เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4940
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 601
วันนี้มาแนะนำหนังสือและครูบาอาจารย์อีกรูปครับ สำหรับคนกรุงเทพ ที่ไม่ต้องไปหาครูบาอาจารย์ไกลๆ
ท่านอยู่ใกล้ๆ ติดขอบกรุงเทพเลยครับ หลวงปู่เจือ สุภโร ท่านอยู่แถวศรีสมาน ใกล้โรบินสันสาขาศรีสมาน
เลยเมืองทองธานีไปนิดเดียวครับ
ท่านเป็นลูกศิษย์ท่านพ่อลี วัดอโศการาม สมุทรปราการ
ปกติท่านอยู่สำนักสงฆ์เล็กๆ แถวๆ ศรีสมานที่นี่แหละครับ ถ้าไม่อยู่ที่นี่ ส่วนมากท่านก็ไปที่วัดอโศการามครับ
ส่วนหนังสือเล่มนี้ ลูกศิษย์ท่านทำแจกไว้ครับ
ปกติท่านสอน อานาปานสติควบคู่กับดูกสินท้องฟ้า ก็คือกสินสีขาวกับกสินแสงสว่างนั่นแหละครับ
อย่างในหนังสือท่านบอกว่า
อานาปานสติกรรมฐานที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐาน 4 มีอยู่สี่ข้อ
1. มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ปกติเราไม่รู้ลมเข้าออก ก็ให้นึกถึงเบาๆ ก็จะรู้ว่ามีเข้าออกอยู่ รู้ไปนานๆ
ก็เห็นลมชัดขึ้น
2. หายใจเข้ายาวเข้าสั้น ข้อนี้ไม่ต้องตั้งใจทำ ทำข้อที่หนึ่ง ข้อสองก็จะชัดขึ้นมาเอง
3. เมื่อเห็นชัดแล้ว ก็ให้เห็นลมทั้งปวงหกกอง ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลดพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปทั่วกาย และลมหายใจเข้าออก ที่เห็นมาตั้งแต่ข้อแรกอยู่แล้ว
4. หายใจเข้าศึกษาอยู่ซึ่งกายสังขารอันระงับอยู่ ข้อนี้ก็คือระวังอย่าให้ลมหายใจมันหาย เพราะตอนนี้ลมมันละเอียดมากแล้ว
ตรงนี้ท่านบอกว่าว่าอาศัยนิมิตจากกสินเข้าช่วย คือเมื่อเห็นนิมิตของกสิน สมาธิของเราจะทรงอยู่ได้
เพราะนิมิตเป็นที่อาศัยของสมาธิ ถ้าเราเผลอไปนิมิตหาย ก็นึกขึ้นมาใหม่ ก็จะเห็นอีก
ทำให้สมาธิของเราเจริญได้เร็ว ถ้าไม่ใช้นิมิต ไม่ใช้กสินช่วย มันก็ยาก ถ้าใช้ช่วยมันก็ง่าย
สุดท้าย พอลมหายใจเข้าลมหายใจออกเราชัด เห็นลมทั่ว ก็จะเห็นกายทั้งเป็นภายในทั้งเป็นภายนอก
รวมทั้งภายในทั้งภายนอก ในที่นี่หมายความว่า เมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่อย่างนี้
โพธิปักขิยธรรมเจ็ดหมวดก็เกิดขึ้นพร้อมกัน
สติปัฏฐาน ๔ ก็ทำหน้าที่ของตน ให้ปัญญามันเจริญแก่กล้าขึ้นจนถึงวิปัสสนาเกิดขึ้น
พอวิปัสสนาเกิดขึ้นแล้ว ไม่ละไม่ปล่อย กรรมฐานที่ทำต่อไปก็จะบรรลุมรรคผล
เป็นโสดา สกิทาคา อานาคา อรหันต์ไปตามลำดับ
ก็ลองหาโอกาสไปกราบและสอบถามท่านดูนะครับ
หลวงปู่ท่านอายุมากแล้ว ก็ยังแข็งแรง พูดคุยบอกสอนธรรมได้อยู่ครับ
แต่ก็ชรา เหนื่อยไปตามอายุท่านครับ
ที่อยู่ก็ตามแผนที่ครับ
หนังสือเล่มนี้ก็ยังมีแจกที่สำนักสงฆ์อยู่นะครับ
ท่านอยู่ใกล้ๆ ติดขอบกรุงเทพเลยครับ หลวงปู่เจือ สุภโร ท่านอยู่แถวศรีสมาน ใกล้โรบินสันสาขาศรีสมาน
เลยเมืองทองธานีไปนิดเดียวครับ
ท่านเป็นลูกศิษย์ท่านพ่อลี วัดอโศการาม สมุทรปราการ
ปกติท่านอยู่สำนักสงฆ์เล็กๆ แถวๆ ศรีสมานที่นี่แหละครับ ถ้าไม่อยู่ที่นี่ ส่วนมากท่านก็ไปที่วัดอโศการามครับ
ส่วนหนังสือเล่มนี้ ลูกศิษย์ท่านทำแจกไว้ครับ
ปกติท่านสอน อานาปานสติควบคู่กับดูกสินท้องฟ้า ก็คือกสินสีขาวกับกสินแสงสว่างนั่นแหละครับ
อย่างในหนังสือท่านบอกว่า
อานาปานสติกรรมฐานที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐาน 4 มีอยู่สี่ข้อ
1. มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก ปกติเราไม่รู้ลมเข้าออก ก็ให้นึกถึงเบาๆ ก็จะรู้ว่ามีเข้าออกอยู่ รู้ไปนานๆ
ก็เห็นลมชัดขึ้น
2. หายใจเข้ายาวเข้าสั้น ข้อนี้ไม่ต้องตั้งใจทำ ทำข้อที่หนึ่ง ข้อสองก็จะชัดขึ้นมาเอง
3. เมื่อเห็นชัดแล้ว ก็ให้เห็นลมทั้งปวงหกกอง ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลดพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปทั่วกาย และลมหายใจเข้าออก ที่เห็นมาตั้งแต่ข้อแรกอยู่แล้ว
4. หายใจเข้าศึกษาอยู่ซึ่งกายสังขารอันระงับอยู่ ข้อนี้ก็คือระวังอย่าให้ลมหายใจมันหาย เพราะตอนนี้ลมมันละเอียดมากแล้ว
ตรงนี้ท่านบอกว่าว่าอาศัยนิมิตจากกสินเข้าช่วย คือเมื่อเห็นนิมิตของกสิน สมาธิของเราจะทรงอยู่ได้
เพราะนิมิตเป็นที่อาศัยของสมาธิ ถ้าเราเผลอไปนิมิตหาย ก็นึกขึ้นมาใหม่ ก็จะเห็นอีก
ทำให้สมาธิของเราเจริญได้เร็ว ถ้าไม่ใช้นิมิต ไม่ใช้กสินช่วย มันก็ยาก ถ้าใช้ช่วยมันก็ง่าย
สุดท้าย พอลมหายใจเข้าลมหายใจออกเราชัด เห็นลมทั่ว ก็จะเห็นกายทั้งเป็นภายในทั้งเป็นภายนอก
รวมทั้งภายในทั้งภายนอก ในที่นี่หมายความว่า เมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่อย่างนี้
โพธิปักขิยธรรมเจ็ดหมวดก็เกิดขึ้นพร้อมกัน
สติปัฏฐาน ๔ ก็ทำหน้าที่ของตน ให้ปัญญามันเจริญแก่กล้าขึ้นจนถึงวิปัสสนาเกิดขึ้น
พอวิปัสสนาเกิดขึ้นแล้ว ไม่ละไม่ปล่อย กรรมฐานที่ทำต่อไปก็จะบรรลุมรรคผล
เป็นโสดา สกิทาคา อานาคา อรหันต์ไปตามลำดับ
ก็ลองหาโอกาสไปกราบและสอบถามท่านดูนะครับ
หลวงปู่ท่านอายุมากแล้ว ก็ยังแข็งแรง พูดคุยบอกสอนธรรมได้อยู่ครับ
แต่ก็ชรา เหนื่อยไปตามอายุท่านครับ
ที่อยู่ก็ตามแผนที่ครับ
หนังสือเล่มนี้ก็ยังมีแจกที่สำนักสงฆ์อยู่นะครับ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 602
ขอบคุณเพื่อนๆ พี่ๆ ที่แชร์ข้อคิด และประสบการณ์นะครับ
ได้อ่านที่พี่ tum_H เขียนถึงได้ลองอ่านอัสสชิสูตร ถึงพึ่งรู้ว่าพระอรหันต์ก็มีความรำคาญ มีความเดือนร้อนใจอยู่ และทำให้รู้ว่าแม้แต่ระดับพระอรหันต์ สมาธิก็ยังเสื่อมถอย จึงไม่อาจระงับกายสังขารได้ ซึ่งช่วยเปิดโลกทัศน์ให้ผมเป็นอย่างมาก
ได้อ่านถึงประสบการณ์ ความเพียรพยายาของพี่ๆ เพื่อนๆ แล้วก็รู้สึกยินดีกับทุกท่านด้วย ก็ขอให้พี่ๆ เพื่อนๆ เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปนะครับ
ได้อ่านที่พี่ tum_H เขียนถึงได้ลองอ่านอัสสชิสูตร ถึงพึ่งรู้ว่าพระอรหันต์ก็มีความรำคาญ มีความเดือนร้อนใจอยู่ และทำให้รู้ว่าแม้แต่ระดับพระอรหันต์ สมาธิก็ยังเสื่อมถอย จึงไม่อาจระงับกายสังขารได้ ซึ่งช่วยเปิดโลกทัศน์ให้ผมเป็นอย่างมาก
ได้อ่านถึงประสบการณ์ ความเพียรพยายาของพี่ๆ เพื่อนๆ แล้วก็รู้สึกยินดีกับทุกท่านด้วย ก็ขอให้พี่ๆ เพื่อนๆ เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปนะครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 603
เมื่อก่อนผมก็รู้สึกสงสัยว่าทำไม อวิชา ถึงเป็นตัวสุดท้ายที่ยากสุด แต่พอได้ใช้ชิวิตในการทำงาน
พบปะผู้คน รวมทั้งดูจิตของตน มันทำให้เรารู้ว่า สิ่งนี้ทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น
จนนำไปซึ่งความหลงผิด กล่าวคือรู้สักแต่ว่ารู้ รู้ไม่จริง ทำให้ความไม่รู้เหล่านี้ หลอกให้เราหลงว่าคือความรู้
เข้าใจผิดจนถึงกระทั่ง บางครั้งเห็นหลายๆคนเข้าวัด ปฏิบัติธรรมอยู่เนื่องๆ แต่ทำไมหลังออกจากการปฏิบัติ
ก็ยังกลับมาเหมือนเดิมอยู่เลย แต่ความเป็นจริงตามหลักของพระศาสดา พระโสดาบัน ยังอยากสวย อยากรวย อยากมีคู่ครอง
แต่เป็นความอยากภายใต้ขอบเขตของศีล ที่คนทั่วไปทำไม่ได้
หลังๆความคิดเลยเปลี่ยน มองคนแต่ภายนอก การแต่งกาย การใช้ชีวิตนี่ไม่ได้เลย
เพราะบางคนที่เป็นแบบที่เรากล่าวมานี่ คุณธรรมของเขาสูงกว่าเราหลายเท่านัก
บางครั้งเห็นพระอาจารย์บางท่าน ที่ท่านใช้คำพูดแรง ภาษาพ่อขุน หรือดูเหมือนจะเป็นผู้นำ
ทำในสิ่งที่เราคิดว่าไม่ใช่กิจของสงฆ์ บางคนถึงขั้นพูดว่าได้เสื่อมจากความเป็นอรหันต์ไปเสียแล้ว
แต่จริงๆแล้ว ความคิดของเรานั้นเองที่ถูกหลอก จากสิ่งข้างต้นที่ผมกล่าว
พระพุทธเจ้าตรัสว่า อุปนิสัยของเดิมที่สั่งสมมา จะติดตัวเรามาทุกชาติ แก้ยาก มีเพียงพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่แก้ได้
