ปัญหาผู้เช่า(ซึ่งก็คือเจ้าของเดิม) เบี้ยวไม่จ่ายเงินค่าเช่า
แถมผู้ค้ำประกันก็ไม่ยอมจ่ายให้กับกองทุนฯ ฟ้องกลับด้วย
ผู้เช่าก็ไม่ออกและยังดำเนินการปกติ มีรายได้ปกติ แต่ไม่จ่าย
กระบวนการทางศาล กินเวลาอย่างน้อยสุดก็ 7-8 ปี แต่กรณีแบบนี้ผมว่า
ทางผู้เช่าและผู้ค้ำประกัน คงยื้อสุดๆ อย่างน้อยๆ ก็ 10 ปีขึ้ืนไป
อ่านแล้วเพลีย ...
http://www.set.or.th/set/newsdetails.do ... country=TH
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
PFRD 108/2558
วันที่ 4 กันยายน 2558
เรื่อง สรุปข้อมูลสำคัญในการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน
ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ สมุยบุรี ครั้งที่ 1/2558 (เพิ่มเติม)
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ด้วย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด ("บริษัทจัดการ")
ในฐานะบริษัทจัดการกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ สมุยบุรี ชื่อย่อ "SBPF" (ชื่อเดิม
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์แบบมีกรรมสิทธิ์ เมอร์เคียว สมุย ชื่อย่อ "MSPF") ("กองทุนรวม")
พิจารณาเห็นควรให้จัดประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ครั้งที่ 1/2558 ในวันศุกร์ที่ 18 กันยายน 2558
เวลา 10.00 น. ณ โรงแรม อีสติน แกรนด์ สาทร กรุงเทพฯ ห้องประชุมสุรศักดิ์ 1 ชั้น 11 ที่อยู่ 33/1
ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 เพื่อพิจารณาเรื่องต่างๆ ตามระเบียบวาระการประชุม
บริษัทจัดการจึงขอแจ้งให้ทราบดังรายละเอียดต่อไปนี้
ความเป็นมาโดยสังเขป
สาระสำคัญของกองทุนรวม (ณ วันจัดตั้งกองทุนรวม)
ชื่อกองทุน กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เมอร์เคียว สมุย
จำนวนเงินทุนของโครงการ 828,000,000 บาท
จำนวนหน่วยลงทุน 82,800,000 หน่วย
อายุโครงการ ไม่กำหนด
รายละเอียดนโยบายการลงทุน ลงทุนโดยการซื้อที่ดิน
อาคารและระบบสาธารณูปโภคในการประกอบกิจการโรงแรมเมอร์เคียว สมุยบุรี รีสอร์ท
(ยกเว้นในส่วนของสปอร์ตคลับ) ตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 10775,10779 และที่ดิน น.ส.3ก. เลขที่
1274,1275 และ 2035 มีเนื้อที่ประมาณ 13 ไร่ 0 งาน 27 ตารางวา ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 26/24
ซอยวัดหน้าพระลาน แยกจากถนนสายรอบเกาะ (ทล.4169) ตำบลแม่น้ำ อำเภอเกาะสมุย จังหวัด สุราษฎร์ธานี
มีเนื้อที่ใช้สอยในอาคาร ประมาณ 15,772.86 ตารางเมตร ติดชายหาดแม่น้ำ กว้าง 65 เมตร
มีสิ่งอำนวยความสะดวก สระว่ายน้ำ ห้องอาหาร รวมถึงที่จอดรถยนต์ประมาณ 80 คัน
ผู้เช่า บริษัท สมุยบุรี บีช รีสอร์ท จำกัด
อายุสัญญาเช่า มีระยะเวลาการเช่า 15 ปี (เริ่มต้นวันที่ 28 กรกฎาคม 2553 สิ้นสุดวันที่ 27 กรกฎาคม
2568) โดย
ผู้เช่ามีสิทธิขอต่ออายุสัญญาเช่าออกไปอีกครั้งละ 3 ปี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ให้เช่า
ค่าเช่า สัญญาเช่าในช่วงปีที่ จำนวนค่าเช่า(ล้านบาท/ปี) ค่าเช่าแปรผัน วงเงินหนังสือค้ำ
ประกันโดยธนาคารพาณิชย์
(ล้านบาท/ปี)
1 62 ไม่มี 62
2 64 ไม่มี 64
3 66 ไม่มี 66
4 67 ไม่มี 67
5 67 ไม่มี 67
6-15 58 ต้องชำระเพิ่มจากค่าเช่าคงที่ (กำไรขั้นต้น-ค่าเช่าคงที่) x 60
% ไม่ต้องวางหนังสือค้ำประกัน
- ค่าเช่าตั้งแต่ปีที่ 6 เป็นต้นไป จนถึงวันสิ้นสุดโครงการ ก่อนหักค่าใช้จ่ายกองทุนรวม
กำหนดโดยสูตรการคำนวณ ดังต่อไปนี้
ค่าเช่าคงที่ 58,000,000 บาท + ค่าเช่าแปรผัน*
*ค่าเช่าแปรผัน = (กำไรขั้นต้นของผู้เช่า** - ค่าเช่าคงที่) x 60%
** กำไรขั้นต้นของผู้เช่า = รายได้จากกิจการโรงแรม - ค่าใช้จ่ายของผู้เช่า
ถ้ากำไรขั้นต้นน้อยกว่าค่าเช่าคงที่ กองทุนรวมจะไม่ได้รับค่าเช่าแปรผัน
- หนังสือค้ำประกันออกโดยธนาคารพาณิชย์ที่กองทุนรวม ให้ความเห็นชอบ (L/G) ระยะเวลา 1 ปี ต่ออายุทุกปี
เป็นระยะเวลา 5 ปี
- ผู้ค้ำประกันตามรายละเอียดดังต่อไปนี้ร่วมค้ำประกันตามเงื่อนไขในสัญญาเช่า
(รวมถึงค่าเช่าคงที่ในวงเงิน 326,000,000 บาท ตามเงื่อนไขในสัญญาเช่าในระหว่างช่วงปีที่ 1-5) อีกด้วย
ผู้ค้ำประกัน
นิติบุคคล 1 : บริษัท สมุยบุรี บีช รีสอร์ท จำกัด
ค้ำประกันส่วนตัว : กรรมการผู้มีอำนาจ บริษัท สมุยบุรี บีช รีสอร์ท จำกัด
- นายสาคร ชนะไพฑูรย์
- นางสาวภรภัทร ประพฤติชอบ
ประธานบริษัท สมุยบุรี บีช รีสอร์ท จำกัด
- นายวรเดช ส่งตระกูล
นิติบุคคล 2 : บริษัท เฉวงโคฟ รีโซเทล จำกัด
ค้ำประกันส่วนตัว : กรรมการผู้มีอำนาจ บริษัท เฉวงโคฟ รีโซเทล จำกัด
- นางสาวภรภัทร ประพฤติชอบ
ประธานบริษัท เฉวงโคฟ รีโซเทล จำกัด
- นายวรเดช ส่งตระกูล
เงื่อนไขสำคัญในสัญญาเช่า ผู้เช่าต้องชำระค่าเช่า ค่าธรรมเนียมหนังสือค้ำประกันออกโดยธนาคารพาณิชย์
ค่าเบี้ยประกันภัย ค่าภาษีโรงเรือน และที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที ภาษีป้าย ภาษีอื่นๆ
และค่าซ่อมแซมทรัพย์สิน
รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการเช่าทรัพย์สินที่เกิดขึ้นตามสัญญาเช่า
บริษัทจัดการในฐานะบริษัทจัดการของกองทุนรวม ซึ่งเป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตาม
พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
ได้รับหนังสือรับรองการจดทะเบียนกองทรัพย์สินของโครงการจัดการกองทุนรวม เมื่อ วันที่ 22 กรกฎาคม 2553
ทะเบียนเลขที่ 1716/2553
เมื่อประมาณเดือนกรกฎาคม 2553 กองทุนรวม ได้เข้าทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สินอันได้แก่ ที่ดิน
อาคารและระบบสาธารณูปโภค ที่ใช้ประกอบกิจการโรงแรม เมอร์เคียว สมุยบุรี รีสอร์ท ("โรงแรม") จาก บริษัท
สมุยบุรี บีช รีสอร์ท จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่กองทุนรวม เข้าลงทุนครั้งแรกด้วยมูลค่า
828,000,000 บาท (แปดร้อยยี่สิบแปดล้านบาท) เพื่อจัดหาผลประโยชน์จากการให้เช่าทรัพย์สินดังกล่าว
และกองทุนรวม ได้เข้าทำสัญญาเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2553 และ
สัญญาเช่างานระบบสาธารณูปโภค เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ ฉบับลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2553 กับ บริษัท สมุยบุรี
บีช รีสอร์ท จำกัด ("ผู้เช่าเดิม") (ต่อไปนี้เรียกรวมว่า "สัญญาเช่าฯ") สัญญาเช่าฯ มีกำหนดระยะเวลา 15
