***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
- Saran
- Verified User
- โพสต์: 2377
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 31
AGM SYMC 24/04/2558
ผลการดำเนินงานปี 57
- ขยายโครงข่ายไปตามส่วนภูมิภาคเป็นไปตามแผนงาน เพื่อช่วยควบคุมคุณภาพในการให้บริการและต้นทุนที่ดีในระยะยาว (ขยายโครงข่ายของตัวเองและลดการเช่าสายจากการไฟฟ้าลง)
- สถาปัตยกรรมการออกแบบโครงข่ายของบริษัทจะมีลักษณะเป็นวงแหวนเชื่อมต่อกัน เน้นเดินสายตามแนวเส้นทางถนนเป็นหลัก
- มีลูกค้าส่วน IPLC และ Private Network เพิ่มขึ้นตามการขยายโครงข่ายของบริษัท (ตัวอย่างปีที่ผ่านมาได้รับงาน Private Network จากธนาคารแห่งหนึ่งมีจำนวนสาขา 450 สาขาในเขตกรุงเทพและปริมณฑล, บริษัทหลักทรัพย์ที่มีจำนวนสาขา 79 สาขาทั่วประเทศ)
- บริษัทเน้นขยายเครือข่ายไปยังพื้นที่เศรษฐกิจหลักในแต่ละจังหวัดและจังหวัดที่มีเส้นทางเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน บริษัทมีศูนย์ปฏิบัติการรองรับในการดูแลโครงข่ายอยู่ทั้งหมด 17 จังหวัด
- ปัจจุบันพื้นที่ให้บริการของบริษัท ทั่วพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล อาคารสูงในกรุงเทพ 84 อาคาร นิคมอุตสาหกรรม 41 แห่ง พื้นที่เศรษฐกิจหลักของจังหวัดต่างๆ 43 จังหวัดทั่วประเทศ IPLC gateway เชื่อมต่อไปยัง 4 ประเทศทั้ง 4 ทิศ
จ.สระแก้ว ไปยังกัมพูชา, อ.หาดใหญ่ ไปยังมาเลเซีย, จ.หนองคาย ไปยังลาว และอ.แม่สอด ไปยังพม่า
- ได้รับใบอนุญาตในการให้บริการด้าน IPLC ผ่านทาง Submarine Cable (เป็นโครงการแรกของไทยที่ลงทุนโดยบริษัทเอกชน) ร่วมมือกับทางกัมพูชาและมาเลเซีย
- สิ้นปี มีวงจรโครงข่ายที่ให้บริการ 6,699 วงจร เพิ่มขึ้นจากปี 2556 จำนวน 1,710 วงจร
- EBITDA ยังมีการเติบโต แต่ NPM มีแนวโน้มลดลง หลักๆมาจากค่าเสื่อมราคาที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนขยายโครงข่าย + ดอกเบี้ยจ่ายในส่วนของเงินกู้
- ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นอีกส่วนหนึ่งมาจากการเพิ่มจำนวนบุคลากรที่ต้องมาดูแลโครงข่ายตามศูนย์ปฏิบัติการและงานบริการให้กับฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้น
เป้าหมายในปี 2558
รายได้รวมเติบโตไม่ต่ำกว่า 20%
รายได้จาก IPCL เติบโต 60%
รายได้จาก Private Network เติบโต 20%
งบลงทุนปี 2558 ประมาณ 500 ลบ. (ไม่รวมในส่วนที่ลงทุนใน Submarine Cable)
ลงทุนส่วน Last Mile (สายที่เชื่อมต่อกระจายไปให้ลูกค้า) 300 ลบ. มีเป้าหมายเพิ่มลูกค้าให้ได้ 2,500 วงจร
ลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ 200 ลบ.
โครงการ Submarine Cable ใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 693 ลบ.
- ส่วนที่เป็น wet segment เงินลงทุน 577.2 ลบ. ระยะเวลาก่อสร้าง 17-18 เดือน
- ส่วนสถานีที่ตั้งอยู่บนบกที่จ.ระยอง ใช้เงินลงทุน 115.76 ลบ. (ราคาที่ดิน 9.95 ลบ. พื้นที่ 2 ไร่) ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 8 เดือน
- เริ่มให้บริการ Q4/2559
- IRR~20% (สมมติฐาน ส่วนลด 50% ของอัตราค่าเช่าในตลาด, Capacity 30%, คืนทุนประมาณ 6 ปี)
ข้อมูลอื่นๆ Q&A
- ลักษณะของลูกค้าจะเป็นสัญญาแบบปีต่อปี บริษัทเน้นชูจุดเด่นเรื่องคุณภาพการให้บริการ SLA 99.9% ยังคงเน้นจับกลุ่มลูกค้าภาคเอกชนเป็นหลัก ภาครัฐเริ่มมีเข้ามาในกลางปี 57
- จากรายได้ของบริษัท คาดว่าบริษัทมี Market Share ~ 10% (ประมาณจากข้อมูลของ NECTE)
- นโยบายการตัดค่าเสื่อมราคา สาย fiber optic ตัดเป็นเส้นตรง 20 ปี ส่วนroute อุปกรณ์ไอทีต่างๆ ตัดแบบเส้นตรง 7 ปี
ปัจจุบันทรัพย์สินของบริษัทประมาณ 50% เป็นส่วนของ fiber อีก 50% เป็นส่วนของอุปกรณ์ คาดการณ์ว่าในปีต่อๆไปค่าเสื่อมจะอยู่ราวๆ 20-22% ของรายได้
- เรื่องคดีความกับ CAT
ประเด็นหลักคือ CAT ฟ้องเรื่องที่บริษัทติดหนี้ค่าเช่าท่อ (ท่อร้อยสายเคเบิ้ลใต้ดิน) อยู่ แต่ที่บริษัทโต้แย้งคือ บริษัทค้างค่าเช่าท่อจริงแต่อัตราค่าเช่าที่ CAT เรียกเก็บแพงเกินไป (CAT ปรับราคาค่าเช่าขึ้น 400% จากราคาค่าเช่าเดิม) ซึ่งไม่ชอบด้วยกฏหมาย และเนื่องจาก CAT เป็นรัฐวิสาหกิจ บริษัทเห็นว่าการฟ้องควรจะฟ้องที่ศาลปกครอง (ซึ่งศาลปกครองเห็นด้วย) แต่ CAT ไปฟ้องกับศาลแพ่งแทน ทำให้ทั้ง 2 ศาลมีความเห็นไม่ตรงกัน กรณีนี้ต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาด
ล่าสุดในวันที่ 29 เม.ย. 58 นี้ จะบอกได้ว่าคดีนี้ควรไปขึ้นอยู่กับศาลไหน ซึ่งพอได้ข้อสรุปแล้วถึงค่อยเริ่มพิจารณาคดีกันต่อ
- ดูจาก Financial Roadmap ของบริษัท ยังมองว่าเงินลงทุนที่ยังยังสามารถใช้เงินจากการกู้เงินได้อยู่ ยังไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุน
- โดยปกติกับลูกค้าเดิมของบริษัท พอเริ่มต่อสัญญาใหม่บริษัทจะมีส่วนลดให้กับลูกค้าในระดับความเร็วที่เท่าเดิม แต่จะได้รายได้ชดเชยจากการที่ลูกค้าปรับระดับความเร็วที่เพิ่มขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจของบริษัท
ใบอนุญาตที่ต้องขอจาก กสทช มีทั้งหมด 3 แบบ
- แบบที่ 1 จะเป็นแบบพื้นฐานที่สุดให้กับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต การขอขั้นตอนหลักเกณฑ์ไม่ยุ่งยาก มีแค่เอกสารครบก็ขอเปิดได้ทันที
- แบบที่ 2 จะยากกว่าแบบที่ 1 มีขั้นตอน หลักเกณฑ์ การควบคุมและใช้เงินลงทุนที่เยอะกว่า เป็นการให้บริการกับลูกค้าที่เป็นนิติบุคคล
- แบบที่ 3 เป็นการให้บริการกับประชาชนทั่วไป ยกตัวอย่างพวกผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3G
SYMC มีใบอนุญาต แบ่งได้เป็น
- ใบอนุญาตแบบที่ 2 ใบที่ 1 สามารถสร้างโครงข่ายเคเบิ้ลใยแก้วที่เป็นของตนเองได้ทั่วประเทศ ระยะเวลา 15 ปี
- ใบอนุญาตแบบที่ 2 ใบที่ 2 เป็นคลื่นอินเตอร์เน็ต สามารถทำชุมสายอินเตอร์เน็ตให้บริการกับลูกค้าที่เป็น ISP เป็นระยะเวลา 5 ปี
- ใบอนุญาตแบบที่ 3 ซึ่งเป็นใบแรกของบริษัท ให้บริการวงจรส่วนบุคคลระหว่างประเทศ (IPLC) ทำให้บริษัทสามารถให้บริการข้ามพรมแดนไปได้ทั่วโลก มีระยะเวลา 15 ปี
- ได้ขอใบอนุญาตแบบที่ 1 เพิ่มเนื่องจากบริษัทมีการบริการ IP Streaming (การเปลี่ยนสัญญาณ TV เป็นสัญญาณ internet) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการให้บริการอินเตอร์เน็ต เลยต้องขอใบอนุญาตให้ถูกต้อง มีระยะเวลา 5 ปี
- เพื่อความถูกต้อง บริษัทได้ขอใบอนุญาตในการเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายแพร่ภาพกระจายเสียงกับ กสทช. เนื่องจากบริษัทมีให้บริการกับลูกค้าในกลุ่มทีวีดาวเทียม เคเบิ้ลทีวี ที่ส่งสัญญาณผ่านเครือข่ายของบริษัท มีระยะเวลา 15 ปี
- ทุกใบอนุญาต สามารถทำการต่อสัญญาได้เรื่อยๆ ถ้าบริษัทไม่ได้ทำอะไรที่ผิดกฏเกณฑ์ที่ กสทช. กำหนด
ผลการดำเนินงานปี 57
- ขยายโครงข่ายไปตามส่วนภูมิภาคเป็นไปตามแผนงาน เพื่อช่วยควบคุมคุณภาพในการให้บริการและต้นทุนที่ดีในระยะยาว (ขยายโครงข่ายของตัวเองและลดการเช่าสายจากการไฟฟ้าลง)
- สถาปัตยกรรมการออกแบบโครงข่ายของบริษัทจะมีลักษณะเป็นวงแหวนเชื่อมต่อกัน เน้นเดินสายตามแนวเส้นทางถนนเป็นหลัก
- มีลูกค้าส่วน IPLC และ Private Network เพิ่มขึ้นตามการขยายโครงข่ายของบริษัท (ตัวอย่างปีที่ผ่านมาได้รับงาน Private Network จากธนาคารแห่งหนึ่งมีจำนวนสาขา 450 สาขาในเขตกรุงเทพและปริมณฑล, บริษัทหลักทรัพย์ที่มีจำนวนสาขา 79 สาขาทั่วประเทศ)
- บริษัทเน้นขยายเครือข่ายไปยังพื้นที่เศรษฐกิจหลักในแต่ละจังหวัดและจังหวัดที่มีเส้นทางเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน บริษัทมีศูนย์ปฏิบัติการรองรับในการดูแลโครงข่ายอยู่ทั้งหมด 17 จังหวัด
- ปัจจุบันพื้นที่ให้บริการของบริษัท ทั่วพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล อาคารสูงในกรุงเทพ 84 อาคาร นิคมอุตสาหกรรม 41 แห่ง พื้นที่เศรษฐกิจหลักของจังหวัดต่างๆ 43 จังหวัดทั่วประเทศ IPLC gateway เชื่อมต่อไปยัง 4 ประเทศทั้ง 4 ทิศ
จ.สระแก้ว ไปยังกัมพูชา, อ.หาดใหญ่ ไปยังมาเลเซีย, จ.หนองคาย ไปยังลาว และอ.แม่สอด ไปยังพม่า
- ได้รับใบอนุญาตในการให้บริการด้าน IPLC ผ่านทาง Submarine Cable (เป็นโครงการแรกของไทยที่ลงทุนโดยบริษัทเอกชน) ร่วมมือกับทางกัมพูชาและมาเลเซีย
- สิ้นปี มีวงจรโครงข่ายที่ให้บริการ 6,699 วงจร เพิ่มขึ้นจากปี 2556 จำนวน 1,710 วงจร
- EBITDA ยังมีการเติบโต แต่ NPM มีแนวโน้มลดลง หลักๆมาจากค่าเสื่อมราคาที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนขยายโครงข่าย + ดอกเบี้ยจ่ายในส่วนของเงินกู้
- ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นอีกส่วนหนึ่งมาจากการเพิ่มจำนวนบุคลากรที่ต้องมาดูแลโครงข่ายตามศูนย์ปฏิบัติการและงานบริการให้กับฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้น
เป้าหมายในปี 2558
รายได้รวมเติบโตไม่ต่ำกว่า 20%
รายได้จาก IPCL เติบโต 60%
รายได้จาก Private Network เติบโต 20%
งบลงทุนปี 2558 ประมาณ 500 ลบ. (ไม่รวมในส่วนที่ลงทุนใน Submarine Cable)
ลงทุนส่วน Last Mile (สายที่เชื่อมต่อกระจายไปให้ลูกค้า) 300 ลบ. มีเป้าหมายเพิ่มลูกค้าให้ได้ 2,500 วงจร
ลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ 200 ลบ.
โครงการ Submarine Cable ใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 693 ลบ.
- ส่วนที่เป็น wet segment เงินลงทุน 577.2 ลบ. ระยะเวลาก่อสร้าง 17-18 เดือน
- ส่วนสถานีที่ตั้งอยู่บนบกที่จ.ระยอง ใช้เงินลงทุน 115.76 ลบ. (ราคาที่ดิน 9.95 ลบ. พื้นที่ 2 ไร่) ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 8 เดือน
- เริ่มให้บริการ Q4/2559
- IRR~20% (สมมติฐาน ส่วนลด 50% ของอัตราค่าเช่าในตลาด, Capacity 30%, คืนทุนประมาณ 6 ปี)
ข้อมูลอื่นๆ Q&A
- ลักษณะของลูกค้าจะเป็นสัญญาแบบปีต่อปี บริษัทเน้นชูจุดเด่นเรื่องคุณภาพการให้บริการ SLA 99.9% ยังคงเน้นจับกลุ่มลูกค้าภาคเอกชนเป็นหลัก ภาครัฐเริ่มมีเข้ามาในกลางปี 57
- จากรายได้ของบริษัท คาดว่าบริษัทมี Market Share ~ 10% (ประมาณจากข้อมูลของ NECTE)
- นโยบายการตัดค่าเสื่อมราคา สาย fiber optic ตัดเป็นเส้นตรง 20 ปี ส่วนroute อุปกรณ์ไอทีต่างๆ ตัดแบบเส้นตรง 7 ปี
ปัจจุบันทรัพย์สินของบริษัทประมาณ 50% เป็นส่วนของ fiber อีก 50% เป็นส่วนของอุปกรณ์ คาดการณ์ว่าในปีต่อๆไปค่าเสื่อมจะอยู่ราวๆ 20-22% ของรายได้
- เรื่องคดีความกับ CAT
ประเด็นหลักคือ CAT ฟ้องเรื่องที่บริษัทติดหนี้ค่าเช่าท่อ (ท่อร้อยสายเคเบิ้ลใต้ดิน) อยู่ แต่ที่บริษัทโต้แย้งคือ บริษัทค้างค่าเช่าท่อจริงแต่อัตราค่าเช่าที่ CAT เรียกเก็บแพงเกินไป (CAT ปรับราคาค่าเช่าขึ้น 400% จากราคาค่าเช่าเดิม) ซึ่งไม่ชอบด้วยกฏหมาย และเนื่องจาก CAT เป็นรัฐวิสาหกิจ บริษัทเห็นว่าการฟ้องควรจะฟ้องที่ศาลปกครอง (ซึ่งศาลปกครองเห็นด้วย) แต่ CAT ไปฟ้องกับศาลแพ่งแทน ทำให้ทั้ง 2 ศาลมีความเห็นไม่ตรงกัน กรณีนี้ต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาด
ล่าสุดในวันที่ 29 เม.ย. 58 นี้ จะบอกได้ว่าคดีนี้ควรไปขึ้นอยู่กับศาลไหน ซึ่งพอได้ข้อสรุปแล้วถึงค่อยเริ่มพิจารณาคดีกันต่อ
- ดูจาก Financial Roadmap ของบริษัท ยังมองว่าเงินลงทุนที่ยังยังสามารถใช้เงินจากการกู้เงินได้อยู่ ยังไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุน
- โดยปกติกับลูกค้าเดิมของบริษัท พอเริ่มต่อสัญญาใหม่บริษัทจะมีส่วนลดให้กับลูกค้าในระดับความเร็วที่เท่าเดิม แต่จะได้รายได้ชดเชยจากการที่ลูกค้าปรับระดับความเร็วที่เพิ่มขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจของบริษัท
ใบอนุญาตที่ต้องขอจาก กสทช มีทั้งหมด 3 แบบ
- แบบที่ 1 จะเป็นแบบพื้นฐานที่สุดให้กับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต การขอขั้นตอนหลักเกณฑ์ไม่ยุ่งยาก มีแค่เอกสารครบก็ขอเปิดได้ทันที
- แบบที่ 2 จะยากกว่าแบบที่ 1 มีขั้นตอน หลักเกณฑ์ การควบคุมและใช้เงินลงทุนที่เยอะกว่า เป็นการให้บริการกับลูกค้าที่เป็นนิติบุคคล
- แบบที่ 3 เป็นการให้บริการกับประชาชนทั่วไป ยกตัวอย่างพวกผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ 3G
SYMC มีใบอนุญาต แบ่งได้เป็น
- ใบอนุญาตแบบที่ 2 ใบที่ 1 สามารถสร้างโครงข่ายเคเบิ้ลใยแก้วที่เป็นของตนเองได้ทั่วประเทศ ระยะเวลา 15 ปี
- ใบอนุญาตแบบที่ 2 ใบที่ 2 เป็นคลื่นอินเตอร์เน็ต สามารถทำชุมสายอินเตอร์เน็ตให้บริการกับลูกค้าที่เป็น ISP เป็นระยะเวลา 5 ปี
- ใบอนุญาตแบบที่ 3 ซึ่งเป็นใบแรกของบริษัท ให้บริการวงจรส่วนบุคคลระหว่างประเทศ (IPLC) ทำให้บริษัทสามารถให้บริการข้ามพรมแดนไปได้ทั่วโลก มีระยะเวลา 15 ปี
- ได้ขอใบอนุญาตแบบที่ 1 เพิ่มเนื่องจากบริษัทมีการบริการ IP Streaming (การเปลี่ยนสัญญาณ TV เป็นสัญญาณ internet) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการให้บริการอินเตอร์เน็ต เลยต้องขอใบอนุญาตให้ถูกต้อง มีระยะเวลา 5 ปี
- เพื่อความถูกต้อง บริษัทได้ขอใบอนุญาตในการเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายแพร่ภาพกระจายเสียงกับ กสทช. เนื่องจากบริษัทมีให้บริการกับลูกค้าในกลุ่มทีวีดาวเทียม เคเบิ้ลทีวี ที่ส่งสัญญาณผ่านเครือข่ายของบริษัท มีระยะเวลา 15 ปี
- ทุกใบอนุญาต สามารถทำการต่อสัญญาได้เรื่อยๆ ถ้าบริษัทไม่ได้ทำอะไรที่ผิดกฏเกณฑ์ที่ กสทช. กำหนด
- Saran
- Verified User
- โพสต์: 2377
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 32
สรุปงานประชุมผู้ถือหุ้น MEGA 10/04/2015
บริษัทก่อตั้งในปี 2528 CEO คุณวิเวกเข้ามาบริหารบริษัทในปี 2529 จนถึงปัจจุบัน
ปี 2537 พัฒนาจากโรงงานที่เน้นรับทำ OEM มาพัฒนาแบรนด์ MEGA มาทำตลาด ถัดมาปี 2538 เริ่มทำธุรกิจจัดจำหน่ายในชื่อ Maxxcare ในพม่าและเวียดนาม
ปัจจุบันมีโรงงานในไทย 2 แห่งสามารถผลิตยาแคปซูลนิ่มได้ 3,800 ล้านแคปซูล/ปี และอีก 1 แห่งในออสเตรเลีย กำลังการผลิตยาชนิดผง 650 เมตริกตัน/ปี, ยาแคปซูลแข็ง 13 ล้านแคปซูล/ปีและ ยาเม็ด 155 ล้านเม็ด/ปี
มียาที่ขึ้นทะเบียนและจัดจำหน่ายรวม 627 ผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่เป็นโภชนเภสัช (อาหาร,วิตามินเสริม)
ปัจจุบันมีจำหน่ายสินค้าอยู่ใน 31 ประเทศ เน้นทำตลาดในประเทศที่กำลังพัฒนา
มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ๆที่ช่วยให้ผลการรักษาดีขึ้น ยกตัวอย่าง
เทคโนโลยี Clearcap ที่ช่วยให้ยาละลายในกระเพาะอาหารได้ดีขึ้น
พัฒนาสูตรยา Actisome ทำให้ร่างกายดูดซึบสารสกัดจากพืชได้ดีขึ้น
เทคโนโลยี Emulcap ทำให้ยาถูกดูดซึมเข้าร่างกายได้มากขึ้น
พนักงานกว่า 4,300 คน
กำลังการผลิตใช้อยู่ราวๆ 60-70% เมื่อยอดขายจากสินค้า Mega We Care เพิ่มขึ้น ก็ค่อยๆลดสัดส่วนงาน OEM ลง โรงงานยังสามารถรองรับการเติบโตของยอดขายได้อีกเท่าตัว
CEO เชื่อว่าด้วยศักยภาพ Organic Growth ในประเทศต่างๆ ที่บริษัทเข้าไปทำตลาด และความแข็งแกร่งของตัว Mega We Care และ Maxxcare จะสามารถเพิ่มยอดขายของบริษัทได้เป็น 2 เท่าใน 5 ปี
งบปี2014
รายได้รวม 7,750 ลบ. เพิ่มขึ้น +9.9% จากปี 2013 โดยแยกได้เป็น
Mega We Care ยอดขายเพิ่มขึ้น +5.4% แบ่งเป็น
กลุ่ม Southeast Asia แล้วยังเติบโตอยู่ 8.3% (ยอดขายในไทยชะลอตัวลง)
Africa เติบโต 17.6%
Maxxcare โต 17.9% โดยสัดส่วนหลักมาจากพม่า
ในพม่าได้ลูกค้ารายใหม่เพิ่มมา 4 ราย, เวียดนาม 2 ราย และที่กัมพูชา 3 ราย
ประเทศที่เข้าไปทำธุรกิจมีเจออุปสรรคในหลายๆเรื่อง ทั้งการเมือง โรคระบาด ภัยสงคราม อาจมองได้ว่าเป็นเหตุจากปัจจัยภายนอก
อัตรา GPM รวมลดลงเหลือ 40.3% เทียบกัน 42.1%ในปี2013 เนื่องจากอัตรากำไรขั้นต้นแต่ละส่วนงานแตกต่างกัน
GPM ของ Mega We Care ~ 60%
GPM ของ Maxxcare ~ 20%
GPM ของ OEM ~ 10-20%
เนื่องจากผลกระทบในส่วนยอดขาย Mega We Care เติบโตน้อยกว่าที่บริษัทคาด (จากที่เคยโตในระดับ 2 digits) รวมไปถึงงาน OEM ที่มีน้อยในช่วงครึ่งปีแรก ส่งผลให้อัตรา NPM โดยรวมลดลง
ค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร อยู่ที่ 32.1% (ปี2013 อยู่ที่ 31.8%) เพิ่มขึ้นจากโรงงานใหม่ที่เปิดเพิ่มในต้นปี การขยายสำนักงานในแอฟริกาและลงทุนด้านบุคลากรและ logistic ในพม่าเพิ่มขึ้น
กำไรสุทธิได้ 548 ลบ. ลดลง 12.2% จากปี 2013
สินค้าในกลุ่ม Mega We Care
สินค้ามีขายอยู่จำนวน 222 ชนิด บริษัทมีจำนวนสินค้ายาที่จดขึ้นทะเบียนในแต่ละประเทศรวมแล้วมีอยู่กว่า 781 ทะเบียน
69 ชนิด ที่รอการขึ้นทะเบียน
91 ชนิด อยู่ระหว่างการพัฒนา
20 ชนิดใหม่ที่เตรียมขายในปี2015 (อาหารเสริม 7, ยาตามใบสั่งหมอ 12, ขายตามร้านยา 1)
สินค้าแบรนด์ Eugica เป็นยาและยาอมสมุนไพร แก้ไอแก้หวัดที่มีชื่อเสียงในเวียดนาม บริษัทได้ซื้อมาและได้เริ่มกระจายไปขายในประเทศต่างๆ พร้อมทั้งพัฒนาสินค้าแตกออกไปเป็นสินค้าหลายๆแบบ (ปกติสินค้ายาต้องใช้เวลาพัฒนา 2-3 ปี รวมทั้งรอการจดขึ้นทะเบียนอีก 1 ปี)
วิธีการขายสินค้า ส่วนใหญ่เน้นขายผ่านร้านยา บริษัทมีส่งเจ้าหน้าที่ในแต่ละเขตงานไปประจำอยู่ในร้านยาช่วยขายยาให้กับทางร้านและหาโอกาสให้คำแนะนำสินค้าแก่ลูกค้าไปด้วยในตัว บริษัทจะส่งยาให้ร้านยาในราคาเดียวกันทุกเจ้าแต่การจัดโปรโมชั่นขึ้นอยู่กับร้านยากำหนดวิธีการขายเอง
ธุรกิจ Maxxcare
รับกระจายสินค้าในกลุ่ม FMCG (fast-moving consumer goods) ให้กับบริษัทต่างๆในพม่า เวียดนาม และกัมพูชา รวมทั้งสินค้า Mega We Care ของบริษัท
รายได้อยู่ในรูปการให้บริการ (Fee) โดยมี GPM เริ่มตั้งแต่ ~12% บริษัทมีให้บริการตั้งแต่ กระจายสินค้า รับติดตามเก็บเงินลูกหนี้ รวมไปถึงช่วยทำการตลาดให้
ยังมองโอกาสที่จะไปทำในประเทศอื่นๆเพิ่ม อย่างในทวีปแอฟริกา ไนจีเรีย กานา ต้องดูว่ามีคู่แข่งเข้าไปทำมากน้อยขนาดไหน ถ้ามีคู่แข่งเข้าไปทำตลาดอยู่นานแล้วก็คงไม่เข้าไปทำแข่ง
บริษัทก่อตั้งในปี 2528 CEO คุณวิเวกเข้ามาบริหารบริษัทในปี 2529 จนถึงปัจจุบัน
ปี 2537 พัฒนาจากโรงงานที่เน้นรับทำ OEM มาพัฒนาแบรนด์ MEGA มาทำตลาด ถัดมาปี 2538 เริ่มทำธุรกิจจัดจำหน่ายในชื่อ Maxxcare ในพม่าและเวียดนาม
ปัจจุบันมีโรงงานในไทย 2 แห่งสามารถผลิตยาแคปซูลนิ่มได้ 3,800 ล้านแคปซูล/ปี และอีก 1 แห่งในออสเตรเลีย กำลังการผลิตยาชนิดผง 650 เมตริกตัน/ปี, ยาแคปซูลแข็ง 13 ล้านแคปซูล/ปีและ ยาเม็ด 155 ล้านเม็ด/ปี
มียาที่ขึ้นทะเบียนและจัดจำหน่ายรวม 627 ผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่เป็นโภชนเภสัช (อาหาร,วิตามินเสริม)
ปัจจุบันมีจำหน่ายสินค้าอยู่ใน 31 ประเทศ เน้นทำตลาดในประเทศที่กำลังพัฒนา
มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ๆที่ช่วยให้ผลการรักษาดีขึ้น ยกตัวอย่าง
เทคโนโลยี Clearcap ที่ช่วยให้ยาละลายในกระเพาะอาหารได้ดีขึ้น
พัฒนาสูตรยา Actisome ทำให้ร่างกายดูดซึบสารสกัดจากพืชได้ดีขึ้น
เทคโนโลยี Emulcap ทำให้ยาถูกดูดซึมเข้าร่างกายได้มากขึ้น
พนักงานกว่า 4,300 คน
กำลังการผลิตใช้อยู่ราวๆ 60-70% เมื่อยอดขายจากสินค้า Mega We Care เพิ่มขึ้น ก็ค่อยๆลดสัดส่วนงาน OEM ลง โรงงานยังสามารถรองรับการเติบโตของยอดขายได้อีกเท่าตัว
CEO เชื่อว่าด้วยศักยภาพ Organic Growth ในประเทศต่างๆ ที่บริษัทเข้าไปทำตลาด และความแข็งแกร่งของตัว Mega We Care และ Maxxcare จะสามารถเพิ่มยอดขายของบริษัทได้เป็น 2 เท่าใน 5 ปี
งบปี2014
รายได้รวม 7,750 ลบ. เพิ่มขึ้น +9.9% จากปี 2013 โดยแยกได้เป็น
Mega We Care ยอดขายเพิ่มขึ้น +5.4% แบ่งเป็น
กลุ่ม Southeast Asia แล้วยังเติบโตอยู่ 8.3% (ยอดขายในไทยชะลอตัวลง)
Africa เติบโต 17.6%
Maxxcare โต 17.9% โดยสัดส่วนหลักมาจากพม่า
ในพม่าได้ลูกค้ารายใหม่เพิ่มมา 4 ราย, เวียดนาม 2 ราย และที่กัมพูชา 3 ราย
ประเทศที่เข้าไปทำธุรกิจมีเจออุปสรรคในหลายๆเรื่อง ทั้งการเมือง โรคระบาด ภัยสงคราม อาจมองได้ว่าเป็นเหตุจากปัจจัยภายนอก
อัตรา GPM รวมลดลงเหลือ 40.3% เทียบกัน 42.1%ในปี2013 เนื่องจากอัตรากำไรขั้นต้นแต่ละส่วนงานแตกต่างกัน
GPM ของ Mega We Care ~ 60%
GPM ของ Maxxcare ~ 20%
GPM ของ OEM ~ 10-20%
เนื่องจากผลกระทบในส่วนยอดขาย Mega We Care เติบโตน้อยกว่าที่บริษัทคาด (จากที่เคยโตในระดับ 2 digits) รวมไปถึงงาน OEM ที่มีน้อยในช่วงครึ่งปีแรก ส่งผลให้อัตรา NPM โดยรวมลดลง
