งานสังสรรค์ VI Q2/58 ค้นหาโอกาสในวิกฤต ดร สถิตย์ ลิ่มพงศพันธ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2576
- ผู้ติดตาม: 1
งานสังสรรค์ VI Q2/58 ค้นหาโอกาสในวิกฤต ดร สถิตย์ ลิ่มพงศพันธ
โพสต์ที่ 1
งานสังสรรค์ VI Q2/58 ค้นหาโอกาสในวิกฤต ( Opportunities in Crisis )
ช่วง ดร สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้เกียรติเปิดงาน
ผมเลยสรุปมาให้คนที่ไม่ได้ไปฟังครับ
ดร สถิตย์ พูดถึงคำว่า วิกฤต ในภาษาจีน มาจากคำว่า เว่ย (อันตราย) บวกกับ จี (โอกาส)
จะเห็นว่ามีคำว่าอันตรายกับโอกาสอยู่ในตัวเดียวกัน หมายถึง ท่ามกลางวิกฤตย่อมมีโอกาส
ตอนวิกฤตปี2540 เริ่มต้นที่ประเทศไทย วิกฤตฟองสบู่ ลุกลามไปที่สถาบันการเงิน ชื่อวิกฤตเรียกตามอาหารที่มีชื่อ
ของแต่ละประเทศ ดังนั้นวิกฤตครั้งนี้เริ่มจากไทย ดังนั้นจึงเรียกว่า วิกฤตต้มยำกุ้งปี 1997 เราเจอวิกฤตอีกหลายครั้ง
มาแรงในปี 2008 วิกฤตเริ่มที่ สหรัฐอเมริกา เกิดจากการมีหนี้ด้อยคุณภาพจากภาคอสังหาริมทรัพย์ นำหนี้มาผสมกันเป็น
ตราสารหนี้ชนิดใหม่ และนำไปขายต่อ ปรากฎว่า สินทรัพย์ด้อยคุณค่า ได้มีการซื้อขาย ลุกลามไปทั่วโลก ตราสารชนิดนี้มีการรับประกัน เช่น B ซื้อจาก A โดย A รับประกันตราสารนี้ เนื่องจากมีการซื้อต่อไปเรื่อยเป็นงูกินหาง ท้ายสุด รายสุดท้ายก็ขายมาให้ A และ เป็นผู้ค้ำประกันให้ A ดังนั้น เวลาเกิดปัญหาก็ทำให้สถาบันล้มกันมากมาย ไม่สามารถรับประกันความเสี่ยงซึ่งกันและกันได้ เราเรียกวิกฤตนี้ว่า แฮมเบอร์เกอร์ Crisis ซึ่ง นักลงทุนหุ้นคุณค่าหลายคน ก็ค้นพบหุ้นที่มีคุณค่าแต่ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงมากมาย และ ประสบความสำเร็จในการลงทุน นักลงทุนชั้นเซียนเข้าใจเรื่องนี้ดีอยู่แล้ว เลยพยายามให้ข้อคิดกับมือใหม่ไปใช้งาน หุ้นที่ลงทุนต้องมีกำไร เงินปันผลที่ดี และ บริษัทมีการเติบโต กำไรไม่ใช่มีแค่ในอดีต แต่มีกำไรในอนาคตด้วย ค้นหาว่าราคาที่แท้จริงมีค่าเท่าไหร่ ซื้อหุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ยิ่งในช่วงตอนวิกฤต สามารถค้นหาหุ้นได้ไม่ยาก
นักลงทุนหุ้นคุณค่า สามารถลงทุนในหุ้น ทุกช่วงเวลาของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ขึ้นหรือลง SET ไม่ได้สะท้อนหุ้นคุณค่าที่เราถือ ดัชนีไม่ได้สูงกว่าเมื่อก่อน แต่หุ้นคุณค่าได้ผลตอบแทนสูงกว่าเมื่อก่อน เป็นไปได้ ดังนั้นควรสนับสนุนการลงทุนแบบหุ้นคุณค่า
เห็นด้วยกับคุณโจ ว่า เป็นการตัดสินใจที่ดีที่สุดของชีวิต และ ทำให้ตลาดหลักทรัพย์อยู่ได้อย่างมั่นคง เพราะว่า สัดส่วนของผู้ลงทุนแบ่งได้เป็น 1. รายย่อย 55% 2. ต่างประเทศ 20% 3. สถาบันหรือบริษัหลักทรัพย์ ประมาณ 20กว่า%
ดังนั้นถ้านักลงทุนรายย่อยซึ่งคิดเป็น55%ของนักลงทุนทั้งหมด ลงทุนด้วยวิธีการลงทุนหุ้นคุณค่า ทำให้ตลาดหลักทรัพย์เติบโตอย่างยั่งยืน
ย้อนหลังกลับไป 10กว่าปี ถ้าต่างชาติขาย เราก็ต้องขายตามทำตามกระแส วิเคราะห์หุ้นเองไม่เป็น
พอต่างชาติเข้ามาซื้อ เราก็ตามต่างชาติ โดยไม่รู้คุณค่าของหุ้นอยู่ตรงไหน
โชคดีที่ไทยมีนักลงทุนหุ้นคุณค่า และ รายย่อยเป็นสัดส่วนที่เยอะ ต่างชาติไม่เข้าใจสถานการณ์ของเรา
ทำให้รายย่อยเข้าไปซื้อแทนต่างชาติ ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ไม่หวือหวา ขึ้นแรง หรือ ลงแรง
