ระดับของการเก็งกำไร/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1827
- ผู้ติดตาม: 1
ระดับของการเก็งกำไร/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
การถือเงินสดคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าปกติมากของผมในช่วงกว่า 2 ปีที่ผ่านมานั้นเป็นเรื่องที่น่า “อึดอัดใจ” โดยเฉพาะในช่วงหลัง ๆ ที่ราคาหุ้นที่ผมสนใจไม่ได้ปรับลงมาจนน่าสนใจที่จะลงทุน จริงอยู่ ในช่วงแรก ๆ ที่มีเงินสดมากขึ้นนั้น ผมรู้สึกดีว่ามีเงินพร้อมที่จะเข้าลงทุนซื้อหุ้นถ้ามีโอกาส อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไปและหุ้นก็ไม่ตกลงมาแต่กลับปรับตัวขึ้นไปด้วย ผมก็รู้สึกเสียดายที่มีหุ้นน้อยไปหน่อย แต่ซักพักเดียวหุ้นก็กลับตกลงมาที่เดิมซึ่งผมก็ยังไม่ซื้อเพราะอยากรอให้มันตกลงมาถึงจุดที่น่าสนใจจริง ๆ แต่แล้วมันก็ปรับตัวขึ้นไปอีก ดูเหมือนว่าหุ้นนั้น “ไม่พร้อมที่จะลง” คล้าย ๆ กับว่ามีคนพร้อมที่จะเข้าไปช้อนซื้อหุ้นทุกครั้งที่มันปรับตัวลงมาถึงจุดหนึ่ง ดู ๆ ไปราวกับว่าผมกำลังกลายเป็นคนที่ดูหุ้นแบบนักเท็คนิคที่รอจังหวะซื้อหุ้นที่ปรับตัวลงมา เพียงแต่ว่าผมต้องการซื้อแล้วถือยาว ไม่ได้ต้องการ “เล่นรอบ” ผมต้องการลงทุนเพื่อหาผลตอบแทนจากเงินสดที่ให้ดอกเบี้ยเพียงไม่ถึง 1% ต่อปี ความคิดแบบ “นักลงทุน” ทำให้ผมรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ “เสียโอกาส” มากกับการถือเงินสด แรงขับดันให้หาหุ้นเพื่อที่จะลงทุนนั้นสูงแต่ผมก็ต้อง “ข่มใจ” ให้ได้ ผมพยายาม “ใจเย็น” รอไปเรื่อย ๆ ไม่รีบร้อนที่จะซื้อหุ้นถ้าราคาหุ้นยังไม่ถูกพอที่จะทำให้ “ปลอดภัย” หรือพูดในภาษา VI ก็คือ หุ้นยังมี Margin of Safety ไม่พอ
นอกจากการดูในเรื่องของตัวเลขที่จะบอกว่าหุ้นถูกพอหรือยัง ผมยังต้องดูสถานการณ์ของตลาดหุ้นด้วยว่ามันอยู่ใน “โหมด” ไหน เพราะนี่จะเป็นสิ่งที่บอกว่าหุ้นน่าจะมีราคาแพงหรือถูกได้ในระดับหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ถ้าคนยังรู้สึก “ฮึกเหิม” มองโลกในแง่ดี มีความหวังเต็มเปี่ยม คนยังมองหุ้นในแง่ที่ดีมาก ความเป็นไปได้ก็คือ หุ้นก็น่าจะมีราคาแพงกว่าปกติ ตรงกันข้าม ถ้าคนรู้สึกแย่หรือสิ้นหวัง มองโลกในแง่ร้ายและกลัวการลงทุนในหุ้น ราคาหุ้นก็จะถูกกว่าปกติ การที่จะดูว่าตลาดหุ้นเป็นโหมดไหนนั้น ผมคิดว่าเราจะต้องดูสัญญาณต่าง ๆ ที่จะบอกถึงระดับของความรู้สึกของคนในตลาดหุ้น ซึ่งผมจะเรียกมันว่า “ระดับของการเก็งกำไร” ที่จะถูกแสดงออกมาในเรื่องต่าง ๆ ที่จะกล่าวต่อไปนี้ โดยที่ผมสรุปว่าระดับของการเก็งกำไรของตลาดหุ้นไทยก็ยังสูงอยู่ และนั่นก็ทำให้ผมต้องพยายามข่มใจต่อไปว่าเราไม่ควรที่จะรีบซื้อหุ้น เพราะหุ้นอาจจะมีโอกาสตกลงมาได้เมื่อความรู้สึกอยากเก็งกำไรนั้นลดลงหรือหายไป ซึ่งบางครั้งก็สามารถเกิดขึ้นได้ในชั่ว “ข้ามคืน”
