TPP กับหุ้น/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1827
- ผู้ติดตาม: 1
TPP กับหุ้น/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
เรื่องของการเปิดเขตการค้าเสรีของไทยกับประเทศอื่นนั้น เท่าที่ผ่านมาก็มักจะไม่เป็นประเด็นการโต้แย้งกันมากมายนัก เหตุผลก็เพราะดูเหมือนว่าจะไม่มีข้อเสียอะไรกับคนไทยที่เป็นคนธรรมดามากนัก แต่ข้อดีต่อเศรษฐกิจและธุรกิจนั้นค่อนข้างชัดเจนกว่าในแง่ที่ว่าการค้าขายโดยเฉพาะการส่งออกจะมากขึ้นเนื่องจากผู้ส่งออกจะได้รับการยกเว้นหรือลดภาษีการนำเข้าจากประเทศที่เป็นคู่สัญญากับเรา ทำให้สินค้าของเราได้เปรียบคู่แข่งส่งผลให้สามารถส่งออกไปขายได้มากขึ้น ในส่วนของการนำเข้าเองนั้น ก็ดูเหมือนว่าเราก็อาจจะนำเข้าเท่าเดิม เพียงแต่เปลี่ยนจากการนำเข้าจากประเทศอื่น เราก็นำเข้าจากประเทศคู่สัญญาแทน ดังนั้น การทำสัญญาเปิดการค้าเสรีจึงเป็นสิ่งที่ให้ผลดีและไม่ค่อยจะมีอะไรเสียมากนัก สถิติการส่งออกไปสู่ประเทศที่มีสัญญากับเราก็ดูเหมือนว่าจะเพิ่มขึ้นเร็วกว่าการส่งออกไปประเทศอื่น ตัวอย่างที่ชัดเจนก็เช่นการส่งออกรถยนต์ของไทยไปออสเตรเลียที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหลังมีสัญญาเปิดการค้าเสรี นี่ยังไม่พูดถึงจีนและประเทศใน AEC ที่การค้าขายระหว่างกันเพิ่มขึ้นมากเนื่องจากเรามีข้อตกลงเรื่องการค้าเสรีที่ครอบคลุมกว้างขวาง
การพยายามเปิด “ตลาดเสรี” ของไทยนั้น ต้องถือว่าเราทำมาตลอดในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่สมัย “สุโขทัย” ถ้าเราเชื่อ “ศิลาจารึกหลักที่1” ที่ว่า… “ ในน้ำมีปลาในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทอง ค้า” และส่วนใหญ่ในประวัติศาสตร์ไทยก็พบว่ารัฐไทยนั้นค่อนข้าง “เปิด” ในแง่ของการต้อนรับและค้าขายกับต่างชาติมาตลอด ว่าที่จริงถ้าจะพูดว่าเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะในยุค 50-60 ปีหลังที่เติบโตขึ้นมามหาศาลนั้น เกิดขึ้นจากสาเหตุสำคัญก็คือ เราเป็นประเทศ “เปิด” ที่เป็นทางเลือกที่สำคัญของนักลงทุนต่างชาติโดยเฉพาะญี่ปุ่นที่ต้องการ “ย้ายฐานการผลิต” จากประเทศของตนที่มีต้นทุนสูงกว่า มาสู่ประเทศที่มีต้นทุนต่ำและถูกจำกัดทางด้านการค้าจากประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญอย่างสหรัฐอเมริกาน้อยกว่า
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั้น การ “เปิด” ประเทศของไทยดูเหมือนว่าจะลดน้อยลง ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากภาวะทางการเมืองที่ทำให้ไทยไม่สามารถตัดสินใจในเรื่องที่มีการโต้แย้งในสังคมได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมานั้น ไทยได้มีสัญญาทางการค้าเสรีกับประเทศอื่นค่อนข้างมากอยู่แล้ว ดังนั้น ปัญหาที่เราจะเสียเปรียบคู่แข่งทางด้านการค้าที่อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน เช่น มาเลเซียที่อยู่สูงกว่าเราเล็กน้อย และเวียตนามที่อยู่ต่ำกว่าเราเล็กน้อย ก็ไม่มี พูดง่าย ๆ ถึงแม้เราจะห่างเหินจากการเปิดเสรีการค้ากับต่างประเทศมานาน เราก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไรนัก แต่แล้ว โดยไม่คาดคิด กลุ่มการค้าเสรีกลุ่มใหม่ที่เรียกว่า TPP หรือ Trans-Pacific Partnership หรือข้อตกลงทางการค้าระดับภูมิภาคทรานส์แปซิฟิกซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกาก็กำลังเกิดขึ้นและประเทศไทยไม่ได้เข้าร่วม
ความสำคัญของ TPP ก็คือ มันประกอบด้วยประเทศขนาดใหญ่อันดับ 1 และ 3 ของโลกคืออเมริกาและญี่ปุ่นและประเทศต่าง ๆ ริมมหาสมุทรแปซิฟิกจำนวน 12 ประเทศที่มีขนาดของเศรษฐกิจคิดเป็นประมาณ 40% ของโลก แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าสำหรับไทยและประเทศที่เป็นคู่แข่งของไทยในเรื่องของการส่งออกก็คือ TPP มีอเมริกาอยู่ การเข้าร่วมใน TPP ก็หมายถึงการที่ได้เข้าถึงตลาดอเมริกาที่นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมหาศาล ประเทศที่อยู่ใน TPP เมื่อส่งสินค้าเข้าอเมริกาต่อไปจะไม่เสียภาษีหรือเสียน้อยกว่าประเทศที่อยู่นอก TPP มาก พูดอย่างหยาบ ๆ ก็คือ เมื่อ TPP มีผลบังคับใช้ สินค้าไทยก็จะเสียเปรียบสินค้าจากเวียตนามและมาเลเซียมาก รายการใหญ่ ๆ เช่น สิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กโทรนิกจากไทยอาจจะไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าจากเวียตนามและมาเลเซียได้เพราะสินค้าไทยอาจจะต้องเสียภาษีถึง 17% ในขณะที่คู่แข่งไม่เสียภาษีเลย
