ตลาดหุ้นเหมือนสถานที่ปฏิบัติธรรมธรรมชั้นเลิศ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 260
- ผู้ติดตาม: 0
ตลาดหุ้นเหมือนสถานที่ปฏิบัติธรรมธรรมชั้นเลิศ
โพสต์ที่ 1
ก่อนผมเล่นหุ้นมีแต่คนบอกว่าตลาดหุ้นเหมือนการพนันบ้าง เหมือนบ่อนแบบถูกกฏหมายบ้าง แต่เมื่อผมอยู่ไปนานๆกลับเห็นว่าตลาดหุ้นเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมธรรมชั้นเลิศซะมากกว่า
สิ่งที่ผมเห็นในตลาดหุ้น
1) ไตรลักษณ์ กับราคาหุ้น
เราได้เห็นความไม่เที่ยงในราคาชัดเจนมาก ราคาก็ขึ้นๆลงๆไม่มั่นคงซะเลย และมองไปมองมาราคาก็แทบจะเหมือนมายา ไม่มีตัวตนเลยด้วยซ้ำ แปรเปลี่ยนตามอารมณ์ตลาดตลอดเวลา ยังมีคำพังเพยที่เคยได้ยินมาเลยว่า "ราคาคือมายา ปันผลสิของจริง" (ซึ่งจากที่ผมเจอมาราคาหุ้นเป็นมายาจริงๆครับ เพราะเพื่อนผมมีหุ้นตัวนึงติดSPหลายปีละ อยากขายก็ขายไม่ได้ เพราะถ้ามีตัวตนจริงต้องขายได้ไปละ)
นอกจากราคาหุ้นแล้วแม้แต่อารมณ์ตัวเราเองก็ไม่เที่ยงอีกต่างหาก มะวานหุ้นขึ้นก็อยากซื้อ พอวันนี้หุ้นลงก็อยากขายซะละ
2) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
เมื่อหุ้นเราขึ้นทุกวันพอร์ตเขียวขจี เราก็รู้สึกดีใจ สุขใจ มีความสุขมันได้ทั้งวัน
แต่พอหุ้นลงพอร์ตแดงกระจาย เซตเทกระจาด หุ้นลดราคากระหน่ำดั่ง Amazind thailand grand sale แต่เราดันเต็มพอร์ตอยู่ ไม่มีตังค์ซื้อเพิ่ม เราก็เกิดทุกข์ใจได้ทั้งวันทีเดียวเชียว
ถ้าเราใช้มาร์จิ้นช่วยเสริมด้วยจะเห็นธรรมข้อนี้ชัดเจนขึ้น ผมแนะนำว่ามาจิ้น100%เลยจะเห็นธรรมชัดและรวดเร็วขึ้นไปอีกขั้น และถ้าหุ้นลงและมีcallเสริมเข้ามาด้วยเราก็จะเห็นธรรมชัดเจนและรวดเร็วที่สุดตรงจุดcallนี่เอง ดังสุภาษิตที่ว่า "เมื่อใดเห็นทุกข์ เมื่อนั้นเห็นธรรม" นั่นเอง ซึ่งผมสรุปได้ว่ามาร์จิ้นก็เป็นเครื่องมือฝึกธรรมที่ดีมากเครื่องมือนึง
3) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
เราได้เห็นอารมณ์ตัวเองมากขึ้น หุ้นขึ้นก็โลภบ้าง หุ้นลงก็กลัวบ้าง พอร์ตแดงมากๆก็หดหู่บ้าง พอร์ตเขียวมากๆก็หลงตัวเองว่าเก่งบ้าง
อารมณ์โลภ เรามักจะไม่รู้ตัวว่าเราโลภอยู่ แต่เราจะรู้สึกตัวอีกทีว่าเราโลภ ก็เมื่อเราอยู่บนดอยนั่นเองครับ ซึ่งการที่เราอยู่บนดอยแล้วมองลงมาเราก็จะได้เห็นความโลภที่ผ่านมาชัดเจนขึ้น ยิ่งดอยสูงยิ่งเห็นธรรมชัดครับ ซึ่งผมสรุปได้ว่าการที่เราดอยสูงมากเท่าไหร่ยิ่งเข้าถึงธรรมมากเท่านั้น
อารมร์กลัว หุ้นบางตัวข่าวร้ายเข้ามาหุ้นลงยังกะบริษัทจะเจ๊ง เราก็กลัวหลับตาขายไปทันใด แต่อนิจจา เราขายปุ๊ปหุ้นเด้งปั๊ป ขายได้ที่โลว์พอดี ดั่งกับถูกหวย ซึ่งเรามักถูกหวยยังงี้บ่อยๆถ้าเรามีอารมณ์ร่วมมากๆกับข่าวร้ายที่เข้ามาเช่นนี้
ซึ่งจริงๆนอกจาก ธรรม3ข้อข้างต้นผมก็ว่ายังมีอีกเยอะนะครับที่ช่วยในการปฏิบัติธรรม เช่น ฝึกขันติบ้าง (อดทนรอลงจากดอย) , ฝึกให้อภัยตัวเองบ้าง (รีบเคาะไปหน่อย ดอยเลย) , ฝึกปล่อยวางบ้าง (ขายหมูมาซื้อควาย โคตรเซ็ง) , ฝึกให้ทานบ้าง (เราขาดทุนแสดงว่ามีคนเอากำไรเราไป) , ฝึกสมาธิ (หุ้นกระพริบๆตลอด เคาะขวาแทบไม่ทัน เพ่งจนปวดตา)
มีใครเห็นธรรมอะไรนอกจากนี้อีกมั้ยครับ มาแชร์กันครับ
สิ่งที่ผมเห็นในตลาดหุ้น
1) ไตรลักษณ์ กับราคาหุ้น
เราได้เห็นความไม่เที่ยงในราคาชัดเจนมาก ราคาก็ขึ้นๆลงๆไม่มั่นคงซะเลย และมองไปมองมาราคาก็แทบจะเหมือนมายา ไม่มีตัวตนเลยด้วยซ้ำ แปรเปลี่ยนตามอารมณ์ตลาดตลอดเวลา ยังมีคำพังเพยที่เคยได้ยินมาเลยว่า "ราคาคือมายา ปันผลสิของจริง" (ซึ่งจากที่ผมเจอมาราคาหุ้นเป็นมายาจริงๆครับ เพราะเพื่อนผมมีหุ้นตัวนึงติดSPหลายปีละ อยากขายก็ขายไม่ได้ เพราะถ้ามีตัวตนจริงต้องขายได้ไปละ)
นอกจากราคาหุ้นแล้วแม้แต่อารมณ์ตัวเราเองก็ไม่เที่ยงอีกต่างหาก มะวานหุ้นขึ้นก็อยากซื้อ พอวันนี้หุ้นลงก็อยากขายซะละ
2) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
เมื่อหุ้นเราขึ้นทุกวันพอร์ตเขียวขจี เราก็รู้สึกดีใจ สุขใจ มีความสุขมันได้ทั้งวัน
แต่พอหุ้นลงพอร์ตแดงกระจาย เซตเทกระจาด หุ้นลดราคากระหน่ำดั่ง Amazind thailand grand sale แต่เราดันเต็มพอร์ตอยู่ ไม่มีตังค์ซื้อเพิ่ม เราก็เกิดทุกข์ใจได้ทั้งวันทีเดียวเชียว
ถ้าเราใช้มาร์จิ้นช่วยเสริมด้วยจะเห็นธรรมข้อนี้ชัดเจนขึ้น ผมแนะนำว่ามาจิ้น100%เลยจะเห็นธรรมชัดและรวดเร็วขึ้นไปอีกขั้น และถ้าหุ้นลงและมีcallเสริมเข้ามาด้วยเราก็จะเห็นธรรมชัดเจนและรวดเร็วที่สุดตรงจุดcallนี่เอง ดังสุภาษิตที่ว่า "เมื่อใดเห็นทุกข์ เมื่อนั้นเห็นธรรม" นั่นเอง ซึ่งผมสรุปได้ว่ามาร์จิ้นก็เป็นเครื่องมือฝึกธรรมที่ดีมากเครื่องมือนึง
3) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
เราได้เห็นอารมณ์ตัวเองมากขึ้น หุ้นขึ้นก็โลภบ้าง หุ้นลงก็กลัวบ้าง พอร์ตแดงมากๆก็หดหู่บ้าง พอร์ตเขียวมากๆก็หลงตัวเองว่าเก่งบ้าง
อารมณ์โลภ เรามักจะไม่รู้ตัวว่าเราโลภอยู่ แต่เราจะรู้สึกตัวอีกทีว่าเราโลภ ก็เมื่อเราอยู่บนดอยนั่นเองครับ ซึ่งการที่เราอยู่บนดอยแล้วมองลงมาเราก็จะได้เห็นความโลภที่ผ่านมาชัดเจนขึ้น ยิ่งดอยสูงยิ่งเห็นธรรมชัดครับ ซึ่งผมสรุปได้ว่าการที่เราดอยสูงมากเท่าไหร่ยิ่งเข้าถึงธรรมมากเท่านั้น
อารมร์กลัว หุ้นบางตัวข่าวร้ายเข้ามาหุ้นลงยังกะบริษัทจะเจ๊ง เราก็กลัวหลับตาขายไปทันใด แต่อนิจจา เราขายปุ๊ปหุ้นเด้งปั๊ป ขายได้ที่โลว์พอดี ดั่งกับถูกหวย ซึ่งเรามักถูกหวยยังงี้บ่อยๆถ้าเรามีอารมณ์ร่วมมากๆกับข่าวร้ายที่เข้ามาเช่นนี้
ซึ่งจริงๆนอกจาก ธรรม3ข้อข้างต้นผมก็ว่ายังมีอีกเยอะนะครับที่ช่วยในการปฏิบัติธรรม เช่น ฝึกขันติบ้าง (อดทนรอลงจากดอย) , ฝึกให้อภัยตัวเองบ้าง (รีบเคาะไปหน่อย ดอยเลย) , ฝึกปล่อยวางบ้าง (ขายหมูมาซื้อควาย โคตรเซ็ง) , ฝึกให้ทานบ้าง (เราขาดทุนแสดงว่ามีคนเอากำไรเราไป) , ฝึกสมาธิ (หุ้นกระพริบๆตลอด เคาะขวาแทบไม่ทัน เพ่งจนปวดตา)
มีใครเห็นธรรมอะไรนอกจากนี้อีกมั้ยครับ มาแชร์กันครับ
เมื่อใดเห็นทุกข์ เมื่อนั้นเห็นธรรม
- murder_doll
- Verified User
- โพสต์: 1644
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ตลาดหุ้นเหมือนสถานที่ปฏิบัติธรรมธรรมชั้นเลิศ
โพสต์ที่ 2
ต้องดูช่วงขาลงครับ
เงินทองเป็นของมายา
ข้าวปลาคือของจริง
ข้าวปลาคือของจริง
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ตลาดหุ้นเหมือนสถานที่ปฏิบัติธรรมธรรมชั้นเลิศ
โพสต์ที่ 3
ผมคิดว่าอารมณ์ที่มากระทบผัสสะมันเยอะเกินไป เกินกว่าที่จะเอามาใช้ปฏิบัติธรรมได้จริงๆ จังๆ การจะพัฒนากำลังสติ และสมาธิให้เจริญขึ้นทำได้ยาก เพราะ กระทบอารมณ์มาก
หามุ่งหวังปฏิบัติธรรม ปรารถนาที่จะพัฒนาสติและสมาธิ อย่างไรก็ควรปลีกวิเวก ตามหลักวิเวก 3 จึงจะช่วยให้สติและสมาธิก้าวหน้าได้ง่ายกว่า
จริงอยู่ว่าสภาวะไตรลักษณ์จากตลาดหุ้นนั้นมีอยู่ แต่ก็อิงไปทางโลกียะ รากฐานของการปฏิบัติโดยใช้ตลาดหุ้นเป็นอารมณ์กรรมฐานมีโลภะเป็นเหตุ เมื่อทำได้ถึงจุดหนึ่ง (ถ้าทำอย่างถูกต้อง) ก็จะติดปัญหา เพราะ มรรค 8 โดยเฉพาะ ทิฏฐิและสังกัปปะ ยังเป็นมิจฉาอยู่ หากทำอย่างถูกต้องก็จะเบื่อ จะหน่ายตลาดหุ้น และรู้ว่านี่ไม่ใช่ทาง ต้องถอยออกมาปฏิบัติในที่ๆ สัปปายะกว่านี้
