M&A ยี่ห้อบัฟเฟตต์/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1827
- ผู้ติดตาม: 1
M&A ยี่ห้อบัฟเฟตต์/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
การทำ M&A หรือการซื้อหรือควบรวมกิจการนับวันจะเป็นเรื่องปกติของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยที่ต้องการเติบโตอย่างรวดเร็วแต่กิจการเดิมที่มีอยู่นั้นไม่สามารถสร้างรายได้เพิ่มเร็วและมากพอเนื่องจากเหตุผลต่าง ๆ การซื้อกิจการต่าง ๆ ทั้งที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดิมหรือธุรกิจใหม่จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่บริษัทที่มีทรัพยากรทางการเงินเหลือเลือกใช้ ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า มันคุ้มค่าไหมที่จะทำ? เพราะแม้ว่าการซื้อกิจการจะทำให้มีรายได้และอาจจะทำกำไรเพิ่มทันทีแต่ราคาที่ซื้อก็มักจะแพงกว่าปกติค่อนข้างมาก ถ้าเป็นบริษัทหรือหุ้นในตลาดก็มักจะแพงกว่าอย่างน้อยก็ 30-40% จากราคาก่อนมีข่าวเทคโอเวอร์ อย่างไรก็ตาม คนที่ซื้อกิจการก็มักจะมี “ข้อแก้ตัว” หรือมีเหตุผลว่าตนเองจะสามารถปรับปรุงหรือพัฒนากิจการที่ซื้อมาให้ดีขึ้นได้อย่าง “ก้าวกระโดด” ผ่านกิจกรรมบางอย่างเช่น เปลี่ยนผู้บริหาร หรือไม่ก็โดยการทำ “Synergies” หรือสามารถสร้างรายได้เพิ่มและ/หรือลดต้นทุนให้กับกิจการเมื่อนำธุรกิจใหม่และธุรกิจเดิมที่มีอยู่มา “บริหารร่วมกัน” ดังนั้น สำหรับบริษัทที่เทคโอเวอร์บริษัทอื่นแล้ว พวกเขาคิดว่ามันเป็นเรื่องที่คุ้มค่าเสมอ และก็เช่นเดียวกัน นักลงทุนจำนวนมากก็มักจะคิดว่าบริษัทจะดีขึ้นและโตขึ้นอย่างรวดเร็วพวกเขาจึงแห่กันไปซื้อหุ้น ผลก็คือ ทั้งหุ้นของบริษัทที่ถูกเทคและ บริษัทที่เทคโอเวอร์คนอื่นต่างก็ “วิ่งกันระเบิด” ในวันประกาศข่าว อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์บอกเราว่า หลังจากการเทคโอเวอร์แค่ 2-3 ปี ความหวังหรือความฝันมักจะสูญสลาย การทำ M&A ส่วนใหญ่มีแต่ทำให้บริษัทแย่ลง
วอเร็น บัฟเฟตต์ นั้น คนส่วนใหญ่คิดว่าเขาเป็น “นักลงทุน” ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกที่รู้ว่าจะซื้อและขายหุ้นตัวไหนให้ได้กำไรงดงาม แต่หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าที่จริงแล้วการลงทุนของบัฟเฟตต์ส่วนใหญ่แล้วก็คือ การเทคโอเวอร์หรือทำ M&A นั่นก็คือ เขามักจะซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัทหรือเป็นหุ้นใหญ่ที่เขามีอำนาจควบคุมเหมือนกับเป็นเจ้าของโดยที่เขาซื้อโดยไม่มีจุดประสงค์ในการขาย บัฟเฟตต์ทำแบบนี้มานานหลายสิบปีและเป็นเจ้าของบริษัทมากมาย