ปี โดยผู้เช่าเดิมจะเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาผลประโยชน์จากการประกอบกิจการโรงแรม เพื่อดำเนินกิจการ
และจ่ายค่าเช่าให้กับกองทุนรวม ตามกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาเช่าฯ ต่อไป ก่อนที่กองทุนรวม
เข้าลงทุนครั้งแรก ผู้เช่าเดิมได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างและแต่งตั้งให้บริษัท เอเอพีซี (ประเทศไทย) จำกัด
ซึ่งเป็นผู้บริหารโรงแรมในกลุ่มแอคคอร์ เข้ามาเป็นผู้บริหารโรงแรมโดยลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม
2550 ระยะเวลาตามสัญญา 10 ปี โดยใช้แบรนด์ "เมอร์เคียว"
ในการบริหารงานและได้ปรับปรุงโรงแรมให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ทางผู้บริหารโรงแรมกำหนด
ต่อมาผู้เช่าเดิมแจ้งกองทุนรวมเกี่ยวกับการสิ้นสุดสัญญาจ้างบริหารโรงแรม ฉบับลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554
และภายหลังจากที่ทำการยกเลิกสัญญาจ้างผู้บริหารโรงแรมแล้ว ผู้เช่าเดิมได้ปรับเปลี่ยนคำว่า "เมอร์เคียว"
ออกจากโรงแรมทั้งหมด และเปลี่ยนชื่อโรงแรมเป็น "โรงแรม สมุยบุรี บีช รีสอร์ท" (Samui Buri Beach
Resort) ซึ่งเป็นชื่อตามใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมที่ผู้เช่าเดิมได้รับอนุญาตในครั้งแรก
โดยคณะทำงานของผู้เช่าเดิมเป็นผู้บริหารโรงแรมเองทั้งหมด และผู้เช่าเดิมยังคงนำส่งรายได้ให้กับกองทุนรวม
และกองทุนรวม ได้ทำการจ่ายเงินปันผลให้กับท่านผู้ถือหน่วยลงทุนมาโดยตลอด
ต่อมาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2556 ในการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ครั้งที่ 1/2556
ที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนมีมติอนุมัติให้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
(1) แก้ไขชื่อผู้บริหารโรงแรมรายใหม่ เป็น บริษัท รีโซเทล กรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
(2) แก้ไขเงื่อนไขในสัญญาเช่าเดิมและเงื่อนไขที่ระบุในโครงการจัดตั้งและจัดการกองทุนรวม
- ยกเลิกการค้ำประกันตามสัญญาเช่า สัญญาค้ำประกันของนิติบุคคล และบุคคล คือ
นิติบุคคล 1 : บริษัท สมุยบุรี บีช รีสอร์ท จำกัด
ค้ำประกันส่วนตัว : กรรมการผู้มีอำนาจ บริษัท สมุยบุรี บีช รีสอร์ท จำกัด
- นายสาคร ชนะไพฑูรย์
- นางสาวภรภัทร ประพฤติชอบ
ประธานบริษัท สมุยบุรี บีช รีสอร์ท จำกัด
- นายวรเดช ส่งตระกูล
นิติบุคคล 2 : บริษัท เฉวงโคฟ รีโซเทล จำกัด
ค้ำประกันส่วนตัว : กรรมการผู้มีอำนาจ บริษัท เฉวงโคฟ รีโซเทล จำกัด
- นางสาวภรภัทร ประพฤติชอบ
ประธานบริษัท เฉวงโคฟ รีโซเทล จำกัด
- นายวรเดช ส่งตระกูล
- ให้ผู้เช่าเดิมจัดให้มีหนังสือสัญญาค้ำประกัน ออกโดยธนาคารพาณิชย์เพื่อประกันการปฏิบัติตามสัญญาเช่าฯ
ตลอดระยะเวลาการเช่า 15 ปี โดยต่ออายุหนังสือค้ำประกันทุก 1 ปี 6 เดือน
- ผู้เช่าเดิมทำข้อตกลงว่าจะไม่ก่อหนี้ใหม่เกิน 200,000,000 บาท
(3) แก้ไขรายละเอียดของระบบสาธารณูปโภค
(4) แก้ไขชื่อกองทุนรวมและชื่อย่อหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เป็น "กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ สมุยบุรี" ชื่อย่อ "SBPF"
สาระสำคัญของกองทุนรวม (ตามมติในที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน ครั้งที่ 1/2556)
ชื่อกองทุน กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ สมุยบุรี
จำนวนเงินทุนของโครงการ 828,000,000 บาท
จำนวนหน่วยลงทุน 82,800,000 หน่วย
อายุโครงการ ไม่กำหนด
รายละเอียดนโยบายการลงทุน ลงทุนโดยการซื้อที่ดิน อาคารและระบบสาธารณูปโภคในการประกอบกิจการโรงแรม
สมุยบุรี รีสอร์ท (ยกเว้นในส่วนของสปอร์ตคลับ) ตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 10775,10779 และที่ดิน
น.ส.3ก. เลขที่ 1274,1275 และ 2035 มีเนื้อที่ประมาณ 13 ไร่ 0 งาน 27 ตารางวา ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 26/24
ซอยวัดหน้าพระลาน แยกจากถนนสายรอบเกาะ (ทล.4169) ตำบลแม่น้ำ อำเภอเกาะสมุย จังหวัด
สุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่ใช้สอยในอาคาร ประมาณ 15,772.86 ตารางเมตร ติดชายหาดแม่น้ำ กว้าง 65 เมตร
มีสิ่งอำนวยความสะดวก สระว่ายน้ำ ห้องอาหาร รวมถึงที่จอดรถยนต์ประมาณ 80 คัน
ผู้เช่า บริษัท สมุยบุรี บีช รีสอร์ท จำกัด
อายุสัญญาเช่า มีระยะเวลาการเช่า 15 ปี (เริ่มต้นวันที่ 28 กรกฎาคม 2553 สิ้นสุดวันที่ 28 กรกฎาคม
2568) โดย
ผู้เช่ามีสิทธิขอต่ออายุสัญญาเช่าออกไปอีกครั้งละ 3 ปี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ให้เช่า
ค่าเช่า สัญญาเช่าในช่วงปีที่ จำนวนค่าเช่า(ล้านบาท/ปี) ค่าเช่าแปรผัน วงเงินหนังสือค้ำ
ประกันโดยธนาคารพาณิชย์
(ล้านบาท/ปี)
1 62 ไม่มี 62
2 64 ไม่มี 64
3 66 ไม่มี 66
4 67 ไม่มี 67
5 67 ไม่มี 67
6-15 58 ต้องชำระเพิ่มจากค่าเช่าคงที่ (กำไรขั้นต้น-ค่าเช่าคงที่) x 60 % 58
- ค่าเช่าตั้งแต่ปีที่ 6 เป็นต้นไป จนถึงวันสิ้นสุดโครงการ ก่อนหักค่าใช้จ่ายกองทุนรวม
กำหนดโดยสูตรการคำนวณ ดังต่อไปนี้
ค่าเช่าคงที่ 58,000,000 บาท + ค่าเช่าแปรผัน*
*ค่าเช่าแปรผัน = (กำไรขั้นต้นของผู้เช่า** - ค่าเช่าคงที่) x 60%
** กำไรขั้นต้นของผู้เช่า = รายได้จากกิจการโรงแรม - ค่าใช้จ่ายของผู้เช่า
ถ้ากำไรขั้นต้นน้อยกว่าค่าเช่าคงที่ กองทุนรวมจะไม่ได้รับค่าเช่าแปรผัน
- หนังสือค้ำประกันสำหรับการเช่าตั้งแต่ปีที่ 1 - 3
จะเป็นหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ที่กองทุนรวม ให้ความเห็นชอบ (L/G) ระยะเวลา 1 ปี
ต่ออายุทุกปี
- หนังสือค้ำประกันสำหรับการเช่าตั้งแต่ปีที่ 4 - 15
จะเป็นหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ที่กองทุนรวม ให้ความเห็นชอบ (L/G) ระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน
ต่ออายุทุก 1 ปี 6 เดือน
เงื่อนไขสำคัญในสัญญาเช่า ผู้เช่าต้องชำระค่าเช่า ค่าธรรมเนียมหนังสือค้ำประกันออกโดยธนาคารพาณิชย์
ค่าเบี้ยประกันภัย ค่าภาษีโรงเรือน และที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที ภาษีป้าย ภาษีอื่นๆ
และค่าซ่อมแซมทรัพย์สิน
รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการเช่าทรัพย์สินที่เกิดขึ้นตามสัญญาเช่า
รายงานสถานะของกองทุนรวม
รายงานผลการดำเนินการของกองทุนรวม
กองทุนรวม
ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ได้รับหนังสือรับรองการจดทะเบียนกองทรัพย์สินของโครงการจัดการกองทุนรวม
เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2553 จนถึงปัจจุบันได้มีการจ่ายเงินปันผลมาแล้ว รวมทั้งสิ้น 8 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่
จ่ายเงินปันผล งวดผลการดำเนินงาน
ที่จ่ายเงินปันผล วันที่จ่ายเงินปันผล อัตราการจ่ายเงินปันผล
(ต่อหน่วยลงทุน) อัตราการจ่ายผลตอบแทน
(ร้อยละ)
ครั้งที่ 1 22 ก.ค. 53 - 31 ธ.ค. 53 15 มี.ค. 54 0.2902 2.902
ครั้งที่ 2 1 ม.ค. 54 - 30 มิ.ย. 54 20 ก.ย. 54 0.3224 3.224
ครั้งที่ 3 1 ก.ค. 54 - 31 ธ.ค. 54 9 มี.ค. 55 0.3375 3.375
ครั้งที่ 4 1 ม.ค. 55 - 30 มิ.ย. 55 24 ก.ย. 55 0.3375 3.375
ครั้งที่ 5 1 ก.ค. 55 - 31 ธ.ค. 55 15 มี.ค. 56 0.3500 3.500
ครั้งที่ 6 1 ม.ค. 56 - 30 มิ.ย. 56 23 ก.ย. 56 0.3500 3.500
ครั้งที่ 7 1 ก.ค. 56 - 31 ธ.ค. 56 28 มี.ค. 57 0.3500 3.500
ครั้งที่ 8 1 ม.ค. 57 - 30 มิ.ย. 57 26 ก.ย. 57 0.0800 0.800
รายงานผลการดำเนินการตามมติที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน ครั้งที่ 1/2556
ในการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ครั้งที่ 1/2556
ที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนได้มีมติอนุมัติให้แก้ไขเพิ่มเติมโครงการฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
(1) แก้ไขชื่อผู้บริหารโรงแรมรายใหม่เป็น บริษัท รีโซเทล กรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
(2) ยกเลิกหนังสือค้ำประกันและแก้ไขเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับสัญญาค้ำประกันในสัญญาเช่าและหนังสือชี้ชวน
(3) แก้ไขรายละเอียดของระบบสาธารณูปโภค
(4) แก้ไขชื่อกองทุนรวม และชื่อย่อหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัทจัดการได้ดำเนินการตามมติฯ ในข้อ (1), (3) และ (4)
โดยการขอแก้ไขเพิ่มเติมโครงการต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ("สำนักงานฯ")
เสร็จสิ้นแล้ว โดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานฯ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2557
ส่วนการดำเนินการตามมติฯ ในข้อ (2) นั้น ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ เนื่องจาก
ภายหลังจากการประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าว บริษัทจัดการ ได้มีการประสานงานกับผู้เช่าเดิม
เพื่อจัดทำบันทึกแนบท้ายสัญญาเช่าฯ ให้สอดคล้องกับมติของที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน
โดยได้มีการหารือกันเพื่อจัดทำร่างบันทึกแนบท้ายสัญญาเช่าฯ หลายครั้ง ในช่วงระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม
2556 ถึง 28 พฤษภาคม 2557
บริษัทจัดการได้แจ้งให้ผู้เช่าเดิมนำส่งเอกสารที่ยังขาด (สัญญาว่าจ้างบริหารระหว่างผู้เช่าเดิม และ
รีโซเทล กรุ๊ป) หลายครั้ง เพื่อจะได้ลงนามในบันทึกแนบท้ายสัญญาเช่าฯ
แต่มิได้รับการยืนยันกำหนดการลงนามในบันทึกแนบท้ายสัญญาเช่าฯ จากผู้เช่าเดิม
ต่อมา วันที่ 15 สิงหาคม 2557 ปรากฎว่าผู้เช่าเดิมได้ผิดสัญญาเช่าฯ โดยมิได้ชำระค่าเช่า งวดประจำวันที่
1 มกราคม 2557 - 30 มิถุนายน 2557 จำนวน 18,224,657.55 บาท
(สิบแปดล้านสองแสนสองหมื่นสี่พันหกร้อยห้าสิบเจ็ดบาทห้าสิบห้าสตางค์) ซึ่งจะต้องชำระภายในวันที่ 15
สิงหาคม 2557
เนื่องจากสถานะของผู้เช่าเดิมในวันที่ได้รับมติจากที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน เปรียบเทียบกับปัจจุบัน
มีการเปลี่ยนแปลงสถานะจากผู้เช่าเดิมที่ปฏิบัติตามสัญญาเป็นผู้เช่าเดิมที่ผิดสัญญา
ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งหากดำเนินการตามมติที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
ครั้งที่ 1/2556 ต่อไป อาจจะมีผลกระทบในทางลบต่อกองทุนรวมและผู้ถือหน่วยลงทุนได้
แม้ว่าผู้เช่าเดิมได้แจ้งยืนยันที่จะลงนามในบันทึกแนบท้ายสัญญา เมื่อวันที่ 9 และ 13 ตุลาคม 2557
แต่ช่วงเวลาดังกล่าวก็เป็นช่วงเวลาภายหลังจากที่ได้มีการผิดสัญญาเช่าฯ ไปแล้ว
บริษัทจัดการได้หารือกับที่ปรึกษากฎหมาย และมีความเห็นว่า หากจะดำเนินการลงนามในบันทึกแนบท้ายสัญญา
บริษัทจัดการควรที่จะนำเรื่องกลับไปให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้พิจารณาอีกครั้ง
บนพื้นฐานของข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ทั้งนี้ หากบริษัทจัดการ
ดำเนินการลงนามในบันทึกแนบท้ายสัญญาอาจเป็นเหตุให้กองทุนรวมเสียประโยชน์จากหลักประกันที่ลดลงได้
รายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและการดำเนินการแก้ไข รวมถึงแนวทางการดำเนินการในอนาคต
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและการดำเนินการแก้ไข
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ผู้เช่าเดิม ได้ทำสัญญาเช่าฯ กับกองทุนรวม เพื่อดำเนินกิจการโรงแรมสมุยบุรี บีช รีสอร์ท
ซึ่งบริหารกิจการโรงแรมโดย บริษัท รีโซเทล กรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
(ตามมติของที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ครั้งที่ 1/2556)
โดยผู้เช่ามีหน้าที่จะต้องชำระเงินค่าเช่าประจำปีที่ 4 ตามสัญญาเช่าฯ จำนวน 67,000,000 บาท
(หกสิบเจ็ดล้านบาท) ให้แก่กองทุนรวม โดยมีกำหนดชำระค่าเช่าในวันที่ 3 กรกฎาคม 2557 จำนวน 33,224,657.55
บาท (สามสิบสามล้านสองแสนสองหมื่นสี่พันหกร้อยห้าสิบเจ็ดบาทห้าสิบห้าสตางค์)
สำหรับระยะเวลาการเช่าระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2557 - 30 มิถุนายน 2557 และกำหนดชำระค่าเช่าในวันที่ 3
มกราคม 2558 จำนวน 33,775,342.45 บาท
(สามสิบสามล้านเจ็ดแสนเจ็ดหมื่นห้าพันสามร้อยสี่สิบสองบาทสี่สิบห้าสตางค์)
สำหรับระยะเวลาการเช่าระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2557 - 31 ธันวาคม 2557
ต่อมาผู้เช่าได้ผิดนัดชำระค่าเช่า สำหรับสำหรับระยะเวลาการเช่าระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2557 - 30
มิถุนายน 2557 เป็น จำนวนเงิน 18,224,657.55 บาท
(สิบแปดล้านสองแสนสองหมื่นสี่พันหกร้อยห้าสิบเจ็ดบาทห้าสิบห้าสตางค์)
ทั้งนี้
ในการที่บริษัทจัดการยังไม่ดำเนินการใช้สิทธิยกเลิกสัญญาและบังคับหลักประกันของผู้เช่าเดิมในทันทีที่ผู้
เช่าเดิมผิดนัดชำระค่าเช่าในวันที่ 3 กรกฎาคม 2557 เนื่องจาก
