อนาคตที่ไม่แจ่มใสของเศรษฐกิจโลก (2)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1827
ผู้ติดตาม: 1

อนาคตที่ไม่แจ่มใสของเศรษฐกิจโลก (2)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ดังที่กล่าวเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า ผมมีความเป็นห่วงว่า สภาวการณ์ปัจจุบันที่เป็นผลมาจากความพยายามของแต่ละประเทศที่จะฟื้นเศรษฐกิจของตนนั้น กำลังสร้างเงื่อนไขให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวได้อย่างเชื่องช้าใน 5-10 ปีข้างหน้า ซึ่งในความเห็นของผมนั้น มีเหตุผลหลักอยู่ 4 ประการ คือ

1. ดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐอยู่ใกล้ศูนย์และดอกเบี้ย ระยะยาว (พันธบัตรรัฐบาล 10 ปี) อยู่ที่ประมาณ 1.9% ต่อปี แปลว่าการลงทุนในปัจจุบันทั้งหมดนั้นมีต้นทุนทางการเงินต่ำมาก ช่วยให้โครงการลงทุนทั้งหมดในสหรัฐให้ผลตอบแทนต่ำตามไปด้วย แต่การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนต่ำก็ย่อมต้องนำมาซึ่งการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ ต่ำเช่นกัน เพราะการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะยาวนั้นเป็นผลมาจากการลงทุนเป็นหลัก ในกรณีของยุโรปและญี่ปุ่นนั้นสถานการณ์ยิ่งแย่กว่า เพราะพันธบัตรรัฐบาลเยอรมัน 10 ปีให้ผลตอบแทนเพียง 0.2% และของญี่ปุ่นอยู่ใกล้ศูนย์ แปลว่าการลงทุนก็น่าจะให้ผลตอบแทนจริง (ในเชิงของการสร้างงานและเพิ่มผลผลิต) ยิ่งต่ำกว่าสหรัฐอเมริกาเสียอีก กล่าว คือดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางกดให้ต่ำติดดินทั้งดอกเบี้ยระยะสั้นและระยะยาวนั้น กำลังสะท้อนว่าในอนาคตนั้นเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวได้เชื่องช้ามาก

2. ดอกเบี้ยที่ต่ำแปลว่าผู้ที่ต้องพึ่งพารายได้จากผล ตอบแทนของการออมเงินกำลังได้รับผลกระทบในเชิงลบอย่างมาก ทำให้สถานการณ์ทางการเงินของคนกลุ่มนี้ย่ำแย่กว่าที่คาดการณ์เอาไว้มาก เช่น เดิมทีคาดการณ์ว่าเก็บเงินเอาไว้ 40 ล้านบาท ได้ผลตอบแทน 6% ต่อปี ก็จะมีรายได้จากดอกเบี้ย ทำให้มีเงินใช้จ่ายได้เดือนละ 2 แสนบาท ซึ่งถือว่ามีความร่ำรวยมั่นคงสูงมาก แต่ในสภาวการณ์ปัจจุบันที่พันธบัตรรัฐบาลไทย 10 ปีให้ผลตอบแทนไม่ถึง 2% แปลว่าการลงทุนให้ปลอดภัยนั้น เงิน 40 ล้านบาทอาจให้ผลตอบแทนเพียง 3% ต่อปี แปลว่ามีเงินใช้จ่ายรายเดือนเหลือเพียงครึ่งเดียวคือ 1 แสนบาทต่อเดือน เนื่องจากประชากรของโลกกำลังแก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว ทำให้คาดการณ์ได้ ว่าดอกเบี้ยที่ต่ำอย่างไม่เคยเห็นมาก่อนนั้น จะยิ่งทำให้อุปสงค์ในอนาคตไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้มากนัก และจะเป็นข้อจำกัดของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างยิ่ง

3. ปัญหาหนี้สินยังไม่ได้รับการแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนี้สาธารณะในยุโรป อเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นข้อจำกัดของนโยบายการคลังอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของประเทศกำลังพัฒนานั้นก็มีปัญหาทั้งหนี้สาธารณะ (เช่นเวียดนาม ลาว บราซิล) และปัญหาหนี้ภาคเอกชน (จีน) ตลอดจนปัญหาการตกต่ำของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (โอเปก ออสเตรเลีย แคนาดา แอฟริกาใต้) กล่าวคือผู้กำหนดนโยบายของโลกไม่ปล่อยให้กลไกตลาดทำงานเพื่อปรับลดกำลังการ ผลิตหลังวิกฤติเมื่อปี 2008 แต่กลับลดดอกเบี้ยเหลือศูนย์ ทำให้มีการลงทุนใหม่โดยไม่ได้สะสางและโละลดกำลังการผลิตเดิม ทำให้ปัจจุบันโลกที่มีกำลังการผลิตเกินความต้องการเป็นอย่างมาก และผู้ประกอบการแบกภาระหนี้ที่เกินความสามารถในการชดใช้คืน