สัญญาณแรกที่ผมเห็นอยู่อย่างชัดเจนว่าแรงเก็งกำไรในตลาดหุ้นไทยยังสูงก็คือ หุ้น IPO หรือหุ้นที่เพิ่งเข้ามาจดทะเบียนซื้อขายในตลาดเป็นครั้งแรก ก่อนหน้านี้ราว ๆ ซัก 2-3 ปี หุ้น IPO โดยเฉพาะตัวเล็กและ/หรือมีฟรีโฟลทน้อยนั้น เมื่อเข้าซื้อขายในวันแรกก็มักจะปรับตัวขึ้นไปสูงมาก บางตัวขึ้นไปถึง 200% ทั้ง ๆ ที่กิจการไม่ได้มีความโดดเด่นอะไรนัก ยิ่งตัวเล็กก็ยิ่งปรับตัวขึ้นสูง หาเหตุผลไม่ได้นอกจาก “การเก็งกำไร” ของนักลงทุนโดยเฉพาะรายย่อยในตลาดหลักทรัพย์ ในช่วงเร็ว ๆ นี้ แม้ว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์จะไม่ได้ร้อนแรงอะไร ราคาการซื้อขายหุ้น IPO ในวันแรกเองก็ยังปรับตัวขึ้นไปในระดับอย่างน้อย 20-30% ก็ยังเป็นเรื่องปกติ การขาดทุนสำหรับคนที่ได้หุ้นจองนั้นแทบจะไม่เคยเกิดขึ้น นี่ก็แสดงให้เห็นว่าการเก็งกำไรในตลาดหุ้นยังค่อนข้างสูงแม้ว่าอาจจะไม่เท่าเดิม
สัญญาณที่สองที่เห็นได้ชัดก็คือ การเล่นหุ้นที่มีผลประกอบการ “ดี” ที่มีการประกาศออกมาโดยเฉพาะของหุ้น “ตัวเล็ก” อาการที่เห็นนั้นคล้าย ๆ กับมีกลุ่มนักลงทุนส่วนบุคคลบางกลุ่มหรือหลาย ๆ กลุ่มที่คอยหาหุ้นที่จะเข้ามาเล่น “เก็งกำไร” หุ้นที่ประกาศผลประกอบการดีน่าประทับใจและเป็นหุ้นที่มีฟรีโฟลทไม่สูงจะถูก “ไล่ราคา” ให้ขึ้นไปสูงลิ่วทั้ง ๆ ที่ราคาหุ้นก็แพงมากอยู่แล้ววัดจากค่า PE และอื่น ๆ ปริมาณการซื้อขายในช่วงที่มีการประกาศงบก็มักจะสูงลิ่วและราคาหุ้นนั้นบ่อยครั้งก็ผันผวนและปรับตัวกลับลงมาในช่วงเวลาสั้น ๆ ดูเหมือนว่าจะไม่มีใครต้องการซื้อแล้วถือยาว เพราะมูลค่าตลาดของหุ้นตัวนั้นดูเหมือนว่าจะสูงกว่าพื้นฐานมาก ทุกคนเข้าไปเทรดหุ้นเพื่อหวังผลกำไรอย่างรวดเร็ว และนี่ก็คือสัญญาณว่าระดับของการเก็งกำไรในตลาดหุ้นก็ยังสูงพอสมควรทีเดียว
