osp
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 599
- ผู้ติดตาม: 0
osp
โพสต์ที่ 1
โอสถสภา
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
เราจะเป็นบริษัทอุปโภค-บริโภคชั้นนำของประเทศไทย
ที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค
และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในภูมิภาคอาเซียน
มากกว่าหนึ่งศตวรรษกับความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจของโอสถสภา
เรายังคงมุ่งมั่นวิจัยและคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์
เพื่อตอบสนองความต้องการ ของคนไทย
“เพื่อให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
เราจะเป็นบริษัทอุปโภค-บริโภคชั้นนำของประเทศไทย
ที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค
และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในภูมิภาคอาเซียน
มากกว่าหนึ่งศตวรรษกับความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจของโอสถสภา
เรายังคงมุ่งมั่นวิจัยและคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์
เพื่อตอบสนองความต้องการ ของคนไทย
“เพื่อให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 599
- ผู้ติดตาม: 0
Re: osp
โพสต์ที่ 2
2434
“เต๊กเฮงหยู” คำที่คนไทยได้ยินติดหูกันมานานแสนนาน แท้คือชื่อดั่งเดิม
ของบริษัท โอสถสภา ที่มาจากชื่อร้านขายของเบ็ดเตล็ดย่านสำเพ็ง
ก่อตั้งโดย นายแป๊ะ โอสถานุเคราห์ ที่ได้นำสูตรยาจีนโบราณที่มีชื่อว่า
ยากฤษณากลั่น ซึ่งมีสรรพคุณบรรเทาโรคปวดท้องต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
ยากฤษณากลั่นนี้เองที่ได้ถูกทูลเกล้าฯ
ถวาย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6
เพื่อใช้ในการซ้อมรบของกิจการเสือป่าที่จังหวัดนครปฐมอีกด้วย
2456
จากประสิทธิผลของยากฤษณากลั่น นำสู่ความสำเร็จและความภาคภูมิใจ
ของร้าน “เต๊กเฮงหยู” ที่พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงเล็งเห็น จึงเขียนแนะนำให้ใช้ยากฤษณากลั่นในการรักษาโรคท้องร่วง
ในพระราชนิพนธ์ “กันป่วย” นอกจากนั้นยังพระราชทานเข็มเสือป่า
และทรงประทานนามสกุลให้แก่นายแป๊ะ อันเป็นมงคลอีกด้วยว่า “โอสถานุเคราะห์”
2475
ร้านเต๊กเฮงหยูได้ย้ายไปยังถนนเจริญกรุง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกนี้ ทำให้เกิดการ
เปลี่ยนชื่อร้านไปเป็น “โอสถสถานเต๊กเฮงหยู” ซึ่ง ณ เวลานั้น
นอกจากยากฤษณากลั่นตรากิเลนที่เป็นที่รู้จักแล้ว ยังมีการผลิตยาสามัญประจำบ้านอื่นๆ
อีกหลายชนิดที่ติดตลาด และบ่งบอกความเป็นตัวตนของ โอสถสภา มาจนทุกวันนี้
เช่น ยาธาตุ, ยาแก้ไอ, ยาอมวัน-วัน, ยาอมโบตัน และยาทัมใจ
2492
โอสถสภาเต๊กเฮงหยู ขยายฝ่ายผลิตไปยังโรงงานย่านซอยหลังสวน โดยติดตั้งเครื่องจักรที่
ทันสมัยเพื่อรองรับการผลิตที่เติบโต อีกทั้งยังเป็นปีที่ได้จดทะเบียนบริษัท
และเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท โอสถสภา (เต๊กเฮงหยู) จำกัด
ณ วันที่ 23 พฤษภาคม 2492
2502
จากร้านขายยาเล็กๆ ในย่านสำเพ็งที่ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว
และนับเป็นที่สุดแห่งความภาคภูมิใจของตระกูลโอสถานุเคราะห์
และบริษัทฯ ตลอดจนพนักงานทุกคนที่ในปีนี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน
จะทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
พระราชทานครุฑตราตั้งให้แก่ บริษัท โอสถสภา (เต๊กเฮงหยู) จำกัด
ณ วันที่ 13 ตุลาคม 2502
2517
จากความสำเร็จของธุรกิจนำไปสู่การพัฒนาและขยับขยายกิจการ