ค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร อยู่ที่ 32.1% (ปี2013 อยู่ที่ 31.8%) เพิ่มขึ้นจากโรงงานใหม่ที่เปิดเพิ่มในต้นปี การขยายสำนักงานในแอฟริกาและลงทุนด้านบุคลากรและ logistic ในพม่าเพิ่มขึ้น
กำไรสุทธิได้ 548 ลบ. ลดลง 12.2% จากปี 2013
สินค้าในกลุ่ม Mega We Care
สินค้ามีขายอยู่จำนวน 222 ชนิด บริษัทมีจำนวนสินค้ายาที่จดขึ้นทะเบียนในแต่ละประเทศรวมแล้วมีอยู่กว่า 781 ทะเบียน
69 ชนิด ที่รอการขึ้นทะเบียน
91 ชนิด อยู่ระหว่างการพัฒนา
20 ชนิดใหม่ที่เตรียมขายในปี2015 (อาหารเสริม 7, ยาตามใบสั่งหมอ 12, ขายตามร้านยา 1)
สินค้าแบรนด์ Eugica เป็นยาและยาอมสมุนไพร แก้ไอแก้หวัดที่มีชื่อเสียงในเวียดนาม บริษัทได้ซื้อมาและได้เริ่มกระจายไปขายในประเทศต่างๆ พร้อมทั้งพัฒนาสินค้าแตกออกไปเป็นสินค้าหลายๆแบบ (ปกติสินค้ายาต้องใช้เวลาพัฒนา 2-3 ปี รวมทั้งรอการจดขึ้นทะเบียนอีก 1 ปี)
วิธีการขายสินค้า ส่วนใหญ่เน้นขายผ่านร้านยา บริษัทมีส่งเจ้าหน้าที่ในแต่ละเขตงานไปประจำอยู่ในร้านยาช่วยขายยาให้กับทางร้านและหาโอกาสให้คำแนะนำสินค้าแก่ลูกค้าไปด้วยในตัว บริษัทจะส่งยาให้ร้านยาในราคาเดียวกันทุกเจ้าแต่การจัดโปรโมชั่นขึ้นอยู่กับร้านยากำหนดวิธีการขายเอง
ธุรกิจ Maxxcare
รับกระจายสินค้าในกลุ่ม FMCG (fast-moving consumer goods) ให้กับบริษัทต่างๆในพม่า เวียดนาม และกัมพูชา รวมทั้งสินค้า Mega We Care ของบริษัท
รายได้อยู่ในรูปการให้บริการ (Fee) โดยมี GPM เริ่มตั้งแต่ ~12% บริษัทมีให้บริการตั้งแต่ กระจายสินค้า รับติดตามเก็บเงินลูกหนี้ รวมไปถึงช่วยทำการตลาดให้
ยังมองโอกาสที่จะไปทำในประเทศอื่นๆเพิ่ม อย่างในทวีปแอฟริกา ไนจีเรีย กานา ต้องดูว่ามีคู่แข่งเข้าไปทำมากน้อยขนาดไหน ถ้ามีคู่แข่งเข้าไปทำตลาดอยู่นานแล้วก็คงไม่เข้าไปทำแข่ง
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2576
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 33
AGM SPC 27 APR 15
ผู้ถือหุ้นมาประชุม 180คน จำนวนหุ้น 269,499,009 หุ้น จากทั้งหมด 330,000,000หุ้นคิดเป็น 81.45%
คุณบุณยสิทธิ์ กล่าวเปิดประชุม และ ส่งต่อให้ คุณบุญชัย ดำเนินการแทน
Asset เฉพาะกิจการ และ รวม 18,766 , 18,956 ลบ
Debt เฉพาะกิจการ และ รวม 7,329 , 7,454 ลบ
กำไรสุทธิต่อหุ้น 3.75 บาท ปันผลหุ้นละ 1 บาท คิดเป็น 27.08% เป็นเงิน 330,000,000 บาท
คงเหลือ กำไรสะสม 6,023,076,281 บาท ซึ่งกำไรสะสมจะเก็บเงินฝากประจำ หรือลงทุน inventory
สังเกตุว่ากรรมการของบริษัท คุณเพชร เพนียงเวศ เป็นฝ่ายบริหารของPB ซึ่งผลประโยชน์ขัดแย้งกับบริษัท มีกองทุน SCBSET และ กองทุนต่างชาติคัดค้านแต่คะแนนเสียงไม่พอ ซึ่งคล้ายกับ OTC เลยต้องอนุมัติเป็นกรรมการอีกวาระ
ส่วนคะแนนและจำนวนผู้เข้าประชุม update ทุกวาระ
ข่าวดี ของ บริษัทสหพัฒนพิบูล ได้รับตราครุฑเมื่อปี 2557 เนื่องจากการทำความดีตลอดมา
Q: อาสาพิทักษ์สิทธิ์ สอบถามความคืบหน้าโครงการต่อต้านcorruption
คำอธิบายงบการเงินและ มีแผนรักษาส่วนแบ่งตลาดได้อย่างไร
A: เป็นนโยบายที่ดี ในเครือได้รับการสนใจ และ ร่างเรื่องต่อต้าน corruption อยู่ในช่วงอนุมัติผ่าน
ปัญหาเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดี ทุกคนรู้ เราตั้งเป้า 7% แต่โต 3% กำไรดีขึ้นนิดหน่อย แต่สินค้าของเราเป็นสินค้าจำเป็นเลยโดนกระทบน้อยหน่อย ของเราโตน้อย แต่ไม่ติดลบ คณะกรรมการให้ความสนใจ พร้อมปรับยุทธศาสตร์ให้แข่งขันได้ กระทบน้อยสุด
เสนอแนะภาครัฐ ร่วมมือรณรงค์กับรัฐบาลเช่น โครงการคืนความสุข ต้องช่วยกันคิดเพื่อให้เราฟื้นตัวเร็วที่สุด
จบการประชุม และ รับประทานของว่าง
ผู้ถือหุ้นมาประชุม 180คน จำนวนหุ้น 269,499,009 หุ้น จากทั้งหมด 330,000,000หุ้นคิดเป็น 81.45%
คุณบุณยสิทธิ์ กล่าวเปิดประชุม และ ส่งต่อให้ คุณบุญชัย ดำเนินการแทน
Asset เฉพาะกิจการ และ รวม 18,766 , 18,956 ลบ
Debt เฉพาะกิจการ และ รวม 7,329 , 7,454 ลบ
กำไรสุทธิต่อหุ้น 3.75 บาท ปันผลหุ้นละ 1 บาท คิดเป็น 27.08% เป็นเงิน 330,000,000 บาท
คงเหลือ กำไรสะสม 6,023,076,281 บาท ซึ่งกำไรสะสมจะเก็บเงินฝากประจำ หรือลงทุน inventory
สังเกตุว่ากรรมการของบริษัท คุณเพชร เพนียงเวศ เป็นฝ่ายบริหารของPB ซึ่งผลประโยชน์ขัดแย้งกับบริษัท มีกองทุน SCBSET และ กองทุนต่างชาติคัดค้านแต่คะแนนเสียงไม่พอ ซึ่งคล้ายกับ OTC เลยต้องอนุมัติเป็นกรรมการอีกวาระ
ส่วนคะแนนและจำนวนผู้เข้าประชุม update ทุกวาระ
ข่าวดี ของ บริษัทสหพัฒนพิบูล ได้รับตราครุฑเมื่อปี 2557 เนื่องจากการทำความดีตลอดมา
Q: อาสาพิทักษ์สิทธิ์ สอบถามความคืบหน้าโครงการต่อต้านcorruption
คำอธิบายงบการเงินและ มีแผนรักษาส่วนแบ่งตลาดได้อย่างไร
A: เป็นนโยบายที่ดี ในเครือได้รับการสนใจ และ ร่างเรื่องต่อต้าน corruption อยู่ในช่วงอนุมัติผ่าน
ปัญหาเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดี ทุกคนรู้ เราตั้งเป้า 7% แต่โต 3% กำไรดีขึ้นนิดหน่อย แต่สินค้าของเราเป็นสินค้าจำเป็นเลยโดนกระทบน้อยหน่อย ของเราโตน้อย แต่ไม่ติดลบ คณะกรรมการให้ความสนใจ พร้อมปรับยุทธศาสตร์ให้แข่งขันได้ กระทบน้อยสุด
เสนอแนะภาครัฐ ร่วมมือรณรงค์กับรัฐบาลเช่น โครงการคืนความสุข ต้องช่วยกันคิดเพื่อให้เราฟื้นตัวเร็วที่สุด
จบการประชุม และ รับประทานของว่าง
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2576
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 34
AGM OCC 27 Apr 15
ผู้ถือหุ้นมากันไม่มาก สังเกตุเห็นคุณบุณยสิทธิ์มาประชุมด้วย นั่งอยู่ในส่วนของผู้ถือหุ้น
บริษัทในเครือทั้ง4บริษัทมาจัดประชุมที่รร มณเฑียร ริเวอร์ไซด์ โดยมีห้องประชุม 2 ห้อง
เริ่มจาก OCC ก่อน เวลา 9.00 และ SPC เวลา 10.00 ที่ห้องตรงข้าม
เมื่อ OCC ประชุมเสร็จแล้วมาจัดประชุมSPI ต่อ การประชุมเร็วมากไม่เกิน 1 ชม ไม่ค่อยมีการพูดถึงผลประกอบการ
หรือแผนงานในปีนี้ เหมือนเร่งให้จบจะได้ประชุมบริษัทต่อไป
จำนวนผู้ที่มา 77 คน 47,232,708 คะแนน คิดเป็น 78.72%
Asset 1,091,943,643 บาท ,
Revenue 1,419 ล้านบาท ต้นทุนขาย 725 ล้านบาท
กำไรขั้นต้น 694 ล้านบาท
จัดสรรกำไรสุทธิ 95,491,918 บาท จ่ายปันผล 0.75 บาท คิดเป็นจำนวนเงิน 45 ล้านบาท คิดเป็น 47.12% ของกำไรสุทธิ
ทุกวาระจะมีผู้ไม่เห็นด้วยที่ส่งคะแนนล่วงหน้ามา2 ราย 3,406 เสียง
Q:อาสาพิทักษ์สิทธิ สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย อยากทราบความคืบหน้าเรื่องต่อต้านcorruption
A: ที่ประชุมเมื่อ 4 มีนาคม 2558 ประกาศให้พนักงานเข้าร่วม มีการอบรม ป้องกัน ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาทำงาน
กระบวนการอยู่ระหว่างดำเนินการ
ธุรกิจเติบโต 10% ขยายสินค้าจากหลาย supplier ให้จำหน่าย สภาพเศรษฐกิจปีนี้ไม่ต่างจากปีที่แล้ว เราก็เพิ่มการตลาดและโปรโมชั่นมากขึ้น ลดสินค้าบางตัว เพิ่มสินค้าตัวใหม่
จบการประชุม
ผู้ถือหุ้นมากันไม่มาก สังเกตุเห็นคุณบุณยสิทธิ์มาประชุมด้วย นั่งอยู่ในส่วนของผู้ถือหุ้น
บริษัทในเครือทั้ง4บริษัทมาจัดประชุมที่รร มณเฑียร ริเวอร์ไซด์ โดยมีห้องประชุม 2 ห้อง
เริ่มจาก OCC ก่อน เวลา 9.00 และ SPC เวลา 10.00 ที่ห้องตรงข้าม
เมื่อ OCC ประชุมเสร็จแล้วมาจัดประชุมSPI ต่อ การประชุมเร็วมากไม่เกิน 1 ชม ไม่ค่อยมีการพูดถึงผลประกอบการ
หรือแผนงานในปีนี้ เหมือนเร่งให้จบจะได้ประชุมบริษัทต่อไป
จำนวนผู้ที่มา 77 คน 47,232,708 คะแนน คิดเป็น 78.72%
Asset 1,091,943,643 บาท ,
Revenue 1,419 ล้านบาท ต้นทุนขาย 725 ล้านบาท
กำไรขั้นต้น 694 ล้านบาท
จัดสรรกำไรสุทธิ 95,491,918 บาท จ่ายปันผล 0.75 บาท คิดเป็นจำนวนเงิน 45 ล้านบาท คิดเป็น 47.12% ของกำไรสุทธิ
ทุกวาระจะมีผู้ไม่เห็นด้วยที่ส่งคะแนนล่วงหน้ามา2 ราย 3,406 เสียง
Q:อาสาพิทักษ์สิทธิ สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย อยากทราบความคืบหน้าเรื่องต่อต้านcorruption
A: ที่ประชุมเมื่อ 4 มีนาคม 2558 ประกาศให้พนักงานเข้าร่วม มีการอบรม ป้องกัน ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาทำงาน
กระบวนการอยู่ระหว่างดำเนินการ
ธุรกิจเติบโต 10% ขยายสินค้าจากหลาย supplier ให้จำหน่าย สภาพเศรษฐกิจปีนี้ไม่ต่างจากปีที่แล้ว เราก็เพิ่มการตลาดและโปรโมชั่นมากขึ้น ลดสินค้าบางตัว เพิ่มสินค้าตัวใหม่
จบการประชุม
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2576
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 35
AGM EARTH 30 APR 15
ห้องประชุมใหญ่ รองรับคนมาเข้าประชุมได้มาก แต่ ที่นั่งของกรรมการและประธานมีแค่3 ที่นั่งเองน้อยสุดตั้งแต่เคยประชุมมา
เรามาเข้าถึงคำถามเลยละกัน
Q: ตัวเลขถ่านหินวาระที่8 ถูกต้องหรือเปล่า ขายให้จีน 400 ล้านตัน
A: จริงๆ consumptionในจีน 4,000 ตัน และ ที่ขายไปให้จีน 50% เท่ากับ 4ล้านตันจากขายทั้งหมด 8 ล้านตัน
จีนนำเข้าสูงสุดไม่เกิน 350 ตัน อันดับ1นำเข้าของโลก ที่เหลือมีเหมืองสำหรับใช้ในประเทศ ส่วนอินเดีย 200 ตัน และมีเหมืองเหมือนกัน ขายให้อินเดีย 2 ล้านตัน
ผลการดำเนินงานปี 2557
ยอดขาย 8.39 ล้านตัน คิดเป็น 14,917 ลบ ราคาถ่านหินตก ใช้ลูกขยัน เพิ่มปริมาณการขาย กำไรเลยdrop ไป
งบดุล asset หมุนเวียน เพิ่มขึ้น เป็น 12,758 ลบ สินทรัพย์รวม 17,941 ลบ
หนี้สินหมุนเวียน เพิ่มเป็น 12,644 ลบ ส่วนผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นด้วย
กำไรขั้นต้น ลดลงจาก 16.49% เหลือ 14.90%
กำไรสุทธิ ลดลงจาก 8.22% เหลือ 6.99%
กำไรต่อหุ้น ลดลงจาก 0.39 บาท เหลือ 0.35 บาทต่อหุ้น
ยอดขายโต 10% แต่ค่าใช้จ่ายโต 13% ถ้าราคาถ่านหินเพิ่มขึ้น เราจะได้เพิ่มขึ้น
หนี้ส่วนต่อทุน 2.39 พยายามไม่ให้เกิน 3 เท่า
Q: ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร เพิ่มขึ้น
ค่าใช้จ่ายการขาย เพิ่ม 35%
และค่าใช้จ่ายการบริหารเพิ่ม 90% มาจากสาเหตุอะไร
A: เนื่องจากราคาถ่านหินลง ควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่าย
เรามาเพิ่มในส่วนขายในไทย เจอค่าขนส่ง ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่ทำให้ยอดขายได้มากขึ้น
เราปิด order จากเกาหลีได้ ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
ถ้าราคาถ่านหินไม่ตก เราจะกำไรมากกว่านี้ เรารักษาความเป็นที่1 ลูกค้าอยู่ไกลๆเราก็ไปส่ง บางทีลดราคาเพื่อรักษาลูกค้า
ผู้บริหาร ยังพอใจผลประกอบการอยู่ เงินเดือนกรรมการไม่ขึ้นมา 3 ปีแล้ว
Q: อยากทราบแผนการดำเนินงานปี 58
A: จะ growth แบบ conservative ยอดขาย10 ล้านตัน คิดเป็นยอดขาย 16,000 ล้านบาท กำไรยังไม่สามารถคาดเดาได้
แต่พยายามคุมค่าใช้จ่าย คาดว่าผลประกอบการออกมาดีที่สุด น่าจะไม่น้อยกว่า ปี57
Action plan แล้ว รอดูผลประกอบการตอนปลายปี เราจะขายให้ครบ 5 ประเทศ ไทย จีน อินเดีย เกาหลีใต้ รอ ฟิลิปปินส์ อีกประเทศ รอเซ็นต์ IOU
Q: ตอนนี้ราคาถ่านหินลดลง ขายเยอะ แต่กำไรลดลง ผมได้ข่าวลงทุนโรงไฟฟ้า 2 phase 150 MW ที่ ฟิลิปปินส์
เราจะมีรายได้เท่าไหร่
A: นอกจากขายถ่านหิน ต้องการรายได้ขายไฟ เปิด Earth power plant แบ่ง 2 ส่วน ใบอนุญาติได้ รอ PPA , ศึกษาการเงิน
ว่าถือหุ้น กี่% เราจะมีเชิญทีมผู้รู้เพื่อศึกษาโรงไฟฟ้า ที่ Philippines หลังจากนั้นไปดู จะทำโรงไฟฟ้าที่ อินโดนีเซีย และ ไทย เราจะถือหุ้นส่วนน้อยเพราะเรายังไม่พร้อม ปี 58 ศึกษาจบ เริ่มก่อสร้างปีหน้า อีก 18-24 เดือน จึงรับรู้รายได้ อยากให้เข้าปี 59 แต่ ปี 58 รับรู้รายได้ไม่ทัน
เราศึกษาเชื้อเพลิงมาใช้ในโรงไฟฟ้า มี 3 แบบคือ
1.My mouth power plant ตั้งใกล้แหล่ง ไม่มีค่าขนส่ง
2.Hydro พลังน้ำ
3.Co gas satisfiers ใช้ Gas
เราต้องทำ due diligent ทั้ง3 ส่วนที่อินโดนีเซีย
ส่วนไทย ไม่ต้องศึกษาถ่านหิน เราสนใจ Bio mass และ Solar cell
Q: สอบถามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสูงมากเมื่อเทียบกับปี 56 การขายเพิ่ม30% การบริหารเพิ่ม 50% ของรายได้มันสูงเกินไปอยากให้ชี้แจง
A: ค่าใช้จ่ายการขายและ บริหาร เราขายแบบ retail มีค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ถ้าเราลดค่าใช้จ่ายตรงนี้ ยอดขายจะdrop มีความจำเป็นจริงๆทำให้เราอาจสูญเสียลูกค้าได้ การเพิ่มราคาปลายทาง มีโอกาสหลุด เรายอมเพิ่มค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาฐานลูกค้า หรือทำให้ผลประกอบการดีขึ้น บางตัวลดไม่ได้จริงๆ
Q: ราคาน้ำมันลดลง มีผลกระทบต่อการใช้ถ่านหินปีนี้และปีหน้าอย่างไร
A: เราเฝ้าตลอดเวลา ขึ้นกับปัจจัยที่กระทบราคาถ่านหิน ดังนี้
1. Demand & Supply
2. ต้นทุน คือ น้ำมัน ขนส่งทางเรือ พอน้ำมันลด ราคาถ่านจะไปอิงกับน้ำมัน
ถ้าราคาน้ำมันขึ้น ต้นทุนขึ้น ต้องดูว่าราคาถ่านหินขึ้นหรือเปล่า ถ้าขึ้น เราก็กำไร แต่ถ้าลดลง เรามีกำไรลดลง
การตั้งราคาขาย
1.ส่วนการไฟฟ้า ใช้วิธี cost plus ต้นทุนสูง ก็ปรับราคาตาม
2.Earth ใช้วิธี cost down
ผลกระทบจาก USA เขาทำถ่านหินดินดาน ผลิต shell gas ทดแทนถ่านหินได้ ทำให้ถ่านหินในUSA มีปัญหา จะมาทำ shell gasในไทยไม่ได้
ส่วนโรงงานที่ใช้ถ่านหินอยู่ จะเปลี่ยนไปใช้น้ำมัน ไม่สามารถทำได้ต้องดัดแปลงมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
Q: แนวโน้มราคาน้ำมันต่ำสุดแล้ว จะกระทบราคาถ่านหินหรือไม่
A: ตัวน้ำมันมีผลกระทบต่อถ่านหินเพราะ มีการใช้น้ำมันในการขุดถ่านหิน และ การขนส่ง ถ้าสูง ต้นทุนเราเพิ่มขึ้น เราhappy เมื่อราคาน้ำมันสูงขึ้น เพราะเราจะขายถ่านหินได้ราคาดีขึ้น
น้ำมันเตาจะเป็นต้นทุนในการ Boiler มากกว่า ถ่านหิน ดังนั้นถ้าลูกค้าลดต้นทุน อาจเปลี่ยนการใช้น้ำมันเตาเป็นถ่านหินในกลุ่มลูกค้าของเรา และ ยังไม่ใช่ลูกค้าของเรา ส่วนโรงไฟฟ้าจะเปลี่ยนมาใช้ถ่านหินค่อนข้างยาก
Q: เรามีเหมืองถ่านหินในเกาะไหนของอินโดนีเซียบ้าง เขามีแผ่นดินไหวบ่อยมาก เช่น 7 ริกเตอร์
เราสนใจโรงไฟฟ้า เห็นด้วยน่าจะบุกพลังงานไฟฟ้า ใช้ Gas ก็มีปัญหา ไทยคงหนีใช้ถ่านหินไม่พ้น EGAT ตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินเราไปร่วมกับเขาได้ไหม
A: 1.อินโด ถ้าเรายืนอยู่ในไทย อินโดมี 3-4 เกาะใหญ่ ตรงกลางบอร์เนียว อุ้มด้วยเกาะยาวๆ เกาะสุมาตรา เช่น อะเจ๊ ซึนามิสัดมาถูกอะเจ๊ มันซัดไปทั้งคุกเลย หลุดมาเข้าภูเก็ตพังงา แผ่นดินไหว อยู่สุมาตรา
เหมืองเราอยู่เกาะบอร์เนียว ได้บ่อน้ำมัน ใต้บอร์เนียว เป็นมาเลเซีย เป็นป่าไม้เยอะ
South กะลิมันตัน ซึ่งเราเคยเปิด ตอนนี้ย้ายไป East กะลิมันตัน เราเจอแต่ฝนตก ภัยธรรมชาติไม่มี
เราไม่ไป สุมาตรา ถ่านหิน ความชื้นสูง ความร้อน drop และต้นทุนค่าขนส่งสูง
2.เราแต่งตั้งMD บริษัทย่อย นโยบายประธานาธิบดี ต้องการให้ผลิตไฟ 35,000 MW ก็เลยปล่อยเต็มที่
ส่วนฝั่งไทย กฟผ จะลุยโรงไฟฟ้า 9 แห่ง 5 ปี 600,000 ล้านบาท ถ้าใช้ถ่านหิน เราก็supply ถ่านหินได้
เราเข้า Biomass , Solar cell มากกว่า
โรงไฟฟ้า ถ่านหิน Prove ที่ Japan ซัลเฟอร์จากถ่านหินน้อยมากเกิดตอนเผาไหม้เท่านั้น
เมืองไทยอาจเกิดได้เร็วๆนี้ เราก็มีโอกาสมาก
Q: เงินกู้ระยะยาวหน้า 171 เพิ่มขึ้น 1,000 กว่าล้านบาท กู้เป็นทุนหมุนเวียน อยากทราบรายละเอียดว่านำไปทำอะไรบ้าง
ถ้าเราเรียกเก็บหนี้เร็วขึ้น จะลดยอดหนี้ลงได้
A: กู้จากกรุงไทย 40 ล้านเหรียญ ซื้อเหมืองประมาณ 118 ล้านเหรียญ เอากำไรไปซื้อ working cap ไปกู้ระยะสั้น
กรุงไทยให้กู้เพื่อไปลงทุน Reinvestment ในเหมือง ผ่อน 4-5 ปี ตอนลงบัญชีต้องconvert เป็นบาท อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 3.5% เราเก็บเงินแบบ KYC บางครั้งเก็บช้าเพื่อแลก order เพิ่ม
ลูกค้าในไทย ต้องทำ KYC กับกรุงไทย ก่อนจึงทำธุรกรรมได้
Q: หนี้สงสัยสูญ 41 ลบ เพิ่มขึ้นเยอะ
A: เราตั้งสำรอง ตอนทำเหมืองพม่า ต่อมาเราไม่ไปร่วม เราส่งถ่านหิน และ ค่อยๆตัดไป เราไม่ไปร่วมพม่าเพราะเจอต่างชาติถามเรื่อง Human right เราเลยตั้งสำรองไว้ เพื่อรับรู้รายได้นานขึ้น
เวลาเราขายถ่าน รับเป็น LC เราใช้เรือ อิหร่าน shipment นั้นเก็บเงินไม่ได้เลย
บางครั้งเปิด LC จากฮ่องกง ทางUS สั่งหยุดจ่ายเพราะเรือ สัญชาติอิหร่าน เราแย้งว่าขายแบบ FOB
บางครั้ง ต้องใช้เวลากว่า 3 สัปดาห์ในการพิสูจน์ว่าเรือมาจากฮ่องกง ไม่ใช่อิหร่าน
บางครั้งประกันไม่รับถ้าเป็นเรืออิหร่าน บางครั้งมองเป็นรายกัปตันพม่า เซ็นต์อาจเก็บเงินไม่ได้
Q: พูดถึงความเสี่ยงสัญชาติเรือ หรือ ชนกลุ่มน้อย เอาเป็นประเด็นหลักอะไรบ้าง บริหารความเสี่ยงอย่างไร
A: มีกรรมการบริหารความเสี่ยง review ทุกไตรมาส
ทุกตัวมีการ review ได้แก่
1. แหล่งวัตถุดิบ อินโดที่เดียว ความเสี่ยงจะปิดในตัวของมันเอง อันดับ1 Australia 2. Indonesia
เขาต้องการนักลงทุนต่างชาติ อาจปรับ เช่น เพิ่มมูลค่าการส่งออก
เรามีความเสี่ยงในการถือหุ้นไม่เกิน 49% เมื่อเปิดบริษัทเกิน 10 ปี เราแก้โดยทยอยซื้อเหมืองไม่ซื้อทีเดียว
2. เราซื้อเป็นUS และ ขาย เป็น US Natural Hedging
3. เราขาย retail เราใช้ cost plus
เราขาย wholesale ขายตามราคาตลาดโลก เราคุยเฉพาะปริมาณ ส่วนราคาจะคุยกันตอนเปิด L/C
ห้องประชุมใหญ่ รองรับคนมาเข้าประชุมได้มาก แต่ ที่นั่งของกรรมการและประธานมีแค่3 ที่นั่งเองน้อยสุดตั้งแต่เคยประชุมมา
เรามาเข้าถึงคำถามเลยละกัน
Q: ตัวเลขถ่านหินวาระที่8 ถูกต้องหรือเปล่า ขายให้จีน 400 ล้านตัน
A: จริงๆ consumptionในจีน 4,000 ตัน และ ที่ขายไปให้จีน 50% เท่ากับ 4ล้านตันจากขายทั้งหมด 8 ล้านตัน
จีนนำเข้าสูงสุดไม่เกิน 350 ตัน อันดับ1นำเข้าของโลก ที่เหลือมีเหมืองสำหรับใช้ในประเทศ ส่วนอินเดีย 200 ตัน และมีเหมืองเหมือนกัน ขายให้อินเดีย 2 ล้านตัน
ผลการดำเนินงานปี 2557
ยอดขาย 8.39 ล้านตัน คิดเป็น 14,917 ลบ ราคาถ่านหินตก ใช้ลูกขยัน เพิ่มปริมาณการขาย กำไรเลยdrop ไป
งบดุล asset หมุนเวียน เพิ่มขึ้น เป็น 12,758 ลบ สินทรัพย์รวม 17,941 ลบ
หนี้สินหมุนเวียน เพิ่มเป็น 12,644 ลบ ส่วนผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นด้วย
กำไรขั้นต้น ลดลงจาก 16.49% เหลือ 14.90%
กำไรสุทธิ ลดลงจาก 8.22% เหลือ 6.99%
กำไรต่อหุ้น ลดลงจาก 0.39 บาท เหลือ 0.35 บาทต่อหุ้น
ยอดขายโต 10% แต่ค่าใช้จ่ายโต 13% ถ้าราคาถ่านหินเพิ่มขึ้น เราจะได้เพิ่มขึ้น
หนี้ส่วนต่อทุน 2.39 พยายามไม่ให้เกิน 3 เท่า
Q: ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร เพิ่มขึ้น
ค่าใช้จ่ายการขาย เพิ่ม 35%
และค่าใช้จ่ายการบริหารเพิ่ม 90% มาจากสาเหตุอะไร
A: เนื่องจากราคาถ่านหินลง ควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่าย
เรามาเพิ่มในส่วนขายในไทย เจอค่าขนส่ง ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่ทำให้ยอดขายได้มากขึ้น
เราปิด order จากเกาหลีได้ ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
ถ้าราคาถ่านหินไม่ตก เราจะกำไรมากกว่านี้ เรารักษาความเป็นที่1 ลูกค้าอยู่ไกลๆเราก็ไปส่ง บางทีลดราคาเพื่อรักษาลูกค้า
ผู้บริหาร ยังพอใจผลประกอบการอยู่ เงินเดือนกรรมการไม่ขึ้นมา 3 ปีแล้ว
Q: อยากทราบแผนการดำเนินงานปี 58
A: จะ growth แบบ conservative ยอดขาย10 ล้านตัน คิดเป็นยอดขาย 16,000 ล้านบาท กำไรยังไม่สามารถคาดเดาได้
แต่พยายามคุมค่าใช้จ่าย คาดว่าผลประกอบการออกมาดีที่สุด น่าจะไม่น้อยกว่า ปี57
Action plan แล้ว รอดูผลประกอบการตอนปลายปี เราจะขายให้ครบ 5 ประเทศ ไทย จีน อินเดีย เกาหลีใต้ รอ ฟิลิปปินส์ อีกประเทศ รอเซ็นต์ IOU
Q: ตอนนี้ราคาถ่านหินลดลง ขายเยอะ แต่กำไรลดลง ผมได้ข่าวลงทุนโรงไฟฟ้า 2 phase 150 MW ที่ ฟิลิปปินส์
เราจะมีรายได้เท่าไหร่
A: นอกจากขายถ่านหิน ต้องการรายได้ขายไฟ เปิด Earth power plant แบ่ง 2 ส่วน ใบอนุญาติได้ รอ PPA , ศึกษาการเงิน
ว่าถือหุ้น กี่% เราจะมีเชิญทีมผู้รู้เพื่อศึกษาโรงไฟฟ้า ที่ Philippines หลังจากนั้นไปดู จะทำโรงไฟฟ้าที่ อินโดนีเซีย และ ไทย เราจะถือหุ้นส่วนน้อยเพราะเรายังไม่พร้อม ปี 58 ศึกษาจบ เริ่มก่อสร้างปีหน้า อีก 18-24 เดือน จึงรับรู้รายได้ อยากให้เข้าปี 59 แต่ ปี 58 รับรู้รายได้ไม่ทัน
เราศึกษาเชื้อเพลิงมาใช้ในโรงไฟฟ้า มี 3 แบบคือ
1.My mouth power plant ตั้งใกล้แหล่ง ไม่มีค่าขนส่ง
2.Hydro พลังน้ำ
3.Co gas satisfiers ใช้ Gas
เราต้องทำ due diligent ทั้ง3 ส่วนที่อินโดนีเซีย
ส่วนไทย ไม่ต้องศึกษาถ่านหิน เราสนใจ Bio mass และ Solar cell
