MoneyTalk@SET17Jan2015เส้นทางมืออาชีพ&กลยุทธ์VIปี58
- i-salmon
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 293
- ผู้ติดตาม: 0
MoneyTalk@SET17Jan2015เส้นทางมืออาชีพ&กลยุทธ์VIปี58
โพสต์ที่ 1
Money talk at SET 17Jan2015
ช่วงที่ 0 Money talk และสมาคมนักลงทุนคุณค่า ร่วมทำบุญและเทศนาจากพระอ.อลงกรณ์ วัดพระบาทน้ำพุ
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ได้ร่วมกันทำบุญด้วยครับ
ภารกิจวัดพระบาทน้ำพุ
• ดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ในระยะสุดท้ายมากกว่า 23 ปี มีคนเสียชีวิตที่วัดมาราวหมื่นคน เคยเผาจนเมรุแตกมาหลายครั้ง การเผาต้องใช้อิฐทนไฟ พอเริ่มเผาเกิน 2,000 ศพก็จะเริ่มผุกร่อน
• ดูแลเด็กติดเชื้อ เด็กกำพร้าที่พ่อแม่เสียชีวิตจากโรคเอดส์ ต้องมีการจัดการเรื่องการศึกษาให้เด็ก มีเด็กที่ดูแลอยู่ราว 1300 คน วัดมีโรงเรียนสอนตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงม.6 ปัจจุบันได้ช่วยให้เด็กจบป.ตรี มาแล้วกว่า 300 คน ป.โท 38 คน ยังไม่มีป.เอก
• ช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมีสัดส่วนมากต่อไปผู้สูงอายุที่ไม่มีคนดูแลจะลำบากมาก จึงเป็นสิ่งที่วัดขยายความช่วยเหลือ มีสร้างโรงพยาบาลสำหรับผู้สูงอายุ 400 เตียง จะขยายอีก 40 เตียง
• ดูแลช่วยเหลือสัตว์ วัดได้ถวายพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานกับเกษตรกรที่ยากจนมากว่า 1000 ตัว ที่วัดมีลิง 300-400 ตัว ที่ต้องเลี้ยงดู จัดอาหาร ทำสระว่ายน้ำให้
• วันที่ 10 กพ. จะเปิดตึกใหม่ ได้รับความกรุณาจาก workpoint หาปัจจัยจากรายการคนอวดผีมาสร้าง จึงตั้งชื่อนึกว่าคนทำดีอวดผี
เทศนาจากพระอ.อลงกรณ์
• สิ่งที่มีของเราเป็นเรื่องสมมติ เราต่างมีกิเลส ถ้าสละไม่ได้ทั้งหมดก็สละบางส่วน
• บางคนทำบุญไม่ได้บุญ เพราะทำเอาหน้า ทำตามคนอื่น เงื่อนไขในการทำบุญทำทานคือการสละสิ่งที่เรามีให้ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ สิ่งที่สละออกไปไม่ใช่ของเรา เมื่อออกจากใจเราแล้วก็จะเบาสบายขึ้น ยิ่งให้ก็จะยิ่งได้รับความสุข
• สมองเรามีอายุจำกัด ต้องเสื่อม ต่อไปก็จะรู้สึกว่าทำงานช้าลง หลงลืม ถ้าคิดมากแล้วเครียด วิตก ไม่มีความสุข ทั้งที่มีเงินมาก บางคนก็หยุดคิดไม่ได้ นอนหลับยังเห็นตัวเลข หลวงพ่อไม่เคยมีความรู้สึกแบบนี้ เพราะมีสติรู้เท่าทัน สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นสภาวะของการปรุงแต่ง ถ้ารู้แบบนี้ก็จะไม่ฟุ้งซ่าน ถ้าอยู่กับปัจจุบันได้ก็จะยิ้มได้ มีความสุขได้ ถ้ายิ่งคิดแล้วเป็นทุกข์ ก็เหมือนการทำร้ายตัวเอง สุดท้ายก็เจ็บป่วย
• ความสุขของชีวิตก็ได้มาจากหลายกิจกรรม รวมๆแล้วมาจากความคิด -> คิดดี พูดดี ทำดี ก็จะมีความสุข (หลวงพ่อแถมให้พวกเราว่าและมีสตางค์ด้วย)
• คนเราเอาแน่นอนไม่ได้ อะไรคือสิ่งที่ทำให้ชีวิตมีความมั่นคง สิ่งหนึ่งที่ทำให้เราเป็นทุกข์คือความไม่เที่ยงแท้ เหมือนหุ้นเราถ้าขึ้นแรงๆใจก็ฟู ถ้าหุ้นลงดิ่งมากเกินไปไม่ทันตั้งตัวก็เจ็บมาก เวลาขึ้นก็อย่ายินดีจนหลงระเริงประมาทไป ชีวิตมี 2 ด้าน ใครที่จะรักษาชีวิตให้เสมอต้นเสมอปลายไว้ได้ก็จะดี แต่ยาก
• สิ่งที่ทำให้ชีวิตอยู่ได้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย คือการวางตัว ซึ่งเริ่มจากความคิด
• สุดท้ายแล้วคนเราก็ไม่ได้เอาอะไรไป มีมากไปก็ไม่ใช่จะดี มีน้อยไปก็ไม่มีความสุข ความสุขแท้จริงอยู่ที่ใจไม่ใช่ทรัพย์สินที่มี คนฉลาดต้องหาวิธีดูแลจิตใจตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ
• ขอฝากข้อคิดให้เราทั้ง 2 ด้าน ทั้งการสร้างสมบัติมนุษย์ และสร้างอริยทรัพย์ ซึ่งการสร้างทานอย่างหนึ่งในภายภาคหน้า
สัมมนาหัวข้อที่ 1 “เส้นทางมืออาชีพของคน Gen M”
1. ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บลจ.ทหารไทย
2. ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
3. คุณวิน พรหมแพทย์ หัวหน้าสำนักงานการลงทุน กองทุนประกันสังคม
4. ดร.ประดิษฐ์ วิธิศุภกร ผอ.โครงการ FIRM Nida Business School
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
• อ.เสน่ห์เกริ่นนำ Gen B หรือ Baby boomer 57-58 ปีขึ้นไป เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คนทั้งโลกมีลูกกันมาก เป็นคนหนักเอาเบาสู้ อนุรักษ์นิยม ถัดมา Gen X น่าจะย่อมาจาก Extra ordinary อายุ 36-37 ขึ้นไป จะสบายกว่าคนยุคก่อนเพราะเป็นลูกของ Gen B มีสิ่งที่สร้างมาให้แล้ว เป็นคนมีความภักดี ขยันทำงาน เริ่มมีเทคโนโลยี ใช้คอมพิวเตอร์เป็น ถัดมา Gen Y อายุ 20 กว่าขึ้นไป พวกนี้ชอบถามว่า Why ทำไม เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเอง ไม่ค่อยอดทน สบายได้รับสิ่งสืบทอดจากพ่อแม่ ถัดมาคือ Gen M หรือ Gen Z M คือ Millennium เด็กเกิดในปี 2000 เกิดมากับเทคโลยี ค้นหาข้อมูลด้วยอินเทอร์เน็ทตั้งแต่เล็ก
มืออาชีพทางการเงินเกี่ยวกับ Generationไหม?
• ดร.นิเวศน์
o คิดว่าเกี่ยวกัน สมัยก่อนการสอบให้ได้ CFA ยากมาก น่าจะทำไม่ได้ ส่วนหนึ่งเพราะภาษาอังกฤษไม่ดี แต่เด็กสมัยใหม่ ภาษาอังกฤษเก่งกว่าเรามาก
o สมัยนี้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้เองได้ง่ายกว่า งานก็มีความซับซ้อนสูง หลากหลายมากกว่า
o อ.เสน่ห์ เสริมว่าเด็กยุคนี้เป็น multi tasking ทำพร้อมกันได้หลายอย่าง
• คุณวิน
o มืออาชีพ คืออาชีพเฉพาะทาง ต้องได้รับอนุญาติให้ทำ เช่น หมอ ต้องมีใบประกอบโรคศิลป์
o ในอาชีพการเงินมี 3 อาชีพที่ต้องได้รับใบอนุญาติ
1) อาชีพผู้จัดการกองทุน บริหารเงินให้กับผู้ลงทุนทั้งประเทศมีเงินลงทุน 7 ล้านล้านบาท
ต้องสอบ cfa,cisa กฏหมายจรรยาบรรณ ในไทยมีคนได้ใบอนุญาติ 400 กว่าคน
2) นักวิเคราะห์ เป็นคนที่วิเคราะห์บอกว่าหุ้นไหนดีไม่ดี ต้องสอบ cfa,cisa,firm, cfp ในไทย มี 700 กว่าคน
3) ผู้แนะนำการลงทุน แนะนำลูกค้าว่าที่มีเงินไปซื้อกองทุน ซื้อประกันไหนดี สมัยนี้มีตามธนาคาร คนที่ขายต้องได้ใบอนุญาติ ในไทยมีคนได้ใบอนุญาติ 36,000 คน
• ดร.สมจินต์
o คนที่จะทำงานบริหารกองทุน ต้องสอบได้ cfa หรือ cisa level 1 ซึ่งการสอบมี 3 ระดับ สมัยอ.สมจินต์สอบได้ปีละ 1 level และต้องมีประสบการณ์ 3 ปี แต่สิ่งสำคัญที่จะเป็นนักการเงินที่ดีต้องเป็น “Gen P” ต้องมี 3P ที่สำคัญ
o P purpose มีวัตถุประสงค์ คนที่ทำงานการเงินแบ่งคน 2 กลุ่ม ทำงานให้บริษัทที่ต้องการระดมทุน กับมีคนต้องการเอาเงินไปลงทุน และมีอีกหน้าที่คือคนที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยง 2 กลุ่มนี้ แต่ละงานจะมีวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น corporate finance โครงสร้างการเงินต้องเป็นอย่างไหน จะระดมทุนอย่างไร สายนี้โตขึ้นไปเป็น CFO ฝั่งผู้ลงทุน เป็นมืออาชีพช่วยทำงานให้ผู้ลงทุน เป็น fund manager หรืออาจอยู่สายตรงกลาง เช่น เป็น credit analyst วิเคราะห์ให้กู้ , investment banker ถ้าจะออกหุ้นให้กู้ต้นทุนต้องเป็นอย่างไร ราคาหุ้นกู้หรือหุ้นสามัญควรเป็นเท่าไร ถ้าหากเข้าใจสายวิชาชีพเหล่านี้เป็นอย่างไร แล้วรู้สึกรักในงานนั้นๆ เรียกได้ว่าเรามี sense of purpose แล้ว
