ตอนจบของยุค QE

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
Verified User
โพสต์: 4366
ผู้ติดตาม: 1

ตอนจบของยุค QE

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เท่าที่ผมเข้าใจอย่างน้อยนิด การทำ QE คือการที่ผู้มีอำนาจเลือกปล่อยกู้ชั่วคราวให้แก่ระบบศก.โดยรวมเพื่อกระตุ้นให้ศก.เดินหน้าต่อไปได้ เกิดการหมุนเวียนของเงินในระบบ แล้วสุดท้ายเมื่อศก.ฟื้นตัวตามที่คาดไว้ก็จะค่อยๆ ดูดสภาพคล่องออกไป (พูดให้ง่ายก็คือ ให้ยืมเงินไปหมุน พอมีเงินเมื่อไหร่ก็ค่อยเอามาคืน)

ทีนี้ถ้าสุดท้ายมันไม่เป็นไปตามคาด อะไรจะเกิดขึ้นครับ แล้วจากสถานการณ์ปัจจุบัน มันน่าจะจบสวยหรือไม่สวยครับ?
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4254
ผู้ติดตาม: 1

Re: ตอนจบของยุค QE

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ผมคิดว่า (IMHO) ยังไม่มีใครทราบจริงๆ หรอกครับ

ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ใหม่ๆ มักตามหลังเหตุการณ์ (หายนะ) ที่เกิดขึ้นแล้วเสมอๆ
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
Bachelier
Verified User
โพสต์: 30
ผู้ติดตาม: 0

Re: ตอนจบของยุค QE

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ตัวอย่างทางประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา Currency devaluation จะจบลงด้วยวิกฤตทางเศรษฐกิจ และการเงินทุกครั้ง (Currency devaluation เกิดขึ้นมานานแล้วครับ ตั้งแต่สมัยอาณาจักรโรมัน) QE ไม่ใช่เรื่องใหม่เลยครับ ญี่ปุ่นเองก็เคยใช้ QE (effectivelyแล้วQE ก็เป็นรูปแบบนึงของการทำให้ค่าเงินตัวเองอ่อนลง) เป็น 10ครั้งแล้วในช่วง 1990s แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้ประเทศหลุดพ้นจากเศรษฐกิจตกต่ำ หรือภาวะเงินฝืดเลย Quote ของ Keynes สรุปใจความเกี่ยวกับ Currency devaluation ไว้ได้ดีทีเดียวครับ

" Lenin is said to have declared that the best way to destroy the capitalist system was to debauch the currency. By a continuing process of inflation, governments can confiscate, secretly and unobserved, an important part of the wealth of their citizens.

Lenin was certainly right. There is no subtler, no surer means of overturning the existing basis of society than to debauch the currency. The process engages all the hidden forces of economic law on the side of destruction, and does it in a manner which not one man in a million is able to diagnose."

คำถามคือ วิกฤตทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นเมื่อไร คำตอบคือไม่มีใครทราบครับ แต่มันจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
Verified User
โพสต์: 4366
ผู้ติดตาม: 1

Re: ตอนจบของยุค QE

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ตอนต้มยำกุ้ง เราไม่ได้รอดพ้นมาด้วยการลดค่าเงินเหรอครับ?
Little Duck
Verified User
โพสต์: 153
ผู้ติดตาม: 0

Re: ตอนจบของยุค QE

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ตอนต้มยำกุ้งน่าจะเป็นการปล่อยให้ค่าเงินลอยตัว ทำให้ค่าเงินลดด้วยตลาดเอง
แต่การทำ QE เป็นการลดค่าเงินด้วยการจงใจอัดเงินปริมาณมากเข้าไปในระบบ
Someday We will be Great Swan...
ถือหุ้นที่ดี ไม่แพง แล้วก็รอ แค่นั้นแหละ
เค้าว่าล้านแรกจะไ้ด้มายากที่สุด ล้านต่อ ๆ ไปจะไ้ด้มาง่ายขึ้น หวังว่าคำพูดนี้จะเป็นความจริงนะ
:wink:
ภาพประจำตัวสมาชิก
Lastpun
Verified User
โพสต์: 819
ผู้ติดตาม: 0

Re: ตอนจบของยุค QE

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ดูเหมือนใครๆก็แห่อัดฉีดเข้าร่วมวงกันมากขึ้น ต่างคนก็ไม่ยอมกันและกัน เดาตอนจบไม่ออกจริงๆ
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