ของบริษัทฯ จึงได้ควบรวมสำนักงานที่เจริญกรุงและโรงงานใน
ซอยหลังสวน ให้มารวมกันอยู่ที่เดียวกัน
ณ สำนักงานบนถนนรามคำแหง
ย่านหัวหมาก บางกะปิ
บนเนื้อที่กว่า 70 ไร่ จวบจนกระทั่งถึงทุกวันนี้
2538
บริษัทฯ ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น
“บริษัท โอสถสภา จำกัด”
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
“เต๊กเฮงหยู” คำที่คนไทยได้ยินติดหูกันมานานแสนนาน แท้คือชื่อดั่งเดิม
ของบริษัท โอสถสภา ที่มาจากชื่อร้านขายของเบ็ดเตล็ดย่านสำเพ็ง
ก่อตั้งโดย นายแป๊ะ โอสถานุเคราห์ ที่ได้นำสูตรยาจีนโบราณที่มีชื่อว่า
ยากฤษณากลั่น ซึ่งมีสรรพคุณบรรเทาโรคปวดท้องต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
ยากฤษณากลั่นนี้เองที่ได้ถูกทูลเกล้าฯ
ถวาย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6
เพื่อใช้ในการซ้อมรบของกิจการเสือป่าที่จังหวัดนครปฐมอีกด้วย
2456
จากประสิทธิผลของยากฤษณากลั่น นำสู่ความสำเร็จและความภาคภูมิใจ
ของร้าน “เต๊กเฮงหยู” ที่พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงเล็งเห็น จึงเขียนแนะนำให้ใช้ยากฤษณากลั่นในการรักษาโรคท้องร่วง
ในพระราชนิพนธ์ “กันป่วย” นอกจากนั้นยังพระราชทานเข็มเสือป่า
และทรงประทานนามสกุลให้แก่นายแป๊ะ อันเป็นมงคลอีกด้วยว่า “โอสถานุเคราะห์”
2475
ร้านเต๊กเฮงหยูได้ย้ายไปยังถนนเจริญกรุง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกนี้ ทำให้เกิดการ
เปลี่ยนชื่อร้านไปเป็น “โอสถสถานเต๊กเฮงหยู” ซึ่ง ณ เวลานั้น
นอกจากยากฤษณากลั่นตรากิเลนที่เป็นที่รู้จักแล้ว ยังมีการผลิตยาสามัญประจำบ้านอื่นๆ
อีกหลายชนิดที่ติดตลาด และบ่งบอกความเป็นตัวตนของ โอสถสภา มาจนทุกวันนี้
เช่น ยาธาตุ, ยาแก้ไอ, ยาอมวัน-วัน, ยาอมโบตัน และยาทัมใจ
2492
โอสถสภาเต๊กเฮงหยู ขยายฝ่ายผลิตไปยังโรงงานย่านซอยหลังสวน โดยติดตั้งเครื่องจักรที่
ทันสมัยเพื่อรองรับการผลิตที่เติบโต อีกทั้งยังเป็นปีที่ได้จดทะเบียนบริษัท
และเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท โอสถสภา (เต๊กเฮงหยู) จำกัด
ณ วันที่ 23 พฤษภาคม 2492
2502
จากร้านขายยาเล็กๆ ในย่านสำเพ็งที่ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว
และนับเป็นที่สุดแห่งความภาคภูมิใจของตระกูลโอสถานุเคราะห์
และบริษัทฯ ตลอดจนพนักงานทุกคนที่ในปีนี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน
จะทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
พระราชทานครุฑตราตั้งให้แก่ บริษัท โอสถสภา (เต๊กเฮงหยู) จำกัด
ณ วันที่ 13 ตุลาคม 2502
2517
จากความสำเร็จของธุรกิจนำไปสู่การพัฒนาและขยับขยายกิจการ
ของบริษัทฯ จึงได้ควบรวมสำนักงานที่เจริญกรุงและโรงงานใน
ซอยหลังสวน ให้มารวมกันอยู่ที่เดียวกัน
ณ สำนักงานบนถนนรามคำแหง
ย่านหัวหมาก บางกะปิ
บนเนื้อที่กว่า 70 ไร่ จวบจนกระทั่งถึงทุกวันนี้
2538
บริษัทฯ ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น
“บริษัท โอสถสภา จำกัด”
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 599
- ผู้ติดตาม: 0
Re: osp
โพสต์ที่ 8
นายพิเชษฐ์ สิทธิอำนวย กรรมการผู้อำนวยการ บล.บัวหลวง เปิดเผยว่า บล.บัวหลวง เผยจะร่วมกับ บล.ภัทร มีแผนนำบริษัท โอสถสภา จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่ม "ลิโพบิตัน-ดี, เอ็ม-150, ฉลาม และเอ็มสปอร์ต เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
โดยตอนนี้ยังอยู่ระหว่างเตรียมการ ยังบอกไม่ได้ว่าจะเข้า (ตลาดหลักทรัพย์ฯ) ทันปีนี้หรือไม่ เพราะตอนนี้มีหลายบริษัทมากที่ยื่นไฟลิ่งไปยัง ก.ล.ต.จึงทำให้ ก.ล.ต.ต้องใช้เวลาพิจารณา
