ขาดทุน ทหารไทย China Equity Index
-
- Verified User
- โพสต์: 4395
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขาดทุน ทหารไทย China Equity Index
โพสต์ที่ 31
วันที่ 2 มกราคม 2558 14:30
เศรษฐกิจจีนปี58ส่อเค้าร่วงต่อเนื่อง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
เศรษฐกิจจีนส่อเค้าชะลอตัวเพิ่มขึ้นปีนี้ หลังข้อมูลล่าสุดชี้การเติบโตของภาคการผลิตร่วงลงในเดือนธ.ค.
แตะระดับต่ำสุดในรอบปี 2557 เหตุความต้องการภายในประเทศซบเซาลง
สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (เอ็นบีเอส) แถลงวานนี้ (1 ม.ค.)ว่า ดัชนีผู้จัดการจัดซื้อ (พีเอ็มไอ) ภาคการผลิต ในเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา ร่วงลงมาอยู่ที่ 50.1 จุด จากระดับ 50.3 จุด ในเดือนพ.ย. ถือเป็นตัวเลขที่ต่ำสุดในปี 2557 และยังเฉียดที่จะร่วงลงไปอยู่ใต้เส้น 50 จุด ซึ่งเป็นเส้นแบ่งการเติบโต และถดถอยรายเดือน
นายจาง ลี้ชุน นักเศรษฐศาสตร์จากศูนย์วิจัยการพัฒนา ในกรุงปักกิ่ง แสดงความเห็นว่า ข้อมูลพีเอ็มไอที่ออกมา สะท้อนให้เห็นว่า การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมแดนมังกร ยังคงอยู่ในแนวโน้มขาลง แต่การชะลอตัวได้เริ่มลดลงแล้ว
"สถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน อยู่ในกระบวนการของการกลับคืนสู่ภาวะมีเสถียรภาพ หลังจากที่ปรับตัวลดลง" นายจาง กล่าว
ขณะผลสำรวจภาคการผลิตของเอกชน เปิดเผยในวันเดียวกัน แสดงให้เห็นว่า กิจกรรมภาคการผลิตในเดือนธ.ค.ของจีน ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน โดยการสำรวจนี้ พุ่งเป้าไปยังกลุ่มบริษัทขนาดเล็ก ที่เจอกับความตึงเครียดมากกว่าบริษัทใหญ่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่หน่วยงานรัฐบาลดำเนินการสำรวจ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านการเงินที่สูงขึ้น และมีปัญหาในเรื่องการขอสินเชื่อ
นักวิเคราะห์จำนวนมาก ยังคาดว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว จะชะลอตัวลงเล็กน้อยจากระดับ 7.3% ในไตรมาส 3 แม้ข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ซึ่งมีการเปิดเผยออกมาเป็นระลอก จะสะท้อนให้เห็นว่า นักวิเคราะห์เหล่านี้อาจมองโลกในแง่ดีเกินไป
ก่อนหน้านี้ บรรดานักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาให้กับรัฐบาลกรุงปักกิ่ง ยังได้แนะนำให้รัฐบาลปักกิ่งปรับเป้าการเติบโตลงมาเหลืออยู่ที่ราว 7% ในปีนี้
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ชี้ว่า มีการส่งสัญญาณถึงความหวังทางเศรษฐกิจจีนเกิดขึ้น จากข้อมูลเมื่อเร็วๆ นี้ ที่อาจเข้ามาช่วยชดเชยกับภาวะซบเซาในตลาดอสังหาริมทรัพย์ และจัดการกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งก็คือ ดัชนีภาคบริการ ที่ยังคงแข็งแกร่งอยู่ แม้จะมีหลายบริษัทปรับลดพนักงานก็ตาม โดยดัชนีพีเอ็มไอ นอกภาคการผลิตในเดือนธ.ค. ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 54.1 จุด จากระดับ 53.9 จุด ในเดือนก่อนหน้านั้น
นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ว่า ความต้องการส่งออกได้หลุดพ้นจากภาวะตกต่ำสุดแล้ว ด้วยเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่งขึ้น ช่วยชดเชยกับภาวะซบเซาในตลาดญี่ปุ่น และยุโรป
ดัชนีพีเอ็มไอของทางการจีน ยังบ่งชี้ว่า โรงงานขนาดใหญ่ของจีน จะสามารถรับมือกับภาวะเศรษฐกิจขาลงได้ดีกว่า บริษัทที่มีขนาดเล็ก เพราะธนาคารเลือกที่จะปล่อยสินเชื่อให้กับบริษัทขนาดใหญ่มากกว่า จากข้อสันนิษฐานที่ว่า หากเกิดปัญหาขึ้นมา รัฐบาลต้องยื่นมือเข้ามาช่วย เพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทเหล่านี้เกิดผิดนัดชำระหนี้ขึ้นมา
เศรษฐกิจจีนปี58ส่อเค้าร่วงต่อเนื่อง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
เศรษฐกิจจีนส่อเค้าชะลอตัวเพิ่มขึ้นปีนี้ หลังข้อมูลล่าสุดชี้การเติบโตของภาคการผลิตร่วงลงในเดือนธ.ค.
แตะระดับต่ำสุดในรอบปี 2557 เหตุความต้องการภายในประเทศซบเซาลง
สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (เอ็นบีเอส) แถลงวานนี้ (1 ม.ค.)ว่า ดัชนีผู้จัดการจัดซื้อ (พีเอ็มไอ) ภาคการผลิต ในเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา ร่วงลงมาอยู่ที่ 50.1 จุด จากระดับ 50.3 จุด ในเดือนพ.ย. ถือเป็นตัวเลขที่ต่ำสุดในปี 2557 และยังเฉียดที่จะร่วงลงไปอยู่ใต้เส้น 50 จุด ซึ่งเป็นเส้นแบ่งการเติบโต และถดถอยรายเดือน
นายจาง ลี้ชุน นักเศรษฐศาสตร์จากศูนย์วิจัยการพัฒนา ในกรุงปักกิ่ง แสดงความเห็นว่า ข้อมูลพีเอ็มไอที่ออกมา สะท้อนให้เห็นว่า การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมแดนมังกร ยังคงอยู่ในแนวโน้มขาลง แต่การชะลอตัวได้เริ่มลดลงแล้ว
"สถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน อยู่ในกระบวนการของการกลับคืนสู่ภาวะมีเสถียรภาพ หลังจากที่ปรับตัวลดลง" นายจาง กล่าว
ขณะผลสำรวจภาคการผลิตของเอกชน เปิดเผยในวันเดียวกัน แสดงให้เห็นว่า กิจกรรมภาคการผลิตในเดือนธ.ค.ของจีน ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน โดยการสำรวจนี้ พุ่งเป้าไปยังกลุ่มบริษัทขนาดเล็ก ที่เจอกับความตึงเครียดมากกว่าบริษัทใหญ่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่หน่วยงานรัฐบาลดำเนินการสำรวจ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านการเงินที่สูงขึ้น และมีปัญหาในเรื่องการขอสินเชื่อ
นักวิเคราะห์จำนวนมาก ยังคาดว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนในไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว จะชะลอตัวลงเล็กน้อยจากระดับ 7.3% ในไตรมาส 3 แม้ข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ซึ่งมีการเปิดเผยออกมาเป็นระลอก จะสะท้อนให้เห็นว่า นักวิเคราะห์เหล่านี้อาจมองโลกในแง่ดีเกินไป
ก่อนหน้านี้ บรรดานักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาให้กับรัฐบาลกรุงปักกิ่ง ยังได้แนะนำให้รัฐบาลปักกิ่งปรับเป้าการเติบโตลงมาเหลืออยู่ที่ราว 7% ในปีนี้
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ชี้ว่า มีการส่งสัญญาณถึงความหวังทางเศรษฐกิจจีนเกิดขึ้น จากข้อมูลเมื่อเร็วๆ นี้ ที่อาจเข้ามาช่วยชดเชยกับภาวะซบเซาในตลาดอสังหาริมทรัพย์ และจัดการกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งก็คือ ดัชนีภาคบริการ ที่ยังคงแข็งแกร่งอยู่ แม้จะมีหลายบริษัทปรับลดพนักงานก็ตาม โดยดัชนีพีเอ็มไอ นอกภาคการผลิตในเดือนธ.ค. ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 54.1 จุด จากระดับ 53.9 จุด ในเดือนก่อนหน้านั้น
นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ว่า ความต้องการส่งออกได้หลุดพ้นจากภาวะตกต่ำสุดแล้ว ด้วยเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่งขึ้น ช่วยชดเชยกับภาวะซบเซาในตลาดญี่ปุ่น และยุโรป
ดัชนีพีเอ็มไอของทางการจีน ยังบ่งชี้ว่า โรงงานขนาดใหญ่ของจีน จะสามารถรับมือกับภาวะเศรษฐกิจขาลงได้ดีกว่า บริษัทที่มีขนาดเล็ก เพราะธนาคารเลือกที่จะปล่อยสินเชื่อให้กับบริษัทขนาดใหญ่มากกว่า จากข้อสันนิษฐานที่ว่า หากเกิดปัญหาขึ้นมา รัฐบาลต้องยื่นมือเข้ามาช่วย เพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทเหล่านี้เกิดผิดนัดชำระหนี้ขึ้นมา
-
- Verified User
- โพสต์: 4395
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขาดทุน ทหารไทย China Equity Index
โพสต์ที่ 32
updated: 30 ม.ค. 2558 เวลา 15:36:29 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนส่อเค้าชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด โดยเมื่อปีที่ผ่านมาขยายตัวเพียง 7.4% ซึ่งถือเป็นการเติบโตในระดับต่ำสุดของจีนในรอบ 24 ปี ทำให้นักลงทุนต่างกังวลกันว่า มนต์ขลังของพญามังกรได้เสื่อมถอยลงแล้ว แต่ความคิดนี้ใช้ไม่ได้กับภาครัฐและภาคธุรกิจจีน!