ได้คุยกับดร ไพบูลย์ แนวการลงทุนเช่นนี้ ทำให้ดร ไพบูลย์เชิญมาพูดว่า การลงทุนหุ้นคุณค่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
การลงทุนหุ้นคุณค่า ไม่ได้ทำให้รวยทันที แต่สะสมความรวยตามช่วงเวลา ต้องใจเย็น
การมั่งคั่งมาจากการเลือกหลักทรัพย์ที่ดี ได้รับผลตอบแทนที่ดีอย่างต่อเนื่อง
เหมือนการประกอบธุรกิจ ก็ต้องค่อยๆเจริญเติบโต การลงทุนต้องมีสัญชาติญาณในการขายกำไรบ้าง
และต้องนำหลักการหุ้นคุณค่ามาใช้ “ จงกล้าตอนที่คนอื่นกลัว จงกลัวเมื่อคนอื่นกล้า”
อย่าปล่อยให้ความโลธเข้ามาครอบงำการลงทุน ยึดหลักการให้แน่น อย่าลืม ให้เข้าใจว่าเป็นการลงทุนระยะยาว
อยากให้พวกเราใจเย็น ตั้งใจลงทุน ทำให้ส่วน 55% ทำให้ตลาดโตอย่างยั่งยืน
ตอนนี้ Market Cap ของตลาดสูงกว่า GDP แล้ว ต้องการเพิ่ม Market Cap อย่างมีคุณค่า
ขอให้ทุกคนโชคดีครับ ขอบคุณครับ
ช่วง ดร สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้เกียรติเปิดงาน
ผมเลยสรุปมาให้คนที่ไม่ได้ไปฟังครับ
ดร สถิตย์ พูดถึงคำว่า วิกฤต ในภาษาจีน มาจากคำว่า เว่ย (อันตราย) บวกกับ จี (โอกาส)
จะเห็นว่ามีคำว่าอันตรายกับโอกาสอยู่ในตัวเดียวกัน หมายถึง ท่ามกลางวิกฤตย่อมมีโอกาส
ตอนวิกฤตปี2540 เริ่มต้นที่ประเทศไทย วิกฤตฟองสบู่ ลุกลามไปที่สถาบันการเงิน ชื่อวิกฤตเรียกตามอาหารที่มีชื่อ
ของแต่ละประเทศ ดังนั้นวิกฤตครั้งนี้เริ่มจากไทย ดังนั้นจึงเรียกว่า วิกฤตต้มยำกุ้งปี 1997 เราเจอวิกฤตอีกหลายครั้ง
มาแรงในปี 2008 วิกฤตเริ่มที่ สหรัฐอเมริกา เกิดจากการมีหนี้ด้อยคุณภาพจากภาคอสังหาริมทรัพย์ นำหนี้มาผสมกันเป็น
ตราสารหนี้ชนิดใหม่ และนำไปขายต่อ ปรากฎว่า สินทรัพย์ด้อยคุณค่า ได้มีการซื้อขาย ลุกลามไปทั่วโลก ตราสารชนิดนี้มีการรับประกัน เช่น B ซื้อจาก A โดย A รับประกันตราสารนี้ เนื่องจากมีการซื้อต่อไปเรื่อยเป็นงูกินหาง ท้ายสุด รายสุดท้ายก็ขายมาให้ A และ เป็นผู้ค้ำประกันให้ A ดังนั้น เวลาเกิดปัญหาก็ทำให้สถาบันล้มกันมากมาย ไม่สามารถรับประกันความเสี่ยงซึ่งกันและกันได้ เราเรียกวิกฤตนี้ว่า แฮมเบอร์เกอร์ Crisis ซึ่ง นักลงทุนหุ้นคุณค่าหลายคน ก็ค้นพบหุ้นที่มีคุณค่าแต่ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงมากมาย และ ประสบความสำเร็จในการลงทุน นักลงทุนชั้นเซียนเข้าใจเรื่องนี้ดีอยู่แล้ว เลยพยายามให้ข้อคิดกับมือใหม่ไปใช้งาน หุ้นที่ลงทุนต้องมีกำไร เงินปันผลที่ดี และ บริษัทมีการเติบโต กำไรไม่ใช่มีแค่ในอดีต แต่มีกำไรในอนาคตด้วย ค้นหาว่าราคาที่แท้จริงมีค่าเท่าไหร่ ซื้อหุ้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ยิ่งในช่วงตอนวิกฤต สามารถค้นหาหุ้นได้ไม่ยาก
นักลงทุนหุ้นคุณค่า สามารถลงทุนในหุ้น ทุกช่วงเวลาของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ขึ้นหรือลง SET ไม่ได้สะท้อนหุ้นคุณค่าที่เราถือ ดัชนีไม่ได้สูงกว่าเมื่อก่อน แต่หุ้นคุณค่าได้ผลตอบแทนสูงกว่าเมื่อก่อน เป็นไปได้ ดังนั้นควรสนับสนุนการลงทุนแบบหุ้นคุณค่า
เห็นด้วยกับคุณโจ ว่า เป็นการตัดสินใจที่ดีที่สุดของชีวิต และ ทำให้ตลาดหลักทรัพย์อยู่ได้อย่างมั่นคง เพราะว่า สัดส่วนของผู้ลงทุนแบ่งได้เป็น 1. รายย่อย 55% 2. ต่างประเทศ 20% 3. สถาบันหรือบริษัหลักทรัพย์ ประมาณ 20กว่า%