สำหรับผมจะเอาสติกับสมาธิมาประคองตัว เอามาใช้ในตลาดหุ้น ไม่ให้ไหลไปกับอกุศลมากเกิน ซึ่งถึงจุดหนึ่งรู้ว่าต้านแรงไม่ได้ ก็จำเป็นต้องถอยห่างออกจากตลาด ไม่ปล่อยให้ไหล ลงลึกจนกลับตัวได้ยาก
ปล ความคิดเห็นหนึ่ง จากประสบการณ์นะครับ
หามุ่งหวังปฏิบัติธรรม ปรารถนาที่จะพัฒนาสติและสมาธิ อย่างไรก็ควรปลีกวิเวก ตามหลักวิเวก 3 จึงจะช่วยให้สติและสมาธิก้าวหน้าได้ง่ายกว่า
จริงอยู่ว่าสภาวะไตรลักษณ์จากตลาดหุ้นนั้นมีอยู่ แต่ก็อิงไปทางโลกียะ รากฐานของการปฏิบัติโดยใช้ตลาดหุ้นเป็นอารมณ์กรรมฐานมีโลภะเป็นเหตุ เมื่อทำได้ถึงจุดหนึ่ง (ถ้าทำอย่างถูกต้อง) ก็จะติดปัญหา เพราะ มรรค 8 โดยเฉพาะ ทิฏฐิและสังกัปปะ ยังเป็นมิจฉาอยู่ หากทำอย่างถูกต้องก็จะเบื่อ จะหน่ายตลาดหุ้น และรู้ว่านี่ไม่ใช่ทาง ต้องถอยออกมาปฏิบัติในที่ๆ สัปปายะกว่านี้
สำหรับผมจะเอาสติกับสมาธิมาประคองตัว เอามาใช้ในตลาดหุ้น ไม่ให้ไหลไปกับอกุศลมากเกิน ซึ่งถึงจุดหนึ่งรู้ว่าต้านแรงไม่ได้ ก็จำเป็นต้องถอยห่างออกจากตลาด ไม่ปล่อยให้ไหล ลงลึกจนกลับตัวได้ยาก
ปล ความคิดเห็นหนึ่ง จากประสบการณ์นะครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1575
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดหุ้นเหมือนสถานที่ปฏิบัติธรรมธรรมชั้นเลิศ
โพสต์ที่ 5
ขอเอาที่ผมเคยเขียนตอนเปิดกระทู้ เส้นทางธรรมกับการลงทุนหุ้นแบบวีไอ มาpost นะครับ
...................................
กว่า 20 ปีที่ผมสนใจแนวทางธรรม
แต่ได้แต่ทำๆหยุดๆมานาน
จน10ปีก่อน ได้เริ่มให้เวลากับการปฏิบัติ
แม้ว่ายังต้องอยู่ในโลกที่มีภาระกิจส่วนตัวและชีวิตการงาน
เพียงแต่ได้จัดสรรแบ่งเวลามากขึ้น
จนเมื่อ7-8ปีก่อน ได้เอาจริงเอาจังอย่างมาก
สำหรับการลงทุนของผม
สิ่งที่ผมสังเกตเห็นคือ
port ของผมไม่ได้เติบโตอย่างที่ผมคิดว่าควรจะเป็น
เพราะผมแทบไม่มีเวลาไปติดตามหุ้น
ไม่มีเวลาไปพบปะเพื่อนนักลงทุน เยี่ยมชมกิจการ
ไม่ได้ประชุมผู้ถือหุ้น หรือ ไปพบผู้บริหาร
ประกอบกับแนวคิดส่วนตัวที่เชื่อว่าเราต้องเคร่งศีล
หากไม่มีศีลเป็นพื้นฐาน การเจริญทางธรรมจะทำได้ยาก
ทำให้ต้องทำความรู้จักกับหุ้นที่ลงทุนอยู่และจะลงทุนอย่างจริงจัง
ว่ากิจกรรมของบริษัทเหล่านี้
มีโอกาสทำให้ศีลพร่องหรือไม่
หรือไม่สอดคล้องกับสัมมาอาชีวะในมรรค8
จึงทำให้ไม่ได้ลงทุนในบางหุ้นที่แม้ว่าจะเห็นโอกาสดีมากในทางโลกก็ตาม
มาเมื่อ 3-4 ปีก่อน ผมกลับมาให้เวลากับทางโลกมากขึ้น
โดยเฉพาะเวลาสำหรับการดูแลการลงทุนในหุ้น
ซึ่งก็ให้ผลตอบแทนทางโลกที่เป็นตัวเลขเงินทองที่ดีมาก
แต่ความคืบหน้าทางธรรมกลับถดถอยครับ
ระยะนี้อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ
อยู่ในทางหลายแพรก ว่าจะเดินต่ออย่างไร
เวลาก็เหลือน้อยลง สุขภาพก็ถดถอยหลัง
จะทำอย่างไรดีกับเส้นทางธรรม ที่ดูเหมือนเส้นขนานกับการลงทุนวีไอ
...........................................
...................................
กว่า 20 ปีที่ผมสนใจแนวทางธรรม
แต่ได้แต่ทำๆหยุดๆมานาน
จน10ปีก่อน ได้เริ่มให้เวลากับการปฏิบัติ
แม้ว่ายังต้องอยู่ในโลกที่มีภาระกิจส่วนตัวและชีวิตการงาน
เพียงแต่ได้จัดสรรแบ่งเวลามากขึ้น
จนเมื่อ7-8ปีก่อน ได้เอาจริงเอาจังอย่างมาก
สำหรับการลงทุนของผม
สิ่งที่ผมสังเกตเห็นคือ
port ของผมไม่ได้เติบโตอย่างที่ผมคิดว่าควรจะเป็น
เพราะผมแทบไม่มีเวลาไปติดตามหุ้น
ไม่มีเวลาไปพบปะเพื่อนนักลงทุน เยี่ยมชมกิจการ
ไม่ได้ประชุมผู้ถือหุ้น หรือ ไปพบผู้บริหาร
ประกอบกับแนวคิดส่วนตัวที่เชื่อว่าเราต้องเคร่งศีล
หากไม่มีศีลเป็นพื้นฐาน การเจริญทางธรรมจะทำได้ยาก
ทำให้ต้องทำความรู้จักกับหุ้นที่ลงทุนอยู่และจะลงทุนอย่างจริงจัง
ว่ากิจกรรมของบริษัทเหล่านี้
มีโอกาสทำให้ศีลพร่องหรือไม่
หรือไม่สอดคล้องกับสัมมาอาชีวะในมรรค8
จึงทำให้ไม่ได้ลงทุนในบางหุ้นที่แม้ว่าจะเห็นโอกาสดีมากในทางโลกก็ตาม
มาเมื่อ 3-4 ปีก่อน ผมกลับมาให้เวลากับทางโลกมากขึ้น
โดยเฉพาะเวลาสำหรับการดูแลการลงทุนในหุ้น
ซึ่งก็ให้ผลตอบแทนทางโลกที่เป็นตัวเลขเงินทองที่ดีมาก
แต่ความคืบหน้าทางธรรมกลับถดถอยครับ
ระยะนี้อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ
อยู่ในทางหลายแพรก ว่าจะเดินต่ออย่างไร
เวลาก็เหลือน้อยลง สุขภาพก็ถดถอยหลัง
จะทำอย่างไรดีกับเส้นทางธรรม ที่ดูเหมือนเส้นขนานกับการลงทุนวีไอ
...........................................
ดู clip รายการ money talk ย้อนหลังได้ที่
http://www.facebook.com/MoneyTalkTV
http://www.facebook.com/MoneyTalkTV
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ตลาดหุ้นเหมือนสถานที่ปฏิบัติธรรมธรรมชั้นเลิศ
โพสต์ที่ 8
ข้อความที่อาจารย์เด็กใหม่ไฟแรงโพสต์เปิดกระทู้เอาไว้ผ่านมาตอนนี้ก็ล่วงเวลามาปีกว่าๆ ได้อ่านอีกครั้ง ก็เลยได้โอกาสในการพิจารณาถึงสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการลงทุนกับการปฏิบัติธรรมของผมตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ครั้งที่แล้วอ่านแล้วก็ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นอะไร แต่ครั้งนี้ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นหน่อยนะครับเด็กใหม่ไฟแรง เขียน:ขอเอาที่ผมเคยเขียนตอนเปิดกระทู้ เส้นทางธรรมกับการลงทุนหุ้นแบบวีไอ มาpost นะครับ
...................................
กว่า 20 ปีที่ผมสนใจแนวทางธรรม
แต่ได้แต่ทำๆหยุดๆมานาน
จน10ปีก่อน ได้เริ่มให้เวลากับการปฏิบัติ
แม้ว่ายังต้องอยู่ในโลกที่มีภาระกิจส่วนตัวและชีวิตการงาน
เพียงแต่ได้จัดสรรแบ่งเวลามากขึ้น
จนเมื่อ7-8ปีก่อน ได้เอาจริงเอาจังอย่างมาก
สำหรับการลงทุนของผม
สิ่งที่ผมสังเกตเห็นคือ
port ของผมไม่ได้เติบโตอย่างที่ผมคิดว่าควรจะเป็น
เพราะผมแทบไม่มีเวลาไปติดตามหุ้น
ไม่มีเวลาไปพบปะเพื่อนนักลงทุน เยี่ยมชมกิจการ
ไม่ได้ประชุมผู้ถือหุ้น หรือ ไปพบผู้บริหาร
ประกอบกับแนวคิดส่วนตัวที่เชื่อว่าเราต้องเคร่งศีล
หากไม่มีศีลเป็นพื้นฐาน การเจริญทางธรรมจะทำได้ยาก
ทำให้ต้องทำความรู้จักกับหุ้นที่ลงทุนอยู่และจะลงทุนอย่างจริงจัง
ว่ากิจกรรมของบริษัทเหล่านี้
มีโอกาสทำให้ศีลพร่องหรือไม่
หรือไม่สอดคล้องกับสัมมาอาชีวะในมรรค8
จึงทำให้ไม่ได้ลงทุนในบางหุ้นที่แม้ว่าจะเห็นโอกาสดีมากในทางโลกก็ตาม
มาเมื่อ 3-4 ปีก่อน ผมกลับมาให้เวลากับทางโลกมากขึ้น
โดยเฉพาะเวลาสำหรับการดูแลการลงทุนในหุ้น
ซึ่งก็ให้ผลตอบแทนทางโลกที่เป็นตัวเลขเงินทองที่ดีมาก
แต่ความคืบหน้าทางธรรมกลับถดถอยครับ
ระยะนี้อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ
อยู่ในทางหลายแพรก ว่าจะเดินต่ออย่างไร
เวลาก็เหลือน้อยลง สุขภาพก็ถดถอยหลัง
จะทำอย่างไรดีกับเส้นทางธรรม ที่ดูเหมือนเส้นขนานกับการลงทุนวีไอ
...........................................