Q: สอบถามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นสูงมากเมื่อเทียบกับปี 56 การขายเพิ่ม30% การบริหารเพิ่ม 50% ของรายได้มันสูงเกินไปอยากให้ชี้แจง
A: ค่าใช้จ่ายการขายและ บริหาร เราขายแบบ retail มีค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ถ้าเราลดค่าใช้จ่ายตรงนี้ ยอดขายจะdrop มีความจำเป็นจริงๆทำให้เราอาจสูญเสียลูกค้าได้ การเพิ่มราคาปลายทาง มีโอกาสหลุด เรายอมเพิ่มค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาฐานลูกค้า หรือทำให้ผลประกอบการดีขึ้น บางตัวลดไม่ได้จริงๆ
Q: ราคาน้ำมันลดลง มีผลกระทบต่อการใช้ถ่านหินปีนี้และปีหน้าอย่างไร
A: เราเฝ้าตลอดเวลา ขึ้นกับปัจจัยที่กระทบราคาถ่านหิน ดังนี้
1. Demand & Supply
2. ต้นทุน คือ น้ำมัน ขนส่งทางเรือ พอน้ำมันลด ราคาถ่านจะไปอิงกับน้ำมัน
ถ้าราคาน้ำมันขึ้น ต้นทุนขึ้น ต้องดูว่าราคาถ่านหินขึ้นหรือเปล่า ถ้าขึ้น เราก็กำไร แต่ถ้าลดลง เรามีกำไรลดลง
การตั้งราคาขาย
1.ส่วนการไฟฟ้า ใช้วิธี cost plus ต้นทุนสูง ก็ปรับราคาตาม
2.Earth ใช้วิธี cost down
ผลกระทบจาก USA เขาทำถ่านหินดินดาน ผลิต shell gas ทดแทนถ่านหินได้ ทำให้ถ่านหินในUSA มีปัญหา จะมาทำ shell gasในไทยไม่ได้
ส่วนโรงงานที่ใช้ถ่านหินอยู่ จะเปลี่ยนไปใช้น้ำมัน ไม่สามารถทำได้ต้องดัดแปลงมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
Q: แนวโน้มราคาน้ำมันต่ำสุดแล้ว จะกระทบราคาถ่านหินหรือไม่
A: ตัวน้ำมันมีผลกระทบต่อถ่านหินเพราะ มีการใช้น้ำมันในการขุดถ่านหิน และ การขนส่ง ถ้าสูง ต้นทุนเราเพิ่มขึ้น เราhappy เมื่อราคาน้ำมันสูงขึ้น เพราะเราจะขายถ่านหินได้ราคาดีขึ้น
น้ำมันเตาจะเป็นต้นทุนในการ Boiler มากกว่า ถ่านหิน ดังนั้นถ้าลูกค้าลดต้นทุน อาจเปลี่ยนการใช้น้ำมันเตาเป็นถ่านหินในกลุ่มลูกค้าของเรา และ ยังไม่ใช่ลูกค้าของเรา ส่วนโรงไฟฟ้าจะเปลี่ยนมาใช้ถ่านหินค่อนข้างยาก
Q: เรามีเหมืองถ่านหินในเกาะไหนของอินโดนีเซียบ้าง เขามีแผ่นดินไหวบ่อยมาก เช่น 7 ริกเตอร์
เราสนใจโรงไฟฟ้า เห็นด้วยน่าจะบุกพลังงานไฟฟ้า ใช้ Gas ก็มีปัญหา ไทยคงหนีใช้ถ่านหินไม่พ้น EGAT ตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินเราไปร่วมกับเขาได้ไหม
A: 1.อินโด ถ้าเรายืนอยู่ในไทย อินโดมี 3-4 เกาะใหญ่ ตรงกลางบอร์เนียว อุ้มด้วยเกาะยาวๆ เกาะสุมาตรา เช่น อะเจ๊ ซึนามิสัดมาถูกอะเจ๊ มันซัดไปทั้งคุกเลย หลุดมาเข้าภูเก็ตพังงา แผ่นดินไหว อยู่สุมาตรา
เหมืองเราอยู่เกาะบอร์เนียว ได้บ่อน้ำมัน ใต้บอร์เนียว เป็นมาเลเซีย เป็นป่าไม้เยอะ
South กะลิมันตัน ซึ่งเราเคยเปิด ตอนนี้ย้ายไป East กะลิมันตัน เราเจอแต่ฝนตก ภัยธรรมชาติไม่มี
เราไม่ไป สุมาตรา ถ่านหิน ความชื้นสูง ความร้อน drop และต้นทุนค่าขนส่งสูง
2.เราแต่งตั้งMD บริษัทย่อย นโยบายประธานาธิบดี ต้องการให้ผลิตไฟ 35,000 MW ก็เลยปล่อยเต็มที่
ส่วนฝั่งไทย กฟผ จะลุยโรงไฟฟ้า 9 แห่ง 5 ปี 600,000 ล้านบาท ถ้าใช้ถ่านหิน เราก็supply ถ่านหินได้
เราเข้า Biomass , Solar cell มากกว่า
โรงไฟฟ้า ถ่านหิน Prove ที่ Japan ซัลเฟอร์จากถ่านหินน้อยมากเกิดตอนเผาไหม้เท่านั้น
เมืองไทยอาจเกิดได้เร็วๆนี้ เราก็มีโอกาสมาก
Q: เงินกู้ระยะยาวหน้า 171 เพิ่มขึ้น 1,000 กว่าล้านบาท กู้เป็นทุนหมุนเวียน อยากทราบรายละเอียดว่านำไปทำอะไรบ้าง
ถ้าเราเรียกเก็บหนี้เร็วขึ้น จะลดยอดหนี้ลงได้
A: กู้จากกรุงไทย 40 ล้านเหรียญ ซื้อเหมืองประมาณ 118 ล้านเหรียญ เอากำไรไปซื้อ working cap ไปกู้ระยะสั้น
กรุงไทยให้กู้เพื่อไปลงทุน Reinvestment ในเหมือง ผ่อน 4-5 ปี ตอนลงบัญชีต้องconvert เป็นบาท อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 3.5% เราเก็บเงินแบบ KYC บางครั้งเก็บช้าเพื่อแลก order เพิ่ม
ลูกค้าในไทย ต้องทำ KYC กับกรุงไทย ก่อนจึงทำธุรกรรมได้
Q: หนี้สงสัยสูญ 41 ลบ เพิ่มขึ้นเยอะ
A: เราตั้งสำรอง ตอนทำเหมืองพม่า ต่อมาเราไม่ไปร่วม เราส่งถ่านหิน และ ค่อยๆตัดไป เราไม่ไปร่วมพม่าเพราะเจอต่างชาติถามเรื่อง Human right เราเลยตั้งสำรองไว้ เพื่อรับรู้รายได้นานขึ้น
เวลาเราขายถ่าน รับเป็น LC เราใช้เรือ อิหร่าน shipment นั้นเก็บเงินไม่ได้เลย
บางครั้งเปิด LC จากฮ่องกง ทางUS สั่งหยุดจ่ายเพราะเรือ สัญชาติอิหร่าน เราแย้งว่าขายแบบ FOB
บางครั้ง ต้องใช้เวลากว่า 3 สัปดาห์ในการพิสูจน์ว่าเรือมาจากฮ่องกง ไม่ใช่อิหร่าน
บางครั้งประกันไม่รับถ้าเป็นเรืออิหร่าน บางครั้งมองเป็นรายกัปตันพม่า เซ็นต์อาจเก็บเงินไม่ได้
Q: พูดถึงความเสี่ยงสัญชาติเรือ หรือ ชนกลุ่มน้อย เอาเป็นประเด็นหลักอะไรบ้าง บริหารความเสี่ยงอย่างไร
A: มีกรรมการบริหารความเสี่ยง review ทุกไตรมาส
ทุกตัวมีการ review ได้แก่
1. แหล่งวัตถุดิบ อินโดที่เดียว ความเสี่ยงจะปิดในตัวของมันเอง อันดับ1 Australia 2. Indonesia
เขาต้องการนักลงทุนต่างชาติ อาจปรับ เช่น เพิ่มมูลค่าการส่งออก
เรามีความเสี่ยงในการถือหุ้นไม่เกิน 49% เมื่อเปิดบริษัทเกิน 10 ปี เราแก้โดยทยอยซื้อเหมืองไม่ซื้อทีเดียว
2. เราซื้อเป็นUS และ ขาย เป็น US Natural Hedging
3. เราขาย retail เราใช้ cost plus
เราขาย wholesale ขายตามราคาตลาดโลก เราคุยเฉพาะปริมาณ ส่วนราคาจะคุยกันตอนเปิด L/C
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2576
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 36
AGM IFEC 30 apr 15
ผู้ถือหุ้นเข้ามาประชุมทั้งหมด 508 ราย ถือหุ้น 602,795,162 หุ้น คิดเป็น 34.6887% ครบองค์ประชุมเพราะเกิน 1 ใน 3 แต่เลยเวลาประชุมไป 30 นาที มีเพือนที่เรียน MBA ด้วยกัน คุณจิระยงค์ บริษัท เจดี พาร์ตเนอร์ (JayDee Partners)
เป็นที่ปรึกษาออกหุ้นกู้แปลงสภาพ มาร่วมด้วย และเป็นคน present หุ้นกู้แปลงสภาพ ให้ผู้ถือหุ้นฟัง
วาระแรก ผู้ถือหุ้นเพิ่มเป็น 548 ราย เป็น 663,241,572 หุ้น
งบเฉพาะกิจ บริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 67.53 %
ผลการดำเนินงานงบรวม กำไรสุทธิ หักกลบดอกเบี้ย กับบริษัทย่อย
และ ผลขาดทุนจากบริษัทย่อย ifec บริษัทย่อยพึ่งลงทุน บางแห่งพึ่งเปิดจึงไม่มีรายได้ บางแห่งพึ่งรายได้ 2 เดือน
กำไรสุทธิ 172.29 ลบ จ่ายปันผลหลังสำรองตามกฎหมาย 8.05 ลบ เป็นหุ้นสามัญ 20:1 และ เงินสด 0.01 บาท ต่อหุ้น คิดเป็นเงินปันผลรวม 0.06 บาทต่อหุ้น หักภาษีณที่จ่าย 10% XD 19/5/15
Q: ขอเสนอในหนังสือเชิญประชุมสรุปสาระสำคัญงบการเงิน และปีนี้ไม่มีแจกหนังสือรายงานประจำปี 2557
A: รับขอเสนอไว้ทั้งหมด ใครอยากได้หนังสือให้ไปลงชื่อไว้ ผมไปลงชื่อเรียบร้อย
Q:ค่าตรวจสอบปีที่แล้วเพิ่มขึ้นมากในปีนี้เพราะอะไร และ ที่กัมพูชาจะมีความเสี่ยงเรื่องเก็บเงินไม่ได้หรือเปล่า
A:ค่าใช้จ่ายเพิ่มจากตรวจสอบบริษัทย่อย
ตอนเข้ามาAcquire บริษัทย่อย ไล่เทค โรงไฟฟ้า solar , biomass 5.8 MW จะให้ถึง 9MW
การตรวจสอบต่อรองมาพอสมควร เพราะตรวจสอบยาก ยังมีที่กัมพูชาด้วย ตอนนี้น่าลงทุนที่สุด เป็น interlaw
ธนาคารปล่อยกู้ให้กัมพูชาอันดับหนึ่ง
Q: IFEC - W1 ราคาใช้สิทธิแค่1บาท ทำไมตัวใหม่ ราคาใช้สิทธิ 25 บาท
A: แผนงานใช้เงินเยอะมาก ถ้าเราให้ราคาสิทธิ ต่ำจะได้เงินน้อย และ ไม่อยากให้เจอ dilution effect
และวันนี้ ไปพลังงานทางเลือก solar farm , win เลยต้องการเงินทุนสูง
Q:ราคาใช้สิทธิ 25 บาท มีความมั่นใจว่าราคาจะถึงใน พค ปีหน้าขนาดไหน
A:ทางกองทุนเตรียมเต็มรูปแบบ ผู้บริหารทุกคนออกเดินสายหมด เราจะมีการ XD 14 พค ได้ลูกหุ้นแล้ว
และมีสิทธิได้ W2 อัตรา 4:1 ในเดือนมิย
Q: ที่บอกว่าเชื่อมั่นมาก เรามีมาตราการอย่างไรถ้าคนไม่แปลงwarrant
A: project win , กัมพูชา มีแนวโน้มได้เยอะขึ้น ที่กัมพูชา ยากตรงที่ shipping ไปที่นั่น เราได้ราคาดี 20 MW ถ้าเราทำได้ดีเราจะได้projectมากขึ้น มูลค่า W2 สามารถซื้อขายในตลาด มันมี time value
ถ้าผลักดันราคา 20 บาท ราคาก็จะเพิ่มขึ้น เทียบกับเราได้ฟรี
IFEC Cambodia แดด ลม Biomass ได้ค่าไฟ 26 cent US ต่อ หน่วย แดดที่นั่นดีมาก สามารถขายไฟได้ยาวขึ้น
การออก หุ้นกู้แปลงสภาพ จำนวน 1,992 ลบ เพื่อลงทุนในproject ต่างๆ ขายให้ AO fund ซึ่งนับเป็นนักลงทุนสถาบันอันดับที่ 10 ที่มาลงทุนใน IFEC
Dilution effect ขึ้นกับราคาแปลงสภาพ ถ้าต่ำกว่า 90%ของราคาตลาด 7-15 วันทำการ หุ้นที่ได้รับการแปลงสภาพจะถูก silent period โดยให้อัตราดอกเบี้ย 1 %
ราคาแปลงสภาพสามารถเลือกได้2อย่างคือ
1. ราคาแปลงสภาพคงที่ 145% ของราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 45 วันก่อนวันที่กำหนดออก หรือ sign
2. ราคาแปลงสภาพลอยตัว 90% ของราคาถัวเฉลี่ย 3 วันทำการใดติดต่อกัน ในระหว่าง 45 วันก่อนวันที่ใช้สิทธิแปลงสภาพ
ขึ้นกับกองทุนเลือก และ จำนวนหุ้นใหม่เพื่อรองรับการแปลงสภาพ ไม่เกิน 150 ล้านหุ้น แต่ถ้าแปลงเกิน จะจ่ายเป็นเงินสด ไม่มีการการันตีกำไรให้กับ AO FUND
รายได้จากการออกหุ้นกู้แปลงสภาพ คือ ลดหนี้ และ ลงทุนในproject เดิมและ ใหม่ จะสร้างรายได้ให้กับบริษัท 460 ลบ
Q: เราไม่เห็นรายได้จากการออกหุ้นกู้แปลงสภาพ แต่ ราคาต้องผันผวนแน่นอน การเพิ่มทุนคราว ตค 14 ทำไมไม่เพิ่มทุนให้เสร็จ ผู้ถือหุ้นเดิม ถามว่าทำไมไม่เพิ่มกับผู้ถือหุ้นเดิม เอาพลังงานลมของดร สุเมศเป็นตัวประกัน ถ้าไม่มีเงินก้อนนี้จะCOD ได้หรือไม่ เวลาในการออกรีบไปหรือเปล่า ผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ฝากให้พิจารณา
A: AOP FUND ไม่มีนโยบายบริหารบริษัท ดังนั้นขึ้นกับบริษัทเอาเงินไปใช้ประโยชน์มากน้อยขนาดไหน การออกหุ้นกู้เป็นชุดๆมาจากบริษัทไม่ใช่จากกองทุน เพราะต้องการใช้เงินเป็นช่วง
พลังงานลม ถ้ากู้จากธนาคารค่อนข้างยาก แต่ ถ้าเป็นที่ประเทศเกาหลีจะง่ายเพราะเข้าใจดี ดังนั้น AOP FUND เป็น Strategic partner ที่ดี ขนาดที่ออกใหญ่สุดในไทย ซึ่งจะเป็นหนึ่งในทางเลือกการจัดหาทุน ราคาหลังออกไม่ควรต่ำกว่า 13 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาในตลาด
ตอนนี้เงินทุนยังเหลืออยู่ แต่ถ้า project รัฐบาล ชลอการออก ถ้ารอไปพฤษภาคม กฎกระทรวง 800 MW จะออกทันไหม เราเป็น 1 ใน candidate ถ้าในประเทศไม่เกิด เราต้องวิ่งไป กัมพูชา เกาหลี บรูไน ถ้าproject มา แล้วเงินหาไม่ทันก็เกิดปัญหา
ดร สุเมธ แจ้งว่า ระยะเวลา COD ไม่มีผลมาจาก การออกหุ้นกู้แปลงสภาพ เราได้เซ็นต์สัญญาว่าจ้างไปแล้ว เสร็จQ2 และ เริ่มรับรายได้ต้น Q4 15 แผนงานของลม ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าใช้แหล่งเงินอันไหน เราเลือก จาก PP หรือ แหล่งเงินที่ดีกว่า ต้องตัดสินใจอีกครั้ง
Q: ต้นทุนการออก 4% เป็นดอกเบี้ยหรือเปล่า
A: เป็นค่าธรรมเนียมออกหุ้นกู้ จะคิดถ้าบริษัท Drawdown เงิน ถ้าดอกเบี้ย ร้อยละ 1
เราต้องเตรียมเงินไว้ ถ้า 6 พค เปิดมาให้ประมูล 800 MW เราต้องเตรียมเงินมัดจำ และ สั่งซื้อของ ถ้าไม่มีเงิน ของก็ไม่มา
ส่วนโรงไฟฟ้า ใช้เทคโนโลยียุโรป สร้างแค่ 2 เดือน ส่วนกำหนดส่งงานไม่รู้ว่าเลื่อนจาก ธค 15 หรือเปล่า ได้ข่าวมาแต่ไม่ยืนยันว่าเลื่อนการส่งงานไปปีหน้า จริงหรือเปล่า
Q: Strategic partner ไม่มีใครออก ช่วยยืนยันด้วยคะ และ ได้สิทธิPP แล้วทำไมได้ offering ด้วย
ผู้ถือหุ้น 23 ราย หายไป 17 ราย จากดูรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ ณ ปิดสมุดคราวนี้ คราวนี้อาสาพิทักษ์สิทธิเอาจริง มีรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ พิมพ์อยู่ในมือตอนถามด้วย
A: ผู้ถือหุ้น 10 อันดับแรก ซื้อเพิ่มพอสมควร ณ วันนั้น board อนุมัติราคา 6 บาท ในราคาตลาด 5 บาท เราให้สิทธิ RO 9:1 ด้วย ผู้ถือหุ้นหลัก เช่น คุณนเรศ ก็ยังอยู่ อาจหายในส่วนที่ซื้อผ่านบล
ผู้ถือหุ้นเข้ามาประชุมทั้งหมด 508 ราย ถือหุ้น 602,795,162 หุ้น คิดเป็น 34.6887% ครบองค์ประชุมเพราะเกิน 1 ใน 3 แต่เลยเวลาประชุมไป 30 นาที มีเพือนที่เรียน MBA ด้วยกัน คุณจิระยงค์ บริษัท เจดี พาร์ตเนอร์ (JayDee Partners)
เป็นที่ปรึกษาออกหุ้นกู้แปลงสภาพ มาร่วมด้วย และเป็นคน present หุ้นกู้แปลงสภาพ ให้ผู้ถือหุ้นฟัง
วาระแรก ผู้ถือหุ้นเพิ่มเป็น 548 ราย เป็น 663,241,572 หุ้น
งบเฉพาะกิจ บริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 67.53 %
ผลการดำเนินงานงบรวม กำไรสุทธิ หักกลบดอกเบี้ย กับบริษัทย่อย
และ ผลขาดทุนจากบริษัทย่อย ifec บริษัทย่อยพึ่งลงทุน บางแห่งพึ่งเปิดจึงไม่มีรายได้ บางแห่งพึ่งรายได้ 2 เดือน
กำไรสุทธิ 172.29 ลบ จ่ายปันผลหลังสำรองตามกฎหมาย 8.05 ลบ เป็นหุ้นสามัญ 20:1 และ เงินสด 0.01 บาท ต่อหุ้น คิดเป็นเงินปันผลรวม 0.06 บาทต่อหุ้น หักภาษีณที่จ่าย 10% XD 19/5/15
Q: ขอเสนอในหนังสือเชิญประชุมสรุปสาระสำคัญงบการเงิน และปีนี้ไม่มีแจกหนังสือรายงานประจำปี 2557
A: รับขอเสนอไว้ทั้งหมด ใครอยากได้หนังสือให้ไปลงชื่อไว้ ผมไปลงชื่อเรียบร้อย
Q:ค่าตรวจสอบปีที่แล้วเพิ่มขึ้นมากในปีนี้เพราะอะไร และ ที่กัมพูชาจะมีความเสี่ยงเรื่องเก็บเงินไม่ได้หรือเปล่า
A:ค่าใช้จ่ายเพิ่มจากตรวจสอบบริษัทย่อย
ตอนเข้ามาAcquire บริษัทย่อย ไล่เทค โรงไฟฟ้า solar , biomass 5.8 MW จะให้ถึง 9MW
การตรวจสอบต่อรองมาพอสมควร เพราะตรวจสอบยาก ยังมีที่กัมพูชาด้วย ตอนนี้น่าลงทุนที่สุด เป็น interlaw
ธนาคารปล่อยกู้ให้กัมพูชาอันดับหนึ่ง
Q: IFEC - W1 ราคาใช้สิทธิแค่1บาท ทำไมตัวใหม่ ราคาใช้สิทธิ 25 บาท
A: แผนงานใช้เงินเยอะมาก ถ้าเราให้ราคาสิทธิ ต่ำจะได้เงินน้อย และ ไม่อยากให้เจอ dilution effect
และวันนี้ ไปพลังงานทางเลือก solar farm , win เลยต้องการเงินทุนสูง
Q:ราคาใช้สิทธิ 25 บาท มีความมั่นใจว่าราคาจะถึงใน พค ปีหน้าขนาดไหน
A:ทางกองทุนเตรียมเต็มรูปแบบ ผู้บริหารทุกคนออกเดินสายหมด เราจะมีการ XD 14 พค ได้ลูกหุ้นแล้ว
และมีสิทธิได้ W2 อัตรา 4:1 ในเดือนมิย
Q: ที่บอกว่าเชื่อมั่นมาก เรามีมาตราการอย่างไรถ้าคนไม่แปลงwarrant
A: project win , กัมพูชา มีแนวโน้มได้เยอะขึ้น ที่กัมพูชา ยากตรงที่ shipping ไปที่นั่น เราได้ราคาดี 20 MW ถ้าเราทำได้ดีเราจะได้projectมากขึ้น มูลค่า W2 สามารถซื้อขายในตลาด มันมี time value
ถ้าผลักดันราคา 20 บาท ราคาก็จะเพิ่มขึ้น เทียบกับเราได้ฟรี
IFEC Cambodia แดด ลม Biomass ได้ค่าไฟ 26 cent US ต่อ หน่วย แดดที่นั่นดีมาก สามารถขายไฟได้ยาวขึ้น
การออก หุ้นกู้แปลงสภาพ จำนวน 1,992 ลบ เพื่อลงทุนในproject ต่างๆ ขายให้ AO fund ซึ่งนับเป็นนักลงทุนสถาบันอันดับที่ 10 ที่มาลงทุนใน IFEC
Dilution effect ขึ้นกับราคาแปลงสภาพ ถ้าต่ำกว่า 90%ของราคาตลาด 7-15 วันทำการ หุ้นที่ได้รับการแปลงสภาพจะถูก silent period โดยให้อัตราดอกเบี้ย 1 %
ราคาแปลงสภาพสามารถเลือกได้2อย่างคือ
1. ราคาแปลงสภาพคงที่ 145% ของราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 45 วันก่อนวันที่กำหนดออก หรือ sign
2. ราคาแปลงสภาพลอยตัว 90% ของราคาถัวเฉลี่ย 3 วันทำการใดติดต่อกัน ในระหว่าง 45 วันก่อนวันที่ใช้สิทธิแปลงสภาพ
ขึ้นกับกองทุนเลือก และ จำนวนหุ้นใหม่เพื่อรองรับการแปลงสภาพ ไม่เกิน 150 ล้านหุ้น แต่ถ้าแปลงเกิน จะจ่ายเป็นเงินสด ไม่มีการการันตีกำไรให้กับ AO FUND
รายได้จากการออกหุ้นกู้แปลงสภาพ คือ ลดหนี้ และ ลงทุนในproject เดิมและ ใหม่ จะสร้างรายได้ให้กับบริษัท 460 ลบ
Q: เราไม่เห็นรายได้จากการออกหุ้นกู้แปลงสภาพ แต่ ราคาต้องผันผวนแน่นอน การเพิ่มทุนคราว ตค 14 ทำไมไม่เพิ่มทุนให้เสร็จ ผู้ถือหุ้นเดิม ถามว่าทำไมไม่เพิ่มกับผู้ถือหุ้นเดิม เอาพลังงานลมของดร สุเมศเป็นตัวประกัน ถ้าไม่มีเงินก้อนนี้จะCOD ได้หรือไม่ เวลาในการออกรีบไปหรือเปล่า ผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ฝากให้พิจารณา
A: AOP FUND ไม่มีนโยบายบริหารบริษัท ดังนั้นขึ้นกับบริษัทเอาเงินไปใช้ประโยชน์มากน้อยขนาดไหน การออกหุ้นกู้เป็นชุดๆมาจากบริษัทไม่ใช่จากกองทุน เพราะต้องการใช้เงินเป็นช่วง
พลังงานลม ถ้ากู้จากธนาคารค่อนข้างยาก แต่ ถ้าเป็นที่ประเทศเกาหลีจะง่ายเพราะเข้าใจดี ดังนั้น AOP FUND เป็น Strategic partner ที่ดี ขนาดที่ออกใหญ่สุดในไทย ซึ่งจะเป็นหนึ่งในทางเลือกการจัดหาทุน ราคาหลังออกไม่ควรต่ำกว่า 13 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาในตลาด
ตอนนี้เงินทุนยังเหลืออยู่ แต่ถ้า project รัฐบาล ชลอการออก ถ้ารอไปพฤษภาคม กฎกระทรวง 800 MW จะออกทันไหม เราเป็น 1 ใน candidate ถ้าในประเทศไม่เกิด เราต้องวิ่งไป กัมพูชา เกาหลี บรูไน ถ้าproject มา แล้วเงินหาไม่ทันก็เกิดปัญหา
ดร สุเมธ แจ้งว่า ระยะเวลา COD ไม่มีผลมาจาก การออกหุ้นกู้แปลงสภาพ เราได้เซ็นต์สัญญาว่าจ้างไปแล้ว เสร็จQ2 และ เริ่มรับรายได้ต้น Q4 15 แผนงานของลม ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าใช้แหล่งเงินอันไหน เราเลือก จาก PP หรือ แหล่งเงินที่ดีกว่า ต้องตัดสินใจอีกครั้ง
Q: ต้นทุนการออก 4% เป็นดอกเบี้ยหรือเปล่า
A: เป็นค่าธรรมเนียมออกหุ้นกู้ จะคิดถ้าบริษัท Drawdown เงิน ถ้าดอกเบี้ย ร้อยละ 1
เราต้องเตรียมเงินไว้ ถ้า 6 พค เปิดมาให้ประมูล 800 MW เราต้องเตรียมเงินมัดจำ และ สั่งซื้อของ ถ้าไม่มีเงิน ของก็ไม่มา
ส่วนโรงไฟฟ้า ใช้เทคโนโลยียุโรป สร้างแค่ 2 เดือน ส่วนกำหนดส่งงานไม่รู้ว่าเลื่อนจาก ธค 15 หรือเปล่า ได้ข่าวมาแต่ไม่ยืนยันว่าเลื่อนการส่งงานไปปีหน้า จริงหรือเปล่า
Q: Strategic partner ไม่มีใครออก ช่วยยืนยันด้วยคะ และ ได้สิทธิPP แล้วทำไมได้ offering ด้วย
ผู้ถือหุ้น 23 ราย หายไป 17 ราย จากดูรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ ณ ปิดสมุดคราวนี้ คราวนี้อาสาพิทักษ์สิทธิเอาจริง มีรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ พิมพ์อยู่ในมือตอนถามด้วย
A: ผู้ถือหุ้น 10 อันดับแรก ซื้อเพิ่มพอสมควร ณ วันนั้น board อนุมัติราคา 6 บาท ในราคาตลาด 5 บาท เราให้สิทธิ RO 9:1 ด้วย ผู้ถือหุ้นหลัก เช่น คุณนเรศ ก็ยังอยู่ อาจหายในส่วนที่ซื้อผ่านบล
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2576
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 37
AGM RS 22 APR 15
ผมเอาวาระและผลจากในweb ตลท และ เพิ่มคำถาม คำตอบ ในนี้ หวังว่าคงเหมือนไปประชุมเองนะครับ
1. รับรองรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2557 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2557
โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติรับรองด้วยเสียงข้างมากของจานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุม
และมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ดังนี้
เห็นด้วย 466,370,706 เสียง คิดเป็นร้อยละ 100 ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
ไม่เห็นด้วย - เสียง คิดเป็นร้อยละ - ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
งดออกเสียง - เสียง คิดเป็นร้อยละ - ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
2. รับทราบรายงานผลการดาเนินงานของบริษัท ประจาปี 2557
งบการเงินรวมประจำปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคมปี 2557 2556
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 370,957 394,492 ลดลง 6%
กลุ่มรายได้ เพิ่มขึ้นมาจาก ธุรกิจสื่อ
1 กลุ่มทีวีดิจิตอล เติบโต 98% มาจากช่อง 8 ช่อง2 มาจากrating ที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้เราปรับค่าโฆษณาได้
และรายได้จากฟุตบอลคิดเป็น 30%
2. สื่อวิทยุ เพิ่มขึ้น 0.1% cool ,saydee , sabay cencess
ธุรกิจจัดจำหน่าย ลดลง 40% มาจากธุรกิจเพลงมีแนวโน้มลดลง แต่มีส่วนแบ่งจาก youtub
3. รับจ้างธุรกิจ รายได้ลดลงจากการรับจ้างผลิต จากกระทบสถานะการณ์การเมือง
ต้นทุนขาย เพิ่มขึ้น 38.7% มีสาเหตุมาจากรับรู้รายได้จากถ่ายทอดแข่งบอลและต้นทุนการผลิตช่อง8 ลิทสิทธิ์รายการต่างๆ
ค่าใช้จ่ายการบริหารและการขาย ลดลง 1.7% มาจากการปรับแผนการตลาดการจัดจำหน่ายสินค้า
ต้นทุนการเงินรวมเพิ่มขึ้น 54.3%มาจากค่าธรรมเนียมหนังสือค้ำประกัน การขอทีวีดิจิตอล Letter of guarantee
GP 32.1%
NP 8.6%
ROE 22.5% มาจากลดลงการจำหน่ายเพลง และ ต้นทุนการทำทีวีดิจิตอล
งบการเงินรวมประจำปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคมปี 2557 2556
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.377 0.4364
งบการเงินเฉพาะกิจการประจำปี 2557 2556
