การลดค่าเงินหยวน (3)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1827
ผู้ติดตาม: 1

การลดค่าเงินหยวน (3)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ใน ช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาหุ้นทั่วโลกปรับลดลงเกือบ 10% อย่างรุนแรง ทำให้มูลค่าของหุ้นทั่วโลกลดลงไปมากกว่า 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

เรื่องนี้มีความสำคัญ 2 ประการคือ 1.ตลาดหุ้นจะพยายามคาดการณ์อนาคตเสมอ จึงต้องตั้งคำถามว่า ตลาดหุ้นกำลังพยายามบอกอะไรกับเรา และ 2.การลดลงของมูลค่าสินทรัพย์นี้ ทำให้ผู้ถือหุ้นและสินทรัพย์อื่นๆ ที่ลดลงรู้สึก “จนลง” และขาดความมั่นใจ ซึ่งน่าจะส่งผลต่อความต้องการที่จะลงทุนและจับจ่ายใช้สอย อันจะมีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคตขณะนี้ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า การปรับลดลงของตลาดหุ้นจีน เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวอย่างรุนแรงทั่วโลก ทั้งนี้ เพราะเชื่อกันอย่างแพร่หลายว่า ราคาหุ้นจีนที่ลดลงเป็นการสะท้อนว่า จีนประสบปัญหาการขยายตัวของเศรษฐกิจชะลอลง และทางการจีนพยายามออกมาตรการต่างๆ มาแก้ไข แต่ไม่สามารถเรียกความเชื่อมั่นและฟื้นเศรษฐกิจได้ ซึ่งความเป็นห่วงดังกล่าวกำลังถูกสะท้อนออกมา ส่วนหนึ่งในราคาหุ้นของจีนที่ปรับลดลง

โดยดัชนีตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ขึ้นไปถึงจุดสูงสุดประมาณ 5,200 จุด ในกลางเดือนมิถุนายน ลงมาที่ประมาณ 4,000 จุด ในเดือนกรกฎาคม และทางการจีนได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อ “ยัน” ไม่ให้ราคาหุ้นปรับลงไปต่ำกว่า 3,500 จุด โดยในมาตรการสำคัญบางประการคือ การสั่งการให้เจ้าของหยุดขายหุ้น ให้ชะลอการเพิ่มทุนและให้กองทุนต่างๆ เข้าไปซื้อหุ้น โดย ห้ามขายหุ้นจนกว่าดัชนีจะสูงกว่า 4,500 จุด แต่จนแล้วจนรอด ราคาหุ้นก็ปรับตัวลงอย่างรวดเร็วในช่วง 20-25 สิงหาคม โดยตกลงมาที่ 2,962 จุด ซึ่งยิ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นใจของนักลงทุน ต่อความสามารถของรัฐบาลจีน ในการจัดการกับปัญหาเศรษฐกิจที่กำลังรุมเร้าอยู่ในขณะนี้

อันที่จริงแล้วนิตยสาร TheEconomist กล่าวเตือนสติว่า ราคาหุ้นจีนที่ปรับลดลงนั้น เป็นเรื่องที่ควรกังวล แต่ไม่ใช่เหตุที่ควรตื่นตระหนก (There is good reason for concern, if not for panic) เพราะดัชนีตลาดเซี่ยงไฮ้นั้นติดอยู่ที่ระดับ 2,000-2,100 มาหลายปี ก่อนหน้าที่จะเริ่มปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2014 เป็นต้นมา ดังนั้น นักลงทุนที่ซื้อหุ้นเมื่อ 13-14 เดือนก่อนหน้า ก็น่าจะยังมีกำไรเหลืออยู่ถึง 40% (แต่คนที่ซื้อเมื่อดัชนีอยู่ที่ 5,000 จุด ก็คงขาดทุนไม่น้อย) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สินทรัพย์ส่วนใหญ่ของคนจีนไม่ได้อยู่ที่ตลาดหุ้น แต่อยู่ที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์มากกว่า นอกจากนั้น นักลงทุนต่างชาติก็มิได้เข้าไปซื้อหุ้นจีนมากนัก โดยประเมินว่าสัดส่วนถือหุ้นจีนเพียง 5%