รายได้และกำไรของบริษัทที่อยู่ใน “อาณาจักร” ของเบิร์กไชร์รวมกันนั้นสูงเป็นอันดับ 1 ใน 5 ของบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในตลาดหุ้นสหรัฐรองจากหุ้นอย่างวอลมาร์ทหรือแอปเปิลคอมพิวเตอร์ บัฟเฟตต์ทำได้อย่างไรในการเทคโอเวอร์บริษัทที่ดีเยี่ยมและไม่เป็นปัญหาในภายหลังอย่างคนอื่นและเขาบริหาร “บริษัทลูก ๆ” อย่างไรที่ทำให้เบิร์กไชร์ประสบความสำเร็จอย่างสูงทั้ง ๆ ที่ทั้งบริษัทแม่ที่เมืองโอมาฮามีคนทำงานไม่เกิน 20 คน
ความสำเร็จในการทำ M&A ของบัฟเฟตต์นั้นผมคิดว่าอยู่ที่ “ยี่ห้อ” ของบัฟเฟตต์ที่ต้องบอกว่าเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่มีใครเหมือนและทำให้มัน “ขาย” ได้ดีมาก พูดง่าย ๆ เจ้าของธุรกิจที่ดี ๆ และอยากที่จะขายธุรกิจเนื่องด้วยเหตุผลร้อยแปด ถ้าเลือกได้ พวกเขาอาจจะอยากขายให้บัฟเฟตต์แม้ว่าบางทีราคาขายอาจจะถูกกว่าขายให้คนอื่นด้วยซ้ำ นี่ทำให้บัฟเฟตต์สามารถซื้อหุ้นหรือกิจการที่ดีเยี่ยมในราคาถูกอยู่ตลอดเวลา สิ่งนี้ประกอบกับความสามารถในการบริหารกิจการและคนของบัฟเฟตต์ และเม็ดเงินสดต้นทุนต่ำโดยเฉพาะจากกิจการประกันภัยและจากเงินปันผลจากบริษัทลูกจำนวนมหาศาล ทำให้เบิร์กไชร์สามารถซื้อบริษัทที่ดีเพิ่มขึ้นต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุดและไม่ประสบปัญหาเหมือนบริษัทอื่น มาดูกันว่า “ยี่ห้อ” หรือชื่อเสียงของการทำ M&A ของบัฟเฟตต์คืออะไร
ข้อแรก บัฟเฟตต์จะไม่ทำ M&A แบบ “ไม่เป็นมิตร” นั่นก็คือ ถ้าผู้บริหารหรือเจ้าของบริษัทไม่เห็นด้วยกับการเสนอเทคโอเวอร์ บัฟเฟตต์ก็จะไม่เข้าไปซื้อ เหตุผลก็คือ เวลาบัฟเฟตต์ซื้อกิจการนั้น เงื่อนไขสำคัญก็คือ ผู้บริหารจะต้องอยู่บริหารต่อไป เพราะบัฟเฟตต์คิดว่าคุณค่าของบริษัทหรือกิจการนั้นอยู่ที่ผู้บริหาร ถ้าเขาซื้อแล้วผู้บริหารออกไปใครจะบริหารและเขาจะแน่ใจได้อย่างไรว่าคนใหม่จะทำได้ดีเช่นคนเก่าและกิจการจะดี “เหมือนเดิม” และนี่ก็เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขข้อสองนั่นก็คือ
บัฟเฟตต์จะซื้อเฉพาะกิจการที่ดีหรือดีเยี่ยมเท่านั้น เขาไม่สนใจกิจการที่ย่ำแย่หรือกิจการที่จะ “Turn Around” หรือกิจการที่จะ “ฟื้นตัว” เพราะเขาพูดว่าหุ้นเหล่านี้มักจะไม่ฟื้นจริง ยกเว้นแต่ว่าถ้าเป็นบริษัทที่มีปัญหาในเรื่องสภาพคล่องทางการเงินแต่ตัวธุรกิจนั้นยังดีเยี่ยม แบบนี้เขาก็จะสนใจเพราะเบิร์กไชร์นั้นมีเงินสดมากและต้นทุนต่ำที่พร้อมจะเข้าไปสนับสนุนเต็มที่ ตัวอย่างน่าจะเกิดในช่วงวิกฤตซับไพร์มปี 2008-9 ที่บริษัทดีเยี่ยมจำนวนมากเช่น GE และสถาบันการเงินหลายแห่งเกือบล้มละลายเพราะขาดเงินซึ่งบัฟเฟตต์เข้าไปลงทุนอัดฉีดเงินให้จนฟื้น