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 338,310 413,653
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.3438 0.4576
Q: เวลาโชว์รายได้break ตามbusiness แต่ต้นทุนไม่โชว์
A: จะโชว์ต่อไป ต้นทุนที่เพิ่มคือธุรกิจสื่อ จาก 1000 ลบ ไป 2000 ลบ มาจากเพิ่มงบการผลิตรายการที่เพิ่มขึ้น
สื่อ เพิ่มจาก 700 ลบ ไปที่ 1700 ลบ ต้นทุนดิจิตอลและ multiplexer เพิ่มขึ้น
รายได้ธุรกิจเพลง มาจาก download เพลง ตามกลยุทธ์เรามองเห็นรายได้ลดลงนานแล้ว คาดการณ์ไว้แล้ว จะ downsize
ลดช่องทางการขาย ลดคนลง GP ไม่ควรเปลี่ยนจากคราวที่แล้ว
ธุรกิจผลิตกิจกรรม GP 17% เท่าเดิม เราoutsource ออกไป ไม่มีผลกระทบ
จะต่อยอดmedia เช่นจัดกิจกรรมโดยใช้ศิลปินในค่าย
Q:เป้าเติบโต3-5ปี
A: ขึ้นกับธุรกิจทีวี โตไม่ต่ำกว่า 50%
มาจากสื่อเทียบกับ ส่วนรวม สัดส่วน 65% ตอนนี้จะเขยิบ 80%
การเติบโตธุรกิจสื่อ คน คงที่ ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น
กำไรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ภาพเราเห็นจาก2-3 ปีที่ผ่านจากทีวีดาวเทียม ปีที่แล้วมีต้นทุนใบอนุญาติและโครงข่ายเพิ่มขึ้น
แต่ปีนี้เริ่มสร้างmargin ได้สูงขึ้น
Q:เป้าหมายอันดับ3 ดูcontent ละครช่อง 3,7 เกมโชว์ Work เรามีstrategyอย่างไร จะปรับค่าโฆษณาได้เมื่อไหร่
A: เรื่องcontent วัดไม่ได้ด้วยบุคคล จะใช้rating วัดได้ชัดสุด การทำละคร จะวัดจากrating
ช่อง7 ละครไม่ค่อยอยู่ในกระแส แต่จริงๆrating ดีกว่ามาก
กลยุทธ์ช่อง 8 วางไว้ค่อนข้างชัดเจน ดูจากผลงานที่ผ่านมา
2. ส่วนเรื่องราคา ตั้งเป้ามากกว่าเท่าตัว มีที่มาจากการตอกย้ำเรื่องrating หลังขึ้น 3-6 เดือนค่อยขึ้นราคา
ราคาเฉลี่ยขึ้นมา 2.5 เท่า จากปีที่แล้ว ทั้งปีอาจจะได้ 3 เท่าตัว
วันนี้คนในอุตสาหกรรมทีวี มีตัวเลข 4 ตัว
Rating เงินการลงทุน รายได้ และ กำไร
ใช้เงินมีประสิทธิภาพดีไหม ใช้เงินเท่ากัน rating น้อยกว่า แสดงว่าไม่มีประสิทธิภาพ
แปลง rating เป็นเงินได้ไหม
Timing ในการทำ rating สามารถทำที่ 3 ได้เลยแต่ต้องใช้เงินมาก ดังนั้น KPI ต้องกำไรตลอด
Q: หนี้สินส่วนผู้ถือหุ้น 302 ลบ ให้อธิบาย ส่วนกล่องถ้าจ่ายไม่หมดจะคืนหรือไม่
A: ค่าใบอนุญาติการใช้คลื่น ค้างจ่ายภายใน 1 ปี ชำระ 6 งวด ตอนนี้ให้เลื่อนแต่รับฟังความคิดเห็น ว่าอย่างไร
เช่นเลื่อนงวดที่2 ไปชนงวดที่3 หรือ เลื่อนไป 1 ปี มีผลต่อกระแสเงินสดในงบ
ถ้าปีนี้ต้องจ่ายจริงก็เตรียมเงินกู้ไว้ แต่ตอนนี้ไม่ต้องใช้
เงินที่ส่งไปไม่เกี่ยวกับการจ่ายกล่องดิจิตอลครับ
3. อนุมัติงบแสดงฐานะการเงิน และบัญชีกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีประจำปี 2557
โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติรับรองด้วยเสียงข้างมากของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุม
และมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ดังนี้
เห็นด้วย 466,462,006 เสียง คิดเป็นร้อยละ 100 ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
ไม่เห็นด้วย - เสียง คิดเป็นร้อยละ - ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
งดออกเสียง - เสียง คิดเป็นร้อยละ - ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
Q: เรื่องงบการเงิน ในแง่ลิขสิทธิ์ที่ประมูล เวลาบันทึกในงบasset เราประมูลราคาเท่าไหร่
A: 2,265 ลบ ในฝั่ง asset หาร15ปีจะลดลงปีละ111 ลบ แต่ปีแรกลดลง 103ลบ
ส่วนฝั่งหนี้สิน จ่ายเร็ว 345 ลบ ลดลงปีละ 302 ลบ
สำหรับหุ้นซื้อคืน 17.4 ล้านหุ้น เราขายไปแล้ว 4 แสนหุ้น ตอนนี้ ขึ้นอยู่กับราคาตลาด จะขายคืนหรือลดทุน จะดูว่าวิธีไหนได้ประโยชน์มากกว่ากัน date line 5 กย 15
เรามีตั้งภาระเรื่องเงินสำหรับเงินพนักงานสำหรับเกษียณ ก้อนนี้อนุญาติให้หัก 5% บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย
ปีที่แล้วครบ 3 ปี คำนวณใหม่ลดลง เลยบันทึกเป็นกำไร
บอลโลกกำไร 20% มาจาก รายได้ชดเชยจาก กสทช และ ค่าโฆษณา
4. อนุมัติการจัดสรรกำไรสุทธิ และการจ่ายเงินปันผล สาหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2557 ดังนี้
4.1 จัดสรรกำไรสุทธิเป็นทุนสำรองตามกฎหมาย สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทประจำปี
2557 จำนวน 16,915,495.65 บาท
4.2 จ่ายเงินปันผลจาก : ผลการดำเนินงาน งวดดำเนินงานวันที่ 1 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557
4.3 อัตราการจ่ายเงินปันผล : 0.18 บาท ต่อหุ้น
4.4 วันที่จ่ายเงินปันผล : วันที่ 8 พฤษภาคม 2558
การจ่ายเงินปันผลดังกล่าว ให้จ่ายแก่ผู้ถือหุ้นตามที่ปรากฏรายชื่อ ณ วันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิ
รับเงินปันผล ในวันที่ 10 มีนาคม 2558 และให้รวบรวมรายชื่อ ตามมาตรา 225 ของพระราชบัญญัติ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยวิธีปิดสมุดทะเบียน ในวันที่ 11 มีนาคม 2558
โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติรับรองด้วยเสียงข้างมากของจานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วม
ประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ดังนี้
เห็นด้วย 466,463,106 เสียง คิดเป็นร้อยละ 100 ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
ไม่เห็นด้วย - เสียง คิดเป็นร้อยละ - ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
งดออกเสียง - เสียง คิดเป็นร้อยละ - ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
5. อนุมัติเลือกตั้ง นายดนัยศิษฏ์ เปสลาพันธ์ นายสุทธิศักดิ์ ประศาสน์ครุการ และนายโสรัตน์ วณิชวรากิจ
กลับเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทตามเดิมอีกวาระหนึ่ง โดยเลือกตั้งเป็นรายบุคคลด้วยคะแนน
เสียงในแต่ละบุคคล ดังนี้
5.1 นายดนัยศิษฏ์ เปสลาพันธ์
โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติรับรองด้วยเสียงข้างมากของจานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุม
และมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ดังนี้
เห็นด้วย 466,463,106 เสียง คิดเป็นร้อยละ 100 ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
ไม่เห็นด้วย - เสียง คิดเป็นร้อยละ - ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
งดออกเสียง - เสียง คิดเป็นร้อยละ - ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
5.2 นายสุทธิศักดิ์ ประศาสน์ครุการ
โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติรับรองด้วยเสียงข้างมากของจานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุม
และมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ดังนี้
เห็นด้วย 466,463,106 เสียง คิดเป็นร้อยละ 100 ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
ไม่เห็นด้วย - เสียง คิดเป็นร้อยละ - ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
งดออกเสียง - เสียง คิดเป็นร้อยละ – ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
5.3 นายโสรัตน์ วณิชวรากิจ
โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติรับรองด้วยเสียงข้างมากของจานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุม
และมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ดังนี้
เห็นด้วย 466,463,106 เสียง คิดเป็นร้อยละ 100 ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
ไม่เห็นด้วย - เสียง คิดเป็นร้อยละ - ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
งดออกเสียง - เสียง คิดเป็นร้อยละ - ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
6. รับทราบค่าตอบแทนกรรมการ
เนื่องจากคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน พิจารณาแล้ว
มีความเห็นว่า ค่าตอบแทนกรรมการตามที่ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจาปี 2556 เมื่อวันที่ 19
เมษายน 2556 และที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2556 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556
พิจารณาอนุมัติการปรับปรุงค่าตอบแทนกรรมการ บริษัท อาร์เอส จากัด (มหาชน) ไว้มีความ
เหมาะสมแล้ว จึงมิได้เสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาเปลี่ยนแปลงแต่ประการใด
อย่างไรก็ดี เพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี จึงเห็นควรให้แจ้งมติที่ประชุมซึ่งได้
อนุมัติการกำหนดค่าตอบแทนกรรมการ เพื่อให้ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2558 รับทราบ ดังนี้
ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2556 เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2556 ได้อนุมัติการกาหนดค่าตอบแทน
กรรมการเป็นดังนี้ ค่าตอบแทนคณะกรรมการปีละไม่เกิน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท) โดย
มอบอำนาจให้คณะกรรมการมีอำนาจกาหนดจำนวนเงินค่าตอบแทนที่กรรมการแต่ละรายจะได้รับ
และกำหนดค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการบริษัทเป็นดังนี้ ประธานกรรมการได้รับค่าเบี้ยประชุม
เป็นจำนวนเงิน 25,000 บาท (สองหมื่นห้าพันบาท) ต่อครั้งที่เข้าประชุม และกรรมการได้รับค่าเบี้ย
ประชุม เป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท (สองหมื่นบาท) ต่อครั้งที่เข้าประชุมต่อท่าน
นอกเหนือจากค่าตอบแทนกรรมการและค่าเบี้ยประชุมของกรรมการบริษัทดังกล่าวข้างต้นแล้ว
กาหนดให้คณะกรรมการตรวจสอบได้รับค่าตอบแทนกรรมการและค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการ
ตรวจสอบเป็นดังนี้ ประธานกรรมการตรวจสอบได้รับค่าเบี้ยประชุมเป็นจานวนเงิน 23,000 บาท
(สองหมื่นสามพันบาท) ต่อครั้งที่เข้าประชุม และค่าตอบแทนรายเดือนเป็นจานวนเงิน 46,000 บาท
(สี่หมื่นหกพันบาท) และกรรมการตรวจสอบได้รับค่าเบี้ยประชุมเป็นจานวนเงิน 17,250 บาท
(หนึ่งหมื่นเจ็ดพันสองร้อยห้าสิบบาท) ต่อครั้งที่เข้าประชุมต่อท่าน และค่าตอบแทนรายเดือน
เป็นจำนวนเงิน 40,250 บาท (สี่หมื่นสองร้อยห้าสิบบาท) ต่อท่าน
การกำหนดค่าตอบแทนและค่าเบี้ยประชุมดังกล่าวให้มีผลใช้บังคับตลอดไปจนกว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้น
จะลงมติเปลี่ยนแปลงในภายหลัง
วาระที่ 7 อนุมัติให้แต่งตั้ง นายสุดวิณ ปัญญาวงศ์ขันติ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ทะเบียนเลขที่ 3534 หรือ
นางอนุทัย ภูมิสุรกุล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตทะเบียนเลขที่ 3873 หรือนายวิเชียร กิ่งมนตรี ผู้สอบบัญชี
รับอนุญาตทะเบียนเลขที่ 3977 จากบริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอบีเอเอส จากัด เป็นผู้สอบบัญชี
ของบริษัท ประจาปี 2558 โดยให้ผู้สอบบัญชีคนใดคนหนึ่ง มีอานาจในการตรวจสอบ สอบทาน และ
แสดงความเห็นในงบการเงินของบริษัท และในกรณีที่ผู้สอบบัญชีตามรายนามข้างต้น ไม่สามารถ
ปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอบีเอเอส จากัด เป็นผู้มีอานาจแต่งตั้งผู้สอบ
บัญชีรับอนุญาตอื่น ของบริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอบีเอเอส จากัด เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนได้
โดยกำหนดค่าสอบบัญชีประจาปี 2558 สำหรับงบการเงินเฉพาะบริษัท และงบการเงินรวมรายไตรมาส
และรายปี เป็นจำนวนเงิน 3,500,000 บาท (เฉพาะบริษัท อาร์เอส จากัด (มหาชน) เป็นจำนวนเงิน
935,000 บาท) ทั้งนี้ หากมีงานนอกเหนือจากการสอบบัญชีประจำปีตามปกติ ขอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้น
มอบอำนาจให้คณะกรรมการ เป็น ผู้พิจารณากำหนดค่าใช้จ่ายพิเศษเป็นกรณีๆ ไป
โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้มีมติรับรองด้วยเสียงข้างมากของจานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุม
และมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
เห็นด้วย 460,839,106 เสียง คิดเป็นร้อยละ 98.79 ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
ไม่เห็นด้วย 5,624,000 เสียง คิดเป็นร้อยละ 1.21 ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
งดออกเสียง - เสียง คิดเป็นร้อยละ - ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
8. อนุมัติให้แก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ และหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 3. เรื่องวัตถุประสงค์ของบริษัท
โดยเพิ่มวัตถุประสงค์อีกจานวน 2 ข้อ จากเดิม 56 ข้อ เปลี่ยนแปลงเป็น 58 ข้อ ดังนี้
ข้อ 57 ประกอบกิจการรับผลิต และให้เช่าคูหา บู๊ท และอุปกรณ์จัดแสดงสินค้า และนิทรรศการต่างๆ
ทั้งใน และต่างประเทศ
ข้อ 58 ประกอบกิจการรับจ้าง จัดทำ และจัดหาพัสดุที่ทำการประกวดราคาจ้างเหมาด้วยวิธีการ
ทางระบบอิเล็คทรอนิคส์
โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้มีมติรับรองด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ ของจำนวนเสียงทั้งหมด
ของผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
เห็นด้วย 466,463,106 เสียง คิดเป็นร้อยละ 100 ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
ไม่เห็นด้วย - เสียง คิดเป็นร้อยละ - ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
งดออกเสียง - เสียง คิดเป็นร้อยละ – ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
วาระอื่นๆ
Q: ธุรกิจเพลง ลดลง 41 % เรามีกลยุทธ์อย่างไร
A: มีรูปแบบการหารายได้หลายทาง เช่น Music vedio นำมาซึ่งรายได้จากการขายโฆษณา รายได้ 4-5 ลบ ต่อเดือนใน youtube ส่วนบน ไลม์ เป็น Streaming ผ่าน ไลม์ application Lime music จะเริ่มกลางปีนี้ ผู้ใช้ต้องเสียค่าสมาชิกให้lime
เราได้ส่วนแบ่ง แต่รูปแบบรายได้ การลงบัญชีเปลี่ยนไป
แต่ไม่สามารถต้านกระแส ลูกค้าเลิกบริโภคเพลง ไม่ได้
Q: อยากทราบราคาโฆษณา แต่ละช่วง และ มีsport อีกหรือเปล่า
A: net 30,000-50,000 บาทช่อง8 ส่วนช่อง2 5,000 บาท
Sport หมดอายุ laleeka หมด เดือนหน้า แต่เราจะมี max มวยไทย rating สูงมาก และ มีมวยจากแถบยุโรป
Content ที่ได้มาต้องสร้าง rating และ กำไร เราค่อนข้างเลือกลักษณะรายการและ content มาก
Q: ตอนนี้ใครก็ดูช่อง 8 เท่าที่ดูผัง rerun ค่อนข้างมาก แสดงว่ามีพื้นที่เพิ่มรายการใหม่ได้อีกมาก
ถ้าอีก 3 ปีใส่รายการใหม่ จะมี rating
A: บางช่วงเวลาไม่ใข่ prime time ไม่จำเป็นต้องลงทุน เราโฟกัสลงทุนช่วงprime time
ส่วนจะเติมช่วงไหนตอนดูสถานการณ์การตลาด ไม่จำเป็นต้องวางถึง5 ปี วางได้ตลอด
สิ้นปีน่าจะได้อันดับ 3 แต่ในแง่ธุรกิจ อันดับ 3,4 ไม่มีผลเท่าไหร่
Q: เคยเห็นคุณสุรชัย ไม่มีพี่น้องถือหุ้นเลย ด้วยกลยุทธ์ที่ดีทำไมไม่ถือหุ้น
A: การลงทุน เป็นเรื่องเฉพาะคน ไม่ยกเว้นแม้แต่พี่น้อง ผมยังซื้อเพิ่มตลอด เรามั่นใจบริษัท
Q: Sattlelite TV มีโอกาส หรือ sunset
A: เมื่อก่อนคิดว่า ถ้ามี digital TV จะค่อยๆหายไป ตอนนี้มีเหลือ 50 ช่อง และ รอดแค่ 5 ช่องมีRS อยู่ได้
ถ้าทำดีๆ rating ช่อง2 ดีกว่าช่องdigital อีกหลายช่อง เราสามารถจัดสินค้าหลายแบบเพื่อหารายได้เพิ่ม
ภาพรวมสื่อวิทยุไม่ค่อยสดใส คลื่นคูล93 market share มากกว่า 50% GP 60% ต้องมองอย่างระวังไม่ประมาท
Q: ช่อง sun channel และ ช่องบอลโลก
A: sun channel หมด May 15 เรามีช่องใหม่มาแทนที่แล้ว คงเปิดตัว Jun 15
ส่วนบอลโลก เรามีตัวเลขอยู่ ถ้าทำได้ก็ประมูล เรารู้ดีที่สุด
Q: กฎ must carry เราไม่ต้องสนใจเพราะมีช่อง 8 ใช่ไหม
A: เรามีต้นทุนเท่าไหร่ หารายได้เท่าไหร่ เพียงแต่ใส้ใน content ที่ดี ราคาต้องเหมาะสมด้วย
ผมเอาวาระและผลจากในweb ตลท และ เพิ่มคำถาม คำตอบ ในนี้ หวังว่าคงเหมือนไปประชุมเองนะครับ
1. รับรองรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2557 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2557
โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติรับรองด้วยเสียงข้างมากของจานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุม
และมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ดังนี้
เห็นด้วย 466,370,706 เสียง คิดเป็นร้อยละ 100 ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
ไม่เห็นด้วย - เสียง คิดเป็นร้อยละ - ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
งดออกเสียง - เสียง คิดเป็นร้อยละ - ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
2. รับทราบรายงานผลการดาเนินงานของบริษัท ประจาปี 2557
งบการเงินรวมประจำปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคมปี 2557 2556
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 370,957 394,492 ลดลง 6%
กลุ่มรายได้ เพิ่มขึ้นมาจาก ธุรกิจสื่อ
1 กลุ่มทีวีดิจิตอล เติบโต 98% มาจากช่อง 8 ช่อง2 มาจากrating ที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้เราปรับค่าโฆษณาได้
และรายได้จากฟุตบอลคิดเป็น 30%
2. สื่อวิทยุ เพิ่มขึ้น 0.1% cool ,saydee , sabay cencess
ธุรกิจจัดจำหน่าย ลดลง 40% มาจากธุรกิจเพลงมีแนวโน้มลดลง แต่มีส่วนแบ่งจาก youtub
3. รับจ้างธุรกิจ รายได้ลดลงจากการรับจ้างผลิต จากกระทบสถานะการณ์การเมือง
ต้นทุนขาย เพิ่มขึ้น 38.7% มีสาเหตุมาจากรับรู้รายได้จากถ่ายทอดแข่งบอลและต้นทุนการผลิตช่อง8 ลิทสิทธิ์รายการต่างๆ
ค่าใช้จ่ายการบริหารและการขาย ลดลง 1.7% มาจากการปรับแผนการตลาดการจัดจำหน่ายสินค้า
ต้นทุนการเงินรวมเพิ่มขึ้น 54.3%มาจากค่าธรรมเนียมหนังสือค้ำประกัน การขอทีวีดิจิตอล Letter of guarantee
GP 32.1%
NP 8.6%
ROE 22.5% มาจากลดลงการจำหน่ายเพลง และ ต้นทุนการทำทีวีดิจิตอล
งบการเงินรวมประจำปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคมปี 2557 2556
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.377 0.4364
งบการเงินเฉพาะกิจการประจำปี 2557 2556
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 338,310 413,653
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.3438 0.4576
Q: เวลาโชว์รายได้break ตามbusiness แต่ต้นทุนไม่โชว์
A: จะโชว์ต่อไป ต้นทุนที่เพิ่มคือธุรกิจสื่อ จาก 1000 ลบ ไป 2000 ลบ มาจากเพิ่มงบการผลิตรายการที่เพิ่มขึ้น
สื่อ เพิ่มจาก 700 ลบ ไปที่ 1700 ลบ ต้นทุนดิจิตอลและ multiplexer เพิ่มขึ้น
รายได้ธุรกิจเพลง มาจาก download เพลง ตามกลยุทธ์เรามองเห็นรายได้ลดลงนานแล้ว คาดการณ์ไว้แล้ว จะ downsize
ลดช่องทางการขาย ลดคนลง GP ไม่ควรเปลี่ยนจากคราวที่แล้ว
ธุรกิจผลิตกิจกรรม GP 17% เท่าเดิม เราoutsource ออกไป ไม่มีผลกระทบ
จะต่อยอดmedia เช่นจัดกิจกรรมโดยใช้ศิลปินในค่าย
Q:เป้าเติบโต3-5ปี
A: ขึ้นกับธุรกิจทีวี โตไม่ต่ำกว่า 50%
มาจากสื่อเทียบกับ ส่วนรวม สัดส่วน 65% ตอนนี้จะเขยิบ 80%
การเติบโตธุรกิจสื่อ คน คงที่ ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น
กำไรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ภาพเราเห็นจาก2-3 ปีที่ผ่านจากทีวีดาวเทียม ปีที่แล้วมีต้นทุนใบอนุญาติและโครงข่ายเพิ่มขึ้น
แต่ปีนี้เริ่มสร้างmargin ได้สูงขึ้น
Q:เป้าหมายอันดับ3 ดูcontent ละครช่อง 3,7 เกมโชว์ Work เรามีstrategyอย่างไร จะปรับค่าโฆษณาได้เมื่อไหร่
A: เรื่องcontent วัดไม่ได้ด้วยบุคคล จะใช้rating วัดได้ชัดสุด การทำละคร จะวัดจากrating
ช่อง7 ละครไม่ค่อยอยู่ในกระแส แต่จริงๆrating ดีกว่ามาก
กลยุทธ์ช่อง 8 วางไว้ค่อนข้างชัดเจน ดูจากผลงานที่ผ่านมา
2. ส่วนเรื่องราคา ตั้งเป้ามากกว่าเท่าตัว มีที่มาจากการตอกย้ำเรื่องrating หลังขึ้น 3-6 เดือนค่อยขึ้นราคา
ราคาเฉลี่ยขึ้นมา 2.5 เท่า จากปีที่แล้ว ทั้งปีอาจจะได้ 3 เท่าตัว
วันนี้คนในอุตสาหกรรมทีวี มีตัวเลข 4 ตัว
Rating เงินการลงทุน รายได้ และ กำไร
ใช้เงินมีประสิทธิภาพดีไหม ใช้เงินเท่ากัน rating น้อยกว่า แสดงว่าไม่มีประสิทธิภาพ
แปลง rating เป็นเงินได้ไหม
Timing ในการทำ rating สามารถทำที่ 3 ได้เลยแต่ต้องใช้เงินมาก ดังนั้น KPI ต้องกำไรตลอด
Q: หนี้สินส่วนผู้ถือหุ้น 302 ลบ ให้อธิบาย ส่วนกล่องถ้าจ่ายไม่หมดจะคืนหรือไม่
A: ค่าใบอนุญาติการใช้คลื่น ค้างจ่ายภายใน 1 ปี ชำระ 6 งวด ตอนนี้ให้เลื่อนแต่รับฟังความคิดเห็น ว่าอย่างไร
