คุณธันวา อดีตนายกสมาคมthaiviหวนคืนสังเวียนธุรกิจ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 63
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณธันวา อดีตนายกสมาคมthaiviหวนคืนสังเวียนธุรกิจ
โพสต์ที่ 31
TOT เป็นองค์กรที่มีทรัพยากรทุกอย่างเพียบพร้อมมากครับ
ขาดอย่างเดียวที่สำคัญมากคือ เรื่องของคนในองค์กรที่ยังมีคุณภาพไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้เลย
ต้องรอดูกันต่อไปครับว่าเลือดใหม่ของ TOT จะเป็นยังไง แต่งานนี้ไม่ง่ายแน่นอน
ขาดอย่างเดียวที่สำคัญมากคือ เรื่องของคนในองค์กรที่ยังมีคุณภาพไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้เลย
ต้องรอดูกันต่อไปครับว่าเลือดใหม่ของ TOT จะเป็นยังไง แต่งานนี้ไม่ง่ายแน่นอน
- Sumotin
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณธันวา อดีตนายกสมาคมthaiviหวนคืนสังเวียนธุรกิจ
โพสต์ที่ 32
ผมว่าลองคิดอีกมุมหนึ่งนะครับjonny11 เขียน:จาไปทำอะไรได้ครับ คงไม่ต่างจากการบินไทย ที่นักการเมืองมากอบโกยแล้วก็จากไปทิ้งไว้แต่หนี้สินและธุรกิจที่โดนเอกชนเข้าไปแย่งทำ. ลองคิดดูถ้าไม่ให้แอรเอเซียมาเปิดสายการบินตามใจชอบการบินไทยคงไม่เจ๊ง ทีโอทีเช่นกันถ้าไม่ให้สัมปทาน3gกับคู่สัญญาเอกชนแบบราคาต่ำๆ ทีโอทีก็คงไม่ขาดทุน
เรื่องการเริ่มของธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนสูง : ธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนสูงและ demand ยังไม่มีมากพอ ส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่ของรัฐโดยอาจจะใช้หน่วยงานรัฐหรือรัฐวิสาหกิจต่างๆ ในการลงทุนเพราะไม่มีเอกชนรายใดสายปานยาวพอเท่ารัฐได้ครับ อันนี้คือการเริ่มต้นครับ
เรื่องประสิทธิภาพของประเทศและการแข่งขัน : หลังจากการเริ่มต้นไปแล้ว demand เริ่มมี value เริ่มเกิดขึ้นการแข่งขันในอุตสหกรรมต่างๆเป็นสิ่งที่ควรมีและไม่ควรจำกัดมากนักยกเว้นธุรกิจที่ทำได้ไม่กี่รายหรือรายเดียวเท่านั้น ไม่เช่นนั้นจะทำให้ value ของประเทศโดยรวมเสียหาย ดังนั้นการที่รัฐที่มาทำธุรกิจจะอยู่ได้ในระยะยาวต้องมีการพัฒนาและการแข่งขันครับ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศมากที่สุด ถ้าองค์กรไม่เคลื่อนที่ก็จะล้มไปเอง แต่ถ้ารัฐยังอุ้มต่อส่วนที่เสียหายคือประเทศนั้นเองครับ
ปล. 3G ไม่ใช่สัมปทานนะครับ เป็นระบบใบอนุญาต ออกโดย กสทช. นะครับ ส่วนประเด็นการบินไทยมีหลายเรื่อง เช่นตัวอุสาหกรรมเองก็แข่งกันเดือดอยู่แล้วสายการบินระดับโลกเองก็เจ๊งกันมาแล้ว อย่างอื่นๆเช่นการซื้อเครื่องบินไม่มีประสิทธิภาพคือหลายรุ่นมากเกินไปอันนี้อาจจะมีการโกงหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงคนในองค์กรเองด้วยที่ไม่สามารถต่อต้านตรงจุดนี้ได้ด้วยครับ
Timing is everything, no matter what you do.
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณธันวา อดีตนายกสมาคมthaiviหวนคืนสังเวียนธุรกิจ
โพสต์ที่ 33
ผมเข้าใจว่า คุณ jonny11 คงหมายถึงคนละช่วง กับที่คุณ Sumotin ว่า คือยุคก่อหน้า
แต่ยังไงก็เถอะ ขอช่วยขยายความของทั้งสองท่าน รวมถึงที่มา และข้อดีข้อเสียของทั้งสองระบบ
คือก่อนหน้า เป็นระบบสัมปทาน ก็เป็นไปตามยุคสมัยนั้น ที่รัฐเป็นเจ้าของคลื่นความถี่
เอาง่ายๆ ก่อนหน้าก่อนที่เราเห็นชัด มาก่อนเกิด
งานวิทยุ AM ต่อมา FM และ TV เพื่อประโยชน์ในงานความมั่นคง และประชาสัมพันธ์ของรัฐ (ไม่ว่าจะจริงหรือแค่ข้ออ้างก็ตาม) จึงเกิดกรแบ่งความถี่ไปห้หน่วยงานต่างๆ มากมาย
เมื่อความถี่ล้นเหลือ หรือช่วงเวลาที่ไม่ได้ใช้งานรัฐ
แนวคิดคือ แทนที่จะทิ้งทรัพยากรไว้เปล่าประโยชน์ เจ้าของความถี่ตามกฎหมายในขณะนั้น ก็ควรมีสิทธิโดยชอบธรรม และก็เป็นไปตามหลักการ ในการใช้ทรัพยากรที่ดี ในเมื่อตัวเองไม่สามารถช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้เต็มที่
จึงเกิดระบบ "สัมปทาน"
TV กองทัพบก ทำช่อง 5 เอง แต่ให้สัมปทานเอกชนทำช่อง 7
อสมท. ทำช่อง 9 เอง ให้สัมปทานช่อง 3
กรมประชาสัมพันธ์ ทำช่อง 11 อย่างเดียว
วิทยุ จะเห็นว่า FM AM ทั่วประเทศ มีทั้งหน่วยงานรัฐ อย่างอสมท กรมประชาสัมพันธ์ กองทัพต่างๆ แม้กระทั่งกรมรด. ก็เป็นเจ้าของ
การเป็นเจ้าของ เกิดการให้สัมปทานเอกชนมากมาย
ทำนองเดียวกับระบบ TV และวิทยุ... ในระบบมือถือนั้น
TOT เองก็เริ่มที่ระบ 450 แต่ให้สัมปทานกลุมชินวัตร ซึ่งบริษัทลูกที่ดำเนินงานคือ AIS
และ CAT ให้สัมปทาน 800 กลุ่ม UCOM โดยบริษัท TAC (ซึ่งต่อมา rebrand เป็น DTAC แตเป็นแค่ชื่อทางการตลาด) ต่อมาเมื่อเกิด GSM TAC ได้ความถี่ล้นเหลือ เพราะความถี่ 1800 MHz มีย่านกว้างถึง 75MHz จึงเกิดการตัดขายออกเป็นอีก 2 บริษัท โดยเจ้าของสัมปทานคือ CAT ก็เห็นด้วย แม้แต่สนธิ ลิ้มฯ ยังเคยเป็นเจ้าของระบบนี้ ในช่วงสั้นๆ แต่เจอพิษต้มยำกุ้งไปก่อน มีการส่งต่อกัน ก่อนจะหมดสัมปทาน สุดท้าย ความถี่อีก 2 อย่าน ไปอยู่กับ true และ DPC บริษัทลูก ADVANC
ส่วนความถี่อื่น เพิ่งจะมีมายุคหลัง อย่างการเกิด ACT Mobile การเกิดแล้วตายของ CDMA ซึ่งถ้าจะเล่ามันจะหลุดประเด็นไปอีก
แต่หลังยุครสช. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนมีส่วนร่วมครั้งแรก เริ่มมีการตามกระแสโลกมากขึ้น
ตอนแรกหน่วยงานอิสระ จะแยกออกเป็น 2 ส่วน คือสื่อสารมวลชน และสื่อสารโทรคมนาคม ภายหลังรวมเป็นทั้งสองส่วน มาลงเอยเป็น "กสทช."