ข้อสามที่เป็นที่ชื่นชอบของเจ้าของธุรกิจที่ต้องการขายบริษัทให้กับบัฟเฟตต์ก็คือ เขาจะไม่มีการปลดผู้บริหารหรือบุคคลากรของบริษัท เขาต้องการให้เจ้าของเดิมบริหารบริษัทต่อไป “ตลอดชีวิต” ดังนั้น สำหรับเจ้าของที่เป็นผู้บริหารด้วยนั้น เมื่อขายให้บัฟเฟตต์แล้ว พวกเขาก็จะยังทำงาน “ที่เขารัก” และมีชีวิตประจำวันเหมือนเดิม พวกเขาจะรู้สึกแย่ในกรณีที่ถ้าขายให้กับคนอื่นแล้วบริษัทจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่มีอัตลักษณ์เดิมของครอบครัวและที่สำคัญที่สุดก็คือพนักงานเก่าแก่ที่เคยอยู่ด้วยกันและผูกพันกันมานานอาจจะถูก “ลอยแพ” ถ้าขายให้คนอื่น
ข้อสี่ก็คือ บัฟเฟตต์ จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการบริหารงานของบริษัทที่เขาเทคโอเวอร์โดยเฉพาะในเรื่องของธุรกิจประจำ เขาอาจจะติดต่อกับบริษัทบ้างอาจจะปีละครั้งหรือไม่ต้องคุยเลย สิ่งที่บัฟเฟตต์ต้องการให้ผู้บริหารทำก็คือ “คิดและทำเหมือนเป็นเจ้าของบริษัท” อะไรที่เป็นประโยชน์คุ้มค่าก็ทำ อะไรที่ไม่เป็นประโยชน์ก็ไม่ต้องทำ ตัวอย่างเช่น อย่าขยายงานถ้าผลตอบแทนต่ำ ผลงานของผู้บริหารนั้นวัดที่ผลกำไรเทียบกับส่วนของผู้ถือหุ้น ถ้าลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนต่ำก็อย่าลงทุน ให้จ่ายเป็นปันผลออกมา ไม่ต้องห่วงว่าบริษัทจะโตช้าหรือไม่โต
ข้อห้าและน่าจะเป็นเรื่องที่ “หักล้าง” ความคิดเรื่อง M&A สายหลักอย่างสิ้นเชิงก็คือ บัฟเฟตต์ไม่สนใจเรื่อง Synergies ทางด้านการทำธุรกิจ บริษัทในเครือข่ายของเบิร์กไชร์นั้นต่างคนก็ต่างอยู่ไม่จำเป็นที่จะต้องมาหาทางเพิ่มประสิทธิภาพหรือลดต้นทุน ไม่ต้องมายุ่งกันในเรื่องของการขายหรือการตลาด ตัวอย่างเช่น เบิร์กไชร์มีบริษัทที่ขายเฟอร์นิเจอร์หลายแห่งหลายเมืองแต่ทุกรายต่างก็ทำของตนเองไม่ยุ่งเกี่ยวกัน ผมคิดว่ากลยุทธ์นี้ทำให้แต่ละบริษัทต่างก็ไม่ต้องไปขึ้นอยู่หรือไปสัมพันธ์ทางธุรกิจกับคนอื่นซึ่งจะทำให้แต่ละคนมีความคล่องตัวน้อยลงซึ่งอาจจะกลายเป็นว่าผู้บริหารที่เคยมี “อิสระ” ก่อนถูกเทคโอเวอร์ กลายเป็นว่าจะไม่มีอิสระแล้ว ดังนั้น แนวทางของบัฟเฟตต์ข้อนี้น่าจะทำให้เจ้าของและผู้บริหารบริษัทอยากขายบริษัทให้บัฟเฟตต์มากกว่าขายให้คนอื่น เพราะขายไปแล้วตนก็ยังมีอิสระในการทำงานเหมือนเดิม Synergies แบบเดียวที่บัฟเฟตต์ให้กับบริษัทลูก ๆ ก็คือ ในเรื่องของการเงิน นั่นก็คือ เวลาบัฟเฟตต์เทคโอเวอร์บริษัทแล้ว เขามักจะช่วยลดต้นทุนทางด้านการเงินให้ เช่น เคยจ่ายดอกเบี้ยสูงก็จะจ่ายต่ำลงเพราะเครดิตของเบิร์กไชร์นั้นดีมาก