เช่นเลื่อนงวดที่2 ไปชนงวดที่3 หรือ เลื่อนไป 1 ปี มีผลต่อกระแสเงินสดในงบ
ถ้าปีนี้ต้องจ่ายจริงก็เตรียมเงินกู้ไว้ แต่ตอนนี้ไม่ต้องใช้
เงินที่ส่งไปไม่เกี่ยวกับการจ่ายกล่องดิจิตอลครับ
3. อนุมัติงบแสดงฐานะการเงิน และบัญชีกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีประจำปี 2557
โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติรับรองด้วยเสียงข้างมากของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุม
และมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ดังนี้
เห็นด้วย 466,462,006 เสียง คิดเป็นร้อยละ 100 ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
ไม่เห็นด้วย - เสียง คิดเป็นร้อยละ - ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
งดออกเสียง - เสียง คิดเป็นร้อยละ - ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
Q: เรื่องงบการเงิน ในแง่ลิขสิทธิ์ที่ประมูล เวลาบันทึกในงบasset เราประมูลราคาเท่าไหร่
A: 2,265 ลบ ในฝั่ง asset หาร15ปีจะลดลงปีละ111 ลบ แต่ปีแรกลดลง 103ลบ
ส่วนฝั่งหนี้สิน จ่ายเร็ว 345 ลบ ลดลงปีละ 302 ลบ
สำหรับหุ้นซื้อคืน 17.4 ล้านหุ้น เราขายไปแล้ว 4 แสนหุ้น ตอนนี้ ขึ้นอยู่กับราคาตลาด จะขายคืนหรือลดทุน จะดูว่าวิธีไหนได้ประโยชน์มากกว่ากัน date line 5 กย 15
เรามีตั้งภาระเรื่องเงินสำหรับเงินพนักงานสำหรับเกษียณ ก้อนนี้อนุญาติให้หัก 5% บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย
ปีที่แล้วครบ 3 ปี คำนวณใหม่ลดลง เลยบันทึกเป็นกำไร
บอลโลกกำไร 20% มาจาก รายได้ชดเชยจาก กสทช และ ค่าโฆษณา
4. อนุมัติการจัดสรรกำไรสุทธิ และการจ่ายเงินปันผล สาหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2557 ดังนี้
4.1 จัดสรรกำไรสุทธิเป็นทุนสำรองตามกฎหมาย สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทประจำปี
2557 จำนวน 16,915,495.65 บาท
4.2 จ่ายเงินปันผลจาก : ผลการดำเนินงาน งวดดำเนินงานวันที่ 1 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557
4.3 อัตราการจ่ายเงินปันผล : 0.18 บาท ต่อหุ้น
4.4 วันที่จ่ายเงินปันผล : วันที่ 8 พฤษภาคม 2558
การจ่ายเงินปันผลดังกล่าว ให้จ่ายแก่ผู้ถือหุ้นตามที่ปรากฏรายชื่อ ณ วันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิ
รับเงินปันผล ในวันที่ 10 มีนาคม 2558 และให้รวบรวมรายชื่อ ตามมาตรา 225 ของพระราชบัญญัติ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยวิธีปิดสมุดทะเบียน ในวันที่ 11 มีนาคม 2558
โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติรับรองด้วยเสียงข้างมากของจานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วม
ประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ดังนี้
เห็นด้วย 466,463,106 เสียง คิดเป็นร้อยละ 100 ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
ไม่เห็นด้วย - เสียง คิดเป็นร้อยละ - ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
งดออกเสียง - เสียง คิดเป็นร้อยละ - ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
5. อนุมัติเลือกตั้ง นายดนัยศิษฏ์ เปสลาพันธ์ นายสุทธิศักดิ์ ประศาสน์ครุการ และนายโสรัตน์ วณิชวรากิจ
กลับเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทตามเดิมอีกวาระหนึ่ง โดยเลือกตั้งเป็นรายบุคคลด้วยคะแนน
เสียงในแต่ละบุคคล ดังนี้
5.1 นายดนัยศิษฏ์ เปสลาพันธ์
โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติรับรองด้วยเสียงข้างมากของจานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุม
และมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ดังนี้
เห็นด้วย 466,463,106 เสียง คิดเป็นร้อยละ 100 ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
ไม่เห็นด้วย - เสียง คิดเป็นร้อยละ - ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
งดออกเสียง - เสียง คิดเป็นร้อยละ - ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
5.2 นายสุทธิศักดิ์ ประศาสน์ครุการ
โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติรับรองด้วยเสียงข้างมากของจานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุม
และมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ดังนี้
เห็นด้วย 466,463,106 เสียง คิดเป็นร้อยละ 100 ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
ไม่เห็นด้วย - เสียง คิดเป็นร้อยละ - ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
งดออกเสียง - เสียง คิดเป็นร้อยละ – ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
5.3 นายโสรัตน์ วณิชวรากิจ
โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติรับรองด้วยเสียงข้างมากของจานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุม
และมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ดังนี้
เห็นด้วย 466,463,106 เสียง คิดเป็นร้อยละ 100 ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
ไม่เห็นด้วย - เสียง คิดเป็นร้อยละ - ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
งดออกเสียง - เสียง คิดเป็นร้อยละ - ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
6. รับทราบค่าตอบแทนกรรมการ
เนื่องจากคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน พิจารณาแล้ว
มีความเห็นว่า ค่าตอบแทนกรรมการตามที่ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจาปี 2556 เมื่อวันที่ 19
เมษายน 2556 และที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2556 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556
พิจารณาอนุมัติการปรับปรุงค่าตอบแทนกรรมการ บริษัท อาร์เอส จากัด (มหาชน) ไว้มีความ
เหมาะสมแล้ว จึงมิได้เสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาเปลี่ยนแปลงแต่ประการใด
อย่างไรก็ดี เพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี จึงเห็นควรให้แจ้งมติที่ประชุมซึ่งได้
อนุมัติการกำหนดค่าตอบแทนกรรมการ เพื่อให้ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2558 รับทราบ ดังนี้
ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2556 เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2556 ได้อนุมัติการกาหนดค่าตอบแทน
กรรมการเป็นดังนี้ ค่าตอบแทนคณะกรรมการปีละไม่เกิน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท) โดย
มอบอำนาจให้คณะกรรมการมีอำนาจกาหนดจำนวนเงินค่าตอบแทนที่กรรมการแต่ละรายจะได้รับ
และกำหนดค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการบริษัทเป็นดังนี้ ประธานกรรมการได้รับค่าเบี้ยประชุม
เป็นจำนวนเงิน 25,000 บาท (สองหมื่นห้าพันบาท) ต่อครั้งที่เข้าประชุม และกรรมการได้รับค่าเบี้ย
ประชุม เป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท (สองหมื่นบาท) ต่อครั้งที่เข้าประชุมต่อท่าน
นอกเหนือจากค่าตอบแทนกรรมการและค่าเบี้ยประชุมของกรรมการบริษัทดังกล่าวข้างต้นแล้ว
กาหนดให้คณะกรรมการตรวจสอบได้รับค่าตอบแทนกรรมการและค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการ
ตรวจสอบเป็นดังนี้ ประธานกรรมการตรวจสอบได้รับค่าเบี้ยประชุมเป็นจานวนเงิน 23,000 บาท
(สองหมื่นสามพันบาท) ต่อครั้งที่เข้าประชุม และค่าตอบแทนรายเดือนเป็นจานวนเงิน 46,000 บาท
(สี่หมื่นหกพันบาท) และกรรมการตรวจสอบได้รับค่าเบี้ยประชุมเป็นจานวนเงิน 17,250 บาท
(หนึ่งหมื่นเจ็ดพันสองร้อยห้าสิบบาท) ต่อครั้งที่เข้าประชุมต่อท่าน และค่าตอบแทนรายเดือน
เป็นจำนวนเงิน 40,250 บาท (สี่หมื่นสองร้อยห้าสิบบาท) ต่อท่าน
การกำหนดค่าตอบแทนและค่าเบี้ยประชุมดังกล่าวให้มีผลใช้บังคับตลอดไปจนกว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้น
จะลงมติเปลี่ยนแปลงในภายหลัง
วาระที่ 7 อนุมัติให้แต่งตั้ง นายสุดวิณ ปัญญาวงศ์ขันติ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ทะเบียนเลขที่ 3534 หรือ
นางอนุทัย ภูมิสุรกุล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตทะเบียนเลขที่ 3873 หรือนายวิเชียร กิ่งมนตรี ผู้สอบบัญชี
รับอนุญาตทะเบียนเลขที่ 3977 จากบริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอบีเอเอส จากัด เป็นผู้สอบบัญชี
ของบริษัท ประจาปี 2558 โดยให้ผู้สอบบัญชีคนใดคนหนึ่ง มีอานาจในการตรวจสอบ สอบทาน และ
แสดงความเห็นในงบการเงินของบริษัท และในกรณีที่ผู้สอบบัญชีตามรายนามข้างต้น ไม่สามารถ
ปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอบีเอเอส จากัด เป็นผู้มีอานาจแต่งตั้งผู้สอบ
บัญชีรับอนุญาตอื่น ของบริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอบีเอเอส จากัด เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนได้
โดยกำหนดค่าสอบบัญชีประจาปี 2558 สำหรับงบการเงินเฉพาะบริษัท และงบการเงินรวมรายไตรมาส
และรายปี เป็นจำนวนเงิน 3,500,000 บาท (เฉพาะบริษัท อาร์เอส จากัด (มหาชน) เป็นจำนวนเงิน
935,000 บาท) ทั้งนี้ หากมีงานนอกเหนือจากการสอบบัญชีประจำปีตามปกติ ขอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้น
มอบอำนาจให้คณะกรรมการ เป็น ผู้พิจารณากำหนดค่าใช้จ่ายพิเศษเป็นกรณีๆ ไป
โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้มีมติรับรองด้วยเสียงข้างมากของจานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุม
และมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
เห็นด้วย 460,839,106 เสียง คิดเป็นร้อยละ 98.79 ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
ไม่เห็นด้วย 5,624,000 เสียง คิดเป็นร้อยละ 1.21 ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
งดออกเสียง - เสียง คิดเป็นร้อยละ - ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
8. อนุมัติให้แก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ และหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 3. เรื่องวัตถุประสงค์ของบริษัท
โดยเพิ่มวัตถุประสงค์อีกจานวน 2 ข้อ จากเดิม 56 ข้อ เปลี่ยนแปลงเป็น 58 ข้อ ดังนี้
ข้อ 57 ประกอบกิจการรับผลิต และให้เช่าคูหา บู๊ท และอุปกรณ์จัดแสดงสินค้า และนิทรรศการต่างๆ
ทั้งใน และต่างประเทศ
ข้อ 58 ประกอบกิจการรับจ้าง จัดทำ และจัดหาพัสดุที่ทำการประกวดราคาจ้างเหมาด้วยวิธีการ
ทางระบบอิเล็คทรอนิคส์
โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้มีมติรับรองด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ ของจำนวนเสียงทั้งหมด
ของผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
เห็นด้วย 466,463,106 เสียง คิดเป็นร้อยละ 100 ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
ไม่เห็นด้วย - เสียง คิดเป็นร้อยละ - ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
งดออกเสียง - เสียง คิดเป็นร้อยละ – ของจานวนเสียงที่ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง
วาระอื่นๆ
Q: ธุรกิจเพลง ลดลง 41 % เรามีกลยุทธ์อย่างไร
A: มีรูปแบบการหารายได้หลายทาง เช่น Music vedio นำมาซึ่งรายได้จากการขายโฆษณา รายได้ 4-5 ลบ ต่อเดือนใน youtube ส่วนบน ไลม์ เป็น Streaming ผ่าน ไลม์ application Lime music จะเริ่มกลางปีนี้ ผู้ใช้ต้องเสียค่าสมาชิกให้lime
เราได้ส่วนแบ่ง แต่รูปแบบรายได้ การลงบัญชีเปลี่ยนไป
แต่ไม่สามารถต้านกระแส ลูกค้าเลิกบริโภคเพลง ไม่ได้
Q: อยากทราบราคาโฆษณา แต่ละช่วง และ มีsport อีกหรือเปล่า
A: net 30,000-50,000 บาทช่อง8 ส่วนช่อง2 5,000 บาท
Sport หมดอายุ laleeka หมด เดือนหน้า แต่เราจะมี max มวยไทย rating สูงมาก และ มีมวยจากแถบยุโรป
Content ที่ได้มาต้องสร้าง rating และ กำไร เราค่อนข้างเลือกลักษณะรายการและ content มาก
Q: ตอนนี้ใครก็ดูช่อง 8 เท่าที่ดูผัง rerun ค่อนข้างมาก แสดงว่ามีพื้นที่เพิ่มรายการใหม่ได้อีกมาก
ถ้าอีก 3 ปีใส่รายการใหม่ จะมี rating
A: บางช่วงเวลาไม่ใข่ prime time ไม่จำเป็นต้องลงทุน เราโฟกัสลงทุนช่วงprime time
ส่วนจะเติมช่วงไหนตอนดูสถานการณ์การตลาด ไม่จำเป็นต้องวางถึง5 ปี วางได้ตลอด
สิ้นปีน่าจะได้อันดับ 3 แต่ในแง่ธุรกิจ อันดับ 3,4 ไม่มีผลเท่าไหร่
Q: เคยเห็นคุณสุรชัย ไม่มีพี่น้องถือหุ้นเลย ด้วยกลยุทธ์ที่ดีทำไมไม่ถือหุ้น
A: การลงทุน เป็นเรื่องเฉพาะคน ไม่ยกเว้นแม้แต่พี่น้อง ผมยังซื้อเพิ่มตลอด เรามั่นใจบริษัท
Q: Sattlelite TV มีโอกาส หรือ sunset
A: เมื่อก่อนคิดว่า ถ้ามี digital TV จะค่อยๆหายไป ตอนนี้มีเหลือ 50 ช่อง และ รอดแค่ 5 ช่องมีRS อยู่ได้
ถ้าทำดีๆ rating ช่อง2 ดีกว่าช่องdigital อีกหลายช่อง เราสามารถจัดสินค้าหลายแบบเพื่อหารายได้เพิ่ม
ภาพรวมสื่อวิทยุไม่ค่อยสดใส คลื่นคูล93 market share มากกว่า 50% GP 60% ต้องมองอย่างระวังไม่ประมาท
Q: ช่อง sun channel และ ช่องบอลโลก
A: sun channel หมด May 15 เรามีช่องใหม่มาแทนที่แล้ว คงเปิดตัว Jun 15
ส่วนบอลโลก เรามีตัวเลขอยู่ ถ้าทำได้ก็ประมูล เรารู้ดีที่สุด
Q: กฎ must carry เราไม่ต้องสนใจเพราะมีช่อง 8 ใช่ไหม
A: เรามีต้นทุนเท่าไหร่ หารายได้เท่าไหร่ เพียงแต่ใส้ใน content ที่ดี ราคาต้องเหมาะสมด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 38
AGM NYT (April 24, 2015)
ขอลงรายละเอียดเฉพาะช่วงถาม-ตอบนะครับ
Q: ทำไมกำไรเพิ่ม แต่ EPS ถึงลด?
A: เนื่องจากจำนวนหุ้นเพิ่มจากการ IPO จากเดิม 414 ล้านหุ้น เป็น 620 ล้านหุ้น เมื่อตัวหารมากขึ้น กำไรต่อหุ้นจึงลดครับ
Q: เหตุผลที่เข้า IPO เพื่อระดมทุนซื้อหุ้นของท่าเรือ NYK เพิ่มจากที่ปัจจุบันถืออยู่ 20% เป็น 49% ทำไมจนถึงตอนนี้ยังไม่มีการซื้อหุ้นครับ
A: เนื่องจากตัวเลขการส่งออกรถยนต์ยังไม่เป็นไปตามเป้าที่เรามองไว้ ซึ่งการซื้อหุ้นมีเงื่อนไขที่เราสามารถซื้อได้ภายในอีก 2 ปีข้างหน้า ทาง NYT จึงยังรอไปก่อน รวมถึงมีการใช้นโยบายทางบัญชีใหม่ จะต้องมีค่า Goodwill ด้วย ปี57 มีการบันทึกขาดทุนจากหุ้น 20% ที่ไปถืออีกด้วย ฉะนั้นบริษัทจึงคิดว่าการรอไปก่อน จะเป็นประโยชน์กว่า
เดือนมีนาคม มีรถที่ผ่านท่าทั้งสิ้น 104,000 คัน จึงเป็นจำนวนสูงที่สุดตั้งแต่ประกอบธุรกิจมา ซึ่งทำให้เฉพาะไตรมาส 1 โต 9.4% ถ้าคำนวนง่ายๆ ท่าปัจจุบันสามารถรองรับปริมาณรถยนต์ได้ 100,000 คันต่อเดือนแน่ๆ ถ้าคูณ 12 เดือนเท่ากับ capacity ของท่านี้คือ 1.2 ล้านคัน ในปี 57 มีรถผ่านท่าทั้งหมด 948,250 คัน ฉะนั้น capacity ปัจจุบันยังเพียงพอ เมื่อเทียบปี 56 มีรถเพิ่ม 21,454 คัน และพื้นที่เพิ่ม 11,962 ตร.ม. พนักงานทั้งหมดมี 75 คัน
สำหรับพื้นที่คลังสินค้า เพื่อให้บ. ยานยนต์ เตรียมรถก่อนเข้ามาในบริเวณท่าเรือ จะไม่สร้างเป็นอาคาร เนื่องจากต้นทุนแพงกว่าการเช่าที่เปล่าถึง 6 เท่า ซึ่งทาง NYT พยายามมองหาเฉพาะพื้นที่ในแหลมฉบังเท่านั้น เนื่องจากการเคลื่อนย้ายรถใหม่ 3-4 กิโลเมตร จะทำให้เข็มไมล์เลสขึ้น รายได้ของ NYT มาจาก 3 ส่วน ส่วนแรก ค่าภาระ (handling fee) จะเก็บจากบ. ยานยนต์ที่เอารถมาผ่านท่า ส่วนที่สอง คือ ค่า wharfage fee เก็บจากสายเดินเรือ ส่วนสุดท้ายคือ ค่าเช่าคลังสินค้า เก็บจากบ. ยานยนต์ จัดเก็บเป็นรายเดือน คิดเป็นตารางเมตร
Q: ทำไมวงจรเงินสดของบริษัทถึงติดลบ ทำไมถึงสามารถเก็บเงินจากลูกหนี้การค้าซึ่งเป็นบริษัทยานยนต์ขนาดใหญ่มีอำนาจต่อรองสูงได้ในเวลาเพียงแค่ 20 กว่าวัน แล้วเจ้าหนี้การค้าเป็นใครบ้าง
A: เนื่องจากลูกหนี้การค้าของ NYT เป็นบ. ยานยนต์ขนาดใหญ่และบ. สายการเดินเรือระดับโลก ซึ่งใช้ระบบการตัดบัญชีอัติโนมัติ ในรอบ 15-20 วันเท่านั้น สำหรับเจ้าหนี้เป็นการท่าเรือ ชำระหนี้เมื่อธุรกรรมสิ้นสุด สามารถวางบิลได้ 15 วัน และมีบางรายการที่จะจ่ายเมื่อสิ้นไตรมาสและสิ้นรอบปี ทำให้วงจรเงินสดของ NYT จะติดลบเป็นปกติ
Q: จากการจ่ายปันผลที่สูง บริษัทจะไม่กันเงินไว้ลงทุนเพื่อการเติบโตเลย?
A: NYT เชื่อว่ากระแสเงินสดจากการดำเนินงานเพียงพอ รวมไปถึงปริมาณเงินสดจาก IPO ก็ยังมี ฉะนั้น NYT จึงคิดว่าการปันผลให้ผู้ถือหุ้นจะเกิดประโยชน์สูงสุด
สำหรับการเติบโต
เนื่องจากการบริโภคในประเทศน้อยลง ฉะนั้น บ. ยานยนต์จึงแบ่ง capacity มาเพื่อการผลิตเพื่อการส่งออก 60% Domestic 40% ซึ่งจะกลับกันกับปีรถยนต์คันแรก รวมถึงวันที่ 1 ม.ค.59 กรมสรรพสามิตจะเปลี่ยนการเก็บภาษีจาก cc เครื่องยนต์ เป็นปริมาณ CO2 ที่รถยนต์ปล่อยออกมาเพื่อการประหยัดพลังงาน ปีนี้ บ. รถยนต์จะมีการเปลี่ยนรุ่น ฉะนั้นโอกาสในการส่งออกจะสดใสมากขึ้น เชื่อว่า ปีนี้ต้อง New high แน่นอน
ปัจจุบันการส่งออกรถยนต์จากไทยตามนี้ EU(11%) North US(9%) Asia(23%) Africa(4%) Australia(23%) Middle East(23%) สำหรับภาษีการส่งรถไป australia ภาษีจะเป็น 0%
Product champion ของไทยคือ รถกะบะ 1 ตัน ปีนึงผลิต 800,000 คัน ผู้ผลิตอยู่ในไทยทั้งหมด ส่ง 147 ประเทศทุกทวีปทั่วโลก ในระยะยาวปริมาณอาจจะขึ้นเล็กน้อย ยกเว้นจะไปกิน mkt share ของ SUV ได้
Eco car มีเงื่อนไขคือ ผู้ผลิตต้องผลิตปีละ 100,000 คันอย่างน้อย (ไม่จำเป็นต้องปีที่ 1 หรือ 2 แต่ต้องผลิตให้ถึง) eco car phase 1 มีบริษัทรถยนต์ยื่น 5 ราย แต่ eco car phase 2 มีบริษัทยื่นแน่ๆ แล้ว 8 ราย แต่รายที่ 9 ยังไม่แน่ ถ้ามองตัวเลข eco car phase 2 ผลิตเพื่อบริโภคในประเทศ 300,000 คัน เพื่อส่งออก 600,000 คัน ฉะนั้นจะตรงกับตัวเลขที่ทาง NYT แจ้งไว้มานานแล้วที่ 1.5 ล้านคันต่อปี แบ่งเป็น รถกะบะ 60% และ Eco car 40%
สิทธิ์ BOI หมดแล้ว แต่เชื่อว่ากำไรจะโต cover ส่วนนี้ได้
สัมปทานเหลืออีก 6+5 = 11 ปี ก่อนจะหมด
ขอลงรายละเอียดเฉพาะช่วงถาม-ตอบนะครับ
Q: ทำไมกำไรเพิ่ม แต่ EPS ถึงลด?
A: เนื่องจากจำนวนหุ้นเพิ่มจากการ IPO จากเดิม 414 ล้านหุ้น เป็น 620 ล้านหุ้น เมื่อตัวหารมากขึ้น กำไรต่อหุ้นจึงลดครับ
Q: เหตุผลที่เข้า IPO เพื่อระดมทุนซื้อหุ้นของท่าเรือ NYK เพิ่มจากที่ปัจจุบันถืออยู่ 20% เป็น 49% ทำไมจนถึงตอนนี้ยังไม่มีการซื้อหุ้นครับ
A: เนื่องจากตัวเลขการส่งออกรถยนต์ยังไม่เป็นไปตามเป้าที่เรามองไว้ ซึ่งการซื้อหุ้นมีเงื่อนไขที่เราสามารถซื้อได้ภายในอีก 2 ปีข้างหน้า ทาง NYT จึงยังรอไปก่อน รวมถึงมีการใช้นโยบายทางบัญชีใหม่ จะต้องมีค่า Goodwill ด้วย ปี57 มีการบันทึกขาดทุนจากหุ้น 20% ที่ไปถืออีกด้วย ฉะนั้นบริษัทจึงคิดว่าการรอไปก่อน จะเป็นประโยชน์กว่า
เดือนมีนาคม มีรถที่ผ่านท่าทั้งสิ้น 104,000 คัน จึงเป็นจำนวนสูงที่สุดตั้งแต่ประกอบธุรกิจมา ซึ่งทำให้เฉพาะไตรมาส 1 โต 9.4% ถ้าคำนวนง่ายๆ ท่าปัจจุบันสามารถรองรับปริมาณรถยนต์ได้ 100,000 คันต่อเดือนแน่ๆ ถ้าคูณ 12 เดือนเท่ากับ capacity ของท่านี้คือ 1.2 ล้านคัน ในปี 57 มีรถผ่านท่าทั้งหมด 948,250 คัน ฉะนั้น capacity ปัจจุบันยังเพียงพอ เมื่อเทียบปี 56 มีรถเพิ่ม 21,454 คัน และพื้นที่เพิ่ม 11,962 ตร.ม. พนักงานทั้งหมดมี 75 คัน
สำหรับพื้นที่คลังสินค้า เพื่อให้บ. ยานยนต์ เตรียมรถก่อนเข้ามาในบริเวณท่าเรือ จะไม่สร้างเป็นอาคาร เนื่องจากต้นทุนแพงกว่าการเช่าที่เปล่าถึง 6 เท่า ซึ่งทาง NYT พยายามมองหาเฉพาะพื้นที่ในแหลมฉบังเท่านั้น เนื่องจากการเคลื่อนย้ายรถใหม่ 3-4 กิโลเมตร จะทำให้เข็มไมล์เลสขึ้น รายได้ของ NYT มาจาก 3 ส่วน ส่วนแรก ค่าภาระ (handling fee) จะเก็บจากบ. ยานยนต์ที่เอารถมาผ่านท่า ส่วนที่สอง คือ ค่า wharfage fee เก็บจากสายเดินเรือ ส่วนสุดท้ายคือ ค่าเช่าคลังสินค้า เก็บจากบ. ยานยนต์ จัดเก็บเป็นรายเดือน คิดเป็นตารางเมตร
Q: ทำไมวงจรเงินสดของบริษัทถึงติดลบ ทำไมถึงสามารถเก็บเงินจากลูกหนี้การค้าซึ่งเป็นบริษัทยานยนต์ขนาดใหญ่มีอำนาจต่อรองสูงได้ในเวลาเพียงแค่ 20 กว่าวัน แล้วเจ้าหนี้การค้าเป็นใครบ้าง
A: เนื่องจากลูกหนี้การค้าของ NYT เป็นบ. ยานยนต์ขนาดใหญ่และบ. สายการเดินเรือระดับโลก ซึ่งใช้ระบบการตัดบัญชีอัติโนมัติ ในรอบ 15-20 วันเท่านั้น สำหรับเจ้าหนี้เป็นการท่าเรือ ชำระหนี้เมื่อธุรกรรมสิ้นสุด สามารถวางบิลได้ 15 วัน และมีบางรายการที่จะจ่ายเมื่อสิ้นไตรมาสและสิ้นรอบปี ทำให้วงจรเงินสดของ NYT จะติดลบเป็นปกติ
Q: จากการจ่ายปันผลที่สูง บริษัทจะไม่กันเงินไว้ลงทุนเพื่อการเติบโตเลย?