แต่ไม่มีประโยชน์อันดันที่จะแก้อุปนิสัยนี้ เพราะความเป็นอรหันต์ได้เกิดขึ้นแล้ว ไม่มีทางเสื่อม
กล่าวคือคุณความดีของความเป็นอรหันต์ เทียบไม่ได้เลยกับอุปนิสัยดั้งเดิม
ตัวอย่างจากพระบาลีหลายๆเรื่อง อย่างเช่น พระบางคน บวชแล้วสึกๆ จนสุดท้ายครั้งที่ 7 ที่บวชก็ได้ความเป็นอรหันต์ ,
หรือ ภิกษุณีซึ่งได้อรหัตผลแล้ว ถูกพื่อนที่เป็นคฤหัสถ์ใช้ให้หยิบของให้ด้วยความไม่รู้ ผลของกรรมเพียงแค่นี้
ทำให้เพื่อนของภิษุณีต้องไปเกิดเป็นสัตว์เดรฉาน , หรือ เวียนเทียนอยู่ น้ำหมากของพระอรหันต์ปลิวมาโดนเราไม่รู้ว่าของใคร
พลั้งปากด่าว่า หญิงแพศยาคนไหนมาทำให้เสื้อของเราเปื้อน ตายไปก็ต้องตกมหานรก
และกลับมาเกิดเป็นโสเภณีอีก 500 ชาติ , หรือ เณรน้อยเพิ่งบวชใหม่ พระเถระเอ็นดูเลยพากันลูบหัวเณรน้อย
พระพุทธเจ้าทรงเตือนว่าพวกเธอได้ทำกรรมหนัก กับพระมหาเถระเสียแล้ว ,
หรือ พระเถระผู้เป็นอาจารย์ มีสัทธิวิหาริก เป็นจำนวนมาก ศิษย์ท่านล้วนแล้วแต่เป็นพระอรหันต์
แต่ตัวท่านเองกลับยังไม่บรรลุคุณธรรมขั้นใดเลย , หรือ ชฎิล 3 พี่น้อง บวชแล้ว ลูกศิษย์เป็นอันมากก็บวชตาม
อาจารย์ไปไหนก็เฮกันไป ตามอาจารย์ไปทุกที่ , หรือ ปุถุชนซึ่งเป็นพระโสดาบัน นิมนต์พระมาถวายทานที่บ้าน
แต่พอรู้ว่าพระไม่มีศีล ก็ยังถวายทานอันประณีตนั้นอยู่เพราะได้นิมนต์แล้ว
แต่เมื่อพระผู้ไม่มีศีลมาขอให้ถวายทานอีก ท่านก็ขับไล่ ไม่ให้เกรียติพระองค์นั้นเหมือนตอนแรก เป็นต้น
พระโสดาบัน ไม่อาจเห็นความเป็นอรหัต์ของพระอรหัน
เช่นเดียวกับปุถุชนผู้ไม่มีศีล ย่อมไม่เห็นความเป็นอริยะของพระโสดาบัน
ผู้ที่ไม่เคยรักษาศีลแม้สักครั้งในชีวิต ย่อมเทียบไม่ได้กับผู้ที่เคยรักษาศีลแม้ครั้งเดียวในชีวิตดังนั้นแล
พบปะผู้คน รวมทั้งดูจิตของตน มันทำให้เรารู้ว่า สิ่งนี้ทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น
จนนำไปซึ่งความหลงผิด กล่าวคือรู้สักแต่ว่ารู้ รู้ไม่จริง ทำให้ความไม่รู้เหล่านี้ หลอกให้เราหลงว่าคือความรู้
เข้าใจผิดจนถึงกระทั่ง บางครั้งเห็นหลายๆคนเข้าวัด ปฏิบัติธรรมอยู่เนื่องๆ แต่ทำไมหลังออกจากการปฏิบัติ
ก็ยังกลับมาเหมือนเดิมอยู่เลย แต่ความเป็นจริงตามหลักของพระศาสดา พระโสดาบัน ยังอยากสวย อยากรวย อยากมีคู่ครอง
แต่เป็นความอยากภายใต้ขอบเขตของศีล ที่คนทั่วไปทำไม่ได้
หลังๆความคิดเลยเปลี่ยน มองคนแต่ภายนอก การแต่งกาย การใช้ชีวิตนี่ไม่ได้เลย
เพราะบางคนที่เป็นแบบที่เรากล่าวมานี่ คุณธรรมของเขาสูงกว่าเราหลายเท่านัก
บางครั้งเห็นพระอาจารย์บางท่าน ที่ท่านใช้คำพูดแรง ภาษาพ่อขุน หรือดูเหมือนจะเป็นผู้นำ
ทำในสิ่งที่เราคิดว่าไม่ใช่กิจของสงฆ์ บางคนถึงขั้นพูดว่าได้เสื่อมจากความเป็นอรหันต์ไปเสียแล้ว
แต่จริงๆแล้ว ความคิดของเรานั้นเองที่ถูกหลอก จากสิ่งข้างต้นที่ผมกล่าว
พระพุทธเจ้าตรัสว่า อุปนิสัยของเดิมที่สั่งสมมา จะติดตัวเรามาทุกชาติ แก้ยาก มีเพียงพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่แก้ได้
แต่ไม่มีประโยชน์อันดันที่จะแก้อุปนิสัยนี้ เพราะความเป็นอรหันต์ได้เกิดขึ้นแล้ว ไม่มีทางเสื่อม
กล่าวคือคุณความดีของความเป็นอรหันต์ เทียบไม่ได้เลยกับอุปนิสัยดั้งเดิม
ตัวอย่างจากพระบาลีหลายๆเรื่อง อย่างเช่น พระบางคน บวชแล้วสึกๆ จนสุดท้ายครั้งที่ 7 ที่บวชก็ได้ความเป็นอรหันต์ ,
หรือ ภิกษุณีซึ่งได้อรหัตผลแล้ว ถูกพื่อนที่เป็นคฤหัสถ์ใช้ให้หยิบของให้ด้วยความไม่รู้ ผลของกรรมเพียงแค่นี้
ทำให้เพื่อนของภิษุณีต้องไปเกิดเป็นสัตว์เดรฉาน , หรือ เวียนเทียนอยู่ น้ำหมากของพระอรหันต์ปลิวมาโดนเราไม่รู้ว่าของใคร
พลั้งปากด่าว่า หญิงแพศยาคนไหนมาทำให้เสื้อของเราเปื้อน ตายไปก็ต้องตกมหานรก
และกลับมาเกิดเป็นโสเภณีอีก 500 ชาติ , หรือ เณรน้อยเพิ่งบวชใหม่ พระเถระเอ็นดูเลยพากันลูบหัวเณรน้อย
พระพุทธเจ้าทรงเตือนว่าพวกเธอได้ทำกรรมหนัก กับพระมหาเถระเสียแล้ว ,
หรือ พระเถระผู้เป็นอาจารย์ มีสัทธิวิหาริก เป็นจำนวนมาก ศิษย์ท่านล้วนแล้วแต่เป็นพระอรหันต์
แต่ตัวท่านเองกลับยังไม่บรรลุคุณธรรมขั้นใดเลย , หรือ ชฎิล 3 พี่น้อง บวชแล้ว ลูกศิษย์เป็นอันมากก็บวชตาม
อาจารย์ไปไหนก็เฮกันไป ตามอาจารย์ไปทุกที่ , หรือ ปุถุชนซึ่งเป็นพระโสดาบัน นิมนต์พระมาถวายทานที่บ้าน
แต่พอรู้ว่าพระไม่มีศีล ก็ยังถวายทานอันประณีตนั้นอยู่เพราะได้นิมนต์แล้ว
แต่เมื่อพระผู้ไม่มีศีลมาขอให้ถวายทานอีก ท่านก็ขับไล่ ไม่ให้เกรียติพระองค์นั้นเหมือนตอนแรก เป็นต้น
พระโสดาบัน ไม่อาจเห็นความเป็นอรหัต์ของพระอรหัน
เช่นเดียวกับปุถุชนผู้ไม่มีศีล ย่อมไม่เห็นความเป็นอริยะของพระโสดาบัน
ผู้ที่ไม่เคยรักษาศีลแม้สักครั้งในชีวิต ย่อมเทียบไม่ได้กับผู้ที่เคยรักษาศีลแม้ครั้งเดียวในชีวิตดังนั้นแล
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 604
ผมเห็นด้วยกับคุณ tum_H มากๆ ในเรื่องการล่วงเกินคนอื่นด้วยความไม่รู้มากๆ เลยครับ
ยิ่งวัน ผมจึงยิ่งให้ความสำคัญของการวิเวก การไม่คลุกคลีหมู่คณะ การสำรวมคำพูดมากยิ่งขึ้นๆ เพราะ ทุกครั้งที่ออกไปพูดคุย ไปกระทบอารมณ์กับคนอื่น ยิ่งเห็นความน่าเกลียดอัปลักษณ์ของตัวเอง ทุกข์โทษจากล่วงคำพูดและการกระทำที่กระทบกับคนอื่น ทั้งจากกิเลสที่รู้ตัวและความไม่รู้ชัดในสิ่งต่างๆ
ออกไปเจอ ออกไปกระทบทีหนึ่ง ก็ยิ่งเห็นปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไขให้มากขึ้น ต้องสำรวมระวังให้มากยิ่งขึ้น ยิ่งเห็นก็ยิ่งรู้สึกว่ายาก ยากที่จะพูดที่จะกระทำโดยไม่เบียดเบียน การไม่ออกไปเจอ การเจอให้น้อยง่ายกว่า เลยทำให้ยิ่งวันก็เลยยิ่งห่าง ยิ่งวันก็ยิ่งเจอคนอื่นน้อยลงๆ
ในบรรดาพระสูตรทั้งหลาย มีพระสูตรหนึ่งที่กินใจผมมาก ที่ผมอ่านแล้วอ่านอีกหลายสิบรอบ พยายามทำความเข้าใจ และเอามาเป็นแม่แบบในการดำเนินชีวิต พระสูตรนั้นคือ มหาสุญญตสูตร
พระสูตรนี้พระพุทธเจ้าสอนถึงการดำเนินชีวิตของผู้ปรารถนาความสุขอันเกิดจากความสงบและความรู้แจ้ง โดยให้แนวทางที่ครบถ้วนที่สุดเท่าที่ผมเคยอ่านมา ทั้งแนวคิด การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น การเจริญสติ การทำสมาธิ การเลือกคำพูด การเลือกความคิด ตลอดจนการเป็นอาจารย์ เป็นผู้ศึกษา ตลอดจนทัศนะคติของผู้ศึกษาที่ควรมี ซึ่งก็อยากนำเสนอสำหรับเพื่อนๆ ที่มีความสนใจและเอาจริงเอาจังกับการปฎิบัติธรรมได้ลองอ่าน ลองศึกษาดู น่าจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาธรรมไม่ใช่น้อย
ถ้าหากมีพระสูตรใดที่เพื่อนๆ เห็นว่าน่าจะเหมาะสมกับตัวผม เหมาะแก่การเอาไปใช้ศึกษาและพัฒนา ผมรบกวนพี่ๆ เพื่อนๆ ช่วยชี้แนะให้กับผมด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
ยิ่งวัน ผมจึงยิ่งให้ความสำคัญของการวิเวก การไม่คลุกคลีหมู่คณะ การสำรวมคำพูดมากยิ่งขึ้นๆ เพราะ ทุกครั้งที่ออกไปพูดคุย ไปกระทบอารมณ์กับคนอื่น ยิ่งเห็นความน่าเกลียดอัปลักษณ์ของตัวเอง ทุกข์โทษจากล่วงคำพูดและการกระทำที่กระทบกับคนอื่น ทั้งจากกิเลสที่รู้ตัวและความไม่รู้ชัดในสิ่งต่างๆ
ออกไปเจอ ออกไปกระทบทีหนึ่ง ก็ยิ่งเห็นปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไขให้มากขึ้น ต้องสำรวมระวังให้มากยิ่งขึ้น ยิ่งเห็นก็ยิ่งรู้สึกว่ายาก ยากที่จะพูดที่จะกระทำโดยไม่เบียดเบียน การไม่ออกไปเจอ การเจอให้น้อยง่ายกว่า เลยทำให้ยิ่งวันก็เลยยิ่งห่าง ยิ่งวันก็ยิ่งเจอคนอื่นน้อยลงๆ
ในบรรดาพระสูตรทั้งหลาย มีพระสูตรหนึ่งที่กินใจผมมาก ที่ผมอ่านแล้วอ่านอีกหลายสิบรอบ พยายามทำความเข้าใจ และเอามาเป็นแม่แบบในการดำเนินชีวิต พระสูตรนั้นคือ มหาสุญญตสูตร
