Start up Company
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Start up Company
โพสต์ที่ 1
Startup คืออะไร?
Startup คือ บริษัทที่เปิดใหม่จากคนไม่กี่คน ซึ่งที่ Silicon Valley ในสหรัฐอเมริกา เป็นแหล่งรวมตัวของบริษัทด้านไอทีชั้นนำต่างๆ มากมาย ทั้งผู้ที่สนใจเปิดบริษัทใหม่ นักลงทุน จะรวมตัวกันอยู่ที่นี่ โดยบริษัทด้านไอทีชื่อดังหลายแห่ง เช่น Facebook , Instagram ก็เริ่มต้นจากการเป็น Startup
ความแตกต่างของ บริษัทในรูปแบบ Startup กับบริษัทธรรมดาคือ Startup จะหมายถึงธุรกิจที่วางแผนมาเพื่อเติบโตแบบก้าวกระโดดจากคนเพียงไม่กี่คน โดยสินค้าที่ทำออกมาคือก็คือ Software หรือ แอปพลิเคชัน ซึ่งการลงทุนไม่สูง หากมีการวางแผนธุรกิจที่ดี มีไอเดีย สามารถสร้างผลงานให้คนใช้ได้ทั่วโลก ก็จะสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แต่การจะทำให้ธุรกิจให้ออกมาดีก็ต้องใช้เงินทุน เงินทุนที่ว่านี้ ก็มาจาก นักลงทุน โดยธุรกิจ Startup จะมีประเพณีการหาเงินทุนด้วยการขอเงินจากนักลงทุน ซึ่งนักลงทุนจะมีการได้สิทธิ์ในการแบ่งปันรายได้ หรือเป็นหุ้นส่วนในบริษัทไปด้วย คุณกระทิง เรืองโรจน์ พูนผล ผู้ก่อตั้งและเป็นผู้บริหาร DTAC Accelerate ผู้สนับสนุน startup ไทยสู่เวทีโลก ได้เล่าให้ฟังว่า สิ่งที่สำคัญที่ทำให้ startup แตกต่างจาก SME คือ Model ธุรกิจ โดยธุรกิจของ startup จะต้องถูกออกแบบมาให้เติบโตอย่างรวดเร็ว แบบก้าวกระโดด จึงแตกต่างจาก SME ดังนั้นการเป็น Startup ต้องมีแผนธุรกิจ ต้องมีทีม ซึ่งนักลงทุนจะดูที่บุคลิกของคนในทีมด้วย ว่าเป็นคนที่เค้าอยากลงทุนด้วยหรือเปล่า โดยนักลงทุนจะมี 2 ประเภทคือVC กับ Angel investor
สำหรับ Venture Capital หรือเรียกย่อๆ ว่า VC ซึ่งก็คือ ธุรกิจเงินร่วมลงทุน โดยลงทุนเหมือนเป็นหุ้นส่วนกับบริษัท Startup มีการลงทุนระยะยาวประมาณ 3-5 ปี ซึ่งมักเป็นนักลงทุนในรูปแบบขององค์กร การลงทุนของ VC จึงมักจะมีมูลค่าที่สูงกว่า Angel investor ซึ่งมักมองภาพของธุรกิจในระดับที่ใหญ่และนอกจากสนับสนุนทางด้านการเงินแล้ว VC ยังให้คำปรึกษา ช่วยชี้แนวทางในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ธุรกิจที่ได้รับเงินร่วมลงทุน สามารถที่จะเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
ส่วน Angel Investor มักเป็นนักลงทุนรายอิสระหรือกลุ่มนักลงทุนอิสระที่ใช้เงินส่วนตัวในการลงทุนในธุรกิจ จึงเสนอเงินที่น้อยกว่า VC เหมาะกับธุรกิจที่ลงทุนไม่สูงมาก โดย Angel investor มักเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว หรือเจ้าของธุรกิจส่วนตัวที่เกษียณตัวเองแล้วแต่มีประสบการณ์ในการเริ่มต้นและขยายธุรกิจ ซึ่งจะมีการเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารธุรกิจแตงต่างกันไป และ มักจะได้คำปรึกษาและความช่วยเหลือจากนักลงทุนเหล่านี้อย่างต่อเนื่องหรือเมื่อต้องการ
คนส่วนใหญ่อาจคิดว่า Startup มันเป็นเหมือนความฝัน เป็นเรื่องของที่ซึ่งไกลโพ้น คนไทยทำไม่ได้หรอก แต่คนไทยจำนวนหนึ่งกลับไม่คิดอย่างนั้น พวกเขาคิดต่าง พวกเขาเชื่อว่าคนไทยก็ทำได้ และเขาพยายามที่จะทำ บางคนก็เริ่มต้นโดยไม่รู้จักวิธีเขียนโปรแกรมเลยด้วยซ้ำ เราชื่นชมพวกเขาเหล่านั้น เราเชื่อว่าพวกเขาคิดถูก และพวกเขาจะทำได้ พวกเขาจะเป็นอนาคตของประเทศไทย เพราะนี่เป็นครั้งแรก ที่ทุกคนมีโอกาสทำธุรกิจที่เข้าถึงตลาดขนาดใหญ่มหาศาล ผู้ถือ Smart Phone ทั่วโลกคือลูกค้า พร้อมจะคลิ๊กให้เงินเข้ากระเป๋าเรา คุณไม่ต้องมีนามสกุลใหญ่โต ไม่ต้องมีเส้นสาย ไม่ต้องมีเงินทุนมหาศาลแต่คุณยังต้องการ ความรู้ ความสามารถ ไอเดีย โมเดลธุรกิจที่ดี และอาจจะผู้ร่วมทุนที่เชื่อในตัวคุณ คุณถึงจะก้าวไปสู่จุดนั้นได้จริงๆ
http://www.advice.co.th/newsdetail.php?nid=176
Startup คือ บริษัทที่เปิดใหม่จากคนไม่กี่คน ซึ่งที่ Silicon Valley ในสหรัฐอเมริกา เป็นแหล่งรวมตัวของบริษัทด้านไอทีชั้นนำต่างๆ มากมาย ทั้งผู้ที่สนใจเปิดบริษัทใหม่ นักลงทุน จะรวมตัวกันอยู่ที่นี่ โดยบริษัทด้านไอทีชื่อดังหลายแห่ง เช่น Facebook , Instagram ก็เริ่มต้นจากการเป็น Startup
ความแตกต่างของ บริษัทในรูปแบบ Startup กับบริษัทธรรมดาคือ Startup จะหมายถึงธุรกิจที่วางแผนมาเพื่อเติบโตแบบก้าวกระโดดจากคนเพียงไม่กี่คน โดยสินค้าที่ทำออกมาคือก็คือ Software หรือ แอปพลิเคชัน ซึ่งการลงทุนไม่สูง หากมีการวางแผนธุรกิจที่ดี มีไอเดีย สามารถสร้างผลงานให้คนใช้ได้ทั่วโลก ก็จะสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แต่การจะทำให้ธุรกิจให้ออกมาดีก็ต้องใช้เงินทุน เงินทุนที่ว่านี้ ก็มาจาก นักลงทุน โดยธุรกิจ Startup จะมีประเพณีการหาเงินทุนด้วยการขอเงินจากนักลงทุน ซึ่งนักลงทุนจะมีการได้สิทธิ์ในการแบ่งปันรายได้ หรือเป็นหุ้นส่วนในบริษัทไปด้วย คุณกระทิง เรืองโรจน์ พูนผล ผู้ก่อตั้งและเป็นผู้บริหาร DTAC Accelerate ผู้สนับสนุน startup ไทยสู่เวทีโลก ได้เล่าให้ฟังว่า สิ่งที่สำคัญที่ทำให้ startup แตกต่างจาก SME คือ Model ธุรกิจ โดยธุรกิจของ startup จะต้องถูกออกแบบมาให้เติบโตอย่างรวดเร็ว แบบก้าวกระโดด จึงแตกต่างจาก SME ดังนั้นการเป็น Startup ต้องมีแผนธุรกิจ ต้องมีทีม ซึ่งนักลงทุนจะดูที่บุคลิกของคนในทีมด้วย ว่าเป็นคนที่เค้าอยากลงทุนด้วยหรือเปล่า โดยนักลงทุนจะมี 2 ประเภทคือVC กับ Angel investor
สำหรับ Venture Capital หรือเรียกย่อๆ ว่า VC ซึ่งก็คือ ธุรกิจเงินร่วมลงทุน โดยลงทุนเหมือนเป็นหุ้นส่วนกับบริษัท Startup มีการลงทุนระยะยาวประมาณ 3-5 ปี ซึ่งมักเป็นนักลงทุนในรูปแบบขององค์กร การลงทุนของ VC จึงมักจะมีมูลค่าที่สูงกว่า Angel investor ซึ่งมักมองภาพของธุรกิจในระดับที่ใหญ่และนอกจากสนับสนุนทางด้านการเงินแล้ว VC ยังให้คำปรึกษา ช่วยชี้แนวทางในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ธุรกิจที่ได้รับเงินร่วมลงทุน สามารถที่จะเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
ส่วน Angel Investor มักเป็นนักลงทุนรายอิสระหรือกลุ่มนักลงทุนอิสระที่ใช้เงินส่วนตัวในการลงทุนในธุรกิจ จึงเสนอเงินที่น้อยกว่า VC เหมาะกับธุรกิจที่ลงทุนไม่สูงมาก โดย Angel investor มักเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว หรือเจ้าของธุรกิจส่วนตัวที่เกษียณตัวเองแล้วแต่มีประสบการณ์ในการเริ่มต้นและขยายธุรกิจ ซึ่งจะมีการเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารธุรกิจแตงต่างกันไป และ มักจะได้คำปรึกษาและความช่วยเหลือจากนักลงทุนเหล่านี้อย่างต่อเนื่องหรือเมื่อต้องการ
คนส่วนใหญ่อาจคิดว่า Startup มันเป็นเหมือนความฝัน เป็นเรื่องของที่ซึ่งไกลโพ้น คนไทยทำไม่ได้หรอก แต่คนไทยจำนวนหนึ่งกลับไม่คิดอย่างนั้น พวกเขาคิดต่าง พวกเขาเชื่อว่าคนไทยก็ทำได้ และเขาพยายามที่จะทำ บางคนก็เริ่มต้นโดยไม่รู้จักวิธีเขียนโปรแกรมเลยด้วยซ้ำ เราชื่นชมพวกเขาเหล่านั้น เราเชื่อว่าพวกเขาคิดถูก และพวกเขาจะทำได้ พวกเขาจะเป็นอนาคตของประเทศไทย เพราะนี่เป็นครั้งแรก ที่ทุกคนมีโอกาสทำธุรกิจที่เข้าถึงตลาดขนาดใหญ่มหาศาล ผู้ถือ Smart Phone ทั่วโลกคือลูกค้า พร้อมจะคลิ๊กให้เงินเข้ากระเป๋าเรา คุณไม่ต้องมีนามสกุลใหญ่โต ไม่ต้องมีเส้นสาย ไม่ต้องมีเงินทุนมหาศาลแต่คุณยังต้องการ ความรู้ ความสามารถ ไอเดีย โมเดลธุรกิจที่ดี และอาจจะผู้ร่วมทุนที่เชื่อในตัวคุณ คุณถึงจะก้าวไปสู่จุดนั้นได้จริงๆ
http://www.advice.co.th/newsdetail.php?nid=176
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Start up Company
โพสต์ที่ 2
อายุน้อยร้อยล้าน 20 กันยายน 2557 Startup Company
อายุน้อยร้อยล้าน
วันเสาร์ที่ 20 กันยายน 2014 เวลา 12:34 น.
รายการ อายุน้อยร้อยล้าน 20 กันยายน 2557 ล่าสุด อายุน้อย 100 ล้าน สู่อาเซียน 20/09/57 ตอนพิเศษ กับธุรกิจที่กำลังโด่งดัง และทั่วโลกกำลังพูดถึงอยู่ในขณะนี้ อย่าง Startup Company ซึ่งจะสามารถช่วยให้ผู้เริ่มต้นสร้างรายได้ ขยายกิจการทำเงินได้มากมาย ได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว 2-3 ปี ปัจจุบัน มีนักธุรกิจ Startup Company เกิดขึ้นทั่วโลกมากมาย รวมถึงในประเทศไทย ที่มีนักธุรกิจ ที่มีชื่อเสียง โดยเฉพาะ คุณณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ เจ้าของแอพพลิเคชั่นหนังสือออนไลน์ ที่ได้รับเงินสนับสนุนธุรกิจจากนักลงทุนมากที่สุดในเมืองไทย และ คุณยอด ชินสุภัคกุล เจ้าของเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นร้านอาหาร เว็บไซต์แนะนำร้านอาหาร อันดับ 1 ของเมืองไทย ที่สามารถขยายธุรกิจ และได้รับเงินทุนสนับสนุนจากนักลงทุนต่างชาติ
Startup Company คืออะไร? โอกาสสร้างเงินร้อยล้านจะเป็นไปได้จริงหรือไม่? แล้วต้องเริ่มต้นอย่างไร? ตอนนี้พิธีกรอายุน้อยร้อยล้าน จะพาเราไปรู้จักกับมัน โดยคุณหมู OokBee อธิบายเอาไว้ว่า Start Up ใช้เรียกบริษัท ที่เพิ่งเปิดขึ้นมาใหม่ มีความเติบโตอย่างรวดเร็ว อย่างเช่น ธุรกิจ Mobile, ส่วน SME คือธุรกิจขนาดเล็ก แต่ Startup Company สามารถทำซ้ำได้ ยกตัวอย่าง ร้านก๋วยเตี๋ยวที่บ้าน เป็นธุรกิจ SME, ส่วน Startup อาจเปรียบได้กับชายสี่หมี่เกี๊ยว ที่เปิดขยายไปได้เรื่อยๆ ก็จะมีนักลงทุนมาลงทุนให้ เพราะรู้ว่าธุรกิจนี้ สามารถเติบโตไปได้อีกไกล
ตัวอย่าง ธุรกิจ Startup Company ที่ประสบความสำเร็จ ที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันดี อย่างเช่น Instagram ที่ Facebook ซื้อกิจการไปประมาณ 30,000 ล้านบาท, Youtube ทาง Google ซื้อกิจการไปมูลค่าประมาณ 60,000 ล้านบาท เป็นต้น หากเรามีไอเดียในการพัฒนาธุรกิจในวงกว้าง ก็มีโอกาสได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนได้ไม่ยาก ติดตามเรื่องราวทั้งหมด ของรายการอายุน้อยร้อยล้าน คลิปวีดีโอย้อนหลัง จาก MushroomTelevision รายการ อายุน้อยร้อยล้าน สู่อาเซียน ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 10.25 นาฬิกา ทางทีวีช่อง 9
OokBee
[youtube]GD0nodytYpE[/youtube]
อายุน้อยร้อยล้าน
วันเสาร์ที่ 20 กันยายน 2014 เวลา 12:34 น.