ในขณะนั้นบริษัทจัดการยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะสรุปข้อมูลตามที่ผู้เช่าเดิมอ้างว่าผลประกอบการของผู้เช
่าเดิมได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองนั้น เป็นจริงหรือไม่ และมีผลกระทบมากน้อยเพียงใด
รวมทั้งเป็นผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระยะสั้นหรือระยะยาว
อีกทั้งการบอกเลิกสัญญาทันทีอาจไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่กองทุนรวมเท่าที่ควร เนื่องจาก
กองทุนรวมอาจบังคับหลักประกันได้เพียงเท่าจำนวนที่ผู้เช่าเดิมผิดนัดในขณะนั้นกล่าวคือจำนวน
18,224,657.55 บาท (สิบแปดล้านสองแสนสองหมื่นสี่พันหกร้อยห้าสิบเจ็ดบาทห้าสิบห้าสตางค์) เท่านั้น
และการดำเนินการหาผู้เช่ารายใหม่จะต้องใช้เวลานานซึ่งในระหว่างนั้น
กองทุนรวมอาจต้องสูญเสียรายได้จากค่าเช่าไป ในขณะที่การคงสัญญาเช่าฯ ไว้
กองทุนรวมก็ยังมีรายได้จากค่าเช่าที่มีหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันธนาคารรองรับอยู่
บริษัทจัดการจึงพิจารณาแล้วเห็นควรให้ใช้สิทธิบังคับหลักประกันและบอกเลิกสัญญาในกรณีที่
หากหลังจากวันที่ครบกำหนดชำระค่าเช่าสำหรับงวดระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2557 - 31 ธันวาคม 2557
ซึ่งจะถึงกำหนดในวันที่ 30 ธันวาคม 2557
แล้วผู้เช่าเดิมยังคงไม่ชำระค่าเช่าทั้งส่วนที่ค้างและค่าเช่าที่ถึงกำหนดชำระดังกล่าว
บริษัทจัดการจะได้ดำเนินการตามที่ที่ปรึกษากฎหมายได้ให้คำแนะนำไว้
ต่อมาเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2557 บริษัทจัดการได้มีหนังสือแจ้งเตือนกำหนดการชำระค่าเช่า
สำหรับงวดระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2557 - 31 ธันวาคม 2557 ซึ่งจะถึงกำหนดในวันที่ 30 ธันวาคม 2557
จำนวนเงิน 33,775,342.45 บาท (สามสิบสามล้านเจ็ดแสนเจ็ดหมื่นห้าพันสามร้อยสี่สิบสองบาทสี่สิบห้าสตางค์)
พร้อมกับขอให้ผู้เช่าเดิมชำระค่าเช่าคงค้างสำหรับงวดระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2557 - 30 มิถุนายน 2557
เป็นจำนวนเงิน 18,224,657.55 บาท (สิบแปดล้านสองแสนสองหมื่นสี่พันหกร้อยห้าสิบเจ็ดบาทห้าสิบห้าสตางค์)
พร้อมดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.375 ต่อปี ให้แก่กองทุนรวม
แต่ผู้เช่าเดิมเพิกเฉยไม่ชำระเงินค่าเช่าและค่าเช่าคงค้างให้กับกองทุนรวมแต่อย่างใด
เมื่อครบกำหนดชำระค่าเช่าสำหรับงวดระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2557 - 31 ธันวาคม 2557 แล้ว
กองทุนรวมก็ยังไม่ได้รับชำระค่าเช่าจำนวนรวม 52,000,000 บาท (ห้าสิบสองล้านบาท) ไม่รวมดอกเบี้ยผิดนัด
ดังกล่าวแต่อย่างใด กองทุนรวมจึงได้มอบหมายให้ที่ปรึกษากฎหมาย ดำเนินการแจ้งเรื่อง
การปฎิบัติผิดสัญญาเช่าฯ และเรียกหลักประกันการปฎิบัติตามสัญญาเช่าฯ ให้กับผู้เช่าเดิมและผู้ค้ำประกัน
เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2558 โดยขอให้ดำเนินการชำระค่าเช่าคงค้างและดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าเสียหาย
และค่าใช้จ่ายใดๆ ที่เกิดขึ้น อันเป็นการดำเนินการ ตามที่โครงการจัดการ สัญญาเช่าฯ
และตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของกองทุนรวม
อย่างไรก็ดี จนถึงปัจจุบัน กองทุนรวมก็ยังไม่ได้รับชำระเงินค่าเช่าพร้อมดอกเบี้ยแต่อย่างใด
ผู้เช่าเดิมจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตามสัญญาเช่าฯ ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวแล้ว
การดำเนินการแก้ไข
(1) การติดตามค่าเช่าคงค้างและค่าเสียหายอื่นๆ การบอกเลิกสัญญาเช่าฯ และการบังคับหลักประกันตามสัญญาเช่า
จากการที่ผู้เช่าเดิมตกเป็นผู้ผิดนัดตามสัญญาเช่า ดังนั้น
บริษัทจัดการจึงได้ดำเนินการแจ้งใช้สิทธิการเรียกบังคับหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาเช่าฯ
กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ("ธนาคาร") สาขาเกาะสมุย ในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาเช่าฯ
ให้ชำระเงินให้แก่กองทุนรวม จากธนาคารตามหนังสือค้ำประกันของธนาคาร ที่ 00019/200829/0021/56 ลงวันที่26
ธันวาคม 2556 รวม 3 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2558, 3 มีนาคม 2558 และ 15 พฤษภาคม 2558
นอกจากนี้ กองทุนรวมยังได้สงวนสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นเพิ่มเติม ค่าใช้จ่าย
ผลประโยชน์ เงินหรือค่าเสียหายใดๆ ที่เกิดแก่กองทุนรวม อันอาจจะมีอยู่ก่อนหรือภายหลังที่สัญญาเช่าฯ
สิ้นสุดและสิทธิในวงเงินค้ำประกันที่คงเหลือจากการเรียกร้องในครั้งนี้ รวมทั้งดำเนินการใดๆ
ตามกฎหมายเพื่อปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของกองทุนรวมต่อไปอีกด้วย
นอกจากนี้ เมื่อกองทุนรวมได้มอบหมายให้ที่ปรึกษากฎหมาย มีหนังสือลงวันที่ 5 มกราคม 2558
แจ้งให้ผู้เช่าเดิมชำระค่าเช่าคงค้าง พร้อมทั้งดอกเบี้ย
โดยที่ผู้เช่าเดิมได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2558 แต่ผู้เช่าก็ยังมิได้ดำเนินการใดๆ
ตามที่กองทุนรวมเรียกร้อง
จากการที่ผู้เช่าเดิมมิได้ชำระค่าเช่าคงค้างพร้อมทั้งดอกเบี้ยภายในระยะเวลาที่กำหนดตามสัญญา
กองทุนรวมจึงได้พิจารณาบอกเลิกสัญญาเช่าฯ โดยมอบหมายให้ที่ปรึกษากฎหมายแจ้งยกเลิกสัญญาเช่าฯ
ตามสำเนาหนังสือของที่ปรึกษากฎหมายของกองทุนรวม ลงวันที่ 3 มีนาคม 2558 โดยสัญญเช่าฯ
มีผลสิ้นสุดในวันที่ 4 เมษายน 2558 ซึ่งผู้เช่าเดิมจะต้องชำระเงินค่าเช่าคงค้าง
ค่าเสียหายอันเกิดจากการบอกเลิกสัญญาเช่าฯ
และดำเนินการย้ายออกและส่งมอบทรัพย์สินคืนให้แก่กองทุนรวมภายใน 15 วัน กล่าวคือ ภายในวันที่ 19 เมษายน
2558
สาเหตุที่บริษัทจัดการพิจารณายกเลิกสัญญาเช่าฯ กับผู้เช่าเดิมก่อนที่จะได้ผู้เช่ารายใหม่นั้น
เนื่องจากหากไม่ยกเลิก จะทำให้สัญญาเช่าฯ ยังมีผลอยู่และกองทุนรวมจะไม่สามารถสรรหาผู้เช่ารายใหม่ได้
นอกจากนั้น
เพื่อบังคับให้ผู้เช่าเดิมออกจากทรัพย์สินที่เช่าและส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าคืนให้แก่กองทุนรวมก่อน
ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เวลา มิฉะนั้นแล้ว กองทุนรวมจะไม่สามารถเข้าใช้ทรัพย์สินที่เช่า
หรือดำเนินการให้ผู้เช่ารายใหม่เข้าใช้ทรัพย์สินที่เช่าได้ ซึ่งจะทำให้กองทุนรวมขาดรายได้มากยิ่งขึ้น
ดังนั้น บริษัทจัดการจึงพิจารณาดำเนินการบอกเลิกสัญญาเช่าฯ