(เพราะทั้งสองงาน เกี่ยวเนื่องทับซ้อนกันแยกไม่ออก ทั้งในแง่วิศวกรรม และแง่ผู้บริโภค content บันเทิงของ TV วิ่งอยู่บนใยแก้วเดียวกับมือถือ ที่เคยออก "จอ" TV ก็มีมาอยู่บน "จอ" คอม จอ Tablet)
ซึ่งแก่นของแนวคิด ต่างออกจากเดิม ว่าความถี่ทั้งหมด ควรเป็นทรัพยากรของชาติ ไม่มีหน่วยงานใดผูกขาด เป็นเจ้าของ
ถ้าจัดระบบดี และโปร่งใส ต้องใช้ระบบ "ประมูล" ที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ มากกว่าระบบ "สัมปทาน" ที่มอบให้ตามใจชอบ ตามการวิ่งเต้น
กรณี TOT และ CAT
มันมีเรื่องผลประโยชน์อะไรทับซ้อนเบื่องหลังอีกมากมาย นอกจากการเมืองในองค์กรรัฐวิสาหกิจเองตามธรรมชาติแล้ว รวมถึงการเมืองระดับชาติแทรกแซงในองค์กรรัฐวิสาหกิจอีก
โจทย์ใหญ่ คือจะทำตัวปรับตัวไปทำอย่างไรดี
เมื่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ทำให้องค์กรรัฐวิสาหกิจ ไม่สามารถอยู่ในฐานะเสือนอนกิน และผูกขาดแบบรายใหญ่เหมือนยุคศักดินาเดิม เพราะโลกไปในแนวทาง "การแข่งขันเสรี และยุติธรรม" หรือที่เรียกว่า free and fair play
ซึ่งมีตัวอย่างองค์การสื่อสารแห่งชาติทั่วโลก อาศัยทุนและสายสัมพันธ์เดิม ที่ปรับปรุงปัดกวาดบ้าน แล้วแข่งขันกับเอกชนให้ได้
โตในบ่้านตัวเองแล้วออกไปรุกแข่งกับกลุ่มทุนชาติอื่น
ผมกลัว "การเมือง" แบบไทยๆ ขัดขากันเอง ทำให้เราไม่สามารถออกไปร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟังได้...
เพราะเรามักจะถนัดมวยไทยเข้าใส่กันมากกว่า
นี่ก็เห็นยกแรกแล้ว
แต่ยังไงก็เถอะ ขอช่วยขยายความของทั้งสองท่าน รวมถึงที่มา และข้อดีข้อเสียของทั้งสองระบบ
คือก่อนหน้า เป็นระบบสัมปทาน ก็เป็นไปตามยุคสมัยนั้น ที่รัฐเป็นเจ้าของคลื่นความถี่
เอาง่ายๆ ก่อนหน้าก่อนที่เราเห็นชัด มาก่อนเกิด
งานวิทยุ AM ต่อมา FM และ TV เพื่อประโยชน์ในงานความมั่นคง และประชาสัมพันธ์ของรัฐ (ไม่ว่าจะจริงหรือแค่ข้ออ้างก็ตาม) จึงเกิดกรแบ่งความถี่ไปห้หน่วยงานต่างๆ มากมาย
เมื่อความถี่ล้นเหลือ หรือช่วงเวลาที่ไม่ได้ใช้งานรัฐ
แนวคิดคือ แทนที่จะทิ้งทรัพยากรไว้เปล่าประโยชน์ เจ้าของความถี่ตามกฎหมายในขณะนั้น ก็ควรมีสิทธิโดยชอบธรรม และก็เป็นไปตามหลักการ ในการใช้ทรัพยากรที่ดี ในเมื่อตัวเองไม่สามารถช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้เต็มที่
จึงเกิดระบบ "สัมปทาน"
TV กองทัพบก ทำช่อง 5 เอง แต่ให้สัมปทานเอกชนทำช่อง 7
อสมท. ทำช่อง 9 เอง ให้สัมปทานช่อง 3
กรมประชาสัมพันธ์ ทำช่อง 11 อย่างเดียว
วิทยุ จะเห็นว่า FM AM ทั่วประเทศ มีทั้งหน่วยงานรัฐ อย่างอสมท กรมประชาสัมพันธ์ กองทัพต่างๆ แม้กระทั่งกรมรด. ก็เป็นเจ้าของ
การเป็นเจ้าของ เกิดการให้สัมปทานเอกชนมากมาย
ทำนองเดียวกับระบบ TV และวิทยุ... ในระบบมือถือนั้น
TOT เองก็เริ่มที่ระบ 450 แต่ให้สัมปทานกลุมชินวัตร ซึ่งบริษัทลูกที่ดำเนินงานคือ AIS
และ CAT ให้สัมปทาน 800 กลุ่ม UCOM โดยบริษัท TAC (ซึ่งต่อมา rebrand เป็น DTAC แตเป็นแค่ชื่อทางการตลาด) ต่อมาเมื่อเกิด GSM TAC ได้ความถี่ล้นเหลือ เพราะความถี่ 1800 MHz มีย่านกว้างถึง 75MHz จึงเกิดการตัดขายออกเป็นอีก 2 บริษัท โดยเจ้าของสัมปทานคือ CAT ก็เห็นด้วย แม้แต่สนธิ ลิ้มฯ ยังเคยเป็นเจ้าของระบบนี้ ในช่วงสั้นๆ แต่เจอพิษต้มยำกุ้งไปก่อน มีการส่งต่อกัน ก่อนจะหมดสัมปทาน สุดท้าย ความถี่อีก 2 อย่าน ไปอยู่กับ true และ DPC บริษัทลูก ADVANC
ส่วนความถี่อื่น เพิ่งจะมีมายุคหลัง อย่างการเกิด ACT Mobile การเกิดแล้วตายของ CDMA ซึ่งถ้าจะเล่ามันจะหลุดประเด็นไปอีก
แต่หลังยุครสช. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนมีส่วนร่วมครั้งแรก เริ่มมีการตามกระแสโลกมากขึ้น
ตอนแรกหน่วยงานอิสระ จะแยกออกเป็น 2 ส่วน คือสื่อสารมวลชน และสื่อสารโทรคมนาคม ภายหลังรวมเป็นทั้งสองส่วน มาลงเอยเป็น "กสทช."
(เพราะทั้งสองงาน เกี่ยวเนื่องทับซ้อนกันแยกไม่ออก ทั้งในแง่วิศวกรรม และแง่ผู้บริโภค content บันเทิงของ TV วิ่งอยู่บนใยแก้วเดียวกับมือถือ ที่เคยออก "จอ" TV ก็มีมาอยู่บน "จอ" คอม จอ Tablet)
ซึ่งแก่นของแนวคิด ต่างออกจากเดิม ว่าความถี่ทั้งหมด ควรเป็นทรัพยากรของชาติ ไม่มีหน่วยงานใดผูกขาด เป็นเจ้าของ
ถ้าจัดระบบดี และโปร่งใส ต้องใช้ระบบ "ประมูล" ที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ มากกว่าระบบ "สัมปทาน" ที่มอบให้ตามใจชอบ ตามการวิ่งเต้น
กรณี TOT และ CAT
มันมีเรื่องผลประโยชน์อะไรทับซ้อนเบื่องหลังอีกมากมาย นอกจากการเมืองในองค์กรรัฐวิสาหกิจเองตามธรรมชาติแล้ว รวมถึงการเมืองระดับชาติแทรกแซงในองค์กรรัฐวิสาหกิจอีก
โจทย์ใหญ่ คือจะทำตัวปรับตัวไปทำอย่างไรดี
เมื่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ทำให้องค์กรรัฐวิสาหกิจ ไม่สามารถอยู่ในฐานะเสือนอนกิน และผูกขาดแบบรายใหญ่เหมือนยุคศักดินาเดิม เพราะโลกไปในแนวทาง "การแข่งขันเสรี และยุติธรรม" หรือที่เรียกว่า free and fair play
ซึ่งมีตัวอย่างองค์การสื่อสารแห่งชาติทั่วโลก อาศัยทุนและสายสัมพันธ์เดิม ที่ปรับปรุงปัดกวาดบ้าน แล้วแข่งขันกับเอกชนให้ได้
โตในบ่้านตัวเองแล้วออกไปรุกแข่งกับกลุ่มทุนชาติอื่น
ผมกลัว "การเมือง" แบบไทยๆ ขัดขากันเอง ทำให้เราไม่สามารถออกไปร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟังได้...
