ความเสี่ยงของหุ้นกลุ่มธนาคาร
-
- Verified User
- โพสต์: 1724
- ผู้ติดตาม: 1
ความเสี่ยงของหุ้นกลุ่มธนาคาร
โพสต์ที่ 1
เรื่องที่ผลประกอบการของธนาคารผันผวน อ่อนไหวไปตามภาวะเศรษฐกิจนั้น ผมคิดว่ายังไม่เป็นจุดอ่อนแบบคอขาดบาดตายเนื่องจาก เศรษฐกิจปกติแล้วจะเป็นวัฏจักรมีขึ้น มีลง แต่ที่ผมห่วง คือ ความเสี่ยงเรื่องของการหารายได้ ผมเข้าใจว่าปกติธนาคารมีรายได้หลักๆ คือ การปล่อยสินเชื่อ หรือการถือหลักทรัพย์ลงทุนต่างๆ และก็มีเรื่องของรายได้นอกงบดุล พวกค่าธรรมเนียมต่างๆ อยากถามความเห็นพี่ๆว่าเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบันจะส่งผลต่อการหารายได้จากค่าธรรมเนียมบ้างมั้ยครับ คือโอกาสในการหารายได้จากค่าธรรมเนียมของธนาคารจะต่ำลงจนถึงหมดไปเป็นไปได้มั้ยครับ
- Paul Octopus
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ความเสี่ยงของหุ้นกลุ่มธนาคาร
โพสต์ที่ 2
การกำเหนิดขึ้นของ Blockchain technology ที่ก่อให้เกิด Bitcoin เป็นเรื่องเดียวที่ทำให้ผมกังวลใจต่อ ธุรกิจของ ธนาคาร ว่าจะต้องปรับตัวไปอย่างไร และ ในท้ายสุดธนาคารต่างๆจะได้ประโยชน์หรือสูญเสียจุดขาย คือ "ความเป็นตัวกลางของการแลกเปลี่ยนทางการเงิน" ไปตลอดกาลหรือไม่
เพื่อนๆที่ลงทุนในกลุ่มการธนาคาร น่าจะติดตามเรื่องนี้ให้ดีนะครับ
เพื่อนๆที่ลงทุนในกลุ่มการธนาคาร น่าจะติดตามเรื่องนี้ให้ดีนะครับ
Disclaimer & Disclosure: The articles posted only represent my personal view. They are by no means a guarantee to the stock performance. Have no plan to change my position to the stock mentioned over the next 72 hrs.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 676
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ความเสี่ยงของหุ้นกลุ่มธนาคาร
โพสต์ที่ 4
โดยธรรมชาติ หุ้นสถาบันทางการเงิน มีความเสี่ยงสูงอยู่แล้ว พิจารณาได้จากอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน และแหล่งรายได้มาจากความเชื่อมั่นและกระดาษ
แต่ต้องยอมรับว่า ทุกประเทศ มุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อภาคธุรกิจการเงิน ซึ่งจัดเป็นอุตสาหกรรมหลักนอกเหนือจากยานยนต์-อสังหา-ค้าปลีก เพราะเป็นตัวกลไกปฐมภูมิที่ผลักดันและช่วยอัดฉีดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นทุนนิยม หรือสังคมนิยม
ดังนั้นเศรษฐกิจภาพรวมประเทศใด มีปัญหาย่อมส่งผลกระทบต่อภาคสถาบันทางการเงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และในทำนองเดียวกันหากสถาบันทางการเงินประเทศใดส่งสัญญาณว่าประสบปัญหาเรื่องการปล่อยสินเชื่อ และคุณภาพลูกหนี้(หนี้เสีย) ก็ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ทั้งในเศรษฐกิจจุลภาคและมหภาค
ผมกลับมองว่านักลงทุนควรให้ความสำคัญกับรายได้รวม ทั้งในแง่คุณภาพ ปริมาณ รวมถึงแหล่งที่มาเป็นอันดับแรก เพราะยังไงก็ตามธุรกิจที่มีรายได้สูงย่อมได้เปรียบและมีความยืดหยุ่น ทนทานกว่า หากเศรษฐกิจโดยรวมประสบปัญหาชะลอตัวชะงักงันถดถอย เพราะยังมีความสามารถในการทำมาหาได้ที่สูงกว่า มีโอกาสบริหารความคุ้มทุนได้ดีกว่าธุรกิจที่มีรายได้รวมต่ำ (เสี่ยงขาดทุนน้อยกว่า)
ภาคธนาคารในประเทศไทย ผมมองว่ามีหลายแห่งที่น่าสนใจทั้งในแง่อัตราส่วน P/E P/B div เทียบกับความมั่นคงความเข้มแข็งกิจการที่เป็น Blueship ของอุตสาหกรรมอื่น หรือกิจการเล็กๆ บางแห่ง no-name ที่มีอัตราส่วนให้ผลตอบแทนต่อนักลงทุนใกล้เคียงกัน