สองข้อสุดท้ายที่ทำให้ยี่ห้อเทคโอเวอร์ของบัฟเฟตต์ดึงดูดใจเจ้าของธุรกิจมากก็คือ เขาสามารถ “ปิดดีล” ได้เร็วมากและมักจะไม่มีการทำ “Due Diligent” หรือศึกษาข้อมูลรายละเอียดของบริษัทให้ “เสียอารมณ์” อย่างบริษัทอื่น ถ้าตกลงราคาได้เขาสามารถจ่ายเงินได้ภายใน “บ่ายนี้” หรือใน “วันจันทร์” เป็นเงินสด ไม่ใช่เป็นการแลกหุ้นหรือจ่ายเป็นงวด ๆ นอกจากนั้น คนขายอาจจะรู้สึกมีความภาคภูมิใจที่ได้เป็น “หนึ่งในบริษัทของเบิร์กไชร์” และทั้งหมดนี้ก็คือ “ยี่ห้อ” ของเบิร์กไชร์ ที่ “สุดยอด” ไม่มีใครสามารถเลียนแบบได้และน่าจะเป็นปัจจัยของความสำเร็จที่สำคัญที่สุดที่บัฟเฟตต์ได้สร้างไว้
วอเร็น บัฟเฟตต์ นั้น คนส่วนใหญ่คิดว่าเขาเป็น “นักลงทุน” ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกที่รู้ว่าจะซื้อและขายหุ้นตัวไหนให้ได้กำไรงดงาม แต่หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าที่จริงแล้วการลงทุนของบัฟเฟตต์ส่วนใหญ่แล้วก็คือ การเทคโอเวอร์หรือทำ M&A นั่นก็คือ เขามักจะซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัทหรือเป็นหุ้นใหญ่ที่เขามีอำนาจควบคุมเหมือนกับเป็นเจ้าของโดยที่เขาซื้อโดยไม่มีจุดประสงค์ในการขาย บัฟเฟตต์ทำแบบนี้มานานหลายสิบปีและเป็นเจ้าของบริษัทมากมาย รายได้และกำไรของบริษัทที่อยู่ใน “อาณาจักร” ของเบิร์กไชร์รวมกันนั้นสูงเป็นอันดับ 1 ใน 5 ของบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในตลาดหุ้นสหรัฐรองจากหุ้นอย่างวอลมาร์ทหรือแอปเปิลคอมพิวเตอร์ บัฟเฟตต์ทำได้อย่างไรในการเทคโอเวอร์บริษัทที่ดีเยี่ยมและไม่เป็นปัญหาในภายหลังอย่างคนอื่นและเขาบริหาร “บริษัทลูก ๆ” อย่างไรที่ทำให้เบิร์กไชร์ประสบความสำเร็จอย่างสูงทั้ง ๆ ที่ทั้งบริษัทแม่ที่เมืองโอมาฮามีคนทำงานไม่เกิน 20 คน
ความสำเร็จในการทำ M&A ของบัฟเฟตต์นั้นผมคิดว่าอยู่ที่ “ยี่ห้อ” ของบัฟเฟตต์ที่ต้องบอกว่าเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่มีใครเหมือนและทำให้มัน “ขาย” ได้ดีมาก พูดง่าย ๆ เจ้าของธุรกิจที่ดี ๆ และอยากที่จะขายธุรกิจเนื่องด้วยเหตุผลร้อยแปด ถ้าเลือกได้ พวกเขาอาจจะอยากขายให้บัฟเฟตต์แม้ว่าบางทีราคาขายอาจจะถูกกว่าขายให้คนอื่นด้วยซ้ำ นี่ทำให้บัฟเฟตต์สามารถซื้อหุ้นหรือกิจการที่ดีเยี่ยมในราคาถูกอยู่ตลอดเวลา สิ่งนี้ประกอบกับความสามารถในการบริหารกิจการและคนของบัฟเฟตต์ และเม็ดเงินสดต้นทุนต่ำโดยเฉพาะจากกิจการประกันภัยและจากเงินปันผลจากบริษัทลูกจำนวนมหาศาล ทำให้เบิร์กไชร์สามารถซื้อบริษัทที่ดีเพิ่มขึ้นต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุดและไม่ประสบปัญหาเหมือนบริษัทอื่น มาดูกันว่า “ยี่ห้อ” หรือชื่อเสียงของการทำ M&A ของบัฟเฟตต์คืออะไร