ในระดับของตลาดเองนั้น ปริมาณการซื้อขายหุ้นต่อวันของตลาดหุ้นไทยก็ยังสูงลิ่วถึงกว่า 50,000 ล้านบาทเป็นส่วนใหญ่ บางวันก็ขึ้นเป็นแสนล้านบาท เทียบกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้านแล้ว ของเราคึกคักกว่ามาก ว่าที่จริงตลาดหุ้นไทยมีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุดในอาเซียนทั้ง ๆ ที่ขนาดตลาดเราเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของตลาดหุ้นสิงคโปร์ การมีการซื้อขายเปลี่ยนมือกันเร็วมากนั้นเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าตลาดมีระดับของการเก็งกำไรสูง ยิ่งถ้าดู “เนื้อใน” หรือดูว่าหุ้นประเภทไหนมีการซื้อขายมากกว่าปกติก็ยิ่งพบว่าตลาดหุ้นไทยนั้น หุ้นที่นักเล่นหุ้นซื้อขายกันมากจะ “กระจุก” อยู่ในหุ้นน้อยตัว หุ้นที่ซื้อขายมากที่สุด 10 อันดับนั้นมักจะครอบคลุมการซื้อขายถึง 30-40% ของหุ้นทั้งหมด หุ้นตัวที่มีการซื้อขายสูงสุดนั้นบ่อยครั้งเกิน 10% ของการซื้อขายทั้งตลาด พูดง่าย ๆ คนเข้าไป “เล่น” หุ้นร้อนวันต่อวันจำนวนมาก คนที่เข้าไปซื้อเพื่อลงทุนมีจำนวนน้อยกว่าโดยเปรียบเทียบกับตลาดที่ไม่ค่อยมีการเก็งกำไรอย่างในตลาดหุ้นอาเซียนอื่น ๆ
หุ้น “มีสตอรี่” หรือหุ้นที่มีเรื่องราวที่น่าตื่นเต้นในแง่ของการเติบโตที่โดดเด่นเองนั้น ในอดีต 2-3 ปีที่ผ่านมานั้น สามารถ “ขายฝัน” ได้มากมาย ตัวอย่างเช่น หุ้นในกลุ่มพลังงานทดแทนที่เมื่อมีการประกาศว่าบริษัทได้สิทธิในการขายไฟฟ้าหรือจะเข้าสู่ธุรกิจพลังงานทดแทน ราคาหุ้นก็วิ่งขึ้นไปรุนแรงแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตลาดหุ้นในช่วงนั้นมีการเก็งกำไรที่สูงมาก อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไปและผลการดำเนินงานไม่ได้เป็นไปตามที่คาด ราคาหุ้นกลุ่มนั้นก็ปรับตัวลง ทำให้ดูเหมือนว่าหุ้นมีสตอรี่จะขายไม่ได้ดีเหมือนเดิม การเก็งกำไรในเรื่องนี้ลดลงแต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ได้หมดไป ว่าที่จริงตลาดในช่วงเร็ว ๆ นี้ก็ดูเหมือนว่าจะหาสตอรี่ใหม่ ๆ เพื่อ “ไล่ราคาหุ้น” และดูเหมือนว่านักลงทุนก็ยังพร้อมที่จะเข้ามาเล่น “เก็งกำไร” ในสตอรี่ใหม่ ๆ ที่ฟังดู “น่าเชื่อถือ” อยู่ ตัวอย่างของสตอรี่ใหม่นั้นอาจจะไม่เน้นเรื่องของอุตสาหกรรมแล้ว แต่เน้นเรื่องความสามารถของบริษัทที่จะโตเป็น “ทวีคูณ” ในตลาดใหม่ที่น่าสนใจ เป็นต้น
ระดับของการเก็งกำไรในตลาดที่พอจะใช้วัดได้อีกเรื่องหนึ่งก็คือ หนังสือพ็อกเก็ตบุคเกี่ยวกับหุ้นและการลงทุน การสัมมนา และการพูดคุยในเวบไซ้ต์หุ้นและสื่อสังคมต่าง ๆ หากคนเล่นหุ้นสนใจการลงทุนแบบที่แสดงว่าจะทำกำไรได้ง่าย ๆ และรวดเร็วมาก เช่น แนวการลงทุนแบบเทคนิคหรือการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ต่าง ๆ นั่นก็แสดงว่าพวกเขากำลังสนใจเข้ามาเล่นเก็งกำไรมากกว่าการลงทุน ซึ่งในประเด็นนี้ก็ค่อนข้างชัดเจนว่าหนังสือแนวนี้กำลังวางแผงมากขึ้นเปรียบเทียบกับหนังสือแนว VI หรือการลงทุนแบบพื้นฐาน เช่น เดียวกัน งานสัมนาและการพูดคุยในเวบไซ้ต์เกี่ยวกับหุ้นเองก็แสดงให้เห็นว่าคนรุ่นใหม่ที่สนใจซื้อขายหุ้นในตลาดจำนวนมากนั้น ต้องการเข้ามาเล่นเก็งกำไรมากกว่าที่จะเข้ามาลงทุนระยะยาวที่ต้องศึกษาหาความรู้อย่างเข้มข้น คำที่เห็นหรือใช้บ่อย ๆ ก็คือ หุ้นตัวนั้นเป็นอะไร ทำไมลงหรือขึ้น ใครเป็นจ้าว?
โดยสรุปแล้วผมคิดว่า อาการที่กล่าวข้างต้นเป็นเครื่องแสดงว่าระดับของการเก็งกำไรของตลาดหุ้นไทยนั้นยังค่อนข้างสูงแม้ว่าจะลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับเมื่อ 2-3 ปีก่อน ตัวเลขความถูกความแพงของหุ้นโดยเฉพาะหุ้นขนาดเล็กฟรีโฟลทต่ำก็ยังแสดงว่ามีราคาแพงไม่ว่าจะเป็นหุ้นที่โดดเด่นหรือหุ้นที่ไมได้พื้นฐานอะไรนักแต่มีระดับของการเก็งกำไรสูง และนั่นก็เป็นเหตุผลที่ผมเองอยู่ในอาการ “อึดอัด” ที่ต้องถือเงินสดที่แทบไม่ได้ผลตอบแทนโดยไม่รู้ว่าจะซื้อหุ้นเมื่อไร บางทีผมอาจจะต้องรอจนคนเบื่อและแทบเลิกเล่นหุ้นไปเลยก่อนที่จะเข้าซื้อหุ้น หรือไม่ก็อาจจะซื้อหุ้นทั้ง ๆ ที่มี Margin of Safety น้อย เวลาจะเป็นเครื่องบอก เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ นักลงทุนนั้นต้อง Flexible หรือมีความยืดหยุ่น มีข้อยกเว้นเสมอ แต่ต้องคิดรอบด้านก่อนทำ
นอกจากการดูในเรื่องของตัวเลขที่จะบอกว่าหุ้นถูกพอหรือยัง ผมยังต้องดูสถานการณ์ของตลาดหุ้นด้วยว่ามันอยู่ใน “โหมด” ไหน เพราะนี่จะเป็นสิ่งที่บอกว่าหุ้นน่าจะมีราคาแพงหรือถูกได้ในระดับหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ถ้าคนยังรู้สึก “ฮึกเหิม” มองโลกในแง่ดี มีความหวังเต็มเปี่ยม คนยังมองหุ้นในแง่ที่ดีมาก ความเป็นไปได้ก็คือ หุ้นก็น่าจะมีราคาแพงกว่าปกติ ตรงกันข้าม ถ้าคนรู้สึกแย่หรือสิ้นหวัง มองโลกในแง่ร้ายและกลัวการลงทุนในหุ้น ราคาหุ้นก็จะถูกกว่าปกติ การที่จะดูว่าตลาดหุ้นเป็นโหมดไหนนั้น ผมคิดว่าเราจะต้องดูสัญญาณต่าง ๆ ที่จะบอกถึงระดับของความรู้สึกของคนในตลาดหุ้น ซึ่งผมจะเรียกมันว่า “ระดับของการเก็งกำไร” ที่จะถูกแสดงออกมาในเรื่องต่าง ๆ ที่จะกล่าวต่อไปนี้ โดยที่ผมสรุปว่าระดับของการเก็งกำไรของตลาดหุ้นไทยก็ยังสูงอยู่ และนั่นก็ทำให้ผมต้องพยายามข่มใจต่อไปว่าเราไม่ควรที่จะรีบซื้อหุ้น เพราะหุ้นอาจจะมีโอกาสตกลงมาได้เมื่อความรู้สึกอยากเก็งกำไรนั้นลดลงหรือหายไป ซึ่งบางครั้งก็สามารถเกิดขึ้นได้ในชั่ว “ข้ามคืน”