ดังนั้นถ้านักลงทุนรายย่อยซึ่งคิดเป็น55%ของนักลงทุนทั้งหมด ลงทุนด้วยวิธีการลงทุนหุ้นคุณค่า ทำให้ตลาดหลักทรัพย์เติบโตอย่างยั่งยืน
ย้อนหลังกลับไป 10กว่าปี ถ้าต่างชาติขาย เราก็ต้องขายตามทำตามกระแส วิเคราะห์หุ้นเองไม่เป็น
พอต่างชาติเข้ามาซื้อ เราก็ตามต่างชาติ โดยไม่รู้คุณค่าของหุ้นอยู่ตรงไหน
โชคดีที่ไทยมีนักลงทุนหุ้นคุณค่า และ รายย่อยเป็นสัดส่วนที่เยอะ ต่างชาติไม่เข้าใจสถานการณ์ของเรา
ทำให้รายย่อยเข้าไปซื้อแทนต่างชาติ ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ไม่หวือหวา ขึ้นแรง หรือ ลงแรง
ได้คุยกับดร ไพบูลย์ แนวการลงทุนเช่นนี้ ทำให้ดร ไพบูลย์เชิญมาพูดว่า การลงทุนหุ้นคุณค่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
การลงทุนหุ้นคุณค่า ไม่ได้ทำให้รวยทันที แต่สะสมความรวยตามช่วงเวลา ต้องใจเย็น
การมั่งคั่งมาจากการเลือกหลักทรัพย์ที่ดี ได้รับผลตอบแทนที่ดีอย่างต่อเนื่อง
เหมือนการประกอบธุรกิจ ก็ต้องค่อยๆเจริญเติบโต การลงทุนต้องมีสัญชาติญาณในการขายกำไรบ้าง
และต้องนำหลักการหุ้นคุณค่ามาใช้ “ จงกล้าตอนที่คนอื่นกลัว จงกลัวเมื่อคนอื่นกล้า”
อย่าปล่อยให้ความโลธเข้ามาครอบงำการลงทุน ยึดหลักการให้แน่น อย่าลืม ให้เข้าใจว่าเป็นการลงทุนระยะยาว
อยากให้พวกเราใจเย็น ตั้งใจลงทุน ทำให้ส่วน 55% ทำให้ตลาดโตอย่างยั่งยืน
ตอนนี้ Market Cap ของตลาดสูงกว่า GDP แล้ว ต้องการเพิ่ม Market Cap อย่างมีคุณค่า
ขอให้ทุกคนโชคดีครับ ขอบคุณครับ
- nuthjira
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 233
- ผู้ติดตาม: 1
Re: งานสังสรรค์ VI Q2/58 ค้นหาโอกาสในวิกฤต ดร สถิตย์ ลิ่มพงศ
โพสต์ที่ 2
ขอบคุณพี่ amornkowa ครับขยันมากๆ สรุปได้รวดเร็วเลยครับ
Opportunities in crisis
พี่ชาย มโนภาส
ผมขอเสริมประเด็นเพิ่มเติมละกันนะครับ ถ้าผมตกหล่นอะไรไป
ก็ขอเชิญพี่ๆท่านอื่นมาเสริมด้วยล่ะกันนะครับ
ขอบคุณครับ
nuthjira
พี่ชายจะอธิบายในภาพเศรษฐกิจไทยในภาพใหญ่ ย้อนกลับไปดูวิกฤตที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในอดีต
วิกฤตทั้งหมดทั้งสังคม การเมือง การปกครอง และ การลงทุน
ขึ้นต้นจากภาพต้นไม้4ฤดู ศก.เป็นวัฏจักร ทั้งขึ้นและลง แต่นักลงทุนอยากให้มีแต่ขาขึ้นอย่างเดียว
ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ มันต้องมีทั้ง เริ่มต้นการผลิต>ขยายกำลังการผลิต>
ขยายกำลังการผลิตจนล้นความต้องการของตลาด>> และเข้าสุ่ภาวะชะลอตัว
"วิกฤตเศรษฐกิจเป็นเรื่องดี เพราะเป็นโอกาสในการกำจัดบริษัทที่ไม่มีประสิทธิภาพออกไป
เมื่อพ้นวิกฤตบริษัทที่อยู่รอดจะแข็งแกร่งขึ้น"
เหมือน4ฤดู มีข้อดีทั้งนั้น เหมือนในวิกฤตก็มีข้อดี
พี่ชายได้ยก Quotes จากหนังเรื่อง Margin call ประโยคที่ว่า
"there are three ways to make a living in this business be first be smarter or cheat"
การที่คุณอยู่ในอุตสาหกรรม คุณต้องเร็วกว่าเค้า คุณต้องฉลาดกว่าเค้า หรือ คุณต้องโกงเค้า
ย้อนกลับมาที่นักลงทุนอย่างเรา เราไม่โกง ดังนั้นเราควรเห็นก่อนคนอื่น และ ฉลาดกว่าคนอื่นถึงจะชนะได้
ย้อนกลับไปในอดีตของประเทศไทย 30 ปี
ประเทศไทยผ่านวิกฤติ ราชาเงินทุน blackmonday ซึนามิ ซาร์ แฮมเบอร์เกอร์ ต้มยำกุ้ง...