จริงอยู่ที่ต้องระมัดระวังในเรื่องของ "คุณภาพกำไร" นั่นคือ หนี้เสียและการตั้งสำรอง รวมถึงเงินดำรงกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (basel III) แต่ว่ามีพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2558 เน้นเรื่องการรับผิดในการค้ำประกัน และพรบ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2558 โดยประกาศใช้ตั้งแต่ไตรมาส 3 ปีนี้ ซึ่งทั้ง 2 ฉบับล้วนเอื้อประโยชน์ต่อสถาบันการเงิน และน่าจะช่วยอุดช่องโหว่นี้ได้บ้างไม่มากก็น้อยครับ
แต่ต้องยอมรับว่า ทุกประเทศ มุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อภาคธุรกิจการเงิน ซึ่งจัดเป็นอุตสาหกรรมหลักนอกเหนือจากยานยนต์-อสังหา-ค้าปลีก เพราะเป็นตัวกลไกปฐมภูมิที่ผลักดันและช่วยอัดฉีดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นทุนนิยม หรือสังคมนิยม
ดังนั้นเศรษฐกิจภาพรวมประเทศใด มีปัญหาย่อมส่งผลกระทบต่อภาคสถาบันทางการเงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และในทำนองเดียวกันหากสถาบันทางการเงินประเทศใดส่งสัญญาณว่าประสบปัญหาเรื่องการปล่อยสินเชื่อ และคุณภาพลูกหนี้(หนี้เสีย) ก็ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ทั้งในเศรษฐกิจจุลภาคและมหภาค
ผมกลับมองว่านักลงทุนควรให้ความสำคัญกับรายได้รวม ทั้งในแง่คุณภาพ ปริมาณ รวมถึงแหล่งที่มาเป็นอันดับแรก เพราะยังไงก็ตามธุรกิจที่มีรายได้สูงย่อมได้เปรียบและมีความยืดหยุ่น ทนทานกว่า หากเศรษฐกิจโดยรวมประสบปัญหาชะลอตัวชะงักงันถดถอย เพราะยังมีความสามารถในการทำมาหาได้ที่สูงกว่า มีโอกาสบริหารความคุ้มทุนได้ดีกว่าธุรกิจที่มีรายได้รวมต่ำ (เสี่ยงขาดทุนน้อยกว่า)
ภาคธนาคารในประเทศไทย ผมมองว่ามีหลายแห่งที่น่าสนใจทั้งในแง่อัตราส่วน P/E P/B div เทียบกับความมั่นคงความเข้มแข็งกิจการที่เป็น Blueship ของอุตสาหกรรมอื่น หรือกิจการเล็กๆ บางแห่ง no-name ที่มีอัตราส่วนให้ผลตอบแทนต่อนักลงทุนใกล้เคียงกัน
จริงอยู่ที่ต้องระมัดระวังในเรื่องของ "คุณภาพกำไร" นั่นคือ หนี้เสียและการตั้งสำรอง รวมถึงเงินดำรงกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (basel III) แต่ว่ามีพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2558 เน้นเรื่องการรับผิดในการค้ำประกัน และพรบ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2558 โดยประกาศใช้ตั้งแต่ไตรมาส 3 ปีนี้ ซึ่งทั้ง 2 ฉบับล้วนเอื้อประโยชน์ต่อสถาบันการเงิน และน่าจะช่วยอุดช่องโหว่นี้ได้บ้างไม่มากก็น้อยครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
กาย เวทนา จิต ธรรม
-
- Verified User
- โพสต์: 153
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ความเสี่ยงของหุ้นกลุ่มธนาคาร
โพสต์ที่ 5
ตอนนี้เท่าที่รู้มา broker (non bank) ไม่มี margin ให้ลูกค้ากู้ครับ เจ้าหน้าที่แจ้งว่าวงเงินของบริษัทเต็มแล้วทศพร29 เขียน:ปัญหาหนี้เสียที่รออวันประทุ ดูน่ากลัวและส่งผลกระทบหนักกว่าเรื่องหารายได้เยอะครับ
ซึ่งอันนี้เจอมากับตัวเลยครับ และเจ้าหน้าที่แจ้งว่าเป็นแบบนี้ในหลายๆ โบรเกอร์ เพราะธนาคารไม่ปล่อยกู้ คิดๆ
แล้วก็แอบสยองนิดๆ ถ้าหุ้นตกหนักๆ จะเกิดอะไรขึ้น...