ผมคิดว่าเส้นทางธรรมกับเส้นทางลงทุนแนววีไอ ไม่ได้เป็นเส้นขนานกัน ที่เราเห็นว่ามันเป็นเส้นขนาน เพราะ ปัญญาของเราที่ยังไม่มากเพียงพอ เราจึงถูกกิเลสของเราล่อหลอกไป อันที่จริง ในทุกๆ ขณะของชีวิตมีทางเลือกนับล้านปรากฏขึ้นอยู่ต่อหน้า แต่อคติ ความเคยชิน ปัญญา ของเราทำให้เราเห็นทางเลือกแค่ไม่กี่อย่าง ทั้งๆ ที่ หากเราถอยออกมาจากจุดที่เรายืนอยู่ มองสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เปิดโอกาสที่จะพิจารณาทางเลือกอื่นๆ บ้าง จะพบว่า เรามีทางเลือกอีกหลายทางมากๆ ที่จะดำรงชีพในการลงทุนในระดับที่เหมาะสม ในขณะที่ศึกษาธรรมะในระดับที่เหมาะสม
มองธรรมะกับโลกที่เหมือนกับเป็นเส้นขนาน ก็เหมือนกับการมองการประสบความสำเร็จในการทำงาน และชีวิตครอบครัว ที่บางคนก็มองมันเป็นเส้นขนาน ทำให้บางคนทุ่มเททำงานจนชีวิตครอบครัวล่มสลาย หรือทุ่มเทให้กับครอบครัวจนการงานมีปัญหา ในขณะที่ก็มีคนอีกเป็นจำนวนมากที่สามารถจัดสรรเวลา จัดสรรลำดับความสำคัญ ที่จะทำทั้ง 2 อย่างให้ได้ดี ประสบความสำเร็จทั้งสองทาง มีความสุขทั้งชีวิตในการทำงานและชีวิตครอบครัว ซึ่งผมเชื่อว่าความก้าวหน้าทางโลกและทางธรรมสามารถพัฒนาไปด้วยกันได้ หากเรื่องเลือกที่จะมองว่ามันทำได้ และพยายามทำ แต่ถ้าหากมองว่ามันขนานกันแต่แรก ความเชื่อนี้ก็จะปกคลุมทางเลือกที่เป็นไปได้อีกนับล้าน
จริงอยู่การทุ่มเทสุดตัวในทางเลือกใด การออกดอกออกผลมันก็น่าจะเต็มเม็ดเต็มหน่วยกว่า คนจริง จึงทุ่มเทชีวิต จิตใจให้กับสิ่งที่ตัวเองเชื่อ ตัวเองศรัทธาอย่างสุดตัว ซึ่งนี่เป็นฐานของสมาธิที่ดี อย่างไรก็ตามการทุ่มอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเต็มที่ โดยละทิ้ง ไม่เหลือเวลาให้กับสิ่งอื่นจนทำให้เราเป็นทุกข์ ผมไม่คิดว่ามันเป็นทางเลือกที่ดีนัก
แถมหากพิจารณาดู Learning Curve ที่มีลักษณะเป็น S-Curve ความพยายามที่เราใส่เพิ่มขึ้นหลังจากผ่านไปจุดหนึ่ง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมันช่างออกน้อยเสียเหลือเกิน นั่นหมายว่า เรากำลังแลกเปลี่ยนทุกข์ปริมาณมากจากการพลาดสิ่งต่างๆ กับสุขที่ได้เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตามในมุมกลับอีกข้าง การทำอะไรหลายอย่างเกินไปก็จะเท่ากับทำอะไรไม่ประสบความสำเร็จสักอย่างหนึ่งเลย เพราะ Learning Curve ในช่วงต้นต้องใช้ฐานของสมาธิในการก้าวข้ามผ่าน Slow Beginning เข้าสู่ Steep Acceleration ถ้ายังไม่ถึงจุดก็แทบไม่ได้อะไรจากการเรียนรู้ เหมือนสีไฟด้วยไม้ ถ้ารอบมันยังไม่ถึงไฟมันก็ไม่ติด
ดังนั้นข้อสรุปตรงนี้ คือ เราควรทำสิ่งต่างๆ ในระดับที่เหมาะสม (ถ้าพูดในมุมของการปฏิบัติธรรมก็คือ ต้องมีสติสัมปัชชัญญะกำหนดอารมณ์ที่เหมาะสม มีสมาธิที่เหมาะสมไม่มากเกินไปจนกลายเป็นอัปปนาสมาธิ และไม่น้อยเกินไปจนไม่สามารถรู้ชัดในสภาวะที่เกิดขึ้นได้ มีความสามารถในการปักจิตและถอนจิต กระทำสิ่งต่างๆ ด้วยปัญญา ไม่ปล่อยให้ความเคยชิน อคติ ทำให้สติ สมาธิ มีความสมส่วน ไม่หนักเกินไป ไม่เบาเกินไป ไม่ช้าเกินไป ไม่เร็วเกินไป ไม่หยาบเกินไป ไม่ละเอียดเกินไป)
ซึ่งจริงๆ แล้วเราสามารถจัดสรรเวลา จัดสรรทรัพยากร ให้กับสิ่งที่เราให้ความสนใจ ที่เราแคร์ได้ ตามกฎ 80/20 คือ ในเมื่อเราแคร์ทั้งความก้าวหน้าทางธรรม การประสบความสำเร็จทางการลงทุน การทำงานเพื่อสังคม และการดูแลครอบครัวให้เปี่ยมสุข ถ้าเราลดระดับความคาดหวังของเราลงจากที่จะเอา 100 ลงเหลือแค่ 80 จะเห็นว่าเราสามารถทำทั้ง 4 อย่างให้ได้ตามเป้าหมาย แถมยังเหลือเวลาอีก 20 ที่เผื่อเอาไว้ใช้สำหรับโอกาสหรือวิกฤตอะไรก็ได้ที่จะไหลเข้ามาในอนาคต แถมใจที่ปล่อยวางทำให้บางทีประสิทธิภาพ และผลลัพธ์อาจจะดีกว่าการมุ่งมั่นทุ่มเททำอย่างเดียวเสียด้วยซ้ำ
(สิ่งนี้คือฐานของสติ หากสติ ที่ถูกพัฒนาขึ้นจากการเจริญวิปัสสนาแก่กล้ามาขึ้น จะพบความจริงว่า การปักลงไปในอารมณ์ การเคล้าคลึงในอารมณ์ การดิ่งลงไปในอารมณ์ โดยไม่รับรู้อารมณ์ใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่เป็นเหตุแห่งทุกข์ ซึ่งการปล่อยอารมณ์นั้นๆ แล้วขึ้นรับอารมณ์ใหม่ๆ เป็นการเปิดโอกาสให้เราได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้เยอะขึ้น มากขึ้น และเป็นประโยชน์มากกว่าการดิ่งลงไปในอารมณ์เดียวเดิมๆ ซ้ำๆ ที่ให้องค์ความรู้ใหม่ที่น้อยนัก)
แน่นอนล่ะว่า เป้าหมายสูงสุดของผู้ปฏิบัติธรรม คือ มรรคผลนิพพาน แต่ถ้าเรายังไม่พร้อมที่จะเอากันให้ถึงในเร็ววันนี้ วันหน้ายังมี ถ้ายังไม่พร้อมในชาตินี้ ชาติหน้า ชาติต่อๆ ไปก็ยังมี สำหรับผม ผมก็ทำเท่าที่ทำได้ ทำเท่าที่สบายใจที่จะทำ ทำเท่าที่โอกาสเหมาะสม และเอื้ออำนวย ในขณะที่เราก็รู้ชัดว่าเรายังมีความติดใจ ยินดีกับทางโลก เราก็เสพเสวยโลกด้วยสติไป ยังคงไปเที่ยว หาอะไรอร่อยๆ กิน ล้า ลัน ลา ในเวลาที่เหมาะสม และเราก็จัดสรร แบ่งปันเวลา มาพัฒนา ขัดเกลากิเลส ในระดับที่ไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป
วันหนึ่ง หากเราเสพเสวยโลกด้วยสติไปเรื่อยๆ ความเบื่อหน่าย เห็นความไม่เป็นแก่นสาร ความไร้สาระ มันก็จะปรากฎชัดขึ้นแก่จิตเอง มันก็จะเป็นแรงขับ แรงผลักดันให้เราปล่อยวางเรื่องทางโลกได้มากขึ้นอีกระดับ ลดความคาดหวังเกี่ยวกับการลงทุนได้อีกระดับ แล้วจัดสรรเวลาให้กับทางธรรมมากขึ้นอีกระดับเอง สำคัญคือเราก็อย่าทิ้งทางธรรม ค่อยๆ เดิน ค่อยๆ ทำ เท่าที่เหมาะสมกับเรา ในขณะนี้
หากเรายังคงค่อยๆ เดินของเราไปเรื่อยๆ แบบนี้ เลือกทางเดินที่เราจะเดินไปอย่างมีความสุขในระดับที่ไม่ตึงหรือไม่หย่อนจนเกินไป แน่นอนว่าวันใดวันหนึ่ง ชาติใดชาติหนึ่ง เป้าหมายต้องมาถึงอย่างแน่นอน... ใครจะวิ่งล้ำหน้า ตัดขาดทางโลกได้อย่างรวดเร็ว เด็ดขาด ก็ปล่อยเค้าไปก่อนเถอะ เรารู้ตัวเราเองดีว่าเท่าไหร่มันคือเหมาะสมของเรา และเรารู้ชัดว่า ตอนนี้เรายังอยากที่จะค่อยๆ เดินอย่างมีความสุข มากกว่าต้องมาเจ็บปวดจากการวิ่งในเวลาที่เรายังไม่มีกำลังมากเพียงพอ ถ้าวันหนึ่งที่เราพร้อมที่จะวิ่ง ใจจะถามใจ ใจจะตอบใจ และออกวิ่งด้วยความมั่นคงและมั่นใจเอง
ขอส่งความรักและปรารถนาดีไปให้กับเพื่อนๆ ทุกคนที่เดินทางในเส้นทางสายนี้ ให้มีความก้าวหน้าในทางโลกและทางธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป จนถึงซึ่งมรรคผลนิพพานในอนาคตกาลเทอญ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4366
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ตลาดหุ้นเหมือนสถานที่ปฏิบัติธรรมธรรมชั้นเลิศ
โพสต์ที่ 10
อีกอย่างนะครับ
ตามที่ผมเข้าใจนั้น การฝึกปฏิบัติธรรมก็เพื่อให้สามารถอยู่กับโลกได้อย่างปกติครับ ไ่ม่ใช่เอาไว้ให้อยู่ห่างๆ หรือตัดขาดจากโลก อันนั้นมันเพียงเพื่อให้เอื้อต่อการเข้าใจธรรมในขั้นนึงเท่านั้นครับ
ตามที่ผมเข้าใจนั้น การฝึกปฏิบัติธรรมก็เพื่อให้สามารถอยู่กับโลกได้อย่างปกติครับ ไ่ม่ใช่เอาไว้ให้อยู่ห่างๆ หรือตัดขาดจากโลก อันนั้นมันเพียงเพื่อให้เอื้อต่อการเข้าใจธรรมในขั้นนึงเท่านั้นครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 59
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดหุ้นเหมือนสถานที่ปฏิบัติธรรมธรรมชั้นเลิศ
โพสต์ที่ 11
ขอชื่นชมอนุโมทนากับคุณpicatosด้วยนะครับ และความเห็นผมเห็นด้วยกับคุณpicatos100%ครับ
แอบอ่านเฉยๆก็กะไร ขอแสดงความเห็นเพื่อความหลากหลายทรรศนะนะครับ
ถึงแม้นการกระทำจะเกิดจากดวงจิต. ความคิดทีละหนึ่ง แต่ก็เกิดจากหลากกรรม หลายกิเลส ที่ชักนำเราอย่างต่อเนื่อง เป็นเหมือนสายน้ำที่พัดพาตัวเราไหลตามกระแสธารอย่างต่อเนื่อง. แต่สติเราจะจับได้แค่เป็นช่วงๆของความคิดตามการฝึกของปัจเจคบุคคล. เราต้องมาดูตนเองสามารถรับรู้ทนทานกระแสน้ำในตลาดหุ้นได้มากน้อยเพียงใด
การเกลือกกลั้วกับดิน. ก็ย่อมเปื้อนดิน อุปมากับการอยู่กับธุรกิจ อยู่กับตลาดหุ้น ย่อมไม่แตกต่างจากการต้องยอมเกลือกกลั้วกับ ความอยาก ฝุ่นดินโคลนตมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้.