o P Passion คือสิ่งที่ตามมาจากการมีวัตถุประสงค์ คนจำนวนมากอาจเลือกสายอาชีพเพราะดูเท่หรือคนทำสำเร็จแล้วรวยมีเงิน แต่ในเส้นทางเดินที่จะไปจะรู้สึกว่ามันยากมันเหนื่อย เพราะขาด sense of purpose เป็นการทำงานเพื่อได้เงิน จะสนุกสนานแค่วันเงินเดือนออกเท่านั้น
Purpose เป็นเชื้อเพลิงสำคัญให้เราก้าวไปข้างหน้าได้ จะทำให้เรากระตือรือร้น จะอยากศึกษาความรู้ใหม่ๆในด้านนั้น ซึ่งเป็นการทำให้เราไปสู่ P Professional
o P Professional สิ่งที่ต้องการคือความรู้ ที่ทันสมัย ลึกซึ้ง ถูกต้อง ต้องมีความสามารถและมีคุณธรรม ซึ่งก็คือจรรยาบรรณในวิชาชีพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ CFA เน้น เคยอ่านหนังสือชื่อ the top 2% ถ้าอยากเป็นคนสำเร็จจริงๆในสายอาชีพนั้น ต้องขึ้นไปให้ถึง Top 2% จะเป็นคนกำหนดอนาคตของอุตสาหกรรม คนที่มีความรักหลงไหลในงาน กระตือรือร้นหาข้อมูลวิเคราะห์สถานการณ์ หาความรู้ใหม่เสมอ ถ้าอยากเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในสายอาชีพนั้น คิดว่า Top 2% ควรเป็นเป้าหมาย
o หลักหนึ่งที่ใช้ได้ในการเป็นอาชีพคือคำกล่าวของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต “ คิดกว้าง มองไกล ใฝ่สูง”
มองให้กว้างว่าอะไรเกี่ยวข้องกับอะไร เกิดขึ้นแล้วจะกระทบกับอะไร ปัจจัยอะไรที่กระทบสภาพการแข่งขั้น
มองไกลว่าจะเกิดอะไรขึ้นใน 5-10 ปีข้างหน้า
ใฝ่สูง ต้องมีความชัดเจนว่าอาชีพเราทำเพื่อใคร ต้องพยายามอย่างดีที่สุดให้ข้อมูลเราถูกต้อง และการวิเคราะห์ลึกซึ้ง มุ่งให้ผลงานเราเกิดประโยชน์โดยไม่ได้แอบแฝง
หลักสูตร FIRM ของ NIDA
• ดร.ประดิษฐ์
o NIDA จุดแข็งคือด้านการเงิน มีอ.เก่งๆ อย่าง อ.ไพบูลย์ หรืออ.สมจินต์ก็เคยสอนที่นี่ รวมทั้งอ.วิน, อ.นิเวศน์ ที่เป็นอ.พิเศษ มีหลักสูตรภาคปกติและภาคพิเศษ
o หลักสูตรที่เน้นการเงินมืออาชีพ FIRM เปิดมา 8 ปีแล้ว ครอบคลุมการเป็นนักบริหารการเงินการลงทุนและการจัดการความเสี่ยง จุดเด่นเราเป็น partner กับ CFA institute ซึ่งเป็นผู้รับรองวิชาชีพ เนื้อหาเน้นให้มีความสอดคล้องกับ CFA สามารถได้รับ msc(master of science) และเตรียมพร้อมสอบ CFA อ.ผู้สอนจบปริญญาเอกหรือเป็น CFA ทำให้นักศึกษาได้รับการชี้แนะในการสอบอย่างดี
o ตอนนี้กำลังเปิดรุ่น 9 อยู่ ที่ผ่านมานักศึกษาที่เรียนก็มีสอบได้ cfa อย่างรุ่น 7 มีคนได้ cfa level 3 รุ่นก่อนคนที่ไปสอบ level 1 ผ่านได้ครึ่งหนึ่ง ถ้าคนที่เตรียมตัวพร้อมก็สอบได้เป็นส่วนใหญ่
o มีทุนให้ 10 ทุน สำหรับคนที่จะไปสอบ ค่าสมัครสอบสำหรับ level 1 ประมาณ 1000$ ถ้าสอบผ่านจะ refund ได้
อ.ไพบูลย์เสริมเป็นหลักสูตร MBA ก็ถ้าสอบได้ก็มาเบิกได้เช่นกัน
o บางคนตั้งเป้าจะไปสายอื่น ก็ไม่จำเป็นต้องไปสอบ เข้ามาอยากได้ master of science ก็มี
o ตอนนี้มี MOU กับ มหาวิทยาลัยIndiana จะมีได้ประสบการณ์ สามารถ transfer หน่วยกิตไปเรียนที่นั่น บางคนก็ทำ 2 ปริญญาได้ทั้ง 2 มหาวิทยาลัย ซึ่งเราจะได้ราคาหน่วยกิต เท่ากับคนที่เป็น resident ของที่ Indiana
• คุณวิน
o ในแต่ละรุ่นมีนักศึกษา 2-3 คนมาเรียน เพื่อสอบ cfa และอยากเรียนไปเล่นหุ้น ทำให้มีหลักในการคิด
o การสอบ cfa ต้องมี Passion เนื่องจากไม่ใช่สอบง่ายๆ เนื้อหาเทียบเท่ากับปริญญาโทขึ้นไป เดิมทีออกแบบมาเพื่อเรียนรู้ด้วยตัวเอง แต่ละ level ใช้เวลา 300 ชม. ทั่วไปใช้เวลาอ่าน 5 เดือนในการเตรียมตัว ค่าสอบแพงแต่ได้การยอมรับทั่วโลก ถ้าสอบ level 1 ->2 -> 3 ซึ่งยุคปัจจุบันต้องมีประสบการณ์ 4 ปี จึงจะได้ charter ในประเทศไทยปีนี้มีคนที่ผ่านได้ charter 30 คน
o ทั่วโลกแต่ละปีมีคนสอบ 1.6 แสนคน ในไทย 1 พันคน คนผ่าน 1 ใน 3 แต่ละ level ดังนั้นแต่ละ level ก็จะคนผ่านได้ลดหลั่นไป แต่ละปีก็ผลิต level 3 ได้ 30-40 คน ทำให้ขาดแคลนบุคลากรเพราะกว่าจะผ่านมาได้ยาก CFA ใช้ได้ทั่วโลก สามารถสมัครงานที่อื่นได้คนรู้จัก
o การเป็นผู้จัดการกองทุน มีทั้งคุณวุฒิกับจรรยบรรณ
o คุณวุฒิมี 3 อย่างให้เลือก
CFA หรือ cisa ผ่าน level 1 และมีประสบการทำงาน 2 ปี
สอบผ่าน CFA หรือ cisa level 3
ได้รับใบอนุญาติต่างประเทศ
o จรรยาบรรณต้องอบรมและสอบจรรยาบรรณกฏหมายอาชีพ
o เมื่อมีครบ 2 อย่างนี้ก็ยื่นขอใบอนุญาติกับ กลต. มี อายุ 2 ปี และต้องมา refresh ใหม่ทุก 2 ปี
เงินเดือนดีไหม? เทียบกับป.โททั่วไปเป็นอย่างไร
• ดร.สมจินต์ คงดีกว่าป.โท ทั่วไป มีช่วงกว้าง ตั้งแต่ 70,000-80,000 ไปถึง แสนกว่าบาท
• คุณวิน ความน่าสนใจของ cfa คือ ให้โอกาสโตเร็วได้ เพราะคนขาดอยู่จะเห็นคนอายุน้อยๆขึ้นมาเป็นผู้บริหารได้ แต่ก็จะมีข้อยากของคน Gen Y , Gen M คือไม่ชอบเป็นลูกน้องใคร อยากมีอิสรภาพ ถ้าคุยกับเด็กสมัยนี้อยากลาออกจากงานมาเล่นหุ้น คงต้องถ่วงน้ำหนักกัน อาชีพนี้มีโอกาสโตเร็ว มีโอกาสได้คิดวิเคราะห์เองในการตัดสินใจซื้อหรือขายหุ้น
มืออาชีพทางการเงินเหมาะกับใคร?
• ดร.นิเวศน์
o คิดว่าตัวเองไม่ได้เป็นมืออาชีพทางการเงิน คนที่จะเป็นพวกนี้ได้ต้องมีสมองแบบนิวตันหรือแบบไอน์สไตน์ สามารถมองตัวเลขหรือตัวภาษาแปลกๆอัลฟ่าเบต้าแล้วเข้าใจ ถ้าเราคำนวณไม่เก่ง หรือคิดอะไรยากๆไม่เก่ง เรียนไม่ไหวหรอก ดังนั้นคนที่เหมาะคือคนที่เรียนวิทยาศาสตร์แล้วอย่างน้อยเข้าคณะวิศวกรรมดังๆได้ หรือไม่ก็ต้องพยายามสูง
• คุณวิน
o CFA มาจากเบนจามิน เกรแฮม สมัยนั้นสอนหนังสือที่โคลัมเบีย เป็นคนผลักดันให้มีใบอนุญาติเป็นมืออาชีพ ผลักดันกว่า 20 ปี สอบครั้งแรกในช่วงปี 1960 กว่า คนสอบยุคนั้นคือคนอายุเฉลี่ย 60 ซึ่งเป็นคนที่ทำอาชีพนั้นอยู่แล้ว ใช้ลูกคิดสอบ แต่สมัยนี้คนสอบอายุ 25 บวกลบ
o คณิตศาสตร์ ของ cfa ไม่ยากมาก แต่ถ้าสาย Risk management จะใช้คณิตศาสตร์เยอะ
• ดร.ประดิษฐ์
o หัวใจของการสอบแต่ละ level คือ ethics จรรยาบรรณ พยายามเน้นทดสอบว่าเราจะมีจรรยาบรรณ ลักษณะคำถามคนทั่วไปตอบอาจจะตกได้ เช่น ทำงานกับบริษัทการเงินแห่งหนึ่ง แล้วเสาร์อาทิตย์ไปทำงานเพื่อสังคมเกี่ยวกับเงิน ต้องรายงานบริษัทไหมว่าไปทำอะไร คำตอบที่ถูกต้องคือต้องรายงานเพราะเป็นส่วนหนึ่งของ ethics แม้เป็นเสาร์อาทิตย์
• ดร.สมจินต์
o ข้อสอบส่วนที่ใช้ ตัวเลขเยอะน่าจะเป็น level 2 แต่ level 3 ต้องมีความคิดเชื่อมโยง มีมุมมองพอร์ตฟอลิโอมากขึ้น คนที่เก่งคณิตศาสตร์อาจได้เปรียบใน level 2 แต่คนที่จบเศรษฐศาสตร์ หรือพาณิชย์ใน level 3 ก็อาจจะได้เปรียบได้เหมือนกัน สิ่งสำคัญคือมีความยินดี ที่จะใช้ 300 ชม.กับตรงนั้นได้ไหม
• คุณวิน
o ถ้าจบวิศวกรรมมาได้เปรียบ โดยเฉพาะ level 2 แต่คนจบบัญชีก็ได้เปรียบในวิชาบัญชีเหมือนกัน ก็มีได้เปรียบเสียเปรียบต่างกันไป
o มีคนผ่าน level 3 แล้วราว 300 คน ช่วงสิบปีแรกมีราว 30 คน ในฮ่องกง สิงคโปร์มีเป็นหลักหมื่นคน ที่มาแรงคือจีน คนเข้าสอบปีละหลายหมื่นคน กำลังจะแซงฮ่องกงสิงคโปร์
o อ.เสน่ห์ ถ้าเปิด AEC ก็มีโอกาสที่คนเหล่านั้นจะไหลเข้ามา? คุณวิน ใช่ เราต้องพัฒนาคนของเราให้สู้กับเขาได้
อาชีพนักการเงินได้เปรียบเสียเปรียบอาชีพอื่นอย่างไร?
