม เป็นรุ่นที่ใหม่กว่า มีเทคโนโลยี่ที่ใหม่กว่า เช่น การประหยัดการใช้น้ำมัน เทคโนโลยี่การเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือ ระบบการเบรก เป็นต้น
ดังนั้น ใจเย็นๆๆสำหรับคนที่รอตลาดรถยนต์ฟื้นตัว สัญญาณยังไม่เห็นชัดเจนเท่าไร
(ยอดขายรถยนต์นั้น กลับเป็นยอดของปี 2554 (ยกเว้นเดือน ตุลาคม - ธันวาคมที่มีผลกระทบจากน้ำท่วม) ส่วนเดือน ตุลาคม -ธันวาคม 2557 นั้นยอดขายพอๆๆกับเดือน ตุลาคม-ธันวาคม 2553 เท่านั้น)
-
- Verified User
- โพสต์: 63
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 130
CBU : completely built up คือรถประกอบสำเร็จแล้วนำเข้าทั้งคันdoang เขียน:กราฟและตัวเลขที่ผมมาแชร์เป็นยอดประกอบรถยนต์ทุกชนิดในประเทศไทย (ประกอบเป็นคัน หรือที่เราเรียกว่า CBU) ซึ่งยอดประกอบนี้เป็นการประกอบเพื่อขายในประเทศและส่งออกครับ (คัน) นะครับmunink เขียน:doang เขียน:update production plan
ยอดประกอบปีนี้ไม่ถึง 1.9 ล้านคันครับ
CBU นี่คือนำเข้าทั้งคัน ไม่ใช่ CKD ใช่มั้ยครับ ดูมันเยอะจัง
CKD : completely knocked down คือรถที่ผลิตและประกอบในประเทศ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 131
^
ูCBU ในที่นี้ (จากรูปกราฟข้างบนนะครับ) หมายถึงรถยนต์สำเร็จรูปที่ผลิตเป็นคันในประเทศไทย
ส่วน CKD ในที่นี้หมายถึงชิ้นส่วนรถยนต์ที่ผลิตขึ้นเพื่อส่งไปประกอบที่อื่่น
หมายเหตุ
ในมุมของ Distributo/Dealer รถยนต์เวลาพูดกัน CBU หมายถึงรถประกอบนอกนำเข้า
มาทั้งคัน ส่วน CKD คือรถประกอบในประเทศ
ูCBU ในที่นี้ (จากรูปกราฟข้างบนนะครับ) หมายถึงรถยนต์สำเร็จรูปที่ผลิตเป็นคันในประเทศไทย
ส่วน CKD ในที่นี้หมายถึงชิ้นส่วนรถยนต์ที่ผลิตขึ้นเพื่อส่งไปประกอบที่อื่่น
หมายเหตุ
ในมุมของ Distributo/Dealer รถยนต์เวลาพูดกัน CBU หมายถึงรถประกอบนอกนำเข้า
มาทั้งคัน ส่วน CKD คือรถประกอบในประเทศ
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 132
อุตฯ ยานยนต์ไทยหดตัวกระทบกลุ่มผลิตชิ้นส่วน หลังค่ายรถย้ายฐานไปอินโดฯ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
26 ธันวาคม 2557 14:27 น.
อุตฯ ยานยนต์ไทยหดตัวกระทบกลุ่มผลิตชิ้นส่วน หลังค่ายรถย้ายฐานไปอินโดฯ
อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในประเทศไทยเริ่มวิกฤต หลังบางค่ายรถยนต์เริ่มย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอินโดนีเซีย จากอัตราแรงงานที่ถูกกว่า และไม่มั่นใจในระบบบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลฯ หลังประสบปัญหาน้ำท่วมใหญ่ปี 54 คาดกระทบกลุ่มผลิตชิ้นส่วน และอะไหล่ยนต์
นายสมชาย หาญหิรัญ ประธานคณะกรรมการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า ในปี 2558 กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ จะเปิดสู่การค้าเสรีเต็มรูปแบบ ซึ่งจะทำให้เกิดแรงจูงใจของต่างประเทศในการเข้ามาลงทุนในภูมิภาคนี้เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ไทยเป็นฐานการผลิตหลัก จะมีความน่าสนใจอย่างมาก ทั้งจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ที่เอื้อประโยชน์ต่อการลงทุน แต่ทั้งนี้ สิ่งที่คาดว่าจะเป็นปัญหาหลักยังคงมาจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง และปัญหาด้านเศรษฐกิจ ตลอดจนถึงอัตราค่าจ้างแรงงาน และการบริหารจัดการน้ำที่เคยส่งผลกระทบเมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ทำให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่บางรายย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีเสถียรภาพด้านการลงทุนมากกว่า เช่น ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีอัตราค่าจ้างแรงงานที่ถูกกว่าประเทศไทย และมีเสถียรภาพทางการเมืองที่ชัดเจนกว่ามาก
“การย้ายฐานการลงทุนของผู้ประกอบการค่ายรถยนต์ไปยังต่างประเทศ เช่น ประเทศอินโดนีเซีย อาจจะกระทบต่อเศรษฐกิจ และรายได้ของประเทศในหลายๆ ทาง ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ผลิตชิ้นส่วน หรืออะไหล่ต่างๆ ให้แก่โรงงานผลิตรถยนต์ ทำให้สัดส่วนรายได้ที่เคยมีปรับตัวลดลง คู่ค้าบริษัทรายใหม่ที่มองจะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอาจชะลอการลงทุนออกไปเพื่อเลือกพันธมิตรในการลงทุนที่เหมาะสม”
อย่างไรก็ตาม แนวทางการสร้างนวัตกรรมด้วยการการชักจูงให้ผู้ผลิตยานยนต์ และชิ้นส่วนพัฒนาสินค้าที่มีเทคโนโลยีแห่งอนาคตด้านการประหยัดพลังงาน เช่น รถอีโคคาร์ รถไฮบริด และรถไฟฟ้า EV เป็นทางเลือกให้ผู้ประกอบการและตลาดรถยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่ในประเทศไทยมีความน่าสนใจต่อการเข้ามาลงทุนเพิ่มมากขึ้น
ขณะที่ นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนพฤศจิกายน 2557 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 73,068 คัน ลดลง 21.8% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 29,242 คัน ลดลง 27.7% รถเพื่อการพาณิชย์ 43,826 คัน ลดลง 17.4% รวมทั้งรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนต์นี้ จำนวน 35,644 คัน ลดลง 22.6% โดยในเดือนธันวาคม แนวโน้มทรงตัว ถึงแม้ว่าจากสถิติการขายเดือนธันวาคม จะเป็นเดือนที่มียอดขายสูงสุดของปี ประกอบกับการจัดงานมอเตอร์เอกซ์โป ที่เป็นปัจจัยบวกต่อตลาดรถยนต์ รวมถึงเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และแผนการลงทุนของภาครัฐที่มีความชัดเจน ล้วนมีส่วนสนับสนุนต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจช่วงปลายปี
แต่อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือนพฤศจิกายนปรับตัวลง จากความกังวลต่อความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจโลก การส่งออก และการท่องเที่ยวที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ รวมทั้งกำลังซื้อโดยรวมในประเทศมีสัญญาณชะลอตัว เนื่องจากระดับราคาพืชผลทางการเกษตรยังคงมีแนวโน้มทรงตัวในระดับต่ำ ส่งผลให้แนวโน้มตลาดรถยนต์ในเดือนธันวาคมยังอยู่ในสภาวะทรงตัว
http://www.manager.co.th/iBizchannel/Vi ... 0000148608
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
26 ธันวาคม 2557 14:27 น.