สัญญาณแรกที่ผมเห็นอยู่อย่างชัดเจนว่าแรงเก็งกำไรในตลาดหุ้นไทยยังสูงก็คือ หุ้น IPO หรือหุ้นที่เพิ่งเข้ามาจดทะเบียนซื้อขายในตลาดเป็นครั้งแรก ก่อนหน้านี้ราว ๆ ซัก 2-3 ปี หุ้น IPO โดยเฉพาะตัวเล็กและ/หรือมีฟรีโฟลทน้อยนั้น เมื่อเข้าซื้อขายในวันแรกก็มักจะปรับตัวขึ้นไปสูงมาก บางตัวขึ้นไปถึง 200% ทั้ง ๆ ที่กิจการไม่ได้มีความโดดเด่นอะไรนัก ยิ่งตัวเล็กก็ยิ่งปรับตัวขึ้นสูง หาเหตุผลไม่ได้นอกจาก “การเก็งกำไร” ของนักลงทุนโดยเฉพาะรายย่อยในตลาดหลักทรัพย์ ในช่วงเร็ว ๆ นี้ แม้ว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์จะไม่ได้ร้อนแรงอะไร ราคาการซื้อขายหุ้น IPO ในวันแรกเองก็ยังปรับตัวขึ้นไปในระดับอย่างน้อย 20-30% ก็ยังเป็นเรื่องปกติ การขาดทุนสำหรับคนที่ได้หุ้นจองนั้นแทบจะไม่เคยเกิดขึ้น นี่ก็แสดงให้เห็นว่าการเก็งกำไรในตลาดหุ้นยังค่อนข้างสูงแม้ว่าอาจจะไม่เท่าเดิม
สัญญาณที่สองที่เห็นได้ชัดก็คือ การเล่นหุ้นที่มีผลประกอบการ “ดี” ที่มีการประกาศออกมาโดยเฉพาะของหุ้น “ตัวเล็ก” อาการที่เห็นนั้นคล้าย ๆ กับมีกลุ่มนักลงทุนส่วนบุคคลบางกลุ่มหรือหลาย ๆ กลุ่มที่คอยหาหุ้นที่จะเข้ามาเล่น “เก็งกำไร” หุ้นที่ประกาศผลประกอบการดีน่าประทับใจและเป็นหุ้นที่มีฟรีโฟลทไม่สูงจะถูก “ไล่ราคา” ให้ขึ้นไปสูงลิ่วทั้ง ๆ ที่ราคาหุ้นก็แพงมากอยู่แล้ววัดจากค่า PE และอื่น ๆ ปริมาณการซื้อขายในช่วงที่มีการประกาศงบก็มักจะสูงลิ่วและราคาหุ้นนั้นบ่อยครั้งก็ผันผวนและปรับตัวกลับลงมาในช่วงเวลาสั้น ๆ ดูเหมือนว่าจะไม่มีใครต้องการซื้อแล้วถือยาว เพราะมูลค่าตลาดของหุ้นตัวนั้นดูเหมือนว่าจะสูงกว่าพื้นฐานมาก ทุกคนเข้าไปเทรดหุ้นเพื่อหวังผลกำไรอย่างรวดเร็ว และนี่ก็คือสัญญาณว่าระดับของการเก็งกำไรในตลาดหุ้นก็ยังสูงพอสมควรทีเดียว
ในระดับของตลาดเองนั้น ปริมาณการซื้อขายหุ้นต่อวันของตลาดหุ้นไทยก็ยังสูงลิ่วถึงกว่า 50,000 ล้านบาทเป็นส่วนใหญ่ บางวันก็ขึ้นเป็นแสนล้านบาท เทียบกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้านแล้ว ของเราคึกคักกว่ามาก ว่าที่จริงตลาดหุ้นไทยมีปริมาณการซื้อขายสูงที่สุดในอาเซียนทั้ง ๆ ที่ขนาดตลาดเราเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของตลาดหุ้นสิงคโปร์ การมีการซื้อขายเปลี่ยนมือกันเร็วมากนั้นเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าตลาดมีระดับของการเก็งกำไรสูง