• ดร.นิเวศน์ มีโอกาสทำเงินได้เยอะ เพราะเป็นคนที่จับเงินผ่านไปมา และได้รับส่วนแบ่ง ซึ่งคนไม่ต้องรับผลขาดทุน เงินจำนวนใหญ่ได้รับส่วนแบ่งนิดเดียวก็ได้เงินมากแล้ว แต่งานส่วนใหญ่ต้องออกแรงจำกัดตามเวลา ในเมืองนอกรวยกันมโหฬาร กองทุนเป็นล้านล้าน ได้แบ่งนิดเดียวรวย บางทีก็ไม่ได้ทำอะไรมาก นั่งๆเคาะๆ ถ้าทำได้ถูกต้องก็รวยแล้ว
• ดร.ไพบูลย์ ในอดีต นิค ลีซัน ก็เคาะปิ๊งๆ ทีเดียวแบงค์เจ๊ง ติดคุกไปแล้ว
• ดร.สมจินต์ นิค ลีซัน เป็นตัวอย่างที่ดี อันนั้นเป็น zero sum game แต่เราอยากให้เข้าไปใน plus sum game เข้าไปในอาชีพของเราได้ add value อะไร ถ้าเป็น cfo จัด structure ได้ถูกต้อง leverage ที่เหมาะสม ทำให้ roe บริษัทสูงขึ้นได้ ถ้าเป็น fund manager ก็ identify การลงทุนที่ดีได้ ทำประโยชน์ให้คนในวงกว้างได้ ก็จะเป็นผลตอบแทนที่ดีของคนในวิชาชีพ
FIRM ของ NIDA รับรุ่นละกี่คน?
ดร.ประดิษฐ์
• ปีละ 30 คน กระบวนการสมัคร จะให้ ดาวน์โหลดข้อมูล จากเวบนิด้า กรอกใบสมัคร ทดสอบข้อเขียน หรือใช้คะแนนที่เคยสอบความรู้ภาษาอังกฤษ GMAT ก็จะช่วยลดขั้นตอน GMAT ประมาณ 500 จบปริญญาตรีไม่จำกัดด้านไหนก็ได้ จะมีวิชาเตรียมความพร้อม แม้จะไม่เคยเรียนบัญชี หรือเศรษฐศาสตร์ จะปรับให้ใกล้เคียงกันก่อน ไม่จำกัดเกรด บางคนจบปริญญาเอกมาสมัครก็มี
• ค่าเรียน ตลอดหลักสูตร 4.5 แสนบาท
ประชาสัมพันธ์หนังสือ "สุดยอดบริหารเงินมืออาชีพ" โดยคุณวิน สมทบทุนมูลนิธิเด็กโรคหัวใจ 10 บาท
สัมมนาหัวข้อที่ 2 “กลยุทธ์วีไอปี 58”
1. ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
2. คุณอนุรักษ์ บุญแสวง นายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า(ประเทศไทย)
3. คุณพีรนาถ โชควัฒนา นักลงทุนเน้นคุณค่าอาวุโส
4. คุณประชา ดำรงสุทธิพงษ์ นักลงทุนเน้นคุณค่าอาวุโส
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
หุ้นไทยปี 58 จะเป็นอย่างไร?
• คุณพีรนาถ
o ไม่ทราบ แต่ที่สัมผัสมาหลายคนกลัว ถ้าพูดตามเหตุผลก็น่ากลัว Government spending, การลงทุนเอกชน, consumption, export ก็ไม่ดีสักอย่าง พอคนกลัวกันหมดก็รู้สึกว่าไม่ใช่เวลาที่จะขาย ถ้ามีปัจจัยดีเข้ามาอย่างก็อาจจะเห็นอะไรดีตามกันมาเป็นโดมิโน
o กลยุทธ์ส่วนตัวก็เหมือนเดิมถือหุ้นอะไรอยู่ก็เป็นบริษัทที่รู้จักจริงๆ เป็นส่วนหนึ่งของบริษัทนั้น ในระยะยาวประเทศไทยก็คงมีอยู่ จะเจริญน้อยลงหรือช้าไปบ้างก็ยังอยู่ที่นี่ ถ้าบริษัทที่ถือยังเจริญไปได้ ก็ยังถือในสิ่งที่เรารู้จักดีที่สุด
o ถ้าเวลาเหลือเยอะ ก็หาบริษัทดีๆถือไปเลย คิดว่าดัชนีบ้านเราขึ้นไปถึง 4 พันจุดได้ในระยะยาว แต่มันก็อาจะลงได้ระหว่างทาง ช่วงที่มัน low ก็ไม่ต้องขายมัน คิดเหมือนเป็นเจ้าของบริษัทถ้าขายไปก็เหมือนเสียการ control บริษัท
o เทียบกับปีที่แล้ว มั่นใจปี 58 มากกว่า
• คุณโจ ลูกอีสาน
o มองคล้ายคุณพีรนาถ
o ถ้ามีคนถาม GDP กล้าฟันธงว่า 3-5% แต่ถ้าดัชนีตลาดหุ้นตอบไม่ได้
o PE ตลาดหุ้นไทย ประมาณ 18 เท่า ค่าเฉลี่ย 39 ปีอยู่ประมาณ 12 เท่ากว่า ซึ่งจากค่านี้ก็ดูน่ากลัว แต่พอดู PBV ปัจจุบันเฉลี่ย 2.17 เท่า ค่าเฉลี่ย 2.3 เท่า ซึ่งยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ย มองว่า PBV น่าเชื่อถือกว่า PE ปีไหนกำไรไม่ดีก็ PE สูง ตอนดัชนีไป Peak 1670 จุดตอนวิกฤติ PBV 4 เท่า ปี 31-33 เคย PBV ถึง 7 เท่า
o ในอดีตหลังต้มยำกุ้ง เราชินกับการเห็นหุ้นถูกๆ แต่สถานการณ์วันนี้ต่างกับวันนั้นอย่างสิ้นเชิง สมัยนั้นนักลงทุนสถาบันเล็กมาก สัดส่วนไม่เกิน 5% ปัจจุบันกองทุนต่างๆมีเงินมากมาย และมาแย่งซื้อหุ้น โอกาสได้หุ้นต่ำๆถูกๆก็ไม่ได้มีง่ายอีกแล้ว
o ตลาดหุ้นเป็นที่ขายสินค้าคละ เราก็ต้องรู้จักเลือกสินค้าดีๆ ไม่เน่าเสีย
• คุณประชา
o คำตอบคล้ายคุณโจ
o เป็นคำถามที่มักจะถามตัวเองทุกปีเหมือนกันที่ลงทุนมา 15-16 ปี วัด track record ตัวเองมาสิบกว่าปี ทายต้นปีไว้อย่างไรก็ผิดทุกปี ปีที่แล้วก็คิดว่าไม่ดี พอจบปีตลาดหุ้นบวกไป 15%
o ถ้าจะให้คาดก็คิดว่า side way บวกลบไม่เท่าไร คาดหวังในทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ต้องดูของจริงเทียบ แต่ก็จะมีคำถามว่าแพงไปหรือเปล่า ซึ่งข้อมูลที่คุณโจพูดน่าสนใจ PE 18 เท่าก็เกินค่าเฉลี่ยในอดีต มีอีกมุมที่ชอบดูคือตลาดหุ้นดาวโจนส์ ถ้าสภาวะปกติจะเทรดที่ PE 15-16 เท่า แต่พอตลาดผิดปกติจะเทรดที่ PE 8-9 เท่า เวลากองทุนลงทุนถ้าเงินไม่อยู่ในหุ้นพันธบัตรก็จะฝากแบงค์ ซึ่งดู PE 15-16 เท่า สัมพันธ์กับผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว ได้ผลตอบแทน 6-7% แต่ในตลาดหุ้นจะมี growth ด้วย ในยุคก่อนบ้านเราเคยมีดอกเบี้ย ฝากออมทรัพย์ 5-6% ฝากประจำได้ 10% ถ้าอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรใกล้เคียงฝากประจำ ในยุคนั้น PE30 เท่าถือว่าเสี่ยง ลงทุนหุ้นเสี่ยงสูงกว่าเงินฝาก ต้องเผื่อ mos มากๆ มาเทียบกับยุคนี้ ดอกเบี้ย 2-3% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 12-13% เทียบกับยุคนี้ 7-8% PE 18 เท่าอาจจะดูสูง แต่ดอกเบี้ยก็ต่ำมากๆในรอบ 30-40 ปี อาจจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่เงินจะต้องไปหาที่ผลตอบแทนสูงกว่า
o กลยุทธ์ก็ใช้เหมือนเดิมที่ใช้มาเป็นสิบปี คิดว่าปีนี้แม้ดัชนีไม่ไปไหน แต่ถ้าเลือกหุ้นถูกตัวน่าจะตอบผลตอบแทนที่ดี กลยุทธ์ VI ปีนี้น่าจะใช้ได้ดี
• ดร.นิเวศน์
o ตลาดหุ้นตอนนี้มีความบูมมาก มีคนสนใจเยอะ ทุกคนคิดว่าหุ้นเป็นสิ่งที่ให้ผลตอบแทนดี โดยเฉพาะเงินฝากให้ผลตอบแทนต่ำมาก บัญชีคนซื้อขายหุ้นตอนนี้มีเป็นล้านคน เป็นสิ่งที่กลัว หุ้นร้อนแรงเกินไป ขึ้นเพราะคนสนใจเข้ามาเยอะ ช่วยกันพยุงหุ้นขึ้นไป ขณะที่ฝรั่งขายมาตลอด แต่หุ้นไม่เคยลงเพราะคนไทยเอาเงินเข้ามาเยอะ
o ละครแอบรักออนไลน์ เป็นตัวอย่าง ทีวีมักตามสังคมเพราะคนเล่นหุ้นเยอะ คนสนใจเยอะ แสดงว่าตอนนี้คนบ้าหุ้น
o สรุปคือคิดว่าหุ้นขึ้นเพราะมีเม็ดเงิน แต่พื้นฐานไม่ค่อยไปไหน ก่อนหน้านี้ก็โตไม่มาก บริษัทจดทะเบียนกำไรเพิ่มไม่เยอะ 10 กว่าปีที่ผ่านมา กำไรบริษัทจดทะเบียนขึ้นมาเท่าตัว แต่ราคาหุ้นขึ้นมา 4 เท่าตัว ทำให้ pe สูงขึ้นมาเรื่อยๆ
o บางความเห็นก็มองว่า ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ 2-3% ลงทุนในหุ้นก็ยังได้มากกว่า บางทีพื้นฐานประเทศไทยอาจจะเปลี่ยนไปแล้ว ดอกเบี้ยก็อาจจะไม่ขึ้นไปไหนมาก หุ้นก็อาจจะยืนอยู่ในดัชนีแบบนี้ได้นาน ตอนนี้มีเงินสดก็ถือรอไปก่อน เพราะหุ้นมันไม่มี mos จะซื้อก็ไม่ค่อยสบายใจ หุ้นที่อยากจะซื้อ pe 20-30 หมดเลย หุ้นตัวที่ต่ำกว่า 18 ก็ไม่อยากซื้อเป็นคอมโมดิตี้
o ตอนนี้เป็นสถานการณ์ที่ไม่เคยเจอ ผ่านมา 17-18 ปีแล้ว แต่ไม่มีปีไหน ที่ไม่อยากซื้อหุ้น มีเงินเมื่อไรก็ซื้อได้เลย เพราะมีหุ้นที่เราซื้อแล้วสบายใจ ตอนนี้ก็เลยซื้อหุ้นต่างประเทศ
o ที่กลัวเพราะหุ้น outperform ทรัพย์สินอื่นเป็นเวลาสิบกว่าปี ซึ่งคิดว่าถ้ามันดีเกินไปวันหนึ่งต้องปรับตัว มันควรมีความสัมพันธ์กับสิ่งที่ควรจะเป็น บางทีก็มาคิดว่าเราทำอะไรดี ทำอะไรให้กับโลก มีเงินมากเกินไปหรือเปล่า (ผลที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ดีเกินสิ่งที่ควรจะเป็นหรือไม่)
เปลี่ยนคำถามใหม่ ว่าท่านอื่นรู้สึกแบบเดียวกันไหม?