ทั้งนี้ เมื่อเดือน ธ.ค.57 ไอเอฟอาร์ เปิดเผยว่า โอสถสภา กำลังวางแผนเสนอ ขายหุ้นให้ประชาชนทั่วไปครั้งแรก(IPO) โดยมีมูลค่าระดมทุนราว 6.4-8.0 พันล้านบาท เพื่อนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในครึ่งหลังปีนี้ โดยมี บล.บัวหลวง และ บล.ภัทร จะเป็นผู้ดูแลการทำ IPO ในครั้งนี้
สำหรับโอสถสภา ถือเป็นบริษัทใหญ่รายหนึ่ง และคาดว่าจะระดมทุนมาก แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่า จะเป็นเงินระดมทุนเท่าใด เนื่องจากอยู่ระหว่างการดำเนินการ และจะต้องรอดูตัวเลขในการเสนอขายหุ้นว่าจะอยู่ในระดับใด
จากที่เมื่อเดือน พ.ย.57 บริษัท คาราบาว กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CBG ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเครื่องดื่มชูกำลัง ระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ประมาณ 7 พันล้านบาท โดยเสนอขายหุ้น IPO จำนวน 250 ล้านหุ้น แบ่งเป็นหุ้นเพิ่มทุน 150 ล้านหุ้น และหุ้นของกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม 100 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 28 บาท ซึ่งมี บล.กสิกรไทย และ ธ.ซีไอเอ็มบีไทย เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
โดยตอนนี้ยังอยู่ระหว่างเตรียมการ ยังบอกไม่ได้ว่าจะเข้า (ตลาดหลักทรัพย์ฯ) ทันปีนี้หรือไม่ เพราะตอนนี้มีหลายบริษัทมากที่ยื่นไฟลิ่งไปยัง ก.ล.ต.จึงทำให้ ก.ล.ต.ต้องใช้เวลาพิจารณา
ทั้งนี้ เมื่อเดือน ธ.ค.57 ไอเอฟอาร์ เปิดเผยว่า โอสถสภา กำลังวางแผนเสนอ ขายหุ้นให้ประชาชนทั่วไปครั้งแรก(IPO) โดยมีมูลค่าระดมทุนราว 6.4-8.0 พันล้านบาท เพื่อนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในครึ่งหลังปีนี้ โดยมี บล.บัวหลวง และ บล.ภัทร จะเป็นผู้ดูแลการทำ IPO ในครั้งนี้
สำหรับโอสถสภา ถือเป็นบริษัทใหญ่รายหนึ่ง และคาดว่าจะระดมทุนมาก แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่า จะเป็นเงินระดมทุนเท่าใด เนื่องจากอยู่ระหว่างการดำเนินการ และจะต้องรอดูตัวเลขในการเสนอขายหุ้นว่าจะอยู่ในระดับใด
จากที่เมื่อเดือน พ.ย.57 บริษัท คาราบาว กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CBG ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเครื่องดื่มชูกำลัง ระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ประมาณ 7 พันล้านบาท โดยเสนอขายหุ้น IPO จำนวน 250 ล้านหุ้น แบ่งเป็นหุ้นเพิ่มทุน 150 ล้านหุ้น และหุ้นของกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม 100 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 28 บาท ซึ่งมี บล.กสิกรไทย และ ธ.ซีไอเอ็มบีไทย เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 599
- ผู้ติดตาม: 0
Re: osp
โพสต์ที่ 9
โอสถสภา บริษัทเก่าแก่อายุ 125 ปี สลัดธุรกิจครอบครัว ปรับโครงสร้างองค์กรระดมทุนในตลาดหุ้นเสริมแกร่ง 4 ธุรกิจ ดังมือดีจากยูนิลีเวอร์ เสริมทัพ ตลาดหลักทรัพย์ฯ เผยใช้เวลาจีบ 10 ปี คาดระดมทุนต้นปี 2560 มาร์เก็ตแคปหลังไอพีโอ 5-6 หมื่นล้านบาท ตั้งที่ปรึกษา 2 ราย บล.ภัทร –บัวหลวง วงการที่ปรึกษาทางการเงินวิเคราะห์ มูลค่าตลาดสูงกว่าคาราบาวแดง 5 เท่า
อาณาจักรโอสถสภา
อาณาจักรโอสถสภา
นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผย”ฐานเศรษฐกิจ”ว่า กลุ่มบริษัท โอสถสภา จำกัด มีแผนจะระดมทุนและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) ช่วงต้นปี 2560 จากเดิมที่คาดว่าจะเข้าจดทะเบียนในปลายปีนี้ สาเหตุที่ขยายเวลาออกไป เนื่องจากติดปัญหาเรื่องมาตรฐานบัญชีใหม่