ยิ่งถ้าดู “เนื้อใน” หรือดูว่าหุ้นประเภทไหนมีการซื้อขายมากกว่าปกติก็ยิ่งพบว่าตลาดหุ้นไทยนั้น หุ้นที่นักเล่นหุ้นซื้อขายกันมากจะ “กระจุก” อยู่ในหุ้นน้อยตัว หุ้นที่ซื้อขายมากที่สุด 10 อันดับนั้นมักจะครอบคลุมการซื้อขายถึง 30-40% ของหุ้นทั้งหมด หุ้นตัวที่มีการซื้อขายสูงสุดนั้นบ่อยครั้งเกิน 10% ของการซื้อขายทั้งตลาด พูดง่าย ๆ คนเข้าไป “เล่น” หุ้นร้อนวันต่อวันจำนวนมาก คนที่เข้าไปซื้อเพื่อลงทุนมีจำนวนน้อยกว่าโดยเปรียบเทียบกับตลาดที่ไม่ค่อยมีการเก็งกำไรอย่างในตลาดหุ้นอาเซียนอื่น ๆ
หุ้น “มีสตอรี่” หรือหุ้นที่มีเรื่องราวที่น่าตื่นเต้นในแง่ของการเติบโตที่โดดเด่นเองนั้น ในอดีต 2-3 ปีที่ผ่านมานั้น สามารถ “ขายฝัน” ได้มากมาย ตัวอย่างเช่น หุ้นในกลุ่มพลังงานทดแทนที่เมื่อมีการประกาศว่าบริษัทได้สิทธิในการขายไฟฟ้าหรือจะเข้าสู่ธุรกิจพลังงานทดแทน ราคาหุ้นก็วิ่งขึ้นไปรุนแรงแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตลาดหุ้นในช่วงนั้นมีการเก็งกำไรที่สูงมาก อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไปและผลการดำเนินงานไม่ได้เป็นไปตามที่คาด ราคาหุ้นกลุ่มนั้นก็ปรับตัวลง ทำให้ดูเหมือนว่าหุ้นมีสตอรี่จะขายไม่ได้ดีเหมือนเดิม การเก็งกำไรในเรื่องนี้ลดลงแต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ได้หมดไป ว่าที่จริงตลาดในช่วงเร็ว ๆ นี้ก็ดูเหมือนว่าจะหาสตอรี่ใหม่ ๆ เพื่อ “ไล่ราคาหุ้น” และดูเหมือนว่านักลงทุนก็ยังพร้อมที่จะเข้ามาเล่น “เก็งกำไร” ในสตอรี่ใหม่ ๆ ที่ฟังดู “น่าเชื่อถือ” อยู่ ตัวอย่างของสตอรี่ใหม่นั้นอาจจะไม่เน้นเรื่องของอุตสาหกรรมแล้ว แต่เน้นเรื่องความสามารถของบริษัทที่จะโตเป็น “ทวีคูณ” ในตลาดใหม่ที่น่าสนใจ เป็นต้น
ระดับของการเก็งกำไรในตลาดที่พอจะใช้วัดได้อีกเรื่องหนึ่งก็คือ หนังสือพ็อกเก็ตบุคเกี่ยวกับหุ้นและการลงทุน การสัมมนา และการพูดคุยในเวบไซ้ต์หุ้นและสื่อสังคมต่าง ๆ หากคนเล่นหุ้นสนใจการลงทุนแบบที่แสดงว่าจะทำกำไรได้ง่าย ๆ และรวดเร็วมาก เช่น แนวการลงทุนแบบเทคนิคหรือการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ต่าง ๆ นั่นก็แสดงว่าพวกเขากำลังสนใจเข้ามาเล่นเก็งกำไรมากกว่าการลงทุน ซึ่งในประเด็นนี้ก็ค่อนข้างชัดเจนว่าหนังสือแนวนี้กำลังวางแผงมากขึ้นเปรียบเทียบกับหนังสือแนว VI หรือการลงทุนแบบพื้นฐาน เช่น เดียวกัน งานสัมนาและการพูดคุยในเวบไซ้ต์เกี่ยวกับหุ้นเองก็แสดงให้เห็นว่าคนรุ่นใหม่ที่สนใจซื้อขายหุ้นในตลาดจำนวนมากนั้น ต้องการเข้ามาเล่นเก็งกำไรมากกว่าที่จะเข้ามาลงทุนระยะยาวที่ต้องศึกษาหาความรู้อย่างเข้มข้น คำที่เห็นหรือใช้บ่อย ๆ ก็คือ หุ้นตัวนั้นเป็นอะไร ทำไมลงหรือขึ้น ใครเป็นจ้าว?