A: NYT เชื่อว่ากระแสเงินสดจากการดำเนินงานเพียงพอ รวมไปถึงปริมาณเงินสดจาก IPO ก็ยังมี ฉะนั้น NYT จึงคิดว่าการปันผลให้ผู้ถือหุ้นจะเกิดประโยชน์สูงสุด
สำหรับการเติบโต
เนื่องจากการบริโภคในประเทศน้อยลง ฉะนั้น บ. ยานยนต์จึงแบ่ง capacity มาเพื่อการผลิตเพื่อการส่งออก 60% Domestic 40% ซึ่งจะกลับกันกับปีรถยนต์คันแรก รวมถึงวันที่ 1 ม.ค.59 กรมสรรพสามิตจะเปลี่ยนการเก็บภาษีจาก cc เครื่องยนต์ เป็นปริมาณ CO2 ที่รถยนต์ปล่อยออกมาเพื่อการประหยัดพลังงาน ปีนี้ บ. รถยนต์จะมีการเปลี่ยนรุ่น ฉะนั้นโอกาสในการส่งออกจะสดใสมากขึ้น เชื่อว่า ปีนี้ต้อง New high แน่นอน
ปัจจุบันการส่งออกรถยนต์จากไทยตามนี้ EU(11%) North US(9%) Asia(23%) Africa(4%) Australia(23%) Middle East(23%) สำหรับภาษีการส่งรถไป australia ภาษีจะเป็น 0%
Product champion ของไทยคือ รถกะบะ 1 ตัน ปีนึงผลิต 800,000 คัน ผู้ผลิตอยู่ในไทยทั้งหมด ส่ง 147 ประเทศทุกทวีปทั่วโลก ในระยะยาวปริมาณอาจจะขึ้นเล็กน้อย ยกเว้นจะไปกิน mkt share ของ SUV ได้
Eco car มีเงื่อนไขคือ ผู้ผลิตต้องผลิตปีละ 100,000 คันอย่างน้อย (ไม่จำเป็นต้องปีที่ 1 หรือ 2 แต่ต้องผลิตให้ถึง) eco car phase 1 มีบริษัทรถยนต์ยื่น 5 ราย แต่ eco car phase 2 มีบริษัทยื่นแน่ๆ แล้ว 8 ราย แต่รายที่ 9 ยังไม่แน่ ถ้ามองตัวเลข eco car phase 2 ผลิตเพื่อบริโภคในประเทศ 300,000 คัน เพื่อส่งออก 600,000 คัน ฉะนั้นจะตรงกับตัวเลขที่ทาง NYT แจ้งไว้มานานแล้วที่ 1.5 ล้านคันต่อปี แบ่งเป็น รถกะบะ 60% และ Eco car 40%
สิทธิ์ BOI หมดแล้ว แต่เชื่อว่ากำไรจะโต cover ส่วนนี้ได้
สัมปทานเหลืออีก 6+5 = 11 ปี ก่อนจะหมด
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2576
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 39
AGM TH
Credit K. SinghaPT จากห้อง TH
สรุป DD จากการบรรยายของคุณกวิน (KW) AGM 29/05/2558
1. DC ที่บางพลี อยู่ใกล้วงแหวน เพื่อประโยชน์ทางด้าน logistic
2. KW เป็นผู้ set up MAKRO , Lotus
3. Business model ของ DD ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลจากการ research
4. KW ตื่นเต้นกับการก่อตั้ง DD มาก แกบอกว่าจะเป็นประวัติศาสตร์เช่นเดียวกับ MAKRO, Lotus
5. KW บุคคลิกดูแคล่วคล่อง ยังมีไฟเต็มเปี่ยม พร้อมสู้กับการเริ่มใหม่กับ DD (ส่วนตัวผม พอได้มาเห็น KW ทำให้ผมนึกถึง Elon musk, Steve Jobs ในลักษณะของ leader ที่มีแรงผลักดันทำในสิ่งทียากให้เป็นไปได้)
6. KW เป็นบอร์ดของ IKEA ในภูมิภาค SEA ด้วย
7. ในอนาคต DD จะมี e-commerce เช่นกัน ใน 5 แรกของเน้นการ set up DD ให้แน่นก่อน
8. ในการ set up DD ครั้งนี้ KW ได้ไปคุยกับ CEO ALDI มาก่อนเพื่อเป็นข้อมูลในการก่อตั้ง DD (CEO ALDI เป็นเพื่อน KW)
9. จากข้อมูลในปัจจุบัน discount store โตมาตลอด
10. ธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ช่วง maturity ซึ่งเป้นช่วงที่เหมาะต่อการทำ DD เมื่อค้าปลีกเริ่ม maturity จะเห็น discount store เกิดมากขึ้น
11. DD ใช้ supply chain แบบ asset life model (อันนี้จดมาเร็วๆไม่แน่ใจว่าเป็นอย่างไร)
12. DD เลือกสินค้ามาขายในร้านโดยกฏ 80/20 เช่นสินค้า 100 แบบแต่มีเพียง 20 แบบที่ทำยอดขายได้ 80% ดังนั้นอีก 80 แบบจึงไม่ถูกเลือกมาขายเพราะจะทำให้ cost เพิ่ม
13. สินค้า 20 แบบที่เลือกมา มาจากการเก็บข้อมูล research โดย AC Neilsen
14. Good management supply chain ช่วยเพิ่มยอดได้ 30% ได้คนปูนมาเป็นทีมงาน supply chain ด้วย
15. DD
- เน้นสถานที่ใกล้หมู่บ้าน ไม่เน้น commercial area
- ก่อสร้าง store ขนาดเล็ก 300 ตรม ติดแอร์ CAPEX ต่ำ
- เลือกพื้นที่ดู consumer behavior
- OPEX ต่ำ เนื่องจากไม่ต้องดูแลสินค้ามากชนิด ไม่ต้องจัดเรียงทีละชิ้น จัดเป็น bulk
16. DD เปิด 6 โมงเช้า ถึง 3 ทุ่ม ช่วง หลัง 3 ทุ่มถึง 6 โมงเช้าปิด จากข้อมูลเป็นยอดขายแค่ 7% เท่านั้น
17. สินค้าเป็น involvement degree (อันนี้ฟังไม่ทันไม่แน่ใจว่าอย่างไร)
18. 80% ของคนไทยทั้งประเทศคุ้นเคยกับ house brand, สินค้า house brand มี margin สูง เนื่องจากไม่มีค่าการตลาด เนื่องจากลูกค้ารู้จักสินค้านั้นดีแล้ว
19. DD ใช้กลยุทธ์ diffusion strategy
20. KW ย้ำว่า DD คือโชว์ห่วย ที่ทันสมัย ใช้ระบบการจัดการที่ดี
21. 7-11 เน้น food convenience
22. Mini BigC, Lotus express เน้น top up product ไม่มีที่จอดรถ / DD มีที่จอดรถประมาณ 30 คัน
23. KW ประเมินยอดขายที่ 200,000 บาท/วัน/สาขา ( 5 ปีข้างหน้า 142 สาขา ยอดขายประมาณ 10,000 ล้านต่อปี) ประเมิน bottom line ใน 5 ปี ข้างหน้า ให้ได้ประมาณ 6%
24. ในอนาตคจะแปลงที่ของ DD เป็น REIT เมื่อสาขามากขึ้น
25. ทำไม DD ต้อง 300 ตรม. เนื่องจากไม่ต้องขออนุญาตมาก
26. DD เน้นให้ความสำคัญกับ research ในการเลือกสินค้ามาขาย
27. DD ไม่มีถุงพลาสติก/ รถเข็นต้องเก็บเอง/ ไม่รับบัตรเครดิต
28. หลังจากรู้ว่าลูกค้าชอบสินค้าไหน DD จะทำ private label เช่น เสื้อ FF คือ private label ของ Tesco
29. มีสัดส่วน store สูงกว่าปกติ เพื่อรองรับ e-commerce ในอนาคตข้างหน้า
30. คุณนิวัฒน์ ดาวลอย ย้ายจาก CJ มา DD
31. หัวใจหลักของ DD คือการเลือก location
32. ปัจจุบันมีที่ดินในมือแล้ว 7 สาขา
33. 14 สาขาแรกจะเรียบร้อยภายในเดือนตุลาคม 58
34. สาขาแรกดำเนินการไปแล้ว 70% ตั้งอยู่ที่ เพิ่มสิน วัชรพล
35. สินค้า deal เรียบร้อยแล้วกว่า 1400 SKU จากที่ set ไว้ 1500 SKU
36. Logo DD ผ่านการออกแบบและทำ research เช่นกัน สีส้มให้ความรู้สึกกลางๆ ไม่มากไม่น้อยไป สบายๆ
37. KW เน้นระบบมาก จะไม่ aggressive ในการขยายสาขา เพราะถ้าระบบไม่แน่น จะทำให้ margin ไม่สวย
Credit K. SinghaPT จากห้อง TH
Credit K. SinghaPT จากห้อง TH
สรุป DD จากการบรรยายของคุณกวิน (KW) AGM 29/05/2558
1. DC ที่บางพลี อยู่ใกล้วงแหวน เพื่อประโยชน์ทางด้าน logistic
2. KW เป็นผู้ set up MAKRO , Lotus
3. Business model ของ DD ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลจากการ research
4. KW ตื่นเต้นกับการก่อตั้ง DD มาก แกบอกว่าจะเป็นประวัติศาสตร์เช่นเดียวกับ MAKRO, Lotus
5. KW บุคคลิกดูแคล่วคล่อง ยังมีไฟเต็มเปี่ยม พร้อมสู้กับการเริ่มใหม่กับ DD (ส่วนตัวผม พอได้มาเห็น KW ทำให้ผมนึกถึง Elon musk, Steve Jobs ในลักษณะของ leader ที่มีแรงผลักดันทำในสิ่งทียากให้เป็นไปได้)
6. KW เป็นบอร์ดของ IKEA ในภูมิภาค SEA ด้วย
7. ในอนาคต DD จะมี e-commerce เช่นกัน ใน 5 แรกของเน้นการ set up DD ให้แน่นก่อน
8. ในการ set up DD ครั้งนี้ KW ได้ไปคุยกับ CEO ALDI มาก่อนเพื่อเป็นข้อมูลในการก่อตั้ง DD (CEO ALDI เป็นเพื่อน KW)
9. จากข้อมูลในปัจจุบัน discount store โตมาตลอด
10. ธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ช่วง maturity ซึ่งเป้นช่วงที่เหมาะต่อการทำ DD เมื่อค้าปลีกเริ่ม maturity จะเห็น discount store เกิดมากขึ้น
11. DD ใช้ supply chain แบบ asset life model (อันนี้จดมาเร็วๆไม่แน่ใจว่าเป็นอย่างไร)
12. DD เลือกสินค้ามาขายในร้านโดยกฏ 80/20 เช่นสินค้า 100 แบบแต่มีเพียง 20 แบบที่ทำยอดขายได้ 80% ดังนั้นอีก 80 แบบจึงไม่ถูกเลือกมาขายเพราะจะทำให้ cost เพิ่ม
13. สินค้า 20 แบบที่เลือกมา มาจากการเก็บข้อมูล research โดย AC Neilsen
14. Good management supply chain ช่วยเพิ่มยอดได้ 30% ได้คนปูนมาเป็นทีมงาน supply chain ด้วย
15. DD
- เน้นสถานที่ใกล้หมู่บ้าน ไม่เน้น commercial area
- ก่อสร้าง store ขนาดเล็ก 300 ตรม ติดแอร์ CAPEX ต่ำ
- เลือกพื้นที่ดู consumer behavior
- OPEX ต่ำ เนื่องจากไม่ต้องดูแลสินค้ามากชนิด ไม่ต้องจัดเรียงทีละชิ้น จัดเป็น bulk
16. DD เปิด 6 โมงเช้า ถึง 3 ทุ่ม ช่วง หลัง 3 ทุ่มถึง 6 โมงเช้าปิด จากข้อมูลเป็นยอดขายแค่ 7% เท่านั้น
17. สินค้าเป็น involvement degree (อันนี้ฟังไม่ทันไม่แน่ใจว่าอย่างไร)
18. 80% ของคนไทยทั้งประเทศคุ้นเคยกับ house brand, สินค้า house brand มี margin สูง เนื่องจากไม่มีค่าการตลาด เนื่องจากลูกค้ารู้จักสินค้านั้นดีแล้ว
19. DD ใช้กลยุทธ์ diffusion strategy
20. KW ย้ำว่า DD คือโชว์ห่วย ที่ทันสมัย ใช้ระบบการจัดการที่ดี
21. 7-11 เน้น food convenience
22. Mini BigC, Lotus express เน้น top up product ไม่มีที่จอดรถ / DD มีที่จอดรถประมาณ 30 คัน
23. KW ประเมินยอดขายที่ 200,000 บาท/วัน/สาขา ( 5 ปีข้างหน้า 142 สาขา ยอดขายประมาณ 10,000 ล้านต่อปี) ประเมิน bottom line ใน 5 ปี ข้างหน้า ให้ได้ประมาณ 6%
24. ในอนาตคจะแปลงที่ของ DD เป็น REIT เมื่อสาขามากขึ้น
25. ทำไม DD ต้อง 300 ตรม. เนื่องจากไม่ต้องขออนุญาตมาก
26. DD เน้นให้ความสำคัญกับ research ในการเลือกสินค้ามาขาย
27. DD ไม่มีถุงพลาสติก/ รถเข็นต้องเก็บเอง/ ไม่รับบัตรเครดิต
28. หลังจากรู้ว่าลูกค้าชอบสินค้าไหน DD จะทำ private label เช่น เสื้อ FF คือ private label ของ Tesco
29. มีสัดส่วน store สูงกว่าปกติ เพื่อรองรับ e-commerce ในอนาคตข้างหน้า
30. คุณนิวัฒน์ ดาวลอย ย้ายจาก CJ มา DD
31. หัวใจหลักของ DD คือการเลือก location
32. ปัจจุบันมีที่ดินในมือแล้ว 7 สาขา
33. 14 สาขาแรกจะเรียบร้อยภายในเดือนตุลาคม 58
34. สาขาแรกดำเนินการไปแล้ว 70% ตั้งอยู่ที่ เพิ่มสิน วัชรพล
35. สินค้า deal เรียบร้อยแล้วกว่า 1400 SKU จากที่ set ไว้ 1500 SKU
36. Logo DD ผ่านการออกแบบและทำ research เช่นกัน สีส้มให้ความรู้สึกกลางๆ ไม่มากไม่น้อยไป สบายๆ
37. KW เน้นระบบมาก จะไม่ aggressive ในการขยายสาขา เพราะถ้าระบบไม่แน่น จะทำให้ margin ไม่สวย
Credit K. SinghaPT จากห้อง TH
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 843
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 40
AGM XO 23 เมษายน 2558
บริษัทเป็นผู้ผลิตและส่งออก ผลิต 7ยี่ห้อ ส่งออกไปมากกว่า 60 ประเทศ ไปใน supermarket ในทั่วโลก
ผลการดำเนินงานมีรายได้เพิ่มขึ้น 20%
กำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น 75%
กำไรสุทธิจาก 8.87ล้านบาทในปี2556 เป็น 86.20ล้านบาท
ในปี2557 เหตุที่กำไรมาก บริษัทมีสินค้า 5 กลุ่มหลัก มีสินค้า 500-600 ตัว
มีบางตัวกำไรมากเป็นพิเศษ โดยพยายามผลักดันสินค้าที่มีกำไรมาก
ทำโปรโมชั่นให้ขายได้มากๆ และก็ยังคงใช้ไปในปี2015-2016
บริษัทเราส่งออกไป ยุโรป 77% , USA 8% , และที่อื่นๆ 15% รายได้เป็นยูโร 77% บริษัทคำนึงเรื่องค่าเงิน เลยปรับการรับจ่ายเงินเป็นเงินบาทกับลูกค้า
ทำให้เหลือรับเป็นเงินยูโร 30%
ปีนี้เรามีการสร้างโรงงานโดยใช้งบ 310 ล้านบาท
ปี 2015 เราคาดว่าจะโต 10-15% ทางบริษัทได้มีการขึ้นราคากับลูกค้าแล้ว
จะทำได้หรือไม่ได้ ก็ขอดูในไตรมาส2-3 ก่อน
บริษัทเป็นผู้ผลิตและส่งออก ผลิต 7ยี่ห้อ ส่งออกไปมากกว่า 60 ประเทศ ไปใน supermarket ในทั่วโลก
ผลการดำเนินงานมีรายได้เพิ่มขึ้น 20%
กำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น 75%
กำไรสุทธิจาก 8.87ล้านบาทในปี2556 เป็น 86.20ล้านบาท
ในปี2557 เหตุที่กำไรมาก บริษัทมีสินค้า 5 กลุ่มหลัก มีสินค้า 500-600 ตัว
มีบางตัวกำไรมากเป็นพิเศษ โดยพยายามผลักดันสินค้าที่มีกำไรมาก
ทำโปรโมชั่นให้ขายได้มากๆ และก็ยังคงใช้ไปในปี2015-2016
บริษัทเราส่งออกไป ยุโรป 77% , USA 8% , และที่อื่นๆ 15% รายได้เป็นยูโร 77% บริษัทคำนึงเรื่องค่าเงิน เลยปรับการรับจ่ายเงินเป็นเงินบาทกับลูกค้า
ทำให้เหลือรับเป็นเงินยูโร 30%
ปีนี้เรามีการสร้างโรงงานโดยใช้งบ 310 ล้านบาท
ปี 2015 เราคาดว่าจะโต 10-15% ทางบริษัทได้มีการขึ้นราคากับลูกค้าแล้ว
จะทำได้หรือไม่ได้ ก็ขอดูในไตรมาส2-3 ก่อน
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 843
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 41
AGM SPI 27 เมษายน 2558
เมื่อปีทีแล้วต้นปีไตรมาสแรกประเทศไทยเราประสบปัญหาทางด้านการเมืองทำให้การซื้อขายในสินค้าอุปโภคบริโภคลดน้อยลง แต่โชคดีเรามีการเปลี่ยนแปลงหลังจาก พฤษภาคม สิ่งแรก
1.เรามีรายได้ลดลงจากปันผลรับลดลง31.24%
2. รายได้อสังหาริมทรัพย์จากสวนอุตสาหกรรม ลูกค้าได้มีการเจรจาต่อรองเพื่อขอชลอลงนามในการซื้อขายที่สวนอุตสาหกรรม ทำให้รายได้ปี2557 ลดลง 44% และรายได้อื่นๆของเราก็ลดลงด้วยเช่นกัน
ในด้านค่าใช้จ่าย เราก็พยายามลดค่าใช้จ่ายแต่ด้วยรายได้ด้านสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นก็ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มด้วย และด้วยมาตรฐานบัญชี IFRS เราจะต้องแจ้งค่าเสื่อมราคาของอสังหาริมทรัพย์ แน่นอนค่ะเรามีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของเราที่ J PARK และมีการสร้างสนามกอล์ฟที่ ลำพูน ทำให้เรามีรายจ่ายค่าเสื่อมเพิ่มขึ้นถึง 33% สามารถอ่านได้ ในหน้า 2 , หน้า 141,และหน้า 206. ในปี 2558 เรามีความมั่นใจว่าเราสามารถจะทำได้
1. พยายามพัฒนาเพิ่มมูลค่าให้กับอสังหาริมทรัพย์ของเราโดยเฉพาะในเขตเศรษฐกิจพิเศษที่แม่สอด และที่ดินที่ศรีราชาเรากำลังจะทำการร่วมลงทุนกับญี่ปุ่น ในการพัฒนาการทำเป็น J TOWN การพัฒนาอันนี้จะมีเส้นทางรถไฟฟ้าผ่านทางเส้นทางนี้ ทำเป็น J TOWN มีทั้งโรงเรียนอนุบาล โรงเรียนประถม มีศูนย์การค้าและจะเป็น logistic hub ให้กับประเทศไทย
2. เราก็จะลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาบุคลากร เพิ่มเตรียมพร้อมการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
3.เราพยายามแสวงหาโอกาสและช่องทางในการลงทุนธุรกิจใหม่ๆเพื่อการเติบโตและมั่นคงและยั้งยืนของบริษัท อีกทั้งเราจะเป็นแกนกลางในการที่จะหาช่องทางการจำหน่ายสินค้าต่างๆสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บริษัทมั่นใจว่าปีนี้จะทำให้อย่างน้อยก็สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศชาติเราก็ประมาณ5% .
เมื่อปีทีแล้วต้นปีไตรมาสแรกประเทศไทยเราประสบปัญหาทางด้านการเมืองทำให้การซื้อขายในสินค้าอุปโภคบริโภคลดน้อยลง แต่โชคดีเรามีการเปลี่ยนแปลงหลังจาก พฤษภาคม สิ่งแรก
1.เรามีรายได้ลดลงจากปันผลรับลดลง31.24%
2. รายได้อสังหาริมทรัพย์จากสวนอุตสาหกรรม ลูกค้าได้มีการเจรจาต่อรองเพื่อขอชลอลงนามในการซื้อขายที่สวนอุตสาหกรรม ทำให้รายได้ปี2557 ลดลง 44% และรายได้อื่นๆของเราก็ลดลงด้วยเช่นกัน
ในด้านค่าใช้จ่าย เราก็พยายามลดค่าใช้จ่ายแต่ด้วยรายได้ด้านสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นก็ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มด้วย และด้วยมาตรฐานบัญชี IFRS เราจะต้องแจ้งค่าเสื่อมราคาของอสังหาริมทรัพย์ แน่นอนค่ะเรามีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของเราที่ J PARK และมีการสร้างสนามกอล์ฟที่ ลำพูน ทำให้เรามีรายจ่ายค่าเสื่อมเพิ่มขึ้นถึง 33% สามารถอ่านได้ ในหน้า 2 , หน้า 141,และหน้า 206. ในปี 2558 เรามีความมั่นใจว่าเราสามารถจะทำได้
1. พยายามพัฒนาเพิ่มมูลค่าให้กับอสังหาริมทรัพย์ของเราโดยเฉพาะในเขตเศรษฐกิจพิเศษที่แม่สอด และที่ดินที่ศรีราชาเรากำลังจะทำการร่วมลงทุนกับญี่ปุ่น ในการพัฒนาการทำเป็น J TOWN การพัฒนาอันนี้จะมีเส้นทางรถไฟฟ้าผ่านทางเส้นทางนี้ ทำเป็น J TOWN มีทั้งโรงเรียนอนุบาล โรงเรียนประถม มีศูนย์การค้าและจะเป็น logistic hub ให้กับประเทศไทย
2. เราก็จะลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาบุคลากร เพิ่มเตรียมพร้อมการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
3.เราพยายามแสวงหาโอกาสและช่องทางในการลงทุนธุรกิจใหม่ๆเพื่อการเติบโตและมั่นคงและยั้งยืนของบริษัท อีกทั้งเราจะเป็นแกนกลางในการที่จะหาช่องทางการจำหน่ายสินค้าต่างๆสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บริษัทมั่นใจว่าปีนี้จะทำให้อย่างน้อยก็สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศชาติเราก็ประมาณ5% .
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 843
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 42
AGM AH 27 เมษายน 2558
ในปี 2557 จะเห็นว่ายอดการผลิตลดลง 23.5 % จากผลของยอดการผลิตที่ลดลงทำให้ยอดรายได้ของบริษัทลดลงเนื่องจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมซึ่งจะเห็นได้จากปี 2556 กำไร 3.7% ลดลงเหลือ 2.5% ในปี 2557 .และจากการสังเกตจะสังเกตเห็นได้ว่ารอบของวิกฤติจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่สั้นขึ้น คือในรอบเวลาสัก 2 ปี จึงทำให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทดำเนินการด้วยความยากลำบากยิ่งขึ้น รายได้การผลิตโดยรวมลดลง 18% จากการชะลอตัวของอุตสาหกรรม แต่ของการเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ก็ได้มีการเติบโตร้อยละ 20 โดยเฉพาะตัวแทนจำหน่ายรถยนต์Honda ในประเทศมาเลเซีย
สำหรับในปี 2558 บริษัทคาดการณ์การเติบโต 10% จากการผลิตรถยนต์ที่ 2.2 ล้านคัน ซึ่งยอดขายของบริษัทก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ
Q- บริษัท ฮุนได ปีล่าสุดขาดทุนไหมครับ ,ไม่ทราบว่ามีตัวเลขไหมครับ
A-บริษัท ฮุนได ยังมีผลประกอบการที่ดี ในส่วนของบริษัท ฮุนได ซึ่งทางบริษัท อาปิโก
เป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย ก็ขออนุญาตนะครับ ก็คงไม่เป็นการสมควรนะครับที่จะแจ้งรายละเอียด แต่ให้ไปดูในส่วนของเงินปันผลของบริษัทย่อยนะครับ
Q-อีโคคาร์ มีสัดส่วนมากน้อยแค่ไหนกับบริษัทอาปิโก
A-ในส่วนของอีโคคาร์ จะมี 5 บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตรวม 500,000 คัน ในส่วนของเฟส 1 ก็ยังดำเนินการต่อ ในส่วนของเฟส2 จะทำให้ยอดการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยสูงมากขึ้น ตามระเบียบ ผลิต 100,000 คันใน 5 ปี
Q-บริษัทจะมีการร่วมทุนกับบริษัทไหนอีกไหมครับ
A-ก็ในส่วนของโรงงานเราก็จะมีโรงงานใหม่มากขึ้น ใน2 ปีข้างหน้าเราก็จะผลิตชิ้นส่วนส่งให้ Ford ได้ ในส่วนของการลงทุนต่างๆก็คงอยู่ในการพิจารณาก็คงดูโอกาสที่เราไปร่วมลงทุนได้ หนี้เราก็ลดลง กลยุทธ์ทางธุรกิจก็คงอยู่ในประเทศไทยอย่างเดียวไม่ได้ ก็คงต้องดูธุรกิจในต่างประเทศด้วย ปัจจุบันเราก็มีธุรกิจที มาเลเซีย, จีน ซึ่งต่อไปเราก็ดูในประเทศอินเดีย ซึ่งต่อไปประเทศอินเดียก็จะมีการเจริญเติบโตในธุรกิจยานยนต์อย่างชัดเจน
ในปี 2557 จะเห็นว่ายอดการผลิตลดลง 23.5 % จากผลของยอดการผลิตที่ลดลงทำให้ยอดรายได้ของบริษัทลดลงเนื่องจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมซึ่งจะเห็นได้จากปี 2556 กำไร 3.7% ลดลงเหลือ 2.5% ในปี 2557 .และจากการสังเกตจะสังเกตเห็นได้ว่ารอบของวิกฤติจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่สั้นขึ้น คือในรอบเวลาสัก 2 ปี จึงทำให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทดำเนินการด้วยความยากลำบากยิ่งขึ้น รายได้การผลิตโดยรวมลดลง 18% จากการชะลอตัวของอุตสาหกรรม แต่ของการเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ก็ได้มีการเติบโตร้อยละ 20 โดยเฉพาะตัวแทนจำหน่ายรถยนต์Honda ในประเทศมาเลเซีย
สำหรับในปี 2558 บริษัทคาดการณ์การเติบโต 10% จากการผลิตรถยนต์ที่ 2.2 ล้านคัน ซึ่งยอดขายของบริษัทก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ
Q- บริษัท ฮุนได ปีล่าสุดขาดทุนไหมครับ ,ไม่ทราบว่ามีตัวเลขไหมครับ
A-บริษัท ฮุนได ยังมีผลประกอบการที่ดี ในส่วนของบริษัท ฮุนได ซึ่งทางบริษัท อาปิโก
เป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย ก็ขออนุญาตนะครับ ก็คงไม่เป็นการสมควรนะครับที่จะแจ้งรายละเอียด แต่ให้ไปดูในส่วนของเงินปันผลของบริษัทย่อยนะครับ
Q-อีโคคาร์ มีสัดส่วนมากน้อยแค่ไหนกับบริษัทอาปิโก
A-ในส่วนของอีโคคาร์ จะมี 5 บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตรวม 500,000 คัน ในส่วนของเฟส 1 ก็ยังดำเนินการต่อ ในส่วนของเฟส2 จะทำให้ยอดการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยสูงมากขึ้น ตามระเบียบ ผลิต 100,000 คันใน 5 ปี
Q-บริษัทจะมีการร่วมทุนกับบริษัทไหนอีกไหมครับ
A-ก็ในส่วนของโรงงานเราก็จะมีโรงงานใหม่มากขึ้น ใน2 ปีข้างหน้าเราก็จะผลิตชิ้นส่วนส่งให้ Ford ได้ ในส่วนของการลงทุนต่างๆก็คงอยู่ในการพิจารณาก็คงดูโอกาสที่เราไปร่วมลงทุนได้ หนี้เราก็ลดลง กลยุทธ์ทางธุรกิจก็คงอยู่ในประเทศไทยอย่างเดียวไม่ได้ ก็คงต้องดูธุรกิจในต่างประเทศด้วย ปัจจุบันเราก็มีธุรกิจที มาเลเซีย, จีน ซึ่งต่อไปเราก็ดูในประเทศอินเดีย ซึ่งต่อไปประเทศอินเดียก็จะมีการเจริญเติบโตในธุรกิจยานยนต์อย่างชัดเจน
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 843
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 43
AGM NPARK ( U ) 28 เมษายน 2558
ท่านได้เห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของ NPARK และได้เปลี่ยนชื่อเป็น U city เราได้มีพันธมิตรที่แข็งแกร่งเข้ามา มีส่วนของ BTS เข้ามาทำให้สินทรัพย์เราเพิ่มขึ้น ช่วงปี 2557ที่ผ่านมาได้จัดสรร RO ให้กับผู้ถือหุ้นเดิม หุ้นเดิม และออกใบสำคัญแสดงสิทธิ
-29 ธันวาคม 2557 ได้ทำการซื้อ BTSA และ ก้ามกุ้ง พร๊อพเพอร์ตี้ ในมูลค่าไม่เกิน 10,011 ล้านบาท และมีการอนุมัติเพิ่มทุน จดทะเบียนอีก ให้กับ BTSA ในราคา 0.047บาทต่อหุ้น เป็นมูลค่า 10,011 ล้านบาท
-20 เมษายน 2558 ได้ทำการซื้อ BTSA และ ก้ามกุ้ง เป็นเงิน 9,404 กว่าล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนและใบสำคัญแสดงสิทธิ ทั้ง 2 บริษัทที่ซื้อมาไม่มีหนี้สิน ไม่มีหนี้ธนาคาร มีทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้าง 9,404ล้านบาท
ปัจจุบันเรามี ทุนจดทะเบียน 561,362,298,976.00 บาท มีเงินสดอยู่ 5,400 กว่าล้านบาท เพื่อพร้อมพัฒนาที่ดินที่เราได้มา
- โครงการที่เราได้มา
BTSA ที่ได้มามีที่ดินที่หมดชิต จำนวน 63 แปลง พื้นที่รวม 11 ไร่ 44.8 ตารางวา อยู่แถวบางซื่อติดรถไฟฟ้าหมอชิต
โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาทร เป็นโรงแรมระดับ 4 ดาว มีห้องพัก 390 ห้องบนเนื้อที่ 2ไร่ 1งาน 57 ตารางวา เปิดดำเนินการเดือน พค ปี2555
บริษัทก้ามกุ้ง มีที่ดินที่พญาไท 18 แปลงคิดเป็นเนื้อที่รวม 6 ไร่ 2 งาน61ตารางวาอยู่ติด ถนนพญาไท ติดรถไฟฟ้าBTS พญาไท
เชื่อว่าจะพัฒนาที่จะสร้างรายได้ให้กับบริษัทได้
โครงการที่ผ่านมา โครงการคอนโดมิเนียมที่รามอินทรา คาดว่าจะรับรู้รายได้ในปี 2559 , ที่อรัญประเทศ ก็สามารถรับรู้รายได้ในไตรมาส 1 ปี 2558 , โรงแรมที่เชียงใหม่ บริษัทได้มาเมื่อเดือน กย 2557 รายได้อยู่ที่ 200กว่าล้าน โรงแรมเซ็นทาราที่ขอนแก่น มีรายได้170ล้าน
โครงการที่กำลังศึกษาก็มีที่ดิน ที่บางกระเจ้า เนื้อที่ 283 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ,
โครงการ ร้อยชักสาม ,อีกโครงการหนึ่งที่เราไปร่วมกับกลุ่มไมเนอร์ ตอนนี้เริ่มแล้วอยู่ในแผนงานคาดแล้วเสร็จในปีหน้า..
Q-1.สอบถามที่ดินที่บางกระเจ้าที่เราตัดส่วนหนึ่งไปทำสวนเกษตร.....
2.โครงการร้อยชักสาม....