พระสูตรนี้พระพุทธเจ้าสอนถึงการดำเนินชีวิตของผู้ปรารถนาความสุขอันเกิดจากความสงบและความรู้แจ้ง โดยให้แนวทางที่ครบถ้วนที่สุดเท่าที่ผมเคยอ่านมา ทั้งแนวคิด การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น การเจริญสติ การทำสมาธิ การเลือกคำพูด การเลือกความคิด ตลอดจนการเป็นอาจารย์ เป็นผู้ศึกษา ตลอดจนทัศนะคติของผู้ศึกษาที่ควรมี ซึ่งก็อยากนำเสนอสำหรับเพื่อนๆ ที่มีความสนใจและเอาจริงเอาจังกับการปฎิบัติธรรมได้ลองอ่าน ลองศึกษาดู น่าจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาธรรมไม่ใช่น้อย
ถ้าหากมีพระสูตรใดที่เพื่อนๆ เห็นว่าน่าจะเหมาะสมกับตัวผม เหมาะแก่การเอาไปใช้ศึกษาและพัฒนา ผมรบกวนพี่ๆ เพื่อนๆ ช่วยชี้แนะให้กับผมด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 605
เห็นจริงด้วยอย่างยิ่งครับ พูดผิดครั้งหนึ่ง ถือว่าพลาดไปทั้งภพนี้ละภพหน้าเลยครับ เพราะแก้คืนไม่ได้เลยpicatos เขียน: ยิ่งวัน ผมจึงยิ่งให้ความสำคัญของการวิเวก การไม่คลุกคลีหมู่คณะ การสำรวมคำพูดมากยิ่งขึ้นๆ เพราะ ทุกครั้งที่ออกไปพูดคุย ไปกระทบอารมณ์กับคนอื่น ยิ่งเห็นความน่าเกลียดอัปลักษณ์ของตัวเอง ทุกข์โทษจากล่วงคำพูดและการกระทำที่กระทบกับคนอื่น ทั้งจากกิเลสที่รู้ตัวและความไม่รู้ชัดในสิ่งต่างๆ
พระศาสดาจึงทรงสรรเสริญ ผู้ที่ถือสันโดษ
เมื่อก่อนก็สงสัยว่า ทำไมพระถึงหนีเข้าป่า เพราะยังฝึกตนไม่ดีพอ สอนโลกไม่ได้ ต่อเมื่อฝึกตนดีพอแล้ว จึงสอนโลกได้
กามราคะก็เหมือนกัน อยู่ในป่ามันกลัวผี กลัวสัตว์ร้าย อยู่ที่บ้านมันพาเราลงต่ำได้ตลอดเวลาเพราะไม่รู้จักฝึกตน
สำหรับธรรมะที่ผมชอบฟัง ชอบอ่าน ก็คล้ายๆพี่ picatos ครับแต่หลังๆมานี่ เน้นการฟังมากกว่าตามความสะดวกสบาย
ของโลกในปัจจุบัน ชอบมากสุดนี่เห็นจะเป็นชาดก ส่วนที่ฟังบ่อยๆ จะฟังเรื่อง “มุติโตทัย”
ของท่านพระอาจารย์มั่น(เสียงอ่านของพระอาจารย์สุดใจ วัดป่าบ้านตาด รจนาโดยหลวงตา(ถ้าจำไม่ผิดนะครับ))
ซึ่งฟังกี่ครั้งก็ไม่รู้สึกเบื่อ ผมคิดว่าน่าจะเกินพันรอบล่ะมังครับ
น้องๆที่ออฟฟิตถามว่า พี่เปิดธรรมะฟังเวลาขับรถ ไม่ง่วงนอนหรือ ผมได้แต่อมยิ้ม..
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
- oatty
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2444
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 607
มุตโตทัย ครับพี่กุ๊ก ไม่ใช่ มุติโตทัย ภาษาบาลีจะเป็น มุตฺโตทัย
ปล กำลังตามอ่านและเรียนจากพี่ และพี่ตี่ อยู่ครับ
ปล กำลังตามอ่านและเรียนจากพี่ และพี่ตี่ อยู่ครับ
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 676
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 608
อริยสาวกทุกระดับ ย่อมหนีไม่พ้นทุกข์ประจำสังขารครับ แต่ล่วงทุกข์อุปทานไปตามลำดับขั้น รูป1 นาม4 (ขันธ์5) เป็นของคู่กันมีการแปรปรวน มีความเสื่อมเกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่อแปรปรวนก็เกิดสภาวะที่ทนได้บ้าง ทนไม่ได้บ้าง หรือทนได้ยาก ก็แสดงว่าไม่สามารถยึดเป็นที่ตั้งที่พึ่งพาได้ เพราะไม่ใช่ของเรา บังคับให้เป็นไปตามที่ต้องการไม่ได้picatos เขียน:ขอบคุณเพื่อนๆ พี่ๆ ที่แชร์ข้อคิด และประสบการณ์นะครับ
ได้อ่านที่พี่ tum_H เขียนถึงได้ลองอ่านอัสสชิสูตร ถึงพึ่งรู้ว่าพระอรหันต์ก็มีความรำคาญ มีความเดือนร้อนใจอยู่ และทำให้รู้ว่าแม้แต่ระดับพระอรหันต์ สมาธิก็ยังเสื่อมถอย จึงไม่อาจระงับกายสังขารได้ ซึ่งช่วยเปิดโลกทัศน์ให้ผมเป็นอย่างมาก
ได้อ่านถึงประสบการณ์ ความเพียรพยายาของพี่ๆ เพื่อนๆ แล้วก็รู้สึกยินดีกับทุกท่านด้วย ก็ขอให้พี่ๆ เพื่อนๆ เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปนะครับ
มรรค 8 สติปัฏฐาน 4 เป็นทางสายเอกหรือเครื่องมือเพียงอย่างเดียวเข้าสู่ความรู้ในจิตที่ถูกต้อง เมื่อรู้ถูก จิตก็จะเข้าสู่วิมุตติหลุดพ้นโดยอัตโนมัติ เมื่อเข้าสู่วิมุตติ จึงไม่มีความกังวลในมรรค 8 เพราะรู้เสมอว่าขันธ์ 5 มีความแปรปรวน มีความเสื่อม และสื่งที่ต้องอาศัยขันธ์ 5 ย่อมเหมือนกัน แต่ท่านไม่ได้กังวลจนเกิดทุกข์อุปาทานครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
กาย เวทนา จิต ธรรม
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 609
เห็นด้วยครับ ว่าอริยสาวกก็มีทุกข์โดยสภาพจากความเป็นมนุษย์อยู่ แต่ที่แปลกใจ คือ สมัยก่อนเข้าใจว่า อรหันต์ที่แจ้งในสุขและทุกข์แล้ว เมื่อประสบกับสภาวะทุกข์ทางกาย ก็จะอยู่กับมันโดยความเข้าใจอย่างถ่องแท้จนไม่รำคาญ ไม่เดือดร้อนอะไรกับสภาวะทุกข์ทางกายที่เกิดขึ้น โดยเห็นทุกข์ก็สักแต่ว่าทุกข์ จิตไม่หวั่นไหวไปกับทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น และเข้าใจว่าพระอรหันต์ที่มีความสมบูรณ์ในศีล สมาธิ ปัญญาแล้ว จะมีวสีในสมาธิที่ไม่เสื่อมถอย แต่พอได้มาอ่านพระสูตรนี้ จึงทำให้รู้ว่าจริงๆ แล้ว พระอรหันต์แม้แต่ในระดับปัญจวคีย์ทั้ง 5 ก็ยังมีสภาพนี้ได้Pekko เขียน:อริยสาวกทุกระดับ ย่อมหนีไม่พ้นทุกข์ประจำสังขารครับ แต่ล่วงทุกข์อุปทานไปตามลำดับขั้น รูป1 นาม4 (ขันธ์5) เป็นของคู่กันมีการแปรปรวน มีความเสื่อมเกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่อแปรปรวนก็เกิดสภาวะที่ทนได้บ้าง ทนไม่ได้บ้าง หรือทนได้ยาก ก็แสดงว่าไม่สามารถยึดเป็นที่ตั้งที่พึ่งพาได้ เพราะไม่ใช่ของเรา บังคับให้เป็นไปตามที่ต้องการไม่ได้picatos เขียน:ขอบคุณเพื่อนๆ พี่ๆ ที่แชร์ข้อคิด และประสบการณ์นะครับ
ได้อ่านที่พี่ tum_H เขียนถึงได้ลองอ่านอัสสชิสูตร ถึงพึ่งรู้ว่าพระอรหันต์ก็มีความรำคาญ มีความเดือนร้อนใจอยู่ และทำให้รู้ว่าแม้แต่ระดับพระอรหันต์ สมาธิก็ยังเสื่อมถอย จึงไม่อาจระงับกายสังขารได้ ซึ่งช่วยเปิดโลกทัศน์ให้ผมเป็นอย่างมาก
ได้อ่านถึงประสบการณ์ ความเพียรพยายาของพี่ๆ เพื่อนๆ แล้วก็รู้สึกยินดีกับทุกท่านด้วย ก็ขอให้พี่ๆ เพื่อนๆ เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปนะครับ
มรรค 8 สติปัฏฐาน 4 เป็นทางสายเอกหรือเครื่องมือเพียงอย่างเดียวเข้าสู่ความรู้ในจิตที่ถูกต้อง เมื่อรู้ถูก จิตก็จะเข้าสู่วิมุตติหลุดพ้นโดยอัตโนมัติ เมื่อเข้าสู่วิมุตติ จึงไม่มีความกังวลในมรรค 8 เพราะรู้เสมอว่าขันธ์ 5 มีความแปรปรวน มีความเสื่อม และสื่งที่ต้องอาศัยขันธ์ 5 ย่อมเหมือนกัน แต่ท่านไม่ได้กังวลจนเกิดทุกข์อุปาทานครับ
พี่ Pekko พอจะอธิบายสภาพที่เกิดขึ้นให้ผมเข้าใจมากขึ้นได้ไหมครับ ว่าเพราะ อะไรทำให้พระอรหันต์ถึงยังมีความรำคาญ ความเดือดร้อน และการเสื่อมถอยของสมาธิได้อยู่ครับ? เพื่อจะได้เอาไปใช้ในการศึกษา และพัฒนาต่อไปของตัวผมเองในอนาคต ขอขอบคุณล่วงหน้าด้วยครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 676
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 610
ถ้าเทียบเคียงกับกรณีพระอุบลวรรณาเถรีคงไม่ต่างครับpicatos เขียน:เห็นด้วยครับ ว่าอริยสาวกก็มีทุกข์โดยสภาพจากความเป็นมนุษย์อยู่ แต่ที่แปลกใจ คือ สมัยก่อนเข้าใจว่า อรหันต์ที่แจ้งในสุขและทุกข์แล้ว เมื่อประสบกับสภาวะทุกข์ทางกาย ก็จะอยู่กับมันโดยความเข้าใจอย่างถ่องแท้จนไม่รำคาญ ไม่เดือดร้อนอะไรกับสภาวะทุกข์ทางกายที่เกิดขึ้น โดยเห็นทุกข์ก็สักแต่ว่าทุกข์ จิตไม่หวั่นไหวไปกับทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น และเข้าใจว่าพระอรหันต์ที่มีความสมบูรณ์ในศีล สมาธิ ปัญญาแล้ว จะมีวสีในสมาธิที่ไม่เสื่อมถอย แต่พอได้มาอ่านพระสูตรนี้ จึงทำให้รู้ว่าจริงๆ แล้ว พระอรหันต์แม้แต่ในระดับปัญจวคีย์ทั้ง 5 ก็ยังมีสภาพนี้ได้
พี่ Pekko พอจะอธิบายสภาพที่เกิดขึ้นให้ผมเข้าใจมากขึ้นได้ไหมครับ ว่าเพราะ อะไรทำให้พระอรหันต์ถึงยังมีความรำคาญ ความเดือดร้อน และการเสื่อมถอยของสมาธิได้อยู่ครับ? เพื่อจะได้เอาไปใช้ในการศึกษา และพัฒนาต่อไปของตัวผมเองในอนาคต ขอขอบคุณล่วงหน้าด้วยครับ