มงคลชีวิต 38 ประการ
คือ บทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญ หรือ มี "มงคลชีวิต" ซึ่งมี ทั้งหมด ๓๘ ประการ
คือ บทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญ หรือ มี "มงคลชีวิต" ซึ่งมี ทั้งหมด ๓๘ ประการ
- anubist
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1373
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ความเสี่ยงของหุ้นกลุ่มธนาคาร
โพสต์ที่ 7
ค่าธรรมเนียมมีหลายส่วนครับ
หลักๆมาจากค่าจัดการให้กู้ซึ่งแปรตามยอดปล่อยใหม่
ส่วค่าธรรมเนียมการโอน/ชำระเงิน ผมว่าน่าจะออฟเซทกันหรืออาจโตขึ้นก็ได้
รายได้ต่อทรานเซคชั่นต่ำลง แต่จำนวนทรานแซคชั่นสูงขึ้นจากการเติบโตของe-commerce
ที่ผมกลัวคือคู่แข่งรายใหม่อย่างอาลีบาบาของJACK MA
ที่ทำตัวเป็นทั้งตลาด ทั้งตัวกลางการชำระเงิน และปล่อยเครดิต
ปล.แต่ผมอยากให้มานะ
"But we will definitely be in Thailand"
http://www.stock2morrow.com/article-detail.php?id=383
หลักๆมาจากค่าจัดการให้กู้ซึ่งแปรตามยอดปล่อยใหม่
ส่วค่าธรรมเนียมการโอน/ชำระเงิน ผมว่าน่าจะออฟเซทกันหรืออาจโตขึ้นก็ได้
รายได้ต่อทรานเซคชั่นต่ำลง แต่จำนวนทรานแซคชั่นสูงขึ้นจากการเติบโตของe-commerce
ที่ผมกลัวคือคู่แข่งรายใหม่อย่างอาลีบาบาของJACK MA
ที่ทำตัวเป็นทั้งตลาด ทั้งตัวกลางการชำระเงิน และปล่อยเครดิต
ปล.แต่ผมอยากให้มานะ
"But we will definitely be in Thailand"
http://www.stock2morrow.com/article-detail.php?id=383
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 296
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ความเสี่ยงของหุ้นกลุ่มธนาคาร
โพสต์ที่ 8
ยังกินส่วนต่างดอกเบี้ยสบาย ยิ่งเป็นเทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้นยิ่งสบาย เศรษฐกิจฟื้นแบงก์จะค่อยๆดีขึ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 897
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ความเสี่ยงของหุ้นกลุ่มธนาคาร
โพสต์ที่ 9
Fintech ความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งที่คล้ายๆกับกับ พี่หมึกpaulFintech Startup – Mega Trend ของอุตสาหกรรมการเงินโลกครับ โดย เจษฎา สุขทิศ & ชยนนท์ รักกาญจนันท์ INFINITI Global Investors, The Ultimate Investment Solution
บทความด้านการลงทุนรูปแบบใหม่ The War Room โดยคุณชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือที่หลายท่านรู้จักกันในนาม Mr.Messenger ผู้คร่ำหวอดในวงการที่ปรึกษาการลงทุน และ คุณเจษฎา สุขทิศ, CFA เจ้าของนามปากกา FundTalk ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่อง Fintech Startup ซึ่งเราทั้งสองคนเห็นตรงกันว่าเป็นประเด็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งสำหรับอุตสาหกรรมการเงินโลกและประเทศไทย
เจษฎา วันนี้มาแบบแหวกแนวเลยนะครับพี่แบงค์ ว่าแต่ Fintech Startup มันคืออะไรครับ