โดยสรุปแล้วผมคิดว่า อาการที่กล่าวข้างต้นเป็นเครื่องแสดงว่าระดับของการเก็งกำไรของตลาดหุ้นไทยนั้นยังค่อนข้างสูงแม้ว่าจะลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับเมื่อ 2-3 ปีก่อน ตัวเลขความถูกความแพงของหุ้นโดยเฉพาะหุ้นขนาดเล็กฟรีโฟลทต่ำก็ยังแสดงว่ามีราคาแพงไม่ว่าจะเป็นหุ้นที่โดดเด่นหรือหุ้นที่ไมได้พื้นฐานอะไรนักแต่มีระดับของการเก็งกำไรสูง และนั่นก็เป็นเหตุผลที่ผมเองอยู่ในอาการ “อึดอัด” ที่ต้องถือเงินสดที่แทบไม่ได้ผลตอบแทนโดยไม่รู้ว่าจะซื้อหุ้นเมื่อไร บางทีผมอาจจะต้องรอจนคนเบื่อและแทบเลิกเล่นหุ้นไปเลยก่อนที่จะเข้าซื้อหุ้น หรือไม่ก็อาจจะซื้อหุ้นทั้ง ๆ ที่มี Margin of Safety น้อย เวลาจะเป็นเครื่องบอก เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ นักลงทุนนั้นต้อง Flexible หรือมีความยืดหยุ่น มีข้อยกเว้นเสมอ แต่ต้องคิดรอบด้านก่อนทำ
- theerasak24
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 621
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ระดับของการเก็งกำไร/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 2
ขอบคุณครับ
"เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะยังคงทำสิ่งต่างๆ ต่อไปตราบใดที่มันยังให้ความรื่นรมย์และคุณก็ทำมันได้ดี"
-
- Verified User
- โพสต์: 27
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ระดับของการเก็งกำไร/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 5
ขอบคุณครับ
- HOWLS
- Verified User
- โพสต์: 340
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ระดับของการเก็งกำไร/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 6
'บางทีผมอาจจะต้องรอจนคนเบื่อและแทบเลิกเล่นหุ้นไปเลยก่อนที่จะเข้าซื้อหุ้น หรือไม่ก็อาจจะซื้อหุ้นทั้ง ๆ ที่มี Margin of Safety น้อย เวลาจะเป็นเครื่องบอก เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ นักลงทุนนั้นต้อง Flexible หรือมีความยืดหยุ่น มีข้อยกเว้นเสมอ แต่ต้องคิดรอบด้านก่อนทำ'
สรุป แบบ ไม่มีคำตอบ แต่คนอ่านต้องหาคำตอบเอาเอง
สรุป แบบ ไม่มีคำตอบ แต่คนอ่านต้องหาคำตอบเอาเอง
พัฒนาขึ้น ทุก ๆ วัน ...