และบังคับให้ผู้เช่าเดิมออกจากทรัพย์สินที่เช่าและส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าคืน
และดำเนินการสรรหาผู้เช่ารายใหม่ต่อไป ซึ่งในกรณีนี้
หากผู้เช่าเดิมปฏิบัติตามเงื่อนไขการบอกเลิกสัญญาโดยการส่งมอบทรัพย์สินคืนแก่กองทุนรวมภายในกำหนด
และกระบวนการสรรหาผู้เช่ารายใหม่ดำเนินการคัดเลือกเสร็จสิ้น
ผู้เช่ารายใหม่ก็จะสามารถดำเนินการเข้าบริหารทรัพย์สินได้ทันทีอย่างต่อเนื่องอันจะเป็นประโยชน์ต่อกองทุน
รวม
นอกจากนี้ บริษัทจัดการได้พิจารณาต่อไปว่า หากกระบวนการคัดเลือกผู้เช่ารายใหม่ยังไม่เสร็จสิ้น
หรือต้องใช้ระยะเวลานาน
บริษัทจัดการจะดำเนินการว่าจ้างผู้บริหารโรงแรมเพื่อเข้ามาบริหารโรงแรมในระยะสั้น
โดยที่บริษัทจัดการได้รับการผ่อนผันจากสำนักงานฯ
ให้สามารถว่าจ้างผู้บริหารโรงแรมเพื่อบริหารโรงแรมได้ในระยะเวลาที่สรรหาผู้เช่ารายใหม่
(ข้อผ่อนผันสิ้นสุด วันที่ 31 สิงหาคม 2558)
ซึ่งบริษัทจัดการพิจารณาดำเนินการดังกล่าวข้างต้นทั้งหมดโดยยึดหลักการบริหารจัดการกองทุนรวมโดยคำนึงถึงป
ระโยชน์สูงสุดของผู้ถือหน่วยลงทุน
ภายหลังจากที่กองทุนรวมใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าฯ กับผู้เช่าเดิมแล้ว เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2558
กองทุนรวมได้มอบหมายให้ที่ปรึกษากฎหมายดำเนินการยื่นฟ้องคดีธนาคาร ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้
เพื่อบังคับหลักประกันตามหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคาร เป็นคดีหมายเลขดำที่ พ.1320/2558
ในข้อหาหรือฐานความผิด "ค้ำประกัน" โดยมีจำนวนทุนทรัพย์ 67,000,000 บาท (หกสิบเจ็ดล้านบาท)
(ตามวงเงินที่ระบุไว้ในหนังสือค้ำประกัน)
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2558
กองทุนรวมได้มอบหมายให้ที่ปรึกษากฎหมายดำเนินการยื่นฟ้องคดีผู้เช่าและผู้ค้ำประกัน รวม 5 ราย
ต่อศาลจังหวัดเกาะสมุย เป็นคดีหมายเลขดำที่ 158/2558 ในข้อหาหรือฐานความผิด "ผิดสัญญา, ละเมิด, ขับไล่,
เรียกค่าเช่าค้างชำระและค่าเสียหาย, ค้ำประกัน" โดยมีจำนวนทุนทรัพย์ 89,557,698.75 บาท
(แปดสิบเก้าล้านห้าแสนห้าหมื่นเจ็ดพันหกร้อยเก้าสิบแปดบาทเจ็ดสิบห้าสตางค์) (คำนวณถึงวันฟ้องคดีวันที่ 6
กรกฎาคม 2558) โดยมีคำขอท้ายฟ้องสรุปได้ดังต่อไปนี้
(1) ให้ขับไล่ผู้เช่าเดิม
พร้อมทั้งบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของกองทุนรวมซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 10775 และ
10779 ตำบลแม่น้ำ อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก.) เลขที่
1274, 1275, และ 2035 ตำบลแม่น้ำ อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
และส่งมอบทรัพย์ที่เช่าคืนให้แก่กองทุนรวมในสภาพของทรัพย์ที่เช่าในขณะนั้นตามที่ได้รับการบำรุงรักษา
ซ่อมแซม และปรับปรุงให้คงอยู่ในสภาพที่ดี เรียบร้อย และเหมาะสมกับใช้งาน
โดยไม่ด้อยไปกว่าสภาพของทรัพย์ที่เช่าในวันที่ผู้เช่าเดิมรับโอนทรัพย์ที่เช่าจากกองทุนรวม
โดยให้ผู้เช่าเดิม เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย รวมทั้งห้ามมิให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง
งานระบบสาธารณูปโภค เฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์ที่ติดตั้งและใช้งานอยู่ในอาคารโรงแรมสมุยบุรี บีช รีสอร์ท
ของกองทุนรวมอีกต่อไป
(2) ให้ผู้เช่าเดิมและผู้ค้ำประกันร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินจำนวน 54,638,115.97 บาท
(ห้าสิบสี่ล้านหกแสนสามหมื่นแปดพันหนึ่งร้อยสิบห้าบาทเก้าสิบเจ็ดสตางค์)
(คำนวณจากค่าเช่าคงค้างสำหรับงวดวันที่ 1 มกราคม 2557 - 30 มิถุนายน 2557 จำนวน 18,224,657.55 บาท
และงวดวันที่ 1 กรกฎาคม 2557 - 31 ธันวาคม 2557 จำนวน 33,775,342.45 บาท พร้อมดอกเบี้ยคำนวณถึงวันฟ้อง 6
กรกฎาคม 2558) พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.375 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 52,000,000 บาท
(ห้าสิบสองล้านบาท) นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระแก่กองทุนรวมเสร็จสิ้น
(3) ให้ผู้เช่าเดิมและผู้ค้ำประกันร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินจำนวน 17,522,125.64 บาท
(สิบเจ็ดล้านห้าแสนสองหมื่นสองพันหนึ่งร้อยยี่สิบห้าบาทหกสิบสี่สตางค์) (คำนวณจากค่าเช่าสำหรับงวดวันที่
1 มกราคม 2558 ถึงวันที่การบอกเลิกสัญญามีผล คือวันที่ 4 เมษายน 2558 พร้อมดอกเบี้ยคำนวณถึงวันฟ้อง 6
กรกฎาคม 2558) พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.25 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 17,254,794.52 บาท
(สิบเจ็ดล้านสองแสนห้าหมื่นสี่พันเจ็ดร้อยเก้าสิบสี่บาทห้าสิบสองสตางค์)
นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระแก่กองทุนรวมเสร็จสิ้น
(4) ให้ผู้เช่าเดิมและผู้ค้ำประกันร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินค่าเสียหายแก่โจทก์ (กองทุนรวม)จำนวน
17,397,457.12 บาท (สิบเจ็ดล้านสามแสนเก้าหมื่นเจ็ดพันสี่ร้อยห้าสิบเจ็ดบาทสิบสองสตางค์)
(คำนวณจากจำนวนวันที่ผู้เช่าครอบครองทรัพย์สินนับถัดจากวันที่บอกเลิกสัญญามีผลถึงวันฟ้อง
พร้อมดอกเบี้ยคำนวณถึงวันฟ้อง 6 กรกฎาคม 2558) พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.50 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน
17,071,232.88 บาท (สิบเจ็ดล้านเจ็ดหมื่นหนึ่งพันสองร้อยสามสิบสองบาทแปดสิบแปดสตางค์)
นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระแก่กองทุนรวมเสร็จสิ้น
(5) ให้ผู้เช่าเดิมและผู้ค้ำประกันร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินค่าเสียหายแก่กองทุนรวม
(การครอบครองทรัพย์สินหลังบอกเลิกสัญญาเช่า) ในอัตราวันละ 183,561.64 บาท
(หนึ่งแสนแปดหมื่นห้าร้อยหกสิบเอ็ดบาทหกสิบสี่สตางค์) นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป
พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จนกว่าผู้เช่าเดิม
จะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของกองทุนรวมตามฟ้อง
และกองทุนรวมสามารถเข้าครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้อง
และได้รับชำระค่าเเสียหายดังกล่าวครบถ้วนแล้ว
(6) ให้ผู้เช่าเดิมโอนใบอนุญาตเปิดโรงแรมและใบอนุญาตอื่นที่เกี่ยวข้องภายใต้พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.