รอยเตอร์ส วิเคราะห์ว่า นักการเมือง และนักธุรกิจระดับสูงของจีนต่างเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จำเป็นต้องสละการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ที่จากเดิมขับเคลื่อนด้วยภาคการลงทุนและการส่งออกไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่ผลักดันด้วยการบริโภคภายในประเทศ
โดย นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า เป็น "ความปกติระดับใหม่ (New Normal)" ที่เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวอย่างช้าๆ แต่มั่นคง หลังจากที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับเลข 2 หลักในช่วงกว่า 30 ปีที่ผ่านมานี้ ได้ทำให้จีนผงาดขึ้นเป็นเขตเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ประชาชนในประเทศมีกำลังซื้อมากขึ้น แต่ขณะเดียวกัน ประเทศก็ต้องเผชิญกับความเหลื่อมล้ำ และมลพิษที่แทรกซึมไปทั่วประเทศ จากการเร่งพัฒนาอุตสาหกรรม จนทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนถดถอย
ด้าน นายโจว เสี่ยวฉวน ผู้ว่าการธนาคารกลางจีน ระบุว่า จีนพร้อมที่จะสละการเติบโตเล็กน้อย เพื่อให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคตเป็นไปอย่างยั่งยืนมากขึ้น ขณะที่ นายจัสติน หลิน ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง และอดีต
เศรษฐกรจากเวิลด์แบงก์ เชื่อมั่นว่า จีนจะรักษาระดับการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศได้อย่างน้อย 7% เนื่องจากยังมีโอกาสในการลงทุนและมีเม็ดเงินลงทุนอีกมาก และจีนจะเป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกต่อไป
ในที่ประชุม "World Economic Forum" ที่เมืองดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สุนทรพจน์ของนายกรัฐมนตรีจีนได้เน้นย้ำปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแดนมังกรในอนาคต โดยระบุว่า "ความพยายามที่จะรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับกลาง-สูง และผันตนเข้าสู่ประเทศที่มีการพัฒนาระดับกลาง-สูงนั้น จีนจะต้องใช้เครื่องมือของรัฐบาล และเครื่องมือของระบบตลาดอย่างเหมาะสม ตลอดจนส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหญ่ การสร้างสรรค์นวัตกรรม การแลกเปลี่ยนความรู้ และพลังของประชาชน"
โดยได้เน้นย้ำให้เห็นว่า ผู้ประกอบการรายใหญ่ และนวัตกรรมใหม่ๆ นี้ เป็นเสมือนเหมืองทองแห่งความสร้างสรรค์และความมั่งคั่งแบบใหม่ของจีน
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีของจีนนั้นมาแรงแซงโค้ง ทั้งการขึ้นแท่นมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของจีนของ นายแจ๊ก หม่า ซีอีโอใหญ่แห่ง "อาลีบาบา" รวมทั้งการเดินหน้าบุกตลาดโลกของ "หัวเว่ย" ภายใต้การนำทัพของ นายเหริน เจิ๋งเฟ่ย ซึ่งสำนักข่าวซินหัวของจีนยกให้ อาลีบาบา และ หัวเว่ย เป็นตัวอย่างที่ดีของบริษัทที่ใช้นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาขับเคลื่อนจีน
นายแจ๊ก หม่า ซีอีโอแห่ง อาลีบาบา ระบุในเวทีเดียวกันที่ดาวอสว่า ตอนนี้จีนมีโอกาสที่จะใส่ใจคุณภาพของการเติบโตทางเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว ตนเชื่อว่าธุรกิจบันเทิง เช่นภาพยนตร์และกีฬาน่าจะสร้างให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มีคุณภาพมากกว่าภาคการผลิต ขณะที่แนวทางของอาลีบาบา ที่เน้นขยายโครงการด้านอีคอมเมิร์ซในพื้นที่ห่างไกลของจีน ก็ถือเป็นการใช้นวัตกรรมอินเทอร์เน็ต เพื่อสร้างความมั่งคั่ง และยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรม
ด้านนายเหริน เจิ๋งเฟ่ย ซีอีโอแห่งค่ายหัวเว่ยเชื่อว่า การชะลอตัวทางเศรษฐกิจนั้นเป็นผลจากความพยายามที่จะลดฟองสบู่ และความฟุ่มเฟือยในภาคเศรษฐกิจ พร้อมเสริมว่า ปีนี้เศรษฐกิจจีนจะก้าวข้ามช่วงแห่งการเปลี่ยนผ่าน และจะเข้าสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งขึ้นในปี 2560-2561 นี้ ขณะที่แนวทางการพัฒนาของหัวเว่ยนั้น เน้นการลงทุนไปสู่อนาคต สอดคล้องกับสิ่งที่นายกรัฐมนตรีหลี่คิด คือ "นวัตกรรมถือเป็นชีวิตของหัวเว่ย"
"จีนมีประชากร 1.3 พันล้านคน แรงงาน 900 ล้าน ผู้ประกอบการกว่า 70 ล้านคน ประชาชนของเราทำงานหนัก และมีความสามารถ ถ้าเราสามารถขับเคลื่อนทุกภาคส่วน เศรษฐกิจจีนจะเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ และเป็นพลังแห่งการเติบโตที่แข็งแกร่งมากขึ้น" นายกฯหลี่กล่าว
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนส่อเค้าชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด โดยเมื่อปีที่ผ่านมาขยายตัวเพียง 7.4% ซึ่งถือเป็นการเติบโตในระดับต่ำสุดของจีนในรอบ 24 ปี ทำให้นักลงทุนต่างกังวลกันว่า มนต์ขลังของพญามังกรได้เสื่อมถอยลงแล้ว แต่ความคิดนี้ใช้ไม่ได้กับภาครัฐและภาคธุรกิจจีน!