ดังนั้น ผลกระทบจากการปรับลดลงของตลาดหุ้นจีนต่อตลาดหุ้นทั่วโลก จึงน่าจะมีสาเหตุหลักมาจากความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีน มากกว่าความเชื่อมโยงของตลาดหุ้นจีนกับตลาดหุ้นทั่วโลก ซึ่งประเด็นสำคัญน่าจะเป็นเรื่องของนโยบายเศรษฐกิจมหภาคของจีนที่ยังไม่ลง ตัว และดูเสมือนว่ากำลังขัดแย้งกันอยู่ ทั้งนี้ อาจสรุปปัญหาการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของจีน ตามแนววิเคราะห์ของ Wall Street Journal (25 สิงหาคม) ได้ดังนี้

1.เศรษฐกิจจีนเมื่อ 20 กว่าปีที่ผ่านมานั้น มีการออมสูง ส่วนหนึ่งเพราะรัฐบาลห้ามนำเงินออกนอกประเทศ ดังนั้น จึงสามารถลงทุนได้สูงถึง 50% ของจีดีพี โดยมีต้นทุนการเงิน (ดอกเบี้ย) ต่ำ ส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวเฉลี่ย 10% การขยายตัวที่สูงดังกล่าว ทำให้มีเงินทุนไหลเข้าประเทศอย่างต่อเนื่อง

2.ในช่วง 2000-2005 จีนผูกค่าเงินหยวนเอาไว้ที่ประมาณ 8 หยวนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเผชิญกับปัญหาการไหลเข้าของเงินทุน และการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ทำให้ต้องขาย (พิมพ์) เงินหยวน (เพิ่ม) ออกมาและซื้อเงินเหรียญสหรัฐ (ทำให้ทุนสำรองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว) เพื่อสกัดมิให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้น แต่เมื่อทำเช่นนั้นก็ส่งผลให้มีสภาพคล่องล้นระบบ เสี่ยงต่อการสร้างฟองสบู่ จึงต้องดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินออกไปโดยการปรับขึ้นดอกเบี้ย และการบังคับให้ธนาคารต้องเพิ่มทุนสำรอง (RRR) ในการปล่อยสินเชื่อ ช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่เศรษฐกิจจีนดูดีที่สุด เพราะสภาพคล่องเหลือเฟือ (จนต้องดูดซับออก) และจีดีพีขยายตัว 10% ต่อปี

3.แต่ในช่วงหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งรัฐบาลจีนพยายามลดผลกระทบจากปัจจัยภายนอก โดยสั่งให้ธนาคารปล่อยกู้มากขึ้น และใช้นโยบายการคลังอย่างเต็มรูปแบบนั้น ส่งผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจเพียงระยะสั้น แต่มิได้เป็นแรงดึงดูดเงินทุนให้ไหลเข้า แต่เริ่มมีการไหลออกของเงินทุน เพราะนักลงทุนเริ่มเห็นว่าราคาสินทรัพย์ต่างๆ (ไม่ว่าจะเป็นหุ้นหรืออสังหาริมทรัพย์) นั้นสูงเกินจริง นักลงทุนที่เข้าไปซื้อหุ้นจีนในช่วง 2005-2007 ก็จะจำได้ว่าขาดทุนกันเป็นจำนวนมากทุกราย

ดังนั้น แม้ว่าธนาคารกลางจีนจะขยายกรอบให้เงินหยวนผันผวนได้บวกหรือลบ 1% และต่อมาขยายให้ผันผวนได้บวกหรือลบ 2% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เงินหยวนยุติการแข็งค่า และถูกตรึงอยู่ประมาณ 6.1-6.2 หยวนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ โดยธนาคารกลางจีนมิได้ปล่อยให้เงินหยวนอ่อนค่าลงตามการชี้นำของตลาด ในการซื้อ-ขายเงินหยวนที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละวัน

4.ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเศรษฐกิจจีนไม่มีอาการดีขึ้น และตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับการไหลออกของเงินหยวนมากขึ้น ทำให้เริ่มคาดการณ์ว่า จะมีการลดค่าเงินหยวน ซึ่งเป็นเสมือนกับ “ยิ่งว่ายิ่งยุ” คือมีการกล่าวอ้างถึงการไหลออกของเงินหยวนมากขึ้น และเริ่มเห็นการเข้าไปแทรกแซง เพื่อตรึงมิให้เงินหยวนอ่อนค่าโดยการขายทุนสำรองออกมาซื้อเงินหยวน ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตว่า การแทรกแซงดังกล่าว ทำให้ทุนสำรองของจีนลดลงจาก 4 ล้านล้านดอลลาร์ ในเดือนมิถุนายน 2014 เป็น 3.65 ล้านล้านดอลลาร์ ในเดือนกรกฎาคม 2015
5.ประเด็นสำคัญคือ การแทรกแซงดังกล่าวทำให้สภาพคล่องภายในลดลงอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อความสามารถของระบบธนาคาร ในการขยายสินเชื่อ และทำให้ภาคธุรกิจขาดแคลนสินเชื่อมากขึ้น ธนาคารกลางจีนจึงต้องปรับลด RRR และดอกเบี้ยนโยบายลง 3-4 ครั้ง และตลาดคาดการณ์ว่า ต้องลดลงต่อไปอีกในอนาคต ซึ่งมาตรการดังกล่าวย่อมกดดันให้เงินหยวนอ่อนค่าลง และหากไม่ยอมให้อ่อนค่าลงก็จะต้องเข้าแทรกแซงและสูญเสียทุนสำรอง ตลอดจนสร้างภาวะสภาพคล่องตึงตัวต่อไปอีก ผมคิดว่าความขัดแย้งของนโยบายเศรษฐกิจมหภาคดังกล่าวของจีน เป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการขาดความเชื่อมั่นว่า จะมีการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของจีนให้ลุล่วงไปได้ในเร็ววันนี้

6.คำถามที่ตามมาคือ หากเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงอย่างฉับพลัน (hard landing) ปรากฏการณ์ดังกล่าวจะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวมหรือไม่ เพราะในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจจีนขยายตัวสูงมาก คิดเป็น 1/3 ของการขยายตัวทั้งหมดของเศรษฐกิจโลก ดังนั้น หากเศรษฐกิจจีนทรุดลง นักลงทุนก็อาจเกรงว่าจะทำให้เศรษฐกิจโลกสะดุดได้เช่นกัน โดยคำนึงถึง 3 ข้อจำกัดคือ

• จีนอาจยอมให้เงินหยวนอ่อนตัวมากไปกว่านี้ เป็นการส่งออกภาวะเงินฝืดไปทั่วโลก และประเทศตลาดเกิดใหม่ส่วนใหญ่ก็คงจะคล้อยตาม

• แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐอาจจะระงับการขึ้นดอกเบี้ย แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้มากกว่านี้ (บางคนกำลังเรียกร้อง QE4 แต่ไม่น่าจะเป็นได้) แตกต่างจากปี 1997 (วิกฤติต้มยำกุ้ง) ซึ่งธนาคารกลางสหรัฐลดดอกเบี้ยลง 0.75%

• นโยบายการคลังของประเทศพัฒนาแล้วหมดสภาพ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น (เพราะหนี้สาธารณะสูงถึง 230% ของจีดีพีแล้ว) สหภาพยุโรป (มีหนี้มากแล้วและยังต้องถมเพิ่มให้กรีซ) หรือสหรัฐ (ซึ่งรัฐสภากับประธานาธิบดีก็ยังขัดแย้งกันอย่างรุนแรง)
[/size]
ลูกหิน
Verified User
โพสต์: 1217
ผู้ติดตาม: 0

Re: การลดค่าเงินหยวน (3)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
JARUS
Verified User
โพสต์: 362
ผู้ติดตาม: 0

Re: การลดค่าเงินหยวน (3)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ไม่ทราบข้อมูลการลงทุนของจีนทั้งภาครัฐ (รวมทั้งในส่วนโครงสร้างพื้นฐานใหม่) ของภาคเอกชน และการบริโภคของจีนที่ผ่านมาในรอบ 5 ปีเป็นอย่างไรบ้างครับ ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
pavilion
Verified User
โพสต์: 1726
ผู้ติดตาม: 0

Re: การลดค่าเงินหยวน (3)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ก็ต้องดูกันต่อไปว่า การลดค่าเงินหยวนของจีนจะส่งผลกับเศรษฐกิจได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าเศรษฐกิจดีขึ้น และความเชื่อมั่นกลับมา ตลาดหุ้นก็คงดีขึ้นตามไปด้วย
โพสต์โพสต์