เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
-
- Verified User
- โพสต์: 172
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 691
อีกวิธีสำหรับการบรรลุธรรมนะครับ....
ให้ฟังคำพระพุทธเจ้าก่อนตาย...
อานิสงส์ของผู้ที่ได้ยินได้ฟังคำตถาคตก่อนตาย
ถ้ายังละสังโยชน์ห้าเบื้องต่ำไม่ได้จะละได้
หากเขาละได้แล้วจะเป็นพระอรหันต์
ไม่ต่างอะไรกับผู้ที่บรรลุมาแล้วนับร้อยปีครับ
...แค่ได้ยินได้ฟังก่อนตายเท่านั้น...จากผัคคุนะสูตร
ส่วนใครอยากรับประกันการบรรลุธรรมของตัวเองก็ต้องมีสุตตะครับ ทรงจำสุตตะตถาคตได้ ว่าได้คล่องปากขึ้นใจ แทงตอลดอย่างดีด้วยความเห็น ถึงแม้จะขาดสติ ตาย แต่จะได้บรรลุธรรมด้วย4 อาการในภพ ของเทวดาครับ
....
สุตตะมีประโยชน์มากครับ และเป็น เหตุปัจจัย 1 ใน 5. ให้ได้สิ่งที่ปรารถนาด้วย...
เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธาครับ...
ให้ฟังคำพระพุทธเจ้าก่อนตาย...
อานิสงส์ของผู้ที่ได้ยินได้ฟังคำตถาคตก่อนตาย
ถ้ายังละสังโยชน์ห้าเบื้องต่ำไม่ได้จะละได้
หากเขาละได้แล้วจะเป็นพระอรหันต์
ไม่ต่างอะไรกับผู้ที่บรรลุมาแล้วนับร้อยปีครับ
...แค่ได้ยินได้ฟังก่อนตายเท่านั้น...จากผัคคุนะสูตร
ส่วนใครอยากรับประกันการบรรลุธรรมของตัวเองก็ต้องมีสุตตะครับ ทรงจำสุตตะตถาคตได้ ว่าได้คล่องปากขึ้นใจ แทงตอลดอย่างดีด้วยความเห็น ถึงแม้จะขาดสติ ตาย แต่จะได้บรรลุธรรมด้วย4 อาการในภพ ของเทวดาครับ
....
สุตตะมีประโยชน์มากครับ และเป็น เหตุปัจจัย 1 ใน 5. ให้ได้สิ่งที่ปรารถนาด้วย...
เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธาครับ...
ไม่ประมาท
-
- Verified User
- โพสต์: 172
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 692
ธรรมะที่ใช้สำหรับการพยากรณ์โสดาบันด้วยตัวเอง
.....
พระพุทธเจ้าเคยสอนพระอานนท์เอาไว้ แล้วทรงบอกชื่อธรรมปริยายด้วยพระองค์เองเลย ว่าธรรมนี้เรียกว่าแว่นธรรม สามารถใช้พยากรณ์โสดาบันด้วยตัวเองได้...ลองค้นหาอ่านกันดูได้ครับ
http://www.dhammahome.com/webboard/topic13565.html
.....
พระพุทธเจ้าเคยสอนพระอานนท์เอาไว้ แล้วทรงบอกชื่อธรรมปริยายด้วยพระองค์เองเลย ว่าธรรมนี้เรียกว่าแว่นธรรม สามารถใช้พยากรณ์โสดาบันด้วยตัวเองได้...ลองค้นหาอ่านกันดูได้ครับ
http://www.dhammahome.com/webboard/topic13565.html
ไม่ประมาท
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2603
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 693
วันนี้พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต พูดถึงหุ้นครับน่าฟังมากๆ^^
ฟังนาที37:40
https://www.facebook.com/Abhijato/video ... =2&theater
ขอบพระคุณ หลักสูตรThaiVI10 คาบจริยธรรมกับการลงทุน อ.ไพบูลย์ ได้เเนะนำให้ผมรู้จักพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบครับ -/\-
ฟังนาที37:40
https://www.facebook.com/Abhijato/video ... =2&theater
ขอบพระคุณ หลักสูตรThaiVI10 คาบจริยธรรมกับการลงทุน อ.ไพบูลย์ ได้เเนะนำให้ผมรู้จักพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบครับ -/\-
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2603
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 694
เนื้อหาดังนี้ครับtorpongpak เขียน:วันนี้พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต พูดถึงหุ้นครับน่าฟังมากๆ^^
ฟังนาที37:40
https://www.facebook.com/Abhijato/video ... =2&theater
ขอบพระคุณ หลักสูตรThaiVI10 คาบจริยธรรมกับการลงทุน อ.ไพบูลย์ ได้เเนะนำให้ผมรู้จักพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบครับ -/\-
“การเล่นหุ้นเล่นได้2แบบเล่นแบบลงทุนและเล่นแบบเล่นการพนัน
การพนันก็แบบซื้อเช้าขายเย็น ทีนี้เรื่องการเก็งกำไรก็คล้ายๆกับการเล่นการพนัน เข้าไปในบ่อนแล้วเล่นการพนันกันออกมาแล้วได้กำไร มันก็แล้วแต่คือมันก็ไม่ได้เป็นบาปเป็นเพียงแต่ว่าเป็นการหาเงินทองที่ค่อนข้างจะเสี่ยง เพราะไม่ได้หมายความจะเล่นได้เสมอไป ถ้าเล่นได้มันก็รวยไปทุกคนแล้ว มันต้องมีคนได้มันต้องมีคนเสีย เพราะเงินทองจากการพนันการเล่นหุ้นมันก็มาจากคนที่ไปเล่นด้วยกันนี่แหละ มันต้องมีคนนึงเสียคนนึงได้ เงินที่ได้มาได้มาบนกองทุกข์ของคนที่เสียมันก็ไม่ดี
แต่ถ้าเราเล่นแบบลงทุนระยะยาวผลกำไรเราได้จากบริษัท ค้าขายได้กำไร อันนี้มันก็ไม่ได้อยู่บนกองทุกข์ของผู้อื่น เพราะบริษัทค้าขายสินค้า คนซื้อสินค้าก็ได้รับประโยชน์เค้าก็ไม่ได้มีความทุกข์จากการที่เราได้เงินทองจากเขา
มันต่างกันตรงนี้แหละ ต่างกันที่ว่าถ้าเล่นการพนันมันจะมีการได้และมีการเสียและก็ผู้เสียจะต้องทุกข์หรือเดือดร้อน ผู้ได้ก็จะหลงระเริงและใช้เงินโดยไม่รู้จักประมาณได้มาง่ายก็เลยใช้ง่าย แล้วพอใช้ไปพอหมดแล้วอยากมาได้ใหม่ แล้วมาเล่นใหม่ แล้วบางทีมาเล่นใหม่แทนทีจะได้กลับเสีย แล้วบางทีเสียแล้วอยากได้คืนเล่นต่อคือเล่นจนไม่มีเงินจะเล่น ก็ไปกู้หนี้ยืมสินเค้าต่อ ขายทรัพย์สมบัติเงินทองมาเล่น มันจะทำให้ไปสู่การสิ้นเนื้อประดาตัวไม่ช้าก็เร็ว"
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
-
- Verified User
- โพสต์: 172
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 696
สำหรับคนที่มีความเชื่อ น้อมใจไปใน ความไม่เที่ยงของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เป็นโสดาบันนะครับ
พระพุทธเจ้าได้ตรัสบอกไว้
วิธีที่จะทำให้เห็น ความไม่เที่ยงก็ใช้ มรรค 8 ครับ --> ละความเพลิน กายคตาสติ อานาปานสติ ๆลๆ
เอาจิตมาตั้งไว้ที่กายมากๆครับ รู้ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้ายาวก็รู้ว่าหายใจเข้ายาว เห็นลมหายใจเกิดดับ เห็นความคิดเกิดดับครับ ก็จะเกิดปัญญา
ปัญญาในศาสนาพุทธ คือ ปัญญาเครื่องให้รู้ซึ่งความเกิดและความดับ อันเป็นปัญญาที่เป็นอริยะ เครื่องเจาะแทงกิเลส ให้ถึงซึ่งความสิ้นทุกข์ ครับ
ศาสนาพุทธที่พระพุทธเจ้าสอน ที่ผมได้ยินมา เข้าใจง่ายมากๆครับ อยากให้ลองมาศีกษากันดู คำพระพุทธเจ้าประกอบด้วยเหตุผล พอได้ฟังก็รู้ว่า นี่ อรหันตสัมมาสัมพุทธะ แน่นอน แบบนี้ครับ
จริงๆ รู้ลมหายใจเข้าออก ใช้ไปถึงนิพพานได้เลย ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้นะครับ
กายคตาสติ อันชนเหล่าใดไม่หลงลืม อมตะชื่อว่า อันชนเหล่านั้นไม่หลงลืม
พระพุทธเจ้าได้ตรัสบอกไว้
วิธีที่จะทำให้เห็น ความไม่เที่ยงก็ใช้ มรรค 8 ครับ --> ละความเพลิน กายคตาสติ อานาปานสติ ๆลๆ
เอาจิตมาตั้งไว้ที่กายมากๆครับ รู้ลมหายใจเข้าออก หายใจเข้ายาวก็รู้ว่าหายใจเข้ายาว เห็นลมหายใจเกิดดับ เห็นความคิดเกิดดับครับ ก็จะเกิดปัญญา
ปัญญาในศาสนาพุทธ คือ ปัญญาเครื่องให้รู้ซึ่งความเกิดและความดับ อันเป็นปัญญาที่เป็นอริยะ เครื่องเจาะแทงกิเลส ให้ถึงซึ่งความสิ้นทุกข์ ครับ
ศาสนาพุทธที่พระพุทธเจ้าสอน ที่ผมได้ยินมา เข้าใจง่ายมากๆครับ อยากให้ลองมาศีกษากันดู คำพระพุทธเจ้าประกอบด้วยเหตุผล พอได้ฟังก็รู้ว่า นี่ อรหันตสัมมาสัมพุทธะ แน่นอน แบบนี้ครับ
จริงๆ รู้ลมหายใจเข้าออก ใช้ไปถึงนิพพานได้เลย ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้นะครับ
กายคตาสติ อันชนเหล่าใดไม่หลงลืม อมตะชื่อว่า อันชนเหล่านั้นไม่หลงลืม
ตา ... หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจ
เป็นสิ่งไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นปกติ มีความเปลี่ยน
เป็นอย่างอื่นเป็นปกติ.
ภิกษุ ทั้งหลาย.! บุคคลใด มีความเชื่อน้อมจิตไป
ในธรรม ๖ อย่างนี้ ด้วยอาการอย่างนี้;
บุคคลนี้เราเรียกว่าเป็น สัทธานุสารี
หยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม (ระบบแห่งความถูกต้อง)
หยั่งลงสู่สัปปุริสภูมิ (ภูมิแห่งสัตบุรุษ)
ล่วงพ้นบุถุชนภูมิ ไม่อาจที่จะกระทำกรรม อันกระทำแล้ว
จะเข้าถึงนรก กำเนิดเดรัจฉาน หรือ เปรตวิสัย และไม่ควร
ที่จะทำกาละก่อนแต่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.
ไม่ประมาท
-
- Verified User
- โพสต์: 172
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 697
คติที่ไปของสัตว์นั้น ส่วนมากหลังตาย จะไปนรก เดรัจฉาน เปรตวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต นะครับ นานๆ จะได้เกิดมาเป็นมนุษย์ซักครั้งนึง
มนุษย์ที่ตายแล้ว กลับมาเกิดเป็นมนุษย์น้อยมาก เปรียบเหมือน เศษดินปลายเล็บ เทียบกับ เศษดินทั้งโลก
การเกิดเป็นมนุษย์ ยากมาก ครับ ความน่าจะเป็น เปรียบได้กับ อุปมาเหมือนน้ำท่วมโลก มีเต่าตาบอด ร้อยๆ ปีจะโผล่มาซักครั้ง แล้วจะยื่นคอไปในแอกที่ลอยอยู่เพียงอันเดียว ในน้ำนั้นนะครับ
ส่วน โสดาบันเป็นผู้ที่พ้นแล้วจาก นรก กำเนิดเดรัจฉาน อบาย ทุคติ วินิบาต นะครับ และ พระโสดาบันเกิดอีกไม่เกิน 7 คราว จะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
คุณสมบัติของความเป็นพระโสดาบัน มีหลายนัยยะครับ
นัยยะนึงก็คือ พ้นแล้วจากภัยเวร 5 ประการ (มีศีล 5 ...) และ มีความเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างไม่หวั่นไหว ครับ
หรือที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสถามพระสารีบุตรว่า ใครกันเป็นพระโสดาบัน
มนุษย์ที่ตายแล้ว กลับมาเกิดเป็นมนุษย์น้อยมาก เปรียบเหมือน เศษดินปลายเล็บ เทียบกับ เศษดินทั้งโลก
การเกิดเป็นมนุษย์ ยากมาก ครับ ความน่าจะเป็น เปรียบได้กับ อุปมาเหมือนน้ำท่วมโลก มีเต่าตาบอด ร้อยๆ ปีจะโผล่มาซักครั้ง แล้วจะยื่นคอไปในแอกที่ลอยอยู่เพียงอันเดียว ในน้ำนั้นนะครับ
ส่วน โสดาบันเป็นผู้ที่พ้นแล้วจาก นรก กำเนิดเดรัจฉาน อบาย ทุคติ วินิบาต นะครับ และ พระโสดาบันเกิดอีกไม่เกิน 7 คราว จะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
คุณสมบัติของความเป็นพระโสดาบัน มีหลายนัยยะครับ
นัยยะนึงก็คือ พ้นแล้วจากภัยเวร 5 ประการ (มีศีล 5 ...) และ มีความเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างไม่หวั่นไหว ครับ
หรือที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสถามพระสารีบุตรว่า ใครกันเป็นพระโสดาบัน
... อายุนรกนี่นานมาก ถ้าคำนวณจากพระสูตร ก็เป็นหลัก หลายล้านล้านปีครับ อยู่กันยาวๆ เลยทีเดียว ( ...,xxx,xxx,xxx,xxx ปี)สารีบุตร ! ที่มักกล่าวกันว่า โสดาบัน โสดาบันนี้ เป็นอย่างไรเล่า สารีบุตร?
สารีบุตร ! ถูกแล้ว ถูกแล้ว ผู้ที่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยอริยมรรคมีองค์แปดนี้อยู่ ถึงเราเองก็เรียกผู้เช่นนั้น ว่าเป็น พระโสดาบัน ผู้มีชื่ออย่างนี้ๆ มีโคตรอย่างนี้ๆ -
พระภิกษุรูปหนึ่งจึงทูลถามพระสัมมา สัมพุทธเจ้าว่า "พระองค์พอจะอุปมาความทุกข์ในนรก ให้ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทราบบ้างได้ไหม พระเจ้าข้า"
พระพุทธองค์ทรงรับ คำ แล้วอธิบายให้ฟังว่า "เปรียบเสมือนพวกราชบุรุษจับโจรมาได้ โจรนี้คิดร้ายต่อราชบัลลังก์ พอจับได้แล้ว ตอนเช้าก็นำมาให้พระราชาพร้อมกับกราบทูลถึงพฤติกรรมของโจรนั้นว่า โจรผู้นี้ คิดร้าย ก่อกบฏ ขอพระองค์ได้ทรงลงโทษตามพระราชหฤทัยเถิด พระราชาทรงรับสั่งว่า ให้เอาหอก 100 เล่ม แทงโจรนี้ให้ทั่วตัว พวกราชบุรุษก็ทำตามบัญชา พอถึงกลางวันพระราชาตรัสถามว่า โจรกบฏคนนั้นน่ะ ตายแล้วหรือยัง เมื่อได้รับคำตอบว่ายัง ก็รับสั่งให้เอาหอกมาแทงเพิ่มอีก 100 เล่ม พวกราชบุรุษก็ทำตาม พอตกเย็นยังไม่ตายอีก จึงให้เอาหอกไปแทงเพิ่มอีก 100 เล่ม รวมเป็น 300 เล่ม โจรก็ยังไม่ตายอยู่ดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โจรโดนหอกแทงมากถึง 300 เล่ม จะเจ็บปวดทรมานมากแค่ไหน"
พวกภิกษุกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพียงแค่หอกเล่มเดียว ก็เป็นทุกข์มากแล้ว จะกล่าวไปไยกับหอกถึง 300 เล่ม"
พระ บรมศาสดาตรัสต่อว่า "ความทุกข์จากการถูกหอกแทง 300 เล่ม เมื่อเทียบกับทุกข์ในมหานรกแล้ว เทียบกันไม่ได้เลย ทุกข์ในนรกเจ็บปวดทรมานมากกว่าเป็นร้อยเป็นพันเท่า ความทุกข์ของคนที่ถูกหอก 300 เล่มแทง มีปริมาณความเจ็บปวดเหมือนก้อนหินเล็กๆ ก้อนหนึ่ง แต่ทุกข์ในมหานรกมีปริมาณมากเหมือนเขาพระสุเมรุทีเดียว"
ไม่ประมาท
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 698
เมื่อเทียบสวรรค์ชั้น 6 พระพุทธเจ้าเพิ่งนิพพานไปแค่ 1 วันเองครับpeerawit เขียน: ... อายุนรกนี่นานมาก ถ้าคำนวณจากพระสูตร ก็เป็นหลัก หลายล้านล้านปีครับ อยู่กันยาวๆ เลยทีเดียว ( ...,xxx,xxx,xxx,xxx ปี)
อายุนรก
1 สัญชีพนรก 500 ปี --> 1 วันนรก = 9 ล้านปีมนุษย์ 4,500 ล้านปีมนุษย์
2 กาฬปุตตะนรก 1,000 ปี --> 1 วันนรก = 36 ล้านปีมนุษย์ 36,000 ล้านปีมนุษย์
3 สังฆาฏตนรก 2,000 ปี --> 1 วันนรก = 145 ล้านปีมนุษย์ 290,000 ล้านปีมนุษย์
4 โรรุวนรก 4,000 ปี --> 1 วันนรก = 234 ล้านปีมนุษย์ 936,000 ล้านปีมนุษย์
5 มหาโรรุวนรก 8,000 ปี --> 1 วันนรก = 9,216 ล้านปีมนุษย์ 73,728,000 ล้านปีมนุษย์
6 ตาปะมหานรก 16,000 ปี --> 1 วันนรก = 184,212 ล้านปีมนุษย์ 2,947,392,000 ล้านปีมนุษย์
7 มหาตาปะนรก 1/2 กัป --> ไม่มีการแจ้งไว้ นับไม่
8 อเวจีมหานรก 1 กัป --> ไม่มีการแจ้งไว้นับไม่ได้
9 พิเศษ โลกันตนรก ไม่มีอายุ --> เป็นการทำบาปที่พิเศษที่สุด ไม่มีระบุในตารา เสร็จจากนี้ต้องไปต่อที่ขุมอเวจีมหานรกต่อไป
อายุสวรรค์
1. ชั้น จาตุมมหาราชิกา เท่ากับ 9 ล้านปีมนุษย์ (500 ปีสวรรค์ * 12 เดือน * 30 วัน * 50ปีมนุษย์ )
2. ชั้น ดาวดึงส์ เท่ากับ 36 ล้านปีมนุษย์ (1,000 ปีสวรรค์ * 12 เดือน * 30 วัน * 100ปีมนุษย์ )
3. ชั้นยามา เท่ากับ 144 ล้านปีมนุษย์ (2,000 ปีสวรรค์ * 12 เดือน * 30 วัน * 200ปีมนุษย์ )
4. ชั้น ดุสิต เท่ากับ 576 ล้านปีมนุษย์ (4,000 ปีสวรรค์ * 12 เดือน * 30 วัน * 400ปีมนุษย์ )
5. ชั้น นิมมานรดี เท่ากับ 2,304 ล้านปีมนุษย์ (8,000 ปีสวรรค์ * 12 เดือน * 30 วัน * 800ปีมนุษย์ )
6. ชั้น ปรนิมมิตวสวัตตี เท่ากับ 9,216 ล้านปีมนุษย์ (16,000 ปีสวรรค์ * 12 เดือน * 30 วัน * 1,600ปีมนุษย์ )
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4940
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 700
https://www.facebook.com/Abhijato/?pnref=story
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต กับ Jakarin Jantarachot และ Rinly Lyn
1 กรกฎาคม เวลา 5:00 น. ·
“ความสุขทางโลกกับทางธรรมไปด้วยกันไม่ได้”
ความสุขทางโลกนี้จะต่อต้านความสุขทางธรรม จะเอาทั้ง ๒ อย่างไปพร้อมๆกันไม่ได้ จะเอาความสุขทางโลก แล้วก็จะเอาความสุขทางธรรมด้วยนี้เป็นไปไม่ได้ เช่นจะมีงานเลี้ยง เสร็จงานเลี้ยงก็จะไปนั่งสมาธิต่อ อย่างนี้เป็นไปไม่ได้ จัดงานเลี้ยงกินเหล้ากันดื่มเฮฮาปาร์ตี้กัน พอหมดงานเลี้ยงแล้วก็จะไปนั่งไหว้พระ สวดมนต์นั่งสมาธิต่อ มีใครเขาทำกันบ้างไหม ไม่มีหรอก ดูหนังเสร็จแล้วเดี๋ยวจะไปไหว้พระต่อไปนั่งสมาธิต่อ ดูละครก่อน แล้วเดี๋ยวจะเข้าห้องนั่งสมาธิทำใจให้สงบ มันเป็นไปไม่ได้ มันเป็นของเหมือนมืดกับแจ้ง มันเป็นของที่อยู่ด้วยกันไม่ได้ ถ้ามันมืดมันก็จะไม่แจ้งจะไม่สว่าง ถ้ามันสว่างมันก็จะไม่มืด หรือร้อนกับเย็น มันอยู่ที่เดียวกันไม่ได้ ถ้ามันร้อนมันก็จะไม่เย็น ถ้ามันเย็นมันก็จะไม่ร้อน ถ้ามันหิวมันก็จะไม่อิ่ม ถ้ามันอิ่มมันก็จะไม่หิว ถ้ามันสงบมันก็จะไม่วุ่นวาย ถ้ามันวุ่นวายมันก็ไม่สงบ แต่การกระทำของเรามันไม่ได้นำไปสู่ความสงบ การกระทำของเรามันนำไปสู่ความวุ่นวาย เพราะมันทำด้วยความอยาก อยากในรูปในเสียงในกลิ่นในรส มันไม่ได้ทำเพื่อหยุดความอยากกัน ถ้าทำเพื่อหยุดความอยาก พอความอยากหยุดปั๊บความสงบมันก็เกิดขึ้น แต่ถ้าทำเพื่อให้เกิดความอยาก มันก็จะเกิดความวุ่นวายตามมา
การกระทำของเรานี้มันไม่ได้ทำให้ความอยากมันหยุด แต่มันจะทำให้เกิดความอยากเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ เหมือนกับเวลาที่เสพยาเสพติด เวลาอยากเสพยาเสพติดก็เสพไป พอเสพแล้วเดี๋ยวความอยากจะเสพ ก็กลับมาใหม่ จึงต้องเสพไปเรื่อยๆ เวลาที่ไม่ได้เสพเวลานั้นก็เป็นเวลาที่วุ่นวายใจ นี่แหละคือความสุขทางโลก กับความสุขทางธรรมมันไปคนละทางกัน เราไม่สามารถที่จะเอาทั้ง ๒ แบบได้ ถ้าเราทั้ง ๒ แบบก็ขึ้นๆ ลงๆ ขับรถขึ้นไปทางเหนือ ๑๐๐ กิโลแล้วก็ย้อนขับรถไปลงทางใต้อีก ๑๐๐ กิโล มันก็ไม่ได้ไปไหน มันก็ติดอยู่กับการเวียนว่ายตายเกิดแบบนี้ไปอยู่เรื่อยๆ ถ้าอยากจะไปแบบไม่มีวันที่จะกลับมาไม่กลับมา เวียนว่ายตายเกิดไม่กลับมาทุกข์กับความแก่ กับความเจ็บ กับความตาย ก็ต้องเสียสละ สละทรัพย์ สละอวัยวะ สละชีวิต แล้วเราก็จะได้ธรรมก็คือจะได้บรรลุมรรคผลนิพพานกันอย่างที่พระพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวกทั้งหลายท่านได้บรรลุกัน ท่านได้บรรลุเพราะอะไร เพราะท่านสละทรัพย์ ท่านไม่เสียดายทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทองต่างๆ เมื่อถึงเวลาจะต้องเสียก็เสียได้อย่างเต็มที่เลย ท่านไม่เสียดายกับอวัยวะ เมื่อถึงเวลาจะต้องเสียท่านก็ยินดี ท่านไม่เสียดายชีวิตของท่าน เมื่อถึงเวลาจะต้องเสียชีวิตท่านก็ยอมเสีย การยอมเสียสิ่งเหล่านี้นี่เองที่ทำให้ท่านได้สิ่งที่เลิศที่ประเสริญ ที่ผู้ยังไม่ยอมเสียทรัพย์เสียอวัยวะเสียชีวิตจะไม่ได้รับกัน อยู่ที่ตรงนี้ความแตกต่างระหว่างพวกเรา กับพระพุทธเจ้ากับพระอรหันตสาวกทั้งหลายก็อยู่ที่การเสียสละนี่เอง เรายังไม่ยอมเสียสละ เหมือนกับที่พระพุทธเจ้า พระอรหันตสาวกทั้งหลายท่านได้เสียสละกัน
เรายังหวงทรัพย์ ยังหวงอวัยวะ ยังหวงชีวิตกันอยู่ เราเลยไม่สามารถที่จะบำเพ็ญธรรมขั้นต่างๆ ได้อย่างเต็มที่บำเพ็ญได้พอหอมปากหอมคอ พอให้รู้ว่ารสชาติเป็นอย่างไร แต่ไม่สามารถที่จะบำเพ็ญ เพื่อที่จะให้ได้รับผลอย่างเต็มที่ได้ การปฏิบัติของเราก็เลยไม่ค่อยคืบหน้าไม่ค่อยก้าวหน้า และก็จะไม่มีวัน ที่จะบรรลุถึงผลอันยิ่งใหญ่ผลอันสูงสุดได้ ถ้าตราบใดยังมีความหวงในทรัพย์หวงในอวัยวะ หวงในชีวิตอยู่ ถ้าอยากที่จะได้รับมรรคผลนิพพานอย่างเต็มที่อย่างที่พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลาย ได้รับกัน เราก็ต้องเสียสละทรัพย์ สละอวัยวะ สละชีวิตกัน การเสียสิ่งเหล่านี้นั้นไม่ช้าก็เร็วเราก็ต้องเสีย ด้วยกันทุกคนอยู่แล้ว แล้วเรามาหวงมันทำไม หวงแบบเวลาเสียแล้วไม่ได้อะไร กับเสียแบบได้อะไร เราจะเอาอย่างไหน ในที่สุดเราก็ต้องเสียทรัพย์กันไม่ใช่หรอ เวลาเราตายไปนี้เราเอาทรัพย์ไปได้หรือเปล่า เอาอวัยวะไปได้หรือเปล่า เอาชีวิตไปได้หรือเปล่า แล้วเราไปแบบไหน ไปแบบหวงไปแบบหิว แต่ถ้าเรายอมสละทรัพย์ยอมสละอวัยวะยอมสละชีวิตแล้วมาบำเพ็ญเราก็จะได้ธรรมะไปกับเรา เราก็จะได้มรรคผลนิพพานไปกับเรา เสียเหมือนกัน เสียทรัพย์ เสียอวัยวะ เสียชีวิตเหมือนกัน แต่ผลที่ได้ไม่ได้เหมือนกัน ถ้าเสียด้วยการถูกบังคับให้เสีย คือถึงเวลาต้องเสีย เพราะว่าเมื่อตายไปก็เสียไปหมด เสียทรัพย์เสียอวัยวะ เสียชีวิตไปหมด เสียแบบนี้ไม่ได้อะไร แต่ถ้าเสียแบบตั้งใจเสีย ยอมเสีย เสียก่อนที่มันจะเสีย เช่นคนคิดว่าไว้เราตายแล้วเราค่อยยกทรัพย์สมบัติให้ลูกให้หลายไป แบบนี้มันไม่ได้เสีย เสียแบบไม่ได้อะไร หรือบริจาคร่างกายให้โรงพยาบาลไปเพื่อให้เขาได้เอาไปศึกษา อันนี้ก็เสียแบบไม่ได้อะไรไป เพราะไม่ได้เสียแบบตั้งใจจะเสีย เสียเพราะจำยอมต้องเสีย เสียเพราะมันเสียแล้วเหมือนกับเอาของที่เรา จะทิ้งให้คนอื่นไป มันได้อะไร มันไม่ได้อะไรภายในใจของเรา เราต้องให้ของที่เรารักไปซิ เราถึงจะได้ รักลูกก็ยกลูกให้เขาไป รักสามีก็ยกสามีให้เขาไป รักภรรยาก็ยกภรรยาให้เขาไป อันนี้แหละเสียสละ อย่างหลวงปู่ขาวท่านก็ยกภรรยาให้กับแฟนของภรรยาไป ภรรยาแอบไปมีแฟน ท่านจับได้ตอนต้น ก็แทบจะเป็นลม แทบจะกลายเป็นยักษ์เป็นมารพร้อมที่จะฆ่าเขาได้ แต่ก็มีบุญดึงเอาไว้ มีสติดึงเอาไว้ว่า ถ้าเราไปฆ่าเขาเราก็ยิ่งเลวกว่าเขา เขาเพียงประพฤติผิดประเวณี เรานี้ไปถึงกลับฆ่าเขาเลย แล้วเราจะวิเศษวิโสกว่าเขาได้อย่างไร ถ้าเราอยากจะวิเศษวิโสกว่าเขาเราก็ต้องยกให้เขาไปเลย ท่านก็ทำอย่างนั้นจริงๆ ประกาศบอกชาวบ้านเลยว่าต่อไปนี้ภรรยาไม่ได้เป็นภรรยาของเราแล้ว เราสละยกให้กับแฟนใหม่ของเขาแล้ว ส่วนเราจะไปทางธรรมแล้วไปบวชแล้ว
นี่แหละเรียกว่าการเสียสละ ถ้าไม่เสียสละก็อาจจะกลายเป็นยักษ์เป็นมารไปถ้าไม่ยอมเสียสละ หยามไม่ได้ ใครมาหยามแล้วต้องฆ่าอย่างเดียว นี่พวกี่หยามไม่ได้มักจะต้องไปตกนรกกัน เพราะไม่ยอมเสียสละไม่เห็นคุณค่า ของการเสียสละ ไม่เห็นคุณค่าของคำว่าเเพ้เป็นพระชนะเป็นมารกัน ทุกวันนี้มักจะเป็นมารกันเสียส่วนใหญ่ อยากจะเอาแต่ชนะกันอย่างเดียวไม่ยอมแพ้กัน ก็เลยมีมารเยอะขึ้น ยมบาลเลยต้องเตรียมขยายที่ไว้ ไว้คอยต้อนรับพวกมารทั้งหลายที่เวลาตายไปแล้วจะต้องไปรับผลของการทำบาปทำกรรมของตนต่อไป เพราะว่าอะไร เพราะไม่มีความเสียสละกัน สมัยรัชกาลที่ ๕ ฝรั่งเศสอังกฤษมาบุกรุก ต้องการพื้นที่ ของประเทศไทย พระองค์ก็ทรงยอมเสียสละ ทรงตรัสว่าเสียเเขนเสียขาไปยังดีกว่าเสียชีวิต เพราะว่าถ้าต่อสู้ กับเขาก็แพ้เขาอยู่ดี สู้เขาแล้วก็จะเสียหมดเลย เสียทั้งประเทศเลย ถ้าส่วนไหนเขาอยากจะได้ก็ให้เขาไป ให้ไปแล้วมันก็จบ ประเทศไทยจึงเป็นประเทศที่ไม่มีวันที่สูญเสีย อิสรภาพไป เพราะรู้จักการเสียสละ รัชกาลที่ ๕ ก็เคยบวชเป็นพระภิกษุ ได้ศึกษาพระธรรมคำสอน ของพระพุทธเจ้าที่ทรงสอนให้สละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ สละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต สละชีวิตเพื่อรักษาธรรม อันนี้เป็นสิ่งที่พวกเราชาวพุทธทั้งหลายควรที่จะคำนึงกัน ควรที่จะพิจารณากัน ถ้าเราอยากจะได้รับความสุขความเจริญในทางธรรมกัน ถ้าเราอยากจะได้หลุดพ้น จากการเวียนว่ายตายเกิด หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งหลาย ได้บรรลุถึงมรรคผลนิพพาน ขอให้พวกเราสละ ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกนี้ไปเถิด มันไม่มีสาระประโยชน์อะไรกับจิตใจ มันเป็นเหมือนขยะของจิตใจ มีแล้วก็จะทำให้ใจวุ่นวายไปเปล่าๆ มีแล้วทำให้ใจเศร้าหมอง ทำให้ใจสกปรก เพราะจะคิดร้ายจะคิดร้าย พูดร้ายทำร้าย เพื่อที่จะปกป้องรักษาผลประโยชน์ของตนเอาไว้ ได้ไม่คุ้มเสีย ได้ขยะมาแต่ต้องเสียใจที่สะอาดบริสุทธิ์ไป
ดังนั้นขอให้เราจงคำนึงถึงเรื่องการเสียสละนี้ให้มากๆ ขอให้เราคิดว่าการเสียสละนี้ไม่ได้เป็นการสูญเสีย แต่เป็นการได้ สูญเสียสิ่งที่เลวที่ต่ำไป แล้วได้สิ่งที่ดีที่สูงมากสูญเสียลาภยศ สรรเสริญ สูญเสียความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกายไป แต่จะได้ปรมัง สุขังมา ได้นิพพานัง ปรมัง สุขัง มา ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนที่คุ้มค่าอย่างยิ่งเหมือนกับเอาก้อนหินไปแลกเพชรอย่างนี้ มีใครไม่อยากจะแลกกันบ้าง ถ้ามีคนเขาเอาเพชรมาขอแลกกับก้อนหินของเรานี้เราจะคิดอย่างไร ยังเสียดายก้อนหินอยู่หรือเปล่า อันนั้นแหละมรรคผลนิพพานก็คือเพชรดีๆ นี่เอง ส่วนลาภยศ สรรเสริญ สุขที่เรามีกันอยู่นี้ ก็เป็นเหมือนก้อนหินดีๆ นี่เอง แล้วไปรักไปหวงมันทำไม ในเมื่อเราจะได้ของที่ดีกว่า ดังนั้นขอให้เรายอมหยุดแล้วก็เย็น ยอม ยอมเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง เสียสละทรัพย์ เสียสละอวัยวะ เสียสละชีวิต เพื่อให้เราได้ธรรม พอเรายอมแล้วเราก็จะได้หยุดต่อสู้ หยุดสร้างเวรสร้างกรรม แล้วใจของเราก็จะเย็น ความเย็นของใจก็คือธรรมนี่เอง คือความสงบ คือปรมัง สุขัง.
ธรรมะบนเขา วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๗
“วิถีแห่งการเสียสละเพื่อให้ได้ธรรม”
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต กับ Jakarin Jantarachot และ Rinly Lyn
1 กรกฎาคม เวลา 5:00 น. ·
“ความสุขทางโลกกับทางธรรมไปด้วยกันไม่ได้”
ความสุขทางโลกนี้จะต่อต้านความสุขทางธรรม จะเอาทั้ง ๒ อย่างไปพร้อมๆกันไม่ได้ จะเอาความสุขทางโลก แล้วก็จะเอาความสุขทางธรรมด้วยนี้เป็นไปไม่ได้ เช่นจะมีงานเลี้ยง เสร็จงานเลี้ยงก็จะไปนั่งสมาธิต่อ อย่างนี้เป็นไปไม่ได้ จัดงานเลี้ยงกินเหล้ากันดื่มเฮฮาปาร์ตี้กัน พอหมดงานเลี้ยงแล้วก็จะไปนั่งไหว้พระ สวดมนต์นั่งสมาธิต่อ มีใครเขาทำกันบ้างไหม ไม่มีหรอก ดูหนังเสร็จแล้วเดี๋ยวจะไปไหว้พระต่อไปนั่งสมาธิต่อ ดูละครก่อน แล้วเดี๋ยวจะเข้าห้องนั่งสมาธิทำใจให้สงบ มันเป็นไปไม่ได้ มันเป็นของเหมือนมืดกับแจ้ง มันเป็นของที่อยู่ด้วยกันไม่ได้ ถ้ามันมืดมันก็จะไม่แจ้งจะไม่สว่าง ถ้ามันสว่างมันก็จะไม่มืด หรือร้อนกับเย็น มันอยู่ที่เดียวกันไม่ได้ ถ้ามันร้อนมันก็จะไม่เย็น ถ้ามันเย็นมันก็จะไม่ร้อน ถ้ามันหิวมันก็จะไม่อิ่ม ถ้ามันอิ่มมันก็จะไม่หิว ถ้ามันสงบมันก็จะไม่วุ่นวาย ถ้ามันวุ่นวายมันก็ไม่สงบ แต่การกระทำของเรามันไม่ได้นำไปสู่ความสงบ การกระทำของเรามันนำไปสู่ความวุ่นวาย เพราะมันทำด้วยความอยาก อยากในรูปในเสียงในกลิ่นในรส มันไม่ได้ทำเพื่อหยุดความอยากกัน ถ้าทำเพื่อหยุดความอยาก พอความอยากหยุดปั๊บความสงบมันก็เกิดขึ้น แต่ถ้าทำเพื่อให้เกิดความอยาก มันก็จะเกิดความวุ่นวายตามมา
การกระทำของเรานี้มันไม่ได้ทำให้ความอยากมันหยุด แต่มันจะทำให้เกิดความอยากเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ เหมือนกับเวลาที่เสพยาเสพติด เวลาอยากเสพยาเสพติดก็เสพไป พอเสพแล้วเดี๋ยวความอยากจะเสพ ก็กลับมาใหม่ จึงต้องเสพไปเรื่อยๆ เวลาที่ไม่ได้เสพเวลานั้นก็เป็นเวลาที่วุ่นวายใจ นี่แหละคือความสุขทางโลก กับความสุขทางธรรมมันไปคนละทางกัน เราไม่สามารถที่จะเอาทั้ง ๒ แบบได้ ถ้าเราทั้ง ๒ แบบก็ขึ้นๆ ลงๆ ขับรถขึ้นไปทางเหนือ ๑๐๐ กิโลแล้วก็ย้อนขับรถไปลงทางใต้อีก ๑๐๐ กิโล มันก็ไม่ได้ไปไหน มันก็ติดอยู่กับการเวียนว่ายตายเกิดแบบนี้ไปอยู่เรื่อยๆ ถ้าอยากจะไปแบบไม่มีวันที่จะกลับมาไม่กลับมา เวียนว่ายตายเกิดไม่กลับมาทุกข์กับความแก่ กับความเจ็บ กับความตาย ก็ต้องเสียสละ สละทรัพย์ สละอวัยวะ สละชีวิต แล้วเราก็จะได้ธรรมก็คือจะได้บรรลุมรรคผลนิพพานกันอย่างที่พระพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวกทั้งหลายท่านได้บรรลุกัน ท่านได้บรรลุเพราะอะไร เพราะท่านสละทรัพย์ ท่านไม่เสียดายทรัพย์สมบัติข้าวของเงินทองต่างๆ เมื่อถึงเวลาจะต้องเสียก็เสียได้อย่างเต็มที่เลย ท่านไม่เสียดายกับอวัยวะ เมื่อถึงเวลาจะต้องเสียท่านก็ยินดี ท่านไม่เสียดายชีวิตของท่าน เมื่อถึงเวลาจะต้องเสียชีวิตท่านก็ยอมเสีย การยอมเสียสิ่งเหล่านี้นี่เองที่ทำให้ท่านได้สิ่งที่เลิศที่ประเสริญ ที่ผู้ยังไม่ยอมเสียทรัพย์เสียอวัยวะเสียชีวิตจะไม่ได้รับกัน อยู่ที่ตรงนี้ความแตกต่างระหว่างพวกเรา กับพระพุทธเจ้ากับพระอรหันตสาวกทั้งหลายก็อยู่ที่การเสียสละนี่เอง เรายังไม่ยอมเสียสละ เหมือนกับที่พระพุทธเจ้า พระอรหันตสาวกทั้งหลายท่านได้เสียสละกัน
เรายังหวงทรัพย์ ยังหวงอวัยวะ ยังหวงชีวิตกันอยู่ เราเลยไม่สามารถที่จะบำเพ็ญธรรมขั้นต่างๆ ได้อย่างเต็มที่บำเพ็ญได้พอหอมปากหอมคอ พอให้รู้ว่ารสชาติเป็นอย่างไร แต่ไม่สามารถที่จะบำเพ็ญ เพื่อที่จะให้ได้รับผลอย่างเต็มที่ได้ การปฏิบัติของเราก็เลยไม่ค่อยคืบหน้าไม่ค่อยก้าวหน้า และก็จะไม่มีวัน ที่จะบรรลุถึงผลอันยิ่งใหญ่ผลอันสูงสุดได้ ถ้าตราบใดยังมีความหวงในทรัพย์หวงในอวัยวะ หวงในชีวิตอยู่ ถ้าอยากที่จะได้รับมรรคผลนิพพานอย่างเต็มที่อย่างที่พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลาย ได้รับกัน เราก็ต้องเสียสละทรัพย์ สละอวัยวะ สละชีวิตกัน การเสียสิ่งเหล่านี้นั้นไม่ช้าก็เร็วเราก็ต้องเสีย ด้วยกันทุกคนอยู่แล้ว แล้วเรามาหวงมันทำไม หวงแบบเวลาเสียแล้วไม่ได้อะไร กับเสียแบบได้อะไร เราจะเอาอย่างไหน ในที่สุดเราก็ต้องเสียทรัพย์กันไม่ใช่หรอ เวลาเราตายไปนี้เราเอาทรัพย์ไปได้หรือเปล่า เอาอวัยวะไปได้หรือเปล่า เอาชีวิตไปได้หรือเปล่า แล้วเราไปแบบไหน ไปแบบหวงไปแบบหิว แต่ถ้าเรายอมสละทรัพย์ยอมสละอวัยวะยอมสละชีวิตแล้วมาบำเพ็ญเราก็จะได้ธรรมะไปกับเรา เราก็จะได้มรรคผลนิพพานไปกับเรา เสียเหมือนกัน เสียทรัพย์ เสียอวัยวะ เสียชีวิตเหมือนกัน แต่ผลที่ได้ไม่ได้เหมือนกัน ถ้าเสียด้วยการถูกบังคับให้เสีย คือถึงเวลาต้องเสีย เพราะว่าเมื่อตายไปก็เสียไปหมด เสียทรัพย์เสียอวัยวะ เสียชีวิตไปหมด เสียแบบนี้ไม่ได้อะไร แต่ถ้าเสียแบบตั้งใจเสีย ยอมเสีย เสียก่อนที่มันจะเสีย เช่นคนคิดว่าไว้เราตายแล้วเราค่อยยกทรัพย์สมบัติให้ลูกให้หลายไป แบบนี้มันไม่ได้เสีย เสียแบบไม่ได้อะไร หรือบริจาคร่างกายให้โรงพยาบาลไปเพื่อให้เขาได้เอาไปศึกษา อันนี้ก็เสียแบบไม่ได้อะไรไป เพราะไม่ได้เสียแบบตั้งใจจะเสีย เสียเพราะจำยอมต้องเสีย เสียเพราะมันเสียแล้วเหมือนกับเอาของที่เรา จะทิ้งให้คนอื่นไป มันได้อะไร มันไม่ได้อะไรภายในใจของเรา เราต้องให้ของที่เรารักไปซิ เราถึงจะได้ รักลูกก็ยกลูกให้เขาไป รักสามีก็ยกสามีให้เขาไป รักภรรยาก็ยกภรรยาให้เขาไป อันนี้แหละเสียสละ อย่างหลวงปู่ขาวท่านก็ยกภรรยาให้กับแฟนของภรรยาไป ภรรยาแอบไปมีแฟน ท่านจับได้ตอนต้น ก็แทบจะเป็นลม แทบจะกลายเป็นยักษ์เป็นมารพร้อมที่จะฆ่าเขาได้ แต่ก็มีบุญดึงเอาไว้ มีสติดึงเอาไว้ว่า ถ้าเราไปฆ่าเขาเราก็ยิ่งเลวกว่าเขา เขาเพียงประพฤติผิดประเวณี เรานี้ไปถึงกลับฆ่าเขาเลย แล้วเราจะวิเศษวิโสกว่าเขาได้อย่างไร ถ้าเราอยากจะวิเศษวิโสกว่าเขาเราก็ต้องยกให้เขาไปเลย ท่านก็ทำอย่างนั้นจริงๆ ประกาศบอกชาวบ้านเลยว่าต่อไปนี้ภรรยาไม่ได้เป็นภรรยาของเราแล้ว เราสละยกให้กับแฟนใหม่ของเขาแล้ว ส่วนเราจะไปทางธรรมแล้วไปบวชแล้ว
นี่แหละเรียกว่าการเสียสละ ถ้าไม่เสียสละก็อาจจะกลายเป็นยักษ์เป็นมารไปถ้าไม่ยอมเสียสละ หยามไม่ได้ ใครมาหยามแล้วต้องฆ่าอย่างเดียว นี่พวกี่หยามไม่ได้มักจะต้องไปตกนรกกัน เพราะไม่ยอมเสียสละไม่เห็นคุณค่า ของการเสียสละ ไม่เห็นคุณค่าของคำว่าเเพ้เป็นพระชนะเป็นมารกัน ทุกวันนี้มักจะเป็นมารกันเสียส่วนใหญ่ อยากจะเอาแต่ชนะกันอย่างเดียวไม่ยอมแพ้กัน ก็เลยมีมารเยอะขึ้น ยมบาลเลยต้องเตรียมขยายที่ไว้ ไว้คอยต้อนรับพวกมารทั้งหลายที่เวลาตายไปแล้วจะต้องไปรับผลของการทำบาปทำกรรมของตนต่อไป เพราะว่าอะไร เพราะไม่มีความเสียสละกัน สมัยรัชกาลที่ ๕ ฝรั่งเศสอังกฤษมาบุกรุก ต้องการพื้นที่ ของประเทศไทย พระองค์ก็ทรงยอมเสียสละ ทรงตรัสว่าเสียเเขนเสียขาไปยังดีกว่าเสียชีวิต เพราะว่าถ้าต่อสู้ กับเขาก็แพ้เขาอยู่ดี สู้เขาแล้วก็จะเสียหมดเลย เสียทั้งประเทศเลย ถ้าส่วนไหนเขาอยากจะได้ก็ให้เขาไป ให้ไปแล้วมันก็จบ ประเทศไทยจึงเป็นประเทศที่ไม่มีวันที่สูญเสีย อิสรภาพไป เพราะรู้จักการเสียสละ รัชกาลที่ ๕ ก็เคยบวชเป็นพระภิกษุ ได้ศึกษาพระธรรมคำสอน ของพระพุทธเจ้าที่ทรงสอนให้สละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ สละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต สละชีวิตเพื่อรักษาธรรม อันนี้เป็นสิ่งที่พวกเราชาวพุทธทั้งหลายควรที่จะคำนึงกัน ควรที่จะพิจารณากัน ถ้าเราอยากจะได้รับความสุขความเจริญในทางธรรมกัน ถ้าเราอยากจะได้หลุดพ้น จากการเวียนว่ายตายเกิด หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งหลาย ได้บรรลุถึงมรรคผลนิพพาน ขอให้พวกเราสละ ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกนี้ไปเถิด มันไม่มีสาระประโยชน์อะไรกับจิตใจ มันเป็นเหมือนขยะของจิตใจ มีแล้วก็จะทำให้ใจวุ่นวายไปเปล่าๆ มีแล้วทำให้ใจเศร้าหมอง ทำให้ใจสกปรก เพราะจะคิดร้ายจะคิดร้าย พูดร้ายทำร้าย เพื่อที่จะปกป้องรักษาผลประโยชน์ของตนเอาไว้ ได้ไม่คุ้มเสีย ได้ขยะมาแต่ต้องเสียใจที่สะอาดบริสุทธิ์ไป
ดังนั้นขอให้เราจงคำนึงถึงเรื่องการเสียสละนี้ให้มากๆ ขอให้เราคิดว่าการเสียสละนี้ไม่ได้เป็นการสูญเสีย แต่เป็นการได้ สูญเสียสิ่งที่เลวที่ต่ำไป แล้วได้สิ่งที่ดีที่สูงมากสูญเสียลาภยศ สรรเสริญ สูญเสียความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกายไป แต่จะได้ปรมัง สุขังมา ได้นิพพานัง ปรมัง สุขัง มา ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนที่คุ้มค่าอย่างยิ่งเหมือนกับเอาก้อนหินไปแลกเพชรอย่างนี้ มีใครไม่อยากจะแลกกันบ้าง ถ้ามีคนเขาเอาเพชรมาขอแลกกับก้อนหินของเรานี้เราจะคิดอย่างไร ยังเสียดายก้อนหินอยู่หรือเปล่า อันนั้นแหละมรรคผลนิพพานก็คือเพชรดีๆ นี่เอง ส่วนลาภยศ สรรเสริญ สุขที่เรามีกันอยู่นี้ ก็เป็นเหมือนก้อนหินดีๆ นี่เอง แล้วไปรักไปหวงมันทำไม ในเมื่อเราจะได้ของที่ดีกว่า ดังนั้นขอให้เรายอมหยุดแล้วก็เย็น ยอม ยอมเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง เสียสละทรัพย์ เสียสละอวัยวะ เสียสละชีวิต เพื่อให้เราได้ธรรม พอเรายอมแล้วเราก็จะได้หยุดต่อสู้ หยุดสร้างเวรสร้างกรรม แล้วใจของเราก็จะเย็น ความเย็นของใจก็คือธรรมนี่เอง คือความสงบ คือปรมัง สุขัง.
ธรรมะบนเขา วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๗
“วิถีแห่งการเสียสละเพื่อให้ได้ธรรม”
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
-
- Verified User
- โพสต์: 172
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 701
อันนี้เป็นกรรมที่จะทำให้มนุษย์
- มีอายุสั้น
- มีอายุยืน
- มีโรคมาก
- มีโรคน้อย
- มีผิวพรรณทราม
- มีผิวพรรณงาม
- มีศักดาน้อย
- มีศักดามาก
- มีโภคะน้อย <- น่าจะแปลว่ามีเงินมีทรัพย์สินน้อย
- มีโภคะมาก <- น่าจะแปลว่ามีเงินมีทรัพย์สินมาก
- เกิดในสกุลต่ำ
- เกิดในสกุลสูง
- ไร้ปัญญา
- มีปัญญา
ครับ ที่พระพุทธเจ้าๆ สอนไว้
- มีอายุสั้น
- มีอายุยืน
- มีโรคมาก
- มีโรคน้อย
- มีผิวพรรณทราม
- มีผิวพรรณงาม
- มีศักดาน้อย
- มีศักดามาก
- มีโภคะน้อย <- น่าจะแปลว่ามีเงินมีทรัพย์สินน้อย
- มีโภคะมาก <- น่าจะแปลว่ามีเงินมีทรัพย์สินมาก
- เกิดในสกุลต่ำ
- เกิดในสกุลสูง
- ไร้ปัญญา
- มีปัญญา
ครับ ที่พระพุทธเจ้าๆ สอนไว้
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 623&Z=7798ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล สุภมาณพ โตเทยยบุตร
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
สุภมาณพ โตเทยยบุตร พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏความเลวและความประณีต คือ มนุษย์
ทั้งหลายย่อมปรากฏมีอายุสั้น มีอายุยืน มีโรคมาก มีโรคน้อย มีผิวพรรณทราม
มีผิวพรรณงาม มีศักดาน้อย มีศักดามาก มีโภคะน้อย มีโภคะมาก เกิดใน
สกุลต่ำ เกิดในสกุลสูง ไร้ปัญญา มีปัญญา ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล
เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏความเลวและความ
ประณีต ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็น
ของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรม
เป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้ ฯ
ส. ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบเนื้อความโดยพิสดารของอุเทศที่พระโคดมผู้-
*เจริญตรัสโดยย่อ มิได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดารนี้ได้ ขอพระโคดมผู้เจริญ
ได้โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยประการที่ข้าพระองค์จะพึงทราบเนื้อความ
แห่งอุเทศนี้โดยพิสดารได้เถิด ฯ
พ. ดูกรมาณพ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจะกล่าวต่อไป
สุภมาณพ โตเทยยบุตร ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระเจ้าข้า ฯ
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรมาณพ บุคคลบางคนใน
โลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคน
เหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์
มีชีวิต เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขา
ให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุสั้น ดูกรมาณพ
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้นนี้ คือ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคน
เหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์
มีชีวิต ฯ
ดูกรมาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษ
ก็ตาม ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศาตราได้
มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่
เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม
สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์
เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุยืน ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อ
มีอายุยืนนี้ คือ ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา
วางศาตราได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลใน
สรรพสัตว์และภูตอยู่ ฯ
ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มีปรกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา
เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้
พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคมาก ดูกรมาณพ
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมากนี้ คือ เป็นผู้มีปรกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือ
ก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา ฯ
ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มีปรกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาตรา
เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม
สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์
เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคน้อย ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไป
เพื่อมีโรคน้อยนี้ คือ เป็นผู้มีปรกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน
หรือท่อนไม้ หรือศาตรา ฯ
ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง
พยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ เขาตาย
ไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม
สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็น
มนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีผิวพรรณทราม ดูกรมาณพ
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทรามนี้ คือ เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง
ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธ ความร้าย
และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ฯ
ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่
โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำความโกรธ ความร้าย และความ
ขึ้งเคียดให้ปรากฏ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขา
ให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามา
เป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนน่าเลื่อมใส ดูกรมาณพ
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใสนี้ คือ เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความ
แค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำ
ความโกรธ ความร้าย ความขึ้งเคียดให้ปรากฏ ฯ
ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความ
นับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป
ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง
จะเป็นคนมีศักดาน้อย ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อยนี้ คือ มีใจ
ริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ
การไหว้ และการบูชาของคนอื่น ฯ
ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นผู้มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความ
เคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติ-
*โลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป
ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็น
คนมีศักดามาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดามากนี้ คือ มีใจไม่ริษยา
ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ
การไหว้ และการบูชาของคนอื่น ฯ
ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมไม่เป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อาศัย
เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป
ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง
จะเป็นคนมีโภคะน้อย ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อยนี้ คือ ไม่ให้ข้าว
น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป
แก่สมณะหรือพราหมณ์ ฯ
ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย
เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึง
สุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมี
โภคะมาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมากนี้ คือ ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน
ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ ฯ
ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควร
ลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง
ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ
ไม่บูชาคนที่ควรบูชา เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะ
กรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคน
เกิดในสกุลต่ำ ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลต่ำนี้ คือ เป็นคน
กระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ
ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง ไม่
สักการะคนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่
บูชาคนที่ควรบูชา ฯ
ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ลุกรับคนที่ควร
ลุกรับ ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง
สักการะคนที่ควรสักการะ เคารพคนที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคน
ที่ควรบูชา เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้
พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเกิด
เป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลสูง ดูกรมาณพ
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีสกุลสูงนี้ คือ เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง
ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ให้อาสนะแก่คนที่สมควร
แก่อาสนะ ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง สักการะคนที่ควรสักการะ เคารพคน
ที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชาคนที่ควรบูชา ฯ
ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไร
เป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไร
เมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทำ
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เขาตายไป จะเข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้
อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ
ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญาทราม ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อ
มีปัญญาทรามนี้ คือ ไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไร
เป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไร
ไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า
อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ฯ
ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม
ย่อมเป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็น
อกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ
ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไป
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป
ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็น
คนมีปัญญามาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามากนี้ คือ เป็นผู้เข้าไปหา
สมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ
อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่
เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ฯ
ดูกรมาณพ ด้วยประการฉะนี้แล ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้น
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีอายุสั้น ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุยืน ย่อมนำเข้าไป
สู่ความเป็นคนมีอายุยืน ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมากย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคน
มีโรคมาก ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคน้อย ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโรคน้อย
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทราม ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีผิวพรรณทราม
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใส ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนน่าเลื่อมใส
ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อย ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีศักดาน้อย ปฏิปทา
เป็นไปเพื่อมีศักดามาก ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีศักดามาก ปฏิปทาเป็นไป
เพื่อมีโภคะน้อย ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโภคะน้อย ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมี
โภคะมาก ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีโภคะมาก ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดใน
สกุลต่ำ ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดใน
สกุลสูง ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนเกิดในสกุลสูง ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญา
ทราม ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีปัญญาทราม ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามาก
ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีปัญญามาก ดูกรมาณพ สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็น
ของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรม
เป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีต ฯ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ สุภมาณพ โตเทยยบุตร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า แจ่มแจ้งแล้ว
พระเจ้าข้า พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายมิใช่น้อย เปรียบเหมือน
หงายของที่คว่ำ หรือเปิดของที่ปิด หรือบอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีป
ในที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีตาดีจักเห็นรูปได้ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ
พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำ
ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ฯ
ไม่ประมาท
-
- Verified User
- โพสต์: 172
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 702
วิธีที่สะดวกสบายในการบรรลุนิพพานที่ตถาคตได้สอนไว้คือเห็น ตา รูป ความรู้แจ้งทางตา สัมผัสทางตา , สุข ทุกข์ และ เฉยๆ ที่เกิดขึ้นเพราะ ตา ว่าไม่เที่ยง ครับ
ละก็ ต่อด้วย หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ... แบบเดียวกันครับ
ละก็ ต่อด้วย หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ... แบบเดียวกันครับ
ความทุกข์มีเพราะความพอใจภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดง ปฏิปทาเป็นที่
สบายแก่การบรรลุนิพพาน แก่พวกเธอ. พวกเธอจงฟัง
จงทำาในใจให้ดี เราจักกล่าว.
ภิกษุทั้งหลาย ! ปฏิปทาเป็นที่สบายแก่การ
บรรลุนิพพานนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้
ย่อมเห็นซึ่ง จักษุ ว่าไม่เที่ยง;
ย่อมเห็นซึ่ง รูปทั้งหลาย ว่า ไม่เที่ยง;
ย่อมเห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ ว่า ไม่เที่ยง;
ย่อมเห็นซึ่ง จักขุสัมผัส ว่า ไม่เที่ยง;
ย่อมเห็นซึ่ง เวทนาอันเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือ
เป็นอทุกขมสุข (ไม่ทุกข์ไม่สุข) ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัย ว่าไม่เที่ยง.
(ในกรณีแห่ง โสตะ (หู) ฆานะ (จมูก) ชิวหา (ลิ้น)
กายะ (กาย) และมนะ (ใจ) ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อความอย่าง
เดียวกัน ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น).
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล คือปฏิปทาเป็นที่สบาย
แก่การบรรลุนิพพาน นั้น.
สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๗/๒๓๒.
ความพอใจอย่างยิ่ง(สาราคะ)ก็มีเหตุมาจากความเพลิน..คามณิ ! ด้วยธรรมนี้ อันท่านเห็นแล้ว รู้แจ้งแล้ว บรรลุแล้ว หยั่งลง
ทั่วถึงแล้ว อันไม่ขึ้นอยู่กับเวลา ท่านจงนำไปซึ่งนัยนี้สู่ธรรมในอดีตและอนาคต
ว่า “ทุกข์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะ
เป็นเหตุ เพราะว่า ฉันทะเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ ; และทุกข์ใด ๆ อันจะเกิดขึ้นใน
อนาคต ทุกข์ทั้งหมดนั้นก็มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะว่าฉันทะเป็น
มูลเหตุแห่งทุกข์,” ดังนี้.....
ถ้าละความเพลินได้ จิตหลุดพ้นได้เลยครับเมื่อ นันทิ มีอยู่, สาราคะ (ความพอใจอย่างยิ่ง) ย่อมมี;
วิธีละความเพลินก็มีสติเอาจิตมาตั้งไว้กับกาย กับลมหายใจเข้าออก กับงานปัจจุบัน ๆลๆ นะครับ กายคตาสติ ครับ ใช้ได้ถึงนิพพานเลยภิกษุ ท. ! ภิกษุเห็นจักษุอันไม่เที่ยงนั่นแล
ว่าไม่เที่ยง ความเห็นเช่นนั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ (การ เห็น
อยู่โดยถูกต้อง) ของเธอนั้น.
เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย
(สมฺมา ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ) ;
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ
จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
(นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย) ;
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ
จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ
(ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย ) ;
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ
กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้.
(นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตํ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจติ).
(ในกรณีแห่งอายตนะภายในที่เหลืออีก ๕ คือ โสตะ ฆานะ
ชิวหา กายะ มโน และในกรณีแห่งอายตนะ ภายนอก ๖ คือ รูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็ตรัสอย่างเดียวกันกับในกรณี แห่ง
จักษุ ทุกประการ.)
นันทิกขยวรรค สฬา.สํ. ๑๘ / ๑๗๙ / ๒๔๕-๖.
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่ง ที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวช. เพื่อประโยชน์อันใหญ่, เพื่อความปลอดโปร่งจากโยคะ๑ อันใหญ่, เพื่อสติสัมปชัญญะ, เพื่อได้ญาณทัสสนะ (ความเห็นด้วยญาณคือความรู้ภายใน), เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน, เพื่อทำให้แจ้งซึ่งผลคือวิชชา(ความรู้) และวิมุติ(ความหลุดพ้น). ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน ? ธรรมอย่างหนึ่ง คือ กายคตาสติ(สติอันไปในกาย). ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งนี้แล ที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวช, เพื่อประโยชน์อันใหญ่ ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งผลคือวิชชาและวิมุติ."
ไม่ประมาท
-
- Verified User
- โพสต์: 135
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 703
ใครมีความทุกข์ หาทางออกไม่ค่อยเจอ
ลองมาปรึกษา" หมอดูใจ ไขความสุข"
ฟรีด้วย ที่สวนโมกข์กรุงเทพ
วันที่ 7 เวลา 10.00-16.00
หลังจากลงคะแนนเสียงแล้ว แวะซิค่ะ
สนใจดูเพิ่มเติมที่ facebook "หอจดหมายเหตุพุทธทาส ฯ"
คลิกตรง " ปฎิทินกิจกรรม " แล้วเลื่อนไปดูกิจกรรมของวันที่ 7 สค. ค่ะ
......................................................................................
รายละเอียดค่ะ
หมอดูใจ ไขความสุข
When : Sun, August 7, 10am – 4pm
Where : สวนโมกข์กรุงเทพ โถงโอวาทปาติโมกข์ ชั้น 2 (map)
Description : หมอดูใจ ไขความสุข (กระบวนการ ๑๐๒)
การเรียนรู้ความจริงของจิตใจผ่าน“เกมส์การ์ด เข้าถึงใจ”โดยมีอาสาหมอดูใจ
เป็นผู้นำกระบวนการ โดยผู้ที่ร่วมกิจกรรม จะนำความทุกข์ใจ ความไม่สบายใจ
ที่มีอยู่มาใช้เป็นกรณีศึกษาในการเรียนรู้จิตใจ และเมื่อผ่านกระบวนการ
จะทำให้ความไม่สบายใจนั้น สามารถ บรรเทาลงได้ เกิดความปลอดโปร่ง เบาสบายได้ ตามส่วนจากการเข้าใจชีวิตจิตใจ จาการมีสัมมาทิฏฐินั่นเอง
ลองมาปรึกษา" หมอดูใจ ไขความสุข"
ฟรีด้วย ที่สวนโมกข์กรุงเทพ
วันที่ 7 เวลา 10.00-16.00
หลังจากลงคะแนนเสียงแล้ว แวะซิค่ะ
สนใจดูเพิ่มเติมที่ facebook "หอจดหมายเหตุพุทธทาส ฯ"
คลิกตรง " ปฎิทินกิจกรรม " แล้วเลื่อนไปดูกิจกรรมของวันที่ 7 สค. ค่ะ
......................................................................................
รายละเอียดค่ะ
หมอดูใจ ไขความสุข
When : Sun, August 7, 10am – 4pm
Where : สวนโมกข์กรุงเทพ โถงโอวาทปาติโมกข์ ชั้น 2 (map)
Description : หมอดูใจ ไขความสุข (กระบวนการ ๑๐๒)
การเรียนรู้ความจริงของจิตใจผ่าน“เกมส์การ์ด เข้าถึงใจ”โดยมีอาสาหมอดูใจ
เป็นผู้นำกระบวนการ โดยผู้ที่ร่วมกิจกรรม จะนำความทุกข์ใจ ความไม่สบายใจ
ที่มีอยู่มาใช้เป็นกรณีศึกษาในการเรียนรู้จิตใจ และเมื่อผ่านกระบวนการ
จะทำให้ความไม่สบายใจนั้น สามารถ บรรเทาลงได้ เกิดความปลอดโปร่ง เบาสบายได้ ตามส่วนจากการเข้าใจชีวิตจิตใจ จาการมีสัมมาทิฏฐินั่นเอง
-
- Verified User
- โพสต์: 31
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 704
สวัสดีสหธรรมิกทุกท่านครับ ผมขออนุญาตมาประชาสัมพันธ์ หลักสูตร ครูสมาธิ ของ สถาบันพลังจิตตานุภาพ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร วัดธรรมมงคล
หลักสูตรครูสมาธิ
ก่อตั้งโดยพระเดชพระคุณพระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) มีจุดประสงค์ในการเผยแผ่สมาธิ เพื่อเพิ่มพลังจิตแก่ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ โดยท่านคำนึงว่า “ชาวโลกได้พัฒนาก้าวไปไกลถึงยุคโลกาภิวัฒน์ เขาได้ลงทุนสร้างวัตถุต่าง ๆ ทั้งแหล่งบันเทิงเริงรมย์ ทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกสบายทั้งหลายทั้งที่อยู่อาศัย รถยนต์ เรือยนต์ เครื่องบิน ยานอวกาศ สามารถย่นระยะทางไกลให้ใกล้ ไปมาได้ง่าย ทั้งโทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และอีเมล์ ก็ย่นระยะการติดต่อ สื่อสารกันได้อย่างสบาย ทั้งหมดเป็นเงินเป็นหมื่นล้านแสนล้าน เขาก็ยังลงทุนกันได้ แล้วทำไมเราจะลงทุนสร้างนครธรรมให้ทันสมัยด้วยไฮเทคต่างๆ เพื่อย่นระยะการศึกษาและปฏิบัติธรรมะบ้างมิได้หรือ?”
ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงได้สร้างนครธรรมและเปิดสอนสมาธิ ให้กับประชาชนเพื่อย่นระยะการศึกษาและปฏิบัติธรรมะโดยสร้างเป็นสถาบันพลังจิตตานุภาพ จัดทำหลักสูตรครูสมาธิขึ้น เพื่อสอนสมาธิระยะเวลา 6 เดือน หลักสูตรครูสมาธิเป็นหลักสูตร ที่สอนสมาธิให้กับประชาชน เพื่อสามารถที่จะเป็นครูสอนสมาธิได้ ตามหลักการของ พระธรรมมงคลญาณ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร ซึ่งเริ่มเปิดดำเนินการเรียนการสอน มาตั้งแต่ วันที่ 24 กรกฎาคม 2540 ใช้ระยะเวลาในการเรียน 6 เดือน (หลักสูตร 200 ชั่วโมง) เรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติ พร้อมทั้งนำไปสอบปฏิบัติ ภาคสนาม ณ ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่เป็นเวลา 4 วัน 3 คืน จึงจะจบหลักสูตรครูสมาธิและจัดพิธีมอบใบประกาศนียบัตร
หลักสูตรครูสมาธิ เปิดรับสมัครปีละ 2 ครั้ง ในเดือนกุมภาพันธ์ และเดือนสิงหาคม
ระยะเวลาในการเรียน 6 เดือน การเรียนการสอน มี 2 รูปแบบ ได้แก่
1. การเรียนภาคจันทร์ - ศุกร์ ตอนเย็น เวลา 18.00 - 20.00 น.
2. การเรียนภาคเสาร์ - อาทิตย์ เต็มวัน เวลา 9.00 - 16.30 น.
สามารถเลือกเวลา และสถานที่ในการเรียน ให้เหมาะสมกับความสะดวกสบาย
มีสาขากว่า 130 แห่งในประเทศ ดูข้อมูลสาขาได้ที่นี่
มีระบบการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ
ภาคทฤษฎี มีการเรียนจากคณาจารย์ และฟังเทปบรรยายของพระอาจารย์หลวงพ่อ วิริยังค์ สิรินฺธโร
ภาคปฏิบัติ มีการเดินจงกรม 30 นาที และนั่งสมาธิ 30 นาที
เมื่อจบการศึกษา มีการสอบวัดผลทั้งข้อเขียนและปฏิบัติ ตลอดจนการสอบปฏิบัติ ภาคสนาม ณ ดอยอินทนนท์
ติดต่อสอบถาม สถาบันพลังจิตตานุภาพ สำนักงานใหญ่ วัดธรรมมงคล โทรศัพท์ : 02-311-1387, 02-311-3903
ดูรายชื่อแต่ละสาขาทั่วประเทศ ตามลิงค์นี้
http://www.samathi.com/branch.php
รุ่นนี้ หลักสูตรครูสมาธิรุ่นที่ 39 (เอกูนจัตตาฬิสโม) อัตตชัย (ผู้ชนะตนเอง) มีการปฐมนิเศน์ไปเมื่อวันเสาร์ที่ 6 ส.ค. 2559 ที่ผ่านมา
ผมต้องขอโทษเพื่อนๆทุกท่านที่ แจ้งช้าไป แต่ ท่านใดที่สนใจยังสามารถ สมัครเรียนได้ทัน
โดยจะเริ่มเรียน วันแรก วันเสาร์ที่ 13 ส.ค. 2559 นี้ เปิดสอนพร้อมกันทั่วประเทศ โดยแต่ละจังหวัดจะมีศูนย์ สถาบันพลังจิตตานุภาพ
จิตตัง ทันตัง สุขาวะหัง : จิตที่ฝึกฝนดีแล้ว นำความสุขมาให้
หลักสูตรครูสมาธิ
ก่อตั้งโดยพระเดชพระคุณพระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) มีจุดประสงค์ในการเผยแผ่สมาธิ เพื่อเพิ่มพลังจิตแก่ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ โดยท่านคำนึงว่า “ชาวโลกได้พัฒนาก้าวไปไกลถึงยุคโลกาภิวัฒน์ เขาได้ลงทุนสร้างวัตถุต่าง ๆ ทั้งแหล่งบันเทิงเริงรมย์ ทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกสบายทั้งหลายทั้งที่อยู่อาศัย รถยนต์ เรือยนต์ เครื่องบิน ยานอวกาศ สามารถย่นระยะทางไกลให้ใกล้ ไปมาได้ง่าย ทั้งโทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และอีเมล์ ก็ย่นระยะการติดต่อ สื่อสารกันได้อย่างสบาย ทั้งหมดเป็นเงินเป็นหมื่นล้านแสนล้าน เขาก็ยังลงทุนกันได้ แล้วทำไมเราจะลงทุนสร้างนครธรรมให้ทันสมัยด้วยไฮเทคต่างๆ เพื่อย่นระยะการศึกษาและปฏิบัติธรรมะบ้างมิได้หรือ?”
ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงได้สร้างนครธรรมและเปิดสอนสมาธิ ให้กับประชาชนเพื่อย่นระยะการศึกษาและปฏิบัติธรรมะโดยสร้างเป็นสถาบันพลังจิตตานุภาพ จัดทำหลักสูตรครูสมาธิขึ้น เพื่อสอนสมาธิระยะเวลา 6 เดือน หลักสูตรครูสมาธิเป็นหลักสูตร ที่สอนสมาธิให้กับประชาชน เพื่อสามารถที่จะเป็นครูสอนสมาธิได้ ตามหลักการของ พระธรรมมงคลญาณ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร ซึ่งเริ่มเปิดดำเนินการเรียนการสอน มาตั้งแต่ วันที่ 24 กรกฎาคม 2540 ใช้ระยะเวลาในการเรียน 6 เดือน (หลักสูตร 200 ชั่วโมง) เรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติ พร้อมทั้งนำไปสอบปฏิบัติ ภาคสนาม ณ ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่เป็นเวลา 4 วัน 3 คืน จึงจะจบหลักสูตรครูสมาธิและจัดพิธีมอบใบประกาศนียบัตร
หลักสูตรครูสมาธิ เปิดรับสมัครปีละ 2 ครั้ง ในเดือนกุมภาพันธ์ และเดือนสิงหาคม
ระยะเวลาในการเรียน 6 เดือน การเรียนการสอน มี 2 รูปแบบ ได้แก่
1. การเรียนภาคจันทร์ - ศุกร์ ตอนเย็น เวลา 18.00 - 20.00 น.
2. การเรียนภาคเสาร์ - อาทิตย์ เต็มวัน เวลา 9.00 - 16.30 น.
สามารถเลือกเวลา และสถานที่ในการเรียน ให้เหมาะสมกับความสะดวกสบาย
มีสาขากว่า 130 แห่งในประเทศ ดูข้อมูลสาขาได้ที่นี่
มีระบบการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ
ภาคทฤษฎี มีการเรียนจากคณาจารย์ และฟังเทปบรรยายของพระอาจารย์หลวงพ่อ วิริยังค์ สิรินฺธโร
ภาคปฏิบัติ มีการเดินจงกรม 30 นาที และนั่งสมาธิ 30 นาที
เมื่อจบการศึกษา มีการสอบวัดผลทั้งข้อเขียนและปฏิบัติ ตลอดจนการสอบปฏิบัติ ภาคสนาม ณ ดอยอินทนนท์
ติดต่อสอบถาม สถาบันพลังจิตตานุภาพ สำนักงานใหญ่ วัดธรรมมงคล โทรศัพท์ : 02-311-1387, 02-311-3903
ดูรายชื่อแต่ละสาขาทั่วประเทศ ตามลิงค์นี้
http://www.samathi.com/branch.php
รุ่นนี้ หลักสูตรครูสมาธิรุ่นที่ 39 (เอกูนจัตตาฬิสโม) อัตตชัย (ผู้ชนะตนเอง) มีการปฐมนิเศน์ไปเมื่อวันเสาร์ที่ 6 ส.ค. 2559 ที่ผ่านมา
ผมต้องขอโทษเพื่อนๆทุกท่านที่ แจ้งช้าไป แต่ ท่านใดที่สนใจยังสามารถ สมัครเรียนได้ทัน
โดยจะเริ่มเรียน วันแรก วันเสาร์ที่ 13 ส.ค. 2559 นี้ เปิดสอนพร้อมกันทั่วประเทศ โดยแต่ละจังหวัดจะมีศูนย์ สถาบันพลังจิตตานุภาพ
จิตตัง ทันตัง สุขาวะหัง : จิตที่ฝึกฝนดีแล้ว นำความสุขมาให้
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 705
ช่วงนี้ผมได้มีโอกาสไปฟังธรรมกับพระอาจารย์สุชาติ ที่วัดญาณสังวราราม ชลบุรี บ่อยๆ เวลานั่งพิจารณาหรือใช้สติปัญญาในการแก้ รู้สึกว่า สักแต่ว่ารู้ แต่พอไปฟังธรรมจากท่านพระอาจารย์เรื่องเดิม ผลลัพธ์กลับอัศจรรย์ใจมากเลยครับ
ท่านว่า เรื่องกามราคะ ก็ใช้ปํญญากำกับและรู้ตามมันไปสิ ความรู้สึกในวันนั้นอัศจรรย์ใจอย่างบอกไม่ถูก เหมือนเกิดความสว่างในจิต ทั้งๆที่ในตำรา ก็มีสอน และเป็นสิ่งที่เราเอง ก็รู้อยู่แล้ว แต่ทำไม่ได้ ไม่ใส่ใจ ไม่อยู่ในใจ
แต่พอได้ฟังจากครูอาจารย์ กลับมีพลังและเกิดปัญญาขึ้นมารู้ตามและหายสงสัย ซึ่งทำให้ระลึกถึงคำของพ่อแม่ครูอาจารย์ที่ว่า ถ้าเราไม่ได้มีนิสัยปัจเจก ก็ต้องเข้าหาครูอาจารย์ ฝึกเองจะเนิ่นช้าและใช้เวลามากกว่า
ตอนนี้ทำให้รู้จริตตัวเองเลยว่า ต้องอาศัยคำแนะนำและหลักใจ จากครูอาจารย์ ถึงจะก้าวหน้าได้เร็วยิ่งขึ้น ผู้ใดที่หาจริตของตนเองได้พบแล้ว ผู้นั้นก็จะเจอแสงสว่างของจิตที่ตามหาครับ
ท่านว่า เรื่องกามราคะ ก็ใช้ปํญญากำกับและรู้ตามมันไปสิ ความรู้สึกในวันนั้นอัศจรรย์ใจอย่างบอกไม่ถูก เหมือนเกิดความสว่างในจิต ทั้งๆที่ในตำรา ก็มีสอน และเป็นสิ่งที่เราเอง ก็รู้อยู่แล้ว แต่ทำไม่ได้ ไม่ใส่ใจ ไม่อยู่ในใจ
แต่พอได้ฟังจากครูอาจารย์ กลับมีพลังและเกิดปัญญาขึ้นมารู้ตามและหายสงสัย ซึ่งทำให้ระลึกถึงคำของพ่อแม่ครูอาจารย์ที่ว่า ถ้าเราไม่ได้มีนิสัยปัจเจก ก็ต้องเข้าหาครูอาจารย์ ฝึกเองจะเนิ่นช้าและใช้เวลามากกว่า
ตอนนี้ทำให้รู้จริตตัวเองเลยว่า ต้องอาศัยคำแนะนำและหลักใจ จากครูอาจารย์ ถึงจะก้าวหน้าได้เร็วยิ่งขึ้น ผู้ใดที่หาจริตของตนเองได้พบแล้ว ผู้นั้นก็จะเจอแสงสว่างของจิตที่ตามหาครับ
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 706
ช่วงนี้ผมกับภรรยาก็อยู่ในช่วงศึกษาและขัดเกลากามราคะอยู่เหมือนกันครับ ไม่ทราบว่าพี่ tum_H พอจะแชร์เทคนิค หรือลงรายละเอียดถึงวิธีการที่พี่ tum_H ใช้หน่อยได้ไหมครับ?tum_H เขียน:ช่วงนี้ผมได้มีโอกาสไปฟังธรรมกับพระอาจารย์สุชาติ ที่วัดญาณสังวราราม ชลบุรี บ่อยๆ เวลานั่งพิจารณาหรือใช้สติปัญญาในการแก้ รู้สึกว่า สักแต่ว่ารู้ แต่พอไปฟังธรรมจากท่านพระอาจารย์เรื่องเดิม ผลลัพธ์กลับอัศจรรย์ใจมากเลยครับ
ท่านว่า เรื่องกามราคะ ก็ใช้ปํญญากำกับและรู้ตามมันไปสิ ความรู้สึกในวันนั้นอัศจรรย์ใจอย่างบอกไม่ถูก เหมือนเกิดความสว่างในจิต ทั้งๆที่ในตำรา ก็มีสอน และเป็นสิ่งที่เราเอง ก็รู้อยู่แล้ว แต่ทำไม่ได้ ไม่ใส่ใจ ไม่อยู่ในใจ
แต่พอได้ฟังจากครูอาจารย์ กลับมีพลังและเกิดปัญญาขึ้นมารู้ตามและหายสงสัย ซึ่งทำให้ระลึกถึงคำของพ่อแม่ครูอาจารย์ที่ว่า ถ้าเราไม่ได้มีนิสัยปัจเจก ก็ต้องเข้าหาครูอาจารย์ ฝึกเองจะเนิ่นช้าและใช้เวลามากกว่า
ตอนนี้ทำให้รู้จริตตัวเองเลยว่า ต้องอาศัยคำแนะนำและหลักใจ จากครูอาจารย์ ถึงจะก้าวหน้าได้เร็วยิ่งขึ้น ผู้ใดที่หาจริตของตนเองได้พบแล้ว ผู้นั้นก็จะเจอแสงสว่างของจิตที่ตามหาครับ
ขอบคุณครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 707
อนุโมทนาด้วยครับtum_H เขียน:ช่วงนี้ผมได้มีโอกาสไปฟังธรรมกับพระอาจารย์สุชาติ ที่วัดญาณสังวราราม ชลบุรี บ่อยๆ เวลานั่งพิจารณาหรือใช้สติปัญญาในการแก้ รู้สึกว่า สักแต่ว่ารู้ แต่พอไปฟังธรรมจากท่านพระอาจารย์เรื่องเดิม ผลลัพธ์กลับอัศจรรย์ใจมากเลยครับ
ท่านว่า เรื่องกามราคะ ก็ใช้ปํญญากำกับและรู้ตามมันไปสิ ความรู้สึกในวันนั้นอัศจรรย์ใจอย่างบอกไม่ถูก เหมือนเกิดความสว่างในจิต ทั้งๆที่ในตำรา ก็มีสอน และเป็นสิ่งที่เราเอง ก็รู้อยู่แล้ว แต่ทำไม่ได้ ไม่ใส่ใจ ไม่อยู่ในใจ
แต่พอได้ฟังจากครูอาจารย์ กลับมีพลังและเกิดปัญญาขึ้นมารู้ตามและหายสงสัย ซึ่งทำให้ระลึกถึงคำของพ่อแม่ครูอาจารย์ที่ว่า ถ้าเราไม่ได้มีนิสัยปัจเจก ก็ต้องเข้าหาครูอาจารย์ ฝึกเองจะเนิ่นช้าและใช้เวลามากกว่า
ตอนนี้ทำให้รู้จริตตัวเองเลยว่า ต้องอาศัยคำแนะนำและหลักใจ จากครูอาจารย์ ถึงจะก้าวหน้าได้เร็วยิ่งขึ้น ผู้ใดที่หาจริตของตนเองได้พบแล้ว ผู้นั้นก็จะเจอแสงสว่างของจิตที่ตามหาครับ
ในเฟซบุค ก็มีเพจชื่อ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต มี live ถ่ายทอดสดท่านแสดงธรรมตลอดเลยครับ รู้สึกว่าทุกวันช่วงบ่ายสองถึงบ่ายสี่โมง แถมถ้าสงสัยอะไรก็สามารถพิมพ์ใน comment เป็นคำถามจากทางบ้านได้ด้วย เท่าที่ตามดูท่านตอบแทบทุกคำถามเลยครับ เรียนเชิญเพื่อนๆพี่ๆทุกท่านเข้าไปลองดูได้ครับ
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 708
ขออนุญาติแชร์เทคนิคของผมนะครับพี่ picatos ระหว่างรอพี่ tum_H มาตอบ
เคยได้ยินว่าหากกามราคะแรง ให้ใช้การพิจารณาอสุภะอสุภังเนืองๆ แต่ผมลองทำดูรู้สึกว่าไม่ค่อยเวิร์คเท่าไร เหมือนฝืนๆคิด รู้สึกไม่ค่อยตรงกับจริต ก็เลยใช้วิธีดูจิตดูอารมณ์ ใช้สติกำกับ พอเกิดกำหนัดขึ้นก็รู้ รู้อยู่เฉยๆ รู้แล้วก็วาง หรือคิดซะว่ามันก็แค่ขันธ์ขันธ์หนึ่ง ไม่ต่างจากขันธ์หรืออารมณ์อื่นๆ เวลาอารมณ์เกิดขึ้น มันก็เหมือนกับเวลาโดนยุงกัดเป็นตุ่ม เราคัน อยากเกา แต่รู้ว่าถ้าเกาแล้วเด๋วมันก็คันยิ่งกว่าเดิม กลายเป็นแผลเป็นอีก ก็ช่างหัวมัน เฉยๆกะมันซะ เด๋วก็หายคัน สักพักก็คันใหม่ แล้วก็ลืม หายคันอีก มันก็เป็นอยู่อย่างนี้เรื่อยๆ แต่โดยรวมแล้วพอทำบ่อยๆ สำหรับตัวผมเองพบว่าช่วยแก้เรื่องกามราคะได้เยอะเลยครับ เหมือนพอทำเรื่อยๆแล้ว สักพักอารมณ์มันจะเบาขึ้น ไม่หนักหน่วงรุนแรง แล้วก็กามราคะลดลงได้จริงๆ
สรุปคือจริงๆแล้วตอนนี้ ไม่ว่าจะกิเลสตัวไหน ผมใช้วิธีเดียวกันหมดเลยคือ เมื่อสติตามรู้อารมณ์เกิดขึ้น รู้แล้วก็วางมัน แล้วก็ใช้ปัญญาเข้ากำกับด้วยว่า มันไม่ใช่เรา กำหนัดไม่ใช่เรา มันแค่ขันธ์ โลภ โกรธ หลง ไม่ใช่เรา ความคิดที่ฟุ้งซ่านขึ้นมา ก็ไม่ใช่เรา ไม่ต้องไปยึดติดมัน ซึ่งเท่าที่ทำมา ผมก็พอใจกับผลลัพธ์ที่ได้อยู่พอควรเลยครับ
ไม่ทราบว่าพี่ picatos เป็นอย่างไรบ้าง การปฏิบัติมีความก้าวหน้าหรือติดขัดประการใด หากติดขัดแล้วแก้ไขไปได้อย่างไรบ้าง รวมถึงคำถามเรื่องกามราคะ ไม่ทราบว่าตอนนี้พี่ใช้วิธีใดในการขัดเกลา และผลลัพธ์เป็นอย่างไรบ้าง อยากให้พี่แชร์บ้างเพื่อเป็นวิทยาทานให้แก่ทุกคนครับ
เคยได้ยินว่าหากกามราคะแรง ให้ใช้การพิจารณาอสุภะอสุภังเนืองๆ แต่ผมลองทำดูรู้สึกว่าไม่ค่อยเวิร์คเท่าไร เหมือนฝืนๆคิด รู้สึกไม่ค่อยตรงกับจริต ก็เลยใช้วิธีดูจิตดูอารมณ์ ใช้สติกำกับ พอเกิดกำหนัดขึ้นก็รู้ รู้อยู่เฉยๆ รู้แล้วก็วาง หรือคิดซะว่ามันก็แค่ขันธ์ขันธ์หนึ่ง ไม่ต่างจากขันธ์หรืออารมณ์อื่นๆ เวลาอารมณ์เกิดขึ้น มันก็เหมือนกับเวลาโดนยุงกัดเป็นตุ่ม เราคัน อยากเกา แต่รู้ว่าถ้าเกาแล้วเด๋วมันก็คันยิ่งกว่าเดิม กลายเป็นแผลเป็นอีก ก็ช่างหัวมัน เฉยๆกะมันซะ เด๋วก็หายคัน สักพักก็คันใหม่ แล้วก็ลืม หายคันอีก มันก็เป็นอยู่อย่างนี้เรื่อยๆ แต่โดยรวมแล้วพอทำบ่อยๆ สำหรับตัวผมเองพบว่าช่วยแก้เรื่องกามราคะได้เยอะเลยครับ เหมือนพอทำเรื่อยๆแล้ว สักพักอารมณ์มันจะเบาขึ้น ไม่หนักหน่วงรุนแรง แล้วก็กามราคะลดลงได้จริงๆ
สรุปคือจริงๆแล้วตอนนี้ ไม่ว่าจะกิเลสตัวไหน ผมใช้วิธีเดียวกันหมดเลยคือ เมื่อสติตามรู้อารมณ์เกิดขึ้น รู้แล้วก็วางมัน แล้วก็ใช้ปัญญาเข้ากำกับด้วยว่า มันไม่ใช่เรา กำหนัดไม่ใช่เรา มันแค่ขันธ์ โลภ โกรธ หลง ไม่ใช่เรา ความคิดที่ฟุ้งซ่านขึ้นมา ก็ไม่ใช่เรา ไม่ต้องไปยึดติดมัน ซึ่งเท่าที่ทำมา ผมก็พอใจกับผลลัพธ์ที่ได้อยู่พอควรเลยครับ
ไม่ทราบว่าพี่ picatos เป็นอย่างไรบ้าง การปฏิบัติมีความก้าวหน้าหรือติดขัดประการใด หากติดขัดแล้วแก้ไขไปได้อย่างไรบ้าง รวมถึงคำถามเรื่องกามราคะ ไม่ทราบว่าตอนนี้พี่ใช้วิธีใดในการขัดเกลา และผลลัพธ์เป็นอย่างไรบ้าง อยากให้พี่แชร์บ้างเพื่อเป็นวิทยาทานให้แก่ทุกคนครับ
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 709
พอเรามีเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ดุเหมือนไม่ใช่เรื่องง่ายเลยครับ เรื่องกามราคะpicatos เขียน: ช่วงนี้ผมกับภรรยาก็อยู่ในช่วงศึกษาและขัดเกลากามราคะอยู่เหมือนกันครับ ไม่ทราบว่าพี่ tum_H พอจะแชร์เทคนิค หรือลงรายละเอียดถึงวิธีการที่พี่ tum_H ใช้หน่อยได้ไหมครับ?
ขอบคุณครับ
เหมือนเรายกกองทัพไปตีเมืองที่ใหญ่กว่าเราหลายเท่า แล้วเราก็ถูกหลอกให้ติดกับดักว่าชนะ แต่จริงๆแล้ว
เราโดนอีก 100 ทัพโอบล้อมอยู่ พอเราดูเหมือนรบชนะทัพแรก ก็จะมีอีก 99 ทัพมาตามตีเรา
จนแทบตั้งตัวไม่ติดเลย ซึ่งส่วนใหญ่เราก็ต้องเป็นฝ่ายแตกพ่ายไป ก่อนที่จะรวบรวมกำลังกลับมาใหม่
อย่างที่พี่ sakkaphan พูดนั้นถูกต้องแล้วครับ เราต้องใช้สติ คือตัวปัญญา ในการแก้ปัญหา หรือหาอุบายในการเอาชนะให้ได้
ซึ่งก่อนจะไปออกรบก็ต้องมีการเตรียมการกันมานานทีเดียว หากเทียบกับเราๆท่านๆ ก็คิดเป็นภพชาติไม่ได้เลยครับ
ผมอ่านประวัติจากท่านพระอาจารย์มีชื่อ ที่ท่านได้ผ่านแล้ว ท่านพระอริยะเจ้าเหล่านั้น ก็จะเจอปัญหานี้เหมือนกันกับเราเลยครับ บางท่านก็ไปถามอาจารย์ของท่านว่า ทำไมสมัยพุทธกาล สำเร็จง่ายจัง หรือ เดินจงกรมจนเท้าแตก ต้องคลานจงกรม หรือ ไม่ยอมฉันอาหาร จนอาจารย์ต้องมาเตือน หรือ พุทโธ หายไปเป็นเวลาหลายปี จิตไม่รวมก็มี
ซึ่งทุกท่านที่กล่าวมา ก็ใช้ความเพียรวิริยะ จนท้ายที่สุดก็สำเร็จอริยมรรค อริยผล นั่นแสดงให้เห็นว่า กว่าจะผ่านจุดเหล่านี้ไปได้ ต้องอาศัยความเพียรและปัญญาในการแก้ปัญหาเป็นอย่างมาก
ย้อนกลับมาเรื่องหนัก คือ ราคะ ที่เรากำลังหาอุบายกำหลาบกันอยู่ เราจะใช้อุบายอันใด ในการจัดการกิเลสตัวที่ติดตามเรามานับภพชาติไม่ได้ เท่าที่ผมทดลองปฏิบัติดู ผมคิดว่าขึ้นอยู่กับจริตและนิสัยวาสนาของแต่ล่ะคนเป็นสำคัญ กล่าวคือ บางคนส่วนนี้ไม่หนัก แต่ไปหนักส่วนอื่น หรือ บางคนหาอุบายด้วยตัวเองไม่ได้ ต้องให้อาจารย์แนะ หรือ บางคนสามารถหาอุบายแก้ปัญหานี้ได้เองก็มี
สำหรับผมลองมาหลายแบบมาก ขออธิบายเป็นลำดับขั้นดังนี้
1.) พิจารณาโดยใช้ปัญญาเป็นเครื่องกำกับว่า รูปสวย รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ เป็นของไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ พอเจอสิ่งยั่วยวนใจ ก็ยกขึ้นมาพิจารณาให้มีปัญญารู้ตาม ว่าเหตุใดเราจึงชอบของสกปรกและหน้ารังเกียจเหล่านี้ ทั้งนี้ต้องอาศัยทาน ศีล และภาวนาเป็นพลังงานในการต่อสู้กับราคะไปด้วย ซึ่งเมื่อเราได้เจอรูปสวย รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ อาการขาดสติก็กลับมา สรุปว่าผมลองวิธีนี้แล้วสอบตก
2.) เมื่อไม่ได้ผลก็มาลองพิจารณา อสุภกรรมฐาน ตามที่พี่ sakkaphanกล่าวไว้ว่า ราคะต้องใช้ของปฏิกูลน่ารังเกียจเป็นตัวปรามกิเลศ วิธีนี้ใช้ได้ผลเมื่อสามารถประคองจิตให้มีพลังงาน คือมีปัญญากำกับและรู้ตามตลอดเวลา แต่เมื่อพลั้งเผลอ ได้เจอรูปสวย รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ อสุภกรรมฐาน ก็อันตรทาน หายไป ควบคุมจิตไม่ได้อีกตามเคย สรุปว่าผมลองวิธีนี้แล้วสอบตก
3.) เมื่อยังไม่ได้ผล ก็ต้องกลับมานั่งใช้ปัญญาหาสาเหตุว่า ทำไมจึงยังไม่สามารถเอาชนะสิ่งเหล่านี้ได้ ทั้งนี้ยังคงพยายาม รักษาทาน ศีล และภาวนาให้อยู่ในระดับปรกติในขณะที่อยู่ในช่วงเวลาที่ใช้ปัญญาแก้ปัญหา จากการที่เราได้ลองศึกษาหาความรู้ในหลายๆส่วน ทำให้พบอุปนิสัยของคนเราหรือจริต แบ่งได้สองแบบคือ แบบปัจเจก กับ แบบที่ต้องอาศัยครูอาจารย์ ซึ่งแน่นอนว่าเราได้ลองแบบแรกมาแล้ว แต่ยังไม่เป็นผล ก็เลยเปลี่ยนมาลองในแบบที่สอง
4.) ไปวัดหาอาจารย์เพื่อฟังธรรม ซึ่งก็เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์มาก ไปสี่ครั้ง ท่านเทศน์เรื่องเดียวกัน แต่เปลี่ยนรูปแบบ ทุกวันนี้ยังระลึกถึงพระธรรมเทศนาของพระอาจารย์ที่ว่า “รสแห่งธรรม ชนะ รสทั้งปวง” เกิดธรรมปีติ อย่างบอกไม่ถูก อิ่มอกอิ่มใจ ทั้งๆที่รู้เรื่องธรรมเหล่านี้มานาน แต่ไม่เข้าไปในจิต พอไปฟังอาจารย์เทศน์กลับอยู่ในจิตด้วยความนอบน้อม อารมณ์ความรู้สึกเบาลง อยู่ได้ระยะหนึ่งเป็นช่วงที่เบาบางจากราคะอย่างน่าประหลาด แต่พอเจอ รูปสวย รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศอีก ก็สอบตก แต่มีระยะเวลานานขึ้นกว่าเดิม
5.) อาศัยข้อนี้ จึงไปวัดเพื่อฟังธรรมทุกเสาร์ หรือ วันที่ว่างจากภาระการงาน จนวันหนึ่งท่านเทศน์เรื่อง กามราคะ ให้ใช้อุบายคือ กำหนดรู้สิ่งที่เราชอบให้เป็นอสุภกรรมฐานลงที่จิต (อันนี้ก็รู้อยู่แล้ว) เกิดความอัศจรรย์ใจเป็นครั้งที่สอง กล่าวคือจิตมันเชื่อคำของครูอาจารย์ มันรวมลงที่จิต มันเอามาทำตาม มันกลัวครูอาจารย์ เลยทดลองเอาคลิปมาเปิดดู เรื่องของชายและหญิง (คลิปอย่างว่า) แล้วกำหนดอสุภ ไปที่ชายและหญิงคู่นั้น ผลปรากฏว่าแทบไม่มีความรู้สึก เพราะกำหนดให้เป็นของปฏิกูลน่ารังเกียจได้แล้ว
6.) พอได้หลักในการหาอุบายหลัก ตาเห็นรูปเริ่มมีความเบาบางลง กิเลศก็ไปหันไปเล่นงานในจิตส่วนลึก กล่าวคือในความฝันแทน ซึ่งไม่เพียงแต่ต้องเอาชนะจากภายนอก แต่ยังรวมถึงการปรามกิเลศภายในด้วย
7.) (การปฏิบัติของผมมาถึงขั้นตอนนี้ )
สรุปหลักปฏิบัติที่ผมเจอคือ เมื่อแรกเริ่มหากเจอรูปสวย รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ ต้องรีบถอย อย่าเข้าไปปะทะ เพราะจิตของเรามีกำลังอ่อน สู้ไม่ได้ หากสู้โดยไม่มีปัญญารู้ตามโดยตลอด จะพลาดท่าทุกครั้ง เมื่อพลาดท่าจะเกิดอาการท้อ ให้พยายามหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด ต้องสะสมพลังงานคือปัญญาให้มากๆ รบแล้วถอย รบแล้วถอย จนสุดท้ายกิเลศจะติดกับดักที่เราวางไว้ เมื่อนั้นเราค่อยเข้าตี ก็จะชนะศึกนี้ได้ครับ
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 711
อนุโมทนาด้วยนะครับsakkaphan เขียน:ขอบคุณพี่ tum_H มากๆครับ สำหรับธรรมทาน ปล. เรียกผมว่าน้องดีกว่าครับพี่ เพราะว่าผมอายุ 28 เอง
อายุยังน้อย แต่ใฝ่ในธรรม
เป็นผู้ที่ทำในสิ่งที่พึงทำได้ยากยิ่ง
สาธุครับ
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1575
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 712
ขออนุโมทนาด้วยคนนะครับ
ผมตามอ่าน ได้ประโยชน์อย่างมากครับ
แนะนำสอนด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย
ผมเป็นคนแพ้ภาษาที่อ่านยากๆครับ
ผมตามอ่าน ได้ประโยชน์อย่างมากครับ
แนะนำสอนด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย
ผมเป็นคนแพ้ภาษาที่อ่านยากๆครับ
ดู clip รายการ money talk ย้อนหลังได้ที่
http://www.facebook.com/MoneyTalkTV
http://www.facebook.com/MoneyTalkTV
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 713
ขอบคุณทั้งพี่ tum_H และ คุณ sakkaphan นะครับ
โดยธรรมชาติของผม กิเลสของผมจะไม่ค่อยถูกกระตุ้นทางตัณหามากนัก แต่จะหนักไปทางทิฎฐิ กล่าวคือ บ้าและยึดติดในความคิด ความถูกต้อง และสถานะซะมากกว่า โดยนิสัยตั้งแต่เด็กเลยไม่ค่อยสนใจกามคุณ 5 มากนัก ก็รู้แค่ว่าอะไรงาม อะไรปราณีต มีใช้ก็สักแต่ว่าใช้ ไม่มีใช้ก็ไม่ได้ลำบากอะไร รู้สึกทุกข์ร้อนอะไร เห็นคนมีรถเท่ห์ โทรศัพท์สวยๆ ก็ไม่เคยรู้สึกว่าต้องดิ้นรนจะไปซื้ออะไร ด้วยเหตุนี้เรื่องกามราคะจึงไม่ใช่ปัญหาอะไรของผมมากมายนักในการปฎิบัติขั้นต้น
ในการปฏิบัติขั้นต้น ผมจึงไม่ค่อยมีความฟุ้งซ่านใจอะไรที่เนื่องมาจากกามราคะ แต่เมื่อเกิดความฟุ้นซ่านทางใจที่เกิดจากกามราคะผมก็ใช้วิธีการเดียวกันกับคุณ sakkhaphan ซึ่งสอดคล้องกับพุทธพจน์นี้ใน มหาสุญญตสูตร โดยมีข้อความดังนี้
"...
[๓๔๙] ดูกรอานนท์ กามคุณนี้มี ๕ อย่างแล ๕ อย่างเป็นไฉน คือ
รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่รู้ด้วยโสต ... กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ ... รสที่รู้
ได้ด้วยชิวหา ... โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูกรอานนท์ นี้แล กาม
คุณ ๕ อย่าง ซึ่งเป็นที่ที่ภิกษุพึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ ว่า มีอยู่หรือหนอแล
ที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะ
อายตนะใดอายตนะหนึ่ง ดูกรอานนท์ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้ชัดอย่างนี้ว่า มีอยู่แล
ที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะ
อายตนะใดอายตนะหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ความกำหนัด
พอใจในกามคุณ ๕ นี้แล เรายังละไม่ได้แล้ว แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า
ไม่มีเลยที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือเพราะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
ความกำหนัดพอใจในกามคุณ ๕ นี้แล เราละได้แล้ว ด้วยอาการนี้แล เป็นอัน
เธอรู้สึกตัวในเรื่องกามคุณ ๕ ฯ
..."
ในภาคปฏิบัติในขั้นต้น เวลาผมเกิดความฟุ้งซ่าน ก็แค่กำหนดรู้ โดยส่วนใหญ่ก็มักจะดับไป แต่ก็มีบางอย่างที่เอาไม่อยู่ พัฒนาต่อไปเป็นคำพูด และการกระทำ แต่ในขั้นต้นในการปฏิบัติผมก็ไม่ได้ตั้งใจจะขัดเกลากามราคะมากนัก เลยไม่ค่อยได้ใส่ใจสักเท่าไร ทำก็ทำ ก็รู้ว่ามันเป็นกิเลส ในขณะทำถ้ามีสติ สมาธิ มากเพียงพอ ก็จะกำหนดรู้ กำหนดดู อาการทางกายทางใจเพื่อเรียนรู้มันไป
ออกตัวก่อนว่า ผมเป็นคนที่ไม่ได้เคร่งเรื่องศีลมากนัก ศีลของผมถ้าผมถือข้อไหน มันต้องมาจากคุณสมบัติของจิต ที่เห็นทุกข์โทษจริงๆ ก่อนจึงถือ ถ้ายังไม่เห็นทุกข์โทษจริงๆ ผมจะถือศีลที่เกินความสามารถของผม ก็แค่ในช่วงเวลาที่จำเป็นเท่านั้น
อย่างไรก็ตามในขั้นกลาง เมื่อตัวผมเองเริ่มเห็นทุกข์โทษจากการเกิดเป็นมนุษย์มากขึ้น เมื่อพิจารณาเหตุถึงการเกิดเป็นมนุษย์ ก็รู้สึกว่า กามราคะนี่แหละเป็นเหตุที่ทำให้ตัวเองต้องเป็นมนุษย์อีก อีกทั้งเราได้ฝึกที่จะตามดูจิตของตัวเองในการเสวยกามเมื่อมีกามราคะเกิดขึ้นในขั้นต้นแล้ว และทุกๆ ครั้งที่ดู ก็จะได้ข้อสรุปเดียวกันว่า ไอ้ที่เราคิดว่าสุข จริงๆ แล้วมันมีแต่ทุกข์ ไอ้ที่เราคิดว่าสุข จริงๆ แล้วมันเกิดจากแรงบีบคั้นของทุกข์ และเมื่อทุกข์นั้นมันคลายไปจากกามที่เราได้เสวย ผลที่เกิดขึ้นทางกายก็มี ก็เป็นภาระ ผลที่เกิดขึ้นทางใจก็ทำให้ติดใจยินดีอยากเสวยอีก ข้อสรุปคือ มันหาสาระอะไรไม่ค่อยได้จริงๆ
ในขั้นกลางนี้ ผมจึงพยายามที่จะสังเกต และตัดกระแสการปรุงแต่งของกามราคะที่เกิดขึ้นในจิต ทั้งที่ลืมตาตื่น และที่นอนหลับ ผมถือศีลข้อ "อพรหมจริยา" เพิ่ม เพราะ รู้ว่านี่คือทางในการที่จะทำให้เราไม่ต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ และต้องมาทนทุกข์กับสภาพทางกายอันหยาบ มีโรคมาก มีทุกข์มาก แบบนี้อีก
ในการตัดกระแสการปรุงแต่งของกามราคะ ผมใช้วิธีการของสมถะซะมากกว่า เพราะ ก่อนหน้านี้ผมคิดว่าผมเห็นทุกข์โทษของกามราคะมากพอแล้ว ในเรื่องของความเข้าใจทางปัญญาผมคิดว่าตัวเองมีพร้อมแล้ว แต่ปัญหาคือ ร่องจิต ความเคยชินของจิต ที่สั่งสมมาเป็นอาจิณกรรม ที่บางทีมันกระทบผัสสะแล้วก็ไหลไปตามสัญญา ดังนั้นเมื่อเกิดกามราคะขึ้นในจิต ถ้ากำหนดรู้แล้วมันไม่ดับ ไม่ขาด ผมก็จะใช้อสุภกรรมฐาน คิดถึงภาพอสุภะหลายๆ อย่างที่เราเตรียมเอาไว้ในจิต ยกขึ้นมาพิจารณาจนอาการดิ้นรนของจิตอันเนื่องจากกามราคะนั้นดับลงไป
ในความฝัน ปกติผมจะเป็นคนไม่ค่อยฝันมาแต่ไหนแต่ไร ตามธรรมชาติผมมักจะหลับในองค์แห่งสมาธิ กล่าวคือ เมื่อมีสติอ่อนๆ รู้สึกตัวขึ้นมาในช่วงหลับตื้น ซึ่งโดยทั่วไปเราจะฝันในช่วงนี้ ธรรมชาติจิตผมจะเกาไปกับอารมณ์สมาธิ มันจะมีคำบริกรรม หรือสภาวะอะไรบางอย่างที่จิตจะเคล้าคลึง ยกขึ้นมาเพื่อในจิตหลับอยู่ในองค์สมาธิ แต่ก็มีบ้างที่เกิดความฝันขึ้นอันเนื่องมาจากอาการกดข่มกามราคะในช่วงที่ลืมตาตื่น ที่จุดนี้ ถ้าหากผมไม่สามารถใช้สติตัดกระแสการปรุงแต่งในความฝัน ตัดเข้าสมาธิได้ ผมก็จะลุกตื่นขึ้นมา แล้วก็เปิดภาพอสุภะในอินเตอร์เน็ตขึ้นมาดูบ้าง เปิดพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกขึ้นมาอ่านบ้าง ซึ่งเท่าที่ทำมากามราคะอย่างหยาบก็สงบลงได้
ปัญหาของผมตอนนี้มันมาอยู่ในขั้นนี้ครับ คือ ตอนนี้ต้องการฝึกที่จะตัดกามราคะอย่างละเอียดจริงๆ ในบางครั้งเดินจงกรม นั่งสมาธิเสร็จไป 1 บัลลังค์บ้าง 2 บัลลังค์บ้าง บางทีจิตมันจะอึดอัดกับสภาวะที่มันสงบ ว่างเปล่า และดิ้นรนวุ่นวายไม่อยากจะทำต่อ อยากจะได้อารมณ์ที่เราเคยเสพ เคยเสวยตามสัญญา อยากจะเลิกทำ ออกไปหาอารมณ์อันปราณีตเสวย อยากไปเที่ยว อยากไปกิน อยากไปเจอผู้คน ซึ่งทุกวันนี้ก็พยายามแก้ไปตามเรื่องตามราว ตามใจกิเลสบ้าง ฝืนกิเลสบ้าง เอาสมถะเข้าข่มบ้าง เอาวิปัสสนาเข้าตัดบ้าง อ่านธรรมะบ้าง ออกไปเรียนรู้ธรรมที่กระทบกับโลกบ้าง แต่ก็ยังจัดการไม่ได้เด็ดขาดเสียที พอเห็นพี่ tum_H พูดถึง จึงสอบถามดู เผื่อจะมีเทคนิคอะไรที่ผมจะเอามาพัฒนาตัวเองได้
อันนี้ก็เป็นประสบการณ์คร่าวๆ ของผมนะครับ ถ้าพี่ๆ เพื่อนๆ เห็นว่าถูกผิดอย่างไร มีคำชี้แนะ ตัดเตือนอย่างไร จะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคนที่เป็นผู้ปฏิบัติสายปัจเจกอย่างผม ผมกราบขอบพระคุณ สำหรับคำแนะนำทุกประการครับ
โดยจริตทางวิปัสสนาแล้ว ผมได้เคยอ่านมาว่าผู้ปฏิบัติอาจแบ่งได้เป็น 2 จริต คือ ตัณหาจริต และ ทิฎฐิจิริตsakkaphan เขียน:ขออนุญาติแชร์เทคนิคของผมนะครับพี่ picatos ระหว่างรอพี่ tum_H มาตอบ
เคยได้ยินว่าหากกามราคะแรง ให้ใช้การพิจารณาอสุภะอสุภังเนืองๆ แต่ผมลองทำดูรู้สึกว่าไม่ค่อยเวิร์คเท่าไร เหมือนฝืนๆคิด รู้สึกไม่ค่อยตรงกับจริต ก็เลยใช้วิธีดูจิตดูอารมณ์ ใช้สติกำกับ พอเกิดกำหนัดขึ้นก็รู้ รู้อยู่เฉยๆ รู้แล้วก็วาง หรือคิดซะว่ามันก็แค่ขันธ์ขันธ์หนึ่ง ไม่ต่างจากขันธ์หรืออารมณ์อื่นๆ เวลาอารมณ์เกิดขึ้น มันก็เหมือนกับเวลาโดนยุงกัดเป็นตุ่ม เราคัน อยากเกา แต่รู้ว่าถ้าเกาแล้วเด๋วมันก็คันยิ่งกว่าเดิม กลายเป็นแผลเป็นอีก ก็ช่างหัวมัน เฉยๆกะมันซะ เด๋วก็หายคัน สักพักก็คันใหม่ แล้วก็ลืม หายคันอีก มันก็เป็นอยู่อย่างนี้เรื่อยๆ แต่โดยรวมแล้วพอทำบ่อยๆ สำหรับตัวผมเองพบว่าช่วยแก้เรื่องกามราคะได้เยอะเลยครับ เหมือนพอทำเรื่อยๆแล้ว สักพักอารมณ์มันจะเบาขึ้น ไม่หนักหน่วงรุนแรง แล้วก็กามราคะลดลงได้จริงๆ
สรุปคือจริงๆแล้วตอนนี้ ไม่ว่าจะกิเลสตัวไหน ผมใช้วิธีเดียวกันหมดเลยคือ เมื่อสติตามรู้อารมณ์เกิดขึ้น รู้แล้วก็วางมัน แล้วก็ใช้ปัญญาเข้ากำกับด้วยว่า มันไม่ใช่เรา กำหนัดไม่ใช่เรา มันแค่ขันธ์ โลภ โกรธ หลง ไม่ใช่เรา ความคิดที่ฟุ้งซ่านขึ้นมา ก็ไม่ใช่เรา ไม่ต้องไปยึดติดมัน ซึ่งเท่าที่ทำมา ผมก็พอใจกับผลลัพธ์ที่ได้อยู่พอควรเลยครับ
ไม่ทราบว่าพี่ picatos เป็นอย่างไรบ้าง การปฏิบัติมีความก้าวหน้าหรือติดขัดประการใด หากติดขัดแล้วแก้ไขไปได้อย่างไรบ้าง รวมถึงคำถามเรื่องกามราคะ ไม่ทราบว่าตอนนี้พี่ใช้วิธีใดในการขัดเกลา และผลลัพธ์เป็นอย่างไรบ้าง อยากให้พี่แชร์บ้างเพื่อเป็นวิทยาทานให้แก่ทุกคนครับ
โดยธรรมชาติของผม กิเลสของผมจะไม่ค่อยถูกกระตุ้นทางตัณหามากนัก แต่จะหนักไปทางทิฎฐิ กล่าวคือ บ้าและยึดติดในความคิด ความถูกต้อง และสถานะซะมากกว่า โดยนิสัยตั้งแต่เด็กเลยไม่ค่อยสนใจกามคุณ 5 มากนัก ก็รู้แค่ว่าอะไรงาม อะไรปราณีต มีใช้ก็สักแต่ว่าใช้ ไม่มีใช้ก็ไม่ได้ลำบากอะไร รู้สึกทุกข์ร้อนอะไร เห็นคนมีรถเท่ห์ โทรศัพท์สวยๆ ก็ไม่เคยรู้สึกว่าต้องดิ้นรนจะไปซื้ออะไร ด้วยเหตุนี้เรื่องกามราคะจึงไม่ใช่ปัญหาอะไรของผมมากมายนักในการปฎิบัติขั้นต้น
ในการปฏิบัติขั้นต้น ผมจึงไม่ค่อยมีความฟุ้งซ่านใจอะไรที่เนื่องมาจากกามราคะ แต่เมื่อเกิดความฟุ้นซ่านทางใจที่เกิดจากกามราคะผมก็ใช้วิธีการเดียวกันกับคุณ sakkhaphan ซึ่งสอดคล้องกับพุทธพจน์นี้ใน มหาสุญญตสูตร โดยมีข้อความดังนี้
"...
[๓๔๙] ดูกรอานนท์ กามคุณนี้มี ๕ อย่างแล ๕ อย่างเป็นไฉน คือ
รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่รู้ด้วยโสต ... กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ ... รสที่รู้
ได้ด้วยชิวหา ... โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูกรอานนท์ นี้แล กาม
คุณ ๕ อย่าง ซึ่งเป็นที่ที่ภิกษุพึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ ว่า มีอยู่หรือหนอแล
ที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะ
อายตนะใดอายตนะหนึ่ง ดูกรอานนท์ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้ชัดอย่างนี้ว่า มีอยู่แล
ที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะ
อายตนะใดอายตนะหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ความกำหนัด
พอใจในกามคุณ ๕ นี้แล เรายังละไม่ได้แล้ว แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า
ไม่มีเลยที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือเพราะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
ความกำหนัดพอใจในกามคุณ ๕ นี้แล เราละได้แล้ว ด้วยอาการนี้แล เป็นอัน
เธอรู้สึกตัวในเรื่องกามคุณ ๕ ฯ
..."
ในภาคปฏิบัติในขั้นต้น เวลาผมเกิดความฟุ้งซ่าน ก็แค่กำหนดรู้ โดยส่วนใหญ่ก็มักจะดับไป แต่ก็มีบางอย่างที่เอาไม่อยู่ พัฒนาต่อไปเป็นคำพูด และการกระทำ แต่ในขั้นต้นในการปฏิบัติผมก็ไม่ได้ตั้งใจจะขัดเกลากามราคะมากนัก เลยไม่ค่อยได้ใส่ใจสักเท่าไร ทำก็ทำ ก็รู้ว่ามันเป็นกิเลส ในขณะทำถ้ามีสติ สมาธิ มากเพียงพอ ก็จะกำหนดรู้ กำหนดดู อาการทางกายทางใจเพื่อเรียนรู้มันไป
ออกตัวก่อนว่า ผมเป็นคนที่ไม่ได้เคร่งเรื่องศีลมากนัก ศีลของผมถ้าผมถือข้อไหน มันต้องมาจากคุณสมบัติของจิต ที่เห็นทุกข์โทษจริงๆ ก่อนจึงถือ ถ้ายังไม่เห็นทุกข์โทษจริงๆ ผมจะถือศีลที่เกินความสามารถของผม ก็แค่ในช่วงเวลาที่จำเป็นเท่านั้น
อย่างไรก็ตามในขั้นกลาง เมื่อตัวผมเองเริ่มเห็นทุกข์โทษจากการเกิดเป็นมนุษย์มากขึ้น เมื่อพิจารณาเหตุถึงการเกิดเป็นมนุษย์ ก็รู้สึกว่า กามราคะนี่แหละเป็นเหตุที่ทำให้ตัวเองต้องเป็นมนุษย์อีก อีกทั้งเราได้ฝึกที่จะตามดูจิตของตัวเองในการเสวยกามเมื่อมีกามราคะเกิดขึ้นในขั้นต้นแล้ว และทุกๆ ครั้งที่ดู ก็จะได้ข้อสรุปเดียวกันว่า ไอ้ที่เราคิดว่าสุข จริงๆ แล้วมันมีแต่ทุกข์ ไอ้ที่เราคิดว่าสุข จริงๆ แล้วมันเกิดจากแรงบีบคั้นของทุกข์ และเมื่อทุกข์นั้นมันคลายไปจากกามที่เราได้เสวย ผลที่เกิดขึ้นทางกายก็มี ก็เป็นภาระ ผลที่เกิดขึ้นทางใจก็ทำให้ติดใจยินดีอยากเสวยอีก ข้อสรุปคือ มันหาสาระอะไรไม่ค่อยได้จริงๆ
ในขั้นกลางนี้ ผมจึงพยายามที่จะสังเกต และตัดกระแสการปรุงแต่งของกามราคะที่เกิดขึ้นในจิต ทั้งที่ลืมตาตื่น และที่นอนหลับ ผมถือศีลข้อ "อพรหมจริยา" เพิ่ม เพราะ รู้ว่านี่คือทางในการที่จะทำให้เราไม่ต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ และต้องมาทนทุกข์กับสภาพทางกายอันหยาบ มีโรคมาก มีทุกข์มาก แบบนี้อีก
ในการตัดกระแสการปรุงแต่งของกามราคะ ผมใช้วิธีการของสมถะซะมากกว่า เพราะ ก่อนหน้านี้ผมคิดว่าผมเห็นทุกข์โทษของกามราคะมากพอแล้ว ในเรื่องของความเข้าใจทางปัญญาผมคิดว่าตัวเองมีพร้อมแล้ว แต่ปัญหาคือ ร่องจิต ความเคยชินของจิต ที่สั่งสมมาเป็นอาจิณกรรม ที่บางทีมันกระทบผัสสะแล้วก็ไหลไปตามสัญญา ดังนั้นเมื่อเกิดกามราคะขึ้นในจิต ถ้ากำหนดรู้แล้วมันไม่ดับ ไม่ขาด ผมก็จะใช้อสุภกรรมฐาน คิดถึงภาพอสุภะหลายๆ อย่างที่เราเตรียมเอาไว้ในจิต ยกขึ้นมาพิจารณาจนอาการดิ้นรนของจิตอันเนื่องจากกามราคะนั้นดับลงไป
ในความฝัน ปกติผมจะเป็นคนไม่ค่อยฝันมาแต่ไหนแต่ไร ตามธรรมชาติผมมักจะหลับในองค์แห่งสมาธิ กล่าวคือ เมื่อมีสติอ่อนๆ รู้สึกตัวขึ้นมาในช่วงหลับตื้น ซึ่งโดยทั่วไปเราจะฝันในช่วงนี้ ธรรมชาติจิตผมจะเกาไปกับอารมณ์สมาธิ มันจะมีคำบริกรรม หรือสภาวะอะไรบางอย่างที่จิตจะเคล้าคลึง ยกขึ้นมาเพื่อในจิตหลับอยู่ในองค์สมาธิ แต่ก็มีบ้างที่เกิดความฝันขึ้นอันเนื่องมาจากอาการกดข่มกามราคะในช่วงที่ลืมตาตื่น ที่จุดนี้ ถ้าหากผมไม่สามารถใช้สติตัดกระแสการปรุงแต่งในความฝัน ตัดเข้าสมาธิได้ ผมก็จะลุกตื่นขึ้นมา แล้วก็เปิดภาพอสุภะในอินเตอร์เน็ตขึ้นมาดูบ้าง เปิดพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกขึ้นมาอ่านบ้าง ซึ่งเท่าที่ทำมากามราคะอย่างหยาบก็สงบลงได้
ปัญหาของผมตอนนี้มันมาอยู่ในขั้นนี้ครับ คือ ตอนนี้ต้องการฝึกที่จะตัดกามราคะอย่างละเอียดจริงๆ ในบางครั้งเดินจงกรม นั่งสมาธิเสร็จไป 1 บัลลังค์บ้าง 2 บัลลังค์บ้าง บางทีจิตมันจะอึดอัดกับสภาวะที่มันสงบ ว่างเปล่า และดิ้นรนวุ่นวายไม่อยากจะทำต่อ อยากจะได้อารมณ์ที่เราเคยเสพ เคยเสวยตามสัญญา อยากจะเลิกทำ ออกไปหาอารมณ์อันปราณีตเสวย อยากไปเที่ยว อยากไปกิน อยากไปเจอผู้คน ซึ่งทุกวันนี้ก็พยายามแก้ไปตามเรื่องตามราว ตามใจกิเลสบ้าง ฝืนกิเลสบ้าง เอาสมถะเข้าข่มบ้าง เอาวิปัสสนาเข้าตัดบ้าง อ่านธรรมะบ้าง ออกไปเรียนรู้ธรรมที่กระทบกับโลกบ้าง แต่ก็ยังจัดการไม่ได้เด็ดขาดเสียที พอเห็นพี่ tum_H พูดถึง จึงสอบถามดู เผื่อจะมีเทคนิคอะไรที่ผมจะเอามาพัฒนาตัวเองได้
อันนี้ก็เป็นประสบการณ์คร่าวๆ ของผมนะครับ ถ้าพี่ๆ เพื่อนๆ เห็นว่าถูกผิดอย่างไร มีคำชี้แนะ ตัดเตือนอย่างไร จะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคนที่เป็นผู้ปฏิบัติสายปัจเจกอย่างผม ผมกราบขอบพระคุณ สำหรับคำแนะนำทุกประการครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4366
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 714
ในความเขัาใจของผม กิริยาเดียวในการปฏิบัติธรรมมีแต่ ดู (หรือรู้)
ผมทำฌาณไม่เป็น มีแค่ขณิกสมาธิแว้บๆ สิ่งเดียวที่ทำได้คือ มีสติรู้ รู้ แล้วก็รู้
นอกจากรู้ ทุกอย่างมันก็คืออาการของจิต เป็นแค่ของที่ถูกรู้ ไม่ได้สลักสำคัญอะไรครับ รู้แล้วก็ปล่อยผ่านไปแค่นั้นครับ
สุดท้าย แม้แต่รู้ ก็ยังเป็นการปรุง ต้องทิ้งอยู่ดีครับ ไม่หลืออะไรเลย เพราะที่จริง มันก็ไม่มีอะไรจริงตั้งแต่แรกแล้ว
ผมทำฌาณไม่เป็น มีแค่ขณิกสมาธิแว้บๆ สิ่งเดียวที่ทำได้คือ มีสติรู้ รู้ แล้วก็รู้
นอกจากรู้ ทุกอย่างมันก็คืออาการของจิต เป็นแค่ของที่ถูกรู้ ไม่ได้สลักสำคัญอะไรครับ รู้แล้วก็ปล่อยผ่านไปแค่นั้นครับ
สุดท้าย แม้แต่รู้ ก็ยังเป็นการปรุง ต้องทิ้งอยู่ดีครับ ไม่หลืออะไรเลย เพราะที่จริง มันก็ไม่มีอะไรจริงตั้งแต่แรกแล้ว
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4366
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 715
ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่าคนเมืองส่วนใหญ่เป็นพวกทิฏฐิจริต นั่นคือ ช่างคิด แต่การคิดมากไปนี่ละครับเป็นตัวขวางความก้าวหน้าในเส้นทางธรรม เพราะธรรมะจะเข้าใจได้ด้วยประสบการณ์ของจิตที่ได้เห็นความจริง (ความจริงของชีวิต ของกายใจเราเอง) ไม่ใช่เข้าใจด้วยความคิดแบบเดียวกับที่เราเรียนรู้เรื่องทางโลก
เข้า "ใจ" ไม่ใช่เข้า "สมอง" ครับ
ภาวนามยปัญญาจะได้จากการรู้เอง เห็นเอง เท่านั้นครับ ต่างกับสุตตมยปัญญา (ได้จากการฟังคนอื่น) หรือจินตมยปัญญา (ที่ที่ได้จากการคิดวิเคราะห์ด้วยสมอง)
เข้า "ใจ" ไม่ใช่เข้า "สมอง" ครับ
ภาวนามยปัญญาจะได้จากการรู้เอง เห็นเอง เท่านั้นครับ ต่างกับสุตตมยปัญญา (ได้จากการฟังคนอื่น) หรือจินตมยปัญญา (ที่ที่ได้จากการคิดวิเคราะห์ด้วยสมอง)
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 717
เท่าที่อ่านดูพี่ picatos ไม่ได้หนักไปทางราคะมากและจริตไปทางปัจเจก ผมไม่แน่ใจว่าความปรารถนาเดิมในอดีตชาติเป็นอย่างไร เพราะดูเหมือนชาตินี้เพียรไปนิพพานถ่ายเดียว ไม่แน่ใจว่าได้ อธิษฐานจิต เพื่อถอนความปารถนาเดิมแล้วหรือยังครับ (กรณีไม่แน่ใจความปรารถนาเดิมนะครับ) เพราะบางท่านติดแล้วติดอีก เพราะความปารถนาเดิมขวางกั้น หากต้องการเปลี่ยนความปรารถนาก็ให้อธิฐานจิต แล้วมุ่งตรงนิพพานแทน จะก้าวหน้าเร็วมากpicatos เขียน: อันนี้ก็เป็นประสบการณ์คร่าวๆ ของผมนะครับ ถ้าพี่ๆ เพื่อนๆ เห็นว่าถูกผิดอย่างไร มีคำชี้แนะ ตัดเตือนอย่างไร จะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคนที่เป็นผู้ปฏิบัติสายปัจเจกอย่างผม ผมกราบขอบพระคุณ สำหรับคำแนะนำทุกประการครับ
ผมเองก่อนนี้คิดว่าคล้ายๆพี่ picatos และตอนนี้ได้อธิฐานเปลี่ยนความตั้งใจตรงไปนิพพานแล้ว คือว่ากันง่ายๆไม่ขอกลับมาเวียนว่ายอีก ซึ่งตอนนี้คงเหลือแต่การทำความเพียรให้ถึงฝั่งถ่ายเดียวเพราะว่าชาตินี้ ได้เห็นทุกข์ของการเกิดอย่างชัดแจ้งแล้วครับ
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 718
ฮ่าๆๆ พูดไปก็อาย ความปรารถนาที่ตั้งมีเอาไว้อย่างเดียวครับ คือ ได้พาภรรยาขึ้นทางถูกทิ้งทางผิด จะไม่ยอมนิพพานจนกว่าภรรยาจะได้ขึ้นทางถูกtum_H เขียน:เท่าที่อ่านดูพี่ picatos ไม่ได้หนักไปทางราคะมากและจริตไปทางปัจเจก ผมไม่แน่ใจว่าความปรารถนาเดิมในอดีตชาติเป็นอย่างไร เพราะดูเหมือนชาตินี้เพียรไปนิพพานถ่ายเดียว ไม่แน่ใจว่าได้ อธิษฐานจิต เพื่อถอนความปารถนาเดิมแล้วหรือยังครับ (กรณีไม่แน่ใจความปรารถนาเดิมนะครับ) เพราะบางท่านติดแล้วติดอีก เพราะความปารถนาเดิมขวางกั้น หากต้องการเปลี่ยนความปรารถนาก็ให้อธิฐานจิต แล้วมุ่งตรงนิพพานแทน จะก้าวหน้าเร็วมากpicatos เขียน: อันนี้ก็เป็นประสบการณ์คร่าวๆ ของผมนะครับ ถ้าพี่ๆ เพื่อนๆ เห็นว่าถูกผิดอย่างไร มีคำชี้แนะ ตัดเตือนอย่างไร จะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคนที่เป็นผู้ปฏิบัติสายปัจเจกอย่างผม ผมกราบขอบพระคุณ สำหรับคำแนะนำทุกประการครับ
ผมเองก่อนนี้คิดว่าคล้ายๆพี่ picatos และตอนนี้ได้อธิฐานเปลี่ยนความตั้งใจตรงไปนิพพานแล้ว คือว่ากันง่ายๆไม่ขอกลับมาเวียนว่ายอีก ซึ่งตอนนี้คงเหลือแต่การทำความเพียรให้ถึงฝั่งถ่ายเดียวเพราะว่าชาตินี้ ได้เห็นทุกข์ของการเกิดอย่างชัดแจ้งแล้วครับ
ตอนนี้ก็คิดว่าน่าจะสำเร็จผลแล้ว ถ้ายังไม่ใช่ทางก็ช่างมันแล้วครับ ได้ถอนคำอธิษฐานไปแล้ว 555
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 719
ที่พี่ picatos พูดทำให้นึกถึงตัวเองขึ้นมาเลย ผมนั้นห่วงเพราะนึกถึงคุณ ที่ทำให้เราได้เห็น ทุกข์ในสุข เลยทำให้จิตที่เคยมืดบอด ได้สว่างไสวขึ้นมาอีกครั้ง เลยมีความคิดคล้ายๆกันคือ อยากพาไปนิพพานด้วยpicatos เขียน: ฮ่าๆๆ พูดไปก็อาย ความปรารถนาที่ตั้งมีเอาไว้อย่างเดียวครับ คือ ได้พาภรรยาขึ้นทางถูกทิ้งทางผิด จะไม่ยอมนิพพานจนกว่าภรรยาจะได้ขึ้นทางถูก
ตอนนี้ก็คิดว่าน่าจะสำเร็จผลแล้ว ถ้ายังไม่ใช่ทางก็ช่างมันแล้วครับ ได้ถอนคำอธิษฐานไปแล้ว 555
แต่ก่อนอื่นเราก็ต้องเอาตัวเองให้รอดก่อน ถึงจะพาผู้อื่นไปได้หรือไม่ก็ต้องปฎิบัติไปด้วยกัน หลังๆเลยเริ่มวางเหมือนกันครับ สิ้นเดือนนี้ เลยเตรียมเกษียณตัวเองล่ะ หมดพันธะในการเป็นมนุษย์เงินเดือน คงได้เริ่มลงมือฝึกปฏิบัติได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยกว่าเดิม พอเราเริ่มรู้จักคำว่าพอ อะไรๆก็ดูง่ายขึ้นไปหมดจริงๆครับ
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 720
อนุโมทนาด้วยนะครับ ขอให้พี่ tum_H เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปนะครับtum_H เขียน:ที่พี่ picatos พูดทำให้นึกถึงตัวเองขึ้นมาเลย ผมนั้นห่วงเพราะนึกถึงคุณ ที่ทำให้เราได้เห็น ทุกข์ในสุข เลยทำให้จิตที่เคยมืดบอด ได้สว่างไสวขึ้นมาอีกครั้ง เลยมีความคิดคล้ายๆกันคือ อยากพาไปนิพพานด้วยpicatos เขียน: ฮ่าๆๆ พูดไปก็อาย ความปรารถนาที่ตั้งมีเอาไว้อย่างเดียวครับ คือ ได้พาภรรยาขึ้นทางถูกทิ้งทางผิด จะไม่ยอมนิพพานจนกว่าภรรยาจะได้ขึ้นทางถูก
ตอนนี้ก็คิดว่าน่าจะสำเร็จผลแล้ว ถ้ายังไม่ใช่ทางก็ช่างมันแล้วครับ ได้ถอนคำอธิษฐานไปแล้ว 555
แต่ก่อนอื่นเราก็ต้องเอาตัวเองให้รอดก่อน ถึงจะพาผู้อื่นไปได้หรือไม่ก็ต้องปฎิบัติไปด้วยกัน หลังๆเลยเริ่มวางเหมือนกันครับ สิ้นเดือนนี้ เลยเตรียมเกษียณตัวเองล่ะ หมดพันธะในการเป็นมนุษย์เงินเดือน คงได้เริ่มลงมือฝึกปฏิบัติได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยกว่าเดิม พอเราเริ่มรู้จักคำว่าพอ อะไรๆก็ดูง่ายขึ้นไปหมดจริงๆครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?