บางคนอาจจะเถียงว่าทุกวันนี้เราส่งออกไปอเมริกาไม่ได้มากมายนักเพียงแค่ 10% ต้น ๆ ของสินค้าส่งออกไทยทั้งหมด ดังนั้น ผลกระทบต่อการส่งออกของไทยอาจจะไม่มากแม้ว่าไทยอาจจะไม่ได้อยู่ใน TPP แต่ถ้ามองลึกลงไปผมคิดว่าผลกระทบนั้นน่าจะสูงทีเดียว ประเด็นแรกก็คือ อเมริกานั้นเป็นประเทศ “ผู้นำเข้าตลอดกาล” นั่นก็คือ อเมริกานั้นจะนำเข้าสินค้ามากกว่าส่งออกต่อเนื่องยาวนาน หรือเป็นผู้นำเข้าสุทธิได้ไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีปัญหาเนื่องจากทุกประเทศต่างก็ต้องการเงินดอลลาร์มาเป็นเงินทุนสำรองของประเทศ ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ นั้นมักจะพยายามเป็นผู้ขายหรือผู้ส่งออกไม่อยากเป็นผู้นำเข้าหรือผู้ซื้อเพื่อที่ว่าตนจะได้มีเงินดอลลาร์มาเป็นเงินทุนสำรอง ดังนั้น สหรัฐจึงเป็นดินแดนที่คนอยากจะค้าขายด้วย เพราะขายแล้วมักได้เปรียบดุลการค้า ซึ่งนั่นรวมถึงไทยและหลาย ๆ ประเทศในเอเชีย ดังนั้น แม้จะขายให้อเมริกา 10% แต่เราก็ได้เปรียบดุลการค้ามาก ไม่เหมือนขายกับประเทศอื่นที่บางทีเราเสียเปรียบ
ประเด็นที่สองและอาจจะสำคัญยิ่งกว่าก็คือ การได้ขายเข้าไปในตลาดอเมริกาได้มากกว่าคู่แข่งมากนั้น จะทำให้บริษัทในมาเลเซียและเวียตนามมียอดขายที่สูงซึ่งจะก่อให้เกิด Economies of Scale ซึ่งก็คือทำให้ต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าที่ผลิตต่ำลง และนั่นจะทำให้บริษัทเหล่านั้นสามารถแข่งขันได้ดีขึ้นในตลาดอื่นนอกเหนือจากอเมริกาด้วย ผลก็คือ ข้อแรก สินค้าไทยจะส่งออกได้น้อยลงในตลาดอื่นด้วย และข้อสองที่ตามมาก็คือ บริษัทข้ามชาติต่าง ๆ ที่เป็นผู้ผลิตสินค้าขายทั่วโลกต่างก็จะอยากเข้าไปลงทุนในเวียตนามและมาเลเซียมากขึ้นแทนที่จะมาลงทุนในประเทศไทย ดังนั้นการลงทุนในประเทศไทยก็จะน้อยลงและที่จะแย่ขึ้นไปอีกก็คือ บริษัทที่มีฐานการผลิตอยู่ในไทยอยู่แล้วก็อาจจะย้ายฐานไปอยู่ในประเทศทั้งสอง ตัวอย่างที่เห็นก็เช่น บริษัทซัมซุงที่ได้ย้ายโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่จากไทยไปเวียตนามแล้ว เช่นเดียวกับอีกหลายบริษัทที่ย้ายไปอยู่มาเลเซีย ผลก็คือ การจ้างงานและการส่งออกของไทยก็จะลดลงและจะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ใช่แค่ว่าเศรษฐกิจจะไม่โตขึ้นแต่อาจจะกลายเป็นติดลบก็เป็นได้
ล่าสุดดูเหมือนว่าอินโดนีเซียจะประกาศแล้วว่าจะขอเข้าร่วม TPP และต่อไปฟิลิปปินส์ก็อาจจะตามมา แต่ดูเหมือนว่าไทยจะยังไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้เนื่องจากยังมีคนคัดค้านและระบบภายในประเทศของเราก็ดูเหมือนว่าจะไม่ใคร่พร้อมซึ่งก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในประเทศไทยต่อเนื่องกันมาน่าจะเกือบ 10 ปีมาแล้ว สิ่งที่ไทยควรจะเข้าใจก็คือ ประเทศในอาเซียนเกือบทั้งหมดนั้นต่างก็เป็นคู่แข่งกันหรือกำลังจะเป็นคู่แข่งกันในเกือบทุกอุตสาหกรรมในด้านของการส่งออกเพราะเราต่างก็มีวิวัฒนาการทางเศรษฐกิจที่คล้ายกันนั่นก็คือ เราต่างก็อาศัยการลงทุนของบริษัทข้ามชาติเข้ามาลงทุนผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกเป็นหลัก ในอดีตที่ผ่านมานั้น มาเลเซียและไทยได้เปรียบเนื่องจากเรา “เปิดประเทศ” และต้อนรับนักลงทุนต่างชาติมากกว่าเราจึงก้าวหน้าทางเศรษฐกิจมากกว่าเพื่อนบ้านใน AEC แต่ในขณะนี้ดูเหมือนว่าเราจะเริ่ม “ล้าหลัง” ซึ่งถ้าเราไม่รีบปรับตัวเราก็อาจจะ “แพ้” สิ่งนี้ประกอบกับการที่ประชากรของเราแก่ตัวลงมากกว่าประเทศคู่แข่งมากทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของเราถดถอยลงอย่างน่าใจหาย หลายปีมานี้เราน่าจะเติบโตช้าที่สุดในอาเซียนอย่างมีนัยสำคัญ ตัวเลขคาดการณ์การเติบโตในอนาคตก็ดูเหมือนว่าเราจะยัง “รั้งท้าย” อยู่ ยิ่งถ้าเราไม่เข้าร่วม TPP เราก็อาจจะยิ่งถูก “ทิ้ง” ไว้ข้างหลัง และไม่แน่ว่าในอีก 3-4 ปีข้างหน้าเราอาจจะกลายเป็น “คนป่วยแห่งเอเซีย” อย่างที่ครั้งหนึ่งฟิลิปปินส์เคยเป็นก็เป็นได้
ที่พูดมาทั้งหมดนี้ ผมก็หวังว่ามันจะไม่เกิดขึ้น แต่อย่างไรก็เป็นข้อกังวลลึก ๆ ในฐานะของนักลงทุนระยะยาวที่ผลตอบแทนและอนาคตภาพใหญ่ของการลงทุนผูกติดอยู่กับภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศ ที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือในฐานะของคนไทยที่อย่างไรก็ยังต้องอยู่และตายในประเทศนี้ ผมก็หวังที่จะเห็นประเทศไทยที่ยังเติบโตและก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เพราะนั่นจะทำให้เป็นสังคมที่คนอยู่กันอย่างมีความสุข สังคมที่เศรษฐกิจ “ถดถอย” นั้น มักจะก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมายและจะหาความสงบได้ยาก เพราะเศรษฐกิจและสังคมนั้น จริง ๆ แล้วก็แทบเป็นเรื่องเดียวกันในโลกยุคปัจจุบัน