• คุณพีรนาถ
o ไม่ได้รู้สึกว่าเราอยู่ได้อยู่แล้ว ไม่ได้ดิ้นรนที่จะหาอะไรเพิ่ม ไม่ได้ศึกษาหุ้นอะไรใหม่
o พอได้ฟังทุกท่านพูดก็คิดว่า การมีเม็ดเงินใหม่ที่เข้ามาเป็นจุดสูงสุด มองอีกแบบก็อาจจะเพิ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่จะขึ้นไป เหมือนเทคนิคอลที่ต้าน high เดิม เป็นอะไรที่อึดอัด ในการไหวแต่ละครั้งก็จะขยับได้แรงเป็นร้อยจุด แต่ถ้าทะลุไปได้ก็จะไปได้ไกล
o ประเทศเราอาจจะพัฒนาช้าเทียบที่อื่น เปรียบเทียบอสังหาริมทรัพย์ ถ้า Location ดี นายหน้าจะห่วยอย่างไรก็ขายได้ราคาดี โชคดีที่ประเทศไทยอยู่ใน location ดี ถ้ายังมีเวลาอยู่นานๆก็ไม่น่าเป็นห่วง
o ดร.นิเวศน์ เสริม ละครแบบนี้ออกมาไม่ได้หมายถึงพีค แต่จุดแบบนี้ก็อาจจะทำให้ขึ้นไปอีก
• คุณโจ ลูกอีสาน
o รู้สึกว่าเป็นการทำงานของตัวเอง ถ้าทำได้ดีก็สนุกกับมัน เงินทองที่ได้มาเป็นผลพลอยได้
o ในชีวิตตอนนี้ทำเป็นอยู่อย่างเดียว คือลงทุนหุ้น ถ้าทำได้ดีก็ไม่รู้จะทำอย่างอื่นทำไม คนเลิกเล่นหุ้นมี 2 อย่าง คือ ตาย กับ เจ๊ง
o SET 1670 จุดเป็นแนวต้านที่ยิ่งใหญ่ไม่เคยทะลุมาเกือบ 20 ปีแล้ว ในอเมริกาก็เหมือนกัน คิดเหมือนคุณพีรนาถ ว่าดัชนี 2,000-3000 จุดไปถึงแน่นอน ไม่รู้เมื่อไรอาจจะ 3 ปีข้างหน้า ตอนเป็นเด็กดาวโจนส์ไม่กี่พันจุด ปัจจุบันเป็นหมื่นจุด stock for the long run ประเทศไทยก็ควรเป็นอย่างนั้น เราไม่ทำจุดสูงสุดใหม่มา 20 กว่าปีแล้ว คนที่เคยซื้อหุ้น 1670 จุดในสมัยก่อน ถ้าเอาปันผลมาทบซื้อหุ้นเพิ่มมาตลอดตอนนี้ดัชนีจะเป็น 3000 กว่าจุดแล้ว
• คุณประชา
o เสริมเรื่องแอบรักออนไลน์ ดูตอนล่าสุดพฤหัสก่อน มีสิ่งที่น่าสนใจคือ มีการอ้างอิงคำพูดเบนจามิน เกรแฮม ที่พระเอกนางเอกคุยกัน อย่าสนใจกับอารมณ์แปรปรวนกับตลาดหุ้น ต้องใช้เหตุผลในการวิเคราะห์.. ซึ่งตกใจมาก เพราะเบนจามิน เกรแฮมเป็นอะไรที่คนส่วนน้อยสนใจ คิดว่าคนเขียนบทเก่งมาก ทำการบ้านมาได้น่าสนใจ
o ปกติจะมาดูว่าตลาดหุ้นเป็นอย่างไร ควรทำอย่างไรต่อไป มาดูที่ผ่านมาหุ้นแรงๆมี 2 แบบ คือตกใจเพราะอารมณ์หรือ shock ชั่วคราวแบบ subprime หรือหุ้นลงเพราะเรื่องใหญ่ๆเป็นการเปลี่ยนแปลงของพื้นฐานส่วนใหญ่เช่นปี 40
o ถ้าหุ้นลงเพราะเศรษฐกิจล่มเรื่องเดียวที่น่ากลัวคือ ปริมาณหนี้สิน คือ หนี้ภาครัฐ หนี้เอกชน หนี้ครัวเรือน สมัยที่หนี้เอกชนเยอะมาก ช่วงที่ตลาดบูมปี 35-38 สมัยนี้มีการเปิด bidf บริษัทใหญ่หลายแห่งกู้ถูกมาเป็นสกุล US อัตราหนี้สินของบริษัท 2-4 เท่า พอปี 40 ที่ผลประกอบการไม่ดีและหนี้ก็สูง ทุกอย่างก็ล่มสลาย แต่ตอนนี้ หนี้ภาครัฐ 40-50% ไม่มากไป DE บริษัทในตลาดก็ 1 เท่ากว่า บางบริษัทไม่มีหนี้ แสดงว่ายัง conservative กันเยอะ ตัวที่ต้องดูคือ หนี้ครัวเรือน ธนาคารโลกมีตัวเลข หนี้ครัวเรือนต่อ GDP ไม่ควรเกิน 80% ซึ่งของเราก็อยู่ในระดับ 80 กว่า % ตอนที่อเมริกามีปัญหาอยู่ที่ระดับ 130% เทียบในเอเชีย ตอนนี้เกาหลีใต้ 130% ซึ่งถ้าประเทศเราจะน่ากลัวเกาหลีใต้คงน่ากลัวกว่า
o ตอนปี 40 หุ้นลงจาก 1700 เหลือ 200 หุ้นเกิน 90% ลง แต่มีหุ้นที่ outperform มากคือหุ้นส่งออก สิ่งที่เกิดขึ้นคือค่าเงินสูงมาก อัตราดอกเบี้ยสูงมาก forex ทำให้ส่งออกดีมาก ขนาดที่เป็นวิกฤติใหญ่มากใน 40-50 ปี เป็นช่วงเดียวที่ราคาที่ดินลง (ลงมาเหลือ 30% ของ value เดิม)
o คิดว่าถ้าปี 40 ยังหาหุ้นที่ขึ้นได้ ถ้าเราพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆในความเป็น VI เราก็ยังอยู่รอดได้ อย่าดู factor ใหญ่มากเกินไป ดู factor ย่อย ลงมา ว่าอะไรยังไปได้
ให้คะแนนตลาดหุ้นปี 58 ต่ำสุด 1-10
• คุณโจ ให้ 8 คะแนน รู้สึกว่าทุกคนมองภาพอนาคตไม่สดใส จากประสบการณ์ mass มักจะผิด
• คุณพีรนาถ จุดสูงสุดที่จะเห็นในปีก็ให้ 8 คะแนน ไม่แน่ว่าจะปลายปีจะจบอย่างไร แต่ยังไงก็คิดว่าไม่น่าหลุด 1200
• คุณประชา ให้ 7 คะแนน อยากเผื่อไว้อีกหน่อย แต่ก็คิดว่าสูงแล้ว
• อ.นิเวศน์ ให้ 4 คะแนน ก็ยังรู้สึกว่าไม่ดี ตัว fundamental มองว่าไม่ positive หุ้นอาจจะไปได้เพราะมีพลังคนเข้ามา แต่ sentiment เดาไม่ถูก มันเปลี่ยนได้ง่าย หุ้นไทยก็อาจจะตกได้เยอะ ถ้า pe เหมาะสม 12 เท่าก็ลงได้เยอะ
ประชาสัมพันธ์
*Money talk at SET ครั้งต่อไป 21 กพ. เปิดจอง 14 กพ. FB.com/moneytalktv
หัวข้อ 1 หุ้นเด่นต้องจับตาปี 58 วิทยากร jmart คุณอดิศรักดิ์ , mc คุณ สุนีย์, kamart คุรวิวัฒน์ , ofm คุณวรวุฒิ หมอเค กับ อ.ไพบูลย์ ดำเนินรายการ
หัวข้อ 2 บริหารเงิน บริหารหนี้ และภาษีให้มั่งคั่งแบบมืออาชีพ วิทยากร ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร, ดร.สมจินต์, ดร.นิเวศน์, ดร.ไพบูลย์ ดำเนินรายการโดยอ.เสน่ห์
โปรแกรม Money talk ตลอดปี 58 สามารถดูได้ใน https://www.facebook.com/MoneyTalkTV
**Open house NIDA Gen Y Gen M กับ MBA ยุคใหม่ จัดขึ้นในวันอาทิตย์ 1 ก.พ. 13.00-17.00 ห้องประชุม ดร.สมศักดิ์และคุณหญิง ปัทมา ชั้น 2 อาคารสยามบรมราชกุมารี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) โทรสำรองที่นั่ง 027273939
ขอบพระคุณอ.ไพบูลย์,พิธีกร,วิทยากร, ทีมงาน money talk และผู้สนับสนุนทุกท่าน
สวัสดีปีใหม่สำหรับ money talk เดือนแรกและขอให้ทุกท่านมีความสุขสดใสพอร์ตเบ่งบานกันถ้วนหน้าครับ
ขาดตกบกพร่องรบกวนช่วยเสริมได้ครับ ขอบคุณครับ
ช่วงที่ 0 Money talk และสมาคมนักลงทุนคุณค่า ร่วมทำบุญและเทศนาจากพระอ.อลงกรณ์ วัดพระบาทน้ำพุ
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ได้ร่วมกันทำบุญด้วยครับ
ภารกิจวัดพระบาทน้ำพุ
• ดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ในระยะสุดท้ายมากกว่า 23 ปี มีคนเสียชีวิตที่วัดมาราวหมื่นคน เคยเผาจนเมรุแตกมาหลายครั้ง การเผาต้องใช้อิฐทนไฟ พอเริ่มเผาเกิน 2,000 ศพก็จะเริ่มผุกร่อน
• ดูแลเด็กติดเชื้อ เด็กกำพร้าที่พ่อแม่เสียชีวิตจากโรคเอดส์ ต้องมีการจัดการเรื่องการศึกษาให้เด็ก มีเด็กที่ดูแลอยู่ราว 1300 คน วัดมีโรงเรียนสอนตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงม.6 ปัจจุบันได้ช่วยให้เด็กจบป.ตรี มาแล้วกว่า 300 คน ป.โท 38 คน ยังไม่มีป.เอก
• ช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมีสัดส่วนมากต่อไปผู้สูงอายุที่ไม่มีคนดูแลจะลำบากมาก จึงเป็นสิ่งที่วัดขยายความช่วยเหลือ มีสร้างโรงพยาบาลสำหรับผู้สูงอายุ 400 เตียง จะขยายอีก 40 เตียง