3. การขายหุ้นพร๊อพเพรส ที่เราขายหุ้นออกไป ขายได้เงิน 237 ล้าน เราขายได้ค่า
พรี่เมี่ยมไหม
4.. ปีนี้เราผิดพลาดตรงไหนที่บริษัทเราขาดทุน
A-ที่บางกระเจ้าแบ่งเป็น 2ส่วน ส่วนหนึ่งได้ถมที่ดินแล้ว แต่จะทำอะไรก็ยังอยู่ในระหว่างพูดคุยกัน ส่วนที่ทำส่วนเกษตร อบต. ได้เข้ามาคุย ว่าจะทำความเจริญให้กับท้องถิ่นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
2.เรื่องร้อยชักสาม ความคืบหน้าก็อยู่ที่รอให้กรมธนารักษ์แต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ขึ้นมา
3.ขายหุ้นพร๊อพเพรส เราไม่ได้ขาดทุน
4..ปีนี้เราขาดทุนเพราะการรับรู้รายได้จากการโอนคอนโด เราไม่สามารถทำได้ตามนั้น เพราะเรารอขอ EIA ทำให้ไม่สามารถสร้างได้ตามกำหนด
Q-บริษัทเรามี Business Plan ไว้อย่างไร ใน 3 ปีข้างหน้า
A-ที่ดินที่บางกระเจ้ามีมูลค่าเพิ่มมาก ก็อยากให้ที่ดินอยู่กับเราและสามารถเก็บกินไปได้
มีแผนที่จะทำในปีนี้
ใน 3ปีนี้ มีแผนอะไร ที่ดินที่พญาไทและหมอชิต ก็มีเยอะพอสมควร ต้องใช้เวลา จากนี้ไปเราก็มีรายได้เพิ่มขึ้นเยอะ
โรงแรมอีสติน มีรายได้ปีละ500-600ล้านบาท ไม่มีหนี้ มีแต่ค่าเสื่อม หนี้ของเราก็ยังต่ำ
Q-ฟังดูเหมือนไม่มีการเพิ่มทุนอีกใช่ไหมครับ
A- ณ. วันนี้ไม่ครับ
Q-บริษัทได้ลงทุนในหลักทรัพย์ ได้ลงทุนในหลักทรัพย์อะไร
A-ที่ผ่านมาผลตอบแทนในธนาคารค่อนข้างน้อย และที่ผ่านมาเราไปลงทุนในหุ้นไม่ขาดทุนสักตัวเดียว การลงทุนในครั้งนี้ไม่ขาดทุน
แต่มันก็ไม่ใช่ธุรกิจหลักของเรา
ท่านได้เห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของ NPARK และได้เปลี่ยนชื่อเป็น U city เราได้มีพันธมิตรที่แข็งแกร่งเข้ามา มีส่วนของ BTS เข้ามาทำให้สินทรัพย์เราเพิ่มขึ้น ช่วงปี 2557ที่ผ่านมาได้จัดสรร RO ให้กับผู้ถือหุ้นเดิม หุ้นเดิม และออกใบสำคัญแสดงสิทธิ
-29 ธันวาคม 2557 ได้ทำการซื้อ BTSA และ ก้ามกุ้ง พร๊อพเพอร์ตี้ ในมูลค่าไม่เกิน 10,011 ล้านบาท และมีการอนุมัติเพิ่มทุน จดทะเบียนอีก ให้กับ BTSA ในราคา 0.047บาทต่อหุ้น เป็นมูลค่า 10,011 ล้านบาท
-20 เมษายน 2558 ได้ทำการซื้อ BTSA และ ก้ามกุ้ง เป็นเงิน 9,404 กว่าล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนและใบสำคัญแสดงสิทธิ ทั้ง 2 บริษัทที่ซื้อมาไม่มีหนี้สิน ไม่มีหนี้ธนาคาร มีทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้าง 9,404ล้านบาท
ปัจจุบันเรามี ทุนจดทะเบียน 561,362,298,976.00 บาท มีเงินสดอยู่ 5,400 กว่าล้านบาท เพื่อพร้อมพัฒนาที่ดินที่เราได้มา
- โครงการที่เราได้มา
BTSA ที่ได้มามีที่ดินที่หมดชิต จำนวน 63 แปลง พื้นที่รวม 11 ไร่ 44.8 ตารางวา อยู่แถวบางซื่อติดรถไฟฟ้าหมอชิต
โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาทร เป็นโรงแรมระดับ 4 ดาว มีห้องพัก 390 ห้องบนเนื้อที่ 2ไร่ 1งาน 57 ตารางวา เปิดดำเนินการเดือน พค ปี2555
บริษัทก้ามกุ้ง มีที่ดินที่พญาไท 18 แปลงคิดเป็นเนื้อที่รวม 6 ไร่ 2 งาน61ตารางวาอยู่ติด ถนนพญาไท ติดรถไฟฟ้าBTS พญาไท
เชื่อว่าจะพัฒนาที่จะสร้างรายได้ให้กับบริษัทได้
โครงการที่ผ่านมา โครงการคอนโดมิเนียมที่รามอินทรา คาดว่าจะรับรู้รายได้ในปี 2559 , ที่อรัญประเทศ ก็สามารถรับรู้รายได้ในไตรมาส 1 ปี 2558 , โรงแรมที่เชียงใหม่ บริษัทได้มาเมื่อเดือน กย 2557 รายได้อยู่ที่ 200กว่าล้าน โรงแรมเซ็นทาราที่ขอนแก่น มีรายได้170ล้าน
โครงการที่กำลังศึกษาก็มีที่ดิน ที่บางกระเจ้า เนื้อที่ 283 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ,
โครงการ ร้อยชักสาม ,อีกโครงการหนึ่งที่เราไปร่วมกับกลุ่มไมเนอร์ ตอนนี้เริ่มแล้วอยู่ในแผนงานคาดแล้วเสร็จในปีหน้า..
Q-1.สอบถามที่ดินที่บางกระเจ้าที่เราตัดส่วนหนึ่งไปทำสวนเกษตร.....
2.โครงการร้อยชักสาม....
3. การขายหุ้นพร๊อพเพรส ที่เราขายหุ้นออกไป ขายได้เงิน 237 ล้าน เราขายได้ค่า
พรี่เมี่ยมไหม
4.. ปีนี้เราผิดพลาดตรงไหนที่บริษัทเราขาดทุน
A-ที่บางกระเจ้าแบ่งเป็น 2ส่วน ส่วนหนึ่งได้ถมที่ดินแล้ว แต่จะทำอะไรก็ยังอยู่ในระหว่างพูดคุยกัน ส่วนที่ทำส่วนเกษตร อบต. ได้เข้ามาคุย ว่าจะทำความเจริญให้กับท้องถิ่นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
2.เรื่องร้อยชักสาม ความคืบหน้าก็อยู่ที่รอให้กรมธนารักษ์แต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ขึ้นมา
3.ขายหุ้นพร๊อพเพรส เราไม่ได้ขาดทุน
4..ปีนี้เราขาดทุนเพราะการรับรู้รายได้จากการโอนคอนโด เราไม่สามารถทำได้ตามนั้น เพราะเรารอขอ EIA ทำให้ไม่สามารถสร้างได้ตามกำหนด
Q-บริษัทเรามี Business Plan ไว้อย่างไร ใน 3 ปีข้างหน้า
A-ที่ดินที่บางกระเจ้ามีมูลค่าเพิ่มมาก ก็อยากให้ที่ดินอยู่กับเราและสามารถเก็บกินไปได้
มีแผนที่จะทำในปีนี้
ใน 3ปีนี้ มีแผนอะไร ที่ดินที่พญาไทและหมอชิต ก็มีเยอะพอสมควร ต้องใช้เวลา จากนี้ไปเราก็มีรายได้เพิ่มขึ้นเยอะ
โรงแรมอีสติน มีรายได้ปีละ500-600ล้านบาท ไม่มีหนี้ มีแต่ค่าเสื่อม หนี้ของเราก็ยังต่ำ
Q-ฟังดูเหมือนไม่มีการเพิ่มทุนอีกใช่ไหมครับ
A- ณ. วันนี้ไม่ครับ
Q-บริษัทได้ลงทุนในหลักทรัพย์ ได้ลงทุนในหลักทรัพย์อะไร
A-ที่ผ่านมาผลตอบแทนในธนาคารค่อนข้างน้อย และที่ผ่านมาเราไปลงทุนในหุ้นไม่ขาดทุนสักตัวเดียว การลงทุนในครั้งนี้ไม่ขาดทุน
แต่มันก็ไม่ใช่ธุรกิจหลักของเรา
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 843
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 44
AGM EVER 29 เมษายน 2558
EVER AGM
ในปี 2557 บริษัทได้มีการเพิ่มทุน และออกใบสำคัญแสดงสิทธิ ทำให้บริษัทมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 3,237,322,605 บาท .
บริษัทนำเงินเพิ่มทุนไปลงทุนดำเนินการจัดตั้งบริษัทเพื่อเข้าไปลงทุนและพัฒนาโรงพยาบาลเป็นบริษัทย่อย 100%
คือบริษัท มาย ฮอสพิทอล จำกัด ( MY HOSPITAL) และเข้าซื้อ โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราษฎร์ จำกัด (CMR) ,
บริษัท เดนทอล อิส ฟัน จำกัด ( DENTAL) ,บริษัท ยูนิคอน เซอร์วิสเซส จำกัด (UNICON)
.สรุปภาพรวมของการดำเนินงาน
มีการรับรู้รายได้จากการจำหน่ายที่พักอาศัย 801.77 ล้านบาท ,รายได้จากการให้บริการ11.05 ล้านบาท , รายได้อื่น 7.86 ล้านบาท
โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2556 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต้นทุนขาย 568.75 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการขาย 88.57 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 98.37 ล้านบาท และต้นทุนทางการเงิน 59.21 ล้านบาท โดยค่าใช้จ่ายดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากปี 2556
จำนวน 286.58 ล้านบาท กำไรขาดทุนสำหรับปี 2557 บริษัทขาดทุน18.11ล้านบาท โดยขาดทุนเพิ่มขึ้นจากปี 2556.
จำนวน 8.44 ล้านบาท
-ทางด้านอสังหา EVER
ก็มีมายรีสอร์ท มี คอนโดที่เสร็จพร้อมแล้ว โครงการมายรีสอร์ท แอท ริเวอร์ ที่สร้างเสร็จพร้อมอยู่ได้เลย
โครงการมายรีสอร์ท หัวหิน. สร้างเสร็จ พร้อมรับรู้รายได้
โครงการที่จะเปิดใหม่ มีโครงการที่สุวินทวงศ์.. ที่ประมาณ 115 ไร่เรากำลังลงสร้างบ้านแล้ว 74 หลัง พร้อมที่จะรับรู้ยอดขายในเดือน กรกฏาคม 2558 ,
โครงการที่สนามบินน้ำ เป็นตึกสูง 54 ชั้น เริ่มขายในเดือน สค- กย ห่างรถไฟฟ้า 200 เมตรขาย Unitละ 2ล้านบาท กำลังขอ EIA ,
อีกโครงการเป็นโครงการที่เราไปซื้อเข้ามา เราจะสร้างบ้านแฝด พื้นที่ 35 ตารางวา ขาย 3ล้านบาท กำลังออกแบบอยู่
- Hospital Projects By MY HOSPITAL เริ่มเมื่อปลายปี2557 หลักๆเราก็จะดูแลในเรื่องโรงพยาบาล แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1.ดูแลโรงพยาบาลใหม่
2.เป็นโรงพยาบาลที่ setup แล้ว เน้นโรงพยาบาลขนาดเล็กขนาดกลาง
3. ทำเป็นศูนย์เฉพาะโรคที่มีความเฉพาะเจาะจง ศูนย์ไตเทียม , ศูนย์ที่รักษาโรคซับซ้อน
ใน 3 ปีข้างหน้าตั้งเป้า มี 2 โรงพยาบาลใหม่ และ 10 โรงพยาบาลที่ setup ไว้แล้ว ใน5 ปีข้างหน้า จะสร้างรายได้ได้ 3,000ล้าน และมีผลกำไรสัก 7-9 % โดยเฉลี่ย
โครงการ RIH ร่วมกับ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ในช่วง 3 ปีแรกใช้เงินลงทุน 4,800ล้าน เข้าไปร่วมทุนถืออยู่ 30% คาด ใช้เงินลงทุนในโครงการนี้ 846 ล้าน คาดผลตอบแทน IRR อยู่ที่ 20 %
EVER AGM
ในปี 2557 บริษัทได้มีการเพิ่มทุน และออกใบสำคัญแสดงสิทธิ ทำให้บริษัทมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 3,237,322,605 บาท .
บริษัทนำเงินเพิ่มทุนไปลงทุนดำเนินการจัดตั้งบริษัทเพื่อเข้าไปลงทุนและพัฒนาโรงพยาบาลเป็นบริษัทย่อย 100%
คือบริษัท มาย ฮอสพิทอล จำกัด ( MY HOSPITAL) และเข้าซื้อ โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราษฎร์ จำกัด (CMR) ,
บริษัท เดนทอล อิส ฟัน จำกัด ( DENTAL) ,บริษัท ยูนิคอน เซอร์วิสเซส จำกัด (UNICON)
.สรุปภาพรวมของการดำเนินงาน
มีการรับรู้รายได้จากการจำหน่ายที่พักอาศัย 801.77 ล้านบาท ,รายได้จากการให้บริการ11.05 ล้านบาท , รายได้อื่น 7.86 ล้านบาท
โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2556 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต้นทุนขาย 568.75 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการขาย 88.57 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 98.37 ล้านบาท และต้นทุนทางการเงิน 59.21 ล้านบาท โดยค่าใช้จ่ายดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากปี 2556
จำนวน 286.58 ล้านบาท กำไรขาดทุนสำหรับปี 2557 บริษัทขาดทุน18.11ล้านบาท โดยขาดทุนเพิ่มขึ้นจากปี 2556.
จำนวน 8.44 ล้านบาท
-ทางด้านอสังหา EVER
ก็มีมายรีสอร์ท มี คอนโดที่เสร็จพร้อมแล้ว โครงการมายรีสอร์ท แอท ริเวอร์ ที่สร้างเสร็จพร้อมอยู่ได้เลย
โครงการมายรีสอร์ท หัวหิน. สร้างเสร็จ พร้อมรับรู้รายได้
โครงการที่จะเปิดใหม่ มีโครงการที่สุวินทวงศ์.. ที่ประมาณ 115 ไร่เรากำลังลงสร้างบ้านแล้ว 74 หลัง พร้อมที่จะรับรู้ยอดขายในเดือน กรกฏาคม 2558 ,
โครงการที่สนามบินน้ำ เป็นตึกสูง 54 ชั้น เริ่มขายในเดือน สค- กย ห่างรถไฟฟ้า 200 เมตรขาย Unitละ 2ล้านบาท กำลังขอ EIA ,
อีกโครงการเป็นโครงการที่เราไปซื้อเข้ามา เราจะสร้างบ้านแฝด พื้นที่ 35 ตารางวา ขาย 3ล้านบาท กำลังออกแบบอยู่
- Hospital Projects By MY HOSPITAL เริ่มเมื่อปลายปี2557 หลักๆเราก็จะดูแลในเรื่องโรงพยาบาล แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1.ดูแลโรงพยาบาลใหม่
2.เป็นโรงพยาบาลที่ setup แล้ว เน้นโรงพยาบาลขนาดเล็กขนาดกลาง
3. ทำเป็นศูนย์เฉพาะโรคที่มีความเฉพาะเจาะจง ศูนย์ไตเทียม , ศูนย์ที่รักษาโรคซับซ้อน
ใน 3 ปีข้างหน้าตั้งเป้า มี 2 โรงพยาบาลใหม่ และ 10 โรงพยาบาลที่ setup ไว้แล้ว ใน5 ปีข้างหน้า จะสร้างรายได้ได้ 3,000ล้าน และมีผลกำไรสัก 7-9 % โดยเฉลี่ย
โครงการ RIH ร่วมกับ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ในช่วง 3 ปีแรกใช้เงินลงทุน 4,800ล้าน เข้าไปร่วมทุนถืออยู่ 30% คาด ใช้เงินลงทุนในโครงการนี้ 846 ล้าน คาดผลตอบแทน IRR อยู่ที่ 20 %
-
- Verified User
- โพสต์: 56
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 45
Agm SPA 30/3/58
วาระ 2 ผลดำเนินงาน
บริษัทมีรายได้ปี 2557 = 343 ล้านบาท เติบโต 5% จากปี 2556 และมีกำไรสุทธิ = 33 ล้านบาท ลดลง 45% จากปีก่อน เนื่องจาก รายได้เพิ่มขึ้นน้อยกว่าประมาณการจากการชุมนุมทางการเมืองในครึ่งปีแรก, เปิดสาขาใหม่ช้ากว่ากำหนด ขณะที่ต้นทุนเพิ่มขึ้นจากการเปิดสาขาใหม่ ทั้งค่าเช่า และค่าจ้างพนักงาน
คำถาม : สัดส่วนลูกค้าเก่า ลูกค้าใหม่ ยอดเฉลี่ยต่อบิล
คำตอบ : 80%ของรายได้หลักมาจากลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยว ทำให้เก็บข้อมูลยากเนื่องจากลูกค้าไม่ค่อยมีเวลา ต้องรีบไปเที่ยวต่อ แต่ก็มีลูกค้าเดิมเข้ามาจากการจองOnline
ยอดเฉลี่ยต่อบิล Let’s Relax = 1,000 บาท, Rarinjinda = 2,300 - 2,500 บาท
วาระ 9 อื่นๆ
งบลงทุนปี 2558 = 400 ล้านบาท (กู้ 250 ล้านบาท) ใช้ขยายสาขา, ทำ M&A สปา 3 ดาว , JVกับต่างประเทศ
เป้าขยายสาขาปี 2558 เปิดเพิ่ม 7 สาขาจากเดิมที่มี 13 สาขาและคาดว่าภายใน 3 ปีจะมี 40 สาขา
เป้ารายได้ปี 2558 เติบโตขั้นต่ำ 30% จากสาขาเดิมไม่รวมสาขาใหม่
วาระ 2 ผลดำเนินงาน
บริษัทมีรายได้ปี 2557 = 343 ล้านบาท เติบโต 5% จากปี 2556 และมีกำไรสุทธิ = 33 ล้านบาท ลดลง 45% จากปีก่อน เนื่องจาก รายได้เพิ่มขึ้นน้อยกว่าประมาณการจากการชุมนุมทางการเมืองในครึ่งปีแรก, เปิดสาขาใหม่ช้ากว่ากำหนด ขณะที่ต้นทุนเพิ่มขึ้นจากการเปิดสาขาใหม่ ทั้งค่าเช่า และค่าจ้างพนักงาน
คำถาม : สัดส่วนลูกค้าเก่า ลูกค้าใหม่ ยอดเฉลี่ยต่อบิล
คำตอบ : 80%ของรายได้หลักมาจากลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยว ทำให้เก็บข้อมูลยากเนื่องจากลูกค้าไม่ค่อยมีเวลา ต้องรีบไปเที่ยวต่อ แต่ก็มีลูกค้าเดิมเข้ามาจากการจองOnline
ยอดเฉลี่ยต่อบิล Let’s Relax = 1,000 บาท, Rarinjinda = 2,300 - 2,500 บาท
วาระ 9 อื่นๆ
งบลงทุนปี 2558 = 400 ล้านบาท (กู้ 250 ล้านบาท) ใช้ขยายสาขา, ทำ M&A สปา 3 ดาว , JVกับต่างประเทศ
เป้าขยายสาขาปี 2558 เปิดเพิ่ม 7 สาขาจากเดิมที่มี 13 สาขาและคาดว่าภายใน 3 ปีจะมี 40 สาขา
เป้ารายได้ปี 2558 เติบโตขั้นต่ำ 30% จากสาขาเดิมไม่รวมสาขาใหม่
-
- Verified User
- โพสต์: 56
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 46
Agm THANI 6/4/58
วาระ 2
ปี 2557 เนื่องจากการเมือง สภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ปล่อยสินเชื่อได้ต่ำกว่าเป้า, Npl เพิ่มจาก 3% เป็น 5% คิดว่าคง bottom ไปแล้ว ถ้าเพิ่มก็เป็นการเพิ่มในอัตราน้อยลง
ปี 2558 สามเดือนแรกปล่อยสินเชื่อได้ตามเป้า น่าจะโตได้ 20-25% ต้องดูครึ่งปีหลังอีกที, คาดว่าปีนี้พอร์ตรถบรรทุกเก่าเราน่าจะโตมากกว่าใหม่
คำถาม นโยบายการตั้งสำรองและปีนี้จะมีการตั้งสำรองพิเศษหรือไม่
คำตอบ ตั้งตามเกณฑ์การจัดชั้น และดูภาวะเศรษฐกิจ ปี 2557 ตั้งเพิ่มขึ้นเพราะหนี้ NPL เพิ่มขึ้นและตั้งพิเศษ 70 ล้านบาทเพื่อไม่ให้กระทบมากในปี 2561 ที่ IFRS9 จะประกาศใช้ คาดว่าในปีนี้จะทยอยตั้งเข้าไปอีกแต่ก็ต้องดูหนี้เสียด้วย
คำถาม ธนชาติถือกี่%, ส่งกรรมการมากี่คน และช่วยราชธานีอย่างไรบ้าง
คำตอบ ธนชาติ ถือ ราชธานี 65% ตั้งแต่มีการควบรวมนครหลวงไทย ถ้ามีการเพิ่มหรือลด ธนชาติต้องขอธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนชาติส่งกรรมการเข้ามา 4 ท่านในทั้งหมด 12 ท่าน ดูแลเรื่องเช่าซื้อ วิเคราะห์สินเชื่อ และการเงิน
ธนชาติช่วยเหลือราชธานีเช่น source of fund, ระบบคอมพิวเตอร์และ black office ธนชาติทำรถเก๋งและปิกอัพ ที่เหลือจะส่งมาให้ราชธานีทำทั้งหมด
คำถาม สัดส่วนรถยึด โอกาสเติบโตของรถบรรทุก
คำตอบ พอร์ตรถบรรทุก 50,000 คัน รถยึดเดือนละ 100 คัน จากเมื่อก่อนยึดเฉลี่ยอยู่เดือนละ 60 คัน ปี 2557 ยึดเฉลี่ยเดือนละ 110 คัน
ปีที่แล้วเราเปิดสาขา 3 แห่ง จาก 7 แห่งเป็น 10 แห่ง จะครอบคลุม 80% ของประเทศไทย น่าจะเพียงพอสำหรับปีนี้และปีหน้า
พอเศรษฐกิจเริ่มเดิน ถ้ามีรถยูส ผู้ประกอบการจะมองหารถยูสก่อน (ยกเว้น พลังงานและ it ที่บังคับต้องใช้รถใหม่) เพราะราคารถยูสจะถูกกว่าเป็นล้าน เช่น รถใหม่คันละ 2.5 ล้านบาท รถยูส 1.5 ล้านบาท พอรถยูสหมดหรือสภาพไม่ดี ก็จะเป็นรอบของรถป้ายแดง
คู่แข่ง เอเชียเสริมกิจ แบงค์กรุงศรี ทิสโก้ ดีเลอร์รถเก๋งก็เปลี่ยนมาขายรถยูส มากขึ้น คาดปีนี้น่าจะเป็นปีทองของรถยูส
รถป้ายแดงเติบโต20% ธนาคารทุกธนาคารลงไปทำหมด เพราะรถเก๋งขายไม่ได้ ธนาคารจะโฟกัสลูกค้าชั้นบน ดอกเบี้ยต่ำเท่ารถเก๋งป้ายแดง ขณะที่ราชธานีเน้นลูกค้ากลางลงล่าง
วาระ 2
ปี 2557 เนื่องจากการเมือง สภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ปล่อยสินเชื่อได้ต่ำกว่าเป้า, Npl เพิ่มจาก 3% เป็น 5% คิดว่าคง bottom ไปแล้ว ถ้าเพิ่มก็เป็นการเพิ่มในอัตราน้อยลง
ปี 2558 สามเดือนแรกปล่อยสินเชื่อได้ตามเป้า น่าจะโตได้ 20-25% ต้องดูครึ่งปีหลังอีกที, คาดว่าปีนี้พอร์ตรถบรรทุกเก่าเราน่าจะโตมากกว่าใหม่
คำถาม นโยบายการตั้งสำรองและปีนี้จะมีการตั้งสำรองพิเศษหรือไม่
คำตอบ ตั้งตามเกณฑ์การจัดชั้น และดูภาวะเศรษฐกิจ ปี 2557 ตั้งเพิ่มขึ้นเพราะหนี้ NPL เพิ่มขึ้นและตั้งพิเศษ 70 ล้านบาทเพื่อไม่ให้กระทบมากในปี 2561 ที่ IFRS9 จะประกาศใช้ คาดว่าในปีนี้จะทยอยตั้งเข้าไปอีกแต่ก็ต้องดูหนี้เสียด้วย
คำถาม ธนชาติถือกี่%, ส่งกรรมการมากี่คน และช่วยราชธานีอย่างไรบ้าง
คำตอบ ธนชาติ ถือ ราชธานี 65% ตั้งแต่มีการควบรวมนครหลวงไทย ถ้ามีการเพิ่มหรือลด ธนชาติต้องขอธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนชาติส่งกรรมการเข้ามา 4 ท่านในทั้งหมด 12 ท่าน ดูแลเรื่องเช่าซื้อ วิเคราะห์สินเชื่อ และการเงิน
ธนชาติช่วยเหลือราชธานีเช่น source of fund, ระบบคอมพิวเตอร์และ black office ธนชาติทำรถเก๋งและปิกอัพ ที่เหลือจะส่งมาให้ราชธานีทำทั้งหมด
คำถาม สัดส่วนรถยึด โอกาสเติบโตของรถบรรทุก
คำตอบ พอร์ตรถบรรทุก 50,000 คัน รถยึดเดือนละ 100 คัน จากเมื่อก่อนยึดเฉลี่ยอยู่เดือนละ 60 คัน ปี 2557 ยึดเฉลี่ยเดือนละ 110 คัน
ปีที่แล้วเราเปิดสาขา 3 แห่ง จาก 7 แห่งเป็น 10 แห่ง จะครอบคลุม 80% ของประเทศไทย น่าจะเพียงพอสำหรับปีนี้และปีหน้า
พอเศรษฐกิจเริ่มเดิน ถ้ามีรถยูส ผู้ประกอบการจะมองหารถยูสก่อน (ยกเว้น พลังงานและ it ที่บังคับต้องใช้รถใหม่) เพราะราคารถยูสจะถูกกว่าเป็นล้าน เช่น รถใหม่คันละ 2.5 ล้านบาท รถยูส 1.5 ล้านบาท พอรถยูสหมดหรือสภาพไม่ดี ก็จะเป็นรอบของรถป้ายแดง
คู่แข่ง เอเชียเสริมกิจ แบงค์กรุงศรี ทิสโก้ ดีเลอร์รถเก๋งก็เปลี่ยนมาขายรถยูส มากขึ้น คาดปีนี้น่าจะเป็นปีทองของรถยูส
รถป้ายแดงเติบโต20% ธนาคารทุกธนาคารลงไปทำหมด เพราะรถเก๋งขายไม่ได้ ธนาคารจะโฟกัสลูกค้าชั้นบน ดอกเบี้ยต่ำเท่ารถเก๋งป้ายแดง ขณะที่ราชธานีเน้นลูกค้ากลางลงล่าง
-
- Verified User
- โพสต์: 56
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 47
AGM CIG 20/4/58
วาระ 2 ผลดำเนินงาน
สาเหตุหลักที่ทำให้บริษัทมีกำไรสุทธิ 94 ลบ. เกิดจากกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัทย่อย 147 ลบ.
คำถาม : สัดส่วนยอดขาย ในประเทศและต่างประเทศ
คำตอบ : สัดส่วนยอดขายในประเทศและต่างประเทศ 70:30 ตอนนี้ 58:42 อยากได้ 50:50 ที่ต้องระวังคือ exchange rate
คำถาม : เป้ารายได้ในปี 2558 และใน 3 ปีข้างหน้า
คำตอบ : ปี2557 เราตั้งไว้ 1,200 ลบ.ทำได้จริง 1,000 ลบ., ปี2558 ตั้งเป้า 1,500 ลบ., ปี2559 ตั้งเป้า 2,000 ลบ. และปี2560 ตั้งเป้า 3,000 ลบ. เมื่อก่อนเราขายในประเทศเยอะ ช่วงหน้าร้อนจะขายดี แต่พอขายต่างประเทศเพิ่มขึ้น ยอดขายแต่ละไตรมาสจะพอๆกัน เพราะเมืองไทยร้อนต่างประเทศหนาว
คำถาม : แนวโน้มผลประกอบการของเดอ ละไม
คำตอบ : ยังขาดทุน แต่ EBITDA เป็นบวก มีค่าเสื่อมเยอะ ตอนซื้อปี51 ราคาห้องดี แต่ช่วงหลังมีโรงแรมเกิดใหม่เยอะมาก ปีนึงขายดีแค่ 6 -7 เดือน Average Occupancy Rate = 60%, Average Room Rate = 2,700 บาท (ปี 2551 ลงทุน 147 ลบ. ตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าเงินลงทุน 147 ลบ. ระหว่างปี 2553 – 2557)
วาระ3 อนุมัติงบการเงิน
คำถาม : ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไข จากการไม่ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากการปล่อยกู้ 92 ลบ. (รวมดอกเบี้ย 12ลบ.)
คำตอบ : ไปบังคับหนี้จากลูกหนี้เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ภูเก็ต 60 ลบ. อยู่ระหว่างเช็คทรัพย์สินของลูกหนี้ จึงยังไม่สามารถประเมินมูลค่าที่จะได้รับคืนจากลูกหนี้ได้
วาระ 17 เรื่องอื่นๆ
คำถาม : ความคืบหน้าโรงงานเอทานอล ปราจีนบุรี
คำตอบ : เครื่องจักรล็อตสุดท้ายจะเข้ามาภายในสิ้นเดือนเมษายน ใช้เวลาติดตั้ง 3 เดือน คาดเริ่มผลิตได้Q4’58 หรืออย่างช้าต้นปีหน้า ปริมาณการผลิต 60,000 ลิตรต่อวัน ใช้มันสาปะหลังเป็นวัตถุดิบหลัก
วาระ 2 ผลดำเนินงาน
สาเหตุหลักที่ทำให้บริษัทมีกำไรสุทธิ 94 ลบ. เกิดจากกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัทย่อย 147 ลบ.
คำถาม : สัดส่วนยอดขาย ในประเทศและต่างประเทศ
คำตอบ : สัดส่วนยอดขายในประเทศและต่างประเทศ 70:30 ตอนนี้ 58:42 อยากได้ 50:50 ที่ต้องระวังคือ exchange rate
คำถาม : เป้ารายได้ในปี 2558 และใน 3 ปีข้างหน้า
คำตอบ : ปี2557 เราตั้งไว้ 1,200 ลบ.ทำได้จริง 1,000 ลบ., ปี2558 ตั้งเป้า 1,500 ลบ., ปี2559 ตั้งเป้า 2,000 ลบ. และปี2560 ตั้งเป้า 3,000 ลบ. เมื่อก่อนเราขายในประเทศเยอะ ช่วงหน้าร้อนจะขายดี แต่พอขายต่างประเทศเพิ่มขึ้น ยอดขายแต่ละไตรมาสจะพอๆกัน เพราะเมืองไทยร้อนต่างประเทศหนาว
คำถาม : แนวโน้มผลประกอบการของเดอ ละไม
คำตอบ : ยังขาดทุน แต่ EBITDA เป็นบวก มีค่าเสื่อมเยอะ ตอนซื้อปี51 ราคาห้องดี แต่ช่วงหลังมีโรงแรมเกิดใหม่เยอะมาก ปีนึงขายดีแค่ 6 -7 เดือน Average Occupancy Rate = 60%, Average Room Rate = 2,700 บาท (ปี 2551 ลงทุน 147 ลบ. ตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าเงินลงทุน 147 ลบ. ระหว่างปี 2553 – 2557)
วาระ3 อนุมัติงบการเงิน
คำถาม : ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไข จากการไม่ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากการปล่อยกู้ 92 ลบ. (รวมดอกเบี้ย 12ลบ.)