ส่วนสมาธิเสื่อมถอย กับการเข้าสมาธิไม่ได้ มันคนละเรื่องกันครับ เพราะสมาธิเองก็อาศัยขันธ์ 5 ที่มีความแปรปรวนเช่นกัน แต่เมื่อเข้าได้ก็มีแต่เจริญขึ้น ไม่หลงทางตั้งแต่พระโสดาบันครับ
สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งมั่่นที่จะดับทุกข์อันเกิดจากอุปาทานที่มีอวิชชาเป็นรากเหง้า มิใช่ใช้ระงับทุกขเวทนาทางกาย แต่จิตรู้แจ้งจะไม่ยึดถือความเจ็บปวดทางกายเป็นอุปทานอันก่อให้เกิดภพชาติใหม่ (ขึ้นอยู่กับระดับพระอริยะ) ไม่ใช่ว่าไม่รู้จักเจ็บจักปวดครับ
ส่วน คำว่า "เห็นทุกข์ก็สักแต่ว่าทุกข์ จิตไม่หวั่นไหวไปกับทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น" ต้องระวังให้มาก เพราะ คำว่า"อุเบกขา"กับ"การทำมึนๆ เฉยๆ" มันแตกต่างกันมาก ไม่อาจเปรียบเทียบกันได้ครับ อุเบกขา คือ รับรู้ทุกอย่าง แต่วางใจให้เป็นกลาง แต่พุทธศาสนายอดเยี่ยมตรงคำว่า "ปัญญา" คือ การเข้าไปกำหนดรู้แจ้งเห็นจริงในเรื่องสัจธรรม ว่าสุข ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ เหตุเกิดสุข กรรมดี กรรมชั่ว กรรมกลางๆ ผลของกรรม การแก้มูลเหตุที่ก่อให้เกิดกรรมที่พาหลงในสังสารวัฎคืออะไร ส่วนการทำมึนๆเฉยๆ คือ ทำไม่รับไม่รู้ความเจ็บปวดนั้น ผมคิดว่ามันคนละเรื่องกันครับ
ส่วนการยกพระสูตรขึ้นมานั้น ต้องพิจารณาว่า ผู้สนทนาธรรมระหว่างกัน คือใคร ใจความสำคัญเข้าใจได้เฉพาะใครครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
กาย เวทนา จิต ธรรม
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 676
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 611
ผมขออนุญาตตัดมาบางช่วงนะครับ
ตอนนี้ ติดเกม online อยู่(ตอนแก่) เลยไม่ได้คร่ำเคร่งสมาธิครับ เลยลืมทั้งปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธครับ
อย่าเรียกผมว่า พี่ เลยครับ มิบังอาจ ผมอายุน้อยกว่าพี่ picatos ครับ
พ. ดูกรอัสสชิ เธอไม่มีความรำคาญ ไม่มีความเดือดร้อนอะไรบ้างหรือ?
อ. พระเจ้าข้า แท้ที่จริง ข้าพระองค์มีความรำคาญไม่น้อย มีความเดือดร้อนอยู่ไม่น้อยเลย.
พ. ดูกรอัสสชิ ก็ตัวเธอเองไม่ติเตียนตนเองได้โดยศีลบ้างหรือ?
อ. พระเจ้าข้า ตัวข้าพระองค์เองจะติเตียนข้าพระองค์เองได้โดยศีลก็หาไม่.
พ. ดูกรอัสสชิ ถ้าหากว่า ตัวเธอเองติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอ
จะมีความรำคาญและความเดือดร้อนอะไร?
อ. พระเจ้าข้า ครั้งก่อน ข้าพระองค์ระงับกายสังขาร (ลมหายใจเข้าออก) ได้อย่าง
ลำบาก จึงไม่ได้สมาธิ เมื่อข้าพระองค์ไม่ได้สมาธิ จึงเกิดความคิดอย่างนี้ว่า เราไม่เสื่อมหรือหนอ.
พ. ดูกรอัสสชิ สมณพราหมณ์ที่มีสมาธิเป็นสาระ มีสมาธิเป็นสามัญญะ เมื่อไม่ได้
สมาธินั้น ย่อมเกิดความคิดอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายไม่เสื่อมหรือหนอ. ดูกรอัสสชิ เธอจะสำคัญ
ความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ
พ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ
พ. เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมทราบ
ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าอริยสาวกนั้น ได้เสวยสุขเวทนา ก็ทราบชัดว่า
สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน หากว่า เสวยทุกขเวทนา ก็ทราบชัดว่า
ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าหากว่า เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็ทราบ
ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน หากว่า เสวยสุขเวทนา ก็
ปราศจากความยินดียินร้าย เสวยสุขเวทนานั้น ถ้าหากว่า เสวยทุกขเวทนา ก็ปราศจาก ความ
ยินดียินร้าย เสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าหากว่า เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็ปราศจาก ความยินดียินร้าย
เสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น ย่อมทราบชัดว่า เวทนานั้น ไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน.
หากว่า เสวยเวทนา(กาย) มีกายเป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ถ้าเสวยเวทนามี
ชีวิตเป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า เสวยเวทนา(ใจ) มีชีวิตเป็นที่สุด ทราบชัดว่า ก่อนแต่จะสิ้นชีวิต
เพราะกายแตก ความเสวยอารมณ์ทั้งมวลในโลกนี้ไม่น่ายินดี จักเป็นของเย็น.
ตอนนี้ ติดเกม online อยู่(ตอนแก่) เลยไม่ได้คร่ำเคร่งสมาธิครับ เลยลืมทั้งปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
กาย เวทนา จิต ธรรม
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 676
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 612
เห็นด้วยกับคุณ tum_H ครับtum_H เขียน:เมื่อก่อนผมก็รู้สึกสงสัยว่าทำไม อวิชชา ถึงเป็นตัวสุดท้ายที่ยากสุด แต่พอได้ใช้ชิวิตในการทำงาน
พบปะผู้คน รวมทั้งดูจิตของตน มันทำให้เรารู้ว่า สิ่งนี้ทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น
จนนำไปซึ่งความหลงผิด กล่าวคือรู้สักแต่ว่ารู้ รู้ไม่จริง ทำให้ความไม่รู้เหล่านี้ หลอกให้เราหลงว่าคือความรู้
เข้าใจผิดจนถึงกระทั่ง บางครั้งเห็นหลายๆคนเข้าวัด ปฏิบัติธรรมอยู่เนื่องๆ แต่ทำไมหลังออกจากการปฏิบัติ
ก็ยังกลับมาเหมือนเดิมอยู่เลย แต่ความเป็นจริงตามหลักของพระศาสดา พระโสดาบัน ยังอยากสวย อยากรวย อยากมีคู่ครอง
แต่เป็นความอยากภายใต้ขอบเขตของศีล ที่คนทั่วไปทำไม่ได้
หลังๆความคิดเลยเปลี่ยน มองคนแต่ภายนอก การแต่งกาย การใช้ชีวิตนี่ไม่ได้เลย
เพราะบางคนที่เป็นแบบที่เรากล่าวมานี่ คุณธรรมของเขาสูงกว่าเราหลายเท่านัก
บางครั้งเห็นพระอาจารย์บางท่าน ที่ท่านใช้คำพูดแรง ภาษาพ่อขุน หรือดูเหมือนจะเป็นผู้นำ
ทำในสิ่งที่เราคิดว่าไม่ใช่กิจของสงฆ์ บางคนถึงขั้นพูดว่าได้เสื่อมจากความเป็นอรหันต์ไปเสียแล้ว
แต่จริงๆแล้ว ความคิดของเรานั้นเองที่ถูกหลอก จากสิ่งข้างต้นที่ผมกล่าว
พระพุทธเจ้าตรัสว่า อุปนิสัยของเดิมที่สั่งสมมา จะติดตัวเรามาทุกชาติ แก้ยาก มีเพียงพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่แก้ได้
แต่ไม่มีประโยชน์อันดันที่จะแก้อุปนิสัยนี้ เพราะความเป็นอรหันต์ได้เกิดขึ้นแล้ว ไม่มีทางเสื่อม
กล่าวคือคุณความดีของความเป็นอรหันต์ เทียบไม่ได้เลยกับอุปนิสัยดั้งเดิม
ทางสายกลางของแต่ละปัจเจกชน ไม่เหมือนกัน เพราะบุญ-กรรม ไม่เท่ากัน ไม่ควรนำมาเปรียบเทียบ ดีกว่า แย่กว่า หรือเสมอกัน พระพุทธองค์สอนให้รู้จักรูป นาม แต่ไม่ได้กล่าวถึงการวัดนาม เป็นรูป เพราะมิใช่การดับทุกข์ที่แท้จริง แต่ศาสตร์ด้านอื่นๆ ชอบวัดนามเป็นรูป เช่น วิทยาศาสตร์วัดความร้อนเป็น อุณหภูมิ หรือเศรษฐศาสตร์ วัดความรวยความจน รายได้มาก รายได้น้อย แม้วิชาชีพผมเองคือบัญชี วัดกำไรขาดทุน maximum profit ซึ่งการวัดแบบนี้เป็นการเพิ่มทุกข์ซ้ำทุกข์ซ้อนมากขึ้นไปอีกครับ
กริยาอาการที่แสดงออก กับเจตสิกจิต บางทีอาจจะไปในทิศทางเดียวกัน หรือสวนทางกัน ที่รู้ดีที่สุดคือตัวคนนั้นเองครับ เราไม่สามารถรู้แทนเขาได้(ยกเว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)แต่ที่แย่ที่สุด คือ ตัวเองไม่รู้ตัวเองครับ โดยส่วนตัวผมไม่เชื่อถือวิธีการ "ดูจิต" ครับ
ดังนั้นสนใจแต่การประพฤติปฏิบัติของเราเองดีที่สุดครับ ไม่ส่งจิตออกนอกขอบเขตกายและใจของตนก็เพียงพอแล้วครับ
ไม่ได้แวะทู้นี้ซะนาน จัดไปรวดเดียวอีก 3 post รวมเป็น 4 post คงไม่รำคาญนะครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
กาย เวทนา จิต ธรรม
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 613
อยากทราบกรณีของพระอุบลวรรณาเถรีหน่อยครับ คุณ Pekko ว่าเป็นอย่างไร รบกวนช่วยแนะนำพระสูตรที่เกี่ยวข้องให้หน่อยได้ไหมครับ?