Re: ตอนจบของยุค QE

โพสต์ที่ 7

โพสต์

มันเคยเกิดขึ้นแล้วนิครับ
ตอน 1970-1980 ในตอนที่ US เข้าสู่สงครามเวียดนาม แล้วยกเลิกค่าเงิน US ที่ผูกติดกับทองคำ
ต่อมาก็มีเป็นช่วงๆ แต่ระยะหลังเกิดถี่
:)
:)
CARPENTER
Verified User
โพสต์: 428
ผู้ติดตาม: 0

Re: ตอนจบของยุค QE

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ดีแล้วที่มี QE ถ้าไม่มี QE ผมยังนึกไม่ออกเลยประเทศไทยจะมีสภาพยังงัย
QE เป็นประโยชน์ ต่อ ลูกหนี้ ปริมาณเงินมากขึ้น อัตรดอกเบี้ยต้องลดลง
ประเทศไทยที่มีสภาพเป็นลูกหนี้ ย่อมได้ประโยชน์ไปด้วย แม้จะน้อยกว่าประเทศที่ออก QE
เมื่อฟองสบู่แตก ทรัพย์สิน เช่น บ้าน ที่ดิน หุ้นสามัญ ตราสารหนี้ มีราคาลดลงอย่างมากและรวดเร็ว
ทำให้คนที่มีทรัพย์สินต่างๆหนีตายโดยการขายทรัพย์สินในราคาต่ำๆ
รัฐบาลที่มีสมอง ต้องเพิ่มปริมาณเงินเข้าไป และลดดอกเบี้ยลง
แต่รัฐบาลไทยสมัยต้มยำกุ้งเชื่อฝรั่งและพวกธนาคารชาติ คือ ขึ้นดอกเบี้ย และลดปริมาณเงินลง
ปล่อยให้ ฝรั่งและคนมีเงิน มาซื้อ ทรัพย์สินต่างๆในราคาถุกๆ เป็นการฆ่าคนที่ถือทรัพย์สิน
แต่พอ อเมริกาฟองสบู่แตก มันทำในสิ่งตรงข้ามคือ เพิ่มปริมาณเงิน และลดดอกเบี้ย
สิ่งที่รัฐบาลทั้งหลายควรทำคือ ควบคุมฟองสบู่อย่าให้แตก โดยลดสินเชื่อและขึ้นดอกเบี้ย
แต่เมื่อเกิดแล้ว ก็ต้องเพิ่มปริมาณเงินและลดดอกเบี้ย
เมื่อไหร่ พวกประเทศรวยมันตั้งตัวได้ มันจะใช้นโยบายลดปริมาณเงินทันที
ตอนนั้นถ้าประเทศไทยยังไม่ดีขึ้น ตอนนั้นละ เจ็บตัวกันแน่นอน


ถ้ามันเริ่มใหญ่ต้องลดอย่าทำให้ฟองสบู่แตก
ภาพประจำตัวสมาชิก
พ่อน้องเพชร
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 298
ผู้ติดตาม: 0

Re: ตอนจบของยุค QE

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ยิ่งทำqe เงินตราทุกสกุลยิ่งแข่งกันลดค่า เพื่อการส่งออก แต่ปรากฎว่าโภคภัณฑ์ต่างๆ ราคาก็ยิ่งตกต่ำลง เพราะoversupply เราควรจะเก็บมูลค่าทรัพย์สินของเราในรูปของอะไร
ภาพประจำตัวสมาชิก
pavilion
Verified User
โพสต์: 1726
ผู้ติดตาม: 0

Re: ตอนจบของยุค QE

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ปัญหามีอยู่แล้วเพียงแต่ตอนนี้เรายังมองไม่เห็นมากนัก ถ้าซักวันนึงปัญหาที่ซุกไว้อยู่ใต้พรมถูกกวาดออกมา
เมื่อนั้นเราอาจเจอวิกฤตเศรษฐกิจอีกครั้งนึงก็เป็นได้ครับ
entity
Verified User
โพสต์: 25
ผู้ติดตาม: 0

Re: ตอนจบของยุค QE

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ผมมองว่าทุกคนก็กลับเข้าสู่สภาวะปกติ ยกเว้นประเทศไหนมีปัญหาเรื้อรัง (อย่างญี่ปุ่น, คหสต. ยากที่จะแก้ด้วย QE) ก็ต้องยอมรับผลพวงในอดีตไป
QE ต้องทำทีละประเทศ จะเกิดความเปรียบต่างและเกิดความได้เปรียบด้านการแข่งขัน หากทำหลายๆประเทศจะกลายเป็นตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
โพสต์โพสต์