รอยเตอร์ส วิเคราะห์ว่า นักการเมือง และนักธุรกิจระดับสูงของจีนต่างเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จำเป็นต้องสละการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ที่จากเดิมขับเคลื่อนด้วยภาคการลงทุนและการส่งออกไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่ผลักดันด้วยการบริโภคภายในประเทศ
โดย นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า เป็น "ความปกติระดับใหม่ (New Normal)" ที่เศรษฐกิจจีนจะขยายตัวอย่างช้าๆ แต่มั่นคง หลังจากที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับเลข 2 หลักในช่วงกว่า 30 ปีที่ผ่านมานี้ ได้ทำให้จีนผงาดขึ้นเป็นเขตเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ประชาชนในประเทศมีกำลังซื้อมากขึ้น แต่ขณะเดียวกัน ประเทศก็ต้องเผชิญกับความเหลื่อมล้ำ และมลพิษที่แทรกซึมไปทั่วประเทศ จากการเร่งพัฒนาอุตสาหกรรม จนทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนถดถอย
ด้าน นายโจว เสี่ยวฉวน ผู้ว่าการธนาคารกลางจีน ระบุว่า จีนพร้อมที่จะสละการเติบโตเล็กน้อย เพื่อให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคตเป็นไปอย่างยั่งยืนมากขึ้น ขณะที่ นายจัสติน หลิน ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง และอดีต
เศรษฐกรจากเวิลด์แบงก์ เชื่อมั่นว่า จีนจะรักษาระดับการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศได้อย่างน้อย 7% เนื่องจากยังมีโอกาสในการลงทุนและมีเม็ดเงินลงทุนอีกมาก และจีนจะเป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกต่อไป
ในที่ประชุม "World Economic Forum" ที่เมืองดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สุนทรพจน์ของนายกรัฐมนตรีจีนได้เน้นย้ำปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแดนมังกรในอนาคต โดยระบุว่า "ความพยายามที่จะรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับกลาง-สูง และผันตนเข้าสู่ประเทศที่มีการพัฒนาระดับกลาง-สูงนั้น จีนจะต้องใช้เครื่องมือของรัฐบาล และเครื่องมือของระบบตลาดอย่างเหมาะสม ตลอดจนส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหญ่ การสร้างสรรค์นวัตกรรม การแลกเปลี่ยนความรู้ และพลังของประชาชน"
โดยได้เน้นย้ำให้เห็นว่า ผู้ประกอบการรายใหญ่ และนวัตกรรมใหม่ๆ นี้ เป็นเสมือนเหมืองทองแห่งความสร้างสรรค์และความมั่งคั่งแบบใหม่ของจีน
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีของจีนนั้นมาแรงแซงโค้ง ทั้งการขึ้นแท่นมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของจีนของ นายแจ๊ก หม่า ซีอีโอใหญ่แห่ง "อาลีบาบา" รวมทั้งการเดินหน้าบุกตลาดโลกของ "หัวเว่ย" ภายใต้การนำทัพของ นายเหริน เจิ๋งเฟ่ย ซึ่งสำนักข่าวซินหัวของจีนยกให้ อาลีบาบา และ หัวเว่ย เป็นตัวอย่างที่ดีของบริษัทที่ใช้นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาขับเคลื่อนจีน
นายแจ๊ก หม่า ซีอีโอแห่ง อาลีบาบา ระบุในเวทีเดียวกันที่ดาวอสว่า ตอนนี้จีนมีโอกาสที่จะใส่ใจคุณภาพของการเติบโตทางเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว ตนเชื่อว่าธุรกิจบันเทิง เช่นภาพยนตร์และกีฬาน่าจะสร้างให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มีคุณภาพมากกว่าภาคการผลิต ขณะที่แนวทางของอาลีบาบา ที่เน้นขยายโครงการด้านอีคอมเมิร์ซในพื้นที่ห่างไกลของจีน ก็ถือเป็นการใช้นวัตกรรมอินเทอร์เน็ต เพื่อสร้างความมั่งคั่ง และยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรม
ด้านนายเหริน เจิ๋งเฟ่ย ซีอีโอแห่งค่ายหัวเว่ยเชื่อว่า การชะลอตัวทางเศรษฐกิจนั้นเป็นผลจากความพยายามที่จะลดฟองสบู่ และความฟุ่มเฟือยในภาคเศรษฐกิจ พร้อมเสริมว่า ปีนี้เศรษฐกิจจีนจะก้าวข้ามช่วงแห่งการเปลี่ยนผ่าน และจะเข้าสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งขึ้นในปี 2560-2561 นี้ ขณะที่แนวทางการพัฒนาของหัวเว่ยนั้น เน้นการลงทุนไปสู่อนาคต สอดคล้องกับสิ่งที่นายกรัฐมนตรีหลี่คิด คือ "นวัตกรรมถือเป็นชีวิตของหัวเว่ย"
"จีนมีประชากร 1.3 พันล้านคน แรงงาน 900 ล้าน ผู้ประกอบการกว่า 70 ล้านคน ประชาชนของเราทำงานหนัก และมีความสามารถ ถ้าเราสามารถขับเคลื่อนทุกภาคส่วน เศรษฐกิจจีนจะเติบโตอย่างยิ่งใหญ่ และเป็นพลังแห่งการเติบโตที่แข็งแกร่งมากขึ้น" นายกฯหลี่กล่าว
-
- Verified User
- โพสต์: 4395
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขาดทุน ทหารไทย China Equity Index
โพสต์ที่ 33
ดัชนีเงินเฟ้อจีนเดือน ก.พ.เพิ่มขึ้น 1.4
วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558 เวลา 20:55:51 น.matichon online
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนเปิดเผยเมื่อวันที่ 10 มีนาคมว่า ดัชนีเงินเฟ้อจีนเดือนกุมภาพันธ์ที่่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด และนับเป็นการฟื้นตัวจากตัวเลขดัชนีต่ำสุดในรอบ 5 ปี แม้ว่าตัวเลขดัชนีราคาขายส่ง(พีพีไอ)จะลดลงจนกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ
ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าดัชนีเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 0.9 เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลขประเภทเดียวกันของเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ 0.8
ทั้งนี้ จีนกำลังเผชิญกับภาวะความเสี่ยงอัตราเงินฝืดที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคโรงงานการผลิตสินค้าที่มากเกิน ตลอดจนผลกระทบจากเศรษฐกิจภาพรวมโลกที่ไม่แน่นอน และดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลง
วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558 เวลา 20:55:51 น.matichon online
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนเปิดเผยเมื่อวันที่ 10 มีนาคมว่า ดัชนีเงินเฟ้อจีนเดือนกุมภาพันธ์ที่่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาด และนับเป็นการฟื้นตัวจากตัวเลขดัชนีต่ำสุดในรอบ 5 ปี แม้ว่าตัวเลขดัชนีราคาขายส่ง(พีพีไอ)จะลดลงจนกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ
ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าดัชนีเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 0.9 เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลขประเภทเดียวกันของเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ 0.8
ทั้งนี้ จีนกำลังเผชิญกับภาวะความเสี่ยงอัตราเงินฝืดที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคโรงงานการผลิตสินค้าที่มากเกิน ตลอดจนผลกระทบจากเศรษฐกิจภาพรวมโลกที่ไม่แน่นอน และดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลง
-
- Verified User
- โพสต์: 4395
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขาดทุน ทหารไทย China Equity Index
โพสต์ที่ 34
"เศรษฐกิจจีน"น่าห่วง หวั่นอสังหาฯฉุดการเติบโต
updated: 18 มี.ค. 2558 เวลา 11:31:35 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
แถลงการณ์ของนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ต่อหน้าสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนประจำปีนี้ ยังคงเน้นย้ำความสำคัญของเศรษฐกิจที่มีอัตราการเติบโตช้าลง แต่ดำเนินไปอย่างแข็งแกร่งมากขึ้น ด้วยการลดการพึ่งพิงการส่งออก และขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยกำลังซื้อภายในประเทศ หลังจากที่รัฐบาลจีนได้ออกมาประเมินตัวเลขเป้าการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้ว่า น่าจะขยายตัวเพียง 7% เท่านั้น ซึ่งถือเป็นตัวเลขการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนที่ต่ำที่สุดในรอบ 2 ทศวรรษ
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์และนักลงทุนประเมินว่า สถานการณ์เศรษฐกิจโลก รวมทั้งสถานการณ์ด้านกำลังซื้อภายในประเทศของจีน น่าจะทำให้การผลักดันตัวเลขการเติบโตให้บรรลุเป้าหมาย 7% ในปีนี้ น่าจะเป็น "งานยาก" สำหรับรัฐบาลจีน
วอลล์สตรีต เจอร์นัล ระบุว่า กำลังซื้อภายในจีนที่ชะลอตัว นอกจากจะเป็นหนึ่งในสาเหตุหลัก ที่ทำให้เศรษฐกิจโลกในภาพรวมชะลอตัวลง โดยเฉพาะความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์ ยังถือเป็นปัญหาสำหรับเศรษฐกิจภายในของจีนด้วย
นักวิเคราะห์หลายคนมองว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีปัญหาเรื่องสินค้าที่ล้นเกินความต้องการในตลาดมาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2557 ถือเป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุดต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน หลังจากที่ราคาและยอดขายบ้านลดลงอย่างมากตั้งแต่ปีที่แล้ว ขณะที่สถิติในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น แต่กลับชะลอตัวลงถึง 16.3%