ขอบคุณล่วงหน้าครับ
ขอบคุณล่วงหน้าครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 676
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 615
ท่านโดนล่วงละเมิดทางเพศครับ ทั้งที่เป็นพระอรหันต์picatos เขียน:อยากทราบกรณีของพระอุบลวรรณาเถรีหน่อยครับ คุณ Pekko ว่าเป็นอย่างไร รบกวนช่วยแนะนำพระสูตรที่เกี่ยวข้องให้หน่อยได้ไหมครับ?
ขอบคุณล่วงหน้าครับ
ดูอะไรจิตครับ จิตเป็นนามธรรม เรื่องละเอียดอ่อน ผมไม่ชอบการกล่าวอ้างคำครูบาอาจารย์ที่เลื่อนลอย ผมว่าเราเป็นการหลงดูความคิดของตัวเอง หลงอารมณ์เสียมากกว่าpicatos เขียน:สงสัยเพิ่มเติมครับ ว่าทำไมคุณ Pekko ถึงไม่เชื่อถือวิธีดูจิตเหรอครับ? ทั้งๆ ที่การดูจิตก็เป็นเหมือนส่วนหนึ่งในสติปัฏฐาน 4 ครับ
ผู้กล่าวต้องอธิบายให้ชัดครับ การดูจิตหรือดูที่จิตต้องดูในแนวไตรลักษณ์ ต้องมีกำลังวิปัสสนาญาณ จึงจะเห็นผลครับ ต้องมีตัวรู้เกิดขึ้นก่อน(รู้จริงๆ มิใช่มโน) ซึ่งวิปัสสนาญาณก็จำต้องอาศัยกำลังสมาธิที่พอดีกันครับ
ผ้ปฏิบัติควรเริ่มต้นในหมวดที่ง่ายเสียก่อน คือ ต้องดูหมวดกายที่เป็นของหยาบให้เห็นสันตติเสียก่อน หรือถ่องแท้เรื่องรูป นาม จึงขยับมาหมวดที่สลับซับซ้อนขึ้นครับ ผมไม่สนับสนุนในการลัดขั้นตอน โดยหวังผลเลิศเลอที่มองข้ามขั้นมูลฐานครับ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopi ... c&start=20 ลองพิจารณาหัวข้อ "เดินทางลัดที่ปลอดภัย", "ประหยัดคำพูด"และ"หลักธรรมแท้" นะครับ ว่ากล่าวกับบุคคลใด บุคคลที่รับฟังมีพื้นฐานอาชีพ มีการปฏิบัติมากน้อยเพียงไร
จากวิกิพีเดีย
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การพิจารณาวิญญาณขันธ์ อานิสงค์ คือ ทำลายอนิจจวิปลาส (สำคัญความไม่แน่นอนว่าแน่นอน) เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่เป็นทิฏฐิจริตทั้ง 3 คือศรัทธาจริต พุทธิจริต วิตกจริต และเป็นวิปัสสนายานิก
บางที ผมอาจไม่ชอบกับคำว่า "ดูจิต" ก็เป็นได้ครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
กาย เวทนา จิต ธรรม
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 616
ขออภัยด้วยครับ พิมพ์ผิดจริงๆoatty เขียน:มุตโตทัย ครับพี่กุ๊ก ไม่ใช่ มุติโตทัย ภาษาบาลีจะเป็น มุตฺโตทัย
ปล กำลังตามอ่านและเรียนจากพี่ และพี่ตี่ อยู่ครับ
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 617
รบกวนสอบถามเพิ่มเติมนะครับ ว่ากรณีของพระอุบลวรรณาเถรีถูกข่มขืน กับ กับกรณีของพระอัสชิที่มีความรำคาญ มีความเดือดร้อน มีความเสื่อมในสมาธิ นี้ คุณ Pekko มองว่าเหมือนกันอย่างไรเหรอครับ? พอดีผมยังไม่เข้าใจประเด็นในการเปรียบเทียบอ่ะครับPekko เขียน:...
ถ้าเทียบเคียงกับกรณีพระอุบลวรรณาเถรีคงไม่ต่างครับ
ส่วนสมาธิเสื่อมถอย กับการเข้าสมาธิไม่ได้ มันคนละเรื่องกันครับ เพราะสมาธิเองก็อาศัยขันธ์ 5 ที่มีความแปรปรวนเช่นกัน แต่เมื่อเข้าได้ก็มีแต่เจริญขึ้น ไม่หลงทางตั้งแต่พระโสดาบันครับ
...
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 618
ผมคิดว่าการอ้างอิงพุทธพจน์โดยใช้จาก wikipedia ระดับอรรถกถาจารย์ หรือในระดับอาจารย์ นี่ล่อแหลมต่อการเอาไปใช้งานมากพอสมควรเลยนะครับ เพราะ อย่างที่คุณ Pekko เข้าใจ คือ นี่เป็นการพูดคุยกันระหว่างอาจารย์กับลูกศิษย์ที่มีพื้นฐาน มีจริต มีประสบการณ์ มีอะไรบางอย่างที่สอดคล้องกัน ซึ่งก็ทำให้มีความเข้าใจเฉพาะกลุ่ม เหมาะสมกับการสื่อสารในวาระนั้น ในคราวนั้น ซึ่งมันจะยังไม่ Generalize พอที่จะเป็นธรรมในระดับที่ไม่ขึ้นกับกาลเวลา ไม่ขึ้นอยู่กับบุคคล ในระดับพุทธพจน์Pekko เขียน:...
จากวิกิพีเดีย
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การพิจารณาวิญญาณขันธ์ อานิสงค์ คือ ทำลายอนิจจวิปลาส (สำคัญความไม่แน่นอนว่าแน่นอน) เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่เป็นทิฏฐิจริตทั้ง 3 คือศรัทธาจริต พุทธิจริต วิตกจริต และเป็นวิปัสสนายานิก
...
ซึ่งหากว่ากันโดยการดูจิต ผมขออ้างอิงกลับไปที่ จิตตานุปัสสนา โดยข้อความของพุทธพจน์ดังต่อไปนี้
"...
[๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต
ปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิต
ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต
ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็น
มหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิต
มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิต
อื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่
เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุด
พ้น ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็น
จิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณา
เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่าง
หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย
ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ
ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ
..."
ไม่ทราบว่าที่คุณ Pekko บอกว่าไม่เชื่อถือวิธี "ดูจิต" นี่หมายถึงไม่เชื่อถือในวิธีนี้ หรือ วิธีไหนเหรอครับ?
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 676
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 619
ผมมองว่า ถึงเป็นพระอรหันต์ แต่ถ้ามีความไม่พร้อมทางกาย หรือมิทันเตรียมตัวที่จะเข้าสมาธิในขณะนั้น ไม่ได้ถือเป็นการเสื่อมถอยทางสมาธิครับpicatos เขียน:รบกวนสอบถามเพิ่มเติมนะครับ ว่ากรณีของพระอุบลวรรณาเถรีถูกข่มขืน กับ กับกรณีของพระอัสชิที่มีความรำคาญ มีความเดือดร้อน มีความเสื่อมในสมาธิ นี้ คุณ Pekko มองว่าเหมือนกันอย่างไรเหรอครับ? พอดีผมยังไม่เข้าใจประเด็นในการเปรียบเทียบอ่ะครับPekko เขียน:...
ถ้าเทียบเคียงกับกรณีพระอุบลวรรณาเถรีคงไม่ต่างครับ
ส่วนสมาธิเสื่อมถอย กับการเข้าสมาธิไม่ได้ มันคนละเรื่องกันครับ เพราะสมาธิเองก็อาศัยขันธ์ 5 ที่มีความแปรปรวนเช่นกัน แต่เมื่อเข้าได้ก็มีแต่เจริญขึ้น ไม่หลงทางตั้งแต่พระโสดาบันครับ
...
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
กาย เวทนา จิต ธรรม
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 620
เปรียบเทียบการระงับทุขเวทนา ของพระสาวก กับ พระศาสดา ครับ
อธิวาสนขันติระงับทุกขเวทนา (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
นอกจากนี้อธิวาสนขันติ ขันติคือความรับไว้ได้ ยับยั้งไว้ได้ต้านทานไว้ได้นี้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวกทั้งหลาย ยังได้ทรงใช้และได้ใช้ ระงับทุกขเวทนา
ระงับอาพาธที่บังเกิดขึ้นในโอกาสต่างๆ อีกด้วย ดังที่ได้มีแสดงไว้ในพุทธประวัติ ว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประชวรด้วยโรคาพาธ มีทุกขเวทนาแม้แรงกล้า แต่ก็ทรงระงับได้ด้วยอธิวาสนขันติดังกล่าว
และเพราะเหตุที่พระอธิวาสนขันติของพระองค์ นั้นมีพลังที่แรงกล้า
จึงสามารถระงับทุกขเวทนา ระงับอาพาธนั้นๆ ได้ ปรากฏว่าได้ทรงระงับทุกขเวทนา
และอาพาธต่างๆ ด้วยอธิวาสนขันตินี้มากครั้ง แต่ในบางครั้งก็โปรดให้หมอชีวกโกมารภัจจ์ถวายโอสถรักษา
พระอัสสชิพระสาวกรุ่นแรกของพระพุทธเจ้า ก่อนที่จะนิพพานมีทุกขเวทนาอย่างหนัก
(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
"..คืนวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๓๒ เวลาประมาณ ๒๒.๐๐น. อากาศก็เริ่มร้อน อาตมามีอาการปวดท้องอย่างหนัก
มีอาการคล้ายเป็นบิด รู้สึกอุจจาระแข็งมาก เพราะไปซอยสายลมมาทุกคราวโรคที่มีอยู่ก็ทวีขึ้น ๓-๔ เท่า
เนื่องจากต้องนั่งเครียดทั้งวันและมีการพูดตลอดเวลาที่รับแขก ต้องใช้ขันติอย่างหนัก ถ้าถามว่า "ใช้ได้อย่างไร"
ก็ขอตอบว่า "ใช้ได้เท่าที่พึงจะใช้ได้ ถ้าเกินวิสัยจริงๆ ก็ลุกไม่ขึ้นเหมือนกัน"
ดูอย่างท่าน พระอัสสชิ ซึ่งเป็นพระสาวกรุ่นแรกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนที่จะนิพพาน
ท่านก็เป็นโรคกระเพาะอย่างหนัก ทั้งปวดทั้งเสียด อึดอัดทนไม่ไหว ท่านจึงคิดในใจว่าเวลานี้เราเสื่อมจากความดีแล้วหรือ
จึงให้พระไปตามพระพุทธเจ้ามา เมื่อองค์สมเด็จพระจอมไตรเสด็จมาท่านจะลุกมาจากที่นอน
พระพุทธเจ้าตรัสว่า "อัสสชิ นอนตามนั้นเถิด ตถาคตจะนั่งในที่ที่เขาจัดให้นั่งตามสมควร"
ท่านก็กราบทูลพระองค์ว่า "เวลานี้ทุกขเวทนาหนักพระเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าทนไม่ไหว"
พระพุทธเจ้าทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า "อัสสชิ เธอระงับกายสังขารไม่อยู่หรือ"
หมายถึงใช้อานาปานุสติ กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก
ถ้าจิตเป็นสมาธิตามสมควร ทุกขเวทนาจะคลายตัว ท่านก็กราบทูลว่า "ทนไม่ไหวพระเจ้าข้า ระงับไม่อยู่
ความดีที่ข้าพระพุทธเจ้าได้มาแล้ว คงจะสลายตัวไปแล้ว" พระพุทธเจ้าจึงตรัสถามว่า
"อัสสชิ เธอถือว่าร่างกายเป็นของเธอหรือ" ท่านก็ตอบว่า "ไม่ใช่พระเจ้าข้า"
พระองค์ถามว่า "หรือว่าเธอเห็นว่าเธอมีในร่างกาย" พระอัสสชิก็ตอบว่า "ไม่ใช่พระเจ้าข้า"
ก็รวมความว่า ท่านอัสสชิยังถือว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา
เมื่อท่านตอบอย่างนี้แล้วพระพุทธเจ้าก็มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า "อัสสชิ ความดีของเธอไม่เสื่อม ความดียังทรงตนอยู่"?