การพยายามเปิด “ตลาดเสรี” ของไทยนั้น ต้องถือว่าเราทำมาตลอดในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่สมัย “สุโขทัย” ถ้าเราเชื่อ “ศิลาจารึกหลักที่1” ที่ว่า… “ ในน้ำมีปลาในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทอง ค้า” และส่วนใหญ่ในประวัติศาสตร์ไทยก็พบว่ารัฐไทยนั้นค่อนข้าง “เปิด” ในแง่ของการต้อนรับและค้าขายกับต่างชาติมาตลอด ว่าที่จริงถ้าจะพูดว่าเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะในยุค 50-60 ปีหลังที่เติบโตขึ้นมามหาศาลนั้น เกิดขึ้นจากสาเหตุสำคัญก็คือ เราเป็นประเทศ “เปิด” ที่เป็นทางเลือกที่สำคัญของนักลงทุนต่างชาติโดยเฉพาะญี่ปุ่นที่ต้องการ “ย้ายฐานการผลิต” จากประเทศของตนที่มีต้นทุนสูงกว่า มาสู่ประเทศที่มีต้นทุนต่ำและถูกจำกัดทางด้านการค้าจากประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญอย่างสหรัฐอเมริกาน้อยกว่า
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั้น การ “เปิด” ประเทศของไทยดูเหมือนว่าจะลดน้อยลง ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากภาวะทางการเมืองที่ทำให้ไทยไม่สามารถตัดสินใจในเรื่องที่มีการโต้แย้งในสังคมได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมานั้น ไทยได้มีสัญญาทางการค้าเสรีกับประเทศอื่นค่อนข้างมากอยู่แล้ว ดังนั้น ปัญหาที่เราจะเสียเปรียบคู่แข่งทางด้านการค้าที่อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน เช่น มาเลเซียที่อยู่สูงกว่าเราเล็กน้อย และเวียตนามที่อยู่ต่ำกว่าเราเล็กน้อย ก็ไม่มี พูดง่าย ๆ ถึงแม้เราจะห่างเหินจากการเปิดเสรีการค้ากับต่างประเทศมานาน เราก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไรนัก แต่แล้ว โดยไม่คาดคิด กลุ่มการค้าเสรีกลุ่มใหม่ที่เรียกว่า TPP หรือ Trans-Pacific Partnership หรือข้อตกลงทางการค้าระดับภูมิภาคทรานส์แปซิฟิกซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกาก็กำลังเกิดขึ้นและประเทศไทยไม่ได้เข้าร่วม
ความสำคัญของ TPP ก็คือ มันประกอบด้วยประเทศขนาดใหญ่อันดับ 1 และ 3 ของโลกคืออเมริกาและญี่ปุ่นและประเทศต่าง ๆ ริมมหาสมุทรแปซิฟิกจำนวน 12 ประเทศที่มีขนาดของเศรษฐกิจคิดเป็นประมาณ 40% ของโลก แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าสำหรับไทยและประเทศที่เป็นคู่แข่งของไทยในเรื่องของการส่งออกก็คือ TPP มีอเมริกาอยู่ การเข้าร่วมใน TPP ก็หมายถึงการที่ได้เข้าถึงตลาดอเมริกาที่นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมหาศาล ประเทศที่อยู่ใน TPP เมื่อส่งสินค้าเข้าอเมริกาต่อไปจะไม่เสียภาษีหรือเสียน้อยกว่าประเทศที่อยู่นอก TPP มาก พูดอย่างหยาบ ๆ ก็คือ เมื่อ TPP มีผลบังคับใช้ สินค้าไทยก็จะเสียเปรียบสินค้าจากเวียตนามและมาเลเซียมาก รายการใหญ่ ๆ เช่น สิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กโทรนิกจากไทยอาจจะไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าจากเวียตนามและมาเลเซียได้เพราะสินค้าไทยอาจจะต้องเสียภาษีถึง 17% ในขณะที่คู่แข่งไม่เสียภาษีเลย
บางคนอาจจะเถียงว่าทุกวันนี้เราส่งออกไปอเมริกาไม่ได้มากมายนักเพียงแค่ 10% ต้น ๆ ของสินค้าส่งออกไทยทั้งหมด ดังนั้น ผลกระทบต่อการส่งออกของไทยอาจจะไม่มากแม้ว่าไทยอาจจะไม่ได้อยู่ใน TPP แต่ถ้ามองลึกลงไปผมคิดว่าผลกระทบนั้นน่าจะสูงทีเดียว ประเด็นแรกก็คือ อเมริกานั้นเป็นประเทศ “ผู้นำเข้าตลอดกาล” นั่นก็คือ อเมริกานั้นจะนำเข้าสินค้ามากกว่าส่งออกต่อเนื่องยาวนาน หรือเป็นผู้นำเข้าสุทธิได้ไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีปัญหาเนื่องจากทุกประเทศต่างก็ต้องการเงินดอลลาร์มาเป็นเงินทุนสำรองของประเทศ ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ นั้นมักจะพยายามเป็นผู้ขายหรือผู้ส่งออกไม่อยากเป็นผู้นำเข้าหรือผู้ซื้อเพื่อที่ว่าตนจะได้มีเงินดอลลาร์มาเป็นเงินทุนสำรอง ดังนั้น สหรัฐจึงเป็นดินแดนที่คนอยากจะค้าขายด้วย เพราะขายแล้วมักได้เปรียบดุลการค้า ซึ่งนั่นรวมถึงไทยและหลาย ๆ ประเทศในเอเชีย ดังนั้น แม้จะขายให้อเมริกา 10% แต่เราก็ได้เปรียบดุลการค้ามาก ไม่เหมือนขายกับประเทศอื่นที่บางทีเราเสียเปรียบ
ประเด็นที่สองและอาจจะสำคัญยิ่งกว่าก็คือ การได้ขายเข้าไปในตลาดอเมริกาได้มากกว่าคู่แข่งมากนั้น จะทำให้บริษัทในมาเลเซียและเวียตนามมียอดขายที่สูงซึ่งจะก่อให้เกิด Economies of Scale ซึ่งก็คือทำให้ต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าที่ผลิตต่ำลง และนั่นจะทำให้บริษัทเหล่านั้นสามารถแข่งขันได้ดีขึ้นในตลาดอื่นนอกเหนือจากอเมริกาด้วย ผลก็คือ ข้อแรก สินค้าไทยจะส่งออกได้น้อยลงในตลาดอื่นด้วย และข้อสองที่ตามมาก็คือ บริษัทข้ามชาติต่าง ๆ ที่เป็นผู้ผลิตสินค้าขายทั่วโลกต่างก็จะอยากเข้าไปลงทุนในเวียตนามและมาเลเซียมากขึ้นแทนที่จะมาลงทุนในประเทศไทย ดังนั้นการลงทุนในประเทศไทยก็จะน้อยลงและที่จะแย่ขึ้นไปอีกก็คือ บริษัทที่มีฐานการผลิตอยู่ในไทยอยู่แล้วก็อาจจะย้ายฐานไปอยู่ในประเทศทั้งสอง ตัวอย่างที่เห็นก็เช่น บริษัทซัมซุงที่ได้ย้ายโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่จากไทยไปเวียตนามแล้ว เช่นเดียวกับอีกหลายบริษัทที่ย้ายไปอยู่มาเลเซีย ผลก็คือ การจ้างงานและการส่งออกของไทยก็จะลดลงและจะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ใช่แค่ว่าเศรษฐกิจจะไม่โตขึ้นแต่อาจจะกลายเป็นติดลบก็เป็นได้