-
- Verified User
- โพสต์: 293
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ระดับของการเก็งกำไร/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 7
ผมว่าสรุปแบบมีคำตอบนะ คือ กฎทุกอย่างที่ผมเคยพูดมามีข้อยกเว้นเสมอHOWLS เขียน:'บางทีผมอาจจะต้องรอจนคนเบื่อและแทบเลิกเล่นหุ้นไปเลยก่อนที่จะเข้าซื้อหุ้น หรือไม่ก็อาจจะซื้อหุ้นทั้ง ๆ ที่มี Margin of Safety น้อย เวลาจะเป็นเครื่องบอก เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ นักลงทุนนั้นต้อง Flexible หรือมีความยืดหยุ่น มีข้อยกเว้นเสมอ แต่ต้องคิดรอบด้านก่อนทำ'
สรุป แบบ ไม่มีคำตอบ แต่คนอ่านต้องหาคำตอบเอาเอง
-
- Verified User
- โพสต์: 197
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ระดับของการเก็งกำไร/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 8
อาจารย์จะลงทุนไปมากๆอีกทำไมครับ อายุล่วงเข้ามัจฌิมวัยแล้ว
ทรัพย์สินที่มีอยู่ รวมทั้งpassive income ใช้ไม่หมดอยู่แล้วครับ
น่าจะตั้งกองทุนเพื่อสังคมและนั่งบริหารกองทุนเพื่อคืนกำไรและตอบแทนสังคมบ้าง
ผมคิดว่ามรดกให้ลูกคนเดียวก็มากมายแล้ว
ทำเพื่อสังคมเถิดครับในมัจฌิมวัย
มีความสุขด้วยการให้เป็นเรื่องน่าภูมิใจและอิ่มบุญ
ทรัพย์สินที่มีอยู่ รวมทั้งpassive income ใช้ไม่หมดอยู่แล้วครับ
น่าจะตั้งกองทุนเพื่อสังคมและนั่งบริหารกองทุนเพื่อคืนกำไรและตอบแทนสังคมบ้าง
ผมคิดว่ามรดกให้ลูกคนเดียวก็มากมายแล้ว
ทำเพื่อสังคมเถิดครับในมัจฌิมวัย
มีความสุขด้วยการให้เป็นเรื่องน่าภูมิใจและอิ่มบุญ
- astro345
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 600
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ระดับของการเก็งกำไร/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 9
การแบ่งปันและให้ความรู้ ก็เป็นการให้อีกอย่างหนึ่ง ที่ไม่ได้ด้อยไปกว่าการให้ทรัพย์สินนะครับ วิธีการคืนให้สังคมของแต่ละบุคคลก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน
ปล.ไม่ได้รู้จักหรือเป็นศิษย์ท่าน ดร.
ปล.ไม่ได้รู้จักหรือเป็นศิษย์ท่าน ดร.
-
- Verified User
- โพสต์: 248
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ระดับของการเก็งกำไร/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 11
เห็นด้วยกับคุณ astro345นะครับ..... ทุกครั้งทีอาจารย์เข้าซื้อหุ้นมันคือบทเรียนที่น่าศึกษา ไม่ต่างจากการซื้อหุ้นของบัฟเฟตต์ในแต่ละครั้ง.....เพราะสไตล์ของทั้งสองคนถึงค่อนข้างนานเพราะฉะนั้นการซื้อแต่ละครั้งจึงต้องผ่านกระบวนการคิดมาพอสมควร....อาจจะผิดบ้างถูกบ้างแต่ผลเชิงประจักษ์มีอยู่...ดีกว่าเขียนหนังสือหรือlectureอีกครับ....เงินคงไม่ใช่สิ่งสำคัญ(ผมคิดว่าอจ.ก้อคงคิดแบบนั้น)