OEM ธุรกิจที่จะเป็นดาวร่วงของไทย และอะไรคือธุรกิจดาวรุ่งในอน
-
- Verified User
- โพสต์: 54
- ผู้ติดตาม: 0
OEM ธุรกิจที่จะเป็นดาวร่วงของไทย และอะไรคือธุรกิจดาวรุ่งในอน
โพสต์ที่ 1
เนื่องจากผมอยู่ในภาคธุรกิจ OEM ซึ่งได้เห็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงหลายอย่างๆเช่น
1.ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนอาจจะไม่คุ้มในการผลิตเพราะค่าแรงเป็นต้นทุนถึง 1/3 ของการผลิต
2.การที่ไทยมีเด็กเกิดใหม่น้อยลงชัดเจน เด็กอายุ0-14ปี 17.6% ซึ่งทำให้จะเจอปัญหาแรงงานในอนาคต http://www.thaivi.org/the-lewis-turning-point/
3.การที่คนไทยรุ่นใหม่เลือกที่จะทำงานในโรงงานน้อยลง และจะเห็นได้ในที่ทำงานของผมมีคนงานพม่ามากกว่า 30% และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพของงาน เพราะมี
ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำ
4.คนเรียนสายอาชีพน้อยลง ทำให้หาคนทำงานที่มีความสามารถเฉพาะด้านยากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดการแย่งคนงานคุณภาพ = ค่าจ้างเพิ่ม = ทุนต้นเพิ่ม
5.น้ำท้วมใหญ่ในไทย ทำให้บริษัทต่างชาติเลือกที่จะไปลงทุนที่อื่นแทนเพราะความเสี่ยงในการผลิต เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ยกตัวอย่าง ถ้า TOYOTA มีเหตุทำให้ต้องหยุดการผลิตจะส่งผลกระทบในการประกอบรถเป็นจำนวนเงิน 300,000บาทต่อนาที และความน่าเชื่อถือต่อลูกค้า
https://www.youtube.com/watch?v=-bSfhiZ-RIE นาทีที่ 1:04:00 เป็นต้นไป
ทำให้ผมอดสงสัยไม่ได้ว่า OEM คงค่อยๆกลับหัวลง พวกพี่ๆคิดอย่างไร?
และ อะไรคือสิ่งที่จะมาทดแทนหรือธุรกิจดาวรุ่งนอนาคตของไทย?
ส่วนตัวผมคิดว่า Service Food ท่องเที่ยว คงจะเป็นตัวหลักในอนาคตเพราะเป็นพื้นฐานของคนไทยอยู่แล้ว
หรือถ้าไทยจะโตโดยการผลิตคงต้องมี KNOW HOW มากยิ่งขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้
หรือไม่ก็ช่วยกันปั้มลูก ขำขำ นะครับ
1.ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนอาจจะไม่คุ้มในการผลิตเพราะค่าแรงเป็นต้นทุนถึง 1/3 ของการผลิต
2.การที่ไทยมีเด็กเกิดใหม่น้อยลงชัดเจน เด็กอายุ0-14ปี 17.6% ซึ่งทำให้จะเจอปัญหาแรงงานในอนาคต http://www.thaivi.org/the-lewis-turning-point/
3.การที่คนไทยรุ่นใหม่เลือกที่จะทำงานในโรงงานน้อยลง และจะเห็นได้ในที่ทำงานของผมมีคนงานพม่ามากกว่า 30% และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพของงาน เพราะมี
ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำ
4.คนเรียนสายอาชีพน้อยลง ทำให้หาคนทำงานที่มีความสามารถเฉพาะด้านยากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดการแย่งคนงานคุณภาพ = ค่าจ้างเพิ่ม = ทุนต้นเพิ่ม
5.น้ำท้วมใหญ่ในไทย ทำให้บริษัทต่างชาติเลือกที่จะไปลงทุนที่อื่นแทนเพราะความเสี่ยงในการผลิต เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ยกตัวอย่าง ถ้า TOYOTA มีเหตุทำให้ต้องหยุดการผลิตจะส่งผลกระทบในการประกอบรถเป็นจำนวนเงิน 300,000บาทต่อนาที และความน่าเชื่อถือต่อลูกค้า
https://www.youtube.com/watch?v=-bSfhiZ-RIE นาทีที่ 1:04:00 เป็นต้นไป
ทำให้ผมอดสงสัยไม่ได้ว่า OEM คงค่อยๆกลับหัวลง พวกพี่ๆคิดอย่างไร?