รายการ อายุน้อยร้อยล้าน 20 กันยายน 2557 ล่าสุด อายุน้อย 100 ล้าน สู่อาเซียน 20/09/57 ตอนพิเศษ กับธุรกิจที่กำลังโด่งดัง และทั่วโลกกำลังพูดถึงอยู่ในขณะนี้ อย่าง Startup Company ซึ่งจะสามารถช่วยให้ผู้เริ่มต้นสร้างรายได้ ขยายกิจการทำเงินได้มากมาย ได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว 2-3 ปี ปัจจุบัน มีนักธุรกิจ Startup Company เกิดขึ้นทั่วโลกมากมาย รวมถึงในประเทศไทย ที่มีนักธุรกิจ ที่มีชื่อเสียง โดยเฉพาะ คุณณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ เจ้าของแอพพลิเคชั่นหนังสือออนไลน์ ที่ได้รับเงินสนับสนุนธุรกิจจากนักลงทุนมากที่สุดในเมืองไทย และ คุณยอด ชินสุภัคกุล เจ้าของเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นร้านอาหาร เว็บไซต์แนะนำร้านอาหาร อันดับ 1 ของเมืองไทย ที่สามารถขยายธุรกิจ และได้รับเงินทุนสนับสนุนจากนักลงทุนต่างชาติ
Startup Company คืออะไร? โอกาสสร้างเงินร้อยล้านจะเป็นไปได้จริงหรือไม่? แล้วต้องเริ่มต้นอย่างไร? ตอนนี้พิธีกรอายุน้อยร้อยล้าน จะพาเราไปรู้จักกับมัน โดยคุณหมู OokBee อธิบายเอาไว้ว่า Start Up ใช้เรียกบริษัท ที่เพิ่งเปิดขึ้นมาใหม่ มีความเติบโตอย่างรวดเร็ว อย่างเช่น ธุรกิจ Mobile, ส่วน SME คือธุรกิจขนาดเล็ก แต่ Startup Company สามารถทำซ้ำได้ ยกตัวอย่าง ร้านก๋วยเตี๋ยวที่บ้าน เป็นธุรกิจ SME, ส่วน Startup อาจเปรียบได้กับชายสี่หมี่เกี๊ยว ที่เปิดขยายไปได้เรื่อยๆ ก็จะมีนักลงทุนมาลงทุนให้ เพราะรู้ว่าธุรกิจนี้ สามารถเติบโตไปได้อีกไกล
ตัวอย่าง ธุรกิจ Startup Company ที่ประสบความสำเร็จ ที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันดี อย่างเช่น Instagram ที่ Facebook ซื้อกิจการไปประมาณ 30,000 ล้านบาท, Youtube ทาง Google ซื้อกิจการไปมูลค่าประมาณ 60,000 ล้านบาท เป็นต้น หากเรามีไอเดียในการพัฒนาธุรกิจในวงกว้าง ก็มีโอกาสได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนได้ไม่ยาก ติดตามเรื่องราวทั้งหมด ของรายการอายุน้อยร้อยล้าน คลิปวีดีโอย้อนหลัง จาก MushroomTelevision รายการ อายุน้อยร้อยล้าน สู่อาเซียน ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 10.25 นาฬิกา ทางทีวีช่อง 9
OokBee
[youtube]GD0nodytYpE[/youtube]
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Start up Company
โพสต์ที่ 3
STARTUP เทรนด์ร้อน..!! ธุรกิจเกิดใหม่
โดย : จีราวัฒน์ คงแก้ว
'สตาร์ทอัพ'โมเดลแจ้งเกิด ธุรกิจพันธุ์เล็กจากทุนใหญ่ กระแสร้อนที่ลามจากยุโรป-สหรัฐฯ มายัง"อาเซียน"ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่อยากเป็นนายตัวเอง
จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในไทย มีถึงประมาณ 73 ล้านเลขหมาย (ปี 2555) ฐานผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงถึง 25 ล้านคน ขณะที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือมีมากถึง 20 ล้านคน !
"กรุงเทพฯ" กลายเป็นเมืองหลวงของ Facebook ที่มีจำนวนผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก (11.8 ล้านคน) ประเทศไทยมีผู้ใช้งาน Application ที่ชื่อ Line มากเป็นอันดับ 2 ของโลก (15 ล้านคน) สนามบินสุวรรณภูมิ ได้รับการจัดอันดับเป็น The World’s Most Instagram Popular Destination 2012 ขณะที่ประเทศไทยยังติดอันดับ 15 ประเทศแรกในโลกสำหรับตลาดของ Mobile Application และเป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้!
นี่คือแรงผลักสำคัญ ดันให้ "ธุรกิจเกิดใหม่" หรือ สตาร์ทอัพ (Startup) ในกลุ่มดิจิทัลของไทย ที่ “หอมหวานสุดๆ”
โดยมีกลุ่มทุนไทย-เทศ เป็นแหล่งทุนสำคัญ ในการ "สานฝัน" ปั้นธุรกิจให้กับเหล่าสตาร์ทอัพเหล่านี้
“ปรีดา ยังสุขสถาพร” ผู้อำนวยการสถาบันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ฉายภาพบรรยากาศธุรกิจสตาร์ทอัพในไทย ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา
“เมื่อก่อนวงการสตาร์ทอัพบ้านเรายังเล็กมาก ไม่ค่อยโต เพราะหนึ่งเลยนักลงทุนยังไม่ค่อยมอง และสอง คนมาทำก็ยังน้อย อย่างกิจกรรมที่จัดสำหรับกลุ่มสตาร์ทอัพ แทบไม่มีเลย แต่ปีที่แล้วจนมาปีนี้มีอีเวนท์สตาร์ทอัพเกิดขึ้นเยอะมาก เรียกว่าโตเป็น 2-3 เท่า เป็นเทรนด์ที่ร้อนแรงจริงๆ โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียน” เขาสำทับ
กับธรรมชาติของธุรกิจที่เริ่มง่าย ต้นทุนต่ำ อาศัยความคิดเป็นหลัก สามารถเริ่มได้จากคนคนเดียว แถมยังโตเร็ว (High Growth) และสร้างมูลค่าได้มาก เลยยิ่งปลุกความสนใจจากทั้ง “คนทำ” และ “แหล่งทุน” ให้โดดเข้าใส่
บวกกับอานิสงส์จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกซบ จนเกิดการย้ายฐานของแหล่งเงินจากกลุ่มนักลงทุนกระเป๋าหนักจากทั่วโลก มาสู่ขุมทรัพย์ผืนใหม่
แน่นอนว่านาทีนี้คงไม่มีที่ไหนหอมหวานเท่า “อาเซียน” !!
“เขาไปมาหลายที่นะ เริ่มที่สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย จนมาเวียดนาม ของไทยนี่เข้ามาทีหลังด้วยซ้ำ ซึ่งกลุ่มสตาร์ทอัพในภูมิภาคเติบโตสูงมาก ผมว่าเงินที่ไหลมาเป็นระดับหลายหมื่นล้านบาท เอาเฉพาะกองทุนที่มีอยู่ในไทยเวลานี้ก็ไม่น่าจะต่ำกว่าหมื่นล้านบาทแล้วที่ลงทุนในสตาร์ทอัพ”
ข้อมูลจากการรวบรวมของสถาบันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ชี้ให้เห็นว่า กลุ่มนักลงทุนในประเทศไทยที่เป็น "นักสานฝัน" ของเหล่าสตาร์ทอัพ อย่าง Ardent Capital มีทุนประมาณ 2,000 ล้านบาท InVent แหล่งเงินทุนจาก SingTel (สิงคโปร์ เทเลคอม) ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์รายใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์ ผ่านทาง AIS ซึ่งเป็น Corporate VC รวมถึง M8VC และ The VC Group ซึ่งมีทุนใกล้เคียงกันที่ประมาณ 80 ล้านบาท และยังมีนักลงทุนอิสระ (Angel Investors) อีกไม่น้อยกว่า 10 ราย ที่พร้อมลงเงินกับธุรกิจสตาร์ทอัพในไทย
ขณะที่บริษัทเทเลคอมยักษ์ใหญ่ทั้ง 3 เจ้าของบ้านเรา ก็เข้ามาจับกลุ่มสตาร์ทอัพ เริ่มจาก AIS ที่ทำโครงการ AIS The Startup เป็นเจ้าแรก ตามมาด้วย dtac ทำโครงการ dtac Accelerate รายล่าสุดก็ TRUE กับโครงการ TRUE Incube ช่วยกันปลุกปั้นเมล็ดพันธุ์สตาร์ทอัพในประเทศไทย
เวลาเดียวกับการจัดกิจกรรมแข่งขันสร้างผู้ประกอบการสตาร์ทอัพในประเทศ ตั้งแต่ Echelon, DevFest, Startup Weekend และ AngelHack ซึ่งล้วนแต่เป็นกิจกรรมระดับโลก เพื่อให้กลุ่มสตาร์ทอัพในไทย ได้ขายไอเดียให้กับนักลงทุน ซึ่งพบว่า มีทั้งผู้สนใจในธุรกิจสตาร์ทอัพ และกลุ่มนักลงทุนทั่วโลก ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
“ตอนนี้สตาร์ทอัพบ้านเรากำลังบูมอย่างมาก ที่ยุโรปก็บูม แต่สู้ภูมิภาคเราไม่ได้ เขามีปัญหาเพราะค่าตัวแพง คิดดูว่าให้เงินหนึ่งล้านบาทที่นี่ กับหนึ่งล้านบาทที่ยุโรปคุณค่ามันต่างกัน หนึ่งล้านบาทที่นี่อาจจะให้รีเทิร์นกลับมาเร็วกว่า ขณะที่เขามองต่อไปอีกว่า ที่โน่นแม้ทำธุรกิจเกิด แต่คนไม่มีตังค์ เพราะเศรษฐกิจไม่ดี ฉะนั้นรีเทิร์นก็จะไม่ดีตามไปด้วย แต่ภูมิภาคเราคนมีตังค์ พร้อมที่จะซื้อ พร้อมที่จะจ่าย ถ้าลองไปอีเวนท์ของสตาร์ทอัพ จะรู้เลยว่าฝรั่งเยอะมาก และหน้าไม่เคยซ้ำเลย มันหอมหวานมากๆ”
ธุรกิจสดใสขนาดนี้ แล้วสตาร์ทอัพบ้านเราอยู่ในสถานการณ์ไหน เขาขยายภาพว่า ปัจจุบันน่าจะมีธุรกิจสตาร์ทอัพในไทยไม่ต่ำกว่า 500 ราย โดยมีศูนย์กลาง (Hub) อยู่ที่กรุงเทพ (80%) เชียงใหม่ (10%) และภูเก็ต (5%) โดย Thai Startup ส่วนใหญ่อยู่ในระยะเริ่มต้น (early stage) และมีความหลากหลายของธุรกิจสูง เรียกว่าตั้งแต่กลุ่ม Hardware, Software, Web, Mobile Application, Lifestyle Business และ B2B เหล่านี้
ส่วนอุตสาหกรรมที่ฮอตสุดๆ สำหรับกลุ่มสตาร์ทอัพ ก็ต้อง ธุรกิจบันเทิง ท่องเที่ยว สุขภาพ การศึกษา อสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มยานยนต์ เหล่านี้ เป็นต้น
ลองวิเคราะห์ถึงลักษณะสตาร์ทอัพในประเทศไทย เขาบอกว่า มักเกิดขึ้นจากแนวคิดหรือไอเดียของคนเพียงคนเดียว หรือมีการรวมกลุ่มกันระหว่าง 3-5 คน โดยมักเป็นการรวมตัวกันของ นักการตลาด (Marketing) นักออกแบบ (Designer) และนักพัฒนาเทคโนโลยี (Developer) โดยทั่วไปไม่นิยมจดทะเบียนเป็นบริษัท จนกว่าจะมีการออกผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ชัดเจน หรือมี business model ที่ชัดเจน ขณะที่กลุ่มสตาร์ทอัพมักเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ อายุระหว่าง 25 - 30 ปี และเน้นที่การพัฒนา Tech Startup หรือธุรกิจที่ตั้งบนฐานการพัฒนา application บนสมาร์ทโฟน หรือ website ที่ให้บริการเฉพาะ
หนึ่งสัญญาณดีๆ คือ การเกิดขึ้นของ Co-working Space พื้นที่ทำงานของคนรุ่นใหม่ และเป็นศูนย์กลางสำคัญให้กลุ่มสตาร์ทอัพได้มีเวทีพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งมีการเปิดขึ้นเยอะมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ทั้งสัญชาติไทยและต่างชาติ อย่าง HUBBA Coworking Space , LaunchPad , Klique Desk , The Sync, Work Buddy ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ในกรุงเทพ ส่วน Pun Space อยู่ที่ เชียงใหม่ และ MergeSpace ที่ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน เป็นต้น
“Co-working Space เป็นการช่วยลดต้นทุนให้กับกลุ่มสตาร์ทอัพในการเริ่มต้น เพราะสามารถมาใช้เป็นที่ทำงานและยังได้มาเจอคนที่หลากหลาย ที่มีความต้องการแบบเดียวกัน มีความมุ่งมั่นแบบเดียวกัน ซึ่งเมื่อมาเจอกัน ก็จะเกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ขณะที่เจ้าของพื้นยังมีการจัดกิจกรรมตลอดเวลา ก็ยิ่งดึงดูดผู้คนให้เข้ามา จนกลายเป็นคอมมูนิตี้ของกลุ่มสตาร์ทอัพเกิดขึ้น”
และนี่เองที่จะทำให้ธุรกิจเกิดใหม่ ไม่ตกเทรนด์ ตกกระแส แม้แต่ข่าวสารการจัดกิจกรรมตามที่ต่างๆ ก็สามารถล่วงรู้ได้เท่าทัน จากการนำพาตัวเองเข้าสู่ชุมชนของคนสตาร์ทอัพเหล่านี้
มีสตาร์ทอัพเกิดขึ้นในไทย และหลายรายที่ประสบความสำเร็จ จนกลายเป็น “ไอดอล” ให้กับน้องๆ ในวันนี้ เอาแค่ในรอบปี 2013 มีสตาร์ทอัพสัญชาติไทย ได้รับทุนอย่างต่อเนื่องติดต่อกัน สะท้อนภาพความร้อนแรงของวงการสตาร์ทอัพปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
อย่าง “Ookbee” อีบุ๊คสัญชาติไทย ที่ระดมทุนได้ถึง 2 ล้านดอลลาร์ จาก อินทัช (INTOUCH) เมื่อปลายปี 2555
“ShopSpot” แอพพลิเคชันที่ตั้งตัวเป็นศูนย์กลางของคนที่อยากขายของและซื้อของ ซึ่งสามารถทำทุกอย่างได้ผ่านสมาร์ทโฟน สามารถระดมทุนได้ประมาณ 630,000 ดอลลาร์ จาก Jungle Ventures ผ่าน Technology Incubator Scheme (TIS) ของ National Research Foundation, Singapore และ SingTel Innov8
“Builk” ผู้ให้บริการเครื่องมือบริหารธุรกิจก่อสร้างออนไลน์ ที่สามารถระดมทุนได้ 400,000 ดอลลาร์ จาก Project Planning Service PLC
“Wongnai Media” แอพพลิเคชันรีวิวร้านอาหาร ชุมชนของคนรักการกิน ที่ระดมทุนระดับ Series A funding (เงินทุนตั้งแต่ 1 ล้านดอลลาร์) จาก Recruit Strategic Partners, Inc
“Noonswoon” กามเทพไอที ที่พัฒนาแอพพลิเคชันเพื่อการหาคู่สมาร์ทโฟน ก็ได้รับเงินทุน Seed Round จาก Golden Gate Ventures จำนวน 400,000 ดอลลาร์
“Computerlogy” ระบบบริหารการจัดการโซเชียลมีเดีย ได้รับการสนับสนุนและเข้าร่วมลงทุนในโครงการอินเวนท์ (InVent) ของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ อินทัช (INTOUCH) อย่างเป็นทางการในระดับ Series A วงเงิน 29 ล้านบาท