ขณะเดียวกัน การลงทุนในภาคอสังหาฯที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปีที่แล้ว โดยขยายตัวถึง 10% หรือราว 9.5 ล้านล้านหยวน (ราว 1.5 ล้านล้านดอลลาร์) ยังสวนทางกับยอดขายอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลง 8% จากราคาพื้นฐาน ขณะที่ในภาคสินทรัพย์ถาวรในจีน ซึ่งเป็นภาคการลงทุนหลัก ขยายตัวเพียง 13.9% เท่านั้นในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้จากเดิมที่ขยายตัวราว 15.7% เมื่อปีที่แล้ว ขณะที่ภาคค้าปลีกก็หดตัวลงในช่วง 2 เดือนแรกเช่นกัน ขยายตัวเพียง 10.7% จาก 11.9% ในปีที่แล้ว
จูเลียน อีแวนส์ พริตชาร์ด นักวิเคราะห์จากแคปิตอล อีโคโนมิกส์ ระบุว่า "สภาวะเศรษฐกิจของจีนดูจะอ่อนแอกว่าที่คาดการณ์ไว้ แม้ว่าข้อมูลด้านการส่งออกและดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อมีแนวโน้มจะดีขึ้น โดยหากสถานการณ์เรื่องความต้องการสินค้าในประเทศเป็นไปในรูปแบบนี้ มีแนวโน้มสูงที่จะเห็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนในไตรมาสแรกของปีนี้"
ขณะที่หลี่-กัง หลิว จากบริษัทวิเคราะห์เศรษฐกิจ ANZ ประเมินชี้ชัดว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในไตรมาสแรกของปี 2558 นี้น่าจะพลาดเป้า 7% แน่นอน พร้อมระบุว่า "ข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างมากในช่วงต้นปีที่ผ่านมา บ่งชี้ว่ารัฐบาลจีนน่าจะต้องเข้ามาแทรกแซง ผ่านนโยบายด้านการเงินที่ผ่อนปรนมากขึ้น"
นอกจากนี้ อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้คือ ตัวเลขเงินเฟ้อในจีนซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ 3% เกินครึ่งหนึ่ง แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงที่จีนจะตกอยู่ในสภาวะเงินฝืด ขณะที่หนี้สินของภาครัฐและเอกชนต่อจีดีพีของจีนก็สูงมากถึง 282% ของจีดีพีนักลงทุนหลายคนเชื่อว่า หากภาคธุรกิจในประเทศยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ รัฐบาลจีนน่าจะต้องเข้ามาแทรกแซง ผ่านการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินเพิ่มเติม และการขยายการใช้จ่ายภาครัฐ เพื่อผลักดันการเติบโตให้เป็นไปตามเป้า ดั่งที่ได้เร่งกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐจนตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจสามารถโตได้ 7.4% ในช่วงโค้งสุดท้ายของปีที่แล้ว
updated: 18 มี.ค. 2558 เวลา 11:31:35 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
แถลงการณ์ของนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ต่อหน้าสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนประจำปีนี้ ยังคงเน้นย้ำความสำคัญของเศรษฐกิจที่มีอัตราการเติบโตช้าลง แต่ดำเนินไปอย่างแข็งแกร่งมากขึ้น ด้วยการลดการพึ่งพิงการส่งออก และขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยกำลังซื้อภายในประเทศ หลังจากที่รัฐบาลจีนได้ออกมาประเมินตัวเลขเป้าการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้ว่า น่าจะขยายตัวเพียง 7% เท่านั้น ซึ่งถือเป็นตัวเลขการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนที่ต่ำที่สุดในรอบ 2 ทศวรรษ
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์และนักลงทุนประเมินว่า สถานการณ์เศรษฐกิจโลก รวมทั้งสถานการณ์ด้านกำลังซื้อภายในประเทศของจีน น่าจะทำให้การผลักดันตัวเลขการเติบโตให้บรรลุเป้าหมาย 7% ในปีนี้ น่าจะเป็น "งานยาก" สำหรับรัฐบาลจีน
วอลล์สตรีต เจอร์นัล ระบุว่า กำลังซื้อภายในจีนที่ชะลอตัว นอกจากจะเป็นหนึ่งในสาเหตุหลัก ที่ทำให้เศรษฐกิจโลกในภาพรวมชะลอตัวลง โดยเฉพาะความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์ ยังถือเป็นปัญหาสำหรับเศรษฐกิจภายในของจีนด้วย
นักวิเคราะห์หลายคนมองว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีปัญหาเรื่องสินค้าที่ล้นเกินความต้องการในตลาดมาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2557 ถือเป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุดต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน หลังจากที่ราคาและยอดขายบ้านลดลงอย่างมากตั้งแต่ปีที่แล้ว ขณะที่สถิติในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น แต่กลับชะลอตัวลงถึง 16.3%
ขณะเดียวกัน การลงทุนในภาคอสังหาฯที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปีที่แล้ว โดยขยายตัวถึง 10% หรือราว 9.5 ล้านล้านหยวน (ราว 1.5 ล้านล้านดอลลาร์) ยังสวนทางกับยอดขายอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลง 8% จากราคาพื้นฐาน ขณะที่ในภาคสินทรัพย์ถาวรในจีน ซึ่งเป็นภาคการลงทุนหลัก ขยายตัวเพียง 13.9% เท่านั้นในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้จากเดิมที่ขยายตัวราว 15.7% เมื่อปีที่แล้ว ขณะที่ภาคค้าปลีกก็หดตัวลงในช่วง 2 เดือนแรกเช่นกัน ขยายตัวเพียง 10.7% จาก 11.9% ในปีที่แล้ว
จูเลียน อีแวนส์ พริตชาร์ด นักวิเคราะห์จากแคปิตอล อีโคโนมิกส์ ระบุว่า "สภาวะเศรษฐกิจของจีนดูจะอ่อนแอกว่าที่คาดการณ์ไว้ แม้ว่าข้อมูลด้านการส่งออกและดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อมีแนวโน้มจะดีขึ้น โดยหากสถานการณ์เรื่องความต้องการสินค้าในประเทศเป็นไปในรูปแบบนี้ มีแนวโน้มสูงที่จะเห็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนในไตรมาสแรกของปีนี้"
ขณะที่หลี่-กัง หลิว จากบริษัทวิเคราะห์เศรษฐกิจ ANZ ประเมินชี้ชัดว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในไตรมาสแรกของปี 2558 นี้น่าจะพลาดเป้า 7% แน่นอน พร้อมระบุว่า "ข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างมากในช่วงต้นปีที่ผ่านมา บ่งชี้ว่ารัฐบาลจีนน่าจะต้องเข้ามาแทรกแซง ผ่านนโยบายด้านการเงินที่ผ่อนปรนมากขึ้น"
นอกจากนี้ อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้คือ ตัวเลขเงินเฟ้อในจีนซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ 3% เกินครึ่งหนึ่ง แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงที่จีนจะตกอยู่ในสภาวะเงินฝืด ขณะที่หนี้สินของภาครัฐและเอกชนต่อจีดีพีของจีนก็สูงมากถึง 282% ของจีดีพีนักลงทุนหลายคนเชื่อว่า หากภาคธุรกิจในประเทศยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ รัฐบาลจีนน่าจะต้องเข้ามาแทรกแซง ผ่านการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินเพิ่มเติม และการขยายการใช้จ่ายภาครัฐ เพื่อผลักดันการเติบโตให้เป็นไปตามเป้า ดั่งที่ได้เร่งกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐจนตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจสามารถโตได้ 7.4% ในช่วงโค้งสุดท้ายของปีที่แล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 4395
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขาดทุน ทหารไทย China Equity Index
โพสต์ที่ 35
ภาคการผลิตจีนมี.ค.ชะลอ
วันพุธที่ 25 มีนาคม 2015 เวลา 10:33 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ เศรษฐกิจโลก - คอลัมน์ เศรษฐกิจโลก
พิมพ์
กิจกรรมภาคการผลิตของจีนลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 11 เดือนในเดือนมีนาคม สะท้อนถึงความอ่อนแอที่ยังคงมีอยู่ในเศรษฐกิจของจีน ซึ่งอาจเป็นปัจจัยให้ทางการตัดสินใจกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
altตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (พีเอ็มไอ) ที่วัดโดยเอชเอสบีซีและมาร์คิตของจีนอยู่ที่ระดับ 49.2 ในเดือนมีนาคม ซึ่งตัวเลขต่ำกว่า 50 หมายถึงกิจกรรมของภาคการผลิตที่หดตัวลง ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์ที่สำนักข่าวรอยเตอร์และบลูมเบิร์กทำการสำรวจความคิดเห็น ต่างคาดการณ์ตัวเลขที่เกินกว่า 50
ตัวเลขของภาคการผลิตที่อ่อนแอเพิ่มความกังวลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในช่วง 3 เดือนแรกของปี หลังจากข้อมูลด้านการผลิต การลงทุน และยอดขายภาคการค้าปลีกต่างต่ำกว่าความคาดหมายของนักวิเคราะห์ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์
นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ตั้งเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้ไว้ที่ 7% พร้อมกับให้คำมั่นว่าจะออกมาตรการกระตุ้นถ้าการเติบโตชะลอตัวและกระทบกับการสร้างงานและรายได้ อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์บางรายมองว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของจีนมีโอกาสที่จะต่ำกว่าเป้าหมายของนายหลี่