ข้อแรก บัฟเฟตต์จะไม่ทำ M&A แบบ “ไม่เป็นมิตร” นั่นก็คือ ถ้าผู้บริหารหรือเจ้าของบริษัทไม่เห็นด้วยกับการเสนอเทคโอเวอร์ บัฟเฟตต์ก็จะไม่เข้าไปซื้อ เหตุผลก็คือ เวลาบัฟเฟตต์ซื้อกิจการนั้น เงื่อนไขสำคัญก็คือ ผู้บริหารจะต้องอยู่บริหารต่อไป เพราะบัฟเฟตต์คิดว่าคุณค่าของบริษัทหรือกิจการนั้นอยู่ที่ผู้บริหาร ถ้าเขาซื้อแล้วผู้บริหารออกไปใครจะบริหารและเขาจะแน่ใจได้อย่างไรว่าคนใหม่จะทำได้ดีเช่นคนเก่าและกิจการจะดี “เหมือนเดิม” และนี่ก็เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขข้อสองนั่นก็คือ
บัฟเฟตต์จะซื้อเฉพาะกิจการที่ดีหรือดีเยี่ยมเท่านั้น เขาไม่สนใจกิจการที่ย่ำแย่หรือกิจการที่จะ “Turn Around” หรือกิจการที่จะ “ฟื้นตัว” เพราะเขาพูดว่าหุ้นเหล่านี้มักจะไม่ฟื้นจริง ยกเว้นแต่ว่าถ้าเป็นบริษัทที่มีปัญหาในเรื่องสภาพคล่องทางการเงินแต่ตัวธุรกิจนั้นยังดีเยี่ยม แบบนี้เขาก็จะสนใจเพราะเบิร์กไชร์นั้นมีเงินสดมากและต้นทุนต่ำที่พร้อมจะเข้าไปสนับสนุนเต็มที่ ตัวอย่างน่าจะเกิดในช่วงวิกฤตซับไพร์มปี 2008-9 ที่บริษัทดีเยี่ยมจำนวนมากเช่น GE และสถาบันการเงินหลายแห่งเกือบล้มละลายเพราะขาดเงินซึ่งบัฟเฟตต์เข้าไปลงทุนอัดฉีดเงินให้จนฟื้น
ข้อสามที่เป็นที่ชื่นชอบของเจ้าของธุรกิจที่ต้องการขายบริษัทให้กับบัฟเฟตต์ก็คือ เขาจะไม่มีการปลดผู้บริหารหรือบุคคลากรของบริษัท เขาต้องการให้เจ้าของเดิมบริหารบริษัทต่อไป “ตลอดชีวิต” ดังนั้น สำหรับเจ้าของที่เป็นผู้บริหารด้วยนั้น เมื่อขายให้บัฟเฟตต์แล้ว พวกเขาก็จะยังทำงาน “ที่เขารัก” และมีชีวิตประจำวันเหมือนเดิม พวกเขาจะรู้สึกแย่ในกรณีที่ถ้าขายให้กับคนอื่นแล้วบริษัทจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่มีอัตลักษณ์เดิมของครอบครัวและที่สำคัญที่สุดก็คือพนักงานเก่าแก่ที่เคยอยู่ด้วยกันและผูกพันกันมานานอาจจะถูก “ลอยแพ” ถ้าขายให้คนอื่น
ข้อสี่ก็คือ บัฟเฟตต์ จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการบริหารงานของบริษัทที่เขาเทคโอเวอร์โดยเฉพาะในเรื่องของธุรกิจประจำ เขาอาจจะติดต่อกับบริษัทบ้างอาจจะปีละครั้งหรือไม่ต้องคุยเลย สิ่งที่บัฟเฟตต์ต้องการให้ผู้บริหารทำก็คือ “คิดและทำเหมือนเป็นเจ้าของบริษัท” อะไรที่เป็นประโยชน์คุ้มค่าก็ทำ อะไรที่ไม่เป็นประโยชน์ก็ไม่ต้องทำ ตัวอย่างเช่น อย่าขยายงานถ้าผลตอบแทนต่ำ ผลงานของผู้บริหารนั้นวัดที่ผลกำไรเทียบกับส่วนของผู้ถือหุ้น ถ้าลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนต่ำก็อย่าลงทุน ให้จ่ายเป็นปันผลออกมา ไม่ต้องห่วงว่าบริษัทจะโตช้าหรือไม่โต