เพราะเรามักจะถนัดมวยไทยเข้าใส่กันมากกว่า
นี่ก็เห็นยกแรกแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 1049
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณธันวา อดีตนายกสมาคมthaiviหวนคืนสังเวียนธุรกิจ
โพสต์ที่ 34
ยินดีด้วยกับพี่ธันวาด้วยครับ
ที่บ้านผมใช้บริการอินเตอร์tot
ตอนแรกเคยใช้ของ 3b แล้วยกเลิกเพราะไม่ได้มาอยู่ พอตย้ายมาอยู่จริงจะกลับมาใช้อีกสายเต็มแล้ว
เหลือของtot เจ้าเดียว เลยจำใจต้องใช้เพราะได้ยินกิตติศักดิ์ก็หวั่นๆ เราก็คิดว่าไม่เป็นไรใช้นิดหน่อยก็น่าจะได้
ก่อนหน้านั้นก็เคยใช้บริการtotโทรศัพท์พื้นฐาน รู้สึกว่าบริการแย่ โทรศัพท์เสียทีดำเนินการไม่ประทับใจโทรแจ้งเสียก็ช้ากว่าจะมาแก้ให้ ความรู้สึกเราต้องทนใช้แต่เมื่อทีผู้ให้บริการอีกรายทำให้ผมเปิดเบอร์ใหม่กับเจ้าใหม่ตอนนั้นรู้สึกได้เลยว่าเจ้าใหม่บริการดีกว่าโทรแจ้งเสียก็แก้ไขได้รวดเร็วดี
แต่พอตอนหลังทีใช้อินเตอร์บ้าน เมื่อปลายปีแถวบ้านฝนตกหนักฟ้าผ่าทำให้โมเดมเสีย เราก็คิดว่าเอาอีกแล้ว
แล้วความรู้สึเดิมๆก็มาอยู่ในหัวอีกก็ทำใจกับการบริการแบบเดิม
และสิ่งที่ผมคิดไว้มันคนละเรื่องเลย พอโทรแจ้งเสียฝากเบอร์ติดต่อกลับ ประมาณไม่เกินชั่วโมงมีเจ้าหน้าโทรกลับมาสอบถามปัญหาและแก้ไขได้รวดเร็วดี เสียงปลายสายก็พูดเพราะไม่ทำเสียงหงุดหงิดด้วย และสิ่งหนึ่งที่ผมจับความรู้สึกได้คือเจ้าหน้ามีใจบริการแบบใส่ใจดีมาก พอปัญหาแก้ไขเสร็จมีการโทรมาเช็คความเรียบร้อยอีกด้วยแถมคนที่มาแก้ไขก็ยินดีให้โทรติดต่อง่ายๆ
ผมคิดเอาเองว่า พี่ธันวาคงรู้ปัญหาและเข้าถึงวิธีการแก้ไขที่ดีและตรงประเด็นมาก
นี้อาจจะแค่เริ่มต้นก็เข้ามาเปลี่ยนภาพลักษณ์ต่อผู้ใช้บริการได้ถูกใจแล้ว
ต่อคงมีสินค้าที่โดนใจกลุ่มเป้าหมาย (ผมเดาเองนะ)
ที่บ้านผมใช้บริการอินเตอร์tot
ตอนแรกเคยใช้ของ 3b แล้วยกเลิกเพราะไม่ได้มาอยู่ พอตย้ายมาอยู่จริงจะกลับมาใช้อีกสายเต็มแล้ว
เหลือของtot เจ้าเดียว เลยจำใจต้องใช้เพราะได้ยินกิตติศักดิ์ก็หวั่นๆ เราก็คิดว่าไม่เป็นไรใช้นิดหน่อยก็น่าจะได้
ก่อนหน้านั้นก็เคยใช้บริการtotโทรศัพท์พื้นฐาน รู้สึกว่าบริการแย่ โทรศัพท์เสียทีดำเนินการไม่ประทับใจโทรแจ้งเสียก็ช้ากว่าจะมาแก้ให้ ความรู้สึกเราต้องทนใช้แต่เมื่อทีผู้ให้บริการอีกรายทำให้ผมเปิดเบอร์ใหม่กับเจ้าใหม่ตอนนั้นรู้สึกได้เลยว่าเจ้าใหม่บริการดีกว่าโทรแจ้งเสียก็แก้ไขได้รวดเร็วดี
แต่พอตอนหลังทีใช้อินเตอร์บ้าน เมื่อปลายปีแถวบ้านฝนตกหนักฟ้าผ่าทำให้โมเดมเสีย เราก็คิดว่าเอาอีกแล้ว
แล้วความรู้สึเดิมๆก็มาอยู่ในหัวอีกก็ทำใจกับการบริการแบบเดิม
และสิ่งที่ผมคิดไว้มันคนละเรื่องเลย พอโทรแจ้งเสียฝากเบอร์ติดต่อกลับ ประมาณไม่เกินชั่วโมงมีเจ้าหน้าโทรกลับมาสอบถามปัญหาและแก้ไขได้รวดเร็วดี เสียงปลายสายก็พูดเพราะไม่ทำเสียงหงุดหงิดด้วย และสิ่งหนึ่งที่ผมจับความรู้สึกได้คือเจ้าหน้ามีใจบริการแบบใส่ใจดีมาก พอปัญหาแก้ไขเสร็จมีการโทรมาเช็คความเรียบร้อยอีกด้วยแถมคนที่มาแก้ไขก็ยินดีให้โทรติดต่อง่ายๆ
ผมคิดเอาเองว่า พี่ธันวาคงรู้ปัญหาและเข้าถึงวิธีการแก้ไขที่ดีและตรงประเด็นมาก
นี้อาจจะแค่เริ่มต้นก็เข้ามาเปลี่ยนภาพลักษณ์ต่อผู้ใช้บริการได้ถูกใจแล้ว
ต่อคงมีสินค้าที่โดนใจกลุ่มเป้าหมาย (ผมเดาเองนะ)
อย่าหลุดแนวที่ตัวเองถนัด สู้สู้
-
- Verified User
- โพสต์: 89
- ผู้ติดตาม: 1
Re: คุณธันวา อดีตนายกสมาคมthaiviหวนคืนสังเวียนธุรกิจ
โพสต์ที่ 35
คุณIi'8n ให้ภาพที่มาที่ไปได้ดีมาก ขอบคุณครับ
ทีโอทีดูเหมือนธุรกิจที่คูเมืองหลัก(สิทธิในสัมปทาน)หายไปถ้าไม่ทำอะไรก็คงค่อยๆถูกคู่แข่งกินส่วนแบ่งไปเรื่อยๆ อยากเห็นทีโอทีอยู่ได้ด้วยตัวเองและเป็นประโยชน์กับส่วนรวมไม่ใช่อยู่เพื่อแค่รักษาอาณาจักรเดิมเอาไว้
ทีโอทีดูเหมือนธุรกิจที่คูเมืองหลัก(สิทธิในสัมปทาน)หายไปถ้าไม่ทำอะไรก็คงค่อยๆถูกคู่แข่งกินส่วนแบ่งไปเรื่อยๆ อยากเห็นทีโอทีอยู่ได้ด้วยตัวเองและเป็นประโยชน์กับส่วนรวมไม่ใช่อยู่เพื่อแค่รักษาอาณาจักรเดิมเอาไว้
- Sumotin
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณธันวา อดีตนายกสมาคมthaiviหวนคืนสังเวียนธุรกิจ
โพสต์ที่ 36
คุณ Ii'8N มุมมองของผมนะครับ สำหรับ ทั้งสองแบบนั้นเหมือนกันตราบที่ผลประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมนั้นเท่ากันครับ
แต่สิ่งที่ชี้ประเด็นคือ ถ้าสัมปทานนั้นอยู่ที่หน่วยงานรัฐเลย และส่งเงินทั้งหมดเข้ารัฐ โดยไม่ได้นำมารวมในงบกำไรขาดทุนเพื่อหักต้นทุนอื่นๆออกก่อนจะเป็นรายได้ส่งเข้ารัฐนั้น ให้เป็นสิทธิของรัฐโดยตรงดีกว่าครับ ไม่ว่าสัมปทานจะถือโดยกระทรวงแทนก็ได้ครับ การที่ให้สิทธิแก่รัฐวิสาหกิจแล้วรัฐวิสาหกิจนั้นพึ่งแต่กำไรจากสัมปทานโดยไม่ได้ provide value added อื่นๆ ก็ไม่จำเป็นต้องมีส่วนรวมจากรายได้นี้ก็ได้ครับ ความเห็นผมประมาณนี้ครับ
แต่สิ่งที่ชี้ประเด็นคือ ถ้าสัมปทานนั้นอยู่ที่หน่วยงานรัฐเลย และส่งเงินทั้งหมดเข้ารัฐ โดยไม่ได้นำมารวมในงบกำไรขาดทุนเพื่อหักต้นทุนอื่นๆออกก่อนจะเป็นรายได้ส่งเข้ารัฐนั้น ให้เป็นสิทธิของรัฐโดยตรงดีกว่าครับ ไม่ว่าสัมปทานจะถือโดยกระทรวงแทนก็ได้ครับ การที่ให้สิทธิแก่รัฐวิสาหกิจแล้วรัฐวิสาหกิจนั้นพึ่งแต่กำไรจากสัมปทานโดยไม่ได้ provide value added อื่นๆ ก็ไม่จำเป็นต้องมีส่วนรวมจากรายได้นี้ก็ได้ครับ ความเห็นผมประมาณนี้ครับ
Timing is everything, no matter what you do.