ทั้งนี้กลุ่มโอสถสภาจะมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม(มาร์เก็ตแคป)หลังการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนทั่วไป(ไอพีโอ)เป็นมูลค่าที่สูงถึง 5-6 หมื่นล้านบาท และการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ของโอสถสภา ถือเป็นความสำเร็จของตลท.หลังจากใช้เวลาในการทาบทามมากว่า 10 ปี
มีรายงานข่าวช่วงปลายปี 2557 โอสถสภามีแผนระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ วงเงิน 6,400 – 8,000 ล้านบาท คาดว่าจะเข้าจดทะเบียนในช่วงครึ่งหลังของปี 2558 – 2559 และก่อนหน้านั้น โอสถสภา ได้ปรับโครงสร้างองค์กรโดยแต่งตั้ง นายธรรมศักดิ์ จิตติมาพร เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัท เพื่อก้าวสู่ความเป็นมืออาชีพยิ่งขึ้น เงินที่ได้จากการระดมทุน จะนำไปขยายตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคในเครือ ซึ่งมี 4 กลุ่ม
“บล.บัวหลวง-ภัทร” ที่ปรึกษา
นายพิเชษฐ สิทธิอำนวย กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์(บล.)บัวหลวง จำกัด(มหาชน) (บมจ.) กล่าวว่า บล.บัวหลวงฯ และบล.ภัทรฯ เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ในการนำโอสถสภา เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ และจัดโครงสร้างธุรกิจ
ส่วนจะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (แบบไฟลิ่ง) และยื่นคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) นั้น ไม่สามารถบอกได้ เช่นเดียวกับจำนวนหุ้นไอพีโอ ที่ไม่สามารถบอกได้เช่นเดียวกัน
จับตากลุ่มเครื่องดื่ม
แหล่งข่าวจากที่ปรึกษาทางการเงิน แสดงความเห็นว่า โอสถสภาถือเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ทำให้ต้องใช้ที่ปรึกษาทางการเงินรายใหญ่ คือ บล.ภัทรฯ ซึ่งมีพันธมิตรด้านงานวิจัยหลักทรัพย์และธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์กับแบงก์ออฟอเมริกา เมอร์ริล ลินช์ เพื่อเสนอขายหุ้นไอพีโอให้กับนักลงทุนสถาบันต่างประเทศด้วย
“น่าจับตาว่าโอสถสภา จะดันธุรกิจอะไรเข้าระดมทุนและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เฉพาะกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มชูกำลังก็มีมูลค่ามากกว่าคาราบาวแดงถึง 5 เท่า ” แหล่งข่าวกล่าวและว่า
อีกสาเหตุที่คาดว่าโอสถสภา ตัดสินใจเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ฯ อาจเนื่องมาจาก บมจ. คาราบาวกรุ๊ป ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลังภายใต้แบรนด์ “คาราบาวแดง” ที่มีส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 2 รองจาก M-150 เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2557 ซึ่งได้ระดมเงินทุนกว่า 7,000 ล้านบาท เพื่อขยายตลาดในกลุ่มประเทศ CLMV รวมทั้งการขยายธุรกิจเพิ่มเติม
อนึ่งตลาดเครื่องดื่มชูกำลัง ณ เดือนมิถุนายน 2559 มีมูลค่ารวม 2.2 หมื่นล้านบาท โดย 3 อันดับแรกที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดดังนี้ เอ็ม 150 มีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ที่ 57.7 % อันดับ 2 คาราบาวแดง 21.1 % ส่วนอันดับ 3 กระทิงแดง มีส่วนแบ่งตลาด 16.3 %
ดึง 2 มือดียูนิลีเวอร์เสริมทัพ