นักเศรษฐศาสตร์เห็นพ้องต้องกันว่า ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่อ่อนแออย่างต่อเนื่องจะเป็นปัจจัยให้ธนาคารกลางจีนเพิ่มการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินลงเพิ่มเติม หลังจากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงแล้ว 2 ครั้งตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีก่อน รวมถึงลดเงินฝากสำรองขั้นต่ำของธนาคารพาณิชย์ลง
นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารซีไอซีซีคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางจีนจะปรับลดสัดส่วนเงินสำรองขั้นต่ำของธนาคารพาณิชย์ลงอีก 6 ครั้งในปีนี้ พร้อมกับลดดอกเบี้ยอีก 1 ครั้ง ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์จากเจพี มอร์แกน เชส คาดการณ์ว่า การปรับลดเงินสำรองขั้นต่ำครั้งต่อไปอาจจะเกิดขึ้นอย่างเร็วในเดือนเมษายน นอกจากนี้อาจมีการปรับลดดอกเบี้ยลงอีก 0.25% ในไตรมาส 2 ด้วย
ผลการสำรวจของเอชเอสบีซีและมาร์คิตพบว่า ภาคการผลิตเผชิญกับความท้าทายอย่างมากจากความต้องการภายในประเทศที่อ่อนและความเสี่ยงของการเกิดภาวะเงินฝืด ดัชนีชี้วัดคำสั่งซื้อใหม่ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 11 เดือนเป็น 49.3 ในเดือนมีนาคม โดยลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ขณะที่ตลาดแรงงานยังเผชิญกับแรงกดดัน โดยดัชนีการจ้างงานอยู่ในระดับหดตัวเป็นเดือนที่ 17 ติดต่อกัน และอยู่ในระดับต่ำสุดตั้งแต่ช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลกรุนแรง
นายจาง เก้าหลี่ รองนายกรัฐมนตรีจีน กล่าวเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า แม้เศรษฐกิจจีนจะเผชิญกับแรงกดดันด้านลบเพิ่มขึ้นในปีนี้ แต่การชะลอตัวเริ่มเข้าสู่ภาวะคงที่ โดยมีการจ้างงานและภาคบริการเป็นดาวเด่น อย่างไรก็ตาม รายงานวิจัยจาก Chinese Academy of Social Sciences ระบุว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปีนี้อาจจะชะลอตัวเหลือเพียง 6.85% ในไตรมาสแรก และ 6.8% ในไตรมาส 2 จากการเติบโต 7.3% ในไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าเป้าหมาย 7% ของนายกรัฐมนตรี
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,038 วันที่ 26 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2558
Read : 963 times
วันพุธที่ 25 มีนาคม 2015 เวลา 10:33 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ เศรษฐกิจโลก - คอลัมน์ เศรษฐกิจโลก
พิมพ์
กิจกรรมภาคการผลิตของจีนลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 11 เดือนในเดือนมีนาคม สะท้อนถึงความอ่อนแอที่ยังคงมีอยู่ในเศรษฐกิจของจีน ซึ่งอาจเป็นปัจจัยให้ทางการตัดสินใจกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
altตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (พีเอ็มไอ) ที่วัดโดยเอชเอสบีซีและมาร์คิตของจีนอยู่ที่ระดับ 49.2 ในเดือนมีนาคม ซึ่งตัวเลขต่ำกว่า 50 หมายถึงกิจกรรมของภาคการผลิตที่หดตัวลง ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์ที่สำนักข่าวรอยเตอร์และบลูมเบิร์กทำการสำรวจความคิดเห็น ต่างคาดการณ์ตัวเลขที่เกินกว่า 50
ตัวเลขของภาคการผลิตที่อ่อนแอเพิ่มความกังวลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในช่วง 3 เดือนแรกของปี หลังจากข้อมูลด้านการผลิต การลงทุน และยอดขายภาคการค้าปลีกต่างต่ำกว่าความคาดหมายของนักวิเคราะห์ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์
นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ตั้งเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้ไว้ที่ 7% พร้อมกับให้คำมั่นว่าจะออกมาตรการกระตุ้นถ้าการเติบโตชะลอตัวและกระทบกับการสร้างงานและรายได้ อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์บางรายมองว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของจีนมีโอกาสที่จะต่ำกว่าเป้าหมายของนายหลี่
นักเศรษฐศาสตร์เห็นพ้องต้องกันว่า ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่อ่อนแออย่างต่อเนื่องจะเป็นปัจจัยให้ธนาคารกลางจีนเพิ่มการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินลงเพิ่มเติม หลังจากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงแล้ว 2 ครั้งตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีก่อน รวมถึงลดเงินฝากสำรองขั้นต่ำของธนาคารพาณิชย์ลง
นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารซีไอซีซีคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางจีนจะปรับลดสัดส่วนเงินสำรองขั้นต่ำของธนาคารพาณิชย์ลงอีก 6 ครั้งในปีนี้ พร้อมกับลดดอกเบี้ยอีก 1 ครั้ง ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์จากเจพี มอร์แกน เชส คาดการณ์ว่า การปรับลดเงินสำรองขั้นต่ำครั้งต่อไปอาจจะเกิดขึ้นอย่างเร็วในเดือนเมษายน นอกจากนี้อาจมีการปรับลดดอกเบี้ยลงอีก 0.25% ในไตรมาส 2 ด้วย
ผลการสำรวจของเอชเอสบีซีและมาร์คิตพบว่า ภาคการผลิตเผชิญกับความท้าทายอย่างมากจากความต้องการภายในประเทศที่อ่อนและความเสี่ยงของการเกิดภาวะเงินฝืด ดัชนีชี้วัดคำสั่งซื้อใหม่ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 11 เดือนเป็น 49.3 ในเดือนมีนาคม โดยลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ขณะที่ตลาดแรงงานยังเผชิญกับแรงกดดัน โดยดัชนีการจ้างงานอยู่ในระดับหดตัวเป็นเดือนที่ 17 ติดต่อกัน และอยู่ในระดับต่ำสุดตั้งแต่ช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลกรุนแรง
นายจาง เก้าหลี่ รองนายกรัฐมนตรีจีน กล่าวเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า แม้เศรษฐกิจจีนจะเผชิญกับแรงกดดันด้านลบเพิ่มขึ้นในปีนี้ แต่การชะลอตัวเริ่มเข้าสู่ภาวะคงที่ โดยมีการจ้างงานและภาคบริการเป็นดาวเด่น อย่างไรก็ตาม รายงานวิจัยจาก Chinese Academy of Social Sciences ระบุว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปีนี้อาจจะชะลอตัวเหลือเพียง 6.85% ในไตรมาสแรก และ 6.8% ในไตรมาส 2 จากการเติบโต 7.3% ในไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าเป้าหมาย 7% ของนายกรัฐมนตรี
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,038 วันที่ 26 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2558
Read : 963 times
-
- Verified User
- โพสต์: 4395
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขาดทุน ทหารไทย China Equity Index
โพสต์ที่ 36
จีนเล็ง สร้าง "รถไฟลอดเขาเอเวอเรสต์" ทะลุเนปาล
updated: 09 เม.ย 2558 เวลา 15:52:58 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
จีนวาดแผนต่อรางรถไฟจากทิเบตสู่กรุงกาฐมาณฑุ เล็งขุดอุโมงค์ลอดภูเขาเอเวอเรสต์ คาดแล้วเสร็จในปี ค.ศ.2020 เผยขบวนรถใช้ความเร็วได้เฉลี่ย 120 ก.ม./ช.ม. เพราะต้องปีนหลังคาโลก
หนังสือพิมพ์ไชน่าเดลี อ้างการเปิดเผยของหวังเหม็งจู ผู้เชี่ยวชาญของวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์แห่งชาติจีน ระบุว่า จีนกำลังพิจารณาที่จะต่อขยายเส้นทางรถไฟสายชิงไห่-ทิเบตไปยังกรุงกาฐมาณฑุของเนปาล ซึ่งเป็นประเทศที่อินเดียถือเป็นเขตอิทธิพลของตน
หวังบอกว่า เนปาลเป็นฝ่ายขอให้จีนสร้างทางรถไฟสายดังกล่าวจากลาซา เมืองเอกของทิเบต คาดว่าโครงการซึ่งทอดผ่านดินแดนหลังคาโลกนี้จะแล้วเสร็จในปี 2563 ทั้งนี้ นักสังเกตการณ์บอกว่า โครงการดังกล่าวสะท้อนการแผ่อิทธิพลของจีนเข้าไปในประเทศเขตเทือกเขาหิมาลัย ที่ผ่านมา จีนได้เข้าไปลงทุนด้านไฟฟ้าพลังน้ำ โทรคมนาคม และสร้างถนน มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ ขณะคนจีนนิยมไปเที่ยวเนปาลกันมากขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อเดือนธันวาคม รัฐมนตรีต่างประเทศของจีน หวังอี้ ไปเยือนกรุงกาฐมาณฑุ สื่อมวลชนในเนปาลรายงานว่า เขาบอกว่า ทางรถไฟสายชิงไห่-ทิเบตจะขยายมาถึงเมืองหลวงของเนปาลแห่งนี้ และอาจต่อไปจนถึงอินเดียซึ่งเป็นตลาดขนาดมหึมา โดยจะมีการขุดอุโมงค์ลอดเมาท์เอเวอเรสต์ และว่า ขบวนรถจะแล่นด้วยความเร็วเฉลี่ย 120 ก.ม./ช.ม. เนื่องจากภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงๆต่ำๆ
อินเดียกำลังตระหนกกับการเพิ่มบทบาทของจีนในเอเชียใต้ ปักกิ่งเป็นพันธมิตรกับปากีสถาน และมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดกับศรีลังกา ประเทศในหมู่เกาะมัลดีฟ และเนปาล นิวเดลีวิตกว่าจีนกำลังเดินยุทธศาสตร์ปิดล้อมตน.