----------------------------------
สตาร์ทอัพแบบไหน ที่กลุ่มทุน 'กดไลค์'
"ปรีดา ยังสุขสถาพร” ผู้อำนวยการสถาบันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ บอกว่าสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จ จะต้องมี “Passion” มีความอดทนมุ่งมั่น ต้องมี Business Model ที่ดี ต้องเข้าใจตลาดและมองตลาดให้ออก มีโอกาสเติบโตให้เห็น รวมถึงต้องมีทีมที่ดีด้วย
“ถ้าของดี แต่ไม่มีโอกาสโต มันไม่เกิด เพราะนักลงทุนมองเรื่องการคืนทุน ฉะนั้นต้องมองตลาดให้ออก ตลาดนั้นต้องเติบโตเร็ว และคนต้องรับรู้ ซึ่งกลุ่มสตาร์ทอัพไม่จำเป็นต้องเป็นนักเทคโนโลยีนะ ขอแค่มีไอเดียที่ดี และมีทีม ถึงที่สุดมันเริ่มจากคนคนเดียวก็จริง แต่ทำไประยะหนึ่งธุรกิจจะทำคนเดียวไม่ได้ แบกรับไม่ไหวหรอก อย่างน้อยก็ต้องมีคนดูแลเรื่องงานออกแบบ มีนักการตลาดที่คิดเรื่องรูปแบบการหาเงิน และนักพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งทีมที่ดี คือ หัวใจ”
สำหรับคนที่อยากเข้ามา เขาบอกว่า ขอให้เข้าร่วมกิจกรรมสตาร์ทอัพ นำพาตัวเองไปในชุมชนของกลุ่มสตาร์ทอัพ อย่านั่งคิดนั่งทำคนเดียว โดยไม่สุงสิงกับคนอื่น เพราะจะทำให้ขาดโอกาสอย่างมากที่จะ “แจ้งเกิด” ในเวทีนี้
“ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท อุ๊คบี ธุรกิจผู้ให้บริการอีบุ๊ค ที่กำลังประสบความสำเร็จทั้งในไทยและอาเซียน ด้วยแนวคิดธุรกิจ “ทำหนังสือของประเทศนั้นให้คนในประเทศนั้นอ่าน” และหวังเป็นผู้ให้บริการอีบุ๊ค ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนให้ได้ ซึ่งเพิ่งระดมทุนได้ถึง 2 ล้านดอลลาร์ จากอินทัช ในปลายปี 2555 ที่ผ่านมา และกลายเป็นต้นแบบของธุรกิจสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จและทำกำไรได้ในเวลารวดเร็ว
“ตอนนี้เมืองไทยมีกระแสสตาร์ทอัพเยอะมาก เด็กๆ อยากทำบริษัทไอที มีการสัมมนา นัดเจอ กินกาแฟกัน แล้วมีมาพรีเซนต์ มาพิชไอเดียกัน ซึ่ง อุ๊คบี หลังๆ เราก็มีโอกาสไปพูดให้น้องๆ ฟังบ้าง ไปแชร์ประสบการณ์ที่พบเจอมาจากต่างประเทศ”
เขาฝากข้อแนะนำสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพที่อยากให้นักลงทุนสนใจ คือ บริษัทต้องดี มีแนวโน้มที่ธุรกิจจะเติบโต ขณะที่ผู้บริหาร ก็ต้องมีวิสัยทัศน์ เวลาไปพูดคุยก็ต้องให้วิสัยทัศน์นั้น “ไปด้วยกันได้” กับหน่วยงานและนักลงทุน
“ต้อง วิน วิน พูดง่ายๆ คือเขาลงทุนมา ก็ต้องการได้ผลตอบแทน แต่ผลแทนอาจไม่ได้อยู่ในรูปเงินเสมอไป แต่อาจอยู่ในรูปการเกื้อหนุนทางธุรกิจ หรือว่าบางคนอาจมีความสุขจากการได้ช่วยสตาร์ทอัพก็ได้ ก็ขึ้นอยู่กับว่า นักลงทุนที่เข้ามาเขาต้องการอะไร ถ้าตัวบริษัทไปได้ และวิสัยทัศน์ของคนที่จะไปร่วมกันมันไปได้ ธุรกิจก็โตได้เช่นกัน ผมมองว่าโอกาสเปิดกว้างมากสำหรับกลุ่มสตาร์ทอัพ มีช่องทางให้ทำเงิน และเป็นธุรกิจที่เติบโตเร็วมาก ขอเพียงแค่เห็นโอกาส”
แม้จะเป็นธุรกิจที่มีโอกาสเติบโต และมีตัวอย่างของคนที่ประสบความสำเร็จให้เห็น แต่ตามสถิติแล้วธุรกิจสตาร์ทอัพที่แจ้งเกิดได้จะมีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น ส่วนอีกร้อยละ 90-95 ของธุรกิจ จะ “ล้มเหลว” ไม่ต่างจากธุรกิจเกิดใหม่ทั่วๆ ไป
“สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล” ผู้อำนวยการสถาบัน พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ ISMED หน่วยงานพัฒนาธุรกิจเกิดใหม่ของเมืองไทยที่ไม่ใช่เฉพาะธุรกิจไอที บอกเราว่า ธุรกิจสตาร์ทอัพยังคงมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามความสนใจของกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่อยากเป็นเจ้าของกิจการมากกว่าลูกจ้าง แต่การจะทำสตาร์ทอัพให้แจ้งเกิด ไม่ใช่มีแค่ใจ “อยากทำ” หรือ “คิดต่าง” แล้วจะประสบความสำเร็จ เพราะยุคนี้ปัจจัยแค่นั้นไม่เพียงพอเสียแล้ว
“แค่คิดแตกต่างเริ่มไม่พอแล้ว แต่ต้องคิดใหม่ด้วย คือ คิดสิ่งที่คนอื่นไม่เคยนึกถึงมาก่อน อย่าไปทำตามความเคยชินว่า เปิดร้านดอกไม้ ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านกาแฟ ที่มันง่ายเกินไป แบบนั้นผมมองว่าไม่ยั่งยืน แต่ต้องกล้าคิดแตกต่าง คิดใหม่ และเข้าสู่โลกใหม่ด้วยเทคโนโลยี ที่สำคัญคือ ต้องสร้างทีมให้มีส่วนร่วม"
เขาบอกว่า คนรุ่นใหม่อาจเชี่ยวชาญเทคโนโลยี แต่ยังขาดประสบการณ์ และการตัดสินใจที่เฉียบคม จึงจะต้องอาศัย "ระบบพี่เลี้ยง" ที่จะคอยเป็นที่ปรึกษาไปลดความเสี่ยงในธุรกิจเกิดใหม่ของคนกลุ่มนี้
ขณะที่ “ผศ.ดร. เอกชัย อภิศักดิ์กุล” คณบดีคณะบริหารธุรกิจ ม.หอการค้าไทย บอกว่า การสร้างสังคมสตาร์ทอัพให้เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้น ต้องเริ่มจากสนับสนุนให้คนได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ รัฐบาลเองก็ต้องเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนด้วย รวมถึงต้องสร้างทัศนคติใหม่ในสังคม คือการ “ไม่กลัวความล้มเหลว” เพราะธุรกิจเกิดใหม่มีโอกาส “เจ๊ง” มากกว่ารอด
ถ้าเปลี่ยน Mindset ตรงนี้ได้ โอกาสเติบใหญ่ของธุรกิจสตาร์ทอัพในไทย ก็จะยังไปได้ “สวย”
------------------------------------------
"ทุนทั่วโลก" แห่รุก Startup อาเซียน
500 Startups ประมาณการว่า ในปี 2556 นี้ Startup ทั่วโลก มีการระดมทุนแบบ Seed Funding รวมกันแล้วราว 1,700 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 51,000 ล้านบาท) และมีการลงทุนระดับ Series A อีกราว 700 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 21,000 ล้านบาท)
หน่วยงานดังกล่าว ยังบอกด้วยว่า นักลงทุนจากทั่วโลก วงเงินนับแสนล้านบาท มีแนวโน้มจะโยกเงินลงทุนเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น หลังเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจทั้งในยุโรปและอเมริกา ส่งผลให้เม็ดเงินลงทุนของกลุ่ม VC (Venture Capital) ที่สนใจลงทุนในธุรกิจเกิดใหม่ (Startup) เบนเข็มสู่ภูมิภาคอาเซียน ปลุกให้ตลาดสตาร์ทอัพขยับโตขึ้นอย่างน่าจับตา
เช่นเดียวกับประเทศไทย ที่นักวิเคราะห์มองว่า..น่าจะมีเงินลงทุนในสตาร์ทอัพไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท!
โดยกลุ่มทุนต่างชาติที่เห็นการเคลื่อนตัวเข้ามาลงทุนในธุรกิจ Startup ในช่วงที่ผ่านมาคือ "ทุนญี่ปุ่น" แม้ว่าหากเทียบเม็ดเงินลงทุนรวม "ทุนสิงคโปร์" จะยังคงเป็นทุนหลักที่เข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้
.....................
“Jazz pay”
ธุรกิจแจ้งเกิดจากเวที Startup Weekend
“Jazz pay” คือ ธุรกิจการทำธุรกรรมบนโลกไซเบอร์โดยไม่ต้องใช้เครดิต ผลผลิตจาก เวที Startup Weekend Bangkok: from Zero to Hero นี่คือการแข่งขันสร้างผู้ประกอบการ โดยใช้เวลา 54 ชั่วโมง ที่ผู้แข่งขันต้องคิดค้นไอเดีย สร้างทีม คิดแผนธุรกิจ พร้อมลงมือผลิตให้เป็นธุรกิจจริง ก่อนนำเสนอให้กับคณะกรรมการและนักลงทุน ซึ่งมีการจัดการแข่งขันไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยโดยการนำของ สถาบันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
นี่คือการร่วมทีมของคนแปลกหน้า ที่ลงตัว และแข็งแกร่ง เริ่มจาก “คาร์ลอส แอร์เรร่า” ชาวโคลัมเบีย ที่ทำงานด้าน Lead of Developer “พอล ฮาเบอร์เรอร์” ชาวแคนนาดา ที่ทำงานด้าน Payment และ Management “ขจรพงศ์ ปรัชญางค์ปรีชา” ที่มาจากสายงาน Business Consultant และเป็น Business Entrepreneur “ฬุศรัณย์ ศิลป์ศรีกุล” ชายหนุ่มผู้มีความฝันและเริ่มทำ Startup เล็กๆ ของตัวเอง และ “ฤทธิ์พล วงศ์ทวีสินค้า” นักแสวงหาโอกาส ที่มีประสบการณ์ด้าน Digital Creative และ Digital Marketing
“เพื่อนที่ชื่อ คาร์ลอส เขามีไอเดียเกี่ยวกับระบบ Payment ซึ่งผมมองว่าน่าสนใจเพราะว่าต้องอาศัยคนที่มีสเปียลลิสต์ด้านนี้ ต้องรู้อะไรเยอะ เป็นบลูโอเชียนในธุรกิจสตาร์ทอัพ”
เขาสะท้อนความคิด ก่อนเลือกเข้าร่วมเป็นหนึ่งในทีม ที่ออกจะนอกสายตาผู้แข่งขันวันนั้น เพราะส่วนใหญ่จะมุ่งไปทางกลุ่มท่องเที่ยวที่ดูสดใสกว่า แต่เขาและทีมกลับมองว่านี่ต่างหากคือโอกาสของการทำธุรกรรมบนโลกไซเบอร์โดยไม่ต้องใช้เครดิต เพื่อลดปัญหาการใช้เครดิตการ์ดบนโลกออนไลน์ ซึ่งยังมีโอกาสสูงมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ยังมีการใช้บัตรเครดิตรการ์ดที่ต่ำมาก คือ อยู่ที่ 10-15% ของประชากรทั้งหมด จึงมีคนอีกเยอะมากที่ธุรกิจพวกนี้ “เข้าไม่ถึง” ซึ่งทั้งหมดก็ล้วนเป็นโอกาสของธุรกิจน้องใหม่อย่างพวกเขา
“เมื่อตัดสินใจที่จะเข้าร่วมทีม เราก็ต้องรีบปรับตัวและสร้างความเชื่อมั่นให้กับแต่ละคนในทีมให้ได้เร็วที่สุด ซึ่ง
JazzPay มีทีมที่ดีมาก แต่ละคนในทีมล้วนมาจากสายงานที่แตกต่างกันออกไป และเป็นที่ต้องการของตัวธุรกิจพอดี ในวันแรกเราคุยกันให้ได้มากที่สุด และวางแผนสำหรับวันถัดไป เผื่อจะให้มีความชัดเจนของกำหนดการต่างๆ ซึ่งการมีทีมที่ค่อนข้างพร้อม คือ เหตุผลที่ทำให้เราคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 มาได้”
หลังรับรางวัล ธุรกิจจากไอเดียไม่ได้สูญหายไปไหน แต่เป็นการเริ่มต้นก่อร่างธุรกิจจริงของพวกเขา โดยวันนี้อยู่ระหว่างการทดลองใช้งานและตรวจสอบระบบความปลอดภัย เพื่อนำผลลัพธ์มาประเมินก่อนตัดสินใจกันในทีมว่า จะไปในทิศทางไหนต่อไปได้
“คิดว่าจะพยายามทำให้มันเกิดขึ้นจริงให้ได้ แต่ก็ไม่ได้ตั้งเป้าว่า จะต้องสำเร็จได้ไกลแค่ไหน ก็แค่ล้มเหลวให้ได้ช้าที่สุด ล้มเหลวก็ไม่เป็นไร สร้างโอกาสขึ้นใหม่ และผมจะยังคงมุ่งไปในธุรกิจ Payment นี่แหล่ะ เพราคิดว่าระบบ Payment ในภูมิภาคนี้ยังไปได้อีกไกล”
สำหรับคนที่อยากเริ่มธุรกิจสตาร์ทอัพ แต่อาจไม่คุ้นเคยเรื่องเทคโนโลยี คนมีประสบการณ์มาก่อน บอกว่า นั่นไม่ใช่ปัญหา เพราะมองว่า สตาร์ทอัพ เกิดจากการที่แต่ละคน มีอะไรติดขัดในชีวิต แล้วก็เอาจุดเล็กๆ จุดนั้น มาแก้ปัญหา ซึ่งนั่นก็เกิดเป็นสตาร์ทอัพได้แล้ว ขอแค่กล้าออกไปแสวงหาโอกาส และสร้างโอกาสขึ้นมา โดยไม่ทำเพียงแค่นั่งรอโชคชขะตา แน่นอนว่า จะล้มเหลวก็ไม่เป็นไร ขอแค่ไม่ยอมแพ้ไปก่อนเท่านั้น
“งาน Startup Weekend เป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถช่วยให้เราสร้างธุรกิจขึ้นมาได้ง่ายมากกว่าการเริ่มต้นอะไรด้วยตัวเองคนเดียว และยังมีทีม Coach ที่คอยช่วยคิด วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของธุรกิจ ทำให้เราเรียนรู้อะไรได้เร็วมากๆ แต่ทุกอย่างจะต้องเริ่มต้นจาก Mindset ของตัวเอง ผมมีความเชื่อว่า โอกาสไม่ได้เข้ามาหาเราหรอก แต่เราเองนั้นแหละที่เป็นคนสร้างโอกาสเอง อยู่ที่เราพร้อมจะเสี่ยงคว้าโอกาสนั้นๆ รึเปล่าเท่านั้น”
ฤทธิ์พล วงศ์ทวีสินค้า คนหนุ่มวัย 23 ปี สะท้อนความคิด และย้ำว่า ในช่วงชีวิตนักศึกษามหาวิทยาลัยนี่แหล่ะ เหมาะที่สุดที่จะสร้างธุรกิจของตัวเอง เพราะมีทั้งเวลา และอัตราการรองรับความเสี่ยงที่ต่ำ แถมยังมีเวลาลองผิดลองถูกได้อีกเยอะ
ขอแค่ใจกล้า ลองกระโดดเข้ามาคว้าโอกาสให้กับตัวเองเท่านั้น
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B9%88.html
โดย : จีราวัฒน์ คงแก้ว
'สตาร์ทอัพ'โมเดลแจ้งเกิด ธุรกิจพันธุ์เล็กจากทุนใหญ่ กระแสร้อนที่ลามจากยุโรป-สหรัฐฯ มายัง"อาเซียน"ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่อยากเป็นนายตัวเอง
จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในไทย มีถึงประมาณ 73 ล้านเลขหมาย (ปี 2555) ฐานผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงถึง 25 ล้านคน ขณะที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือมีมากถึง 20 ล้านคน !