หลังจากนั้นเมื่อพระอัสสชิพบองค์สมเด็จพระบรมครูแล้วไม่นานก็นิพพาน
แสดงให้เห็นว่าขึ้นชื่อว่า ขันติ มันจะทนได้ก็แค่พอจะทนไหว ถ้าเกินกำลังเมื่อไร อาตมาก็เช่นเดียวกับพระอัสสชิ
แต่ทว่าท่านเป็นพระอรหันต์ในสมัยตอนต้นพุทธกาล เป็นพระอรหันต์ที่มีกำลังยิ่งยวดมาก
เพราะยังไม่มีใครเป็นตัวอย่างเป็นแบบฉบับของพระอรหันต์ ฉะนั้นการเป็นอรหันต์เวลานั้นต้องใช้กำลังใจสูงมาก
มีความฉลาดมาก มีความอดทนมาก มีความเข้มแข็งมาก
อธิวาสนขันติระงับทุกขเวทนา (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
นอกจากนี้อธิวาสนขันติ ขันติคือความรับไว้ได้ ยับยั้งไว้ได้ต้านทานไว้ได้นี้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวกทั้งหลาย ยังได้ทรงใช้และได้ใช้ ระงับทุกขเวทนา
ระงับอาพาธที่บังเกิดขึ้นในโอกาสต่างๆ อีกด้วย ดังที่ได้มีแสดงไว้ในพุทธประวัติ ว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประชวรด้วยโรคาพาธ มีทุกขเวทนาแม้แรงกล้า แต่ก็ทรงระงับได้ด้วยอธิวาสนขันติดังกล่าว
และเพราะเหตุที่พระอธิวาสนขันติของพระองค์ นั้นมีพลังที่แรงกล้า
จึงสามารถระงับทุกขเวทนา ระงับอาพาธนั้นๆ ได้ ปรากฏว่าได้ทรงระงับทุกขเวทนา
และอาพาธต่างๆ ด้วยอธิวาสนขันตินี้มากครั้ง แต่ในบางครั้งก็โปรดให้หมอชีวกโกมารภัจจ์ถวายโอสถรักษา
พระอัสสชิพระสาวกรุ่นแรกของพระพุทธเจ้า ก่อนที่จะนิพพานมีทุกขเวทนาอย่างหนัก
(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
"..คืนวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๓๒ เวลาประมาณ ๒๒.๐๐น. อากาศก็เริ่มร้อน อาตมามีอาการปวดท้องอย่างหนัก
มีอาการคล้ายเป็นบิด รู้สึกอุจจาระแข็งมาก เพราะไปซอยสายลมมาทุกคราวโรคที่มีอยู่ก็ทวีขึ้น ๓-๔ เท่า
เนื่องจากต้องนั่งเครียดทั้งวันและมีการพูดตลอดเวลาที่รับแขก ต้องใช้ขันติอย่างหนัก ถ้าถามว่า "ใช้ได้อย่างไร"
ก็ขอตอบว่า "ใช้ได้เท่าที่พึงจะใช้ได้ ถ้าเกินวิสัยจริงๆ ก็ลุกไม่ขึ้นเหมือนกัน"
ดูอย่างท่าน พระอัสสชิ ซึ่งเป็นพระสาวกรุ่นแรกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนที่จะนิพพาน
ท่านก็เป็นโรคกระเพาะอย่างหนัก ทั้งปวดทั้งเสียด อึดอัดทนไม่ไหว ท่านจึงคิดในใจว่าเวลานี้เราเสื่อมจากความดีแล้วหรือ
จึงให้พระไปตามพระพุทธเจ้ามา เมื่อองค์สมเด็จพระจอมไตรเสด็จมาท่านจะลุกมาจากที่นอน
พระพุทธเจ้าตรัสว่า "อัสสชิ นอนตามนั้นเถิด ตถาคตจะนั่งในที่ที่เขาจัดให้นั่งตามสมควร"
ท่านก็กราบทูลพระองค์ว่า "เวลานี้ทุกขเวทนาหนักพระเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าทนไม่ไหว"
พระพุทธเจ้าทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า "อัสสชิ เธอระงับกายสังขารไม่อยู่หรือ"
หมายถึงใช้อานาปานุสติ กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก
ถ้าจิตเป็นสมาธิตามสมควร ทุกขเวทนาจะคลายตัว ท่านก็กราบทูลว่า "ทนไม่ไหวพระเจ้าข้า ระงับไม่อยู่
ความดีที่ข้าพระพุทธเจ้าได้มาแล้ว คงจะสลายตัวไปแล้ว" พระพุทธเจ้าจึงตรัสถามว่า
"อัสสชิ เธอถือว่าร่างกายเป็นของเธอหรือ" ท่านก็ตอบว่า "ไม่ใช่พระเจ้าข้า"
พระองค์ถามว่า "หรือว่าเธอเห็นว่าเธอมีในร่างกาย" พระอัสสชิก็ตอบว่า "ไม่ใช่พระเจ้าข้า"
ก็รวมความว่า ท่านอัสสชิยังถือว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา
เมื่อท่านตอบอย่างนี้แล้วพระพุทธเจ้าก็มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า "อัสสชิ ความดีของเธอไม่เสื่อม ความดียังทรงตนอยู่"?
หลังจากนั้นเมื่อพระอัสสชิพบองค์สมเด็จพระบรมครูแล้วไม่นานก็นิพพาน
แสดงให้เห็นว่าขึ้นชื่อว่า ขันติ มันจะทนได้ก็แค่พอจะทนไหว ถ้าเกินกำลังเมื่อไร อาตมาก็เช่นเดียวกับพระอัสสชิ
แต่ทว่าท่านเป็นพระอรหันต์ในสมัยตอนต้นพุทธกาล เป็นพระอรหันต์ที่มีกำลังยิ่งยวดมาก
เพราะยังไม่มีใครเป็นตัวอย่างเป็นแบบฉบับของพระอรหันต์ ฉะนั้นการเป็นอรหันต์เวลานั้นต้องใช้กำลังใจสูงมาก
มีความฉลาดมาก มีความอดทนมาก มีความเข้มแข็งมาก
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 676
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 621
ของวิกิพีเดีย ย่อหน้าสุดท้ายใช่ครับ เป็นการคุยในกลุ่ม ที่ยกมาให้ดูเพิ่มเติมครับ ตอนแรกว่าจะเอาออก แต่ลงให้ครบ ตัดเฉพาะในส่วนจิตทั้งหมดครับpicatos เขียน:ผมคิดว่าการอ้างอิงพุทธพจน์โดยใช้จาก wikipedia ระดับอรรถกถาจารย์ หรือในระดับอาจารย์ นี่ล่อแหลมต่อการเอาไปใช้งานมากพอสมควรเลยนะครับ เพราะ อย่างที่คุณ Pekko เข้าใจ คือ นี่เป็นการพูดคุยกันระหว่างอาจารย์กับลูกศิษย์ที่มีพื้นฐาน มีจริต มีประสบการณ์ มีอะไรบางอย่างที่สอดคล้องกัน ซึ่งก็ทำให้มีความเข้าใจเฉพาะกลุ่ม เหมาะสมกับการสื่อสารในวาระนั้น ในคราวนั้น ซึ่งมันจะยังไม่ Generalize พอที่จะเป็นธรรมในระดับที่ไม่ขึ้นกับกาลเวลา ไม่ขึ้นอยู่กับบุคคล ในระดับพุทธพจน์Pekko เขียน:...
จากวิกิพีเดีย
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การพิจารณาวิญญาณขันธ์ อานิสงค์ คือ ทำลายอนิจจวิปลาส (สำคัญความไม่แน่นอนว่าแน่นอน) เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่เป็นทิฏฐิจริตทั้ง 3 คือศรัทธาจริต พุทธิจริต วิตกจริต และเป็นวิปัสสนายานิก
...
ซึ่งหากว่ากันโดยการดูจิต ผมขออ้างอิงกลับไปที่ จิตตานุปัสสนา โดยข้อความของพุทธพจน์ดังต่อไปนี้
"...
[๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต
ปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิต
ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต
ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็น
มหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิต
มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิต
อื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่
เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุด
พ้น ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็น
จิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณา
เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่าง
หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย
ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ
ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ
..."
ไม่ทราบว่าที่คุณ Pekko บอกว่าไม่เชื่อถือวิธี "ดูจิต" นี่หมายถึงไม่เชื่อถือในวิธีนี้ หรือ วิธีไหนเหรอครับ?
ถ้าเป็นพุทธพจน์นี้ จบครับเชื่อ 100% เรียกได้ว่าจิตเห็นจิต แบบทีละขั้นทีละตอน เห็นแบบนี้คือต้องมีสัมมาทิฏฐิครับ และสัมมาทิฏฐิ จะเกิดขึันได้ต้องมีสัมมาอีก 7 ประการเกิดขึ้นก่อน หรือพร้อมกันด้วยครับ
โดยต้องรู้ประเภทจิตให้ทั่ว แต่ปัญหาคือ ดูอย่างไรถึงเรียกว่ารู้ แล้วที่รู้มันถูกทางหรือเปล่า
ควรรู้ในสิ่งง่ายๆ คือ กายของหยาบ ที่เป็นรูปธรรม ให้ถ่องแท้เสียก่อน จึงจะขยับเข้ามาจิตที่เป็นนามธรรม แต่ถ้าใครฝึกดูจิตแล้วประสบความสำเร็จ ก็ทำต่อไปครับ
ส่วนที่ผมไม่เชื่อ คือ การดูจิตที่ปราศจากสมาธิและวิปัสนาญาณแล้วได้ผลครับ การดูจิตมิใช่เรื่องง่าย ทำได้ทันที
ผมเข้าใจ(คนเดียว)เองนะว่า คนส่วนมากคิดว่า ดูจิตเป็นเรื่องง่าย ลัดขั้นตอน ได้ผลทันที ซึ่งผมว่ามันไม่จริงครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
กาย เวทนา จิต ธรรม
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 622
รบกวนช่วยขยายความ สมาธิ และ วิปัสนาญาณ ที่ทำให้การเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานให้ได้ผลหน่อยได้ไหมครับ? ว่าสมาธิระดับใด และ วิปัสสนาญาณ ขนาดไหนถึงเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้การดูจิตได้ผลครับPekko เขียน:...