อุตฯ ยานยนต์ไทยหดตัวกระทบกลุ่มผลิตชิ้นส่วน หลังค่ายรถย้ายฐานไปอินโดฯ
อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในประเทศไทยเริ่มวิกฤต หลังบางค่ายรถยนต์เริ่มย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอินโดนีเซีย จากอัตราแรงงานที่ถูกกว่า และไม่มั่นใจในระบบบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลฯ หลังประสบปัญหาน้ำท่วมใหญ่ปี 54 คาดกระทบกลุ่มผลิตชิ้นส่วน และอะไหล่ยนต์
นายสมชาย หาญหิรัญ ประธานคณะกรรมการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า ในปี 2558 กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ จะเปิดสู่การค้าเสรีเต็มรูปแบบ ซึ่งจะทำให้เกิดแรงจูงใจของต่างประเทศในการเข้ามาลงทุนในภูมิภาคนี้เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ไทยเป็นฐานการผลิตหลัก จะมีความน่าสนใจอย่างมาก ทั้งจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ที่เอื้อประโยชน์ต่อการลงทุน แต่ทั้งนี้ สิ่งที่คาดว่าจะเป็นปัญหาหลักยังคงมาจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง และปัญหาด้านเศรษฐกิจ ตลอดจนถึงอัตราค่าจ้างแรงงาน และการบริหารจัดการน้ำที่เคยส่งผลกระทบเมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ทำให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่บางรายย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีเสถียรภาพด้านการลงทุนมากกว่า เช่น ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีอัตราค่าจ้างแรงงานที่ถูกกว่าประเทศไทย และมีเสถียรภาพทางการเมืองที่ชัดเจนกว่ามาก
“การย้ายฐานการลงทุนของผู้ประกอบการค่ายรถยนต์ไปยังต่างประเทศ เช่น ประเทศอินโดนีเซีย อาจจะกระทบต่อเศรษฐกิจ และรายได้ของประเทศในหลายๆ ทาง ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ผลิตชิ้นส่วน หรืออะไหล่ต่างๆ ให้แก่โรงงานผลิตรถยนต์ ทำให้สัดส่วนรายได้ที่เคยมีปรับตัวลดลง คู่ค้าบริษัทรายใหม่ที่มองจะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอาจชะลอการลงทุนออกไปเพื่อเลือกพันธมิตรในการลงทุนที่เหมาะสม”
อย่างไรก็ตาม แนวทางการสร้างนวัตกรรมด้วยการการชักจูงให้ผู้ผลิตยานยนต์ และชิ้นส่วนพัฒนาสินค้าที่มีเทคโนโลยีแห่งอนาคตด้านการประหยัดพลังงาน เช่น รถอีโคคาร์ รถไฮบริด และรถไฟฟ้า EV เป็นทางเลือกให้ผู้ประกอบการและตลาดรถยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่ในประเทศไทยมีความน่าสนใจต่อการเข้ามาลงทุนเพิ่มมากขึ้น
ขณะที่ นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนพฤศจิกายน 2557 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 73,068 คัน ลดลง 21.8% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 29,242 คัน ลดลง 27.7% รถเพื่อการพาณิชย์ 43,826 คัน ลดลง 17.4% รวมทั้งรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนต์นี้ จำนวน 35,644 คัน ลดลง 22.6% โดยในเดือนธันวาคม แนวโน้มทรงตัว ถึงแม้ว่าจากสถิติการขายเดือนธันวาคม จะเป็นเดือนที่มียอดขายสูงสุดของปี ประกอบกับการจัดงานมอเตอร์เอกซ์โป ที่เป็นปัจจัยบวกต่อตลาดรถยนต์ รวมถึงเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และแผนการลงทุนของภาครัฐที่มีความชัดเจน ล้วนมีส่วนสนับสนุนต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจช่วงปลายปี
แต่อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือนพฤศจิกายนปรับตัวลง จากความกังวลต่อความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจโลก การส่งออก และการท่องเที่ยวที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ รวมทั้งกำลังซื้อโดยรวมในประเทศมีสัญญาณชะลอตัว เนื่องจากระดับราคาพืชผลทางการเกษตรยังคงมีแนวโน้มทรงตัวในระดับต่ำ ส่งผลให้แนวโน้มตลาดรถยนต์ในเดือนธันวาคมยังอยู่ในสภาวะทรงตัว
http://www.manager.co.th/iBizchannel/Vi ... 0000148608
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 134
ถ้าหากมองดูจาก 2556 ซึ่งเป็นปีที่ตลาดรถยนต์บูม
ประกอบกับการผ่อนรถยนต์ของคนส่วนใหญ่คือ 3-7 ปี (36 -84 เดือน) แต่ทว่า มันมีแบบ
48 เดือนผ่อนเป็นดอกเบี้ยรถยนต์มือหนึ่ง แล้วที่เกินจากนั้นดอกเบี้ยเป็นดอกเบี้ยรถมือสอง ในส่วนที่เหลือจากการผ่อน 48 เดือนแรก
ถ้ามองในเชิงนี้ปี 2558 คือ ปีที่คนผ่อนรถเป็นปีที่ 3 กันแล้ว สำหรับคนส่วนใหญ่
เงื่อนไขของรถยนต์คันแรกคือ จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกครบ 1 ปี ถึงได้เงินสรรพามิตคืน ขึ้นอยู๋กับยี่ห้อ รุ่นของรถยนต์ และรุ่นย่อยด้วย
ถ้าเป็นแบบนี้ ถ้าผ่านปีนี้และปีหน้า ก็ยังทรงตัวอยู่ในระดับนี้ ต้องรุ่นว่า ค่ายรถยนต์นั้น เพิ่มสายการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่หรือเปล่าในประเทศไทย จุดนี้แหละเป็นจุดที่ชี้วัดเลยว่า ค่ายรถยนต์มองศักยภาพของตลาดรถยนต์นี้อย่างไง
ประกอบกับการผ่อนรถยนต์ของคนส่วนใหญ่คือ 3-7 ปี (36 -84 เดือน) แต่ทว่า มันมีแบบ
48 เดือนผ่อนเป็นดอกเบี้ยรถยนต์มือหนึ่ง แล้วที่เกินจากนั้นดอกเบี้ยเป็นดอกเบี้ยรถมือสอง ในส่วนที่เหลือจากการผ่อน 48 เดือนแรก
ถ้ามองในเชิงนี้ปี 2558 คือ ปีที่คนผ่อนรถเป็นปีที่ 3 กันแล้ว สำหรับคนส่วนใหญ่
เงื่อนไขของรถยนต์คันแรกคือ จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกครบ 1 ปี ถึงได้เงินสรรพามิตคืน ขึ้นอยู๋กับยี่ห้อ รุ่นของรถยนต์ และรุ่นย่อยด้วย
ถ้าเป็นแบบนี้ ถ้าผ่านปีนี้และปีหน้า ก็ยังทรงตัวอยู่ในระดับนี้ ต้องรุ่นว่า ค่ายรถยนต์นั้น เพิ่มสายการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่หรือเปล่าในประเทศไทย จุดนี้แหละเป็นจุดที่ชี้วัดเลยว่า ค่ายรถยนต์มองศักยภาพของตลาดรถยนต์นี้อย่างไง
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 135
มองทิศทางอุตฯยานยนต์ไทย
ภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปีที่ผ่านมา แม้จะไม่เติบโตเพราะได้รับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะมีอะไรบ้าง และทิศทางในปีนี้รวมไปถึงในอาเซียนจะเป็นอย่างไร จะขับเคลื่อนไปทางไหน เพียงใจ แก้วสุวรรณวันนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้มีโอกาสพูดคุยกับ นางเพียงใจ แก้วสุวรรณ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และพ่วงอีกหนึ่งตำแหน่งอย่างประธานสหพันธ์อุตสาหกรรมยานยนต์อาเซียน ที่จะมาฉายภาพให้เห็น
ภาพรวมของอุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2557
ปี 2557 มีการคาดการณ์ว่าจะผลิตรถยนต์ได้ 2.1 ล้านคัน แบ่งออกเป็นผลิตเพื่อส่งออก 1.2 ล้านคัน และผลิตเพื่อป้อนตลาดในประเทศ 9 แสนคัน อย่างไรก็ตามเมื่อจบปีพบว่าตัวเลขการผลิตทั้งหมดทำได้ 1.8 ล้านคัน ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ 10% โดยแบ่งออกเป็นยอดขายในประเทศ 8.8 แสนคัน และส่งออก 1.13 ล้านคัน ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเติบโตก็มาจากภาพรวมของเศรษฐกิจโลก ไม่เฉพาะเศรษฐกิจในไทยและในเอเชีย แต่หมายรวมถึงเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว
นอกจากนั้นแล้วปัจจัยในประเทศคือราคาพืชผลทางการเกษตร อาทิ ข้าว ,ยาง ที่ตกต่ำ ทำให้ผู้บริโภคไม่มีรายได้ และเศรษฐกิจไม่หมุนเวียน ขณะที่การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน มีความระมัดระวังและเข้มงวดในการอนุมัติ ทั้งนี้เพื่อลดหนี้เสีย ส่วนปัจจัยต่อมาคือ การเบิกจ่ายงบจากภาครัฐที่ยังไม่สามารถเบิกจ่ายได้อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามโดยภาพรวมของอุตสาหกรรมยานยนต์ถือว่าตกลงไปเพียงเล็กน้อย
-ประเมินสถานการณ์อุตสาหกรรมยานยนต์ในปี 2558
หลายหน่วยงานมีการประเมินว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ในปีนี้จะดีกว่าปีที่ผ่านมา คาดว่าจะเติบโต 3 – 4 % ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าภาพรวมเศรษฐกิจจะถูกขับเคลื่อนไปทางไหน ซึ่งช่วงที่ผ่านมาทางบีโอไอ มีการออกนโยบายใหม่เพื่อสนับสนุนและช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และได้รับการตอบรับเกินกว่าที่คาดการณ์กันเอาไว้ ตรงจุดนี้เองทำให้ประเมินว่าถ้าธุรกิจเห็นประโยชน์จากการลงทุนก็น่าจะส่งผลในภาพบวกต่ออุตสาหกรรมโดยรวม นอกจากนั้นแล้วการเบิกจ่ายงบรวมไปถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐก็มีผล โดยหากมีเม็ดเงินหมุนเวียนเข้ามาในระบบเร็ว ก็จะมีผลทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์อาจจะโตได้ 5 – 10% หรือคิดเป็นยอดผลิต 2.1 – 2.2 ล้านคัน แบ่งออกเป็นตัวเลขการขายในประเทศ 9 แสน – 1 ล้านคัน และส่งออก 1.2 ล้านคัน
สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ในไทย มีการลงทุนสูง และมีมูลค่าการลงทุนแต่ละครั้งอยู่ในหลักพันล้านบาทขึ้นไปจนถึงหลักหมื่นล้านบาท มีการวางแผนงานระยะยาวมากกว่า 5 ปี และมีการขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องรวมไปถึงการมีโครงการใหม่ๆออกมา โดยเฉพาะอีโคคาร์ที่จะมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
-ปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ในปี 59
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมได้มีการทำฐานข้อมูลขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ระบบใหม่ อีกทั้งยังต้องการยกระดับการผลิตรถยนต์ในไทยให้ดีขึ้น โดยรถทุกคันที่ออกจากโรงงานผลิตตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 จะมีป้ายติดรถหรือฉลากติดรถยนต์ทุกคัน ซึ่งป้ายดังกล่าวจะบอกข้อมูลว่ารถคันนี้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่าไร,กินน้ำมันในปริมาณแค่ไหน ,สเปกรถมีอะไรบ้าง ทั้งนี้เพื่อเป็นการแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับข้อมูลรถแต่ละคัน
ขณะที่ความพร้อมของผู้ผลิตรถยนต์นั้นแต่ละค่ายได้มีการเตรียมการเพื่อให้ได้ตามเกณฑ์ที่ได้ระบุไว้ โดยรถปิกอัพจะได้รับผลกระทบ เพราะค่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงและน้ำหนักรถที่มากกว่ารถยนต์นั่ง ทำให้การจัดเก็บภาษีจะสูงกว่า อย่างไรก็ตามการปรับเปลี่ยนโครงสร้างในครั้งนี้ผู้ที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดก็คือผู้บริโภคนั่นเอง
ความคืบหน้าของโครงการอีโคคาร์ 2
สำหรับอีโคคาร์ มีสัดส่วนยอดขายคิดเป็น 13% ของตลาดรวมรถยนต์ และรัฐบาลก็มีการเปิดโครงการอีโคคาร์ 2 โดยหลายค่ายทั้งค่ายเดิมและค่ายใหม่ๆให้ความสนใจเข้าร่วมลงทุน ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจในไทยมีการขับเคลื่อน โดยอีโคคาร์ 2 จะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นก็ต้องดูจังหวะและโอกาสรวมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่ออกมาว่าจะตอบโจทย์หรือไม่อย่างไร ส่วนค่ายที่เปิดตัวก่อนอย่างมาสด้า 2 ถือว่ามีความพร้อมด้านโปรดักต์ที่ตรงกับเงื่อนไขที่รัฐระบุไว้ ทำให้ช่วยลดขั้นตอนต่างๆ อย่างไรก็ตามต้องดูผลการตอบรับว่าผู้บริโภคคนไทยจะชื่นชอบเครื่องยนต์ดีเซลหรือไม่ เพราะถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ และราคาอาจจะสูงเมื่อเทียบกับอีโคคาร์รุ่นแรกๆ
-โปรดักต์แชมเปี้ยนตัวที่ 3
ความคืบหน้าของโปรดักต์แชมเปี้ยนตัวที่ 3 ตอนนี้คงต้องรอให้โครงการอีโคคาร์ 2 เสร็จสิ้นก่อน ขณะที่รถไฟฟ้า ที่เคยนำเสนอนั้น ในส่วนของนิสสันมีความพร้อมเพราะมีการเปิดขายแบบแมสในตลาดโลก ซึ่งการตอบรับถือว่าพอสมควร แต่ไม่ได้บูมมากเท่าไร เพราะราคาของรถไฟฟ้ามีต้นทุนสูง เนื่องจากราคาแบตเตอรี่ไฟฟ้าค่อนข้างแพง นอกจากนั้นแล้วประเทศต่างๆจะต้องมีการสนับสนุน ยกตัวอย่างในญี่ปุ่น มีการให้เงินกับลูกค้าที่ซื้อรถไฟฟ้า 7 – 8แสนเยนต่อคน อีกทั้งยังมีการติดตั้งควิก ชาร์จเจอร์ ที่พร้อมให้บริการ
โดยผู้ผลิตรถยนต์ได้เคยนำเสนอรมต.อุตสาหกรรม ซึ่งก็เห็นด้วยกับรถไฟฟ้า แต่ก็ต้องมีการพูดคุยร่วมกันจากหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรม, คลัง และพลังงานที่จะต้องทำงานและวางแผนว่าจะสนับสนุนอย่างไรให้สอดคล้องกัน ซึ่งประเมินว่าความเป็นไปได้ของรถไฟฟ้าในไทยน่าจะมีความเคลื่อนไหวและได้เห็นภายใน 5 ปีนี้
ทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ในอาเซียน
JAMA หรือ สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ญี่ปุ่น พยายามที่จะเข้ามาช่วยกำหนดมาตรฐานยานยนต์รวมไปถึงการเป็นตัวกลางในการช่วยเหลือประเทศต่างๆในอาเซียน ทั้งนี้เพราะแต่ละประเทศมีความหลากหลายและใช้มาตรฐานยานยนต์ที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างไทยใช้มาตรฐานยูโร 4 แต่ประเทศอื่นๆใช้ยูโร 2 ซึ่ง JAMA จะเซตเงื่อนไขขึ้นมาเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและประเทศอื่นๆในอาเซียนเริ่มมีการปรับ ยกตัวอย่างมาเลเซียที่รัฐบาลให้การสนับสนุนเป็นอย่างดีและรวดเร็ว ส่วนอินโดนีเซียหลังจากเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ แต่การวางนโยบายเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ถือว่ามีความชัดเจนกว่า ซึ่งทุกประเทศในตอนนี้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับกับการเปิดเออีซี ขณะที่ไทยถือว่ายังช้าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ตรงจุดนี้เองก็ต้องฝากรัฐบาลที่สนับสนุนนโยบายอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศด้วยเพื่อจะได้มีความชัดเจนและพร้อมปฏิบัติ
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,026 วันที่ 12 - 14 กุมถาพันธ์ พ.ศ. 2558
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=452
ภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปีที่ผ่านมา แม้จะไม่เติบโตเพราะได้รับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะมีอะไรบ้าง และทิศทางในปีนี้รวมไปถึงในอาเซียนจะเป็นอย่างไร จะขับเคลื่อนไปทางไหน เพียงใจ แก้วสุวรรณวันนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้มีโอกาสพูดคุยกับ นางเพียงใจ แก้วสุวรรณ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และพ่วงอีกหนึ่งตำแหน่งอย่างประธานสหพันธ์อุตสาหกรรมยานยนต์อาเซียน ที่จะมาฉายภาพให้เห็น
ภาพรวมของอุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2557
ปี 2557 มีการคาดการณ์ว่าจะผลิตรถยนต์ได้ 2.1 ล้านคัน แบ่งออกเป็นผลิตเพื่อส่งออก 1.2 ล้านคัน และผลิตเพื่อป้อนตลาดในประเทศ 9 แสนคัน อย่างไรก็ตามเมื่อจบปีพบว่าตัวเลขการผลิตทั้งหมดทำได้ 1.8 ล้านคัน ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ 10% โดยแบ่งออกเป็นยอดขายในประเทศ 8.8 แสนคัน และส่งออก 1.13 ล้านคัน ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเติบโตก็มาจากภาพรวมของเศรษฐกิจโลก ไม่เฉพาะเศรษฐกิจในไทยและในเอเชีย แต่หมายรวมถึงเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว
นอกจากนั้นแล้วปัจจัยในประเทศคือราคาพืชผลทางการเกษตร อาทิ ข้าว ,ยาง ที่ตกต่ำ ทำให้ผู้บริโภคไม่มีรายได้ และเศรษฐกิจไม่หมุนเวียน ขณะที่การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน มีความระมัดระวังและเข้มงวดในการอนุมัติ ทั้งนี้เพื่อลดหนี้เสีย ส่วนปัจจัยต่อมาคือ การเบิกจ่ายงบจากภาครัฐที่ยังไม่สามารถเบิกจ่ายได้อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามโดยภาพรวมของอุตสาหกรรมยานยนต์ถือว่าตกลงไปเพียงเล็กน้อย
-ประเมินสถานการณ์อุตสาหกรรมยานยนต์ในปี 2558
หลายหน่วยงานมีการประเมินว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ในปีนี้จะดีกว่าปีที่ผ่านมา คาดว่าจะเติบโต 3 – 4 % ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าภาพรวมเศรษฐกิจจะถูกขับเคลื่อนไปทางไหน ซึ่งช่วงที่ผ่านมาทางบีโอไอ มีการออกนโยบายใหม่เพื่อสนับสนุนและช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และได้รับการตอบรับเกินกว่าที่คาดการณ์กันเอาไว้ ตรงจุดนี้เองทำให้ประเมินว่าถ้าธุรกิจเห็นประโยชน์จากการลงทุนก็น่าจะส่งผลในภาพบวกต่ออุตสาหกรรมโดยรวม นอกจากนั้นแล้วการเบิกจ่ายงบรวมไปถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐก็มีผล โดยหากมีเม็ดเงินหมุนเวียนเข้ามาในระบบเร็ว ก็จะมีผลทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์อาจจะโตได้ 5 – 10% หรือคิดเป็นยอดผลิต 2.1 – 2.2 ล้านคัน แบ่งออกเป็นตัวเลขการขายในประเทศ 9 แสน – 1 ล้านคัน และส่งออก 1.2 ล้านคัน
สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ในไทย มีการลงทุนสูง และมีมูลค่าการลงทุนแต่ละครั้งอยู่ในหลักพันล้านบาทขึ้นไปจนถึงหลักหมื่นล้านบาท มีการวางแผนงานระยะยาวมากกว่า 5 ปี และมีการขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องรวมไปถึงการมีโครงการใหม่ๆออกมา โดยเฉพาะอีโคคาร์ที่จะมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
-ปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ในปี 59
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมได้มีการทำฐานข้อมูลขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ระบบใหม่ อีกทั้งยังต้องการยกระดับการผลิตรถยนต์ในไทยให้ดีขึ้น โดยรถทุกคันที่ออกจากโรงงานผลิตตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 จะมีป้ายติดรถหรือฉลากติดรถยนต์ทุกคัน ซึ่งป้ายดังกล่าวจะบอกข้อมูลว่ารถคันนี้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่าไร,กินน้ำมันในปริมาณแค่ไหน ,สเปกรถมีอะไรบ้าง ทั้งนี้เพื่อเป็นการแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับข้อมูลรถแต่ละคัน