• ดูแลช่วยเหลือสัตว์ วัดได้ถวายพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานกับเกษตรกรที่ยากจนมากว่า 1000 ตัว ที่วัดมีลิง 300-400 ตัว ที่ต้องเลี้ยงดู จัดอาหาร ทำสระว่ายน้ำให้
• วันที่ 10 กพ. จะเปิดตึกใหม่ ได้รับความกรุณาจาก workpoint หาปัจจัยจากรายการคนอวดผีมาสร้าง จึงตั้งชื่อนึกว่าคนทำดีอวดผี
เทศนาจากพระอ.อลงกรณ์
• สิ่งที่มีของเราเป็นเรื่องสมมติ เราต่างมีกิเลส ถ้าสละไม่ได้ทั้งหมดก็สละบางส่วน
• บางคนทำบุญไม่ได้บุญ เพราะทำเอาหน้า ทำตามคนอื่น เงื่อนไขในการทำบุญทำทานคือการสละสิ่งที่เรามีให้ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ สิ่งที่สละออกไปไม่ใช่ของเรา เมื่อออกจากใจเราแล้วก็จะเบาสบายขึ้น ยิ่งให้ก็จะยิ่งได้รับความสุข
• สมองเรามีอายุจำกัด ต้องเสื่อม ต่อไปก็จะรู้สึกว่าทำงานช้าลง หลงลืม ถ้าคิดมากแล้วเครียด วิตก ไม่มีความสุข ทั้งที่มีเงินมาก บางคนก็หยุดคิดไม่ได้ นอนหลับยังเห็นตัวเลข หลวงพ่อไม่เคยมีความรู้สึกแบบนี้ เพราะมีสติรู้เท่าทัน สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นสภาวะของการปรุงแต่ง ถ้ารู้แบบนี้ก็จะไม่ฟุ้งซ่าน ถ้าอยู่กับปัจจุบันได้ก็จะยิ้มได้ มีความสุขได้ ถ้ายิ่งคิดแล้วเป็นทุกข์ ก็เหมือนการทำร้ายตัวเอง สุดท้ายก็เจ็บป่วย
• ความสุขของชีวิตก็ได้มาจากหลายกิจกรรม รวมๆแล้วมาจากความคิด -> คิดดี พูดดี ทำดี ก็จะมีความสุข (หลวงพ่อแถมให้พวกเราว่าและมีสตางค์ด้วย)
• คนเราเอาแน่นอนไม่ได้ อะไรคือสิ่งที่ทำให้ชีวิตมีความมั่นคง สิ่งหนึ่งที่ทำให้เราเป็นทุกข์คือความไม่เที่ยงแท้ เหมือนหุ้นเราถ้าขึ้นแรงๆใจก็ฟู ถ้าหุ้นลงดิ่งมากเกินไปไม่ทันตั้งตัวก็เจ็บมาก เวลาขึ้นก็อย่ายินดีจนหลงระเริงประมาทไป ชีวิตมี 2 ด้าน ใครที่จะรักษาชีวิตให้เสมอต้นเสมอปลายไว้ได้ก็จะดี แต่ยาก
• สิ่งที่ทำให้ชีวิตอยู่ได้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย คือการวางตัว ซึ่งเริ่มจากความคิด
• สุดท้ายแล้วคนเราก็ไม่ได้เอาอะไรไป มีมากไปก็ไม่ใช่จะดี มีน้อยไปก็ไม่มีความสุข ความสุขแท้จริงอยู่ที่ใจไม่ใช่ทรัพย์สินที่มี คนฉลาดต้องหาวิธีดูแลจิตใจตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ
• ขอฝากข้อคิดให้เราทั้ง 2 ด้าน ทั้งการสร้างสมบัติมนุษย์ และสร้างอริยทรัพย์ ซึ่งการสร้างทานอย่างหนึ่งในภายภาคหน้า
สัมมนาหัวข้อที่ 1 “เส้นทางมืออาชีพของคน Gen M”
1. ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บลจ.ทหารไทย
2. ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
3. คุณวิน พรหมแพทย์ หัวหน้าสำนักงานการลงทุน กองทุนประกันสังคม
4. ดร.ประดิษฐ์ วิธิศุภกร ผอ.โครงการ FIRM Nida Business School
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
• อ.เสน่ห์เกริ่นนำ Gen B หรือ Baby boomer 57-58 ปีขึ้นไป เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คนทั้งโลกมีลูกกันมาก เป็นคนหนักเอาเบาสู้ อนุรักษ์นิยม ถัดมา Gen X น่าจะย่อมาจาก Extra ordinary อายุ 36-37 ขึ้นไป จะสบายกว่าคนยุคก่อนเพราะเป็นลูกของ Gen B มีสิ่งที่สร้างมาให้แล้ว เป็นคนมีความภักดี ขยันทำงาน เริ่มมีเทคโนโลยี ใช้คอมพิวเตอร์เป็น ถัดมา Gen Y อายุ 20 กว่าขึ้นไป พวกนี้ชอบถามว่า Why ทำไม เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเอง ไม่ค่อยอดทน สบายได้รับสิ่งสืบทอดจากพ่อแม่ ถัดมาคือ Gen M หรือ Gen Z M คือ Millennium เด็กเกิดในปี 2000 เกิดมากับเทคโลยี ค้นหาข้อมูลด้วยอินเทอร์เน็ทตั้งแต่เล็ก
มืออาชีพทางการเงินเกี่ยวกับ Generationไหม?
• ดร.นิเวศน์
o คิดว่าเกี่ยวกัน สมัยก่อนการสอบให้ได้ CFA ยากมาก น่าจะทำไม่ได้ ส่วนหนึ่งเพราะภาษาอังกฤษไม่ดี แต่เด็กสมัยใหม่ ภาษาอังกฤษเก่งกว่าเรามาก
o สมัยนี้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้เองได้ง่ายกว่า งานก็มีความซับซ้อนสูง หลากหลายมากกว่า
o อ.เสน่ห์ เสริมว่าเด็กยุคนี้เป็น multi tasking ทำพร้อมกันได้หลายอย่าง
• คุณวิน
o มืออาชีพ คืออาชีพเฉพาะทาง ต้องได้รับอนุญาติให้ทำ เช่น หมอ ต้องมีใบประกอบโรคศิลป์
o ในอาชีพการเงินมี 3 อาชีพที่ต้องได้รับใบอนุญาติ
1) อาชีพผู้จัดการกองทุน บริหารเงินให้กับผู้ลงทุนทั้งประเทศมีเงินลงทุน 7 ล้านล้านบาท
ต้องสอบ cfa,cisa กฏหมายจรรยาบรรณ ในไทยมีคนได้ใบอนุญาติ 400 กว่าคน
2) นักวิเคราะห์ เป็นคนที่วิเคราะห์บอกว่าหุ้นไหนดีไม่ดี ต้องสอบ cfa,cisa,firm, cfp ในไทย มี 700 กว่าคน
3) ผู้แนะนำการลงทุน แนะนำลูกค้าว่าที่มีเงินไปซื้อกองทุน ซื้อประกันไหนดี สมัยนี้มีตามธนาคาร คนที่ขายต้องได้ใบอนุญาติ ในไทยมีคนได้ใบอนุญาติ 36,000 คน
• ดร.สมจินต์
o คนที่จะทำงานบริหารกองทุน ต้องสอบได้ cfa หรือ cisa level 1 ซึ่งการสอบมี 3 ระดับ สมัยอ.สมจินต์สอบได้ปีละ 1 level และต้องมีประสบการณ์ 3 ปี แต่สิ่งสำคัญที่จะเป็นนักการเงินที่ดีต้องเป็น “Gen P” ต้องมี 3P ที่สำคัญ
o P purpose มีวัตถุประสงค์ คนที่ทำงานการเงินแบ่งคน 2 กลุ่ม ทำงานให้บริษัทที่ต้องการระดมทุน กับมีคนต้องการเอาเงินไปลงทุน และมีอีกหน้าที่คือคนที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยง 2 กลุ่มนี้ แต่ละงานจะมีวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น corporate finance โครงสร้างการเงินต้องเป็นอย่างไหน จะระดมทุนอย่างไร สายนี้โตขึ้นไปเป็น CFO ฝั่งผู้ลงทุน เป็นมืออาชีพช่วยทำงานให้ผู้ลงทุน เป็น fund manager หรืออาจอยู่สายตรงกลาง เช่น เป็น credit analyst วิเคราะห์ให้กู้ , investment banker ถ้าจะออกหุ้นให้กู้ต้นทุนต้องเป็นอย่างไร ราคาหุ้นกู้หรือหุ้นสามัญควรเป็นเท่าไร ถ้าหากเข้าใจสายวิชาชีพเหล่านี้เป็นอย่างไร แล้วรู้สึกรักในงานนั้นๆ เรียกได้ว่าเรามี sense of purpose แล้ว
o P Passion คือสิ่งที่ตามมาจากการมีวัตถุประสงค์ คนจำนวนมากอาจเลือกสายอาชีพเพราะดูเท่หรือคนทำสำเร็จแล้วรวยมีเงิน แต่ในเส้นทางเดินที่จะไปจะรู้สึกว่ามันยากมันเหนื่อย เพราะขาด sense of purpose เป็นการทำงานเพื่อได้เงิน จะสนุกสนานแค่วันเงินเดือนออกเท่านั้น
Purpose เป็นเชื้อเพลิงสำคัญให้เราก้าวไปข้างหน้าได้ จะทำให้เรากระตือรือร้น จะอยากศึกษาความรู้ใหม่ๆในด้านนั้น ซึ่งเป็นการทำให้เราไปสู่ P Professional