ในวิกฤติ ท่านดร.นิเวศน์ สร้างความมั่งคั่งได้ในปี 2540 ในวิกฤตครั้งนั้นสร้างความมั่งคั่ง
ให้กับนักลงทุนหลายคน ฉนั้นในวิกฤตย่อมมีโอกาส
ช่วงนี้มีข่าวออกมาว่าการส่งออกลดลง หลายคนกังวลกับการส่งออก!!!
การส่งออกของไทยเป็นอันดับ 22 ของโลก
มีเงินสำรองระหว่างประเทศสูงมากในปัจจุบัน
ขณะที่ในปี2540 มีทุนสำรองน้อยกว่านี้มาก
ถ้าให้เทียบปัจจุบันกับวิกฤตต้มยำกุ้งแล้ว
ยังห่างไกลมาก คนละบริบทกัน
แต่ในปัจจุบันโลกได้เชื่อมต่อถึงกัน ภาวะเศรษฐกิจในอเมริกา
อาจจะเกิดผลกระทบกับประเทศไทยได้เช่นกัน
ในตลาด Shanghai ดัชนีขึ้นไปสูงมาก แต่ว่าสูงเพราะ ปริมาณของ margin ที่อัดเข้ามาในตลาด
ขึ้นเพราะคนกู้เงินมาซื้อหุ้น การขึ้นอย่างนี้เป็นการขึ้นที่ไม่ยั่งยืน สุดท้ายแล้ว shanghai ก็ล้มลง
ย้อนกลับมาที่ SET เราก็ต้องระวังหุ้นที่ขึ้นไปสูงๆ อาจจะเกิดจากบัญชีที่เปิดในต่างประเทศแล้วกลับ
มาซื้อที่ประเทศไทย ใช้โอกาศในการกู้ยืมต่ำ มาปั่นหุ้นในไทย ฉนั้นเราอย่าชะล่าใจไปกับดัชนีที่ขึ้นไป
กลับมาที่การเติบโตของประเทศไทย
GDP ประเทศไทยในปี 1960-2010
GDP ประเทศไทยเติบโตมาโดยตลอด แบ่งเป็น2ช่วง
1.ช่วงก่อนปี 2540 โตปีละ 7-8%
2.หลังปี 2540 โตปีละ 4-5%
เหตุจากการเติบโตของเศรษฐกิจของไทยเกิดจาก
การเปลี่ยนผันในสมัย พลเอกเปรม การเปลี่ยนบริบททางสังคมเริ่มต้นจาก
1.การให้ นิสิต นักศึกษา ที่เข้าป่าได้กลับเข้ามาช่วยพัฒนาชาติ
2.ให้ต่างชาติ เข้ามาลงทุน สัมปทาน ปิโตรเลียม
ประเทศไทยค่อยๆค้นพบ แหล่งพลังงานเป็นของเราเอง
ตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมาเกิดวิกฤติต่างๆมากมาย แต่GDPเราก็เติบโตได้
ดังนั้น"หนทางของการพัฒนาประเทศ ไม่เคยโรยด้วยกลีบกุหลาบ"
ปี 2523 วิกฤตราชาเงินทุนของประเทศไทย เกิดการปั่นหุ้นขึ้นไปมาก
ช่วงที่ พลเอกเปรมเข้ามา เศรษฐกิจของประเทศแย่มากๆ
มีการปรับค่าเงินลดลง
เกิดกบฎเมษาฮาวาย
แต่รัฐบาลพลเอกเปรมพยายามผลักดันให้เกิดการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้ได้
ตั้งแต่ มาบตะพุด ทางด่วนขั้นที่1 ต่างๆ สนามบินดอนเมือง ทั้งๆที่รัฐบาลไม่มีเงิน
แต่ก็ค่อยๆพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไปทีละชิ้น
ระหว่างนี้ก็มีวิกฤติพฤษภาทมิฬ วิกฤตเสี่ยสอง สงครามรบกับลาว
แต่เราก็มีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานไปด้วยเช่นกัน
เช่น ทางด่วนศรีรัช ดอนเมือง-โทลเวย์
จะเห็นว่า แม้เราจะมีวิกฤตอะไร แต่เราก็มีการก่อสร้าง infrastructure ไปด้วยเช่นกัน
แต่หลังจากปี 2540 เป็นต้นมาการสร้าง infrastructure น้อยลงมาก
มีแค่ แอร์พอร์ตลิงค์ เท่านั้นเอง
เมื่อก่อนเศรษฐกิจไทยโตจากการส่งออก และ การลงทุนขั้นพื้นฐานของประเทศ
แต่หลังจาก Hamberger crisisi การค้าระหว่างประเทศลดลงทั่วโลก
ดังนั้นประเทศไทยจะหวังกับการส่งออกมากไม่ได้
การส่งออกของประเทศเพื่อนบ้านยิ่งแย่กว่าประเทศไทยอีก
เราส่งออกข้าวอันดับ1ของโลก
ส่งออกน้ำตาลอันดับ2ของโลก
แต่ ข้าว และ น้ำตาลไม่ใช่ TOP5 ของการส่งออกของประเทศไทยเลย !!!
