ไม่มีแบรนด์/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1827
ผู้ติดตาม: 1

ไม่มีแบรนด์/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

    สินค้าไม่มีแบรนด์ หรือ generic goods มักทำขึ้นมาเพื่อร้านค้าที่ขายสินค้านั้นๆ จึงเรียกอีกอย่างว่า เฮ้าส์แบรนด์ (House Brand) โดยตั้งใจทำให้สินค้ามีราคาถูกลง เพราะไม่ต้องเสียค่าโฆษณา

    เมื่อกล่าวถึงสินค้าที่ไม่มีแบรนด์แล้ว คงไม่มีสินค้าอะไรดังไปกว่า “มูจิ” Muji

    “Muji” เป็นแบรนด์ที่มีกำเนิดจากการเป็นเฮ้าส์แบรนด์ ของห้างสรรพสินค้าเซยุ (Seiyu) ในญี่ปุ่น ซึ่งเริ่มในปลายปี 1980 เน้นออกแบบสินค้าที่เรียบง่าย แต่คุณภาพดี มีสินค้าเริ่มต้นประมาณ 40 รายการ เมื่อเปิดเป็นร้านในย่าน อะโอยะมะ (Aoyama) ในกรุงโตเกียว ในเดือนมิถุนายน 1983 มีจำนวนสินค้าเพิ่มเป็น 720 รายการ

    แผนก มูจิรุชิ เรียวฮิน (Mujirushi Ryohin) ซึ่งแปลตรงตัวว่า “สินค้าดี ไม่มีแบรนด์” ถูกตั้งขึ้น ในเดือนกันยายน 1985 และจัดตั้งเป็นบริษัท Ryohin Keikaku เรียวฮิน เคคาขุ ในเดือนมิถุนายน 1989 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 100 ล้านเยน

    บริษัทขยายตลาดออกไปเปิดร้านในลอนดอน และฮ่องกงในปี 1991

    บริษัทเรียวฮิน ไคคาขุ (มูจิ) ระดมทุนจากประชาชน เมื่อเดือนสิงหาคม 1995 โดยซื้อขายกันนอกตลาด หลังจากนั้นในปี 1998 เข้าไปจดทะเบียนซื้อขายในกระดานรอง ของตลาดหลักทรัพย์โตเกียว และย้ายไปซื้อขายในกระดานหลักในเดือน สิงหาคม ปี 2000 รหัสที่ใช้ในการซื้อขายคือ 7453

    มูจิ เปิดร้านไอร์แลนด์ในปี 2002 ในเกาหลีใต้ปี 2003 ไต้หวันและอิตาลี ในปี 2004 ในจีน (เซี่ยงไฮ้) และเยอรมนี ในปี 2005 และไทยในปี 2012

    ปัจจุบันมูจิมีร้านในญี่ปุ่น 414 ร้าน มีร้านในต่างประเทศ 344 ร้าน ใน 25 ประเทศ ยอดขายในต่างประเทศคิดเป็น 35.5% ของยอดขายรวมค่ะ

    สปิริต หรือ “แก่น” ของแนวคิดตั้งแต่เริ่มต้นของมูจิ คือ ต้องการผลิตสินค้าคุณภาพดีในราคาที่ต่ำ โดยเริ่มจากสินค้าที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน

    ข้อสำคัญที่บริษัทยึดมั่นในการผลิตมี 3 ข้อคือ 1. การคัดเลือกวัตถุดิบ 2. การผลิตที่เรียบง่าย ตัดลดขั้นตอนการผลิต วัสดุ ขอบ ขนาด และรูปทรงที่ไม่จำเป็นออกไป และ3. บรรจุภัณฑ์แบบง่าย พยายามให้เป็นธรรมชาติ ทั้งการเลือกใช้วัสดุ สี และรูปแบบ ซึ่งเป็นการลดขยะไปในตัว เมื่อมุ่งมั่นดังนี้ จึงพัฒนาวัตถุดิบ การผลิต และสินค้าที่ใช้งานได้ดี เพื่อตอบสนองผู้บริโภคให้ดียิ่งๆขึ้น

    ดิฉันชอบใจในปรัชญาของการพัฒนาสินค้าของมูจิมากเลยค่ะ เขาบอกว่า ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าของมูจิเพราะรู้สึกว่า “อันนี้ใช่เลย สำหรับฉัน” มากกว่า “ฉันต้องมีอันนี้ให้ได้” ดังนั้น เวลาพัฒนาสินค้า เขาจึงมุ่งแก้ไขปัญหา หรือกำจัดความไม่สะดวกสบายในการใช้สินค้าที่ลูกค้าประสบอยู่

    ปัจจุบันสินค้าทั้ง 7,100 รายการ ของมูจิ ล้วนพัฒนาบนความ “เป็นธรรมชาติ ไม่มีชื่อ เรียบง่าย และระดับโลก” เริ่มจากของใช้ในบ้านและอาหาร เสื้อผ้า ถุงเท้า เสื้อชั้นใน เครื่องเขียน ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ของใช้ประจำวัน ขนมของฝาก และขยายเข้าไปทำทั้ง ร้านกาแฟและอาหารแบบง่ายๆ เฟอร์นิเจอร์ ของแต่งบ้าน ฯลฯ และยังมีที่ป่าให้ลูกค้าไปตั้งแคมป์พักผ่อนอีก 3 แห่ง ในจังหวัด นิอิกะตะ กุนมะ และ กิฟุ