"กรุงเทพฯ" กลายเป็นเมืองหลวงของ Facebook ที่มีจำนวนผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก (11.8 ล้านคน) ประเทศไทยมีผู้ใช้งาน Application ที่ชื่อ Line มากเป็นอันดับ 2 ของโลก (15 ล้านคน) สนามบินสุวรรณภูมิ ได้รับการจัดอันดับเป็น The World’s Most Instagram Popular Destination 2012 ขณะที่ประเทศไทยยังติดอันดับ 15 ประเทศแรกในโลกสำหรับตลาดของ Mobile Application และเป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้!
นี่คือแรงผลักสำคัญ ดันให้ "ธุรกิจเกิดใหม่" หรือ สตาร์ทอัพ (Startup) ในกลุ่มดิจิทัลของไทย ที่ “หอมหวานสุดๆ”
โดยมีกลุ่มทุนไทย-เทศ เป็นแหล่งทุนสำคัญ ในการ "สานฝัน" ปั้นธุรกิจให้กับเหล่าสตาร์ทอัพเหล่านี้
“ปรีดา ยังสุขสถาพร” ผู้อำนวยการสถาบันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ฉายภาพบรรยากาศธุรกิจสตาร์ทอัพในไทย ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา
“เมื่อก่อนวงการสตาร์ทอัพบ้านเรายังเล็กมาก ไม่ค่อยโต เพราะหนึ่งเลยนักลงทุนยังไม่ค่อยมอง และสอง คนมาทำก็ยังน้อย อย่างกิจกรรมที่จัดสำหรับกลุ่มสตาร์ทอัพ แทบไม่มีเลย แต่ปีที่แล้วจนมาปีนี้มีอีเวนท์สตาร์ทอัพเกิดขึ้นเยอะมาก เรียกว่าโตเป็น 2-3 เท่า เป็นเทรนด์ที่ร้อนแรงจริงๆ โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียน” เขาสำทับ
กับธรรมชาติของธุรกิจที่เริ่มง่าย ต้นทุนต่ำ อาศัยความคิดเป็นหลัก สามารถเริ่มได้จากคนคนเดียว แถมยังโตเร็ว (High Growth) และสร้างมูลค่าได้มาก เลยยิ่งปลุกความสนใจจากทั้ง “คนทำ” และ “แหล่งทุน” ให้โดดเข้าใส่
บวกกับอานิสงส์จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกซบ จนเกิดการย้ายฐานของแหล่งเงินจากกลุ่มนักลงทุนกระเป๋าหนักจากทั่วโลก มาสู่ขุมทรัพย์ผืนใหม่
แน่นอนว่านาทีนี้คงไม่มีที่ไหนหอมหวานเท่า “อาเซียน” !!
“เขาไปมาหลายที่นะ เริ่มที่สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย จนมาเวียดนาม ของไทยนี่เข้ามาทีหลังด้วยซ้ำ ซึ่งกลุ่มสตาร์ทอัพในภูมิภาคเติบโตสูงมาก ผมว่าเงินที่ไหลมาเป็นระดับหลายหมื่นล้านบาท เอาเฉพาะกองทุนที่มีอยู่ในไทยเวลานี้ก็ไม่น่าจะต่ำกว่าหมื่นล้านบาทแล้วที่ลงทุนในสตาร์ทอัพ”
ข้อมูลจากการรวบรวมของสถาบันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ชี้ให้เห็นว่า กลุ่มนักลงทุนในประเทศไทยที่เป็น "นักสานฝัน" ของเหล่าสตาร์ทอัพ อย่าง Ardent Capital มีทุนประมาณ 2,000 ล้านบาท InVent แหล่งเงินทุนจาก SingTel (สิงคโปร์ เทเลคอม) ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์รายใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์ ผ่านทาง AIS ซึ่งเป็น Corporate VC รวมถึง M8VC และ The VC Group ซึ่งมีทุนใกล้เคียงกันที่ประมาณ 80 ล้านบาท และยังมีนักลงทุนอิสระ (Angel Investors) อีกไม่น้อยกว่า 10 ราย ที่พร้อมลงเงินกับธุรกิจสตาร์ทอัพในไทย
ขณะที่บริษัทเทเลคอมยักษ์ใหญ่ทั้ง 3 เจ้าของบ้านเรา ก็เข้ามาจับกลุ่มสตาร์ทอัพ เริ่มจาก AIS ที่ทำโครงการ AIS The Startup เป็นเจ้าแรก ตามมาด้วย dtac ทำโครงการ dtac Accelerate รายล่าสุดก็ TRUE กับโครงการ TRUE Incube ช่วยกันปลุกปั้นเมล็ดพันธุ์สตาร์ทอัพในประเทศไทย
เวลาเดียวกับการจัดกิจกรรมแข่งขันสร้างผู้ประกอบการสตาร์ทอัพในประเทศ ตั้งแต่ Echelon, DevFest, Startup Weekend และ AngelHack ซึ่งล้วนแต่เป็นกิจกรรมระดับโลก เพื่อให้กลุ่มสตาร์ทอัพในไทย ได้ขายไอเดียให้กับนักลงทุน ซึ่งพบว่า มีทั้งผู้สนใจในธุรกิจสตาร์ทอัพ และกลุ่มนักลงทุนทั่วโลก ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
“ตอนนี้สตาร์ทอัพบ้านเรากำลังบูมอย่างมาก ที่ยุโรปก็บูม แต่สู้ภูมิภาคเราไม่ได้ เขามีปัญหาเพราะค่าตัวแพง คิดดูว่าให้เงินหนึ่งล้านบาทที่นี่ กับหนึ่งล้านบาทที่ยุโรปคุณค่ามันต่างกัน หนึ่งล้านบาทที่นี่อาจจะให้รีเทิร์นกลับมาเร็วกว่า ขณะที่เขามองต่อไปอีกว่า ที่โน่นแม้ทำธุรกิจเกิด แต่คนไม่มีตังค์ เพราะเศรษฐกิจไม่ดี ฉะนั้นรีเทิร์นก็จะไม่ดีตามไปด้วย แต่ภูมิภาคเราคนมีตังค์ พร้อมที่จะซื้อ พร้อมที่จะจ่าย ถ้าลองไปอีเวนท์ของสตาร์ทอัพ จะรู้เลยว่าฝรั่งเยอะมาก และหน้าไม่เคยซ้ำเลย มันหอมหวานมากๆ”
ธุรกิจสดใสขนาดนี้ แล้วสตาร์ทอัพบ้านเราอยู่ในสถานการณ์ไหน เขาขยายภาพว่า ปัจจุบันน่าจะมีธุรกิจสตาร์ทอัพในไทยไม่ต่ำกว่า 500 ราย โดยมีศูนย์กลาง (Hub) อยู่ที่กรุงเทพ (80%) เชียงใหม่ (10%) และภูเก็ต (5%) โดย Thai Startup ส่วนใหญ่อยู่ในระยะเริ่มต้น (early stage) และมีความหลากหลายของธุรกิจสูง เรียกว่าตั้งแต่กลุ่ม Hardware, Software, Web, Mobile Application, Lifestyle Business และ B2B เหล่านี้
ส่วนอุตสาหกรรมที่ฮอตสุดๆ สำหรับกลุ่มสตาร์ทอัพ ก็ต้อง ธุรกิจบันเทิง ท่องเที่ยว สุขภาพ การศึกษา อสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มยานยนต์ เหล่านี้ เป็นต้น
ลองวิเคราะห์ถึงลักษณะสตาร์ทอัพในประเทศไทย เขาบอกว่า มักเกิดขึ้นจากแนวคิดหรือไอเดียของคนเพียงคนเดียว หรือมีการรวมกลุ่มกันระหว่าง 3-5 คน โดยมักเป็นการรวมตัวกันของ นักการตลาด (Marketing) นักออกแบบ (Designer) และนักพัฒนาเทคโนโลยี (Developer) โดยทั่วไปไม่นิยมจดทะเบียนเป็นบริษัท จนกว่าจะมีการออกผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ชัดเจน หรือมี business model ที่ชัดเจน ขณะที่กลุ่มสตาร์ทอัพมักเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ อายุระหว่าง 25 - 30 ปี และเน้นที่การพัฒนา Tech Startup หรือธุรกิจที่ตั้งบนฐานการพัฒนา application บนสมาร์ทโฟน หรือ website ที่ให้บริการเฉพาะ
หนึ่งสัญญาณดีๆ คือ การเกิดขึ้นของ Co-working Space พื้นที่ทำงานของคนรุ่นใหม่ และเป็นศูนย์กลางสำคัญให้กลุ่มสตาร์ทอัพได้มีเวทีพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งมีการเปิดขึ้นเยอะมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ทั้งสัญชาติไทยและต่างชาติ อย่าง HUBBA Coworking Space , LaunchPad , Klique Desk , The Sync, Work Buddy ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ในกรุงเทพ ส่วน Pun Space อยู่ที่ เชียงใหม่ และ MergeSpace ที่ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน เป็นต้น
“Co-working Space เป็นการช่วยลดต้นทุนให้กับกลุ่มสตาร์ทอัพในการเริ่มต้น เพราะสามารถมาใช้เป็นที่ทำงานและยังได้มาเจอคนที่หลากหลาย ที่มีความต้องการแบบเดียวกัน มีความมุ่งมั่นแบบเดียวกัน ซึ่งเมื่อมาเจอกัน ก็จะเกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ขณะที่เจ้าของพื้นยังมีการจัดกิจกรรมตลอดเวลา ก็ยิ่งดึงดูดผู้คนให้เข้ามา จนกลายเป็นคอมมูนิตี้ของกลุ่มสตาร์ทอัพเกิดขึ้น”
และนี่เองที่จะทำให้ธุรกิจเกิดใหม่ ไม่ตกเทรนด์ ตกกระแส แม้แต่ข่าวสารการจัดกิจกรรมตามที่ต่างๆ ก็สามารถล่วงรู้ได้เท่าทัน จากการนำพาตัวเองเข้าสู่ชุมชนของคนสตาร์ทอัพเหล่านี้
มีสตาร์ทอัพเกิดขึ้นในไทย และหลายรายที่ประสบความสำเร็จ จนกลายเป็น “ไอดอล” ให้กับน้องๆ ในวันนี้ เอาแค่ในรอบปี 2013 มีสตาร์ทอัพสัญชาติไทย ได้รับทุนอย่างต่อเนื่องติดต่อกัน สะท้อนภาพความร้อนแรงของวงการสตาร์ทอัพปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
อย่าง “Ookbee” อีบุ๊คสัญชาติไทย ที่ระดมทุนได้ถึง 2 ล้านดอลลาร์ จาก อินทัช (INTOUCH) เมื่อปลายปี 2555
“ShopSpot” แอพพลิเคชันที่ตั้งตัวเป็นศูนย์กลางของคนที่อยากขายของและซื้อของ ซึ่งสามารถทำทุกอย่างได้ผ่านสมาร์ทโฟน สามารถระดมทุนได้ประมาณ 630,000 ดอลลาร์ จาก Jungle Ventures ผ่าน Technology Incubator Scheme (TIS) ของ National Research Foundation, Singapore และ SingTel Innov8
“Builk” ผู้ให้บริการเครื่องมือบริหารธุรกิจก่อสร้างออนไลน์ ที่สามารถระดมทุนได้ 400,000 ดอลลาร์ จาก Project Planning Service PLC
“Wongnai Media” แอพพลิเคชันรีวิวร้านอาหาร ชุมชนของคนรักการกิน ที่ระดมทุนระดับ Series A funding (เงินทุนตั้งแต่ 1 ล้านดอลลาร์) จาก Recruit Strategic Partners, Inc
“Noonswoon” กามเทพไอที ที่พัฒนาแอพพลิเคชันเพื่อการหาคู่สมาร์ทโฟน ก็ได้รับเงินทุน Seed Round จาก Golden Gate Ventures จำนวน 400,000 ดอลลาร์
“Computerlogy” ระบบบริหารการจัดการโซเชียลมีเดีย ได้รับการสนับสนุนและเข้าร่วมลงทุนในโครงการอินเวนท์ (InVent) ของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ อินทัช (INTOUCH) อย่างเป็นทางการในระดับ Series A วงเงิน 29 ล้านบาท
----------------------------------
สตาร์ทอัพแบบไหน ที่กลุ่มทุน 'กดไลค์'
"ปรีดา ยังสุขสถาพร” ผู้อำนวยการสถาบันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ บอกว่าสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จ จะต้องมี “Passion” มีความอดทนมุ่งมั่น ต้องมี Business Model ที่ดี ต้องเข้าใจตลาดและมองตลาดให้ออก มีโอกาสเติบโตให้เห็น รวมถึงต้องมีทีมที่ดีด้วย
“ถ้าของดี แต่ไม่มีโอกาสโต มันไม่เกิด เพราะนักลงทุนมองเรื่องการคืนทุน ฉะนั้นต้องมองตลาดให้ออก ตลาดนั้นต้องเติบโตเร็ว และคนต้องรับรู้ ซึ่งกลุ่มสตาร์ทอัพไม่จำเป็นต้องเป็นนักเทคโนโลยีนะ ขอแค่มีไอเดียที่ดี และมีทีม ถึงที่สุดมันเริ่มจากคนคนเดียวก็จริง แต่ทำไประยะหนึ่งธุรกิจจะทำคนเดียวไม่ได้ แบกรับไม่ไหวหรอก อย่างน้อยก็ต้องมีคนดูแลเรื่องงานออกแบบ มีนักการตลาดที่คิดเรื่องรูปแบบการหาเงิน และนักพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งทีมที่ดี คือ หัวใจ”
สำหรับคนที่อยากเข้ามา เขาบอกว่า ขอให้เข้าร่วมกิจกรรมสตาร์ทอัพ นำพาตัวเองไปในชุมชนของกลุ่มสตาร์ทอัพ อย่านั่งคิดนั่งทำคนเดียว โดยไม่สุงสิงกับคนอื่น เพราะจะทำให้ขาดโอกาสอย่างมากที่จะ “แจ้งเกิด” ในเวทีนี้
“ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท อุ๊คบี ธุรกิจผู้ให้บริการอีบุ๊ค ที่กำลังประสบความสำเร็จทั้งในไทยและอาเซียน ด้วยแนวคิดธุรกิจ “ทำหนังสือของประเทศนั้นให้คนในประเทศนั้นอ่าน” และหวังเป็นผู้ให้บริการอีบุ๊ค ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนให้ได้ ซึ่งเพิ่งระดมทุนได้ถึง 2 ล้านดอลลาร์ จากอินทัช ในปลายปี 2555 ที่ผ่านมา และกลายเป็นต้นแบบของธุรกิจสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จและทำกำไรได้ในเวลารวดเร็ว