ล่าสุดดูเหมือนว่าอินโดนีเซียจะประกาศแล้วว่าจะขอเข้าร่วม TPP และต่อไปฟิลิปปินส์ก็อาจจะตามมา แต่ดูเหมือนว่าไทยจะยังไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้เนื่องจากยังมีคนคัดค้านและระบบภายในประเทศของเราก็ดูเหมือนว่าจะไม่ใคร่พร้อมซึ่งก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในประเทศไทยต่อเนื่องกันมาน่าจะเกือบ 10 ปีมาแล้ว สิ่งที่ไทยควรจะเข้าใจก็คือ ประเทศในอาเซียนเกือบทั้งหมดนั้นต่างก็เป็นคู่แข่งกันหรือกำลังจะเป็นคู่แข่งกันในเกือบทุกอุตสาหกรรมในด้านของการส่งออกเพราะเราต่างก็มีวิวัฒนาการทางเศรษฐกิจที่คล้ายกันนั่นก็คือ เราต่างก็อาศัยการลงทุนของบริษัทข้ามชาติเข้ามาลงทุนผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกเป็นหลัก ในอดีตที่ผ่านมานั้น มาเลเซียและไทยได้เปรียบเนื่องจากเรา “เปิดประเทศ” และต้อนรับนักลงทุนต่างชาติมากกว่าเราจึงก้าวหน้าทางเศรษฐกิจมากกว่าเพื่อนบ้านใน AEC แต่ในขณะนี้ดูเหมือนว่าเราจะเริ่ม “ล้าหลัง” ซึ่งถ้าเราไม่รีบปรับตัวเราก็อาจจะ “แพ้” สิ่งนี้ประกอบกับการที่ประชากรของเราแก่ตัวลงมากกว่าประเทศคู่แข่งมากทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของเราถดถอยลงอย่างน่าใจหาย หลายปีมานี้เราน่าจะเติบโตช้าที่สุดในอาเซียนอย่างมีนัยสำคัญ ตัวเลขคาดการณ์การเติบโตในอนาคตก็ดูเหมือนว่าเราจะยัง “รั้งท้าย” อยู่ ยิ่งถ้าเราไม่เข้าร่วม TPP เราก็อาจจะยิ่งถูก “ทิ้ง” ไว้ข้างหลัง และไม่แน่ว่าในอีก 3-4 ปีข้างหน้าเราอาจจะกลายเป็น “คนป่วยแห่งเอเซีย” อย่างที่ครั้งหนึ่งฟิลิปปินส์เคยเป็นก็เป็นได้
ที่พูดมาทั้งหมดนี้ ผมก็หวังว่ามันจะไม่เกิดขึ้น แต่อย่างไรก็เป็นข้อกังวลลึก ๆ ในฐานะของนักลงทุนระยะยาวที่ผลตอบแทนและอนาคตภาพใหญ่ของการลงทุนผูกติดอยู่กับภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศ ที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือในฐานะของคนไทยที่อย่างไรก็ยังต้องอยู่และตายในประเทศนี้ ผมก็หวังที่จะเห็นประเทศไทยที่ยังเติบโตและก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เพราะนั่นจะทำให้เป็นสังคมที่คนอยู่กันอย่างมีความสุข สังคมที่เศรษฐกิจ “ถดถอย” นั้น มักจะก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมายและจะหาความสงบได้ยาก เพราะเศรษฐกิจและสังคมนั้น จริง ๆ แล้วก็แทบเป็นเรื่องเดียวกันในโลกยุคปัจจุบัน
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: TPP กับหุ้น/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 2
สาเหตุหลักๆ น่าจะมาจาก บ.ที่ประกอบรถยนต์ในออสเตรเลีย 3 บริษัท (ในเครือ GM, FORD, และ TOYOTA)ตัวอย่างที่ชัดเจนก็เช่นการส่งออกรถยนต์ของไทยไปออสเตรเลียที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดหลังมีสัญญาเปิดการค้าเสรี
ได้ประกาศยุติการผลิตรถยนต์ในออสเตรเลียทั้งหมดในปี 2017 และได้ทะยอย fade out กันไปบ้างแล้ว
อ้างอิง: http://thenewdaily.com.au/life/2015/07/ ... -industry/
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- Verified User
- โพสต์: 1217
- ผู้ติดตาม: 0
Re: TPP กับหุ้น/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 4
อเมริกาขุดบ่อล่อปลาทำสัญญา tpp อีกหน่อยดอลล่าอ่อนค่าลงอย่างหนัก ประเทศที่ทำข้อตกลงไว้ อาจจะไม่สามารถส่งออกไปได้มากอย่างที่คิด แต่นำเข้าคงเพิ่มขึ้นแน่ๆ (สิ่งที่ควรประเมินเป็นอย่างยิ่งคือ เงินดอลล่าสำคัญลดลงเรื่อยๆ ประเทศยักษ์ใหญ่กำลังลอยแพและลดความสำคัญของอเมริกาลง ถ้าสังเกตุดีๆจะเห็นสิ่งที่ทำให้ประหลาดใจ ที่แม้แต่เยอรมัน อังกฤษและประเทศอื่นๆ เริ่มหันมาหาเอเชียมากขึ้นโดยเฉพาะจีน สำหรับนักทุนระยะยาวจำเป็นต้องประเมินให้รอบด้านว่า อเมริกากำลังปั่นอะไรของตนเองหรือไม่ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหาย ผมก็จะหลีกเลี่ยงหุ้นปั่นครับ) ติดหนี้มากขึ้นทุกๆปี เครดิตลดเมื่อไร เมื่อมีผู้นำในการทวงหนี้ ที่เหลือคงได้ทำตามกันเป็นแถวๆ เหตุการ์ณแบบซับพรามอาจไม่ไกลเกินรอครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 89
- ผู้ติดตาม: 1
Re: TPP กับหุ้น/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 5
ข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศถ้าทำแล้วมีฝ่ายใดฝ่ายนึงได้เปรียบหรือเสียเปรียบชัดเจนคงตกลงเป็นagreementไม่ได้หรอกครับ ทุกๆครั้งก็จะมีอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์คละกันไป(ในกรณีของFTA ไทย-ออสเตรเลีย, อุตสาหกรรมนมไทยเสียประโยชน์ อุตสาหกรรมรถยนต์ได้ประโยชน์ อุตสาหกรรมไหนสำคัญกว่ากันคงขึ้นอยู่กับว่ามองในแง่ไหน) และผลลัพธ์ก็ยังขึ้นกับการปรับตัวเพื่อฉวยประโยชน์หรือเพื่อเอาตัวรอดของแต่ละผู้ประกอบการ กว่าจะเห็นผลก็ต้องหลังจากagreementมีผลไปแล้วซักระยะนึง แต่ในแง่มุมนึงการเปิดเสรีน่าจะทำให้ประสิทธิภาพของอุตสาหกรรม การไหลของทุนและการถ่ายทอดองค์ความรู้เป็นไปได้เร็วขึ้นครับ
แต่ที่แน่ๆจากการอ่านความเห็นของแต่ละท่าน รู้สึกได้เลยว่าการบรรลุข้อตกลงเป็นสิ่งที่น่าจะยากและใช้เวลามากถึงเริ่มตอนนี้ก็คงใช้เวลาหลายปีกว่าจะได้ข้อสรุปหรือสุดท้ายอาจไม่ได้ข้อสรุปเลยก็ได้
แต่ที่แน่ๆจากการอ่านความเห็นของแต่ละท่าน รู้สึกได้เลยว่าการบรรลุข้อตกลงเป็นสิ่งที่น่าจะยากและใช้เวลามากถึงเริ่มตอนนี้ก็คงใช้เวลาหลายปีกว่าจะได้ข้อสรุปหรือสุดท้ายอาจไม่ได้ข้อสรุปเลยก็ได้
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 102
- ผู้ติดตาม: 0
Re: TPP กับหุ้น/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 6
ยืมลอกอินเพื่อนมาโพสนะครับ
(ข้อมูลได้มาจากเนื้อหาบางส่วนนะครับ ไม่มีใครรู้สัญญาทั้งหมดจนกว่าจะยอมเข้าร่วม)
ข้อดีที่ไทยจะได้
- ลดกำแพงภาษีให้ใกล้เคียง0 ซึ่งไทยทำไปแล้วกับ8ประเทศ เหลือเพียง USA, Canada, Mexico ซึ่งอันดับคู่ค้าคือ USA-8.4%, Canada-0.5%, Mexico-0.6%
- ประเทศที่เข้าร่วมTPP ต้องใช้สินค้าวัตถุดิบในการผลิตภายในกลุ่มประเทศกันเอง 75% ทำให้ต้องนำเข้าสินค้าในกลุ่มประเทศมากขึ้น
- ห้ามการใช้แรงงานเด็ก
ข้อเสียที่ไทยจะเจอ
- จากมูลค่าคู่ค้าจะเห็นว่าไทยได้ประโยชน์ษีแค่เกือบๆ10% เทียบกับการค้าในกลุ่มอาเซียนกันเอง 20%+ ดูๆไปแล้วก็ไม่เยอะเท่าไหร่
- การขยายลิขสิทธิ์ยาและการเก็บค่าลิขสิทธิ์ผ่าตัด ทำให้องค์กรเภสัชฯของไทยผลิตยาราคาถูกไม่ได้ และใช้ข้อมูลการทดลองยาที่มีประโชยน์ไม่ได้ทำให้
ต้องมาทดลองกับคนกันใหม่น่าจะเสียเวลาเกือบ10ปี แถมถ้าคุณเข้ารพ.ผ่าตัด ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์เทคนิคผ่าตัดเพิ่มให้กับบ.ที่ถือครองลิขสิทธิ์
- ต่างชาติสามารถจดลิขสิทธิ์พืชเกษตรในไทยได้(UPOV) รวมถึงถ้าซื้อเมล็ดพันธืจากบริษัทจะใช้เพาะปลูกได้ครั้งเดียว เช่นถ้าคุณปลูกข้าวโดยใช้เมล็ดพันธุ์ของเขาจะปลูกได้ทีเดียว ถ้าใช้ต้นกล้าเดิมปลูกอีกฤดูจะมีความผิด
- บ.เอกชนข้ามชาติสามารถฟ้องร้องรัฐบาลไทยได้หากออกนโยบายที่ขัดผลประโยชน์เอกชนผ่านอนุญาโตตุลาการ Investor-State Dispute Settlement (ISDS) เช่นที่ออสเตรเรียออกกฎหมายห้ามโฆษณาบุหรี่ ก็โดนเอกชนฟ้องเรียกค่าเสียหายหลายล้าน ถ้าที่ไทยคงคล้ายๆกรณีค่าโง่ทางด่วน
- ต่างชาติสามารถถือครองหุ้นในไทย รวมถึงที่ดินได้100% อันนี้กลุ่มBankในไทยเตรียมตัวโดนได้เลยครับไม่น่าเหลือ
- อนึ่งสัญญาTPPไม่ผ่านรัฐสภาของUSA ใช้กฎหมายFast-track โดยมีเพียงคณะรัฐมนตรีของโอบาม่าและบริษัทยักษ์ใหญ่ของสหรัฐที่ได้เห็นสัญญาฉบับเต็ม
(ข้อมูลได้มาจากเนื้อหาบางส่วนนะครับ ไม่มีใครรู้สัญญาทั้งหมดจนกว่าจะยอมเข้าร่วม)
ข้อดีที่ไทยจะได้
- ลดกำแพงภาษีให้ใกล้เคียง0 ซึ่งไทยทำไปแล้วกับ8ประเทศ เหลือเพียง USA, Canada, Mexico ซึ่งอันดับคู่ค้าคือ USA-8.4%, Canada-0.5%, Mexico-0.6%
- ประเทศที่เข้าร่วมTPP ต้องใช้สินค้าวัตถุดิบในการผลิตภายในกลุ่มประเทศกันเอง 75% ทำให้ต้องนำเข้าสินค้าในกลุ่มประเทศมากขึ้น
- ห้ามการใช้แรงงานเด็ก
ข้อเสียที่ไทยจะเจอ
- จากมูลค่าคู่ค้าจะเห็นว่าไทยได้ประโยชน์ษีแค่เกือบๆ10% เทียบกับการค้าในกลุ่มอาเซียนกันเอง 20%+ ดูๆไปแล้วก็ไม่เยอะเท่าไหร่
- การขยายลิขสิทธิ์ยาและการเก็บค่าลิขสิทธิ์ผ่าตัด ทำให้องค์กรเภสัชฯของไทยผลิตยาราคาถูกไม่ได้ และใช้ข้อมูลการทดลองยาที่มีประโชยน์ไม่ได้ทำให้
ต้องมาทดลองกับคนกันใหม่น่าจะเสียเวลาเกือบ10ปี แถมถ้าคุณเข้ารพ.ผ่าตัด ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์เทคนิคผ่าตัดเพิ่มให้กับบ.ที่ถือครองลิขสิทธิ์
- ต่างชาติสามารถจดลิขสิทธิ์พืชเกษตรในไทยได้(UPOV) รวมถึงถ้าซื้อเมล็ดพันธืจากบริษัทจะใช้เพาะปลูกได้ครั้งเดียว เช่นถ้าคุณปลูกข้าวโดยใช้เมล็ดพันธุ์ของเขาจะปลูกได้ทีเดียว ถ้าใช้ต้นกล้าเดิมปลูกอีกฤดูจะมีความผิด
- บ.เอกชนข้ามชาติสามารถฟ้องร้องรัฐบาลไทยได้หากออกนโยบายที่ขัดผลประโยชน์เอกชนผ่านอนุญาโตตุลาการ Investor-State Dispute Settlement (ISDS) เช่นที่ออสเตรเรียออกกฎหมายห้ามโฆษณาบุหรี่ ก็โดนเอกชนฟ้องเรียกค่าเสียหายหลายล้าน ถ้าที่ไทยคงคล้ายๆกรณีค่าโง่ทางด่วน
- ต่างชาติสามารถถือครองหุ้นในไทย รวมถึงที่ดินได้100% อันนี้กลุ่มBankในไทยเตรียมตัวโดนได้เลยครับไม่น่าเหลือ
- อนึ่งสัญญาTPPไม่ผ่านรัฐสภาของUSA ใช้กฎหมายFast-track โดยมีเพียงคณะรัฐมนตรีของโอบาม่าและบริษัทยักษ์ใหญ่ของสหรัฐที่ได้เห็นสัญญาฉบับเต็ม
-
- Verified User
- โพสต์: 89
- ผู้ติดตาม: 1
Re: TPP กับหุ้น/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 8
ด้วยความเคารพนะครับ
ในกรณีของสหรัฐ ข้อตกลง TPP ต้องนำกลับไปให้รัฐสภาของสหรัฐให้ความเห็นชอบอีกครั้งนึงนะครับ กฎหมายFast track ให้อำนาจประธานาธิบดีไปเจรจาโดยที่หลังจากเจรจาเสร็จแล้วข้อตกลงที่ตกลงมาต้องนำมาผ่านสภาอีกครั้งนึงโดยสภามีสิทธิ์ที่จะรับหรือไม่รับก็ได้(ถ้าไม่รับก็ตกไป) ทั้งฉบับโดยไม่มีสิทธิ์แก้ไข(เพราะเป็นข้อตกลงกับอีกหลายประเทศถ้าสภาจะแก้ไขก็ต้องกลับไปเจรจากับประเทศคู่สัญญาอีก ก็จะไม่จบเสียทีเลยต้องใช้กฏหมายFast trackไงครับ)
อย่าเข้าใจผิดนะครับ พอดีไม่อยากให้copyที่ไม่ครบถ้วนไปอ้างอิงนะครับ
ในกรณีของสหรัฐ ข้อตกลง TPP ต้องนำกลับไปให้รัฐสภาของสหรัฐให้ความเห็นชอบอีกครั้งนึงนะครับ กฎหมายFast track ให้อำนาจประธานาธิบดีไปเจรจาโดยที่หลังจากเจรจาเสร็จแล้วข้อตกลงที่ตกลงมาต้องนำมาผ่านสภาอีกครั้งนึงโดยสภามีสิทธิ์ที่จะรับหรือไม่รับก็ได้(ถ้าไม่รับก็ตกไป) ทั้งฉบับโดยไม่มีสิทธิ์แก้ไข(เพราะเป็นข้อตกลงกับอีกหลายประเทศถ้าสภาจะแก้ไขก็ต้องกลับไปเจรจากับประเทศคู่สัญญาอีก ก็จะไม่จบเสียทีเลยต้องใช้กฏหมายFast trackไงครับ)
อย่าเข้าใจผิดนะครับ พอดีไม่อยากให้copyที่ไม่ครบถ้วนไปอ้างอิงนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 79
- ผู้ติดตาม: 0
Re: TPP กับหุ้น/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 9
โดยส่วนตัวไม่เคยทราบข่าวเรื่องข้อตกลง TPP นี้มาก่อน
แต่ก็เห็นด้วยกับหลายๆท่านด้านบน ต่อให้เราเข้าร่วมก็คงทั้งได้และเสียประโยชน์ในด้านต่างๆกัน
แต่ที่ผมค่อนข้างเห็นด้วยและกังวลมากคือสภาพการเมืองในปัจจุบันที่นโยบายทางเศรษฐกิจค่อนข้างฉาบฉวยและไม่มีทิศทางชัดเจนมานานหลายปี รวมถึงสังคมที่ผมสัมผัสก็สนใจเพียงว่าเรื่องนี้ใครคิด ผิด-ถูกแบบดำขาว คนดี-คนไม่ดี ทำให้ไม่ได้ช่วยกันตรวจสอบหรือเสนอรายละเอียดต่างๆ
ทำให้กลัวว่าอนาคตเราจะต้องโดนทิ้งไว้ขณะที่ประเทศรอบๆสร้างจุดแข็งและเดินไป
หรืออาจจะโดนฟ้องร้องเสียเงินมากมายให้กับบริษัทข้ามชาติทั้งๆที่สัญญาเราก็ร่วมกันร่างเหมือนในอดีตไหม
แต่ก็เห็นด้วยกับหลายๆท่านด้านบน ต่อให้เราเข้าร่วมก็คงทั้งได้และเสียประโยชน์ในด้านต่างๆกัน
แต่ที่ผมค่อนข้างเห็นด้วยและกังวลมากคือสภาพการเมืองในปัจจุบันที่นโยบายทางเศรษฐกิจค่อนข้างฉาบฉวยและไม่มีทิศทางชัดเจนมานานหลายปี รวมถึงสังคมที่ผมสัมผัสก็สนใจเพียงว่าเรื่องนี้ใครคิด ผิด-ถูกแบบดำขาว คนดี-คนไม่ดี ทำให้ไม่ได้ช่วยกันตรวจสอบหรือเสนอรายละเอียดต่างๆ
ทำให้กลัวว่าอนาคตเราจะต้องโดนทิ้งไว้ขณะที่ประเทศรอบๆสร้างจุดแข็งและเดินไป
หรืออาจจะโดนฟ้องร้องเสียเงินมากมายให้กับบริษัทข้ามชาติทั้งๆที่สัญญาเราก็ร่วมกันร่างเหมือนในอดีตไหม
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4366
- ผู้ติดตาม: 1
Re: TPP กับหุ้น/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 10
ข้อตกลง TPP อย่าผลีผลามตามแห่...
http://m.prachachat.net/news_detail.php ... 1446712927
http://m.prachachat.net/news_detail.php ... 1446712927
-
- Verified User
- โพสต์: 5826
- ผู้ติดตาม: 0
Re: TPP กับหุ้น/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 11
http://www.posttoday.com/world/news/398368
เงื่อนไข'ทีพีพี'มะกันกุมค้าโลก .... อ่านต่อได้ที่ : http://www.posttoday.com/world/news/398368
เงื่อนไข'ทีพีพี'มะกันกุมค้าโลก .... อ่านต่อได้ที่ : http://www.posttoday.com/world/news/398368
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4366
- ผู้ติดตาม: 1
Re: TPP กับหุ้น/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 12
อ่านแล้วก็พอเห็นภาพครับpipatc เขียน:เงื่อนไข'ทีพีพี'มะกันกุมค้าโลก .... อ่านต่อได้ที่ : http://www.posttoday.com/world/news/398368
ศึกระดับโลกระหว่างแชมป์เก่าสหรัฐ กับผู้ท้าชิงอันดับหนึ่งจีน
สหรัฐกับ TPP
จีนกับการเอาหยวนเข้า SDRs
จีนตกลงค้าขายกับรัสเซียด้วยเงินสกุลท้องถิ่น
ปัญหาข้อพิพาทในทะเลจีนใต้
การตั้ง AIIB มาต่อกรกับ World Bank, ADB
ไม่แน่นะครับ AEC อาจเป็นพื้นที่เปิดศึกครั้งใหม่ในอีกไม่นาน
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4366
- ผู้ติดตาม: 1
Re: TPP กับหุ้น/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 13
ไม่ทันขาดคำ...
ประชุม "อาเซียน" ไร้แถลงการณ์ "มะกัน-จีน" ยึดเวทีประลองกำลัง
http://m.prachachat.net/news_detail.php ... 1446903845
ประชุม "อาเซียน" ไร้แถลงการณ์ "มะกัน-จีน" ยึดเวทีประลองกำลัง
http://m.prachachat.net/news_detail.php ... 1446903845
-
- Verified User
- โพสต์: 428
- ผู้ติดตาม: 0
Re: TPP กับหุ้น/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 14
กลุ่มเศรษฐกิจ(การเมือง) 2-3ปีตั้งกลุ่มนึง ผมว่ามันเยอะเกินไปแล้ว
ตอนคุยตกลงกันก็มีทั้ง ภวิภาคี พหุภาคี
จริงๆมันน่าจะมีแค่ World Trade Organization, WTO องค์กรณ์เดียวก็พอ
แต่นี่ตอนนี้ คงมีหลายสิบองค์กรณ์ จำไม่หมด
ผมเคยฟังกระทรวงพาณิชย์ บอกว่า ต่อไปการค้าทั้งโลก จะปฏิบัติตามกฏของ WTO
แต่ตอนนี้ ประเทศใหญ่ๆ มันไปตั้ง องค์กรณ์ อะไรของมันเต็มไปหมด
แล้วมันก็ใช้อัตราภาษีที่ไม่เท่ากันระหว่างประเทศสมาชิกกับประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก
ประเทศใหญ่ๆมันยังเอาการเมืองใส่เข้าไปอีก โดยเฉพาะ TPP ตั้งขึ้นมาเพื่อโดดเดี่ยวจีนโดยเฉพาะ
แต่องค์กรณ์พวกนี้ มีประโยชน์ทำให้ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวง ตปท มีตำแหน่งงานมากขึ้น
ตอนคุยตกลงกันก็มีทั้ง ภวิภาคี พหุภาคี
จริงๆมันน่าจะมีแค่ World Trade Organization, WTO องค์กรณ์เดียวก็พอ
แต่นี่ตอนนี้ คงมีหลายสิบองค์กรณ์ จำไม่หมด
ผมเคยฟังกระทรวงพาณิชย์ บอกว่า ต่อไปการค้าทั้งโลก จะปฏิบัติตามกฏของ WTO
แต่ตอนนี้ ประเทศใหญ่ๆ มันไปตั้ง องค์กรณ์ อะไรของมันเต็มไปหมด
แล้วมันก็ใช้อัตราภาษีที่ไม่เท่ากันระหว่างประเทศสมาชิกกับประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก
ประเทศใหญ่ๆมันยังเอาการเมืองใส่เข้าไปอีก โดยเฉพาะ TPP ตั้งขึ้นมาเพื่อโดดเดี่ยวจีนโดยเฉพาะ
แต่องค์กรณ์พวกนี้ มีประโยชน์ทำให้ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวง ตปท มีตำแหน่งงานมากขึ้น
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4366
- ผู้ติดตาม: 1
Re: TPP กับหุ้น/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 15
จีนลุยเข็น FTAAP เข้าซัมมิตเอเปก
จีนเตรียมผลักดันการเจรจาทำความตกลงเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (เอฟทีเอเอพี) ที่หมายมั่นขับเคี่ยวกับทีพีพี เข้าสู่การประชุมสุดยอดผู้นำเอเปกสัปดาห์หน้า ขณะรัฐมนตรีต่างประเทศเยือนฟิลิปปินส์กรุยทางให้ "สีจิ้นผิง" รัฐบาลเจ้าบ้านรับปากข้อพิพาททะเลจีนใต้ไม่อยู่ในวาระแน่
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานอ้างคำแถลงของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีนที่กรุงปักกิ่งเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่า จีนเตรียมจะรายงานผลการศึกษาการจัดทำเอฟทีเอเอพีต่อที่ประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) ที่ฟิลิปปินส์ ระหว่างวันที่ 17-19 พ.ย.นี้ ซึ่งประธานาธิบดีสีจิ้นผิงจะมาเข้าร่วมด้วย
จีนได้พยายามส่งเสริมเขตการค้าเสรีนี้เข้าสู่การประชุมเอเปกที่จีนเป็นเจ้าภาพเมื่อปีที่แล้ว ปิดท้ายการประชุมคราวนั้น ที่ประชุมได้สนับสนุนการสำรวจแนวคิดการจัดทำความตกลงเอฟทีเอเอพีนี้ ซึ่งถูกมองว่าจะเป็นคู่แข่งของความตกลงหุ้นส่วนข้ามแปซิฟิก (ทีพีพี) เขตการค้าที่มี 12 ชาติสมาชิก ซึ่งสหรัฐเป็นโต้โผชักชวนประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ๆ ในภูมิภาคนี้เข้าร่วม แต่กลับไม่นับรวมจีนเข้าไปด้วย
ขณะที่เอฟทีเอเอพีของจีนยังไม่เป็นรูปเป็นร่างนัก ทีพีพีของสหรัฐสามารถบรรลุความตกลงกันได้เมื่อเดือนที่แล้ว และเนื้อหาของความตกลงที่เป็นความลับสุดยอดได้รับการเผยแพร่ต่อสาธารณะเป็นครั้งแรกเมื่อวันพฤหัสบดีก่อน เรียกปฏิกิริยายินดีปรีดาจากกลุ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจทั่วโลก แต่กลับถูกเดียดฉันท์ทั้งจากกลุ่มแรงงาน, สิ่งแวดล้อม และด้านสาธารณสุข ที่ให้คำมั่นว่าจะต่อสู้ไม่ให้ทีพีพีผ่านการลงสัตยาบันในแต่ละประเทศ
หวังโซ่วเหวิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ของจีน กล่าวระหว่างการแถลงข่าวว่า จีนจำเป็นต้องทำงานอย่างแข็งขันเพื่อก่อตั้งเอฟทีเอเอพี ซึ่งจะเป็น "เครื่องอำนวยความสะดวกต่อการรวมตัวทางเศรษฐกิจของเอเปก" และจีนตั้งความหวังว่า เวทีเอเปกคราวนี้จะสามารถจัดทำโรดแมปสำหรับกรอบการทำงานเพื่อจัดตั้งเอฟทีเอเอพีได้เสร็จสมบูรณ์
"เป้าหมายของเราคือ ทำการศึกษาเชิงยุทธศาสตร์ร่วมกันให้เสร็จในปีหน้า และส่งข้อเสนอแนะและข้อแนะเชิงปฏิบัติการต่อบรรดาผู้นำในการประชุมซัมมิตปีหน้า" หวังกล่าว และว่า จีนจะเสนอรายงานความคืบหน้าต่อผู้นำชาติต่างๆ ที่กรุงมะนิลาครั้งนี้ด้วย
หากเอฟทีเอเอพีเกิดเป็นความจริงได้ในท้ายที่สุด ความตกลงนี้จะเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก แซงหน้าทีพีพีซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจรวมกันราว 40% ของโลก
วันเดียวกัน หวังอี้ รัฐมนตรีต่างประเทศของจีน ได้เดินทางเยือนกรุงมะนิลาและเข้าพบหารือกับประธานาธิบดีเบนิกโน อากีโน และรัฐมนตรีต่างประเทศ อัลเบิร์ต เดล โรซาริโอ ของฟิลิปปินส์ เพื่อเตรียมการสำหรับการเดินทางของสีเพื่อร่วมประชุมเอเปก