ฉนั้นที่ว่าเรากังวลว่าการส่งออกทางการเกษตรของเราต่ำลงจึงไม่ใช่ปัจจัยสำคัญเลย
ตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยมี4ส่วนคือ
1.การใช้จ่ายภาครัฐ
2.การส่งออก
3.การบริโภคครัวเรือน
4.การลงทุน
สิ่งที่เราหวังได้จากนี้ไปคือ การใช้จ่ายจากภาครัฐ และการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน
ที่จะมาเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากนี้ไป
ขอสรุปคร่าวๆใน PART I ประมาณนี้ครับ
ถ้าตกหล่นอะไรไปขออภัยด้วยครับ
Opportunities in crisis
พี่ชาย มโนภาส
ผมขอเสริมประเด็นเพิ่มเติมละกันนะครับ ถ้าผมตกหล่นอะไรไป
ก็ขอเชิญพี่ๆท่านอื่นมาเสริมด้วยล่ะกันนะครับ
ขอบคุณครับ
nuthjira
พี่ชายจะอธิบายในภาพเศรษฐกิจไทยในภาพใหญ่ ย้อนกลับไปดูวิกฤตที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในอดีต
วิกฤตทั้งหมดทั้งสังคม การเมือง การปกครอง และ การลงทุน
ขึ้นต้นจากภาพต้นไม้4ฤดู ศก.เป็นวัฏจักร ทั้งขึ้นและลง แต่นักลงทุนอยากให้มีแต่ขาขึ้นอย่างเดียว
ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ มันต้องมีทั้ง เริ่มต้นการผลิต>ขยายกำลังการผลิต>
ขยายกำลังการผลิตจนล้นความต้องการของตลาด>> และเข้าสุ่ภาวะชะลอตัว
"วิกฤตเศรษฐกิจเป็นเรื่องดี เพราะเป็นโอกาสในการกำจัดบริษัทที่ไม่มีประสิทธิภาพออกไป
เมื่อพ้นวิกฤตบริษัทที่อยู่รอดจะแข็งแกร่งขึ้น"
เหมือน4ฤดู มีข้อดีทั้งนั้น เหมือนในวิกฤตก็มีข้อดี
พี่ชายได้ยก Quotes จากหนังเรื่อง Margin call ประโยคที่ว่า
"there are three ways to make a living in this business be first be smarter or cheat"
การที่คุณอยู่ในอุตสาหกรรม คุณต้องเร็วกว่าเค้า คุณต้องฉลาดกว่าเค้า หรือ คุณต้องโกงเค้า
ย้อนกลับมาที่นักลงทุนอย่างเรา เราไม่โกง ดังนั้นเราควรเห็นก่อนคนอื่น และ ฉลาดกว่าคนอื่นถึงจะชนะได้
ย้อนกลับไปในอดีตของประเทศไทย 30 ปี
ประเทศไทยผ่านวิกฤติ ราชาเงินทุน blackmonday ซึนามิ ซาร์ แฮมเบอร์เกอร์ ต้มยำกุ้ง...
ในวิกฤติ ท่านดร.นิเวศน์ สร้างความมั่งคั่งได้ในปี 2540 ในวิกฤตครั้งนั้นสร้างความมั่งคั่ง
ให้กับนักลงทุนหลายคน ฉนั้นในวิกฤตย่อมมีโอกาส
ช่วงนี้มีข่าวออกมาว่าการส่งออกลดลง หลายคนกังวลกับการส่งออก!!!
การส่งออกของไทยเป็นอันดับ 22 ของโลก
มีเงินสำรองระหว่างประเทศสูงมากในปัจจุบัน
ขณะที่ในปี2540 มีทุนสำรองน้อยกว่านี้มาก
ถ้าให้เทียบปัจจุบันกับวิกฤตต้มยำกุ้งแล้ว
ยังห่างไกลมาก คนละบริบทกัน
แต่ในปัจจุบันโลกได้เชื่อมต่อถึงกัน ภาวะเศรษฐกิจในอเมริกา
อาจจะเกิดผลกระทบกับประเทศไทยได้เช่นกัน
ในตลาด Shanghai ดัชนีขึ้นไปสูงมาก แต่ว่าสูงเพราะ ปริมาณของ margin ที่อัดเข้ามาในตลาด
ขึ้นเพราะคนกู้เงินมาซื้อหุ้น การขึ้นอย่างนี้เป็นการขึ้นที่ไม่ยั่งยืน สุดท้ายแล้ว shanghai ก็ล้มลง
ย้อนกลับมาที่ SET เราก็ต้องระวังหุ้นที่ขึ้นไปสูงๆ อาจจะเกิดจากบัญชีที่เปิดในต่างประเทศแล้วกลับ
มาซื้อที่ประเทศไทย ใช้โอกาศในการกู้ยืมต่ำ มาปั่นหุ้นในไทย ฉนั้นเราอย่าชะล่าใจไปกับดัชนีที่ขึ้นไป
กลับมาที่การเติบโตของประเทศไทย
GDP ประเทศไทยในปี 1960-2010
GDP ประเทศไทยเติบโตมาโดยตลอด แบ่งเป็น2ช่วง
1.ช่วงก่อนปี 2540 โตปีละ 7-8%
2.หลังปี 2540 โตปีละ 4-5%
เหตุจากการเติบโตของเศรษฐกิจของไทยเกิดจาก
การเปลี่ยนผันในสมัย พลเอกเปรม การเปลี่ยนบริบททางสังคมเริ่มต้นจาก
1.การให้ นิสิต นักศึกษา ที่เข้าป่าได้กลับเข้ามาช่วยพัฒนาชาติ