ส่วนที่ผมไม่เชื่อ คือ การดูจิตที่ปราศจากสมาธิและวิปัสนาญาณแล้วได้ผลครับ การดูจิตมิใช่เรื่องง่าย ทำได้ทันที
ผมเข้าใจ(คนเดียว)เองนะว่า คนส่วนมากคิดว่า ดูจิตเป็นเรื่องง่าย ลัดขั้นตอน ได้ผลทันที ซึ่งผมว่ามันไม่จริงครับ
ขอบคุณครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 676
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 623
คำถามนี้ผมตอบไม่ได้จริงๆ ครับ เพราะผมเองก็ยังไปไม่ถึงไหน ผมไม่ถนัดดูจิตครับ เพราะไ่ม่รู้ดูจิตคือดูอะไรpicatos เขียน: รบกวนช่วยขยายความ สมาธิ และ วิปัสนาญาณ ที่ทำให้การเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานให้ได้ผลหน่อยได้ไหมครับ? ว่าสมาธิระดับใด และ วิปัสสนาญาณ ขนาดไหนถึงเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้การดูจิตได้ผลครับ
ขอบคุณครับ
แต่ถ้าเรียกว่าพิจารณาจิตเห็นจิตตามพุทธพจน์ ก็ตามตัวอักษรพุทธพจน์เลยครับ เหมาะสำหรับคนที่ปฎิบัติมาพอสมควร ก็น่าจะทราบได้ว่าไปต่อได้อย่างไร
ด้วยตัวมหาสติปัฎฐาน ถ้าปฎิบัติถูกทาง ได้ผลอย่างน้อย คือ พระอนาคามี นั่นคือ บริบูรณ์ในศีลสมาธิ ส่วนปัญญานั้นระดับนึง
ขอย้อนตอบเรื่องพระอัสสชิกับความเสื่อมถอยสมาธิอีกทีนะครับ
พระอนาคามีขึ้นไป มีความบริบูรณ์ด้านศีลกับสมาธิ และมีปัญญาในระดับนึง
ส่วนพระอรหันต์ มีความบริบูรณ์ครบทั้ง 3 ประการ
การเจ็บป่วยทางร่างกาย ที่ทำให้เข้าสมาธิไม่ได้นั้น มิได้ทำให้ความเป็นอริยะเพิ่มขึ้นหรือลดลงครับ กล่าวคือก็ยังเป็นพระอรหันต์เหมือนเดิม อริยมรรคก็ยังเหมือนเดิมครับ สัมมาสมาธิก็เหมือนเดิม ยังบริบูรณ์ในสมาธิเหมือนเดิมด้วยครับ
ดังนั้นการเข้าสมาธิไม่ได้ อันเนื่องมาจากความเจ็บป่วยนั้นหรือมีเหตุปัจจัยอื่นๆ จึงไม่มีส่วนทำให้สมาธิเสื่อมถอยในระดับพระอนาคามีขึ้นไปครับ
ขอบคุณคุณ tum_H ที่กรุณาช่วย post ทำให้ผมนึกขึ้นมาได้ครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
กาย เวทนา จิต ธรรม
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 624
ผมคิดว่าหากสังเกต พิจารณา มหาสติปัฏฐานสูตรดูแล้ว จะพบว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้มีกล่าวเอาไว้เลยนะครับ ว่า จิตตานุปัสสนา เหมาะสมสำหรับคนที่ปฏิบัติมาพอสมควรแล้ว ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นความเห็นของอาจารย์กลุ่มหนึ่ง ตามแนวทางการปฏิบัติแบบหนึ่ง ซึ่งหากเป็นความเห็นของอาจารย์ที่มีทิฎฐิ มีจริต มีการสั่งสมที่แตกต่างกัน อาจจะมีมุมมองที่แตกต่างกันได้Pekko เขียน:...
คำถามนี้ผมตอบไม่ได้จริงๆ ครับ เพราะผมเองก็ยังไปไม่ถึงไหน ผมไม่ถนัดดูจิตครับ เพราะไ่ม่รู้ดูจิตคือดูอะไร
แต่ถ้าเรียกว่าพิจารณาจิตเห็นจิตตามพุทธพจน์ ก็ตามตัวอักษรพุทธพจน์เลยครับ เหมาะสำหรับคนที่ปฎิบัติมาพอสมควร ก็น่าจะทราบได้ว่าไปต่อได้อย่างไร
...
หากคุณ Pekko มีโอกาสได้อ่านอรรถกถาของมหาสติปัฏฐานสูตร จะพบข้อความเหล่านี้ครับ
"...
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐานว่ามี ๔ ไม่หย่อนไม่ยิ่ง.
ตอบว่า ก็เพราะจะทรงให้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เวไนยสัตว์.
แท้จริง ในจำพวกเวไนยสัตว์ที่เป็นตัณหาจริต ทิฏฐิจริต ผู้เป็นสมถยานิก (ผู้มีสมถะเป็นยาน) และวิปัสสนายานิก (ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน) ที่เป็นไปโดยส่วนทั้งสอง คือ ปัญญาอ่อนและปัญญากล้า
กายานุปัสสนาสติปัฏฐานมีอารมณ์หยาบเป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีตัณหาจริต มีปัญญาอ่อน.
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานมีอารมณ์ละเอียด เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีตัณหาจริต มีปัญญากล้า.
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานที่มีอารมณ์ไม่แยกออกมากนัก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีทิฏฐิจริต มีปัญญาอ่อน.
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานที่มีอารมณ์แยกออกมาก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีทิฏฐิจริต มีปัญญากล้า.
อนึ่ง สติปัฏฐานข้อ ๑ ที่มีนิมิตอันจะพึงบรรลุได้โดยไม่ยาก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นสมถยานิก มีปัญญาอ่อน.
สติปัฏฐานข้อที่ ๒ เพราะไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์อย่างหยาบ จึงเป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นสมถยานิก มีปัญญากล้า.
สติปัฏฐานข้อที่ ๓ มีอารมณ์ที่แยกออกไม่มากนัก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นวิปัสสนายานิก มีปัญญาอ่อน.
สติปัฏฐานข้อที่ ๔ มีอารมณ์ที่แยกออกมาก เป็นทางหมดจด สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นวิปัสสนายานิก มีปัญญากล้า.
เพราะเหตุดังนั้น จึงกล่าวว่า สติปัฏฐานมี ๔ เท่านั้น ไม่หย่อนไม่ยิ่ง.
..."
แม้ว่าอรรถกถานี้จะเป็นความเห็นอันหนึ่ง ของอรรถกถาจารย์ ซึ่งอาจจะไม่สมบูรณ์พร้อม สามารถใช้ได้ ไม่ขึ้นกับกาลเวลา ไม่ขึ้นกับตัวบุคคล ในระดับพุทธพจน์ของพระพุทธเจ้า แต่เข้าใจว่าก็น่าจะเป็นความเห็นของอรรถกถาจารย์ที่น่าจะมีภูมิธรรมที่สูงระดับหนึ่ง ซึ่งเราคงไม่อาจจะปฏิเสธ และบอกว่าเส้นทางนี้เป็นทางที่ผิดได้
และในสิ่งที่อรรถกถานี้ได้กล่าวเอาไว้ คือ ธรรมชาติของคนแต่ละคนมีความเหมาะสมกับฐานในการกำหนดที่แตกต่างกันไป ซึ่งคุณ Pekko คิดว่าอาจจะเป็นไปได้ไหมครับ ที่จะมีคนบางประเภทจริงๆ ที่เค้าเริ่มต้น ก็สามารถดูจิตได้อย่างเป็นธรรมชาติ หรือเหมาะสมที่จะเริ่มต้นในการปฏิบัติจากการดูจิต ซึ่งหากปฏิบัติด้วยการดูจิตจะมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติได้มากกว่าการเริ่มต้นจากเส้นทางอื่น
โดยส่วนตัวผมไม่ได้เริ่มต้นการปฏิบัติด้วยการดูจิต และโดยธรรมชาติก็ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญในการดูจิต แต่ผมเห็นว่าการปฏิเสธการปฏิบัติในแนวทางอื่นที่ไม่ตรงกับเรามากจนเกินไปนั้นไม่ค่อยเกื้อประโยชน์ในการพัฒนาตัวเอง การยอมรับความเป็นไปต่างๆ พร้อมที่จะทำความเข้าใจแนวทางในการปฏิบัติของคนประเภทอื่นๆ ผมเชื่อว่าน่าจะช่วยในการพัฒนาตัวเองได้มากกว่า ไม่มากก็น้อย
อย่างไรก็ตามผมเห็นด้วยกับคุณ Pekko นะครับ ว่าระดับความยากง่ายในการเข้าไปตามดูตามรู้นั้นจะมีระดับความยากง่ายแตกต่างกัน ควรที่จะฝึกพัฒนาจากง่ายไปยาก จากกายหยาบไปกายละเอียด จากนามอย่างหยาบไปนามอย่างละเอียด ควรที่จะฝึกในการใช้เครื่องมือต่างๆ ให้ครบถ้วน อาจจะไม่ต้องถึงขั้นเชี่ยวชาญ แต่เอาให้พอใช้เป็นบ้าง เพราะ ในบางคราว เครื่องมือบางอย่างที่เราปฏิเสธนั้น เป็นเครื่องมือที่เหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ มากกว่า ซึ่งถ้าเราใช้เครื่องมือประเภทอื่นๆ เป็นบ้าง ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการกับกิเลสได้มากยิ่งขึ้น
และเท่าที่เคยมีประสบการณ์ในการปฏิบัติ จะพบว่าสิ่งที่เราเรียนรู้มันจะวิ่งขึ้น วิ่งลง ไล่อนุโลม ปฏิโลม บางครั้งรู้สิ่งที่ถูกรู้ได้ง่ายจากของหยาบไล่ขึ้นไปของละเอียด และเมื่อองค์ความรู้เรามากขึ้นถึงจุดหนึ่ง บ่อยๆ ครั้งที่จิตก็จะย้อนกลับมาพิจารณา ตามดู ตามรู้ เรียนรู้สิ่งที่ดูเหมือนว่าจะเป็นของหยาบ ของที่เหมือนจะเป็นของง่ายที่เคยผ่านไปแล้วใหม่อีกครั้งแล้วครั้งเล่า ในมุมมองที่ละเอียดละออมากยิ่งขึ้น เปรียบเสมือนการวาดภาพ Impressionism ที่ค่อยๆ แต้มสีจากภาพรวมเข้ามาที่ภาพย่อยแต่ละจุด ย้อนกลับไปภาพรวม กลับมาภาพย่อยจนได้ภาพที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นๆ จากภาพ Impressionism จนอาจกลายเป็นภาพ Hyperrealism เลยก็ได้
โดยส่วนตัวหลังจากที่เรามีประสบการณ์ในการใช้เครื่องมือต่างๆ มากขึ้นๆ มีเครื่องมือที่ได้ฝึกเรียนรู้มาครบทุกฐาน ทุก Channel เราจะไม่เหลือการเลือกฐานในการปฏิบัติอีกต่อไป หากจิตสนใจพิจารณาสิ่งใด จิตก็ตามดูตามรู้สิ่งนั้นโดยอัตโนมัติ ด้วยเหตุนี้ ผมคิดว่า แม้ว่าการเริ่มต้นของคนแต่ละคนอาจจะต่างกัน แต่สุดท้ายแล้วผมเชื่อว่าเราต้องฝึกใช้เครื่องมือในทุกๆ ฐาน อาจจะมีความเชี่ยวชาญในแต่ละฐานมากน้อยไม่เท่ากัน แต่เป้าหมายที่เราพยายามทำอยู่ก็แค่ต้องการเครื่องมือที่เอาไปใช้ในการประหารกิเลส เครื่องมือไหนใช้ได้เหมาะมือ ก็ใช้เครื่องมือนั้น
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 625
อ้อ หากสนใจเรื่อง ตัณหาจริต ทิฏฐิจริต สมถะ วิปัสสนา ปัญญาอ่อน และ ปัญญาแก่ ผมแนะนำให้อ่าน เนตติปกรณ์ ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่แต่งโดยพระมหากัจจายนะ ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร
โดยจากอ่านรายละเอียดในเรื่อง "จำแนกบุคคล 4 โดยปฏิปทา 4" หน้า 75 นะครับ ซึ่งในหน้าต่อๆ มามีข้อแนะนำจากพระมหากัจจายนะ ว่าคนประเภทใดควรเจริญสมถะก่อนวิปัสสนา หรือควรเจริญ วิปัสสนาก่อนสมถะ