คำตอบ : ไปบังคับหนี้จากลูกหนี้เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ภูเก็ต 60 ลบ. อยู่ระหว่างเช็คทรัพย์สินของลูกหนี้ จึงยังไม่สามารถประเมินมูลค่าที่จะได้รับคืนจากลูกหนี้ได้
วาระ 17 เรื่องอื่นๆ
คำถาม : ความคืบหน้าโรงงานเอทานอล ปราจีนบุรี
คำตอบ : เครื่องจักรล็อตสุดท้ายจะเข้ามาภายในสิ้นเดือนเมษายน ใช้เวลาติดตั้ง 3 เดือน คาดเริ่มผลิตได้Q4’58 หรืออย่างช้าต้นปีหน้า ปริมาณการผลิต 60,000 ลิตรต่อวัน ใช้มันสาปะหลังเป็นวัตถุดิบหลัก
-
- Verified User
- โพสต์: 56
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 48
AGM MTI 29/4/58
วาระ 2
บริษัทมีเบี้ยประกันภัยรับรวม 10,233 ล้านบาท เบี้ยประกันภัยรับสุทธิ 5,556 ล้านบาท เบี้ยประกันภัยที่ถือเป็นรายได้ 5,241 ล้านบาท
มีค่าสินไหมทดแทนและค่าใช้จ่ายในการจัดการสินไหมสุทธิ 2,463 ล้านบาท การลงทุนมีรายได้และกำไร 405 ล้านบาท
มีกำไรสุทธิ 856 ล้านบาท หากไม่รวมสินไหมจากอุทกภัยปี 2556 กลับรายการจำนวน 238 ล้านบาท บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงานปกติ 665 ล้านบาท
บริษัทมีเบี้ยประกันภัยรับเพิ่มขึ้น 15% จากปี 2556 ทำให้เมืองไทยประกันภัยมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับที่สี่ของอุตสาหกรรมวินาศภัย ส่วนเบี้ยประกันภัยรับที่ถือเป็นรายได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากสภาวะความไม่สงบทางการเมืองในช่วงครึ่งปีแรก ค่าใช้จ่ายในการรับประกันภัยและค่าใช้จ่ายดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 12% จากการขยายตัวของเบี้ยประกันภัยรับที่เติบโต15% การบันทึกค่าใช้จ่ายในการรับประกันภัยจะเกิดในปีที่ออกกรรมธรรม์เลย ในขณะที่รายได้จะทยอยรับรู้ตามระยะเวลา
คำถาม การกลับตัวเลขอุทกภัย 238 ล้านบาท เพราะอะไร ปี58 จะมีการบวกลับอีกหรือไม่
คำตอบ เกิดจากจำนวนที่สำรองไว้ สูงกว่าจำนวนจริงที่จ่าย สินไหมอุทกภัยเราจ่ายไปเกือบครบแล้วการบวกกลับน่าจะเหลือน้อยแล้ว รายที่มีปัญหาคืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับญี่ปุ่นเป็นหลัก
คำถาม อัตราส่วนความเพียงพอขอเงินกองทุน
คำตอบ ณ สิ้นปีอยู่ที่ 379%
คำถาม Loss Ratio และ Combined Ratio ของรถยนต์
คำตอบ Loss Ratio 68% ส่วนCombined Ratio 97%
Loss Ratio เฉพาะค่าสินไหม ส่วนCombined Ratio จะรวมค่าใช้จ่ายอื่นๆด้วย รวมค่าบริหารจัดการด้วย ตัวเลขของLoss Ratio แต่ละที่ Grouping ไม่เหมือนกัน
วาระ 8
เพิ่ม Digital Chanel โดยขยายการขายผ่าน Online Website โดยให้มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและครบถ้วน เพิ่มการแจ้งสินไหมผ่านทางDigital เพื่อให้ลูกค้าสะดวกมากขึ้น
คำถาม สัดส่วน Motor และ Non motor
คำตอบ สัดส่วน Motor 50% : Non motor 50% อาจมีการปรับ 1-2% ในไตรมาส 2 เพราะดูแล้วการประกันภัยรถยนต์จะโตได้มากกว่า
คำถาม ช่องทางการขายผ่านกสิกรกี่เปอร์เซ็นต์
คำตอบ ช่องทาง Bank insurance 30%, Non kbank 70%
วาระ 9 เรื่องอื่นๆ
คำถาม อยากให้มีประกันตามไมค์ เหมือนสินมั่นคง สำหรับคนที่ขับรถน้อย หรือมีรถหลายคัน
คำตอบ เราจะไม่รู้ว่าเค้าขับมากขับน้อย จะรู้ตอนสิ้นปีว่าลูกค้าขับน้อยจริงหรือเปล่า ทำให้ลอสสูงกว่าปกตินิดนึง จะได้ผลดีกับที่มีเครื่องติดรถ เช่น รถบรรทุก อยู่ในโปรเจคที่เรากำลังศึกษาในปีนี้
คำถาม งบสปอนเซอร์บอลหญิง อยากให้คุณนวลพรรณเป็นพรีเซนเตอร์ของเมืองไทยประกันภัย
คำตอบ งบสื่อสารองค์กร เราตั้งไว้ 1.75% ของยอดขาย ประมาณ 100กว่าล้านบาท แบ่งเป็น ค่าโฆษณา สปอนเซอร์ จัดอีเว้นท์
วาระ 2
บริษัทมีเบี้ยประกันภัยรับรวม 10,233 ล้านบาท เบี้ยประกันภัยรับสุทธิ 5,556 ล้านบาท เบี้ยประกันภัยที่ถือเป็นรายได้ 5,241 ล้านบาท
มีค่าสินไหมทดแทนและค่าใช้จ่ายในการจัดการสินไหมสุทธิ 2,463 ล้านบาท การลงทุนมีรายได้และกำไร 405 ล้านบาท
มีกำไรสุทธิ 856 ล้านบาท หากไม่รวมสินไหมจากอุทกภัยปี 2556 กลับรายการจำนวน 238 ล้านบาท บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงานปกติ 665 ล้านบาท
บริษัทมีเบี้ยประกันภัยรับเพิ่มขึ้น 15% จากปี 2556 ทำให้เมืองไทยประกันภัยมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับที่สี่ของอุตสาหกรรมวินาศภัย ส่วนเบี้ยประกันภัยรับที่ถือเป็นรายได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากสภาวะความไม่สงบทางการเมืองในช่วงครึ่งปีแรก ค่าใช้จ่ายในการรับประกันภัยและค่าใช้จ่ายดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 12% จากการขยายตัวของเบี้ยประกันภัยรับที่เติบโต15% การบันทึกค่าใช้จ่ายในการรับประกันภัยจะเกิดในปีที่ออกกรรมธรรม์เลย ในขณะที่รายได้จะทยอยรับรู้ตามระยะเวลา
คำถาม การกลับตัวเลขอุทกภัย 238 ล้านบาท เพราะอะไร ปี58 จะมีการบวกลับอีกหรือไม่
คำตอบ เกิดจากจำนวนที่สำรองไว้ สูงกว่าจำนวนจริงที่จ่าย สินไหมอุทกภัยเราจ่ายไปเกือบครบแล้วการบวกกลับน่าจะเหลือน้อยแล้ว รายที่มีปัญหาคืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับญี่ปุ่นเป็นหลัก
คำถาม อัตราส่วนความเพียงพอขอเงินกองทุน
คำตอบ ณ สิ้นปีอยู่ที่ 379%
คำถาม Loss Ratio และ Combined Ratio ของรถยนต์
คำตอบ Loss Ratio 68% ส่วนCombined Ratio 97%
Loss Ratio เฉพาะค่าสินไหม ส่วนCombined Ratio จะรวมค่าใช้จ่ายอื่นๆด้วย รวมค่าบริหารจัดการด้วย ตัวเลขของLoss Ratio แต่ละที่ Grouping ไม่เหมือนกัน
วาระ 8
เพิ่ม Digital Chanel โดยขยายการขายผ่าน Online Website โดยให้มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและครบถ้วน เพิ่มการแจ้งสินไหมผ่านทางDigital เพื่อให้ลูกค้าสะดวกมากขึ้น
คำถาม สัดส่วน Motor และ Non motor
คำตอบ สัดส่วน Motor 50% : Non motor 50% อาจมีการปรับ 1-2% ในไตรมาส 2 เพราะดูแล้วการประกันภัยรถยนต์จะโตได้มากกว่า
คำถาม ช่องทางการขายผ่านกสิกรกี่เปอร์เซ็นต์
คำตอบ ช่องทาง Bank insurance 30%, Non kbank 70%
วาระ 9 เรื่องอื่นๆ
คำถาม อยากให้มีประกันตามไมค์ เหมือนสินมั่นคง สำหรับคนที่ขับรถน้อย หรือมีรถหลายคัน
คำตอบ เราจะไม่รู้ว่าเค้าขับมากขับน้อย จะรู้ตอนสิ้นปีว่าลูกค้าขับน้อยจริงหรือเปล่า ทำให้ลอสสูงกว่าปกตินิดนึง จะได้ผลดีกับที่มีเครื่องติดรถ เช่น รถบรรทุก อยู่ในโปรเจคที่เรากำลังศึกษาในปีนี้
คำถาม งบสปอนเซอร์บอลหญิง อยากให้คุณนวลพรรณเป็นพรีเซนเตอร์ของเมืองไทยประกันภัย
คำตอบ งบสื่อสารองค์กร เราตั้งไว้ 1.75% ของยอดขาย ประมาณ 100กว่าล้านบาท แบ่งเป็น ค่าโฆษณา สปอนเซอร์ จัดอีเว้นท์
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 843
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ***โครงการอาสาสมัคร “ประชุมผู้ถือหุ้น”***
โพสต์ที่ 49
AGM LHK 28/7/58
รายได้รวมปี2558 3,416 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.2% ..
กำไรขั้นต้น 346.ล้านบาท ลดลงจากปีที่แล้ว 0.8% .
กำไรสุทธิ 137 ล้านบาท ลดลงจากปีที่แล้ว 0.3% สาเหตุหลักมาจาก อุตสาหกรรมยานยนต์ลดลง
ต่อหุ้นกำไร 0.36 บาท
อัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ 5.86%
อัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น 10.59%
อัตราส่วนสภาพคล่อง 2.08 เท่า
อัตราส่วนหนี้สินทุน. 0.58 เท่า
Q-1.ในรายงานประจำปี 2557 บริษัทของเราได้การจัดทำนโยบายต่อต้านคอรัปชั่นเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว อยากจะเรียนถามท่านประธานว่า ได้มีการวางแผนอย่างไรให้ได้รับการรับรองจากโครงการ CAC ค่ะ
2.อยากจะเรียนถามว่าผลกระทบจากการย้ายฐานการผลิตของลูกค้า ท่านประธานได้มีการวางแผนใน ปี-2 ปีข้างหน้าในการรับมือไว้อย่างไร
3.เทรนด์อุตสาหกรรมยานยนต์ ในปี 59-60 ท่านมองอย่างไรค่ะ ขอบคุณค่ะ
A-1.เรื่องของคอรัปชั่นได้เป็นนโยบายหลักแล้ว คณะกรรมการยินดีที่จะทำ ในการประชุมที่ผ่านมา ในการได้รับการรับรองจะมีเวลา 18 เดือนในการเตรียมการ มีการตั้งกรรมการตรวจสอบภายในในการทำการประเมิน...
2. การย้ายฐานเป็นการย้ายฐานในส่วนของชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคเยอะ บริษัทจะเป็นบริษัทที่จะจัดส่งในส่วนของ part ที่เป็นโลหะที่เป็นสเตนเลส ตอนหลังก็เพิ่ม อลูมิเนียม..การย้ายฐานที่มีแนวโน้มแล้วคือเครื่องใช้ไฟฟ้า..ซึ่งได้มีการย้ายฐานจากเมืองไทยไปอยู่ที่เวียดนามและมาเลเซีย โดยเฉพาะ เครื่องซักผ้ารุ่นเล็กๆได้มีการย้ายฐานไปเยอะ เราคงไม่สามารถไปหยุดกระแสตรงนี้ได้เพราะเป็นเรื่องของการวางแผน กระจายความเสี่ยง.จากน้ำท่วมที่เกิดในประเทศเรา และนโยบายของรัฐบาลประเทศอื่นที่ได้ให้ความสนใจอุตสาหกรรมนี้มากกว่าในประเทศเรา แต่เราเองการกระจายสินค้าจาก สเตนเลสสตีล ไปหาอลูมิเนียม ทองแดง เริ่มมา 3-4 ปี ก็มีตัวเลขมากขึ้น บริษัทเราโชคดีตรงที่เรากระจายไปหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า ก่อสร้าง ตอนนี้เครื่องใช้ไฟฟ้าตก 23% ก่อสร้างประมาณ 15-16% อาหาร ค้าส่ง ยานยนต์ประมาณ 40% จะเห็นว่าคงไม่ย้ายที่เดียวครบทุกอุสาหกรรม แต่ถามว่าตกไหม ยอมรับว่าตกครับ ตกลงมาตรงที่ห่วงโซ่ supply chian .ตกลงมาทั้งระบบเลย แต่ยังไงก็ดี
เครื่องใช้ไฟฟ้าตัวใหญ่ๆชิ้นใหญ่ของซัมซุง, LG, ฮิตาชิ ยังอยู่ที่ไทยนะครับที่ไปจะเป็นตัวเล็กหมด อยู่ที่ว่าต้องวัดฝีมือต้องยอมรับว่าเวียดนามน่ากลัวมาก พอย้ายฐานและส่งเข้าไปอเมริกาจะได้รับการสนับสนุนเรื่องภาษี
3.ยานยนต์ที่มีปัญหาจากที่ประมาณการ 2 ล้านกว่าคันมาเป็นล้านแปดเรามองว่าอุตสาหกรรมยานยนต์โดนผลกระทบจาก demand เทียมที่เกิดขึ้นจากการซื้อที่เกินจากรถคันแรกทำให้กำลังซื้อของคนลดลง รถประเภท B class ระดับประมาณไม่ถึง 1ล้านบาทหรือรถกระบะ ที่เป็น market เซกเมนต์ใหญ่ เซกเมนต์นี้เป็นเซกเมนต์ที่มีปัญหากับการกู้ยืมเงิน เรื่องวงเงินเครดิตต่างๆ ทำให้BANK ปล่อยกู้ยาก แต่ยังโชคดีของเราการส่งออกเป็นไปด้วยดี ปีนี้ตั้งเป้า 1ล้าน 8 แสนคัน 1 ล้านเป็นส่งออก ท่อสเตนเลสที่ติดในท่อไอเสียเป็นท่อที่ทนความร้อนสูง เราส่งให้กับรถยนต์ทุกยี่ห้อยกเว้น โตโยต้า ณ.ตอนนี้ตัวเลขที่เรามีก็ยังไม่ร้ายแรงมากเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่ถามว่าตกไหม ก็ยอมรับว่าตก กลุ่มยานยนต์ก็ยังเป็นตัวทำกำไรของเราอยู่ดี
Q-ราคาน้ำมันที่แกว่งเพราะราคาเหล็กมีผลกระทบค่อนข้างมากอยากทราบว่า บริษัทได้รับผลกระทบจากความเสียหายอย่างไรบ้าง
A-บริษัทเราไม่ได้ขายเหล็กเลยครับ เพียงแต่บังเอิญมาอยู่ในกลุ่มเหล็ก ราคาที่ลงมากเหตุผลหลักมาจากจีนครับ 1.จีนใช้ของในประเทศมากขึ้น 2.จากภาวะถดถอยของเศรษฐกิจจีน ทำให้ของที่ใช้ทุกอย่างน้อยลง ก็ทำให้ คอมมูนิตี้ตกลง ราคานิกเกิลลงมาเยอะการมีขึ้นลงเร็วมันเป็นเสน่ห์ บริษัทซื้อกับ INOX ซื้อในประเทศ 440-50% ไม่ต้องแบก สต็อก เยอะ ไม่ต้องวุ่นวายกับอัตราแลกเปลี่ยน ลูกค้าเราเป็นซื้อมาใช้ไป เรามีข้อมูลเพียงพอในการเก็บสต็อก
Q-Market Share ของบริษัท
A-ในกลุ่มรถยนต์มี 3 ราย เราไม่ใช่เบอร์ 3 และเบอร์ 1 เหล็กรถยนต์ถูกกำหนดด้วยโรงงานรถยนต์
Q-บริษัทมีแผนขยายไปในด้านไหนใน 5 ปี 10 ปี
A- แผน 5 ปี ไม่เคยคิดเลยครับ สภาวะโลก ผมเองก็ไม่รู้ว่าปีหน้าการเงินโลก ธนาคารโลก จะเป็นยังไง จะบอกง่ายๆ ว่าบริษัทเราจะเป็นผู้ให้บริการสนับสนุนในด้านห่วงโซ่อุปทาน ลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆไม่ว่าจะอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมไหน ถ้าตราบใดที่เค้าช่วยเราหาซัพพลายเออร์ได้ เราก็ช่วยจัดเก็บสต็อก สำคัญที่สุดคือช่วยจัดเก็บสต็อก เราจะเก่งในเรื่องยานยนต์กับกลุ่มญี่ปุ่น ถ้าลูกค้าไม่โต หรือในกลุ่มอุตสาหกรรมไม่โต เราก็ไม่รู้จะโตได้ยังไง เราไม่มีนโยบายตอนนี้ว่าจะไปผลิตรถยนต์เองหรือฉีกแนวไปจะบอกว่าผมค่อนข้างหวงเงินมาก เรามีดีที่มีเงินสด มีอะไรขึ้นมาเรายังมีเงินสด มันดีอย่างมันซื้อของได้ถูกได้ส่วนลด เศรษฐกิจข้างหน้าใน 6 เดือน ไม่มีใครรู้ว่าจะเป็นยังไง แผนก็มีจะเป็นลักษณ์ไปเรื่อยๆ เราก็มีดูเรื่อง M&A. การซื้อกิจการก็ดูอยู่ แต่เนื่องจากความเป็นช่างเลือกและก็เลือกมาก ปัจจุบันที่เค้าดีๆเค้าก็มาเข้าตลาดหลักทรัพย์ไป ที่เค้าไม่ดีเราก็ต้องระมัดระวัง
Q-การคาดการณ์เป็นยังไงครับ รถยนต์ก็ไปลำบาก เครื่องใช้ไฟฟ้าห้างก็ลดราคากันแล้ว
A-รถยนต์ 1ล้านคันส่งออก ฐานประเทศไทยเราแข็งแรงและค่าเงินบาท ตัวส่งออกจะเป็นตัวที่พยุงเรา การที่เค้าย้ายฐานไปมันเป็นข่าวแค่นั้น เราก็ยังรับorder จากโตชิบา ,ฮิตาชิ เหมือนเดิม เพียงแต่ว่า order จะทำยากขึ้น ผมว่ายังพอไปได้แต่มันก็เหนื่อย สิ่งที่น่ากลัวคือถ้าผู้ถือหุ้นเปิดขึ้นมาแล้วเห็นว่าเราเป็นหนี้มหาศาล D/E 3 เท่า ท่านต้องถามผมแน่ๆว่ามีปัญญาจ่ายดอกเบี้ยหรือ เพราะว่าดอกเบี้ยขึ้นแน่ๆ
Q- บาทอ่อน ดีกับเราไหมครับหรือว่าไม่ดี และทองแดงกับอลูมิเนียมเราไปทางด้านอุตสาหกรรมไหนบ้าง และมีแนวโน้มจะขยายไหม
A-บาทอ่อนไม่ดีต่อเราแน่นอนครับ เราซื้อจากบริษัทญี่ปุ่นเป็น US $หมดเลย แต่ว่าคุณอนันต์ก็ Hedge ไว้หมดเลย มีแผนจะตั้งโรงงานไหม คงไม่ โรงงานในเมืองจีนมีเป็น 100 โรง
รายได้รวมปี2558 3,416 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.2% ..
กำไรขั้นต้น 346.ล้านบาท ลดลงจากปีที่แล้ว 0.8% .
กำไรสุทธิ 137 ล้านบาท ลดลงจากปีที่แล้ว 0.3% สาเหตุหลักมาจาก อุตสาหกรรมยานยนต์ลดลง
ต่อหุ้นกำไร 0.36 บาท
อัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ 5.86%
อัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น 10.59%
อัตราส่วนสภาพคล่อง 2.08 เท่า
อัตราส่วนหนี้สินทุน. 0.58 เท่า
Q-1.ในรายงานประจำปี 2557 บริษัทของเราได้การจัดทำนโยบายต่อต้านคอรัปชั่นเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว อยากจะเรียนถามท่านประธานว่า ได้มีการวางแผนอย่างไรให้ได้รับการรับรองจากโครงการ CAC ค่ะ
2.อยากจะเรียนถามว่าผลกระทบจากการย้ายฐานการผลิตของลูกค้า ท่านประธานได้มีการวางแผนใน ปี-2 ปีข้างหน้าในการรับมือไว้อย่างไร
3.เทรนด์อุตสาหกรรมยานยนต์ ในปี 59-60 ท่านมองอย่างไรค่ะ ขอบคุณค่ะ
A-1.เรื่องของคอรัปชั่นได้เป็นนโยบายหลักแล้ว คณะกรรมการยินดีที่จะทำ ในการประชุมที่ผ่านมา ในการได้รับการรับรองจะมีเวลา 18 เดือนในการเตรียมการ มีการตั้งกรรมการตรวจสอบภายในในการทำการประเมิน...
2. การย้ายฐานเป็นการย้ายฐานในส่วนของชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคเยอะ บริษัทจะเป็นบริษัทที่จะจัดส่งในส่วนของ part ที่เป็นโลหะที่เป็นสเตนเลส ตอนหลังก็เพิ่ม อลูมิเนียม..การย้ายฐานที่มีแนวโน้มแล้วคือเครื่องใช้ไฟฟ้า..ซึ่งได้มีการย้ายฐานจากเมืองไทยไปอยู่ที่เวียดนามและมาเลเซีย โดยเฉพาะ เครื่องซักผ้ารุ่นเล็กๆได้มีการย้ายฐานไปเยอะ เราคงไม่สามารถไปหยุดกระแสตรงนี้ได้เพราะเป็นเรื่องของการวางแผน กระจายความเสี่ยง.จากน้ำท่วมที่เกิดในประเทศเรา และนโยบายของรัฐบาลประเทศอื่นที่ได้ให้ความสนใจอุตสาหกรรมนี้มากกว่าในประเทศเรา แต่เราเองการกระจายสินค้าจาก สเตนเลสสตีล ไปหาอลูมิเนียม ทองแดง เริ่มมา 3-4 ปี ก็มีตัวเลขมากขึ้น บริษัทเราโชคดีตรงที่เรากระจายไปหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า ก่อสร้าง ตอนนี้เครื่องใช้ไฟฟ้าตก 23% ก่อสร้างประมาณ 15-16% อาหาร ค้าส่ง ยานยนต์ประมาณ 40% จะเห็นว่าคงไม่ย้ายที่เดียวครบทุกอุสาหกรรม แต่ถามว่าตกไหม ยอมรับว่าตกครับ ตกลงมาตรงที่ห่วงโซ่ supply chian .ตกลงมาทั้งระบบเลย แต่ยังไงก็ดี
เครื่องใช้ไฟฟ้าตัวใหญ่ๆชิ้นใหญ่ของซัมซุง, LG, ฮิตาชิ ยังอยู่ที่ไทยนะครับที่ไปจะเป็นตัวเล็กหมด อยู่ที่ว่าต้องวัดฝีมือต้องยอมรับว่าเวียดนามน่ากลัวมาก พอย้ายฐานและส่งเข้าไปอเมริกาจะได้รับการสนับสนุนเรื่องภาษี
3.ยานยนต์ที่มีปัญหาจากที่ประมาณการ 2 ล้านกว่าคันมาเป็นล้านแปดเรามองว่าอุตสาหกรรมยานยนต์โดนผลกระทบจาก demand เทียมที่เกิดขึ้นจากการซื้อที่เกินจากรถคันแรกทำให้กำลังซื้อของคนลดลง รถประเภท B class ระดับประมาณไม่ถึง 1ล้านบาทหรือรถกระบะ ที่เป็น market เซกเมนต์ใหญ่ เซกเมนต์นี้เป็นเซกเมนต์ที่มีปัญหากับการกู้ยืมเงิน เรื่องวงเงินเครดิตต่างๆ ทำให้BANK ปล่อยกู้ยาก แต่ยังโชคดีของเราการส่งออกเป็นไปด้วยดี ปีนี้ตั้งเป้า 1ล้าน 8 แสนคัน 1 ล้านเป็นส่งออก ท่อสเตนเลสที่ติดในท่อไอเสียเป็นท่อที่ทนความร้อนสูง เราส่งให้กับรถยนต์ทุกยี่ห้อยกเว้น โตโยต้า ณ.ตอนนี้ตัวเลขที่เรามีก็ยังไม่ร้ายแรงมากเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่ถามว่าตกไหม ก็ยอมรับว่าตก กลุ่มยานยนต์ก็ยังเป็นตัวทำกำไรของเราอยู่ดี
Q-ราคาน้ำมันที่แกว่งเพราะราคาเหล็กมีผลกระทบค่อนข้างมากอยากทราบว่า บริษัทได้รับผลกระทบจากความเสียหายอย่างไรบ้าง
A-บริษัทเราไม่ได้ขายเหล็กเลยครับ เพียงแต่บังเอิญมาอยู่ในกลุ่มเหล็ก ราคาที่ลงมากเหตุผลหลักมาจากจีนครับ 1.จีนใช้ของในประเทศมากขึ้น 2.จากภาวะถดถอยของเศรษฐกิจจีน ทำให้ของที่ใช้ทุกอย่างน้อยลง ก็ทำให้ คอมมูนิตี้ตกลง ราคานิกเกิลลงมาเยอะการมีขึ้นลงเร็วมันเป็นเสน่ห์ บริษัทซื้อกับ INOX ซื้อในประเทศ 440-50% ไม่ต้องแบก สต็อก เยอะ ไม่ต้องวุ่นวายกับอัตราแลกเปลี่ยน ลูกค้าเราเป็นซื้อมาใช้ไป เรามีข้อมูลเพียงพอในการเก็บสต็อก
Q-Market Share ของบริษัท
A-ในกลุ่มรถยนต์มี 3 ราย เราไม่ใช่เบอร์ 3 และเบอร์ 1 เหล็กรถยนต์ถูกกำหนดด้วยโรงงานรถยนต์
Q-บริษัทมีแผนขยายไปในด้านไหนใน 5 ปี 10 ปี
A- แผน 5 ปี ไม่เคยคิดเลยครับ สภาวะโลก ผมเองก็ไม่รู้ว่าปีหน้าการเงินโลก ธนาคารโลก จะเป็นยังไง จะบอกง่ายๆ ว่าบริษัทเราจะเป็นผู้ให้บริการสนับสนุนในด้านห่วงโซ่อุปทาน ลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆไม่ว่าจะอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมไหน ถ้าตราบใดที่เค้าช่วยเราหาซัพพลายเออร์ได้ เราก็ช่วยจัดเก็บสต็อก สำคัญที่สุดคือช่วยจัดเก็บสต็อก เราจะเก่งในเรื่องยานยนต์กับกลุ่มญี่ปุ่น ถ้าลูกค้าไม่โต หรือในกลุ่มอุตสาหกรรมไม่โต เราก็ไม่รู้จะโตได้ยังไง เราไม่มีนโยบายตอนนี้ว่าจะไปผลิตรถยนต์เองหรือฉีกแนวไปจะบอกว่าผมค่อนข้างหวงเงินมาก เรามีดีที่มีเงินสด มีอะไรขึ้นมาเรายังมีเงินสด มันดีอย่างมันซื้อของได้ถูกได้ส่วนลด เศรษฐกิจข้างหน้าใน 6 เดือน ไม่มีใครรู้ว่าจะเป็นยังไง แผนก็มีจะเป็นลักษณ์ไปเรื่อยๆ เราก็มีดูเรื่อง M&A. การซื้อกิจการก็ดูอยู่ แต่เนื่องจากความเป็นช่างเลือกและก็เลือกมาก ปัจจุบันที่เค้าดีๆเค้าก็มาเข้าตลาดหลักทรัพย์ไป ที่เค้าไม่ดีเราก็ต้องระมัดระวัง
Q-การคาดการณ์เป็นยังไงครับ รถยนต์ก็ไปลำบาก เครื่องใช้ไฟฟ้าห้างก็ลดราคากันแล้ว
A-รถยนต์ 1ล้านคันส่งออก ฐานประเทศไทยเราแข็งแรงและค่าเงินบาท ตัวส่งออกจะเป็นตัวที่พยุงเรา การที่เค้าย้ายฐานไปมันเป็นข่าวแค่นั้น เราก็ยังรับorder จากโตชิบา ,ฮิตาชิ เหมือนเดิม เพียงแต่ว่า order จะทำยากขึ้น ผมว่ายังพอไปได้แต่มันก็เหนื่อย สิ่งที่น่ากลัวคือถ้าผู้ถือหุ้นเปิดขึ้นมาแล้วเห็นว่าเราเป็นหนี้มหาศาล D/E 3 เท่า ท่านต้องถามผมแน่ๆว่ามีปัญญาจ่ายดอกเบี้ยหรือ เพราะว่าดอกเบี้ยขึ้นแน่ๆ
Q- บาทอ่อน ดีกับเราไหมครับหรือว่าไม่ดี และทองแดงกับอลูมิเนียมเราไปทางด้านอุตสาหกรรมไหนบ้าง และมีแนวโน้มจะขยายไหม
A-บาทอ่อนไม่ดีต่อเราแน่นอนครับ เราซื้อจากบริษัทญี่ปุ่นเป็น US $หมดเลย แต่ว่าคุณอนันต์ก็ Hedge ไว้หมดเลย มีแผนจะตั้งโรงงานไหม คงไม่ โรงงานในเมืองจีนมีเป็น 100 โรง