บางคนหลง เห็นดีงามจากการคลุกฝุ่น เพื่อได้ฝุ่น แล้วหลงว่าฝุ่นโคลนตม คือตัวตนของตนเอง. ขาดเสียไม่ได้. ยอมเสียเกียรติ. ยอมเสียศักดิ์ศรี เพื่อให้ได้ฝุ่นดินมาครอบครอง ในการต่อยอดกิเลสตัวอื่นๆ
ถ้าเราอยากปฎิบัติธรรม. ในตลาดหุ้น เราต้องไม่หลง. มองเห็นให้ชัดในดินโคลนตม ที่เราจะกำลังจะได้มา ว่านั่นคืออะไร.
ความคิดของผมสรุปให้ตนเองฟังว่า
-เบื้องต้น การอยู่ในธุรกิจ. จิตเราไม่สามารถปฎิเสธการเปื้อนดินได้100% แต่เราไม่ควรผิดศีล หรือ สร้างกรรมใหม่โดยการคิดแบบศรีธนชัย เพื่อให้ได้โคลนตมนั้นมา.
-เบื้องกลาง. เราไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่นให้ทรัพย์นั้นๆว่าเป็นตัวตนของเรา. มีได้ย่อมมีจาก
-ท้ายสุด เมื่อความเบื่อมาถึง จิตเราเพียงแต่ทำหน้าที่เลือกลงทุน. โดยปราศจากความอยาก.
"คนเราเกิดมาเพื่อตาย จะยึดติดกันไปทำไม"
แอบอ่านเฉยๆก็กะไร ขอแสดงความเห็นเพื่อความหลากหลายทรรศนะนะครับ
ถึงแม้นการกระทำจะเกิดจากดวงจิต. ความคิดทีละหนึ่ง แต่ก็เกิดจากหลากกรรม หลายกิเลส ที่ชักนำเราอย่างต่อเนื่อง เป็นเหมือนสายน้ำที่พัดพาตัวเราไหลตามกระแสธารอย่างต่อเนื่อง. แต่สติเราจะจับได้แค่เป็นช่วงๆของความคิดตามการฝึกของปัจเจคบุคคล. เราต้องมาดูตนเองสามารถรับรู้ทนทานกระแสน้ำในตลาดหุ้นได้มากน้อยเพียงใด
การเกลือกกลั้วกับดิน. ก็ย่อมเปื้อนดิน อุปมากับการอยู่กับธุรกิจ อยู่กับตลาดหุ้น ย่อมไม่แตกต่างจากการต้องยอมเกลือกกลั้วกับ ความอยาก ฝุ่นดินโคลนตมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้.
บางคนหลง เห็นดีงามจากการคลุกฝุ่น เพื่อได้ฝุ่น แล้วหลงว่าฝุ่นโคลนตม คือตัวตนของตนเอง. ขาดเสียไม่ได้. ยอมเสียเกียรติ. ยอมเสียศักดิ์ศรี เพื่อให้ได้ฝุ่นดินมาครอบครอง ในการต่อยอดกิเลสตัวอื่นๆ
ถ้าเราอยากปฎิบัติธรรม. ในตลาดหุ้น เราต้องไม่หลง. มองเห็นให้ชัดในดินโคลนตม ที่เราจะกำลังจะได้มา ว่านั่นคืออะไร.
ความคิดของผมสรุปให้ตนเองฟังว่า
-เบื้องต้น การอยู่ในธุรกิจ. จิตเราไม่สามารถปฎิเสธการเปื้อนดินได้100% แต่เราไม่ควรผิดศีล หรือ สร้างกรรมใหม่โดยการคิดแบบศรีธนชัย เพื่อให้ได้โคลนตมนั้นมา.
-เบื้องกลาง. เราไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่นให้ทรัพย์นั้นๆว่าเป็นตัวตนของเรา. มีได้ย่อมมีจาก
-ท้ายสุด เมื่อความเบื่อมาถึง จิตเราเพียงแต่ทำหน้าที่เลือกลงทุน. โดยปราศจากความอยาก.
"คนเราเกิดมาเพื่อตาย จะยึดติดกันไปทำไม"
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ตลาดหุ้นเหมือนสถานที่ปฏิบัติธรรมธรรมชั้นเลิศ
โพสต์ที่ 12
ถ้าจะเอามรรคผล จังหวะที่จะเข้ามรรคเข้าผลต้องตัดทางโลกครับ การที่จิตจะมีกำลังที่จะเข้าถึงปัญญาในระดับลึกซึ้งได้ ต้องสั่งเหตุอย่างต่อเนื่อง เหตุแห่งความสงบต้องถึงพร้อม การอยู่ในทางโลก เป็นเหตุใกล้ของความฟุ้งทำให้จิตมีกำลังไม่มากพอ องค์แห่งวิเวก 3 ต้องถึงพร้อมครับดำ เขียน:อีกอย่างนะครับ
ตามที่ผมเข้าใจนั้น การฝึกปฏิบัติธรรมก็เพื่อให้สามารถอยู่กับโลกได้อย่างปกติครับ ไ่ม่ใช่เอาไว้ให้อยู่ห่างๆ หรือตัดขาดจากโลก อันนั้นมันเพียงเพื่อให้เอื้อต่อการเข้าใจธรรมในขั้นนึงเท่านั้นครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ตลาดหุ้นเหมือนสถานที่ปฏิบัติธรรมธรรมชั้นเลิศ
โพสต์ที่ 13
คำถาม ก็คือ ปัจจุบันเราได้สร้างเหตุที่เหมาะสมกับมรรคผลอยู่หรือไม่?ดำ เขียน:มรรคผลเกิดขึ้นเองเมื่อเหตุปัจจัยพร้อมนะครับ
ตั้งเป้าอยากได้ไปก็ไม่ใช่ว่าจะได้นะครับ
หากยัง เหตุอันใดที่เราขาด เหตุอันใดที่เราบริบูรณ์พร้อมแล้ว เหตุอันใดที่เราควรเพียรรักษา เหตุอันใดที่เราพึงละ เหตุอันใดที่เราพึงเจริญ
หากเหตุสมบูรณ์พร้อม ผลย่อมเกิดเป็นที่แน่แท้ หากยังไม่ถึงพร้อมเรายังอยู่ในทางหรือไม่ หากไม่เราจะปรับทิศทาง และวิธีการอย่างไร
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4940
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ตลาดหุ้นเหมือนสถานที่ปฏิบัติธรรมธรรมชั้นเลิศ
โพสต์ที่ 14
การมองเห็นไตรลักษณ์ในตลาดหุ้น ก็ไม่ต่างกับที่เราเห็นไตรลักษณ์ในสิ่งอื่นๆ ที่เกิดอยู่เป็นปกติในชีวิตประจำวัน
เพราะเป็นความธรรมดาที่ต้องเจอ มันก็เป็นแค่ความคิดความเห็นหรือความเข้าใจที่เกิดกับกายกับใจเป็นปกติ
ย่อมไม่แตกต่างอะไรว่าจะเห็นในตลาดหุ้นหรือพบที่ใด เพราะไม่ได้ทำให้รู้ธรรมหรือเข้าใจอะไรได้เพิ่มไปมากกว่ากันเลย
มันไม่ได้เป็นความจริงที่เกิดกับกายกับใจ ที่ได้รู้เห็นเป็นจริงจากการปฏิบัติ
ไม่อยากนั้นคนเราทั่วไป ถ้าเจอแบบนี้ก็เหมือนกับการปฏิบัติธรรมอยู่ตลอด หรือคนเล่นหุ้น เล่นไปเล่นมาก็บรรลุธรรมกันหมดแล้ว
เพราะปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา เพราะตั้งแต่เกิดมาถึงตลอดนี้ก็เหมือนปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา นี่แก่หงำแล้ว ยังไม่เห็นคืบหน้าอะไรเลย
ถ้าบรรลุธรรมเพราะเห็นไตรลักษณ์หรือทำสติปัฏฐานในแง่นี้ได้จริง ก็ไม่ต้องไปทำปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาแล้วละครับ
ถ้าอยากจะรู้ธรรมเห็นธรรม ยังไงก็ต้องปลีกเวลาไปปฏิบัติครับ อยู่ในทางโลกแบบนี้ ก็ยังหลงอยู่แบบนี้แหละครับ
เพราะเป็นความธรรมดาที่ต้องเจอ มันก็เป็นแค่ความคิดความเห็นหรือความเข้าใจที่เกิดกับกายกับใจเป็นปกติ
ย่อมไม่แตกต่างอะไรว่าจะเห็นในตลาดหุ้นหรือพบที่ใด เพราะไม่ได้ทำให้รู้ธรรมหรือเข้าใจอะไรได้เพิ่มไปมากกว่ากันเลย
มันไม่ได้เป็นความจริงที่เกิดกับกายกับใจ ที่ได้รู้เห็นเป็นจริงจากการปฏิบัติ
ไม่อยากนั้นคนเราทั่วไป ถ้าเจอแบบนี้ก็เหมือนกับการปฏิบัติธรรมอยู่ตลอด หรือคนเล่นหุ้น เล่นไปเล่นมาก็บรรลุธรรมกันหมดแล้ว
เพราะปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา เพราะตั้งแต่เกิดมาถึงตลอดนี้ก็เหมือนปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา นี่แก่หงำแล้ว ยังไม่เห็นคืบหน้าอะไรเลย
ถ้าบรรลุธรรมเพราะเห็นไตรลักษณ์หรือทำสติปัฏฐานในแง่นี้ได้จริง ก็ไม่ต้องไปทำปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาแล้วละครับ
ถ้าอยากจะรู้ธรรมเห็นธรรม ยังไงก็ต้องปลีกเวลาไปปฏิบัติครับ อยู่ในทางโลกแบบนี้ ก็ยังหลงอยู่แบบนี้แหละครับ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4366
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ตลาดหุ้นเหมือนสถานที่ปฏิบัติธรรมธรรมชั้นเลิศ
โพสต์ที่ 15
เพื่อนๆเคยได้ยินคำกล่าวของพ่อแม่ครูอาจารย์ที่ว่า "หัวใจในการปฏิบัติคือการเจริญสติในชีวิตประจำวัน" มั้ยครับ
การปลีกวิเวก หาสถานที่สัปปายะ เพื่อมุ่งปฏิบัติในรูปแบบ ก็เพื่อให้เข้าใจหลักการปฏิบัติได้เร็วยิ่งขึ้นเพราะเป็นการตัดอารมณ์ภายนอกบางอย่างออกไป แล้วก็เหมาะกับคนบางคนเท่านั้น เพราะในความเป็นจริง ไม่มีวิธีปฏิบัติเฉพาะใดที่เหมาะกับคนทุกคน (คนเราสั่งสมกรรมมาต่างกัน) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การฝึกปฏิบัติในรูปแบบล้วนเป็นไปเพื่อที่สุดท้ายเราจะสามารถอยู่ร่วมกับสังคม อยู่กับธรรมชาติได้อย่างไม่เป็นทุกข์ครับ