o P Professional สิ่งที่ต้องการคือความรู้ ที่ทันสมัย ลึกซึ้ง ถูกต้อง ต้องมีความสามารถและมีคุณธรรม ซึ่งก็คือจรรยาบรรณในวิชาชีพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ CFA เน้น เคยอ่านหนังสือชื่อ the top 2% ถ้าอยากเป็นคนสำเร็จจริงๆในสายอาชีพนั้น ต้องขึ้นไปให้ถึง Top 2% จะเป็นคนกำหนดอนาคตของอุตสาหกรรม คนที่มีความรักหลงไหลในงาน กระตือรือร้นหาข้อมูลวิเคราะห์สถานการณ์ หาความรู้ใหม่เสมอ ถ้าอยากเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในสายอาชีพนั้น คิดว่า Top 2% ควรเป็นเป้าหมาย
o หลักหนึ่งที่ใช้ได้ในการเป็นอาชีพคือคำกล่าวของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต “ คิดกว้าง มองไกล ใฝ่สูง”
มองให้กว้างว่าอะไรเกี่ยวข้องกับอะไร เกิดขึ้นแล้วจะกระทบกับอะไร ปัจจัยอะไรที่กระทบสภาพการแข่งขั้น
มองไกลว่าจะเกิดอะไรขึ้นใน 5-10 ปีข้างหน้า
ใฝ่สูง ต้องมีความชัดเจนว่าอาชีพเราทำเพื่อใคร ต้องพยายามอย่างดีที่สุดให้ข้อมูลเราถูกต้อง และการวิเคราะห์ลึกซึ้ง มุ่งให้ผลงานเราเกิดประโยชน์โดยไม่ได้แอบแฝง
หลักสูตร FIRM ของ NIDA
• ดร.ประดิษฐ์
o NIDA จุดแข็งคือด้านการเงิน มีอ.เก่งๆ อย่าง อ.ไพบูลย์ หรืออ.สมจินต์ก็เคยสอนที่นี่ รวมทั้งอ.วิน, อ.นิเวศน์ ที่เป็นอ.พิเศษ มีหลักสูตรภาคปกติและภาคพิเศษ
o หลักสูตรที่เน้นการเงินมืออาชีพ FIRM เปิดมา 8 ปีแล้ว ครอบคลุมการเป็นนักบริหารการเงินการลงทุนและการจัดการความเสี่ยง จุดเด่นเราเป็น partner กับ CFA institute ซึ่งเป็นผู้รับรองวิชาชีพ เนื้อหาเน้นให้มีความสอดคล้องกับ CFA สามารถได้รับ msc(master of science) และเตรียมพร้อมสอบ CFA อ.ผู้สอนจบปริญญาเอกหรือเป็น CFA ทำให้นักศึกษาได้รับการชี้แนะในการสอบอย่างดี
o ตอนนี้กำลังเปิดรุ่น 9 อยู่ ที่ผ่านมานักศึกษาที่เรียนก็มีสอบได้ cfa อย่างรุ่น 7 มีคนได้ cfa level 3 รุ่นก่อนคนที่ไปสอบ level 1 ผ่านได้ครึ่งหนึ่ง ถ้าคนที่เตรียมตัวพร้อมก็สอบได้เป็นส่วนใหญ่
o มีทุนให้ 10 ทุน สำหรับคนที่จะไปสอบ ค่าสมัครสอบสำหรับ level 1 ประมาณ 1000$ ถ้าสอบผ่านจะ refund ได้
อ.ไพบูลย์เสริมเป็นหลักสูตร MBA ก็ถ้าสอบได้ก็มาเบิกได้เช่นกัน
o บางคนตั้งเป้าจะไปสายอื่น ก็ไม่จำเป็นต้องไปสอบ เข้ามาอยากได้ master of science ก็มี
o ตอนนี้มี MOU กับ มหาวิทยาลัยIndiana จะมีได้ประสบการณ์ สามารถ transfer หน่วยกิตไปเรียนที่นั่น บางคนก็ทำ 2 ปริญญาได้ทั้ง 2 มหาวิทยาลัย ซึ่งเราจะได้ราคาหน่วยกิต เท่ากับคนที่เป็น resident ของที่ Indiana
• คุณวิน
o ในแต่ละรุ่นมีนักศึกษา 2-3 คนมาเรียน เพื่อสอบ cfa และอยากเรียนไปเล่นหุ้น ทำให้มีหลักในการคิด
o การสอบ cfa ต้องมี Passion เนื่องจากไม่ใช่สอบง่ายๆ เนื้อหาเทียบเท่ากับปริญญาโทขึ้นไป เดิมทีออกแบบมาเพื่อเรียนรู้ด้วยตัวเอง แต่ละ level ใช้เวลา 300 ชม. ทั่วไปใช้เวลาอ่าน 5 เดือนในการเตรียมตัว ค่าสอบแพงแต่ได้การยอมรับทั่วโลก ถ้าสอบ level 1 ->2 -> 3 ซึ่งยุคปัจจุบันต้องมีประสบการณ์ 4 ปี จึงจะได้ charter ในประเทศไทยปีนี้มีคนที่ผ่านได้ charter 30 คน
o ทั่วโลกแต่ละปีมีคนสอบ 1.6 แสนคน ในไทย 1 พันคน คนผ่าน 1 ใน 3 แต่ละ level ดังนั้นแต่ละ level ก็จะคนผ่านได้ลดหลั่นไป แต่ละปีก็ผลิต level 3 ได้ 30-40 คน ทำให้ขาดแคลนบุคลากรเพราะกว่าจะผ่านมาได้ยาก CFA ใช้ได้ทั่วโลก สามารถสมัครงานที่อื่นได้คนรู้จัก
o การเป็นผู้จัดการกองทุน มีทั้งคุณวุฒิกับจรรยบรรณ
o คุณวุฒิมี 3 อย่างให้เลือก
CFA หรือ cisa ผ่าน level 1 และมีประสบการทำงาน 2 ปี
สอบผ่าน CFA หรือ cisa level 3
ได้รับใบอนุญาติต่างประเทศ
o จรรยาบรรณต้องอบรมและสอบจรรยาบรรณกฏหมายอาชีพ
o เมื่อมีครบ 2 อย่างนี้ก็ยื่นขอใบอนุญาติกับ กลต. มี อายุ 2 ปี และต้องมา refresh ใหม่ทุก 2 ปี
เงินเดือนดีไหม? เทียบกับป.โททั่วไปเป็นอย่างไร
• ดร.สมจินต์ คงดีกว่าป.โท ทั่วไป มีช่วงกว้าง ตั้งแต่ 70,000-80,000 ไปถึง แสนกว่าบาท
• คุณวิน ความน่าสนใจของ cfa คือ ให้โอกาสโตเร็วได้ เพราะคนขาดอยู่จะเห็นคนอายุน้อยๆขึ้นมาเป็นผู้บริหารได้ แต่ก็จะมีข้อยากของคน Gen Y , Gen M คือไม่ชอบเป็นลูกน้องใคร อยากมีอิสรภาพ ถ้าคุยกับเด็กสมัยนี้อยากลาออกจากงานมาเล่นหุ้น คงต้องถ่วงน้ำหนักกัน อาชีพนี้มีโอกาสโตเร็ว มีโอกาสได้คิดวิเคราะห์เองในการตัดสินใจซื้อหรือขายหุ้น
มืออาชีพทางการเงินเหมาะกับใคร?
• ดร.นิเวศน์
o คิดว่าตัวเองไม่ได้เป็นมืออาชีพทางการเงิน คนที่จะเป็นพวกนี้ได้ต้องมีสมองแบบนิวตันหรือแบบไอน์สไตน์ สามารถมองตัวเลขหรือตัวภาษาแปลกๆอัลฟ่าเบต้าแล้วเข้าใจ ถ้าเราคำนวณไม่เก่ง หรือคิดอะไรยากๆไม่เก่ง เรียนไม่ไหวหรอก ดังนั้นคนที่เหมาะคือคนที่เรียนวิทยาศาสตร์แล้วอย่างน้อยเข้าคณะวิศวกรรมดังๆได้ หรือไม่ก็ต้องพยายามสูง
• คุณวิน
o CFA มาจากเบนจามิน เกรแฮม สมัยนั้นสอนหนังสือที่โคลัมเบีย เป็นคนผลักดันให้มีใบอนุญาติเป็นมืออาชีพ ผลักดันกว่า 20 ปี สอบครั้งแรกในช่วงปี 1960 กว่า คนสอบยุคนั้นคือคนอายุเฉลี่ย 60 ซึ่งเป็นคนที่ทำอาชีพนั้นอยู่แล้ว ใช้ลูกคิดสอบ แต่สมัยนี้คนสอบอายุ 25 บวกลบ
o คณิตศาสตร์ ของ cfa ไม่ยากมาก แต่ถ้าสาย Risk management จะใช้คณิตศาสตร์เยอะ
• ดร.ประดิษฐ์
o หัวใจของการสอบแต่ละ level คือ ethics จรรยาบรรณ พยายามเน้นทดสอบว่าเราจะมีจรรยาบรรณ ลักษณะคำถามคนทั่วไปตอบอาจจะตกได้ เช่น ทำงานกับบริษัทการเงินแห่งหนึ่ง แล้วเสาร์อาทิตย์ไปทำงานเพื่อสังคมเกี่ยวกับเงิน ต้องรายงานบริษัทไหมว่าไปทำอะไร คำตอบที่ถูกต้องคือต้องรายงานเพราะเป็นส่วนหนึ่งของ ethics แม้เป็นเสาร์อาทิตย์
• ดร.สมจินต์
o ข้อสอบส่วนที่ใช้ ตัวเลขเยอะน่าจะเป็น level 2 แต่ level 3 ต้องมีความคิดเชื่อมโยง มีมุมมองพอร์ตฟอลิโอมากขึ้น คนที่เก่งคณิตศาสตร์อาจได้เปรียบใน level 2 แต่คนที่จบเศรษฐศาสตร์ หรือพาณิชย์ใน level 3 ก็อาจจะได้เปรียบได้เหมือนกัน สิ่งสำคัญคือมีความยินดี ที่จะใช้ 300 ชม.กับตรงนั้นได้ไหม
• คุณวิน
o ถ้าจบวิศวกรรมมาได้เปรียบ โดยเฉพาะ level 2 แต่คนจบบัญชีก็ได้เปรียบในวิชาบัญชีเหมือนกัน ก็มีได้เปรียบเสียเปรียบต่างกันไป
o มีคนผ่าน level 3 แล้วราว 300 คน ช่วงสิบปีแรกมีราว 30 คน ในฮ่องกง สิงคโปร์มีเป็นหลักหมื่นคน ที่มาแรงคือจีน คนเข้าสอบปีละหลายหมื่นคน กำลังจะแซงฮ่องกงสิงคโปร์
o อ.เสน่ห์ ถ้าเปิด AEC ก็มีโอกาสที่คนเหล่านั้นจะไหลเข้ามา? คุณวิน ใช่ เราต้องพัฒนาคนของเราให้สู้กับเขาได้
อาชีพนักการเงินได้เปรียบเสียเปรียบอาชีพอื่นอย่างไร?