แหล่งข่าวจากกลุ่มธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค กล่าวว่า ได้เห็นความเคลื่อนไหวการเตรียมตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯของบริษัท โอสถสภา ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2558 ที่ผ่านมา โดยมีการปรับระบบภายในองค์กรโดยเฉพาะระบบการเบิกจ่ายงบประมาณ และระบบบัญชีภายในที่มีความรัดกุมมากขึ้น จากเดิมที่สามารถยืดหยุ่นการเบิกจ่ายระหว่างซัพพลายเออกับบริษัท คาดว่าเป็นการปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานบัญชีสำหรับบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ขณะเดียวกันตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2559 โอสถสภา ได้แต่งตั้งนางวรรณิภา ภักดีบุตร รองประธานกรรมการบริหารด้านผลิตภัณฑ์ความงาม ดูแลแบรนด์สินค้าส่วนบุคคลในเครือยูนิลีเวอร์ ที่ทำงานนานเกือบ 30 ปีให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ เพื่อเป็นผู้นำทีมบริหารให้บรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจของโอสถสภา สำหรับสร้างความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับโอสถสภา ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ดึงนางกรรณิกา ชลิตาภรณ์ ที่เคยทำงานที่เครือยูนิลีเวอร์นานถึง 32 ปี กับตำแหน่งสุดท้ายรองประธานและกรรมการอำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนบุคคล และเคยทำงานที่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) นานกว่า 10 ปี มาดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัท โอสถสภาฯ ด้วย
เปิดอาณาจักร 4 กลุ่มธุรกิจ
ปัจจุบันบริษัท โอสถสภาฯ มี 4 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ 1.ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและลูกอม มีสินค้า อาทิ เครื่องดื่มแบรนด์เอ็ม 150 ลิโพวิตัน-ดี ฉลาม เอ็มสปอร์ต และลูกอมโอเล่ เป็นต้น
2. ผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคล มีสินค้า อาทิ แบรนด์เบบี้มายด์ ทเวลฟ์พลัส และยูทิป เป็นต้น
3. ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ มีสินค้า อาทิ ลูกอมโบตัน แบนเนอร์ และทัมใจ เป็นต้น
และ 4. ผลิตภัณฑ์ตลาดในต่างประเทศ มีสินค้า อาทิ เครื่องดื่มฉลาม และเอ็ม- 150 เป็นต้น สำหรับกลุ่มธุรกิจที่ถือว่าทำรายได้สูงสุดจะเป็นกลุ่มสินค้าเครื่องดื่มและลูกอม และกลุ่มสินค้าส่วนบุคคล
สำหรับผลการดำเนินงานในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา พบว่าปี 2558 มีรายได้รวมกว่า 3.20 หมื่นล้านบาท มีกำไรกว่า 2,336 ล้านบาท ปี 2557 มีรายได้รวมกว่า 3.16 หมื่นล้านบาท กำไรกว่า 1,534 ล้านบาท ปี 2556 มีรายได้รวมกว่า 2.81 หมื่นล้านบาท มีกำไรกว่า 771 ล้านบาท ปี 2555 มีรายได้รวมกว่า 2.57 หมื่นล้านบาท มีกำไรกว่า 488 ล้านบาท และปี 2554 มีรายได้รวมกว่า 2.29 หมื่นล้านบาท มีกำไรกว่า 611 ล้านบาท
โอสถสภา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2434 จากร้านขายของเบ็ดเตล็ด ในชื่อ เต็กเฮงหยู โดยตระกูลโอสถานุเคราะห์ มีอายุรวม 125 ปี
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,186 วันที่ 25 – 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
อาณาจักรโอสถสภา
อาณาจักรโอสถสภา
นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผย”ฐานเศรษฐกิจ”ว่า กลุ่มบริษัท โอสถสภา จำกัด มีแผนจะระดมทุนและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET) ช่วงต้นปี 2560 จากเดิมที่คาดว่าจะเข้าจดทะเบียนในปลายปีนี้ สาเหตุที่ขยายเวลาออกไป เนื่องจากติดปัญหาเรื่องมาตรฐานบัญชีใหม่