“ตอนนี้เมืองไทยมีกระแสสตาร์ทอัพเยอะมาก เด็กๆ อยากทำบริษัทไอที มีการสัมมนา นัดเจอ กินกาแฟกัน แล้วมีมาพรีเซนต์ มาพิชไอเดียกัน ซึ่ง อุ๊คบี หลังๆ เราก็มีโอกาสไปพูดให้น้องๆ ฟังบ้าง ไปแชร์ประสบการณ์ที่พบเจอมาจากต่างประเทศ”
เขาฝากข้อแนะนำสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพที่อยากให้นักลงทุนสนใจ คือ บริษัทต้องดี มีแนวโน้มที่ธุรกิจจะเติบโต ขณะที่ผู้บริหาร ก็ต้องมีวิสัยทัศน์ เวลาไปพูดคุยก็ต้องให้วิสัยทัศน์นั้น “ไปด้วยกันได้” กับหน่วยงานและนักลงทุน
“ต้อง วิน วิน พูดง่ายๆ คือเขาลงทุนมา ก็ต้องการได้ผลตอบแทน แต่ผลแทนอาจไม่ได้อยู่ในรูปเงินเสมอไป แต่อาจอยู่ในรูปการเกื้อหนุนทางธุรกิจ หรือว่าบางคนอาจมีความสุขจากการได้ช่วยสตาร์ทอัพก็ได้ ก็ขึ้นอยู่กับว่า นักลงทุนที่เข้ามาเขาต้องการอะไร ถ้าตัวบริษัทไปได้ และวิสัยทัศน์ของคนที่จะไปร่วมกันมันไปได้ ธุรกิจก็โตได้เช่นกัน ผมมองว่าโอกาสเปิดกว้างมากสำหรับกลุ่มสตาร์ทอัพ มีช่องทางให้ทำเงิน และเป็นธุรกิจที่เติบโตเร็วมาก ขอเพียงแค่เห็นโอกาส”
แม้จะเป็นธุรกิจที่มีโอกาสเติบโต และมีตัวอย่างของคนที่ประสบความสำเร็จให้เห็น แต่ตามสถิติแล้วธุรกิจสตาร์ทอัพที่แจ้งเกิดได้จะมีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น ส่วนอีกร้อยละ 90-95 ของธุรกิจ จะ “ล้มเหลว” ไม่ต่างจากธุรกิจเกิดใหม่ทั่วๆ ไป
“สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล” ผู้อำนวยการสถาบัน พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ ISMED หน่วยงานพัฒนาธุรกิจเกิดใหม่ของเมืองไทยที่ไม่ใช่เฉพาะธุรกิจไอที บอกเราว่า ธุรกิจสตาร์ทอัพยังคงมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามความสนใจของกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่อยากเป็นเจ้าของกิจการมากกว่าลูกจ้าง แต่การจะทำสตาร์ทอัพให้แจ้งเกิด ไม่ใช่มีแค่ใจ “อยากทำ” หรือ “คิดต่าง” แล้วจะประสบความสำเร็จ เพราะยุคนี้ปัจจัยแค่นั้นไม่เพียงพอเสียแล้ว
“แค่คิดแตกต่างเริ่มไม่พอแล้ว แต่ต้องคิดใหม่ด้วย คือ คิดสิ่งที่คนอื่นไม่เคยนึกถึงมาก่อน อย่าไปทำตามความเคยชินว่า เปิดร้านดอกไม้ ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านกาแฟ ที่มันง่ายเกินไป แบบนั้นผมมองว่าไม่ยั่งยืน แต่ต้องกล้าคิดแตกต่าง คิดใหม่ และเข้าสู่โลกใหม่ด้วยเทคโนโลยี ที่สำคัญคือ ต้องสร้างทีมให้มีส่วนร่วม"
เขาบอกว่า คนรุ่นใหม่อาจเชี่ยวชาญเทคโนโลยี แต่ยังขาดประสบการณ์ และการตัดสินใจที่เฉียบคม จึงจะต้องอาศัย "ระบบพี่เลี้ยง" ที่จะคอยเป็นที่ปรึกษาไปลดความเสี่ยงในธุรกิจเกิดใหม่ของคนกลุ่มนี้
ขณะที่ “ผศ.ดร. เอกชัย อภิศักดิ์กุล” คณบดีคณะบริหารธุรกิจ ม.หอการค้าไทย บอกว่า การสร้างสังคมสตาร์ทอัพให้เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้น ต้องเริ่มจากสนับสนุนให้คนได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ รัฐบาลเองก็ต้องเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนด้วย รวมถึงต้องสร้างทัศนคติใหม่ในสังคม คือการ “ไม่กลัวความล้มเหลว” เพราะธุรกิจเกิดใหม่มีโอกาส “เจ๊ง” มากกว่ารอด
ถ้าเปลี่ยน Mindset ตรงนี้ได้ โอกาสเติบใหญ่ของธุรกิจสตาร์ทอัพในไทย ก็จะยังไปได้ “สวย”
------------------------------------------
"ทุนทั่วโลก" แห่รุก Startup อาเซียน
500 Startups ประมาณการว่า ในปี 2556 นี้ Startup ทั่วโลก มีการระดมทุนแบบ Seed Funding รวมกันแล้วราว 1,700 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 51,000 ล้านบาท) และมีการลงทุนระดับ Series A อีกราว 700 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 21,000 ล้านบาท)
หน่วยงานดังกล่าว ยังบอกด้วยว่า นักลงทุนจากทั่วโลก วงเงินนับแสนล้านบาท มีแนวโน้มจะโยกเงินลงทุนเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น หลังเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจทั้งในยุโรปและอเมริกา ส่งผลให้เม็ดเงินลงทุนของกลุ่ม VC (Venture Capital) ที่สนใจลงทุนในธุรกิจเกิดใหม่ (Startup) เบนเข็มสู่ภูมิภาคอาเซียน ปลุกให้ตลาดสตาร์ทอัพขยับโตขึ้นอย่างน่าจับตา
เช่นเดียวกับประเทศไทย ที่นักวิเคราะห์มองว่า..น่าจะมีเงินลงทุนในสตาร์ทอัพไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท!
โดยกลุ่มทุนต่างชาติที่เห็นการเคลื่อนตัวเข้ามาลงทุนในธุรกิจ Startup ในช่วงที่ผ่านมาคือ "ทุนญี่ปุ่น" แม้ว่าหากเทียบเม็ดเงินลงทุนรวม "ทุนสิงคโปร์" จะยังคงเป็นทุนหลักที่เข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้
.....................
“Jazz pay”
ธุรกิจแจ้งเกิดจากเวที Startup Weekend
“Jazz pay” คือ ธุรกิจการทำธุรกรรมบนโลกไซเบอร์โดยไม่ต้องใช้เครดิต ผลผลิตจาก เวที Startup Weekend Bangkok: from Zero to Hero นี่คือการแข่งขันสร้างผู้ประกอบการ โดยใช้เวลา 54 ชั่วโมง ที่ผู้แข่งขันต้องคิดค้นไอเดีย สร้างทีม คิดแผนธุรกิจ พร้อมลงมือผลิตให้เป็นธุรกิจจริง ก่อนนำเสนอให้กับคณะกรรมการและนักลงทุน ซึ่งมีการจัดการแข่งขันไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยโดยการนำของ สถาบันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
นี่คือการร่วมทีมของคนแปลกหน้า ที่ลงตัว และแข็งแกร่ง เริ่มจาก “คาร์ลอส แอร์เรร่า” ชาวโคลัมเบีย ที่ทำงานด้าน Lead of Developer “พอล ฮาเบอร์เรอร์” ชาวแคนนาดา ที่ทำงานด้าน Payment และ Management “ขจรพงศ์ ปรัชญางค์ปรีชา” ที่มาจากสายงาน Business Consultant และเป็น Business Entrepreneur “ฬุศรัณย์ ศิลป์ศรีกุล” ชายหนุ่มผู้มีความฝันและเริ่มทำ Startup เล็กๆ ของตัวเอง และ “ฤทธิ์พล วงศ์ทวีสินค้า” นักแสวงหาโอกาส ที่มีประสบการณ์ด้าน Digital Creative และ Digital Marketing
“เพื่อนที่ชื่อ คาร์ลอส เขามีไอเดียเกี่ยวกับระบบ Payment ซึ่งผมมองว่าน่าสนใจเพราะว่าต้องอาศัยคนที่มีสเปียลลิสต์ด้านนี้ ต้องรู้อะไรเยอะ เป็นบลูโอเชียนในธุรกิจสตาร์ทอัพ”
เขาสะท้อนความคิด ก่อนเลือกเข้าร่วมเป็นหนึ่งในทีม ที่ออกจะนอกสายตาผู้แข่งขันวันนั้น เพราะส่วนใหญ่จะมุ่งไปทางกลุ่มท่องเที่ยวที่ดูสดใสกว่า แต่เขาและทีมกลับมองว่านี่ต่างหากคือโอกาสของการทำธุรกรรมบนโลกไซเบอร์โดยไม่ต้องใช้เครดิต เพื่อลดปัญหาการใช้เครดิตการ์ดบนโลกออนไลน์ ซึ่งยังมีโอกาสสูงมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ยังมีการใช้บัตรเครดิตรการ์ดที่ต่ำมาก คือ อยู่ที่ 10-15% ของประชากรทั้งหมด จึงมีคนอีกเยอะมากที่ธุรกิจพวกนี้ “เข้าไม่ถึง” ซึ่งทั้งหมดก็ล้วนเป็นโอกาสของธุรกิจน้องใหม่อย่างพวกเขา
“เมื่อตัดสินใจที่จะเข้าร่วมทีม เราก็ต้องรีบปรับตัวและสร้างความเชื่อมั่นให้กับแต่ละคนในทีมให้ได้เร็วที่สุด ซึ่ง
JazzPay มีทีมที่ดีมาก แต่ละคนในทีมล้วนมาจากสายงานที่แตกต่างกันออกไป และเป็นที่ต้องการของตัวธุรกิจพอดี ในวันแรกเราคุยกันให้ได้มากที่สุด และวางแผนสำหรับวันถัดไป เผื่อจะให้มีความชัดเจนของกำหนดการต่างๆ ซึ่งการมีทีมที่ค่อนข้างพร้อม คือ เหตุผลที่ทำให้เราคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 มาได้”
หลังรับรางวัล ธุรกิจจากไอเดียไม่ได้สูญหายไปไหน แต่เป็นการเริ่มต้นก่อร่างธุรกิจจริงของพวกเขา โดยวันนี้อยู่ระหว่างการทดลองใช้งานและตรวจสอบระบบความปลอดภัย เพื่อนำผลลัพธ์มาประเมินก่อนตัดสินใจกันในทีมว่า จะไปในทิศทางไหนต่อไปได้
“คิดว่าจะพยายามทำให้มันเกิดขึ้นจริงให้ได้ แต่ก็ไม่ได้ตั้งเป้าว่า จะต้องสำเร็จได้ไกลแค่ไหน ก็แค่ล้มเหลวให้ได้ช้าที่สุด ล้มเหลวก็ไม่เป็นไร สร้างโอกาสขึ้นใหม่ และผมจะยังคงมุ่งไปในธุรกิจ Payment นี่แหล่ะ เพราคิดว่าระบบ Payment ในภูมิภาคนี้ยังไปได้อีกไกล”
สำหรับคนที่อยากเริ่มธุรกิจสตาร์ทอัพ แต่อาจไม่คุ้นเคยเรื่องเทคโนโลยี คนมีประสบการณ์มาก่อน บอกว่า นั่นไม่ใช่ปัญหา เพราะมองว่า สตาร์ทอัพ เกิดจากการที่แต่ละคน มีอะไรติดขัดในชีวิต แล้วก็เอาจุดเล็กๆ จุดนั้น มาแก้ปัญหา ซึ่งนั่นก็เกิดเป็นสตาร์ทอัพได้แล้ว ขอแค่กล้าออกไปแสวงหาโอกาส และสร้างโอกาสขึ้นมา โดยไม่ทำเพียงแค่นั่งรอโชคชขะตา แน่นอนว่า จะล้มเหลวก็ไม่เป็นไร ขอแค่ไม่ยอมแพ้ไปก่อนเท่านั้น
“งาน Startup Weekend เป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถช่วยให้เราสร้างธุรกิจขึ้นมาได้ง่ายมากกว่าการเริ่มต้นอะไรด้วยตัวเองคนเดียว และยังมีทีม Coach ที่คอยช่วยคิด วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของธุรกิจ ทำให้เราเรียนรู้อะไรได้เร็วมากๆ แต่ทุกอย่างจะต้องเริ่มต้นจาก Mindset ของตัวเอง ผมมีความเชื่อว่า โอกาสไม่ได้เข้ามาหาเราหรอก แต่เราเองนั้นแหละที่เป็นคนสร้างโอกาสเอง อยู่ที่เราพร้อมจะเสี่ยงคว้าโอกาสนั้นๆ รึเปล่าเท่านั้น”
ฤทธิ์พล วงศ์ทวีสินค้า คนหนุ่มวัย 23 ปี สะท้อนความคิด และย้ำว่า ในช่วงชีวิตนักศึกษามหาวิทยาลัยนี่แหล่ะ เหมาะที่สุดที่จะสร้างธุรกิจของตัวเอง เพราะมีทั้งเวลา และอัตราการรองรับความเสี่ยงที่ต่ำ แถมยังมีเวลาลองผิดลองถูกได้อีกเยอะ
ขอแค่ใจกล้า ลองกระโดดเข้ามาคว้าโอกาสให้กับตัวเองเท่านั้น
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B9%88.html
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Start up Company
โพสต์ที่ 4
ทุก Startup เป็น SME
แต่ไม่ใช่ทุก SME จะเป็น Startup
แต่ไม่ใช่ทุก SME จะเป็น Startup
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Start up Company
โพสต์ที่ 5
สรุปแนวโน้มที่น่าสนใจของวงการไอที จาก KPCB Internet Trends 2015
https://www.blognone.com/node/70689
บริษัท Kleiner Perkins Caufield & Byers (KPCB) ถือเป็นนักลงทุนแบบ Venture Capital (VC) อันดับต้นๆ ของโลกไอที บริษัทเปิดมาตั้งแต่ปี 1972 โดยมีผลงานลงทุนในบริษัทไอทีชื่อดังมากมาย เช่น AOL, Amazon, Google, EA, Lotus, Netscape รวมถึงบริษัทรุ่นใหม่อย่าง Nest, Facebook, Twitter, Uber, Groupon