ขณะที่ความพร้อมของผู้ผลิตรถยนต์นั้นแต่ละค่ายได้มีการเตรียมการเพื่อให้ได้ตามเกณฑ์ที่ได้ระบุไว้ โดยรถปิกอัพจะได้รับผลกระทบ เพราะค่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงและน้ำหนักรถที่มากกว่ารถยนต์นั่ง ทำให้การจัดเก็บภาษีจะสูงกว่า อย่างไรก็ตามการปรับเปลี่ยนโครงสร้างในครั้งนี้ผู้ที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดก็คือผู้บริโภคนั่นเอง
ความคืบหน้าของโครงการอีโคคาร์ 2
สำหรับอีโคคาร์ มีสัดส่วนยอดขายคิดเป็น 13% ของตลาดรวมรถยนต์ และรัฐบาลก็มีการเปิดโครงการอีโคคาร์ 2 โดยหลายค่ายทั้งค่ายเดิมและค่ายใหม่ๆให้ความสนใจเข้าร่วมลงทุน ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจในไทยมีการขับเคลื่อน โดยอีโคคาร์ 2 จะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นก็ต้องดูจังหวะและโอกาสรวมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่ออกมาว่าจะตอบโจทย์หรือไม่อย่างไร ส่วนค่ายที่เปิดตัวก่อนอย่างมาสด้า 2 ถือว่ามีความพร้อมด้านโปรดักต์ที่ตรงกับเงื่อนไขที่รัฐระบุไว้ ทำให้ช่วยลดขั้นตอนต่างๆ อย่างไรก็ตามต้องดูผลการตอบรับว่าผู้บริโภคคนไทยจะชื่นชอบเครื่องยนต์ดีเซลหรือไม่ เพราะถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ และราคาอาจจะสูงเมื่อเทียบกับอีโคคาร์รุ่นแรกๆ
-โปรดักต์แชมเปี้ยนตัวที่ 3
ความคืบหน้าของโปรดักต์แชมเปี้ยนตัวที่ 3 ตอนนี้คงต้องรอให้โครงการอีโคคาร์ 2 เสร็จสิ้นก่อน ขณะที่รถไฟฟ้า ที่เคยนำเสนอนั้น ในส่วนของนิสสันมีความพร้อมเพราะมีการเปิดขายแบบแมสในตลาดโลก ซึ่งการตอบรับถือว่าพอสมควร แต่ไม่ได้บูมมากเท่าไร เพราะราคาของรถไฟฟ้ามีต้นทุนสูง เนื่องจากราคาแบตเตอรี่ไฟฟ้าค่อนข้างแพง นอกจากนั้นแล้วประเทศต่างๆจะต้องมีการสนับสนุน ยกตัวอย่างในญี่ปุ่น มีการให้เงินกับลูกค้าที่ซื้อรถไฟฟ้า 7 – 8แสนเยนต่อคน อีกทั้งยังมีการติดตั้งควิก ชาร์จเจอร์ ที่พร้อมให้บริการ
โดยผู้ผลิตรถยนต์ได้เคยนำเสนอรมต.อุตสาหกรรม ซึ่งก็เห็นด้วยกับรถไฟฟ้า แต่ก็ต้องมีการพูดคุยร่วมกันจากหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรม, คลัง และพลังงานที่จะต้องทำงานและวางแผนว่าจะสนับสนุนอย่างไรให้สอดคล้องกัน ซึ่งประเมินว่าความเป็นไปได้ของรถไฟฟ้าในไทยน่าจะมีความเคลื่อนไหวและได้เห็นภายใน 5 ปีนี้
ทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ในอาเซียน
JAMA หรือ สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ญี่ปุ่น พยายามที่จะเข้ามาช่วยกำหนดมาตรฐานยานยนต์รวมไปถึงการเป็นตัวกลางในการช่วยเหลือประเทศต่างๆในอาเซียน ทั้งนี้เพราะแต่ละประเทศมีความหลากหลายและใช้มาตรฐานยานยนต์ที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างไทยใช้มาตรฐานยูโร 4 แต่ประเทศอื่นๆใช้ยูโร 2 ซึ่ง JAMA จะเซตเงื่อนไขขึ้นมาเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและประเทศอื่นๆในอาเซียนเริ่มมีการปรับ ยกตัวอย่างมาเลเซียที่รัฐบาลให้การสนับสนุนเป็นอย่างดีและรวดเร็ว ส่วนอินโดนีเซียหลังจากเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ แต่การวางนโยบายเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ถือว่ามีความชัดเจนกว่า ซึ่งทุกประเทศในตอนนี้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับกับการเปิดเออีซี ขณะที่ไทยถือว่ายังช้าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ตรงจุดนี้เองก็ต้องฝากรัฐบาลที่สนับสนุนนโยบายอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศด้วยเพื่อจะได้มีความชัดเจนและพร้อมปฏิบัติ
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,026 วันที่ 12 - 14 กุมถาพันธ์ พ.ศ. 2558
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=452
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 136
การผลิตรถยนต์ในเดือนม.ค.2558 ที่ผ่านมามียอดการผลิตรถยนต์รวม 166,260 คัน + 2.22%
โดยจำนวนนี้เป็นการส่งออก 92,440 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนม.ค.2557 + 14.09%
สำหรับยอดขายภายในประเทศนั้นมีจำนวน 59,669 คัน -12.9%
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/636486
โดยจำนวนนี้เป็นการส่งออก 92,440 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนม.ค.2557 + 14.09%
สำหรับยอดขายภายในประเทศนั้นมีจำนวน 59,669 คัน -12.9%
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/636486
-
- Verified User
- โพสต์: 1154
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 138
จีเอ็มถอดใจยุติอีโคคาร์เฟส2 หั่นโปรดักต์เหลือ 4 ตัว เลิกโซนิก-สปิน รีดไขมัดเปิดสมัครใจลาออก
updated: 27 ก.พ. 2558 เวลา 19:26:52 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
นายมาร์คอส เพอร์ตี กรรมการผู้จัดการ จีเอ็ม ประเทศไทย และเชฟโรเลต เซลส์ประเทศไทย เปิดเผยว่า จีเอ็มได้ปรับโครงสร้างผลิตภัณฑ์ให้เหลือเพียง รถกระบะ เชฟโรเลต โคโลราโด, เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ ,เอสยูวี เชฟโรเลต แคปติวา และรถยนต์นั่ง เชฟโรเลต ครูซโดยรถยนต์นั่งเชฟโรเลต โซนิคและรถอเนกประสงค์เอ็มพีวี เชฟโรเลต สปินจะหยุดจัดจำหน่ายเมื่อสิ้นสุดแผนการตลาดของรุ่นปีล่าสุดและเพื่อเน้นย้ำถึงแผนธุรกิจใหม่ที่มุ่งเน้นในตลาดรถกระบะและรถเอสยูวี จีเอ็ม ประเทศไทยได้แจ้งต่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) แล้วว่าจะถอนตัวจากการเข้าร่วมโครงการอีโคคาร์ ระยะที่ 2
นอกจากนี้ บริษัทยังมีโครงการพนักงานลาออกโดยสมัครใจ (Voluntary Separation Program) โดยมีข้อกำหนดและเงื่อนไขที่พึงพอใจสำหรับพนักงานในปัจจุบันที่ต้องการจะเข้าร่วมโครงการ ทั้งพนักงานในส่วนสำนักงานและระดับปฏิบัติการ (salaried and hourly)
นายสเตฟาน จาค็อบบี รองประธานบริหาร จีเอ็ม และประธานกรรมการ จีเอ็ม อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า เจนเนอรัล มอเตอร์สประกาศเมื่อเร็วนี้ว่า จะยุติการผลิตรถที่ศูนย์การผลิตเบกาซีใกล้กับกรุงจาการ์ตาภายในสิ้นเดือนมิถุนายน 2558 และปรับเปลี่ยนองค์กรไปสู่การเป็นบริษัทจัดจำหน่ายในประเทศ (national sales company) จีเอ็ม อินโดนีเซียจะยังคงดำเนินธุรกิจในอินโดนีเซียเพื่อจัดจำหน่ายรถเชฟโรเลต อาทิ ออร์แลนโด แคปติวา โคโลราโดและเทรลเบลเซอร์ให้ลูกค้าต่อไปผ่านเครือข่ายผู้จัดจำหน่าย
updated: 27 ก.พ. 2558 เวลา 19:26:52 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
นายมาร์คอส เพอร์ตี กรรมการผู้จัดการ จีเอ็ม ประเทศไทย และเชฟโรเลต เซลส์ประเทศไทย เปิดเผยว่า จีเอ็มได้ปรับโครงสร้างผลิตภัณฑ์ให้เหลือเพียง รถกระบะ เชฟโรเลต โคโลราโด, เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ ,เอสยูวี เชฟโรเลต แคปติวา และรถยนต์นั่ง เชฟโรเลต ครูซโดยรถยนต์นั่งเชฟโรเลต โซนิคและรถอเนกประสงค์เอ็มพีวี เชฟโรเลต สปินจะหยุดจัดจำหน่ายเมื่อสิ้นสุดแผนการตลาดของรุ่นปีล่าสุดและเพื่อเน้นย้ำถึงแผนธุรกิจใหม่ที่มุ่งเน้นในตลาดรถกระบะและรถเอสยูวี จีเอ็ม ประเทศไทยได้แจ้งต่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) แล้วว่าจะถอนตัวจากการเข้าร่วมโครงการอีโคคาร์ ระยะที่ 2
นอกจากนี้ บริษัทยังมีโครงการพนักงานลาออกโดยสมัครใจ (Voluntary Separation Program) โดยมีข้อกำหนดและเงื่อนไขที่พึงพอใจสำหรับพนักงานในปัจจุบันที่ต้องการจะเข้าร่วมโครงการ ทั้งพนักงานในส่วนสำนักงานและระดับปฏิบัติการ (salaried and hourly)
นายสเตฟาน จาค็อบบี รองประธานบริหาร จีเอ็ม และประธานกรรมการ จีเอ็ม อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า เจนเนอรัล มอเตอร์สประกาศเมื่อเร็วนี้ว่า จะยุติการผลิตรถที่ศูนย์การผลิตเบกาซีใกล้กับกรุงจาการ์ตาภายในสิ้นเดือนมิถุนายน 2558 และปรับเปลี่ยนองค์กรไปสู่การเป็นบริษัทจัดจำหน่ายในประเทศ (national sales company) จีเอ็ม อินโดนีเซียจะยังคงดำเนินธุรกิจในอินโดนีเซียเพื่อจัดจำหน่ายรถเชฟโรเลต อาทิ ออร์แลนโด แคปติวา โคโลราโดและเทรลเบลเซอร์ให้ลูกค้าต่อไปผ่านเครือข่ายผู้จัดจำหน่าย
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4366
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 139
โฟล์คทุ่ม3หมื่นล้านบุกไทย บีโอไอไฟเขียว "เบอร์1โลก" ลุยอีโคคาร์2
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1427116704
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1427116704
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 140
http://www.manager.co.th/IndoChina/View ... 0000039152
ซูซูกิวางแผนสร้างโรงงานผลิตรถยนต์แห่งที่ 2 ในพม่า
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
4 เมษายน 2558 19:04 น. (แก้ไขล่าสุด 5 เมษายน 2558 10:45 น.)