ที่มา : AFP
updated: 09 เม.ย 2558 เวลา 15:52:58 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
จีนวาดแผนต่อรางรถไฟจากทิเบตสู่กรุงกาฐมาณฑุ เล็งขุดอุโมงค์ลอดภูเขาเอเวอเรสต์ คาดแล้วเสร็จในปี ค.ศ.2020 เผยขบวนรถใช้ความเร็วได้เฉลี่ย 120 ก.ม./ช.ม. เพราะต้องปีนหลังคาโลก
หนังสือพิมพ์ไชน่าเดลี อ้างการเปิดเผยของหวังเหม็งจู ผู้เชี่ยวชาญของวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์แห่งชาติจีน ระบุว่า จีนกำลังพิจารณาที่จะต่อขยายเส้นทางรถไฟสายชิงไห่-ทิเบตไปยังกรุงกาฐมาณฑุของเนปาล ซึ่งเป็นประเทศที่อินเดียถือเป็นเขตอิทธิพลของตน
หวังบอกว่า เนปาลเป็นฝ่ายขอให้จีนสร้างทางรถไฟสายดังกล่าวจากลาซา เมืองเอกของทิเบต คาดว่าโครงการซึ่งทอดผ่านดินแดนหลังคาโลกนี้จะแล้วเสร็จในปี 2563 ทั้งนี้ นักสังเกตการณ์บอกว่า โครงการดังกล่าวสะท้อนการแผ่อิทธิพลของจีนเข้าไปในประเทศเขตเทือกเขาหิมาลัย ที่ผ่านมา จีนได้เข้าไปลงทุนด้านไฟฟ้าพลังน้ำ โทรคมนาคม และสร้างถนน มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ ขณะคนจีนนิยมไปเที่ยวเนปาลกันมากขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อเดือนธันวาคม รัฐมนตรีต่างประเทศของจีน หวังอี้ ไปเยือนกรุงกาฐมาณฑุ สื่อมวลชนในเนปาลรายงานว่า เขาบอกว่า ทางรถไฟสายชิงไห่-ทิเบตจะขยายมาถึงเมืองหลวงของเนปาลแห่งนี้ และอาจต่อไปจนถึงอินเดียซึ่งเป็นตลาดขนาดมหึมา โดยจะมีการขุดอุโมงค์ลอดเมาท์เอเวอเรสต์ และว่า ขบวนรถจะแล่นด้วยความเร็วเฉลี่ย 120 ก.ม./ช.ม. เนื่องจากภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงๆต่ำๆ
อินเดียกำลังตระหนกกับการเพิ่มบทบาทของจีนในเอเชียใต้ ปักกิ่งเป็นพันธมิตรกับปากีสถาน และมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดกับศรีลังกา ประเทศในหมู่เกาะมัลดีฟ และเนปาล นิวเดลีวิตกว่าจีนกำลังเดินยุทธศาสตร์ปิดล้อมตน.
ที่มา : AFP
-
- Verified User
- โพสต์: 4395
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขาดทุน ทหารไทย China Equity Index
โพสต์ที่ 37
จีนเดินหน้าปฏิรูประบบธนาคาร
เริ่มใช้กฎหมายค้ำประกันเงินฝาก1พฤษภาคมนี้
วันที่ 1 พฤษภาคม 2558 กฎหมายการค้ำประกันเงินฝาก หรือ Deposit Insurance ของจีนได้เริ่มมีผลบังคับใช้ โดยจะครอบคลุมการค้ำประกันเงินฝากทั้งจากบริษัทและประชาชนทั่วไปในวงเงิน 5 แสนหยวนต่อรายต่อธนาคาร คาดว่าจะครอบคลุมกว่า 99% ของจำนวนบัญชีเงินฝากทั่วประเทศ ทั้งนี้ กฎหมายกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์จ่ายค่าธรรมเนียมให้แก่รัฐบาลตามขนาดของเงินฝากและความเสี่ยง เป้าหมายเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาความเสี่ยงทางการเงินได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที รายงานข่าวระบุว่า ปัจจุบัน ธนาคารพาณิชย์ของจีนมียอดเงินฝากรวมกันคิดเป็นมูลค่ากว่า 122 ล้านล้านหยวน ซึ่งสูงเป็นอันดับต้นๆของโลก
มีการเปรียบเทียบระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการประกาศใช้มาตรการค้ำประกันเงินฝากในบัญชีธนาคาร โดยกรณีของสหรัฐฯเกิดขึ้นหลังยุคเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนัก หรือ The Great Depression (ค.ศ.1929-1939) ซึ่งในเวลานั้น รัฐบาลสหรัฐฯนำระบบค้ำประกันเงินฝากมาใช้เพื่อให้ประชาชนมั่นใจในระบบการเงินการธนาคารที่ก่อนหน้านั้นปวกเปียกล้มเหลวทำให้ประชาชนแห่กันไปถอนเงินออก แต่สำหรับจีนซึ่งเพิ่งนำมาตรการค้ำประกันเงินฝากมาใช้ นักวิเคราะห์กล่าวว่า เป้าหมายดูจะตรงกันข้าม เพราะการประกาศใช้มาตรการใหม่นี้เหมือนเป็นการส่งสัญญาณของรัฐบาลจีนว่า หากธนาคารบริหารงานล้มเหลวหรือมีปัญหา อย่าได้หวังว่ารัฐบาลกลางจะยื่นมือเข้าอุ้มเหมือนเมื่อในอดีต นั่นหมายความว่า รัฐบาลต้องการให้บรรดาธนาคารพาณิชย์ตระหนักถึงความเสี่ยงและบริหารงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
มาตรการค้ำประกันเงินฝากของจีนเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทในการปฏิรูปเศรษฐกิจซึ่งครอบคลุมถึงการปฏิรูประบบธนาคาร ที่รัฐบาลจีนต้องการให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามกลไกตลาดมากยิ่งขึ้น เป้าหมายก็เพื่อกระตุ้นอุปสงค์ของผู้บริโภคและขณะเดียวกันก็เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจฟองสบู่ที่มีการปล่อยกู้อย่างขาดความรอบคอบของธนาคารพาณิชย์เป็นปัจจัยหนุน จีนต้องการให้ธนาคารปล่อยกู้แก่ธุรกิจเอกชนและประชาชนอย่างรอบคอบมากขึ้น และเพิ่มความรับผิดชอบมากขึ้นหากมีการดำเนินงานผิดพลาด
"การค้ำประกันเงินฝากอย่างเป็นทางการนับเป็นก้าวแรกของทั้งกระบวนการในการรับมือกับปัญหาทางการเงินของบรรดาธนาคารในประเทศจีน" จิม แอนทอส นักวิเคราะห์ธุรกิจธนาคารจากบริษัท มิสุโฮ ซีเคียวริตี้ส์ เอเชีย ในฮ่องกง ให้ความเห็นพร้อมทั้งอธิบายว่า ก่อนหน้านี้ ผู้ค้ำประกันเงินฝากในทางปฏิบัติก็คือรัฐบาลกลางของจีนนั่นเอง พร้อมทั้งยกตัวอย่างในปี 1998 เมื่อธนาคารไห่หนาน ดิเวลลอปเมนต์ แบงก์ ขาดทุนย่อยยับและต้องล้มละลาย ธนาคารกลางจีนได้ออกมาประกาศค้ำประกันเงินฝากทุกบัญชีของธนาคารดังกล่าวซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ จากนั้นก็ย้ายโอนบัญชีทั้งหมดเข้าไปฝากกับธนาคารอินดัสเทรียล แอนด์ คอมเมอร์เชียล แบงก์ ออฟ ไชน่า ซึ่งมีขนาดธุรกิจใหญ่กว่ากันมาก อีกตัวอย่างเกิดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา เมื่อธนาคารท้องถิ่นรายหนึ่งในเมืองเจียงสูทางภาคตะวันออกของประเทศ ประสบปัญหาทางการเงิน และประชาชนแห่กันมาถอนเงินฝาก ธนาคารกลางจีนก็รีบนำเงินสดขนใส่รถบรรทุกมาช่วยกู้สถานการณ์เพื่อให้ผู้ฝากเงินมีความมั่นใจว่ารัฐบาลกลางจะไม่ปล่อยให้ธนาคารล้ม