การปลีกวิเวก หาสถานที่สัปปายะ เพื่อมุ่งปฏิบัติในรูปแบบ ก็เพื่อให้เข้าใจหลักการปฏิบัติได้เร็วยิ่งขึ้นเพราะเป็นการตัดอารมณ์ภายนอกบางอย่างออกไป แล้วก็เหมาะกับคนบางคนเท่านั้น เพราะในความเป็นจริง ไม่มีวิธีปฏิบัติเฉพาะใดที่เหมาะกับคนทุกคน (คนเราสั่งสมกรรมมาต่างกัน) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การฝึกปฏิบัติในรูปแบบล้วนเป็นไปเพื่อที่สุดท้ายเราจะสามารถอยู่ร่วมกับสังคม อยู่กับธรรมชาติได้อย่างไม่เป็นทุกข์ครับ
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4366
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ตลาดหุ้นเหมือนสถานที่ปฏิบัติธรรมธรรมชั้นเลิศ
โพสต์ที่ 16
พุทธศาสนาสอนให้เห็นไตรลักษณ์ที่เกิดภายในกายกับใจของเราเอง ไม่ได้สอนให้ไปพิจารณาจากสิ่งอื่นใดนอกจากนี้ครับDech เขียน:การมองเห็นไตรลักษณ์ในตลาดหุ้น ก็ไม่ต่างกับที่เราเห็นไตรลักษณ์ในสิ่งอื่นๆ ที่เกิดอยู่เป็นปกติในชีวิตประจำวัน
เพราะเป็นความธรรมดาที่ต้องเจอ มันก็เป็นแค่ความคิดความเห็นหรือความเข้าใจที่เกิดกับกายกับใจเป็นปกติ
อันนี้เริ่มถูกทางแล้วครับ ไม่ต้องเฉพาะที่เห็นในตลาดหุ้นหรอกครับ ตั้งแต่ตื่นจนหลับ อะไรที่เกิดภายในกายกับใจของเราเอง ถ้ามีสติรู้ลงไปก็คือการเจริญสติปัฏฐานอยู่แล้วครับDech เขียน:ย่อมไม่แตกต่างอะไรว่าจะเห็นในตลาดหุ้นหรือพบที่ใด เพราะไม่ได้ทำให้รู้ธรรมหรือเข้าใจอะไรได้เพิ่มไปมากกว่ากันเลย
มันไม่ได้เป็นความจริงที่เกิดกับกายกับใจ ที่ได้รู้เห็นเป็นจริงจากการปฏิบัติ
อันนี้แปลว่ายังอาจไม่เข้าใจการเจริญสติอย่างถูกต้องนะครับ คนเราเจริญสติ ปฏิบัติธรรมได้ตลอดทุกลมหายใจอยู่แล้ว ไม่ต้องรอไปเข้าวัดเข้าคอร์สที่ไหนหรอกครับ ถ้ามัวแต่เชื่อแบบนี้ ชาตินี้ทั้งชาติคงมีคนจำนวนมากที่ปิดทางรอดจากสังสารวัฏของตัวเองไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการแล้วครับDech เขียน:ไม่อยากนั้นคนเราทั่วไป ถ้าเจอแบบนี้ก็เหมือนกับการปฏิบัติธรรมอยู่ตลอด หรือคนเล่นหุ้น เล่นไปเล่นมาก็บรรลุธรรมกันหมดแล้ว
เพราะปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา เพราะตั้งแต่เกิดมาถึงตลอดนี้ก็เหมือนปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา นี่แก่หงำแล้ว ยังไม่เห็นคืบหน้าอะไรเลย
ถ้าบรรลุธรรมเพราะเห็นไตรลักษณ์หรือทำสติปัฏฐานในแง่นี้ได้จริง ก็ไม่ต้องไปทำปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาแล้วละครับ
ถ้าอยากจะรู้ธรรมเห็นธรรม ยังไงก็ต้องปลีกเวลาไปปฏิบัติครับ อยู่ในทางโลกแบบนี้ ก็ยังหลงอยู่แบบนี้แหละครับ
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4366
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ตลาดหุ้นเหมือนสถานที่ปฏิบัติธรรมธรรมชั้นเลิศ
โพสต์ที่ 17
ถ้าที่โพสต์ไปทำให้รู้สึกขุ่นเคืองใจผมต้องขออภัยไว้ด้วย เพราะเจตนาของผมคือไม่อยากให้ใครเข้าใจการปฎิบัติธรรมผิดไปจากที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้
ที่จริงแม้แต่ถ้าเพื่อนๆ คนไหนอ่านแล้วขุ่นเคืองใจขึ้นมา แล้วรู้ทันลงไปในใจตนเอง เท่านี้ก็คือการเจริญสติ เกิดเป็นกุศลจิตแล้วครับ อนุโมทนา
ที่จริงแม้แต่ถ้าเพื่อนๆ คนไหนอ่านแล้วขุ่นเคืองใจขึ้นมา แล้วรู้ทันลงไปในใจตนเอง เท่านี้ก็คือการเจริญสติ เกิดเป็นกุศลจิตแล้วครับ อนุโมทนา
- The Kop 71
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 271
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดหุ้นเหมือนสถานที่ปฏิบัติธรรมธรรมชั้นเลิศ
โพสต์ที่ 18
มนุษย์เราขาดความเป็นอิสระอย่างแท้จริงเพราะสิ่งเศร้าหมองอยู่ในใจบีบคั้นและผูกมัด
มนุษย์เป็นอิสระอย่างแท้จริงได้ ด้วยการฝึกหัดกาย วาจา ใจ ของตนตามหลักคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
คำว่า อิสระอย่างแท้จริง ตรงกับคำภาษาบาลีว่า วิมุตติ หรือความหลุดพ้น
พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า วิมุตติ คือหัวใจของพระพุทธศาสนา
ก้าวแรกบนทางสายกลางเกิดขึ้นเมื่อเราสำนึกว่าเรากำลังติดคุกติดตะรางแห่งกิเลส
การมีเงินมีทองมากๆไม่ได้ช่วยให้หลุดพ้นแต่อย่างได เพียงแค่ประดับให้ที่กักขังน่าอยู่ขึ้นหน่อยหนึ่งเท่านั้นเอง
อย่างไรก็ตามคุกของมนุษย์แปลกอย่างหนึ่ง คือประตูได้ไม่ใส่กุนแจ ใครจะพ้นโทษก็พ้นได้
ถ้ากล้าลืมตาดูชีวิตของตนจนเบื่อหน่ายในการเป็นนักโทษ และเริ่มขัดเกลากิเลส
พระอาจารย์ชยสาโร
มนุษย์เป็นอิสระอย่างแท้จริงได้ ด้วยการฝึกหัดกาย วาจา ใจ ของตนตามหลักคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
คำว่า อิสระอย่างแท้จริง ตรงกับคำภาษาบาลีว่า วิมุตติ หรือความหลุดพ้น
พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า วิมุตติ คือหัวใจของพระพุทธศาสนา
ก้าวแรกบนทางสายกลางเกิดขึ้นเมื่อเราสำนึกว่าเรากำลังติดคุกติดตะรางแห่งกิเลส
การมีเงินมีทองมากๆไม่ได้ช่วยให้หลุดพ้นแต่อย่างได เพียงแค่ประดับให้ที่กักขังน่าอยู่ขึ้นหน่อยหนึ่งเท่านั้นเอง
อย่างไรก็ตามคุกของมนุษย์แปลกอย่างหนึ่ง คือประตูได้ไม่ใส่กุนแจ ใครจะพ้นโทษก็พ้นได้
ถ้ากล้าลืมตาดูชีวิตของตนจนเบื่อหน่ายในการเป็นนักโทษ และเริ่มขัดเกลากิเลส
พระอาจารย์ชยสาโร
แนบไฟล์
เพราะสังคม..ประเมินค่า..ที่จนรวย
คนจึงสร้าง..เปลือกสวย..ไว้สวมใส่
หากสังคม..วัดค่า..ที่ภายใน
คนจะสร้าง..แต่จิตใจ..ที่ใฝ่ดี
คนจึงสร้าง..เปลือกสวย..ไว้สวมใส่
หากสังคม..วัดค่า..ที่ภายใน
คนจะสร้าง..แต่จิตใจ..ที่ใฝ่ดี
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ตลาดหุ้นเหมือนสถานที่ปฏิบัติธรรมธรรมชั้นเลิศ
โพสต์ที่ 19
ฮ่าฮ่า อ่านที่คุณดำเขียนแล้วก็คันไม้คันมือเล็กน้อย ขออนุญาตขยายความนะครับ เผื่อว่าคนที่เข้ามาอ่านจะได้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้นดำ เขียน:เพื่อนๆเคยได้ยินคำกล่าวของพ่อแม่ครูอาจารย์ที่ว่า "หัวใจในการปฏิบัติคือการเจริญสติในชีวิตประจำวัน" มั้ยครับ
การปลีกวิเวก หาสถานที่สัปปายะ เพื่อมุ่งปฏิบัติในรูปแบบ ก็เพื่อให้เข้าใจหลักการปฏิบัติได้เร็วยิ่งขึ้นเพราะเป็นการตัดอารมณ์ภายนอกบางอย่างออกไป แล้วก็เหมาะกับคนบางคนเท่านั้น เพราะในความเป็นจริง ไม่มีวิธีปฏิบัติเฉพาะใดที่เหมาะกับคนทุกคน (คนเราสั่งสมกรรมมาต่างกัน) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การฝึกปฏิบัติในรูปแบบล้วนเป็นไปเพื่อที่สุดท้ายเราจะสามารถอยู่ร่วมกับสังคม อยู่กับธรรมชาติได้อย่างไม่เป็นทุกข์ครับ
อันที่จริงการปฏิบัติธรรมนี้มันมีเป้าหมายหลายอย่างครับ แล้วแต่ความเข้าใจ และความปรารถนาของคนแต่ละคน แต่โดยรวมแล้วเป็นไปเพื่อดับทุกข์ แต่จะเป็นทุกข์หยาบ ทุกข์ละเอียด ทุกข์ในขั้นต้น ทุกข์ในขั้นกลาง ไปจนถึงที่สุดแห่งทุกข์ ก็แล้วแต่เราจะให้ความสำคัญ มุ่งเป้าไป ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
ซึ่งผมขอยกบทเริ่มของมหาสติปัฎฐานสูตรขึ้นมาสักเล็กน้อย
"...ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก
เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ..."
จะเห็นได้ว่าการปฏิบัตินี้มีวัตถุประสงค์ถึง 5 ประการ ซึ่งการจะบรรลุวัตถุประสงค์ในเบื้องต้นในการเอาไปใช้ล่วงความโศกและปริเทวะ เมื่อเราเผชิญหน้ากับทุกข์ดังกล่าวก็ไม่ว่ากัน อย่างการปฏิบัติเป็นไปเพื่อ "ที่สุดท้ายเราจะสามารถอยู่ร่วมกับสังคม อยู่กับธรรมชาติได้อย่างไม่เป็นทุกข์" อย่างที่คุณดำว่าเอาไว้ ระดับของความเข้มข้นในการปฏิบัติก็จะอยู่ที่ระดับหนึ่ง ซึ่งการเอาเครื่องมือนี้มาใช้ในระดับกับชีวิตประจำวัน ไม่ต้องวิเวก อันนี้ก็อาจจะเพียงพอ ซึ่งชีวิตก็จะเป็นทุกข์น้อยลงระดับหนึ่ง
แต่ทุกข์ที่เนื่องจากโลกยังมีอยู่ เพราะ เรายังทำเหตุใกล้ที่จะทำให้เกิดทุกข์ประเภทนี้ เมื่อใดที่เห็นภัย เห็นทุกข์โทษของทุกข์ประเภทนี้จริงๆ มันก็เป็นธรรมชาติของจิตที่จะแสวงหาสุขที่ละเอียดปราณีตยิ่งขึ้น หาหนทางในการดับทุกข์ที่ว่านี้
และเมื่อใดก็ตามผู้ปฎิบัติเห็นภัยในวัฎสงสาร เห็นทุกข์จากการเกิด เห็นทุกข์ที่เจือมากับสุข เห็นทุกข์ที่เนื่องจากการใช้ชีวิตทางโลก เห็นทุกข์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการอยู่ร่วมกับสังคม จนสภาวะทุกข์นั้นบีบคั้นจนเกิดความเบื่อหน่ายกับชีวิตทางโลก ทางเลือกที่จะมุ่งหน้าที่จะดับทุกข์ที่ละเอียดยิ่งขึ้นก็จะตั้งขึ้นเองโดยอัตโนมัติ จะมุ่งหน้าปฏิบัติในระดับก้าวหน้ายิ่งขึ้นที่ เพื่อที่จะสร้างเหตุแห่งการไม่เกิด ซึ่งระดับความเข้มข้นในระดับนี้ ตัวเราจะถอยห่างจากโลกมากขึ้น ให้เวลาในการปฏิบัติธรรมมากยิ่งขึ้น
แม้การจะถอยห่างจากทางโลกมากยิ่งขึ้น ปฏิบัติในระดับที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้น ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่เจริญสติในชีวิตประจำวันนะครับ แต่เราจะเจริญสติในชีวิตประจำวันในระดับที่เข้มข้นยิ่งขึ้นตามไปด้วย การเจริญสติในชีวิตประจำวันในระดับหยาบๆ ที่เราเคยทำได้แล้วก็จะทำในระดับที่ละเอียดยิ่งขึ้น จากที่ไม่เคยเห็นอาการทางจิตก็จะเห็นอาการทางจิต จากที่ไม่เคยเห็นอาการปรุงแต่งของกายใจที่เกิดขึ้นต่อเนื่องๆ กัน ก็จะเห็นรายละเอียดอาการเหตุปัจจัยที่เนื่องกันๆ มากยิ่งขึ้น การโม่แป้งจากหยาบก็จะละเอียดขึ้นโดยอัตโนมัติ จิตจะโน้มเข้าสู่ไตรลักษณ์ และอริยสัจ 4 เข้าใจธรรมชาติของรูปนาม ธรรมชาติของจิตตัวเองและจิตคนอื่นมากยิ่งขึ้นๆ จนทำให้การเจริญสติในชีวิตประจำวันก็มีธรรมะผุดเกิดอยู่มากมาย
อย่างไรก็ตาม ณ จังหวะที่จะประหารกิเลสจริงๆ ก็ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องวิเวก หากได้ศึกษาประวัติพระอรหันต์ ก็จะเห็นว่าหลังจากที่ดวงตาเห็นธรรม ได้รู้ธรรมะในเบื้องต้นที่เหมาะสมกับตัวเอง เรียนรู้กรรมฐานในเบื้องต้นจนมีความเชี่ยวชาญ ดูแลตัวเองได้ ก็จะวิเวกไปปฏิบัติเพื่อทำกิจที่สมควรทำ เพื่อทำพรหมจรรย์ให้แจ้ง
สุดท้ายแล้วมันขึ้นอยู่กับตัวเราเองครับ ว่าตอนนี้เป้าหมายของเราอยู่ตรงไหน วิธีการของเราคืออะไร ความเข้าใจ และอินทรีย์ของเราแก่กล้าขนาดไหน ซึ่งเป็นเรื่องที่ใจจะถามใจ ใจจะตอบใจ (หากเจริญสติปัฏฐานอย่างถูกต้อง) ว่าขณะนี้สิ่งใดเหมาะสมกับการปฏิบัติของเราที่สุด แล้วเราจะทำอย่างไรที่จะพยายามมากขึ้นมากกว่านี้อีกนิดขึ้น เพื่อที่จะทำปัจจุบันให้ดีขึ้นกว่านี้อีกนิดนึง
โดยส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยกับการฝืน การกดข่มกิเลส ทำในสิ่งที่คนอื่นบอกว่าดี ว่าสมควรทำ แล้วฝืนทำ โดยไม่ถามใจตัวเองว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เหมาะสมกับตัวเองจริงๆ หรือไม่ มันเป็นเรื่องที่เราผู้ปฏิบัติต้องมีโยนิโสมนสิการ ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ตามหลักกาลามสูตร แต่ต้องพิจารณาอย่างแยบคาย ทดลอง ลงมือปฏิบัติจริง ลงมือทำจริง เพื่อจะหาทางที่เหมาะสมกับเรา
ทางที่เหมาะสมกับเรา มีแต่เราเป็นคนที่รู้ได้เอง ต้องทดลองทำเอง และเห็นผลเอง
ขออนุโมทนากับเพื่อนๆ ผู้ร่วมทางด้วยนะครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- Tibular
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดหุ้นเหมือนสถานที่ปฏิบัติธรรมธรรมชั้นเลิศ
โพสต์ที่ 20
ก็ได้ในแง่การตรวจสอบให้เห็นจริงในจิตของตัวเองในเรื่อง การเกิดทุกข์ ตรงสายเกิดทุกข์ของปฏิจจสมุปบาท
ว่ามันเกิดขึ้นอย่างที่พระศาสดาว่าไว้ไหม?
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป คือ อิทัปปัจจยตา
ส่วนการเกิด-ดับไปของทุกข์ พระศาสดาเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท นั่นเอง
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ตรงนี้จะเห็นได้ชัด เมื่อเราเห็นหุ้นขึ้น-ลง หรือ เมื่อ ประสาทสัมผัสเรากระทบกับสิ่งต่างๆ
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมี
แต่กว่าจะเห็นได้ ก็ต้องมีอินทรีย์ห้าพละห้าในระดับหนึ่ง
ศรัทธา (ในคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งจะมีมากขึ้น เมื่อเข้าใจมากขึ้น โดยการปฏิบัติ และ การตรวจสอบธรรมนั้นด้วยตนเอง)
วิริยะ (ความเพียรละอกุศล สร้างกุศล)
สติ (สติปัฏฐานสี่ หรือ อานาปานสติ)
สมาธิ (ฌานสี่ หรือสูงกว่านั้น หรือ อานาปานสติ)
ปัญญา (การเข้าใจอริยสัจสี่ หรือ การเกิดสัมมาทิฏฐิขึ้น)
สัมมาทิฏฐิ คือ การเห็นอริยสัจสี่ นั่นเอง
ทุกข์ (ความที่สิ่งต่างๆนั้นไม่เที่ยง ดับไปได้ เสื่อม แตกสลายไปได้) เหตุให้เกิดทุกข์ (ปฏิจจสมุปบาทสายเกิด)
ความดับไปของทุกข์ (ปฏิจจสมุปบาทสายดับ) ทางดำเนินให้ถึงความดับไปของทุกข์ (มรรคมีองค์แปด)
ก็ยังได้อีกหลายแง่มุมนะครับ ธรรมของพระศาสดามีมากเหลือเกิน แต่ขอให้เราเข้าใจได้แจ่มแจ้งซักบทหนึ่งก็เป็นประโยชน์แล้ว
จริงๆเราก็ควรปฏิบัติอยู่ทุกลมหายใจเข้า-ออกเลยครับ
ส่วนจะที่ไหนนั่น พระศาสดาว่าไว้ว่า ที่ไหนเราสงบ กุศลเจริญ ก็ใช้ได้แล้วครับ
บางท่านชอบปลีกวิเวกก็ได้ หรือ บางท่านอยู่ในบ้านก็ได้ หรือ แม้แต่ ขณะทำงานก็ได้
ได้หมดทุกเวลาครับ ยิ่งปฏิบัติมากพระศาสดายิ่งชม
ว่ามันเกิดขึ้นอย่างที่พระศาสดาว่าไว้ไหม?
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป คือ อิทัปปัจจยตา
ส่วนการเกิด-ดับไปของทุกข์ พระศาสดาเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท นั่นเอง
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ตรงนี้จะเห็นได้ชัด เมื่อเราเห็นหุ้นขึ้น-ลง หรือ เมื่อ ประสาทสัมผัสเรากระทบกับสิ่งต่างๆ
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมี
แต่กว่าจะเห็นได้ ก็ต้องมีอินทรีย์ห้าพละห้าในระดับหนึ่ง
ศรัทธา (ในคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งจะมีมากขึ้น เมื่อเข้าใจมากขึ้น โดยการปฏิบัติ และ การตรวจสอบธรรมนั้นด้วยตนเอง)
วิริยะ (ความเพียรละอกุศล สร้างกุศล)
สติ (สติปัฏฐานสี่ หรือ อานาปานสติ)
สมาธิ (ฌานสี่ หรือสูงกว่านั้น หรือ อานาปานสติ)
ปัญญา (การเข้าใจอริยสัจสี่ หรือ การเกิดสัมมาทิฏฐิขึ้น)
สัมมาทิฏฐิ คือ การเห็นอริยสัจสี่ นั่นเอง
ทุกข์ (ความที่สิ่งต่างๆนั้นไม่เที่ยง ดับไปได้ เสื่อม แตกสลายไปได้) เหตุให้เกิดทุกข์ (ปฏิจจสมุปบาทสายเกิด)
ความดับไปของทุกข์ (ปฏิจจสมุปบาทสายดับ) ทางดำเนินให้ถึงความดับไปของทุกข์ (มรรคมีองค์แปด)
ก็ยังได้อีกหลายแง่มุมนะครับ ธรรมของพระศาสดามีมากเหลือเกิน แต่ขอให้เราเข้าใจได้แจ่มแจ้งซักบทหนึ่งก็เป็นประโยชน์แล้ว
จริงๆเราก็ควรปฏิบัติอยู่ทุกลมหายใจเข้า-ออกเลยครับ
ส่วนจะที่ไหนนั่น พระศาสดาว่าไว้ว่า ที่ไหนเราสงบ กุศลเจริญ ก็ใช้ได้แล้วครับ
บางท่านชอบปลีกวิเวกก็ได้ หรือ บางท่านอยู่ในบ้านก็ได้ หรือ แม้แต่ ขณะทำงานก็ได้
ได้หมดทุกเวลาครับ ยิ่งปฏิบัติมากพระศาสดายิ่งชม
- Tibular
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดหุ้นเหมือนสถานที่ปฏิบัติธรรมธรรมชั้นเลิศ
โพสต์ที่ 22
ขอเสริมเรื่องการปลีกวิเวกซักนิดครับ
สำหรับเรื่องเหตุในการปลีกวิเวกนั้นจะทำให้เราสามารถเห็นจิตปรุงแต่งได้ชัดเจนยิ่งขึ้น คือ
การที่จิตไปรับรู้อารมณ์ หรือ การทำงานของขันธ์ห้าโดยการที่วิญญาณขันธ์ไปรับรู้ รูป เวทนา สัญญา สังขารขันธ์ หรือ การทำงานของรูป-นาม
เมื่อเห็นการปรุงแต่ง ก็เห็นความเกิดขึ้น จางคลาย ดับไป ได้ง่ายขึ้น พอเห็นชัดขึ้น ก็เกิดความเข้าใจถึง
ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตน มีเพียงตัวตนชั่วคราวในสิ่งนั้น เมื่อเห็นชัดเช่นนั้น
แล้วก็จะเกิดความเข้าใจว่า นี่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา เกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เกิดความเข้าใจว่า
เพราะความไม่รู้ หรือ อวิชชานี่เอง ทำให้เราถูกจิต หลอกลวงมานาน ว่าจิตนี้เป็นตัวเราของเรา
เหมือนนายช่างปลูกเรือน สร้างนั่น สร้างนี้ มาตลอดเวลา สร้างภพ สร้างชาติ สร้างกรรม ไม่จบสิ้น
ก็ถือได้ว่าเข้าใจธรรมที่พระศาสดาได้แสดงแล้ว ซึ่งก็ควรปฏิบัติให้ยิ่งขึ้นต่อไป
แต่การที่จะไปอยู่ปลีกวิเวกหรือไม่วิเวกนั้น ท่านก็อุปมาอุปไมย เรื่อง เพื่อนสอง นั่นคือ
การเกิดขึ้น ของความคิด ความจำ ความชอบ พอใจ อันทำให้เกิดการปรุงแต่งต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งเหมือนมีเพื่อนมานั่งคุยอยู่ในหัวเราตลอดเวลา
ใครไปอยู่วิเวก แต่มี เพื่อนสอง ท่านก็ว่า ไม่ได้อยู่ผู้เดียว
ใครไม่ปลีกวิเวก แต่ไม่มี เพื่อนสอง ท่านก็ว่า นั่นแหละ คือการอยู่ผู้เดียว
เพราะฉะนั้น การปลีกวิเวก ก็อาจจะเหมาะกับบางท่าน ที่มีความเข้าใจธรรมระดับหนึ่ง หรือ เรียกว่ามีอินทรีย์ระดับหนึ่ง
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ควรทดลอง ก็ทดลองได้เสมอๆ เพื่อหาความสมดุลแห่งการปฏิบัติ หรือเพื่อการขัดเกลาตัวเองอย่างเข้มงวด
แต่บางท่านไม่ต้องปลีกวิเวก ก็ปฏิบัติได้ดี เช่น เห็นการเกิดดับใน กาย เวทนา จิต ธรรม ภายในบ้าง-ภายนอกบ้าง (สติปัฏฐานสี่)
เห็นอริยสัจ เข้าใจปฏิจจสมุปบาท เจริญอานาปานสติได้ดีในทุกขณะ ซึ่งก็แล้วแต่ความเหมาะสมของอินทรีย์แต่ละท่านนั่นเอง
สำหรับเรื่องเหตุในการปลีกวิเวกนั้นจะทำให้เราสามารถเห็นจิตปรุงแต่งได้ชัดเจนยิ่งขึ้น คือ
การที่จิตไปรับรู้อารมณ์ หรือ การทำงานของขันธ์ห้าโดยการที่วิญญาณขันธ์ไปรับรู้ รูป เวทนา สัญญา สังขารขันธ์ หรือ การทำงานของรูป-นาม
เมื่อเห็นการปรุงแต่ง ก็เห็นความเกิดขึ้น จางคลาย ดับไป ได้ง่ายขึ้น พอเห็นชัดขึ้น ก็เกิดความเข้าใจถึง
ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตน มีเพียงตัวตนชั่วคราวในสิ่งนั้น เมื่อเห็นชัดเช่นนั้น
แล้วก็จะเกิดความเข้าใจว่า นี่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา เกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด เกิดความเข้าใจว่า
เพราะความไม่รู้ หรือ อวิชชานี่เอง ทำให้เราถูกจิต หลอกลวงมานาน ว่าจิตนี้เป็นตัวเราของเรา
เหมือนนายช่างปลูกเรือน สร้างนั่น สร้างนี้ มาตลอดเวลา สร้างภพ สร้างชาติ สร้างกรรม ไม่จบสิ้น
ก็ถือได้ว่าเข้าใจธรรมที่พระศาสดาได้แสดงแล้ว ซึ่งก็ควรปฏิบัติให้ยิ่งขึ้นต่อไป
แต่การที่จะไปอยู่ปลีกวิเวกหรือไม่วิเวกนั้น ท่านก็อุปมาอุปไมย เรื่อง เพื่อนสอง นั่นคือ
การเกิดขึ้น ของความคิด ความจำ ความชอบ พอใจ อันทำให้เกิดการปรุงแต่งต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งเหมือนมีเพื่อนมานั่งคุยอยู่ในหัวเราตลอดเวลา
ใครไปอยู่วิเวก แต่มี เพื่อนสอง ท่านก็ว่า ไม่ได้อยู่ผู้เดียว
ใครไม่ปลีกวิเวก แต่ไม่มี เพื่อนสอง ท่านก็ว่า นั่นแหละ คือการอยู่ผู้เดียว
เพราะฉะนั้น การปลีกวิเวก ก็อาจจะเหมาะกับบางท่าน ที่มีความเข้าใจธรรมระดับหนึ่ง หรือ เรียกว่ามีอินทรีย์ระดับหนึ่ง
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ควรทดลอง ก็ทดลองได้เสมอๆ เพื่อหาความสมดุลแห่งการปฏิบัติ หรือเพื่อการขัดเกลาตัวเองอย่างเข้มงวด
แต่บางท่านไม่ต้องปลีกวิเวก ก็ปฏิบัติได้ดี เช่น เห็นการเกิดดับใน กาย เวทนา จิต ธรรม ภายในบ้าง-ภายนอกบ้าง (สติปัฏฐานสี่)
เห็นอริยสัจ เข้าใจปฏิจจสมุปบาท เจริญอานาปานสติได้ดีในทุกขณะ ซึ่งก็แล้วแต่ความเหมาะสมของอินทรีย์แต่ละท่านนั่นเอง
-
- Verified User
- โพสต์: 1252
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดหุ้นเหมือนสถานที่ปฏิบัติธรรมธรรมชั้นเลิศ
โพสต์ที่ 23
ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดสัมมาอาชีพทั้งหมดสามารถทำให้เป็นการปฏิบัตธรรมได้ครับ
http://goo.gl/I0ygkh
ebook ทางพ้นทุกข์ ในlink ก็อธิบายเรื่องงานกับการปฏิบัตธรรมได้เข้าใจและชัดเจนดีนะครับ
http://goo.gl/I0ygkh
ebook ทางพ้นทุกข์ ในlink ก็อธิบายเรื่องงานกับการปฏิบัตธรรมได้เข้าใจและชัดเจนดีนะครับ
สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบนโลกใบนี้คือความว่างเปล่า สูงจากว่างเปล่าคือก่อเกิดเปลี่ยนแปลง
http://www.fungdham.com/sound/popup-sou ... up-75.html
http://goo.gl/VjQ4cG
http://www.fungdham.com/sound/popup-sou ... up-75.html
http://goo.gl/VjQ4cG
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ตลาดหุ้นเหมือนสถานที่ปฏิบัติธรรมธรรมชั้นเลิศ
โพสต์ที่ 24
ผมเห็นด้วยกับท่าน Mincho นะครับ
หลายครั้งคิดว่าการลงทุนในหุ้น ได้รู้เท่าทันอารมณ์ตัวเอง
ได้รู้สึกถึงความโลภ ความกลัว พยายามเข้าใจและควบคุมมัน
บางครั้งไม่เข้าใจเหมือนกันว่า คนที่มีความรู้ ชาติตระกูลดี
ทำไมต้องทำอะไรที่ไม่เหมาะสม หรือกระทั่งผิดกฎหมาย
เพื่อผลประโยชน์ที่ดูเล็กน้อย
เหมือนข่าวกล่าวโทษที่ กลต.ประกาศเป็นระยะๆ
เป็นไปได้ว่าเค้าไม่สามารถควบคุมความโลภได้
แต่ที่ผมไม่แน่ใจคือยิ่งรวย ยิ่งโลภ
หรือยิ่งรวย ความโลภลดลง
หลายครั้งคิดว่าการลงทุนในหุ้น ได้รู้เท่าทันอารมณ์ตัวเอง
ได้รู้สึกถึงความโลภ ความกลัว พยายามเข้าใจและควบคุมมัน
บางครั้งไม่เข้าใจเหมือนกันว่า คนที่มีความรู้ ชาติตระกูลดี
ทำไมต้องทำอะไรที่ไม่เหมาะสม หรือกระทั่งผิดกฎหมาย
เพื่อผลประโยชน์ที่ดูเล็กน้อย
เหมือนข่าวกล่าวโทษที่ กลต.ประกาศเป็นระยะๆ
เป็นไปได้ว่าเค้าไม่สามารถควบคุมความโลภได้
แต่ที่ผมไม่แน่ใจคือยิ่งรวย ยิ่งโลภ
หรือยิ่งรวย ความโลภลดลง
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4741
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ตลาดหุ้นเหมือนสถานที่ปฏิบัติธรรมธรรมชั้นเลิศ
โพสต์ที่ 26
สาธุ....