ซูซูกิวางแผนสร้างโรงงานผลิตรถยนต์แห่งที่ 2 ในพม่า
ซูซูกิ ผู้ผลิตรถยนต์จากญี่ปุ่นวางแผนจะลงทุนหลายสิบล้านดอลลาร์สร้างโรงงานแห่งที่ 2 ในพม่า ตั้งเป้าเพิ่มยอดผลิตมากกว่าเดิม 5 เท่า.--Agence France-Presse/Gabriel Bouys.
เอเอฟพี - บริษัทผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น “ซูซูกิ” วางแผนที่จะลงทุนหลายสิบล้านดอลลาร์สร้างโรงงานแห่งที่ 2 ในพม่า ในความพยายามที่จะบุกตลาดที่กำลังเติบโตแห่งนี้ให้ได้อย่างรวดเร็ว
ผู้ผลิตรถยนต์ขนาดเล็กรายนี้มีที่ดินขนาด 125 ไร่ ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา ของนครย่างกุ้งสำหรับก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ ตามการเปิดเผยของหนังสือพิมพ์นิกเกอิ และรายงานระบุว่า การก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่คาดว่าจะเริ่มขึ้นในช่วงปลายปี และเข้าสู่ระบบการผลิตในปี 2560
ซูซูกิ คาดว่าจะลงทุนหลายพันล้านเยน และจ้างพนักงานประมาณ 300 คน ด้วยเป้าหมายที่จะเพิ่มผลผลิตของบริษัทในพม่าให้มากกว่า 5 เท่า
สำหรับโรงงานแห่งใหม่นั้น บริษัทซูซูกิวางแผนที่จะผลิตรถยนต์ 10,000 คันต่อปี ที่รวมทั้งรถยนต์รุ่น Ertiga รถยนต์ขนาด 7 ที่นั่ง โดยการประกอบจากชิ้นส่วนนำเข้า
ซูซูกิ เริ่มต้นผลิตรถยนต์ในพม่าตั้งแต่ปี 2542 ผ่านการร่วมทุนกับท้องถิ่น แต่ถอนตัวออกในปี 2553 ส่วนหนึ่งเนื่องจากการปกครองโดยรัฐบาลทหาร บริษัทซูซูกิ กลับเข้ามาดำเนินกิจการในพม่าอีกครั้งในปี 2556 หลังกระบวนการประชาธิปไตยเริ่มขึ้น และในเวลานี้ได้ผลิตรถบรรทุกขนาดเล็ก Carry ออกมา 150 คันต่อเดือน ที่โรงงานรถยนต์เพียงแห่งเดียวของพม่า
บริษัทต่างชาติต่างตบเท้าเข้ามาดำเนินกิจการในพม่านับตั้งแต่รัฐบาลกึ่งพลเรือนเข้าบริหารประเทศในปี 2554 ด้วยความกระหายที่จะใช้โอกาสที่พม่าเปิดประเทศให้ได้มากที่สุด และพม่าเองต้องการการลงทุนเพื่อผลักดันการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
ต่างไปจากชาติตะวันตก ญี่ปุ่นยังคงรักษาความสัมพันธ์ทางการค้า และการเจรจากับพม่าระหว่างการปกครองของรัฐบาลทหาร โดยระบุว่า การใช้ไม้แข็งจะยิ่งผลักให้พม่าใกล้ชิดจีนมากขึ้น
นิสสัน เป็นอีกหนึ่งในหลายบริษัทของญี่ปุ่นที่เข้าลงทุนในพม่า แม้ว่าสายการบินออลนิปปอน (ANA) ได้ยกเลิกแผนของบริษัทที่จะซื้อหุ้น 49% ในสายการบินพม่าเมื่อปีก่อน ด้วยเหตุผลเรื่องการแข่งขันรุนแรงในประเทศ.
ซูซูกิวางแผนสร้างโรงงานผลิตรถยนต์แห่งที่ 2 ในพม่า
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
4 เมษายน 2558 19:04 น. (แก้ไขล่าสุด 5 เมษายน 2558 10:45 น.)
ซูซูกิวางแผนสร้างโรงงานผลิตรถยนต์แห่งที่ 2 ในพม่า
ซูซูกิ ผู้ผลิตรถยนต์จากญี่ปุ่นวางแผนจะลงทุนหลายสิบล้านดอลลาร์สร้างโรงงานแห่งที่ 2 ในพม่า ตั้งเป้าเพิ่มยอดผลิตมากกว่าเดิม 5 เท่า.--Agence France-Presse/Gabriel Bouys.
เอเอฟพี - บริษัทผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น “ซูซูกิ” วางแผนที่จะลงทุนหลายสิบล้านดอลลาร์สร้างโรงงานแห่งที่ 2 ในพม่า ในความพยายามที่จะบุกตลาดที่กำลังเติบโตแห่งนี้ให้ได้อย่างรวดเร็ว
ผู้ผลิตรถยนต์ขนาดเล็กรายนี้มีที่ดินขนาด 125 ไร่ ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา ของนครย่างกุ้งสำหรับก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ ตามการเปิดเผยของหนังสือพิมพ์นิกเกอิ และรายงานระบุว่า การก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่คาดว่าจะเริ่มขึ้นในช่วงปลายปี และเข้าสู่ระบบการผลิตในปี 2560
ซูซูกิ คาดว่าจะลงทุนหลายพันล้านเยน และจ้างพนักงานประมาณ 300 คน ด้วยเป้าหมายที่จะเพิ่มผลผลิตของบริษัทในพม่าให้มากกว่า 5 เท่า
สำหรับโรงงานแห่งใหม่นั้น บริษัทซูซูกิวางแผนที่จะผลิตรถยนต์ 10,000 คันต่อปี ที่รวมทั้งรถยนต์รุ่น Ertiga รถยนต์ขนาด 7 ที่นั่ง โดยการประกอบจากชิ้นส่วนนำเข้า
ซูซูกิ เริ่มต้นผลิตรถยนต์ในพม่าตั้งแต่ปี 2542 ผ่านการร่วมทุนกับท้องถิ่น แต่ถอนตัวออกในปี 2553 ส่วนหนึ่งเนื่องจากการปกครองโดยรัฐบาลทหาร บริษัทซูซูกิ กลับเข้ามาดำเนินกิจการในพม่าอีกครั้งในปี 2556 หลังกระบวนการประชาธิปไตยเริ่มขึ้น และในเวลานี้ได้ผลิตรถบรรทุกขนาดเล็ก Carry ออกมา 150 คันต่อเดือน ที่โรงงานรถยนต์เพียงแห่งเดียวของพม่า
บริษัทต่างชาติต่างตบเท้าเข้ามาดำเนินกิจการในพม่านับตั้งแต่รัฐบาลกึ่งพลเรือนเข้าบริหารประเทศในปี 2554 ด้วยความกระหายที่จะใช้โอกาสที่พม่าเปิดประเทศให้ได้มากที่สุด และพม่าเองต้องการการลงทุนเพื่อผลักดันการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
ต่างไปจากชาติตะวันตก ญี่ปุ่นยังคงรักษาความสัมพันธ์ทางการค้า และการเจรจากับพม่าระหว่างการปกครองของรัฐบาลทหาร โดยระบุว่า การใช้ไม้แข็งจะยิ่งผลักให้พม่าใกล้ชิดจีนมากขึ้น
นิสสัน เป็นอีกหนึ่งในหลายบริษัทของญี่ปุ่นที่เข้าลงทุนในพม่า แม้ว่าสายการบินออลนิปปอน (ANA) ได้ยกเลิกแผนของบริษัทที่จะซื้อหุ้น 49% ในสายการบินพม่าเมื่อปีก่อน ด้วยเหตุผลเรื่องการแข่งขันรุนแรงในประเทศ.