แต่ทั้งหมดนี้กำลังจะกลายเป็นอดีต อย่างน้อยการปฏิรูปธนาคารก็กำลังเกิดขึ้นทีละส่วน เช่นเมื่อวันที่ 21 เมษายนที่ผ่านมา ธนาคารกลางจีนยอมปล่อยให้รัฐวิสาหกิจรายหนึ่งผิดนัดชำระเงินไถ่ถอนหุ้นกู้ ซึ่งเหตุการณ์ลักษณะนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่ก็สะท้อนว่า ธนาคารกลางจีนต้องการให้รัฐวิสาหกิจที่ออกหุ้นกู้มีความรับผิดชอบต่อการดำเนินงานของตัวเองมากขึ้น
นอกจากกฎหมายค้ำประกันเงินฝากแล้ว ยังเป็นที่คาดหมายว่ามาตรการลำดับถัดไปที่น่าจะประกาศใช้ในปีนี้ อาจจะเป็นการยกเลิกการควบคุมดอกเบี้ยเงินฝาก เนื่องจากนายโจว เสี่ยวชวน ผู้ว่าการธนาคารกลางจีน เคยออกมาระบุว่า อาจยกเลิกการควบคุมอัตราดอกเบี้ยเงินฝากภายในปี 2558 นี้ (ปัจจุบัน ธนาคารกลางจีนกำหนดเพดานดอกเบี้ยเงินฝากสูงสุดของธนาคารพาณิชย์ไว้ที่ 3.25% ซึ่งเป็นดอกเบี้ยสำหรับเงินฝากประจำระยะ 1ปี เพื่อจำกัดการแข่งขันของธนาคารพาณิชย์)
นักวิเคราะห์เชื่อว่าทั้งสองมาตรการนี้จะกดดันให้ธนาคารพาณิชย์ของจีนปรับปรุงการบริหารงานจากเดิมๆที่ทำงานแบบรัฐวิสาหกิจที่ขาดประสิทธิภาพเพราะมั่นใจว่ามีรัฐบาลกลางคอยหนุนหลัง มาสู่การบริหารแบบบริษัทเอกชนในตลาดเสรีที่ต้องเน้นประสิทธิภาพแบบมืออาชีพ เช่นการตรวจสอบความน่าเชื่อถือทางการเงินของผู้กู้อย่างละเอียดรอบคอบก่อนปล่อยกู้ออกไป ต่างจากอดีตที่มักจะให้กู้อย่างง่ายๆแก่บริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจโดยไม่สนใจว่าเงินกู้นั้นถูกนำไปลงทุนอย่างคุ้มค่าหรือไม่
นอกจากนี้ มาตรการใหม่ยังจะทำให้บรรดาธนาคารแข่งขันกันมากขึ้นเพื่อดึงดูดใจให้ลูกค้านำเงินมาฝาก ซึ่งแม่เหล็กดึงดูดใจก็คือการให้ดอกเบี้ยเงินฝากที่จูงใจในอัตราสูง เป้าหมายของรัฐบาลในเรื่องนี้ก็คือ เมื่อประชาชนเกิดความมั่นใจว่าเงินฝากของพวกเขาสามารถทำเงิน(ดอกเบี้ย)เมื่อฝากไว้กับธนาคารเหล่านี้ พวกเขาก็มั่นใจที่จะจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เป็นการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจทางหนึ่ง ทั้งนี้ รัฐบาลจีนให้ความสำคัญกับการเพิ่มอุปสงค์ของผู้บริโภคในฐานะหัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ อีกทั้ง การเปิดเสรีของอัตราดอกเบี้ยจะทำให้ระบบการเงินของจีนแข็งแกร่งและรับมือกับการไหลเข้า-ออกของเงินทุนได้ดียิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามข้อสงสัยที่ว่ามาตรการเหล่านี้จะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายหรือไม่นับเป็นความท้าทาย ซึ่งรัฐบาลและธนาคารกลางจีนก็ตระหนักดีในข้อนี้ เนื่องจากมีประวัติศาสตร์และบทเรียนให้ดูจากกรณีของสหรัฐอเมริกาที่เคยปล่อยให้ธนาคารแข่งขันกันโดยเสรีในเรื่องอัตราดอกเบี้ยกระทั่งก่อให้เกิดวิกฤติเงินฝากและเงินกู้ราวช่วงกลางทศวรรษ 1990 และทำให้สถาบันการเงินต้องปิดตัวเองไปเกือบๆ 3 พันรายทั่วประเทศสหรัฐฯในเวลานั้น ด้วยเหตุนี้ ธนาคารกลางจีนจึงได้กำหนดค่าธรรมเนียมที่ธนาคารพาณิชย์ต้องจ่ายเป็นค่าค้ำประกันเงินฝากไว้สองแบบ คือแบบอัตราขั้นต่ำตายตัว และแบบอัตรายืดหยุ่นขึ้นอยู่กับความเสี่ยง เช่นหากธนาคารขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อระดมเงินแล้วนำไปปล่อยกู้อย่างมีความสุ่มเสี่ยง ก็จะถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราสูงขึ้น ซึ่งก็จะทำให้ธนาคารมีต้นทุนสูงขึ้นและทำกำไรน้อยลง แต่ทั้งนี้เป้าหมายของกฎหมายใหม่ดังกล่าวก็เพื่อให้ธนาคารบริหารจัดการเงินฝากด้วยความรอบคอบและปล่อยกู้ด้วยความระมัดระวังมากขึ้น
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,049 วันที่ 3 - 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
เริ่มใช้กฎหมายค้ำประกันเงินฝาก1พฤษภาคมนี้
วันที่ 1 พฤษภาคม 2558 กฎหมายการค้ำประกันเงินฝาก หรือ Deposit Insurance ของจีนได้เริ่มมีผลบังคับใช้ โดยจะครอบคลุมการค้ำประกันเงินฝากทั้งจากบริษัทและประชาชนทั่วไปในวงเงิน 5 แสนหยวนต่อรายต่อธนาคาร คาดว่าจะครอบคลุมกว่า 99% ของจำนวนบัญชีเงินฝากทั่วประเทศ ทั้งนี้ กฎหมายกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์จ่ายค่าธรรมเนียมให้แก่รัฐบาลตามขนาดของเงินฝากและความเสี่ยง เป้าหมายเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาความเสี่ยงทางการเงินได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที รายงานข่าวระบุว่า ปัจจุบัน ธนาคารพาณิชย์ของจีนมียอดเงินฝากรวมกันคิดเป็นมูลค่ากว่า 122 ล้านล้านหยวน ซึ่งสูงเป็นอันดับต้นๆของโลก
มีการเปรียบเทียบระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการประกาศใช้มาตรการค้ำประกันเงินฝากในบัญชีธนาคาร โดยกรณีของสหรัฐฯเกิดขึ้นหลังยุคเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนัก หรือ The Great Depression (ค.ศ.1929-1939) ซึ่งในเวลานั้น รัฐบาลสหรัฐฯนำระบบค้ำประกันเงินฝากมาใช้เพื่อให้ประชาชนมั่นใจในระบบการเงินการธนาคารที่ก่อนหน้านั้นปวกเปียกล้มเหลวทำให้ประชาชนแห่กันไปถอนเงินออก แต่สำหรับจีนซึ่งเพิ่งนำมาตรการค้ำประกันเงินฝากมาใช้ นักวิเคราะห์กล่าวว่า เป้าหมายดูจะตรงกันข้าม เพราะการประกาศใช้มาตรการใหม่นี้เหมือนเป็นการส่งสัญญาณของรัฐบาลจีนว่า หากธนาคารบริหารงานล้มเหลวหรือมีปัญหา อย่าได้หวังว่ารัฐบาลกลางจะยื่นมือเข้าอุ้มเหมือนเมื่อในอดีต นั่นหมายความว่า รัฐบาลต้องการให้บรรดาธนาคารพาณิชย์ตระหนักถึงความเสี่ยงและบริหารงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
มาตรการค้ำประกันเงินฝากของจีนเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทในการปฏิรูปเศรษฐกิจซึ่งครอบคลุมถึงการปฏิรูประบบธนาคาร ที่รัฐบาลจีนต้องการให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามกลไกตลาดมากยิ่งขึ้น เป้าหมายก็เพื่อกระตุ้นอุปสงค์ของผู้บริโภคและขณะเดียวกันก็เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจฟองสบู่ที่มีการปล่อยกู้อย่างขาดความรอบคอบของธนาคารพาณิชย์เป็นปัจจัยหนุน จีนต้องการให้ธนาคารปล่อยกู้แก่ธุรกิจเอกชนและประชาชนอย่างรอบคอบมากขึ้น และเพิ่มความรับผิดชอบมากขึ้นหากมีการดำเนินงานผิดพลาด