ทั้งนี้กลุ่มโอสถสภาจะมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม(มาร์เก็ตแคป)หลังการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนทั่วไป(ไอพีโอ)เป็นมูลค่าที่สูงถึง 5-6 หมื่นล้านบาท และการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ของโอสถสภา ถือเป็นความสำเร็จของตลท.หลังจากใช้เวลาในการทาบทามมากว่า 10 ปี
มีรายงานข่าวช่วงปลายปี 2557 โอสถสภามีแผนระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ วงเงิน 6,400 – 8,000 ล้านบาท คาดว่าจะเข้าจดทะเบียนในช่วงครึ่งหลังของปี 2558 – 2559 และก่อนหน้านั้น โอสถสภา ได้ปรับโครงสร้างองค์กรโดยแต่งตั้ง นายธรรมศักดิ์ จิตติมาพร เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัท เพื่อก้าวสู่ความเป็นมืออาชีพยิ่งขึ้น เงินที่ได้จากการระดมทุน จะนำไปขยายตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคในเครือ ซึ่งมี 4 กลุ่ม
“บล.บัวหลวง-ภัทร” ที่ปรึกษา
นายพิเชษฐ สิทธิอำนวย กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์(บล.)บัวหลวง จำกัด(มหาชน) (บมจ.) กล่าวว่า บล.บัวหลวงฯ และบล.ภัทรฯ เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ในการนำโอสถสภา เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ และจัดโครงสร้างธุรกิจ
ส่วนจะยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (แบบไฟลิ่ง) และยื่นคำขออนุญาตเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) นั้น ไม่สามารถบอกได้ เช่นเดียวกับจำนวนหุ้นไอพีโอ ที่ไม่สามารถบอกได้เช่นเดียวกัน
จับตากลุ่มเครื่องดื่ม
แหล่งข่าวจากที่ปรึกษาทางการเงิน แสดงความเห็นว่า โอสถสภาถือเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ทำให้ต้องใช้ที่ปรึกษาทางการเงินรายใหญ่ คือ บล.ภัทรฯ ซึ่งมีพันธมิตรด้านงานวิจัยหลักทรัพย์และธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์กับแบงก์ออฟอเมริกา เมอร์ริล ลินช์ เพื่อเสนอขายหุ้นไอพีโอให้กับนักลงทุนสถาบันต่างประเทศด้วย
“น่าจับตาว่าโอสถสภา จะดันธุรกิจอะไรเข้าระดมทุนและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เฉพาะกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มชูกำลังก็มีมูลค่ามากกว่าคาราบาวแดงถึง 5 เท่า ” แหล่งข่าวกล่าวและว่า
อีกสาเหตุที่คาดว่าโอสถสภา ตัดสินใจเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ฯ อาจเนื่องมาจาก บมจ. คาราบาวกรุ๊ป ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลังภายใต้แบรนด์ “คาราบาวแดง” ที่มีส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 2 รองจาก M-150 เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2557 ซึ่งได้ระดมเงินทุนกว่า 7,000 ล้านบาท เพื่อขยายตลาดในกลุ่มประเทศ CLMV รวมทั้งการขยายธุรกิจเพิ่มเติม
อนึ่งตลาดเครื่องดื่มชูกำลัง ณ เดือนมิถุนายน 2559 มีมูลค่ารวม 2.2 หมื่นล้านบาท โดย 3 อันดับแรกที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดดังนี้ เอ็ม 150 มีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ที่ 57.7 % อันดับ 2 คาราบาวแดง 21.1 % ส่วนอันดับ 3 กระทิงแดง มีส่วนแบ่งตลาด 16.3 %
ดึง 2 มือดียูนิลีเวอร์เสริมทัพ