Mary Meeker นักวิเคราะห์คนดังของบริษัทนี้มีธรรมเนียมออกสไลด์ชุด Internet Trends เป็นประจำทุกปี (ทำมาตั้งแต่ปี 2001 ตั้งแต่เธอทำงานกับ Morgan Stanley) เอกสารชุดนี้มีชื่อเสียงมาก เพราะให้ "ภาพมุมกว้าง" ของอุตสาหกรรมไอทีว่ามีแนวโน้มอย่างไร มีผลกระทบต่อธุรกิจอื่นๆ หรือชีวิตประจำวันของคนอย่างไร
การเติบโตของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
ภาพรวมคือจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยังเพิ่มขึ้น แต่อัตราการเติบโตเริ่มช้าลง จากสไลด์ด้านล่างจะเห็นว่าอัตราการเติบโตของผู้ใช้เน็ตในปี 2014 คือ 8% เทียบกับปี 2013 คือ 10%, ปี 2012 คือ 11%
อย่างไรก็ตาม ในบางภูมิภาคยังมีอัตราการเติบโตที่สูงอยู่ เช่น อินเดียที่เติบโตถึง 33% ถือเป็นอีกภูมิภาคใหม่ที่น่าจับตามอง
การเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมเดิม
แอพยอดฮิตอย่าง Uber, Airbnb, Instacart เจาะอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน นั่นคือ ที่พัก (housing), คมนาคม (transportation) และอาหารสด (food) แต่ในภาพรวมแล้ว แอพทั้งสามตัวเลือกเจาะตลาดที่มีมูลค่าสูงมาก ทุกครอบครัวต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการเหล่านี้เป็นมูลค่าสูงอยู่แล้ว ถ้าสามารถเจาะได้สำเร็จ นั่นคือครอบครองตลาดที่ใหญ่มาก
นอกจากตลาดมีขนาดใหญ่ ยังมีอัตราการใช้งาน (engagement) สูง เช่น คนเราต้องหาที่นอนทุกวัน ต้องเดินทางทุกวัน ต้องซื้อของสดเข้าบ้านทุกสัปดาห์
แถมยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีประสบการณ์ใช้งานแย่ (weak user experience) เช่น คิวแท็กซี่ยาว หาที่จอดรถหน้าซูเปอร์มาร์เก็ตยาก เป็นต้น การนำแอพเข้ามาใช้จึงได้เปรียบกว่าคู่แข่งดั้งเดิมในอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น
การเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมดั้งเดิม ทำให้โครงสร้างการกำกับดูแลแบบเดิมๆ เสียไป ในอดีต เราจะเห็นว่ามีสมดุลระหว่างผู้เล่นรายเดิม (incumbents), ผู้เล่นรายใหม่ (innovators), หน่วยงานกำกับดูแล (regulators)
https://www.blognone.com/node/70689
https://www.blognone.com/node/70689
บริษัท Kleiner Perkins Caufield & Byers (KPCB) ถือเป็นนักลงทุนแบบ Venture Capital (VC) อันดับต้นๆ ของโลกไอที บริษัทเปิดมาตั้งแต่ปี 1972 โดยมีผลงานลงทุนในบริษัทไอทีชื่อดังมากมาย เช่น AOL, Amazon, Google, EA, Lotus, Netscape รวมถึงบริษัทรุ่นใหม่อย่าง Nest, Facebook, Twitter, Uber, Groupon
Mary Meeker นักวิเคราะห์คนดังของบริษัทนี้มีธรรมเนียมออกสไลด์ชุด Internet Trends เป็นประจำทุกปี (ทำมาตั้งแต่ปี 2001 ตั้งแต่เธอทำงานกับ Morgan Stanley) เอกสารชุดนี้มีชื่อเสียงมาก เพราะให้ "ภาพมุมกว้าง" ของอุตสาหกรรมไอทีว่ามีแนวโน้มอย่างไร มีผลกระทบต่อธุรกิจอื่นๆ หรือชีวิตประจำวันของคนอย่างไร
การเติบโตของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
ภาพรวมคือจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยังเพิ่มขึ้น แต่อัตราการเติบโตเริ่มช้าลง จากสไลด์ด้านล่างจะเห็นว่าอัตราการเติบโตของผู้ใช้เน็ตในปี 2014 คือ 8% เทียบกับปี 2013 คือ 10%, ปี 2012 คือ 11%
อย่างไรก็ตาม ในบางภูมิภาคยังมีอัตราการเติบโตที่สูงอยู่ เช่น อินเดียที่เติบโตถึง 33% ถือเป็นอีกภูมิภาคใหม่ที่น่าจับตามอง
การเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมเดิม
แอพยอดฮิตอย่าง Uber, Airbnb, Instacart เจาะอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน นั่นคือ ที่พัก (housing), คมนาคม (transportation) และอาหารสด (food) แต่ในภาพรวมแล้ว แอพทั้งสามตัวเลือกเจาะตลาดที่มีมูลค่าสูงมาก ทุกครอบครัวต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการเหล่านี้เป็นมูลค่าสูงอยู่แล้ว ถ้าสามารถเจาะได้สำเร็จ นั่นคือครอบครองตลาดที่ใหญ่มาก
นอกจากตลาดมีขนาดใหญ่ ยังมีอัตราการใช้งาน (engagement) สูง เช่น คนเราต้องหาที่นอนทุกวัน ต้องเดินทางทุกวัน ต้องซื้อของสดเข้าบ้านทุกสัปดาห์
แถมยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีประสบการณ์ใช้งานแย่ (weak user experience) เช่น คิวแท็กซี่ยาว หาที่จอดรถหน้าซูเปอร์มาร์เก็ตยาก เป็นต้น การนำแอพเข้ามาใช้จึงได้เปรียบกว่าคู่แข่งดั้งเดิมในอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น
การเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมดั้งเดิม ทำให้โครงสร้างการกำกับดูแลแบบเดิมๆ เสียไป ในอดีต เราจะเห็นว่ามีสมดุลระหว่างผู้เล่นรายเดิม (incumbents), ผู้เล่นรายใหม่ (innovators), หน่วยงานกำกับดูแล (regulators)
https://www.blognone.com/node/70689
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Start up Company
โพสต์ที่ 6
Startup สาววัย 23 ปี Pitching 3 นาที คว้า 40 ล้านบาท
Cindy Wu สาวน้อยชาวเอเชียในอเมริกาฝันอยากสร้างเครื่องมือทางการเงินสนับสนุนนักวิทยาศาสตร์ให้สามารถทำงานวิจัยดีๆ แต่ขาดเงินทุนเพื่อให้โลกได้มีนวัตกรรมทางการแพทย์มารักษาผู้คน
ฝันเธอฟังดูสมเหตุสมผลต่อการสนับสนุน แต่ในชีวิตจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น เธอผ่านอุปสรรคมากมายจนในที่สุดความพยายามก็บรรลุเป้าหมาย ตอนอายุ 23 ปี เธอสามารถระดมทุน 1.2 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 40 ล้านบาท สำเร็จเมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้ว และเกิดเป็นเว็บไซต์ Crowd funding เพื่อนักวิทยาศาสตร์โดยเอกชนเป็นรายแรกชื่อ Experiment
ความพยายามครั้งที่ 1: จุดเริ่มต้นของความฝันเปลี่ยนโลก
ย้อนกลับไป 4 ปีก่อน Cindy Wu ในวัย 22 ปีเป็นนักศึกษาเกียรตินิยมของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน มีผลงานทางการแพทย์คือค้นคว้าสารที่ช่วยกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายสามารถตรวจจับเชื้อ Anthrax ได้
ประสบการณ์นั้นทำให้เธอเกิดแรงบันดาลใจที่จะค้นคว้าสารเพื่อนำไปใช้ต่อสู้กับเชื้อโรคอื่นๆต่อไป
งานวิจัยถัดไปของ Cindy ต้องการเงินทุน 5,000 เหรียญเป็นค่าสารชีวะและเครื่องมือทดลองต่างๆ เธอทำหนังสือถึงศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยแต่ถูกปฏิเสธด้วยเหตุผลว่า อายุน้อยกว่าเกณฑ์ ไม่มีปริญญาเอก และงบประมาณที่ต้องการต่ำเกินไป
ความพยายามครั้งที่ 2: เดินหน้าต่อสู่หน่วยงานของรัฐ
ที่พึ่งที่คาดว่าจะพึ่งพาได้มากที่สุดอย่างสถาบันการศึกษาต้องจบลง แต่ความตั้งใจของ Cindy ยังไม่จบ
เธอพุ่งเป้าไปที่หน่วยงานของรัฐที่มีนโยบายให้ทุนสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ได้แก่ National Science Foundation และ National Institutes of Health แต่เมื่อศึกษาอย่างละเอียดก็ต้องพบกับความผิดหวังครั้งที่สอง
เธอพบว่าหน่วยงานขนาดใหญ่เหล่านี้ให้ความสำคัญกับโครงการใหญ่ๆ ในขณะที่ตัวเธอเล็กเกินไปกว่าที่เข้าถึงและเป็นที่สนใจขององค์กรเหล่านั้น เธอจึงหาวิธีถัดไปนั่นคือการระดมทุนกับเอกชน
ความพยายามครั้งที่ 3: เปลี่ยนแผนไประดมทุนกับภาคเอกชน
เธอมีแนวคิดที่จะทำการระดมทุนในลักษณะเปิดเป็น Campaign เรี่ยรายเงินจากคนจำนวนมากผ่านเว็บไซต์ที่เรียกว่า Crowd funding
เว็บไซต์ Crowd funding ที่ผ่านมาจะเป็นแนวแสวงหากำไร ผู้ระดมทุน Crowd funding จะนำเงินไปพัฒนาสินค้าและบริการ รวมไปถึงงานศิลปะ หรือไม่ก็เป็น Non-profit สุดๆ ไปเลยเช่นช่วยคนเจ็บป่วยตกทุกข์ได้ยากเป็นต้น
ดังนั้น เว็บไซต์ Crowd funding เพื่องานวิทยาศาสตร์ของ Cindy จึงถือเป็นเจ้าแรกๆในตลาด ซึ่งเพื่อนนักวิทยาศาสตร์ของเธอเห็นด้วยที่จะให้ทำและพร้อมจะนำโครงการวิจัยไปร่วม Post ลงในเว็บไซต์ทันทีที่เปิดใช้งาน
สร้างเว็บไซต์ทำ Prototype เสนอนายทุน
Cindy เริ่มต้นสร้างเว็บไซต์ต้นแบบชื่อ Microryza เพื่อนำไปเสนอนายทุนอิสระ หรือ Angel investor ในรัฐ Seattle
เธอและเพื่อนๆ ต่างใช้เงินส่วนตัวในช่วงเริ่ม้นพัฒนาเว็บไซต์ หลายอย่างต้องทำด้วยตัวเองแม้กระทั่งการเรียนรู้ Coding เพื่อปั้นเว็บไซต์ให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาและสามารถ Post โครงการวิจัย ทำเป็น Prototype เพื่อนำไปเสนอนายทุน
แต่ผลลัพธ์ของการนำเสนอนายทุนต้องประสบความผิดหวัง เพราะนายทุนรายย่อยเหล่านั้นต่างมองไปที่ Exit strategy คือการผลักดันธุรกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มของหุ้นและขายทำกำไรสูงๆ ซึ่ง Cindy ไม่มีแผนนี้อยู่ในใจ
Exit strategy เดียวในใจของเธอคือการทำให้คน Exit จากโรคภัยไข้เจ็บ เมื่อเธอคิดเช่นนี้ เธอจึงไม่ได้ความสนใจจากนักลงทุน
ความพยายามครั้งสุดท้าย: มุ่งสู่ Silicon Valley !
หลังจากพยายามระดมทุนและผิดหวังถึงสามครั้ง…
คราวนี้ Cindy มุ่งหน้าสู่ศูนย์กลางการระดมทุนสตาร์ทอัพตัวพ่อ เธอไปตรงไปที่ Y Combinator ใน Silicon Valley หนึ่งในองค์กรด้านการให้ทุนสตาร์ทอัพระดับโลก
Cindy และหุ้นส่วนผ่านการสัมภาษณ์และเข้าเก็บตัว 3 เดือนเพื่อสร้างผลงานเตรียมนำเสนอในวัน Demo Day หรือวันที่ว่าที่สตาร์ทอัพจะมีโอกาสปล่อยของกันให้สุดตัวต่อหน้านักลงทุน
เธอใช้เวลาเพียง 3 นาทีในการ Pitch และคว้าเงินลงทุนมาได้ 1.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 40 ล้านบาท!
Elizabeth Iorns นักวิจัยที่มีชื่อเสียงใน Silicon Valley ประเดิมใช้ Microryza ในการระดมทุนงานวิจัยโรคมะเร็ง ในขณะที่ Bill Gates ให้คำนิยมแก่สตาร์ทอัพของเธอว่า
“Solution that helps close the gap for potentially promising but unfunded projects”
หรือ “สิ่งที่จะมาเติมเต็มให้กับโครงการที่มีค่าแต่ไม่มีใครแลเห็น”
วันนี้ของ Cindy Wu
ปัจจุบันเธออายุ 26 ปี เว็บไซต์ Microryza เปลี่ยนชื่อเป็น Experiment มีโครงการวิจัยประกาศระดมทุนกว่า 5 พันโครงการ ได้รับทุนตามวัตถุประสงค์ 336 โครงการ และขยายไปสู่โครงการวิจัยเพื่อคุณภาพชีวิตของทั้งคน, สัตว์เลี้ยง, และสัตว์ป่า
แต่ละที่ที่เธอมีโอกาสไปพูดบรรยาย เธอมีประโยคท้าทายคนฟังที่เป็นการเตือนให้ฉุกคิดไปในตัวว่า….