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 358
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดหุ้นเหมือนสถานที่ปฏิบัติธรรมธรรมชั้นเลิศ
โพสต์ที่ 27
ถ้าใช้ตรรกะเดียวกันงั้น ดูหนังก็ปฏิบัติได้ใช่ไหม(ดูไปด้วยปฏิบัติไปด้วย)เพราะอารมณ์ก็แกว่งไปมาทำให้มองเห็นไตรลักษณ์เหมือนกัน? หรือนั่งเล่นไพ่ก็ปฏิบัติไปด้วยได้ใช่ไหมเพราะเห็นใจที่เดี๋ยวก็โลภเดี๋ยวก็ดีใจเดี๋ยวก็ตื่นเต้นอารมณ์แกว่งไปมาเห็นไตรลักษณ์เหมือนกัน? หรือเล่นเฟสบุคก็ปฏิบัติไปด้วยเห็นใจไหลไปเผลอไปส่งออกนอกตลอด? ลองไปคิดดูนะครับ
มรณฺง เม ภวิสฺสติ ความตายจักมีแก่เรา
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4366
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ตลาดหุ้นเหมือนสถานที่ปฏิบัติธรรมธรรมชั้นเลิศ
โพสต์ที่ 28
อย่านึกว่าธรรมะเป็นเรื่องล้อเล่น ไม่ใช่ใครๆ อยูดีๆ นึกอยากปฏิบัติก็ปฏิบัติได้ (ไม่เชื่อก็ลองดู) ต้องเป็นคนที่เคยฝึกปฏิบัติมาก่อนcobain_vi เขียน:ถ้าใช้ตรรกะเดียวกันงั้น ดูหนังก็ปฏิบัติได้ใช่ไหม(ดูไปด้วยปฏิบัติไปด้วย)เพราะอารมณ์ก็แกว่งไปมาทำให้มองเห็นไตรลักษณ์เหมือนกัน? หรือนั่งเล่นไพ่ก็ปฏิบัติไปด้วยได้ใช่ไหมเพราะเห็นใจที่เดี๋ยวก็โลภเดี๋ยวก็ดีใจเดี๋ยวก็ตื่นเต้นอารมณ์แกว่งไปมาเห็นไตรลักษณ์เหมือนกัน? หรือเล่นเฟสบุคก็ปฏิบัติไปด้วยเห็นใจไหลไปเผลอไปส่งออกนอกตลอด? ลองไปคิดดูนะครับ
เหมือนไม่เคยขับรถ จู่ๆ จะไปแข่ง F1 คงไม่รอด
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 358
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาดหุ้นเหมือนสถานที่ปฏิบัติธรรมธรรมชั้นเลิศ
โพสต์ที่ 29
ถ้าปฏิบัติได้จริงๆงั้นดูหนังทั้งวันเลยหรือเฝ้าหน้าจอหุ้นทั้งวันเลยใช่ไหมครับ
งั้นพาลคิดไปว่าตกปลาก็น่าจะปฏิบัติธรรมได้แค่มีสติจดจ่ออยู่?
ดูหนังโป๊ก็ปฏิบัติได้เพราะร่างกายเคลื่อนไหวตลอดเวลา เห็นอารมณ์ปรุงฟุ้งซ่านอย่างรุนแรง?
แล้วพระพุทธเจ้าจะบอกให้ไปอยู่ในที่สงบๆทำไม
แล้วช่างตีเหล็กช่างปั้นหม้อในสมัยพุทธกาลก็ทำงานทั้งวันในบ้านทำไมบรรลุธรรมได้
เอ๊ะ มันยังไง
ฟังๆอ่านๆมาอย่าสับสนต่อการปฏิบัตินะครับ ต้องแยกให้ออก อารมณ์บางอย่างมันไม่เหมาะแก่การปฏิบัติ เพราะมันเป็นอกุศลจิต พาลคิดไปอีกว่าแล้วที่หลวงพ่อเทศน์ว่า ใจเปลี่ยนไปก็รู้ดีใจก็รู้ โกรธก็รู้ฯลฯ หรือที่ท่านเทศน์ว่าหัวใจของการปฏิบัติคือการมีสติในชีวิตประจำวัน แล้วเอาเรื่องที่เราจดจ่อสนใจอย่างเช่นเฝ้าหน้าจอหุ้นมาปฏิบัติได้หรือ จริงๆมันน่าจะได้
จริงๆมันก็ได้จริงๆครับ แต่สำหรับพวกที่มีอินทรีย์เข้มแข็ง แต่พวกนี้เค้าไม่มานั่งดูหรอกครับ เพราะมันเป็นเรื่องอกุศลทั้งนั้น การมีสติในชีวิตประจำวันจริงๆคือการรู้ตามธรรมชาติ (ไม่รู้ว่าใช้คำถูกไหม) รู้สบายๆ ไม่เพ่ง ไม่บังคับ ไม่จดจ่อในอารมณ์ที่เป็นกุศลหรืออกุศล แต่ถ้ามันเกิดขึ้นก็ให้รู้สบายๆ ไม่ดักรู้
เช่นเราทำงานที่เกี่ยวกับหุ้น กินพูดยืนเดินนั่งนอนให้รู้ตัว เวลาต้องใช้ความคิดช่วงนี้จะปฏิบัติไม่ได้ก็ให้มันคิดไป แต่ถ้าเราเผลอไปคิดให้รู้ แบบนี้ปฏิบัติแล้ว
อีกกรณีถ้าเราเฝ้าหน้าจอหุ้นทั้งวันแบบนี้ปฏิบัติยากเพราะเราจะดูไม่ทันหรอกครับ การเฝ้าดูหุ้นมันไหลเข้าไปเพ่ง มันเป็นโมหะ จ้างก็ดูไม่ทัน(อาจจะทันช่วงแรกๆที่เราตั้งใจ แต่เดี๋ยวเดียวก็ขาดสติแล้ว) ลองไปสังเกตุดูนะครับ อย่าเพิ่งเชื่อผม
สองอย่างนี้ฟังดูเหมือนคล้ายกัน แต่ถ้าเราสังเกตุจะรู้ว่าการปฏิบัติจะต่างกันมากๆ(สังเกตุดู ที่บอกว่าเฝ้าดูหุ้นทั้งวันแล้วจะปฏิบัติไปด้วย มันเป็นแค่ทฤษฎี เอามาใช้จริงๆไม่ได้ ไม่เชื่อลองดูครับ)
การปฏิบัติจริงๆต้องประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา กลมเกลียวกันไป
การกระทำที่ผิดศีล เอามาปฏิบัติไม่ได้เพราะมันจะวิบัติ เช่น กินเหล้า ถ้าพวกโหลยโท่ยจะบอกว่ากินให้รู้ว่ากิน เมาให้รู้ว่าเมา ฮา (จะบ้าไปใหญ่)
กำลังจีบเมียชาวบ้านก็ให้รู้ว่ากำลังจีบเมียชาวบ้าน กินดื่มคิดพูดให้รู้ตัว ฮา
พูดโกหก เป็นสักแต่ว่าพูดไม่ได้หมายมั่นเป็นแค่เสียงไร้บัญญัติ ฮา
หรือมิจฉาสมาธิ กำลังเล่นไพ่ สติจดจ่ออยู่กับไพ่แบบนี้เรียกปฏิบัติ ฮา
กำลังดูหนังโป๊ปฏิบัติไปด้วย ยุบหนอพองหนอ ดินน้ำลมไฟทั้งนั้น ฮา
กำลังจะฆ่าสัตว์ สติจดจ่ออยู่กับสัตว์ที่จะฆ่า
แบบนี้ไม่ใช่แล้วนะครับ
ว่าจะไม่เข้ามาตอบแล้วเชียว ขาดสติคันไม้คันมือทุกที
งั้นพาลคิดไปว่าตกปลาก็น่าจะปฏิบัติธรรมได้แค่มีสติจดจ่ออยู่?
ดูหนังโป๊ก็ปฏิบัติได้เพราะร่างกายเคลื่อนไหวตลอดเวลา เห็นอารมณ์ปรุงฟุ้งซ่านอย่างรุนแรง?
แล้วพระพุทธเจ้าจะบอกให้ไปอยู่ในที่สงบๆทำไม
แล้วช่างตีเหล็กช่างปั้นหม้อในสมัยพุทธกาลก็ทำงานทั้งวันในบ้านทำไมบรรลุธรรมได้
เอ๊ะ มันยังไง
ฟังๆอ่านๆมาอย่าสับสนต่อการปฏิบัตินะครับ ต้องแยกให้ออก อารมณ์บางอย่างมันไม่เหมาะแก่การปฏิบัติ เพราะมันเป็นอกุศลจิต พาลคิดไปอีกว่าแล้วที่หลวงพ่อเทศน์ว่า ใจเปลี่ยนไปก็รู้ดีใจก็รู้ โกรธก็รู้ฯลฯ หรือที่ท่านเทศน์ว่าหัวใจของการปฏิบัติคือการมีสติในชีวิตประจำวัน แล้วเอาเรื่องที่เราจดจ่อสนใจอย่างเช่นเฝ้าหน้าจอหุ้นมาปฏิบัติได้หรือ จริงๆมันน่าจะได้
จริงๆมันก็ได้จริงๆครับ แต่สำหรับพวกที่มีอินทรีย์เข้มแข็ง แต่พวกนี้เค้าไม่มานั่งดูหรอกครับ เพราะมันเป็นเรื่องอกุศลทั้งนั้น การมีสติในชีวิตประจำวันจริงๆคือการรู้ตามธรรมชาติ (ไม่รู้ว่าใช้คำถูกไหม) รู้สบายๆ ไม่เพ่ง ไม่บังคับ ไม่จดจ่อในอารมณ์ที่เป็นกุศลหรืออกุศล แต่ถ้ามันเกิดขึ้นก็ให้รู้สบายๆ ไม่ดักรู้
เช่นเราทำงานที่เกี่ยวกับหุ้น กินพูดยืนเดินนั่งนอนให้รู้ตัว เวลาต้องใช้ความคิดช่วงนี้จะปฏิบัติไม่ได้ก็ให้มันคิดไป แต่ถ้าเราเผลอไปคิดให้รู้ แบบนี้ปฏิบัติแล้ว
อีกกรณีถ้าเราเฝ้าหน้าจอหุ้นทั้งวันแบบนี้ปฏิบัติยากเพราะเราจะดูไม่ทันหรอกครับ การเฝ้าดูหุ้นมันไหลเข้าไปเพ่ง มันเป็นโมหะ จ้างก็ดูไม่ทัน(อาจจะทันช่วงแรกๆที่เราตั้งใจ แต่เดี๋ยวเดียวก็ขาดสติแล้ว) ลองไปสังเกตุดูนะครับ อย่าเพิ่งเชื่อผม
สองอย่างนี้ฟังดูเหมือนคล้ายกัน แต่ถ้าเราสังเกตุจะรู้ว่าการปฏิบัติจะต่างกันมากๆ(สังเกตุดู ที่บอกว่าเฝ้าดูหุ้นทั้งวันแล้วจะปฏิบัติไปด้วย มันเป็นแค่ทฤษฎี เอามาใช้จริงๆไม่ได้ ไม่เชื่อลองดูครับ)
การปฏิบัติจริงๆต้องประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา กลมเกลียวกันไป
การกระทำที่ผิดศีล เอามาปฏิบัติไม่ได้เพราะมันจะวิบัติ เช่น กินเหล้า ถ้าพวกโหลยโท่ยจะบอกว่ากินให้รู้ว่ากิน เมาให้รู้ว่าเมา ฮา (จะบ้าไปใหญ่)
กำลังจีบเมียชาวบ้านก็ให้รู้ว่ากำลังจีบเมียชาวบ้าน กินดื่มคิดพูดให้รู้ตัว ฮา
พูดโกหก เป็นสักแต่ว่าพูดไม่ได้หมายมั่นเป็นแค่เสียงไร้บัญญัติ ฮา
หรือมิจฉาสมาธิ กำลังเล่นไพ่ สติจดจ่ออยู่กับไพ่แบบนี้เรียกปฏิบัติ ฮา
กำลังดูหนังโป๊ปฏิบัติไปด้วย ยุบหนอพองหนอ ดินน้ำลมไฟทั้งนั้น ฮา
กำลังจะฆ่าสัตว์ สติจดจ่ออยู่กับสัตว์ที่จะฆ่า
แบบนี้ไม่ใช่แล้วนะครับ
ว่าจะไม่เข้ามาตอบแล้วเชียว ขาดสติคันไม้คันมือทุกที
มรณฺง เม ภวิสฺสติ ความตายจักมีแก่เรา