2.ให้ต่างชาติ เข้ามาลงทุน สัมปทาน ปิโตรเลียม
ประเทศไทยค่อยๆค้นพบ แหล่งพลังงานเป็นของเราเอง
ตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมาเกิดวิกฤติต่างๆมากมาย แต่GDPเราก็เติบโตได้
ดังนั้น"หนทางของการพัฒนาประเทศ ไม่เคยโรยด้วยกลีบกุหลาบ"
ปี 2523 วิกฤตราชาเงินทุนของประเทศไทย เกิดการปั่นหุ้นขึ้นไปมาก
ช่วงที่ พลเอกเปรมเข้ามา เศรษฐกิจของประเทศแย่มากๆ
มีการปรับค่าเงินลดลง
เกิดกบฎเมษาฮาวาย
แต่รัฐบาลพลเอกเปรมพยายามผลักดันให้เกิดการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้ได้
ตั้งแต่ มาบตะพุด ทางด่วนขั้นที่1 ต่างๆ สนามบินดอนเมือง ทั้งๆที่รัฐบาลไม่มีเงิน
แต่ก็ค่อยๆพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไปทีละชิ้น
ระหว่างนี้ก็มีวิกฤติพฤษภาทมิฬ วิกฤตเสี่ยสอง สงครามรบกับลาว
แต่เราก็มีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานไปด้วยเช่นกัน
เช่น ทางด่วนศรีรัช ดอนเมือง-โทลเวย์
จะเห็นว่า แม้เราจะมีวิกฤตอะไร แต่เราก็มีการก่อสร้าง infrastructure ไปด้วยเช่นกัน
แต่หลังจากปี 2540 เป็นต้นมาการสร้าง infrastructure น้อยลงมาก
มีแค่ แอร์พอร์ตลิงค์ เท่านั้นเอง
เมื่อก่อนเศรษฐกิจไทยโตจากการส่งออก และ การลงทุนขั้นพื้นฐานของประเทศ
แต่หลังจาก Hamberger crisisi การค้าระหว่างประเทศลดลงทั่วโลก
ดังนั้นประเทศไทยจะหวังกับการส่งออกมากไม่ได้
การส่งออกของประเทศเพื่อนบ้านยิ่งแย่กว่าประเทศไทยอีก
เราส่งออกข้าวอันดับ1ของโลก
ส่งออกน้ำตาลอันดับ2ของโลก
แต่ ข้าว และ น้ำตาลไม่ใช่ TOP5 ของการส่งออกของประเทศไทยเลย !!!
ฉนั้นที่ว่าเรากังวลว่าการส่งออกทางการเกษตรของเราต่ำลงจึงไม่ใช่ปัจจัยสำคัญเลย
ตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยมี4ส่วนคือ
1.การใช้จ่ายภาครัฐ
2.การส่งออก
3.การบริโภคครัวเรือน
4.การลงทุน
สิ่งที่เราหวังได้จากนี้ไปคือ การใช้จ่ายจากภาครัฐ และการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน
ที่จะมาเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากนี้ไป
ขอสรุปคร่าวๆใน PART I ประมาณนี้ครับ
ถ้าตกหล่นอะไรไปขออภัยด้วยครับ
....ความโลภจะนำนักลงทุนส่วนมาก ไปแสวงหาทางลัดเพื่อความสำเร็จในการลงทุน
แทนที่จะคาดหวังผลตอบแทนทบต้นที่เหมาะสมในระยะยาว ....
แทนที่จะคาดหวังผลตอบแทนทบต้นที่เหมาะสมในระยะยาว ....
- dino
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1286
- ผู้ติดตาม: 1
Re: งานสังสรรค์ VI Q2/58 ค้นหาโอกาสในวิกฤต ดร สถิตย์ ลิ่มพงศ
โพสต์ที่ 5
ขอบคุณมากครับ
1 ซื้อหุ้นของกิจการที่ดี
2 มีกำไรต่อเนื่องไปในอนาคต
3 ซื้อในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของกิจการ
4 ผู้บริหารมีคุณธรรมและความสามารถ
5 และถือมันไว้ ตราบที่มันยังเป็นธุรกิจที่ดีอยู่
วอเรนซ์ บัฟเฟตต์
2 มีกำไรต่อเนื่องไปในอนาคต
3 ซื้อในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของกิจการ
4 ผู้บริหารมีคุณธรรมและความสามารถ
5 และถือมันไว้ ตราบที่มันยังเป็นธุรกิจที่ดีอยู่
วอเรนซ์ บัฟเฟตต์
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 385
- ผู้ติดตาม: 1
Re: งานสังสรรค์ VI Q2/58 ค้นหาโอกาสในวิกฤต ดร สถิตย์ ลิ่มพงศ
โพสต์ที่ 6
ขอบคุณพี่ๆผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดงานสัมมนาครั้งนี้ทุกท่านครับ
ขอบคุณท่าน ดร สถิตย์ ลิ่มพงศพันธ์ และ ท่านอาจารย์ไพบูลย์ ที่ให้เกียรติมาร่วมงาน