“อย่าหยุดเพียงคำพูดว่าวิทยาศาสตร์สำคัญมากแค่ไหน ถ้าคุณคิดว่ามันสำคัญก็โปรดเดินหน้าให้เงินสนับสนุนโครงการเหล่านั้นให้เป็นจริง”
Startup สาววัย 23 ปี Pitching 3 นาที คว้า 40 ล้านบาท
http://www.theceoblogger.com/1507009/
Woman raised $1.2 million with a spirited 3-minute speech
http://nytlive.nytimes.com/womeninthewo ... te-speech/
Help fund the next wave of scientific research
https://experiment.com/
Here’s the 3-Minute Pitch That Earned One Entrepreneur $1.2 million
http://nextshark.com/cindy-wu-3-minute- ... xperiment/
Cindy Wu สาวน้อยชาวเอเชียในอเมริกาฝันอยากสร้างเครื่องมือทางการเงินสนับสนุนนักวิทยาศาสตร์ให้สามารถทำงานวิจัยดีๆ แต่ขาดเงินทุนเพื่อให้โลกได้มีนวัตกรรมทางการแพทย์มารักษาผู้คน
ฝันเธอฟังดูสมเหตุสมผลต่อการสนับสนุน แต่ในชีวิตจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น เธอผ่านอุปสรรคมากมายจนในที่สุดความพยายามก็บรรลุเป้าหมาย ตอนอายุ 23 ปี เธอสามารถระดมทุน 1.2 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 40 ล้านบาท สำเร็จเมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้ว และเกิดเป็นเว็บไซต์ Crowd funding เพื่อนักวิทยาศาสตร์โดยเอกชนเป็นรายแรกชื่อ Experiment
ความพยายามครั้งที่ 1: จุดเริ่มต้นของความฝันเปลี่ยนโลก
ย้อนกลับไป 4 ปีก่อน Cindy Wu ในวัย 22 ปีเป็นนักศึกษาเกียรตินิยมของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน มีผลงานทางการแพทย์คือค้นคว้าสารที่ช่วยกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายสามารถตรวจจับเชื้อ Anthrax ได้
ประสบการณ์นั้นทำให้เธอเกิดแรงบันดาลใจที่จะค้นคว้าสารเพื่อนำไปใช้ต่อสู้กับเชื้อโรคอื่นๆต่อไป
งานวิจัยถัดไปของ Cindy ต้องการเงินทุน 5,000 เหรียญเป็นค่าสารชีวะและเครื่องมือทดลองต่างๆ เธอทำหนังสือถึงศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยแต่ถูกปฏิเสธด้วยเหตุผลว่า อายุน้อยกว่าเกณฑ์ ไม่มีปริญญาเอก และงบประมาณที่ต้องการต่ำเกินไป
ความพยายามครั้งที่ 2: เดินหน้าต่อสู่หน่วยงานของรัฐ
ที่พึ่งที่คาดว่าจะพึ่งพาได้มากที่สุดอย่างสถาบันการศึกษาต้องจบลง แต่ความตั้งใจของ Cindy ยังไม่จบ
เธอพุ่งเป้าไปที่หน่วยงานของรัฐที่มีนโยบายให้ทุนสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ได้แก่ National Science Foundation และ National Institutes of Health แต่เมื่อศึกษาอย่างละเอียดก็ต้องพบกับความผิดหวังครั้งที่สอง
เธอพบว่าหน่วยงานขนาดใหญ่เหล่านี้ให้ความสำคัญกับโครงการใหญ่ๆ ในขณะที่ตัวเธอเล็กเกินไปกว่าที่เข้าถึงและเป็นที่สนใจขององค์กรเหล่านั้น เธอจึงหาวิธีถัดไปนั่นคือการระดมทุนกับเอกชน
ความพยายามครั้งที่ 3: เปลี่ยนแผนไประดมทุนกับภาคเอกชน
เธอมีแนวคิดที่จะทำการระดมทุนในลักษณะเปิดเป็น Campaign เรี่ยรายเงินจากคนจำนวนมากผ่านเว็บไซต์ที่เรียกว่า Crowd funding
เว็บไซต์ Crowd funding ที่ผ่านมาจะเป็นแนวแสวงหากำไร ผู้ระดมทุน Crowd funding จะนำเงินไปพัฒนาสินค้าและบริการ รวมไปถึงงานศิลปะ หรือไม่ก็เป็น Non-profit สุดๆ ไปเลยเช่นช่วยคนเจ็บป่วยตกทุกข์ได้ยากเป็นต้น
ดังนั้น เว็บไซต์ Crowd funding เพื่องานวิทยาศาสตร์ของ Cindy จึงถือเป็นเจ้าแรกๆในตลาด ซึ่งเพื่อนนักวิทยาศาสตร์ของเธอเห็นด้วยที่จะให้ทำและพร้อมจะนำโครงการวิจัยไปร่วม Post ลงในเว็บไซต์ทันทีที่เปิดใช้งาน
สร้างเว็บไซต์ทำ Prototype เสนอนายทุน
Cindy เริ่มต้นสร้างเว็บไซต์ต้นแบบชื่อ Microryza เพื่อนำไปเสนอนายทุนอิสระ หรือ Angel investor ในรัฐ Seattle
เธอและเพื่อนๆ ต่างใช้เงินส่วนตัวในช่วงเริ่ม้นพัฒนาเว็บไซต์ หลายอย่างต้องทำด้วยตัวเองแม้กระทั่งการเรียนรู้ Coding เพื่อปั้นเว็บไซต์ให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาและสามารถ Post โครงการวิจัย ทำเป็น Prototype เพื่อนำไปเสนอนายทุน
แต่ผลลัพธ์ของการนำเสนอนายทุนต้องประสบความผิดหวัง เพราะนายทุนรายย่อยเหล่านั้นต่างมองไปที่ Exit strategy คือการผลักดันธุรกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มของหุ้นและขายทำกำไรสูงๆ ซึ่ง Cindy ไม่มีแผนนี้อยู่ในใจ
Exit strategy เดียวในใจของเธอคือการทำให้คน Exit จากโรคภัยไข้เจ็บ เมื่อเธอคิดเช่นนี้ เธอจึงไม่ได้ความสนใจจากนักลงทุน
ความพยายามครั้งสุดท้าย: มุ่งสู่ Silicon Valley !
หลังจากพยายามระดมทุนและผิดหวังถึงสามครั้ง…
คราวนี้ Cindy มุ่งหน้าสู่ศูนย์กลางการระดมทุนสตาร์ทอัพตัวพ่อ เธอไปตรงไปที่ Y Combinator ใน Silicon Valley หนึ่งในองค์กรด้านการให้ทุนสตาร์ทอัพระดับโลก
Cindy และหุ้นส่วนผ่านการสัมภาษณ์และเข้าเก็บตัว 3 เดือนเพื่อสร้างผลงานเตรียมนำเสนอในวัน Demo Day หรือวันที่ว่าที่สตาร์ทอัพจะมีโอกาสปล่อยของกันให้สุดตัวต่อหน้านักลงทุน
เธอใช้เวลาเพียง 3 นาทีในการ Pitch และคว้าเงินลงทุนมาได้ 1.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 40 ล้านบาท!
Elizabeth Iorns นักวิจัยที่มีชื่อเสียงใน Silicon Valley ประเดิมใช้ Microryza ในการระดมทุนงานวิจัยโรคมะเร็ง ในขณะที่ Bill Gates ให้คำนิยมแก่สตาร์ทอัพของเธอว่า
“Solution that helps close the gap for potentially promising but unfunded projects”
หรือ “สิ่งที่จะมาเติมเต็มให้กับโครงการที่มีค่าแต่ไม่มีใครแลเห็น”
วันนี้ของ Cindy Wu
ปัจจุบันเธออายุ 26 ปี เว็บไซต์ Microryza เปลี่ยนชื่อเป็น Experiment มีโครงการวิจัยประกาศระดมทุนกว่า 5 พันโครงการ ได้รับทุนตามวัตถุประสงค์ 336 โครงการ และขยายไปสู่โครงการวิจัยเพื่อคุณภาพชีวิตของทั้งคน, สัตว์เลี้ยง, และสัตว์ป่า
แต่ละที่ที่เธอมีโอกาสไปพูดบรรยาย เธอมีประโยคท้าทายคนฟังที่เป็นการเตือนให้ฉุกคิดไปในตัวว่า….
“อย่าหยุดเพียงคำพูดว่าวิทยาศาสตร์สำคัญมากแค่ไหน ถ้าคุณคิดว่ามันสำคัญก็โปรดเดินหน้าให้เงินสนับสนุนโครงการเหล่านั้นให้เป็นจริง”
Startup สาววัย 23 ปี Pitching 3 นาที คว้า 40 ล้านบาท
http://www.theceoblogger.com/1507009/
Woman raised $1.2 million with a spirited 3-minute speech
http://nytlive.nytimes.com/womeninthewo ... te-speech/
Help fund the next wave of scientific research
https://experiment.com/
Here’s the 3-Minute Pitch That Earned One Entrepreneur $1.2 million
http://nextshark.com/cindy-wu-3-minute- ... xperiment/
แนบไฟล์
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Start up Company
โพสต์ที่ 7
Venture Capital ไหมล่ะคุณ? / คนขายของ
ทุนที่ใช้ในการก่อตั้งบริษัทแบบดั้งเดิม มักเริ่มด้วยการใช้เงินออมของผู้ก่อตั้ง หรือไม่ก็มีบางกรณีที่ ผู้ก่อตั้งใช้ทั้งเงินส่วนตัว และเงินกู้จากธนาคารในการเริ่มต้นกิจการ คำว่า “Venture Capital” (VC) นั้น เพิ่งมาเป็นที่รู้จักกันจริงจังหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นชื่อเรียก “การระดมทุนเพื่อการร่วมลงทุน” ซึ่งโดยมากเน้นลงทุนในธุรกิจที่เพิ่งก่อตั้ง (Startup) โดยกลุ่มทุนนี้จะคอยสนับสนุนเงินทุนให้แก่ ผู้ก่อตั้งบริษัท พร้อมทั้งคอยให้คำแนะนำในการทำธุรกิจ และใช้สายสัมพันธ์ที่มีอยู่ช่วยเกื้อหนุน เพื่อแลกกับการเป็นหุ้นส่วนของบริษัท โดยกลุ่มทุนนี้มักจะรอคอยจนถึงวันที่บริษัทเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แล้วค่อยขายทำเงิน หรือไม่ก็รอถึงวันที่บริษัทขนาดใหญ่มาซื้อไป
Instagram เป็น application เพื่อการแชร์รูปถ่ายทางโทรศัพท์มือถือ ก่อตั้งโดยนักศึกษา Standford สองคนนาม Kevin Systrom และ Mike Krieger ในเดือนตุลาคม ปี 2010 ภายใน 3 เดือนมีผู้ใช้งานถึง 1 ล้านคน และกลายเป็น 15 ล้านคนในเดือนมกราคม 2012 เว็ปไซด์ crunchbase.com ได้รวบรวมข้อมูลการระดมทุนของ Instagram ตั้งแต่ก่อตั้งว่ามีอยู่ด้วยกัน 3 รอบ รอบแรกในปี 2010 ได้เงิน 500,000 เหรียญ รอบสองในปี 2011 ได้เงินไป 7 ล้านเหรียญ และรอบสุดท้ายในปี 2012 ได้เงินไป 50 ล้านเหรียญ รวมสาม รอบบริษัทระดมทุนไป 57.5 ล้านเหรียญ หลังจากนั้นไม่นาน Facebookได้ประกาศซื้อกิจการ Instagram ไปเป็นเงินถึง 1 พันล้านเหรียญ สร้างผลตอบแทนจำนวนมหาศาลให้กับ Venture Capital อย่าง Baseline Ventures ซึ่งร่วมลงทุนมาตั้งแต่รอบแรก
Rob Hayes หนึ่งในหุ้นส่วนของ “First Round Capital” รู้จัก “Uber” (application เรียกรถแท็กซี่ทางโทรศัพท์มือถือ) โดยบังเอิญเพราะเห็นข้อความที่ Garrett Camp ผู้ก่อตั้ง Uber ได้ทวีตไว้ หลังจากนั้นเขาได้ศึกษากิจการของ Uber มากขึ้นและเป็นกลุ่มแรกๆที่ร่วม ลงทุนกับ Garrett โดยเงินก้อนแรกที่ กองทุน “First Round Capital” ใส่ลงไปมีมูลแค่ 5 แสนเหรียญในปี 2010 นิตยสาร Fortune ประเมินในเดือน มิถุนายน 2014 ว่าเงินตั้งต้น ของผู้ร่วมลงทุนใน Uber โตขึ้นมาถึง 2000 เท่า ซึ่งในตอนนี้ Uber เป็นที่รู้จักกันกว้างขวาง มีผู้ร่วมลงทุนชื่อดัง ถือหุ้นกันมากมาย เช่น Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon.com, Google Ventures, Microsoft และ Baidu ของจีน
ถึงแม้ตัวเลขผลตอบแทนจะดูน่าเย้ายวนมาก แต่จากการศึกษา VC โดยอาจารย์ Shikar Ghosh ของมหาวิทยาลัย Harvard ซึ่งทำการศึกษาบริษัท Startup 1,000 บริษัทที่ได้รับเงินอย่างต่ำ 1 ล้านเหรียญจาก VC ในช่วง 2004-2010พบว่าการลงทุนใน Startup นั้นล้มเหลวถึง 75% Diane Mulcahy ได้เขียนบทความเกี่ยวกับ VC ลงใน Harvard Business Review ระบุว่าจากศึกษาการลงทุนของ Kauffman Foundation ที่ลงทุนใน 100 กองทุน VC ในรอบ 20 ปีพบว่า มีถึง 62 กองที่แพ้การลงทุนในดัชนีหุ้นขนาดเล็ก (Small-Cap) แต่ถึงกระนั้นก็ตาม มหาเศรษฐีของโลก เช่น Bill Gates, Richard Branson เจ้าของ Virgin Group และ
Jack Ma ผู้ก่อตั้ง Alibaba.com ก็ล้วนแต่มีการลงทุนใน VCทั้งสิ้น
ก่อนที่จะลงทุนใน VC นักลงทุนควรทำความเข้าใจก่อนว่าการลงทุนใน VC นั้นเป็นประเภท เสี่ยงสูง และให้ผลตอบแทนสูง จากผลการศึกษาการลงทุนใน Startup มีถึงประมาณ 30-40% ที่ผู้ลงทุน ต้องสูญเสียเงินลงทุนทั้งหมดไปแบบไม่ได้คืน เรื่องกรณีประสบความสำเร็จก็พอมีให้เห็นอยู่ แต่ที่ให้ผล ตอบแทนแบบเป็นร้อยเป็นพันเท่านั้นคิดเป็นเปอร์เซนต์มีไม่มาก หลายบริษัทมีเรื่องราวมีกลยุทธ์เล่า กันได้เป็นวัน แต่เพิ่มทุนหลายรอบและไม่มีกำไรสักที นักลงทุนต้องทนกับการขาดสภาพคล่องเพราะ หุ้นไม่อยู่ในตลาด จะขายต่อก็ยาก ดังนั้นหากท่านใดสนใจลงทุนแนวนี้ก็ขอให้ศึกษาเกี่ยวกับบริษัท ที่ VC ของท่านจะไปลงทุนให้มาก มี Startup หลายบริษัทที่ผู้ก่อตั้งขึ้นเวทีบรรยายแผนงานทางธุรกิจให้แก่นักลงทุนฟัง ถ้าเป็นไปได้ควรเข้าร่วม แต่ถ้าท่านจะลงทุนแบบเสี่ยงโชค ไม่ศึกษาหาข้อมูล ไม่ติดตามข่าวสารการลงทุนของ VC ถ้าเป็นแบบนั้นคงไม่เรียกว่า “การลงทุน” แต่ออกแนวเป็น “การพนัน” มากกว่า
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f ... 1#p1688701
ทุนที่ใช้ในการก่อตั้งบริษัทแบบดั้งเดิม มักเริ่มด้วยการใช้เงินออมของผู้ก่อตั้ง หรือไม่ก็มีบางกรณีที่ ผู้ก่อตั้งใช้ทั้งเงินส่วนตัว และเงินกู้จากธนาคารในการเริ่มต้นกิจการ คำว่า “Venture Capital” (VC) นั้น เพิ่งมาเป็นที่รู้จักกันจริงจังหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นชื่อเรียก “การระดมทุนเพื่อการร่วมลงทุน” ซึ่งโดยมากเน้นลงทุนในธุรกิจที่เพิ่งก่อตั้ง (Startup) โดยกลุ่มทุนนี้จะคอยสนับสนุนเงินทุนให้แก่ ผู้ก่อตั้งบริษัท พร้อมทั้งคอยให้คำแนะนำในการทำธุรกิจ และใช้สายสัมพันธ์ที่มีอยู่ช่วยเกื้อหนุน เพื่อแลกกับการเป็นหุ้นส่วนของบริษัท โดยกลุ่มทุนนี้มักจะรอคอยจนถึงวันที่บริษัทเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แล้วค่อยขายทำเงิน หรือไม่ก็รอถึงวันที่บริษัทขนาดใหญ่มาซื้อไป