ชยนนท์ Fintech คือการผสมระหว่างคำว่า Finance กับคำว่า Technology หรือการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะระบบการสื่อสารออนไลน์มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจด้านการเงิน การธนาคาร และการลงทุน โดยมากกว่าการประยุกต์แล้วในหลายครั้งยังเป็นการ Disrupt ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคจากแบบเดิมไปสู่สิ่งใหม่อีกด้วย คล้ายๆ กับวันที่ Apple ผลิต iPhone ออกมาและนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคจากการใช้มือถือแบบมีปุ่มกดเป็นมือถือระบบสัมผัสอย่างนั้นน่ะครับ ส่วน Startup นั้นหมายถึงการเกิดขึ้นของธุรกิจซึ่งส่วนมากเป็นเรื่องของเทคโนโลยี ในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมสำหรับผู้บริโภคที่สามารถทำการขยายได้ในวงกว้าง แล้วคุณเจทคิดว่า Fintech ที่จะมีในเมืองไทยนี่จะเกิดขึ้นเร็ว หรือ เกิดขึ้นช้าอย่างไรครับ
เจษฎา สำหรับ Fintech ในเมืองไทยผมมองว่า “เกิดขึ้นแล้ว” ครับ เช่น การใช้โปรแกรม Streaming ในการซื้อขายหุ้นที่เริ่มมีความนิยมในการใช้เทรดหุ้น แทนการซื้อขายในห้องค้ามากขึ้น บริษัทอย่าง StockRadar ที่ทำโปรแกรมทางมือถือสำหรับเป็นเครื่องมือช่วยในการซื้อขายหุ้น ระบบ Payment API อย่าง Omise รวมไปถึงระบบ Crowd Funding ซึ่งเป็นวิธีการระดมทุนผ่านระบบ Online ซึ่งล่าสุดทางสำนักงาน กลต.ก็ได้ออกกฎหมายมารองรับแล้ว และน่าจะได้เห็นเกิดขึ้นในบ้านเราเร็วๆ นี้ ล่าสุดผมได้อ่านบทสัมภาษณ์ของ Jamie Dimon ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ JPMorgan ซึ่งเป็นธนาคารยักษ์ใหญ่อันดับต้นๆ ของโลก ท่านพูดเลยว่าคู่แข่งสำคัญของ JPMorgan ที่สำคัญจากนี้ไปไม่ใช่ธนาคารใหญ่ๆ ในอเมริกาอีกต่อไปแล้วแต่เป็นเหล่าบริษัท Fintech Startup ที่กำลังบ่มเพาะกันอยู่จำนวนมากโดยเฉพาะในแถบ Silicon Valley ในสหรัฐ แล้วคุณแบงค์มองยังไงกับบ้านเราครับ คิดว่ากระแส Mega Trend ในเรื่อง Fintech จะส่งผลอย่างไรต่ออุตสาหกรรมการเงินบ้านเราบ้าง
ชยนนท์ ผมมองว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้นแน่ครับ อยู่ที่ว่าจะเร็วหรือช้าเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ระบบการชำระเงินด้วยเครดิต จากเดิมที่ยักษ์ใหญ่ในโลกคือ VISA แต่เดี๋ยวนี้มีระบบการชำระเงินใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย อย่างเช่น Bitcoin ซึ่งมีค่าธรรมเนียมถูกกว่ามาก
ในธุรกิจซื้อขายหุ้นก็เช่นกัน เริ่มมีบริษัท Fintech หลายเจ้า อย่างเช่น Robinhood ซึ่งให้บริการซื้อขายหุ้นแบบ Zero Commission ถ้าเข้ามาในเมืองไทยนี่เราต้องปรับตัวกันมากเลยทีเดียว แน่นอนว่าผู้บริโภคย่อมได้ประโยชน์ แต่ผู้ให้บริการต้องปรับตัวกันครั้งใหญ่ครับงานนี้ คุณเจท ล่ะครับมองทิศทางการเติบโตของ Fintech Startup นี้อย่างไร
เจษฎา พอดีมีโอกาสได้ไปเข้าฟังสัมมนาเรื่อง Startup ที่จัดขึ้นในบ้านเราไม่นานมานี้ ผมมองว่าเรื่องนี้จะเกิดขึ้นเร็วอย่างน่าตกใจทีเดียวครับ ไม่ต่างอะไรกับการที่ Uber, GrabTaxi เข้ามามีบทบาทอย่างมากสำหรับคนที่ขึ้น Taxi หรือ Ensogo ซึ่งปัจจุบันถูกซื้อกิจการโดย Groupon ในสหรัฐไปแล้ว ซึ่งก็ได้รับความนิยมมาก ปัจจุบัน Startup ในประเทศไทยมีการจัดสภาพแวดล้อมที่แข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ เริ่มตั้งแต่การมี