ข้อห้าและน่าจะเป็นเรื่องที่ “หักล้าง” ความคิดเรื่อง M&A สายหลักอย่างสิ้นเชิงก็คือ บัฟเฟตต์ไม่สนใจเรื่อง Synergies ทางด้านการทำธุรกิจ บริษัทในเครือข่ายของเบิร์กไชร์นั้นต่างคนก็ต่างอยู่ไม่จำเป็นที่จะต้องมาหาทางเพิ่มประสิทธิภาพหรือลดต้นทุน ไม่ต้องมายุ่งกันในเรื่องของการขายหรือการตลาด ตัวอย่างเช่น เบิร์กไชร์มีบริษัทที่ขายเฟอร์นิเจอร์หลายแห่งหลายเมืองแต่ทุกรายต่างก็ทำของตนเองไม่ยุ่งเกี่ยวกัน ผมคิดว่ากลยุทธ์นี้ทำให้แต่ละบริษัทต่างก็ไม่ต้องไปขึ้นอยู่หรือไปสัมพันธ์ทางธุรกิจกับคนอื่นซึ่งจะทำให้แต่ละคนมีความคล่องตัวน้อยลงซึ่งอาจจะกลายเป็นว่าผู้บริหารที่เคยมี “อิสระ” ก่อนถูกเทคโอเวอร์ กลายเป็นว่าจะไม่มีอิสระแล้ว ดังนั้น แนวทางของบัฟเฟตต์ข้อนี้น่าจะทำให้เจ้าของและผู้บริหารบริษัทอยากขายบริษัทให้บัฟเฟตต์มากกว่าขายให้คนอื่น เพราะขายไปแล้วตนก็ยังมีอิสระในการทำงานเหมือนเดิม Synergies แบบเดียวที่บัฟเฟตต์ให้กับบริษัทลูก ๆ ก็คือ ในเรื่องของการเงิน นั่นก็คือ เวลาบัฟเฟตต์เทคโอเวอร์บริษัทแล้ว เขามักจะช่วยลดต้นทุนทางด้านการเงินให้ เช่น เคยจ่ายดอกเบี้ยสูงก็จะจ่ายต่ำลงเพราะเครดิตของเบิร์กไชร์นั้นดีมาก
สองข้อสุดท้ายที่ทำให้ยี่ห้อเทคโอเวอร์ของบัฟเฟตต์ดึงดูดใจเจ้าของธุรกิจมากก็คือ เขาสามารถ “ปิดดีล” ได้เร็วมากและมักจะไม่มีการทำ “Due Diligent” หรือศึกษาข้อมูลรายละเอียดของบริษัทให้ “เสียอารมณ์” อย่างบริษัทอื่น ถ้าตกลงราคาได้เขาสามารถจ่ายเงินได้ภายใน “บ่ายนี้” หรือใน “วันจันทร์” เป็นเงินสด ไม่ใช่เป็นการแลกหุ้นหรือจ่ายเป็นงวด ๆ นอกจากนั้น คนขายอาจจะรู้สึกมีความภาคภูมิใจที่ได้เป็น “หนึ่งในบริษัทของเบิร์กไชร์” และทั้งหมดนี้ก็คือ “ยี่ห้อ” ของเบิร์กไชร์ ที่ “สุดยอด” ไม่มีใครสามารถเลียนแบบได้และน่าจะเป็นปัจจัยของความสำเร็จที่สำคัญที่สุดที่บัฟเฟตต์ได้สร้างไว้
- Lastpun
- Verified User
- โพสต์: 819
- ผู้ติดตาม: 0
Re: M&A ยี่ห้อบัฟเฟตต์/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 4
Synergies ในแง่ธุรกิจ ก็มีอยู่จริง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ว่าคุ้มกับ Premium ที่จ่ายไปหรือไม่ ถ้า Synergy มาประหยัดปีละ 100 แต่จ่าย Premium ไป 4-5000 คนที่ไป Take ก็ต้องทำใจ ประโยชทุกอย่างตกอยู่กับคนทำดีล เงินเน้นๆ