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 972
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณธันวา อดีตนายกสมาคมthaiviหวนคืนสังเวียนธุรกิจ
โพสต์ที่ 37
ชี้กลยุทธ์พลิกฟื้นทีโอที ลงทุนเฉพาะกลุ่ม-คุมรายจ่าย
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%A2.html
วันที่ 19 มกราคม 2558 10:47
"ธันวา" รักษาการซีอีโอทีโอที แนะทางรอดพลิกฟื้นองค์กรลด "ขาดทุน"พลิกสู่"กำไร" ระบุต้องมุ่งเน้นลงทุนเฉพาะกลุ่ม
คุมรายจ่ายให้อยู่ ปรับรูปแบบการทำงานใหม่เน้นผลชี้วัดที่ชัดเจน พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพมากขึ้น พร้อมยกระดับองค์กรสู่กลไกหลักหนุนนโยบายดิจิทัล อีโคโนมี
การลาออกของ "นายยงยุทธ วัฒนสินธุ์" อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบมจ.ทีโอที ช่วงปลายเดือน ส.ค. 2557 ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ส่งผลให้ "ทีโอที" ที่มีปัญหารุมเร้าอยู่แล้ว ต้องเผชิญกับการไร้ซึ่งผู้นำองค์กรอีกครั้ง เปรียบเสมือนเรือที่ขาดหางเสือ ท่ามกลางผลประกอบการที่ไม่เฟื่องฟูเหมือนอดีต และอยู่ระหว่างการผ่าตัดองค์กรครั้งใหญ่ ตามนโยบายปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ
การเปลี่ยนตัวซีอีโอช่วงนั้น ปรากฏชื่อของ "นายธันวา เลาหศิริวงศ์" อดีตผู้บริหารองค์กรไอทียักษ์ใหญ่ ถูกเลือกขึ้นมา "รักษาการแทน" เป็นซีอีโอขัดตาทัพ พร้อมๆ กับคาดการณ์ "ขาดทุน" ปี 2557 ที่สูงลิ่วถึง 8,500 ล้านบาท
ถอดรหัสผ่าตัดใหญ่องค์กร
การปรับโครงสร้างใหม่ของทีโอที เป็นผลสืบเนื่องหลังจากที่ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อกำหนดทิศทางดำเนินงานของ 6 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ 1.กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม 2.กลุ่มเสาโทรคมนาคม 3.กลุ่มอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ และเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ 4.กลุ่มโทรศัพท์เคลื่อนที่ 5.กลุ่มโทรศัพท์ประจำที่และอินเทอร์เน็ต และ 6.กลุ่มบริการด้านไอทีรวมทั้งไอดีซี และคลาวด์
ดังนั้นคณะกรรมการ(บอร์ด) ที่มีพล.อ.สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ เป็นประธาน ได้มีมติให้ปรับโครงสร้างองค์กร จากการประชุมคณะกรรมการทีโอที ครั้งที่ 10/2557 เมื่อวันที่ 18 พ.ย.2557 ให้แบ่งธุรกิจออกเป็น 6 กลุ่ม ดังกล่าว เพื่อเตรียมรับกลยุทธ์ระยะยาว และปรับลักษณะการทำงานให้เป็นแบบเมตริก (Matrix) เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร เพิ่มความรับผิดชอบตัวชี้วัดทางการขายและทางผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจนขึ้น ปรับลดจำนวนส่วนงานเหลือ 7 สายงาน ลดความซ้ำซ้อน เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพมากขึ้น
นายธันวา เลาหศิริวงศ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ทีโอที กล่าวว่า สิ่งที่จะทำให้ทีโอทีพลิกฟื้นองค์กรได้นอกจากปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรแล้ว ทีโอทีต้องสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายและการลงทุนให้มีประสิทธิภาพ โดยมีสายงานที่รับผิดชอบดูแลลูกค้าองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน และแยกสายงานรับผิดชอบดูแลลูกค้ารายย่อยอย่างใกล้ชิด รวมถึงทีโอทีต้องเป็นกลไกสนับสนุนนโยบายดิจิทัล อีโคโนมี รวมทั้งเป็นโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อสร้างความมั่นคงประเทศ
นโยบายเรื่องการลงทุน ทีโอที ต้องเน้นลงทุนแบบเจาะกลุ่มเป้าหมายลูกค้า และในพื้นที่ที่ผลตอบแทนเป็นบวกชัดเจนเท่านั้น ไม่ลงทุนขยายเครือข่ายในลักษณะปูพรม และไม่ก่อให้เกิดรายได้ รวมทั้งจำกัดต้นทุนที่สูงกว่าคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจการให้บริการไวไฟที่ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน และซ้ำซ้อนกับจุดที่มีผู้ให้บริการอยู่แล้วหลายราย
นอกจากนี้ธุรกิจไฟเบอร์ออพติก เอฟทีทีเอ็กซ์ ต้องเข้มข้นตรวจสอบต้นทุนการให้บริการจริงว่ามีเท่าไร และให้บริการลูกค้าได้ในราคาเท่าไร ถึงจะทำให้ทีโอทีสามารถแข่งขันและต่อยอดรายได้ในด้านอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย
อินเท็นซีฟโปรแกรมล่อใจพนง.