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 141
สินเชื่อ-ราคารถมือสองกระเตื้อง สมาคมรถเก่าฟันธงคืนภาวะสมดุล-ปีนี้พร้อมโต
16 เม.ย 2558 เวลา 14:03:53 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
16 เม.ย 2558 เวลา 14:03:53 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1429167891"ส.รถใช้แล้ว" ชี้ตลาดรถมือสองเริ่มนิ่ง หลังระดับราคาปรับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ช่องว่างราคายังต่างรถใหม่เยอะ-ไฟแนนซ์เริ่มคลายความเข้มงวด เป็นโอกาสของผู้ซื้อ เผยปี57 ตลาดหดตัว 40% ทำเต็นท์รถหายจากตลาด 20% เชื่อปีนี้ทิศทางตลาดดีขึ้น
นายไพรัตน์ สกุลศรีประเสริฐ รองนายกสมาคมผู้ประกอบการรถยนต์ใช้แล้ว เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงภาพรวมตลาดรถยนต์มือสองว่า ปีนี้เป็นปีที่ระดับราคาจำหน่ายรถยนต์มือสองเริ่มปรับเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากที่ผ่านมาระดับราคาต่ำเกินกว่าความเป็นจริง เนื่องจากในช่วง 1-2 ปีก่อนหน้านี้ มีรถที่ถูกยึดจากสถาบันการเงินเป็นจำนวนมากทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคา จำหน่ายที่ต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็น
แต่ในปีนี้จำนวนรถยึดในท้องตลาดมีน้อยลง หลังจากสถาบันการเงินคัดคุณภาพลูกค้ามากขึ้น ทำให้จำนวนรถยึดน้อยลงไป ส่งผลให้ระดับราคาเริ่มกลับสู่สภาวะปกติ แต่ก็มองว่ายังเป็นระดับราคาที่คุ้มค่าสำหรับผู้บริโภค เนื่องจากส่วนต่างราคารถมือสองและรถใหม่ยังแตกต่างกันมาก ประกอบกับในปีนี้สถาบันการเงินเริ่มคลายความเข้มงวดในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อลง จากเดิมที่อาจจะไม่รับพิจารณาลูกค้าที่เครดิตไม่ดี แต่จากนี้ไปเริ่มหันมาพิจารณาแล้วแต่อาจจะมีการให้ลูกค้าช่วยเพิ่มเงินดาวน์มากขึ้น
"ยกตัวอย่างรถยนต์โตโยต้า วีออส ที่ใช้งานไปเพียงปีเดียว ราคารถใหม่อยู่ที่ 5.9 แสนบาท ก่อนหน้านี้ราคาซื้อขายอยู่ที่ 3.4-3.5 แสนบาท แต่ในปีนี้ราคาเริ่มปรับขึ้นมาเป็น 3.9-4 แสนบาท ซึ่งสะท้อนราคาที่ควรจะเป็น แต่ก็ยังเป็นราคาที่ดี สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อรถมือสอง" นายไพรัตน์กล่าว
ทำให้ปีนี้ตลาดรถมือสองน่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติและเริ่มมีทิศทางที่ฟื้นตัวขึ้น หลังจากปีที่ผ่านมายอดขายหายไปกว่า 35-40% แต่ปีนี้ยอดขายน่าจะเริ่มดีขึ้นอาจจะเติบโตได้ประมาณ 5% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ประกอบกับจำนวนคู่แข่งที่ลดลง
หลังจากก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการบางส่วนที่ไม่สามารถบริหารจัดการสต๊อกและยอดขายได้ก็หายไปจากตลาดราว 20% จากจำนวนเต็นท์รถทั่วประเทศกว่า 5,000 ราย ทำให้ผู้ประกอบการที่เหลืออยู่เป็นผู้ประกอบการที่ค่อนข้างมีคุณภาพ และการแข่งขันในแง่ของราคาจำหน่ายรถก็รุนแรงน้อยลง จะมีเพียงแค่การแข่งขันในแง่ของการหารถมาจำหน่ายเท่านั้นที่ยากขึ้น เนื่องจากรถยึดที่จำนวนน้อยลงไป
ซึ่งในปีนี้กลุ่มรถมือสองที่คาดว่า จะได้รับความนิยมน่าจะเป็นกลุ่มรถปิกอัพแบบซิงเกิลแค็บที่ราคาประมาณ 3-5 แสนบาท ซึ่งเป็นรถที่ถูกนำไปใช้งานที่น่าจะเป็นเซ็กเมนต์ขายดี รวมถึงกลุ่มรถยนต์นั่งขนาดเล็ก หรืออีโคคาร์ที่ปัจจุบันราคาจำหน่ายเริ่มต้นอยู่ที่ต่ำกว่า 3 แสนบาท จึงได้รับการตอบรับดี ส่วนกลุ่มรถขนาดใหญ่และมีอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงสูงจะเป็นกลุ่มที่ได้รับความนิยมลดลง
ทั้งนี้ก็ยังมีปัจจัยที่ต้องพิจารณาในปีนี้ ซึ่งปัจจัยบวกคือ ราคาที่คงที่ไม่ขึ้น-ลงรวดเร็ว ทำให้สถาบันการเงินสามารถทำราคาอ้างอิงหรือบลูบุ๊กง่ายขึ้น และสถาบันการเงินเองก็ลดความเข้มงวดในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อลง ส่วนปัจจัยที่ลบที่อาจจะกระทบ อาทิ การเข้าสู่ฤดูแล้งในเดือนเมษายน-พฤษภาคม ที่อาจทำให้ราคาพืชผลการเกษตรไม่ดีนัก และภาคการท่องเที่ยวที่อาจจะยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ ทั้งสองปัจจัยอาจทำให้ตัวเลขจีดีพีไม่เป็นไปตามเป้าที่ภาครัฐประเมินและทำ ให้ผู้บริโภคไม่มีกำลังซื้อหรือไม่มีความมั่นใจในการจับจ่าย
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 142
ส่งออกรถยนต์ มี.ค.สถิติสูงสุด สวนทางยอดขายภายในเหลือแค่ 7 หมื่นคัน
ยอดส่งออกรถยนต์เดือน มี.ค. ทะลุ 1.27 แสนคัน สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ดันยอดรวม 3 เดือนโต 12.6% แต่ยอดขายในประเทศร่วง 11.8% หวังยอดขายรวมโตตามเป้า 2.15 ล้านคัน ขณะที่ “ฉัตรชัย” เผยส่งออกสินค้าไทย มี.ค. ร่วง 4% คาดทั้งปีโตไม่ต่ำกว่า 1% พร้อมสั่ง รมช.พาณิชย์ เดินสายแจงอียู ไทยแก้ปัญหาประมงต่อเนื่อง
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงยอดขายรถยนต์ว่า ในเดือน มี.ค.58 มียอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 127,619 คัน เพิ่มขึ้น 12.63% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ถือเป็นปริมาณการส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ไทยเริ่มส่งออกรถยนต์ในปี 31 ส่วนช่วง 3 เดือน (ม.ค.-มี.ค.) 58 ส่งออกได้แล้ว 328,232 คัน เพิ่มขึ้น 12.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่า 146,884 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.74% โดยตลาดหลักอยู่ในภูมิภาคเอเชีย สัดส่วน 22.94% ออสเตรเลีย 22.61% ตะวันออกกลาง 22.24% อเมริกากลางและใต้ 12.02% ยุโรป 11.75% อเมริกาเหนือ 4.72% และแอฟริกา 3.72%
สาเหตุที่ยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปเพิ่มขึ้นมาก เพราะตลาดโลกต้องการรถอีโคคาร์สูงมาก ทำให้ไตรมาส 1 การส่งออกไปตลาดยุโรปเพิ่มขึ้น 71.84% อเมริกาเหนือ เพิ่ม 126.02% อเมริกากลางและใต้ เพิ่ม 12.03% ออสเตรเลียโตเพิ่ม 29% ขณะที่เอเชียกลับมาเป็นบวกที่ 6.42% แต่ตลาดหลักอย่างตะวันออกกลาง ยังลด 11.09% แอฟริกาลด 26.48% เพราะมีสงคราม และราคาน้ำมันโลกที่ลดลง ทำให้รายได้จากการขายน้ำมันลดลง และฉุดกำลังซื้อลดลงตาม
ส่วนตลาดในประเทศเดือน มี.ค.58 มียอดขาย 74,117 คัน ลดลง 11.7% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ทำให้ยอดขายในประเทศไตรมาสแรก มี 197,787 คัน ลดลงจากปีก่อน 11.8% สาเหตุที่ยอดขายลดลงมาจากการลงทุนและการเบิกจ่ายจากภาครัฐต่ำกว่าเป้าหมาย ราคาสินค้าเกษตรยังไม่ดีขึ้น หนี้ครัวเรือนสูง ทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดปล่อยสินเชื่อ รวมทั้งการลงทุนภาคเอกชนยังชะลอตัว โดยกลุ่มรถบรรทุกที่ผลิตเพื่อขายในประเทศ มีจำนวน 1,744 คัน เพิ่มขึ้น 29.71% สะท้อนให้เห็นว่าภาคเอกชนเริ่มมั่นใจโครงการลงทุนภาครัฐที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงลงทุนเพิ่ม
นายสุรพงษ์กล่าวต่อถึงยอดจำหน่ายรถจักร-ยานยนต์ในไตรมาสแรกของปีนี้ว่า มียอดขายภายในประเทศ 478,942 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10.91% สะท้อนว่าตลาดรากหญ้าเริ่มฟื้นตัว ส่วนการส่งออกรถจักรยานยนต์ไตรมาสแรก 264,276 คัน เพิ่มขึ้น 19.8% “กำลังรอดูตัวเลขการจำหน่ายรถยนต์ที่ชัดเจน อีก 2 เดือน จึงจะสรุปได้ว่าจะลดเป้าหมายหรือไม่ แต่มองว่าหากยอดส่งออกรถยนต์เติบโต 10% โดยเฉลี่ยทั้งปี จะทดแทนยอดขายภายในประเทศที่ลดลงได้ และอาจทำให้ยอดขายรวมทั้งปีอยู่ในเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 2.15 ล้านคัน จากปีก่อนที่มียอดขาย 1.88 ล้านคัน”
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า มูลค่าการส่งออกของไทยในเดือน มี.ค. 58 ติดลบประมาณ 4% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราติดลบที่ต่ำกว่าเดือน ก.พ.58 ที่ติดลบ 6% แต่จะแถลงข่าวอย่างเป็นทางการวันที่ 28 เม.ย.นี้ แต่ได้สั่งการให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศหารือกับภาคเอกชนในสินค้า 10 กลุ่ม หาทางผลักดันให้มูลค่าการส่งออกในปีนี้ขยายตัวได้มากที่สุดแล้ว โดยในเดือน มิ.ย.นี้ จะเดินหน้าเจาะตลาดเป็นรายสินค้า คาดว่ามูลค่าการส่งออกปีนี้ขยายตัวไม่ต่ำกว่า 1%