4. นโยบายการเงินสุดโต่งที่ทำให้ราคาสินทรัพย์ปรับ เพิ่มขึ้นอย่างยกแผง (และความเชื่อมั่นของนักลงทุนว่าธนาคารกลางจะ “ดูแล” ราคาหุ้นไม่ให้ปรับลดลง มีแต่ขาขึ้น) ทำให้สถานะทางเศรษฐกิจของคนรวยฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว และดีกว่าก่อนวิกฤติเมื่อปี 2008 แต่คนจนและคนชั้นกลางนั้นสถานะทางเศรษฐกิจไม่ได้ฟื้นตัวมากนัก ทำให้เกิดความแตกแยกในเชิงการเมืองที่นับวันจะรุนแรงมากขึ้น ในกรณีของสหรัฐนั้นจะเห็นว่าพรรคเดโมแครท ซึ่งเป็นพรรคเอียงซ้ายนั้นผู้สมัครพรรคที่ซ้ายจัดคือ สว. Sanders (ซึ่งต้องการเก็บภาษีคนรวย นำเงินมาแจกคนจนเป็นหลัก) ได้รับความนิยมอย่างมาก ทำให้นาง Hillary Clinton ซึ่งพยายามเดินสายกลางต้องเอียงซ้ายมากขึ้น

ในอีกด้านหนึ่งประชาชนก็กำลังเทเสียงให้กับนาย Trump ซึ่งเอียงขวาและชาตินิยมแบบที่จะทำให้อเมริกาต้องทำสงครามาการค้ากับหลาย ประเทศ หากเขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี และคู่แข่งที่เป็นภัยอันตรายน้อยกว่าเล็กน้อยคือ สว. Cruz ก็เป็นพวกขวาจัดเช่นกัน เพราะยึดถืออุดมการณ์ของกลุ่มTea Party การเมืองของสหรัฐจึงแบ่งเป็นสองขั้ว ขวาจัดกับซ้ายจัด ผิดจากในอดีตที่พรรคเดโมแครทจะเลือกผู้เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่ซ้าย แต่เอียงขวา เช่น Bill Clinton ส่วนรีพับลิกันก็จะส่งผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีขวาแต่เอียงซ้ายเช่น George Bush ทำให้นโยบายของทั้งสองพรรคเวลาหาเสียงเลือกตั้งนั้นจะแตกต่างกันในส่วนปลีก ย่อยเท่านั้น แต่ในขณะนี้นาย Trump สว. Sanders และสว.Cruz นั้นต่างมีนโยบายสุดโต่งไปคนละทิศคนละทาง ทำให้มีความไม่แน่นอนและมีความเสี่ยงสูงยิ่งขึ้น

ในทำนองเดียวกัน ความแตกแยกในอังกฤษอาจทำให้อังกฤษต้องถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ในการลงประชามติในวันที่ 23 มิถุนายน นและหากเป็นเช่นนั้นก็จะทำให้ทั้งอังกฤษและสหภาพยุโรปอ่อนแอลง นอก จากนั้น สกอตแลนด์ก็อาจอยากแยกตัวออกจากอังกฤษอีกครั้ง และไอร์แลนด์ที่เศรษฐกิจได้ประโยชน์จากยุโรปอย่างมากก็อาจต้องการแยกตัวอีก ด้วย ในขณะเดียวกันยุโรปก็กำลังมีปัญหาในเรื่องผู้อพยพ ทำให้เห็นถึงความแตกแยกที่เกิดขึ้นทับซ้อนกับปัญหาทางเศรษฐกิจของกรีก สเปนและอิตาลี ซึ่งยังต้องแก้ไขอีกมาก

ทำให้สรุปได้ว่าเศรษฐกิจโลกนั้น แทนที่จะรวมตัวกันในทางเศรษฐกิจและการเมืองเพื่อให้มีความสมานฉันท์กันมาก ขึ้น กลับกลายเป็นถอยหลังและแตกแยกกันทั้งในเชิงของเศรษฐกิจและการเมือง ทำให้แนวโน้มในอนาคตขุ่นมัวไม่สดใสเหมือนเมื่อครั้งที่สหภาพโซเวียตลามสลาย ในปี 1989

กล่าวโดยสรุปคือ นโยบายการเงินที่กดดอกเบี้ยลงใกล้ศูนย์และการ พิมพ์เงินออกมาซื้อพันธบัตรคุณภาพดีเพื่ออุ้มราคาสินทรัพย์ทั่วโลก ช่วยให้เศรษฐกิจทรุดตัวลงพียงเล็กน้อยในปี 2008-2009 แต่ ผลที่ตามมาคือฐานรากทางเศรษฐกิจของโลกกลับอ่อนแอและผลข้างเคียงทำให้มีความ แตกแยกสูง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเปราะบางและมีความเสี่ยงสูงว่าจะทรุดตัวลงได้อีก ครั้ง

โดยในครั้งต่อไปนั้นอาจจะไม่มีกลไกหรือเครื่องมือใดที่จะมารองรับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลังได้ถูกนำมาใช้จน “กระสุนหมด” แล้วครับ
[/size]
ลูกหิน
Verified User
โพสต์: 1217
ผู้ติดตาม: 0

Re: อนาคตที่ไม่แจ่มใสของเศรษฐกิจโลก (2)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
โพสต์โพสต์