ขอบคุณ พี่ชาย ที่ถ่ายทอดความรู้ที่ได้ประโยชน์มากๆ ทั้งด้านการลงทุนและด้านจิตใจ
ขอบคุณท่านนายกพี่โจ (ที่มาไกลจากหาดใหญ่เพื่อพวกเรา)
และพี่ๆกรรมการสมาคม
ที่มาช่วยแชร์ประสบการณ์ และ mind set ระดับเยี่ยม
ที่ช่วยนำทางให้เราลงทุนอย่างถูกต้อง และ ปลอดภัย
ขอบคุณทีมงาน ThaiVI Meeting พี่บอล พี่เอี๋ยว น้องตู้
ที่ช่วยจัดเตรียมงาน และ ดำเนินรายการได้อย่างราบรื่น
บรรยากาศเป็นกันเอง แต่ได้รับความรู้เต็มที่มากครับ
ขอบคุณ พี่amornkowa และพี่nuthjira สำหรับการสรุปเนื้อหา
ขอบคุณพี่นุช พี่dino สำหรับการเก็บภาพ
ขอบคุณพี่แป๋ม และ ทีมงาน สำหรับงานธุรการและการลงทะเบียน
และ ทีมงานTHAIVI ท่านทุกๆท่านที่ช่วยดูแลในแต่ละด้าน
ขอบพระคุณมากครับ
ขอบคุณท่าน ดร สถิตย์ ลิ่มพงศพันธ์ และ ท่านอาจารย์ไพบูลย์ ที่ให้เกียรติมาร่วมงาน
ขอบคุณ พี่ชาย ที่ถ่ายทอดความรู้ที่ได้ประโยชน์มากๆ ทั้งด้านการลงทุนและด้านจิตใจ
ขอบคุณท่านนายกพี่โจ (ที่มาไกลจากหาดใหญ่เพื่อพวกเรา)
และพี่ๆกรรมการสมาคม
ที่มาช่วยแชร์ประสบการณ์ และ mind set ระดับเยี่ยม
ที่ช่วยนำทางให้เราลงทุนอย่างถูกต้อง และ ปลอดภัย
ขอบคุณทีมงาน ThaiVI Meeting พี่บอล พี่เอี๋ยว น้องตู้
ที่ช่วยจัดเตรียมงาน และ ดำเนินรายการได้อย่างราบรื่น
บรรยากาศเป็นกันเอง แต่ได้รับความรู้เต็มที่มากครับ
ขอบคุณ พี่amornkowa และพี่nuthjira สำหรับการสรุปเนื้อหา
ขอบคุณพี่นุช พี่dino สำหรับการเก็บภาพ
ขอบคุณพี่แป๋ม และ ทีมงาน สำหรับงานธุรการและการลงทะเบียน
และ ทีมงานTHAIVI ท่านทุกๆท่านที่ช่วยดูแลในแต่ละด้าน
ขอบพระคุณมากครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 5620
- ผู้ติดตาม: 1
Re: งานสังสรรค์ VI Q2/58 ค้นหาโอกาสในวิกฤต ดร สถิตย์ ลิ่มพงศ
โพสต์ที่ 8
ขอบพระคุณมากครับ
วินัย + แผนการ + ลงรายละเอียด => ขุดหุ้น
fb fanpage : https://www.facebook.com/stockinvestigator
fb fanpage : https://www.facebook.com/stockinvestigator
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2576
- ผู้ติดตาม: 1
Re: งานสังสรรค์ VI Q2/58 ค้นหาโอกาสในวิกฤต ดร สถิตย์ ลิ่มพงศ
โพสต์ที่ 9
เสริมจากที่พี่ๆเขียนมานะครับ พี่ชายมองต่อไปว่า ขณะนี้ growth driver ของประเทศทีสำคัญสองตัวได้แผ่งลงไป คือ การบริโภคในประเศซึ่งถูกฉุดด้วยหนี้ครัวเรือนที่ยังสูงอยู่ ส่วน export ยังไม่ฟื้นดีนักแต่ไม่ได้เป็นที่เราที่เดียว แต่เป็นเพราะการค้าโลกชะลอตัวลงทั้งภูมิภาค ส่วนที่จะทำให้เราไปต่อได้คือการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ โดยตอนนี้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลายตัวตกต่ำ ประกอบกับดอกเบี้ยที่ยังไม่สูงมากนัก รวมทั้งประเทศไทยเราสามารถผลิตปูนซีเมนต์ในราคาที่ competitive มาก ทำให้เวลานี้เหมาะที่จะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมาก อีกทั้งเรายังเหลือความสามารถในการกู้ยืมหนี้สาธารณะ สำหรับการลงทุนโปรเจคต่างๆอีกร่วมสองล้านล้านบาท พี่ชายยังอ้างอิงถึงผลการศึกษาของ SCB EIC ที่ได้ยกตัวอย่างรถไฟฟ้าชิงคันเซนที่เริ่มสร้างในปี 1964 เส้นโตเกียว โอซาก้า ทำให้สภาพรอบๆทางรถไฟเปลี่ยนไปอย่างมาก นอกจากนี้การที่รัฐบาลพยายามขยายเส้นทางไปยังกาญจนบุรี เพราะต้องการไปเชื่อมต่อทวาย เป็นการช่วยลดเวลาเส้นทางการค้าไปยังฝั่งมหาสมุทรอินเดียซึ่งเชื่อมต่อไปที่ยุโรป กาญจนบุรีจากที่เคยเป็นจังหวัดชายแดนพม่าไม่ค่อยมีการลงทุนในอดีตจะเปลี่ยนไป ที่แถวทวายนั้นยังมีเกาะมะริดของพม่าที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทีจะทำให้เกิด activity ทางเศรษฐกิจต่อเนื่องอีกมาก เพราะฉะนั้นช่วงนี้เป็นจังหวะที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ
Cr คุณ Mickey เพื่อนเรียนรุ่น5ครับ
Cr คุณ Mickey เพื่อนเรียนรุ่น5ครับ
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งานสังสรรค์ VI Q2/58 ค้นหาโอกาสในวิกฤต ดร สถิตย์ ลิ่มพงศ
โพสต์ที่ 10
ขอบคุณครับ
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2576
- ผู้ติดตาม: 1
Re: งานสังสรรค์ VI Q2/58 ค้นหาโอกาสในวิกฤต ดร สถิตย์ ลิ่มพงศ
โพสต์ที่ 12
หลักการการลงทุนของพี่เวป จากงานสังสรรค์วีไอครับ
1. การลงทุนไม่แนะนำให้ใช้มาร์จิ้น เพราะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้portของเรา
2. มีหุ้นหลายตัว อยู่ในหลายอุตสาหกรรม เพื่อกระจายความเสี่ยง
3. หุ้นแต่ละตัวมีความเสี่ยงคนละประเด็น
4. มีหุ้นที่สามารถค้ำportได้ เช่น หุ้นค้าปลีกที่ขาย24 ชม ขึ้นได้ในช่วงที่ตลาดpanic สามารถลดความเสียหาย
ของportได้
5. อย่าเชื่อผู้บริหารเขาหมด เขาหลอกเราให้หลวมตัวมาซื้อ และ เมื่อเขาได้เราไปแล้วก็ทิ้งเราไป
6. ถ้าจะลงทุนในหุ้น Net-Net ก็ต้องซื้อหุ้นให้มากตัวไว้ ประมาณ 30 ตัว ตอนที่เบนจามิน เกรแฮมใช้ ตอนวิกฤตปี1929 เพื่อลดความเสี่ยง ถ้าซื้อแค่ตัวเดียว
7. การลงทุนถ้าพลาด ต้องดูว่าผิดที่ใคร ถ้าผิดที่เรา เราก็ไปปรับปรุงว่าเราผิดที่ไหน เช่น ลงทุนในอุตสาหกรรมที่
ไม่น่าลงทุน สามารถดูได้จากหนังสือของ ปีเตอร์ลินซ์ ว่ากลุ่มไหนไม่น่าลงทุนบ้าง
แต่ถ้าผิดที่เขา หมายถึง เกิดpanic หุ้นลงมาทั้งตลาด อันนี้ควบคุมไม่ได้ ท้ายที่สุดก็จะกลับมาที่จุดเดิมถ้าหุ้นยังกำไร
ปกติ สุดท้ายราคาจะสะท้อนกลับมาที่จุดเดิม
สามารถเสริมได้ครับ
ถ้าผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมาณ ที่นี้ด้วยครับ
1. การลงทุนไม่แนะนำให้ใช้มาร์จิ้น เพราะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้portของเรา
2. มีหุ้นหลายตัว อยู่ในหลายอุตสาหกรรม เพื่อกระจายความเสี่ยง
3. หุ้นแต่ละตัวมีความเสี่ยงคนละประเด็น
4. มีหุ้นที่สามารถค้ำportได้ เช่น หุ้นค้าปลีกที่ขาย24 ชม ขึ้นได้ในช่วงที่ตลาดpanic สามารถลดความเสียหาย
ของportได้
5. อย่าเชื่อผู้บริหารเขาหมด เขาหลอกเราให้หลวมตัวมาซื้อ และ เมื่อเขาได้เราไปแล้วก็ทิ้งเราไป
6. ถ้าจะลงทุนในหุ้น Net-Net ก็ต้องซื้อหุ้นให้มากตัวไว้ ประมาณ 30 ตัว ตอนที่เบนจามิน เกรแฮมใช้ ตอนวิกฤตปี1929 เพื่อลดความเสี่ยง ถ้าซื้อแค่ตัวเดียว
7. การลงทุนถ้าพลาด ต้องดูว่าผิดที่ใคร ถ้าผิดที่เรา เราก็ไปปรับปรุงว่าเราผิดที่ไหน เช่น ลงทุนในอุตสาหกรรมที่
ไม่น่าลงทุน สามารถดูได้จากหนังสือของ ปีเตอร์ลินซ์ ว่ากลุ่มไหนไม่น่าลงทุนบ้าง
แต่ถ้าผิดที่เขา หมายถึง เกิดpanic หุ้นลงมาทั้งตลาด อันนี้ควบคุมไม่ได้ ท้ายที่สุดก็จะกลับมาที่จุดเดิมถ้าหุ้นยังกำไร
ปกติ สุดท้ายราคาจะสะท้อนกลับมาที่จุดเดิม
สามารถเสริมได้ครับ
ถ้าผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมาณ ที่นี้ด้วยครับ
- shumbrotta
- Verified User
- โพสต์: 290
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งานสังสรรค์ VI Q2/58 ค้นหาโอกาสในวิกฤต ดร สถิตย์ ลิ่มพงศ
โพสต์ที่ 13
ขอบคุณมากๆครับ