โค้ด: เลือกทั้งหมด
ช่วงนี้กระแสข่าวว่ารัฐบาลสนับสนุนให้มีการจัดตั้งธุรกิจ Nanofinance เกิดขึ้นและทำให้หุ้นกลุ่ม leasing (ให้เงินกู้) มีการซื้อขายกันอย่างคึกคัก เราลองมาวิเคราะห์กันว่าจะมีข้อดีข้อเสียอย่างไร
ก่อนอื่นขอให้คำนิยามของ Nanofinance (ตามที่รัฐบาลออกนโยบายมา) คือการให้เงินกู้รายละไม่เกิน 100,000 บาท โดยจุดประสงค์คือนำไปใช้ประกอบธุรกิจ และไม่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน (collateral) และให้คิดดอกเบี้ยสูงสุดได้ 36%
จากที่ผมมีประสบการณ์ในการลงทุนหุ้นกลุ่ม leasing มา ผู้ประกอบการณ์ที่จะประสบความสำเร็จในระยะยาวได้นั้นจะต้องมีหลักเกณฑ์ในการปล่อยเงินกู้ที่รัดกุม สามารถคุมหนี้เสีย (Non-performing Loan : NPL) ให้อยู่ในระดับต่ำ และสามารถนำสินทรัพย์ที่ยึดมาขายทอดตลาดได้ราคาที่ดี (recovery rate สูง)
การปล่อยกู้ที่ดีจะต้องใช้หลัก 5C
1.Capacity : ความสามารถในการจ่ายคืน อาจดูได้จากแหล่งรายได้
2.Collateral : สินทรัพย์ค้ำประกัน ถ้าไม่สามารถชำระหนี้ได้ สามารถขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้
3.Capital : หมายถึงส่วนทุนของผู้กู้ สมมุติว่ากู้ซื้อคอนโดแล้วใช้เงินดาวน์สูง โอกาสเบี้ยวหนี้ก็จะลดลง
4.Condition : ดูว่านำไปใช้อะไร
5.Character : ผู้กู้มีแนวโน้มจะคืนหรือไม่ อาจดูได้จากประวัติการผ่อนชำระในอดีต
เกณฑ์กว้างๆของ Nanofinance ดูเหมือนจะไม่ได้เน้น Capacity, Collateral , Capital และ Character
ทำให้ความเสี่ยงสูงมากทีเดียว ถึงแม้ว่าดอกเบี้ยจะสูงแต่ถ้าหากไม่สามารถคุมหนี้เสียได้ โอกาสขาดทุนก็จะสูง ส่วนตัวผมจึงคิดว่านี่ไม่ได้เป็นธุรกิจที่น่าสนใจมากนัก
บริษัทที่จะประสบความสำเร็จได้ จึงควรจะมีคุณสมบัติ(ขั้นต่ำ)ดังนี้
1.ต้องมีฐานข้อมูลลูกค้าที่มากเพียงพอ เพื่อใช้ในการวิเคราห์ credit history
2.ปล่อยกู้ให้เฉพาะลูกค้าเก่าที่ credit ดี
3.มีการวิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้ได้
บริษัทส่วนใหญ่ที่ประกาศว่าจะทำ Nanofinance อาจจะยังไม่ได้มีความพร้อมมากนัก การลงทุนจึงควรพิจารณาให้ดี มิฉะนั้นจะเป็นความเสี่ยงในอนาคต
Disclaimer : ผมมีการลงทุนในกลุ่ม leasing อยู่บ้าง