Incubator หรือ Accelerator เป็นศูนย์บ่มเพาะในการสร้าง Startup นำมาโดย 3 ค่ายมือถือยักษ์ใหญ่ในบ้านเรา การมี Coworking Space อย่าง Hubba ซึ่งเป็นแหล่งรวมคนที่ทำ Startup มาอยู่รวมกันและส่งเสริมซึ่งกันและกัน การมี Venture Capital และ Angel Investor ทั้งในและต่างประเทศที่พร้อมจะเข้าลงทุนในโปรเจกต์ที่น่าสนใจ ทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นแล้ว และกำลัง Active กันมากขึ้นเรื่อยๆ ครับ
ชยนนท์ ฟังคุณเจษฎาแล้ว น่าตื่นเต้นมากครับ มีอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นเยอะมากๆ ในช่วงปีสองปีนี้ และดูแล้วเรื่อง Fintech Startup น่าจะเป็นที่จับตามองมากในระยะเวลาต่อจากนี้ งานนี้เป็นโอกาสที่ดีของทั้งผู้ประกอบการรายใหม่และรายเก่าที่จะได้ช่วยกันสร้างสรรค์สิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้น นอกจากจะรอดูอย่างเดียวแล้ว ผมและคุณเจษฎาก็ขอมีส่วนในการสร้างสีสันให้กับวงการ Fintech บ้านเราด้วยแล้วกันนะครับ แล้วพบกันเร็วๆ นี้ครับ เครดิตhttp://www.phitsanulok.work/fintech-startup-me ... B8%87/2132
บทความด้านการลงทุนรูปแบบใหม่ The War Room โดยคุณชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือที่หลายท่านรู้จักกันในนาม Mr.Messenger ผู้คร่ำหวอดในวงการที่ปรึกษาการลงทุน และ คุณเจษฎา สุขทิศ, CFA เจ้าของนามปากกา FundTalk ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่อง Fintech Startup ซึ่งเราทั้งสองคนเห็นตรงกันว่าเป็นประเด็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งสำหรับอุตสาหกรรมการเงินโลกและประเทศไทย
เจษฎา วันนี้มาแบบแหวกแนวเลยนะครับพี่แบงค์ ว่าแต่ Fintech Startup มันคืออะไรครับ
ชยนนท์ Fintech คือการผสมระหว่างคำว่า Finance กับคำว่า Technology หรือการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะระบบการสื่อสารออนไลน์มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจด้านการเงิน การธนาคาร และการลงทุน โดยมากกว่าการประยุกต์แล้วในหลายครั้งยังเป็นการ Disrupt ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคจากแบบเดิมไปสู่สิ่งใหม่อีกด้วย คล้ายๆ กับวันที่ Apple ผลิต iPhone ออกมาและนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคจากการใช้มือถือแบบมีปุ่มกดเป็นมือถือระบบสัมผัสอย่างนั้นน่ะครับ ส่วน Startup นั้นหมายถึงการเกิดขึ้นของธุรกิจซึ่งส่วนมากเป็นเรื่องของเทคโนโลยี ในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมสำหรับผู้บริโภคที่สามารถทำการขยายได้ในวงกว้าง แล้วคุณเจทคิดว่า Fintech ที่จะมีในเมืองไทยนี่จะเกิดขึ้นเร็ว หรือ เกิดขึ้นช้าอย่างไรครับ
เจษฎา สำหรับ Fintech ในเมืองไทยผมมองว่า “เกิดขึ้นแล้ว” ครับ เช่น การใช้โปรแกรม Streaming ในการซื้อขายหุ้นที่เริ่มมีความนิยมในการใช้เทรดหุ้น แทนการซื้อขายในห้องค้ามากขึ้น บริษัทอย่าง StockRadar ที่ทำโปรแกรมทางมือถือสำหรับเป็นเครื่องมือช่วยในการซื้อขายหุ้น ระบบ Payment API อย่าง Omise รวมไปถึงระบบ Crowd Funding ซึ่งเป็นวิธีการระดมทุนผ่านระบบ Online ซึ่งล่าสุดทางสำนักงาน กลต.ก็ได้ออกกฎหมายมารองรับแล้ว และน่าจะได้เห็นเกิดขึ้นในบ้านเราเร็วๆ นี้ ล่าสุดผมได้อ่านบทสัมภาษณ์ของ Jamie Dimon ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ JPMorgan ซึ่งเป็นธนาคารยักษ์ใหญ่อันดับต้นๆ ของโลก ท่านพูดเลยว่าคู่แข่งสำคัญของ JPMorgan ที่สำคัญจากนี้ไปไม่ใช่ธนาคารใหญ่ๆ ในอเมริกาอีกต่อไปแล้วแต่เป็นเหล่าบริษัท Fintech Startup ที่กำลังบ่มเพาะกันอยู่จำนวนมากโดยเฉพาะในแถบ Silicon Valley ในสหรัฐ แล้วคุณแบงค์มองยังไงกับบ้านเราครับ คิดว่ากระแส Mega Trend ในเรื่อง Fintech จะส่งผลอย่างไรต่ออุตสาหกรรมการเงินบ้านเราบ้าง
ชยนนท์ ผมมองว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้นแน่ครับ อยู่ที่ว่าจะเร็วหรือช้าเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ระบบการชำระเงินด้วยเครดิต จากเดิมที่ยักษ์ใหญ่ในโลกคือ VISA แต่เดี๋ยวนี้มีระบบการชำระเงินใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย อย่างเช่น Bitcoin ซึ่งมีค่าธรรมเนียมถูกกว่ามาก
ในธุรกิจซื้อขายหุ้นก็เช่นกัน เริ่มมีบริษัท Fintech หลายเจ้า อย่างเช่น Robinhood ซึ่งให้บริการซื้อขายหุ้นแบบ Zero Commission ถ้าเข้ามาในเมืองไทยนี่เราต้องปรับตัวกันมากเลยทีเดียว แน่นอนว่าผู้บริโภคย่อมได้ประโยชน์ แต่ผู้ให้บริการต้องปรับตัวกันครั้งใหญ่ครับงานนี้ คุณเจท ล่ะครับมองทิศทางการเติบโตของ Fintech Startup นี้อย่างไร
เจษฎา พอดีมีโอกาสได้ไปเข้าฟังสัมมนาเรื่อง Startup ที่จัดขึ้นในบ้านเราไม่นานมานี้ ผมมองว่าเรื่องนี้จะเกิดขึ้นเร็วอย่างน่าตกใจทีเดียวครับ ไม่ต่างอะไรกับการที่ Uber, GrabTaxi เข้ามามีบทบาทอย่างมากสำหรับคนที่ขึ้น Taxi หรือ Ensogo ซึ่งปัจจุบันถูกซื้อกิจการโดย Groupon ในสหรัฐไปแล้ว ซึ่งก็ได้รับความนิยมมาก ปัจจุบัน Startup ในประเทศไทยมีการจัดสภาพแวดล้อมที่แข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ เริ่มตั้งแต่การมี Incubator หรือ Accelerator เป็นศูนย์บ่มเพาะในการสร้าง Startup นำมาโดย 3 ค่ายมือถือยักษ์ใหญ่ในบ้านเรา การมี Coworking Space อย่าง Hubba ซึ่งเป็นแหล่งรวมคนที่ทำ Startup มาอยู่รวมกันและส่งเสริมซึ่งกันและกัน การมี Venture Capital และ Angel Investor ทั้งในและต่างประเทศที่พร้อมจะเข้าลงทุนในโปรเจกต์ที่น่าสนใจ ทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นแล้ว และกำลัง Active กันมากขึ้นเรื่อยๆ ครับ
ชยนนท์ ฟังคุณเจษฎาแล้ว น่าตื่นเต้นมากครับ มีอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นเยอะมากๆ ในช่วงปีสองปีนี้ และดูแล้วเรื่อง Fintech Startup น่าจะเป็นที่จับตามองมากในระยะเวลาต่อจากนี้ งานนี้เป็นโอกาสที่ดีของทั้งผู้ประกอบการรายใหม่และรายเก่าที่จะได้ช่วยกันสร้างสรรค์สิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้น นอกจากจะรอดูอย่างเดียวแล้ว ผมและคุณเจษฎาก็ขอมีส่วนในการสร้างสีสันให้กับวงการ Fintech บ้านเราด้วยแล้วกันนะครับ แล้วพบกันเร็วๆ นี้ครับ เครดิตhttp://www.phitsanulok.work/fintech-startup-me ... B8%87/2132
-
- Verified User
- โพสต์: 897
- ผู้ติดตาม: 0