นอกจากนี้ ยังปรับปรุงกระบวนการทำงาน ปรับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างให้มีความคล่องตัวและได้ราคาที่แข่งขันทางธุรกิจได้ ทั้งจัดโครงการส่งเสริมการขาย (เซล อินเท็นซีฟ โปรแกรม) กระตุ้นการสร้างกำไรและยอดขายของพนักงาน เพื่อให้รายได้เติบโตมากขึ้นกว่าการคาดการณ์ แบ่งเป็นกลุ่มลูกค้าทั่วไป โดยตั้งเป้าประมาณการกำไรจากการดำเนินงาน หลังหักค่าตอบแทนการขายเพิ่มขึ้นประมาณ 164 ล้านบาท ซึ่งคาดว่า จะมีกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น 344 ล้านบาท และรายได้เพิ่มขึ้น 452 ล้านบาท กลุ่มลูกค้าองค์กรตั้งเป้าประมาณการรายได้จากสัญญาการสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 500ล้านบาท
ขณะที่ การสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจที่มุ่งเน้นหาพันธมิตรด้านยุทธศาสตร์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศใน 6 กลุ่มธุรกิจ เพื่อสร้างโอกาสเพิ่มมูลค่าธุรกิจร่วมกันนั้น นายธันวา กล่าวว่า การหาพาร์ทเนอร์ถือเป็นการเปิดกว้างและเปิดรับกับทุกรูปแบบการทำธุรกิจทั้ง 6 กลุ่ม โดยไม่จำกัดเฉพาะธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ เน้นประโยชน์ร่วมกันของพันธมิตรธุรกิจทุกฝ่าย ซึ่งขณะนี้มีผู้ส่งรายละเอียดข้อเสนอและผลประโยชน์เพื่อร่วมธุรกิจมาให้แล้ว เพียงแต่รอการพิจารณาจากบอร์ดอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ผลจะพิจารณาจากประโยชน์สูงสุดของ ทีโอที และประเทศชาติเป็นหลัก
ปัดฝุ่นโทรตู้-ไฟเบอร์ฯลดต้นทุน
นายธันวา ยังกล่าวด้วยว่า การเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่ายจากบริการโทรศัพท์สาธารณะทั่วประเทศ โดยเปลี่ยนเครื่องโทรศัพท์สาธารณะ เป็นเครื่องโทรศัพท์สาธารณะพร้อมตู้เติมเงินค่าใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ คาดว่า การเปลี่ยนครั้งนี้ จะทำให้ทีโอทีมีมูลค่ารวมเพิ่มขึ้นประมาณ 150 ล้านบาทใน 3 ปี
ส่วนโครงการเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศระบบเอเชีย-แอฟริกา-ยุโรป1 (เอเออี-1) เป็นโครงการลงทุนจัดสร้างระบบเคเบิลใต้น้ำร่วมกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายหลักในประเทศต่าง ๆ เพื่อรองรับความต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ ที่มีอัตราการเติบโตซึ่งจะมีความจุโครงข่าย (คาปาซิตี้) ไม่ต่ำกว่า 3,600 กิกะไบต์ โครงการนี้ส่งผลให้ ทีโอที ลดต้นทุนค่าเช่าวงจรอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 2,300 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาทีโอทีมีต้นทุนที่สูงกว่าคู่แข่งในตลาด ทำให้การทำราคาเพื่อแข่งขันไม่จูงใจลูกค้า
"การเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่าย จากบริการโทรศัพท์สาธารณะทั่วประเทศ ด้วยการเปลี่ยนเป็นเครื่องโทรศัพท์สาธารณะพร้อมตู้เติมเงินค่าใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จะสร้างรายได้เพิ่มและลดค่าใช้จ่ายของทีโอทีรวมถึงต่อยอดไปสู่ธุรกิจใหม่ ส่วนโครงการเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศระบบเอเออี-1 จะส่งผลให้ประชาชนใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วถึงในราคาที่เป็นมาตรฐาน ความเร็วเพิ่มขึ้น ยกระดับไทยให้เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนทราฟฟิกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เสริมความมั่นคงระบบโครงข่ายของประเทศอีกทางหนึ่ง คาดว่าโครงการจะเปิดใช้งานได้ในปี 2559" นายธันวา กล่าว
จากขาดทุนส่อพลิกกำไรพันล้าน
ก่อนหน้านี้ นายพิพัฒน์ ขันทอง รองประธานบอร์ดทีโอที กล่าวว่า บอร์ดเข้ามาดำเนินงานกว่า 4 เดือนหลังเข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 19 ส.ค. 2557 จะสามารถลดการขาดทุนของบริษัทจากเดิม 8,500 ล้านบาท เหลือ 7,800 ล้านบาท จนสุดท้ายเหลือ 4,572 ล้านบาท จากรายได้เดิมที่ประมาณการไว้ 32,000 ล้านบาท และล่าสุดได้สรุปตัวเลขของปี 2557 ทีโอทีอาจพลิกมีกำไรสุทธิได้ราว 1,000 ล้านบาท หลังปรับลดรายจ่ายและทำรายได้ในส่วนต่างๆ ให้มากขึ้น รวมถึงมีปัจจัยมาจากปรับรูปแบบทำงาน ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ปรับลักษณะการทำงานให้พนักงาน 1 คน ทำงานได้หลายอย่าง
ทั้งนี้ องค์ประกอบหลักที่ทำให้ทีโอทีพลิกกลับมีกำไร 1,000 ล้านบาท คือ 1.ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นทุกทาง 2.เร่งรัดหนี้สินที่คงค้าง ซึ่งทำให้ในช่วงที่ผ่านมียอดหนี้ค้างที่เร่งรัดได้ราวหลัก 100 ล้านบาท และ 3.ชะลองานจัดจ้าง-เช่าซื้อที่ไม่จำเป็น
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%A2.html
วันที่ 19 มกราคม 2558 10:47
"ธันวา" รักษาการซีอีโอทีโอที แนะทางรอดพลิกฟื้นองค์กรลด "ขาดทุน"พลิกสู่"กำไร" ระบุต้องมุ่งเน้นลงทุนเฉพาะกลุ่ม
คุมรายจ่ายให้อยู่ ปรับรูปแบบการทำงานใหม่เน้นผลชี้วัดที่ชัดเจน พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพมากขึ้น พร้อมยกระดับองค์กรสู่กลไกหลักหนุนนโยบายดิจิทัล อีโคโนมี
การลาออกของ "นายยงยุทธ วัฒนสินธุ์" อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบมจ.ทีโอที ช่วงปลายเดือน ส.ค. 2557 ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ส่งผลให้ "ทีโอที" ที่มีปัญหารุมเร้าอยู่แล้ว ต้องเผชิญกับการไร้ซึ่งผู้นำองค์กรอีกครั้ง เปรียบเสมือนเรือที่ขาดหางเสือ ท่ามกลางผลประกอบการที่ไม่เฟื่องฟูเหมือนอดีต และอยู่ระหว่างการผ่าตัดองค์กรครั้งใหญ่ ตามนโยบายปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ
การเปลี่ยนตัวซีอีโอช่วงนั้น ปรากฏชื่อของ "นายธันวา เลาหศิริวงศ์" อดีตผู้บริหารองค์กรไอทียักษ์ใหญ่ ถูกเลือกขึ้นมา "รักษาการแทน" เป็นซีอีโอขัดตาทัพ พร้อมๆ กับคาดการณ์ "ขาดทุน" ปี 2557 ที่สูงลิ่วถึง 8,500 ล้านบาท
ถอดรหัสผ่าตัดใหญ่องค์กร
การปรับโครงสร้างใหม่ของทีโอที เป็นผลสืบเนื่องหลังจากที่ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อกำหนดทิศทางดำเนินงานของ 6 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ 1.กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม 2.กลุ่มเสาโทรคมนาคม 3.กลุ่มอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ และเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ 4.กลุ่มโทรศัพท์เคลื่อนที่ 5.กลุ่มโทรศัพท์ประจำที่และอินเทอร์เน็ต และ 6.กลุ่มบริการด้านไอทีรวมทั้งไอดีซี และคลาวด์
ดังนั้นคณะกรรมการ(บอร์ด) ที่มีพล.อ.สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ เป็นประธาน ได้มีมติให้ปรับโครงสร้างองค์กร จากการประชุมคณะกรรมการทีโอที ครั้งที่ 10/2557 เมื่อวันที่ 18 พ.ย.2557 ให้แบ่งธุรกิจออกเป็น 6 กลุ่ม ดังกล่าว เพื่อเตรียมรับกลยุทธ์ระยะยาว และปรับลักษณะการทำงานให้เป็นแบบเมตริก (Matrix) เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร เพิ่มความรับผิดชอบตัวชี้วัดทางการขายและทางผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจนขึ้น ปรับลดจำนวนส่วนงานเหลือ 7 สายงาน ลดความซ้ำซ้อน เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพมากขึ้น
นายธันวา เลาหศิริวงศ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ทีโอที กล่าวว่า สิ่งที่จะทำให้ทีโอทีพลิกฟื้นองค์กรได้นอกจากปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรแล้ว ทีโอทีต้องสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายและการลงทุนให้มีประสิทธิภาพ โดยมีสายงานที่รับผิดชอบดูแลลูกค้าองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน และแยกสายงานรับผิดชอบดูแลลูกค้ารายย่อยอย่างใกล้ชิด รวมถึงทีโอทีต้องเป็นกลไกสนับสนุนนโยบายดิจิทัล อีโคโนมี รวมทั้งเป็นโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อสร้างความมั่นคงประเทศ
นโยบายเรื่องการลงทุน ทีโอที ต้องเน้นลงทุนแบบเจาะกลุ่มเป้าหมายลูกค้า และในพื้นที่ที่ผลตอบแทนเป็นบวกชัดเจนเท่านั้น ไม่ลงทุนขยายเครือข่ายในลักษณะปูพรม และไม่ก่อให้เกิดรายได้ รวมทั้งจำกัดต้นทุนที่สูงกว่าคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจการให้บริการไวไฟที่ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน และซ้ำซ้อนกับจุดที่มีผู้ให้บริการอยู่แล้วหลายราย
นอกจากนี้ธุรกิจไฟเบอร์ออพติก เอฟทีทีเอ็กซ์ ต้องเข้มข้นตรวจสอบต้นทุนการให้บริการจริงว่ามีเท่าไร และให้บริการลูกค้าได้ในราคาเท่าไร ถึงจะทำให้ทีโอทีสามารถแข่งขันและต่อยอดรายได้ในด้านอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย
อินเท็นซีฟโปรแกรมล่อใจพนง.