โดยจากอ่านรายละเอียดในเรื่อง "จำแนกบุคคล 4 โดยปฏิปทา 4" หน้า 75 นะครับ ซึ่งในหน้าต่อๆ มามีข้อแนะนำจากพระมหากัจจายนะ ว่าคนประเภทใดควรเจริญสมถะก่อนวิปัสสนา หรือควรเจริญ วิปัสสนาก่อนสมถะ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- Tibular
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 626
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
อวิชชา คือ ความไม่รู้ในอริยสัจครับ
อวิชชา, อาสวะ, นิวรณ์, อนุสัย ต่างกันอย่างไร
http://faq.watnapp.com/word/296-04-00-0039
พระอรหันต์ มีทั้งแบบสุขและทุกข์กระทบท่านอยู่ กับ แบบเวทนาที่ดับเย็นครับ
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ กับ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ต่างกันอย่างไร
http://faq.watnapp.com/th/practice/85-o ... 01-02-0016
จิต คือ กริยาที่รู้แจ้งครับ
การดูจิตอย่างละเอียด ทำอย่างไร
http://faq.watnapp.com/th/practice/85-o ... 01-02-0069
อวิชชา คือ ความไม่รู้ในอริยสัจครับ
อวิชชา, อาสวะ, นิวรณ์, อนุสัย ต่างกันอย่างไร
http://faq.watnapp.com/word/296-04-00-0039
พระอรหันต์ มีทั้งแบบสุขและทุกข์กระทบท่านอยู่ กับ แบบเวทนาที่ดับเย็นครับ
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ กับ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ต่างกันอย่างไร
http://faq.watnapp.com/th/practice/85-o ... 01-02-0016
จิต คือ กริยาที่รู้แจ้งครับ
การดูจิตอย่างละเอียด ทำอย่างไร
http://faq.watnapp.com/th/practice/85-o ... 01-02-0069
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 676
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 627
[quote="Pekko"]
ควรรู้ในสิ่งง่ายๆ คือ กายของหยาบ ที่เป็นรูปธรรม ให้ถ่องแท้เสียก่อน จึงจะขยับเข้ามาจิตที่เป็นนามธรรม แต่ถ้าใครฝึกดูจิตแล้วประสบความสำเร็จ ก็ทำต่อไปครับ
ผมปฎิเสธวิธีการที่นอกเหนือพุทธพจน์ หรือมีการตีความนอกเหนือมา บัญญัติเอง 100% ครับ ผมไม่สนใจด้วย
เหมือนกรรมฐาน 40 กอง เราก็เลือกที่ตรงจริตสัก 2-3 กอง อย่างคำบริกรรม พุทโธ ธัมโม สังโฆ มิใช่มากำหนดเลือกคำบริกรรมเอง เพราะอาจารย์ที่ให้กรรมฐานนั้นสำคัญมาก และอาจารย์ที่สอนการพิจารณาจิตก็สำคัญยิ่งหย่อนไม่แพ้กัน
สติปัฎฐาน 4 กับอานาปานสติ 16 ก็คือพระสูตรเดียวกันครับ พิจารณา ขันธ์5 จิต และธรรม
ขันธ์ 5 คือ รูป 1 นาม 4
รูปขันธ์ คือ กาย
นามขันธ์ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาณขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
ดังนั้น หมวดกาย คือ ลมหายใจนั้น แฝงด้วยนามธรรมอยู่ คือ ความสั้นยาวของลมหายใจ เมื่อเข้าใจถ่องแท้แล้วขยับเข้ามาที่ละเอียดขึ้น คือ พวกนามขันธ์ ที่อาศัยรูปกาย นั่นคือเวทนาขันธ์ ต้องรู้ปิตี สุข เมื่อเข้าใจถ่องแท้แล้ว นามขันธ์ที่เหลือทั้ง 3 ก็จักเข้าไปด้วย
แล้วถึงมาพิจารณาจิต กับธรรมในขั้นที่สูงขึ้นครับ ซึ่งเป็นเรื่องของนามล้วน ในการละตัวกูของกู เป็นสังโยชน์อย่างละเอียดและ เป็นคุณธรรมขั้นสูงครับ
สมาธิที่จะพิจารณาจิตอย่างน้อยต้องอุปจาระสมาธิครับ
บางคนชำนาญเรื่องคำบริกรรม เมื่อสมาธิทรงตัวแน่วแน่ คำบริกรรมก็จะหมดไปเอง ตรงนี้ให้หยิบธรรมะขึ้นมาพิจารณานั่นคือ สติปัฎฐาน 4 ตัวไหนโผล่ขึ้นมาเด่นชัดซัดตัวนั้นก่อน
ส่วนด้านปัญญาญาณนั้น มีถึง 16 ขั้น พอปฎิบัติจริงๆ ไม่มีใครมานั่งนับหรอกครับ ซึ่งถ้าสนใจก็ศึกษาด้านปริยัติเพิ่มเติม
ผมพยายามตอบตามที่ผมปฏิบัติมา พยายามอธิบายให้สั้นกระชับ หลีกเลี่ยงการตีความการคาดเดา
ส่วนใครที่เกิดมาแล้วถนัดเรื่องการพิจารณาจิตนั้น ก็ทำไปเลยครับ บุญบารมีไม่เท่ากัน แต่สามารถปฎิบัติให้ถึงจุดหมายได้ในระดับเดียวกัน
อย่างพระอรหันต์ มี 4 ประเภท แตกต่างกันในเรื่องคุณวิเศษมากน้อยไม่เท่ากัน แต่ทว่าความมากน้อยไม่เท่ากันนั้น มิได้ทำให้ความเป็นพระอรหันต์มากน้อย ลดหลั่น ยังคงเป็นระดับอรหันต์ เพราะตัวกูของกูไม่มีเหลือแล้ว จึงไม่มีการเปรียบว่า มากกว่า น้อยกว่า หรือเสมอกัน เพราะจิตได้เข้าสู่วิมุตติ ทิ้งของหยาบไปหมดเรียบร้อยแล้วครับ
ควรรู้ในสิ่งง่ายๆ คือ กายของหยาบ ที่เป็นรูปธรรม ให้ถ่องแท้เสียก่อน จึงจะขยับเข้ามาจิตที่เป็นนามธรรม แต่ถ้าใครฝึกดูจิตแล้วประสบความสำเร็จ ก็ทำต่อไปครับ
ผมปฎิเสธวิธีการที่นอกเหนือพุทธพจน์ หรือมีการตีความนอกเหนือมา บัญญัติเอง 100% ครับ ผมไม่สนใจด้วย
เหมือนกรรมฐาน 40 กอง เราก็เลือกที่ตรงจริตสัก 2-3 กอง อย่างคำบริกรรม พุทโธ ธัมโม สังโฆ มิใช่มากำหนดเลือกคำบริกรรมเอง เพราะอาจารย์ที่ให้กรรมฐานนั้นสำคัญมาก และอาจารย์ที่สอนการพิจารณาจิตก็สำคัญยิ่งหย่อนไม่แพ้กัน
สติปัฎฐาน 4 กับอานาปานสติ 16 ก็คือพระสูตรเดียวกันครับ พิจารณา ขันธ์5 จิต และธรรม
ขันธ์ 5 คือ รูป 1 นาม 4
รูปขันธ์ คือ กาย
นามขันธ์ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาณขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
ดังนั้น หมวดกาย คือ ลมหายใจนั้น แฝงด้วยนามธรรมอยู่ คือ ความสั้นยาวของลมหายใจ เมื่อเข้าใจถ่องแท้แล้วขยับเข้ามาที่ละเอียดขึ้น คือ พวกนามขันธ์ ที่อาศัยรูปกาย นั่นคือเวทนาขันธ์ ต้องรู้ปิตี สุข เมื่อเข้าใจถ่องแท้แล้ว นามขันธ์ที่เหลือทั้ง 3 ก็จักเข้าไปด้วย
แล้วถึงมาพิจารณาจิต กับธรรมในขั้นที่สูงขึ้นครับ ซึ่งเป็นเรื่องของนามล้วน ในการละตัวกูของกู เป็นสังโยชน์อย่างละเอียดและ เป็นคุณธรรมขั้นสูงครับ
สมาธิที่จะพิจารณาจิตอย่างน้อยต้องอุปจาระสมาธิครับ
บางคนชำนาญเรื่องคำบริกรรม เมื่อสมาธิทรงตัวแน่วแน่ คำบริกรรมก็จะหมดไปเอง ตรงนี้ให้หยิบธรรมะขึ้นมาพิจารณานั่นคือ สติปัฎฐาน 4 ตัวไหนโผล่ขึ้นมาเด่นชัดซัดตัวนั้นก่อน
ส่วนด้านปัญญาญาณนั้น มีถึง 16 ขั้น พอปฎิบัติจริงๆ ไม่มีใครมานั่งนับหรอกครับ ซึ่งถ้าสนใจก็ศึกษาด้านปริยัติเพิ่มเติม
ผมพยายามตอบตามที่ผมปฏิบัติมา พยายามอธิบายให้สั้นกระชับ หลีกเลี่ยงการตีความการคาดเดา
ส่วนใครที่เกิดมาแล้วถนัดเรื่องการพิจารณาจิตนั้น ก็ทำไปเลยครับ บุญบารมีไม่เท่ากัน แต่สามารถปฎิบัติให้ถึงจุดหมายได้ในระดับเดียวกัน
อย่างพระอรหันต์ มี 4 ประเภท แตกต่างกันในเรื่องคุณวิเศษมากน้อยไม่เท่ากัน แต่ทว่าความมากน้อยไม่เท่ากันนั้น มิได้ทำให้ความเป็นพระอรหันต์มากน้อย ลดหลั่น ยังคงเป็นระดับอรหันต์ เพราะตัวกูของกูไม่มีเหลือแล้ว จึงไม่มีการเปรียบว่า มากกว่า น้อยกว่า หรือเสมอกัน เพราะจิตได้เข้าสู่วิมุตติ ทิ้งของหยาบไปหมดเรียบร้อยแล้วครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
กาย เวทนา จิต ธรรม
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 628
ขอบคุณสำหรับความเห็นและองค์ความรู้ของเพื่อนๆ พี่ๆ โดยเฉพาะคุณ Pekko นะครับ ได้อ่านความเห็นต่างๆ แล้วก็ทำให้ผมได้ศึกษา พิจารณาอะไรเพิ่มเติมขึ้นอีกเยอะ และทำให้มีแรงบันดาลใจในการศึกษา พัฒนาตัวเองขึ้นอีกมาก ก็ขอให้เพื่อนๆ พี่ๆ เจริญก้าวหน้าในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปนะครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 629
ขอบคุณสำหรับความเห็นและองค์ความรู้ของเพื่อนๆ พี่ๆ โดยเฉพาะคุณ Pekko นะครับ ได้อ่านความเห็นต่างๆ แล้วก็ทำให้ผมได้ศึกษา พิจารณาอะไรเพิ่มเติมขึ้นอีกเยอะ และทำให้มีแรงบันดาลใจในการศึกษา พัฒนาตัวเองขึ้นอีกมาก ก็ขอให้เพื่อนๆ พี่ๆ เจริญก้าวหน้าในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปนะครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 676
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 630
ผมถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กันครับ อาจจะมีข้อสงสัยบ้าง ข้อขัดแย้งกันบ้าง เนื่องจากความเห็นที่ไม่ตรงกัน
แต่ความเห็นที่ไม่ได้ตรงกัน มิได้แปลความว่า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูก เพราะอาจจะถูกด้วยกันทั้งหมด (จะมากจะน้อยเป็นอีกเรื่อง) หรืออาจจะผิดเข้ารกเข้าป่าด้วยกันทั้งหมดครับ 5555
อะไรที่ POST ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่ามีประโยชน์ ก็เก็บไว้ ถ้าไม่มีประโยชน์ก็โยนทิ้งเสีย และอย่าเพิ่งเชื่อ ตามหลักกาลามาสูตร 10 ครับ
ขอบคุณเช่นกันครับ
แต่ความเห็นที่ไม่ได้ตรงกัน มิได้แปลความว่า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูก เพราะอาจจะถูกด้วยกันทั้งหมด (จะมากจะน้อยเป็นอีกเรื่อง) หรืออาจจะผิดเข้ารกเข้าป่าด้วยกันทั้งหมดครับ 5555
อะไรที่ POST ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่ามีประโยชน์ ก็เก็บไว้ ถ้าไม่มีประโยชน์ก็โยนทิ้งเสีย และอย่าเพิ่งเชื่อ ตามหลักกาลามาสูตร 10 ครับ
ขอบคุณเช่นกันครับ
สติปัฎฐาน 4
กาย เวทนา จิต ธรรม
กาย เวทนา จิต ธรรม