และ อะไรคือสิ่งที่จะมาทดแทนหรือธุรกิจดาวรุ่งนอนาคตของไทย?
ส่วนตัวผมคิดว่า Service Food ท่องเที่ยว คงจะเป็นตัวหลักในอนาคตเพราะเป็นพื้นฐานของคนไทยอยู่แล้ว
หรือถ้าไทยจะโตโดยการผลิตคงต้องมี KNOW HOW มากยิ่งขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้
หรือไม่ก็ช่วยกันปั้มลูก ขำขำ นะครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 66
- ผู้ติดตาม: 0
Re: OEM ธุรกิจที่จะเป็นดาวร่วงของไทย และอะไรคือธุรกิจดาวรุ่ง
โพสต์ที่ 2
เออีซี อาจเป็นตัวเร่งที่ทำให้เราต้องชิฟตัวเองมาอยู่ในภาคบริการ เทรดดิ้ง ลอจิสติก มากขึ้นนะผมว่า การเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษริมชายแดนเพื่อหวังใช้แรงงานต่างด้าวก็ถือเป็นการปรับตัวอันหนึ่งของไทยต่อปัญหาเรื่องแรงงานและเพื่อต่อลมหายใจให้กับอุตสากรรมภาคการผลิตไทยทึ่ยังหวังคงสถานะประเทศoem ต่อไป
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4366
- ผู้ติดตาม: 1
Re: OEM ธุรกิจที่จะเป็นดาวร่วงของไทย และอะไรคือธุรกิจดาวรุ่ง
โพสต์ที่ 3
มันก็เป็นธรรมดาครับ แต่ละประเทศก็จะค่อยๆ พัฒนาขึ้นจากเน้นเกษตร ==> อุตสาหกรรม ==> บริการ
การที่ประเทศเรามาถึงตรงนี้ก็เป็นการยืนยันว่ามีการพัฒนาขึ้น ส่วนจะไปทางไหนต่อมันก็มีหลายทางเลือกขึ้นกับปัจจัยของประเทศ ภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเบาที่ใช้แรงงานเป็นหลัก ก็ต้องย้ายไปใช้ CLMV เป็นฐานการผลิตแทนเพื่อลดต้นทุน ส่วนประเทศไทยด้วยความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ก็น่าจะพัฒนาไปในด้าน Logistics หรือศูนย์กลางทางด้านบริการได้นะครับ
การที่ประเทศเรามาถึงตรงนี้ก็เป็นการยืนยันว่ามีการพัฒนาขึ้น ส่วนจะไปทางไหนต่อมันก็มีหลายทางเลือกขึ้นกับปัจจัยของประเทศ ภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเบาที่ใช้แรงงานเป็นหลัก ก็ต้องย้ายไปใช้ CLMV เป็นฐานการผลิตแทนเพื่อลดต้นทุน ส่วนประเทศไทยด้วยความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ก็น่าจะพัฒนาไปในด้าน Logistics หรือศูนย์กลางทางด้านบริการได้นะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1426
- ผู้ติดตาม: 0
Re: OEM ธุรกิจที่จะเป็นดาวร่วงของไทย และอะไรคือธุรกิจดาวรุ่ง
โพสต์ที่ 4
ทำตัวเป็นคนกลาง ซื้อ - ขายสินค้า ให้บริการ - จัดการ ท่องเที่ยว - การเงิน- การลงทุน ของภูมิภาคเออีซีต่อเนื่องจีนและอินเดีย เชื่อมโยงกับภูมิภาคอื่นของโลก
แค่ระดับเออีซึ พี่ไทยก็น่าจะยังสดใสได้อีก 10-20 ปี (มองเศรษฐกิจเพียว ๆ นะครับ)
แค่ระดับเออีซึ พี่ไทยก็น่าจะยังสดใสได้อีก 10-20 ปี (มองเศรษฐกิจเพียว ๆ นะครับ)
-
- Verified User
- โพสต์: 77
- ผู้ติดตาม: 0