แหล่งข่าวจากกลุ่มธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค กล่าวว่า ได้เห็นความเคลื่อนไหวการเตรียมตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯของบริษัท โอสถสภา ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2558 ที่ผ่านมา โดยมีการปรับระบบภายในองค์กรโดยเฉพาะระบบการเบิกจ่ายงบประมาณ และระบบบัญชีภายในที่มีความรัดกุมมากขึ้น จากเดิมที่สามารถยืดหยุ่นการเบิกจ่ายระหว่างซัพพลายเออกับบริษัท คาดว่าเป็นการปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานบัญชีสำหรับบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ขณะเดียวกันตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2559 โอสถสภา ได้แต่งตั้งนางวรรณิภา ภักดีบุตร รองประธานกรรมการบริหารด้านผลิตภัณฑ์ความงาม ดูแลแบรนด์สินค้าส่วนบุคคลในเครือยูนิลีเวอร์ ที่ทำงานนานเกือบ 30 ปีให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ เพื่อเป็นผู้นำทีมบริหารให้บรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจของโอสถสภา สำหรับสร้างความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับโอสถสภา ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ดึงนางกรรณิกา ชลิตาภรณ์ ที่เคยทำงานที่เครือยูนิลีเวอร์นานถึง 32 ปี กับตำแหน่งสุดท้ายรองประธานและกรรมการอำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนบุคคล และเคยทำงานที่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) นานกว่า 10 ปี มาดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัท โอสถสภาฯ ด้วย
เปิดอาณาจักร 4 กลุ่มธุรกิจ
ปัจจุบันบริษัท โอสถสภาฯ มี 4 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ 1.ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและลูกอม มีสินค้า อาทิ เครื่องดื่มแบรนด์เอ็ม 150 ลิโพวิตัน-ดี ฉลาม เอ็มสปอร์ต และลูกอมโอเล่ เป็นต้น
2. ผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคล มีสินค้า อาทิ แบรนด์เบบี้มายด์ ทเวลฟ์พลัส และยูทิป เป็นต้น
3. ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ มีสินค้า อาทิ ลูกอมโบตัน แบนเนอร์ และทัมใจ เป็นต้น
และ 4. ผลิตภัณฑ์ตลาดในต่างประเทศ มีสินค้า อาทิ เครื่องดื่มฉลาม และเอ็ม- 150 เป็นต้น สำหรับกลุ่มธุรกิจที่ถือว่าทำรายได้สูงสุดจะเป็นกลุ่มสินค้าเครื่องดื่มและลูกอม และกลุ่มสินค้าส่วนบุคคล
สำหรับผลการดำเนินงานในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา พบว่าปี 2558 มีรายได้รวมกว่า 3.20 หมื่นล้านบาท มีกำไรกว่า 2,336 ล้านบาท ปี 2557 มีรายได้รวมกว่า 3.16 หมื่นล้านบาท กำไรกว่า 1,534 ล้านบาท ปี 2556 มีรายได้รวมกว่า 2.81 หมื่นล้านบาท มีกำไรกว่า 771 ล้านบาท ปี 2555 มีรายได้รวมกว่า 2.57 หมื่นล้านบาท มีกำไรกว่า 488 ล้านบาท และปี 2554 มีรายได้รวมกว่า 2.29 หมื่นล้านบาท มีกำไรกว่า 611 ล้านบาท
โอสถสภา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2434 จากร้านขายของเบ็ดเตล็ด ในชื่อ เต็กเฮงหยู โดยตระกูลโอสถานุเคราะห์ มีอายุรวม 125 ปี
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,186 วันที่ 25 – 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 599
- ผู้ติดตาม: 0
Re: osp
โพสต์ที่ 11
ขอแนบwebsiteไว้เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ครับ
http://www.osotspa.com/new/en/home/index.php
http://www.osotspa.com/new/en/home/index.php
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 599
- ผู้ติดตาม: 0
Re: osp
โพสต์ที่ 12
โอสถสภาจัดหนักเปลี่ยนพนักงานเดิมออก 80% ดึงคนยูนิลีเวอร์ฯ เสียบ ตามวิสัยทัศน์แม่ทัพใหม่ที่มาจากลีเวอร์แหล่งข่าวจากบริษัท โอสถสภา ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ เช่น เครื่องดื่มชูกำลัง M-150....... อ่านต่อได้ที่ : http://www.posttoday.com/biz/news/467553