http://www.thairath.co.th/content/495598
ยอดส่งออกรถยนต์เดือน มี.ค. ทะลุ 1.27 แสนคัน สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ดันยอดรวม 3 เดือนโต 12.6% แต่ยอดขายในประเทศร่วง 11.8% หวังยอดขายรวมโตตามเป้า 2.15 ล้านคัน ขณะที่ “ฉัตรชัย” เผยส่งออกสินค้าไทย มี.ค. ร่วง 4% คาดทั้งปีโตไม่ต่ำกว่า 1% พร้อมสั่ง รมช.พาณิชย์ เดินสายแจงอียู ไทยแก้ปัญหาประมงต่อเนื่อง
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงยอดขายรถยนต์ว่า ในเดือน มี.ค.58 มียอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 127,619 คัน เพิ่มขึ้น 12.63% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ถือเป็นปริมาณการส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ไทยเริ่มส่งออกรถยนต์ในปี 31 ส่วนช่วง 3 เดือน (ม.ค.-มี.ค.) 58 ส่งออกได้แล้ว 328,232 คัน เพิ่มขึ้น 12.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่า 146,884 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.74% โดยตลาดหลักอยู่ในภูมิภาคเอเชีย สัดส่วน 22.94% ออสเตรเลีย 22.61% ตะวันออกกลาง 22.24% อเมริกากลางและใต้ 12.02% ยุโรป 11.75% อเมริกาเหนือ 4.72% และแอฟริกา 3.72%
สาเหตุที่ยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปเพิ่มขึ้นมาก เพราะตลาดโลกต้องการรถอีโคคาร์สูงมาก ทำให้ไตรมาส 1 การส่งออกไปตลาดยุโรปเพิ่มขึ้น 71.84% อเมริกาเหนือ เพิ่ม 126.02% อเมริกากลางและใต้ เพิ่ม 12.03% ออสเตรเลียโตเพิ่ม 29% ขณะที่เอเชียกลับมาเป็นบวกที่ 6.42% แต่ตลาดหลักอย่างตะวันออกกลาง ยังลด 11.09% แอฟริกาลด 26.48% เพราะมีสงคราม และราคาน้ำมันโลกที่ลดลง ทำให้รายได้จากการขายน้ำมันลดลง และฉุดกำลังซื้อลดลงตาม
ส่วนตลาดในประเทศเดือน มี.ค.58 มียอดขาย 74,117 คัน ลดลง 11.7% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ทำให้ยอดขายในประเทศไตรมาสแรก มี 197,787 คัน ลดลงจากปีก่อน 11.8% สาเหตุที่ยอดขายลดลงมาจากการลงทุนและการเบิกจ่ายจากภาครัฐต่ำกว่าเป้าหมาย ราคาสินค้าเกษตรยังไม่ดีขึ้น หนี้ครัวเรือนสูง ทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดปล่อยสินเชื่อ รวมทั้งการลงทุนภาคเอกชนยังชะลอตัว โดยกลุ่มรถบรรทุกที่ผลิตเพื่อขายในประเทศ มีจำนวน 1,744 คัน เพิ่มขึ้น 29.71% สะท้อนให้เห็นว่าภาคเอกชนเริ่มมั่นใจโครงการลงทุนภาครัฐที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงลงทุนเพิ่ม
นายสุรพงษ์กล่าวต่อถึงยอดจำหน่ายรถจักร-ยานยนต์ในไตรมาสแรกของปีนี้ว่า มียอดขายภายในประเทศ 478,942 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10.91% สะท้อนว่าตลาดรากหญ้าเริ่มฟื้นตัว ส่วนการส่งออกรถจักรยานยนต์ไตรมาสแรก 264,276 คัน เพิ่มขึ้น 19.8% “กำลังรอดูตัวเลขการจำหน่ายรถยนต์ที่ชัดเจน อีก 2 เดือน จึงจะสรุปได้ว่าจะลดเป้าหมายหรือไม่ แต่มองว่าหากยอดส่งออกรถยนต์เติบโต 10% โดยเฉลี่ยทั้งปี จะทดแทนยอดขายภายในประเทศที่ลดลงได้ และอาจทำให้ยอดขายรวมทั้งปีอยู่ในเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 2.15 ล้านคัน จากปีก่อนที่มียอดขาย 1.88 ล้านคัน”
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า มูลค่าการส่งออกของไทยในเดือน มี.ค. 58 ติดลบประมาณ 4% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราติดลบที่ต่ำกว่าเดือน ก.พ.58 ที่ติดลบ 6% แต่จะแถลงข่าวอย่างเป็นทางการวันที่ 28 เม.ย.นี้ แต่ได้สั่งการให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศหารือกับภาคเอกชนในสินค้า 10 กลุ่ม หาทางผลักดันให้มูลค่าการส่งออกในปีนี้ขยายตัวได้มากที่สุดแล้ว โดยในเดือน มิ.ย.นี้ จะเดินหน้าเจาะตลาดเป็นรายสินค้า คาดว่ามูลค่าการส่งออกปีนี้ขยายตัวไม่ต่ำกว่า 1%
http://www.thairath.co.th/content/495598
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 143
MAZDA เสริมความแข็งแกร่งดันไทยเป็นศูนย์กลางกระจายอะไหล่ในภูมิภาคอาเซียนพร้อมส่งออกทั่วโลก
.
http://www.thairath.co.th/content/498322
.
http://www.thairath.co.th/content/498322
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4366
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 144
เผยยอดผลิตรถยนต์เดือนเม.ย.ลดลง2.18%
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/648583
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/648583
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 145
จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนเมษายน 2558 มีทั้งสิ้น 123,968 คัน ลดลงจากเดือนเมษายน 2557 ร้อยละ 2.18
ยอดการส่งออกรถยนต์ในเดือนเม.ย.58 ว่า มียอดส่งออกถึง 82,130 คัน เพิ่มขึ้น 17.66%
ขณะที่ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนเม.ย.58 มีจำนวนทั้งสิ้น 54,058 คัน ลดลง 26.2%
demand ยอดส่งออก+ขายในประเทศ = 82,130+54,058 = 136,188
Supply ผลิต 123,968 แต่ขายได้ 136,188
แสดงว่า stock รถ ลดลงไปประมาณ 12,220 คัน
ยอดผลิตที่ลดลง ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการเปลี่ยน model กระบะรุ่นใหม่ของโตโยต้า ด้วยมั้งครับ
ทำให้มีการหยุดการผลิตใน model รุ่นเก่า
ยอดการส่งออกรถยนต์ในเดือนเม.ย.58 ว่า มียอดส่งออกถึง 82,130 คัน เพิ่มขึ้น 17.66%
ขณะที่ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนเม.ย.58 มีจำนวนทั้งสิ้น 54,058 คัน ลดลง 26.2%
demand ยอดส่งออก+ขายในประเทศ = 82,130+54,058 = 136,188
Supply ผลิต 123,968 แต่ขายได้ 136,188
แสดงว่า stock รถ ลดลงไปประมาณ 12,220 คัน
ยอดผลิตที่ลดลง ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการเปลี่ยน model กระบะรุ่นใหม่ของโตโยต้า ด้วยมั้งครับ
ทำให้มีการหยุดการผลิตใน model รุ่นเก่า
ส.อ.ท.เผยยอดส่งออกรถยนต์เดือนเม.ย.58 พุ่งถึง82,130คัน เพิ่มขึ้น17.66% จากช่วงเดียวกันปีก่อน
วันนี้ (25พ.ค.58) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงยอดการส่งออกรถยนต์ในเดือนเม.ย.58 ว่า มียอดส่งออกถึง 82,130 คัน เพิ่มขึ้น 17.66% เนื่องจากมีการส่งออกรถยนต์อีโคคาร์เพิ่มขึ้นในตลาดยุโรป และตลาดอเมริกาเหนือ ประกอบกับตลาดออสเตรเลียและตลาดเอเซียเริ่มฟื้น โดยมีมูลค่าการส่งออก 39,102.63 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.21% จากเม.ย.57 ส่งผลให้การส่งออกรถยนต์ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ มียอดส่งออก 410,362 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 13.58% คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 185,987.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.78% ยอดการผลิตนั้น จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนเม.ย.58 มีทั้งสิ้น 123,968 คัน ลดลง 2.18% จากเม.ย.57 เละลดลง 30.44 % เนื่องจากเดือนเม.ย.มีวันทำงานน้อย สำหรับจำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในช่วง 4 เดือนแรก มีจำนวน 648,508 คัน เพิ่มขึ้น 0.67% จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ขณะที่ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนเม.ย.58 มีจำนวนทั้งสิ้น 54,058 คัน ลดลง 26.2% จากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรยังตกต่ำส่งผลให้เกษตรกรไม่มีอำนาจซื้อ รัฐบาลยังไม่เร่งรัดในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การเบิกจ่ายงบประมารการลงทุนแม้จะดีขึ้นแต่ยังต่ำกว่าเป้าหมาย สถาบันการเงินเข้มงวดการอนุมัติสินเชื่อจากหนี้ครัวเรือนสูงและเศรษฐกิจที่ชะลอตัว รวมทั้งการลงทุนภาคเอกชนที่ยังไม่ฟื้นตัวมาก
ส่วนยอดประมาณการการผลิตรถยนต์ในเดือนพ.ค.-ก.ค.58 คาดว่า จะมีจำนวน 490,559 คัน เปรียบเทียบกับยอดผลิตจริงเดือนก.พ. - เม.ย.58 ซึ่งมีจำนวน 481,343 คัน เพิ่มขึ้น 9,216 คัน หรือ 1.91% และเมื่อเปรียบเทียบกับยอดผลิตจริงเดือนพ.ค. - ก.ค. 57 ซึ่งมีจำนวน 459,222 คันแล้ว เพิ่มขึ้น 31,337 คัน หรือ 6.82%
http://www.tnnthailand.com/news_detail. ... 747&t=news