นอกจากนี้ ยังปรับปรุงกระบวนการทำงาน ปรับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างให้มีความคล่องตัวและได้ราคาที่แข่งขันทางธุรกิจได้ ทั้งจัดโครงการส่งเสริมการขาย (เซล อินเท็นซีฟ โปรแกรม) กระตุ้นการสร้างกำไรและยอดขายของพนักงาน เพื่อให้รายได้เติบโตมากขึ้นกว่าการคาดการณ์ แบ่งเป็นกลุ่มลูกค้าทั่วไป โดยตั้งเป้าประมาณการกำไรจากการดำเนินงาน หลังหักค่าตอบแทนการขายเพิ่มขึ้นประมาณ 164 ล้านบาท ซึ่งคาดว่า จะมีกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น 344 ล้านบาท และรายได้เพิ่มขึ้น 452 ล้านบาท กลุ่มลูกค้าองค์กรตั้งเป้าประมาณการรายได้จากสัญญาการสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 500ล้านบาท
ขณะที่ การสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจที่มุ่งเน้นหาพันธมิตรด้านยุทธศาสตร์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศใน 6 กลุ่มธุรกิจ เพื่อสร้างโอกาสเพิ่มมูลค่าธุรกิจร่วมกันนั้น นายธันวา กล่าวว่า การหาพาร์ทเนอร์ถือเป็นการเปิดกว้างและเปิดรับกับทุกรูปแบบการทำธุรกิจทั้ง 6 กลุ่ม โดยไม่จำกัดเฉพาะธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ เน้นประโยชน์ร่วมกันของพันธมิตรธุรกิจทุกฝ่าย ซึ่งขณะนี้มีผู้ส่งรายละเอียดข้อเสนอและผลประโยชน์เพื่อร่วมธุรกิจมาให้แล้ว เพียงแต่รอการพิจารณาจากบอร์ดอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ผลจะพิจารณาจากประโยชน์สูงสุดของ ทีโอที และประเทศชาติเป็นหลัก
ปัดฝุ่นโทรตู้-ไฟเบอร์ฯลดต้นทุน
นายธันวา ยังกล่าวด้วยว่า การเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่ายจากบริการโทรศัพท์สาธารณะทั่วประเทศ โดยเปลี่ยนเครื่องโทรศัพท์สาธารณะ เป็นเครื่องโทรศัพท์สาธารณะพร้อมตู้เติมเงินค่าใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ คาดว่า การเปลี่ยนครั้งนี้ จะทำให้ทีโอทีมีมูลค่ารวมเพิ่มขึ้นประมาณ 150 ล้านบาทใน 3 ปี
ส่วนโครงการเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศระบบเอเชีย-แอฟริกา-ยุโรป1 (เอเออี-1) เป็นโครงการลงทุนจัดสร้างระบบเคเบิลใต้น้ำร่วมกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายหลักในประเทศต่าง ๆ เพื่อรองรับความต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ ที่มีอัตราการเติบโตซึ่งจะมีความจุโครงข่าย (คาปาซิตี้) ไม่ต่ำกว่า 3,600 กิกะไบต์ โครงการนี้ส่งผลให้ ทีโอที ลดต้นทุนค่าเช่าวงจรอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 2,300 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาทีโอทีมีต้นทุนที่สูงกว่าคู่แข่งในตลาด ทำให้การทำราคาเพื่อแข่งขันไม่จูงใจลูกค้า
"การเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่าย จากบริการโทรศัพท์สาธารณะทั่วประเทศ ด้วยการเปลี่ยนเป็นเครื่องโทรศัพท์สาธารณะพร้อมตู้เติมเงินค่าใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จะสร้างรายได้เพิ่มและลดค่าใช้จ่ายของทีโอทีรวมถึงต่อยอดไปสู่ธุรกิจใหม่ ส่วนโครงการเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศระบบเอเออี-1 จะส่งผลให้ประชาชนใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วถึงในราคาที่เป็นมาตรฐาน ความเร็วเพิ่มขึ้น ยกระดับไทยให้เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนทราฟฟิกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เสริมความมั่นคงระบบโครงข่ายของประเทศอีกทางหนึ่ง คาดว่าโครงการจะเปิดใช้งานได้ในปี 2559" นายธันวา กล่าว
จากขาดทุนส่อพลิกกำไรพันล้าน
ก่อนหน้านี้ นายพิพัฒน์ ขันทอง รองประธานบอร์ดทีโอที กล่าวว่า บอร์ดเข้ามาดำเนินงานกว่า 4 เดือนหลังเข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 19 ส.ค. 2557 จะสามารถลดการขาดทุนของบริษัทจากเดิม 8,500 ล้านบาท เหลือ 7,800 ล้านบาท จนสุดท้ายเหลือ 4,572 ล้านบาท จากรายได้เดิมที่ประมาณการไว้ 32,000 ล้านบาท และล่าสุดได้สรุปตัวเลขของปี 2557 ทีโอทีอาจพลิกมีกำไรสุทธิได้ราว 1,000 ล้านบาท หลังปรับลดรายจ่ายและทำรายได้ในส่วนต่างๆ ให้มากขึ้น รวมถึงมีปัจจัยมาจากปรับรูปแบบทำงาน ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ปรับลักษณะการทำงานให้พนักงาน 1 คน ทำงานได้หลายอย่าง
ทั้งนี้ องค์ประกอบหลักที่ทำให้ทีโอทีพลิกกลับมีกำไร 1,000 ล้านบาท คือ 1.ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นทุกทาง 2.เร่งรัดหนี้สินที่คงค้าง ซึ่งทำให้ในช่วงที่ผ่านมียอดหนี้ค้างที่เร่งรัดได้ราวหลัก 100 ล้านบาท และ 3.ชะลองานจัดจ้าง-เช่าซื้อที่ไม่จำเป็น
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 236
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณธันวา อดีตนายกสมาคมthaiviหวนคืนสังเวียนธุรกิจ
โพสต์ที่ 38
วันที่ 21 มกราคม 2558 11:11
ทีโอทีพลิกกำไรพันล้านเล็งขึ้นเงินเดือน 6.5%
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
บอร์ดทีโอทีฟุ้งทำงานครบ 5 เดือนปรับผลประกอบการจากขาดทุน7,800 ล้านบาท พลิกมีกำไร
พล.อ.สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ ประธานกรรมการ (บอร์ด) กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ดวานนี้ (20 ม.ค.) ว่า ผลการดำเนินงานของทีโอทีประจำปี 2557 มีกำไรสุทธิประมาณ 1,000 ล้านบาท รายได้รวมสัมปทาน 42,000 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการที่คาดว่าจะมีผลขาดทุน 7,800 ล้านบาท
ทั้งนี้ เป็นผลจากรายได้จากการให้บริการของทีโอที เพิ่มขึ้น 800 ล้านบาท และจากการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารค่าใช้จ่ายทั้งการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายดำเนินงานต้นทุนบริการและค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร รวมทั้งค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน ซึ่งปรับลดลงได้ 1,500 ล้านบาท การบริหารการลงทุนให้คุ้มค่า ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการลงทุน รวมทั้งค่าเสื่อมราคาลดลง 2,500 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังบริหารจัดการด้านภาษีและค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้เพิ่มอีก 3,500 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี กำไรสุทธิปี 2557 ดังกล่าวเป็นตัวเลขกำไรเบื้องต้นที่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายที่อาจจะเพิ่มขึ้นจากการด้วยค่าทรัพย์สินจากสถานีฐานที่โอนมากจากคลื่น 900 และโครงข่ายคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งปัจจุบันทีโอที อยู่ระหว่างการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าว
แต่หากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) พิจารณาให้ทีโอทีตั้งการด้อยค่าของทรัพย์สินข้างต้น อาจส่งให้ผลการดำเนินงานขาดทุนได้ เป็นผลขาดทุนบัญชีจากการด้อยค่าสินทรัพย์ของการลงทุน 3จีซึ่งสตง.น่าจะสรุปกลับมาให้ภายในสิ้นเดือนม.ค.นี้ หากยังเหลือกำไรจะพิจารณาจ่ายโบนัสพนักงาน และขึ้นเงินเดือน 6.5% ถ้าไม่มีกำไรจะไม่จ่ายโบนัส แต่ต้องขึ้นเงินเดือนเป็นขวัญและกำลังใจพนักงาน
สำหรับกำไรสุทธิประจำปี 2557 เมื่อเทียบกับปีที่ 2556 จะมีกำไรสุทธิลดลงโดยมีสาเหตุสำคัญจากผลกระทบจากการแข่งขันในธุรกิจโทรคมนาคม ประกอบกับปี 2557 ส่วนแบ่งรายได้จากการร่วมการงานลดลง ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากกรณีทีโอทีต้องนำส่งส่วนแบ่งรายได้จากการดำเนินการตามสัญญาสัมปทานตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 มาตรา 84 ให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)
เขา ระบุอีกว่า สำหรับเป้าหมายและทิศทางธุรกิจของทีโอทีปี 2558 คณะกรรมการทีโอที ได้กำหนดโรดแมพ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลองค์กรของทีโอทีในระยะเวลา 1 ปี โดยจะต้องมีโครงสร้างธุรกิจซึ่งเป็นไปตามมติของคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่จะทำให้ทีโอทียืนได้ด้วยตัวเองในระยะยาวและแข่งขันในธุรกิจอุตสาหกรรมโทรคมนาคมได้
ตามมติ คนร. กำหนดกลุ่มธุรกิจ 6 สายงานก็ยอมรับว่าต้องหารือกับพันธมิตรเพื่อให้ได้สตราทิจิก พาร์ทเนอร์ แต่ยอมรับว่ายังไม่คืบหน้ามากนัก เพราะต้องการความรอบคอบ
อย่างไรก็ดี ขณะนี้ได้สั่งให้ฝ่ายบริหารไปจัดทำประมาณการณ์การผลการดำเนินงานปี 2558 ใหม่ทั้งหมด จากเดิมที่เคยประเมินไว้ว่าขาดทุน 10,000 ล้านบาท แต่หลังจากการปรับต้นทุนใหม่ ยึดแนวทางของปีที่แล้วเป็นต้นแบบก็น่าจะทำให้ทีโอทีพลิกมามีกำไรได้
นอกจากนี้ ทีโอที ยังกำหนดโรดแมพเพื่อเป็นเครื่องมือของภาครัฐที่สำคัญในการผลักดันและพัฒนาประเทศไปสู่ดิจิทัล อีโคโนมี่ และสนับสนุนการให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง และสร้างความมั่งคงของภาครัฐ ทั้งนี้ ตามกฎหมายใหม่ 8 ฉบับที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และผ่านร่างกฎหมายแล้ว ทีโอทีได้เตรียมความพร้อมปรับโครงสร้างรองรับถ้ารูปแบบชัดเจนออกมาเป็นสากลมากขึ้น
ทีโอทีพลิกกำไรพันล้านเล็งขึ้นเงินเดือน 6.5%
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
บอร์ดทีโอทีฟุ้งทำงานครบ 5 เดือนปรับผลประกอบการจากขาดทุน7,800 ล้านบาท พลิกมีกำไร
พล.อ.สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ ประธานกรรมการ (บอร์ด) กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ดวานนี้ (20 ม.ค.) ว่า ผลการดำเนินงานของทีโอทีประจำปี 2557 มีกำไรสุทธิประมาณ 1,000 ล้านบาท รายได้รวมสัมปทาน 42,000 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการที่คาดว่าจะมีผลขาดทุน 7,800 ล้านบาท
ทั้งนี้ เป็นผลจากรายได้จากการให้บริการของทีโอที เพิ่มขึ้น 800 ล้านบาท และจากการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารค่าใช้จ่ายทั้งการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายดำเนินงานต้นทุนบริการและค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร รวมทั้งค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน ซึ่งปรับลดลงได้ 1,500 ล้านบาท การบริหารการลงทุนให้คุ้มค่า ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการลงทุน รวมทั้งค่าเสื่อมราคาลดลง 2,500 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังบริหารจัดการด้านภาษีและค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้เพิ่มอีก 3,500 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี กำไรสุทธิปี 2557 ดังกล่าวเป็นตัวเลขกำไรเบื้องต้นที่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายที่อาจจะเพิ่มขึ้นจากการด้วยค่าทรัพย์สินจากสถานีฐานที่โอนมากจากคลื่น 900 และโครงข่ายคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งปัจจุบันทีโอที อยู่ระหว่างการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าว
แต่หากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) พิจารณาให้ทีโอทีตั้งการด้อยค่าของทรัพย์สินข้างต้น อาจส่งให้ผลการดำเนินงานขาดทุนได้ เป็นผลขาดทุนบัญชีจากการด้อยค่าสินทรัพย์ของการลงทุน 3จีซึ่งสตง.น่าจะสรุปกลับมาให้ภายในสิ้นเดือนม.ค.นี้ หากยังเหลือกำไรจะพิจารณาจ่ายโบนัสพนักงาน และขึ้นเงินเดือน 6.5% ถ้าไม่มีกำไรจะไม่จ่ายโบนัส แต่ต้องขึ้นเงินเดือนเป็นขวัญและกำลังใจพนักงาน
สำหรับกำไรสุทธิประจำปี 2557 เมื่อเทียบกับปีที่ 2556 จะมีกำไรสุทธิลดลงโดยมีสาเหตุสำคัญจากผลกระทบจากการแข่งขันในธุรกิจโทรคมนาคม ประกอบกับปี 2557 ส่วนแบ่งรายได้จากการร่วมการงานลดลง ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากกรณีทีโอทีต้องนำส่งส่วนแบ่งรายได้จากการดำเนินการตามสัญญาสัมปทานตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 มาตรา 84 ให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)
เขา ระบุอีกว่า สำหรับเป้าหมายและทิศทางธุรกิจของทีโอทีปี 2558 คณะกรรมการทีโอที ได้กำหนดโรดแมพ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลองค์กรของทีโอทีในระยะเวลา 1 ปี โดยจะต้องมีโครงสร้างธุรกิจซึ่งเป็นไปตามมติของคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่จะทำให้ทีโอทียืนได้ด้วยตัวเองในระยะยาวและแข่งขันในธุรกิจอุตสาหกรรมโทรคมนาคมได้
ตามมติ คนร. กำหนดกลุ่มธุรกิจ 6 สายงานก็ยอมรับว่าต้องหารือกับพันธมิตรเพื่อให้ได้สตราทิจิก พาร์ทเนอร์ แต่ยอมรับว่ายังไม่คืบหน้ามากนัก เพราะต้องการความรอบคอบ
อย่างไรก็ดี ขณะนี้ได้สั่งให้ฝ่ายบริหารไปจัดทำประมาณการณ์การผลการดำเนินงานปี 2558 ใหม่ทั้งหมด จากเดิมที่เคยประเมินไว้ว่าขาดทุน 10,000 ล้านบาท แต่หลังจากการปรับต้นทุนใหม่ ยึดแนวทางของปีที่แล้วเป็นต้นแบบก็น่าจะทำให้ทีโอทีพลิกมามีกำไรได้
นอกจากนี้ ทีโอที ยังกำหนดโรดแมพเพื่อเป็นเครื่องมือของภาครัฐที่สำคัญในการผลักดันและพัฒนาประเทศไปสู่ดิจิทัล อีโคโนมี่ และสนับสนุนการให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง และสร้างความมั่งคงของภาครัฐ ทั้งนี้ ตามกฎหมายใหม่ 8 ฉบับที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และผ่านร่างกฎหมายแล้ว ทีโอทีได้เตรียมความพร้อมปรับโครงสร้างรองรับถ้ารูปแบบชัดเจนออกมาเป็นสากลมากขึ้น
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 972
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณธันวา อดีตนายกสมาคมthaiviหวนคืนสังเวียนธุรกิจ
โพสต์ที่ 39
ทีโอทีตั้งรักษาการซีอีโอใหม่ "มนต์ชัย หนูสง" แทน "ธันวา เลาหศิริวงศ์"
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1424175668
พลเอกสุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ ประธานกรรมการ บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า ในที่ประชุมบอร์ดทีโอทีล่าสุด(17 ก.พ. 2558) มีมติอนุมัติให้ นายธันวา เลาหศิริวงศ์ พ้นจากการทำหน้าที่รักษาการแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่ หลังจากที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่นี้ตั้งแต่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา โดยสาเหตุที่อนุมัติการพ้นจากหน้าที่นี้ เนื่องจากนายธันวา ได้แจ้งว่า มีภารกิจมากขึ้นไม่สามารถทุ่มเทเวลาทำงานได้มากเหมือนก่อน แต่นายธันวา ยังคงทำหน้าที่เป็นกรรมการ บมจ.ทีโอที ต่อไป
พร้อมกันนี้บอร์ดได้มีมติแต่งตั้งให้นายมนต์ชัย หนูสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ให้ทำหน้าที่ “รักษาการแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่” ตั้งแต่ 1 มีนาคม นี้เป็นต้นไป จนกว่าการสรรหาซีอีโอใหม่ได้เรียบร้อย
“ขณะนี้กระบวนการสรรหายังอยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครทั้ง 3 คน โดยคาดว่า ในสัปดาห์หน้าจะสามารถประกาศรายชื่อผู้ผ่านเกณฑ์ด้านคุณสมบัติได้ ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการแสดงวิสัยทัศน์ต่อไป”
สำหรับผู้สมัครเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที มีทั้งหมด 3 ราย ได้แก่ พลตรีสุรพล ตาปนานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก นายสมพรต สาระโกเศศ อดีตกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(องค์การมหาชน)หรือ สพธอ. และนายศิริพงษ์ โลหะศิริกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท โพรเกรส ซอฟท์แวร์ จำกัด
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1424175668
พลเอกสุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ ประธานกรรมการ บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า ในที่ประชุมบอร์ดทีโอทีล่าสุด(17 ก.พ. 2558) มีมติอนุมัติให้ นายธันวา เลาหศิริวงศ์ พ้นจากการทำหน้าที่รักษาการแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่ หลังจากที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่นี้ตั้งแต่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา โดยสาเหตุที่อนุมัติการพ้นจากหน้าที่นี้ เนื่องจากนายธันวา ได้แจ้งว่า มีภารกิจมากขึ้นไม่สามารถทุ่มเทเวลาทำงานได้มากเหมือนก่อน แต่นายธันวา ยังคงทำหน้าที่เป็นกรรมการ บมจ.ทีโอที ต่อไป
พร้อมกันนี้บอร์ดได้มีมติแต่งตั้งให้นายมนต์ชัย หนูสง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ให้ทำหน้าที่ “รักษาการแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่” ตั้งแต่ 1 มีนาคม นี้เป็นต้นไป จนกว่าการสรรหาซีอีโอใหม่ได้เรียบร้อย
“ขณะนี้กระบวนการสรรหายังอยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครทั้ง 3 คน โดยคาดว่า ในสัปดาห์หน้าจะสามารถประกาศรายชื่อผู้ผ่านเกณฑ์ด้านคุณสมบัติได้ ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการแสดงวิสัยทัศน์ต่อไป”
สำหรับผู้สมัครเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที มีทั้งหมด 3 ราย ได้แก่ พลตรีสุรพล ตาปนานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก นายสมพรต สาระโกเศศ อดีตกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(องค์การมหาชน)หรือ สพธอ. และนายศิริพงษ์ โลหะศิริกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท โพรเกรส ซอฟท์แวร์ จำกัด
-
- Verified User
- โพสต์: 572
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คุณธันวา อดีตนายกสมาคมthaiviหวนคืนสังเวียนธุรกิจ
โพสต์ที่ 40
ทีโอที จะไปต่อได้ยังไง ทุกวันนี้คนใช้โทรศัพบ้านสักกี่คน. ไปที่ไหนก็เห็นแต่มีเบอร์มือถือคนละ 2-3เครื่อง. แล้วเจ้าตลาดมือถือมี ทีโอที ด้วย รึป่าว. มันก็ไม่มี เพราะอะไรคงไม่ต้องพูดถึง
ตลาด adsl ก็เจอแข่งจาก. True. 3bb advancก็พยามแทรก. ทีโอทีที่บ้านผมใช้เพราะจำเป็นเนื่องจากสายเจ้าอื่นมาไม่ถึง. ก็ว่าจะเลิกแล้วเพราะมีวันนึงไวไฟเดี้ยง. ผมเลยเอามือถือผมมาลองทำ. Hotspot. เออใช้ได้เว้ย ยังงี้ไม่ต้องพึ่ง tot แล้ว ถ้ายกเลิกก็ ประหยัดไปได้เดือนนึง800กว่าบาท. นานไป คิดว่าคงมีคนรู้แบบผมมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วก็พากันยกเลิกไวไฟ tot แต่คงไม่ใช่เพราะประหยัดนะ เพราะเสียตังแต่มันหลุดบ่อย เลยเบื่อ
แล้วทีโอทีจะมีรายได้มาจากไหนกันล่ะครับ.
ตลาด adsl ก็เจอแข่งจาก. True. 3bb advancก็พยามแทรก. ทีโอทีที่บ้านผมใช้เพราะจำเป็นเนื่องจากสายเจ้าอื่นมาไม่ถึง. ก็ว่าจะเลิกแล้วเพราะมีวันนึงไวไฟเดี้ยง. ผมเลยเอามือถือผมมาลองทำ. Hotspot. เออใช้ได้เว้ย ยังงี้ไม่ต้องพึ่ง tot แล้ว ถ้ายกเลิกก็ ประหยัดไปได้เดือนนึง800กว่าบาท. นานไป คิดว่าคงมีคนรู้แบบผมมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วก็พากันยกเลิกไวไฟ tot แต่คงไม่ใช่เพราะประหยัดนะ เพราะเสียตังแต่มันหลุดบ่อย เลยเบื่อ
แล้วทีโอทีจะมีรายได้มาจากไหนกันล่ะครับ.
- newbie_12
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2912
- ผู้ติดตาม: 1
Re: คุณธันวา อดีตนายกสมาคมthaiviหวนคืนสังเวียนธุรกิจ
โพสต์ที่ 41
พยายามไม่คืนคลื่น 900 ครับ แล้วก็เอาโครงข่ายของ ais เดิมมาบริการ
ถ้ายึดคลื่น 900 มาเป็นของตัวเองได้เมื่อไหร่ tot มีโอกาสรอด
ถ้ายึดคลื่น 900 มาเป็นของตัวเองได้เมื่อไหร่ tot มีโอกาสรอด
.
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง
----------------------------
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง
----------------------------