2547 รวมถึงใบอนุญาตอื่นใดที่จำเป็นในการประกอบธุรกิจโรงแรมเมอร์เคียว สมุยบุรี รีสอร์ท หรือโรงแรม
สมุยบุรี บีช รีสอร์ท ที่ผู้เช่าเดิมมีอยู่ในวันที่สัญญาเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสิ้นสุดลงให้แก่โจทก์
หากผู้เช่าเดิมไม่ปฏิบัติตาม ขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของผู้เช่าเดิม
(7) ให้หนังสือสัญญาเช่าที่ดินรวม 2 โฉนด มีกำหนด 15 ปี ฉบับวันที่ 28 กรกฎาคม 2553
หนังสือสัญญาเช่าที่ดิน มีกำหนด 15 ปี รวม 3 แปลง ฉบับวันที่ 28 กรกฎาคม 2553
สัญญาเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับวันที่ 28 กรกฎาคม 2553 และสัญญาเช่างานระบบสาธารณูปโภค
เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ ฉบับวันที่ 22 กรกฎาคม 2553 เป็นอันยกเลิกหรือสิ้นผลตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2558
และให้ผู้เช่าเดิมไปดำเนินการจดทะเบียนยกเลิกการเช่าตามหนังสือสัญญาเช่าที่ดินรวม 2 โฉนด มีกำหนด 15 ปี
ฉบับวันที่ 28 กรกฎาคม 2553 และหนังสือสัญญาเช่าที่ดิน มีกำหนด 15 ปี รวม 3 แปลง ฉบับวันที่ 28 กรกฎาคม
2553 และสัญญาเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับวันที่ 28 กรกฎาคม 2553 กับสำนักงานที่ดินที่เกี่ยวข้อง
หากผู้เช่าเดิมไม่ปฏิบัติตามขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของผู้เช่าเดิม
(8) ให้ผู้เช่าเดิมและผู้ค้ำประกันร่วมกันหรือแทนกันชำระหนี้เงินค่าฤชาธรรมเนียม
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี และค่าทนายความแทนกองทุนรวมในอัตราอย่างสูงด้วย
ในการนี้ บริษัทจัดการขอสรุปรายละเอียดคดีที่กองทุนรวมยื่นฟ้องต่อผู้เช่า, ผู้ค้ำประกัน ดังต่อไปนี้
หมายเลขคดี ข้อหาหรือฐานความผิด วันที่ยื่นฟ้อง ทุนทรัพย์ โจทก์ จำเลย
1. พ.1320/2558 ค้ำประกัน 16 มิ.ย. 58 67,000,000.00 บาท กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ สมุยบุรี
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
2. พ.158/2558 ผิดสัญญา, ละเมิด, ขับไล่, เรียกค่าเช่าค้างชำระและค่าเสียหาย, ค้ำประกัน 6 ก.ค.
58 89,557,698.75 บาท กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ สมุยบุรี บริษัท สมุยบุรี บีช รีสอร์ท จำกัด ที่ 1
กับพวกรวม 5 คน
ทั้งนี้ เพื่อปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของกองทุนรวม โดยขณะนี้ คดีข้างต้นอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล
จากการที่บริษัทจัดการปฏิบัติตามหน้าที่เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนและกองทุนรวม
โดยยังไม่ลงนามในบันทึกแนบท้ายสัญญาเช่าฯ เพื่อยกเลิกผู้ค้ำประกันภายหลังจากที่ผู้เช่าผิดนัดชำระค่าเช่า
ติดตามค่าเช่าคงค้างและค่าเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้น และบังคับหลักประกันตามสัญญาเช่าฯ นั้น
ผู้เช่าและผู้ค้ำประกันได้ยื่นฟ้องกองทุนรวม บริษัทจัดการ กรรมการ และเจ้าหน้าที่ของบริษัทจัดการ
ในคดีต่างๆ โดยสามารถสรุปได้ ดังนี้
กลุ่มคดีแพ่ง
หมายเลขคดี ข้อหาหรือฐานความผิด / ทุนทรัพย์ วันที่ยื่นฟ้อง โจทก์ จำเลย
1. พ.52/2558 เพิกถอนเอกสาร, ส่งมอบเอกสารคืน / ไม่มีทุนทรัพย์ 13 ม.ค. 58 บริษัท เฉวงโคฟ รีโซเทล
จำกัด ที่ 1 กับพวกรวม 4 คน บริษัทจัดการ ที่ 1 กับพวกรวม 7 คน
2. พ.177/2558 ละเมิด, เรียกค่าเสียหาย / 40,723,288 บาท 30 ม.ค. 58 นายสาคร ชนะไพฑูรย์ บริษัทจัดการ
ที่ 1 กับพวกรวม 8 คน
3. พ.698/2558 เพิกถอนหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่า, ละเมิด, เรียกค่าเสียหาย / 350,000,000 บาท 7 เม.ย.
58 บริษัท สมุยบุรี บีช รีสอร์ท จำกัด กองทุนรวม ที่ 1 กับพวกรวม 10 คน
4. พ.1281/2558 ละเมิด, เรียกค่าเสียหาย / 350,000,000 บาท 12 มิ.ย. 58 บริษัท สมุยบุรี บีช รีสอร์ท
จำกัด บริษัทจัดการ
5. พ.1475/2558 ละเมิด, เรียกค่าเสียหาย / 350,000,000 บาท 30 มิ.ย. 58 บริษัท สมุยบุรี บีช รีสอร์ท
จำกัด กองทุนรวม ที่ 1 กับพวกรวม 11 คน
6. พ.1476/2558 ละเมิด, เรียกค่าเสียหาย / 40,000,000 บาท 30 มิ.ย. 58 นายสาคร ชนะไพฑูรย์ บริษัทจัดการ
ที่ 1 กับพวกรวม 10 คน
กลุ่มคดีอาญา
หมายเลขคดี ข้อหาหรือฐานความผิด วันที่ยื่นฟ้อง โจทก์ จำเลย
1. อ.302/2558 ร่วมกันหมิ่นประมาท 20 ก.พ. 58 นายวรเดช ส่งตระกูล บริษัทจัดการ ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน
2. อ.2726/2558 ร่วมกันหมิ่นประมาท, พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ 30 มิ.ย.
58 นายวรเดช ส่งตระกูล บริษัทจัดการ ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน
3. อ.1302/2558 ร่วมกันหมิ่นประมาท, พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ 23 ก.ค.
58 นางสาวภรภัทร ประพฤติชอบ บริษัทจัดการ ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน
4. อ.1303/2558 ร่วมกันหมิ่นประมาท, พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ 23 ก.ค.
58 บริษัท เฉวงโคฟ รีโซเทล จำกัด บริษัทจัดการ ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน
5. อ.3086/2558 ร่วมกันหมิ่นประมาท, พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ 23 ก.ค.
58 นายสาคร ชนะไพฑูรย์ โดยนายวรเดช ส่งตระกูล บริษัทจัดการ ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน
6. คำร้องทุกข์อาญาที่ 180/2558 (สภ.บ่อผุด จ.สุราษฎ์ธานี) ร่วมกันหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา 21 ก.พ.
58 นายวรเดช ส่งตระกูล บริษัทจัดการ ที่ 1 กับพวก
7. หมายเรียกสภ.บ่อผุด จ.สุราษฎ์ธานี(ตช 0023(สฎ)(10).3) ร่วมกันหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา 27
มิ.ย.58 บริษัท สมุยบุรี บีช รีสอร์ท จำกัด กองทุนรวม ที่ 1 กับพวก
8. หมายเรียกสภ.บ่อผุด จ.สุราษฎ์ธานี (ตช 0023(สฎ)(10).3/3039 หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา 25 พ.ค.58 บริษัท
สมุยบุรี บีช รีสอร์ท จำกัด โดยนายวรเดช ส่งตระกูล บริษัทจัดการ
(2) การสรรหาผู้เช่ารายใหม่
บริษัทจัดการได้ดำเนินการสรรหาผู้เช่ารายใหม่
โดยการประกาศเชิญชวนผู้สนใจเป็นการทั่วไปผ่านทางหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ในวันที่ 1 - 3 และ 7 - 10
เมษายน 2558 โดยให้ผู้ที่สนใจเข้ารับรายละเอียดได้ตั้งแต่วันที่ 1- 24 เมษายน 2558
และกำหนดให้ผู้ที่สนใจยื่นข้อเสนอภายในวันที่ 30 เมษายน 2558 เวลา 9.00 - 12.00 น.