"การค้ำประกันเงินฝากอย่างเป็นทางการนับเป็นก้าวแรกของทั้งกระบวนการในการรับมือกับปัญหาทางการเงินของบรรดาธนาคารในประเทศจีน" จิม แอนทอส นักวิเคราะห์ธุรกิจธนาคารจากบริษัท มิสุโฮ ซีเคียวริตี้ส์ เอเชีย ในฮ่องกง ให้ความเห็นพร้อมทั้งอธิบายว่า ก่อนหน้านี้ ผู้ค้ำประกันเงินฝากในทางปฏิบัติก็คือรัฐบาลกลางของจีนนั่นเอง พร้อมทั้งยกตัวอย่างในปี 1998 เมื่อธนาคารไห่หนาน ดิเวลลอปเมนต์ แบงก์ ขาดทุนย่อยยับและต้องล้มละลาย ธนาคารกลางจีนได้ออกมาประกาศค้ำประกันเงินฝากทุกบัญชีของธนาคารดังกล่าวซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ จากนั้นก็ย้ายโอนบัญชีทั้งหมดเข้าไปฝากกับธนาคารอินดัสเทรียล แอนด์ คอมเมอร์เชียล แบงก์ ออฟ ไชน่า ซึ่งมีขนาดธุรกิจใหญ่กว่ากันมาก อีกตัวอย่างเกิดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา เมื่อธนาคารท้องถิ่นรายหนึ่งในเมืองเจียงสูทางภาคตะวันออกของประเทศ ประสบปัญหาทางการเงิน และประชาชนแห่กันมาถอนเงินฝาก ธนาคารกลางจีนก็รีบนำเงินสดขนใส่รถบรรทุกมาช่วยกู้สถานการณ์เพื่อให้ผู้ฝากเงินมีความมั่นใจว่ารัฐบาลกลางจะไม่ปล่อยให้ธนาคารล้ม
แต่ทั้งหมดนี้กำลังจะกลายเป็นอดีต อย่างน้อยการปฏิรูปธนาคารก็กำลังเกิดขึ้นทีละส่วน เช่นเมื่อวันที่ 21 เมษายนที่ผ่านมา ธนาคารกลางจีนยอมปล่อยให้รัฐวิสาหกิจรายหนึ่งผิดนัดชำระเงินไถ่ถอนหุ้นกู้ ซึ่งเหตุการณ์ลักษณะนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่ก็สะท้อนว่า ธนาคารกลางจีนต้องการให้รัฐวิสาหกิจที่ออกหุ้นกู้มีความรับผิดชอบต่อการดำเนินงานของตัวเองมากขึ้น
นอกจากกฎหมายค้ำประกันเงินฝากแล้ว ยังเป็นที่คาดหมายว่ามาตรการลำดับถัดไปที่น่าจะประกาศใช้ในปีนี้ อาจจะเป็นการยกเลิกการควบคุมดอกเบี้ยเงินฝาก เนื่องจากนายโจว เสี่ยวชวน ผู้ว่าการธนาคารกลางจีน เคยออกมาระบุว่า อาจยกเลิกการควบคุมอัตราดอกเบี้ยเงินฝากภายในปี 2558 นี้ (ปัจจุบัน ธนาคารกลางจีนกำหนดเพดานดอกเบี้ยเงินฝากสูงสุดของธนาคารพาณิชย์ไว้ที่ 3.25% ซึ่งเป็นดอกเบี้ยสำหรับเงินฝากประจำระยะ 1ปี เพื่อจำกัดการแข่งขันของธนาคารพาณิชย์)
นักวิเคราะห์เชื่อว่าทั้งสองมาตรการนี้จะกดดันให้ธนาคารพาณิชย์ของจีนปรับปรุงการบริหารงานจากเดิมๆที่ทำงานแบบรัฐวิสาหกิจที่ขาดประสิทธิภาพเพราะมั่นใจว่ามีรัฐบาลกลางคอยหนุนหลัง มาสู่การบริหารแบบบริษัทเอกชนในตลาดเสรีที่ต้องเน้นประสิทธิภาพแบบมืออาชีพ เช่นการตรวจสอบความน่าเชื่อถือทางการเงินของผู้กู้อย่างละเอียดรอบคอบก่อนปล่อยกู้ออกไป ต่างจากอดีตที่มักจะให้กู้อย่างง่ายๆแก่บริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจโดยไม่สนใจว่าเงินกู้นั้นถูกนำไปลงทุนอย่างคุ้มค่าหรือไม่
นอกจากนี้ มาตรการใหม่ยังจะทำให้บรรดาธนาคารแข่งขันกันมากขึ้นเพื่อดึงดูดใจให้ลูกค้านำเงินมาฝาก ซึ่งแม่เหล็กดึงดูดใจก็คือการให้ดอกเบี้ยเงินฝากที่จูงใจในอัตราสูง เป้าหมายของรัฐบาลในเรื่องนี้ก็คือ เมื่อประชาชนเกิดความมั่นใจว่าเงินฝากของพวกเขาสามารถทำเงิน(ดอกเบี้ย)เมื่อฝากไว้กับธนาคารเหล่านี้ พวกเขาก็มั่นใจที่จะจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เป็นการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจทางหนึ่ง ทั้งนี้ รัฐบาลจีนให้ความสำคัญกับการเพิ่มอุปสงค์ของผู้บริโภคในฐานะหัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ อีกทั้ง การเปิดเสรีของอัตราดอกเบี้ยจะทำให้ระบบการเงินของจีนแข็งแกร่งและรับมือกับการไหลเข้า-ออกของเงินทุนได้ดียิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามข้อสงสัยที่ว่ามาตรการเหล่านี้จะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายหรือไม่นับเป็นความท้าทาย ซึ่งรัฐบาลและธนาคารกลางจีนก็ตระหนักดีในข้อนี้ เนื่องจากมีประวัติศาสตร์และบทเรียนให้ดูจากกรณีของสหรัฐอเมริกาที่เคยปล่อยให้ธนาคารแข่งขันกันโดยเสรีในเรื่องอัตราดอกเบี้ยกระทั่งก่อให้เกิดวิกฤติเงินฝากและเงินกู้ราวช่วงกลางทศวรรษ 1990 และทำให้สถาบันการเงินต้องปิดตัวเองไปเกือบๆ 3 พันรายทั่วประเทศสหรัฐฯในเวลานั้น ด้วยเหตุนี้ ธนาคารกลางจีนจึงได้กำหนดค่าธรรมเนียมที่ธนาคารพาณิชย์ต้องจ่ายเป็นค่าค้ำประกันเงินฝากไว้สองแบบ คือแบบอัตราขั้นต่ำตายตัว และแบบอัตรายืดหยุ่นขึ้นอยู่กับความเสี่ยง เช่นหากธนาคารขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อระดมเงินแล้วนำไปปล่อยกู้อย่างมีความสุ่มเสี่ยง ก็จะถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราสูงขึ้น ซึ่งก็จะทำให้ธนาคารมีต้นทุนสูงขึ้นและทำกำไรน้อยลง แต่ทั้งนี้เป้าหมายของกฎหมายใหม่ดังกล่าวก็เพื่อให้ธนาคารบริหารจัดการเงินฝากด้วยความรอบคอบและปล่อยกู้ด้วยความระมัดระวังมากขึ้น
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,049 วันที่ 3 - 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
-
- Verified User
- โพสต์: 4395
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขาดทุน ทหารไทย China Equity Index
โพสต์ที่ 38
China's central bank cut its benchmark lending rate by 25 basis points to 5.1 percent on Sunday, its third reduction since November, as economic growth cools to levels not seen since the global financial crisis.
The People's Bank of China (PBOC) also reduced one-year benchmark deposit rates by 25 basis points to 2.25 percent, it said in a statement on its website, adding that the reductions would be effective on May 11.
REUTERS
The People's Bank of China (PBOC) also reduced one-year benchmark deposit rates by 25 basis points to 2.25 percent, it said in a statement on its website, adding that the reductions would be effective on May 11.
REUTERS