Instagram เป็น application เพื่อการแชร์รูปถ่ายทางโทรศัพท์มือถือ ก่อตั้งโดยนักศึกษา Standford สองคนนาม Kevin Systrom และ Mike Krieger ในเดือนตุลาคม ปี 2010 ภายใน 3 เดือนมีผู้ใช้งานถึง 1 ล้านคน และกลายเป็น 15 ล้านคนในเดือนมกราคม 2012 เว็ปไซด์ crunchbase.com ได้รวบรวมข้อมูลการระดมทุนของ Instagram ตั้งแต่ก่อตั้งว่ามีอยู่ด้วยกัน 3 รอบ รอบแรกในปี 2010 ได้เงิน 500,000 เหรียญ รอบสองในปี 2011 ได้เงินไป 7 ล้านเหรียญ และรอบสุดท้ายในปี 2012 ได้เงินไป 50 ล้านเหรียญ รวมสาม รอบบริษัทระดมทุนไป 57.5 ล้านเหรียญ หลังจากนั้นไม่นาน Facebookได้ประกาศซื้อกิจการ Instagram ไปเป็นเงินถึง 1 พันล้านเหรียญ สร้างผลตอบแทนจำนวนมหาศาลให้กับ Venture Capital อย่าง Baseline Ventures ซึ่งร่วมลงทุนมาตั้งแต่รอบแรก
Rob Hayes หนึ่งในหุ้นส่วนของ “First Round Capital” รู้จัก “Uber” (application เรียกรถแท็กซี่ทางโทรศัพท์มือถือ) โดยบังเอิญเพราะเห็นข้อความที่ Garrett Camp ผู้ก่อตั้ง Uber ได้ทวีตไว้ หลังจากนั้นเขาได้ศึกษากิจการของ Uber มากขึ้นและเป็นกลุ่มแรกๆที่ร่วม ลงทุนกับ Garrett โดยเงินก้อนแรกที่ กองทุน “First Round Capital” ใส่ลงไปมีมูลแค่ 5 แสนเหรียญในปี 2010 นิตยสาร Fortune ประเมินในเดือน มิถุนายน 2014 ว่าเงินตั้งต้น ของผู้ร่วมลงทุนใน Uber โตขึ้นมาถึง 2000 เท่า ซึ่งในตอนนี้ Uber เป็นที่รู้จักกันกว้างขวาง มีผู้ร่วมลงทุนชื่อดัง ถือหุ้นกันมากมาย เช่น Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon.com, Google Ventures, Microsoft และ Baidu ของจีน
ถึงแม้ตัวเลขผลตอบแทนจะดูน่าเย้ายวนมาก แต่จากการศึกษา VC โดยอาจารย์ Shikar Ghosh ของมหาวิทยาลัย Harvard ซึ่งทำการศึกษาบริษัท Startup 1,000 บริษัทที่ได้รับเงินอย่างต่ำ 1 ล้านเหรียญจาก VC ในช่วง 2004-2010พบว่าการลงทุนใน Startup นั้นล้มเหลวถึง 75% Diane Mulcahy ได้เขียนบทความเกี่ยวกับ VC ลงใน Harvard Business Review ระบุว่าจากศึกษาการลงทุนของ Kauffman Foundation ที่ลงทุนใน 100 กองทุน VC ในรอบ 20 ปีพบว่า มีถึง 62 กองที่แพ้การลงทุนในดัชนีหุ้นขนาดเล็ก (Small-Cap) แต่ถึงกระนั้นก็ตาม มหาเศรษฐีของโลก เช่น Bill Gates, Richard Branson เจ้าของ Virgin Group และ
Jack Ma ผู้ก่อตั้ง Alibaba.com ก็ล้วนแต่มีการลงทุนใน VCทั้งสิ้น
ก่อนที่จะลงทุนใน VC นักลงทุนควรทำความเข้าใจก่อนว่าการลงทุนใน VC นั้นเป็นประเภท เสี่ยงสูง และให้ผลตอบแทนสูง จากผลการศึกษาการลงทุนใน Startup มีถึงประมาณ 30-40% ที่ผู้ลงทุน ต้องสูญเสียเงินลงทุนทั้งหมดไปแบบไม่ได้คืน เรื่องกรณีประสบความสำเร็จก็พอมีให้เห็นอยู่ แต่ที่ให้ผล ตอบแทนแบบเป็นร้อยเป็นพันเท่านั้นคิดเป็นเปอร์เซนต์มีไม่มาก หลายบริษัทมีเรื่องราวมีกลยุทธ์เล่า กันได้เป็นวัน แต่เพิ่มทุนหลายรอบและไม่มีกำไรสักที นักลงทุนต้องทนกับการขาดสภาพคล่องเพราะ หุ้นไม่อยู่ในตลาด จะขายต่อก็ยาก ดังนั้นหากท่านใดสนใจลงทุนแนวนี้ก็ขอให้ศึกษาเกี่ยวกับบริษัท ที่ VC ของท่านจะไปลงทุนให้มาก มี Startup หลายบริษัทที่ผู้ก่อตั้งขึ้นเวทีบรรยายแผนงานทางธุรกิจให้แก่นักลงทุนฟัง ถ้าเป็นไปได้ควรเข้าร่วม แต่ถ้าท่านจะลงทุนแบบเสี่ยงโชค ไม่ศึกษาหาข้อมูล ไม่ติดตามข่าวสารการลงทุนของ VC ถ้าเป็นแบบนั้นคงไม่เรียกว่า “การลงทุน” แต่ออกแนวเป็น “การพนัน” มากกว่า
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f ... 1#p1688701
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Start up Company
โพสต์ที่ 8
TEDTalks โดย Bill Gross กับเหตุผลที่ทำให้ Startups ประสบความสำเร็จ
นี้คือคำบอกเล่าของ Bill Gross ที่ได้พูดเอาไว้ในงาน TEDTalks เดือนมีนาคม 2015 เขาพูดถึงเหตุผลหลักๆ ที่ทำให้ Startups ประสบความสำเร็จ Bill Gross เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Pacific Investment Management (PIMCO) ซึ่งเป็นบริษัทบริหารเงินลงทุนรายใหญ่ของอเมริกาที่มีพนักงานร่วมกว่า 2,000 คนใน 12 ประเทศ
Bill เชื่อว่าองค์กร Startups เป็นหนึ่งในองค์กรที่สามารถเปลี่ยนโลกของเราให้น่าอยู่มากขึ้น ถ้าเกิดว่าคุณรวบรวมเอาเหล่า Startups จากหลายด้านความสามารถมารวมกัน คุณจะปลดล็อกขีดจำกัดของมนุษย์และพวกเขาสามารถจะสร้างสรรค์ผลงานให้เป็นที่จดจำของโลก Bill ยังพูดอีกว่าในเมื่อองค์กร Startups มันดูมีศักยภาพที่จะเติบโต แต่ทำไมถึงมีหลายคนที่ยังล้มเหลวอยู่และนี้คือสิ่งที่เขาอยากจะรู้
ไอเดีย
ทีม/execution
รูปแบบธุรกิจ
เงินทุน
จังหวะ/เวลา
ช่วงแรก Bill เชื่อว่า ไอเดีย เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด แต่ต่อมาเขาก็เริ่มเปลี่ยนความคิดว่ามันอาจจะเป็น ทีมและ execution ก็ได้เพราะว่าเราต้องพยายามทำให้สินค้าออกมาสู่ตลาดให้ได้ ในส่วนของรูปแบบธุรกิจเขาก็มีมุมมองที่สำคัญว่าจะสามารถสร้างรายได้จากลูกค้าอย่างไร แม้กระทั้งเงินทุนก็ดี ถ้าบริษัทได้รับเงินทุนก้อนใหญ่ก็จะสามารถพัฒนาบริษัทให้ไปข้างหน้า
และสิ่งสุดท้ายที่เขาเองก็คิดว่าสำคัญเหมือนกันก็คือ เวลา การหาจังหวะที่ดีในการปล่อยสินค้าออกสู้ตลาดโลก จังหวะที่ดีนั้นเราต้องดูด้วยว่าผู้คนในปัจจุบันพร้อมแล้วหรือไม่สำหรับการใช้งานของสินค้าเรา หรือว่าพวกเขายังต้องศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีให้มากขึ้น จึงจะสามารถเข้าใจการใช้งานได้
แต่พอ Bill ได้ทำการค้นคว้าจากหลายบริษัทที่ทั้งประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้เขาได้เรียนรู้ว่า จังหวะและเวลา คือสิ่งสำคัญที่สุดในการประสบความสำเร็จของบริษัท ซึ่งถ้าคำนวนออกมาเป็นเปอร์เซ็นจะอยู่ที่ 42% ซึ่งจุดนี้จะสร้างความแตกต่างระหว่างประสบความสำเร็จและล้มเหลวได้เลย
จังหวะเวลา 42%
ทีม/Execution 32%
ไอเดีย 28%
รูปแบบธุรกิจ 24%
เงินทุน 14%
ถึงแม้ว่ามันจะไม่ได้เป็นไปตามที่เขาคิดโดยพิจารณาจากไอเดียเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญ อย่างไรก็ดี Bill ได้ยกตัวอย่าง Airbnb กับ Uber ให้ฟังถึงความสำคัญของจังหวะและเวลาที่ดี เขาบอกว่ามีหลายคนย่อมไม่อยากจะให้คนแปลกหน้ามาเช่าบ้านที่ตัวเองอยู่ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม Airbnb ได้เข้ามาถูกจังหวะในขณะที่เศรษฐกิจกำลังย่ำแย่และผู้คนก็ลองหาเงินเพิ่มโดยปล่อยบ้านให้นักท่องเที่ยวมาเช่า รวมไปถึง Uber พวกเขาหาจังหวะเข้ามาในตลาดได้ดีมาก เพราะในช่วงที่ Uber เพิ่งมาใหม่ๆพวกเขาต้องการคนขับรถในจำนวนมาก ส่วนคนขับแท็กซี่ปกติก็กำลังมองหารายได้เสริมอยู่พอดี จึงเกิดเป็น demand กับ supply
ถ้ามองจากเปอร์เซ็นจะเห็นได้ว่าเงินทุนได้ถูกจัดเอาไว้ในตำแหน่งสุดท้าย แต่เมื่อพูดถึงการทำ Startups ปัจจัยแรกที่เขามาในหัวใครหลายๆ คนก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของเงินทุน เพราะถ้าไม่มีเงินก็ไม่สามารถจะพัฒนาตัวสินค้าหรือว่าแอปได้ Bill ได้ตอบคำถามข้อนี้ว่า ถ้าคุณมีไอเดียที่ดีในสมัยนี้มันไม่ยากเลยที่จะไปขอเงินจากนักลงทุนเพราะว่าสมัยนี้มี VC มากมายที่กำลังมองหาไอเดียดีๆ อยู่
โดย Bill ได้สรุปว่าถึงแม้ Execution จะสำคัญแล้ว ทว่าจังหวะเวลาก็ยังสำคัญกว่าในแง่ของสถิติที่ประสบความสำเร็จของ Startups เห็นอย่างนี้แล้วหลายๆ คนลองเอาวิธีคิดแบบนี้ไปใช้งานกันเผื่อว่าจะช่วยเพิ่มโอกาสในความสำเร็จให้มากขึ้นนะครับ
http://techsauce.co/news/tedtalks-bill- ... s-success/
นี้คือคำบอกเล่าของ Bill Gross ที่ได้พูดเอาไว้ในงาน TEDTalks เดือนมีนาคม 2015 เขาพูดถึงเหตุผลหลักๆ ที่ทำให้ Startups ประสบความสำเร็จ Bill Gross เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Pacific Investment Management (PIMCO) ซึ่งเป็นบริษัทบริหารเงินลงทุนรายใหญ่ของอเมริกาที่มีพนักงานร่วมกว่า 2,000 คนใน 12 ประเทศ
Bill เชื่อว่าองค์กร Startups เป็นหนึ่งในองค์กรที่สามารถเปลี่ยนโลกของเราให้น่าอยู่มากขึ้น ถ้าเกิดว่าคุณรวบรวมเอาเหล่า Startups จากหลายด้านความสามารถมารวมกัน คุณจะปลดล็อกขีดจำกัดของมนุษย์และพวกเขาสามารถจะสร้างสรรค์ผลงานให้เป็นที่จดจำของโลก Bill ยังพูดอีกว่าในเมื่อองค์กร Startups มันดูมีศักยภาพที่จะเติบโต แต่ทำไมถึงมีหลายคนที่ยังล้มเหลวอยู่และนี้คือสิ่งที่เขาอยากจะรู้
ไอเดีย
ทีม/execution
รูปแบบธุรกิจ
เงินทุน
จังหวะ/เวลา
ช่วงแรก Bill เชื่อว่า ไอเดีย เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด แต่ต่อมาเขาก็เริ่มเปลี่ยนความคิดว่ามันอาจจะเป็น ทีมและ execution ก็ได้เพราะว่าเราต้องพยายามทำให้สินค้าออกมาสู่ตลาดให้ได้ ในส่วนของรูปแบบธุรกิจเขาก็มีมุมมองที่สำคัญว่าจะสามารถสร้างรายได้จากลูกค้าอย่างไร แม้กระทั้งเงินทุนก็ดี ถ้าบริษัทได้รับเงินทุนก้อนใหญ่ก็จะสามารถพัฒนาบริษัทให้ไปข้างหน้า
และสิ่งสุดท้ายที่เขาเองก็คิดว่าสำคัญเหมือนกันก็คือ เวลา การหาจังหวะที่ดีในการปล่อยสินค้าออกสู้ตลาดโลก จังหวะที่ดีนั้นเราต้องดูด้วยว่าผู้คนในปัจจุบันพร้อมแล้วหรือไม่สำหรับการใช้งานของสินค้าเรา หรือว่าพวกเขายังต้องศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีให้มากขึ้น จึงจะสามารถเข้าใจการใช้งานได้
แต่พอ Bill ได้ทำการค้นคว้าจากหลายบริษัทที่ทั้งประสบความสำเร็จและไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้เขาได้เรียนรู้ว่า จังหวะและเวลา คือสิ่งสำคัญที่สุดในการประสบความสำเร็จของบริษัท ซึ่งถ้าคำนวนออกมาเป็นเปอร์เซ็นจะอยู่ที่ 42% ซึ่งจุดนี้จะสร้างความแตกต่างระหว่างประสบความสำเร็จและล้มเหลวได้เลย
จังหวะเวลา 42%
ทีม/Execution 32%
ไอเดีย 28%
รูปแบบธุรกิจ 24%
เงินทุน 14%
ถึงแม้ว่ามันจะไม่ได้เป็นไปตามที่เขาคิดโดยพิจารณาจากไอเดียเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญ อย่างไรก็ดี Bill ได้ยกตัวอย่าง Airbnb กับ Uber ให้ฟังถึงความสำคัญของจังหวะและเวลาที่ดี เขาบอกว่ามีหลายคนย่อมไม่อยากจะให้คนแปลกหน้ามาเช่าบ้านที่ตัวเองอยู่ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม Airbnb ได้เข้ามาถูกจังหวะในขณะที่เศรษฐกิจกำลังย่ำแย่และผู้คนก็ลองหาเงินเพิ่มโดยปล่อยบ้านให้นักท่องเที่ยวมาเช่า รวมไปถึง Uber พวกเขาหาจังหวะเข้ามาในตลาดได้ดีมาก เพราะในช่วงที่ Uber เพิ่งมาใหม่ๆพวกเขาต้องการคนขับรถในจำนวนมาก ส่วนคนขับแท็กซี่ปกติก็กำลังมองหารายได้เสริมอยู่พอดี จึงเกิดเป็น demand กับ supply
ถ้ามองจากเปอร์เซ็นจะเห็นได้ว่าเงินทุนได้ถูกจัดเอาไว้ในตำแหน่งสุดท้าย แต่เมื่อพูดถึงการทำ Startups ปัจจัยแรกที่เขามาในหัวใครหลายๆ คนก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของเงินทุน เพราะถ้าไม่มีเงินก็ไม่สามารถจะพัฒนาตัวสินค้าหรือว่าแอปได้ Bill ได้ตอบคำถามข้อนี้ว่า ถ้าคุณมีไอเดียที่ดีในสมัยนี้มันไม่ยากเลยที่จะไปขอเงินจากนักลงทุนเพราะว่าสมัยนี้มี VC มากมายที่กำลังมองหาไอเดียดีๆ อยู่
โดย Bill ได้สรุปว่าถึงแม้ Execution จะสำคัญแล้ว ทว่าจังหวะเวลาก็ยังสำคัญกว่าในแง่ของสถิติที่ประสบความสำเร็จของ Startups เห็นอย่างนี้แล้วหลายๆ คนลองเอาวิธีคิดแบบนี้ไปใช้งานกันเผื่อว่าจะช่วยเพิ่มโอกาสในความสำเร็จให้มากขึ้นนะครับ
http://techsauce.co/news/tedtalks-bill- ... s-success/