เฮอร์มินิโอ โคโลมา โฆษกของอากีโนเปิดเผยภายหลังการพบปะครั้งนี้ว่า อากีโนได้แสดงความยินดีที่ประธานาธิบดีสีตัดสินใจมาร่วมซัมมิตเอเปก อากีโนได้ให้คำรับประกันต่อหวังด้วยว่า ฟิลิปปินส์มีวัฒนธรรมในฐานะเจ้าบ้าน ที่จะต้องทำให้แขกผู้มาเยือนรู้สึกอุ่นใจกับการต้อนรับขับสู้ของเจ้าบ้าน
ส่วนชาร์ลส์ โฮเซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า รัฐมนตรีหวัง ซึ่งไม่เปิดเผยข้อมูลใดๆ กับผู้สื่อข่าว มาเยือนฟิลิปปินส์วันนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าการเยือนของประธานาธิบดีสีจะราบรื่น, ปลอดภัย และประสบความสำเร็จ รัฐมนตรีจีนได้ตั้งความหวังด้วยว่า ประเด็นที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันจะไม่ถูกหยิบยกขึ้นมาหารือในที่ประชุมนี้ ส่วนทางฟิลิปปินส์เองก็จะยกประเด็นทะเลจีนใต้ขึ้นหารือเช่นกัน เนื่องจากคดียังรอการพิจารณาของศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศขององค์การสหประชาชาติ
http://www.thaipost.net/?q=จีนลุยเข็นft ... ัมมิตเอเปก
จีนเตรียมผลักดันการเจรจาทำความตกลงเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (เอฟทีเอเอพี) ที่หมายมั่นขับเคี่ยวกับทีพีพี เข้าสู่การประชุมสุดยอดผู้นำเอเปกสัปดาห์หน้า ขณะรัฐมนตรีต่างประเทศเยือนฟิลิปปินส์กรุยทางให้ "สีจิ้นผิง" รัฐบาลเจ้าบ้านรับปากข้อพิพาททะเลจีนใต้ไม่อยู่ในวาระแน่
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานอ้างคำแถลงของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีนที่กรุงปักกิ่งเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่า จีนเตรียมจะรายงานผลการศึกษาการจัดทำเอฟทีเอเอพีต่อที่ประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) ที่ฟิลิปปินส์ ระหว่างวันที่ 17-19 พ.ย.นี้ ซึ่งประธานาธิบดีสีจิ้นผิงจะมาเข้าร่วมด้วย
จีนได้พยายามส่งเสริมเขตการค้าเสรีนี้เข้าสู่การประชุมเอเปกที่จีนเป็นเจ้าภาพเมื่อปีที่แล้ว ปิดท้ายการประชุมคราวนั้น ที่ประชุมได้สนับสนุนการสำรวจแนวคิดการจัดทำความตกลงเอฟทีเอเอพีนี้ ซึ่งถูกมองว่าจะเป็นคู่แข่งของความตกลงหุ้นส่วนข้ามแปซิฟิก (ทีพีพี) เขตการค้าที่มี 12 ชาติสมาชิก ซึ่งสหรัฐเป็นโต้โผชักชวนประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ๆ ในภูมิภาคนี้เข้าร่วม แต่กลับไม่นับรวมจีนเข้าไปด้วย
ขณะที่เอฟทีเอเอพีของจีนยังไม่เป็นรูปเป็นร่างนัก ทีพีพีของสหรัฐสามารถบรรลุความตกลงกันได้เมื่อเดือนที่แล้ว และเนื้อหาของความตกลงที่เป็นความลับสุดยอดได้รับการเผยแพร่ต่อสาธารณะเป็นครั้งแรกเมื่อวันพฤหัสบดีก่อน เรียกปฏิกิริยายินดีปรีดาจากกลุ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจทั่วโลก แต่กลับถูกเดียดฉันท์ทั้งจากกลุ่มแรงงาน, สิ่งแวดล้อม และด้านสาธารณสุข ที่ให้คำมั่นว่าจะต่อสู้ไม่ให้ทีพีพีผ่านการลงสัตยาบันในแต่ละประเทศ
หวังโซ่วเหวิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ของจีน กล่าวระหว่างการแถลงข่าวว่า จีนจำเป็นต้องทำงานอย่างแข็งขันเพื่อก่อตั้งเอฟทีเอเอพี ซึ่งจะเป็น "เครื่องอำนวยความสะดวกต่อการรวมตัวทางเศรษฐกิจของเอเปก" และจีนตั้งความหวังว่า เวทีเอเปกคราวนี้จะสามารถจัดทำโรดแมปสำหรับกรอบการทำงานเพื่อจัดตั้งเอฟทีเอเอพีได้เสร็จสมบูรณ์
"เป้าหมายของเราคือ ทำการศึกษาเชิงยุทธศาสตร์ร่วมกันให้เสร็จในปีหน้า และส่งข้อเสนอแนะและข้อแนะเชิงปฏิบัติการต่อบรรดาผู้นำในการประชุมซัมมิตปีหน้า" หวังกล่าว และว่า จีนจะเสนอรายงานความคืบหน้าต่อผู้นำชาติต่างๆ ที่กรุงมะนิลาครั้งนี้ด้วย
หากเอฟทีเอเอพีเกิดเป็นความจริงได้ในท้ายที่สุด ความตกลงนี้จะเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก แซงหน้าทีพีพีซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจรวมกันราว 40% ของโลก
วันเดียวกัน หวังอี้ รัฐมนตรีต่างประเทศของจีน ได้เดินทางเยือนกรุงมะนิลาและเข้าพบหารือกับประธานาธิบดีเบนิกโน อากีโน และรัฐมนตรีต่างประเทศ อัลเบิร์ต เดล โรซาริโอ ของฟิลิปปินส์ เพื่อเตรียมการสำหรับการเดินทางของสีเพื่อร่วมประชุมเอเปก
เฮอร์มินิโอ โคโลมา โฆษกของอากีโนเปิดเผยภายหลังการพบปะครั้งนี้ว่า อากีโนได้แสดงความยินดีที่ประธานาธิบดีสีตัดสินใจมาร่วมซัมมิตเอเปก อากีโนได้ให้คำรับประกันต่อหวังด้วยว่า ฟิลิปปินส์มีวัฒนธรรมในฐานะเจ้าบ้าน ที่จะต้องทำให้แขกผู้มาเยือนรู้สึกอุ่นใจกับการต้อนรับขับสู้ของเจ้าบ้าน
ส่วนชาร์ลส์ โฮเซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า รัฐมนตรีหวัง ซึ่งไม่เปิดเผยข้อมูลใดๆ กับผู้สื่อข่าว มาเยือนฟิลิปปินส์วันนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าการเยือนของประธานาธิบดีสีจะราบรื่น, ปลอดภัย และประสบความสำเร็จ รัฐมนตรีจีนได้ตั้งความหวังด้วยว่า ประเด็นที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันจะไม่ถูกหยิบยกขึ้นมาหารือในที่ประชุมนี้ ส่วนทางฟิลิปปินส์เองก็จะยกประเด็นทะเลจีนใต้ขึ้นหารือเช่นกัน เนื่องจากคดียังรอการพิจารณาของศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศขององค์การสหประชาชาติ
http://www.thaipost.net/?q=จีนลุยเข็นft ... ัมมิตเอเปก