ปรากฎว่าในวันและเวลาดังกล่าวไม่มีผู้สนใจยื่นข้อเสนอแต่อย่างใด
แนวทางดำเนินการในการบริหารกองทุนรวม
จากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทจัดการได้พิจารณาแนวทางในการบริหารกองทุนรวม ดังนี้
1. เร่งรัดการดำเนินการทางกฎหมายเพื่อบังคับหลักประกันตามหนังสือค้ำประกันธนาคารให้เร็วที่สุด
เพื่อให้กองทุนรวมมีรายได้และผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน
2. เร่งรัดการดำเนินการทางกฎหมายเพื่อบังคับให้ผู้เช่าเดิมส่งมอบทรัพย์สินคืนแก่กองทุนรวมให้เร็วที่สุด
3. ดำเนินการสรรหาผู้เช่ารายใหม่
4. บริษัทจัดการจะเชิญชวนผู้สนใจ เสนอข้อเสนอเพื่อซื้อทรัพย์สินจากกองทุนรวม
โดยจะดำเนินการคู่ขนานไปกับการสรรหาผู้เช่ารายใหม่
ทั้งนี้ การดำเนินการตามข้อ 1 และ 2 นั้น ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล และการดำเนินการตามข้อ
3 และ 4 จำเป็นต้องให้การดำเนินการตามข้อ 1 และ 2 เสร็จสิ้น โดยกระบวนการตามข้อ 3 และข้อ 4
อาจใช้เวลาประมาณ 3 - 6 เดือน หากมีผู้สนใจยื่นข้อเสนอ
ผลกระทบต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (NAV)
จากกรณีผู้เช่าค้างชำระค่าเช่าของกองทุนรวม และกองทุนรวมแจ้งยกเลิกสัญญาเช่าฯ มีผลเมื่อวันที่ 4 เมษายน
2558 ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม (NAV)
บริษัทจัดการในนามของกองทุนรวมจึงได้มอบหมายให้บริษัท จี.ดับบลิว.บราเธอร์ เอสเตท จำกัด
ซึ่งเป็นผู้ประเมินที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานฯ ดำเนินการประเมินราคาทรัพย์สินของกองทุนรวม
เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2558 โดยมีมูลค่าทรัพย์สิน 822,670,000 บาท
(แปดร้อยยี่สิบสองล้านหกแสนเจ็ดหมื่นบาท)
โดยใช้สมมติฐานด้านรายได้จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบอัตราค่าห้องพักเฉลี่ย (4,009 บาท/คืน)
และกำหนดอัตราการเข้าพักที่ 70%
ส่วนด้านค่าใช้จ่ายใช้ฐานข้อมูลจากผู้เช่าโรงแรมฯที่เคยส่งให้กับกองทุนรวม
ส่งผลให้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2558 มีมูลค่า 9.9289 บาท
(เก้าจุดเก้าสองแปดเก้าบาท) ต่อหน่วยลงทุน
บริษัทจัดการขอชี้แจงต่อผู้ถือหน่วยลงทุนว่า ในปัจจุบันถึงแม้กองทุนรวมได้มีการบอกเลิกสัญญาเช่าฯ
ต่อผู้เช่าไปแล้ว และกองทุนรวมไม่ได้รับการชำระค่าเช่าจากผู้เช่ามาในระยะหนึ่งนั้น
ซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการทางด้านกฎหมาย ทรัพย์สินของกองทุนรวม คือโรงแรมสมุยบุรี บีช รีสอร์ท
ก็ยังคงเปิดดำเนินการตามปกติและยังคงสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ได้มีการปิดกิจการแต่อย่างใด ดังนั้น
ผู้ประเมินฯ ยังคงมีความเห็นว่ามูลค่าทรัพย์สินที่ทำการประเมินยังคงมีอยู่
เนื่องจากทรัพย์สินยังมีศักยภาพในการสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนของรายได้ของกองทุนรวม
ที่มาจากค่าเช่าตามสัญญาเช่าฯ นั้น เป็นเพียงการไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่าฯ เท่านั้น
ไม่ได้เกิดจากทรัพย์สินของกองทุนรวมไม่สามารถสร้างรายได้แต่อย่างใด ดังนั้น มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV)
ที่ได้เรียนข้างต้นจึงเป็นมูลค่าที่เกิดขึ้นจริงจากทรัพย์สินของกองทุนรวม
ข้อมูลและเหตุการณ์ที่เน้นของผู้สอบบัญชี
ผู้สอบบัญชีขอให้สังเกตหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อที่ 15 ซึ่งอธิบายถึง (1)
การผิดนัดชำระค่าเช่าของบริษัท สมุยบุรี บีช รีสอร์ท จำกัด ("ผู้เช่า")
ซึ่งเป็นผู้เช่าเพียงรายเดียวของกองทุน โดยกองทุนรวมได้บอกเลิกสัญญาเช่าซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน
พ.ศ. 2558 และหยุดรับรู้รายได้ค่าเช่าและรายได้อื่นตามสัญญาเช่านับจากวันดังกล่าว (2)
การปฏิเสธการจ่ายเงินตามภาระค้ำประกันของธนาคาร และ (3)
ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลของคดีที่กองทุนถูกฟ้องร้องโดยผู้เช่า ปัจจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า
มีความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดข้อสงสัยอย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับความสามารถในการดำ
เนินงานอย่างต่อเนื่องของกองทุน ทั้งนี้ ผู้สอบบัญชีมิได้แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขในเรื่องนี้
ความเห็นของบริษัทจัดการ
บริษัทจัดการเห็นว่า
วาระนี้เป็นการแจ้งสถานการณ์ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบถึงการดำเนินงานในปัจจุบันของกองทุนรวมและบริษัทจัดก
ารเท่านั้น ทั้งนี้ ในบางประเด็นยังไม่สามารถหาข้อยุติได้
แต่บริษัทจัดการเห็นว่าเพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและเท่าเทียมกันทุกรายบริษัท
จัดการจึงเห็นสมควรแจ้งข้อมูลตามวาระที่ระบุไว้ข้างต้นให้แก่ที่ประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนทุกท่านทราบโดยทั่
วกัน
จากการชี้แจงข้างต้น
บริษัทจัดการใคร่ขอแจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบเพิ่มเติมถึงผลกระทบต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกอ
งทุนรวม ดังนี้
เนื่องจากผู้เช่าเดิมผิดนัดชำระค่าเช่า ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2557 ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2558
ซึ่งเป็นวันที่กองทุนรวมฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้เช่าเดิม ทำให้ในปัจจุบัน
กองทุนรวมมีสภาพคล่องเหลือประมาณ 1,000,000 บาท ดังนั้น กองทุนรวมซึ่งมีรายได้ทางเดียว คือ
รายได้จากค่าเช่าตามสัญญาเช่า จึงต้องหยุดบันทึกการรับรู้รายได้ค่าเช่าและรายได้อื่นๆ
ตามสัญญาเช่าตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2558
และทำให้กองทุนรวมไม่สามารถจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้จนกว่าจะได้รับชำระค่าเช่าค่าปรับ
ดอกเบี้ย ค่าเสียหาย ไม่ว่าโดยการบังคับเอาจากผู้เช่าเดิม หรือ
บังคับหลักประกันตามสัญญาเช่าได้เรียบร้อย
ตามที่บริษัทจัดการได้เคยแจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้ทราบมาแล้ว
เพื่อเป็นการบรรเทาภาระและเพื่อให้กองทุนรวมสามารถดำรงสถานะและดำเนินการต่อไปได้ในระหว่างนี้
บริษัทจัดการได้พิจารณาเลื่อนการเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการและค่าธรรมเนียมนายทะเบียนตั้งแต่งวดวันที่ 1
มกราคม 2558 - 30 มิถุนายน 2558 ออกไปก่อน ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าประเมินทรัพย์สิน
ค่าผู้สอบบัญชีและอื่นๆ ถ้ากองทุนรวมไม่มีสภาพคล่องเพียงพอ
บริษัทจัดการก็จะสำรองจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวแทนกองทุนรวม
รวมทั้งอาจจะเจรจาขอความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องพิจารณาเลื่อนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมออก
ไปก่อนจนกว่ากองทุนรวมจะได้รับชำระเงินค่าเช่า ค่าปรับ ดอกเบี้ย และค่าเสียหายเรียบร้อย
ซึ่งปัจจุบันค่าดำเนินการและค่าธรรมเนียมในการบริหารจัดการกองทุนรวม(โดยประมาณ) ประกอบด้วย
1. ค่าธรรมเนียมบริษัทจัดการ 4,968,000 บาท/ปี
2. ค่าธรรมเนียมนายทะเบียน 828,000 บาท/ปี
3. ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ 58,463 บาท/ปี
4. ค่าธรรมเนียมการประเมินราคาทรัพย์สิน 107,000 บาท/ปี
5. ค่าธรรมเนียมผู้สอบบัญชี 350,700 บาท/ปี
6. ค่าธรรมเนียมตลาดหลักทรัพย์ฯ 107,000 บาท/ปี
7. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 40,000 บาท/ปี
ในการดำเนินการทางกฎหมายเป็นการใช้สิทธิทางกฎหมายของกองทุนรวมในฐานะเจ้าของทรัพย์สิน
เรียกร้องค่าเช่าคงค้างตามสัญญา ค่าปรับตามสัญญา
เพื่อบังคับให้ผู้เช่าเดิมและผู้ค้ำประกันร่วมกันหรือแยกกันชำระค่าเช่าคงค้างตามสัญญา
ค่าปรับตามสัญญาดังกล่าว โดยค่าเช่าคงค้างนั้นคิดตั้งแต่ยอดค้างชำระครั้งแรกจนถึงวันสิ้นสุดสัญญา
(วันที่หนังสือบอกเลิกสัญญามีผล)
ในขณะที่ค่าปรับตามสัญญานั้นคำนวณจากค่าเช่าคงค้างนับจากวันที่ผิดนัดชำระ (ในแต่ละงวด)
จนถึงวันที่ชำระเสร็จสิ้น
สำหรับกรณีที่ผู้เช่าเดิมยังคงครอบครองและใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินภายหลังวันที่หนังสือบอกเลิกสัญญามีผลนั
้น เนื่องจากสัญญาเช่าได้สิ้นสุดลงโดยการบอกเลิกสัญญา
บริษัทจัดการจึงได้ดำเนินการเรียกร้องค่าเสียหายจากการใช้ทรัพย์สินที่ผู้เช่าเดิมต้องชำระแก่กองทุนรวมนั
บจากวันที่สัญญาสิ้นสุดลงจนถึงวันที่ผู้เช่าเดิมส่งมอบทรัพย์สินคืนแก่กองทุนรวม นอกจากนี้
บริษัทจัดการได้ขอให้ศาลพิจารณาบังคับให้ผู้เช่าเดิมดำเนินการโอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมให้แก่กองทุน
รวมตามสัญญา (ตามที่ได้แจ้งให้ทราบในหน้า 12 ของหนังสือฉบับนี้)
ภายหลังจากที่กองทุนรวมสามารถบังคับหลักประกันต่างๆ และได้รับการชำระเงินตามคำพิพากษาแล้ว
บริษัทจัดการจะดำเนินการนำเงินที่ได้รับหักด้วยค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่บริษัทจัดการได้สำรองจ่ายแทนกองทุนรวมไปก่อน
จึงจะนำมาจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
ซึ่งระยะเวลาในการบังคับนี้ขึ้นอยู่กับกระบวนการทางศาล
ซึ่งจากในเบื้องต้นกระบวนการทางศาลในแต่ละชั้นจะมีระยะเวลา ประมาณ 1 - 2 ปี สำหรับศาลชั้นต้น ประมาณ 2 -
3 ปี ในชั้นอุทธรณ์ และ 3 - 5 ปี ในชั้นฎีกา (หากมีการอุทธรณ์ หรือ ฎีกา)
บริษัทจัดการขอเรียนให้ทราบว่า บริษัทจัดการได้จัดทำหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวม
ครั้งที่ 1/2558 พร้อมทั้งเอกสารประกอบการประชุมเรียบร้อยแล้ว
และได้เผยแพร่ไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทจัดการ ที่ http://www.cimb-principal.com ตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน
2558 เป็นต้นไป ทั้งนี้
บริษัทจัดการจะดำเนินการจัดส่งเอกสารดังกล่าวให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนทางไปรษณีย์ต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
ขอแสดงความนับถือ
(นายสุทธิพันธ์ กรีมหา)
ผู้อำนวยการอาวุโส
หัวหน้าฝ่ายกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
และทรัสต์เพื่อการลงทุนอสังหาริมทรัพย์
ฝ่ายกองทุนอสังหาริมทรัพย์และ
ทรัสต์เพื่อการลงทุนอสังหาริมทรัพย์
โทรศัพท์ 0-2686-9525
___________________________
ปัญหาของกองทุนอสังหาฯ SBPF (ซ้ำซากจริงๆ)
-
- Verified User
- โพสต์: 153
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ปัญหาของกองทุนอสังหาฯ SBPF (ซ้ำซากจริงๆ)
โพสต์ที่ 2
ผมเองก็เห็นหลายๆ กองทุนในตลาดฯ ก็มีเหตุการณ์คล้ายๆ แบบนี้ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วคิดว่าผู้ถือหน่วยลงทุน
ที่เป็นรายย่อยนั้นจะออกสามีปากมีเสียงได้บ้างหรือไม่ เพราะเกือบทุกๆ กองฯ นั้นมีผู้ถือหุ้นใหญ่ เป็นเจ้าของเดิม
ทั้งนั้น ซึ่งถ้ามีธรรมาภิบาลดี ก็โชคดีไป แต่ถ้าเจอแบบหัวหมอล่ะก็แย่ครับ สงสารก็แต่รายย่อยที่ต้องก้มหน้ารับ
กรรมกันไป ไม่รู้ว่าจะมีหน่วยงานใดของรัฐเข้ามาแก้ปัญหาแบบนี้ได้บ้างไหม เอาใจช่วยครับ
ที่เป็นรายย่อยนั้นจะออกสามีปากมีเสียงได้บ้างหรือไม่ เพราะเกือบทุกๆ กองฯ นั้นมีผู้ถือหุ้นใหญ่ เป็นเจ้าของเดิม
ทั้งนั้น ซึ่งถ้ามีธรรมาภิบาลดี ก็โชคดีไป แต่ถ้าเจอแบบหัวหมอล่ะก็แย่ครับ สงสารก็แต่รายย่อยที่ต้องก้มหน้ารับ
กรรมกันไป ไม่รู้ว่าจะมีหน่วยงานใดของรัฐเข้ามาแก้ปัญหาแบบนี้ได้บ้างไหม เอาใจช่วยครับ
มงคลชีวิต 38 ประการ
คือ บทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญ หรือ มี "มงคลชีวิต" ซึ่งมี ทั้งหมด ๓๘ ประการ
คือ บทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญ หรือ มี "มงคลชีวิต" ซึ่งมี ทั้งหมด ๓๘ ประการ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ปัญหาของกองทุนอสังหาฯ SBPF (ซ้ำซากจริงๆ)
โพสต์ที่ 3
LUXF กับ CTARAF เป็นสองตัวอย่างแรกๆ ของกองทุนอสังหาฯ แบบโรงแรม
ยังดีที่ LUXF เป็น Freehold ส่วน CTARAF เป็น Lease
ส่วน SBPF เป็น Freehold
นอกจากนี้ยังมีที่ไม่ใช่โรงแรมคือ TU-PF
น่าเศร้าใจอย่างยิ่งสำหรับผู้ถือหุ้น Prop.Fund เหล่านี้
(รวมทั้งตัวผมเองถือถือบางตัวในระยะเวลาหนึ่ง)
การลงทุนมีความเสี่ยงจริงๆ โปรดศึกษาข้อมูลการลงทุน
(แต่ข้อมูลมันอยู่ตรงไหน แถมส่วนใหญ่มโนฯ มาจาก
ผู้ประเมิน และ บลจ. ทั้งนั้น เอาเปรียบนักลงทุนรายย่อย
ที่ข้อมูลน้อยกว่าแบบเทียบกันไม่ติด)
ส่วนกอง REIT ที่มาแทน Prop.Fund อาจมีข้อดีในแบบที่กู้เงินได้เยอะ
กว่าเดิม แต่ในขณะที่ข้อเสีย(สำหรับตัวผมเอง)คือ โดนหักภาษี 10%
ณ ที่จ่ายแล้วยังต้องนำเอาไปคำนวณรวมกับรายได้ประจำปีเพื่อเสียภาษี
เพิ่มสำหรับคนที่ฐานภาษีเกิน 10% ก็ต้องจ่ายเพิ่ม แต่เดิมไม่จำเป็นต้อง
นำไปรวมหัก ณ ที่จ่าย 10% แล้วจบ
ยังดีที่ LUXF เป็น Freehold ส่วน CTARAF เป็น Lease
ส่วน SBPF เป็น Freehold
นอกจากนี้ยังมีที่ไม่ใช่โรงแรมคือ TU-PF
น่าเศร้าใจอย่างยิ่งสำหรับผู้ถือหุ้น Prop.Fund เหล่านี้
(รวมทั้งตัวผมเองถือถือบางตัวในระยะเวลาหนึ่ง)
การลงทุนมีความเสี่ยงจริงๆ โปรดศึกษาข้อมูลการลงทุน
(แต่ข้อมูลมันอยู่ตรงไหน แถมส่วนใหญ่มโนฯ มาจาก
ผู้ประเมิน และ บลจ. ทั้งนั้น เอาเปรียบนักลงทุนรายย่อย
ที่ข้อมูลน้อยกว่าแบบเทียบกันไม่ติด)
ส่วนกอง REIT ที่มาแทน Prop.Fund อาจมีข้อดีในแบบที่กู้เงินได้เยอะ
กว่าเดิม แต่ในขณะที่ข้อเสีย(สำหรับตัวผมเอง)คือ โดนหักภาษี 10%
ณ ที่จ่ายแล้วยังต้องนำเอาไปคำนวณรวมกับรายได้ประจำปีเพื่อเสียภาษี
เพิ่มสำหรับคนที่ฐานภาษีเกิน 10% ก็ต้องจ่ายเพิ่ม แต่เดิมไม่จำเป็นต้อง
นำไปรวมหัก ณ ที่จ่าย 10% แล้วจบ
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.