• ดร.นิเวศน์ มีโอกาสทำเงินได้เยอะ เพราะเป็นคนที่จับเงินผ่านไปมา และได้รับส่วนแบ่ง ซึ่งคนไม่ต้องรับผลขาดทุน เงินจำนวนใหญ่ได้รับส่วนแบ่งนิดเดียวก็ได้เงินมากแล้ว แต่งานส่วนใหญ่ต้องออกแรงจำกัดตามเวลา ในเมืองนอกรวยกันมโหฬาร กองทุนเป็นล้านล้าน ได้แบ่งนิดเดียวรวย บางทีก็ไม่ได้ทำอะไรมาก นั่งๆเคาะๆ ถ้าทำได้ถูกต้องก็รวยแล้ว
• ดร.ไพบูลย์ ในอดีต นิค ลีซัน ก็เคาะปิ๊งๆ ทีเดียวแบงค์เจ๊ง ติดคุกไปแล้ว
• ดร.สมจินต์ นิค ลีซัน เป็นตัวอย่างที่ดี อันนั้นเป็น zero sum game แต่เราอยากให้เข้าไปใน plus sum game เข้าไปในอาชีพของเราได้ add value อะไร ถ้าเป็น cfo จัด structure ได้ถูกต้อง leverage ที่เหมาะสม ทำให้ roe บริษัทสูงขึ้นได้ ถ้าเป็น fund manager ก็ identify การลงทุนที่ดีได้ ทำประโยชน์ให้คนในวงกว้างได้ ก็จะเป็นผลตอบแทนที่ดีของคนในวิชาชีพ
FIRM ของ NIDA รับรุ่นละกี่คน?
ดร.ประดิษฐ์
• ปีละ 30 คน กระบวนการสมัคร จะให้ ดาวน์โหลดข้อมูล จากเวบนิด้า กรอกใบสมัคร ทดสอบข้อเขียน หรือใช้คะแนนที่เคยสอบความรู้ภาษาอังกฤษ GMAT ก็จะช่วยลดขั้นตอน GMAT ประมาณ 500 จบปริญญาตรีไม่จำกัดด้านไหนก็ได้ จะมีวิชาเตรียมความพร้อม แม้จะไม่เคยเรียนบัญชี หรือเศรษฐศาสตร์ จะปรับให้ใกล้เคียงกันก่อน ไม่จำกัดเกรด บางคนจบปริญญาเอกมาสมัครก็มี
• ค่าเรียน ตลอดหลักสูตร 4.5 แสนบาท
ประชาสัมพันธ์หนังสือ "สุดยอดบริหารเงินมืออาชีพ" โดยคุณวิน สมทบทุนมูลนิธิเด็กโรคหัวใจ 10 บาท
สัมมนาหัวข้อที่ 2 “กลยุทธ์วีไอปี 58”
1. ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
2. คุณอนุรักษ์ บุญแสวง นายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า(ประเทศไทย)
3. คุณพีรนาถ โชควัฒนา นักลงทุนเน้นคุณค่าอาวุโส
4. คุณประชา ดำรงสุทธิพงษ์ นักลงทุนเน้นคุณค่าอาวุโส
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
หุ้นไทยปี 58 จะเป็นอย่างไร?
• คุณพีรนาถ
o ไม่ทราบ แต่ที่สัมผัสมาหลายคนกลัว ถ้าพูดตามเหตุผลก็น่ากลัว Government spending, การลงทุนเอกชน, consumption, export ก็ไม่ดีสักอย่าง พอคนกลัวกันหมดก็รู้สึกว่าไม่ใช่เวลาที่จะขาย ถ้ามีปัจจัยดีเข้ามาอย่างก็อาจจะเห็นอะไรดีตามกันมาเป็นโดมิโน
o กลยุทธ์ส่วนตัวก็เหมือนเดิมถือหุ้นอะไรอยู่ก็เป็นบริษัทที่รู้จักจริงๆ เป็นส่วนหนึ่งของบริษัทนั้น ในระยะยาวประเทศไทยก็คงมีอยู่ จะเจริญน้อยลงหรือช้าไปบ้างก็ยังอยู่ที่นี่ ถ้าบริษัทที่ถือยังเจริญไปได้ ก็ยังถือในสิ่งที่เรารู้จักดีที่สุด
o ถ้าเวลาเหลือเยอะ ก็หาบริษัทดีๆถือไปเลย คิดว่าดัชนีบ้านเราขึ้นไปถึง 4 พันจุดได้ในระยะยาว แต่มันก็อาจะลงได้ระหว่างทาง ช่วงที่มัน low ก็ไม่ต้องขายมัน คิดเหมือนเป็นเจ้าของบริษัทถ้าขายไปก็เหมือนเสียการ control บริษัท
o เทียบกับปีที่แล้ว มั่นใจปี 58 มากกว่า
• คุณโจ ลูกอีสาน
o มองคล้ายคุณพีรนาถ
o ถ้ามีคนถาม GDP กล้าฟันธงว่า 3-5% แต่ถ้าดัชนีตลาดหุ้นตอบไม่ได้
o PE ตลาดหุ้นไทย ประมาณ 18 เท่า ค่าเฉลี่ย 39 ปีอยู่ประมาณ 12 เท่ากว่า ซึ่งจากค่านี้ก็ดูน่ากลัว แต่พอดู PBV ปัจจุบันเฉลี่ย 2.17 เท่า ค่าเฉลี่ย 2.3 เท่า ซึ่งยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ย มองว่า PBV น่าเชื่อถือกว่า PE ปีไหนกำไรไม่ดีก็ PE สูง ตอนดัชนีไป Peak 1670 จุดตอนวิกฤติ PBV 4 เท่า ปี 31-33 เคย PBV ถึง 7 เท่า
o ในอดีตหลังต้มยำกุ้ง เราชินกับการเห็นหุ้นถูกๆ แต่สถานการณ์วันนี้ต่างกับวันนั้นอย่างสิ้นเชิง สมัยนั้นนักลงทุนสถาบันเล็กมาก สัดส่วนไม่เกิน 5% ปัจจุบันกองทุนต่างๆมีเงินมากมาย และมาแย่งซื้อหุ้น โอกาสได้หุ้นต่ำๆถูกๆก็ไม่ได้มีง่ายอีกแล้ว
o ตลาดหุ้นเป็นที่ขายสินค้าคละ เราก็ต้องรู้จักเลือกสินค้าดีๆ ไม่เน่าเสีย
• คุณประชา
o คำตอบคล้ายคุณโจ
o เป็นคำถามที่มักจะถามตัวเองทุกปีเหมือนกันที่ลงทุนมา 15-16 ปี วัด track record ตัวเองมาสิบกว่าปี ทายต้นปีไว้อย่างไรก็ผิดทุกปี ปีที่แล้วก็คิดว่าไม่ดี พอจบปีตลาดหุ้นบวกไป 15%
o ถ้าจะให้คาดก็คิดว่า side way บวกลบไม่เท่าไร คาดหวังในทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ต้องดูของจริงเทียบ แต่ก็จะมีคำถามว่าแพงไปหรือเปล่า ซึ่งข้อมูลที่คุณโจพูดน่าสนใจ PE 18 เท่าก็เกินค่าเฉลี่ยในอดีต มีอีกมุมที่ชอบดูคือตลาดหุ้นดาวโจนส์ ถ้าสภาวะปกติจะเทรดที่ PE 15-16 เท่า แต่พอตลาดผิดปกติจะเทรดที่ PE 8-9 เท่า เวลากองทุนลงทุนถ้าเงินไม่อยู่ในหุ้นพันธบัตรก็จะฝากแบงค์ ซึ่งดู PE 15-16 เท่า สัมพันธ์กับผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว ได้ผลตอบแทน 6-7% แต่ในตลาดหุ้นจะมี growth ด้วย ในยุคก่อนบ้านเราเคยมีดอกเบี้ย ฝากออมทรัพย์ 5-6% ฝากประจำได้ 10% ถ้าอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรใกล้เคียงฝากประจำ ในยุคนั้น PE30 เท่าถือว่าเสี่ยง ลงทุนหุ้นเสี่ยงสูงกว่าเงินฝาก ต้องเผื่อ mos มากๆ มาเทียบกับยุคนี้ ดอกเบี้ย 2-3% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 12-13% เทียบกับยุคนี้ 7-8% PE 18 เท่าอาจจะดูสูง แต่ดอกเบี้ยก็ต่ำมากๆในรอบ 30-40 ปี อาจจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่เงินจะต้องไปหาที่ผลตอบแทนสูงกว่า
o กลยุทธ์ก็ใช้เหมือนเดิมที่ใช้มาเป็นสิบปี คิดว่าปีนี้แม้ดัชนีไม่ไปไหน แต่ถ้าเลือกหุ้นถูกตัวน่าจะตอบผลตอบแทนที่ดี กลยุทธ์ VI ปีนี้น่าจะใช้ได้ดี
• ดร.นิเวศน์
o ตลาดหุ้นตอนนี้มีความบูมมาก มีคนสนใจเยอะ ทุกคนคิดว่าหุ้นเป็นสิ่งที่ให้ผลตอบแทนดี โดยเฉพาะเงินฝากให้ผลตอบแทนต่ำมาก บัญชีคนซื้อขายหุ้นตอนนี้มีเป็นล้านคน เป็นสิ่งที่กลัว หุ้นร้อนแรงเกินไป ขึ้นเพราะคนสนใจเข้ามาเยอะ ช่วยกันพยุงหุ้นขึ้นไป ขณะที่ฝรั่งขายมาตลอด แต่หุ้นไม่เคยลงเพราะคนไทยเอาเงินเข้ามาเยอะ
o ละครแอบรักออนไลน์ เป็นตัวอย่าง ทีวีมักตามสังคมเพราะคนเล่นหุ้นเยอะ คนสนใจเยอะ แสดงว่าตอนนี้คนบ้าหุ้น
o สรุปคือคิดว่าหุ้นขึ้นเพราะมีเม็ดเงิน แต่พื้นฐานไม่ค่อยไปไหน ก่อนหน้านี้ก็โตไม่มาก บริษัทจดทะเบียนกำไรเพิ่มไม่เยอะ 10 กว่าปีที่ผ่านมา กำไรบริษัทจดทะเบียนขึ้นมาเท่าตัว แต่ราคาหุ้นขึ้นมา 4 เท่าตัว ทำให้ pe สูงขึ้นมาเรื่อยๆ
o บางความเห็นก็มองว่า ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ 2-3% ลงทุนในหุ้นก็ยังได้มากกว่า บางทีพื้นฐานประเทศไทยอาจจะเปลี่ยนไปแล้ว ดอกเบี้ยก็อาจจะไม่ขึ้นไปไหนมาก หุ้นก็อาจจะยืนอยู่ในดัชนีแบบนี้ได้นาน ตอนนี้มีเงินสดก็ถือรอไปก่อน เพราะหุ้นมันไม่มี mos จะซื้อก็ไม่ค่อยสบายใจ หุ้นที่อยากจะซื้อ pe 20-30 หมดเลย หุ้นตัวที่ต่ำกว่า 18 ก็ไม่อยากซื้อเป็นคอมโมดิตี้
o ตอนนี้เป็นสถานการณ์ที่ไม่เคยเจอ ผ่านมา 17-18 ปีแล้ว แต่ไม่มีปีไหน ที่ไม่อยากซื้อหุ้น มีเงินเมื่อไรก็ซื้อได้เลย เพราะมีหุ้นที่เราซื้อแล้วสบายใจ ตอนนี้ก็เลยซื้อหุ้นต่างประเทศ
o ที่กลัวเพราะหุ้น outperform ทรัพย์สินอื่นเป็นเวลาสิบกว่าปี ซึ่งคิดว่าถ้ามันดีเกินไปวันหนึ่งต้องปรับตัว มันควรมีความสัมพันธ์กับสิ่งที่ควรจะเป็น บางทีก็มาคิดว่าเราทำอะไรดี ทำอะไรให้กับโลก มีเงินมากเกินไปหรือเปล่า (ผลที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ดีเกินสิ่งที่ควรจะเป็นหรือไม่)
เปลี่ยนคำถามใหม่ ว่าท่านอื่นรู้สึกแบบเดียวกันไหม?
• คุณพีรนาถ
o ไม่ได้รู้สึกว่าเราอยู่ได้อยู่แล้ว ไม่ได้ดิ้นรนที่จะหาอะไรเพิ่ม ไม่ได้ศึกษาหุ้นอะไรใหม่
o พอได้ฟังทุกท่านพูดก็คิดว่า การมีเม็ดเงินใหม่ที่เข้ามาเป็นจุดสูงสุด มองอีกแบบก็อาจจะเพิ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่จะขึ้นไป เหมือนเทคนิคอลที่ต้าน high เดิม เป็นอะไรที่อึดอัด ในการไหวแต่ละครั้งก็จะขยับได้แรงเป็นร้อยจุด แต่ถ้าทะลุไปได้ก็จะไปได้ไกล
o ประเทศเราอาจจะพัฒนาช้าเทียบที่อื่น เปรียบเทียบอสังหาริมทรัพย์ ถ้า Location ดี นายหน้าจะห่วยอย่างไรก็ขายได้ราคาดี โชคดีที่ประเทศไทยอยู่ใน location ดี ถ้ายังมีเวลาอยู่นานๆก็ไม่น่าเป็นห่วง
o ดร.นิเวศน์ เสริม ละครแบบนี้ออกมาไม่ได้หมายถึงพีค แต่จุดแบบนี้ก็อาจจะทำให้ขึ้นไปอีก
• คุณโจ ลูกอีสาน
o รู้สึกว่าเป็นการทำงานของตัวเอง ถ้าทำได้ดีก็สนุกกับมัน เงินทองที่ได้มาเป็นผลพลอยได้
o ในชีวิตตอนนี้ทำเป็นอยู่อย่างเดียว คือลงทุนหุ้น ถ้าทำได้ดีก็ไม่รู้จะทำอย่างอื่นทำไม คนเลิกเล่นหุ้นมี 2 อย่าง คือ ตาย กับ เจ๊ง
o SET 1670 จุดเป็นแนวต้านที่ยิ่งใหญ่ไม่เคยทะลุมาเกือบ 20 ปีแล้ว ในอเมริกาก็เหมือนกัน คิดเหมือนคุณพีรนาถ ว่าดัชนี 2,000-3000 จุดไปถึงแน่นอน ไม่รู้เมื่อไรอาจจะ 3 ปีข้างหน้า ตอนเป็นเด็กดาวโจนส์ไม่กี่พันจุด ปัจจุบันเป็นหมื่นจุด stock for the long run ประเทศไทยก็ควรเป็นอย่างนั้น เราไม่ทำจุดสูงสุดใหม่มา 20 กว่าปีแล้ว คนที่เคยซื้อหุ้น 1670 จุดในสมัยก่อน ถ้าเอาปันผลมาทบซื้อหุ้นเพิ่มมาตลอดตอนนี้ดัชนีจะเป็น 3000 กว่าจุดแล้ว
• คุณประชา
o เสริมเรื่องแอบรักออนไลน์ ดูตอนล่าสุดพฤหัสก่อน มีสิ่งที่น่าสนใจคือ มีการอ้างอิงคำพูดเบนจามิน เกรแฮม ที่พระเอกนางเอกคุยกัน อย่าสนใจกับอารมณ์แปรปรวนกับตลาดหุ้น ต้องใช้เหตุผลในการวิเคราะห์.. ซึ่งตกใจมาก เพราะเบนจามิน เกรแฮมเป็นอะไรที่คนส่วนน้อยสนใจ คิดว่าคนเขียนบทเก่งมาก ทำการบ้านมาได้น่าสนใจ
o ปกติจะมาดูว่าตลาดหุ้นเป็นอย่างไร ควรทำอย่างไรต่อไป มาดูที่ผ่านมาหุ้นแรงๆมี 2 แบบ คือตกใจเพราะอารมณ์หรือ shock ชั่วคราวแบบ subprime หรือหุ้นลงเพราะเรื่องใหญ่ๆเป็นการเปลี่ยนแปลงของพื้นฐานส่วนใหญ่เช่นปี 40
o ถ้าหุ้นลงเพราะเศรษฐกิจล่มเรื่องเดียวที่น่ากลัวคือ ปริมาณหนี้สิน คือ หนี้ภาครัฐ หนี้เอกชน หนี้ครัวเรือน สมัยที่หนี้เอกชนเยอะมาก ช่วงที่ตลาดบูมปี 35-38 สมัยนี้มีการเปิด bidf บริษัทใหญ่หลายแห่งกู้ถูกมาเป็นสกุล US อัตราหนี้สินของบริษัท 2-4 เท่า พอปี 40 ที่ผลประกอบการไม่ดีและหนี้ก็สูง ทุกอย่างก็ล่มสลาย แต่ตอนนี้ หนี้ภาครัฐ 40-50% ไม่มากไป DE บริษัทในตลาดก็ 1 เท่ากว่า บางบริษัทไม่มีหนี้ แสดงว่ายัง conservative กันเยอะ ตัวที่ต้องดูคือ หนี้ครัวเรือน ธนาคารโลกมีตัวเลข หนี้ครัวเรือนต่อ GDP ไม่ควรเกิน 80% ซึ่งของเราก็อยู่ในระดับ 80 กว่า % ตอนที่อเมริกามีปัญหาอยู่ที่ระดับ 130% เทียบในเอเชีย ตอนนี้เกาหลีใต้ 130% ซึ่งถ้าประเทศเราจะน่ากลัวเกาหลีใต้คงน่ากลัวกว่า
o ตอนปี 40 หุ้นลงจาก 1700 เหลือ 200 หุ้นเกิน 90% ลง แต่มีหุ้นที่ outperform มากคือหุ้นส่งออก สิ่งที่เกิดขึ้นคือค่าเงินสูงมาก อัตราดอกเบี้ยสูงมาก forex ทำให้ส่งออกดีมาก ขนาดที่เป็นวิกฤติใหญ่มากใน 40-50 ปี เป็นช่วงเดียวที่ราคาที่ดินลง (ลงมาเหลือ 30% ของ value เดิม)
o คิดว่าถ้าปี 40 ยังหาหุ้นที่ขึ้นได้ ถ้าเราพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆในความเป็น VI เราก็ยังอยู่รอดได้ อย่าดู factor ใหญ่มากเกินไป ดู factor ย่อย ลงมา ว่าอะไรยังไปได้
ให้คะแนนตลาดหุ้นปี 58 ต่ำสุด 1-10
• คุณโจ ให้ 8 คะแนน รู้สึกว่าทุกคนมองภาพอนาคตไม่สดใส จากประสบการณ์ mass มักจะผิด
• คุณพีรนาถ จุดสูงสุดที่จะเห็นในปีก็ให้ 8 คะแนน ไม่แน่ว่าจะปลายปีจะจบอย่างไร แต่ยังไงก็คิดว่าไม่น่าหลุด 1200
• คุณประชา ให้ 7 คะแนน อยากเผื่อไว้อีกหน่อย แต่ก็คิดว่าสูงแล้ว
• อ.นิเวศน์ ให้ 4 คะแนน ก็ยังรู้สึกว่าไม่ดี ตัว fundamental มองว่าไม่ positive หุ้นอาจจะไปได้เพราะมีพลังคนเข้ามา แต่ sentiment เดาไม่ถูก มันเปลี่ยนได้ง่าย หุ้นไทยก็อาจจะตกได้เยอะ ถ้า pe เหมาะสม 12 เท่าก็ลงได้เยอะ
ประชาสัมพันธ์
*Money talk at SET ครั้งต่อไป 21 กพ. เปิดจอง 14 กพ. FB.com/moneytalktv
หัวข้อ 1 หุ้นเด่นต้องจับตาปี 58 วิทยากร jmart คุณอดิศรักดิ์ , mc คุณ สุนีย์, kamart คุรวิวัฒน์ , ofm คุณวรวุฒิ หมอเค กับ อ.ไพบูลย์ ดำเนินรายการ
หัวข้อ 2 บริหารเงิน บริหารหนี้ และภาษีให้มั่งคั่งแบบมืออาชีพ วิทยากร ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร, ดร.สมจินต์, ดร.นิเวศน์, ดร.ไพบูลย์ ดำเนินรายการโดยอ.เสน่ห์
โปรแกรม Money talk ตลอดปี 58 สามารถดูได้ใน https://www.facebook.com/MoneyTalkTV
**Open house NIDA Gen Y Gen M กับ MBA ยุคใหม่ จัดขึ้นในวันอาทิตย์ 1 ก.พ. 13.00-17.00 ห้องประชุม ดร.สมศักดิ์และคุณหญิง ปัทมา ชั้น 2 อาคารสยามบรมราชกุมารี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) โทรสำรองที่นั่ง 027273939
ขอบพระคุณอ.ไพบูลย์,พิธีกร,วิทยากร, ทีมงาน money talk และผู้สนับสนุนทุกท่าน
สวัสดีปีใหม่สำหรับ money talk เดือนแรกและขอให้ทุกท่านมีความสุขสดใสพอร์ตเบ่งบานกันถ้วนหน้าครับ
ขาดตกบกพร่องรบกวนช่วยเสริมได้ครับ ขอบคุณครับ
Go against and stay alive.
- JobJakraphan
- Verified User
- โพสต์: 749
- ผู้ติดตาม: 0
Re: MoneyTalk@SET17Jan2015เส้นทางมืออาชีพ&กลยุทธ์VIปี58
โพสต์ที่ 2
ขอบคุณพี่บิ๊กมากครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 5620
- ผู้ติดตาม: 1
Re: MoneyTalk@SET17Jan2015เส้นทางมืออาชีพ&กลยุทธ์VIปี58
โพสต์ที่ 7
ขอบคุณครับพี่
วินัย + แผนการ + ลงรายละเอียด => ขุดหุ้น
fb fanpage : https://www.facebook.com/stockinvestigator
fb fanpage : https://www.facebook.com/stockinvestigator
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1735
- ผู้ติดตาม: 0
Re: MoneyTalk@SET17Jan2015เส้นทางมืออาชีพ&กลยุทธ์VIปี58
โพสต์ที่ 8
เยี่ยมเลยค่ะ...ขอให้ผ่าน level 2 อย่างที่ตั้งใจนะคะ ^__^kjarrung เขียน:ผมเพิ่มผ่าน cisa level 1กำลังเตรีนมสอบ cisa level 2 เดือนมีนาคมนี้ วางแผนว่าจะสอบผ่าน level 2 ภายในปีนี้
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 0
Re: MoneyTalk@SET17Jan2015เส้นทางมืออาชีพ&กลยุทธ์VIปี58
โพสต์ที่ 15
ชาบู
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
-
- Verified User
- โพสต์: 11
- ผู้ติดตาม: 0
Re: MoneyTalk@SET17Jan2015เส้นทางมืออาชีพ&กลยุทธ์VIปี58
โพสต์ที่ 22
ขอบคุณค่ะ