    บริษัท เรียวฮิน เคคาขุ มีทุนจดทะเบียนในปัจจุบัน 6,766.25 ล้านเยน (ประมาณ 2,267 ล้านบาท) มียอดขายในปี 2015 (มี.ค 15 ถึง ก.พ. 16) รวม 307,532 ล้านเยน (ประมาณ 103,023 ล้านบาท) กำไรสุทธิ 22,980 ล้านเยน (ประมาณ 7,700 ล้านบาท) อัตรากำไร 7.47% มีพนักงาน 6,566 คน (4,920 คน เป็นพนักงานพาร์ทไทม์)

    ราคาหุ้น ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2559 หุ้นละ 25,520 เยน กำไรต่อหุ้น 818.44 เยน  ราคาหุ้นคิดเป็น 31.2 เท่าของผลการดำเนินงานเดิม และ 27.7 เท่า ของผลการดำเนินงานที่คาดไว้ในปีนี้ และเป็น 4.86 เท่าของมูลค่าทางบัญชี บริษัทให้ผลตอบแทนเงินปันผลในอัตรา 1.07% และเงินปันผลใน 5 ปีที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 17.47%

    ความสำเร็จของบริษัทที่ขาย “สินค้าดี ไม่มีแบรนด์” แห่งนี้ มาจากการใส่ใจอย่างไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนาสินค้าตอบสนองผู้บริโภคให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด บนปรัชญา “ความเงียบง่าย”

    หมายเหตุ ข้อมูลประวัติและผลประกอบการ จากข้อมูลของบริษัท ข้อมูลที่เปิดเผยต่อประชาชน จาก Bloomberg และจากการคำนวณของผู้เขียน บทความนี้เขียนเพื่อบอกเล่าตัวอย่างของธุรกิจที่น่าสนใจ ไม่ได้ประสงค์จะชี้ชวนให้ลงทุนในบริษัทดังกล่าว การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนโปรดศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
[/size]
nut776
Verified User
โพสต์: 3350
ผู้ติดตาม: 0

Re: ไม่มีแบรนด์/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ตอนนี้ มันคือ แบรนด์ไปละคับ
สินค้า muji แพงมากกกกกกกกกกกกกกก
หลายอย่างราคาเป็นเท่าตัว ของราคาแบรนด์กลาง ถึงล่าง

ส่วนทนหรือเปล่าผมไม่รู้ละ

จะบอกว่า npm 7% มันน้อยกว่าสินค้า แบรนด์ กะอาจจะจริง
แต่ของผมว่าไม่ใช่ของถูกอะ
show me money.
กูรูขอบสนาม
Verified User
โพสต์: 987
ผู้ติดตาม: 0

Re: ไม่มีแบรนด์/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

นี่คือข้อผิดพลาดของแบรนด์ราคาปานกลาง-ถูก
เมื่อมาให้ห้างสรรพสินค้าที่ขายของแพงทำการตลาด
แม้เมื่อปีสองปีที่แล้วจะมีการทำ re strategy ลดราคาลงมา ก็ยังแพงมาก..มาก

อีกกรณีหนึ่งที่น่าจะวายวางในไม่ช้าก็คือ ร้านรองเท้า PayLess
ซึ่งจัดจำหน่ายโดยเจ้าเดียวกัน
เปิดเป็น Shop ในห้างเหมือนกัน ก็น่าจะไปไม่รอด
เพราะราคาไม่ได้ pay less เลย
pay พอๆกับแบรนด์ทั่วไป
อาจจะ more เมื่อเทียบกับบรรดารองเท้าใน discounted store ด้วยซ้ำ

นี่คือบทเรียนของแบรนด์ถูกที่ถูกขายแพงจากเจ้าจำหน่าย

โชคดีที่ ฺUniqlo ลงมาทำการตลาดเอง จึงสามารถรักษา Pricing ในระดับที่ต้องการได้
(แรกๆได้ยินว่า Central จะขอมีส่วนร่วมด้วย)
ชีวิตเกิดและตายเพียงอย่างละหน ส่วนที่เหลือตรงกลางต้องค้นพบเอง
nut776
Verified User
โพสต์: 3350
ผู้ติดตาม: 0

Re: ไม่มีแบรนด์/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ผมเห็น muji ที่ขายที่ central east ville คนซื้อ เป็นคนดู ไฮโซ มากกว่า
ความรู้สึก เหมือน มันเป็นแบรนด์ที่ พยายาม สื่อความเป็น simplified + vintage

คนไปซื้อไม่ใช่เพราะมันทน หรือถูกเลย แต่ให้ความรู้สึกว่า
แบบจริงๆฉันรวยนะ แต่อยากให้ดู เรียบๆ

ส่วน ยูนิโก ผมว่าราคากลางๆ ทนหรือเปล่าเด๋วค่อยว่า เพราะ ซื้อให้แม่ใช้ เลยยังไม่รู้ผล
ส่วนตัวผมใช้กระจอกกว่า ยูนิโก เยอะ เลยไม่รู้ว่ของเขาทนหรือดีไง แต่ไม่ใช่
ราคารากหญ้าอยากผม เลือกเป็นอันดับแรกอะคับ
show me money.
โพสต์โพสต์