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 146
ให้ข้อสังเกตนิดหน่อย
US เริ่มมีรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น
Japan มีปั้มที่ให้บริการรถไฟฟ้ามากขึ้น และมีรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
อุตสาหกรรมรถยนต์ในเมืองไทย ยังเป็น รถยนต์ที่ใช้น้ำมัน หรือ กึ่งน้ำมันไฟฟ้า
แบบนี้อุตสาหกรรมรถยนต์ของไทย จะรอดไหม ถ้าหากเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบทันด่วน
จากรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นหลักมาเป็นรถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก
อนึ่ง กฏหมายของเราเป็นสาเหตุที่เป็นเช่นนั้นด้วยหรือเปล่า ที่ไม่ส่งเสริมให้มีการเกิดการเปลี่ยนแปลง
จากรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นหลักเป็นใช้ไฟฟ้าเป็นหลักหรือเปล่า
US เริ่มมีรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น
Japan มีปั้มที่ให้บริการรถไฟฟ้ามากขึ้น และมีรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
อุตสาหกรรมรถยนต์ในเมืองไทย ยังเป็น รถยนต์ที่ใช้น้ำมัน หรือ กึ่งน้ำมันไฟฟ้า
แบบนี้อุตสาหกรรมรถยนต์ของไทย จะรอดไหม ถ้าหากเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบทันด่วน
จากรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นหลักมาเป็นรถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก
อนึ่ง กฏหมายของเราเป็นสาเหตุที่เป็นเช่นนั้นด้วยหรือเปล่า ที่ไม่ส่งเสริมให้มีการเกิดการเปลี่ยนแปลง
จากรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นหลักเป็นใช้ไฟฟ้าเป็นหลักหรือเปล่า
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 147
ผมว่ายิ่ง มีรถยนต์ไฟฟ้า หรือ ไฮโดรเจน มากขึ้น เท่าไร
น้ำมันจะยิ่งถูกลง จนมาถึงจุดที่บาลาซกัน เข้าสู่สมดุลย์
ทำให้มีรถยนต์ให้เลือกใช้ ประเทศที่ยากจนหน่อยก็จะใช้
เครืองยนต์เป็นหลัก ประเทศรวยๆ ก็อาจใช้ไฟฟ้า หรือ
ไฮโดรเจนเป็นหลัก
น้ำมันจะยิ่งถูกลง จนมาถึงจุดที่บาลาซกัน เข้าสู่สมดุลย์
ทำให้มีรถยนต์ให้เลือกใช้ ประเทศที่ยากจนหน่อยก็จะใช้
เครืองยนต์เป็นหลัก ประเทศรวยๆ ก็อาจใช้ไฟฟ้า หรือ
ไฮโดรเจนเป็นหลัก
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 148
ประเทศที่จะมีรถยนต์ไฟฟ้าได้ คือต้องมีความมั่นคงทางไฟฟ้า และโครงสร้างพื้นฐานตรงนีดีพอควรครับ
เช่นมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หรือ มีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่จ่ายไฟได้เสถียรพอ
สำหรับประเทศไทย มีงานวิจัยออกมาว่า ถ้า มีรถยนต์ชาร์จไฟ พร้อมกันซักแค่ 2 หมื่นคัน ก็เกิดไฟตกได้ทั้งประเทศแล้วครับ
แล้วปัญหาอีกข้อคือ ถึงแม้ปัจจุบันจะพัฒนาให้แบต มีความจุมากพอแล้วก็จริง แต่ยิงติดปัญหาการเสื่อมสภาพของแบต ที่ค่อนข้างเร็วครับ แค่ปีที่สอง ประสิทธิภาพก็เหลือ 75% แล้ว แต่ที่ญี่ปุ่น รัฐบาลเค้าให้เงินอุดหนุนตรงนี้ครับ อารมณ์คล้ายๆโซล่าร์ฟาร์มบ้านเรา ที่เห็นสร้างกันเยอะๆ เพราะได้รัฐบาลอุดหนุนครับ
แต่ต่อให้ทั้งโลกเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้าจริง แต่อะไหล่ และชิ้นส่วนหลายๆอย่าง ก็ยังเหมือนเดิม จะเปลี่ยนก็ตรงเครื่องยนต์ซะมากกว่าครับ
เช่นมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หรือ มีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่จ่ายไฟได้เสถียรพอ
สำหรับประเทศไทย มีงานวิจัยออกมาว่า ถ้า มีรถยนต์ชาร์จไฟ พร้อมกันซักแค่ 2 หมื่นคัน ก็เกิดไฟตกได้ทั้งประเทศแล้วครับ
แล้วปัญหาอีกข้อคือ ถึงแม้ปัจจุบันจะพัฒนาให้แบต มีความจุมากพอแล้วก็จริง แต่ยิงติดปัญหาการเสื่อมสภาพของแบต ที่ค่อนข้างเร็วครับ แค่ปีที่สอง ประสิทธิภาพก็เหลือ 75% แล้ว แต่ที่ญี่ปุ่น รัฐบาลเค้าให้เงินอุดหนุนตรงนี้ครับ อารมณ์คล้ายๆโซล่าร์ฟาร์มบ้านเรา ที่เห็นสร้างกันเยอะๆ เพราะได้รัฐบาลอุดหนุนครับ
แต่ต่อให้ทั้งโลกเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้าจริง แต่อะไหล่ และชิ้นส่วนหลายๆอย่าง ก็ยังเหมือนเดิม จะเปลี่ยนก็ตรงเครื่องยนต์ซะมากกว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 149
มันเป็นข้อสังเกตครับ
ว่าการเปลี่ยนแปลงสินค้า คือน้ำมัน ไปสู่ ไฟฟ้า นั้น น้ำมันเป็นเช่นไร
แต่อาจจะใช้เวลานานหน่อยที่เปลี่ยนแปลง ที่ impact กับ สังคม
ตอนนี้รถไฟฟ้าในเมืองไทย ติดปัญหาหลายอย่างเริ่มต้นด้วยของกฏหมาย
ที่ต้องมีขนาดของมอเตอร์ที่ใช้ขับเคลื่อนรถยนต์ที่สูง
ตามมาด้วย ความคิดของผู้ใช้รถยนต์ในเรื่องการเปลี่ยนแบตเตอรรี่ภายในรถยนต์
แล้วตบท้ายด้วย สถานีในการชาร์จแบตเตอรี่ เรียกได้ว่า ไม่มีดีกว่า มี
ว่าการเปลี่ยนแปลงสินค้า คือน้ำมัน ไปสู่ ไฟฟ้า นั้น น้ำมันเป็นเช่นไร
แต่อาจจะใช้เวลานานหน่อยที่เปลี่ยนแปลง ที่ impact กับ สังคม
ตอนนี้รถไฟฟ้าในเมืองไทย ติดปัญหาหลายอย่างเริ่มต้นด้วยของกฏหมาย
ที่ต้องมีขนาดของมอเตอร์ที่ใช้ขับเคลื่อนรถยนต์ที่สูง
ตามมาด้วย ความคิดของผู้ใช้รถยนต์ในเรื่องการเปลี่ยนแบตเตอรรี่ภายในรถยนต์
แล้วตบท้ายด้วย สถานีในการชาร์จแบตเตอรี่ เรียกได้ว่า ไม่มีดีกว่า มี
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สถานการณ์รถยนต์
โพสต์ที่ 150
ตอนนี้ผมมองว่าอุปสรรคใหญ่สุดของการเกิดรถยนต์ไฟฟ้าในบ้านเราคือ ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าครับ
ถ้าเรามีปัญหาในการขึ้นโรงไฟฟ้าใหม่ หรือ ปัญหาที่แก๊สในอ่าวไทยใกล้หมด ซึ่งปัจจุบันมีเหลือให้ใช้อีกไม่เกิน 10 ปี ถ้าไม่มีการประมูล หรือขุดพบเพิ่ม สถานการณ์ด้านความมั่งคงด้านพลังงานไฟฟ้าตอนนี้ เราค่อนข้างมีปัญหามากๆ
ทีนี้พอโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้ามีปัญหา ก็คงแทบไม่ต้องพูดถึงการสร้างสถานีจ่ายไฟเลย
ถ้าตรงนี้ยังแก้ไม่ได้ เรื่องรถยนต์ไฟฟ้าคงเกิดได้ยาก หรือถ้าเกิด ก็คงมีปัญหาตามมามากมาย
เอกชนญี่ปุ่นเอง ก็เพิ่งประกาศไปว่า ไม่มีแผนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทย ใน 2 ปีนี้ (อนาคตหลังจากนั้นก็คงไม่แน่)
ส่วนการส่งเสริมจากภาครัฐที่ประกาศไป เรื่องสนับสนุนผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ตอนนี้เท่าที่ทราบ ไม่มีผู้ผลิตรถรายใดสนใจลงทุนเลย
แต่การเปลี่ยนแปลงสำคัญจะเกิด ต้องจับตาดูสองอย่างครับ อันแรกคือเทคโนโลยีด้านแบตเตอรี่
อันที่สอง คือ เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้า ที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ในปริมาณมากๆ และราคาถูก
สองส่วนนี้ถ้าพัฒนาถึงจุดๆหนึ่ง น่าจะส่งเสริมให้เกิดความนิยมรถยนต์ไฟฟ้าอย่างมากครับ และทำให้รถยนต์ไฟฟ้าสามารถแข่งขันกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันได้
ถ้าเรามีปัญหาในการขึ้นโรงไฟฟ้าใหม่ หรือ ปัญหาที่แก๊สในอ่าวไทยใกล้หมด ซึ่งปัจจุบันมีเหลือให้ใช้อีกไม่เกิน 10 ปี ถ้าไม่มีการประมูล หรือขุดพบเพิ่ม สถานการณ์ด้านความมั่งคงด้านพลังงานไฟฟ้าตอนนี้ เราค่อนข้างมีปัญหามากๆ
ทีนี้พอโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้ามีปัญหา ก็คงแทบไม่ต้องพูดถึงการสร้างสถานีจ่ายไฟเลย
ถ้าตรงนี้ยังแก้ไม่ได้ เรื่องรถยนต์ไฟฟ้าคงเกิดได้ยาก หรือถ้าเกิด ก็คงมีปัญหาตามมามากมาย
เอกชนญี่ปุ่นเอง ก็เพิ่งประกาศไปว่า ไม่มีแผนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทย ใน 2 ปีนี้ (อนาคตหลังจากนั้นก็คงไม่แน่)
ส่วนการส่งเสริมจากภาครัฐที่ประกาศไป เรื่องสนับสนุนผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ตอนนี้เท่าที่ทราบ ไม่มีผู้ผลิตรถรายใดสนใจลงทุนเลย
แต่การเปลี่ยนแปลงสำคัญจะเกิด ต้องจับตาดูสองอย่างครับ อันแรกคือเทคโนโลยีด้านแบตเตอรี่
อันที่สอง คือ เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้า ที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ในปริมาณมากๆ และราคาถูก
สองส่วนนี้ถ้าพัฒนาถึงจุดๆหนึ่ง น่าจะส่งเสริมให้เกิดความนิยมรถยนต์ไฟฟ้าอย่างมากครับ และทำให้รถยนต์ไฟฟ้าสามารถแข่งขันกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันได้