ความตกต่ำทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ???
- LOSO
- Verified User
- โพสต์: 2512
- ผู้ติดตาม: 0
ความตกต่ำทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ???
โพสต์ที่ 1
ความตกต่ำทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
คอลัมน์ ระดมสมอง
โดย เพสซิมิสท์
เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาน้ำมันราคาแพง ดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และความไม่แน่นอนทางการเมือง หลายคนเริ่มตั้งคำถามว่าเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวลงมากน้อยเพียงใด (นักเศรษฐศาสตร์ต่างประเมินกันว่าจีดีพีจะขยายตัว 4-5% แต่อาจต้องปรับลงไปได้อีก) บางคนที่กลัวมากก็จะถามว่าจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นได้อีกหรือไม่ ?
คำตอบคือ วิกฤตเศรษฐกิจเช่นที่เกิดขึ้นเมื่อ 2540 นั้น ไม่สามารถเกิดขึ้นกับประเทศไทยได้ เพราะเศรษฐกิจไทยไม่ได้มีปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและภาคธุรกิจสร้างหนี้เกินขีดความสามารถเช่นในอดีต แต่เศรษฐกิจไทยก็มิใช่จะไม่มีจุดอ่อน โดยจุดอ่อนคือ การที่เศรษฐกิจไทยขณะนี้นับวันจะต้องพึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวมากขึ้นเรื่อยๆ การบริโภคภายในเพิ่มขึ้นไม่ได้มากเพราะผู้บริโภคเป็นหนี้มากแล้วและดอกเบี้ยก็ปรับสูงขึ้นทำให้คนหันมาออมมากขึ้น ซึ่งย่อมจะต้องทำให้การขยายตัวของการบริโภคชะลอตัวลงไปด้วย
นอกจากนั้น ดังที่ทราบกันดีว่าความไม่แน่นอนทางการเมืองก็กำลังบั่นทอนความเชื่อมั่น ทำให้การลงทุนชะงักงัน ทั้งการลงทุนโดยคนไทยและโดยชาวต่างชาติ ในส่วนของชาวต่างชาตินั้น นอกจากความไม่แน่นอนทางการเมืองแล้วสิ่งที่น่ากลัวสำหรับเขามากที่สุดคือ กระแสต่อต้านต่างชาติในประเทศไทยที่กำลังก่อตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังการยับยั้งการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตและการออกมาต่อต้านการขายบริษัทชินวัตรให้กับเทมาเส็ก
สำหรับประเด็นที่นักลงทุนต่างประเทศเป็นห่วงมากที่สุดนั้น น่าจะได้แก่ความพยายามที่จะทำให้กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการถือครองหุ้นของชาวต่างชาติรัดกุมยิ่งขึ้น กล่าวคือ ในอดีตหลายสิบปีที่ผ่านมา แม้กฎหมายไทยจะกำหนดเอาไว้ให้ต่างชาติถือหุ้นได้เพียง 49% แต่ก็ไม่ได้เข้มงวดกับการที่ต่างชาติจะจัดตั้งคนไทยเป็นนอมินีถือหุ้นให้ ทั้งนี้เพื่อให้ต่างชาติมีอำนาจเด็ดขาดในการบริหารจัดการบริษัทที่ตนเข้ามาลงทุน คนไทยหลายคนอาจไม่พอใจที่ทราบว่าในทางปฏิบัตินั้นดูเสมือนว่ามีการเลี่ยงเจตนารมณ์ซึ่งต้องการให้ต่างชาติถือหุ้นเพียง 49% แต่ในความเป็นจริงนั้น การใช้นอมินีจัดโครงสร้างผู้ถือหุ้นนั้นเป็นสิ่งที่ทำกันมานานและสาเหตุที่ปล่อยให้ทำ ก็เพราะว่ากลไกและเงื่อนไขที่เป็นอยู่ในขณะนี้ช่วยส่งเสริมให้เกิดการลงทุนจากต่างชาติอย่างแพร่หลาย ดังนั้นความเสี่ยงของกระแสที่ต้องการ "ปิด" ช่องโหว่ตรงนี้ก็คือการชะงักงันของการลงทุนจากต่างประเทศ
แนวทางที่จะปิดกั้นการเข้ามามีอำนาจบริหารอย่างเต็มที่ของชาวต่างชาตินั้นได้เริ่มขึ้นแล้วในธุรกิจโทรคมนาคม โดยร่างกฎเกณฑ์ฉบับใหม่ของคณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณารับฟังความเห็นของฝ่ายต่างๆ บางคนอาจเคยเห็นข่าวเมื่อประมาณ 2 เดือนมาแล้วว่ามีผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศหลายชาติ (เช่น สหรัฐ อียู สิงคโปร์ และฟินแลนด์) ได้ขอเข้าพบ กทช.เพื่อแสดงความห่วงใยของตนเกี่ยวกับร่างกฎเกณฑ์ดังกล่าว ทั้งนี้นอกจากความเป็นห่วงเกี่ยวกับผลกระทบต่อนักลงทุนต่างประเทศในภาคโทรคมนาคมแล้วก็ยังเป็นห่วงว่าจะ "ลุกลาม" ไปสู่สาขาทางเศรษฐกิจสาขาอื่นๆ ด้วย
บางคนอาจเห็นว่าการควบคุมไม่ให้ต่างชาติเข้ามาครอบงำธุรกิจในประเทศไทยนั้นเป็นเรื่องไม่ดี แต่ก็ต้องเข้าใจว่าหากเงื่อนไขการลงทุนไม่เป็นที่พอใจของต่างชาติ ไทยก็จะไม่ได้รับทั้งเงินทุน เทคโนโลยี และความเชี่ยวชาญของต่างชาติ และเงินทุนก็จะไหลไปสู่ประเทศคู่แข่งของไทย
อีกตัวอย่างหนึ่ง คือการคัดค้านการเจรจาเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหรัฐ ขณะนี้น่าเชื่อได้ว่าการคัดค้านประสบความสำเร็จแล้วเพราะสหรัฐและไทยคงจะไม่สามารถบรรลุถึงข้อตกลงได้ภายในต้นปีหน้า ซึ่งเป็น "เส้นตาย" ของสหรัฐที่จะสามารถนำข้อตกลงออกมาเป็นร่างกฎหมายผ่านสภาเป็นกรณีพิเศษ (หรือ fast track) ได้ แต่ก็ต้องเข้าใจว่าเมื่อเขาทำข้อตกลงกับไทยไม่ได้ เขาก็กำลังเจรจาอยู่กับมาเลเซียและเกาหลีใต้ หากประสบความสำเร็จก็จะทำให้เราเสียเปรียบอย่างมากในการขายสินค้าในตลาดสหรัฐ นอกจากนั้นเวียดนามก็กำลังจะเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกอย่างเต็มภาคภูมิ ทำให้รัฐบาลสหรัฐสามารถผลักดันออกกฎหมายให้เวียดนามได้รับสิทธิทางการค้าเท่าเทียมกับประเทศคู่ค้าอื่นๆ ของสหรัฐ กล่าวคือ เวียดนามซึ่งเคยเสียเปรียบไทยในการแข่งขันในตลาดสหรัฐ กำลังจะได้รับสิทธิที่เท่าเทียมกัน ทำให้ไทยมีคู่แข่งที่น่ากลัวอีกประเทศหนึ่ง ทั้งในฐานะของคู่แข่งทางการส่งออกและคู่แข่งในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
ดังนั้นความตกต่ำของเศรษฐกิจไทยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระยะปานกลาง (3-5 ปี) คือการลงทุนที่ปลุกไม่ขึ้นทำให้ประเทศไทยล้าหลังในการแข่งขันกับต่างประเทศและทำให้เศรษฐกิจไม่สามารถขยายตัวได้ถึง 5% ในระยะยาว
ขณะนี้เราไม่มีกลยุทธ์หรือแนวนโยบายที่ชัดเจนในด้านการส่งเสริมการลงทุนเพื่อเผชิญกับการแข่งขันเพื่อดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศ สิ่งที่มองเห็นได้ชัดที่สุด คือ การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เข้าไปซื้อเงินดอลลาร์มูลค่าเป็นแสนล้านบาทเพื่อช่วยกดมิให้ค่าเงินบาทแข็งเกินไปกว่าประมาณ 38 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ แต่ ธปท.เองก็คงทราบดีว่าการแทรกแซงเช่นนี้เป็นเพียงมาตรการระยะสั้นที่มีต้นทุนสูงสำหรับ ธปท.(เพราะต้องเก็บเงินดอลลาร์ที่มีโอกาสเสื่อมค่ามากขึ้น และต้องออกพันธบัตรเพื่อควบคุมสภาพคล่องภายในประเทศทำให้มีภาระดอกเบี้ยต้องจ่ายมากขึ้น) และมีความเสี่ยงว่าในอนาคตอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น ทำให้ผู้ส่งออกขาดความสามารถในการแข่งขันไปในที่สุด และ ธปท.อาจต้องปรับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีกมากในอนาคตเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นดังกล่าว
ในส่วนของภาพเศรษฐกิจโลกโดยรวมก็น่าเป็นห่วงเช่นกัน จริงอยู่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดการณ์มาก่อนหน้านี้ 2 ปีแล้วว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะต้องหดตัว และค่าเงินดอลลาร์จะต้องอ่อนค่าลง 20-30% เพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐ แต่การคาดการณ์ดังกล่าวก็ผิดพลาดมาโดยตลอด ทำให้หลายคนเลิกเชื่อข้อกังวลดังกล่าวแล้ว แต่สิ่งที่นักเศรษฐกิจวิเคราะห์นั้น ตั้งอยู่บนทฤษฎีและเหตุผลที่ถูกต้อง แต่การคาดการณ์ช่วงเวลาที่การปรับตัวทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นนั้น เป็นการทำนายที่ผิดพลาดได้ง่าย ตัวอย่างเช่น นักเศรษฐศาสตร์บางคนเคยเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่สภาวะถดถอยตั้งแต่ปี 2538 แต่เศรษฐกิจก็เฟื่องฟูมาได้อีก 2 ปี จึงจะเข้าสู่สภาวะวิกฤต
ในส่วนของเศรษฐกิจโลกนั้น น่าจะเชื่อได้ว่าสิ่งที่นักเศรษฐกิจได้ทำนายเอาไว้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจโลกจะต้องปรับตัว หรือปรับดุลยภาพ (global rebalancing) นั้น อาจจะต้องเริ่มขึ้นแล้วในปีนี้ เช่นเมื่อ 20 เมษายนในการประชุมของกลุ่ม G-7 ได้ออกแถลงการณ์ ซึ่งแตกต่างจากในอดีต คือได้เขียนภาคผนวกพิเศษเกี่ยวกับการปรับดุลยภาพของเศรษฐกิจโลก โดยกล่าวอย่างไม่อ้อมค้อม (เหมือนแต่ก่อน) ว่า ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียโดยเฉพาะจีน จะต้องปล่อยให้ค่าเงินของตนแข็งขึ้น เพื่อช่วยให้สหรัฐขาดดุลบัญชีเดินสะพัดน้อยลง แต่ในกรณีของประเทศพัฒนาแล้ว เช่น อียู และญี่ปุ่น นั้น มิได้กล่าวว่าจะต้องทำให้ค่าเงินของตนแข็งและไม่ได้มี "หน้าที่" ในการปรับดุลยภาพของเศรษฐกิจโลก เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังจากการประชุมกลุ่ม G-7 ดังกล่าวเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับเงินหลายๆ สกุล รวมทั้งเงินบาท
แต่การจะปรับให้เศรษฐกิจสหรัฐขาดดุลบัญชีเดินสะพัดน้อยลง อย่างมีนัยสำคัญนั้น ไม่น่าจะทำได้โดยการปรับค่าเงินดอลลาร์ให้อ่อนตัวลง หรือหากจะให้ค่าเงินดอลลาร์เป็นตัวปรับก็คงจะต้องให้อ่อนตัวลงไป 20-30% เป็นอย่างต่ำ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ประเทศคู่ค้าจะยอมรับได้ ดังนั้น ปัญหาคือ หากใช้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นกลไกในการปรับดุลยภาพของเศรษฐกิจสหรัฐไม่ได้ แล้วจะต้องใช้ปัจจัยอะไร คำตอบ คือ อาจต้องอาศัยสภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างรุนแรงในสหรัฐจึงจะแก้ปัญหาได้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จาก 2 สาเหตุ คือ
1.การแตกสลายของฟองสบู่ในอสังหาริมทรัพย์ ขณะนี้ราคาบ้านในสหรัฐเริ่มนิ่งแล้ว (และในบางกรณีเริ่มลดลง) ดังนั้น คนที่ "เก็งกำไร" บ้านโดยมีบ้าน 5-6 หลัง กำลังจะหมดเนื้อหมดตัว แม้แต่บางคนที่กำลังจะขายบ้านเก่า เพราะได้ซื้อบ้านใหม่ (ที่แพงกว่า) เอาไว้แล้ว ก็กำลังมีปัญหาในการขายบ้านเก่า และเมื่อมีปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ การบริโภคก็จะสามารถถูกกระทบได้อย่างรุนแรง ซึ่งจะช่วยลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐได้อย่างมาก แต่ก็จะกระทบกับรายได้จากการส่งออกของประเทศคู่ค้าของสหรัฐบางคน อาจกล่าวว่าขณะนี้เอเชียค้าขายกันเองมากกว่าสหรัฐ จึงไม่น่าจะถูกกระทบมากนัก ข้อเท็จจริงคือเอเชียซื้อขายกันเองมากขึ้นจริง แต่ส่วนสำคัญคือการขายชิ้นส่วนไปให้จีนประกอบเป็นสินค้าส่งออกไปสหรัฐ กล่าวคือ การที่จีนเกินดุลการค้ากับสหรัฐถึง 2 แสนล้านเหรียญต่อปีนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ "ความร่วมมือ" จากประเทศอื่นๆ ในเอเชีย
2.การปรับขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (เช่น ทองคำ ทองแดง น้ำมัน ฯลฯ) นั้น ส่วนสำคัญมาจากการเก็งกำไรของกองทุน hedge fund และในระยะหลังนี้ก็มีการเก็งกำไรโดยธนาคารพาณิชย์และกองทุนบริหารสินทรัพย์ต่างๆ ของสหรัฐอีกด้วย ปัญหาคือ ขณะนี้ฟองสบู่ที่เกิดขึ้นในสินค้าโภคภัณฑ์หลายๆ ประเภทอาจจะใกล้แตกสลาย ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าราคาสินค้าประเภทนี้เริ่มปรับตัวลดลงอย่างมากในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ความเสี่ยง คือ หากราคาปรับตัวลงอย่างมากโดยเร็ว ก็มีความเป็นไปได้สูง ที่กองทุน hedge fund หลายๆ กองที่มีหนี้สินมากและลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง จะประสบภาวะขาดทุนถึงขั้นล้มละลายได้โดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อดอกเบี้ยถูกปรับเพิ่มขึ้นจาก 1% มาเป็น 5% ภายในเวลา 2 ปี ซึ่งกองทุน hedge fund ขยายตัวจากไม่กี่แสนล้านเหรียญมาเป็น 1.0-1.5 ล้านล้านเหรียญในขณะนี้ หาก hedge fund ขนาดใหญ่สัก 2-3 กองทุนมีปัญหาการเงินไม่สามารถชำระหนี้ได้ ก็จะเสี่ยงต่อการที่เจ้าหนี้จะเริ่มมีปัญหาตามไปด้วย และ/หรือพยายามยกเลิก หรือลดวงเงินกู้ให้กับกองทุน hedge fund อย่างฉับพลัน เป็นผลให้ไม่สามารถชำระหนี้เพิ่มขึ้นไปอีก
หลายคนที่ผ่านสภาวะขาดสภาพคล่องเมื่อครั้งประเทศไทยต้องปิดบริษัทเงินทุน 56 แห่ง และธนาคารอีก 4-5 แห่งจะคงจำได้ดีว่า เมื่อเกิดปัญหาขึ้นในระบบการเงิน ปัญหาอาจแพร่ขยายได้อย่างรวดเร็วเป็นลูกโซ่ซึ่งจะทำให้ภาคเศรษฐกิจจริงต้องชะงักงันลงอย่างฉับพลัน ทั้งนี้หากเกิดขึ้นกับสหรัฐปัญหาก็อาจจะไม่สามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็วแบบ "ตัดไฟแต่ต้นลม" เช่น ในปี 2541 เมื่อกองทุน LTCM ล้มละลาย ทั้งนี้ เพราะขณะนี้สหรัฐขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงมากเป็นประวัติการณ์ และกำลังเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้น จะลดดอกเบี้ยหรืออัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบอย่างรวดเร็วก็อาจทำให้ค่าเงินดอลลาร์ดิ่งลงได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะยิ่งทำให้ปัญหาทวีความรุนแรงขึ้น และแน่นอนว่ากองทุนต่างๆ ของประเทศหลัก (เช่น สหรัฐ และยุโรป) ก็จะต้องเพิ่มสภาพคล่องของตน และลดความเสี่ยง โดยการเทขายหุ้นในตลาดเกิดใหม่ตามไปด้วย
กล่าวโดยสรุปคือ หากความไม่แน่นอนทางการเมืองยืดเยื้อต่อไปพร้อมกับกระแสการต่อต้านต่างชาติทวีความรุนแรงขึ้น การลงทุนของไทยก็อาจจะเข้าสู่สภาวะตกต่ำอย่างยืดเยื้อ ในขณะเดียวกันการจะพึ่งพาการส่งออกเพื่อพยุงเศรษฐกิจก็เสี่ยงต่อการที่เศรษฐกิจสหรัฐจะต้องปรับตัวผ่านการอ่อนตัวลงของค่าเงินดอลลาร์ หรือหากโชคร้ายฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ และฟองสบู่สินค้าโภคภัณฑ์แตกสลาย ทำให้ภาคการเงินสหรัฐระส่ำระสายก็จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่สภาวะตกต่ำซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจของเอเชียและของไทยได้อย่างมาก ทั้งนี้ การล้มละลายของ hedge fund ขนาดใหญ่ (ซึ่งหากเกิดขึ้น) จะเป็นเครื่องเตือนภัยว่าเศรษฐกิจโลกกำลังจะมีปัญหาอย่างมากครับ
คอลัมน์ ระดมสมอง
โดย เพสซิมิสท์
เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาน้ำมันราคาแพง ดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และความไม่แน่นอนทางการเมือง หลายคนเริ่มตั้งคำถามว่าเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวลงมากน้อยเพียงใด (นักเศรษฐศาสตร์ต่างประเมินกันว่าจีดีพีจะขยายตัว 4-5% แต่อาจต้องปรับลงไปได้อีก) บางคนที่กลัวมากก็จะถามว่าจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นได้อีกหรือไม่ ?
คำตอบคือ วิกฤตเศรษฐกิจเช่นที่เกิดขึ้นเมื่อ 2540 นั้น ไม่สามารถเกิดขึ้นกับประเทศไทยได้ เพราะเศรษฐกิจไทยไม่ได้มีปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและภาคธุรกิจสร้างหนี้เกินขีดความสามารถเช่นในอดีต แต่เศรษฐกิจไทยก็มิใช่จะไม่มีจุดอ่อน โดยจุดอ่อนคือ การที่เศรษฐกิจไทยขณะนี้นับวันจะต้องพึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวมากขึ้นเรื่อยๆ การบริโภคภายในเพิ่มขึ้นไม่ได้มากเพราะผู้บริโภคเป็นหนี้มากแล้วและดอกเบี้ยก็ปรับสูงขึ้นทำให้คนหันมาออมมากขึ้น ซึ่งย่อมจะต้องทำให้การขยายตัวของการบริโภคชะลอตัวลงไปด้วย
นอกจากนั้น ดังที่ทราบกันดีว่าความไม่แน่นอนทางการเมืองก็กำลังบั่นทอนความเชื่อมั่น ทำให้การลงทุนชะงักงัน ทั้งการลงทุนโดยคนไทยและโดยชาวต่างชาติ ในส่วนของชาวต่างชาตินั้น นอกจากความไม่แน่นอนทางการเมืองแล้วสิ่งที่น่ากลัวสำหรับเขามากที่สุดคือ กระแสต่อต้านต่างชาติในประเทศไทยที่กำลังก่อตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังการยับยั้งการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตและการออกมาต่อต้านการขายบริษัทชินวัตรให้กับเทมาเส็ก
สำหรับประเด็นที่นักลงทุนต่างประเทศเป็นห่วงมากที่สุดนั้น น่าจะได้แก่ความพยายามที่จะทำให้กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการถือครองหุ้นของชาวต่างชาติรัดกุมยิ่งขึ้น กล่าวคือ ในอดีตหลายสิบปีที่ผ่านมา แม้กฎหมายไทยจะกำหนดเอาไว้ให้ต่างชาติถือหุ้นได้เพียง 49% แต่ก็ไม่ได้เข้มงวดกับการที่ต่างชาติจะจัดตั้งคนไทยเป็นนอมินีถือหุ้นให้ ทั้งนี้เพื่อให้ต่างชาติมีอำนาจเด็ดขาดในการบริหารจัดการบริษัทที่ตนเข้ามาลงทุน คนไทยหลายคนอาจไม่พอใจที่ทราบว่าในทางปฏิบัตินั้นดูเสมือนว่ามีการเลี่ยงเจตนารมณ์ซึ่งต้องการให้ต่างชาติถือหุ้นเพียง 49% แต่ในความเป็นจริงนั้น การใช้นอมินีจัดโครงสร้างผู้ถือหุ้นนั้นเป็นสิ่งที่ทำกันมานานและสาเหตุที่ปล่อยให้ทำ ก็เพราะว่ากลไกและเงื่อนไขที่เป็นอยู่ในขณะนี้ช่วยส่งเสริมให้เกิดการลงทุนจากต่างชาติอย่างแพร่หลาย ดังนั้นความเสี่ยงของกระแสที่ต้องการ "ปิด" ช่องโหว่ตรงนี้ก็คือการชะงักงันของการลงทุนจากต่างประเทศ
แนวทางที่จะปิดกั้นการเข้ามามีอำนาจบริหารอย่างเต็มที่ของชาวต่างชาตินั้นได้เริ่มขึ้นแล้วในธุรกิจโทรคมนาคม โดยร่างกฎเกณฑ์ฉบับใหม่ของคณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณารับฟังความเห็นของฝ่ายต่างๆ บางคนอาจเคยเห็นข่าวเมื่อประมาณ 2 เดือนมาแล้วว่ามีผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศหลายชาติ (เช่น สหรัฐ อียู สิงคโปร์ และฟินแลนด์) ได้ขอเข้าพบ กทช.เพื่อแสดงความห่วงใยของตนเกี่ยวกับร่างกฎเกณฑ์ดังกล่าว ทั้งนี้นอกจากความเป็นห่วงเกี่ยวกับผลกระทบต่อนักลงทุนต่างประเทศในภาคโทรคมนาคมแล้วก็ยังเป็นห่วงว่าจะ "ลุกลาม" ไปสู่สาขาทางเศรษฐกิจสาขาอื่นๆ ด้วย
บางคนอาจเห็นว่าการควบคุมไม่ให้ต่างชาติเข้ามาครอบงำธุรกิจในประเทศไทยนั้นเป็นเรื่องไม่ดี แต่ก็ต้องเข้าใจว่าหากเงื่อนไขการลงทุนไม่เป็นที่พอใจของต่างชาติ ไทยก็จะไม่ได้รับทั้งเงินทุน เทคโนโลยี และความเชี่ยวชาญของต่างชาติ และเงินทุนก็จะไหลไปสู่ประเทศคู่แข่งของไทย
อีกตัวอย่างหนึ่ง คือการคัดค้านการเจรจาเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหรัฐ ขณะนี้น่าเชื่อได้ว่าการคัดค้านประสบความสำเร็จแล้วเพราะสหรัฐและไทยคงจะไม่สามารถบรรลุถึงข้อตกลงได้ภายในต้นปีหน้า ซึ่งเป็น "เส้นตาย" ของสหรัฐที่จะสามารถนำข้อตกลงออกมาเป็นร่างกฎหมายผ่านสภาเป็นกรณีพิเศษ (หรือ fast track) ได้ แต่ก็ต้องเข้าใจว่าเมื่อเขาทำข้อตกลงกับไทยไม่ได้ เขาก็กำลังเจรจาอยู่กับมาเลเซียและเกาหลีใต้ หากประสบความสำเร็จก็จะทำให้เราเสียเปรียบอย่างมากในการขายสินค้าในตลาดสหรัฐ นอกจากนั้นเวียดนามก็กำลังจะเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกอย่างเต็มภาคภูมิ ทำให้รัฐบาลสหรัฐสามารถผลักดันออกกฎหมายให้เวียดนามได้รับสิทธิทางการค้าเท่าเทียมกับประเทศคู่ค้าอื่นๆ ของสหรัฐ กล่าวคือ เวียดนามซึ่งเคยเสียเปรียบไทยในการแข่งขันในตลาดสหรัฐ กำลังจะได้รับสิทธิที่เท่าเทียมกัน ทำให้ไทยมีคู่แข่งที่น่ากลัวอีกประเทศหนึ่ง ทั้งในฐานะของคู่แข่งทางการส่งออกและคู่แข่งในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
ดังนั้นความตกต่ำของเศรษฐกิจไทยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระยะปานกลาง (3-5 ปี) คือการลงทุนที่ปลุกไม่ขึ้นทำให้ประเทศไทยล้าหลังในการแข่งขันกับต่างประเทศและทำให้เศรษฐกิจไม่สามารถขยายตัวได้ถึง 5% ในระยะยาว
ขณะนี้เราไม่มีกลยุทธ์หรือแนวนโยบายที่ชัดเจนในด้านการส่งเสริมการลงทุนเพื่อเผชิญกับการแข่งขันเพื่อดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศ สิ่งที่มองเห็นได้ชัดที่สุด คือ การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เข้าไปซื้อเงินดอลลาร์มูลค่าเป็นแสนล้านบาทเพื่อช่วยกดมิให้ค่าเงินบาทแข็งเกินไปกว่าประมาณ 38 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ แต่ ธปท.เองก็คงทราบดีว่าการแทรกแซงเช่นนี้เป็นเพียงมาตรการระยะสั้นที่มีต้นทุนสูงสำหรับ ธปท.(เพราะต้องเก็บเงินดอลลาร์ที่มีโอกาสเสื่อมค่ามากขึ้น และต้องออกพันธบัตรเพื่อควบคุมสภาพคล่องภายในประเทศทำให้มีภาระดอกเบี้ยต้องจ่ายมากขึ้น) และมีความเสี่ยงว่าในอนาคตอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น ทำให้ผู้ส่งออกขาดความสามารถในการแข่งขันไปในที่สุด และ ธปท.อาจต้องปรับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีกมากในอนาคตเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นดังกล่าว
ในส่วนของภาพเศรษฐกิจโลกโดยรวมก็น่าเป็นห่วงเช่นกัน จริงอยู่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดการณ์มาก่อนหน้านี้ 2 ปีแล้วว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะต้องหดตัว และค่าเงินดอลลาร์จะต้องอ่อนค่าลง 20-30% เพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐ แต่การคาดการณ์ดังกล่าวก็ผิดพลาดมาโดยตลอด ทำให้หลายคนเลิกเชื่อข้อกังวลดังกล่าวแล้ว แต่สิ่งที่นักเศรษฐกิจวิเคราะห์นั้น ตั้งอยู่บนทฤษฎีและเหตุผลที่ถูกต้อง แต่การคาดการณ์ช่วงเวลาที่การปรับตัวทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นนั้น เป็นการทำนายที่ผิดพลาดได้ง่าย ตัวอย่างเช่น นักเศรษฐศาสตร์บางคนเคยเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่สภาวะถดถอยตั้งแต่ปี 2538 แต่เศรษฐกิจก็เฟื่องฟูมาได้อีก 2 ปี จึงจะเข้าสู่สภาวะวิกฤต
ในส่วนของเศรษฐกิจโลกนั้น น่าจะเชื่อได้ว่าสิ่งที่นักเศรษฐกิจได้ทำนายเอาไว้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจโลกจะต้องปรับตัว หรือปรับดุลยภาพ (global rebalancing) นั้น อาจจะต้องเริ่มขึ้นแล้วในปีนี้ เช่นเมื่อ 20 เมษายนในการประชุมของกลุ่ม G-7 ได้ออกแถลงการณ์ ซึ่งแตกต่างจากในอดีต คือได้เขียนภาคผนวกพิเศษเกี่ยวกับการปรับดุลยภาพของเศรษฐกิจโลก โดยกล่าวอย่างไม่อ้อมค้อม (เหมือนแต่ก่อน) ว่า ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียโดยเฉพาะจีน จะต้องปล่อยให้ค่าเงินของตนแข็งขึ้น เพื่อช่วยให้สหรัฐขาดดุลบัญชีเดินสะพัดน้อยลง แต่ในกรณีของประเทศพัฒนาแล้ว เช่น อียู และญี่ปุ่น นั้น มิได้กล่าวว่าจะต้องทำให้ค่าเงินของตนแข็งและไม่ได้มี "หน้าที่" ในการปรับดุลยภาพของเศรษฐกิจโลก เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังจากการประชุมกลุ่ม G-7 ดังกล่าวเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับเงินหลายๆ สกุล รวมทั้งเงินบาท
แต่การจะปรับให้เศรษฐกิจสหรัฐขาดดุลบัญชีเดินสะพัดน้อยลง อย่างมีนัยสำคัญนั้น ไม่น่าจะทำได้โดยการปรับค่าเงินดอลลาร์ให้อ่อนตัวลง หรือหากจะให้ค่าเงินดอลลาร์เป็นตัวปรับก็คงจะต้องให้อ่อนตัวลงไป 20-30% เป็นอย่างต่ำ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ประเทศคู่ค้าจะยอมรับได้ ดังนั้น ปัญหาคือ หากใช้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นกลไกในการปรับดุลยภาพของเศรษฐกิจสหรัฐไม่ได้ แล้วจะต้องใช้ปัจจัยอะไร คำตอบ คือ อาจต้องอาศัยสภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างรุนแรงในสหรัฐจึงจะแก้ปัญหาได้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จาก 2 สาเหตุ คือ
1.การแตกสลายของฟองสบู่ในอสังหาริมทรัพย์ ขณะนี้ราคาบ้านในสหรัฐเริ่มนิ่งแล้ว (และในบางกรณีเริ่มลดลง) ดังนั้น คนที่ "เก็งกำไร" บ้านโดยมีบ้าน 5-6 หลัง กำลังจะหมดเนื้อหมดตัว แม้แต่บางคนที่กำลังจะขายบ้านเก่า เพราะได้ซื้อบ้านใหม่ (ที่แพงกว่า) เอาไว้แล้ว ก็กำลังมีปัญหาในการขายบ้านเก่า และเมื่อมีปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ การบริโภคก็จะสามารถถูกกระทบได้อย่างรุนแรง ซึ่งจะช่วยลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐได้อย่างมาก แต่ก็จะกระทบกับรายได้จากการส่งออกของประเทศคู่ค้าของสหรัฐบางคน อาจกล่าวว่าขณะนี้เอเชียค้าขายกันเองมากกว่าสหรัฐ จึงไม่น่าจะถูกกระทบมากนัก ข้อเท็จจริงคือเอเชียซื้อขายกันเองมากขึ้นจริง แต่ส่วนสำคัญคือการขายชิ้นส่วนไปให้จีนประกอบเป็นสินค้าส่งออกไปสหรัฐ กล่าวคือ การที่จีนเกินดุลการค้ากับสหรัฐถึง 2 แสนล้านเหรียญต่อปีนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ "ความร่วมมือ" จากประเทศอื่นๆ ในเอเชีย
2.การปรับขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (เช่น ทองคำ ทองแดง น้ำมัน ฯลฯ) นั้น ส่วนสำคัญมาจากการเก็งกำไรของกองทุน hedge fund และในระยะหลังนี้ก็มีการเก็งกำไรโดยธนาคารพาณิชย์และกองทุนบริหารสินทรัพย์ต่างๆ ของสหรัฐอีกด้วย ปัญหาคือ ขณะนี้ฟองสบู่ที่เกิดขึ้นในสินค้าโภคภัณฑ์หลายๆ ประเภทอาจจะใกล้แตกสลาย ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าราคาสินค้าประเภทนี้เริ่มปรับตัวลดลงอย่างมากในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ความเสี่ยง คือ หากราคาปรับตัวลงอย่างมากโดยเร็ว ก็มีความเป็นไปได้สูง ที่กองทุน hedge fund หลายๆ กองที่มีหนี้สินมากและลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง จะประสบภาวะขาดทุนถึงขั้นล้มละลายได้โดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อดอกเบี้ยถูกปรับเพิ่มขึ้นจาก 1% มาเป็น 5% ภายในเวลา 2 ปี ซึ่งกองทุน hedge fund ขยายตัวจากไม่กี่แสนล้านเหรียญมาเป็น 1.0-1.5 ล้านล้านเหรียญในขณะนี้ หาก hedge fund ขนาดใหญ่สัก 2-3 กองทุนมีปัญหาการเงินไม่สามารถชำระหนี้ได้ ก็จะเสี่ยงต่อการที่เจ้าหนี้จะเริ่มมีปัญหาตามไปด้วย และ/หรือพยายามยกเลิก หรือลดวงเงินกู้ให้กับกองทุน hedge fund อย่างฉับพลัน เป็นผลให้ไม่สามารถชำระหนี้เพิ่มขึ้นไปอีก
หลายคนที่ผ่านสภาวะขาดสภาพคล่องเมื่อครั้งประเทศไทยต้องปิดบริษัทเงินทุน 56 แห่ง และธนาคารอีก 4-5 แห่งจะคงจำได้ดีว่า เมื่อเกิดปัญหาขึ้นในระบบการเงิน ปัญหาอาจแพร่ขยายได้อย่างรวดเร็วเป็นลูกโซ่ซึ่งจะทำให้ภาคเศรษฐกิจจริงต้องชะงักงันลงอย่างฉับพลัน ทั้งนี้หากเกิดขึ้นกับสหรัฐปัญหาก็อาจจะไม่สามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็วแบบ "ตัดไฟแต่ต้นลม" เช่น ในปี 2541 เมื่อกองทุน LTCM ล้มละลาย ทั้งนี้ เพราะขณะนี้สหรัฐขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงมากเป็นประวัติการณ์ และกำลังเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้น จะลดดอกเบี้ยหรืออัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบอย่างรวดเร็วก็อาจทำให้ค่าเงินดอลลาร์ดิ่งลงได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะยิ่งทำให้ปัญหาทวีความรุนแรงขึ้น และแน่นอนว่ากองทุนต่างๆ ของประเทศหลัก (เช่น สหรัฐ และยุโรป) ก็จะต้องเพิ่มสภาพคล่องของตน และลดความเสี่ยง โดยการเทขายหุ้นในตลาดเกิดใหม่ตามไปด้วย
กล่าวโดยสรุปคือ หากความไม่แน่นอนทางการเมืองยืดเยื้อต่อไปพร้อมกับกระแสการต่อต้านต่างชาติทวีความรุนแรงขึ้น การลงทุนของไทยก็อาจจะเข้าสู่สภาวะตกต่ำอย่างยืดเยื้อ ในขณะเดียวกันการจะพึ่งพาการส่งออกเพื่อพยุงเศรษฐกิจก็เสี่ยงต่อการที่เศรษฐกิจสหรัฐจะต้องปรับตัวผ่านการอ่อนตัวลงของค่าเงินดอลลาร์ หรือหากโชคร้ายฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ และฟองสบู่สินค้าโภคภัณฑ์แตกสลาย ทำให้ภาคการเงินสหรัฐระส่ำระสายก็จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่สภาวะตกต่ำซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจของเอเชียและของไทยได้อย่างมาก ทั้งนี้ การล้มละลายของ hedge fund ขนาดใหญ่ (ซึ่งหากเกิดขึ้น) จะเป็นเครื่องเตือนภัยว่าเศรษฐกิจโลกกำลังจะมีปัญหาอย่างมากครับ
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
ความตกต่ำทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ???
โพสต์ที่ 2
ที่จริงผมมีความเห็นคล้ายกับบทความข้างต้นในหลายๆ ประเด็นครับ
ถ้าเราพลาด FTA, privatization และ การเปิดเสรีทางการเงินไป ผมคิดว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ 5 ปีต่อจากนี้ ไทยจะมี GDP growth เฉลี่ยต่ำกว่า 5% ครับ
ผมอาจจะผิดก็ได้ครับเพราะเรื่องแบบนี้ทำนายล่วงหน้ายากจริงๆ แต่คิดว่าเป็น most likely scenario ครับ
ถ้าเราพลาด FTA, privatization และ การเปิดเสรีทางการเงินไป ผมคิดว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ 5 ปีต่อจากนี้ ไทยจะมี GDP growth เฉลี่ยต่ำกว่า 5% ครับ
ผมอาจจะผิดก็ได้ครับเพราะเรื่องแบบนี้ทำนายล่วงหน้ายากจริงๆ แต่คิดว่าเป็น most likely scenario ครับ
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
ความตกต่ำทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ???
โพสต์ที่ 3
คงต้องจับตาดูครับว่า
1. ฟองสบู่ของอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐจะแตกแบบไหน ครั้งหนึ่ง เมื่อไม่นานนัก ฟองสบู่อินเตอร์เน็ตก็เคยแตกมากแล้ว และก็ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจไม่มากนัก ครั้งนี้จะเป็นอย่างไร
2. ในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์เป็นฟองสบู่จริงหรือไม่ ถ้าใช่ Hedge Fund จะล้ม และส่งผลเสียต่อสภาพเศรษฐกิจมากน้อยแต่ไหน ในอดีตก็เคยมีล้มมาบ้างแล้ว แต่ FED ก็ยังกอบกู้สถานการณ์ได้เป็นอย่างดี
น่าติดตามครับ
แต่ว่า ไม่มีใครห่วงฟองสบู่ที่ประเทศจีนบ้างเลยหรือ หรือว่าที่จีนไม่มีฟองสบู่เลย
1. ฟองสบู่ของอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐจะแตกแบบไหน ครั้งหนึ่ง เมื่อไม่นานนัก ฟองสบู่อินเตอร์เน็ตก็เคยแตกมากแล้ว และก็ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจไม่มากนัก ครั้งนี้จะเป็นอย่างไร
2. ในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์เป็นฟองสบู่จริงหรือไม่ ถ้าใช่ Hedge Fund จะล้ม และส่งผลเสียต่อสภาพเศรษฐกิจมากน้อยแต่ไหน ในอดีตก็เคยมีล้มมาบ้างแล้ว แต่ FED ก็ยังกอบกู้สถานการณ์ได้เป็นอย่างดี
น่าติดตามครับ
แต่ว่า ไม่มีใครห่วงฟองสบู่ที่ประเทศจีนบ้างเลยหรือ หรือว่าที่จีนไม่มีฟองสบู่เลย
- คัดท้าย
- Verified User
- โพสต์: 2917
- ผู้ติดตาม: 0
ความตกต่ำทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ???
โพสต์ที่ 4
[quote="chatchai"]
แต่ว่า
แต่ว่า
The crowd, the world, and sometimes even the grave, step aside for the man who knows where he's going, but pushes the aimless drifter aside. -- Ancient Roman Saying
- โอ@
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4246
- ผู้ติดตาม: 0
ความตกต่ำทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ???
โพสต์ที่ 5
ผมว่าจีนเร่งพัฒนาตัวเองได้เร็วมากเลยนะครับตอนนี้ ค้าขายได้เท่าไร นำเงินมาพัฒนาแหลกลาญเลย เพิ่งไปเที่ยวมาตอนสงกรานต์ ขนาดไปเมืองที่ไม่ใช่เมืองใหญ่เลย ยังมีการขยายเมืองออกไปเรื่อยๆ ผังเมืองก็เรียบร้อยสวยงาม
ผมว่าการเป็นคอมมิวนิสต์ในการปกครองเป็นส่วนช่วยให้จีนพัฒนาได้อย่างรวดเร็วครับ
ผมว่าการเป็นคอมมิวนิสต์ในการปกครองเป็นส่วนช่วยให้จีนพัฒนาได้อย่างรวดเร็วครับ
_________
-
- Verified User
- โพสต์: 2496
- ผู้ติดตาม: 0
ความตกต่ำทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ???
โพสต์ที่ 6
คิดว่าใช่แบบนั้นโอ@ เขียน:ผมว่าจีนเร่งพัฒนาตัวเองได้เร็วมากเลยนะครับตอนนี้ ค้าขายได้เท่าไร นำเงินมาพัฒนาแหลกลาญเลย เพิ่งไปเที่ยวมาตอนสงกรานต์ ขนาดไปเมืองที่ไม่ใช่เมืองใหญ่เลย ยังมีการขยายเมืองออกไปเรื่อยๆ ผังเมืองก็เรียบร้อยสวยงาม
ผมว่าการเป็นคอมมิวนิสต์ในการปกครองเป็นส่วนช่วยให้จีนพัฒนาได้อย่างรวดเร็วครับ
ในขณะที่คนนอกมองจีนอย่างเป็นห่วง
แต่รู้สึกเหมือนว่าจีนไม่ค่อยแสดงออกว่ากังวลเท่าไหร่ (ในใจจะเป็นอย่างที่แสดงออกหรือไม่ ไม่แน่ใจ)
แต่เหมือนว่า เขาเดินไปตามแผนที่ตั้งใจ เปิดประเทศค้าขาย พัฒนารากฐาน อย่างควบคู่กันไป
เอาเงินยูมา เอาโนฮาวมาด้วยนะ แล้วเอาของขายยูด้วย
แล้วไอเอาตังค์ไว้พัฒนาประเทศไอเอง
โอเคเป่า :lol:
- โอ@
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4246
- ผู้ติดตาม: 0
ความตกต่ำทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ???
โพสต์ที่ 8
ถึงจะมองว่าเขาได้ดุลอย่างมหาศาล มีเงินสำรองมหาศาล แต่เขาก็บริโภคอย่างมหาศาลด้วยเช่นกัน ไม่ใช่บริโภคเพื่อความโก้หรูเหมือนคนไทย แต่บริโภคเพื่อความเจริญในอนาคต ถนนหนทาง ตึกสูง ผังเมือง สวนสาธารณะ สถานที่ท่องเที่ยว ฯลฯ จะเห็นได้จาก 10 สถาปัตยกรรมในจีนที่มีอีกกระทู้นึง
สถานการณ์ต่างกันครับผมว่า
สถานการณ์ต่างกันครับผมว่า
_________
- โอ@
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4246
- ผู้ติดตาม: 0
ความตกต่ำทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ???
โพสต์ที่ 9
ผมไม่เชื่อนะว่าไทยจะแข่งกับประเทศอื่นไม่ได้ ดูอย่างบริษัทรถยนต์ทำไมเขาย้ายฐานการผลิตมาไทยเต็มไปหมด ปิโตรเคมีก็มาไทยเยอะ เรามีสิ่งดีอยู่กับตัวนะผมว่า แต่ว่าจะรักษามันไปได้นานขนาดไหน ถ้าคนในชาติยังไม่สามัคคี ไม่มีความเป็นชาตินิยม
ลองคิดดูว่าเราสามารถซื้อผลิตภัณฑ์แทบทุกอย่างที่เป็นแบรนด์ไทยได้ แต่เราเลือกที่จะซื้อแบรนด์นอก เงินที่ได้รับมาแทนที่จะพัฒนาประเทศกลับส่งออกไปสู่ข้างนอก
ลองคิดดูว่าเราสามารถซื้อผลิตภัณฑ์แทบทุกอย่างที่เป็นแบรนด์ไทยได้ แต่เราเลือกที่จะซื้อแบรนด์นอก เงินที่ได้รับมาแทนที่จะพัฒนาประเทศกลับส่งออกไปสู่ข้างนอก
_________
-
- Verified User
- โพสต์: 1822
- ผู้ติดตาม: 0
ความตกต่ำทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ???
โพสต์ที่ 10
สิ่งที่ไทยมีแต่บางชาติมีน้อยกว่าหรือไม่มีคือ
วัฒนธรรมไทย อาหารไทย ภูเขา น้ำตก ทะเล ในเมืองไทย
นี่แหละคือสิ่งที่ทำให้ยังดึงดูดต่างชาติได้ถาวร
มีแต่คนไทยจะทำลายสิ่งเหล่านี้กันเอง สุดท้ายก็ไม่เหลืออะไร
วัฒนธรรมไทย อาหารไทย ภูเขา น้ำตก ทะเล ในเมืองไทย
นี่แหละคือสิ่งที่ทำให้ยังดึงดูดต่างชาติได้ถาวร
มีแต่คนไทยจะทำลายสิ่งเหล่านี้กันเอง สุดท้ายก็ไม่เหลืออะไร
-
- Verified User
- โพสต์: 401
- ผู้ติดตาม: 0
ความตกต่ำทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ???
โพสต์ที่ 11
ประเทศไทยมีข้อดีที่ทะเลสวย ต่างกับจีนครับ เพราะฉะนั้นเม็ดเงินนอกยังพอเข้ามาได้ในส่วนนี้
เห็นด้วยกะคอมมิวนิสต์ควบคุมได้เกือบทุกอย่างจริงๆ
รู้เเต่คนจีนเองเเทบจะไม่กลัวฟองสบู่เเตกเลย เเต่ผมกลัวครับ เคยไปดูอพาร์ตเม้นท์ ประมาณ 25 ตรม. มาหลังนึง เมื่อตรุษจีนปี 48 ตอนเเรกเซลล์บอกราคา 5 ล้านบาท อีก 6 เดือนให้หลังมาตามผมอีกเหลือ 4 ล้านบาท เหอะๆ ซื้อเมืองไทยถูกกว่าครับ
เห็นด้วยกะคอมมิวนิสต์ควบคุมได้เกือบทุกอย่างจริงๆ
รู้เเต่คนจีนเองเเทบจะไม่กลัวฟองสบู่เเตกเลย เเต่ผมกลัวครับ เคยไปดูอพาร์ตเม้นท์ ประมาณ 25 ตรม. มาหลังนึง เมื่อตรุษจีนปี 48 ตอนเเรกเซลล์บอกราคา 5 ล้านบาท อีก 6 เดือนให้หลังมาตามผมอีกเหลือ 4 ล้านบาท เหอะๆ ซื้อเมืองไทยถูกกว่าครับ
- วัวแดง
- Verified User
- โพสต์: 1429
- ผู้ติดตาม: 0
ความตกต่ำทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ???
โพสต์ที่ 12
[quote="shanghai"]ประเทศไทยมีข้อดีที่ทะเลสวย ต่างกับจีนครับ เพราะฉะนั้นเม็ดเงินนอกยังพอเข้ามาได้ในส่วนนี้
เห็นด้วยกะคอมมิวนิสต์ควบคุมได้เกือบทุกอย่างจริงๆ
รู้เเต่คนจีนเองเเทบจะไม่กลัวฟองสบู่เเตกเลย
เห็นด้วยกะคอมมิวนิสต์ควบคุมได้เกือบทุกอย่างจริงๆ
รู้เเต่คนจีนเองเเทบจะไม่กลัวฟองสบู่เเตกเลย
- LOSO
- Verified User
- โพสต์: 2512
- ผู้ติดตาม: 0
ความตกต่ำทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ???
โพสต์ที่ 14
หรือว่าจะเข้าเค้านิดหน่อยแล้ว ....................
ไขปริศนา "เฮดจ์ฟันด์" ล้ม จุดพลุโดมิโนตลาดการเงินโลก ?
นับจากข่าวของกองทุนซาราแนค แคปิตอล แมเนจเมนต์ หนึ่งในกองทุนบริหารความเสี่ยง หรือ hedge fund ที่เคยโดดเด่นเป็นดาวของวงการต้องปิดตัวลง เพราะนักลงทุนแห่ถอนเงินทุนออกมากถึง 80% ของมูลค่าสินทรัพย์ที่บริหาร
ได้กลายเป็นชนวนให้คนในแวดวงการเงินโลกถกเถียงกันว่า จะเกิดปัญหาขึ้นกับเฮดจ์ฟันด์รายอื่นๆ ในลักษณะเดียวกับกองทุนซาราแนคฯหรือไม่
ที่สำคัญ จะสั่นคลอนต่อระบบการเงินระหว่างประเทศเฉกเช่นที่กองทุนลองเทอมเครดิต แมเนจเมนต์ (Long Term Credit Management) เคยเขย่าขวัญไว้ในปี 2541 หรือไม่
ในมุมมองของนักวิเคราะห์การเงินบางกลุ่มยอมรับว่า มีความเป็นไปได้ที่ปัญหาของกองทุนเฮดจ์ฟันด์อาจเกิดขึ้นเป็นโดมิโน แต่บางรายก็มองว่าคงจะไม่ ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็มีเหตุผล
เหตุผลที่กลุ่มแรกค่อนข้างวิตกกับสถานการณ์ของเฮดจ์ฟันด์มาก เนื่องจากมองเห็นสัญญาณการเทขายในตลาดการเงินหลายๆ แห่ง
ยกตัวอย่าง การดำดิ่งของตลาดหุ้นยุโรปมากกว่า 10% ในเดือนพฤษภาคม ขณะที่ตลาดเกิดใหม่ก็อยู่ในอาการเดียวกัน โดยเฉพาะตลาดหุ้นอินเดีย ที่ทรุดตัวแรงถึงกว่า 10% เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (22 พ.ค.) ซึ่งถือเป็นการตกต่ำของตลาดหุ้นมากที่สุดภายในวันเดียว
ยิ่งเมื่อปรายตามองตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ก็เห็นความปั่นป่วนชัดเจน นับจากต้นเดือนพฤษภาคม เงินลีร์ของตุรกีอ่อนค่าลงไปแล้วประมาณ 14% ขณะที่ราคาทองแดงที่เคยพุ่งพรวดพราด และทำสถิติสูงสุดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ก็ทรุดฮวบมาตลอด รวมลดลงกว่า 15%
ประกอบกับปัจจุบันมีกองทุนเฮดจ์ฟันด์ก่อกำเนิดขึ้นในระบบการเงินโลกเป็นจำนวนมหาศาล เฉพาะในสหรัฐประเทศเดียว ก็มีเป็นจำนวนราวๆ 7,000-9,000 กองทุนเข้าไปแล้ว ควบคุมเม็ดเงินลงทุนในระบบไว้ไม่น้อยกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์
ที่น่าสนใจคือ ในจำนวนนั้นเป็นเม็ดเงินลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐผ่านกองทุนเฮดจ์ฟันด์ถึง 20%
เมื่อบวกรวมจำนวนเฮดจ์ฟันด์ในสหรัฐเข้ากับยุโรปและเอเชีย รวมถึงตลาดเกิดใหม่อื่นๆ (ถ้ามี) น่าจะเป็นจำนวนที่มากมายอยู่ เพียงแต่ไม่มีใครรู้ตัวเลขที่แน่ชัดว่าแท้จริงแล้วเฮดจ์ฟันด์ในระบบนั้นมีอยู่เท่าใด และกุมเม็ดเงินรวมกันเป็นมูลค่ามากน้อยขนาดไหน
ดังเช่นกองทุนของซาราแนคฯซึ่งเคยมีมูลค่าสินทรัพย์ในการบริหารสูงถึงเกือบ 3 พันล้านดอลลาร์ แต่ปัจจุบันมูลค่าสินทรัพย์ในการบริหาร 9 กองทุนที่เหลืออยู่นั้น มีมูลค่ารวมกันแค่ 600 ล้านดอลลาร์เท่านั้น
แต่อีกกลุ่มกลับมองต่างออกไป กล่าวคือ ไม่คิดว่ากองทุนเฮดจ์ฟันด์จะเดินซ้ำรอย ลองเทอมเครดิต แมเนจเมนต์ เพราะปัจจุบันผู้จัดการกองทุน และสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ให้กับเฮดจ์ฟันด์ส่วนใหญ่ต่างซึมซับบทเรียนในอดีต และตระหนักถึงความเสี่ยงที่พวกเขาแบกรับอยู่ขณะทำธุรกรรมร่วมกับกองทุนประเภทนี้มาตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990
เพราะเวลาที่กองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่มีปัญหานั้น ผลกระทบจะไม่จำกัดอยู่แค่ตัวกองทุน แต่กินความรวมไปถึงคู่สัญญา หรือคู่ธุรกรรมที่จะได้รับผลกระทบจากการล้มละลายของเฮดจ์ฟันด์ด้วย ซึ่งโดยหลักๆ มี 2 กลุ่ม คือ โบรกเกอร์ และสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ให้กับเฮดจ์ฟันด์
หมายความว่า ตัวแปรที่สั่นคลอนเสถียรภาพระบบการเงิน ทั้งในและระหว่างประเทศนั้น ไม่ใช่ตัวเฮดจ์ฟันด์ แต่มาจากสถาบันการเงินที่มีภาระผูกพันอยู่กับเฮดจ์ฟันด์มากกว่า
ดังเช่น กรณีการล้มละลายของลองเทอมเครดิต แมเนจเมนต์ เมื่อ 8 ปีก่อนนั้น ได้ส่งผลกระทบรุนแรง เพราะมีสถาบันการเงินที่มีภาระผูกพันอยู่รายหลักๆ ถึง 17 ราย ได้รับความเสียหายเป็นมูลค่ารวมกัน 3-5 พันล้านดอลลาร์
เหตุผลหนึ่งที่ลองเทอมเครดิต แมเนจเมนต์ ล้มดัง ก็เพราะเฮดจ์ฟันด์กองทุนนี้ได้กู้ยืมเงิน เกินตัว โดยเป็นตัวเลขสูงถึง 100 เท่าของมูลค่าสินทรัพย์ ซึ่งมากกว่าตัวเลขเฉลี่ยของการก่อหนี้ของกองทุนอื่นๆ ที่จะอยู่ในระดับ 10 เท่าของสินทรัพย์เท่านั้น
ประกอบกับในช่วงเวลานั้น ได้เกิดวิกฤตค่าเงิน รูเบิลขึ้นในรัสเซียอย่างกะทันหัน ทำให้ลองเทอมเครดิต แมเนจเมนต์ เริ่มมีปัญหา และปั่นป่วนอย่างหนัก เมื่อวิกฤตก่อผลกระทบลุกลามเข้าสู่ตลาดพันธบัตรและตลาดเกิดใหม่ที่มีความเสี่ยงสูงตามมาเป็นระลอก
เช่นเดียวกับปัญหาของกองทุนซาราแนคฯ เหตุผลสำคัญที่ทำให้กองทุนเฮดจ์ฟันด์รายนี้เดินสู่จุดจบ เป็นผลมาจากการวางกลยุทธ์การลงทุนในตลาดผิดพลาด โดยเฉพาะการเก็งกำไรในตลาดหุ้นและตราสารหนี้ เนื่องจากกลยุทธ์การลงทุนในตลาดทั้งสองจะได้ผลดีและให้ผลตอบแทนสูง ก็ต่อเมื่อตลาดเหล่านั้นอยู่ในภาวะผันผวน ซึ่งการเคลื่อนไหวของราคาในตลาดจะแกว่งตัวแรง
แต่หลังจากปี 2547 ตลาดหุ้นเริ่มอยู่ในอาการทรง ก่อนจะปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ซาราแนคฯจึงอยู่ในสถานการณ์ลำบาก จากที่เคยให้ผลตอบแทนจากการลงทุนสูงถึง 18% ต่อปีในช่วง 2538-2547 กลับกลายเป็นติดลบลงเรื่อยๆ ทำให้นักลงทุนรายใหญ่ตีจาก และเหลือเม็ดเงินในการบริหารเพียง 600 ล้านดอลลาร์
อีกประการหนึ่งที่หลายฝ่ายเชื่อว่าปัญหาของเฮดจ์ฟันด์จะไม่ลุกลามและรุนแรงเหมือนในอดีต ก็เนื่องจากปัจจุบันกองทุนเฮดจ์ฟันด์มักจะกันสินทรัพย์ของกองทุนให้เป็นเงินสด หรือหุ้นที่สามารถแปลงสภาพได้ง่ายไว้ประมาณ 20-30% เพื่อไว้รองรับการถอนการลงทุนอย่างกะทันหัน
ยิ่งกว่านั้น เฮดจ์ฟันด์ส่วนใหญ่จะเป็นพวกจมูกไว โดยเฉพาะในกลุ่มที่เล่นในตลาดเกิดใหม่ หากเห็นสัญญาณจะเทขายเพื่อถอยออกจากตลาดที่มีความเสี่ยง ดังเช่น สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในตลาดเกิดใหม่ในเวลานี้
ดังนั้น เหยื่อที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหาของเฮดจ์ฟันด์จริงๆ ก็หนีไม่พ้นตลาดเกิดใหม่ ที่จวบจนขณะนี้ยังไม่สามารถรู้เท่าทันเงินร้อนได้ดังที่ควรจะเป็น
ไขปริศนา "เฮดจ์ฟันด์" ล้ม จุดพลุโดมิโนตลาดการเงินโลก ?
นับจากข่าวของกองทุนซาราแนค แคปิตอล แมเนจเมนต์ หนึ่งในกองทุนบริหารความเสี่ยง หรือ hedge fund ที่เคยโดดเด่นเป็นดาวของวงการต้องปิดตัวลง เพราะนักลงทุนแห่ถอนเงินทุนออกมากถึง 80% ของมูลค่าสินทรัพย์ที่บริหาร
ได้กลายเป็นชนวนให้คนในแวดวงการเงินโลกถกเถียงกันว่า จะเกิดปัญหาขึ้นกับเฮดจ์ฟันด์รายอื่นๆ ในลักษณะเดียวกับกองทุนซาราแนคฯหรือไม่
ที่สำคัญ จะสั่นคลอนต่อระบบการเงินระหว่างประเทศเฉกเช่นที่กองทุนลองเทอมเครดิต แมเนจเมนต์ (Long Term Credit Management) เคยเขย่าขวัญไว้ในปี 2541 หรือไม่
ในมุมมองของนักวิเคราะห์การเงินบางกลุ่มยอมรับว่า มีความเป็นไปได้ที่ปัญหาของกองทุนเฮดจ์ฟันด์อาจเกิดขึ้นเป็นโดมิโน แต่บางรายก็มองว่าคงจะไม่ ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็มีเหตุผล
เหตุผลที่กลุ่มแรกค่อนข้างวิตกกับสถานการณ์ของเฮดจ์ฟันด์มาก เนื่องจากมองเห็นสัญญาณการเทขายในตลาดการเงินหลายๆ แห่ง
ยกตัวอย่าง การดำดิ่งของตลาดหุ้นยุโรปมากกว่า 10% ในเดือนพฤษภาคม ขณะที่ตลาดเกิดใหม่ก็อยู่ในอาการเดียวกัน โดยเฉพาะตลาดหุ้นอินเดีย ที่ทรุดตัวแรงถึงกว่า 10% เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (22 พ.ค.) ซึ่งถือเป็นการตกต่ำของตลาดหุ้นมากที่สุดภายในวันเดียว
ยิ่งเมื่อปรายตามองตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ก็เห็นความปั่นป่วนชัดเจน นับจากต้นเดือนพฤษภาคม เงินลีร์ของตุรกีอ่อนค่าลงไปแล้วประมาณ 14% ขณะที่ราคาทองแดงที่เคยพุ่งพรวดพราด และทำสถิติสูงสุดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ก็ทรุดฮวบมาตลอด รวมลดลงกว่า 15%
ประกอบกับปัจจุบันมีกองทุนเฮดจ์ฟันด์ก่อกำเนิดขึ้นในระบบการเงินโลกเป็นจำนวนมหาศาล เฉพาะในสหรัฐประเทศเดียว ก็มีเป็นจำนวนราวๆ 7,000-9,000 กองทุนเข้าไปแล้ว ควบคุมเม็ดเงินลงทุนในระบบไว้ไม่น้อยกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์
ที่น่าสนใจคือ ในจำนวนนั้นเป็นเม็ดเงินลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐผ่านกองทุนเฮดจ์ฟันด์ถึง 20%
เมื่อบวกรวมจำนวนเฮดจ์ฟันด์ในสหรัฐเข้ากับยุโรปและเอเชีย รวมถึงตลาดเกิดใหม่อื่นๆ (ถ้ามี) น่าจะเป็นจำนวนที่มากมายอยู่ เพียงแต่ไม่มีใครรู้ตัวเลขที่แน่ชัดว่าแท้จริงแล้วเฮดจ์ฟันด์ในระบบนั้นมีอยู่เท่าใด และกุมเม็ดเงินรวมกันเป็นมูลค่ามากน้อยขนาดไหน
ดังเช่นกองทุนของซาราแนคฯซึ่งเคยมีมูลค่าสินทรัพย์ในการบริหารสูงถึงเกือบ 3 พันล้านดอลลาร์ แต่ปัจจุบันมูลค่าสินทรัพย์ในการบริหาร 9 กองทุนที่เหลืออยู่นั้น มีมูลค่ารวมกันแค่ 600 ล้านดอลลาร์เท่านั้น
แต่อีกกลุ่มกลับมองต่างออกไป กล่าวคือ ไม่คิดว่ากองทุนเฮดจ์ฟันด์จะเดินซ้ำรอย ลองเทอมเครดิต แมเนจเมนต์ เพราะปัจจุบันผู้จัดการกองทุน และสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ให้กับเฮดจ์ฟันด์ส่วนใหญ่ต่างซึมซับบทเรียนในอดีต และตระหนักถึงความเสี่ยงที่พวกเขาแบกรับอยู่ขณะทำธุรกรรมร่วมกับกองทุนประเภทนี้มาตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990
เพราะเวลาที่กองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่มีปัญหานั้น ผลกระทบจะไม่จำกัดอยู่แค่ตัวกองทุน แต่กินความรวมไปถึงคู่สัญญา หรือคู่ธุรกรรมที่จะได้รับผลกระทบจากการล้มละลายของเฮดจ์ฟันด์ด้วย ซึ่งโดยหลักๆ มี 2 กลุ่ม คือ โบรกเกอร์ และสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ให้กับเฮดจ์ฟันด์
หมายความว่า ตัวแปรที่สั่นคลอนเสถียรภาพระบบการเงิน ทั้งในและระหว่างประเทศนั้น ไม่ใช่ตัวเฮดจ์ฟันด์ แต่มาจากสถาบันการเงินที่มีภาระผูกพันอยู่กับเฮดจ์ฟันด์มากกว่า
ดังเช่น กรณีการล้มละลายของลองเทอมเครดิต แมเนจเมนต์ เมื่อ 8 ปีก่อนนั้น ได้ส่งผลกระทบรุนแรง เพราะมีสถาบันการเงินที่มีภาระผูกพันอยู่รายหลักๆ ถึง 17 ราย ได้รับความเสียหายเป็นมูลค่ารวมกัน 3-5 พันล้านดอลลาร์
เหตุผลหนึ่งที่ลองเทอมเครดิต แมเนจเมนต์ ล้มดัง ก็เพราะเฮดจ์ฟันด์กองทุนนี้ได้กู้ยืมเงิน เกินตัว โดยเป็นตัวเลขสูงถึง 100 เท่าของมูลค่าสินทรัพย์ ซึ่งมากกว่าตัวเลขเฉลี่ยของการก่อหนี้ของกองทุนอื่นๆ ที่จะอยู่ในระดับ 10 เท่าของสินทรัพย์เท่านั้น
ประกอบกับในช่วงเวลานั้น ได้เกิดวิกฤตค่าเงิน รูเบิลขึ้นในรัสเซียอย่างกะทันหัน ทำให้ลองเทอมเครดิต แมเนจเมนต์ เริ่มมีปัญหา และปั่นป่วนอย่างหนัก เมื่อวิกฤตก่อผลกระทบลุกลามเข้าสู่ตลาดพันธบัตรและตลาดเกิดใหม่ที่มีความเสี่ยงสูงตามมาเป็นระลอก
เช่นเดียวกับปัญหาของกองทุนซาราแนคฯ เหตุผลสำคัญที่ทำให้กองทุนเฮดจ์ฟันด์รายนี้เดินสู่จุดจบ เป็นผลมาจากการวางกลยุทธ์การลงทุนในตลาดผิดพลาด โดยเฉพาะการเก็งกำไรในตลาดหุ้นและตราสารหนี้ เนื่องจากกลยุทธ์การลงทุนในตลาดทั้งสองจะได้ผลดีและให้ผลตอบแทนสูง ก็ต่อเมื่อตลาดเหล่านั้นอยู่ในภาวะผันผวน ซึ่งการเคลื่อนไหวของราคาในตลาดจะแกว่งตัวแรง
แต่หลังจากปี 2547 ตลาดหุ้นเริ่มอยู่ในอาการทรง ก่อนจะปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ซาราแนคฯจึงอยู่ในสถานการณ์ลำบาก จากที่เคยให้ผลตอบแทนจากการลงทุนสูงถึง 18% ต่อปีในช่วง 2538-2547 กลับกลายเป็นติดลบลงเรื่อยๆ ทำให้นักลงทุนรายใหญ่ตีจาก และเหลือเม็ดเงินในการบริหารเพียง 600 ล้านดอลลาร์
อีกประการหนึ่งที่หลายฝ่ายเชื่อว่าปัญหาของเฮดจ์ฟันด์จะไม่ลุกลามและรุนแรงเหมือนในอดีต ก็เนื่องจากปัจจุบันกองทุนเฮดจ์ฟันด์มักจะกันสินทรัพย์ของกองทุนให้เป็นเงินสด หรือหุ้นที่สามารถแปลงสภาพได้ง่ายไว้ประมาณ 20-30% เพื่อไว้รองรับการถอนการลงทุนอย่างกะทันหัน
ยิ่งกว่านั้น เฮดจ์ฟันด์ส่วนใหญ่จะเป็นพวกจมูกไว โดยเฉพาะในกลุ่มที่เล่นในตลาดเกิดใหม่ หากเห็นสัญญาณจะเทขายเพื่อถอยออกจากตลาดที่มีความเสี่ยง ดังเช่น สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในตลาดเกิดใหม่ในเวลานี้
ดังนั้น เหยื่อที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหาของเฮดจ์ฟันด์จริงๆ ก็หนีไม่พ้นตลาดเกิดใหม่ ที่จวบจนขณะนี้ยังไม่สามารถรู้เท่าทันเงินร้อนได้ดังที่ควรจะเป็น
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
ความตกต่ำทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ???
โพสต์ที่ 15
ถ้ามีกองทุนล้ม หวังว่า FED จะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้เหมือนดังกรณี Long Term Credit Management ในอดีตLOSO เขียน:ที่สำคัญ จะสั่นคลอนต่อระบบการเงินระหว่างประเทศเฉกเช่นที่กองทุนลองเทอมเครดิต แมเนจเมนต์ (Long Term Credit Management) เคยเขย่าขวัญไว้ในปี 2541 หรือไม่
- por_jai
- Verified User
- โพสต์: 14338
- ผู้ติดตาม: 0
ความตกต่ำทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ???
โพสต์ที่ 16
8) ส่วนใหญ่ผมเห็นพวกนี้มันมาร่วมมือกันบทความจากนสพ. เขียน: บางคนอาจเห็นว่าการควบคุมไม่ให้ต่างชาติเข้ามาครอบงำธุรกิจในประเทศไทยนั้นเป็นเรื่องไม่ดี แต่ก็ต้องเข้าใจว่าหากเงื่อนไขการลงทุนไม่เป็นที่พอใจของต่างชาติ ไทยก็จะไม่ได้รับทั้งเงินทุน เทคโนโลยี และความเชี่ยวชาญของต่างชาติ และเงินทุนก็จะไหลไปสู่ประเทศคู่แข่งของไทย
กับพวกชนชั้นปกครองในบ้านเรา
เห็นเราเป็นเมืองขึ้นทางเศรษฐกิจ
มาดูดทรัพยากรที่เรามี
โดยเหลือเศษๆไว้ให้เรากิน
พวกเราก็ดีใจกัน
ตอนนี้เหลือส่งออก กับ ท่องเที่ยว
อีกหน่อยจะเหลืออะไร ให้รุ่นลูกหลาน
ไอ้คำที่ว่าทุน เทคโนโลยี่ ความเชี่ยวชาญของต่างชาติเนี่ย
มันคำหวานๆก่อนจะมาโกยทั้งนั้นแหละครับ
ดูเราผลิตรถให้เขามากี่ปีแล้ว
ผลิตคอมพิวเต้อร์ให้ไต้หวันมากี่ปีแล้ว
มีสินค้าแบรนด์ไทยให้ชื่นใจบ้างไหมครับ
เราก็ต้องกินน้ำใต้ศอกเขาไปอย่างนี้เรื่อยๆอ่ะครับ
ผมว่าถ้าเขามาลงทุนในลักษณะอย่างนี้เก็บ
ทรัพยากรของเราไว้ใช้เองดีกว่าครับ
ดูแล้วทุนนิยมแบบฟูลสเกลอาจไม่เหมาะสมกะเรานัก
ต้องทำตลาดแบบ niche market
สำหรับประเทศไทย น่าจะดีกว่า
ชอบไปห่วงกันว่าจะล้าหลังกว่าเวียตนาม กว่าจีน
ล้าหลังแบบประชาชนมีกินมีใช้
ดีกว่าภาพพจน์ดีแต่สอนให้บริโภคแบบเป็นหนี้ท่วมตัว
อย่างทุกวันนี้นะครับ
เราเป็นประเทศเกษตรครับไม่อดตายหรอก
ส่งข้าวกะยางออกทั้งปี
ซื้อน้ำมันมาใช้ไม่ถึงครึ่งปีดีก็หมดแล้ว
มันพัฒนากันยังไงกันวุ๊ย....
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ความตกต่ำทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ???
โพสต์ที่ 17
ชี้การสร้างตึกสูงสัมพันธ์กับการเกิดวิกฤติการเงิน [ ข่าวหุ้น, 12 ม.ค. 54 ]
บาร์เคลย์ แคปิตอล ชี้ มีความสัมพันธ์ในทางที่ไม่ดี ระหว่างการสร้างตึกสูงระฟ้า กับการเกิดวิกฤติ
การเงินในเวลาต่อมา พร้อมทั้งแสดงความวิตกต่อจีนและอินเดีย ซึ่งกำลังมีการสร้างตึกสูงเป็นจำนวนมาก
บาร์เคลย์ แคปิตอล ชี้ มีความสัมพันธ์ในทางที่ไม่ดี ระหว่างการสร้างตึกสูงระฟ้า กับการเกิดวิกฤติ
การเงินในเวลาต่อมา พร้อมทั้งแสดงความวิตกต่อจีนและอินเดีย ซึ่งกำลังมีการสร้างตึกสูงเป็นจำนวนมาก
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."