Re: OEM ธุรกิจที่จะเป็นดาวร่วงของไทย และอะไรคือธุรกิจดาวรุ่ง
โพสต์ที่ 5
ผมเองก็หยู่ OEM ครับ ตอนนี้พยายามลดการพึ่งพาเเรงงานโดยปรับเปลี่ยนเครื่องจักรครับ โดยให้เป็น AUTOMATIC เเละป้อนงานโดยระบบสายพานเเต่ก็ยังช้าหยู่เพราะใช้เงินมาก เลยเริ่มศึกษาเอาเข้า MAI ครับถ้ามีเม็ดเงินใหม่เข้ามาจะเปลี่ยนใหม่หมดน่าจะพอไปได้
- anubist
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1373
- ผู้ติดตาม: 0
Re: OEM ธุรกิจที่จะเป็นดาวร่วงของไทย และอะไรคือธุรกิจดาวรุ่ง
โพสต์ที่ 6
ดาวร่วง? ผมว่ายังไม่แน่ ข้อ1,2แก้ได้โดยใช้เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น
ซึ่งต้องการผู้ใช้ที่มีทักษะมีความรู้ความสามารถสูงขึ้นตามไปด้วย
ข้อ3,4 ปัญหามาจากค่าตอบแทนรายชม.ที่ต่ำกว่าภาคบริการ
ผมเห็นหลายๆรง.โฆษณาว่าเงินเดือนรวมโบนัสไม่ต่ำกว่า18-20kต่อเดือน
แต่ดูรายละเอียดแล้วชม.การทำงานก็เยอะตามไปด้วย
อีกทั้งการเติบโตในสายงานน้อย การเติบโตของรายได้น้อย
คนไทยเดี๋ยวนี้เรียนกันสูงๆนะครับ แต่ภาคอุตสาหกรรมมีตำแหน่งงานที่ใช้ความรู้สูงน้อย
คนไทยเลยเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมน้อยลง
จริงๆปัญหาขาดแคลนแรงงาน อัตราว่างงาน1.xx%ก็เห็นมาหลายปีนะครับ
ไม่ใช่เพิ่งมาเป็น2-3ปีนี้ แต่เพิ่งเห็นว่ามีบ.ใหม่ๆหลายบ.มาเน้นการสร้างคนในองค์กรมากขึ้น
มีcarrer pathชัดเจนขึ้น
ผมว่าoemอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ยกระดับproductivityครั้งใหญ่มากกว่า
จริงๆตั้งแต่40 เราก็เจอปัญหามาตลอด บางส่วนปรับตัวไม่ได้ก็ล้มหายตายจากไป
บางส่วนปรับตัวได้ ก็มาลิสต์ในตลาดเพิ่มหลายราย
ซึ่งต้องการผู้ใช้ที่มีทักษะมีความรู้ความสามารถสูงขึ้นตามไปด้วย
ข้อ3,4 ปัญหามาจากค่าตอบแทนรายชม.ที่ต่ำกว่าภาคบริการ
ผมเห็นหลายๆรง.โฆษณาว่าเงินเดือนรวมโบนัสไม่ต่ำกว่า18-20kต่อเดือน
แต่ดูรายละเอียดแล้วชม.การทำงานก็เยอะตามไปด้วย
อีกทั้งการเติบโตในสายงานน้อย การเติบโตของรายได้น้อย
คนไทยเดี๋ยวนี้เรียนกันสูงๆนะครับ แต่ภาคอุตสาหกรรมมีตำแหน่งงานที่ใช้ความรู้สูงน้อย
คนไทยเลยเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมน้อยลง
จริงๆปัญหาขาดแคลนแรงงาน อัตราว่างงาน1.xx%ก็เห็นมาหลายปีนะครับ
ไม่ใช่เพิ่งมาเป็น2-3ปีนี้ แต่เพิ่งเห็นว่ามีบ.ใหม่ๆหลายบ.มาเน้นการสร้างคนในองค์กรมากขึ้น
มีcarrer pathชัดเจนขึ้น
ผมว่าoemอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ยกระดับproductivityครั้งใหญ่มากกว่า
จริงๆตั้งแต่40 เราก็เจอปัญหามาตลอด บางส่วนปรับตัวไม่ได้ก็ล้มหายตายจากไป
บางส่วนปรับตัวได้ ก็มาลิสต์ในตลาดเพิ่มหลายราย
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